[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3562 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 2 รายการ

ไบโอเทคพัฒนาวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ อินทผลัม
นักวิจัย ไบโอเทค-สวทช. ใช้ไบโอรีแอคเตอร์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นอินทผลัมพันธุ์บาฮีเชิงการค้าสำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย แก้ปัญหาเกษตรกรเสี่ยงปลูกอินทผลัมเพาะเมล็ดแล้วไม่ได้คุณภาพของผลผลิตตามต้องการ ช่วยลดการนำเข้าต้นกล้าอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากต่างประเทศ ตั้งเป้าขยายผลเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์ หวังช่วยผู้ประกอบการสร้างรายได้และกระจายโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยเข้าถึง

“อินทผลัม” เป็นผลไม้โบราณรสหอมหวานฉ่ำจากดินแดนตะวันออกกลางที่มีสรรพคุณมากมายและได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยเฉพาะพันธุ์บาฮี พันธุ์รับประทานผลสดและเป็นพันธุ์การค้ายอดนิยม ให้ผลผลิตสูง สามารถปลูกได้ดีในประเทศไทย ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้อินทผลัมขึ้นแท่นเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่มาแรงที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรไทยเป็นกอบเป็นกำ ทั้งการปลูกเพื่อจำหน่ายผลผลิตและการจำหน่ายต้นกล้าอินทผลัมนำเข้าจากต่างประเทศ

เพื่อส่งเสริมการผลิตอินทผลัมให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดและกระจายโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงพืชเศรษฐกิจชนิดนี้ได้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับคุณประพัฒน์ วนาพิทักษ์ ประธานบริษัท พี โซลูชัน จำกัด จึงได้พัฒนาเทคนิคการขยายพันธุ์อินทผลัมพันธุ์บาฮีในเชิงการค้า โดยใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อร่วมกับระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) ทำให้สามารถขยายต้นกล้าอินทผลัมพันธุ์บาฮีในห้องปฏิบัติการในระดับเชิงพาณิชย์ได้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สวทช. ด้วย

ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต นักวิจัยไบโอเทค สวทช. เปิดเผยว่าอินทผลัมเป็นพืชแยกต้นเพศผู้และเพศเมีย เกษตรกรจะปลูกให้ได้ผลผลิตจะต้องปลูกต้นเพศเมียเท่านั้น แต่การเพาะเมล็ดอินทผลัมนั้นนอกจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดการกลายพันธุ์แล้ว ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะได้ต้นเพศผู้มากกว่าต้นเพศเมีย และจะทราบก็ต่อเมื่อปลูกไปแล้ว 2-3 ปี จนกระทั่งพืชออกดอก ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะสามารถส่งตรวจทดสอบเพศของต้นอินทผลัมได้แล้ว แต่ก็ไม่การันตีถึงคุณภาพของผลผลิตที่ได้รับ ทำให้เกษตรกรเสียเวลาและเกิดความเสียหายอย่างมาก เกษตรกรรายใหญ่จึงมักเลือกซื้อต้นกล้าอินทผลัมที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากต่างประเทศมาปลูก ซึ่งมีราคาสูงแต่รับประกันได้ว่าเป็นต้นเพศเมียและให้ผลผลิตแน่นอน

“อินทผลัมเป็นพืชตระกูลปาล์ม ซึ่งการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชตระกูลปาล์มนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นพืชที่โตช้า ดังนั้นการพัฒนาเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการจึงช้าไปด้วย ปัจจุบันยังไม่มีห้องปฏิบัติการแห่งไหนในประเทศสามารถผลิตต้นอินทผลัมพันธุ์บาฮีเพศเมียจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อระดับเซลล์ได้ ทางทีมวิจัยก็ได้รับโจทย์นี้มาจากผู้ประกอบการและเกษตรกรที่สนใจการขยายพันธุ์อินทผลัมพันธุ์บาฮีด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จึงได้เริ่มทำวิจัยโดยคัดเลือกต้นอินทผลัมเพศเมียสายพันธุ์บาฮีที่มีลักษณะดีเพื่อใช้เป็นต้นแม่ แล้วนำเนื้อเยื่อเจริญส่วนยอดและใบอ่อนของต้นแม่มาเพาะเลี้ยงด้วยอาหารสังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเป็นเวลากว่า 1-2 ปี จนสามารถชักนำให้เกิดการพัฒนาเป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่าแคลลัส และแคลลัสสามารถเจริญไปเป็นยอดอ่อนได้”

“ที่ผ่านมาทำวิจัยในปาล์มน้ำมัน พบว่ากว่าจะเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมันให้เกิดเป็นต้นอ่อนขึ้นในขวดแก้วได้ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี แต่ในอินทผลัมเราสามารถทำได้เร็วกว่าปาล์มน้ำมัน โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี ก็เริ่มเห็นเป็นยอดอ่อนสีเขียวเกิดขึ้นบนแคลลัสแล้ว ยอดอ่อนสีเขียวที่เห็นนี้ถือว่าสำเร็จไปแล้ว 80% และจากประสบการณ์ของทีมวิจัย เราเห็นแนวโน้มว่าจะพัฒนาไปเป็นต้นและขยายได้ไม่ต่ำกว่า 1_000 ต้นในปีหน้า ซึ่งเราใช้ระบบไบโอรีแอคเตอร์เข้ามาช่วยเร่งการเจริญเติบโต และคาดว่าน่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 6 เดือน อินทผลัมบาฮีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของเราจะเจริญเป็นต้นที่สมบูรณ์ พร้อมนำลงปลูกในดิน”

สำหรับไบโอรีแอคเตอร์เป็นระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อด้วยอาหารเหลวแบบกึ่งจมที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้น ซึ่งช่วยลดปัญหาของการเพาะเลี้ยงด้วยอาหารแข็ง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเจริญและพัฒนาเนื้อเยื่อไปเป็นต้นอ่อน ทำให้สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วกว่าวิธีการใช้อาหารแข็งปกติประมาณ 3-4 เท่า ทั้งยังช่วยลดต้นทุนและประหยัดแรงงานในการดูแลย้ายอาหารของต้นอ่อนในห้องปฏิบัติการ

“อินทผลัมเป็นพืชมูลค่าสูง ผลสดเป็นที่ต้องการสูงในตลาด มีราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ 500-800 บาท ทั้งบริโภคในประเทศและส่งออก โดยเฉพาะประเทศแถบตะวันออกกลาง ในขณะที่ต้นกล้าอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงถึงต้นละ 1_500-2_000 บาท ส่วนใหญ่นำเข้าจากอิรัก อียิปต์ รวมถึงอังกฤษ จึงมีแต่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้นที่ลงทุนปลูกได้ แต่หากเราสามารถผลิตต้นกล้าอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้เองในประเทศและทำให้มีราคาถูกกว่าของต่างประเทศ จะช่วยลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการได้มาก ส่วนเกษตรกรรายย่อยก็มีโอกาสปลูกได้มากขึ้นด้วย หรือปลูกเสริมจากการทำไร่ทำนาเพียงไม่กี่ต้น ก็จะช่วยให้เขามีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง”

ทั้งนี้ นักวิจัยตั้งเป้าว่าในอนาคตจะมีการต่อยอดและขยายผลเทคโนโลยีนี้ไปสู่เกษตรกร โดยอาจเป็นในรูปแบบการร่วมลงทุนเพื่อจัดตั้งห้องปฏิบัติการสำหรับผลิตต้นกล้าอินทผลัมโดยเฉพาะ หรือถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนด้านห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อผลิตต้นกล้าอินทผลัมในเชิงพาณิชย์ รวมถึงได้ศึกษาวิจัยการขยายพันธุ์พืชเศรษฐกิจอื่นๆ ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในระบบไบโอรีแอคเตอร์ อาทิ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน พืชสมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับที่มีมูลค่าสูงในตลาดปัจจุบัน

งานวิจัยนี้จึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจในประเทศไทย ที่ช่วยเกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และกระจายโอกาสให้ทั่วถึง สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG (BCG economy model) ที่เป็นวาระของชาติในขณะนี้

อ้างอิง: http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3405
กำจัดเชื้อรา หัวไชเท้า ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
กำจัดเชื้อรา หัวไชเท้า ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
ไอเอส และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน

โรคในหัวไชเท้า
สาเหตุ เชื้อรา Aphanomyces raphari ลักษณะอาการ เกิดแผล สีน้ำตาล–แดง หรือ ดำ บนบริเวิณรากหรือหัวไชเท้า
โรคใบจุด
สาเหตุ เชื้อรา Alternaria spp ลักษณะอาการ เกิดแผลกลมเทา–น้ำตาลเล็กๆ บนใบหัวไชเท้า มีวงเหลืองล้อมรอบ ซึ่งหากเป็นหนัก วงกลมเล็กๆจะรวมเป็นวงใหญ่ และขยายไปที่ก้านใบ และลำต้น
โรคราน้ำค้าง
สาเหตุ เชื้อรา Peronospora parasitica ลักษณะอาการ เกิดแผลเป็นผืนสีเหลือง ใต้ใบจะพบเส้นใยสีขาว–เทาเจริญอยู่ใต้แผล

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สกัดจากธรรมชาติทั้งหมด โดยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงอันทันสมัย 'การควบคุมประจุไฟฟ้า' สามารถฉีดพ่นได้ก่อนการเก็บเกี่ยว โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว
ขนาด 1 ลิตร
อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

แนะนำให้ผสม ไอเอส และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน
มาคา 50 ซีซี และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้..

เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า

เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม


สั่งซื้อ
โทร 0909-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link.. ได้เช่นกัน
โรคพืช ที่พบมากในฤดูฝน
โรคพืช ที่พบมากในฤดูฝน
เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนที่แสนชุ่มฉ่ำ เกษตรกรก็มักจะเจอกับปัญหาที่เลี่ยงไม่ได้ นั่นคือปริมาณน้ำที่มากขึ้น พร้อมกับความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น และสิ่งที่ตามมาคงไม่พ้น"โรคพืช"ต่างๆ โดยเฉพาะ"โรคพืช"ที่เกิดจาก"เชื้อรา" ดังนั้นหากฝนตกติดต่อกันเกินกว่า 2 - 3 วัน ควรมีการวางแผนที่ดีเพื่อป้องกันโรคพืชที่ตามมา เพราะพืชหลายชนิดเป็นเชื้อราได้ง่ายและมีการระบาดได้อย่างรวดเร็ว แล้วโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราจะมีโรคอะไรบ้าง และมีวิธีการป้องกันและแก้ไขยังไงไปดูกันเลย

1.โรคเน่าคอดิน (Damping off)

อาการ : โรคเน่าคอดินเป็นโรคพืชที่มักพบในพืชผักระยะกล้า เข้าทำลายบริเวณโคนต้น ราก รวมถึงเมล็ดที่กำลังงอกในพืชอวบน้ำ โดยต้นกล้าจะฟุบตายเป็นหย่อม ๆ บริเวณโคนต้นจะมีลักษณะแผลช้ำ เหี่ยวแฟบ คอเป็นสีน้ำตาลดำและเน่า เป็นเหตุทำให้ต้นกล้าหักพับลง

การป้องกันกำจัด

- เตรียมแปลงให้มีการระบายน้ำดี อย่าให้น้ำขังแฉะ ใช้เมล็ดพันธุ์ดีไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ติดมากับเมล็ด และมีความงอกสูง ไม่หว่านเมล็ดแน่นเกินไป
- ก่อนปลูกแช่เมล็ดด้วย สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช
- สำหรับแปลงปลูกให้ปรับดินด้วยปูนขาว และปุ๋ยอินทรีย์ให้มาก ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมกับดินปลูก
- ตรวจแปลงสม่ำเสมอพบต้นเป็นโรค รีบขุดเอาดินและต้นเป็นโรคทำลายหรือฝังลึกนอกแปลง

2.โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)

อาการ : โรคราน้ำค้างเป็นโรคพืชที่ใบจะมีรอยจ้ำๆเป็นสีขาว ขอบสีน้ำตาลกระจายอยู่ทั่ว แต่บางครั้งก็เป็นสีเหลืองด่างๆ สีน้ำตาลเข้ม หรือเป็นจุดขาวๆเล็กๆ ถ้าปล่อยไว้นานๆจะทำให้พืชอ่อนแอ สร้างผลผลิตที่ดีไม่ได้ และยังอาจทำให้ต้นอ่อนตายได้ด้วย

การป้องกันกำจัด : ให้ฉีดพ่นด้วย สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ซึ่งใช้ได้ระยะที่ยังเป็นต้นกล้า - ระยะการเติบโต

3.โรคใบจุด (Alternaria leaf spot)
อาการ : โรคใบจุดเป็นโรคพืชที่มีอาการบนต้นกล้า จะเกิดเป็นแผลเล็กๆ สีน้ำตาลดำ ลักษณะคล้ายโรคเน่าคอดินที่ขึ้นกับลำต้น เมื่อเชื้อเข้าทำลายในระยะต้นกล้า จะทำให้ต้นกล้าหยุดการเจริญเติบโตหรือชะงักงัน เมื่อย้ายไปปลูกในแปลงจะทำให้ต้นไม่สมบูรณ์ อาการในต้นแก่มักพบบนใบและก้าน เกิดเป็นแผลจุดเล็กๆ สีเหลือง ต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้น สีน้ำตาลเข้มถึงดำ เแผลมีลักษณะเป็นวงค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ

การป้องกันกำจัด
- ทำลายต้นเป็นโรคโดยการขุดถอนไปเผาทิ้ง
- ปลูกพืชหมุนเวียน
- ไม่ควรให้น้ำแบบฉีดพ่นฝอย
- แช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส 30 นาที (ยกเว้นกะหล่ำดอก)
- ฉีดพ่น สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช

4.โรคราสนิมขาว (White rust)
อาการ : โรคราสนิมขาวเป็นโรคพืชที่มีจุดสีเหลืองซีดด้านบนของใบ ด้านใต้ใบตรงกันข้าม จะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ ขนาด 1-2 มิลลิเมตร อาจพบลักษณะปุ่มปม หรือบวมพองโตขึ้นในส่วนของก้านใบและลำต้น

การป้องกันกำจัด
- หากเกิดโรคระบาด ให้ฉีดพ่นสารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช
- ดูแลระบบการให้น้ำในแปลงปลูก อย่าให้ขึ้นแฉะจนเกินไป

5.โรคเหี่ยว (Wilt)
อาการ : โรคเหี่ยวเป็นโรคพืชเกิดอาการเหี่ยวอย่างช้าๆ ใบที่อยู่โคนต้นเปลี่ยนเป็นสีหลืองและร่วง ต่อมาใบจะเหี่ยวทั้งต้น เมื่อผ่าลำต้นบริเวณเหนือระดับดินตามยาวจะพบว่า ท่อน้ำ ท่ออาหารเป็นสีน้ำตาล การผิดปกติของท่อน้ำ ท่ออาหารนี้จะลงไปถึงส่วนรากด้วย

การป้องกันกำจัด : ถ้าพบโรคในแปลง ต้องถอนต้นที่เป็นโรคมาทำลาย ก่อนปลูกควรปรับสภาพคืนด้วยปูนขาว และปุ๋ยคอก

เมื่อรู้แล้วว่าหน้าฝนนี้เราจะเจอโรคพืชอะไรบ้าง อย่าลืมสังเกตแปลงผักที่เราปลูกกันด้วยว่ามีอาการของโรคเหล่านี้หรือไม่ จะได้หาวิธีป้องกันกำจัดได้ทันท่วงที ลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิตตลอดฤดูกาลนี้

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา รายละเอียดด้านล่างนะคะ
ข้าววัชพืช ป้องกัน กำจัด ลดปริมาณ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว
ข้าววัชพืช ป้องกัน กำจัด ลดปริมาณ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว
ข้าววัชพืช ป้องกัน กำจัด ลดปริมาณ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว
1. ข้าววัชพืช คืออะไร ต่างกับข้าวทั่วไปอย่างไร

ข้าวที่ชาวนาใช้ปลูกทั่วไป มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza sativa L. ใช้ปลูกในประเทศไทยมากกว่า 100 พันธุ์ เรียกในที่นี้ว่าข้าวปลูก เป็นพันธุ์ข้าวที่ถูกคัดเลือกให้มีลักษณะที่ต้องการเช่นผลผลิตสูง ข้าวสารมีสีขาว ใส คุณภาพหุงต้มนุ่มและหอม ไปจนถึงร่วนแข็ง ต้านทานต่อโรคหรือแมลงที่สำคัญ ข้าวพันธุ์หนึ่งจะมีลักษณะทางการเกษตรต่างๆ เหมือนกันและคงตัว คือในพันธุ์เดียวกันจะมีลักษณะ สีใบ ทรงกอ ความสูง การออกรวง สีเปลือก สีข้าวกล้อง เหมือนกันและคงตัว และทุกพันธุ์จะมีลักษณะสำคัญคือเมล็ดจะสุกแก่ใกล้เคียงกันคือหลังบานดอกแล้วประมาณ 28-30 วัน พร้อมที่จะถูกเก็บเกี่ยวและถูกนวดให้หลุดจากรวง คือจะไม่สุกแก่ก่อนเวลาไม่หลุดร่วงเองได้ง่ายๆ และข้าวเปลือกจะไม่มีหางหรือถ้ามีก็จะสั้นมาก

