[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3517 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 351 หน้า, หน้าที่ 352 มี 7 รายการ

การเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรค หลังการเก็บเกี่ยว ที่เกี่ยวข้องกับการ เปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดด่าง
การเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรค หลังการเก็บเกี่ยว ที่เกี่ยวข้องกับการ เปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดด่าง
โดย …ผศ.ดร.เนตรนภิส เขียวขำ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ในการเกิดโรคพืชมีกระบวนการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องบางอย่างที่มีส่วนในการทำให้เกิดโรค ปัจจัยเหล่านี้จะขาดปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดไม่ได้ กล่าวคือ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปหรือมีไม่ครบถ้วน ลักษณะอาการของโรคพืชก็จะไม่แสดงให้เห็นหรือพืชไม่เป็นโรค ปัจจัยดังกล่าวประกอบด้วย เชื้อสาเหตุของโรค พืชอาศัย สภาพแวดล้อม และระยะเวลาในการเข้าทำลาย (สืบศักดิ์_ 2554) การเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวหลายชนิด จะเริ่มจากอาศัยอยู่กับผลิตผลแบบแฝง (quiescent) ในระยะที่ผลเจริญเติบโตโดยไม่แสดงอาการให้เห็น เมื่อผลเข้าสู่ระยะสุกแก่และเสื่อมสภาพ เชื้อราสาเหตุโรคก็จะเข้าทำลายทำให้เกิดอาการของโรค เนื่องจากในระยะผลยังอ่อน พืชจะสร้างกลไกการป้องกันตัวเพื่อจำกัดการเจริญของเชื้อรา ต่อมาเมื่อผลสุกแก่กลไกการป้องกันตัวมีการเปลี่ยนแปลงทำให้เชื้อราสามารถเจริญได้ โดยในที่นี้จะขอกล่าวถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดด่างในผลิตผลต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืช ค่าความเป็นกรดด่างของผลิตผลที่เพิ่มหรือลดลง ส่งผลต่อการกลไกการป้องกันตัวของพืช ทำให้เชื้อราสาเหตุโรคถูกกระตุ้นให้มีการปลดปล่อยเอนไซม์ย่อยเนื้อเยื่อพืชอาศัย จึงก่อให้เกิดโรคได้ ความเป็นด่างจะเกิดจากปฏิกิริยาการผลิตแอมโมเนีย (ammonification) ในเนื้อเยื่อพืชที่มีการเข้าทำลายของเชื้อรา เช่น Colletotrichum และ Alternaria ส่วนความเป็นกรดเกิดจากปฏิกิริยาการสร้างกรด (acidification) ที่เป็นพวกกรดอินทรีย์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อพืชที่มีการเข้าทำลายของเชื้อรา เช่น Penicillium Botrytis และ Sclerotinia (Pursky et al._ 2010)

เชื้อราสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวจะมีช่องทางการเข้าทำลายเนื้อเยื่อพืชอาศัยได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) การเข้าทำลายทางบาดแผลที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น แมลงหรือสัตว์ และบาดแผลที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เครื่องมือการเกษตร การกระแทก รอยแยกจากการพัฒนาของผล ในระหว่างการเจริญและการเก็บรักษา 2) การเข้าทางรอยเปิดตามธรรมชาติของพืชอาศัย เช่นเลนติเซล ขั้วผล ก้านผล และ 3) การเข้าโดยตรงที่บริเวณรอยแตกของชั้นคิวติเคิลในระยะที่มีการพัฒนาของผล

การเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของสิ่งแวดล้อมหรือพืชอาศัย มีผลต่อการเกิดโรคจากเชื้อราสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยว การเปลี่ยนแปลงค่า pH ทำให้เกิดการเพิ่มหรือลดปริมาณเชื้อราได้ซึ่งอธิบายได้จากการที่เชื้อรามีทั้งประเภทที่เป็นเชื้อราที่เจริญในสภาพด่าง (alkalizing fungi) และเชื้อราที่เจริญในสภาพกรด (acidifying fungi) ค่า pH ของพืชอาศัยที่เหมาะสมจะมีผลต่อการสร้างเอนไซม์ของเชื้อรา การเปลี่ยนแปลง pH ของพืชอาศัยมีความสำคัญในการกระตุ้นให้เชื้อราที่เข้าทำลายแบบแฝงสามารถเจริญและพัฒนาก่อโรคในพืชได้ เชื้อราที่เจริญในสภาพด่างเช่น ผลอะโวคาโดในระยะสุกแก่และเสื่อมสภาพ จะมีค่า pH เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจาก 5.2 เป็น 6 ในระยะที่เข้าสู่การสุกแก่ (Yakoby et al._ 2000) ในระหว่างเชื้อราสาเหตุโรคเพิ่มปริมาณในพืชอาศัยจะเกิดมีปฏิกิริยาการผลิตแอมโมเนียขึ้น เช่นเชื้อรา Colletotrichum และ Alternaria จะสร้างแอมโมเนียออกมา ในชั้น pericarp ของผลอะโวกาโดซึ่งมี pH 5.2 ทำให้ pH เพิ่มขึ้นเป็น 7.5-8 เช่นเดียวกับผลมะเขือเทศจะมี pH 4.1-4.5 เมื่อเชื้อรา C. gloeosporioides เข้าทำลาย บริเวณบาดแผลที่เน่าเสียมี pH เพิ่มขึ้นเป็น 8 และมีการสะสมแอมโมเนียเป็น 3.6 มิลลิโมลาร์ เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อเยื่อพืชปกติที่มีแอมโมเนีย 0.2 มิลลิโมลาร์ (Alkan et al._ 2008; Prusky et al._ 2001) เช่นเดียวกับ พริกหยวก แตงเมล่อน เชอร์รี่ และพลับ (Eshel et al._ 2002) ที่พบการเข้าทำลายของเชื้อรา A. alternata จะมีความเข้มข้นแอมโมเนียเพิ่มขึ้น 3-10 เท่า และส่งผลให้ pH เพิ่มขึ้นจาก 0.2 เป็น 2.4 การสร้างแอมโมเนียนั้น เกิดจากกิจกรรมของเอนไซม์ย่อยโปรตีนและการย่อยกรดอะมิโน (Prusky and Yakoby_ 2003) เมื่อผลไม้ที่มีความเป็นกรดถูกเชื้อราเข้าทำลาย เชื้อราจะสร้างแอมโมเนียออกมาเกิดสภาพด่างทำให้เชื้อรามีความรุนแรงในการก่อโรค การสะสมแอมโมเนียเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเข้าทำลายของเชื้อรา Colletotrichum และทำให้เกิดการพัฒนาของโรคในผลิตผลสุก และพบการสร้างเอนไซม์ arsenal (Prusky and Yakoby_ 2003) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สร้างจากเชื้อสาเหตุโรคมีหน้าที่ย่อยสลายผนังเซลของพืช นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการแสดงออกของ endoglucanase ยีน AaK1 ที่เกิดจากเชื้อรา Alternaria alternata จะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีค่า pH มากกว่า 6 ในเนื้อเยื่อพืชที่มีการเน่าเสีย ซึ่ง endoglucanase เป็นเอนไซม์สร้างจากเชื้อรา แบคทีเรีย และโปโตรซัว มีหน้าที่เร่งปฏิกิริยาการย่อยสลาย cellulose ในผนังเซล ยีน AaK1 จะไม่แสดงออกเมื่ออยู่ในสภาวะ pH ต่ำ ทำให้อยู่ในสภาวะการเข้าทำลายแบบแฝง (Eshel et al._ 2002) เชื้อรา Colletotrichum มียีน pelB ที่จะแสดงออกเมื่อค่า pH มากกว่า 5.7 (Yakoby et al._ 2001)

ส่วนเชื้อราที่เจริญในสภาพกรด ได้แก่เชื้อรา Pencillium expansum P. digitatum P. italicum B. cinerea และ Sclerotium sclerotiorum จะปลดปล่อยกรดอินทรีย์ทำให้เกิดสภาพความเป็นกรดในเนื้อเยื่อ เชื้อรา Pencillium spp. สร้างกรดเมื่อเข้าทำลายแอปเปิ้ลและส้ม ทำให้ผลแอปเปิ้ลมีค่า pH ลดลง จากปกติเนื้อเยื่อ mesocarb มีค่า pH ระหว่าง 3.95-4.31 ลดลงเป็น 3.64-3.88 ในเนื้อเยื่อพืชที่ถูกทำลาย (ตารางที่ 1) (Prusky et al._ 2010) เชื้อรา S. sclerotiorum ในระหว่างเข้าทำลายพืชจะสร้างกรด oxalic ทำให้ค่า pH ของพืชลดต่ำลงเหลือเพียง pH 4 (Rollins and Dickman_ 2011) ซึ่งการเกิดกรด oxalic เป็นสิ่งบ่งบอกว่ามีการเข้าทำลายของเชื้อในระหว่างการติดเชื้อ เช่น แบคทีเรียจะสร้างกรด oxalic ขึ้นเพื่อออกซิไดส์คาร์โบไฮเดรตของพืช ส่วนเชื้อรา Pencillium spp. และ Aspergillus สร้างกรด citric และ gluconic สะสมในเนื้อเยื่อพืช ซึ่งทำให้ค่า pH ลดลง 0.5-1 หน่วย และเกิดการกำจัดแอมโมเนียออกจากเนื้อเยื่อพืชทำให้ค่า pH ลดต่ำลง (Prusky and Yakoby_ 2003; Ruijter et al._ 1999)

