<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
อยากเป็นเจ้าของแบรนด์ ยาดมสมุนไพร ไม่ยากอย่างที่คิด
ยาดมสมุนไพรจัดอยู่ในประเภท ยาสมุนไพรประจำบ้าน ใช้สูดดมบรรเทาอาการวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย เป็นหวัด คัดจมูก อ่อนเพลีย มีวิธีทำที่ง่าย หาสมุนไพรได้สะดวก สามารถทำเป็นรายได้เสริมได้ ยาดมสมุนไพรจะแตกต่างจากยาดมทั่วไป โดยเพิ่มเติมสมุนไพร เช่น กระวาน กานพลู พริกไทยดำ
ยาดมสมุนไพรมีแพร่หลายมาก มีผู้ประกอบการผลิตยาดมสมุนไพรมากขึ้นทั้งในรูปแบบของอุตสาหกรรม และธุรกิจ SME รายย่อย จากการที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีขั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยาก และมีต้นทุนที่ไม่สูง ประกอบกับความนิยมการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคเป็น
ความรู้ดั้งเดิมที่สืบทอดกันมานานจากรุ่นสู่รุ่น แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามาในประเทศไทย การใช้ยาสมุนไพร และการแพทย์แผนไทยเริ่มลดน้อยลง แต่ในปัจจุบันแนวโน้มการใช้สมุนไพรเริ่มกลับมามีบทบาท เนื่องจากผู้คนเริ่มหันกลับมาสนใจสุขภาพกันมากขึ้น การใช้สมุนไพรมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่ายาปฏิชีวนะ ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย มีความปลอดภัยสูง สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องกังวลกับโอกาสที่จะเกิดความเป็นพิษ อาการ ไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงต่าง ๆ โดยการใช้สมุนไพรยังมีข้อมูลพื้นฐาน อ้างอิงตามหลังข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโรค อาการอย่างถูกต้อง และยังคงมีความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้สมุนไพรที่ผิดประเภท ผิดอาการ ผิดขนาด และผิดวิธี ทำให้รักษาหรือบรรเทาอาการได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ และอาจนำไปสู่อาการไม่พึงประสงค์ และการแพ้ยา แต่ทั้งนี้ สมุนไพรก็ยังคงมีความน่าเชื่อถือและมั่นใจต่อการใช้มากกว่ายาแผนปัจจุบัน สมุนไพรมีความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ ประกอบด้วยสรรพคุณมากมายที่ช่วยในการดูแลสุขภาพ
ธุรกิจยาดมสมุนไพร เป็นธุรกิจที่ต้องการเจาะตลาดกลุ่มผู้รักสุขภาพทางเลือก ด้วยสมุนไพร การเข้าถึง
กลุ่มผู้บริโภค ผู้ผลิตต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผลิตภัณฑ์ในทุก ๆ ด้าน เป็นธุรกิจที่กระบวนการทำงาน ไม่ซับซ้อน เริ่มต้นธุรกิจด้วยทุนที่น้อยและสามารถประกอบการเพียงคนเดียวได้ แต่ผู้ที่จะประกอบธุรกิจนี้
จำเป็นจะต้องมีความรู้เรื่องสมุนไพรและต้องใส่ใจทุกรายละเอียดในกระบวนการผลิต หนึ่งในปัญหาด้านการตลาดในการทำธุรกิจยาดมสมุนไพร คือ การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้หลากหลายและเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคให้หลายกลุ่ม
สมุนไพรเป็นทั้งอาหารและยารักษาโรค สมุนไพรมีทั้งจากพืช สัตว์ และแร่ธาตุจากธรรมชาติ ที่ไม่มี
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสภาพภายใน ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหรือบำรุงร่างกายได้ สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่าง ๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผลเปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์(สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล เป็นต้น เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา
สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่าง ๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา เช่น เกลือกำมะถัน น้ำประสานทอง ดีเกลือ สารส้ม เป็นต้น
