[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | + เลือกหน้า | All contents

ติดตามสินค้าที่คุณสั่ง
คุณ รุ่ง เพชร์วรรณ์, Friday 26 April 2024 11:12:16, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ อำพัน วัฒนาเสรีกุล, Friday 26 April 2024 11:11:08, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ Athip , Friday 26 April 2024 11:09:36, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ นภัสสร ธรรมมารมย์, Friday 26 April 2024 11:08:24, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ Jannyjam, Friday 26 April 2024 11:06:35, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ วนิดา มาตมูล, Friday 26 April 2024 11:05:24, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ Allen Kahan, Friday 26 April 2024 10:57:46, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ กชกร หงจินดาพงศ์, Friday 26 April 2024 10:56:18, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ สิริกัณณ์ ศรีจุฬาภรณ์, Friday 26 April 2024 10:54:52, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ Sasa Ly, Friday 26 April 2024 10:53:01, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
ดูรายการจัดส่งทั้งหมด
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
162.158.165.191: 2564/08/12 22:06:31
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3.1 ประเภทของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

สารเคมีกําจัดศัตรูพืชในทางการเกษตรซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการควบคุมและกําจัด คือ สารเคมีกําจัดแมลง สารป้องกัน
กําจัดวัชพืช สารป้องกันกําจัดเชื้อราสารกําจัดหนูและสัตว์แทะ สารเคมีกําจัดหอยและปู เป็นต้น

สารเคมีกําจัดแมลง (Insecticide)
สารเคมีกําจัดแมลงเป็นสารเคมีการเกษตรที่มีจํานวนชนิดมากที่สุด สารเคมีกําจัดแมลงแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามชนิดของสารเคมีได้ 4 ประเภท คือ

1.1 กลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine) ซึ่งเป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ สารเคมีกําจัดแมลงในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันมาก เช่น ดีดีที (DDT)
ดีลดริน(Dieldrin) ออลดริน (Aldrin) ท็อกซาฟีน (Toxaphene) คลอเดน(Chlordane) และลินเดน (Lindane) เป็นต้น

1.2 กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ เช่น มาลาไธออน (Malathion) และ เฟนนิโตรไธออน
(Fenitrothion) เป็นต้น

1.3 กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamate) ซึ่งมีคาร์บาริลเป็นองค์ประกอบสําคัญ เช่น คาร์บาริล (Carbaryl) คาร์โบฟูแรน (Carbofuran) และเมโทมิล (Methomyl)
เป็นต้น

1.4 กลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroid) เป็นสารเคมีกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมีความสัมพันธ์ตามโครงสร้างของไพรีทริน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากพืชไพรีทรัม
เช่น เดลตาเมธริน (Deltamethrin) เพอร์เมธริน (Permethrin) เรสเมธริน (Resmethrin) และไบโอเรสเมธริน (Bioresmethrin) เป็นต้น

สารป้องกันกําจัดวัชพืช (Herbicide)
สารเคมีกําจัดวัชพืชแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ จำแนกตามการเลือกทำลายเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

2.1 สารชนิดเลือกทำลาย (Selective herbicide) โดยทำลายเฉพาะวัชพืช แต่ไม่เป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูก เช่น 2_4-D กำจัดวัชพืชใบกว้างโดยไม่เป็นพิษต่อ
ต้นข้าวที่เป็นพืชใบแคบ เป็นต้น

2.2 สารชนิดไม่เลือกทำลาย (Non-selective herbicide) ทำลายวัชพืชใบแคบ ใบกว้าง หรือกก แนะนำให้ใช้กำจัดวัชพืชในที่ที่ไม่มีการปลูกพืช หรือถ้าจะพ่น
ในที่ที่มีพืชขึ้นอยู่หรืออยู่ใกล้เคียง ต้องพ่นอย่างระมัดระวัง เช่น พาราควอท (Paraquat) ไกลโฟเสท (Glyphosate) เป็นต้น

สารกําจัดเชื้อรา (Fungicide) มีอยู่หลายกลุ่ม บางชนิดมีพิษน้อย แต่บางชนิดมีพิษมาก เช่น
3.1 กลุ่ม Dimethey Dithiocarbamates เช่น ไซแรม(Ziram) เฟอแบม (Ferbam) ไธแรม(Thiram) เป็นต้น มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetaldehyde
dehydrogenase เกิด Antabuse Effect ในคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย

3.2 กลุ่ม Ethylenebisdithiocarbamates เช่น มาแนบ (Maneb) แมนโคแซบ (Mancozeb) ไซแนบ (Zineb) เป็นต้น กลุ่มนี้จะถูก Metabolize เป็น
Ethylene thiourea ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์

3.3 กลุ่ม Methyl Mercury ดูดซึมได้ดีทางผิวหนังและมีพิษต่อระบบประสาท

3.4 กลุ่ม Hexachlorobenzene ยับยั้งเอนไซม์ Uroporphyrinogen Decarboxylase มีพิษต่อตับ ผิวหนัง ข้อกระดูกอักเสบ

3.5 กลุ่ม Pentachlorophenol สัมผัสมากๆ ทำให้ไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว

สารกําจัดหนูและสัตว์แทะ (Rodenticides)
สารกําจัดหนูและสัตว์แทะที่นิยมใช้กัน ส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ตัวอย่างเช่น วอฟฟาริน (Warfarin) เป็นต้น



3.2 ความเป็นพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ปัญหาสุขภาพที่สำคัญคืออันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลายเพื่อ
เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและมีเกษตรกรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีฯที่ไม่ถูกต้อง ปลอดภัย ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและ
เรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรัง
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติและโรคต่างๆ เช่น มะเร็งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้
หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรม
การใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้นทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชน และผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น

ความเป็นพิษของสารกำจัดศัตรูพืชชนิดต่างๆ

สารออร์กาโนฟอสเฟต มีฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาท รอบนอก โดยจะจับกับตัวเอ็นไซม์
โคลีนเอสเตอเรส ซึ่งมีหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทหยุดการทำงาน ผลการจับ ตัวกับเอ็นไซม์ทำให้ปริมาณของเอ็นไซม์ ลดลง และมีผลต่อกล้ามเนื้อต่าง ๆ
ต่อมต่าง ๆและกล้ามเนื้อเรียบซึ่ง ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ในการทำงานมากกว่าปกติ เนื่องจากปริมาณเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีไม่มากพอที่จะ หยุด
การทำงาน พบอาการ ม่านตาหรี่ หายใจลำบาก เวียนศีรษะ อาเจียน มือสั่น เดินโซเซ ชัก หมดสติ ระบบกล้ามเนื้อพบอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ตะคริว
ที่กล้ามเนื้อ ต่อมต่าง ๆ ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออกมา มาก ต่อมเหงื่อขับเหงื่อออกมามาก

สารคาร์บาเมต สารในกลุ่มนี้มีการออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับสารออร์กาโนฟอสเฟต แต่ความเป็นพิษน้อยกว่า อาการที่เกิดขึ้นเหมือนกับการได้รับสาร
ออร์กาโนฟอสเฟต ยกเว้นอาการชัก ไม่รู้สึกตัวเกิดขึ้นน้อย

