[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3569 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 9 รายการ

 
ลองกอง การเพิ่มผลผลิตในฤดูและนอกฤดู
ลองกอง การเพิ่มผลผลิตในฤดูและนอกฤดู
ลองกองเป็นพืชที่เพื่อนๆ เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกกันเชิงการค้านะครับ วันนี้ผมจะไม่ชวนคุยเรื่องการปลูก แต่จะมาชวนคุยเรื่องการเพิ่มผลผลิตกันครับ ทั้งเรื่องการตัดแต่งกิ่งให้ได้ผลเยอะและมีคุณภาพ และการปลูกลองกองนอกฤดู เพื่อให้พวกเราได้ผลผลิตเยอะขึ้นกันนะครับ

การตัดแต่งช่อผลในช่วง 1-2 สัปดาห์และ 7-8 สัปดาห์หลังดอกบานเลือกช่อที่สมบูรณ์ และทำการเด็ดผลบริเวณโคนช่อกรณีที่ผลแน่นมากเกินไป เพราะเมื่อเจริญเติบโตขึ้นจะเกิดการเบียดเสียดและอัดแน่นจนทำให้หลุดทั้งช่อได้ ในการตัดช่อดอกต่อกิ่ง แนะนำว่าเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้วให้ไว้ดอก 3-5 ช่อ ถ้าเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 นิ้วให้ไว้ดอก 10 ถึง 15 ช่อ สำหรับการตัดแต่งผลช่อ ควรตัดแต่งผลที่ไม่สมบูรณ์และก้านอัดแน่นเกินไปออก ให้ผลที่เหลืออยู่เจริญเติบโตเต็มที่และสม่ำเสมอทุกผล ทำให้ช่อผลลองกองมีคุณภาพดี การตัดปลายช่อผลเป็นนวัตกรรมใหม่ทำให้คุณภาพผลผลิตลองกองดีขึ้นมาก ผลสุกสม่ำเสมอจากโคนช่อและปลายช่อ โดยใช้กรรไกรปากเป็ดและกรรไกรปากนกแก้วต่อด้ามยาว 2-3 เมตร ควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคที่คมกรรไกรทุกครั้งที่ใช้งาน

การใส่ปุ๋ยบำรุงผลนั้น ขณะที่ผลลองกองกำลังเจริญเติบโต จำเป็นต้องเพิ่มปุ๋ยบำรุงโดยเฉพาะ ถ้ามีการแตกใบอ่อนออกมาในระยะนี้ ลองกองต้องสูญเสียสารอาหารที่สะสมไว้ออกไป ฉะนั้นต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น หรือสูตร 12-12-17 ปริมาณ 0.5- 1 กิโลกรัมต่อต้น ถ้าต้องการให้ใบอ่อนแก่เร็วขึ้นควรใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 7-13 -14 ในอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นเพิ่มเติมและให้น้ำสม่ำเสมอ

ต่อมาเรามาดูเรื่องการบังคับลองกองออกนอกฤดูกันบ้างครับ ก่อนอื่นต้องสังเกตที่ต้นลองกองที่ตาดอกว่ามีดอกออกหรืไม่ ถ้าดอกไม่ออกก็ควรฉีดพ่นฮอร์โมนเพื่อเปิดตาดอกก่อน สังเกตกิ่ง ที่ตาดอกอันเล็กๆ ถ้าหากว่าเราไม่ทำการบังคับเร่งดอก ดอกและผลก็จะไปออกตามฤดูกาล ขั้นตอนที่สำคัญคือสังเกตไปที่ใต้ต้นลองกองนะครับเห็นหญ้าเขียวปกคลุมอยู่ เราควรจะตัดออกให้เกลี้ยงแล้วโรยด้วยปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ประมาณ 3-4 กำมือ หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ สังเกตที่ต้นลองกองว่ากิ่งก้านจะเริ่มทรุดโทรม ใบก็จะเหลือน้อยลง ถ้าหากว่ามีฝนตกในช่วงนี้ให้หาพลาสติกมาคลุมโคนต้นไว้ เมื่อต้นลองกองทรุดโทรมเหมือนกับใกล้จะตาย เราก็จะให้น้ำ ด้วยสปริงเกอร์อย่างน้อยประมาณ 2 ชั่วโมงขึ้นไป แล้วทดสอบด้วยการเหยียบไปที่โคนต้นที่เรารดน้ำ ดินจะมีการยุบตัวลง ก็ถือว่าใช้ได้ครับ และเราก็ควรจะรดน้ำทุกวันนะครับวันละประมาณครึ่งชั่วโมงก็พอนะครับหลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ ดอกก็จะเริ่มมีความยาวขึ้นมาประมาณ 2 เซนติเมตร ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์ 4 สัปดาห์ความยาวก็จะเริ่มยาวขึ้น ดอกที่ออกมาหลายๆ ช่อ เราก็จะเด็ดออกให้เหลือแค่ช่อเดียว ระยะห่างของช่อดอกให้ห่างกันอย่างน้อย 1 คืบ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดก็ประมาณ 1 ศอก เพื่อที่เราจะได้ช่อที่มีความยาวมีความสมบูรณ์เต็มที่ หลังจากนั้นประมาณ 3 เดือนผลผลิตลองกองก็จะเริ่มออกสู่ตลาด โดยรวมแล้วเราก็จะใช้เวลาบังคับลองกองจนถึงผลผลิตออกก็ประมาณ 5 เดือนครับ

Reference http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3823
เทคนิค การปลูกฟักทอง ง่าย ๆ ได้ผลผลิตดีงาม
เทคนิค การปลูกฟักทอง ง่าย ๆ ได้ผลผลิตดีงาม
ฟักทอง ผักสวนครัวพื้นบ้านที่เราทุกคนต่างรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี มีการใช้ฟักทองในการทำอาหารมากมาย ทั้งของคาว ของหวาน และเครื่องดื่ม หรือจะต้มกินเล่น ๆ เป็นอาหารว่าง อาหารลดน้ำหนักก็เยี่ยมไปเลย ปัจจุบันนี้เริ่มมีคนนิยมหันมาปลูกฟักทองไว้กินเองที่บ้าน วันนี้เราเลยจะพามือใหม่หัดปลูกฟักทองมาเตรียมตัวกัน เริ่มตั้งแต่พันธุ์ฟักทองมีอะไรบ้าง การเตรียมตัวก่อนปลูก ขั้นตอนการปลูก ไปจนถึงวิธีการดูแลรักษาต้องทำอย่างไรบ้าง กระปุกดอทคอมได้รวบรวมมาไว้ให้คุณแล้ว ตามไปดูพร้อมกันค่ะ

ฟักทอง จัดอยู่ในกลุ่มพืชตระกูลแตง (Cucurbitaceae) เช่นเดียวกับแตงกวา ฟักแฟง มะระ บวบ และแตงโม เป็นต้น ฟักทองเป็นพืชผักสวนครัว ที่ปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตดีในดินทุกชนิด จึงสามารถพบเห็นการปลูกฟักทองอยู่ทั่วประเทศไทย

ถิ่นกำเนิดของฟักทอง
ฟักทองมีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาเหนือ ถูกนำมาใช้ปรุงอาหารตั้งแต่ 7_500-5_000 ปี ก่อนคริสตกาลแล้ว ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั่วโลกมีการปลูกฟักทองกันอย่างแพร่หลายในเชิงพาณิชย์ ใช้เป็นอาหาร เพื่อความสวยงาม และปลูกเพื่อเป็นงานอดิเรก ได้รับความนิยมต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ และเป็นตัวแทนในวันสำคัญต่าง ๆ มากมาย เช่น

ประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา นิยมเอาฟักทองมาทำเป็นพายฟักทองในวันขอบคุณพระเจ้า

ช่วงฮาโลวีน จะถูกนำมาแกะสลักเป็นโคมไฟสำหรับประดับตกแต่งบ้าน

ชาวจีนมีความเชื่อว่า ฟักทองเป็นตัวแทนแห่งความเจริญรุ่งเรือง เหลือกินเหลือใช้ นิยมประดับตกแต่งฟักทองทั้งแบบสดและแบบโมเดลตามโต๊ะหรือหิ้งต่าง ๆ

ประเทศไทย เกษตรกรชาวไทยแทบทุกภาคทั่วประเทศปลูกฟักทองเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของฟักทอง

ฟักทอง เป็นพืชล้มลุกปีเดียว (มีอายุไม่เกิน 1 ปี) ลำต้นเป็นเถาเลื้อย ยาวตั้งแต่ 3-6 เมตร ลำต้นอ่อนเป็นห้าเหลี่ยมหรือกลม ข้อปลายมีหนวดแยก 3-4 แฉก ใบนิ่ม รูปร่างห้าถึงเจ็ดเหลี่ยม หรือเกือบกลม กว้าง 10-20 เซนติเมตร ยาว 15-30 เซนติเมตร มีขนสาก ๆ ระคายมือ ริมใบมีรอยหยักเว้าลึก 5-7 หยัก ดอกมีเพศผู้และเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ผลในแต่ละสายพันธุ์จะมีรูปร่าง ขนาด และรอยหยักของผิวที่แตกต่างกัน มีทั้งแบบกลม แบบแป้น และเนื้อในส่วนใหญ่จะเป็นสีเหลือง เหลืองอมส้ม สีเหลืองอมเขียว และสีส้ม เป็นต้น มีเมล็ดรูปร่างคล้ายไข่แบนอยู่ด้านในสุดจำนวนมาก

