[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3562 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 2 รายการ

โรคอ้อย โรคอ้อยยอดบิด (พกกะบอง) เมื่อโรครุนแรงยอดจะเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง และใบที่ม้วนอยู่ถูกทำลาย ลำตายในที่สุด
โรคอ้อย โรคอ้อยยอดบิด (พกกะบอง) เมื่อโรครุนแรงยอดจะเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง และใบที่ม้วนอยู่ถูกทำลาย ลำตายในที่สุด
สาเหตุของโรค เชื้อรา Fusarium moniliforme

ลักษณะอาการโรค

เริ่มแรกที่โคนของใบอ่อน จะคอดกว่าปกติมีสีขาวซีดหรือเหลืองซีดย่น ต่อไปใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่จะมีลักษณะเหี่ยวย่นบิดม้วน ฉีกขาด ใบสั้น เมื่อใบแก่ขึ้นตรงบริเวณที่เคยเป็นสีซีดจะมีแถบสีแดง รูปร่างไม่แน่นอนเกิดขึ้น แถบนี้อาจจะลุกลามลงมายังส่วนที่เป็นสีเขียวของกาบใบ ลักษณะของแผลบนใบและกาบใบมีรูปร่างและการจัดเรียงไม่แน่นอนทั้งแผล

ปลายใบและขอบใบที่เป็นโรคมักมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำทำให้ดูคล้ายกับถูกไฟเผา อาการใบที่ไม่คลี่จะเห็นยอดหดย่น เชื้อยังสามารถลุกลามเข้าไปยังลำต้น และเข้าไปยังจุดเจริญทำ ให้เกิดแถบสีน้ำตาลในลำต้น ซึ่งอาจยาวลงไปหลายปล้องในฤดูฝนที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง เชื้อจากส่วนใบจะเจริญเข้าทำลายยอดอ้อย ทำให้เนื้อเยื่อเจริญภายในยอดและปล้องอ้อยส่วนบน ๆของลำเน่า มีสีแดงเข้ม

เมื่อโรครุนแรงยอดจะเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง และใบที่ม้วนอยู่ถูกทำลาย ลำตายในที่สุด ดังนั้น หากโรคไม่รุนแรงมากลำที่เหลืออยู่ในกอจะเจริญต่อไปได้โดยไม่ถูกทำลายเมื่อโรคลดการระบาดการแพร่ระบาด โรคระบาดรุนแรงในฤดูฝนในระยะอ้อยย่างปล้องโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีความชื้นสูง และลดการระบาดเมื่ออากาศแห้งลงในปลายฤดูฝน ทั้งนี้เชื้อสาเหตุโรคสามารถอยู่ข้ามฤดูได้ในเศษซากอ้อยที่เป็นโรค โดยแผลที่เป็นโรคสามารถสร้างสปอร์และปล่อยสปอร์ให้ลอยไปตามลมได้

คำแนะนำการป้องกันกำจัด

• ใช้พันธุ์อ้อยที่ต้านทานต่อโรค

• เผาทำลายอ้อยที่แสดงอาการของโรค เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดไปยังแหล่งอื่น

• ลดการใช้ปุ๋ยเดี่ยวไนโตรเจนในขณะที่อ้อยอายุยังน้อย

• ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน หมั่นสังเกตุอาการ

• ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส เพื่อส่งเสริม ฟืนฟูอ้อย จากการเข้าทำลายของโรค

Reference: main content from ocsb.go.th
อ่าน:4488
โรคใบด่างมะละกอ เชื้อไวรัสในมะละกอ ต้องกำจัดเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำโรค และมีดตอนกิ่งที่ไม่สะอาดก็มีส่วน
โรคใบด่างมะละกอ เชื้อไวรัสในมะละกอ ต้องกำจัดเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำโรค และมีดตอนกิ่งที่ไม่สะอาดก็มีส่วน
แนะนำแก้โรคใบด่าง จากเชื้อไวรัส ในมะละกอ

คุณนวลจันทร์ ฉัตรเท เกษตรอำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ได้มอบหมายให้ นางสาวธารทิพย์ สุธรรม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เข้าสำรวจแปลงปลูกมะละกอของเกษตรกรในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

หลังจากที่มีเกษตรกร หมู่ 3 ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด มาขอคำแนะนำและปรึกษาเกี่ยวกับโรคที่เกิดกับมะละกอที่ปลูก ซึ่งจากการสำรวจแปลงปลูกพบว่ามะละกอของเกษตรกรเป็นโรคใบด่างจากเชื้อไวรัส

สาเหตุหลัก เกิดจากการใช้มีดตอนกิ่งมะละกอ โดยไม่ทำความสะอาด

และจากการสอบถามเกษตรกรพบว่า สาเหตุหลักมาจากการใช้มีดในการตอนกิ่งมะละกอเล่มเดียวกันโดยไม่ได้ทำความสะอาด เมื่อเปลี่ยนต้นในการตอน และอาจจะมีมะละกอบางต้นที่เป็นโรคนี้อยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นสาเหตุให้เชื้อไวรัสติดไปยังกิ่งตอนอื่น ๆ เมื่อนำมาปลูกจึงเกิดการระบาดในแปลงปลูก เพราะจากการสำรวจพบว่าที่เป็นโรคจะเกิดเฉพาะต้นที่ตอนกิ่งมาเท่านั้น

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอแหลมงอบ ได้ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในการทำลายมะละกอต้นที่เกิดโรค และการดูแลรักษาต้นมะละกอ ตลอดถึงการป้องกันกำจัดโรคและแมลงในพริก มะเขือและพืชผักอื่น ๆ ที่เกษตรกรนำมาปลูกเสริมในแปลงปลูกมะละกอให้แก่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรนำความรู้และวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการไปปฏิบัติใช้อย่างถูกต้องในการดูแลแปลงปลูกพืชของตนเองเพื่อลดและป้องกันการระบาดเพิ่มอีกด้วย

สำหรับโรคใบด่างจากเชื้อไวรัสนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบุว่า เกิดจากเชื้อไวรัสเข้าทำลาย ซึ่งเชื้อจะเข้าทำลายได้ทุกระยะของการเจริญเติบโตของมะละกอ จะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบด่างเหลือง บิดเบี้ยวเสียรูป ใบจะหงิกงอ เรียวเล็กเหมือนหางหนู ถ้าเป็นรุนแรงใบจะเหลือแค่เส้นใบดูเหมือนเส้นด้าย และต้นกล้าอาจตายได้หรือไม่เจริญเติบโต ในต้นที่โตแล้ว ใบจะมีอาการด่าง บิดเบี้ยว หงิกงอ ยอดและใบมีสีเหลืองกว่าต้นที่ไม่เป็นโรค และจะสังเกตเห็นลักษณะจุดหรือทางยาวสีเขียวเข้ม ดูช้ำตามก้านใบ ลำต้น การติดผลจะไม่ดีหรือไม่ติดเลย 

ในต้นที่ยังติดผล ผลก็อาจบิดเบี้ยว มีจุดลักษณะเป็นวงแหวน ทั่วทั้งผล เนื้อบริเวณที่เป็นจุดวงแหวนมักจะเป็นไตแข็ง มีรสขม ถ้าเป็นรุนแรงแผลเหล่านี้จะมีลักษณะคล้ายสะเก็ด หรือหูดนูนขึ้นมา บนผิวของผลจะขรุขระ ต้นที่เป็นโรคในระยะออกดอก จะทำให้ติดผลไม่ดี และผลที่ได้จะมีจุดวงแหวนเห็นได้ชัด นอกจากนี้ดอกในรุ่นต่อ ๆ ไปก็จะร่วง ไม่ติดผลอีกด้วย 

