ลองกองเป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ดังนั้นสภาพอากาศที่ปลูกลองกองควรมีอากาศร้อนและชุ่มชื้น
- อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส
- ความชื้นในอากาศ 70-80%
- ปริมาณน้ำฝน 2000-3000 มิลลิเมตรต่อปี
- ระดับความสูงน้อยกว่า 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล
- ดินควรเป็นดินร่วนปนทรายมีอินทรียวัตถุสูง มีการระบายน้ำดีและต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอที่จะให้กับลองกองตามเวลาที่ต้องการ
ลองกองสามารถปลูกด้วยต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ดโดยตรง หรือต้นกล้าที่เปลี่ยนยอดแล้ว การเปลี่ยนยอดทำได้หลายวิธี คือ การเสียบยอด การเสียบข้าง การทาบกิ่ง และติดตา ก่อนปลูกลองกอง ควรเตรียมพื้นที่วางระบบน้ำ และปลูกพืชให้ร่มเงาให้เรียบร้อย
การเตรียมต้นกล้าต้นกล้าที่ใช้ควรมีอายุตั้งแต่ 1 ปี สมบูรณ์แข็งแรง ใบยอดคู่สุดท้ายแก่เต็มที่ ก่อนปลูกค่อย ๆ งดน้ำและปุ๋ย และเพิ่มแสงให้มากขึ้นทีละน้อย
การปรับพื้นที่ควรขุดตอและรากไม้เก่าออกให้หมด ไถตากดินไว้ 10-15 วัน แล้วปรับพื้นที่ให้เสมอ
การวางระบบน้ำการปลูกลองกองเป็นการค้า จำเป็นต้องมีระบบน้ำ ควรใช้ระบบพ่นฝอย (มินิสปริงเกอร์) เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและดูแลรักษา
ระยะปลูกลองกอง ถ้าปลูกแซมกับพืชอื่นระยะปลูกที่ใช้ขึ้นกับพืชหลัก (พืชประธาน) ถ้าปลูกเป็นพืชเดี่ยว ควรใช้ระยะระหว่างต้น 4-6 เมตรและ ระหว่างแถว 6-8 เมตร
พืชที่ให้ร่มเงาปลูกในสวนที่ปลูกลองกองพืชเดี่ยว เช่น กล้วย ยอป่า ทองหลาง แคฝรั่ง และสะตอ เป็นต้น และควรมีพืชบังลม เช่น กระถิน ไผ่ และสน รอบ ๆ สวนด้วย
การเตรียมหลุมปลูกลองกอง ขึ้นกับสภาพของดิน และการวางระบบน้ำกรณีที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ การขุดหลุมไม่จำเป็นต้องทำ หลังจากกำหนดแนวและจุดปลูกแล้ว ให้โรยหินฟอสเฟตบริเวณก้นหลุม ประมาณ 500 กรัม พรวนคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน
ฤดูปลูกควรปลูกต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน) แต่ถ้ามีน้ำรดเพียงพอก็สามารถปลูกในฤดูร้อนได้
การดูแลรักษาลองกอง
การปฏิบัติดูแลหลังจากปลูกหลังจากปลูกควรมีวัสดุคลุมโคน เช่น ฟางข้าว แกลบ ใบกล้วย หรือทางมะพร้าว และทำร่มเงาโดยใช้ ตาข่ายพรางแสง ทางมะพร้าว หรือปาล์มน้ำมัน และทำการพรวนดินบริเวณรอบโขด(ความลึกประมาณ 1 หน้าจอบหรือ 20-30 เซนติเมตร) เป็นวงกว้าง 1 เมตรรอบโขดเดิมหรือจากชายพุ่ม ทุก ๆ ปี ปีละ 1 ครั้ง ประมาณ 3 ปี ก็จะทำให้ต้นลองกองเจริญเติบโต แตกรากหาอาหารได้ดี ให้ผลผลิตเร็ว
การให้น้ำลองกอง ควรให้อย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะในฤดูแล้งที่ฝนทิ้งช่วง ในต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรให้น้ำสม่ำเสมอ จนกระทั่งแก่เต็มที่ จึงจะลดปริมาณน้ำและงดให้น้ำในที่สุดเพื่อกระตุ้นให้ลองกองสร้างตาดอก หลัง จากนั้น 30-50 วัน จึงเริ่มให้น้ำ
การตัดแต่งกิ่งลองกอง ควรตัดแต่งกิ่งแห้ง เป็นโรค และกิ่งกระโดงออก โดยให้แสงแดดสามารถส่องผ่านเข้าในทรงพุ่มได้บ้าง อย่าให้ทึบจนเกินไป จะทำให้เป็นแหล่งเพาะโรคและแมลงได้ หลังตัดแต่งแล้วควรใช้ยาป้องกันเชื้อราผสมน้ำ หรืออาจใช้น้ำผสมปูนกินหมาก ทาบริเวณแผลที่ตัดแต่ง เพื่อป้องกันเชื้อรา
การตัดแต่งช่อดอกลองกอง ควรทำในระยะที่ช่อดอกยาว 5-10 ซม. (สัปดาห์ที่ 3-5) ตัดให้เหลือ 1 ช่อต่อหนึ่งจุด (โดยให้แต่ละช่อห่างกัน 10-15 ซม.) แล้ว เลือกตัดช่อบริเวณปลายกิ่งที่มีขนาดเล็ก (เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 3 ซม.) ช่อที่ชี้ขึ้นบน ช่อที่สั้นและไม่สมบูรณ์ออก จำนวนช่อต่อต้นขึ้นกับขนาดทรงพุ่ม อายุ ความสมบูรณ์ ของต้น
การตัดแต่งช่อผลลองกอง ควรทำเมื่อผลมีอายุ 2-3 สัปดาห์หลังดอกบาน ตัดช่อที่มีผลร่วงมาก และช่อที่ผลเจริญเติบโตช้า ควรตรวจช่อผล ถ้าหากมีผลแตกหรือผลที่แคระแกร็น ควรเด็ดออกเพื่อให้ผลในช่อมีขนาดสม่ำเสมอ
การกำจัดวัชพืชลองกอง ควรใช้วิธีการตัด หรือถาก ขุด หรือถอน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเพราะจะทำให้รากลองกองได้รับผลกระทบด้วย
อ้างอิง
http://www.farmkaset..link..
สินค้าจากเรา
FK-1 ฉีดพ่นลองก่อง เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต และผลผลิต
ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ลองกองใบไหม้ เชื้อราต่างๆที่เกิดกับลองกอง