ข้าวป่าเป็นบรรพบุรุษของข้าวที่ใช้ปลูกในปัจจุบัน เป็นข้าวอีกชนิดหนึ่งที่มีตามธรรมชาติทั้งในที่ลุ่มลึกและบนที่ดอน ข้าวป่ามีหลายชนิดและที่มีความสำคัญและคาดว่าจะเป็นเชื้อพันธุ์ของข้าววัชพืชมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza rufipogon Griff. ข้าวป่าแม้จะสามารถแบ่งเป็นหลายชนิด ในแต่ละชนิดจะมีหลายลักษณะ แต่มีลักษณะสำคัญหลายประการที่มีในข้าวป่าทุกชนิดคือ เมล็ดในรวงเดียวกันสุกแก่ไม่พร้อมกันตั้งแต่ 9-30 วัน เมื่อสุกแก่ก็จะหลุดร่วงได้เอง เมล็ดมีระยะพักตัวหลากหลายตั้งแต่ไม่มีระยะพักตัวไปจนถึงระยะพักตัวหลายปี เมล็ดข้าวเปลือกและข้าวกล้องของข้าวป่าจะมีหลากหลายสี เมล็ดอาจมีหางยาวมากกว่า 10 เท่าตัวของเมล็ด และมีหลายสี

“ข้าววัชพืช” มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า weedy rice เป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในนาภาคกลางจนถึงภาคเหนือตอนล่าง มีลักษณะเหมือนต้นข้าวจนแยกไม่ออกในระยะกล้า มีชื่อเรียกต่างๆกันไปในแต่ละท้องถิ่นตามลักษณะของข้าววัชพืชที่ปรากฏเช่น ข้าวหาง เนื่องเมล็ดมีหางยาว ข้าวดีด ข้าวเด้ง เนื่องจากเมื่อเมล็ดแก่ และถูกลมพัดหรือคนไปสัมผัส เมล็ดจะร่วง ข้าวลาย เนื่องเมล็ดมีเปลือกลาย ข้าวแดง เนื่องจากเมื่อแกะเมล็ดจะพบว่าเมล็ดข้าวกล้องมีสีแดง ดาวกระจาย เนื่องจากลักษณะรวงจะกางออกและเมื่อเมล็ดแก่จะร่วงและกระจายไปรอบๆ เป็นต้น เคยระบาดในประเทศไทยที่จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี และพิษณุโลกในปี 2518 ความเสียหายที่จังหวัดปราจีนบุรี ทำให้ผลผลิตลดลงมากกว่า 80% แต่ก็มีการจัดการได้ซึ่งสมัยนั้นโดยการเผาฟาง เปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ การเขตกรรมโดยการไถล่อข้าววัชพืชหลายครั้ง เนื่องจากชาวนายังทำนาปีละ 1 ครั้งเท่านั้น และพบการระบาดรุนแรงอีกครั้งเมื่อปี 2544 ที่จังหวัดกาญจนบุรี จนถึงปัจจุบัน ข้าววัชพืชขยายวงกว้างของการระบาดออกไปเรื่อย ๆ จากการสำรวจข้อมูลการระบาดของข้าววัชพืชในฤดูนาปี 2550 พบการระบาดในพื้นที่นาของประเทศไทยถึง 19.2 ล้านไร่

2. ข้าววัชพืชเกิดขึ้นได้อย่างไร

จากการศึกษาของหลายหน่วยงานพบว่า ข้าววัชพืชเกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวป่าธรรมชาติ
(O. rufipogon L.) กับข้าวปลูก และมีการกระจายตัวของลูกหลานออกเป็นหลายลักษณะ โดยอัตราการผสมข้ามระหว่างข้าวปลูกกับข้าวป่า และระหว่างข้าวปลูกกับข้าววัชพืช ลูกผสมที่กระจายตัวและเจริญแพร่พันธุ์ในแปลงปลูกมีลักษณะส่วนใหญ่ไม่เป็นที่ต้องการของชาวนา

3. การจำแนกข้าววัชพืช
สามารถจำแนกตามลักษณะภายนอกของข้าววัชพืชได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

ข้าวหางหรือข้าวนก
คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะเมล็ดข้าวเปลือกสีดำหรือสึน้ำตาลเข้ม มีหางยาว หางอาจจะมีสีแดงหรือขาวในระยะข้าวยังสด เมล็ดร่วงก่อนเก็บเกี่ยว สีของเยื่อหุ้มเมล็ดมีทั้งแดงไปจนถึงขาว

ข้าวแดงหรือข้าวลาย
คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะสีข้าวเปลือกมักมีสีเข้มไปจนถึงลายสีน้ำตาลแดง เมล็ดข้าวเปลือกส่วนใหญ่ไม่มีหาง เมล็ดมีทั้งร่วงและไม่ร่วงก่อนเก็บเกี่ยว แต่สีของเยื่อหุ้มเมล็ดส่วนใหญ่มีสีแดง

ข้าวดีดหรือข้าวเด้ง
คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะร่วงง่ายและร่วงเร็วโดยทยอยร่วงตั้งแต่หลังบานดอก 9 วันเป็นต้นไป เมล็ดข้าวเปลือกส่วนใหญ่มีหางสั้นหรือไม่มีหาง ข้าวเปลือกส่วนใหญ่มีสีเหลืองฟาง สีของเยื่อหุ้มเมล็ดมีทั้งแดงและขาว

4. สาเหตุการแพร่ระบาดของข้าววัชพืช
การแพร่ระบาดของข้าววัชพืช มาจากสาเหตุ 5 ประการ คือ

4.1 ติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวเนื่องจากเกษตรกรใช้พันธุ์ข้าวจากแหล่งไม่มีคุณภาพ ในรอบ 1 ปี ชาวนามีความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณกว่า 1 ล้านตัน แต่หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ได้มาตรฐานได้ไม่เกิน 15 % ของความต้องการของชาวนาเท่านั้น อีก 85 % ชาวนาจำเป็นต้องเสี่ยงในการหาซื้อเมล็ดพันธุ์เองตามร้านค้าและแหล่งผลิตเอกชน ซึ่งอาจจะไม่ได้มาตรฐานและมีเมล็ดข้าววัชพืชติดมาด้วย

4.2 ติดมากับอุปกรณ์ในการทำนา เครื่องมือเตรียมดิน_ เก็บเกี่ยวหรือภาชนะบรรจุข้าว โดยเฉพาะรถเกี่ยวนวดข้าว เมื่อไปเกี่ยวข้าวในแปลงที่มีการระบาดของข้าววัชพืชรุนแรง เมล็ดข้าวที่ติดมากับรถเกี่ยวนวด มีจำนวนประมาณ 2-5 ถัง ซึ่งมีโอกาสที่เมล็ดข้าววัชพืชติดมาด้วย และมาร่วงหล่นในนาแปลงใหม่ที่รถเกี่ยวนวดข้าวลงทำงาน

4.3 ติดมากับปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ที่ผลิตจากวัสดุที่ได้มาจากนาข้าว เช่น ฟาง แกลบ ขี้เถ้าแกลบ หน้าดินผสมจากท้องนา ซึ่งเมล็ดข้าววัชพืชมีคุณสมบัติอยู่ได้นานในสภาพต่าง ๆ

4.4 การแพร่ไปกับน้ำ ในระบบชลประทาน (ข้าวหาง ข้าวครึ่งเมล็ด) ลอยไปกับน้ำลงสู่แปลงนาได้

4.5 ติดไปกับอาหารเสริมของเป็ดที่ปล่อยในนาข้าว ส่วนใหญ่เป็นข้าวเปลือกที่มีราคาถูก มีสิ่งเจือปน

5. ลักษณะของข้าววัชพืชที่ทำให้เป็นปัญหาร้ายแรง
ดังได้กล่าวมาแล้วว่าข้าววัชพืชมีลักษณะต่างๆที่คล้ายหรือแตกต่างกับข้าวปลูกอย่างไรบ้าง แต่ลักษณะสำคัญที่ทำให้ข้าววัชพืชเป็นวัชพืชร้ายแรง ดังนี้

5.1 ข้าววัชพืชมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว มีความสามารถในการแข่งขันได้ดีกว่าข้าวปลูก ข้าววัชพืชอาจมีความสูงมากกว่าข้าว จึงมีความสามารถในการแก่งแย่งธาตุอาหารและแสงแดดมากกว่าข้าว ข้าววัชพืชที่ต้นสูงจะล้มทับข้าวในระยะออกรวงทำให้ต้นข้าวปลูกเสียหาย

5.2 ข้าววัชพืชบางชนิดออกดอกเร็วกว่าข้าวปลูกและเมล็ดส่วนใหญ่ร่วงก่อน จึงไม่ถูกเก็บเกี่ยวไปพร้อมกับข้าวปลูก ทำให้มีเมล็ดสะสมอยู่ในแปลงนา ซึ่งจะเพิ่มความหนาแน่นมากขึ้นในฤดูต่อไป

5.3 เมล็ดข้าววัชพืชที่ร่วงสะสมอยู่ในนามีระยะพักตัวหลากหลาย จึงไม่ได้งอกพร้อมกันทั้งหมด ทำให้ยากต่อการกำจัด

5.4 เมล็ดส่วนใหญ่ร่วงก่อนเก็บเกี่ยว จึงไม่ถูกเก็บเกี่ยวไปพร้อมกับข้าวปลูก ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์

5.5 เมล็ดข้าววัชพืชที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงปะปนไปกับผลผลิตข้าว ทำให้ถูกตัดราคา