สายพันธุ์ของฟักทองยอดนิยม

พันธุ์ฟักทองที่นิยมปลูกจะแบ่งตามขนาดและน้ำหนัก ได้แก่

ฟักทองพันธุ์หนัก

มีขนาดใหญ่ที่สุด ลักษณะผิวด้านนอกขรุขระตะปุ่มตะป่ำ สีเขียวเข้มจนเกือบดำ บางพันธุ์อาจจะมีลวดลายสีเหลือง สีเขียวอ่อน หรือสีขาว แซมอยู่บ้าง ผลใหญ่ น้ำหนักประมาณ 5-8 กิโลกรัม ผลแป้น เป็นพู เนื้อหนาสีเหลือง และสีเหลืองอมเขียว รสชาติหวาน มัน และเหนียว ได้แก่

1. ฟักทองทองอำไพ 342 (เจียไต๋) และฟักทองทองอำไพ 426 (เจียไต๋)

2. ฟักทองทองอำพัน 346 (เจียไต๋)

3. ฟักทองประกายเพชร (ศรแดง)

4. ฟักทองลายข้าวตอกลูกใหญ่ ได้แก่ ฟักทองประกายเงิน (ศรแดง)

5. ฟักทองคางคก ได้แก่ ฟักทองทองเนื้อ 4 (เสือดาว) ฟักทองทองเนื้อ 9 (เสือดาว)

ฟักทองพันธุ์เบา

ผลขนาดกลาง น้ำหนักต่อผลประมาณ 2-3 กิโลกรัม รูปทรงของผลมีลักษณะแป้น เป็นพู เนื้อหนาสีเหลือง และสีเหลืองอมส้ม รสชาติหวาน มัน และเหนียว ได้แก่

1. ฟักทองอัสนี (ศรแดง)

2. ฟักทองศรีเมือง 016 (เจียไต๋)

3. ฟักทองลายข้าวตอกลูกกลาง ได้แก่ ฟักทองทองคำ 443 (เจียไต๋) ฟักทองข้าวตอก 573 (ศรแดง) และฟักทองบัตเตอร์นัท

ฟักทองพันธุ์เล็ก

ขนาดจะเล็กกะทัดรัด น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 0.8-1.5 กิโลกรัม รูปทรงของผลมีลักษณะแป้น เป็นพู เนื้อหนาสีเหลือง

1. ฟักทองบึงกาฬ 021 (เจียไต๋)

2. ฟักทองญี่ปุ่น

ปลูกฟักทอง เตรียมอะไรบ้าง

1. การเตรียมพื้นที่และแปลงปลูกฟักทอง
ฟักทอง มีลำต้นเลื้อยไปตามพื้น มีหนวดเกี่ยวพันไปตามพื้นดิน จึงต้องการพื้นที่ในการปลูกเยอะ โดยให้เว้นระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 0.75-1.5 เมตร โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกเป็นสำคัญ เช่น

พื้นที่ขนาดเล็ก สามารถปลูกระยะ 1.5x1.5 เมตร ข้อดีคือ ได้ผลผลิตต่อพื้นที่เยอะกว่าแบบอื่น แต่อาจจะลำบากต่อการจัดการ เพราะเถาของฟักทองจะกระจายเต็มพื้นที่

การปลูกแถวเดี่ยว ทำแปลงเดี่ยว ความกว้างของแปลงประมาณ 1.8-2 เมตร เว้นระยะห่างระหว่างต้น 1.5 เมตร จะสามารถจัดการเถาฟักทองให้เลื้อยไปตามแนวแปลงได้ง่าย

การปลูกแถวคู่ ยกร่องแปลงเป็น 2 ด้าน ความกว้างของแปลงประมาณ 3.5-5 เมตร เว้นระยะห่างระหว่างต้น 1.5 เมตร จะสามารถจัดการเถาฟักทองให้เลื้อยจรดกันสองด้านพอดี มีร่องทางเดิน ทำให้ทำงานได้สะดวกมากขึ้น

2. การเตรียมดินปลูกฟักทอง

ฟักทองเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีความชื้นในดินที่พอเหมาะ จึงควรใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วในการย่อยดิน เพื่อให้ดินมีความร่วนซุย สามารถระบายน้ำได้ดี หากที่ดินนั้นเคยใช้เพาะปลูกมานาน ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด้วย และควรไถดินให้ลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร เพราะฟักทองเป็นพืชที่มีระบบรากแบบฝังลึก

3. เลือกช่วงเวลาในการปลูกฟักทอง

ฟักทองชอบอากาศร้อนและแห้ง ต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวัน แต่ต้องมีความชื้นในดินที่เพียงพอด้วย อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 30 องศาเซลเซียส ในประเทศไทยสามารถปลูกฟักทองได้ดีที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

วิธีเลือกเมล็ดพันธุ์ฟักทอง

โดยทั่วไปมีอยู่ 2 แบบที่นิยมใช้ปลูก คือ “เมล็ดพันธุ์แบบผสมเปิด” สามารถเก็บไว้ขยายพันธุ์ต่อได้เอง แต่ในปัจจุบันหาได้ยาก เนื่องจากบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์จะเลือกผลิต “เมล็ดพันธุ์แบบลูกผสม” แทน เพราะให้ผลผลิตสูง ขนาดของต้น ผล และการเจริญเติบโตดี แต่ไม่สามารถนำเมล็ดไปปลูกต่อได้ เกษตรกรจึงต้องมีค่าใช้จ่ายกับเมล็ดพันธุ์ฟักทองในราคาที่สูงขึ้น ดังนั้น จึงควรพิจารณาวิธีการปลูกแทนเพื่อลดต้นทุนในส่วนนี้ลง
วิธีการปลูกฟักทอง

วิธีการปลูกที่นิยมมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่

1. การปลูกฟักทองแบบหยอดเมล็ด

ขุดหลุมเล็ก ๆ ลงไปในดินประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว

หยอดเมล็ดฟักทองลงไปหลุมละ 3-5 เมล็ด

กลบด้วยดินผสมละเอียด หรือขี้เถ้าแกลบดำ

รดน้ำให้ชุ่ม คลุมด้วยฟางเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิวหน้าดิน

ภายใน 3-4 วัน ต้นกล้าจะงอกพ้นพื้นดิน มีใบจริง 2-3 ใบ ให้ถอนต้นกล้าที่อ่อนแอทิ้งไป ให้เหลือหลุมละ 1 ต้นเท่านั้น

2. การปลูกฟักทองแบบเพาะกล้า

นำเมล็ดฟักทองล้างน้ำ 1-2 รอบ แช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 20-30 นาที และห่อด้วยผ้าขาวบาง

นำเมล็ดไปบ่มไว้ในกล่องพลาสติกใส 3-5 วัน

เมื่อเมล็ดแตกรากออกมา จึงค่อยย้ายไปเพาะในถาดเพาะกล้า

รดน้ำเป็นประจำ จนต้นกล้ามีใบจริง 1-2 ใบ จึงย้ายไปปลูกในแปลง

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ป้องกันกำจัด โรคฟักทอง โรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา โรคราแป้ง โรคไหม้ โรคใบไหม้ โรคแอนแทรคโนส โรคเชื้อราไฟทอปโธร่า โรคราต่างๆ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา

เร่งการเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทาน เพิ่มผลผลิต ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน

สามารถผสม ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้
ส่งออกข้าวโพดหวาน อนาคตรุ่ง
ส่งออกข้าวโพดหวาน อนาคตรุ่ง

 

ผู้ประกอบการข้าวโพดหวานกระป๋องลุ้นระทึกอียูยกเลิกมาตรการตอบโต้ทุ่มตลาดกลางปีนี้ เผยหากผู้ประกอบการฝรั่งเศส ฮังการี ไม่เสนอกรรมาธิการยุโรปทบทวน จะถูกยกเลิกโดยปริยายชี้หวังได้สูงเหตุหิมะถล่มสินค้าขาดตลาด ข้าวโพดฝักอ่อนไทยพลอยได้รับอานิสงส์ราคาแตะกก. 35 บาท 

 
นายพรชัย ปิ่นวิเศษ ประธานกลุ่มข้าวโพดหวาน สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงสถานการณ์ตลาดข้าวโพดหวานกระป๋องว่ามีแนวโน้มที่สดใสมาก เพราะเวลานี้ทุกตลาดหันมานำเข้าข้าวโพดหวานกระป๋องจากประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี แม้ว่าข้าวโพดหวานกระป๋องของไทยจะถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี)จากสหภาพยุโรป(อียู) แต่ยังสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะสหรัฐอเมริกาผลผลิตข้าวโพดหวานเริ่มลดลงหลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมปลูกพืชพลังงาน จึงหันมานำเข้าจากไทย ส่วนญี่ปุ่นก่อนหน้านี้เป็นผู้นำเข้าจากสหรัฐฯเมื่อผลผลิตสหรัฐฯลดลงสินค้าราคาแพงญี่ปุ่นจึงหันมานำเข้าจากไทยเช่นเดียวกัน

 
นอกจากมีตลาดใหม่เข้ามารองรับตลาดสหภาพยุโรปแล้ว ขณะนี้ผู้ประกอบการมีความหวังลึกๆ ว่ากลางปีนี้จะมีข่าวดีสำหรับตลาดสหภาพยุโรป เพราะว่าเดือนมิถุนายน 2555 จะครบ 5 ปีที่อียูเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและจะมีการทบทวนเป็นครั้งแรก ซึ่งตามขั้นตอนนั้นผู้ประกอบการในยุโรปที่เป็นผู้ยื่นเรื่องต่อทางการของยุโรปให้ไต่สวนและเรียกเก็บภาษีเอดีผู้ส่งออกของไทยต้องเป็นผู้ยื่นให้มีการทบทวนจะยกเลิกหรือเรียกเก็บภาษีเอดีในอัตราเท่าใด หากผู้ประกอบยุโรปไม่ยื่นให้ทบทวนเท่ากับว่าการเรียกเก็บภาษีเอดีจากผู้ส่งออกไทยถูกยกเลิกไปโดยปริยาย