“สมุนไพรไทย” เป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนวัฒนธรรมความเป็นชาติไทย มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอัน
ยาวนานควบคู่สังคมไทยนับตั้งแต่ สมัยกรุงสุโขทัยต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ดังจะเห็นเป็นส่วนประกอบในอาหาร คาว-หวาน เป็นยารักษาโรค ใช้ในการดูแลสุขภาพและยาอายุวัฒนะ กระทั่งการเสริมความงาม ภูมิปัญญา เหล่านี้ได้รับการสั่งสม สืบทอด และพัฒนาต่อเนื่อง สร้างคุณค่า และมูลค่าให้แก่สมุนไพรไทยจนถึงปัจจุบัน
ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทย คือ ที่สุดแห่งภูมิปัญญาไทย กลายเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ส่งออกสำคัญของประเทศ
โดยในต้นปี 2556 มีมูลค่าส่งออกสมุนไพรส่งไปประเทศญี่ปุ่นกว่า 80 ล้านบาท (Department of the
Permanent Secretary_ Ministry of Commerce._ 2014) ด้วยความพร้อมทางด้านต้นทุนการผลิต อัน
ได้แก่ ภูมิประเทศ วัตถุดิบ กระบวนการผลิต รวมถึงความหลากหลายของรูปแบบผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยและช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีของไทยปีพุทธศักราช 2558 เสนอให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาพืชสมุนไพรไทยให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์แปรรูปจาสมุนไพร
ปัจจุบันความต้องการใช้สมุนไพรในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะความสนใจในการดูแลรักษาสุขภาพด้วยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ และ สมุนไพรสามารถเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยอุตสาหกรรมสมุนไพรได้รับการคาดการณ์ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และสามารถสร้างความยั่งยืนในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต นอกจากนี้ ยังเกิดจากการเปลี่ยนแปลงบริบทที่คาดการณ์ว่าจะส่งผลต่อความยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต
ทั้งในส่วนของผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติของผู้บริโภค และแนวโน้มในการดูแลสุขภาพและความงามที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์
สมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตลาดสมุนไพรทั้งเวชสำอาง อาหารเสริม
ขั้นตอนการทำยาดมสมุนไพร
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมพิมเสนน้ํา
1. นําส่วนผสมทั้ง 3 ชนิด คือ เมนทอล 3 ส่วน พิมเสน 1 ส่วน การบูร 1 ส่วน
เทผสมรวมกันในภาชนะสําหรับผสมสาร
2. ใช้ไม้พายเล็กคนให้ส่วนผสมทั้งหมดละลายเป็นของเหลว
3. นําพิมเสนที่ได้บรรจุขวดปากกว้างปิดฝาพักไว้
ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมสมุนไพร
1. นําสมุนไพรทั้ง 5 ชนิด ในที่นี้ประกอบด้วย กานพลู ดอกจันทน์เทศ พริกไทยดํา โกศหัวบัว กระวาน ใส่ภาชนะรวมกัน้สมคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน
2. น้ําสมุนไพรที่ได้ใส่ในขวดปากกว้างที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 1 ปิดฝาขวดให้สนิท
3. แช่สมุนไพรในพิมเสนน้ํา 1 คืน
4. นําส่วนผสมที่ได้บรรจุในขวดมีฝาปิดเพื่อนําไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ขั้นที่ 3 ขั้นตอนบรรจุภัณฑ์
1. บรรจุสมุนไพรที่ได้นําใส่ขวด
2. ติดตราโลโก้บรรจุภัณฑ์
การสร้างตลาดและการหาแหล่งตลาดใหม่
ปัจจุบันการหาตลาดเพื่อรองรับสินค้า 1 ตําบล 1 ผลิตภัณฑ์จากชุมชนสู่ผู้บริโภคทั่วไป จนเกิดเป็น
ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมระดับประเทศนั้น สามารถหาช่องทางขายใหม่ได้13 ลักษณะ โดยแต่ละลักษณะมีความเหมาะสมแตกต่างกันไปตามประเภทผลิตภัณฑ์ ก่อนจะกําหนดลักษณะการขายต้องทราบสัดส่วนของตลาดหรือธรรมชาติขององค์ ประกอบภายในตลาดเสียก่อน ซึ่งโดยทั่วไประบบการซื้อขายจะแยกได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
- ตลาดขายส่ง เน้นการขายผ่านตัวแทนค้าส่ง โดยตลาดนี้จะมีมูลค่าประมาณ 60-80% ของกําลังซื้อตลาดทั่ว
ประเทศ
- ตลาดขายปลีก เน้นการขายปลีก ผู้สนใจทั่วไปและสมาชิกตลาดส่วนนี้จะมีมูลค่าประมาณ20-40% ของกําลังซื้อทั่วประเทศ
- ตลาดขายตรง เป็นการขายด้วยวิธีการสื่อสารโดยตรงไปยังลูกค้าแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อโดยตรง ได้แก่ การขายโดยการตั้งทีมขายตรงโทรศัพท์ไปหาลูกค้า_ ใช้ Fax_ จดหมายเชิญชวน_ ใช้ Catalogue รวมทั้งใช้สื่อวิทยุ_ หนังสือพิมพ์_ ทางอินเทอร์เน็ต โดยมีบริการเสริมพิเศษคือ การจัดส่ง
ถึงมือผู้ซื้อโดยตรง (Delivery Service) สําหรับตลาดขายตรง ปัจจุบันมีความสําคัญมากขึ้นเพราะเป็นวิธีสร้างความใกล้ชิดกับลูกค้าโดยตรง ทําให้ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาของสินค้าให้ตรงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า
การยื่นขอจดทะเบียน ยาดม สมุนไพร
การขออนุญาตผลิต/ขายผลิตภัณ์ฑสมุนไพร
ผู้ขอรับอนุญาต (เจ้าของร้าน)
1. คำขออนุญาตผลิต นำเข้า หรือขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร(แบบ สมพ.1)
2. สัญญาระหว่างผู้รับอนุญาตกับผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติการ
3. หนังสือมอบอำนาจให้ทำการแทน
4. หนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งผู้ดำเนินกิจการ (กรณีผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล)
5. รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว จ านวน 3 ใบ (ไม่เกิน 6 เดือน)
6. สำเนาบัตรประชาชน
7. สำเนาทะเบียนบ้าน
8. ใบรับรองแพทย์
9. สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์
10.สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ผลิต/ขาย สมุนไพร
11. สัญญาเช่า/หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้ให้เช่า/ผู้ให้ความยินยอม
12. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขออนุญาต (กรณีผู้ขอนุญาตเป็นนิติบุคคล)
13. แบบแปลนแผนผังภายในสถานที่ผลิต/ขาย สมุนไพร
14. แผนที่พร้อมพิกัดการเดินทางไปยังสถานประกอบการ
ขั้นตอนการดําเนินงาน
ผ่านแล้ว
1.จัดทําใบอนุญาต/พิจารณาลงนาม
2.แจ้งผู้ประกอบการรับใบอนุญาต
3.รับใบอนุญาต/ชําระค่าธรรมเนียม
4.ผู้ประกอบการยื่นคําขอพร้อมหลักฐาน
5.เจ้าหน้าที่รับคําขอ/ตรวจสอบ
6.ผู้ประกอบการจัดเตรียมสถานที่
7.ตรวจสถานที่
8.ผู้ประกอบการถ่ายรูปภายนอก ภายในร้านยา
9.ส่งให้เจ้าหน้าที่พิจารณาทาง E-mai
ตรวจสถานที่
1.จัดทําใบอนุญาต/พิจารณาลงนาม
2.แจ้งผู้ประกอบการรับใบอนุญาต
3.รับใบอนุญาต/ชําระค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียม
- ใบอนุญาตผลิตสมุนไพร 5000 บาท
- ใบอนุญาตนำเข้าสมุนไพร 20000 บาท
- ใบอนุญาตขายสมุนไพร 1500 บาท
- ใบอนุญาตโฆษณา 2500 บาท
- ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร2500 บาท
- ใบรับแจ้งรายละเอียดผลิตภัณฑ์สมุนไพร2500 บาท
- ใบรับจดแจ้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร 900 บาท
- ใบแทนใบอนุญาต ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับใบรับแจ้งรายละเอียด ใบรับจดแจ้ง 200 บาท
ข้อมูลจาก
http://ไปที่..link..
สำหรับผู้ผลิตสินค้ายาดมสมุนไพร สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้
http://ไปที่..link..