6. การป้องกันปัญหาข้าววัชพืช
แม้ว่าข้าววัชพืชจะเกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวปลูกกับข้าวป่าก็ตาม แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นได้โดยง่าย ดังนั้นการป้องกันเมล็ดข้าววัชพืชจากแหล่งที่มีการระบาดแล้วไม่ให้เล็ดลอดเข้ามาในแปลงนาที่ยังไม่มีการปลอมปน และเพื่อไม่ให้เผชิญกับปัญหาข้าววัชพืช ดังนั้นชาวนาสามารถทำการป้องกันปัญหาข้าววัชพืชได้โดย

6.1 การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์มาตรฐานไม่มีข้าววัชพืชปลอมปน

6.2 ทำความสะอาดเครื่องจักรกลเกษตรก่อนการทำงานในแปลงทุกครั้ง

6.3 การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ที่ไม่นำวัสดุจากนาข้าวมาผลิต หรือต้องมั่นใจว่าไม่มีข้าววัชพืชปนมา

6.4 น้ำชลประทานที่ผ่านท้องที่ที่มีการระบาดของข้าววัชพืช อาจมีเมล็ดข้าววัชพืชลอยมากับน้ำได้ การใช้ตาข่ายกั้นทางน้ำก็จะป้องกันข้าววัชพืชได้

7. การกำจัดข้าววัชพืชโดยวิธีเขตกรรม
การผสมผสานหลายวิธีการในทุกขั้นตอนของการทำนาดังต่อไปนี้ จะช่วยแก้ปัญหาข้าววัชพืชได้ไม่ต้องพึ่งพาสารกำจัดวัชพืชหรือสารเคมีใดๆ

7.1 การกำจัดเมล็ดข้าววัชพืชโดยล่อให้งอกแล้วไถกลบ
การเตรียมดินโดยการไถ พรวน หรือคราดทำเทือก ควรเว้นช่วง 2-4 สัปดาห์ เพื่อเว้นระยะเวลาให้เมล็ดข้าววัชพืชที่ยังเหลืออยู่ในดินได้มีโอกาสพ้นระยะพักตัวมากขึ้น โดยการมีขั้นตอนดังนี้ ปล่อยให้แปลงแห้งก่อนการเก็บเกี่ยวข้าวประมาณ 10 วัน หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วปล่อยให้แห้งต่ออีก อย่างน้อย 1 สัปดาห์ แล้วเอาน้ำเข้าแปลงพอชื้น เพื่อให้เมล็ดข้าววัชพืชงอก ไถกลบ ปล่อยแปลงในสภาพชื้นต่ออีก 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้เมล็ดข้าววัชพืชที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีก แล้วไถทิ้ง การล่อให้งอกแล้วไถกลบทำลายในแต่ละครั้งสามารถลดปริมาณข้าววัชพืชลงได้มากกว่า 50 %

7.2 เปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว

7.2.1 วิธีปักดำ
การปักดำด้วยมือ ใช้เครื่องจักรตกกล้าปักดำ หลังปลูกให้ขังน้ำทันทีระดับน้ำลึก 3-5 ซม. จะป้องกันการงอกข้าววัชพืชได้ แต่ชาวนาต้องใช้เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ และตกกล้าในแปลงนาที่ไม่มีข้าววัชพืชอยู่ก่อน อย่างไรก็ตามแม้จะใช้วิธีปักดำและการขังน้ำอย่างมีประสิทธิภาพก็อาจยังมีข้าววัชพืชงอกและเจริญเติบโตขึ้นมาได้ ทั้งนี้ข้าววัชพืชที่เจริญเติบโตขึ้นมาได้นี้จะอยู่นอกแถวหรือนอกกอของการปักดำ ชาวนาจึงพบเห็นข้าววัชพืชได้สะดวกตั้งแต่ในระยะแรก และสามารถถอนกำจัดเสียแต่ต้น

7.2.2 การปลูกข้าวด้วยวิธีโยนกล้า
ปลูกข้าวด้วยวิธีโยนกล้า เป็นการเพาะข้าวจำนวน 3-4 เมล็ดต่อหลุมลงในถาดพลาสติก มีหลุมขนาดเล็ก แต่ละหลุมบรรจุดินประมาณ 2.5 กรัม โดยใช้เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์เพียง 3-4 กิโลกรัม เพาะลงในถาดจำนวน 50-60 ถาด นำไปโยนได้ 1 ไร่ อายุต้นกล้าที่เหมาะสม 12-16 วัน หลังโยนกล้า 1-2 วัน ให้ขังน้ำและเพิ่มระดับน้ำ 5-10 ซม. จะป้องกันการงอกของข้าววัชพืชได้ดี แต่เกษตรกรจะต้องเตรียมแปลงให้สม่ำเสมอ และข้อสำคัญอย่าให้นาขาดน้ำ

7.3 การตรวจตัดข้าววัชพืช
การตรวจตัดข้าววัชพืชเป็นการลดปัญหาไม่ให้ข้าววัชพืชผลิตเมล็ดสะสมในแปลงนาเพิ่มขึ้น ในระยะแตกกอเริ่มเห็นความแตกต่างค่อนข้างชัดเจน โดยจะสังเกตเห็นข้าววัชพืชส่วนใหญ่มีความสูงมากกว่า ลำต้นและใบมีสอ่อนกว่าข้าวปลูก ระยะนี้ต้องใช้วิธีถอนต้นข้าววัชพืชทิ้ง พอถึงระยะออกดอกจะเห็นความแตกต่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยข้าววัชพืชส่วนใหญ่จะออกดอกก่อนข้าวปลูก ระยะนี้ต้องใช้วิธีตัดชิดโคนต้นข้าววัชพืช แล้วนำไปทิ้งนอกแปลง เนื่องจากข้าววัชพืชงอกไม่พร้อมกันจึงแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างข้าวปลูกกับข้าววัชพืชไม่พร้อมกัน ดังนั้นจึงควรมี

7.4 การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง
การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งสามารถลดปริมาณเมล็ดข้าววัชพืชที่หลุดร่วงอยู่บนผิวดินได้ โดยเป็ด 200 ตัว/ไร่ ปล่อยไว้เป็นเวลา 2 วัน สามารถลดความหนาแน่นข้าววัชพืชได้ถึง 50 %

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
สินค้าจากเรา

ชุดย่อยสลายฟางข้าว ชุดย่อยสลายตอฟาง ย่อยสลายใน 7วัน ไม่ต้องเผา

ลดข้าวดีดมากกว่า 70% รวดเร็วในการย่อยสลายตอซังฟางข้าว ภายใน 5-7 วัน โดยไม่ต้องเผา ปรับสภาพดินในนาข้าว สามารถไถพรวนได้ง่าย เพิ่มจุลธาตุอาหารให้แก่นาข้าวหลังการเก็บเกี่ยว สามารถลดปัญหาข้าวดีด และข้าววัชพืชอื่น ๆ ในนาข้าวได้

#ย่อยสลายฟางข้าว #ย่อยสลายตอฟาง #ย่อยสลายตอซัง

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Lazada : http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Shopee : http://www.farmkaset..link..
การผสมปุ๋ย DIY: 3 สูตรง่ายๆ จะปลูกอะไรก็ได้ผลผลิตสูง
การผสมปุ๋ย DIY: 3 สูตรง่ายๆ จะปลูกอะไรก็ได้ผลผลิตสูง
การใส่ปุ๋ยส่วนสำคัญในการทำให้ต้นไม้แข็งแรงและให้ผลผลิต แม้ว่าจะมีปุ๋ยผสมหลายสูตร มากมายให้ซื้อ แต่การผสมปุ๋ยของคุณเองอาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าและปรับแต่งได้สำหรับความต้องการเฉพาะในสวนของคุณ ในบทความนี้ เราจะบอกความลับของโรงงานผลิตปุ๋ย ที่คุณจะทำได้เองที่บ้าน หรือในสวน โดยใช้แม่ปุ๋ยสามสูตร ที่หาซื้อได้ง่ายในท้องตลาดของประเทศไทย ยูเรีย (46-0-0)_ DAP (18-46-0) และ MOP (0-0-60)

ก่อนที่เราจะเริ่มต้น สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจตัวเลขบนหน้ากระสอบปุ๋ย ตัวเลขเหล่านี้เรียกว่าอัตราส่วน NPK ระบุเปอร์เซ็นต์ของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ในปุ๋ย ไนโตรเจนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของใบและลำต้น ฟอสฟอรัสมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของรากและดอก และโพแทสเซียมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพโดยรวมของพืชและการต้านทานโรค และผลผลิต

ตอนนี้คุณเข้าใจถึงความสำคัญของอัตราส่วน NPK แล้ว มาดูสูตรปุ๋ยง่ายๆ 3 สูตรที่คุณสามารถผสมได้เองโดยใช้ยูเรีย (46-0-0)_ DAP (18-46-0) และ MOP (0-0- 60).