เพลี้ยอ่อน เป็นพาหะ นำไวรัสมะละกอมาติด และระบาดในสวนมะละกอ

และโรคนี้สามารถแพร่ระบาดไปได้โดยมีเพลี้ยอ่อนหลายชนิดเป็นพาหะ เช่น เพลี้ยอ่อนถั่ว เพลี้ยอ่อนยาสูบ โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนฝ้ายที่จะเป็นพาหะสำคัญที่แพร่ระบาดของโรคนี้ โดยเพลี้ยอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นเป็นโรค เชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปากของแมลง และเมื่อบินหรือย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ไม่เป็นโรค ก็จะถ่ายเชื้อไวรัสเข้าไป

ซึ่งการถ่าย ทอดโรคนี้จะใช้เวลาสั้นมาก โดยดูดจากต้นเป็นโรคประมาณ 10-30 วินาที ก็สามารถถ่ายโรคไปยังต้นอื่นได้ ภายหลังมะละกอได้รับเชื้อไวรัสแล้วประมาณ 15-30 วินาที ก็จะแสดงอาการของโรคให้เห็น และที่ผ่านมาค่อนข้างยากที่จะหาวิธีป้องกันหรือกำจัดโรคนี้โดยตรง แต่เกษตรกรสามารถป้องกันได้ด้วยการทำลายต้นที่ติดเชื้อโรคที่แสดงอาการอย่างแน่ชัด โดยการเผาหรือฝังในดินให้ลึก และปลูกมะละกอพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคนี้ เช่น ปากช่อง 1 แขกดำ ท่าพระ โดยบริเวณปลูกต้องกำจัดวัชพืชให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของเพลี้ยอ่อน

การปลูกมะละกอให้ห่างจากพืชตระกูลแตง หรือปลูกเหนือลม ช่วยป้องกันการระบาดของไวรัสมะละกอได้ดี

และควรปลูกห่างจากพืชตระกูลแตงและนำพืชตระกูลแตงมาปลูกบริเวณด้านเหนือลม เพื่อเป็นกับดักตามธรรมชาติให้เพลี้ยอ่อนเข้าดูดกิน และสูญเสียการถ่ายเชื้อไวรัสเข้าสู่มะละกอ ก็จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
dailynews.co.th/ agriculture/555912

*สินค้าจาก ฟาร์มเกษตร สำหรับการป้องกัน และรักษาโรคไวรัสมะละกอ เป็นการป้องกันกำจัดพาหะนำโรค คือเพลี้ยอ่อน และเพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่นด้วยมาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด หากต้องการบำรุง ให้มะละกอฟื้นตัวเร็ว เจริญเติบโตดี แข็งแรง และต้านทานต่อโรคมากขึ้น สามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจัดใบนั่นเอง)
อ่าน:4449
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธาตุอาหารของพืช ธาตุหลัก ธาตุรอง ที่พืชจำเป็นต้องใช้ในการเจริญเติบโต

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธาตุอาหารของพืช ธาตุหลักคืออะไร ธาตุรองคืออะไร โดย ปิยะมาศ บัวแก้ว www.FarmKaset.ORG
https://www.youtube.com/watch?v=4mMEpik1blU
อ่าน:4448
ยาแก้เพลี้ย ใน ผักกวางตุ้ง ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ กวางตุ้งดอกฮ่องกง ยากำจัดหนอน ยาแก้โรคใบไหม้ โรคราต่างๆ และ ปุ๋ย สำหรับ ผัก กวางตุ้ง
ยาแก้เพลี้ย ใน ผักกวางตุ้ง ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ กวางตุ้งดอกฮ่องกง ยากำจัดหนอน ยาแก้โรคใบไหม้ โรคราต่างๆ และ ปุ๋ย สำหรับ ผัก กวางตุ้ง
ยายับยั้งและป้องกัน โรคใบไหม้ โรคต่างๆจากเชื้อรา ยาแก้เพลี้ย ยากำจัดหนอน และปุ๋ย สำหรับ ผัก กวางตั้ง กวางตุ้งฮ่องเต้ และ กวางตุ้งดอกฮ่องกง

หนอนใยผัก ใน ผัก กวางตุ้ง และหนอนคืบกะหล่ำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plutella xylostella เป็นหนอนผีเสื้อ ตามใต้ใบพืช ตัวหนอนส่วนท้ายมีปุ่ม แยกยื่นออกมาเป็นสองแฉก ตัวสีเขียวปนเทาอ่อน หรือสีเขียวปนเหลือง หนอนจะกัดกินผิวใบ ทางด้านล่าง จนใบเป็นรูพรุน และเข้ากัดกินยอดผัก

ป้องกันและกำจัดหนอนต่างๆ ใน ผัก กวางตุ้ง ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์กำจัดหนอน

ฉีดพ่น ไอกี้-บีที ในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

เพลี้ยอ่อน ผัก กวางตุ้ง และเพลี้ยต่างๆ

อาการที่แสดงให้เห็น เมื่อเพลี้ยเข้าทำลาย คือใบม้วนหงิก ใบแห้งกร้าน ใบกรอบ มีสีจางเป็นจุดๆ กระจายตามจุดต่างๆของใบ เป็นอาการที่เพลี้ยอ่อนเข้าทำลาย โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงใต้ผิวใบ ทำให้ใบด่างเป็นจุดๆ ใบพืชหดตัว และเริ่มหงิกงอ

ป้องกันและกำจัดเพลี้ยอ่อน และเพลี้ยต่างๆ ใน ผัก กวางตุ้ง ฉีดพ่นด้วย มาคา

ฉีดพ่น มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

โรคราน้ำค้าง ใน ผัก กวางตุ้ง

พบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต สังเกตุที่ใบเลี้ยงจะเป็นแผลสีน้ำตาล เป็นสาเหตุให้ลำต้นเน่า ผัก กวางตุ้ง แคระแกร็น หากอาการรุนแรง ใบจะเป็นสีน้ำตาล และค่อยๆแห้งตาย

โรคใบไหม้ ใน ผัก กวางตุ้ง

อาการที่แสดงบนใบเลี้ยง ขอบใบจะไหม้ แห้ง เส้นใบเน่าเป็นสีดำ และต่อมาใบจะแห้งเป็นสีน้ำตาล และหลุดออกจากต้น ทำให้ ผัก กวางตุ้ง แคระ แกร็น หรือหยุดชะงักการเจริญเติบโต

การป้องกันและยับยั้ง โรค ผัก กวางตุ้ง ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ ใช้ ไอเอส

ฉีดพ่น ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ปุ๋ยสำหรับเร่งผลผลิต ผัก กวางตุ้ง ฉีดพ่นทางใบ

FK-1 ใช้เร่งโต เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง เพิ่มผลิต

นอกจากเราใช้ FK-1 ฉีดพ่นเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชแล้ว เรายังสามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน กับยารักษาโรคพืช และยากำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช หรือยากำจัดหนอน จะช่วยให้พืช ฟื้นตัวได้เร็ว จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง และกลับมาเจริญเติบโต ได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง

อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)
อ่าน:4306
แก้ โรคแอนแทรคโนส ในมะม่วง ฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน ยับยั้งเชื้อรา
แก้ โรคแอนแทรคโนส ในมะม่วง ฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน ยับยั้งเชื้อรา
แก้ โรคแอนแทรคโนส ในมะม่วง ฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน ยับยั้งเชื้อรา
โรคแอนแทรคโนส มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เชื้อราก่อโรคแอนแทรคโนส สามารถสร้างส่วนขยายพันธุ์ขึ้นใหม่ และเข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญของมะม่วงตลอดฤดูการปลูก อาการของโรคมี อาการใบจุด ใบและกิ่งแห้งตาย เชื้อจะอยู่ในระยะพักตัว จนกระทั่งมะม่วงแก่และถึงระยะเก็บเกี่ยว ต่อมาเมื่อผลใกล้สุก เชื้อจะเริ่มพัฒนาใหม่และทำลายผลมะม่วงก่อให้เกิดอาการผลเน่าเสีย

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สำหรับป้องกันและยับยั้งเชื้อรา สกัดจากพืช ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค ปลอดสารพิษ ไม่มีสารตกค้าง ใช้ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและยับยั้งโรคพืชทุกชนิด ที่มีสาเหตุมากจากเชื้อรา

.