สารออร์กาโนคลอรีน สารกลุ่มนี้ถูกดูดซึมที่ผิวหนัง เมื่อได้รับมาก ๆจะทำให้ระบบประสาทส่วนกลาง ถูกขัดขวาง พบอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เวียน
ศีรษะ ปวดศีรษะ

สารไพรีทรอยด์ เป็นสารที่มีความไวทางชีวภาพสูง และใช้แบบเจือจาง สารกลุ่มนี้ถูกกำจัดออกจาก ร่างกาย ไม่ถูกสะสมอยู่ในร่างกาย พบอาการชา
หายใจเร็วตื้น เจ็บคอ คอแห้ง แสบจมูก คันตามผิวหนัง ท้องเสีย น้ำลายไหลมาก หนังตากระตุก เดินโซเซ

สารกำจัดวัชพืช เช่น สารพาราควอท ที่ออกฤทธิ์เร็วและจะเสื่อมฤทธิ์ทันทีเมื่อตกถึงพื้นดิน สารนี้ ละลายน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี ไม่มีสี มีกลิ่นอ่อน ๆ
คล้ายกลิ่นแอมโมเนีย สารนี้มีพิษต่อผิวหนัง และเยื่อเมือกพบอาการผิวหนังแห้งแตก ผื่นแดง เป็นแผล เล็บซีดขาว เล็บเปราะ ระบบหายใจ พบอาการไอ
เลือดกำเดาไหล เจ็บคอ หากรับประทานเข้าไปทำให้เกิดพังผืดที่ปอด การหายใจล้มเหลว

สารเคมีกำจัดหนู เช่น ซิงค์ฟอสไฟต์ มีความเป็นพิษมาก เมื่อถูกน้ำและกรดในกระเพาะอาหารเกิดปฏิกิริยาได้ก๊าซพิษฟอสฟีน ทำลายเซลล์กระเพาะ
อาหาร ตับ ไต การดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทำให้มีน้ำคั่งในปอด ปวดศีรษะ หายใจขัด ความดันโลหิตสูง อาจทำให้เสียชีวิตภายในระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง

สารไธโอคาร์บาเมต เป็นสารกลุ่มรักษาโรคพืช ลักษณะอาการเกิดขึ้นมีลักษณะเหมือนไพรีทรอยด์ ทางเดินหายใจพบอาการ คอแห้ง แสบจมูก ไอ
ตาพบอาการเคืองตา ตาแดง ผิวหนัง พบอาการคันผิวหนัง มีจุดขาวที่ผิวหนัง ผื่นแดง

ความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง 12 ชนิด

สารกําจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง 12 ชนิด ที่กรมควบคุมโรคเห็นความสําคัญเป็นสารในกลุ่มเดียวกับวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเฝ้าระวังซึ่งสารกําจัด
ศัตรูพืชกลุ่มนี้เป็นสารที่อยู่ในข่ายที่ต้องเฝ้าระวังในการใช้เนื่องจากเป็นสารที่มีปริมาณการใช้มาก มีความเป็นพิษสูง หรือมีการตกค้างระยะยาวในสิ่งแวดล้อม
สารทั้ง12 ชนิดนี้ ประกอบด้วย

อัลดิคาร์บ (Aldicarb)
บลาสติซิดิน เอส ( Blasticidin-S)
คาร์โบฟูราน (Carbofuran)
ไดโครโตฟอส (Dicrotophos)
อีพีเอ็น (EPN)
อีโธโปรฟอส (Ethoprofos)
โฟมีทาเนต (Formethanate)
เมทิดาไธออน (Methidathion)
เมโทมิล (Methomyl)
อ๊อกซามิล (Oxamyl)
เอ็นโดซัลแฟน (Endosulfan)
พาราไธออนเมทธิล(Parathion Methyl)
การจัดระดับความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้ค่า ปริมาณสารเคมีต่อน้ำหนักตัวของสัตว์ทดลองที่รับเข้าไปครั้งเดียวแล้วทำให้ตายไป 50%
(LD50) และมีหลายหน่วยงานได้จัดระดับความเป็นอันตรายของสารเคมีทางการเกษตร เพื่อแยกระดับความรุนแรงของสารเคมีแต่ละชนิด โดยให้สัญลักษณ์
ของอันตรายแต่ละระดับ

อ่านต่อทั้งหมดที่ http://www.farmkaset..link..
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
อ่าน:3700
โรคกาแฟตายยอด กาแฟยอดกิ่งแห้ง
162.158.179.94: 2564/08/18 23:43:51
โรคกาแฟตายยอด กาแฟยอดกิ่งแห้ง
โรคตายยอด (Die-back) เป็นโรคแทรกภายหลังที่ต้นอ่อนแอลงภายหลังจากการให้ผลดกเกินไป และความอุดมสมบูรณ์ไม่เพียงพอ

อาการ ปลายกิ่งที่ติดดอกออกผล จะแห้งตายจากปลายกิ่ง เข้ามาใจะร่วงทำความเสียหายมาก เพราะในปีต่อไปอาจไม่ได้ผลผลิตเลย เพราะไม่มีการเจริญของปลายกิ่งออกไป ซึ่งจะเป็นบริเวณที่ติดดอกออกผล ต้นที่มีอาการรุนแรงอาจแห้งตาย

การป้องกันกำจัด
๑. ตัดแต่งกิ่งไม่ให้กาแฟให้ผลดกมากเกินไป โดยเฉพาะในปีแรก
๒. เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ใส่ปุ๋ยให้เพียงพอในช่วงกำลังออกดอกผล
๓. เพิ่มร่มเงาให้ เพื่อลดปริมาณการใช้ปุ๋ยและลดผลผลิตให้ได้สัดส่วน ไม่ให้ต้นทำงานหนักเกินไปในการเลี้ยงผลกาแฟ
๔. ต้นที่มีอาการรุนแรง ยืนแห้งจะตาย ควรตัดระดับหัวเข่า เพื่อให้แตกกิ่งตั้งใหม่จะให้ผลดีกว่าคอยให้ฟื้นตัว ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ ๒ ปี

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุง ส่งเสริมการแตกยอด ผลิใบ ส่งเสริมการเจริญเติบโต และผลผลิต
โรคกาแฟตายยอด กาแฟยอดกิ่งแห้ง
อ่าน:3693
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ย ในพืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
162.158.170.137: 2566/01/24 08:43:04
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ย ในพืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Beauveria mix Methharicium หรือที่รู้จักในชื่อ Butarex เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่สามารถใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชหลายชนิดที่มักรบกวนพืช แมลงศัตรูพืชเหล่านี้ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยหอย และเพลี้ยแมลงปากดูดชนิดอื่นๆ

ข้อดีหลักประการหนึ่งของการใช้บิวเวอเรียผสมเมธาริเซียมคือเป็นทางเลือกทางธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งแตกต่างจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทั้งพืชและสัตว์ บิวเวอเรีย มิกซ์ เมธฮาริเซียมเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่มีผลต่อศัตรูพืชที่มีเป้าหมายเท่านั้น

