<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
ยาแก้โรคแคงเกอร์ ในมะนาว ยากำจัดเพลี้ย กำจัดหนอน สำหรับมะนาว แก้โรครากเน่า และ ปุ๋ย สำหรับมะนาว
โรคแคงเกอร์ ที่เกิดขึ้นกับมะนาว มีสาเหตุจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ จะเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วน ทั้งที่ใบ กิ่งก้าน และผล โดยอาการที่ใบและผล จะมีลักษณะคล้ายกัน คือจะเกิดเป็นแผลกลม แล้วจะขยายใหญ่ ฟู นูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลือง ล้อมรอบแผล ส่วนอาการที่กิ่งก้าน จะมีแผลฟูนูนสีเหลือง ต่อมาแผลจะ แตกแห้ง เป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบๆ กิ่ง รูปร่างธองแผลไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวน ล้อมรอบ เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มากๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วง ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด โรคแคงเกอร์ในมะนาว
ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย ไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์ พยายามอย่าให้มะนาวเกิดบาดแผล และป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที เพื่อกำจัดหนอน และ ใช้ ไอเอส ผสมฉีดพ่นไปพร้อมกับ เพื่อยับยั้งการลุกลามของ โรคแคงเกอร์
โรคราดำ มะนาว
ลักษณะอาการ ใบ กิ่งก้าน และผลจะมีราสีดำ สกปรก กระด้าง ทำให้ผมไม่สวย ต้นมะนาวจะแคระแกร็น
การป้องกันกำจัด โรคราดำในมะนาว
ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟหรือใช้ กำจัดแมลง โดยการฉีดพ่น มาคา เพื่อกำจัดแมลงประเภท ปากดูดชึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดโรคราดำ รวมถึง ผสม ไอเอส ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อยับยั้งการลุกลาม การระบาดของโรคราดำ
โรคกรีนนิ่ง (ใบแก้ว) โรคกรีนนิ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีเพลี้ยไก่แจ้ส้ม (Diaphorina citri) เป็นพาหะนำโรค
ลักษณะอาการ ใบจะด่างเป็นสีเหลือง หรือขาวใสระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กลง ในที่สุดใบและยอดจะแห้งตาย ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อย ต้นจะโทรม
การป้องกันกำจัด โรคกรีนนิ่ง ในมะนาว
ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ ฉีดพ่นด้วย FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุสังกะสีและ แมกนีเชียม สามารถผสม มาคา ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อกำจัดเพลี้ย ซึ่งเป็นพาหะนำโรค และปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินใหัอยู่ระหว่าง 6.0-6.5 ด้วยสารปรับสภาพดิน
โรคยางไหล ในมะนาว
ลักษณะอาการ มีอาการยางไหลบริเวญลำต้นและกิ่งก้าน เปลือกจะเน่าและแผลจะลุกลามไปถึงเนื้อไม้
การป้องกันกำจัด โรค มะนาวยางไหล
ควรตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชเพื่อให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึง และควรทาบาดแผลด้วยสารทองแดงหรือกำมะถันผสมปูนขาว ถ้ามีการระบาดมากก็เผาทำลายเสีย
โรค มะนาวรากเน่า และโคนเน่า
ลักษณะอาการ รากฝอยและรากแขนง จะเน่ามีสีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเหนียว ไม่ยุ่ย เปลือกของลำต้นจะปริแตกออก โดยเฉพาะ โคนต้น และมียางไหลบริเวณขอบแผล เมื่อรากและต้นถูกทำลายมากๆ จะทำให้ใบเหลือง และร่วงหล่น
การป้องกันกำจัด โรครากเน่า โคนเน่า ในมะนาว
อย่าให้มีน้ำขัง บริเวณโคนต้น และไม่ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยคอกมากเกินในช่วงฤดูฝน
ยาป้องกันกำจัดโรค ยากำจัดเพลี้ย ยากำจัดหนอน ซึ่งใช้ได้กับทุกพืชไร่ พืชสวน ผัก ผลไม้ ที่ปลูกในประเทศไทย
ยาป้องกันและยับยั้ง โรคใบไหม้ โรคเน่า และโรคต่างๆที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส
ฉีดพ่น ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน
ยาป้องกันและกำจัดหนอนต่างๆ ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์กำจัดหนอน
ฉีดพ่น ไอกี้-บีที ในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน
ยาป้องกันและกำจัดเพลี้ยอ่อน และเพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่นด้วย มาคา
ฉีดพ่น มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน
ปุ๋ยสำหรับเร่งผลผลิต เร่งให้พืชให้ฟื้นตัว จากการเข้าทำลาย ของโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ FK-1
FK-1 ใช้เร่งโต เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง เพิ่มผลิต
นอกจากเราใช้ FK-1 ฉีดพ่นเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชแล้ว เรายังสามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน กับยารักษาโรคพืช และยากำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช หรือยากำจัดหนอน จะช่วยให้พืช ฟื้นตัวได้เร็ว จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง และกลับมาเจริญเติบโต ได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง
อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)
อ้างอิง sites.google.com/site/ karplukmanaw/ rokh-thi-sakhay-khxng-manaw