 
"เวลานี้หลายประเทศในสหภาพยุโรปประสบภัยธรรมชาติหิมะตกอย่างรุนแรง จนไม่สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตรได้ สินค้าพืชผักต่างๆ ไม่เพียงพอบริโภค จะเห็นได้ว่าเวลานี้ยุโรปสั่งนำเข้าข้าวโพดฝักอ่อนสดจากประเทศไทยจนสินค้าไม่พอป้อน และดันราคาภายในประเทศสูงขึ้นจากเคยรับซื้อกก.ละ 20-21 บาท เวลานี้ข้าวโพดฝักอ่อนราคาสูงถึงกก.ละ 35 บาท จึงมีความหวังว่าผู้ประกอบการในประเทศฝรั่งเศส ฮังการี และอิตาลีที่ยื่นฟ้องกล่าวหาไทยทุ่มตลาดข้าวโพดหวานจะไม่ยื่นให้ทางการยุโรปทบทวน นั่นเท่ากับว่ามาตรการเรียกเก็บเอดีถูกยกเลิกไปโดยปริยาย ส่วนข้าวโพดหวานกระป๋องราคายังไม่เคลื่อนไหวสูงขึ้นเท่ากับข้าวโพดฝักอ่อนเพราะเป็นสินค้าอุตสาหกรรม"

 
นายพรชัย กล่าวว่าจากการที่อุตสาหกรรมข้าวโพดหวานกระป๋องมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จึงได้เสนอสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) บรรจุข้าวโพดหวานเป็นพืชเศรษฐกิจ มีนโยบายส่งเสริมปลูกอย่างชัดเจน เพราะเวลานี้ปัญหาของผู้ประกอบการคือวัตถุดิบไม่เพียงพอป้อนโรงงาน ทั้งที่ตลาดมีความต้องการ ขณะเดียวกันได้เสนอกระทรวงพาณิชย์เข้ามากำกับดูแลผู้ประกอบการไม่ให้ขายสินค้าตัดราคากันเอง เพราะสาเหตุถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดอยู่ ณ เวลานี้เป็นผลสืบเนื่องจากผู้ประกอบการขายตัดราคากันเอง ซึ่งไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด เพราะข้าวโพดหวานกระป๋องตลาดมีความต้องการสูง ผู้ส่งออกของไทยสามารถกำหนดราคาขายได้โดยไม่ต้องไปกดราคาขายแข่งกันแต่อย่างใด
 
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
 
อ่าน:3821
โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน ใบที่ยอดกิ่งมีสีซีด ไม่มันเงา เพราะรากเน่า แก้ด้วยไอเอส
โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน ใบที่ยอดกิ่งมีสีซีด ไม่มันเงา เพราะรากเน่า แก้ด้วยไอเอส
โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน ใบที่ยอดกิ่งมีสีซีด ไม่มันเงา เพราะรากเน่า แก้ด้วยไอเอส
โรครากเน่าและโคนเน่า สามารถพบได้ในระยะที่ต้นทุเรียนแตกใบอ่อน โดยจะพบอาการที่ราก เริ่มแรกเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา ใบเหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขุดดูที่รากฝอยจะพบรากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล กรณีที่โรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นทุเรียนโทรมและยืนต้นตาย

ขอบคุณข้อมูลทางวิชาการจาก https://www.moac.go.th

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สำหรับป้องกันและยับยั้ง เชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย โรคใบไหม้ ใบแห้ง ใบจุดสีน้ำตาล ใบจุดตากบ แคงเกอร์ ไฟท็อปโธร่า รากเน่า โคนเน่า และโรคต่างๆที่มีสาเหตุจากเชื้อรา สกัดจากพืช ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค ปลอดสารพิษ ไม่มีสารตกค้าง ใช้ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและยับยั้งโรคพืชทุกชนิด ที่มีสาเหตุมากจากเชื้อรา

สนใจ โทรสั่งซื้อ 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset หรือ ไอดี PrimPB
สั่งทางเฟสบุ๊คได้เช่นกัน https://www.facebook.com/farmkaset หรือลาซาด้า https://www.lazada.co.th/products/fk-3-i388594842-s754764572.html
อ่าน:3810
ปัญหาดินเสีย และวิธีแก้ไขดินเสีย ให้ทำการเกษตรได้ดีขึ้น
ปัญหาดินเสีย และวิธีแก้ไขดินเสีย ให้ทำการเกษตรได้ดีขึ้น
เกษตรกรที่ทำงานเกษตรต่างๆ ส่วนมากต้องอาศัยดินเพื่อการปลูกพืช ก็เปรียบได้ว่าดินเป็นเหมื่อนต้นกำหนดแห่งชีวิตเลย แต่พอทำไปนานๆเข้ามันมักจะเกิดปัญหาเพราะดินต้องทำงานหนักมากจนเกินไป เจอพืชที่ทำลายดิน เจอยาฆ่าแมลง ไปมากๆเข้าดินอาจรับไม่ไหว ดินบางพื้นที่อาจได้รับปัญหาอื่นอีกมาก วันนี้เราจะมาพูดถึงสาเหตุที่ทำให้ดินเสีย และวิธีแก้ เพื่อที่ชาวเกษตรกรจะได้หลีกเลี่ยงการทำให้ดินเสียได้บางทีก็อาจทำลายดินหรือแหล่งรายได้ของตัวเองโดยไม่รู้ตัว และใครที่ดินเสียแล้วจะได้ไม่หมดกำลังใจในการทำงาน

ปัญหาดินเสีย

โดยสาเหตุการทำให้ดินเสียมี 2 ประเภท ด้วยกันใหญ่

1.เสียโดยธรรมชาติทำลาย คือ ลมแรง กระแสน้ำกัดเซาะพัดพาหน้าดินหลุดลอยหายไป

2.เสียโดยมนุษย์ทำลาย คือ

2.1 ปัญหาใหญ่เลยก็คือการตัดไม้ทำลายป่า เวลาฝนตกจะไม่มีอะไรดูดน้ำหรือรักษาหน้าดินไว้ จึงทำให้น้ำกัดเซาะหนาดินที่ดีไปหมด

2.2 ชาวเกษตรการทำการเกษตรไม่ถูกวิธี คือ

-การปลูกพืชชนิดเดียวกันเป็นเวลานานโดยไม่เปลี่ยนหรือวนปลูกพืชชนิดอื่น จะทำให้ธาตุอาหารตามระดับความลึกของรากพืชถูกนำไปใช้มากจนดินเสื่อมความสมบูรณ์

-การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีต่างๆเป็นเวลานาน มันอาจจะได้ผลดีกับพืชแต่จะไปทำลายดินและผู้บริโภคได้

-การไถหรือพรรณดินในขณะที่ดินเปียก

-การขุดหน้าดินไปขาย

-การเผาหน้าดิน

วิธีป้องกันไม่ให้ดินเสีย

1.การปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวหน้ากระดานเพื่อเป็นการป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน

2.การปลูกพืชคลุมดิน เพื่อเป็นการรักษาหน้าดินไม่ให้เกิดการพังทลาย และจะได้ช่วยเก็บน้ำให้อยู่ในดินในชุมชื้น

3. การปลูกพืชตะกูลถั่วเอาสลับกับพืชชนิดอื่น เพื่อเป็นการเพิ่มไนโตเจนให้กับดิน

4. การใช้ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยคอกแทนปุ๋ยเคมีเพื่อเป็นการไม่ทำให้ดินเสียและรักษาดินได้

5.ปลูกไม้ยืนต้นที่ช่วยบำรุงดิน อย่าง ฉำฉา กระถินเทพา กระถินณรงค์ เป็นต้น

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..ารเกษตร.com/สาเหตุที่ทำให้ดินเสีย/
อ่าน:3809
โรคใบด่างในเสาวรส เสาวรสใบด่าง เกิดจากเชื้อไว้รัส ไม่มียารักษาโดยตรง ต้องกำจัดแมลงพาหะ และบำรุงให้แข็งแรง
โรคใบด่างในเสาวรส เสาวรสใบด่าง เกิดจากเชื้อไว้รัส ไม่มียารักษาโดยตรง ต้องกำจัดแมลงพาหะ และบำรุงให้แข็งแรง
โรคใบด่างในเสาวรส เสาวรสใบด่าง เกิดจากเชื้อไว้รัส ไม่มียารักษาโดยตรง ต้องกำจัดแมลงพาหะ และบำรุงให้แข็งแรง
โรคใบด่างในเสาวรส (Mosaic) โรคนี้เป็นโรคที่สำคัญที่สุดของเสาวรส เมื่อเกิดการระบาดแล้ว จะทำให้ผลผลิตลดต่ำลง ทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยในเสาวรสรับประทานสดนั้น ส่วนใหญ่มีการติดโรคนี้เนื่องจากมีการขยายพันธุ์ โดยใช้กิ่งพันธุ์ดีจากต้นแม่เดิม ที่เป็นโรคอยู่ก่อนแล้ว ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการวิจัย เพื่อผลิตต้นแม่ที่ปลอดโรคอยู่

สาเหตุและอาการ

โรคใบด่างเกิดจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ Passion fruit Woodiness Virus (PWV) ซึ่งเป็นไวรัสท่อนยาวคดขนาด 650-800 นาโนเมตร ลักษณะต้นที่เป็นโรคจะแสดงอาการใบด่าง เส้นใบใส ผลด่างทั่วผลและมีอาการด่างแบบวงแหวน ผิวเปลือกไม่เรียบ เปลือกหนากว่าปกติ ผลจะมีลักษณะบิดเบี้ยวและขนาดเล็กลง เชื้อไวรัสอีกชนิดหนึ่งคือ Cucumber Mosaic Virus (CMV) อาการที่พบคือใบด่างเหลือง ใบยอดบิดและหงิกงอ ผิวใบไม่เรียบ ผลบิดเบี้ยว