สนใจ โทรสั่งซื้อ 090-592-8614

ไลน์ไอดี FarmKaset หรือ ไอดี PrimPB

สั่งทางเฟสบุ๊คได้เช่นกัน https://www.facebook.com/farmkaset

หรือลาซาด้า https://www.lazada.co.th/products/fk-3-i388594842-s754764572.html

อ่าน:4277
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3.1 ประเภทของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

สารเคมีกําจัดศัตรูพืชในทางการเกษตรซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการควบคุมและกําจัด คือ สารเคมีกําจัดแมลง สารป้องกัน
กําจัดวัชพืช สารป้องกันกําจัดเชื้อราสารกําจัดหนูและสัตว์แทะ สารเคมีกําจัดหอยและปู เป็นต้น

สารเคมีกําจัดแมลง (Insecticide)
สารเคมีกําจัดแมลงเป็นสารเคมีการเกษตรที่มีจํานวนชนิดมากที่สุด สารเคมีกําจัดแมลงแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามชนิดของสารเคมีได้ 4 ประเภท คือ

1.1 กลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine) ซึ่งเป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ สารเคมีกําจัดแมลงในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันมาก เช่น ดีดีที (DDT)
ดีลดริน(Dieldrin) ออลดริน (Aldrin) ท็อกซาฟีน (Toxaphene) คลอเดน(Chlordane) และลินเดน (Lindane) เป็นต้น

1.2 กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ เช่น มาลาไธออน (Malathion) และ เฟนนิโตรไธออน
(Fenitrothion) เป็นต้น

1.3 กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamate) ซึ่งมีคาร์บาริลเป็นองค์ประกอบสําคัญ เช่น คาร์บาริล (Carbaryl) คาร์โบฟูแรน (Carbofuran) และเมโทมิล (Methomyl)
เป็นต้น

1.4 กลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroid) เป็นสารเคมีกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมีความสัมพันธ์ตามโครงสร้างของไพรีทริน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากพืชไพรีทรัม
เช่น เดลตาเมธริน (Deltamethrin) เพอร์เมธริน (Permethrin) เรสเมธริน (Resmethrin) และไบโอเรสเมธริน (Bioresmethrin) เป็นต้น

สารป้องกันกําจัดวัชพืช (Herbicide)
สารเคมีกําจัดวัชพืชแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ จำแนกตามการเลือกทำลายเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

2.1 สารชนิดเลือกทำลาย (Selective herbicide) โดยทำลายเฉพาะวัชพืช แต่ไม่เป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูก เช่น 2_4-D กำจัดวัชพืชใบกว้างโดยไม่เป็นพิษต่อ
ต้นข้าวที่เป็นพืชใบแคบ เป็นต้น

2.2 สารชนิดไม่เลือกทำลาย (Non-selective herbicide) ทำลายวัชพืชใบแคบ ใบกว้าง หรือกก แนะนำให้ใช้กำจัดวัชพืชในที่ที่ไม่มีการปลูกพืช หรือถ้าจะพ่น
ในที่ที่มีพืชขึ้นอยู่หรืออยู่ใกล้เคียง ต้องพ่นอย่างระมัดระวัง เช่น พาราควอท (Paraquat) ไกลโฟเสท (Glyphosate) เป็นต้น

สารกําจัดเชื้อรา (Fungicide) มีอยู่หลายกลุ่ม บางชนิดมีพิษน้อย แต่บางชนิดมีพิษมาก เช่น
3.1 กลุ่ม Dimethey Dithiocarbamates เช่น ไซแรม(Ziram) เฟอแบม (Ferbam) ไธแรม(Thiram) เป็นต้น มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetaldehyde
dehydrogenase เกิด Antabuse Effect ในคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย

3.2 กลุ่ม Ethylenebisdithiocarbamates เช่น มาแนบ (Maneb) แมนโคแซบ (Mancozeb) ไซแนบ (Zineb) เป็นต้น กลุ่มนี้จะถูก Metabolize เป็น
Ethylene thiourea ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์

3.3 กลุ่ม Methyl Mercury ดูดซึมได้ดีทางผิวหนังและมีพิษต่อระบบประสาท

3.4 กลุ่ม Hexachlorobenzene ยับยั้งเอนไซม์ Uroporphyrinogen Decarboxylase มีพิษต่อตับ ผิวหนัง ข้อกระดูกอักเสบ

3.5 กลุ่ม Pentachlorophenol สัมผัสมากๆ ทำให้ไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว

สารกําจัดหนูและสัตว์แทะ (Rodenticides)
สารกําจัดหนูและสัตว์แทะที่นิยมใช้กัน ส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ตัวอย่างเช่น วอฟฟาริน (Warfarin) เป็นต้น



3.2 ความเป็นพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ปัญหาสุขภาพที่สำคัญคืออันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลายเพื่อ
เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและมีเกษตรกรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีฯที่ไม่ถูกต้อง ปลอดภัย ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและ
เรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรัง
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติและโรคต่างๆ เช่น มะเร็งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้
หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรม
การใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้นทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชน และผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น

ความเป็นพิษของสารกำจัดศัตรูพืชชนิดต่างๆ

สารออร์กาโนฟอสเฟต มีฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาท รอบนอก โดยจะจับกับตัวเอ็นไซม์
โคลีนเอสเตอเรส ซึ่งมีหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทหยุดการทำงาน ผลการจับ ตัวกับเอ็นไซม์ทำให้ปริมาณของเอ็นไซม์ ลดลง และมีผลต่อกล้ามเนื้อต่าง ๆ
ต่อมต่าง ๆและกล้ามเนื้อเรียบซึ่ง ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ในการทำงานมากกว่าปกติ เนื่องจากปริมาณเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีไม่มากพอที่จะ หยุด
การทำงาน พบอาการ ม่านตาหรี่ หายใจลำบาก เวียนศีรษะ อาเจียน มือสั่น เดินโซเซ ชัก หมดสติ ระบบกล้ามเนื้อพบอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ตะคริว
ที่กล้ามเนื้อ ต่อมต่าง ๆ ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออกมา มาก ต่อมเหงื่อขับเหงื่อออกมามาก

สารคาร์บาเมต สารในกลุ่มนี้มีการออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับสารออร์กาโนฟอสเฟต แต่ความเป็นพิษน้อยกว่า อาการที่เกิดขึ้นเหมือนกับการได้รับสาร
ออร์กาโนฟอสเฟต ยกเว้นอาการชัก ไม่รู้สึกตัวเกิดขึ้นน้อย

สารออร์กาโนคลอรีน สารกลุ่มนี้ถูกดูดซึมที่ผิวหนัง เมื่อได้รับมาก ๆจะทำให้ระบบประสาทส่วนกลาง ถูกขัดขวาง พบอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เวียน
ศีรษะ ปวดศีรษะ