เชื้อรา P. expansum เป็นเชื้อสาเหตุโรคผลเน่าในแอปเปิ้ล สร้างกรด gluconic สะสมในเนื้อเยื่อพืช ตรวจพบการแสดงออกของยีน gox2 สูง ซึ่งเป็นยีนที่มีหน้าที่ออกซิไดซ์กลูโคสและปลดปล่อยกรด gluconic (Hadas et al._ 2007) การสะสมกรด gluconic และ oxalic เกิดขึ้นเมื่อพืชถูกเชื้อราเข้าทำลายซึ่งการเปลี่ยนแปลงของค่า pH เกี่ยวข้องกับการแสดงออกของยีน pac 1 (phosphatase of activated cells 1) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางใน zinc finger transcription factor การเกิดกรด oxalic ยังเกิดขึ้นจากกิจกรรมเอนไซม์ oxaloacetase ที่สลาย oxaloacetate (Rollins and Dickman_ 2001) การเปลี่ยนแปลงของค่า pH ในสิ่งแวดล้อมหรือผลิตผลเป็นปัจจัยที่เชื้อสาเหตุโรคเลือกเข้าทำลายที่มีความเฉพาะเจาะจงในพืชอาศัยแต่ละชนิด ในงานวิจัยที่กล่าวข้างต้นพบว่ายีนของเชื้อราจะถูกกระตุ้นจากการเปลี่ยนแปลงค่า pH ซึ่งยีนหลายชนิดทำให้เกิดการสร้างเอนไซม์ที่มาย่อยผนังเซลของพืช เชื้อรา P. expansum จะสร้างกรด gluconic และ citric ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน มีการทดลองเพิ่มความเป็นกรด pH 3-5 ในอาหารเลี้ยงเชื้อรา P. expansum ตรวจพบว่ามีการเพิ่มของยีน pepg1 (endopolygalacturanase gene) และในบริเวณเป็นด่างจากการเติม NaHCO3 พบการเจริญของเชื้อราลดลง (Prusky and Yakoby_ 2003)

สิ่งที่มีผลให้การเข้าทำลายแบบแฝงพัฒนาให้เกิดการก่อโรค โดยการเปลี่ยนสถานะจากการอยู่ร่วมกัน (biotrophism) เป็นการก่อโรคหรือการย่อยสลาย (necrotropic-saprophytic stage) มีปัจจัยที่ทำให้เกิดกลไกดังกล่าวภายในเซลที่มีผลมาจากชนิดและปริมาณแร่ธาตุต่างๆ และค่า pH ที่เหมาะสม สารที่ถูกปลดปล่อยออกมา เช่น กรดอินทรีย์ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการก่อโรคและทำให้เกิดความรุนแรงของโรคตามมาโดยมีการทำงานแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) การเกิดสาร oxalate ซึ่งจะเป็นพิษโดยตรงต่อพืชอาศัยหรือทำให้พืชอ่อนแอ 2) อาจมีการชะล้างแคลเซียมที่ผนังเซลเนื่องมาจากกรด oxalic และ gluconic ทำให้ผนังเซลอ่อนนิ่ม (Hadas et al._ 2007) และ 3)สาร oxalate ไปยับยั้งการสร้าง Reactive oxygen species (ROS) ของพืช และขัดขวางกลไกการป้องกันตัวเองของพืช (Kim et al._ 2008) การสร้างแอมโมเนียมีผลทั้งทางกายภาพและชีวเคมีต่อทั้งพืชและเชื้อสาเหตุโรค เนื้อเยื่อพืชปกติจะมีอิเล็กตรอนและโปรตรอนระหว่าง plasma membrane ซึ่งมีความสำคัญต่อการแลกเปลี่ยนไอออน การเคลื่อนที่ของของเหลว และการเจริญของผนังเซล ความเป็นพิษของแอมโมเนียจะทำให้พืชมีการสังเคราะห์เอทิลีนและมีการเปลี่ยนแปลงของการผ่านเข้าออกของสารในเซลเมมเบรน และส่งผลให้พืชมีการสะสมของ ROS เนื่องจากกลไกของ NADPH oxidase ทำให้เกิดบริเวณเนื้อเยื่อตาย (cell death) บนผลมะเขือเทศซึ่งส่งผลดีทำให้เป็นบริเวณจำกัดไม่ให้เส้นใยเจริญต่อไปได้ (Alkan et al._ 2009)

ความซับซ้อนของการเข้าทำลายแบบแฝงเกี่ยวของกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และชีวเคมีของพืชอาศัยในระหว่างการสุกและการเสื่อมสภาพอันนำไปสู่การอ่อนแอต่อโรค ประกอบกับเชื้อที่เข้าทำลายแบบแฝงมีความสามารถต้านทานสารยับยั้งเชื้อราในพืชอาศัยที่มีลดลงเมื่อเข้าสู่ระยะสุกแก่ได้ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ อาทิเช่น ค่า pH ในเนื้อเยื่อพืชอาศัย ปริมาณน้ำตาล องค์ประกอบของผนังเซล หรือบาดแผล เหล่านี้ล้วนกระตุ้นให้เชื้อราเจริญได้ ความเป็นกรดในเนื้อเยื่อพืชจากกรดอินทรีย์ (oxalic และ gluconic) หรือความเป็นด่างจากการสร้างแอมโมเนีย อาจมีส่วนทำให้เนื้อเยื่อเน่าเสียอย่างรวดเร็วได้ รวมทั้งผลของการแสดงออกของยีนและการปลดปล่อยเอ็นไซม์พวกที่ย่อยผนังเซล การหาคำตอบของการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ส่งสัญญาณต่างๆ เช่น pH ไนโตรเจน และน้ำตาล ที่มีผลต่อการก่อโรคหลังการเก็บเกี่ยวในระยะที่ผลิตผลสุกแก่ยังคงต้องหาคำตอบต่อไป แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันเราทราบแล้วว่าค่า pH ของพืชอาศัยมีผลต่อการพัฒนาของเชื้อสาเหตุโรคอันจะนำไปสู่การควบคุมโรคในการศึกษาต่อไปในอนาคต (Prusky et al._ 2006)

แนวทางในการแก้ปัญหาโรคหลังการเก็บเกี่ยวด้วยการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดด่าง จากงานวิจัยที่ผ่านมามีการใช้กรดร่วมกับกรรมวิธีการอื่นๆ ในการจัดการโรคหลังการเก็บเกี่ยว เช่นการใช้น้ำส้ม (กรดอะซิติก) ความเข้มข้นร้อยละ 1-3 ในน้ำ อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส สามารถลดการเจริญของสปอร์ของเชื้อรา Penicillium expansum สาเหตุโรคผลเน่าของแอปเปิ้ล โดยทดลองแช่ผลแอปเปิ้ล พันธุ์ Red Delicious ในกรดน้ำส้มที่อุณหภูมิดังกล่าว ความเข้มข้นร้อยละ 3 นาน 2 นาที สามารถลดอาการผลเน่าได้ (Radi et al._ 2010) Venditti et al. (2009) ทดลองรมผลส้มแมนดารินด้วยไอของกรดน้ำส้มความเข้มข้น 75 ไมโครลิตรต่อลิตร นาน 15 นาที ที่อุณหภูมิ 36 องศาเซลเซียส ที่ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 95 พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อรา Penicillium digitatum ที่ปลูกเชื้อบนผลส้มแมนดารินเก็บเกี่ยวใหม่ 2 พันธุ์ ได้แก่พันธุ์ Fremont และ Fairchild โดยพบการเน่าเสียเพียงร้อยละ 8.3 และ 2.1 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการทดลองพ่นกรดมะนาว (กรดซิตริก) ความเข้มข้น 1_000-2_000 ไมโครลิตรต่อลิตร เป็นเวลา 30 นาที มีผลในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวผลสตรอเบอรี่ (Vardar et al._ 2012)