สูตร 1: ปุ๋ยเอนกประสงค์พื้นฐาน เร่งโตไว ใบเขียว
ยูเรีย 2 ส่วน (46-0-0) เช่น 16
DAP 1 ส่วน (18-46-0) เช่น 8
MOP 1 ส่วน (0-0-60) เช่น 8
ได้เป็นสูตร 16-8-8 สำหรับ เร่งโตไว ใบเขียว

สูตร 2 ปุ๋ยฟอสฟอรัสสูง สำหรับเร่งดอก เร่งราก
ยูเรีย 1 ส่วน (46-0-0) เช่น 8
DAP 2 ส่วน (18-46-0) เช่น 16
MOP 1 ส่วน (0-0-60) เช่น 8
ได้เป็นสูตร 8-16-8 ใช่ใส่ เร่งการออกดอก เร่งราก ส่งเสริมระบบรากพืช

สูตร 3: ปุ๋ยโพแทสเซียมสูง
ยูเรีย 1 ส่วน (46-0-0) เช่น 13
DAP 1 ส่วน (18-46-0) เช่น 13
MOP 2 ส่วน(0-0-60) เช่น 26
ได้เป็นปุ๋ยสูตร 13-13-26 ใช่เร่งผลผลิต พืชออกผลโต น้ำหนักดี พืชลงหัว หัวใหญ่ เปอร์เซ็นแป้งสูง ค่าความหวานสูง

สูตรเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้น และคุณสามารถปรับอัตราส่วนให้เหมาะกับความต้องการสวนของคุณ หากคุณไม่แน่ใจว่าอัตราส่วนใดดีที่สุดสำหรับพืชของคุณ

คุณสามารถใช้เว็บไซต์ แอพผสมปุ๋ย ที่ http://ไปที่..link.. เป็นแนวทางได้อย่างแม่นยำสูง

เมื่อผสมปุ๋ย อย่าลืมสวมถุงมือและหน้ากากกันฝุ่นเพื่อป้องกันตัวเองจากการสูดดมปุ๋ย นอกจากนี้ ให้ใช้เครื่องหว่านปุ๋ยหรือเครื่องผสมปุ๋ยเพื่อให้แน่ใจว่าปุ๋ยกระจายอย่างสม่ำเสมอบนต้นไม้หรือในสวนของคุณ

โดยสรุปแล้ว การผสมปุ๋ยของคุณเองอาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าและปรับแต่งได้สำหรับความต้องการสวนของคุณโดยเฉพาะ เมื่อเข้าใจอัตราส่วน NPK และใช้สูตรง่ายๆ ที่ให้ไว้ในบทความนี้ คุณจะผสมปุ๋ยเองได้ง่ายๆ และมั่นใจได้ว่าพืชของคุณแข็งแรงและให้ผลผลิตดี
อ่าน:3405
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราสนิม ในต้นหม่อน ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราสนิม ในต้นหม่อน ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราสนิม ในต้นหม่อน ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
เชื้อราไตรโคเดอร์มาคือเชื้อราชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในการป้องกันและกำจัดโรคราสนิมในต้นหม่อน เชื้อราไตรโคเดอร์มายี่ห้อหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในเรื่องนี้เป็นพิเศษคือเชื้อราไตรโคเร็กซ์

โรคราสนิมเกิดจากเชื้อราที่เข้าทำลายใบ ลำต้น และผลของต้นหม่อน สามารถลดผลผลิตและสุขภาพโดยรวมของต้นไม้ได้อย่างมาก เชื้อราแพร่กระจายผ่านต้นไม้ผ่านสปอร์ที่พัดพาโดยลมและน้ำ

เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นวิธีการแก้ปัญหาโรคราสนิมในต้นหม่อนอย่างได้ผลเพราะเป็นศัตรูตามธรรมชาติของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคราสนิม ทำงานโดยการผลิตเอนไซม์ที่ทำลายผนังเซลล์ของราสนิมและฆ่ามันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์หลักประการหนึ่งของการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาคือเป็นสารละลายจากธรรมชาติและเป็นสารอินทรีย์ ปลอดภัยทั้งต่อต้นไม้และสิ่งแวดล้อม ไม่ทิ้งสารพิษตกค้าง นอกจากนี้ยังใช้ง่าย โดยมีสูตรต่างๆ ให้ใช้เป็นสารรดดิน ฉีดพ่นทางใบ หรือบำรุงเมล็ดพันธุ์

Trichorex เป็นเชื้อราไตรโคเดอร์มายี่ห้อหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาเพื่อใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคราสนิมในต้นหม่อนโดยเฉพาะ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคราสนิมในต้นหม่อนได้อย่างมาก

ในการใช้ Trichorex ขอแนะนำให้ทำตามคำแนะนำของผู้ผลิต ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์กับดินรอบโคนต้นไม้หรือฉีดพ่นโดยตรงที่ใบและลำต้น สิ่งสำคัญคือต้องใช้ผลิตภัณฑ์ในเวลาที่เหมาะสมและในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

โดยรวมแล้วเชื้อราไตรโคเดอร์มาและเชื้อราไตรโคเร็กซ์เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีเยี่ยมสำหรับการป้องกันและควบคุมโรคราสนิมในต้นหม่อน พวกมันเป็นธรรมชาติ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ และสามารถช่วยปกป้องสุขภาพและผลผลิตของต้นไม้สำคัญเหล่านี้

ไตรโคเร็กซ์ : เชื้อไตรโคเดอร์มา

ช่วยป้องกันและยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นใบเหลือง รากเน่า
โคนเน่า ไฟท้อปเธอร่าในทุเรียนโรคแคงเกอร์ในส้ม - มะนาว
โรคทลายปาล์มเน่าโรคแอนแทรกโนสใน มะละกอ แตงโม แตงกวาโรคใบจุด ใบแห้ง
โรคกาบใบเน่า โรคกาบใบแห้งโรคไหม้ในข้าว โรคกุ้งแห้งในพริก
โรคผลเน่าไตรโคเร็กซ์

ใช้อย่างไร

1. ผสมเชื้อ 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณกิ่ง ก้าน ใบ หรือราดบริเวณโคนต้น

2. ผสมเชื้อ 20 กรัม ต่อปุ๋ยอินทรีย์ 20 กก.ในการปลูกหรือรองก้นหลุมก่อนปลูก

* ไม่ควรผสมใช้ร่วมกับเชื้อบิวเวอร์เรียและเมธาไรเซียม ควรฉีดสลับกันทุก 7-10 วัน *

ผลิตภัณฑ์ของเราดีกว่าอย่างไร
1.มีห้องปฏิบัติการเพาะเชื้อจุลินทรีย์
- คัดสายพันธุ์เฉพาะ ผ่านการทดสอบ/วิจัย
- สายพันธุ์เชื้อผ่านการตรวจจาก วว.และ สวทช
2.เชื้อจุลินทรีย์เลี้ยงในอุณหภูมิที่เหมาะสม
- มีตู้บ่มเชื้อควบคุมอุณหภูมิ
- ได้เชื้อจุลินทรีย์สมบูรณ์ แข็งแรง
3.มีห้องสำหรับการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์
- เพื่อลดการปนเปื้อนระหว่างการเพาะเชื้อ
- ควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น แสง
4.ควบคุมคุณภาพเชื้อจุลินทรีย์ตลอดการผลิต

ป้องกันกำจัดโรคพืช
-โรคใบเหลือง ใบเหี่ยว
-โรคใบจุด ราน้ำค้าง
-โรคราแป้ง
-โรคราสีชมพู กาบใบแห้ง
-โรคผลเน่า ในพริกทุเรียน
-โรคใบไหม้
-โรคเหี่ยวเขียว เหี่ยวเหลือง
-โรครากเน่าโคนเน่า
-โรคเมล็ดเน่า

กลไกการป้องกันโรคพืช
1.เจริญเติบโต แข่งขัน แย่งอาหาร น้ำ และที่อยู่กับเชื้อราสาเหตุโรคพืช
จึงทำให้เชื้อโรคลดปริมาณ ลงอย่างรวดเร็ว
2.การสร้างสารปฏิชีวนะ มาทำลายผนังเซลล์เชื้อราโรคพืช
ทำให้เส้นใยเชื้อราโรคพืชเกิดการไหม้ และตาย 
3.เป็นปรสิต สร้างเส้นใยพันรัดน้ำเลี้ยงจากเชื้อโรคพืช
ทำให้เส้นใยสลายลดการขยาย เผ่าพันธุ์ลง


สั่งซื้อ
โทร 090-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link.. ได้เช่นกัน
ทุเรียน ราชาแห่งไม้ผล เน้นตลาดส่งออก
ทุเรียน ราชาแห่งไม้ผล เน้นตลาดส่งออก
ทุเรียน จัดเป็นราชาไม้ผล ที่ใครๆ ต่างยกให้เป็นที่หนึ่ง มีความต้องการในการบริโภคสูง อีกทั้งมีตลาดรองรับทั้งภายในประเทศและตลาดส่งออกที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันพื้นที่ปลูกทุเรียนทั่วประเทศ มีประมาณ 1_199_895.64 ไร่ (ข้อมูลระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร วันที่ 22 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2565)

โดยทุเรียนมีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2564 ประเทศไทยมีการส่งออกทุเรียนสูงถึง 925,855 ตัน (ข้อมูล:กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร ข่าว : มิถุนายน 65) โดยประเทศจีนเป็นตลาดหลัก ตามด้วย ฮ่องกง เวียดนาม ไต้หวัน มาเลเซีย และอีกหลาย ๆ ประเทศ