การแพร่ระบาด

เชื้อไวรัสสามารถถ่ายทอดโดยวิธีกล เช่น การตัดแต่งกิ่ง การเสียบกิ่งและระบาดโดยแมลงพาหะ เช่น เพลี้ยอ่อน

การป้องกันกำจัด

1. คัดเลือกต้นกล้าที่สมบูรณ์ปลอดจากไวรัส

2. ไม่ควรปลูกปะปนกับพืชตระกูลแตง มะเขือ

3. เมื่อนำต้นกล้าลงปลูกจนกระทั่งถึงเริ่มติดผล ควรพ่นยาป้องกันกำจัดแมลงพาหะเป็นระยะๆ

4. ควรระมัดระวังเครื่องมือที่ใช้ติดแต่งกิ่ง โดยทำความสะอาดทุกครั้งที่ตัดแต่งต้นเสร็จในแต่ละต้น

5. การบำรุงต้นให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ จะทำให้ต้นทนทานต่อการทำลายของโรคไวรัส และยังคงให้ผลผลิตได้ดีถึงแม้ปริมาณและคุณภาพจะลดลงบ้าง แต่ก็ยังคงสามารถให้ผลผลิตได้ดี

🦗 ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ กำจัด เพลี้ย แมลงหวี่ขาว แมลงพาหะของโรค และแมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)

🌿 ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี [FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ มาคา
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🦗ข้อมูล มาคา

มาคา เป็นยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ กำจัดแมลงศัตรูพืช
สกัดจากพืช_ 100% จากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค

*การใช้มาคากำจัด เพลี้ย และแมลงศัตรูพืช กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

🌿เกี่ยวกับ FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig's law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น

🎖คลิกลิงค์เพื่อสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ http://www.farmkaset..link..

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3798
โรคที่เกิดกับอ้อย พันธุ์ขอนแก่น 3
โรคที่เกิดกับอ้อย พันธุ์ขอนแก่น 3
วันนี้มีเรื่องการรับมือกับโรคร้ายที่เกิดกับอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 มาฝากกัน อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 นี้ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็มีแต่คนปลูก แทบจะ 80% ของพื้นที่ปลูกอ้อยในประเทศไทยก็ว่าได้ เหตุผลคือ ขอนแก่น 3 ให้ผลผลิตสูงถึง 15-20 ตันต่อไร่ ให้ความหวาน 12-14 ซีซีเอส ที่สำคัญคือ ทนแล้ง และไว้ตอดี แต่พอมีพื้นที่ปลูกมาก และปลูกเป็นเวลานาน ก็เกิดการสะสมโรคในท่อนพันธุ์ เช่น โรคใบขาว หรือโรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการระบาดเช่น โรคเหี่ยวเน่าแดง โรคแส้ดำ โรคเน่าคออ้อย และโรคใบจุดวงแหวน เป็นต้น ซึ่งแต่ละโรคมีรายละเอียด ดังนี้..
http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3797
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง เพิ่มขนาดและน้ำหนักหัวมันสำปะหลัง Technology of increate cassava yield
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง เพิ่มขนาดและน้ำหนักหัวมันสำปะหลัง Technology of increate cassava yield
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง เพิ่มขนาดและน้ำหนักหัวมันสำปะหลัง Technology of increate cassava yield
ในสภาพแวดล้อมที่เหมะสม มันสำปะหลังอาจให้ผลผลิตสูงกว่า 20 ตันต่อไร่ ที่เปอร์เซ็นแป้ง 20-30 เปอร์เซ็น

มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญระดับแนวหน้า และกำลังทวีความสำคัญยิ่งขึ้นไปเนื่องจากมีประโยชน์ใช้สอยอย่างกว้างขวาง และสามารถปลูกได้ในดินดอนทั่วไปอย่างแทบจะไร้ขีดจำกัดเมื่อมีการปฏิบัติดูแลอย่างดีพอสมควร มันสำปะหลังนับว่าเป็นพืชที่มีศักยในการให้ผลผลิตสูงมากพืชหนึ่ง ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน และในท้องที่ที่มีสภาพที่เหมาะสม อาจให้ผลผลิตสูงกว่า 20 ตันต่อไร่ โดยที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งอยู่ในช่วง 25-30 เปอร์เซ็นต์

การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง สภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ

ถึงแม้ว่ามันสำปะหลังจะเป็นพืชที่ปลูกง่ายตายยากและให้ผลผลิตโดยง่าย โดยมีความเสี่ยงน้อยต่อความไม่เหมาะสมของสิ่งแวดล้อมก็ตาม แต่การที่จะให้มันสำปะหลังแสดงออกถึงศักยภาพของแต่ละสายพันธุ์ที่มีอยู่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก โดยทั่วไปย่อมเป็นที่รู้ในหมู่นักวิชาการว่าในการปลูกมันสำปะหลังนั้นมีหลัก และขั้นตอนที่สำคัญอยู่หลายประการ ซึ่งผู้ปลูกควรจะยึดถือเป็นแนวปฏิบัติซึ่งได้แก่ การใช้พันธุ์ที่ดีที่เหมาะสมกับท้องที่ การใช้ต้นพันธุ์ และการใช้พันธุ์ที่มีคุณภาพ การปรับปรุงบำรุงดินและการเตรียมดินอย่างถูกวิธี การเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม การปลูกย่างประณีตโดยใช้ระยะปลูกอย่างเหมาะสม การใส่ปุ๋ยให้เพียงพอและสมดุล การปฏิบัติดูแลด้วยการเอาใจใส่พอสมควร ไปจนถึงการเลือกเวลาเก็บเกี่ยวและการเก็บเกี่ยวอย่างเหมาะสม ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นอกจากนี้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งของมันสำปะหลังยังขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อีกมาก เช่น ความชื้นในดิน ในอากาศ อุณหภูมิ และแสง เป็นต้น

พันธุ์มันสำปะหลังที่นิยมปลูกในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้มีพันธุ์มันสำปะหลังที่ดีถูกสร้างออกมาให้เกษตรกรใช้เป็นจำนวนมาก ที่เป็นพันธุ์รับรองซึ่งได้รับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมีมากกว่า 7 สายพันธุ์ เช่น พันธุ์ระยอง 5 พันธุ์ระยอง 7 พันธุ์ระยอง 9 พันธุ์ระยอง 72 และพันธุ์ระยอง 90 ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง นอกจากนี้ยังมีพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ที่มางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้พัฒนาขึ้น และนำอกมาให้เกษตรกรใช้ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะมีการปรับตัวได้อย่างดีเยี่ยมต่อสภาพแวดล้อม เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมกับมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยได้พัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังขึ้นมาพันธุ์หนึ่งและได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชื่อว่าพันธุ์ห้วยบง 60 ซึ่งเป็นมันสำปะหลังอีกพันธุ์หนึ่งที่ให้ผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งสูงในหลายพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมา

มันสำปะหลังพันธุ์รับรอง ที่ให้ผลผลิตสูง

จากการทดลองในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในปี พ.ศ.2546-2547 พบว่า มันสำปะหลังพันธุ์รับรอง 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 พันธุ์ระยอง 5 พันธุ์ระยอง 72 และพันธุ์ระยอง 90 สามารถให้ผลผลิตสูงอยู่ในช่วงระหว่าง 11-12 ตันต่อไร่ที่อายุ 13 เดือน โดยมีเปอร์เซ็นต์แป้งอยู่ที่ 25-28 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มที่จะสามารถทำให้ผลผลิตสูงขึ้นกว่านี้ได้ นอกจากนี้ยังมีมันสำปะหลังที่ยังไม่ได้ผ่านการรับรองแต่มีศักยในการให้ผลผลิตดีในบางท้องที่ และยังมีพันธุ์อื่นๆ ที่เกษตรกรรวบรวมหรือจัดหามาได้ ก็อาจนำมาใช้ได้ ปัจจุบันระบบการปลูกมันสำปะหลังอาจมีความจำเป็นจะต้องนำเครื่องทุ่นแรงเข้ามาใช้มากขึ้น ตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว ดังนั้นพันธุ์มันสำปะหลังที่จะนำมาใช้นอกจากจะมีผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งสูงแล้วยังควรมีลำต้นตั้งตรงไม่แตกกิ่งอีกด้วย ดังนั้นเกษตรกรจึงควรสังเกตและเลือกเก็บพันธุ์ที่ดีด้วยตนเอง

ท่อนพันธุ์ที่ดี และความยาวท่อนพันธุ์ที่เหมาะสมกับ การปลูกมันสำปะหลัง

ท่อนพันธุ์หรือท่อนปลูก เมื่อผู้ปลูกมันสำปะหลังแน่ใจว่าพันธุ์ที่มีอยู่ในมือนั้น เป็นพันธุ์ที่ดี ขั้นต่อไปก็คือควรจะปลูกรักษาพันธุ์ดีเอาไว้ และเอามาเป็นท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพ จากนั้นจึงนำมาใช้เมื่อมีอายุระหว่าง 8-20 เดือน โดยใช้เฉพาะส่วนกลางของลำต้นที่มีความแก่-อ่อน พอเหมาะ ขนาดของท่อนพันธุ์ที่ใหญ่มักจะให้หัวมากกว่าท่อนพันธ์ที่เล็กถ้าสามารถตัดได้โดยไม่แตก ความยาวของท่อนอาจอยู่ที่ 15-25 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับฤดูปลูกและเตรียมดิน การใช้ท่อนพันธุ์ที่ค่อนข้างสั้นจะเหมาะกับการปลูกในช่วงที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ ในช่วงต้นฝนหรือผู้ปลูกมีต้นพันธุ์จำนวนจำกัด การใช้ท่อนพันธุ์ที่มีความยาวกว่า 30 เซนติเมตร อาจใช้ได้ดีเมื่อเตรียมดิน และใส่ปุ๋ยได้ลึกหรือในสภาพที่ปัญหาวัชพืชที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งการใส่ปุ๋ยและปลูกลึกในบางพันธุ์จะช่วยเพิ่มผลผลิตได้มาก