** บทความนี้ตีพิมพ์ลงใน Postharvest Newsletter ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2562

เอกสารอ้างอิง
สืบศักดิ์ สนธิรัตน์. 2554. การจัดการโรคพืช. ภาควิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หจก. เกษมศรี ซี.พี. กรุงเทพฯ. 128 หน้า.
ศศิวิมล ลักษณพิสุทธิ์. 2553. การควบคุมโรคผลเน่าราสีเขียว ที่เกิดจากเชื้อรา Penicillium digitatum Sacc. บนผลส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง ด้วยสารสกัดจากขมิ้นชัน (Turmeric ; Curcuma longa Linn.). วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.บัณฑิตวิทยาลัย_ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 133 หน้า.
Alkan_ N_ R. Fluher_ A. Sherman and D. Prusky. 2008. Role of ammonia secretion and pH modulation on pathogenicity of Colletotrichum coccodes on tomato fruit. Mol Plant Microbe Interact 21:1058-1066.
Alkan_ N._ R. Fluhr_ M. Sagi_ O. Davydov and D. Prusky. 2009. Ammonia secreted by Colletotrichum coccodes effects host NADPH oxidase activity enhancing cell death and pathogenicity in tomato fruits. Molecular Plant-Microbe Interactions 22: In press
Eshel_ D._ I. Miyara_ T. Ailinng_ A. Dinoor and D. Prusky. 2002. pH regulates endoglucanase expression and virulence of Alternaria alternata in persimmon fruits. Mol Plant Microbe Interaction 15:744-779.
Hadas_ Y._ I. Goldberg_ O. Pines and D. Prusky. 2007. The relationship between expression of glucose oxidase_ gluconic accumulation_ acidification of host tissue and the pathogenicity of Pencillium expansum. Phytopathology 97:384-390.
Kim_ K.S._ J.Y. Min and M.B. Dickman. 2008. Oxalic acid is an elicitor of plant programmed cell death during Sclerotinia sclerotiorum disease development. Mol Plant Microbe Interact 21:605-612.
Prusky_ D. and N. Yakoby. 2003. Pathogenic fungi: leading or led by ambient pH? Mol Plant Pathol 4: 509-516.
Prusky_ D._ J.L. McEvoy_ B. Leverentz and W.S. Conway. 2001. Local modulation of host pH by Colletotrichum species as a mechanism to increase virulence. Mol Plant Microbe Interact 14:1105-1113.
Prusky_ D._ I. Kobiler_ M. Aderman and I. Miyara. 2006. Effect of acidic solutions and acid Prochloraz on the control of postharvest decays caused by Alternaria alternata in mango and persimmon fruit. Postharvest Biol Technol 42:134-141.
Prusky_ D._ N. Alkan_ I. Miyara_ S. Barad_ M. Davidzon_ I. Kobiler_ S. Brown-Horowitz_ A. Lichter_ A. Sherman and R. Fluhr. 2010. Mechanisms modulation postharvest pathogen colonization of decaying fruits. In D. Prusky and M.L. Gullino. Post-harvest pathology. Springer. pp.43-56.
Radi_ M._ H.A. Jouybari_ G. Mesbahi_ A. Farahnaky and S. Amiri. 2010. Effect of hot acetic acid solutions on postharvest decay caused by Penicillium expansum on Red Delicious apples. Scientia Horticulturae 126: 421–425.
Rollins_ J.A. and M.B. Dickman. 2011. pH signaling in Sclerotinia sclerotiorum: identification of pacC/RIM1 homolog. Applied Environ Microbiol 67:75-81.
Ruijter_ G.J.G._ P.J. van de Vondervoort_ and J. Visser. 1999. Oxalic acid production by Aspergillus niger: an oxalate-non-producing mutant produces citric acid at pH 5 and in the presence of manganese. Microbiology 145:2569-2576.
Vardar_ C._ K. Ilhan and O.A. Karabulut. 2012. The application of various disinfectants by fogging for decreasing postharvest diseases of strawberry. Postharvest Biology and Technology 66: 30–34.
Venditti_ T._ A. Dore_ M.G. Molinu_ M. Agabbio and G. D’hallewina. 2009. Combined effect of curing followed by acetic acid vapour treatments improves postharvest control of Penicillium digitatum on mandarins. Postharvest Biology and Technology 54: 111–114.
Yakoby_ N._ I. Kobler_ A. Dinoor and D. Prusky. 2000. pH regulation of pectate lyase secretion modulates the attack of Colletotrichum gloeosporioides on avocado fruits. Appl Environ Microbiol 66:1026-1030.
Yakoby_ N._ D. Beno-Moualem_ N.T. Keen_ A. Dinoor_ O. Pines_ and D. Prusky. 2001. Colletotrichum gloeosporioides pelB_ is an important factor in avocado fruit infection._ Mol Plant Microbe Interact 14: 988-995.

ที่มา http://www.farmkaset..link..
คำนิยม - ขอบคุณลูกค้าจาก เลิงนกทา จ.ยโสธร ใช้ ปุ๋ยระเบิดหัวมันสำปะหลัง FK-3C ถ่ายคลิบมาให้ดู
คำนิยม - ขอบคุณลูกค้าจาก เลิงนกทา จ.ยโสธร ใช้ ปุ๋ยระเบิดหัวมันสำปะหลัง FK-3C ถ่ายคลิบมาให้ดู
คำนิยม - ขอบคุณลูกค้าจาก เลิงนกทา จ.ยโสธร ใช้ ปุ๋ยระเบิดหัวมันสำปะหลัง FK-3C ถ่ายคลิบมาให้ดู
ลูกค้าท่านนี้ ปลูกมันสำปะหลัง ที่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร สั่งซื้อ FK-3C ปุ๋ยระเบิดหัวมันสำปะหลัง ที่ออกแบบมาสำหรับมันสำปะหลังโดยเฉพาะ ส่งภาพ และ วีดีโอคลิบกลับมาให้ และพอใจในคุณภาพ ขอบคุณลูกค้ามากนะคะ
สารสำคัญ ในกัญชา มีอะไรบ้าง
สารสำคัญ ในกัญชา มีอะไรบ้าง
สารสำคัญในกัญชา บทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสารสำคัญในกัญชา มีอะไรบ้าง
สารสำคัญในกัญชา แต่ละตัวสำคัญอย่างไร ตัวใหนทำไห้เมา ตัวใหนทำไห้ติด และตัวใหนใช้รักษาโรค เราจะพาทุกท่านมาหาคำตอบในบทความนี้กันคะ

สารสำคัญในกัญชามีหลายร้อยชนิด แบ่งออกเป็นกลุ่มหลักๆ ได้3กลุ่ม
1)สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids)
2)สารเทอร์ปีน (Terpenes)
3)สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)

กลุ่มที่ 1 สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids)
เป็นสารสำคัญในกัญชา ซึ่งสารในกลุ่มนี้เป็นสารประกอบทางเคมี ที่มีมากกว่า 500 ชนิด เป็นสารที่ต้นกัญชาสามารถผลิตได้ และเก็บสะสมไว้ในไตรโคม และต่อมขน ที่มีอยู่มากบริเวณ ดอกกัญชาตัวเมีย

สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) มากกว่า 100 ชนิด จะมีแค่ในต้นกัญชาเท่านั้น ไม่สามารถหาได้จากพืชนิดอื่น สาร (Cannabinoids) ที่ได้จากกัญชา จะเรียกว่า ไฟโตแคนนาบินอยด์ เพื่อไม่ไห้สับสนระหว่าง สารแคนนาบินอนยด์ที่ร่างการมนุษย์สร้างขึ้น

หลายคนสงสัยว่ากัญชาสร้างสารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) ที่เหมือนกับสารที่ร่างกายสร้างได้ด้วยหรือ คำตอบคือ เกือบเหมือนแต่ไม่เหมือน แต่ที่สำคัญเป็นสารที่ใช้แทนกันได้ สารโฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา มีโครงสร้าง ทางเคมีคล้ายกับสาร แคนนาบินอยด์ ที่ร่างกายสร้างขึ้น เพื่อใช้งานในระบบทำงานของร่างกาย เรียกว่า ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ Endocannabinioid System (ESC)

ระบบเอ็นโดแคนนนาบินอยด์
คือการรักษาสมดุลของร่างกายเพื่อไห้ทำงานเป็นปกติ โดยการควบคุมการทำงานต่างๆทั้งระบบประสาท กระบวนการทางกายภาพ การตอบสนองต่อความเจ็บปวด ความอยากอาหาร การย่อยอาหาร อารมณ์ การอักเสบต่างๆ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาทสำผัส การทำงานของหัวใจและอื่นๆระบบต่างๆจะถูกควบคุมด้วยระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ หากร่ายกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างแคนนาบินอยด์ ได้หรือสร้างได้น้อย

ร่างกายเกิดอาการผิดปกติ อาจเกิดโรคต่างๆขึ้นได้ การใช้สารแคนนาบินอยด์ ที่ได้จากกัญชาไปทดแทน จึงช่วยรักษาและป้องกันโรค ที่เกิดจากกระบวนการบกพร่องของสารแคนนาบินอยด์

สารแคนนาบินอยด์ จากต้นกัญชา
สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) เป็นสารสำคัญในกัญชา ตัวที่รู้จักและมีการศึกษามากในปัจจุบันได้แก่สาร THC_CBD_CBC_CBN_CBV โดยมีข้อมูลไห้พบมากที่สุดได้แก่ สารเดลตร้า 9 เดลตร้า ไฮโดรแคนนาบินอยด์ (THC) และแคนนาบิไดออล (CBD)

ซึ่งทั้ง2ชนิด มีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกันมาก โดยทั้ง2ประกอบด้วย คาร์บอน 21 อะตอม ไฮโดรเจน 30 และออกซิเจน 2 อะตอม แต่ที่มันต่างกันก็เพราะ การเรียนตัวของอะตอมไม่เหมือนกัน

สารเดลตร้า 9 เดตร้า ไฮโดรเเคนนาบินอยด์ (THC) สารกลุ่มนี้เป็นสารที่กลุ่มผู้ใช้เพื่อการนันทนาการต้องการ เพราะจะทำไห้เกิดอาการเมา หรือมีการผ่อนคลายทางร่างกาย ยิ่ง THC สูง ยิ่งเกิดอาการเมา

ซึ่งมีผลข้างเคียงจากการเสพติดตามมามากมายเช่น อาการปากแห้ง กระหายน้ำ หัวใจเต้นเร็ว ตาแดง สูญเสียความทรงจำชั่วขณะ ประสาทหลอน หูแว่ว

สารแคนนาบิไดออล (CBD) เป็นสารสำคัญในกัญชา สารตัวนี้จะทำไห้รู้สึกผ่อนคลายเช่นกัน แต่จะไม่ทำไห้มีผลต่อสุขภาพจิตประสาท ไม่ทำไห้เกิดอาการติด และยังช่วยลดอาการทางจิตประสาท ที่เกิดจากสาร ลดอาการวิตกกังวล ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ป้องกันโรคนอนไม่หลับ ลดอาการชักจากโรคปอกประสาทเสื่อม และโรคลมชักต่างๆ