ทุเรียนเกรดส่งออก คุณภาพดี

ทุเรียนเกรดส่งออกจะแบ่งเป็น เกรดเอ บี และซี สำหรับทุเรียนที่ตกเกรดจะไม่สามารถส่งออกได้ จึงจำหน่ายภายในประเทศเท่านั้น ดังนั้นพี่น้องชาวสวนทั้งมือเก่าและมือใหม่ควรให้ความสำคัญเรื่องการจัดการและพัฒนาการเพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพดี เกรดเอ มีจำนวน 4-5 พูเต็ม ตรงตามสเปคทุเรียนส่งออก เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับชาวสวนทุเรียน

สวนทุเรียนคุณภาพ ที่มีการจัดการอย่างมืออาชีพ

เทคนิคการปลูกทุเรียนให้ได้คุณภาพดี อย่างมืออาชีพ

1. สภาพดินที่เหมาะกับการปลูกทุเรียน

ทุเรียนเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง ดินที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกควรเป็นดินร่วนที่สามารถระบายน้ำได้ดี มีค่าความเป็นกรดด่าง(pH) ประมาณ 5.5 - 6.5 สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตควรอยู่ในช่วง 25-30 องศาเซลเซียส โดยมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 75 - 85 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ควรมีแหล่งน้ำที่เพียงพอในการเพาะปลูกตลอดปี การวางแปลงปลูกทุเรียน ระยะ 8x10 เมตร

2. การจัดเตรียมพื้นที่ และการดูแลต้นทุเรียนปลูกใหม่

การเตรียมพื้นที่ปลูกทุเรียนควรเริ่มจากการปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ หรือมีความลาดเอียงเล็กน้อย เพื่อให้ระบายน้ำได้ดี เนื่องจากต้นทุเรียนไม่ชอบน้ำขัง ส่วนระยะห่างระหว่างแถวที่เหมาะสมคือ 8X10 เมตร และระหว่างต้น (บนหลังเต่า) คือ 8X8 เมตร โดยการจัดระยะห่างแบบนี้ จะสามารถนำรถและเครื่องจักร รวมถึงเทคโนโลยีในการเพาะปลูกทางการเกษตรมาใช้ เพื่อทุ่นแรงและให้ง่ายต่อการทำงานมากยิ่งขึ้น

สำหรับทุเรียนปลูกใหม่ เมื่อเตรียมแปลงเรียบร้อยแล้ว แนะนำให้ปลูกแบบยกโคก เพื่อช่วยให้ต้นทุเรียนที่พึ่งลงปลูกใหม่โตเร็ว การปลูกแบบยกโคกคือ การพูนดินขึ้นให้สูงกว่าระนาบ จะช่วยให้รากของต้นทุเรียนอยู่ที่ดินชั้นบนๆ เมื่อใส่ปุ๋ยลงไปจะช่วยให้รากดูดซึมธาตุอาหารได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญจะช่วยให้น้ำระบายได้ดี ไม่ท่วมขังบริเวณโคนต้น ที่เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

นอกจากนี้ควรเตรียมวางแผนเรื่องระบบน้ำ ไปพร้อมกับการเตรียมพื้นที่ลงปลูก เพื่อง่ายต่อการจัดการ ส่วนในขั้นตอนการเลือกต้นกล้าทุเรียน ควรเลือกต้นที่มีระบบรากดี ไม่ขดงอหรืออยู่ในถุงเพาะชำเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ต้นทุเรียนโตช้า และควรสร้างร่มเงาหรือพรางแสงให้ต้นทุเรียนปลูกใหม่ โดยเฉพาะในช่วงทุเรียนระยะต้นเล็กไม่ให้รับแสงมากจนเกินไป

สำหรับการบำรุงทุเรียนปลูกใหม่ ช่วงอายุระหว่าง 1-3 ปี แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 อัตรา 500 กรัม ต่อ 1 ต้น ใส่เดือนละครั้ง โดยสามารถใส่ปุ๋ยในอัตราที่เพิ่มขึ้น ตามการเจริญเติบโตของลำต้น และทรงพุ่ม เพื่อบำรุงให้ต้นทุเรียนสมบูรณ์

การบำรุงทุเรียนตามระยะการเจริญเติบโต

ขั้นตอนการบำรุงต้นทุเรียนทางดิน ให้ ทุเรียน ได้คุณภาพดี เกรดเอ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิต

ระยะฟื้นต้นหลังเก็บผลผลิต และทำชุดใบให้ต้นทุเรียนสมบูรณ์

หลังจากเก็บผลผลิตทุเรียนเรียบร้อยแล้ว ต้องทำการฟื้นต้นให้สมบูรณ์ เนื่องจากต้นทุเรียนจะถูกดึงธาตุอาหารต่างๆ ไปใช้ในการเลี้ยงผล จึงจำเป็นต้องบำรุงต้นให้กลับมาสมบูรณ์ ก่อนเข้าสู่ระยะทำใบชุดแรก โดยจะทำใบทั้งหมด 3 ชุด โดยแต่ละชุด ใช้เวลาประมาณ 45 วัน เพื่อให้ต้นทุเรียนให้สมบูรณ์ที่สุด แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ทุกๆ 20-30 วัน เม็ดปุ๋ยละลายง่าย ช่วยฟื้นต้นได้ไว และทำให้ใบกว้าง ใบเขียวเข้มและเขียวนาน

ระยะสะสมอาหารในต้นทุเรียน

การบำรุงระยะที่ 2 เป็นระยะที่ต้นทุเรียนสะสมอาหาร โดยต้นจะสะสมอาหารไว้ เมื่อสภาพอากาศมีอุณภูมิที่เหมาะสม ความชื้นที่พอดี ต้นก็จะแตกตาดอก ถือเป็นช่วงสำคัญของการทำสวนทุเรียน จึงควรเน้นบำรุงธาตุฟอสฟอรัส(P) และธาตุโพแทสเซียม(K) พร้อมกันในระยะนี้ โดยแนะนำใส่ปุ๋ยสูตร 9-25-25 อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม/ต้น ความถี่ทุกๆ 15-20 วัน เพื่อช่วยสะสมอาหาร เพิ่มความสมบรูณ์ของต้น ในการสร้างตาดอก และออกดอกที่สมบูรณ์ต่อไป

ระยะติดดอกของต้นทุเรียน

หลังจากที่ต้นแตกตาดอก ก็จะเข้าสู่ช่วงการติดดอกทุเรียน จะมีการเจริญเติบโตและพัฒนาหลายระยะในช่วงดอก เป็นช่วงที่ต้องระวังเป็นพิเศษ อาจเกิดปัญหาดอกร่วง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ ติดดอกไม่สมบูรณ์ พรืออากาศแปรปรวน แนะนำใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 9-25-25 อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ทุกๆ 15-20 วัน เพื่อสะสมอาหาร ให้ต้นทุเรียน มีความสมบูรณ์ เพิ่มความแข็งแรง ให้ดอกทุเรียนมีการพัฒนาและเจริญเติบโตได้ดี

ระยะทุเรียนติดผลเล็ก (อายุ 30 วัน)

หลังจากที่ดอกทุเรียนมีการผสมเกสรเรียบร้อย ดอกทุเรียนจะเหลือแต่เกสรตัวเมียที่ติดอยู่ที่ต้น ปลายเกสรจะเริ่มแห้งเหมือนไหม้ หรือที่เรียกว่าดอกทุเรียนระยะหางแย้ จะเข้าสู่การติดผลเล็ก และจะพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนถึงระยะผลไข่ไก่ แนะนำเริ่มบำรุงเมื่อทุเรียนอายุ 30 วัน โดยใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-24 อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ทุกๆ 15 วัน เพื่อช่วยบำรุงผลทุเรียนให้สมบูรณ์

ระยะทุเรียนขยายผล (อายุ 45-90 วัน)

ผลทุเรียนจะมีการเจริญเติบโตและพัฒนาใหญ่ขึ้นตามลำดับ จนเข้าสู่ระยะกระป๋องนม ต้องเร่งการบำรุงโดยเน้นการขยายผล สร้างเนื้อ เบ่งพู ให้ทุเรียนมีคุณภาพ แนะนำใส่ปุ๋ยย สูตร 15-9-20 อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ทุกๆ 15 วัน เพื่อพัฒนาให้เป็นทุเรียนเกรดเอ ได้ไซด์ ทรงสวย พูเต็มต่อไป

ระยะทุเรียนก่อนเก็บเกี่ยว (อายุ 90-120 วัน)

การบำรุงช่วงสุดท้ายก่อนทำการเก็บเกี่ยวผลผลิต เป็นช่วงที่เน้นการบำรุงเพื่อเพิ่มคุณภาพให้ทุเรียน แนะนำใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 13-13-24 อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ทุกๆ 15 วัน เพื่อช่วยเรื่องรสชาติที่อร่อย การเข้าสีสวย พูเต็ม ได้น้ำหนักดี ตามที่ตลาดต้องการ