สารไพรีทรอยด์ เป็นสารที่มีความไวทางชีวภาพสูง และใช้แบบเจือจาง สารกลุ่มนี้ถูกกำจัดออกจาก ร่างกาย ไม่ถูกสะสมอยู่ในร่างกาย พบอาการชา
หายใจเร็วตื้น เจ็บคอ คอแห้ง แสบจมูก คันตามผิวหนัง ท้องเสีย น้ำลายไหลมาก หนังตากระตุก เดินโซเซ

สารกำจัดวัชพืช เช่น สารพาราควอท ที่ออกฤทธิ์เร็วและจะเสื่อมฤทธิ์ทันทีเมื่อตกถึงพื้นดิน สารนี้ ละลายน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี ไม่มีสี มีกลิ่นอ่อน ๆ
คล้ายกลิ่นแอมโมเนีย สารนี้มีพิษต่อผิวหนัง และเยื่อเมือกพบอาการผิวหนังแห้งแตก ผื่นแดง เป็นแผล เล็บซีดขาว เล็บเปราะ ระบบหายใจ พบอาการไอ
เลือดกำเดาไหล เจ็บคอ หากรับประทานเข้าไปทำให้เกิดพังผืดที่ปอด การหายใจล้มเหลว

สารเคมีกำจัดหนู เช่น ซิงค์ฟอสไฟต์ มีความเป็นพิษมาก เมื่อถูกน้ำและกรดในกระเพาะอาหารเกิดปฏิกิริยาได้ก๊าซพิษฟอสฟีน ทำลายเซลล์กระเพาะ
อาหาร ตับ ไต การดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทำให้มีน้ำคั่งในปอด ปวดศีรษะ หายใจขัด ความดันโลหิตสูง อาจทำให้เสียชีวิตภายในระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง

สารไธโอคาร์บาเมต เป็นสารกลุ่มรักษาโรคพืช ลักษณะอาการเกิดขึ้นมีลักษณะเหมือนไพรีทรอยด์ ทางเดินหายใจพบอาการ คอแห้ง แสบจมูก ไอ
ตาพบอาการเคืองตา ตาแดง ผิวหนัง พบอาการคันผิวหนัง มีจุดขาวที่ผิวหนัง ผื่นแดง

ความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง 12 ชนิด

สารกําจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง 12 ชนิด ที่กรมควบคุมโรคเห็นความสําคัญเป็นสารในกลุ่มเดียวกับวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเฝ้าระวังซึ่งสารกําจัด
ศัตรูพืชกลุ่มนี้เป็นสารที่อยู่ในข่ายที่ต้องเฝ้าระวังในการใช้เนื่องจากเป็นสารที่มีปริมาณการใช้มาก มีความเป็นพิษสูง หรือมีการตกค้างระยะยาวในสิ่งแวดล้อม
สารทั้ง12 ชนิดนี้ ประกอบด้วย

อัลดิคาร์บ (Aldicarb)
บลาสติซิดิน เอส ( Blasticidin-S)
คาร์โบฟูราน (Carbofuran)
ไดโครโตฟอส (Dicrotophos)
อีพีเอ็น (EPN)
อีโธโปรฟอส (Ethoprofos)
โฟมีทาเนต (Formethanate)
เมทิดาไธออน (Methidathion)
เมโทมิล (Methomyl)
อ๊อกซามิล (Oxamyl)
เอ็นโดซัลแฟน (Endosulfan)
พาราไธออนเมทธิล(Parathion Methyl)
การจัดระดับความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้ค่า ปริมาณสารเคมีต่อน้ำหนักตัวของสัตว์ทดลองที่รับเข้าไปครั้งเดียวแล้วทำให้ตายไป 50%
(LD50) และมีหลายหน่วยงานได้จัดระดับความเป็นอันตรายของสารเคมีทางการเกษตร เพื่อแยกระดับความรุนแรงของสารเคมีแต่ละชนิด โดยให้สัญลักษณ์
ของอันตรายแต่ละระดับ

อ่านต่อทั้งหมดที่ http://www.farmkaset..link..
ปุ๋ยสำหรับอ้อย เพื่อบำรุงผลผลิต การแก้โรคอ้อย ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ป้องกันกำจัดเพลี้ย ในไร่อ้อย
ปุ๋ยสำหรับอ้อย เพื่อบำรุงผลผลิต การแก้โรคอ้อย ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ป้องกันกำจัดเพลี้ย ในไร่อ้อย
ผู้ปลูกอ้อย มีความชำนาญด้านการใช้ปุ๋ยเม็ดกับไร่อ้อย เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ในครั้งนี้ เป็นการใช้ ปุ๋ยน้ำ เพื่อบำรุงอ้อย ให้เจริญเติบโตดี เพิ่มผลผลิต เพิ่มน้ำหนัก เร่งค่า CCS หรือค่าความหวาน เพื่อให้ขายอ้อยได้ราคาขึ้น

ฉีดพ่นทางใบ เพื่อเร่งการเจริญเติบโต เพิ่มความเขียว สมบูรณ์แข็งแรง เร่งการย่างปล้องให้เร็วขึ้น ฉีดพ่นด้วย FK-1 สามารถฉีดพ่นได้ตั้งแต่อ้อยมีอายุ 15 วัน ไปจนถึง 3 เดือน ฉีดพ่นได้ทุกๆ 15-30 วัน

FK-1 ใช้บำรุงให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง เร่งโต และเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง
สามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)

เมื่ออ้อย เข้าสู่ระยะ 4 เดือนแล้ว เปลี่ยนมาใช้ FK-3S สำหรับอ้อยโดยเฉพาะ ตัว FK-3S นี้ จะเน้นไปที่ธาตุ โพแตสเซียม สูงกว่าธาตุอื่นๆ เพื่อส่งเสริมกระบวนการสะสมแป้งและน้ำตาล ทำให้อ้อยขยายขนาดลำได้ใหญ่ขึ้น และมีค่าความหวาน หรือค่า CCS ที่สูงขึ้น ได้น้ำหนักดี สามารถฉีดพ่นได้ในช่วงอายุ 4-6 เดือน ฉีดพ่นทุก 15-30 วัน ตามความเหมาะสม

ป้องกัน กำจัดเพลี้ยอ้อย เพลี้ยอ่อน และเพลี้ยต่างๆในไร่อ้อย
ฉีดพ่นด้วย มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด หากฉีดเฉพาะต้นที่เป็น เพลี้ยก็ย้ายไปอยู่บริเวณข้างเคียงโดยรอบ ฉนั้น ควรฉีดพ่นให้คลอบคลุมทั้งแปลง

ยับยั้งโรคอ้อย ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ เช่น โรคแซ่ดำ ใบจุดวงแหวน ราสนิม เน่าคออ้อย
ฉีดพ่นด้วย ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด

การฉีดพ่น มาคา เพื่อกำจัดเพลี้ย หรือ ไอเอส เพื่อยับยั้งโรครา สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อเร่งให้พืชฟื้นตัวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และกลับมาเจริญเติบโต สมบูรณ์แข็งแรง

อ่าน:4171
เพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ด้วย FK-1 890บาท และ FK-3S 950บาท ใช้ได้ 5 ไร่

ปุ๋ยเร่งผลผลิตมันสำปะหลัง มันโตไว ต้นสมบูรณ์ ต้านทานต่อโรค ผลผลิตดี เปอร์เซ็นแป้งสูง น้ำหนักดี