กลุ่มที่ 2 สารเทอร์ปีน (Terpents)
เป็นสารสำคัญในกัญชาอีกชนิดหนึ่ง เป็นสารประกอบอโรมาติก เป็นสารทำไห้มีกลิ่นเฉพาะตัว ทำไห้เราสามารภแยกสายพันธ์ุกัญชาได้จากกลิ่น ซึ่งกลิ่นเหล่านี้ทำไห้กัญชามีเสน่ห์แตกต่างกันไป กัญชาจะมีกลิ่นและรสชาติที่โดดเด่น มีทั้ง ส้ม เบอร์รี่ มิ้น และอื่นๆอีกมากมาย

สิ่งที่ทำไห้ปริมาณสารเทอปีนมีมาก หรือ น้อย ประกอบด้วยหลายปัจจัย เช่น สภาพแวดล้อมที่ปลูก อุณภูมิ ปุ๋ย แสงไฟที่ได้รับ อายุการเก็บเกี่ยว การบ่ม การเก็บรักษา สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วยมีผลต่อปริมาณ และคุณภาพ ของสารเทอร์ปีน

เทอร์ปีน เป็นสารสำคัญในกัญชาที่มีผลต่อร่างการโดยตรง ช่วยไห้ผ่อนคลาย ช่วยบำบัดโรค โดยเป็นตัวเสริมซึ่งกันและกัน ระหว่าง สารแคนนาบินอยด์ ทำไห้มีฤทธิ์มากขึ้น หากใช้สารสกัด CBD เพียวๆอาจไม่ได้ผลดี เหมือนการใช้ดอกแห้งที่นังไม่สกัด เพราะสารสกัด CBD เพียวๆ จะไม่มีสารเทอร์ปีนอยู่ด้วย

กลุ่มที่ 3 สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)
สารฟลาโวนอยด์ เป็นสารสำคัญในกัญชา ที่จัดเป็นนิวตราซูติคอล หรือ อาหาร หรือส่วนประกอบของอาหาร เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ทางยา ป้องกัน รักษาโรค และชะลอความชรา มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

โดยทำหน้าที่หน่วงเหนี่ยว หรือเป็นสารต้านปฏิกริยา ออกซิเดชั่น จึงช่วยหยุด กริยาลูกโซ่ของอนุมูลอิสระได้ และยังช่วยลดการเกิดโรคเรื่อรังชนิดต่างๆ มีประโยชน์ต่อระบบสมอง ระบบเส้นเลือด และหัวใจ รวมทั้งพบสรรพคุณในการฆ่ามะเร็งได้ด้วย ปัจจุบันค้นพบการสำคัญในกัญชา ที่เป็นสารกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ มากกว่า20ชนิด

การใช้กัญชารักษาโรค
การใช้กัญชารักษาโรคนั้นจำเป็นต้องใช้ทั้ง 3 กลุ่ม ดังที่กล่าวไปข้างต้น ทำงานร่วมกันจึงจะได้ผลดี หากทำสกัดแยกสารออกมาเดี่ยวๆอาจจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร แต่การใช้ยาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน จำเป็นต้องระบุสารเคมีที่ใช้ไห้ชัดเจน ทั้งปริมาณและความบริสุทธิของสาร

ซึ่งเป็นอุปสรรค์ ของการใช้กัญชาทางการแพทย์อยู่พอสมควร ทั้งยังทำไห้ราคาสูงขึ้น เพราะจะต้องทำไห้เป็นสารบริสุทธิ์ การใช้กัญชาทางการแพทย์ในรูปแบบสมุนไพร น้ำมันกัญชา หรือการสูบไอระเหย จึงสะดวกกว่ามาก

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..

สำหรับผู้ผลิตสินค้าที่มีส่วนประกอบของกัญชา สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้ http://www.farmkaset..link..
คำนิยม - ลูกค้าท่านนี้ใช้ ไอเอส กำจัดโรครา ใช้ FK-1 เร่งการแตกยอดแตกใบใหม่ค่ะ
คำนิยม - ลูกค้าท่านนี้ใช้ ไอเอส กำจัดโรครา ใช้ FK-1 เร่งการแตกยอดแตกใบใหม่ค่ะ
ข้อความจากลูกค้า

"สินค้าใช้ดีมากคับ. ฉีด ครั้งที่2. จบปัญหาเรื่อง รา หาย. ของดีต้องบอกต่อ. แนะนำให้ใช้คับ. ดีจิงๆๆ."

"FK1. ตัวนี้. ก็สุดยอด. คับ. ท่านที่ต้องการ. ใบแตกยอด. หรือทำใบ. แตกยอด. สุดยอดคับ. ทำใบดีมาก. สินค้าดี. ต้องแนะนำคับ"

ขอบคุณลูกค้า ที่กลับเข้ามาคอมเมนต์ที่เพจ ฟาร์มเกษตร นะคะ
อ่าน:3314
เคล็ดวิชารอบๆตัว ที่เราไม่เคยรู้
เคล็ดวิชารอบๆตัว ที่เราไม่เคยรู้

เคล็ดวิชา และความรู้ มีอยู่รอบตัว พบได้ทุกวัน แต่ เราไม่มีทางจะรู้ได้เลย ว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้า คือเคล็ดวิชาขั้นเทพ ถ้าขาดผู้แนะนำ ชี้ทางสว่างให้เราเข้าใจ แม้เราจะช่างสังเกตุเพียงใดก็ตาม ต้องรู้จักตั้งคำถามในใจ กับสิ่งที่เรามองแล้วไม่เข้าใจ

.

ตอนผมเด็กๆ ที่ นาสาร สราษฯ ณ ร้านก๋วยเตี๋ยวดัง ผมรอคิวซื้อใส่ถุงกลับบ้าน คิวก่อนผมเป็นคุยยาย ยืนรอ เห็นเจ้าของร้าน ใช้ตะเกียบคนก๋วยเตี๋ยวในถุง ก่อนที่จะมัดปากถุงทุกครั้งตั้งแต่คิวก่อนหน้าคุณยาย คุณยายคงรีบ พอถึงคิวตัวเองก็บอกว่า ไม่ต้องคนหรอก มัดเลย เจ้าของร้านเลยพูดแบบมีอารมณ์ว่า ไม่คนน้ำมันเจียวกับเส้น กลับไปถึงบ้านเส้นก็ติดกันเป็นก้อนหมดสิ คุณยายเลยตอบว่า อ๋อ.. ตอนแรกนึกว่าคนให้มันดูเยอะๆ

.

เช่นนี้เรียกว่า เคล็ดวิชา ก๋วยเตี๋ยวอร่อยแม้กลับไปกินที่บ้าน

.

แต่ก่อนบางครั้งผมก็หงุดหงิดนะ ทำมัยเวลาไปกินก๋วยเตี๋ยวต้มยำที่ร้าน บางทีก็ผัดไทย ทำไมต้องเอามะนาวมาให้เราบีบเองตลอดเลย ไม่อยากมือเลอะ

ตอนทำ ไม่บีบลงไปเลยล่ะ?

ตอนไปนั่งรอต้มยำกุ้ง ใส่ถุงซื้อกลับบ้าน ก็เคยสังเกตุว่า แม่ค้าปรุงทุกอย่างในหม้อ ขณะอยู่บนไฟ แต่พอใส่ต้มยำลงในถุงแล้วบีบมะนาวตามลงไป

เลยได้รู้ว่า บีบมะนาวทีหลังสุด ให้รสเปรี้ยวที่อร่อยกว่า และได้กลิ่นหอมมะนาว ถ้าบีบลงน้ำร้อนๆ ความเปรียบหายไปเยอะ และเป็นคนละรสเปรี้ยวกัน แถมความหอมมะนาวก็หายไปหมด

.

เช่นนี้เรียกว่า เคล็ดวิชา อาหารอร่อยหอมกลิ่มมะนาว

.

ผมว่าในชีวิตประจำวันของเรา ที่มองเห็นอะไรๆรอบๆตัวอยู่ทุกวัน คงมีหลายอย่างที่เป็นความรู้ดีๆ แต่เราไม่มีพื้นฐาน เลยมองแล้วไม่รู้ ไม่ใส่ใจ เพราะเราไม่เข้าใจ ซึ่งจริงๆแล้วอาจเป็นสิ่งที่เรารู้แล้วเราอาจจะชอบ และประทับใจมันเป็นอย่างมาก

อ่าน:3314
โรคพืช ทำให้เกิดโรคในคนได้หรือไม่ ?
หลายคนคงเคยสงสัย "ถ้าบริโภคผักผลไม้ที่เป็นโรคแล้ว จะทำให้เราเป็นโรคหรือไม่" เป็นคำถามง่ายๆ ที่หลายคนอาจจะทราบคำตอบ แต่อีกหลายคนอาจไม่ทราบและไม่แน่ใจในคำตอบ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องรู้ก่อนว่า โรคพืชเกิดขึ้นได้อย่างไร

"โรคพืช (Plant Disease)" เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ เกิดจากสิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูพืช ซึ่งเรียกว่าเป็น Biotic Disease และเกิดจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ปริมาณธาตุอาหาร น้ำ อุณหภูมิ และแสง รวมถึงการปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่เหมาะสม อาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมเหล่านี้ เรียกว่าเป็น Abiotic Disease ซึ่งเป็นอาการที่ไม่ติดต่อจากพืชหนึ่งไปยังพืชข้างเคียง