การเตรียมดินปลูกมันสำปะหลัง ไม่เหมือนกันในแต่ละสภาพแวดล้อม

การเตรียมดิน มีวิธีการแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ และสภาพของดิน ปริมาณน้ำฝน และการจัดการอื่นๆ สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อย หน้าดินลึก ดินร่วนซุย ในบางครั้งอาจไม่มีความจำเป็นต้องไถพรวน เพียงแต่ปลูกท่อนพันธุ์ และใส่ปุ๋ยลงไปในหลุมดินที่ได้ถอนหัวมันออกแล้วก็อาจได้ผลผลิตดีพอๆ กับที่มีการเตรียมดินอย่างดี แต่สำหรับในบางดินบางสถานการณ์ การเตรียมดินเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชต้องการอากาศมาก และต้องการสภาพของดินที่ร่วนโปร่งและฟู ในบางครั้งอาจจะต้องใช้สารปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้กายภาพของดินมีสภาพเหมาะสมดังกล่าว และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินให้ลงไปในระดับลึก ซึ่งจะทำให้เกิดผลดี เมื่อเสียบท่อนพันธุ์ลงไปในระดับลึกได้โดยไม่ขัดขวางการงอกของรากจากรอยตัด และทำให้รากของต้นอ่อนมันสำปะหลังอยู่ในอยู่ในระดับใต้ดินที่ยังมีความชื้นเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้สามารถผ่านช่วงแล้ง 5-6 เดือนได้ อย่างไรก็ดี การปลูกลึกอาจสร้างปัญหาทำให้เก็บเกี่ยวยากขึ้น ในดินที่ค่อนข้างเหนียว เกษตรกรไม่ควรเตรียมดินในขณะที่ดินมีความชื้นสูง เพราะน้ำหนักของเครื่องมือจะกดทับดินชั้นล่างให้เป็นแผ่นดินดานแข็ง ในดินที่มีปัญหาเกิดแผ่นดานขึ้นในชั้นใต้ดินควรใช้ไถสิ่วหรือไถระเบิดดาน (sub-soiler) กดลงไปในระดับลึกซึ่งจะช่วยให้ดินมีการระบายน้ำและระบายอากาศดีขึ้น

วัสดุปรับปรุงดิน และปุ๋ยเคมีก็จำเป็น มากน้อยแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม

การใส่วัสดุปรับปรุงดิน ในท้องที่ซึ่งดินแน่นง่ายการไถกลบวัชพืช และเศษมันสำปะหลังจะช่วยให้ดินโปร่งร่วนในระดับหนึ่ง แต่ในบางครั้งอาจยังไม่เพียงพอต้องหาวัสดุปรับปรุงดิน เช่น แกลบดิบ เถ้าแกลบ กากหม้อกรองอ้อย หินฝุ่นจากภูเขาไฟ หินปูนฝุ่น ปูนขาว ยิบซั่ม พูไมซ์ เพอร์ไลท์ และซีโอไลท์ ฯลฯ มาใส่ ซึ่งแต่ละชนิดมีความถูก-แพง และการจัดการไม่เหมือนกัน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้น อาจมีความจำเป็นอย่างยิ่งในดินที่แน่นง่ายหรือเนื้อดินค่อนข้างเหนียว และมีธาตุอาหารต่างๆ อยู่ในดินน้อย การรองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ 200-500 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมไปกับวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน จะช่วยให้ผลผลิตดีขึ้นมาก จะช่วยให้ต้นมันสำปะหลังมีการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตสูงและมีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นจำนวนมากอาจมีความจำเป็นต้องทำให้เจือจางลงโดยการเติมสารอินทรีย์ที่มีความเค็มน้อย เช่น ฟางข้าว แกลบ กากหม้อกรองอ้อย ฯลฯ และควรมีการหมักทิ้งไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้ความร้อนสลายไป ปุ๋ยเคมีอาจมีความจำเป็นต้องใส่รองพื้นบ้างในกรณีของพื้นที่ซึ่งไม่มีการใช้ปุ๋ยอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน

การให้ปุ๋ยมันสำปะหลังหลัง

การใส่ปุ๋ยรองพื้น มันสำปะหลังเป็นพืชที่มีศักยในการให้ผลผลิตสูง และมีอายุอยู่ในพื้นที่ปลูกค่อนข้างนาน จึงมีความต้องการธาตุอาหารในปริมาณมาก ซึ่งผลผลิตจะขึ้นอยู่กับปริมาณของธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินว่าจะสมดุลและสมบูรณ์เพียงใด มันสำปะหลังมีความสามารถในการสกัดธาตุอาหารจากหินและแร่ ซึ่งใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการใช้ปูนขาว หินปูนบด (หินฝุ่น) โดโลไมท์บด พูไมซ์ ซีโอไลท์ สเมกไตท์ ฯลฯ จะช่วยทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้กว่าครึ่งที่เป้าหมายผลผลิตเท่ากัน เศษซากพืช และปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยให้มีธาตุอาหารในลักษณะที่สมดุลขึ้นแต่ต้องใช้ในปริมาณค่อนข้างมาก ปุ๋ยเคมีอาจมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อเสริมปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็น ในกรณีที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และไม่สามารถหาเศษซากพืชหรือปุ๋ยอินทรีย์ได้เพียงพอ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 200-400 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับหินปูนฝุ่นประมาณ 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ประมาณ 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถคาดหมายผลผลิตระหว่าง 8-12 ตันต่อไร่ ในเวลา 12 เดือน โดยมีการลงทุนเพิ่มจากที่เกษตรกรเคยทำเพียงเล็กน้อย การคาดหมายผลผลิตที่มากกว่านี้อาจทำได้โดยใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้น แต่เกษตรกรจะต้องปรับระยะปลูกให้ห่างออก ทำให้ปุ๋ยเจือจางลงหรือละลายช้าลงหรือเพิ่มจำนวนครั้งในการให้ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมไปกับปุ๋ยอินทรีย์ อาจช่วยให้การย่อยสลายของปุ๋ยอินทรีย์สมดุลขึ้น และยังสามารถดึงไนโตรเจนในอากาศมาเป็นปุ๋ยในดิน และทำให้หินแร่ในดินและวัสดุปรับปรุงดินที่ใส่ลงไปย่อยสลาย ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แกต้นมันสำปะหลังได้ดีขึ้น ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อีกมาก การใช้ปุ๋ยอินทรีย์สลายเร็วหรือปุ๋ยเคมีอัตราสูงเป็นปุ๋ยรองพื้น อาจมีผลเสียต่อการงอกของท่อนปลูก และทำให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตรวดเร็วเกินไป (ขึ้นต้น) จะไม่ค่อยลงหัว

การพรวนดิน การเตรียมดิน ในการปลูกมันสำปะหลัง

การพรวนดิน ในดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างเหนียว อาจมีความจำเป็นต้องพรวนหลายครั้ง หรืออาจใช้วิธีไถดะ ตากดินไว้ให้แห้ง ซึ่งจะง่ายต่อการพรวน แต่ในดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินทราย อาจไถลึกเพียงครั้งเดียวหลังการหว่านปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ก็สามารถนำท่อนพันธุ์ลงปลูกได้เลย การพรวนดินให้ละเอียดมากเกินไปอาจทำให้ดินแน่นได้โดยง่ายเมื่อมีฝนตกหนัก ซึ่งผู้ปลูกจะต้องสังเกตและไถพรวนอย่างเหมาะสม

การยกร่องปลูกมันสำปะหลัง

การยกร่อง อาจมีความจำเป็นเมื่อดินมีความลดเทน้อย หรือพื้นที่ขนาดใหญ่มากและเป็นดินที่มีโอกาสแฉะเมื่อฝนชุกหรือดินระบายน้ำยาก การยกร่องช่วยทำให้ใส่ปุ๋ยรองพื้นได้ง่ายขึ้นโดยใส่ปุ๋ยไว้ก้นร่องและพรวนกลบ ซึ่งจะทำให้ดินมีธาตุอาหารอยู่ในระดับลึก ต้นมันสำปะหลังใช้ปุ๋ยได้ดีแต่วัชพืชจะไม่มีโอกาสใช้ปุ๋ยที่อยู่ลึก จึงอาจช่วยทำให้ไม่ต้องกำจัดวัชพืชที่มีขนาดเล็กหรือมีการแข่งขันกับต้นมันสำปะหลังน้อย การยกร่องยังช่วยให้ง่ายต่อการนำท่อนพันธุ์ลงปลูกอีกด้วย แต่สำหรับผู้มีความชำนาญก็อาจนำท่อนพันธุ์ลงปลูกได้โดยไม่ต้องยกร่องในพื้นที่ ซึ่งมีการระบายน้ำดี นอกจากนี้การยกร่องยังให้ประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของการชะล้างพังทลาย และการไหลบ่าของน้ำ