สั่งซื้อได้ 3 ช่องทาง
โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกเพื่อแอดไลน์ http://line.me/ti/p/~FarmKaset เฟสบุ๊คแชทสั่งซื้อ https://www.facebook.com/farmkaset มีเจ้าหน้าที่คอยตอบตลอดเวลา

https://www.youtube.com/watch?v=ME4UowuFPKU
อ่าน:4171
วิธีปลูกทุเรียนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว
วิธีปลูกทุเรียนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว
เมื่อถึงฤดูกาลของผลไม้สีเหลืองกลิ่นยั่วใจ คนที่ชื่นชอบการทานทุกเรียนจะต้องยอมจ่ายเงินซื้อทุเรียนกินทุกครั้งไป และบางคนอาจอยากรู้สึกลองปลูกทุเรียนดูบ้าง แต่หลายคนก็บอกว่าปลูกทุเรียนมันยาก มักไม่ค่อยรอด เรามีคำแนะนำการปลูกทุเรียนจากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นข้อมูลให้เบื้องต้น

พันธุ์ทุเรียน

ชะนี
ข้อดี

-ทนทานต่อโรครากเน่า โคนเน่าพอสมควร
-ออกดอกง่าย
-เนื้อแห้ง รสดี สีสวย

ข้อเสีย

-ออกดอกดกแต่ติดผลยาก
-เป็นไส้ซึมง่าย
-อ่อนแอต่อโรคใบติด

หมอนทอง

ข้อดี

-ราคาสูงกว่าพันธุ์อื่น
-ติดผลดีมาก น้ำหนักผลดี
-เนื้อมาก เมล็ดลีบ มีกลิ่นน้อย เนื้อละเอียดแห้ง ไม่เละ ผลสุกแล้วเก็บไว้ได้นาน
-ไม่ค่อยเป็นไส้ซึม

ข้อเสีย

-อ่อนแอต่อโรครากเน่าโคนเน่า

ก้านยาว

ข้อดี

-ติดผลดี
-ราคาค่อนข้างดี
-น้ำหนักผลดี

ข้อเสีย

-ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรค รากเน่า โดนเน่า
-เปลือกหนา
-เนื้อน้อย
-เป็นไส้ซึมค่อนข้างง่าย
-ผลสุกเก็บไว้ได้ไม่นาน กันผลแตกง่าย
-อายุการให้ผลช้า

กระดุม

ข้อดี

-ไม่มีปัญหาไส้ซึมเพราะเป็นพันธุ์เบาเก็บเกี่ยวก่อนฝนตกชุก
-ออกดอกเร็วผลแก่เร็วจึงขายได้ราคาดีในช่วงต้นฤดู
-ผลดก ติดผลง่าย
-อายุการให้ผลเร็ว

ข้อเสีย

-อ่อนแอต่อโรครากเน่าโดนเน่า

การเลือกพื้นที่ปลูกทุเรียนควรคำนึงถึง

1.แหล่งน้ำ ต้องมีแหล่งน้ำจืดให้ต้นทุเรียนได้เพียงพอตลอดปี

2.อุณหภูมิและความชื้น ทุเรียนชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วงประมาณ 25-30 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 75-85% ถ้าปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศแห้งแล้งมีอากาศร้อนจัดเย็นจัดและมีลมแรงจะพบปัญหาใบไหม้หรือใบร่วง ต้นทุเรียนไม่เจริญเติบโตหรือเติบโตช้า ให้ผลผลิตช้าและน้อยไม่คุ้มต่อการลงทุน

3. สภาพดินควรเป็นดินร่วนดินร่วนปนทรายดินเหนียวปนทรายที่มีการระบายนํ้าดีและมีหน้าดินลึกเพราะทุเรียนเป็นพืชที่อ่อนแอต่อสภาพนํ้าขังความเป็นกรดด่างของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ถ้าจําเป็นต้องปลูกทุเรียนในสภาพดินทรายจําเป็นต้องนําหน้าดินจากแหล่งอื่นมาเสริมต้องใส่ปุ๋ยคอกและต้องดูแลเรื่องการให้นํ้ามากเป็นพิเศษแหล่งนํ้าต้องเพียงพอ

การปลูก

ฤดูปลูก ถ้ามีการจัดระบบการให้นํ้าอย่างมีประสิทธิภาพสามารถดูแลให้นํ้ากับต้นทุเรียนได้สมํ่าเสมอช่วงหลังปลูกควรปลูกตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายนแต่ถ้าหากจัดระบบนํ้าไม่ทันหรือยังไม่อาจดูแลเรื่องนํ้าได้ควรปลูกต้นฤดูฝนเตรียมพื้นที่การปลูกทุเรียน

1. ไถขุดตอขุดรากไม้เก่าออกจากแปลง
- พื้นที่ดอนไม่มีปัญหานํ้าทวมขัง : ไถกําจัดวัชพืชอย่างเดียว
- พื้นที่ดอนมีแอ่งที่ลุ่มนํ้าขัง : ไถปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ
- พื้นที่ลุ่มหรือตํ่ามีนํ้าท่วมขัง : ทําทางระบายนํ้าหรือยกร่อง

2. กําหนดระยะปลูก
ระยะระหว่างต้นและระยะระหว่างแถวด้านละ 9 เมตรปลูกได้ไร่ละ 20 ต้นการทําสวนขนาดใหญ่ควรขยายระยะระหว่างแถวให้กว้างขึ้นเพื่อสะดวกต่อการนําเครื่องจักรกลต่างๆไปทํางานในระหว่างแถว
3. วางแนวและปักไม้ตามระยะปลูกที่กําหนด
วางแนวกําหนดแถวปลูกโดยคํานึงว่าแนวปลูกขวางความลาดเทของพื้นที่หรืออาจกําหนดในแนวตั้งฉากกับถนนหรือกําหนดแถวปลูกไปในแนวทิศตะวันออกตะวันตกและถ้ามีการจัดวางระบบนํ้าต้องพิจารณาแนวทางจัดวางท่อในสวนด้วยจากนั้นจึงปักไม้ตามระยะที่กําหนดเพื่อขุดหลุมปลูกต่อไปวิธีการปลูกทุเรียนทําได้ 2 ลักษณะ

1. วิธีการขุดหลุมปลูกเหมาะกับสวนที่ไม่มีการวางระบบนํ้า
2. วิธีการปลูกแบบไม่ขุดหลุมเหมาะกับสวนที่จัดวางระบบนํ้ามีข้อดีคือประหยัดแรงงานค่าใช้จ่ายในการขุดหลุมดินระบายนํ้าและอากาศดีรากเจริญเร็ว

การปลูกทุเรียนแบบขุดหลุมปลูก

1. ขุดหลุมมีขนาดกว้างยาวและลึกด้านละ 50 เซนติเมตร

2. ผสมปุ๋ยคอกเก่าประมาณ 5 กิโลกรัมและปุ๋ยหินฟอสเฟตครึ่งกิโลกรัมคลุกเคล้ากับดินที่ขุดขึ้นมากลบกลับคืนไปในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม

3. เตรียมต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์ไม่เป็นโรคไม่มีแมลงทําลายและมีใบยอดคู่สุดท้ายแก้ระบบรากแผ่กระจายดีไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง

4. ใช้มีดกรีดก้นถุงออกถ้าพบรากขดงออยู่ก้นถุงให้ตัดออก

5. วางถุงต้นกล้าที่ตัดก้นถุงออกแล้ววางลงตรงกลางหลุมจัดให้ตรงแนวกับต้นอื่นๆ พร้อมทั้งปรับระดับสูงตํ่าของต้นทุเรียนให้รอยต่อระหว่างรากกับลําต้นหรือระดับดินปากถุงเดิมสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย

6. ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงจากล่างขึ้นบนทั้งสองด้าน

7. ดึงถุงพลาสติกออกระมัดระวังอย่าให้ดินในถุงแตก

8. กลบดินที่เหลือลงไปในหลุมอย่ากลบดินสูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ

9. ปักไม้หลักข้างต้นทุเรียนที่ปลูกแล้วพร้อมทั้งผูกเชือกยึดไว้เพื่อป้องกันลมพัดโยก

10. กดดินบริเวณโคนต้นหาวัสดุคลุมโคนต้นแล้วรดนํ้าตามให้โชก

11. จัดทําร่มเงาให้ต้นทุเรียนที่เพิ่งปลูกโดยใช้ทางมะพร้าวทางจากแผงหญ้าคาทางระกําหรือตาข่ายพรางแสงเมื่อทุเรียนตั้งตัวดีแล้วควรปลดออกหรืออาจปลูกไม้เพื่อให้ร่มเงาเช่น กล้วยก็จะช่วยเป็นร่มเงาและเพิ่มความชื้นในสวนทุเรียนได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่อากาศแห่งและมีแสงแดดจัด

12. แกะผ่าพลาสติกที่พันรอยเสียบยอดหรือทาบออกเมื่อปลูกไปแล้วประมาณ1-2 เดือน

การปลูกทุเรียนแบบไม่ขุดหลุม

1. โรยปุ๋ยหินฟอสเฟต 500 กรัมหรือประมาณหนึ่งกระป๋องนมครึ่งตรงตําแหน่งที่ต้องการปลูกกลบดินบางๆ

2. นําต้นพันธุ์มาวางแล้วถากดินข้างๆ ขึ้นมาพูนกลบแต่ถ้าหากเป็นดินร่วนปนทรายดินทรายดินจะไม่เกาะตัวกันควรใช้วิธีขุดหลุมปลูกหรือจะใช้วิธีดัดแปลง

3. วิธีดัดแปลงคือนําหน้าดินจากแหล่งอื่นมากองตรงตําแหน่งที่จะปลูกกองดินควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ1เมตรสูง15 เซนติเมตรแหวกกลางกองดินโรยปุ๋ยหินฟอสเฟตในช่องที่แหวกไว้กลบดินบางๆ วางต้นพันธุ์ดีลงตรงช่องที่แหวกไว้กลบดินทับ

4. การแกะถุงออกต้องระมัดระวังอย่าให้ดินแตกอาจทําได้โดยกรีดก้นถุงออกก่อนแล้วนําไปวางในตําแหน่งที่ปลูกกรีดถุงพลาสติกให้ขาดจากล่างขึ้นบนแล้วจึงค่อยๆ ดึงถุงพลาสติกออกเบาๆ

5. ระมัดระวังอย่ากลบดินให้สูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ

6. หาวัสดุคลุมโคนและจัดทําร่มเงาให้กับต้นทุเรียนเหมือนการปลูกโดยวิธีขุดหลุม

การปฏิบัติดูแลรักษาทุเรียน

การปฏิบัติดูแลทุเรียนในช่วงก่อนให้ผลผลิต

เป็นสิ่งสําคัญที่จะทําใหญ่ทุเรียนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และให้ผลผลิตได้เร็วขึ้น

1.ในระหว่างรอทุเรียนให้ผลผลิตในช่วงแรกควรปลูกพืชแซมเสริมรายได้โดยเลือกพืชให้ตรงกับความต้องการของตลาด

2. เมื่อตรวจพบทุเรียนตายหลังปลูกให้ทําการปลูกซ่อม

3. การให้นํ้าช่วงเวลาหลังจากปลูกจะตรงกับฤดูฝนถ้ามีฝนตกหนักควรทําทางระบายนํ้าและตรวจดูบริเวณหลุมปลูกถ้าดินยุบตัวเป็นแอ่งมีนํ้าขังต้องพูนดินเพิ่มถ้าฝนทิ้งช่วงควรรดนํ้าให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอในปีต่อๆไปควรดูแลรดนํ้าให้ต้นไม้ผลอย่างสมํ่าเสมอและในช่วงฤดูแล้งควรใช้วัสดุคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นในดินเช่นฟางข้าวหญ้าแห้ง

4. การตัดแต่งกิ่ง
ปีที่1-2 ไม่ควรตัดแต่ง ปล่อยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตอย่างเต็มที่
ปีต่อๆ ไปตัดแต่งกิ่งแห้งกิ่งแขนงกิ่งกระโดงในทรงพุ่มกิ่งเป็นโรคออกเลี้ยงกิ่งแขนงที่สมบูรณ์ที่อยู่ในแนวขนานกับพื้น (กิ่งมุมกว้าง) ไว้ในปริมาณและทิศทางเหมาะสมโดยให้กิ่งล่างสุดอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 80-100 เซนติเมตร

5. การป้องกันกําจัด
ชวงแตกใบอ่อน : ควรป้องกันกําจัดโรคใบติดเพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟไรแดงช่วงฤดูฝน:ป้องกันกําจัดโรครากเน่าโคนเน่าและควบคุมวัชพืชโดยการปลูกพืชคลุมดินและอาจจะกําจัดโดยใช้แรงงานขุดถากถอนตัดพยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเพราะต้นทุเรียนยังเล็กอยู่ละอองสารเคมีอาจจะไปทําลายต้นทุเรียน

6. การทําร่มเงา
ในช่วงฤดูแล้งแสงแดดจัดมากทําให้ทุเรียนใบไหม้ได้ ควรทําร่มเงาให้

7. การใส่ปุ๋ยควรทําดังนี้
- ใส่ปุ๋ยหลังจากตัดแต่งกิ่ง-
- ใส่ปุ๋ยพร้อมกับการทําโคน คือถากวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่มหว่านปุ๋ยและพรวนดินนอกชายพุ่มขึ้นมากลบใต้ทรงพุ่มให้มีลักษณะเป็นหลังเต่า และขยายขนาดของเนินดินให้กว้างขึ้นตามขนาดของทรงพุ่มหรือจะใส่ปุ๋ยโดยวิธีใช้ไม้ปลายแหลมแทงดินเป็นรูหยอดปุ๋ยใส่และปิดหลุมเป็นระยะให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่มวิธีหลังนี้แม้จะเปลืองแรงงานแต่ช่วยลดการสูญเสียของปุ๋ยจากการระเหยหรือถูกนํ้าชะพา
- หว่านปุ๋ยคอกก่อนและตามด้วยปุ๋ยเคมี
- ควรใส่ปุ๋ยในบริเวณใต้ทรงพุ่มโดยรอบและให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 20-30เซนติเมตรขึ้นไปขึ้นกับขนาดทรงพ่มปริมาณและเวลาใส่ปุ๋ย
ปีที่1 : ใส่ปุ๋ยและทําโคน 4 ครั้ง (เดือนเว้นเดือน)
ครั้งที่1-3 ใส่ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ1ปีบ)
ครั้งที่ 4 - ใส่ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ1ปีบ)

- ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 หรือ16-16-16 ประมาณ150-200 กรัมต่อต้น (ครึ่งกระป๋องนมข้น)ปีต่อๆไป(ระยะที่ทุเรียนยังไม่ให้ผลผลิต):ใส่ปุ๋ยและทําโคน 2 ครั้ง (ต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน)ครั้งที่1 (ต้นฝน) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 หรือ16-16-16ประมาณครึ่งถึง 3 กิโลกรัมต่อต้นครั้งที่ 2 (ปลายฝน) ใส่ปุ๋ยคอก15-50 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ 3-10 ปีบ)ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 หรือ16-16-16 ประมาณครึ่งถึง 3 กิโลกรัมต่อต้นปริมาณปุ๋ยเคมีที่ใส่ในแต่ละครั้งขึ้นกับขนาดของทรงพุ่มโดยยึดหลักว่าวัดจากโคนต้นมายังชายพุ่มเป็นเมตรได้เท่าไรคือจํานวนปุ๋ยเคมีที่ใส่เป็นกิโลกรัมเช่นระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม1เมตรใส่ปุ๋ย1กิโลกรัมระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 2 เมตรใส่ปุ๋ย 2 กิโลกรัมระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 2 เมตรครึ่งใส่ปุ๋ย 2 กิโลกรัมครึ่ง

การปฏิบัติดูแลทุเรียนในช่วงให้ผลแล้ว

เป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้ทุเรียนออกดอกติดผลมากและให้ผลผลิตคุณภาพดีการเตรียมต้นให้พร้อมที่จะออกดอกคือการเตรียมให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์มีอาหารสะสมเพียงพอเมื่อทุเรียนมีใบแก่ทั้งต้นและสภาพแวดล้อมเหมาะสมฝนแล้งดินมีความชื้นตํ่าอากาศเย็นลงเล็กน้อยทุเรียนก็จะออกดอกขั้นตอนต่างๆ จะต้องรีบดําเนินการภายหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตดังนี้

1. การตัดแต่งกิ่ง
หลังเก็บเกี่ยวให้รีบตัดแตงกิ่งแห้งกิ่งเป็นโรคกิ่งแขนงด้านในทรงพุ่มออกโดยเร็วทารอยแผลที่ตัดด้วยสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อราหรือปูนแดงกินกับหมาก
2. หลังตัดแต่งกิ่งให้กําจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยทันที
- ปุ๋ยคอก15-50 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ 3-10 ปีบ)
- ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 หรือ16-16-16 ในอัตรา 3-5 กก. ต่อต้น (ทุเรียนต้นที่ขาดความสมบูรณ์ต้องการปุ๋ยมากกว่าทุเรียนต้นที่มีความสมบูรณ์อยู่แล้วทุเรียนต้นที่ให้ผลผลิตไปมากต้องการปุ๋ยมากกว่าทุเรียนที่ให้ผลผลิตน้อย)

3. ในช่วงฤดูฝน

-ถ้าฝนตกหนักจัดการระบายนํ้าออกจากแปลงปลูก

- ถ้าฝนทิ้งช่วงให้รดนํ้าแก่ต้นทุเรียน

- ควบคุมวัชพืชโดยการตัดและหรือใช้สารเคมี

- ป้องกันกําจัดโรคแมลงเช่นโรครากเน่าโคนเน่าโรคใบติดโรคแอนแทรกโนสเพลี้ยไก่แจ ไรแดงและเพลี้ยไฟ


4. ในช่วงปลายฤดูฝน


-เมื่อฝนทิ้งช่วงใหญ่ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24_ 9-24-24 หรือ12-24-12 2-3 กก.ต่อต้นเพื่อช่วยในการออกดอก

- ให้กําจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มกวาดเศษหญ้าและใบทุเรียนออกจากโคนต้นเพื่อให้ดินแห้งเร็วขึ้น

-งดการให้นํ้า 10-14 วันเมื่อสังเกตเห็นใบทุเรียนเริ่มลดลงต้องเริ่มให้นํ้าทีละน้อยเพื่อกระตุ้นให้ตามดอกเจริญอย่าปล่อยให้ขาดนํ้านานจนใบเหลืองใบตกเพราะตาดอกจะไม่เจริญและระวังอย่าให้นํ้ามากเกินไปเพราะช่อดอกอาจเปลี่ยนเป็นใบได้วิธีให้นํ้าที่เหมาะสมคือให้นํ้าแบบโชยๆ แล้วเว้นระยะสังเกตอาการของใบและดอกเมื่อเห็นดอกระยะไข่ปลามากพอแล้วก็เพิ่มปริมาณให้มากขึ้นเรื่อยๆจนสู่สภาวะปกติ

เอกสารประกอบการเรียบเรียง
1. สํานักงานส่งเสริมการเกษตรภาคกลาง_ 2534_ เอกสารวิชาการการบริหารศัตรูไม้ผลโดยวิธีผสาน. ชัยนาท. หน้า1/1-1/21.
2. สํานักงานส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออก_ 2534_ ทุเรียนภาคตะวันออก. ระยอง. 118หนา.
3. สมาคมชาวสวนผลไม้จังหวัดระยองและสํานักงานเกษตรจังหวัดระยอง_2536_ บันทึกชาวสวนผลไม้_ ระยอง. 102 หน้า.
4. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี_ 2533_ ปัจจัยและเทคนิคการเพิ่มการติดผลในทุเรียน. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีเพื่อการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ. วันที่ 27 ธันวาคม2533. 39 หน้า.
5. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี_ 2534_ ปัจจัยและการจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตของทุเรียน.เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีเพื่อการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพวันที่ 9มกราคม 2534. 26 หน้า.
6. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี_ 2534_ การเตรียมสภาพต้นเพื่อการชักนําให้ออกดอก. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีเพื่อการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพวันที่13 มิถุนายน2534. 16 หน้า.
7. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี_ 2536. เอกสารวิชาการพัฒนาการใช้สารคัลทาร์กับการผลิตทุเรียนก่อนฤดู. กรมวิชาการเกษตร_30 หน้า.8. หิรัญหิรัญประดิษฐ์และคณะ_ 2536. เทคนิคการผลิตทุเรียนก่อนฤดู_ วารสารส่งเสริมการเกษตรปีที่ 23 ฉบับที่ 67 มิถุนายน 2536. หน้า 2-9.

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:4121
ความหมายของสูตรปุ๋ย ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 0-0-60 หรือ 18-46-0 หรือ 46-0-0 หรือ x-x-x ... หมายความว่าอะไร
ความหมายของสูตรปุ๋ย ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 0-0-60 หรือ 18-46-0 หรือ 46-0-0 หรือ x-x-x ... หมายความว่าอะไร
เพื่อนๆเคยสงสัยกันไหมว่า เวลาเราไปซื้อปุ๋ย เพื่อใส่กับพืชที่เราปลูก เช่น ไปซื้อปุ๋ย แล้วได้สูตร 16-16-16 หรือสูตรอื่นๆมานั้น ตัวเลข 3 หลังนั้น หมายความว่าอย่างไร

จริงๆแล้ว ตัวเลข 3 หลักนั้น หมายถึง ธาตุอาหารพืช ถูกวางเรียงกันดังนี้
ไนโตรเจน(N)-ฟอสฟอรัส(P)-โพแตสเซียม(K) เช่น 15-15-15 แปลว่า ปุ๋ยสูตรนี้ ประกอบไปด้วย ไนโตรเจน15เปอร์เซนต์ - ฟอสฟอรัส15เปอร์เซนต์ - โพแตสเซียม15เปอร์เซนต์

ทำไม.. ปุ๋ยส่วนมาก เน้นแต่ 3 ธาตุอาหาร N-P-K ล่ะ

ตอบว่า มหาสารอาหาร (macronutrients) คือกลุ่ม ธาตุอาหารพืช ที่จำเป็นต่อพืชมากที่สุด มีอยู่ 9 ธาตุ
1.คาร์บอน 2.ไฮโดรเจน 3.ออกซิเจน
4.ไนโตรเจน 5.ฟอสฟอรัส 6.โพแทสเซียม
7.กำมะถัน 8.แคลเซียม 9.แมกนีเซียม