สำหรับโรคพืชที่เกิดจากศัตรูพืชซึ่งจัดเป็นโรคที่ติดต่อได้ (Infectious Disease) นั้น โรคพืชจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ เชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค (Pathogen) พืชอาศัย (Host Plant) และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค (Environment) ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ประการนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กัน นั่นหมายความว่า เชื้อสาเหตุ เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส จะทำให้เกิดโรคในพืชชนิดใดชนิดหนึ่งได้ เชื้อสาเหตุเหล่านี้ต้องสามารถดำรงชีวิตและขยายพันธุ์ในพืชชนิดนั้นได้ และภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม เชื้อสาเหตุเหล่านี้จะสามารถทำให้เกิดโรค (Pathogenicity) ในพืชอาศัยของมันได้ ทั้งนี้ มีปัจจัยเรื่องระยะเวลา (Time) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคเหล่านี้ ในทางโรคพืชวิทยา เรียกว่า "สามเหลี่ยมโรคพืช (Disease Triangle)" ด้วยเหตุนี้ จึงอธิบายได้ว่า เหตุใดพืชหลายชนิดไม่เป็นโรค ทั้งที่ในโลกใบนี้ มีโรคพืชมากมายหลายชนิดปรากฏอยู่ ดังนั้น คงพอจะทราบคำตอบแล้วว่า โรคพืชทำให้เกิดโรคในคนได้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม แม้จะกล่าวได้ว่า จุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช ไม่ก่อให้เกิดโรคในคน แต่เชื้อราสาเหตุโรคพืชบางชนิดสามารถสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนได้ เช่น Aflatoxin ซึ่งมักพบในเมล็ดธัญพืช ถั่ว และวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นอาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์ Potulin ซึ่งมักพบในผักและผลไม้ Ochratoxin A และ Alternaria toxin เป็นต้น ซึ่งสารพิษจากเชื้อรา (Mycotoxins) ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า บางชนิดมีสมบัติเป็นสารก่อมะเร็ง และเกือบทุกชนิดมีความทนทานต่ออุณหภูมิสูงในกระบวนการแปรรูปอาหาร ดังนั้น การกำจัดผลิตผลในส่วนที่พบเชื้อราหรือเน่าเสียที่สามารถสังเกตเห็นได้ ไม่ได้เป็นการยืนยันถึงความปลอดภัยของผักผลไม้ที่บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการแปรรูปผักผลไม้ เพราะอาจยังมีเชื้อราบางส่วนปะปนและกลายเป็นแหล่งก่อให้เกิดการสร้างสารพิษขึ้นได้ ดังนั้น หากสงสัยหรือไม่แน่ใจในความปลอดภัยของผักและผลไม้ที่บริโภค ก็ควรกำจัดทิ้งผักผลไม้ที่สงสัยนั้น..."If in doubt_ throw it out!"


เอกสารอ้างอิง

Agrios_ G.N. 1997. Plant Pathology. 4th eds. Academic Press_ San Diego_ the United States of America.

เนตรนภิส เขียวขำ. 2554. สารพิษจากเชื้อราในผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว. http://www.farmkaset..link... เข้าถึงเมื่อ 28 เมษายน 2555.

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3314
ปุ๋ยเร่งผลแก้วมังกร ปุ๋ยแก้วมังกร ปุ๋ยบำรุงแก้วมังกร ขยายผล คุณภาพดี ให้ ธาตุ โพแทสเซียม ถึง 40% สำหรับเร่งผลโดยเฉพาะ
ปุ๋ยเร่งผลแก้วมังกร ปุ๋ยแก้วมังกร ปุ๋ยบำรุงแก้วมังกร ขยายผล คุณภาพดี ให้ ธาตุ โพแทสเซียม ถึง 40% สำหรับเร่งผลโดยเฉพาะ
🏆ทดแทนปุ๋ยเม็ด! ผลโตแน่นอน สำหรับพืชออกผลทุกชนิด ให้ โพแตสเซียม มากถึง 40 เปอร์เซนต์ เพื่อ เร่งผล ขนาดขนาดผล เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ เร่งผลโต น้ำหนักดี แน่นอน

❗ทราบหรือยัง? หัวเชื้อ ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริมเหล่านี้ ใช้สเปรย์ลงบนปุ๋ยเม็ด ในขั้นตอนการปั้นเม็ดเช่นกัน

ใช้ได้กับพืชออกผล และพืชลงหัว ทุกชนิด 🍉🥕🌽🍠🥜🥥🥕🍑🍓🍊🍅🍍🌶🧄

👍เชื่อถือได้ ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร
– ธาตุหลัก ทะเบียนเลขที่ 1637/2563
– สารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ รส. 1727/2563

👌ใช้ง่าย เพียงแค่ผสมน้ำ ฉีดพ่น หรือราดลงโคน
– หนึ่งชุดมีสองถุง ผสมใช้พร้อมกัน (บรรจุถุงละ 1กิโลกรัม สองถุงรวม 2กิโลกรัม)
– มีสารจับใบในตัว
– ตักถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร (50กรัม ประมาณ 2ช้อนโต๊ะ)

💪เน้นโพแตสเซียมมากเป็นพิเศษ ถึง 40% พืชโตไว สมบรณ์ ผลผลิตดีขึ้น ต้านทานต่อโรคได้ดี ได้ทั้งธาตุหลัก ธาตุเสริม
🌳ธาตุ N ไนโตรเจน 5 เปอร์เซ็นต์ ช่วยพืชโตไว ใบเขียวตั้งตัวได้ สร้างโปรตีน สร้างอาหาร สร้างพลังงานให้กับพืช
🌞ธาตุ P ฟอสฟอรัส 10 เปอร์เซ็นต์ ช่วยสังเคราะห์แสง ผลิตแป้งและน้ำตาล กระตุ้นการออกดอก กระตุ้นราก
🌽ธาตุ K โพแตสเซียม 40 เปอร์เซ็นต์ สร้างโปรตีน เพิ่มคุณภาพผลผลิต ลดโรคพืช
💫ธาตุ Mg แมกนีเซียม 23 เปอร์เซ็นต์ สังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมันและน้ำตาล ช่วยสังเคราะห์แสง กระตุ้นเอนไซม์
✨ธาตุ Zn สังกะสี 10 เปอร์เซ็นต์ ช่วยสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์และแป้ง ควบคุมการย่อยน้ำตาลของพืช ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช


ทักแชทเฟสบุ๊ค คลิก http://www.farmkaset..link..
โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset หรือคลิก http://www.farmkaset..link..

ซื้อกับ ลาซาด้า
คลิก http://www.farmkaset..link..

ซื้อกับ ช้อปปี้
คลิก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3314
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคใบจุดวง ในมะเขือเทศ ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคใบจุดวง ในมะเขือเทศ ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคใบจุดวง ในมะเขือเทศ ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดหนึ่งถูกนำมาใช้เป็นสารชีวภัณฑ์ตามธรรมชาติเพื่อป้องกันและกำจัดโรคพืชต่างๆ เชื้อราไตรโคเดอร์มายี่ห้อหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ Trichorex ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะสำหรับการป้องกันและควบคุมโรคจุดวงแหวนในมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อ Alternaria solani

โรคใบจุดวงแหวนของมะเขือเทศ หรือที่เรียกว่า Alternaria blight เป็นโรคที่พบได้บ่อยและทำลายพืชมะเขือเทศ มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Alternaria solani ซึ่งติดเชื้อที่ใบ ลำต้น และผลของต้นมะเขือเทศ โรคนี้มีลักษณะโดยการพัฒนาของวงแหวนสีดำหรือจุดบนใบและผลไม้ ซึ่งอาจนำไปสู่การตายก่อนวัยอันควรของพืชและการสูญเสียผลผลิตอย่างมาก

Trichorex เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคใบจุดวงแหวนของมะเขือเทศ ประกอบด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ที่คัดเลือกมาโดยเฉพาะสำหรับความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของ Alternaria solani และเชื้อราที่เป็นอันตรายอื่นๆ เมื่อนำไปใช้กับดินหรือใช้กับพืชโดยตรง Trichorex จะสร้างชั้นป้องกันรอบรากและใบของพืช ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรค

นอกจากประสิทธิภาพในการควบคุมโรคใบจุดวงแหวนของมะเขือเทศแล้ว Trichorex ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกหลายประการ ปลอดภัยสำหรับใช้กับพืชหลากหลายชนิดและได้รับการรับรองสำหรับเกษตรอินทรีย์ นอกจากนี้ยังติดง่ายและใช้ได้ทั้งกลางแจ้งและในเรือนกระจก

โดยรวมแล้ว Trichorex เป็นวิธีแก้ปัญหาที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพสำหรับการป้องกันและควบคุมโรคจุดวงแหวนในมะเขือเทศ สูตรที่เป็นธรรมชาติและปลอดภัยทำให้เป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับเกษตรกรและชาวสวนที่ต้องการปกป้องต้นมะเขือเทศจากโรคร้ายนี้

ไตรโคเร็กซ์ : เชื้อไตรโคเดอร์มา

ช่วยป้องกันและยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นใบเหลือง รากเน่า
โคนเน่า ไฟท้อปเธอร่าในทุเรียนโรคแคงเกอร์ในส้ม - มะนาว
โรคทลายปาล์มเน่าโรคแอนแทรกโนสใน มะละกอ แตงโม แตงกวาโรคใบจุด ใบแห้ง
โรคกาบใบเน่า โรคกาบใบแห้งโรคไหม้ในข้าว โรคกุ้งแห้งในพริก
โรคผลเน่าไตรโคเร็กซ์