ขั้นตอนการปลูก การคัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง

การนำท่อนพันธุ์ลงปลูก มันสำปะหลังสามารถปลูกได้หลายวิธี ตั้งแต่ปลูกด้วยเมล็ด ปลูกด้วยลำต้นที่ตัดเป็นท่อน หรือปลูกโดยใช้ยอดที่มีความยาวประมาณ 1-2 ฟุต แต่ที่นิยมคือการปลูกด้วยลำต้น นำมาตัดเป็นท่อน เรียกว่า “ท่อนพันธุ์หรือท่อนปลูก” ซึ่งอาจใช้วิธีเสียบตั้งตรง หรือเอียงเล็กน้อย ในต่างประเทศมีการปลูกด้วยเครื่องจักร ซึ่งจะวางท่อนปลูกนอนราบไปกับพื้น ซึ่งแต่ละวิธีอาจมีความเหมาะสมต่อสภาพของดิน อุปกรณ์เครื่องมือ และแรงงานที่มีอยู่ และผลผลิตที่ได้ย่อมมีความแตกต่างกันไป ซึ่งผู้ปลูกจะต้องเลือดให้เหมาะกับวิธีการจัดการที่ดีที่สุดของตนเอง ผลผลิตสูงสุดจะได้จากการทำงาที่ประณีต และมีขั้นตอนต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่และภูมิอากาศ การปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์น้อยนั้น การปลูกตื้นให้ผลดีกว่าการปลูกลึกเพราะธาตุอาหารดินอยู่บริเวณใกล้ผิวดิน อย่างไรก็ตามผลผลิตและคุณภาพที่ดีมักจะได้มาจากการปลูกในช่วงที่มีความชื้นเพียงพอ ไม่มากจนเกินไปในระยะต้นฤดู เช่น เดือนพฤษภาคม เป็นต้น

การกำจัดวัชพืชมันสำปะหลัง

การกำจัดวัชพืช มันสำปะหลังที่มีอายุน้อยยังมีระบบรากไม่แข็งแรง และมีการเจริญเติบโตไม่รวดเร็วจะไม่สามารถแข่งขันกับวัชพืชในระยะตั้งแต่เริ่มงอกจนถึง 3 เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัชพืชที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วและมีขนาดใหญ่ ในช่วงนี้จะต้องมีการควบคุมวัชพืชอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจทำได้โดยใช้จอบถาก ใช้รถไถเดินตามไถกลบ หรือใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช ซึ่งมีทั้งประเภทควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช เช่น อาลาคลอร์ ฟลูมิโอซาซิน ประเภทสัมผัสโดยตรง เช่น พาราควอท และประเภทดูดซึม เช่น ไกลโฟเสท ซึ่งผู้ปลูกมันสำปะหลังจะต้อเลือกใช้ให้เหมาะสม แต่การใช้สารควบคุมวัชพืชบ่อยครั้งและต่อเนื่อง อาจมีผลเสียต่อสภาพทางกายภาพและทางเคมีของดิน และทำให้สิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดินมีกิจกรรมลดลงหรือสูญหายไป หลังจากมันสำปะหลังอายุ 4 เดือน ไปแล้ว วัชพืชขนาดเล็กจะช่วยปกป้องหน้าดินให้มีอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ ทำให้ดินร่วนโปร่งเหมาะต่อการขยายของหัว และเพิ่มเปอร์เซ็นต์แป้ง จึงควรปล่อยวัชพืชขนาดเล็กให้เจริญเติบโตอยู่ใต้ร่มเงาของมันสำปะหลัง เพื่อปกป้องดินจากการชะล้างพังทลาย และยังช่วยสร้างอินทรียวัตถุที่จำเป็นต่อดินอีกด้วย การปลูกมันโดยวิธีใส่ปุ๋ยเป็นแนวในระดับลึก และเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสม จะช่วยให้ต้นมันเจริญเติบโตขึ้น คลุมวัชพืชได้โดยเร็ว ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชลงได้มาก

การให้ปุ๋ยมันสำปะหลัง ต่างกันตามฤดูกาล ต่างท้องที่ก็ดูแลไม่เหมือนกัน

การให้ปุ๋ยหลังปลูก ในบางท้องที่ และบางระยะของฤดู การใส่ปุ๋ยรองพื้นจำนวนมากอาจทำให้ท่อนปลูกของมันสำปะหลังมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำหรืออาจไม่งอกเลยทั้งแปลง ดังนั้นในขณะที่ความชื้นของดินไม่ดีนัก จึงควรใช้ปุ๋ยรองพื้นแต่น้อย และใส่เพิ่มเติมเมื่อมันสำปะหลังอายุ 3-4 เดือน 7-8 เดือน และ 10-12 เดือน ในกรณีที่ยืดอายุเก็บเกี่ยวไปถึง 16 เดือน ควรพิจารณาให้เดือนที่ 10-13 เป็นช่วงต้นฝน และเลือกใส่ปุ๋ยในเวลาที่ดินมีความชื้น เช่น หลังฝนตก 1-3 วัน โดยไม่จำเป็นต้องฝังกลบปุ๋ย เพราะรากของมันสำปะหลังมักขึ้นมาอยู่บนผิวดิน เมื่อดินมีความชื้นผู้ปลูกมันสำปะหลังควรหลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตกหนักบ่อยครั้ง และในช่วงที่ดินไม่มีความชื้น ซึ่งการใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมดังกล่าวนั้นอาจทำได้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ หินฝุ่น และปุ๋ยเคมี ซึ่งอาจแยกใส่หรือผสมกันแล้วใส่ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดหาวัสดุต่างๆ

การให้ปุ๋ยทางใบกันมันสำปะหลัง เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

การให้ปุ๋ยทางใบ เป็นวิธีการให้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากธาตุอาหารต่างๆ ฮอร์โมน วิตามิน คีเลตที่มีโมเลกุลขนาดเล็กจะสามารถซึมผ่านเข้าไปในใบ และพืชนำไปใช้ได้ทันที และขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมในพืชทั่วไป และมีคนนำมาใช้ในมันสำปะหลัง ในพื้นที่ที่ไม่ได้ปรับปรุงบำรุงดินไว้อย่างเหมาะสม แต่มีความจำเป็นต้องปลูกมันสำปะหลังเพื่อชิงเวลา การใส่ปุ๋ยทางดินอาจไม่ประณีตหรือสมบูรณ์ดีนัก อาจทำให้มันสำปะหลังไม่สามารถสกัดทุกธาตุอาหารจากดินตามความต้องการได้ การให้ปุ๋ยทางใบอาจช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทั้งทางราก และส่วนเหนือดินของต้นมันสำปะหลังได้ การใช้ปุ๋ยยูเรีย 1-2 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับปุ๋ยจุลธาตุที่มีองค์ประกอบของเหล็ก ทองแดง สังกะสี ฯลฯ ในรูปคีเลต จะช่วยให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตอย่างสมดุลดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหนาวจัดหรือแห้งแล้งจัด อีกทางเลือกหนึ่ง คือ การใช้ปุ๋ยหมักน้ำที่กรองแล้วฉีดพ่นทางใบ ซึ่งจะทำให้มีการเจริญเติบโตและมีผลผลิตดีขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของวัสดุที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมักน้ำ ซึ่งจะต้องไม่มีสารประกอบไนโตรเจนอยู่มากเกินไป การให้ปุ๋ยทางใบ อาจมีความจำเป็นในช่วงฤดูหนาวหรือแล้งจัด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ต้นมันสำปะหลังเจริญเติบโตโดยทิ้งใบ และเสริมธาตุอาหารที่ต้นมันสำปะหลังไม่สามารถสกัดและดูดขึ้นจากดินได้ ในสภาพที่ดินมีน้ำน้อยหรือดินมีความเป็นกรด-ด่าง และแฉะ-แห้งไม่เหมาะสม แต่โดยทั่วไปถ้าสามารถปรับสภาพดินและปุ๋ยในดินให้สมดุลเพียงพอแล้ว การใช้ปุ๋ยทางใบจะช่วยเสริมให้ต้นมันรับธาตุอาหาร วิตามิน ฮอร์โมน ได้อย่างเต็มที่

การดูแลมันสำปะหลัง หลังการปลูก

การติดตามตรวจสอบการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง หลังจากการปลูกมันสำปะหลังไปแล้ว ผู้ปลูกควรตรวจสอบความงอก และนำท่อนปลูกที่มีคุณภาพสูงมากไปปลูกเคียงคู่กับท่อนที่ไม่งอกภายใน 10 วัน โดยเสียบเคียงข้างห่างจากต้นเดิมประมาณหนึ่งฝ่ามือโดยไม่จำเป็นจะต้องเอาท่อนเดิมออก ต่อจากนั้นยังควรติดตามการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรให้มันสำปะหลังเติบโตเร็วหรือช้าเกินไป เช่น เมื่อมันสำปะหลังมีอายุประมาณ 2 เดือน จะมีความสูง 30-45 เซนติเมตร ซึ่งจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางหัวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร มีขนาดใบพอเหมาะ และมีสีใบไม่เขียวจัดหรือซีดเกินไป และเมื่อมีอายุได้ 4 เดือน จะมีความสูงประมาณ 100-150 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวระหว่าง 2-4 เซนติเมตร ในช่วงฤดูฝนมันสำปะหลังจะมีความสูงค่อนข้างมากแต่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวค่อนข้างน้อย แต่ในช่วงหลังฝนจะมีความสูงเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และมีขนาดหัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่หลังจากเข้าฤดูหนาวหรือช่วงแล้งฝนไม่ตก 2-3 เดือน มันสำปะหลังจะหยุดการเจริญเติบโต ดังนั้นผู้ปลูกจึงควรตรวจสอบเป็นระยะๆ และขอคำแนะนำจากผู้รู้ในการปรับปรุงและแก้ไขก่อนที่จะถึงระยะเวลาครึ่งหนึ่งของฤดูปลูก (การปลูก)

ระยะการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง

การเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังจะให้ผลผลิตเปอร์เซ็นต์แป้ง และคุณภาพที่ดีเมื่ออายุ 8 เดือนขึ้นไป แต่การปลูกให้น้ำผ่านช่วงฤดูหนาวอาจทำให้ได้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งที่สูงในระยะเวลาที่สั้นกว่านี้ แต่ยังไม่มีข้อมูลในด้านคุณภาพของแป้งเมื่อเก็บมันสำปะหลังอายุต่ำว่า 8 เดือน แต่มันสำปะหลังส่วนใหญ่จะมีการเจริญเติบโตของส่วนเหนือดินน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอายุระหว่าง 12 -18 เดือน จะมีการเจริญเติบโตของหัวและมีการสะสมแป้งในระดับสูงสุด และจะมีคุณภาพของเม็ดแป้งดีด้วย ซึ่งอยู่ระหว่าง 12 -18 เดือนนั้น ควรจะอยู่ในช่วงที่ดินมีความชื้นเหมาะสมไม่ผ่านช่วงแล้งมายาวนาน มันสำปะหลังที่เติบโตเข้าสู่ระยะฝนเริ่มตกจะมีการเจริญเติบโตในรอบใหม่ ซึ่งจะดึงแป้งจากหัวไปใช้ในการเจริญเติบโต ทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งในหัวต่ำลง และในบางครั้งอาจจะต่ำจากเดิมกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ถ้าผ่านช่วงแล้งมายาวนาน ผู้ปลูกมันสำปะหลังจึงควรประเมินผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งเป็นระยะๆ ก่อนทำการขุดและตัดสินใจ เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด โดยต้องไม่ลืมเก็บบางส่วนของพื้นที่ไว้เพื่อใช้ทำพันธุ์ให้มีการหมุนเวียนวงจรอย่างราบรื่น

หากผู้ปลูกมันสำปะหลังได้ปฏิบัติแต่ละขั้นตอนอย่างถูกต้อง และประณีตพอสมควรแล้วย่อมสามารถเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลังในไร่ของตนขึ้นได้หลายเท่าตัว ดังนั้นผู้ปลูกจึงควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับต้นทุน แรงงาน วัสดุ อุปกรณ์ และเวลาที่มีอยู่ อย่างไรก็ดียังมีข้อจำกัดที่ผู้ปลูกอาจไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความแห้งแล้ง อุณหภูมิต่ำหรือสูงเกินไป การเข้าทำลายของโรคแมลง ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามความคาดหมายเสมอไป แต่ผู้ปลูกมันสำปะหลังก็ควรที่จะพัฒนาวิธีการต่างๆ ให้ดีที่สุด ซึ่งจะทำให้สามารถนำรายได้มาสู่ตนเองและครอบครัว อันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยให้มีการสร้างงานใหม่ๆ และนำเข้าเงินตราจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านพลังงานของบ้านเมืองอีกด้วย

อ้างอิง
ดร.อัศจรรย์ สุขธำรง และ ดร.เรณู ขำเลิศ
http://web.sut.ac.th
อ่าน:3796
เทคนิค การเก็บเมล็ดพันธุ์ พื้นบ้าน โดยเกษตรกร
เทคนิค การเก็บเมล็ดพันธุ์ พื้นบ้าน โดยเกษตรกร
เทคนิค การเก็บเมล็ดพันธุ์ พื้นบ้าน โดยเกษตรกร

ระบบการผลิตเกษตรในปัจจุบันเกษตรได้พยายามพึ่งตนเองด้านปัจจัยการผลิต โดยการผลิตใช้เองตามศักยภาพและทรัพยากรที่มีในชุมชน เช่น ปุ๋ยหมัก น้ำหมัก เป็นต้น เมล็ดพันธุ์พืช นับเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญที่บริษัทขนาดใหญ่ ได้ใช้เป็นเครื่องมือในการยึดครองระบบผลิตอาหารของโลก

.

การพึ่งพาตนเองของเกษตรกรรายย่อยด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ใช้เอง จึงยังเป็นเรื่องยุ่งยาก เทคนิคการเก็บเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านโดยเกษตรกรเป็นองค์ความรู้ที่รวบรวมโดยชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ(กลุ่มเกษตรกรทำนา นาโส่)ตำบลนาโส่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร เพราะเป็นปัจจัยการผลิต ที่สำคัญที่นำไปสู่การพึ่งตนเอง และการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์

.

ประเภทของเมล็ดพันธุ์

.

การเก็บเมล็ดพันธุ์ให้ได้คุณภาพ ควรรู้จักประเภทของพืชผักพื้นบ้านเพื่อทำความเข้าใจกับธรรมชาติของพืชผัก ซึ่งแบ่งได้ ดังนี้

๑.ตระกูลมะเขือ ได้แก่ มะเขือเทศ มะเขือพวง มะอึก มะแว้ง เป็นต้น

๒.ตระกูลแตง ได้แก่ แตงโม แตงกวา แตงเทศ แตงไทย มะระ บวบหอม บวบเหลี่ยม ฟักเขียว ฯ

๓.ตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ ผักกาดเขียวปลี กวางตุ้ง ผักกาดดอก คะน้า กะหล่ำปลี กวางตุ้ง ผักกาดดอก คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว บรอคโคลี่ ผักกาดหัว เป็นต้น

๔.ตระกูลถั่ว ได้แก่ ถั่วลันเตา ถั่วปากอ้า ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม ถั่วแขก ถั่วพู ถั่วมะแฮะ เป็นต้น

.

การจัดการเมล็ดพันธุ์ตามลักษณะการเก็บเมล็ดพันธุ์

๑.กลุ่มที่ต้องเก็บเมื่อผลแห้ง ได้แก่ กลุ่มบวบ โดยมีวิธีการเก็บ คือเก็บผลแก่จัดสีน้ำตาล นำมาผึ่งลมให้แห้งสนิท และตากแดดให้แห้งสนิท และตากแดดให้แห้งอีก ๓-๕ วัน หลังจากนั้นเทออกจากฝัก ทำความสะอาด บรรจุซองหรือขวด ปิดฝาให้สนิท บันทึกรายละเอียดของพันธุ์เก็บใส่ตู้ หรือ ตู้เย็น

๒.กลุ่มพืชที่ต้องเก็บเมล็ดพันธุ์ช่วงระยะเริ่มสุกแก่ ได้แก่ ถั่วฝักยาว ข้าวโพด ถั่วลันเตา โดยมีวิธีการเก็บคือ มัดรวมกัน ผึ่งลมให้แห้ง ๘-๑๐ วัน กะเทาะออกจากฝัก ทำความสะอาด บรรจุในถุง หรือขวด ปิดฝาให้สนิท บันทึกรายละเอียดของพันธุ์

๓.กลุ่มพืชที่ต้องการเก็บเมล็ดเมื่อผลสุกแก่ ได้แก่ พริก มะเขือ ฟักทอง มะระ แตงโม ฟักเขียว ซึ่งมีวิธีการคือ ฟักเขียว ฟักทอง แตงโม บ่มไว้ก่อน อย่างน้อย ๑๕ วัน เมล็ดจะดูดสารอาหารจากผลมาเก็บไว้ให้เมล็ดเต็ม ส่วนพริก มะเขือ มะระ ไม่ต้องบ่ม เก็บมาผ่าเอาเมล็ดทันที เก็บไว้นานสารอาหารจะถูกดูดออกจากเมล็ด จากนั้นทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด นำไปตากแดดให้แห้ง ๒-๓ แดด ทำความสะอาดบรรจุในถุงกระดาษ บีบอากาศออกให้หมด ปิดปากถุงให้แน่น บันทึกรายละเอียดของพันธุ์

๔.กลุ่มพืชที่มีสารบางชนิดหุ้มห่อ เช่น มะเขือเทศ มะละกอ แตงกวา แตงร้าน เก็บพันธุ์โดยขูดเอาเมล็ดหมักไว้ ๑-๒ คืน ล้างด้วยน้ำเปล่าจนสะอาด แล้วนำเมล็ดไปตากแดด ๒-๓ แดด จนแห้งสนิท ทำความสะอาดอีกครั้ง จากนั้นบรรจุในซองกระดาษเขียนรายละเอียดของพันธ์ เก็บไว้ในตู้ หรือ ตู้เย็น

.

หมายเหตุ : เมล็ดพันธุ์ที่เก็บในช่องแช่แข็งของตู้เย็นสามารถเก็บได้นานถึง ๔ ปี แต่ถ้าเก็บในช่องธรรมดาเก็บไว้ได้นาน ๒ ปี

.

วิธีการปลูกผักเก็บเมล็ดพันธุ์

๑.พืชตระกูลเถา ปลูกหลุมละไม่เกิน ๒ เถา แต่ละเถาไม่ควรเกิน ๒ ลูก

๒.พริกมะเขือ ให้ปลูกห่างจากพันธุ์อื่นๆ เนื่องจากง่ายต่อการผสมพันธุ์ และ กลายพันธุ์

๓.ข้าวโพด ปลูกให้ห่างจากข้าวโพดพันธุ์อื่นๆ ประมาณ ๕๐๐ เมตร

.

ลักษณะการเก็บเมล็ดพันธุ์ผัก

๑.เก็บคาฝักหรือเก็บฝักแห้ง เช่น ข้าวโพด บวบ น้ำเต้า แตง แตงกวา แตงโม ผักกาด ผักชี กวางตุ้ง คะน้า สลัด

๒.เก็บสุกแก่ เช่น พริกมะเขือ พืชตระกูลถั่ว มะเขือเทศ ทานตะวัน มะรุม แมงลัก

๓.เก็บทั้งต้น เช่น สะระแหน่ ผักชีฝรั่ง กระเทียม หัวหอม

.

วิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์บางชนิด

๑.มะละกอ เก็บผลสุกแก่ นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำเกลือ เหมือนกับการคัดข้าวพันธุ์ ตากในที่ร่ม บรรจุขวด

๒.สลัด เก็บเมื่อสุกจนแห้ง บรรจุขวดที่แห้งแล้วนำไปเก็บไว้ในร่ม

๓.พืชตระกูลถั่ว เก็บเมื่อแก่จัด แล้วแกะเมล็ดออก เก็บไว้ในขวดเพื่อป้องกันมอดหรือแมลง

๔.มะเขือ เก็บเมื่อผลสุกเต็มที่ บรรจุเมล็ดเก็บไว้ในขวด และนำไปเก็บไว้ในที่ร่ม

๕.หัวหอมกระเทียม ทิ้งไว้ให้แก่จัดจนคาแปลงเพื่อป้องกันหัวลีบแล้วนำมามัดรวมกันแขวนไว้ในที่ร่ม

.

