[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3562 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 2 รายการ

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง เพิ่มขนาดและน้ำหนักหัวมันสำปะหลัง Technology of increate cassava yield
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง เพิ่มขนาดและน้ำหนักหัวมันสำปะหลัง Technology of increate cassava yield
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง เพิ่มขนาดและน้ำหนักหัวมันสำปะหลัง Technology of increate cassava yield
ในสภาพแวดล้อมที่เหมะสม มันสำปะหลังอาจให้ผลผลิตสูงกว่า 20 ตันต่อไร่ ที่เปอร์เซ็นแป้ง 20-30 เปอร์เซ็น

มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญระดับแนวหน้า และกำลังทวีความสำคัญยิ่งขึ้นไปเนื่องจากมีประโยชน์ใช้สอยอย่างกว้างขวาง และสามารถปลูกได้ในดินดอนทั่วไปอย่างแทบจะไร้ขีดจำกัดเมื่อมีการปฏิบัติดูแลอย่างดีพอสมควร มันสำปะหลังนับว่าเป็นพืชที่มีศักยในการให้ผลผลิตสูงมากพืชหนึ่ง ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน และในท้องที่ที่มีสภาพที่เหมาะสม อาจให้ผลผลิตสูงกว่า 20 ตันต่อไร่ โดยที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งอยู่ในช่วง 25-30 เปอร์เซ็นต์

การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง สภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ

ถึงแม้ว่ามันสำปะหลังจะเป็นพืชที่ปลูกง่ายตายยากและให้ผลผลิตโดยง่าย โดยมีความเสี่ยงน้อยต่อความไม่เหมาะสมของสิ่งแวดล้อมก็ตาม แต่การที่จะให้มันสำปะหลังแสดงออกถึงศักยภาพของแต่ละสายพันธุ์ที่มีอยู่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก โดยทั่วไปย่อมเป็นที่รู้ในหมู่นักวิชาการว่าในการปลูกมันสำปะหลังนั้นมีหลัก และขั้นตอนที่สำคัญอยู่หลายประการ ซึ่งผู้ปลูกควรจะยึดถือเป็นแนวปฏิบัติซึ่งได้แก่ การใช้พันธุ์ที่ดีที่เหมาะสมกับท้องที่ การใช้ต้นพันธุ์ และการใช้พันธุ์ที่มีคุณภาพ การปรับปรุงบำรุงดินและการเตรียมดินอย่างถูกวิธี การเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม การปลูกย่างประณีตโดยใช้ระยะปลูกอย่างเหมาะสม การใส่ปุ๋ยให้เพียงพอและสมดุล การปฏิบัติดูแลด้วยการเอาใจใส่พอสมควร ไปจนถึงการเลือกเวลาเก็บเกี่ยวและการเก็บเกี่ยวอย่างเหมาะสม ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นอกจากนี้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งของมันสำปะหลังยังขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อีกมาก เช่น ความชื้นในดิน ในอากาศ อุณหภูมิ และแสง เป็นต้น

พันธุ์มันสำปะหลังที่นิยมปลูกในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้มีพันธุ์มันสำปะหลังที่ดีถูกสร้างออกมาให้เกษตรกรใช้เป็นจำนวนมาก ที่เป็นพันธุ์รับรองซึ่งได้รับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมีมากกว่า 7 สายพันธุ์ เช่น พันธุ์ระยอง 5 พันธุ์ระยอง 7 พันธุ์ระยอง 9 พันธุ์ระยอง 72 และพันธุ์ระยอง 90 ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง นอกจากนี้ยังมีพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ที่มางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้พัฒนาขึ้น และนำอกมาให้เกษตรกรใช้ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะมีการปรับตัวได้อย่างดีเยี่ยมต่อสภาพแวดล้อม เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมกับมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยได้พัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังขึ้นมาพันธุ์หนึ่งและได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชื่อว่าพันธุ์ห้วยบง 60 ซึ่งเป็นมันสำปะหลังอีกพันธุ์หนึ่งที่ให้ผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งสูงในหลายพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมา

มันสำปะหลังพันธุ์รับรอง ที่ให้ผลผลิตสูง

จากการทดลองในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในปี พ.ศ.2546-2547 พบว่า มันสำปะหลังพันธุ์รับรอง 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 พันธุ์ระยอง 5 พันธุ์ระยอง 72 และพันธุ์ระยอง 90 สามารถให้ผลผลิตสูงอยู่ในช่วงระหว่าง 11-12 ตันต่อไร่ที่อายุ 13 เดือน โดยมีเปอร์เซ็นต์แป้งอยู่ที่ 25-28 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มที่จะสามารถทำให้ผลผลิตสูงขึ้นกว่านี้ได้ นอกจากนี้ยังมีมันสำปะหลังที่ยังไม่ได้ผ่านการรับรองแต่มีศักยในการให้ผลผลิตดีในบางท้องที่ และยังมีพันธุ์อื่นๆ ที่เกษตรกรรวบรวมหรือจัดหามาได้ ก็อาจนำมาใช้ได้ ปัจจุบันระบบการปลูกมันสำปะหลังอาจมีความจำเป็นจะต้องนำเครื่องทุ่นแรงเข้ามาใช้มากขึ้น ตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว ดังนั้นพันธุ์มันสำปะหลังที่จะนำมาใช้นอกจากจะมีผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งสูงแล้วยังควรมีลำต้นตั้งตรงไม่แตกกิ่งอีกด้วย ดังนั้นเกษตรกรจึงควรสังเกตและเลือกเก็บพันธุ์ที่ดีด้วยตนเอง

ท่อนพันธุ์ที่ดี และความยาวท่อนพันธุ์ที่เหมาะสมกับ การปลูกมันสำปะหลัง

ท่อนพันธุ์หรือท่อนปลูก เมื่อผู้ปลูกมันสำปะหลังแน่ใจว่าพันธุ์ที่มีอยู่ในมือนั้น เป็นพันธุ์ที่ดี ขั้นต่อไปก็คือควรจะปลูกรักษาพันธุ์ดีเอาไว้ และเอามาเป็นท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพ จากนั้นจึงนำมาใช้เมื่อมีอายุระหว่าง 8-20 เดือน โดยใช้เฉพาะส่วนกลางของลำต้นที่มีความแก่-อ่อน พอเหมาะ ขนาดของท่อนพันธุ์ที่ใหญ่มักจะให้หัวมากกว่าท่อนพันธ์ที่เล็กถ้าสามารถตัดได้โดยไม่แตก ความยาวของท่อนอาจอยู่ที่ 15-25 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับฤดูปลูกและเตรียมดิน การใช้ท่อนพันธุ์ที่ค่อนข้างสั้นจะเหมาะกับการปลูกในช่วงที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ ในช่วงต้นฝนหรือผู้ปลูกมีต้นพันธุ์จำนวนจำกัด การใช้ท่อนพันธุ์ที่มีความยาวกว่า 30 เซนติเมตร อาจใช้ได้ดีเมื่อเตรียมดิน และใส่ปุ๋ยได้ลึกหรือในสภาพที่ปัญหาวัชพืชที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งการใส่ปุ๋ยและปลูกลึกในบางพันธุ์จะช่วยเพิ่มผลผลิตได้มาก