เมื่อใช้เป็นมาตรการป้องกัน สามารถใช้บิวเวอเรียผสมเมธาริเซียมกับพืชได้ก่อนที่ศัตรูพืชจะกลายเป็นปัญหา สิ่งนี้สามารถช่วยป้องกันการระบาดตั้งแต่แรก ทำให้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องพืชจากความเสียหาย

เมื่อใช้เป็นยารักษาโรค สามารถใช้บิวเวอเรียผสมเมธาริเซียมกับศัตรูพืชได้โดยตรง หรือกับพื้นผิวของพืชซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีศัตรูพืชอาศัยอยู่ สิ่งนี้ทำให้แบคทีเรียสามารถติดเชื้อศัตรูพืชและนำไปสู่การตายได้ในที่สุด

เพื่อให้มั่นใจถึงผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด สิ่งสำคัญคือต้องใช้บิวเวอเรียผสมเมธาริเซียมในเวลาที่เหมาะสม และใช้ปริมาณที่ถูกต้องสำหรับชนิดของศัตรูพืชที่เป็นเป้าหมาย สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่า Methharicium ผสมบิวเวอเรียไม่สามารถทดแทนการปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่ดี เช่น การให้น้ำ การใส่ปุ๋ย และการตัดแต่งกิ่งที่เหมาะสม

สรุปได้ว่าบิวเวอเรียผสมเมธาริเซียมเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่รบกวนพืช เป็นทางเลือกทางธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสามารถใช้อย่างมีประสิทธิภาพในการปกป้องพืชจากความเสียหายที่เกิดจากแมลงศัตรูพืชหลายชนิด สิ่งสำคัญคือต้องใช้อย่างถูกต้อง ปฏิบัติตามคำแนะนำและเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่าได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

เชื้อบิวเวอร์เรีย + เมธาไรเซียม
เป็นผลิตภัณฑ์ผ่านการคัดสรรจุลินทรีย์ 2 ชนิดมี คุณสมบัติโดดเด่นมาผสมผสานใช้ในการป้องกัน กำจัดแมลงศัตรูพืช ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ปลวก เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ไรแดง แมลงหวี่ขาว และหนอน เป็นต้น

บิวทาเร็กซ์ : ใช้อย่างไร?
1. ผสมเชื้อ 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณ กิ่ง ก้าน ใบ หรือบริเวณที่แมลงระบาด
2. ฉีดพ่นได้ทุก 7-10 วัน

* ไม่ควรผสมใช้ร่วมกับเชื้อไตรโคเดอร์มา และ ยากำจัดเชื้อรา หากต้องการใช้ร่วมควรเว้น ระยะฉีดพ่น 7-10 วัน *

ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปด้วย บิวทาเร็กซ์..
ผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช
เชื้อดีที่สุดสำหรับชาวเกษตรกร
ปริมาณเชื้อที่ดีและได้ผล
ให้อาหารเฉพาะของเชื้อแต่ละตัว

เชื้อจะไปเติบโตในแมลง ปกคลุมตัวแมลง ทำให้แมลงแห้งตายในที่สุด
ปลอดภัยไม่มีสารเคมี
แมลงดื้อยา ใช้ได้ต่อเนื่อง
เป็นยาเย็น ใช้ได้ทุกพืช และทุกช่วงอายุของพืช

สั่งซื้อ
โทร 097-918-3530
ไลน์ janemini1112
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link..
อ่าน:3687
โรคเปลือกแตก ยางไหล กิ่งแห้ง ที่เกิดกับไม้ยืนต้นต่างๆ แก้ได้ด้วย ไอเอส
110.169.178.241: 2564/05/05 03:12:57
โรคเปลือกแตก ยางไหล กิ่งแห้ง ที่เกิดกับไม้ยืนต้นต่างๆ แก้ได้ด้วย ไอเอส
โรคเปลือกแตก กิ่งแห้ง ยางไหล ที่เกิดกับไม้ยืนต้นเช่น ยางพารา มะม่วง เงาะ มังคุด ทุกเรียน และไม้ยืนต้นต่างๆนั้น เชื้อสาเหตุโรคเกิดจากเชื้อไวรัส Citrus tristeza เชื้อรา

Botryodiplodia sp.

เชื้อไวรัส จะเข้าทำลาย ใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น จะเกิดอาการ ใบไม่สมบูรณ์ ใบหงิก ขอบใบไหม้ แห้ง ง้อ ลำต้นมีรอยบุ๋มลึกเข้าเนื้อไม้ ด้านในเปลือกมีหนามแหลมยื่นออกมา หากเชื้อมีความรุนแรงพืชที่อ่อนแอจะแสดงอาการทรุดโทรมไม่เจริญเติบโตหรืออาจถึงขั้นแห้งตาย

เชื้อราเข้าทำลายทางใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น ทำให้ต้นที่มีรอยแผลช้ำสีดำ เชื้อแพร่กระจายเข้าสู้เนื้อเยื่อพืชจนเซลล์พืชปริแตกออกมียางไหลส่งผลให้เน่าตาย ส่งผลให้แมลงเจาะกัดกินทำให้พืชอ่อนแอ

.

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สำหรับป้องกันและยับยั้ง เชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย โรคใบไหม้ ใบแห้ง ใบจุดสีน้ำตาล ใบจุดตากบ แคงเกอร์ ไฟท็อปโธร่า และโรคต่างๆที่มีสาเหตุจากเชื้อรา สกัดจากพืช ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค ปลอดสารพิษ ไม่มีสารตกค้าง ใช้ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและยับยั้งโรคพืชทุกชนิด ที่มีสาเหตุมากจากเชื้อรา

.

สนใจ โทรสั่งซื้อ 090-592-8614

ไลน์ไอดี FarmKaset หรือ ไอดี PrimPB

สั่งทางเฟสบุ๊คได้เช่นกัน https://www.facebook.com/farmkaset

หรือลาซาด้า https://www.lazada.co.th/products/fk-3-i388594842-s754764572.html

.

ภาพจาก pantip.com/topic/37103930

โรคเปลือกแตก ยางไหล กิ่งแห้ง ที่เกิดกับไม้ยืนต้นต่างๆ แก้ได้ด้วย ไอเอส
อ่าน:3682
ประโยชน์ของการปลูกพืชหมุนเวียนในการเกษตร
162.158.162.217: 2566/01/05 08:34:29
ประโยชน์ของการปลูกพืชหมุนเวียนในการเกษตร
การปลูกพืชหมุนเวียนเป็นวิธีการทำฟาร์มที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชต่าง ๆ ในลำดับที่เฉพาะเจาะจงในช่วงเวลาหนึ่งบนที่ดินผืนเดียวกัน แนวทางปฏิบัตินี้ใช้มานานหลายศตวรรษเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลดศัตรูพืชและโรค และเพิ่มผลผลิตพืชผล