ใช้อย่างไร

1. ผสมเชื้อ 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณกิ่ง ก้าน ใบ หรือราดบริเวณโคนต้น

2. ผสมเชื้อ 20 กรัม ต่อปุ๋ยอินทรีย์ 20 กก.ในการปลูกหรือรองก้นหลุมก่อนปลูก

* ไม่ควรผสมใช้ร่วมกับเชื้อบิวเวอร์เรียและเมธาไรเซียม ควรฉีดสลับกันทุก 7-10 วัน *

ผลิตภัณฑ์ของเราดีกว่าอย่างไร
1.มีห้องปฏิบัติการเพาะเชื้อจุลินทรีย์
- คัดสายพันธุ์เฉพาะ ผ่านการทดสอบ/วิจัย
- สายพันธุ์เชื้อผ่านการตรวจจาก วว.และ สวทช
2.เชื้อจุลินทรีย์เลี้ยงในอุณหภูมิที่เหมาะสม
- มีตู้บ่มเชื้อควบคุมอุณหภูมิ
- ได้เชื้อจุลินทรีย์สมบูรณ์ แข็งแรง
3.มีห้องสำหรับการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์
- เพื่อลดการปนเปื้อนระหว่างการเพาะเชื้อ
- ควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น แสง
4.ควบคุมคุณภาพเชื้อจุลินทรีย์ตลอดการผลิต

ป้องกันกำจัดโรคพืช
-โรคใบเหลือง ใบเหี่ยว
-โรคใบจุด ราน้ำค้าง
-โรคราแป้ง
-โรคราสีชมพู กาบใบแห้ง
-โรคผลเน่า ในพริกทุเรียน
-โรคใบไหม้
-โรคเหี่ยวเขียว เหี่ยวเหลือง
-โรครากเน่าโคนเน่า
-โรคเมล็ดเน่า

กลไกการป้องกันโรคพืช
1.เจริญเติบโต แข่งขัน แย่งอาหาร น้ำ และที่อยู่กับเชื้อราสาเหตุโรคพืช
จึงทำให้เชื้อโรคลดปริมาณ ลงอย่างรวดเร็ว
2.การสร้างสารปฏิชีวนะ มาทำลายผนังเซลล์เชื้อราโรคพืช
ทำให้เส้นใยเชื้อราโรคพืชเกิดการไหม้ และตาย 
3.เป็นปรสิต สร้างเส้นใยพันรัดน้ำเลี้ยงจากเชื้อโรคพืช
ทำให้เส้นใยสลายลดการขยาย เผ่าพันธุ์ลง


สั่งซื้อ
โทร 090-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link.. ได้เช่นกัน
เตือนกัญชาผสมในขนม เครื่องดื่ม กินเข้าไปมาก ส่งผลอาการรุนแรงได้เท่ากับเสพโดยตรง
เตือนกัญชาผสมในขนม เครื่องดื่ม กินเข้าไปมาก ส่งผลอาการรุนแรงได้เท่ากับเสพโดยตรง
25พ.ย.62-นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กัญชาจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 สามารถนำกัญชาไปทำการศึกษาวิจัย และพัฒนาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และนำไปใช้ในการรักษาโรคภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์เท่านั้น ในประเทศไทย ยังไม่ได้รับการยกเว้น หรืออนุญาตให้ผลิต หรือนำเข้ากัญชาที่ผสมในอาหาร หรือเครื่องดื่ม แต่มีบางประเทศ เช่น รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา แคนาดาอนุญาตให้นำกัญชาผสมในขนม อาหาร หรือเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ และประชาชนสามารถใช้ได้เองอย่างถูกกฎหมาย ในรูปแบบของ คุกกี้ บราวนี่ ช็อกโกเลต ลูกอม อมยิ้ม เยลลี่ ขนมขบเคี้ยว หรือเครื่องดื่ม

แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการควบคุมคุณภาพในการผลิต ไม่มีสารอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย มีการจำกัดปริมาณและต้องมีฉลากระบุปริมาณของสารไว้อย่างชัดเจนภายใต้กฎหมายควบคุม และบรรจุในภาชนะที่ป้องกันเด็ก เนื่องจากอาจเข้าใจผิดว่าเป็นขนมเพราะส่วนใหญ่จะมี สี กลิ่น รส น่ารับประทาน จนทำให้เกิดอันตรายได้

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่า กัญชามีสารสำคัญตัวหนึ่งคือ ทีเอชซี ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง คือ มีฤทธิ์ต่อสมองและทำให้ร่างกายอารมณ์ และจิตใจเปลี่ยนแปลงไป ทีเอชซีจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ อารมณ์ดี หัวเราะและหัวใจเต้นเร็ว ต่อมาจะกดประสาททำให้ผู้เสพมีอาการมีนงง เซื่องซึมและง่วงนอน หากเสพเข้าไปในปริมาณมากๆจะหลอนประสาททำให้เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ความคิดสับสน ควบคุมตนเองไม่ได้ มีการนำมาใช้ ในทางที่ผิดโดยการสูบ เคี้ยว หรือผสมกัญชาลงในอาหาร ในกรณีสูบกัญชาจะเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วภายใน 2-3 นาที และจะออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทได้สูงสุดถึง 1 ชั่วโมง

แต่การรับประทานใช้เวลาในการออกฤทธิ์นานราวหนึ่งชั่วโมงหรือมากกว่า และจะถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกาย และถูกขับออกทางปัสสาวะเป็นส่วนใหญ่ ในกรณีไม่เคยเสพกัญชา จะอยู่ในร่างกายได้นาน 2-5 วัน สามารถตรวจหาสารสำคัญของกัญชาได้ในปัสสาวะ ด้วยชุดทดสอบกัญชาเบื้องต้นและ ยืนยันผลโดยใช้เครื่องมือชั้นสูง ได้แก่ เครื่องแก๊สโครมาโตกราฟี-แมสสเปกโทรมิเตอร์ (GC-MS) ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักยาและวัตถุเสพติด

การรับประทานอาหารที่ผสมกัญชา ออกฤทธิ์ได้เช่นเดียวกับการเสพ แต่ช้ากว่า จึงพบอาการข้างเคียงจากการใช้กัญชาในปริมาณเกินขนาดจนเกิดอันตรายได้ แต่อย่างไรก็ตาม การออกฤทธิ์จะขึ้นกับชนิด ปริมาณของสารสำคัญ และการตอบสนองที่แตกต่างกันในแต่ละคน การรับประทานจะไม่ทำให้กลิ่นติดตัวเหมือนการสูบ จึงนิยมใช้ในสถานบันเทิง การผสมในอาหารส่วนใหญ่จะมีสี กลิ่น และรสที่น่ารับประทาน จะไม่สามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอกว่ามีกัญชา ผสมหรือไม่ แต่อาจสังเกตที่สัญลักษณ์บนฉลากจะมีคำว่า cannabis_ THC_ CBD หรือ Hemp ต้องระมัดระวังและ ไม่รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มจากคนแปลกหน้า และให้ความรู้กับเยาวชนเพื่อป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ นพ.โอภาสกล่าว
พืชเศรษฐกิจ สินค้าสร้างรายได้ในครัวเรือนและประเทศ
พืชเศรษฐกิจ สินค้าสร้างรายได้ในครัวเรือนและประเทศ
พืชเศรษฐกิจ สินค้าสร้างรายได้ในครัวเรือนและประเทศ
ด้วยพื้นที่ของประเทศไทยมีความเหมาะสมในด้านการเกษตรจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า พืช คือสิ่งที่ทำให้คนไทยมีอาหารเลี้ยงปากท้องและยังสร้างรายได้กับครัวเรือน ต่อยอดไปจนถึงการสร้างรายได้ให้ประเทศจนกลายเป็น พืชเศรษฐกิจ ที่เกษตรกรจำนวนมากยึดถือเป็นอาชีพ จึงอยากนำเสนอให้กับผู้ที่สนใจหรือคนที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อโอกาสในการสร้างประโยชน์ต่อตัวเองและประเทศชาติต่อไปในอนาคต

มารู้จักกับพืชเศรษฐกิจของไทย
อย่างที่กล่าวไปว่าพืชถือเป็นปัจจัยสำคัญในการหล่อเลี้ยงชีวิตให้กับคนไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งไม่ใช่แค่การบริโภคเท่านั้น แต่เมื่อปลูกในปริมาณมากขึ้นก็ย่อมสร้างรายได้ให้กับเกษตรมากตามไปด้วย ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันมีพืชเศรษฐกิจที่ส่งเสริมอาชีพ ทำเงินให้กับคนในประเทศเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ไม่ใช่หมายถึงการส่งออกพืชเหล่านั้นแบบสด ๆ เพียงอย่างเดียว แต่หลายชนิดยังถูกนำมาแปรรูปเพื่อสร้างประโยชน์และเม็ดเงินได้อีกมากมาย