การเตรียมดินปลูกมันสำปะหลัง ไม่เหมือนกันในแต่ละสภาพแวดล้อม

การเตรียมดิน มีวิธีการแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ และสภาพของดิน ปริมาณน้ำฝน และการจัดการอื่นๆ สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อย หน้าดินลึก ดินร่วนซุย ในบางครั้งอาจไม่มีความจำเป็นต้องไถพรวน เพียงแต่ปลูกท่อนพันธุ์ และใส่ปุ๋ยลงไปในหลุมดินที่ได้ถอนหัวมันออกแล้วก็อาจได้ผลผลิตดีพอๆ กับที่มีการเตรียมดินอย่างดี แต่สำหรับในบางดินบางสถานการณ์ การเตรียมดินเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชต้องการอากาศมาก และต้องการสภาพของดินที่ร่วนโปร่งและฟู ในบางครั้งอาจจะต้องใช้สารปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้กายภาพของดินมีสภาพเหมาะสมดังกล่าว และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินให้ลงไปในระดับลึก ซึ่งจะทำให้เกิดผลดี เมื่อเสียบท่อนพันธุ์ลงไปในระดับลึกได้โดยไม่ขัดขวางการงอกของรากจากรอยตัด และทำให้รากของต้นอ่อนมันสำปะหลังอยู่ในอยู่ในระดับใต้ดินที่ยังมีความชื้นเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้สามารถผ่านช่วงแล้ง 5-6 เดือนได้ อย่างไรก็ดี การปลูกลึกอาจสร้างปัญหาทำให้เก็บเกี่ยวยากขึ้น ในดินที่ค่อนข้างเหนียว เกษตรกรไม่ควรเตรียมดินในขณะที่ดินมีความชื้นสูง เพราะน้ำหนักของเครื่องมือจะกดทับดินชั้นล่างให้เป็นแผ่นดินดานแข็ง ในดินที่มีปัญหาเกิดแผ่นดานขึ้นในชั้นใต้ดินควรใช้ไถสิ่วหรือไถระเบิดดาน (sub-soiler) กดลงไปในระดับลึกซึ่งจะช่วยให้ดินมีการระบายน้ำและระบายอากาศดีขึ้น

วัสดุปรับปรุงดิน และปุ๋ยเคมีก็จำเป็น มากน้อยแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม

การใส่วัสดุปรับปรุงดิน ในท้องที่ซึ่งดินแน่นง่ายการไถกลบวัชพืช และเศษมันสำปะหลังจะช่วยให้ดินโปร่งร่วนในระดับหนึ่ง แต่ในบางครั้งอาจยังไม่เพียงพอต้องหาวัสดุปรับปรุงดิน เช่น แกลบดิบ เถ้าแกลบ กากหม้อกรองอ้อย หินฝุ่นจากภูเขาไฟ หินปูนฝุ่น ปูนขาว ยิบซั่ม พูไมซ์ เพอร์ไลท์ และซีโอไลท์ ฯลฯ มาใส่ ซึ่งแต่ละชนิดมีความถูก-แพง และการจัดการไม่เหมือนกัน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้น อาจมีความจำเป็นอย่างยิ่งในดินที่แน่นง่ายหรือเนื้อดินค่อนข้างเหนียว และมีธาตุอาหารต่างๆ อยู่ในดินน้อย การรองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ 200-500 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมไปกับวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน จะช่วยให้ผลผลิตดีขึ้นมาก จะช่วยให้ต้นมันสำปะหลังมีการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตสูงและมีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นจำนวนมากอาจมีความจำเป็นต้องทำให้เจือจางลงโดยการเติมสารอินทรีย์ที่มีความเค็มน้อย เช่น ฟางข้าว แกลบ กากหม้อกรองอ้อย ฯลฯ และควรมีการหมักทิ้งไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้ความร้อนสลายไป ปุ๋ยเคมีอาจมีความจำเป็นต้องใส่รองพื้นบ้างในกรณีของพื้นที่ซึ่งไม่มีการใช้ปุ๋ยอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน

การให้ปุ๋ยมันสำปะหลังหลัง

การใส่ปุ๋ยรองพื้น มันสำปะหลังเป็นพืชที่มีศักยในการให้ผลผลิตสูง และมีอายุอยู่ในพื้นที่ปลูกค่อนข้างนาน จึงมีความต้องการธาตุอาหารในปริมาณมาก ซึ่งผลผลิตจะขึ้นอยู่กับปริมาณของธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินว่าจะสมดุลและสมบูรณ์เพียงใด มันสำปะหลังมีความสามารถในการสกัดธาตุอาหารจากหินและแร่ ซึ่งใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการใช้ปูนขาว หินปูนบด (หินฝุ่น) โดโลไมท์บด พูไมซ์ ซีโอไลท์ สเมกไตท์ ฯลฯ จะช่วยทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้กว่าครึ่งที่เป้าหมายผลผลิตเท่ากัน เศษซากพืช และปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยให้มีธาตุอาหารในลักษณะที่สมดุลขึ้นแต่ต้องใช้ในปริมาณค่อนข้างมาก ปุ๋ยเคมีอาจมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อเสริมปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็น ในกรณีที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และไม่สามารถหาเศษซากพืชหรือปุ๋ยอินทรีย์ได้เพียงพอ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 200-400 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับหินปูนฝุ่นประมาณ 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ประมาณ 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถคาดหมายผลผลิตระหว่าง 8-12 ตันต่อไร่ ในเวลา 12 เดือน โดยมีการลงทุนเพิ่มจากที่เกษตรกรเคยทำเพียงเล็กน้อย การคาดหมายผลผลิตที่มากกว่านี้อาจทำได้โดยใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้น แต่เกษตรกรจะต้องปรับระยะปลูกให้ห่างออก ทำให้ปุ๋ยเจือจางลงหรือละลายช้าลงหรือเพิ่มจำนวนครั้งในการให้ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมไปกับปุ๋ยอินทรีย์ อาจช่วยให้การย่อยสลายของปุ๋ยอินทรีย์สมดุลขึ้น และยังสามารถดึงไนโตรเจนในอากาศมาเป็นปุ๋ยในดิน และทำให้หินแร่ในดินและวัสดุปรับปรุงดินที่ใส่ลงไปย่อยสลาย ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แกต้นมันสำปะหลังได้ดีขึ้น ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อีกมาก การใช้ปุ๋ยอินทรีย์สลายเร็วหรือปุ๋ยเคมีอัตราสูงเป็นปุ๋ยรองพื้น อาจมีผลเสียต่อการงอกของท่อนปลูก และทำให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตรวดเร็วเกินไป (ขึ้นต้น) จะไม่ค่อยลงหัว

การพรวนดิน การเตรียมดิน ในการปลูกมันสำปะหลัง

การพรวนดิน ในดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างเหนียว อาจมีความจำเป็นต้องพรวนหลายครั้ง หรืออาจใช้วิธีไถดะ ตากดินไว้ให้แห้ง ซึ่งจะง่ายต่อการพรวน แต่ในดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินทราย อาจไถลึกเพียงครั้งเดียวหลังการหว่านปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ก็สามารถนำท่อนพันธุ์ลงปลูกได้เลย การพรวนดินให้ละเอียดมากเกินไปอาจทำให้ดินแน่นได้โดยง่ายเมื่อมีฝนตกหนัก ซึ่งผู้ปลูกจะต้องสังเกตและไถพรวนอย่างเหมาะสม