เทคนิคการป้องกันแมลงทำลายเมล็ดพันธุ์

๑.เมล็ดถั่วพันธุ์ต่างๆ ๑ กิโลกรัม ใช้เมล็ดละหุ่ง บด ๔๐ กรัม น้ำมันพืช ๒ ช้อนชา คลุกเคล้าให้เข้ากัน

๒.เมล็ดพืชทั่วไป

สูตรที่ ๑ ใบยี่โถหั่นฝอยแห้ง ๔๐ กรัม ต่อเมล็ดพืช ๑ กิโลกรัม

สูตรที่ ๒ ขมิ้นชันป่นแห้ง ๕๐ กรัมต่อเมล็ดพืช ๑ กิโลกรัม

สูตรที่ ๓ ปูนขาว ๕๐ กรัม ต่อเมล็ดพืช ๑ กิโลกรัม

.

เทคนิคการป้องกันความชื้นเมื่อเก็บเมล็ดพันธุ์

๑.วิธีใช้ข้าวคั่วดูดความชื้น โดยการคั่วข้าวสารแห้ง ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น แล้วใส่ก้นภาชนะ ประมาณ ๑ ใน ๔ วางกระดาษแข็งบนข้าวคั่ว จากนั้นใส่เมล็ดพันธุ์บนกระดาษปิดฝาให้สนิท

๒.วิธีใส่เศษถ่าน โดยวางเศษถ่านรองก้นภาชนะประมาณ ๑ ใน ๔ วางกระดาษแข็งใส่เมล็ดพันธุ์ปิดฝาให้สนิท

๓.วิธีใช้ขี้เถ้าใหม่ โดยการนำขี้เถ้าออกจากเตา(ขี้เถ้าที่เหลือจากการทำอาหารใหม่ๆ)นำไปร่อนให้เหลือ ขี้เถ้าสะอาดใส่ก้นภาชนะลักษณะเดียวกันกับเศษถ่าน ใส่เมล็ดและปิดฝาให้สนิท

.

อุปกรณ์เก็บ/ไล่/ดูดความชื้น

๑.ปูนปลาสเตอร์ /ถ่านหุงข้าว/ขี้เถ้า

๒.ปี๊บ

๓.เมล็ดพันธุ์

.

ภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์

ภาชนะที่ใช้บรรจุเมล็ดพันธุ์มีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมทั่วไปมี ๑๔ ประเภทได้แก่

๑.ขวดโหล

๒.ขวดสีทึบ

๓.ปี๊บ

๔.ซองกระดาษ

๕.ถุงซิป

๖.กระบอกไม้แห้ง

๗.ซองอะลูมินั่ม

๘.โอ่ง

๙.กระป๋อง

๑๐.หม้อดิน

๑๑.ถุงตาข่าย

๑๒.ถุงผ้า

๑๓.ถุงกระดาษ

๑๔.ผลน้ำเต้าแห้ง

.

การเก็บเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม

๑.บรรจุใส่ขวดแห้ง เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วดำ สลัด ผักชี ผักกาด

๒.บรรจุขวดสีชา เช่น ฟักทอง น้ำเต้า พริก มะเขือ

๓.ตากไว้ในที่ร่ม เช่น หัวหอม กระเทียม ข้าวโพด

.

ข้อสังเกต

๑.ภาชนะบรรรจุเมล็ดพันธุ์ควรเก็บในพื้นที่ที่ไม่มีแดดส่องถึง

๒.ขวดเก็บเมล็ดพันธุ์ควรมีสีชา ดีที่สุด

๓.โอ่ง หรือ ไหดิน บรรจุเมล็ดพันธุ์ให้เก็บไว้ในที่แห้ง

๔.ภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์ใส่ไว้ในตู้เย็น

.

ที่มาข้อมูลจาก

หนังสือเกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ ๑๗/๒๕๕๕ หน้า ๗

อ่าน:3795
ราแป้งเงาะ โรคราแป้งที่พบในเงาะผลอ่อน
ราแป้งเงาะ โรคราแป้งที่พบในเงาะผลอ่อน
อากาศร้อน และมีฝนตกในบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนเงาะเฝ้าระวังการเกิดโรคราแป้ง มักพบได้ในระยะที่ต้นเงาะสร้างช่อดอกและเริ่มติดผลอ่อน เริ่มแรกจะพบผงสีขาวหรือสีเทาอ่อนคล้ายแป้งเกาะบนช่อดอกและตามร่องขนของผลเงาะ ทำให้ต้นเงาะติดผลน้อยหรือไม่ติดผล กรณีที่ต้นเงาะติดผลจะมีผลขนาดเล็กไม่สมบูรณ์ ผลหลุดร่วงง่ายหรือทำให้ผลเน่าแห้งติดคาที่ก้านช่อ หากเป็นโรคราแป้งในระยะผลโต จะทำให้ขนที่ผลแห้ง แข็ง ผิวผลมีสีคล้ำไม่สม่ำเสมอ ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ขนกุด เรียกว่า เงาะขนเกรียน สำหรับในระยะที่ผลเงาะกำลังสุก ส่วนที่มีเชื้อราปกคลุมจะมีสีซีดกว่าปกติ อาจพบอาการของโรคได้ที่ส่วนยอดและใบ หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบอ่อนร่วง

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคราแป้ง ให้เกษตรกรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก และตัดแต่งทรงพุ่มต้นเงาะให้โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อเป็นการลดความชื้นในทรงพุ่ม และลดแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค จากนั้น เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรค ให้เกษตรกรตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรเมื่อใช้ในแปลงที่มีการระบาดแล้ว เกษตรกรควรนำเครื่องมือมาทำความสะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุกครั้ง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
3569 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 9 รายการ
|-Page 10 of 357-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 | 353 | 354 | 355 | 356 | 357 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
หนอนมะเขือเทศ หนอนชอนใบมะเขือเทศ หนอนต่างๆ ป้องกันกำจัดหนอน ฉีดพ่น ไอกี้-บีที
Update: 2564/09/19 23:16:52 - Views: 3534
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เพลี้ยต่างๆ ในทุเรียน และพืชอื่นๆ มาคา และ FK-T (ใช้ได้ทุกพืช) โดย FK
Update: 2565/06/29 19:28:31 - Views: 3457
กำจัดหนอนเจาะผล ในต้นทุเรียน ระยะตั้งแต่ผลเล็ก ไอกี้-บีที ชีวินทรีย์กำจัดศัตรูพิช โดย FK ใช้ได้กับพืชทุกชนิด
Update: 2566/05/27 11:58:20 - Views: 3462
พุทรา โตไว ใบเขียว เร่งราก เร่งดอก ขยายขนาด ผลใหญ่ ผลดก เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ย สตาร์เฟอร์
Update: 2567/03/29 15:06:54 - Views: 3449
🎗โรคเสาวรส โรคจุดสีน้ำตาลที่ผลเสาวรส (Brown fruit spot)
Update: 2564/06/27 15:27:19 - Views: 3590
วิธีปลูกทุเรียนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว
Update: 2564/05/31 08:12:06 - Views: 6417
6 สมุนไพรไทย สมุนไพรพื้นที่บ้านช่วยต้านโควิด 19
Update: 2564/08/21 11:41:51 - Views: 3598
ผักบุ้งทะเล แก้แผลเรื้อรัง แก้พิษฝีบวม แก้งูสวัด ถอนพิษ จากแมลงกัดต่อย พิษสัตว์ทะเล แมงกระพรุน
Update: 2563/05/23 13:58:08 - Views: 3704
หนอนระบาด ทำลาย ต้นดอกดาวเรืองของคุณ สร้างความเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร??
Update: 2566/11/02 09:54:07 - Views: 3416
คุณปริม ปิยะมาศ บัวแก้ว ร่วมพิธีลงนาม MOU รับซื้อโก้โก้ และ มะม่วงเบา ผู้ประกอบการอำนาจและ 2 บริษัทใหญ่
Update: 2562/08/31 10:00:52 - Views: 3507
โรคราดำกาแฟ มีต้นเหตุจาก เพลี้ย และ เชื้อราสาเหตุ แคบโนเดียม ใช้ มาคา + ไอเอส + FK-1
Update: 2564/08/09 04:42:06 - Views: 3572
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคใบจุดสีน้ำตาล ในต้นข้าว ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/05 12:50:07 - Views: 3455
ยารักษาโรคพืช กำจัดโรคราดำ ในมะม่วง โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด(ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)1,200ลิตร
Update: 2566/05/30 10:37:10 - Views: 3453
บล็อคโคลี่ ใบไหม้ ราน้ำค้าง กำจัดเชื้อรา ในบล็อคโคลี่ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK สวน ปุ๋ย ศัตรูพืช
Update: 2565/11/12 09:22:51 - Views: 3450
มะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว และการป้องกันกำจัด
Update: 2563/12/11 11:12:49 - Views: 3850
ปลูก ข่าตาแดง ส่งโรงงาน สร้างรายได้หลักล้านบาทต่อเดือน
Update: 2564/08/30 03:48:58 - Views: 3417
ปุ๋ยบำรุงมะนาว ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ
Update: 2564/04/01 13:41:16 - Views: 3566
แครอท โตไว ใบเขียว หัวใหญ่ ผลผลิตดี มีน้ำหนัก อะมิโนโปรตีนจำเป็นสำหรับพืช 18 ชนิด อะมิโนแรปเตอร์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/01 13:31:50 - Views: 3407
โรคราสีชมพู ที่เกิดกับ ลองกองผลอ่อน
Update: 2564/08/20 12:43:41 - Views: 3621
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราน้ำค้าง ในกัญชา กัญชง ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/21 10:36:41 - Views: 3659
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022