พืชเศรษฐกิจเหล่านี้ไม่ใช่แค่การบริโภคของคนเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการถูกนำไปเลี้ยงสัตว์และทำประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุดด้วย นี่คือความโชคดีของประเทศไทยด้วยพื้นที่และสภาพอากาศเหมาะสมจึงสามารถปลูกพืชต่าง ๆ ได้หลากหลายชนิดในแบบที่หลายประเทศไม่เคยทำได้ แหล่งรายได้หลักจึงมักมาจากประเทศพัฒนาแล้วแต่ขาดแคลนด้านการผลิตจึงต้องอาศัยการนำเข้านั่นเอง มารู้จักกับพืชเศรษฐกิจของไทยให้มากขึ้น พร้อมเรียนรู้เรื่องราวอื่น ๆ ไปพร้อมกันได้เลย มีสิ่งที่หลายคนอาจไม่รู้อีกมากทีเดียว

พืชเศรษฐกิจในปัจจุบัน
อย่างที่กล่าวไปว่าหนึ่งในรายได้ที่ช่วยสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ดีขึ้นมาจาก พืชเศรษฐกิจ ดังนั้นบรรดาพืชที่จะกล่าวถึงนี้ยังคงถูกขนานนามให้เป็นพืชเศรษฐกิจในปัจจุบันเหมือนเดิม พร้อมทั้งยังทำเงินให้กับเกษตรกรและประเทศอย่างต่อเนื่อง จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

ข้าว
ข้าว คือ อาหารหลักของคนไทยและผู้คนอีกจำนวนมาก จึงต้องยอมรับว่ายังคงเป็นพืชเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ได้รับความต้องการจากประเทศคู่ค้ามหาศาลในแต่ละปี โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวที่ถูกยกย่องว่าดีสุดของโลกอย่าง ข้าวหอมมะลิ ด้วยรสสัมผัสอันเนียนนุ่ม บวกกับรสชาติที่มีความหวานในตัว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากใครที่ได้ทานต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอร่อย ซึ่งจริง ๆ แล้วข้าวอันถือเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของเมืองไทยนั้นไม่ได้มีแค่ข้าวหอมมะลิเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีสายพันธุ์อื่น ๆ ด้วย เช่น ข้าวเหนียว ข้าวหอม ข้าวขาวพื้นแข็ง เป็นต้น ซึ่งพันธุ์ข่าวที่ถูกส่งออกมากที่สุดได้แก่ ข้าวขาวพื้นแข็ง คิดเป็นเกือบ 50% ของข้าวพันธุ์อื่น ๆ โดยกลุ่มประเทศที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ในการส่งออกข้าวของประเทศไทยคือ จีน และสหรัฐฯ แม้ในปัจจุบันจะมีคู่แข่งรายสำคัญอย่างเวียดนามที่ส่งออกข้าวได้มากกว่า แต่ด้วยคุณภาพจึงต้องยอมรับในด้านของความพึงพอใจที่ผู้บริโภคมีนั้น ข้าวของประเทศไทยยังคงเป็นที่ชื่นชอบ

ยางพารา
หากบอกว่านี่คือพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญรองลงมาจากข้าวคงไม่ใช่เรื่องผิดนัก แม้ว่าราคาในประเทศจะมีปรับขึ้น-ลงตามความเหมาะสม แต่ด้วยปัจจุบันการน้ำยางยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพื่อนำไปทำสิ่งต่าง ๆ ให้มนุษย์ได้ใช้งานมากมาย อาทิ ยางรถยนต์ ส่วนผสมในการทำยางมะตอยเทพื้น ยางกันรั่วซึม ถุงยางอนามัย และอื่น ๆ อีกมาก ผลิตภัณฑ์ยางพาราของไทยนั้นมีการส่งออกทั้งแบบน้ำยางดิบและผ่านการแปรรูปมาแล้ว จึงส่งผลถึงการสร้างรายได้ที่หลากหลาย ในอดีตการปลูกยางมักปลูกกันแถบภาคใต้ ทว่าปัจจุบันได้มีการพัฒนาและปรับพื้นที่ในภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการปลูกยางพารากันมากขึ้น สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมากตามไปด้วย การที่ยางพาราถูกจัดให้เป็นพืชเศรษฐกิจลำดับที่ 2 ต่อจากข้าว เพราะ ประเทศไทยยังคงถูกยกให้เป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลกมาร่วม 30 ปี โดยคิดเป็นเกือบ ๆ 30% ของยางพาราทั้งหมดที่ใช้งานกันในทุกประเทศ

อ้อย
พืชเศรษฐกิจในปัจจุบันที่กำลังมีความต้องการสูงมาก ๆ ในต่างประเทศ ซึ่งการส่งออกอ้อยนั้นไม่ได้หมายถึงการส่งออกไปแบบสด ๆ เพียงอย่างเดียว แต่มีการนำไปแปรรูปเป็นน้ำตาลทรายเพื่อใช้ปรุงอาหาร รวมถึงมีการนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทนต่าง ๆ (น้ำตาลทรายจะถูกส่งออกมากที่สุด) เมื่อเทียบกันในระดับโลกแล้ว ประเทศไทยมีการสร้างรายได้จากอ้อยมากเป็นอันดับ 2 รองเพียงแค่บราซิลประเทศเดียวเท่านั้น จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าพืชเศรษฐกิจกลุ่มนี้ยังคงมีความสำคัญต่อการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและประเทศมากจริง ๆ ในอดีตการปลูกอ้อยมักกระจายตามแถบพื้นที่ราบลุ่มและทนแล้งในระดับหนึ่ง เช่น นครสวรรค์ อุดรธานี นครราชสีมา กาญจนบุรี กำแพงเพชร แต่ทุกวันนี้มีเกษตรกรที่หันมาปลูกไร่อ้อยกันมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากได้ราคาดี ดูแลง่าย เก็บเกี่ยวรวดเร็ว ไม่ต้องรอนานเหมือนกับพืชหลาย ๆ ชนิดอีกด้วย

มันสำปะหลัง
พืชอีกชนิดที่ถูกยกให้เป็นผลิตภัณฑ์สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยมากในลำดับต้น ๆ ปกติแล้วมันสำปะหลังจะไม่ได้ถูกนำไปใช้ประกอบอาหารของคน แต่จะถูกนำไปแปรรูปเป็นอาหารสัตว์เนื่องจากมีคุณค่าโภชนาการสูง อีกทั้งยังมีการนำไปแปรรูปเพิ่มเติมกลิ่นให้กับอาหารมีความน่าทานมากขึ้น_ ผลิตเป็นน้ำมันเอทานอลเพื่อใช้งานแทนที่พลังงานจากน้ำมันดิบ นั่นส่งผลให้พืชเศรษฐกิจตัวนี้มีความต้องการในตลาดโลกสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศจีนเท่านั้น แต่ประเทศทางแถบยุโรปรวมถึงสหรัฐฯ เองต่างก็เป็นคู่ค้ารายสำคัญเกี่ยวกับการสร้างเม็ดเงินให้ประเทศอีกด้วย ปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้พืชชนิดนี้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจมาจากพื้นที่อันมีแสนอุดมสมบูรณ์ในเมืองไทย จึงปลูกมันสำปะหลังได้ง่าย ดูแลไม่ยุ่งยาก ได้ผลผลิตดี เป็นไปตามความคาดหวังของเกษตรกร หากลองไปพื้นที่ตามต่างจังหวัดจะสังเกตว่ามีพืชชนิดนี้ปลูกอยู่เยอะมาก ๆ

ปาล์มน้ำมัน
การส่งออกของพืชชนิดนี้จะผ่านการแปรรูปให้กลายเป็นน้ำมันปาล์มเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ปลูกเป็นอย่างดี ซึ่งทางภาครัฐเองให้ความสำคัญกับผลผลิตชนิดนี้พอสมควร เนื่องจากเมื่อเกษตรกรจำนวนมากเลือกปลูก พอผ่านการแปรรูปแล้วปรากฏว่าของล้นตลาดจนต้องเร่งระบายออกไม่ให้ราคาตกมากเกินไปนัก ซึ่งถ้ามองในมุมของเกษตรกร เมื่อเกิดความต้องการเยอะ ผลผลิตของพวกเขาก็ขายได้รวดเร็วมากขึ้น มีราคาดีกว่าการปล่อยเอาไว้ให้ราคาตก แม้ในบรรดาพืชเศรษฐกิจทั้งหมดที่กล่าวมานี้ปาล์มน้ำมันอาจไม่ใช่พืชที่สร้างรายได้จากจำนวนเงินมหาศาลมากนัก แต่ทั้งนี้ก็ยังถือว่าเป็นพืชที่คนไทยนิยมปลูก เพราะให้ผลผลิตดี ดูแลไม่ยาก ที่สำคัญยังสามารถนำเอาไว้ใช้ในประเทศได้อีกด้วย ยิ่งเมื่อรัฐมีนโยบายที่ใส่ใจมากขึ้นก็เท่ากับโอกาสสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

พืชเศรษฐกิจ มีกี่ประเภท
หลังจากการรู้จักกับบรรดาพืชเศรษฐกิจในปัจจุบันของไทยกันไปแล้ว คราวนี้ก็มาต่อกันที่พืชเศรษฐกิจ มีกี่ประเภทกันบ้าง โดยปกติจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการปลูกหรือการเกิดขึ้น ดังนี้