ประโยชน์หลักประการหนึ่งของการปลูกพืชหมุนเวียนคือช่วยปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน พืชผลต่างๆ มีความต้องการสารอาหารที่แตกต่างกัน และการปลูกพืชหมุนเวียนช่วยให้สามารถเติมสารอาหารที่อาจหมดไปจากการปลูกพืชก่อนหน้านี้ ตัวอย่างเช่นการปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วหรือถั่วลิสงสามารถตรึงไนโตรเจนในดินซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ในทางกลับกัน การปลูกหญ้าหรือพืชพันธุ์ธัญญาหารซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้ไนโตรเจนในดินหมดไปก็สามารถช่วยคืนความสมดุลได้

ประโยชน์อีกประการหนึ่งของการปลูกพืชหมุนเวียนคือช่วยลดความชุกของศัตรูพืชและโรคในดิน แมลงศัตรูพืชและโรคบางชนิดมีความจำเพาะต่อพืชบางชนิด และการปลูกพืชหมุนเวียนสามารถช่วยทำลายวงจรชีวิตของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ลดจำนวนประชากรและจำกัดผลกระทบต่อพืชผลในอนาคต

นอกจากประโยชน์เหล่านี้แล้ว การปลูกพืชหมุนเวียนยังสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตพืชได้อีกด้วย ด้วยการปลูกพืชที่หลากหลาย เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากผลที่เสริมกันของพืชชนิดต่างๆ ต่อสุขภาพของดินและการจัดการศัตรูพืช ตัวอย่างเช่น การปลูกพืชคลุมดิน เช่น โคลเวอร์หรือข้าวไรย์ สามารถช่วยกำจัดวัชพืชและปรับปรุงโครงสร้างของดิน ทำให้พืชผลที่ตามมามีผลผลิตสูงขึ้น

โดยรวมแล้ว การปลูกพืชหมุนเวียนเป็นเครื่องมือที่มีค่าสำหรับเกษตรกรที่ต้องการปรับปรุงสุขภาพและผลผลิตของที่ดินของตน ด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนและปลูกพืชหลากหลายชนิด เกษตรกรสามารถได้รับประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของดินที่เพิ่มขึ้น โรคและแมลงศัตรูพืชลดลง และผลผลิตพืชสูงขึ้น
อ่าน:3682
โรคอ้อย โรคอ้อยยอดบิด (พกกะบอง) เมื่อโรครุนแรงยอดจะเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง และใบที่ม้วนอยู่ถูกทำลาย ลำตายในที่สุด
118.173.104.37: 2564/02/21 00:23:23
โรคอ้อย โรคอ้อยยอดบิด (พกกะบอง) เมื่อโรครุนแรงยอดจะเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง และใบที่ม้วนอยู่ถูกทำลาย ลำตายในที่สุด
สาเหตุของโรค เชื้อรา Fusarium moniliforme

ลักษณะอาการโรค

เริ่มแรกที่โคนของใบอ่อน จะคอดกว่าปกติมีสีขาวซีดหรือเหลืองซีดย่น ต่อไปใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่จะมีลักษณะเหี่ยวย่นบิดม้วน ฉีกขาด ใบสั้น เมื่อใบแก่ขึ้นตรงบริเวณที่เคยเป็นสีซีดจะมีแถบสีแดง รูปร่างไม่แน่นอนเกิดขึ้น แถบนี้อาจจะลุกลามลงมายังส่วนที่เป็นสีเขียวของกาบใบ ลักษณะของแผลบนใบและกาบใบมีรูปร่างและการจัดเรียงไม่แน่นอนทั้งแผล

ปลายใบและขอบใบที่เป็นโรคมักมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำทำให้ดูคล้ายกับถูกไฟเผา อาการใบที่ไม่คลี่จะเห็นยอดหดย่น เชื้อยังสามารถลุกลามเข้าไปยังลำต้น และเข้าไปยังจุดเจริญทำ ให้เกิดแถบสีน้ำตาลในลำต้น ซึ่งอาจยาวลงไปหลายปล้องในฤดูฝนที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง เชื้อจากส่วนใบจะเจริญเข้าทำลายยอดอ้อย ทำให้เนื้อเยื่อเจริญภายในยอดและปล้องอ้อยส่วนบน ๆของลำเน่า มีสีแดงเข้ม

เมื่อโรครุนแรงยอดจะเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง และใบที่ม้วนอยู่ถูกทำลาย ลำตายในที่สุด ดังนั้น หากโรคไม่รุนแรงมากลำที่เหลืออยู่ในกอจะเจริญต่อไปได้โดยไม่ถูกทำลายเมื่อโรคลดการระบาดการแพร่ระบาด โรคระบาดรุนแรงในฤดูฝนในระยะอ้อยย่างปล้องโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีความชื้นสูง และลดการระบาดเมื่ออากาศแห้งลงในปลายฤดูฝน ทั้งนี้เชื้อสาเหตุโรคสามารถอยู่ข้ามฤดูได้ในเศษซากอ้อยที่เป็นโรค โดยแผลที่เป็นโรคสามารถสร้างสปอร์และปล่อยสปอร์ให้ลอยไปตามลมได้

คำแนะนำการป้องกันกำจัด

• ใช้พันธุ์อ้อยที่ต้านทานต่อโรค

• เผาทำลายอ้อยที่แสดงอาการของโรค เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดไปยังแหล่งอื่น

• ลดการใช้ปุ๋ยเดี่ยวไนโตรเจนในขณะที่อ้อยอายุยังน้อย

• ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน หมั่นสังเกตุอาการ

• ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส เพื่อส่งเสริม ฟืนฟูอ้อย จากการเข้าทำลายของโรค

Reference: main content from ocsb.go.th
อ่าน:3673
อยากเป็นเจ้าของแบรนด์ ยาดมสมุนไพร ไม่ยากอย่างที่คิด
172.68.254.70: 2565/09/10 21:19:28
อยากเป็นเจ้าของแบรนด์ ยาดมสมุนไพร ไม่ยากอย่างที่คิด
ยาดมสมุนไพรจัดอยู่ในประเภท ยาสมุนไพรประจำบ้าน ใช้สูดดมบรรเทาอาการวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย เป็นหวัด คัดจมูก อ่อนเพลีย มีวิธีทำที่ง่าย หาสมุนไพรได้สะดวก สามารถทำเป็นรายได้เสริมได้ ยาดมสมุนไพรจะแตกต่างจากยาดมทั่วไป โดยเพิ่มเติมสมุนไพร เช่น กระวาน กานพลู พริกไทยดำ

ยาดมสมุนไพรมีแพร่หลายมาก มีผู้ประกอบการผลิตยาดมสมุนไพรมากขึ้นทั้งในรูปแบบของอุตสาหกรรม และธุรกิจ SME รายย่อย จากการที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีขั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยาก และมีต้นทุนที่ไม่สูง ประกอบกับความนิยมการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคเป็น