การยกร่องปลูกมันสำปะหลัง

การยกร่อง อาจมีความจำเป็นเมื่อดินมีความลดเทน้อย หรือพื้นที่ขนาดใหญ่มากและเป็นดินที่มีโอกาสแฉะเมื่อฝนชุกหรือดินระบายน้ำยาก การยกร่องช่วยทำให้ใส่ปุ๋ยรองพื้นได้ง่ายขึ้นโดยใส่ปุ๋ยไว้ก้นร่องและพรวนกลบ ซึ่งจะทำให้ดินมีธาตุอาหารอยู่ในระดับลึก ต้นมันสำปะหลังใช้ปุ๋ยได้ดีแต่วัชพืชจะไม่มีโอกาสใช้ปุ๋ยที่อยู่ลึก จึงอาจช่วยทำให้ไม่ต้องกำจัดวัชพืชที่มีขนาดเล็กหรือมีการแข่งขันกับต้นมันสำปะหลังน้อย การยกร่องยังช่วยให้ง่ายต่อการนำท่อนพันธุ์ลงปลูกอีกด้วย แต่สำหรับผู้มีความชำนาญก็อาจนำท่อนพันธุ์ลงปลูกได้โดยไม่ต้องยกร่องในพื้นที่ ซึ่งมีการระบายน้ำดี นอกจากนี้การยกร่องยังให้ประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของการชะล้างพังทลาย และการไหลบ่าของน้ำ

ขั้นตอนการปลูก การคัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง

การนำท่อนพันธุ์ลงปลูก มันสำปะหลังสามารถปลูกได้หลายวิธี ตั้งแต่ปลูกด้วยเมล็ด ปลูกด้วยลำต้นที่ตัดเป็นท่อน หรือปลูกโดยใช้ยอดที่มีความยาวประมาณ 1-2 ฟุต แต่ที่นิยมคือการปลูกด้วยลำต้น นำมาตัดเป็นท่อน เรียกว่า “ท่อนพันธุ์หรือท่อนปลูก” ซึ่งอาจใช้วิธีเสียบตั้งตรง หรือเอียงเล็กน้อย ในต่างประเทศมีการปลูกด้วยเครื่องจักร ซึ่งจะวางท่อนปลูกนอนราบไปกับพื้น ซึ่งแต่ละวิธีอาจมีความเหมาะสมต่อสภาพของดิน อุปกรณ์เครื่องมือ และแรงงานที่มีอยู่ และผลผลิตที่ได้ย่อมมีความแตกต่างกันไป ซึ่งผู้ปลูกจะต้องเลือดให้เหมาะกับวิธีการจัดการที่ดีที่สุดของตนเอง ผลผลิตสูงสุดจะได้จากการทำงาที่ประณีต และมีขั้นตอนต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่และภูมิอากาศ การปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์น้อยนั้น การปลูกตื้นให้ผลดีกว่าการปลูกลึกเพราะธาตุอาหารดินอยู่บริเวณใกล้ผิวดิน อย่างไรก็ตามผลผลิตและคุณภาพที่ดีมักจะได้มาจากการปลูกในช่วงที่มีความชื้นเพียงพอ ไม่มากจนเกินไปในระยะต้นฤดู เช่น เดือนพฤษภาคม เป็นต้น

การกำจัดวัชพืชมันสำปะหลัง

การกำจัดวัชพืช มันสำปะหลังที่มีอายุน้อยยังมีระบบรากไม่แข็งแรง และมีการเจริญเติบโตไม่รวดเร็วจะไม่สามารถแข่งขันกับวัชพืชในระยะตั้งแต่เริ่มงอกจนถึง 3 เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัชพืชที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วและมีขนาดใหญ่ ในช่วงนี้จะต้องมีการควบคุมวัชพืชอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจทำได้โดยใช้จอบถาก ใช้รถไถเดินตามไถกลบ หรือใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช ซึ่งมีทั้งประเภทควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช เช่น อาลาคลอร์ ฟลูมิโอซาซิน ประเภทสัมผัสโดยตรง เช่น พาราควอท และประเภทดูดซึม เช่น ไกลโฟเสท ซึ่งผู้ปลูกมันสำปะหลังจะต้อเลือกใช้ให้เหมาะสม แต่การใช้สารควบคุมวัชพืชบ่อยครั้งและต่อเนื่อง อาจมีผลเสียต่อสภาพทางกายภาพและทางเคมีของดิน และทำให้สิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดินมีกิจกรรมลดลงหรือสูญหายไป หลังจากมันสำปะหลังอายุ 4 เดือน ไปแล้ว วัชพืชขนาดเล็กจะช่วยปกป้องหน้าดินให้มีอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ ทำให้ดินร่วนโปร่งเหมาะต่อการขยายของหัว และเพิ่มเปอร์เซ็นต์แป้ง จึงควรปล่อยวัชพืชขนาดเล็กให้เจริญเติบโตอยู่ใต้ร่มเงาของมันสำปะหลัง เพื่อปกป้องดินจากการชะล้างพังทลาย และยังช่วยสร้างอินทรียวัตถุที่จำเป็นต่อดินอีกด้วย การปลูกมันโดยวิธีใส่ปุ๋ยเป็นแนวในระดับลึก และเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสม จะช่วยให้ต้นมันเจริญเติบโตขึ้น คลุมวัชพืชได้โดยเร็ว ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชลงได้มาก

การให้ปุ๋ยมันสำปะหลัง ต่างกันตามฤดูกาล ต่างท้องที่ก็ดูแลไม่เหมือนกัน

การให้ปุ๋ยหลังปลูก ในบางท้องที่ และบางระยะของฤดู การใส่ปุ๋ยรองพื้นจำนวนมากอาจทำให้ท่อนปลูกของมันสำปะหลังมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำหรืออาจไม่งอกเลยทั้งแปลง ดังนั้นในขณะที่ความชื้นของดินไม่ดีนัก จึงควรใช้ปุ๋ยรองพื้นแต่น้อย และใส่เพิ่มเติมเมื่อมันสำปะหลังอายุ 3-4 เดือน 7-8 เดือน และ 10-12 เดือน ในกรณีที่ยืดอายุเก็บเกี่ยวไปถึง 16 เดือน ควรพิจารณาให้เดือนที่ 10-13 เป็นช่วงต้นฝน และเลือกใส่ปุ๋ยในเวลาที่ดินมีความชื้น เช่น หลังฝนตก 1-3 วัน โดยไม่จำเป็นต้องฝังกลบปุ๋ย เพราะรากของมันสำปะหลังมักขึ้นมาอยู่บนผิวดิน เมื่อดินมีความชื้นผู้ปลูกมันสำปะหลังควรหลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตกหนักบ่อยครั้ง และในช่วงที่ดินไม่มีความชื้น ซึ่งการใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมดังกล่าวนั้นอาจทำได้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ หินฝุ่น และปุ๋ยเคมี ซึ่งอาจแยกใส่หรือผสมกันแล้วใส่ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดหาวัสดุต่างๆ

การให้ปุ๋ยทางใบกันมันสำปะหลัง เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