พืชไร่
เป็นประเภทของพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในลำดับต้น ๆ ของเมืองไทย เพราะจากทั้ง 5 ชนิดที่กล่าวมาก่อนหน้าล้วนเป็นพืชไร่ทั้งสิ้น จุดเด่นของพืชเศรษฐกิจประเภทนี้คือ ดูแลรักษาง่าย ไม่ต้องมีขั้นตอนใด ๆ เพื่อป้องกันการเสียหายมากนัก ปลูกได้ดีในพื้นที่ลุ่มดอน มีน้ำเข้าถึงง่าย แต่อาจต้องใช้พื้นที่ในปริมาณมากเพื่อให้เกิดผลผลิตในแบบที่คาดหวังเอาไว้ ปกติแล้วมักปลูกแบบพืชฤดูกาลเดียว คือ ใช้พื้นที่เดียวแต่ปลูกพืชหลาย ๆ อย่างตามแต่ฤดูกาล เช่น ช่วงหน้าฝนทำนา หลังหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยวก็จะเปลี่ยนเป็นไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง ไร่ถั่ว เป็นต้น ทั้งนี้หากแยกกลุ่มของพืชไร่ออกมาสามารถแบ่งย่อยได้คือ

กลุ่มธัญพืช เช่น ถั่วประเภทต่าง ๆ_ ข้าวโพด_ ข้าวโอ๊ต_ ข้าวสาลี
กลุ่มพืชน้ำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน_ อ้อย
กลุ่มพืชน้ำตาล เช่น อ้อย
กลุ่มพืชเส้นใย เช่น ฝ้าย_ ปอ_ ป่าน_ กล้วย_ มะพร้าว
กลุ่มพืชหัว เช่น มันสำปะหลัง_ มันแกว_ มันเทศ_ เผือก
กลุ่มพืชอาหารสัตว์ เช่น มันสำปะหลัง_ หญ้ากีนี
กลุ่มพืชออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท เช่น ชา_ กาแฟ_ ยาสูบ
พืชสวน
เป็นประเภทของพืชเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย ไม่จำกัดพื้นที่ว่าจะมีขนาดเท่าไหร่ สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้หลากหลาย ซึ่งแบ่งย่อยออกได้ดังนี้

กลุ่มพืชผัก มักใช้ในการประกอบอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของผลผลิตไม่ว่าจะเป็นใบ_ ดอก_ ราก_ ต้น_ เมล็ด
กลุ่มพืชผล หรือ ผลไม้ ส่วนใหญ่จะใช้จากผลเป็นหลัก มักเป็นกลุ่มพืชที่มีอายุยืน ใช้เวลานาน หลายชนิดจึงมีราคาแพง
กลุ่มไม้ดอก ไม้ประดับ เป็นพืชเศรษฐกิจกลุ่มใหม่ที่กำลังมาแรงมาก นำไปใช้งานในด้านการประดับตกแต่งเป็นส่วนใหญ่
ไม้เศรษฐกิจในปัจจุบันกลุ่มนี้ถือว่าต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบเพื่อไม่เกิดปัญหาเรื่องการบุกรุกป่า หรือการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งบรรดาไม้เศรษฐกิจที่ยังได้รับความนิยม เช่น ไม้ยางพารา_ ไม้เต็ง_ ไม้รัง_ ไม้มะฮอกกานี_ ไม้ไผ่_ ไม้ยูคาลิปตัส รวมถึงการถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
พืชเศรษฐกิจในอนาคต
แม้ว่าพืชเศรษฐกิจในปัจจุบันที่กล่าวถึงไปจะยังคงเป็นหัวใจหลักในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ แต่ก็มีพืชอีกหลายชนิดที่ถูกมองว่าจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคต โดยขอยกตัวอย่างดังนี้

พริกชี้ฟ้า
ปลูกง่าย ให้ผลผลิตรวดเร็วทันใจ เพียงแค่ 2-3 เดือน ก็สามารถทำเงินได้ทันที นอกจากการขายหรือส่งออกแบบสด ๆ แล้ว ยังแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้ เช่น ซอสพริก_ พริกแห้ง_ พริกป่น เป็นต้น

ไผ่กิมซุง
หรือไผ่ตงลืมแล้ง พืชเศรษฐกิจในอนาคตที่คาดว่ามีโอกาสนำมาทดแทนยางพารา เพราะสามารถทำประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น การเก็บหน่อขายสด แปรรูป_ การนำไปทำเป็นเชื้อเพลิง รวมถึงประโยชน์ในด้านประมง

แมคคาเดเมีย
กลายเป็นพืชที่ได้รับความนิยมสูงทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ ส่งผลให้มีเกษตรกรจำนวนมากหันมาปลูกมากขึ้น เพราะนอกจากส่งผลผลิตสด ๆ แล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้ เช่น น้ำมัน_ สบู่

โกโก้
พืชเศรษฐกิจที่ถูกมองว่าในอนาคตจะสร้างรายได้อย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันผลผลิตที่ได้จำหน่ายในประเทศ 80% และส่งออกประเทศเพื่อนบ้าน 20%

เรื่องราวเกี่ยวกับพืชเศรษฐกิจที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้น่าจะช่วยเพิ่มแนวคิดหรือแนวทางดี ๆ ในการต่อยอดเพื่อสร้างโอกาสในการทำรายได้ให้กับตนเอง รวมถึงยังเป็นการสร้างเม็ดเงินให้เข้ามาภายในประเทศมากขึ้นอีกด้วย



ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
3517 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 351 หน้า, หน้าที่ 352 มี 7 รายการ
|-Page 333 of 352-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
พช.โคราช นำร่อง “1 วัด 1 สวนสมุนไพร ต้านภัยโควิด – 19” เพิ่มพื้นที่ขยายผลการปลูกพืชสมุนไพรไทย
Update: 2564/08/12 00:22:05 - Views: 3360
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยไฟ ในแก้วมังกร และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/07 13:59:04 - Views: 3325
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยอ่อน ในมะม่วงหิมพานต์ และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/16 14:39:24 - Views: 3327
ที่สุดของ ปุ๋ยน้ำ FK-1 ทดแทนปุ๋ยเม็ด ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ธาตุหลัก N20% P20% K20% และสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ Mg23% Zn10% โปรดอ่านวิธีใช้ โทร 090-592-8614 ไลน์ @FarmKaset
Update: 2565/03/07 00:04:59 - Views: 3331
ประโยชน์ของปุ๋ยเร่งรากและเร่งดอกสำหรับแตงกวา
Update: 2566/11/21 14:58:55 - Views: 3340
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนเจาะผล เจาะดอก ใน ลำไย และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/10 13:17:34 - Views: 3354
ปุ๋ยสำหรับมะลิ FK-1 เร่งต้น เร่งใบ พัฒนาระบบราก ส่งเสริมการออกดอก มะลิโตไว ใบเขียว ออกดอกดี ขั้วดอกเหนี่ยว
Update: 2566/10/20 18:49:23 - Views: 3327
กำจัดเพลี้ย ศัตรูพืชในต้นทุเรียน มาคา สารอัลคาลอยด์สกัดจากธรรมชาติ FK-1 เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชืั้อราในต้นทุเรียน
Update: 2566/05/23 10:17:58 - Views: 3326
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธาตุอาหารของพืช ธาตุหลัก ธาตุรอง ที่พืชจำเป็นต้องใช้ในการเจริญเติบโต
Update: 2563/06/16 22:23:14 - Views: 3502
สารออกฤทธิ์ฮิวมิคแอซิดจากยี่ห้อฟาร์มิค: เพื่อฟื้นฟูระบบรากและปรับปรุงดินในการเพาะปลูกมะนาว
Update: 2567/02/13 09:54:38 - Views: 3360
ยาป้องกันกำจัด โรคราในบวบ โรคราน้ำค้างบวบ โรคบวบใบไหม้ โรคต่างๆจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส
Update: 2564/09/30 20:58:46 - Views: 3351
หญ้าแม่มด
Update: 2564/08/10 11:58:05 - Views: 3323
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรครากเน่า โคนเน่า ในส้ม ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/05 14:38:10 - Views: 3336
การใช้ปุ๋ยทางใบเพิ่มผลผลิตมะพร้าวในสวนมะพร้าว
Update: 2566/11/16 10:14:12 - Views: 3327
ปุ๋ยสำหรับแตงกวา ปุ๋ยน้ำสำหรับแตงกวา และ พืชตระกูลแตง ฉีดพ่น FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/14 23:57:46 - Views: 3356
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราสนิม ในต้นหม่อน ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/24 10:09:47 - Views: 3325
ปุ๋ยทุเรียน คุณภาพสูง ทดแทนปุ๋ยเม็ด ยาแก้ ทุเรียนใบไหม้ โรคใบติด เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยทุเรียน หนอน
Update: 2565/05/02 06:04:58 - Views: 3382
โรคใบด่างมะละกอ เชื้อไวรัสในมะละกอ ต้องกำจัดเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำโรค และมีดตอนกิ่งที่ไม่สะอาดก็มีส่วน
Update: 2563/06/10 16:16:45 - Views: 3578
ยาแก้โรค ทุเรียนใบแห้ง ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา ยารักษาโรค ทุเรียนใบติด ทุเรียนใบไหม้ ใช้ ไอเอส ยับยั้งโรค และ ผสมด้วย FK-1 เพื่อเร่งฟื้นตัว
Update: 2563/07/04 09:19:08 - Views: 3555
ขั้นตอนการให้ปุ๋ยมันสำปะหลัง ให้ได้ผลผลิตดี ด้วยการฉีดพ่นปุ๋ย FK คุณภาพสูง ในเวลาที่เหมาะสม
Update: 2565/12/05 05:32:02 - Views: 3337
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022