ความรู้ดั้งเดิมที่สืบทอดกันมานานจากรุ่นสู่รุ่น แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามาในประเทศไทย การใช้ยาสมุนไพร และการแพทย์แผนไทยเริ่มลดน้อยลง แต่ในปัจจุบันแนวโน้มการใช้สมุนไพรเริ่มกลับมามีบทบาท เนื่องจากผู้คนเริ่มหันกลับมาสนใจสุขภาพกันมากขึ้น การใช้สมุนไพรมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่ายาปฏิชีวนะ ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย มีความปลอดภัยสูง สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องกังวลกับโอกาสที่จะเกิดความเป็นพิษ อาการ ไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงต่าง ๆ โดยการใช้สมุนไพรยังมีข้อมูลพื้นฐาน อ้างอิงตามหลังข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโรค อาการอย่างถูกต้อง และยังคงมีความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้สมุนไพรที่ผิดประเภท ผิดอาการ ผิดขนาด และผิดวิธี ทำให้รักษาหรือบรรเทาอาการได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ และอาจนำไปสู่อาการไม่พึงประสงค์ และการแพ้ยา แต่ทั้งนี้ สมุนไพรก็ยังคงมีความน่าเชื่อถือและมั่นใจต่อการใช้มากกว่ายาแผนปัจจุบัน สมุนไพรมีความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ ประกอบด้วยสรรพคุณมากมายที่ช่วยในการดูแลสุขภาพ

ธุรกิจยาดมสมุนไพร เป็นธุรกิจที่ต้องการเจาะตลาดกลุ่มผู้รักสุขภาพทางเลือก ด้วยสมุนไพร การเข้าถึง
กลุ่มผู้บริโภค ผู้ผลิตต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผลิตภัณฑ์ในทุก ๆ ด้าน เป็นธุรกิจที่กระบวนการทำงาน ไม่ซับซ้อน เริ่มต้นธุรกิจด้วยทุนที่น้อยและสามารถประกอบการเพียงคนเดียวได้ แต่ผู้ที่จะประกอบธุรกิจนี้
จำเป็นจะต้องมีความรู้เรื่องสมุนไพรและต้องใส่ใจทุกรายละเอียดในกระบวนการผลิต หนึ่งในปัญหาด้านการตลาดในการทำธุรกิจยาดมสมุนไพร คือ การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้หลากหลายและเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคให้หลายกลุ่ม

สมุนไพรเป็นทั้งอาหารและยารักษาโรค สมุนไพรมีทั้งจากพืช สัตว์ และแร่ธาตุจากธรรมชาติ ที่ไม่มี
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสภาพภายใน ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหรือบำรุงร่างกายได้ สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่าง ๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผลเปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์(สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล เป็นต้น เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา
สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่าง ๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา เช่น เกลือกำมะถัน น้ำประสานทอง ดีเกลือ สารส้ม เป็นต้น

“สมุนไพรไทย” เป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนวัฒนธรรมความเป็นชาติไทย มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอัน
ยาวนานควบคู่สังคมไทยนับตั้งแต่ สมัยกรุงสุโขทัยต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ดังจะเห็นเป็นส่วนประกอบในอาหาร คาว-หวาน เป็นยารักษาโรค ใช้ในการดูแลสุขภาพและยาอายุวัฒนะ กระทั่งการเสริมความงาม ภูมิปัญญา เหล่านี้ได้รับการสั่งสม สืบทอด และพัฒนาต่อเนื่อง สร้างคุณค่า และมูลค่าให้แก่สมุนไพรไทยจนถึงปัจจุบัน

ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทย คือ ที่สุดแห่งภูมิปัญญาไทย กลายเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ส่งออกสำคัญของประเทศ
โดยในต้นปี 2556 มีมูลค่าส่งออกสมุนไพรส่งไปประเทศญี่ปุ่นกว่า 80 ล้านบาท (Department of the
Permanent Secretary_ Ministry of Commerce._ 2014) ด้วยความพร้อมทางด้านต้นทุนการผลิต อัน

ได้แก่ ภูมิประเทศ วัตถุดิบ กระบวนการผลิต รวมถึงความหลากหลายของรูปแบบผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยและช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีของไทยปีพุทธศักราช 2558 เสนอให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาพืชสมุนไพรไทยให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์แปรรูปจาสมุนไพร

ปัจจุบันความต้องการใช้สมุนไพรในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะความสนใจในการดูแลรักษาสุขภาพด้วยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ และ สมุนไพรสามารถเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยอุตสาหกรรมสมุนไพรได้รับการคาดการณ์ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และสามารถสร้างความยั่งยืนในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต นอกจากนี้ ยังเกิดจากการเปลี่ยนแปลงบริบทที่คาดการณ์ว่าจะส่งผลต่อความยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

ทั้งในส่วนของผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติของผู้บริโภค และแนวโน้มในการดูแลสุขภาพและความงามที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์
สมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตลาดสมุนไพรทั้งเวชสำอาง อาหารเสริม

ขั้นตอนการทำยาดมสมุนไพร
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมพิมเสนน้ํา
1. นําส่วนผสมทั้ง 3 ชนิด คือ เมนทอล 3 ส่วน พิมเสน 1 ส่วน การบูร 1 ส่วน
เทผสมรวมกันในภาชนะสําหรับผสมสาร
2. ใช้ไม้พายเล็กคนให้ส่วนผสมทั้งหมดละลายเป็นของเหลว
3. นําพิมเสนที่ได้บรรจุขวดปากกว้างปิดฝาพักไว้
ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมสมุนไพร
1. นําสมุนไพรทั้ง 5 ชนิด ในที่นี้ประกอบด้วย กานพลู ดอกจันทน์เทศ พริกไทยดํา โกศหัวบัว กระวาน ใส่ภาชนะรวมกัน้สมคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน
2. น้ําสมุนไพรที่ได้ใส่ในขวดปากกว้างที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 1 ปิดฝาขวดให้สนิท
3. แช่สมุนไพรในพิมเสนน้ํา 1 คืน
4. นําส่วนผสมที่ได้บรรจุในขวดมีฝาปิดเพื่อนําไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ขั้นที่ 3 ขั้นตอนบรรจุภัณฑ์
1. บรรจุสมุนไพรที่ได้นําใส่ขวด
2. ติดตราโลโก้บรรจุภัณฑ์

การสร้างตลาดและการหาแหล่งตลาดใหม่
ปัจจุบันการหาตลาดเพื่อรองรับสินค้า 1 ตําบล 1 ผลิตภัณฑ์จากชุมชนสู่ผู้บริโภคทั่วไป จนเกิดเป็น
ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมระดับประเทศนั้น สามารถหาช่องทางขายใหม่ได้13 ลักษณะ โดยแต่ละลักษณะมีความเหมาะสมแตกต่างกันไปตามประเภทผลิตภัณฑ์ ก่อนจะกําหนดลักษณะการขายต้องทราบสัดส่วนของตลาดหรือธรรมชาติขององค์ ประกอบภายในตลาดเสียก่อน ซึ่งโดยทั่วไประบบการซื้อขายจะแยกได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
- ตลาดขายส่ง เน้นการขายผ่านตัวแทนค้าส่ง โดยตลาดนี้จะมีมูลค่าประมาณ 60-80% ของกําลังซื้อตลาดทั่ว
ประเทศ
- ตลาดขายปลีก เน้นการขายปลีก ผู้สนใจทั่วไปและสมาชิกตลาดส่วนนี้จะมีมูลค่าประมาณ20-40% ของกําลังซื้อทั่วประเทศ
- ตลาดขายตรง เป็นการขายด้วยวิธีการสื่อสารโดยตรงไปยังลูกค้าแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อโดยตรง ได้แก่ การขายโดยการตั้งทีมขายตรงโทรศัพท์ไปหาลูกค้า_ ใช้ Fax_ จดหมายเชิญชวน_ ใช้ Catalogue รวมทั้งใช้สื่อวิทยุ_ หนังสือพิมพ์_ ทางอินเทอร์เน็ต โดยมีบริการเสริมพิเศษคือ การจัดส่ง
ถึงมือผู้ซื้อโดยตรง (Delivery Service) สําหรับตลาดขายตรง ปัจจุบันมีความสําคัญมากขึ้นเพราะเป็นวิธีสร้างความใกล้ชิดกับลูกค้าโดยตรง ทําให้ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาของสินค้าให้ตรงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