การให้ปุ๋ยทางใบ เป็นวิธีการให้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากธาตุอาหารต่างๆ ฮอร์โมน วิตามิน คีเลตที่มีโมเลกุลขนาดเล็กจะสามารถซึมผ่านเข้าไปในใบ และพืชนำไปใช้ได้ทันที และขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมในพืชทั่วไป และมีคนนำมาใช้ในมันสำปะหลัง ในพื้นที่ที่ไม่ได้ปรับปรุงบำรุงดินไว้อย่างเหมาะสม แต่มีความจำเป็นต้องปลูกมันสำปะหลังเพื่อชิงเวลา การใส่ปุ๋ยทางดินอาจไม่ประณีตหรือสมบูรณ์ดีนัก อาจทำให้มันสำปะหลังไม่สามารถสกัดทุกธาตุอาหารจากดินตามความต้องการได้ การให้ปุ๋ยทางใบอาจช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทั้งทางราก และส่วนเหนือดินของต้นมันสำปะหลังได้ การใช้ปุ๋ยยูเรีย 1-2 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับปุ๋ยจุลธาตุที่มีองค์ประกอบของเหล็ก ทองแดง สังกะสี ฯลฯ ในรูปคีเลต จะช่วยให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตอย่างสมดุลดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหนาวจัดหรือแห้งแล้งจัด อีกทางเลือกหนึ่ง คือ การใช้ปุ๋ยหมักน้ำที่กรองแล้วฉีดพ่นทางใบ ซึ่งจะทำให้มีการเจริญเติบโตและมีผลผลิตดีขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของวัสดุที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมักน้ำ ซึ่งจะต้องไม่มีสารประกอบไนโตรเจนอยู่มากเกินไป การให้ปุ๋ยทางใบ อาจมีความจำเป็นในช่วงฤดูหนาวหรือแล้งจัด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ต้นมันสำปะหลังเจริญเติบโตโดยทิ้งใบ และเสริมธาตุอาหารที่ต้นมันสำปะหลังไม่สามารถสกัดและดูดขึ้นจากดินได้ ในสภาพที่ดินมีน้ำน้อยหรือดินมีความเป็นกรด-ด่าง และแฉะ-แห้งไม่เหมาะสม แต่โดยทั่วไปถ้าสามารถปรับสภาพดินและปุ๋ยในดินให้สมดุลเพียงพอแล้ว การใช้ปุ๋ยทางใบจะช่วยเสริมให้ต้นมันรับธาตุอาหาร วิตามิน ฮอร์โมน ได้อย่างเต็มที่

การดูแลมันสำปะหลัง หลังการปลูก

การติดตามตรวจสอบการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง หลังจากการปลูกมันสำปะหลังไปแล้ว ผู้ปลูกควรตรวจสอบความงอก และนำท่อนปลูกที่มีคุณภาพสูงมากไปปลูกเคียงคู่กับท่อนที่ไม่งอกภายใน 10 วัน โดยเสียบเคียงข้างห่างจากต้นเดิมประมาณหนึ่งฝ่ามือโดยไม่จำเป็นจะต้องเอาท่อนเดิมออก ต่อจากนั้นยังควรติดตามการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรให้มันสำปะหลังเติบโตเร็วหรือช้าเกินไป เช่น เมื่อมันสำปะหลังมีอายุประมาณ 2 เดือน จะมีความสูง 30-45 เซนติเมตร ซึ่งจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางหัวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร มีขนาดใบพอเหมาะ และมีสีใบไม่เขียวจัดหรือซีดเกินไป และเมื่อมีอายุได้ 4 เดือน จะมีความสูงประมาณ 100-150 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวระหว่าง 2-4 เซนติเมตร ในช่วงฤดูฝนมันสำปะหลังจะมีความสูงค่อนข้างมากแต่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวค่อนข้างน้อย แต่ในช่วงหลังฝนจะมีความสูงเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และมีขนาดหัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่หลังจากเข้าฤดูหนาวหรือช่วงแล้งฝนไม่ตก 2-3 เดือน มันสำปะหลังจะหยุดการเจริญเติบโต ดังนั้นผู้ปลูกจึงควรตรวจสอบเป็นระยะๆ และขอคำแนะนำจากผู้รู้ในการปรับปรุงและแก้ไขก่อนที่จะถึงระยะเวลาครึ่งหนึ่งของฤดูปลูก (การปลูก)

ระยะการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง

การเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังจะให้ผลผลิตเปอร์เซ็นต์แป้ง และคุณภาพที่ดีเมื่ออายุ 8 เดือนขึ้นไป แต่การปลูกให้น้ำผ่านช่วงฤดูหนาวอาจทำให้ได้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งที่สูงในระยะเวลาที่สั้นกว่านี้ แต่ยังไม่มีข้อมูลในด้านคุณภาพของแป้งเมื่อเก็บมันสำปะหลังอายุต่ำว่า 8 เดือน แต่มันสำปะหลังส่วนใหญ่จะมีการเจริญเติบโตของส่วนเหนือดินน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอายุระหว่าง 12 -18 เดือน จะมีการเจริญเติบโตของหัวและมีการสะสมแป้งในระดับสูงสุด และจะมีคุณภาพของเม็ดแป้งดีด้วย ซึ่งอยู่ระหว่าง 12 -18 เดือนนั้น ควรจะอยู่ในช่วงที่ดินมีความชื้นเหมาะสมไม่ผ่านช่วงแล้งมายาวนาน มันสำปะหลังที่เติบโตเข้าสู่ระยะฝนเริ่มตกจะมีการเจริญเติบโตในรอบใหม่ ซึ่งจะดึงแป้งจากหัวไปใช้ในการเจริญเติบโต ทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งในหัวต่ำลง และในบางครั้งอาจจะต่ำจากเดิมกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ถ้าผ่านช่วงแล้งมายาวนาน ผู้ปลูกมันสำปะหลังจึงควรประเมินผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งเป็นระยะๆ ก่อนทำการขุดและตัดสินใจ เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด โดยต้องไม่ลืมเก็บบางส่วนของพื้นที่ไว้เพื่อใช้ทำพันธุ์ให้มีการหมุนเวียนวงจรอย่างราบรื่น

หากผู้ปลูกมันสำปะหลังได้ปฏิบัติแต่ละขั้นตอนอย่างถูกต้อง และประณีตพอสมควรแล้วย่อมสามารถเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลังในไร่ของตนขึ้นได้หลายเท่าตัว ดังนั้นผู้ปลูกจึงควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับต้นทุน แรงงาน วัสดุ อุปกรณ์ และเวลาที่มีอยู่ อย่างไรก็ดียังมีข้อจำกัดที่ผู้ปลูกอาจไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความแห้งแล้ง อุณหภูมิต่ำหรือสูงเกินไป การเข้าทำลายของโรคแมลง ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามความคาดหมายเสมอไป แต่ผู้ปลูกมันสำปะหลังก็ควรที่จะพัฒนาวิธีการต่างๆ ให้ดีที่สุด ซึ่งจะทำให้สามารถนำรายได้มาสู่ตนเองและครอบครัว อันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยให้มีการสร้างงานใหม่ๆ และนำเข้าเงินตราจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านพลังงานของบ้านเมืองอีกด้วย

อ้างอิง
ดร.อัศจรรย์ สุขธำรง และ ดร.เรณู ขำเลิศ
http://web.sut.ac.th
อ่าน:3735
ปัญหาดินเสีย และวิธีแก้ไขดินเสีย ให้ทำการเกษตรได้ดีขึ้น
ปัญหาดินเสีย และวิธีแก้ไขดินเสีย ให้ทำการเกษตรได้ดีขึ้น
เกษตรกรที่ทำงานเกษตรต่างๆ ส่วนมากต้องอาศัยดินเพื่อการปลูกพืช ก็เปรียบได้ว่าดินเป็นเหมื่อนต้นกำหนดแห่งชีวิตเลย แต่พอทำไปนานๆเข้ามันมักจะเกิดปัญหาเพราะดินต้องทำงานหนักมากจนเกินไป เจอพืชที่ทำลายดิน เจอยาฆ่าแมลง ไปมากๆเข้าดินอาจรับไม่ไหว ดินบางพื้นที่อาจได้รับปัญหาอื่นอีกมาก วันนี้เราจะมาพูดถึงสาเหตุที่ทำให้ดินเสีย และวิธีแก้ เพื่อที่ชาวเกษตรกรจะได้หลีกเลี่ยงการทำให้ดินเสียได้บางทีก็อาจทำลายดินหรือแหล่งรายได้ของตัวเองโดยไม่รู้ตัว และใครที่ดินเสียแล้วจะได้ไม่หมดกำลังใจในการทำงาน