การปลูกทุเรียนให้ได้ผลผลิตเกรดเอ เน้นตลาดส่งออกเพื่อเพิ่มมูลค่านั้น ต้องมีการดูแลและเอาใจใส่ทุกขั้นตอนที่สำคัญ ตั้งแต่การเตรียมแปลง การดูแลต้นทุเรียนปลูกใหม่ ตลอดจนการบำรุงธาตุอาหารทางดินให้เพียงพอต่อความต้องการ เพื่อให้ต้นได้นำไปเลี้ยงลูกทุเรียนได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้ทุเรียนเกรดเอ คุณภาพดี ตามที่ตลาดส่งออกต้องการ


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
ยารักษาโรคพืช กำจัดโรคราสีชมพู ในทุเรียน โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอส ใช้ได้กับพืชทุกชนิด(ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15ไร่)ผสมน้ำได้1,200ลิตร
ยารักษาโรคพืช กำจัดโรคราสีชมพู ในทุเรียน โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอส ใช้ได้กับพืชทุกชนิด(ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15ไร่)ผสมน้ำได้1,200ลิตร
ยารักษาโรคพืช กำจัดโรคราสีชมพู ในทุเรียน โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอส ใช้ได้กับพืชทุกชนิด(ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15ไร่)ผสมน้ำได้1,200ลิตร
IS: สารต้านเชื้อราอินทรีย์กำจัดราสีชมพูในทุเรียน

ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้มีชื่อเสียงในด้านรสชาติและกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นกับอาหารอันโอชะในเขตร้อนนี้คือการเติบโตของราสีชมพูซึ่งเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่สามารถลดคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของทุเรียนได้อย่างมาก เพื่อต่อสู้กับปัญหานี้ นักวิจัยได้พัฒนา IS ซึ่งเป็นสารต้านเชื้อราอินทรีย์นวัตกรรมใหม่ที่ได้จากส่วนผสมจากธรรมชาติทั้งหมด

จากการวิจัยและพัฒนาอย่างครอบคลุม นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการใช้พลังของ IS เพื่อควบคุมและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในทุเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดการสภาพแวดล้อมที่ผิวใบพืช IS จะสร้างสภาวะที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา ขัดขวางการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ของพวกมัน เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนี้ไม่เพียงแต่กำจัดราสีชมพูเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของการเกาะติดบนผิวใบพืชอีกด้วย

ข้อได้เปรียบที่สำคัญประการหนึ่งของ IS คือองค์ประกอบทางอินทรีย์ ทำให้เป็นทางออกที่ปลอดภัยและยั่งยืนสำหรับผู้ปลูกทุเรียนและผู้บริโภค ซึ่งแตกต่างจากสารกำจัดเชื้อราที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม IS มาจากแหล่งธรรมชาติ จึงรับประกันความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้และลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ

ประสิทธิผลของ IS อยู่ที่รูปแบบการดำเนินการที่ไม่เหมือนใคร เมื่อนำไปใช้กับต้นทุเรียน IS จะสร้างเกราะป้องกันบนผิวใบ สิ่งกีดขวางนี้ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันไม่ให้สปอร์ของเชื้อราเกาะติดกับใบและสร้างหลักสำหรับการเจริญเติบโต โดยรบกวนสภาวะที่เหมาะสมที่จำเป็นสำหรับการแพร่กระจายของเชื้อรา IS ช่วยลดอุบัติการณ์ของราสีชมพูในพืชทุเรียนได้อย่างมาก

นอกจากนี้ IS ยังแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่โดดเด่นในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราโดยไม่ทำอันตรายต่อต้นทุเรียน ซึ่งแตกต่างจากสารกำจัดเชื้อราทั่วไปที่อาจมีผลข้างเคียงในทางลบต่อสุขภาพพืชหรือผลผลิต IS ถูกคิดค้นสูตรอย่างพิถีพิถันเพื่อกำหนดเป้าหมายเฉพาะเชื้อราในขณะที่รักษาความมีชีวิตชีวาของต้นทุเรียน สิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ถึงแนวทางที่ยั่งยืนในการจัดการศัตรูพืชและปลูกสวนทุเรียนที่มีสุขภาพดีและแข็งแรงขึ้นในระยะยาว

การพัฒนา IS แสดงถึงความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการทำเกษตรอินทรีย์ ด้วยวิธีการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการกำจัดราสีชมพูให้แก่ผู้ปลูกทุเรียน IS จึงเสนอทางเลือกที่ได้ผลแทนสารกำจัดเชื้อราสังเคราะห์ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นสำหรับการผลิตอาหารออร์แกนิกและยั่งยืน ทำให้เกษตรกรสามารถตอบสนองความคาดหวังเหล่านี้ได้ในขณะที่ยังคงรักษาคุณภาพและความสมบูรณ์ของผลผลิตทุเรียนของตน

สรุปได้ว่า IS เป็นสารต้านเชื้อราอินทรีย์ที่กำจัดราสีชมพูในทุเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบจากธรรมชาติทั้งหมด ควบคู่ไปกับความสามารถในการควบคุมและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ทำให้เป็นเครื่องมือที่มีค่าสำหรับผู้ปลูกทุเรียนที่ต้องการวิธีแก้ปัญหาที่ปลอดภัยและยั่งยืน ด้วย IS เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนสามารถปกป้องพืชผลของตนจากผลกระทบที่เป็นอันตรายของราสีชมพู ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้บริโภคจะได้เพลิดเพลินกับผลไม้แสนอร่อยนี้อย่างเต็มที่

ไอเอส ขนาด 3 ลิตร
อัตรส่วนการใช้ 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
1 แกลลอน ผสมน้ำได้ 1200 ลิตร ใช้ได้ 15 ไร่


สั่งซื้อ
โทร 090-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link.. ได้เช่นกัน
เสาวรส โตไว ใบเขียว ผลใหญ่ แข็งแรง ผลผลิตดี อะมิโนโปรตีนจำเป็นสำหรับพืช 18 ชนิด อะมิโนแรปเตอร์ โดย ไดโนเร็กซ์
เสาวรส โตไว ใบเขียว ผลใหญ่ แข็งแรง ผลผลิตดี อะมิโนโปรตีนจำเป็นสำหรับพืช 18 ชนิด อะมิโนแรปเตอร์ โดย ไดโนเร็กซ์
อะมิโนโปรตีนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช พวกเขามีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมกระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีต่างๆ ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช อะมิโนโปรตีนชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมาคือโปรตีนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช 18 ชนิด รวมทั้งเสาวรส

เสาวรสเป็นผลไม้เมืองร้อนยอดนิยมที่ขึ้นชื่อเรื่องรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้เป็นอาหารเสริมที่ยอดเยี่ยมสำหรับอาหารทุกชนิด อย่างไรก็ตาม การปลูกเสาวรสอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายเนื่องจากมีความอ่อนไหวต่อโรคและสภาวะแห้งแล้ง

อะมิโน-โปรตีนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเสาวรสมีบทบาทสำคัญในการผลิตฮอร์โมนพืช ฮอร์โมนเหล่านี้มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชในด้านต่างๆ เช่น การแบ่งเซลล์ การพัฒนาของเนื้อเยื่อ และการสร้างดอกและผล ผลที่ตามมาคือ การมีอะมิโนโปรตีนในเสาวรสช่วยให้พืชเติบโตอย่างรวดเร็ว ออกผลใหญ่ขึ้นและแข็งแรงขึ้น และต้านทานต่อความแห้งแล้งและโรคต่างๆ ได้ดีขึ้น

อะมิโน-โปรตีนยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างและขยายเซลล์เนื้อเยื่อ ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของส่วนต่าง ๆ ของพืช ด้วยความช่วยเหลือของอะมิโนโปรตีนนี้ เสาวรสสามารถพัฒนาราก ลำต้น และใบที่แข็งแรง นำไปสู่พืชที่แข็งแรงและแข็งแรงมากขึ้น

นอกจากนี้ อะมิโนโปรตีนยังทำหน้าที่กระตุ้นเอนไซม์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช เอนไซม์มีส่วนร่วมในกระบวนการทางชีวเคมีมากมาย เช่น การสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจ และเมแทบอลิซึม โดยการกระตุ้นเอนไซม์เหล่านี้ อะมิโนโปรตีนจะช่วยเพิ่มความสามารถของพืชในการดูดซึมสารอาหารและเปลี่ยนเป็นพลังงาน

สรุปได้ว่า อะมิโน-โปรตีนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช 18 ชนิด รวมทั้งเสาวรส เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโตและการพัฒนาของพืช ที่มีอยู่ในเสาวรสช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ออกผลใหญ่ขึ้นและแข็งแรงขึ้น ทนทานต่อความแห้งแล้งและโรคต่างๆ เมื่อเข้าใจถึงความสำคัญของโปรตีนอะมิโนนี้ เกษตรกรและผู้ปลูกสามารถปรับปรุงวิธีปฏิบัติในการเพาะปลูกเสาวรสและเพิ่มผลผลิตได้