การยื่นขอจดทะเบียน ยาดม สมุนไพร
การขออนุญาตผลิต/ขายผลิตภัณ์ฑสมุนไพร
ผู้ขอรับอนุญาต (เจ้าของร้าน)
1. คำขออนุญาตผลิต นำเข้า หรือขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร(แบบ สมพ.1)
2. สัญญาระหว่างผู้รับอนุญาตกับผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติการ
3. หนังสือมอบอำนาจให้ทำการแทน
4. หนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งผู้ดำเนินกิจการ (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล)
5. รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว จ านวน 3 ใบ (ไม่เกิน 6 เดือน)
6. สำเนาบัตรประชาชน
7. สำเนาทะเบียนบ้าน
8. ใบรับรองแพทย์
9. สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์
10.สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ผลิต/ขาย สมุนไพร
11. สัญญาเช่า/หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้ให้เช่า/ผู้ให้ความยินยอม
12. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขออนุญาต (กรณีผู้ขอนุญาตเป็นนิติบุคคล)
13. แบบแปลนแผนผังภายในสถานที่ผลิต/ขาย สมุนไพร
14. แผนที่พร้อมพิกัดการเดินทางไปยังสถานประกอบการ

ขั้นตอนการดําเนินงาน
ผ่านแล้ว
1.จัดทําใบอนุญาต/พิจารณาลงนาม
2.แจ้งผู้ประกอบการรับใบอนุญาต
3.รับใบอนุญาต/ชําระค่าธรรมเนียม
4.ผู้ประกอบการยื่นคําขอพร้อมหลักฐาน
5.เจ้าหน้าที่รับคําขอ/ตรวจสอบ
6.ผู้ประกอบการจัดเตรียมสถานที่
7.ตรวจสถานที่
8.ผู้ประกอบการถ่ายรูปภายนอก ภายในร้านยา
9.ส่งให้เจ้าหน้าที่พิจารณาทาง E-mai

ตรวจสถานที่
1.จัดทําใบอนุญาต/พิจารณาลงนาม
2.แจ้งผู้ประกอบการรับใบอนุญาต
3.รับใบอนุญาต/ชําระค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียม
- ใบอนุญาตผลิตสมุนไพร 5000 บาท
- ใบอนุญาตนำเข้าสมุนไพร 20000 บาท
- ใบอนุญาตขายสมุนไพร 1500 บาท
- ใบอนุญาตโฆษณา 2500 บาท
- ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร2500 บาท
- ใบรับแจ้งรายละเอียดผลิตภัณฑ์สมุนไพร2500 บาท
- ใบรับจดแจ้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร 900 บาท
- ใบแทนใบอนุญาต ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับใบรับแจ้งรายละเอียด ใบรับจดแจ้ง 200 บาท

ข้อมูลจาก http://ไปที่..link.. สำหรับผู้ผลิตสินค้ายาดมสมุนไพร สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้ http://ไปที่..link..
อ่าน:3670
รับจ้างผลิต ปุ๋ย ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ยาปราบฯ สารจับใบ ไตรโคเดอร์มา บิวเวอเรีย เมทาไรเซียม สารอินทรีย์ต่างๆ โรงงานมาตรฐาน ISO 9001
172.70.116.137: 2566/03/17 18:57:05



รับจ้างผลิต ปุ๋ย ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ยาปราบฯ สารจับใบ ไตรโคเดอร์มา บิวเวอเรีย เมทาไรเซียม สารอินทรีย์ต่างๆ ODM OEM ตราสินค้าเป็นของคุณเอง รับผลิตเพื่อการส่งออก และ จำหน่ายภายในประเทศ โรงงานมาตฐาน ISO 9001 ใหญ่อันดับต้นๆของประเทศ ห้อง LAB มาตรฐาน ISO/IEC 17025 ดำเนินการให้ทั้งหมด เอกสารทุกอย่าง การขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดำเนินการเอกสารส่งออก ดำเนินการส่งออก

สอบถาม
โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

http://ไปที่..link..
รับจ้างผลิต ปุ๋ย ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ยาปราบฯ สารจับใบ ไตรโคเดอร์มา บิวเวอเรีย เมทาไรเซียม สารอินทรีย์ต่างๆ โรงงานมาตรฐาน ISO 9001
อ่าน:3668
FK Talk: กำลังเข้าสู่ฤดูหนาว อย่าลืมใช้ปุ๋ยน้ำปลอดสารพิษจากเรา ดูแลพืชของคุณนะครับ
171.98.58.132: 2557/10/05 09:05:14

FK Talk 5 ตุลาคม 2557

สวัสดีครับ ฤดูหนาวใกล้เข้ามาแล้ว อากาศเริ่มเปลี่ยน เพื่อนพี่น้องฟาร์มเกษตรรักษาสุขภาพด้วยนะครับ (ถ้ามียาแก้หวัดจะรีบประกาศขายตอนนี้เลย ^^)

 

วันนี้ผมมาแนะนำปุ๋ยน้ำ หรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำนาโนอะมิโน, นาโนคือผลิตด้วยนาโนเทคโนโลยี นาโนคืออะไรที่มันเล็กมากๆครับ ถ้านับนามวิชาคณิตศาสตร์เช่น 1 เซนติเมตร 1 มิลลิเมตร 1 ไมโคร และก็ 1 นาโนเมตร เซ็นติเมตร คือ 1, มิลลิคือ 1x10 ยกกำลัง -3 หรือพูดง่ายๆคือมีขนาดเท่ากับ 1ส่วนหนึ่งพันของ 1เซ็นติเมตรนั้นเอง, ส่วนไม่โคร คือ 1x10 ยกกำลัง -6 และนาโนนั้นขนาดเล็กเท่ากับ 1x10 ยกกำลัง -9, พูดให้งงน้อยกว่านี้อีกนิดนึงคือ ขนาดของเทคโนโลยีนาโน ถ้าเรามองเห็นได้ เราจะเห็นมันมีขนาดเท่ากับ 1ส่วนพันล้าน ของ 1เซ็นติเมตรนั้นเอง เห็นรึปล่าวครับ ว่ามันเล็กขนาดไหน (คงมองไม่เห็น ^^), เอาเป็นว่ามันเล็กมาาาาก ครับ