ปัญหาดินเสีย

โดยสาเหตุการทำให้ดินเสียมี 2 ประเภท ด้วยกันใหญ่

1.เสียโดยธรรมชาติทำลาย คือ ลมแรง กระแสน้ำกัดเซาะพัดพาหน้าดินหลุดลอยหายไป

2.เสียโดยมนุษย์ทำลาย คือ

2.1 ปัญหาใหญ่เลยก็คือการตัดไม้ทำลายป่า เวลาฝนตกจะไม่มีอะไรดูดน้ำหรือรักษาหน้าดินไว้ จึงทำให้น้ำกัดเซาะหนาดินที่ดีไปหมด

2.2 ชาวเกษตรการทำการเกษตรไม่ถูกวิธี คือ

-การปลูกพืชชนิดเดียวกันเป็นเวลานานโดยไม่เปลี่ยนหรือวนปลูกพืชชนิดอื่น จะทำให้ธาตุอาหารตามระดับความลึกของรากพืชถูกนำไปใช้มากจนดินเสื่อมความสมบูรณ์

-การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีต่างๆเป็นเวลานาน มันอาจจะได้ผลดีกับพืชแต่จะไปทำลายดินและผู้บริโภคได้

-การไถหรือพรรณดินในขณะที่ดินเปียก

-การขุดหน้าดินไปขาย

-การเผาหน้าดิน

วิธีป้องกันไม่ให้ดินเสีย

1.การปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวหน้ากระดานเพื่อเป็นการป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน

2.การปลูกพืชคลุมดิน เพื่อเป็นการรักษาหน้าดินไม่ให้เกิดการพังทลาย และจะได้ช่วยเก็บน้ำให้อยู่ในดินในชุมชื้น

3. การปลูกพืชตะกูลถั่วเอาสลับกับพืชชนิดอื่น เพื่อเป็นการเพิ่มไนโตเจนให้กับดิน

4. การใช้ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยคอกแทนปุ๋ยเคมีเพื่อเป็นการไม่ทำให้ดินเสียและรักษาดินได้

5.ปลูกไม้ยืนต้นที่ช่วยบำรุงดิน อย่าง ฉำฉา กระถินเทพา กระถินณรงค์ เป็นต้น

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..ารเกษตร.com/สาเหตุที่ทำให้ดินเสีย/
อ่าน:3735
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยแป้ง ในมะนาว และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยแป้ง ในมะนาว และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยแป้ง ในมะนาว และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Beauveria mix Methharicium หรือที่รู้จักในชื่อ Butarex เป็นผลิตภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชทางชีวภาพที่ใช้สำหรับป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งในมะนาว เพลี้ยแป้งเป็นแมลงดูดน้ำนมขนาดเล็กที่สามารถสร้างความเสียหายอย่างมากต่อพืชตระกูลส้ม ส่งผลให้ผลผลิตลดลงและคุณภาพผลตกต่ำ

Beauveria mix Methharicium เป็นส่วนผสมของเชื้อรา 2 สายพันธุ์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ Beauveria bassiana และ Metarhizium anisopliae ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ามีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยแป้ง เชื้อราเหล่านี้เป็นเชื้อโรคที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งติดเชื้อและฆ่าแมลง ซึ่งเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและยั่งยืนแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ผลิตภัณฑ์นี้ใช้เป็นสเปรย์หรือฝุ่นกับใบและลำต้นของต้นมะนาว สิ่งสำคัญคือต้องใช้ผลิตภัณฑ์เมื่อสภาพอากาศเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา (อบอุ่นและชื้น) และเมื่อเพลี้ยแป้งมีประชากรปานกลางถึงสูง สปอร์ของเชื้อราจะเกาะติดกับเพลี้ยแป้งและงอกเข้าสู่ผิวหนังของแมลงและเติบโตภายในร่างกาย ทำให้แมลงตายภายในไม่กี่วัน

บิวเวอเรียผสมเมธาริเซียมเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมเพลี้ยแป้งในมะนาว และยังสามารถใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชอื่นๆ เช่น เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว และเพลี้ยไฟ ปลอดภัยสำหรับใช้กับแมลงที่เป็นประโยชน์ เช่น ผึ้งและแมลงเต่าทอง และไม่ทิ้งสารตกค้างบนผลไม้ จึงเหมาะสำหรับการทำเกษตรอินทรีย์

สรุปได้ว่าบิวเวอเรียผสมเมธาริเซียมเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและยั่งยืนสำหรับการควบคุมเพลี้ยแป้งในมะนาว เป็นวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพสูงที่สามารถใช้เป็นมาตรการป้องกันเพื่อปกป้องต้นส้มจากเพลี้ยแป้งและแมลงศัตรูพืชอื่นๆ เนื่องจากเป็นการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี จึงสามารถนำมาใช้ในการทำเกษตรอินทรีย์ได้ และปลอดภัยต่อแมลงที่เป็นประโยชน์ สิ่งแวดล้อม และการบริโภคของมนุษย์

เชื้อบิวเวอร์เรีย + เมธาไรเซียม
เป็นผลิตภัณฑ์ผ่านการคัดสรรจุลินทรีย์ 2 ชนิดมี คุณสมบัติโดดเด่นมาผสมผสานใช้ในการป้องกัน กำจัดแมลงศัตรูพืช ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ปลวก เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ไรแดง แมลงหวี่ขาว และหนอน เป็นต้น

บิวทาเร็กซ์ : ใช้อย่างไร?
1. ผสมเชื้อ 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณ กิ่ง ก้าน ใบ หรือบริเวณที่แมลงระบาด
2. ฉีดพ่นได้ทุก 7-10 วัน

* ไม่ควรผสมใช้ร่วมกับเชื้อไตรโคเดอร์มา และ ยากำจัดเชื้อรา หากต้องการใช้ร่วมควรเว้น ระยะฉีดพ่น 7-10 วัน *

ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปด้วย บิวทาเร็กซ์..
ผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช
เชื้อดีที่สุดสำหรับชาวเกษตรกร
ปริมาณเชื้อที่ดีและได้ผล
ให้อาหารเฉพาะของเชื้อแต่ละตัว

เชื้อจะไปเติบโตในแมลง ปกคลุมตัวแมลง ทำให้แมลงแห้งตายในที่สุด
ปลอดภัยไม่มีสารเคมี
แมลงดื้อยา ใช้ได้ต่อเนื่อง
เป็นยาเย็น ใช้ได้ทุกพืช และทุกช่วงอายุของพืช

สั่งซื้อ
โทร 097-918-3530
facebook โรงงานปุ๋ยไดโนเร็กซ์
ไลน์ janemini1112
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link..
โรคพืช
โรคพืช
โรคพืช หมายถึงลักษณะอาการของพืชที่ผิดไปจากปกติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นบนส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นพืช หรือตลอดทั้งต้น และรวมไปจนถึงการแห้งตายไปทั้งต้น สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืชแบ่งได้ 2 สาเหตุคือ