วิธีการใช้
ผสมน้ำฉีดพ่น
พืชผัก 10-20 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
นาข้าว พืชไร่ ไม้ผล 20-40 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
ผสมระบบน้ำหยด 500 มล.ต่อ 1 ไร่
ควรฉีดพ่น 2 ครั้งต่อเดือน
ไม่ควรฉีดพ่นระยะพืชออกดอก

สั่งซื้อ
โทร 097-918-3530
facebook โรงงานปุ๋ยไดโนเร็กซ์
ไลน์ janemini1112
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link..
ส้มโอ โตไว ใบเขียว ผลใหญ่ ผลผลิตดี ฉีดพ่นปุ๋ย FK-1 ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20เปอร์เซ็นต์
ส้มโอ โตไว ใบเขียว ผลใหญ่ ผลผลิตดี ฉีดพ่นปุ๋ย FK-1 ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20เปอร์เซ็นต์
ส้มโอ โตไว ใบเขียว ผลใหญ่ ผลผลิตดี ฉีดพ่นปุ๋ย FK-1 ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20เปอร์เซ็นต์
การเพิ่มผลผลิตส้มโอด้วยเทคนิคการเพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพและการใส่ปุ๋ย

ส้มโอหรือที่รู้จักในชื่อ Citrus maxima เป็นผลไม้รสเปรี้ยวเขตร้อนที่มีการปลูกอย่างแพร่หลายในหลายส่วนของโลก ขึ้นชื่อเรื่องขนาดที่ใหญ่ รสชาติสดชื่น และคุณค่าทางอาหารสูง อย่างไรก็ตามการปลูกส้มโอให้ได้ผลผลิตสูงสุดนั้นต้องอาศัยเทคนิคการเพาะปลูกที่เหมาะสมและการใช้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพ

ปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการปลูกส้มโอคือคุณภาพของดิน ต้นส้มโอเติบโตได้ดีที่สุดในดินที่มีการระบายน้ำดี โดยมีช่วง pH 5.5 ถึง 7.5 ดินควรอุดมไปด้วยอินทรียวัตถุและสารอาหาร เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ก่อนปลูกควรเตรียมดินโดยใส่อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือเศษใบไม้

นอกจากคุณภาพของดินแล้ว การให้น้ำที่เหมาะสมก็มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของการปลูกส้มโอ ต้นส้มโอต้องการความชื้นที่สม่ำเสมอและเพียงพอโดยเฉพาะในช่วงฤดูปลูก ควรทำการชลประทานอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าดินมีความชื้นสม่ำเสมอ แต่ไม่มีน้ำขัง การรดน้ำมากเกินไปอาจทำให้รากเน่าและโรคอื่นๆ ได้ ในขณะที่การรดน้ำไม่เพียงพออาจทำให้การเจริญเติบโตแคระแกร็นและผลผลิตลดลง

เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นส้มโอ เกษตรกรสามารถใช้ปุ๋ยเช่น FK-1 ฉีดพ่นทางใบ ปุ๋ยนี้มีส่วนผสมของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม สังกะสี และสารลดแรงตึงผิวที่สมดุล ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ดี FK-1 ฉีดพ่นทางใบใช้งานง่ายและสามารถฉีดพ่นที่ใบของต้นไม้ได้โดยตรงโดยใช้เครื่องพ่น

หากต้องการใช้ FK-1 เมื่อแกะกล่องออกมาจะพบสองถุง บรรจุถุงละ 1 กก. ต้องผสมใช้พร้อมกัน ให้ผสมถุงแรก 50 กรัมกับถุงที่สอง 50 กรัมในน้ำ 20 ลิตร แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบของต้นไม้ ควรใส่ปุ๋ยเดือนละครั้งในช่วงฤดูปลูกเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

นอกจากการใส่ปุ๋ยแล้ว การตัดแต่งกิ่งที่เหมาะสมก็มีความสำคัญต่อการปลูกส้มโอเช่นกัน การตัดแต่งกิ่งช่วยกำจัดกิ่งที่ตายหรือเป็นโรคออก ปรับปรุงการไหลเวียนของอากาศ และส่งเสริมการเจริญเติบโตใหม่ แนะนำให้ตัดแต่งต้นส้มโอในช่วงฤดูพักตัว ซึ่งโดยปกติจะอยู่ระหว่างเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์

สรุปได้ว่าเทคนิคการเพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพและการใช้ปุ๋ยที่มีคุณภาพ เช่น ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ FK-1 สามารถช่วยให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตของต้นส้มโอได้สูงสุด การดูแลคุณภาพดิน การชลประทาน การใส่ปุ๋ย และการตัดแต่งกิ่งที่เหมาะสม เกษตรกรสามารถมีต้นส้มโอที่สมบูรณ์แข็งแรงและให้ผลผลิตสูงซึ่งให้ผลคุณภาพสูง

สั่งซื้อ
โทร 090-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. ช้อปปี้ http://ไปที่..link.. และ ติ๊กต็อกช้อป http://ไปที่..link.. ได้เช่นกัน
3562 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 2 รายการ
|-Page 285 of 357-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 | 353 | 354 | 355 | 356 | 357 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
การจัดการและป้องกันการระบาดของเพลี้ยในต้นดอกกล้วยไม้: วิธีการแก้ไขปัญหาแมลงในสวน
Update: 2566/11/23 13:09:27 - Views: 3466
ต้นถั่วลิสง ใบไหม้ ใบจุด ใบเหลือง โคนเน่าขาว โรคแอนแทรกโนส ราสนิม โรคราต่างๆ ป้องกันและกำจัดด้วย ไอเอส และ ฟื้นฟู FK-T
Update: 2567/03/20 11:57:51 - Views: 3484
การจัดการและป้องกันโรคราสีชมพูในต้นลำไย: วิธีแก้ปัญหาเพื่อสวนลำไยที่แข็งแรง
Update: 2566/11/13 12:54:51 - Views: 3433
การจัดการเพลี้ยในองุ่น: วิธีป้องกันและควบคุมเพลี้ยเพื่อรักษาสุขภาพและผลผลิต
Update: 2566/11/14 10:51:40 - Views: 3432
บร็อคโคลี่ใบไหม้ ราน้ำค้าง กำจัดโรคบร็อคโคลี่ จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/10 10:41:19 - Views: 3402
โรคไหม้ในพืช หรือเรียกว่าโรคใบไหม้ มีสาเหตุจากเชื้อราหลายชนิด มีชื่อเรียกต่างกันออกไป
Update: 2566/11/04 08:42:14 - Views: 3382
การป้องกันและจัดการเพลี้ยในต้นมะละกอ: วิธีการที่มีประสิทธิภาพ
Update: 2566/11/22 13:34:38 - Views: 3480
โรคใบด่างมะละกอ เชื้อไวรัสในมะละกอ ต้องกำจัดเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำโรค และมีดตอนกิ่งที่ไม่สะอาดก็มีส่วน
Update: 2563/06/10 16:16:45 - Views: 4449
การปลูกฟักทอง ให้ได้ผลผลิตดี ด้วยการให้ ปุ๋ยยาฯ ที่เหมาะสม
Update: 2567/11/13 09:08:23 - Views: 16
คำนิยม - คุณหนุ่มนาข้าว ใช้ไอเอส แก้โรคจากเชื้อราในมะพร้าว และบำรุงด้วย FK-1
Update: 2562/08/30 12:50:27 - Views: 3412
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยแป้ง ในสับปะรด และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/07 10:45:33 - Views: 3426
โรคราน้ำค้างข้าวโพด และโรคข้าวโพดจากเชื้อราอื่นๆ เมื่อพบต้องเร่งป้องกันกำจัด
Update: 2566/11/08 08:24:09 - Views: 3396
อยากขายของ ในห้าง ต้องอ่าน!
Update: 2565/11/16 13:16:05 - Views: 3415
กำจัด เพลี้ยไฟ ในแตงโม เพลี้ยแตงโม และแมลงศัตรูพืชด้วย มาคา
Update: 2562/08/07 12:01:15 - Views: 4061
ลองกอง ใบไหม้ ใบเหลือง ราสีชมพู ราดำ รากเน่า ผลเน่า แอนแทรคโนส โรคราต่างๆ กำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟูด้วย ปุ๋ย FK-T
Update: 2567/03/29 11:27:13 - Views: 3496
ระวัง!! โรคราสนิม ราน้ำค้าง ใบจุด ใบไหม้ ผลไหม้ ในต้นลิ้นจี่ สร้างความเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร ??
Update: 2566/11/07 09:50:24 - Views: 3426
ปุ๋ยสำหรับมันสำปะหลัง ปุ๋ยเร่งโต และเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
Update: 2564/09/19 00:08:40 - Views: 3501
การใช้ INVET ผสมปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ ศัตรูพืชสำหรับต้นสตอเบอร์รี่
Update: 2567/02/26 13:08:42 - Views: 3471
ต่อสู้กับ โรคกาบแห้ง ในนาข้าว ด้วยสารอินทรีย์
Update: 2566/01/07 14:01:30 - Views: 3394
การใช้ คาร์รอน (Diuron 80% WG) เพื่อกำจัดวัชพืชในสวนเขือเปราะ
Update: 2567/02/13 09:10:42 - Views: 3505
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022