 

อมิโนล่ะ, อะมิโน หรือกรดอะมิโน คือโปรตีนแบบหนึ่ง ที่พืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้ทันที อย่างรวดเร็ว โดยลัดขั้นตอนบางอย่างของพืชไป ทำให้เราสังเกตุเห็นได้ชัดว่า หลังจากฉีดปุ๋ยอินทรีย์น้ำ นาโนอะมิโน ลงไป จะทำให้พืชเขียว ดูสดชื่นขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งสารเคมีเลย แต่มีกลิ่นเหม็นอยู่พอสมควรนะครับ แต่เป็นกลิ่นเหม็นที่ไม่มีอันตราย ต่างกับเคมี ที่มีอันตรายต่อสุขภาพ

 

ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

 

ขายของเลยแล้วกันครับ, ปุ๋ยอินทรีย์น้ำนาโนอะมิโนตัวนี้จากฟาร์มเกษตร มีลักษณะพิเศษคือ กลิ่นเหม็น สารภาพตรงๆว่า เรายังหาวิธีทำให้มันมีกลิ่นหอมดังเช่นน้ำหอมไม่ได้ โดยยังคงรักษาคุณภาพให้ได้เท่าเดิมอยู่

 

เหมาะสำหรับใช้ฉีดพ่นทางใบให้กับพืชได้เกือบทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงแล้ง ที่พืชต้องการความชื้นที่มากขึ้นกว่าฤดูอื่นๆ เพื่อให้พืชเจริญเติบโตได้สมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง

 

นาข้าว, มันสำปะหลัง, ไร่อ้อย, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ข้าวโพด, ผักปลอดสารพิษ, ผักสวนครัว, ไม้ดอก ไม้ประดับ ก็สามารถใช้ปุ๋ยน้ำนาโนอะมิโนนี้ได้ แต่ไม่แนะนำให้ฉีดไม้ประดับที่เลี้ยงไว้ในบ้าน หรือบริเวณที่นั่งเล่นนะครับ เพราะกลิ่นเหม็นคล้ายมูลสัตว์ อาจจะทำให้ท่านอารมณ์ไม่ดีทั้งวันเลยก็ได้

 

ข้อมูลที่มากกว่านี้ อ่านด้านล้างนี้ครับ ขอบคุณครับผม สวัสดีครับ

อะมิโน [Amino Acids] มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช

ปุ๋ยน้ำ : นาโนอะมิโน : ให้ปุ๋ยน้ำอะมิโนผ่านระบบน้ำหยด หรือ ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำอะมิโน เป็นการให้น้ำทางใบ ช่วยส่งเสริมให้พืช มีความอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่ลำต้นไปจนถึงใบ 

คุณสมบัติจำเพาะ : มีกรดอะมิโนมากกว่า 15 ชนิด ต้นอ้อยสามารถนำไปใช้ได้ทันที, ฉีดพ่นทางใบ ส่งเสริมการดูดซึมธาตุอาหาร, เพิ่มขนาดและความเขียวของใบ, ทำให้พืชเจริญเติบโต ผ่านระยะต่างๆได้อย่างสมบูรณ์ 

ส่วนประกอบของธาตุอาหาร : ประกอบด้วยธาตุอาหาร N (ไนโตรเจน) P (ฟอสฟอรัส) K (โพแทสเซียม) Ca (แคลเซียม) Mg (แมกนีเซียม) S (กำมะถัน) Zn (สังกะสี) Fe (เหล็ก) Cu (ทองแดง) Mn (แมงกานีส) Mo (โมลิบดีนัม) Cl (คลอรีน) B (โบรอน) NI (นิกเกิล) พร้อมจุลธาตุอาหารอื่นๆ รวมทั้งกรดอะมิโนครบถ้วนตามที่พืชต้องการ เลขที่วิเคราะห์ 248.435.5100 โดยสถาบันวิจัย Absolute Analytical Inc. รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา 

วิธีใช้ และอัตราส่วนการผสม ปุ๋ยน้ำอะมิโน 250 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ให้ผ่านระบนน้ำหยด หรือ ฉีดพ่น 100 ลิตรต่อไร่ [ฉีดพ่นตอนไม่มีแดด ช่วงก่อนแดดออก 5:00 น. - 9:00 น. หรือ หลังแดดตก เวลา 16:00 น. - 20:00 น. ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดจัด] 

ปุ๋ยน้ำ นาโนอะมิโน ตรานกอินทรีคู่ ประกอบด้วย
- ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารที่พืชต้องการครบถ้วน
- มีกรดอะมิโนมากกว่า 15 ชนิด ซึ่งอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที
- ไม่มีจุลินทรีย์และกากน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคพืช
- สามารถใช้ร่วมกับปุ๋ยอื่น ๆ ได้ทุกชนิด
- ช่วยฟื้นฟูสภาพต้นหลังการเก็บเกี่ยว
- เร่งแตกใบอ่อน ใบเขียว ผลผลิตดีมีคุณภาพ
- กรดอะมิโน พร้อมด้วยธาตุอาหารพืชครบถ้วน สกัดจากธรรมชาติ 100%
- มีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารตามที่พืชต้องการ
- ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการสกัดธาตุอาหารที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที

สนใจผลิตภัณท์ติดต่อ
ฟาร์มเกษตร โทร 089-4599003

อ่าน:3658
โรคเชื้อราในกัญชา: คู่มือเบื้องต้นการป้องกันและการรักษาโรคกัญชาจากเชื้อราต่างๆ
172.71.214.126: 2566/05/02 07:44:19
โรคเชื้อราในกัญชา: คู่มือเบื้องต้นการป้องกันและการรักษาโรคกัญชาจากเชื้อราต่างๆ
กัญชาหรือที่เรียกว่ากัญชาเป็นพืชที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายเพื่อใช้เป็นยาและสันทนาการ เช่นเดียวกับพืชอื่นๆ กัญชามีความไวต่อโรคต่างๆ รวมถึงการติดเชื้อรา โรคเชื้อราในกัญชาสามารถลดผลผลิตและคุณภาพ ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินมาตรการป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อราในกัญชา ในบทความนี้ เราจะพูดถึงโรคเชื้อราที่พบบ่อยที่สุดในกัญชา และวิธีการป้องกันและรักษาโดยใช้ IS และ FK-1

โรคราแป้ง:
โรคราแป้งเป็นโรคเชื้อราที่พบบ่อยในกัญชาที่มีผลต่อใบ ลำต้น และตา มีลักษณะเป็นผงแป้งสีขาวขึ้นบนผิวใบซึ่งสามารถแพร่กระจายไปทั่วโรงงานได้อย่างรวดเร็ว โรคราแป้งเกิดจากเชื้อราหลายชนิดในอันดับ Erysiphales ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและชื้น

การป้องกันและรักษา:
เพื่อป้องกันโรคราแป้งในกัญชา สิ่งสำคัญคือต้องรักษาระดับความชื้นในห้องปลูกให้ต่ำ การไหลเวียนของอากาศที่ดี และระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างพืช นอกจากนี้ การบำบัดพืชด้วย IS สามารถช่วยป้องกันและควบคุมโรคราแป้งได้ ผสม 50 ซีซี. ของ IS ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบและลำต้นทุก 2 สัปดาห์