1. เกิดจากสิ่งมีชีวิต (pathogenic disease) เช่น โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส (virus) เชื้อไมโคพลาสมา

(mycoplasma) เชื้อแบคทีเรีย (bacteria) เชื้อรา (fungi) และไส้เดือนฝอย โรคพืชจะเกิดขึ้นและสามารถแพร่กระจายระบาดออกไปได้ถ้าหากมีเชื้อสาเหตุเหล่านี้ ตลอดจนมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดและการแพร่กระจายของโรคพืชนั้น ๆ การแพร่กระจายของโรคพืชอาศัย น้ำ ฝน ความชื้น ลม ดิน หรือโดยการถ่ายทอด (transmission) ผ่านทางเมล็ดพันธุ์ ส่วนขยายพันธุ์ หรือโดยแมลง

ลักษณะอาการ (symptom) ของโรคพืชซึ่งเกิดจากเชื้อสาเหตุที่แตกต่างกัน จะแตกต่างกันดังต่อไปนี้

1.1) ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส มักมีอาการโรคใบหด ใบหงิก ใบสีเหลืองส้ม ใบด่างเหลือง ใบม้วน

1.2) ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา มักมีอาการโรคใบขาว ลำต้นแคระแกรน แตกกอเป็นพุ่ม หรือใบเหลืองซีด กิ่งแห้งตาย ลำต้นทรุดโทรมและไม่ให้ผลผลิต

1.3) ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะอาการแตกต่างกัน 5 แบบ คือ

1.3.1) เหี่ยว (wilt) อาการเหี่ยวเฉา เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญในท่อน้ำ ท่ออาหารของต้นพืช ทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำและท่ออาหาร จึงเป็นเหตุให้พืชได้รับน้ำและอาหารไม่เพียงพอ เกิดอาการเหี่ยวเฉา หรือเจริญเติบโตผิดปกติและจะตายไปในที่สุด เช่น โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ ถั่วลิสง กล้วย แตงกวา แตงโม มีสาเหตุมาจากเชื้อ Xanthomonas spp._ Pseudomonas spp._ Erwinia spp.

1.3.2) เน่าเละ (soft rot) อาการเน่าและมีกลิ่นเหม็น ทั้งนี้เพราะแบคทีเรียเข้าทำลายเซลล์พืช และมีเชื้อจุลินทรีย์อื่น ๆ ร่วมเข้าทำลายซ้ำเติม โรคพืชแบบนี้มักเกิดกับส่วนของพืชที่อวบน้ำ เช่น โรคเน่าเละของพืชผัก มันฝรั่ง มะเขือเทศ แตงกวา กะหล่ำ พริก ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อ Erwinia spp.

1.3.3) แผลเป็นจุด (spot หรือ local lesion) อาการจุดแห้งตาย เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์หรือในเซลล์ ทำให้เซลล์บริเวณนั้นตายเป็นแผลแห้งมีขอบเขตจำกัด เช่น โรคใบจุดของฝ้าย โรคใบจุดของถั่วเหลือง โรคขอบใบแห้งของข้าว โรคแคงเคอร์ของส้ม โรคใบจุดของยาสูบ เชื้อสาเหตุ ได้แก่ Xanthomonas sp._ Pseudomonas spp.

1.3.4) ไหม้ (blight) อาการใบไหม้ตาย เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อน แล้วแผ่ขยายไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีขอบเขตจำกัด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ แต่ไม่ทำลายเนื้อเยื่อเซลล์ เพียงแต่ทำให้การเคลื่อนย้ายน้ำและอาหารในพืชไม่สะดวก ทำให้ใบและลำต้นมีสีซีด (necrosis) และอาจแห้งตายไปในที่สุด เช่น โรคใบไหม้ของถั่ว ยางพารา แอปเปิ้ล เชื้อสาเหตุได้แก่ Xanthomonas spp. Phythopthora spp. และ Erwinia spp.

1.3.5) ปุ่มปม (gall หรือ tumer) อาการเป็นปุ่มปมเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในเซลล์พืช แล้วสร้างสารบางชนิดออกมากระตุ้นให้เซลล์บริเวณนั้นมีการแบ่งตัวมากขึ้น เช่น โรค crown gall ของมะเขือเทศ โรค gall ของหัวบีท เชื้อสาเหตุได้แก่ Agrobacterium spp. และ Xanthomonas spp.

1.4) ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรา ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรามีมากหลายแบบ เช่น ใบเป็นแผล ใบไหม้ ใบบิด ต้นเหี่ยว รากเน่า โคนต้นเน่า ผลเน่า เมล็ดเน่า ต้นกล้าเน่า หรือต้นแห้งตายไปทั้งต้น ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรามักจะสังเกตเห็นเส้นใย (hypha) สปอร์ (spore) ส่วนสืบพันธุ์ต่างๆ เช่น sporangium_ conidia_ basidiumascus มีสีขาว หรือสีดำ หรือสีน้ำตาล ปรากฏตามรอยแผลอาการของโรค หรือตรงส่วนที่เชื้อสาเหตุเข้าสู่ต้นพืช ตัวอย่างของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้แก่ โรคโคนเน่าคอดินของต้นกล้า โรครากและโคนต้นเน่า โรคราน้ำค้าง โรคเน่าของผลไม้และผัก โรคราแป้งขาว โรคราสนิมเหล็ก โรคเขม่าดำ โรคแส้ดำของอ้อย โรคไหม้ของข้าว โรคใบจุดของข้าวโพด โรคใบจุดตานกของยางพารา โรคแอนแทรคโนส โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ

1.5) ลักษณะอาการของโรคพืชจากไส้เดือนฝอย มักทำให้เกิดโรครากปม รากขอด และลำต้นพืชเหี่ยวเฉาตายไปในที่สุด

2) เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (nonpathogenic disease) อาการของโรคพืชอาจเกิดจากสาเหตุเนื่องจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น การขาดธาตุอาหาร ธาตุอาหารเป็นพิษ ดินเป็นกรด ดินเค็มจัด ดินเป็นด่าง หรือพิษจากสารเคมีบางชนิด สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ทำให้การเจริญเติบโตของต้นพืชผิดปกติ ลำต้นแคระแกร็น มีสีซีด หรือสีผิดปกติ ไม่ให้ผลผลิต โรคพืชซึ่งมีสาเหตุเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต จะเกิดเฉพาะบริเวณ ไม่สามารถแพร่กระจายหรือระบาดไปยังแหล่งอื่นๆ ได้

สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรค สืบศักดิ์ (2540) กล่าวว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคนั้น มีด้วยกัน 4 ประการที่สำคัญคือ เชื้อสาเหตุของโรค พืชอาศัย สภาพแวดล้อม และเวลา ปัจจัยทั้งสี่มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างยิ่งยวด จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เลย หากนำมาเขียนเป็นรูปจะได้รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ซึ่งเรียกว่า “สามเหลี่ยมโรคพืช” ดังแสดงในรูป

Reference: main content from natres.psu.ac.th
อ่าน:3733
มันสำปะหลังใบเหลืองขอบใบไหม้ ใช้ ไอเอส และ FK-1
มันสำปะหลังใบเหลืองขอบใบไหม้ ใช้ ไอเอส และ FK-1
FK-1 ราคา 890 บาท
บรรจุ 2 กิโลกรัม ใช้ได้ 5 ไร่
ไอเอส ราคา 450 บาท
บรรจุ 1 ลิตร ใช้ได้ 5 ไร่