แล้วทำไม.. ให้แค่ 3 ตัวล่ะ มีทั้งหมด 9 ธาตุ
คาร์บอน พืชได้รับจากขบวนการสังเคราะห์แสง โดยรับคาร์บอนไดออกไซด์มาจากอากาศ
ไฮโดรเจน พืชได้รับไฮโดรเจนส่วนใหญ่จากน้ำ
ออกซิเจน พืชได้รับออกซิเจน จากกระบวนการสังเคราะห์แสง

ตัดออกไป 3 เหลืออีก 6 ธาตุ
macronutrients แบ่งเป็น สองกลุ่ม
1.ธาตุอาหารหลัก (primary macronutrients) ได้แก่ ไนโตรเจน (N)_ ฟอสฟอรัส (P)_ และ โพแทสเซียม (K)
2.ธาตุอาหารรอง (secondary macronutrients) ได้แก่ แคลเซียม (Ca)_แมกนีเซียม (Mg)_ และ ซัลเฟอร์(กำมะถัน) (S)

จะเห็นได้แล้วว่า N_ P_ K หรือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแตสเซียมนั้น จัดเป็น ธาตุอาหารหลัก
คำว่า หลัก ก็คือสำคัญที่สุดพืชต้องการเยอะ ก็เลยต้องเติม 3 ธาตุนี้ มากที่สุด ปุ๋ยสูตร จึงเน้น 3 ธาตุนี้เป็นหลัก หากพืชที่ปลูกพืช ไม่โดนปลูกซ้ำแล้วซ้ำเล่าหลายสิบปี และสภาพดินไม่แย่ ก็อาจจะไม่ขาด ธาตุอาหารอื่นๆ เลยเติมเฉพาะ 3 ธาตุหลักนี้

แต่ปัจจุบัน การปลูกพืชเมืองไทย ทำเกษตรมานานซ้ำที่เดิมมาหลายสิบปี และไม่ค่อยได้เติมอินทรียวัตถุ จึงอาจจะเกิดอาการขาดธาตุรอง แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถันด้วย หลายๆแปลงเกษตร จึงจำเป็นต้องใช้พวก สารปรับสภาพดิน และปุ๋ยธาตุเสริมต่างๆ

เราควรซื้อ ปุ๋ยสูตรอะไรดี?

ในบทความนี้ ขอตอบแบบง่ายๆ จำได้ง่ายๆเลย ให้จำดังนี้
N-P-K
คือ ไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส-โพแตสเซียม
คือ ต้น-ดอกและระบบราก-ผลผลิต
อยากเร่งต้น เร่งโต เร่งใบ ใช้ปุ๋ยสูตรเลขตัวหน้า หรือ N สูง กว่า ตัวกลาง และ ตัวหลัง
อยากเร่งดอก เร่งราก ใช้ปุ๋ยเลขตัวกลาง หรือ P สูงกว่า ตัวหน้า และ ตัวหลัง
อย่างเร่งผลผลิต ผลโต เพิ่มความหวาน เร่งน้ำยาง ใช้ปุ๋ยเลขตัวหลัง หรือ K สูงกว่า ตัวหน้า และ ตัวกลาง

เช่น
46-0-0 แม่ปุ๋ยเร่งต้น
18-46-0 แม่ปุ๋ยเร่งดอกเร่งราก
0-0-60 แม่ปุ๋ยเร่งผลผลิต
เป็นต้น

สินค้าจากเรา ปุ๋ยน้ำ FK-1 ที่ประกอบด้วย ปุ๋ยสูตร 20-20-20 บวกด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม และ สังกะสี ใช้ เร่งการเจริญเติบโต แตกยอด ผลิใบ สร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง พืชจึงต้านทานต่อโรคได้ดีขึ้น

เขียนโดย FarmKaset.ORG อ้างอิง WiKi Pedia
3562 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 2 รายการ
|-Page 4 of 357-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 | 353 | 354 | 355 | 356 | 357 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคพืชที่เกิดในหน้าร้อน โรคแอนแทรคโนส โรคเน่า เชื้อราต่างๆ ฯลฯ ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัย
Update: 2566/07/14 11:54:00 - Views: 3411
ป้องกัน กำจัด เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยต่างๆ และ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ใช้ได้กับพืชทุกชนิด (1ลิตร ผสมน้ำได้ 400ลิตร)
Update: 2564/08/16 01:35:22 - Views: 3433
ป้องกัน กำจัด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยต่างๆ และ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ใช้ได้กับพืชทุกชนิด (1ลิตร ผสมน้ำได้ 400ลิตร)
Update: 2564/08/16 01:33:58 - Views: 3486
กำจัดเชื้อรา มังคุด ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/13 10:27:13 - Views: 3411
โรคราแป้งมะเขือ ราแป้งพริก ราแป้งมะเขือม่วง แก้ด้วย ไอเอส
Update: 2562/08/19 21:46:55 - Views: 3732
ปุ๋ยสำหรับข้าว ปุ๋ยเพิ่มผลผลิตข้าว ยาแก้โรคใบไหม้ เน่าคอรวง ยากำจัดเพลี้ยในนาข้าว
Update: 2563/06/18 17:22:27 - Views: 3445
ประโยชน์ของปุ๋ย FK-1 สำหรับพืชทุกชนิด
Update: 2566/02/08 06:22:15 - Views: 3400
น้อยหน่า โตไว ใบเขียว เร่งราก เร่งดอก ขยายขนาด ผลใหญ่ ผลดก เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ย สตาร์เฟอร์
Update: 2567/03/29 15:41:56 - Views: 3433
การดูแลรักษาในระยะก่อนให้ผล การให้ปุ๋ยทุเรียน
Update: 2564/09/02 12:12:45 - Views: 3419
การป้องกันกำจัดโรคเชื้อราในพืชผักชี
Update: 2566/05/06 10:20:58 - Views: 3465
ดอกกุหลาบ ใบไหม้ ใบจุด ราแป้ง ราน้ำค้าง ราสีเทา โรคราต่างๆ กำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟูด้วย ปุ๋ย FK-T
Update: 2567/03/27 11:56:12 - Views: 3436
แนวทางการจัดการและป้องกันการทำลายของหนอนในต้นน้อยหน่า
Update: 2566/11/24 09:44:04 - Views: 3385
หนอนศัตรูพืช กำจัดด้วย ไอกี้บีที ตายใน 24-48 ชั่วโมง ปลอดสารพิษ ปลอดภัย กำจัดหนอนต่างๆ ใช้ได้กับทุกพืช
Update: 2563/04/18 11:07:08 - Views: 3397
แนวทางการรักษาและป้องกันโรคเชื้อราในต้นมะกรูด
Update: 2566/11/23 09:32:40 - Views: 3473
ฆ่าหนอน เยอบีร่า หนอนทุกชนิด ปลอดสารพิษ ไอกี้ และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช) โดย FK
Update: 2565/08/09 17:09:50 - Views: 3423
ยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง กู๊ดโซค
Update: 2564/08/27 23:31:07 - Views: 3454
กำจัดเพลี้ย ใน ดอกดาวเรือง เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/09 15:12:16 - Views: 3402
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค - ฟื้นฟูระบบรากและดินให้เผือกเติบโตแข็งแรง
Update: 2567/02/13 09:26:36 - Views: 3442
แตงโม เถาว์เหี่ยว ราน้ำค้างแตงโม กำจัดโรคแตงโม จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/25 10:34:45 - Views: 3416
ปุ๋ยสำหรับมะพร้าว
Update: 2564/05/07 08:10:37 - Views: 3680
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022