สำหรับการรักษา ให้นำส่วนที่ติดเชื้อของพืชออกและฉีดพ่นส่วนที่เหลือด้วยสารละลาย IS ในกรณีที่รุนแรง ให้ใช้สารฆ่าเชื้อราที่มีโพแทสเซียมไบคาร์บอเนตหรือน้ำมันสะเดา

Botrytis:
Botrytis cinerea หรือที่เรียกว่าราสีเทาเป็นโรคเชื้อราที่ส่งผลต่อดอกและตาของกัญชา มันมีลักษณะการเจริญเติบโตเป็นฝอยสีขาวอมเทาบนดอกไม้ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วและทำให้ตาเน่า Botrytis cinerea เติบโตในสภาพแวดล้อมที่ชื้นและสามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในห้องที่มีพืชแออัด

การป้องกันและรักษา:
เพื่อป้องกัน Botrytis cinerea รักษาระดับความชื้นต่ำในห้องปลูก การไหลเวียนของอากาศที่ดี และระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างพืช นำซากพืชที่ตายแล้วหรือเน่าเปื่อยออกจากห้องปลูก เพราะอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อราได้ ใช้ IS เป็นมาตรการป้องกัน โดยผสม 50 ซีซี. ของไอเอสต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ดอกและดอกตูมทุก 2 สัปดาห์

สำหรับการรักษา ให้นำส่วนที่ติดเชื้อของพืชออกและฉีดพ่นส่วนที่เหลือด้วยสารละลาย IS ในกรณีที่รุนแรง ให้ใช้สารฆ่าเชื้อราที่มีไพรีทรินหรือผลิตภัณฑ์ที่มีทองแดงเป็นส่วนประกอบ

บทสรุป:
โรคเชื้อราในกัญชาอาจเป็นปัญหาสำคัญสำหรับผู้ปลูก แต่สามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยการดูแลที่เหมาะสมและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม IS และ FK-1 เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สามารถช่วยป้องกันและกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในขณะเดียวกันก็ช่วยบำรุงพืชไปด้วย เมื่อปฏิบัติตามมาตรการป้องกันที่เหมาะสมและใช้ IS และ FK-1 ผู้ปลูกสามารถรักษาต้นกัญชาให้แข็งแรงและให้ผลผลิตได้ และผู้บริโภคสามารถเพลิดเพลินกับผลิตภัณฑ์กัญชาคุณภาพสูงที่ปราศจากเชื้อรา
อ่าน:3656
3498 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 349 หน้า, หน้าที่ 350 มี 8 รายการ
|-Page 27 of 350-| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 |
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธาตุอาหารของพืช ธาตุหลัก ธาตุรอง ที่พืชจำเป็นต้องใช้ในการเจริญเติบโต
Update: 2563/06/16 22:23:14 - Views: 8204
ป้องกัน กำจัดหนอน ในแก้วมังกร ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ
Update: 2562/08/12 21:04:50 - Views: 4449
แก้วมังกร เปลือกเน่า ราสนิม โรคเชื้อราในแก้วมังกร กำจัดด้วย ไอเอส
Update: 2562/08/12 20:29:17 - Views: 4565
ต่างชาติเมิน เปิดศูนย์วิจัยในไทย ชี้รัฐไม่หนุนลงทุนศึกษา-สลดอีก 168ปี ถึงตามเกาหลีทัน
Update: 2563/06/25 16:26:13 - Views: 4873
หนอนกระทู้หอม หอมเลื้อย โรคหอมรากเน่า หอมใบจุด ใบด่าง เพลี้ยหอม ดูยาให้ถูกกับโรค แก้ได้..
Update: 2563/02/17 11:25:43 - Views: 3022
มาคา สารอินทรีย์ สำหรับป้องกันและกำจัดเพลี้ย เปลี่ยนขวดจากสีเทา เป็นสีขาว
Update: 2564/02/11 03:53:22 - Views: 4191
คุณปริม ปิยะมาศ บัวแก้ว ร่วมพิธีลงนาม MOU รับซื้อโก้โก้ และ มะม่วงเบา ผู้ประกอบการอำนาจและ 2 บริษัทใหญ่
Update: 2562/08/31 10:00:52 - Views: 5526
ยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง กู๊ดโซค เร่งมันโต FK-1 และระเบิดหัวมันด้วย FK-3C นะคะ
Update: 2564/08/27 23:32:25 - Views: 4242
หนอนผีเสือเจาะผลมะม่วง หนอนเจาะผลมะม่วง หนอนมะม่วง ป้องกันกำจัดด้วย ไอกี้-บีที
Update: 2564/03/03 00:13:01 - Views: 5275
ส่งรูปมัน
Update: 2554/06/08 13:03:27 - Views: 3056
มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72 และ KU 50 ทนต่อโรคใบด่าง และควรเลือกใช้ท่อนพันธุ์ จากแหล่งที่ปลอดโรค หยุดการแพร่ระบาด โรคมันสำปะหลังใบด่าง ได้เป็นอย่างดี
Update: 2563/06/13 15:50:29 - Views: 6399
ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวปน ข้าววัชพืช
Update: 2564/05/12 23:34:53 - Views: 5164
อยากถ่ายรูป ให้ได้ภาพชัดตื้น หรือหน้าชัดหลังเบลอ ไม่ยาก แค่เข้าใจค่า f
Update: 2562/08/12 21:28:49 - Views: 4151
โรคพืชวงศ์แตง แตงโม แตงกวา เมลอน สคว็อช ซุคคินี่
Update: 2564/08/21 22:15:00 - Views: 3365
ทำไมขนมเบื้อง ถึงมีไส้แค่สองแบบตามรูป ขาดวิวัฒนาการ หรือ ใส่ไส้แบบอื่นไม่ได้เอ่ย?
Update: 2562/08/25 14:37:20 - Views: 4175
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนม้วนใบ หนอนกอข้าว หนอนกระทู้กล้า ในต้นข้าว และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/28 14:22:45 - Views: 3006
ยาแก้โรครา ในถั่วเขียว และถั่วต่างๆ รากำจัดเพลี้ยใน ถั่ว ถั่วเขียว ยากำจัดหนอน และ ปุ๋ยสำหรับ ถั่วต่างๆ
Update: 2563/06/28 12:38:39 - Views: 4533
เงาะ ผลใหญ่ ผลดก ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ สตาร์เฟอร์ 0-0-60
Update: 2567/04/12 11:49:44 - Views: 75
ควบคุม ป้องกัน กำจัด แมลงศัตรูพืช และโรคพืช ที่ติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อ
Update: 2563/11/05 09:37:56 - Views: 5763
🔥เจอหนอนใช้ ไอกี้ เจอเพลี้ยตัวดีใช้ มาคา พบโรคราใช้ ไอเอส ปลอดสารพิษจ้า..
Update: 2564/08/10 12:10:59 - Views: 5422
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022