สนใจสั่งซื้อ
ทักแชทได้เลย
หรือโทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี PrimPB

* ยับยั้งป้องกันมันสำปะหลังขอบใบไหม้ ใบเหลือง ใบจุด โรคมันสำปะหลังทีเกิด
จากเชื้อรา ใช้ ไอเอส
* เร่งการเจริญเติบโต เพิ่มความเขียวสมบูรณ์แข็งแรงต้านทานโรค ด้วย FK-1

# ส่งฟรีถึงบ้าน ชำระเงินปลายทางเฉพาะค่าสินค้า
# อัตราส่วนผสม 50กรัม/ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม/ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร
# ใช้ฉีดพ่นทางใบ สามารถฉีดพ่น FK-1 และ ไอเอส ฉีดพ่นพร้อมกันได้เลย

*ส่งฟรีถึงบ้าน ชำระปลายทางเฉพาะค่าสินค้า
อ่าน:3733
มะเขือใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ใบเหลือง ใบแห้ง โรคราต่างๆในมะเขือ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
มะเขือใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ใบเหลือง ใบแห้ง โรคราต่างๆในมะเขือ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
โรคมะเขือ โรคมะเขือยาว โรคมะเขือยาวใบจุด โรคใบไหม้มะเขือ โรคราสนิมมะเขือเปราะ โรคต้นและใบแห้งไหม โรคมะเขือยาวใบไหม้ โรคราแป้ง

ทั้งอาการใบไหม้ และใบเหลือง เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดได้จากโรค และการขาดธาตุอาหารพืชที่จำเป็น รวมถึงการให้น้ำ และการได้รับแสงแดด ซึ่งการพิจารณาสาเหตุนั้น ต้องสังเกตุอาการ และแก้ปัญหาทีละจุด

ยกตัวอย่างเช่น

อาการใบไหม้ และอาการต่างๆ ที่เกิดจากโรคเชื้อรา
- โรคใบไหม้ โรคใบจุด และโรคใบขีดสีน้ำตาล จะต่างจากการขาดธาตุที่สังเกตุได้คือ โรคที่มีสาเหตุจากเชื้อรา จะลุกลามไปยังใบไหม้ และลุกลามขยายวงไปยังต้นข้างเคียง
- โรคราแป้ง ราสนิม ราน้ำค้าง มีการลุกลามติดต่อเช่นกัน

อาการใบไหม้ และอาการต่างๆ ที่เกิดจากการขาดธาตุ
- ขาด โพแทสเซียม ที่ใบแก่จะเหลืองซีด ขอบใบมีจุดสีน้ำตาลไหม้
- ขาด แมกนีเซียม ใบจะมีจุดเหลืองทั่วทั้งใบ ที่ปลายใบจะแห้ง
- ขาด สังกะสี ใบจะมีจุดเหลืองคล้ายราสนิม

อาการใบเหลือง ใบซีด ก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- ใบเหลือง จากการขาดธาตุ ไนโตรเจน
- ใบเหลือง เพราะได้รับแสงไม่เพียงพอ
- ใบเหลือง เพราะรดน้ำมาก หรือน้อยจนเกินไป
- ใบเหลือง เพราะค่า pH หรือความเป็นกรดด่างของดิน ไม่เหมาะสม
- ใบเหลือง เพราะขาดธาตุเหล็ก
- ใบเหลือง เพราะพืชลดจำนวนคลอโรฟิลล์ เพราะการขาดธาตุรอง หรือธาตุเสริมบางอย่าง

อาการใบไหม้และโรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ทุก 3-5 วัน

อาการของพืช ที่เกิดจากการขาดธาตุต่างๆ ฉีดพ่น FK ธรรมชาตินิยม

หมายเหตุ สามารถ ผสม ไอเอส และ FK ธรรมชาตินิยม ฉีดพ่นไปพร้อมกันในคราวเดียว

อัตราส่วนผสม
ไอเอส 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร
FKธรรมชาตินิยม 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร
สามารถผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันได้
*สำหรับท่านที่พ่นด้วย ฟ็อกกี้ ขนาด 1-2ลิตร ใช้ฝา FKธรรมชาตินิยมตวงประมาณ 2ฝา


การสั่งซื้อ

โทร 090-592-8614

ไลน์ไอดี http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ฟาร์มเกษตร http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ช้อปปี้ http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ลาซาด้า http://www.farmkaset..link..
โรคราแป้งมะเขือ ราแป้งพริก ราแป้งมะเขือม่วง แก้ด้วย ไอเอส
โรคราแป้งมะเขือ ราแป้งพริก ราแป้งมะเขือม่วง แก้ด้วย ไอเอส
โรคราแป้งมะเขือ ราแป้งพริก ราแป้งมะเขือม่วง แก้ด้วย ไอเอส

โรคราแป้ง (Powdery mildew)

โรคราแป้งในพริก มะเขือ และมะเขือม่วง เกิดได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต

.

ลักษณะอาการของโรค/การเข้าทำลาย
-ปรากฏผงสีขาวบริเวณใต้ใบ หรือบนผิวใบด้านบน
-ใต้ใบปรากฏแผลสีเหลือง หรือน้ำตาล
-อาการรุนแรงใบไหม้

.

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สำหรับป้องกันและยับยั้งเชื้อรา สกัดจากพืช ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค ปลอดสารพิษ ไม่มีสารตกค้าง ใช้ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและยับยั้งโรคพืชทุกชนิด ที่มีสาเหตุมากจากเชื้อรา

.

สนใจ โทรสั่งซื้อ 090-592-8614

ไลน์ไอดี FarmKaset หรือ ไอดี PrimPB

สั่งทางเฟสบุ๊คได้เช่นกัน https://www.facebook.com/farmkaset

หรือลาซาด้า https://www.lazada.co.th/..

อ่าน:3731
แตนเบียนบราคอน ปล่อยในไร่ ใช้ ควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวได้
แตนเบียนบราคอน ปล่อยในไร่ ใช้ ควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวได้
แตนเบียนบราคอน ปล่อยในไร่ ใช้ ควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวได้
แตนเบียนบราคอน เป็นศัตรูธรรมชาติที่สามารถควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตนเบียนบราคอน จะใช้เข็มแทงเข้าไปในตัวหนอน ปล่อยสารชนิดหนึ่ง ทำให้หนอนเป็นอัมพาต

ชื่อสามัญ : Bracon Wasp
ชื่อวิทยาศาสตร์ :: Bracon hebetor Say

ความสำคัญ

เป็นศัตรูธรรมชาติที่สามารถควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแตนเบียนบราคอนซึ่งเป็นแตนเบียนชนิดภายนอก จะวางไข่บนตัวหนอนหัวดำมะพร้าวโดยก่อนวางไข่ แตนเบียนเพศเมียจะใช้เข็มแทงเข้าไปในตัวหนอน และปล่อยสารชนิดหนึ่งออกมาทำให้หนอนเป็นอัมพาตแล้วจึงวางไข่บนตัวหนอน เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัวหนอนจะดูดกินน้ำเลี้ยงในตัวหนอนจนทำให้หนอนตาย เมื่อครบอายุหนอนของแตนเบียนจะปล่อยตัวออกจากหนอนหัวดำมะพร้าวและถักรังเพื่อเข้าดักแด้ และออกเป็นแตนเบียนบราคอนรุ่นต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถทำลายหนอนได้อีกหลายชนิด เช่น หนอนผีเสื้อข้าวสาร หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนเจาะยอดมะเขือ เป็นต้น

ลักษณะการทำลาย

แตนเบียนเพศเมียจะใช้เข็มแทงเข้าไปในตัวหนอนและปล่อยสารชนิดหนึ่งออกมา ทำให้หนอนเป็นอัมพาต แล้วจึงวางไข่บนตัวหนอน เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัวหนอนจะดูดกินน้ำเลี้ยงในตัวหนอนจนทำให้หนอนตาย เมื่อครบอายุหนอนของแตนเบียนจะปล่อยตัวออกจากหนอนหัวดำมะพร้าว และถักรังเพื่อเข้าดักแด้ และออกเป็นแตนเบียนบราคอนรุ่นต่อไป

การใช้ควบคุมศัตรูพืช

ปล่อยในอัตรา 200 ตัว/ไร่

ปล่อยในช่วงเช้า ให้กระจายทั่วแปลง ติดต่อกัน 5-7 ครั้ง ทุก 7 วัน )

อ้างอิง http://farmkaset_link..
โรคกาแฟตายยอด กาแฟยอดกิ่งแห้ง
โรคกาแฟตายยอด กาแฟยอดกิ่งแห้ง
โรคกาแฟตายยอด กาแฟยอดกิ่งแห้ง
โรคตายยอด (Die-back) เป็นโรคแทรกภายหลังที่ต้นอ่อนแอลงภายหลังจากการให้ผลดกเกินไป และความอุดมสมบูรณ์ไม่เพียงพอ

อาการ ปลายกิ่งที่ติดดอกออกผล จะแห้งตายจากปลายกิ่ง เข้ามาใจะร่วงทำความเสียหายมาก เพราะในปีต่อไปอาจไม่ได้ผลผลิตเลย เพราะไม่มีการเจริญของปลายกิ่งออกไป ซึ่งจะเป็นบริเวณที่ติดดอกออกผล ต้นที่มีอาการรุนแรงอาจแห้งตาย

การป้องกันกำจัด
๑. ตัดแต่งกิ่งไม่ให้กาแฟให้ผลดกมากเกินไป โดยเฉพาะในปีแรก
๒. เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ใส่ปุ๋ยให้เพียงพอในช่วงกำลังออกดอกผล
๓. เพิ่มร่มเงาให้ เพื่อลดปริมาณการใช้ปุ๋ยและลดผลผลิตให้ได้สัดส่วน ไม่ให้ต้นทำงานหนักเกินไปในการเลี้ยงผลกาแฟ
๔. ต้นที่มีอาการรุนแรง ยืนแห้งจะตาย ควรตัดระดับหัวเข่า เพื่อให้แตกกิ่งตั้งใหม่จะให้ผลดีกว่าคอยให้ฟื้นตัว ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ ๒ ปี

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุง ส่งเสริมการแตกยอด ผลิใบ ส่งเสริมการเจริญเติบโต และผลผลิต
โรคมะระ โรคราน้ำค้างในมะระ
โรคราน้ำค้าง มักพบแผลเล็กสีเหลืองบนใบ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ จะพบเส้นใยเชื้อราเป็นขุยสีเทาดำตรงแผลใต้ใบ ทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น แตงจะติดผลน้อย ผลเล็กความหวานลดลง

หากพบ ให้ฉีดพ่น ไอเอส ในอัตรส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกั้น เพื่อชำรุงให้ฟื้นตัวเร็ว ส่งเสริมการเจริญเติบโต ความสมบูรณ์แข็งแรง และเพิีมผลผลิต [FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]
อ่าน:3722
3562 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 2 รายการ
|-Page 11 of 357-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 | 353 | 354 | 355 | 356 | 357 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
โรครากเน่าโคนเน่า ในทุเรียน
Update: 2564/08/20 00:00:49 - Views: 3600
ความสัมพันธ์ลับ ระหว่างหนอนผีเสื้อกับมด
Update: 2564/08/12 22:24:06 - Views: 3434
ส่งออกข้าวโพดหวาน อนาคตรุ่ง
Update: 2555/07/27 15:00:57 - Views: 3791
กำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใน หน่อไม้ฝรั่ง เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชื้อราไตรโครเร็กซ์ปุ๋ยน้ำอะมิโนโดยไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/27 14:12:56 - Views: 3423
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนกระทู้หอม ใน ดอกกล้วยไม้ และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/28 14:04:46 - Views: 3410
ดำน้ำยิงปลา บรรยากาศใต้น้ำในมุมของคนที่ดำน้ำยิงปลา มองเห็นเป็นอย่างไร
Update: 2563/05/05 10:21:01 - Views: 3434
โรคใบไหม้ไฟทอฟธอรา ในเมล่อน ป้องกันกำจัดได้ ด้วยสารอินทรีย์
Update: 2566/01/11 07:48:35 - Views: 3435
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในผักโขมอย่างได้ผล
Update: 2566/05/13 11:48:53 - Views: 3440
พุทรา โตไว ใบเขียว ผลใหญ่ ฉีดพ่นปุ๋ย FK-1 ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20เปอร์เซ็นต์
Update: 2566/04/06 10:37:34 - Views: 3406
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยหอย ในมะปราง มะยงชิด และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/20 13:31:12 - Views: 3449
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค ฟื้นระบบราก ปลดปล่อยธาตุอาหารไห้กับพืช ปรับปรุงโครงสร้างดิน ช่วยไห้ดินร่วยซุย ระบายน้ำดี สร้างระบบรากฝอย สำหรับฉีดพ่น ต้นข้าวโพด
Update: 2567/02/13 09:59:31 - Views: 3472
เพลี้ยอ่อนฝรั่ง เพลี้ยแป้งในฝรั่ง เพลี้ยดำในฝรั่ง นอกจากจะเข้าทำลายต้นฝรั่งโดยตรงแล้ว ยังเป็นพาหะของโรคพืชด้วย
Update: 2566/11/04 10:22:47 - Views: 3511
มะม่วง โตไว ใบเขียว เร่งราก เร่งดอก ขยายขนาด ผลใหญ่ ผลดก เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ย สตาร์เฟอร์
Update: 2567/03/22 14:41:03 - Views: 3583
ระเบิดหัว มันสำปะหลัง หัวใหญ่ หัวดก เร่งแป้ง ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60
Update: 2567/04/10 15:44:00 - Views: 3404
ท้าวเวสสุวรรณ เหล็กน้ำพี้ บรรดาลโชคลาภ ค้าขายร่ำรวย กิจการรุ่งเรือง เสริมอำนาจบารมี ทรัพย์สมบัติมั่นคง แคล้วคลาดปลอดภัย
Update: 2567/02/20 10:27:49 - Views: 3483
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในผักกาดหอม
Update: 2566/05/13 09:57:14 - Views: 3410
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยหอย ในขนุน และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/17 13:37:47 - Views: 3421
กำจัดเพลี้ย เพลี้ยไก่แจ้ แมลงศัตรูพืช เชื้อบิวเวอร์เรีย ผสม เชื้อเมธาไรเซียม บิวทาเร็กซ์ ปลอดภัยเพาะเชื้อจาก Lab 100%
Update: 2566/07/22 11:14:36 - Views: 3438
ความสำเร็จอันหอมหวานของการปลูกทุเรียน: คู่มือสำหรับเกษตรกร
Update: 2566/04/28 13:19:39 - Views: 8608
ปุ๋ย FK-1 ฉีดพ่น มันสำปะหลัง พืชโตไว ใบเขียวเข้ม ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4 เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20เปอร์เซ็นต์
Update: 2566/03/20 10:54:34 - Views: 3441
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022