[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3562 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 2 รายการ

หากเราตากฝนตกปรอยๆ จะทำให้เราเป็นหวัดได้ แต่ตากฝนตกหนักนั้นไม่เป็นไร นี่เรื่องจริงนะเออ..
หากเราตากฝนตกปรอยๆ จะทำให้เราเป็นหวัดได้ แต่ตากฝนตกหนักนั้นไม่เป็นไร นี่เรื่องจริงนะเออ..
ตั้งแต่เด็กๆแล้ว เวลาวิ่งเล่นโดนฝนที่ตกปรอยๆ แม่มักจะบอกว่า ฝนตกปรอยๆแบบนี้ ตากฝนจะเป็นหวัดนะ เคยย้อนถามไปเหมือนกันถ้าฝนตกหนักล่ะ แม่ก็บอกไม่เป็นไร

.

ตอนนั้นเราก็คิดว่า ผู้ใหญ่ก็พูดๆไปอย่างนั้นแหละ ฝนตกหนักสิ ยิ่งทำให้เป็นหวัด แต่ที่แท้จริงแล้ว มันก็เป็นอย่างที่ผู้ใหญ่เขาพูดต่อๆกันมาจริงๆ
.

ฝนทำให้เราเป็นหวัดหรือ?
ไม่ใช่! ตนตอของหวัด คือไวรัสมากว่า 200 สายพันธุ์ พอฝนตก เราเปียก อุณหภูมิร่างกายลดลง ความชื้นทำให้ไวรัสที่อยู่ในร่างขายเราขยายตัวเพิ่มมากขึ้น และถ้าช่วงนั้นเราอ่อนแอ เราก็เป็นหวัด
.
ฝนตกปรอยๆ ทำให้เราเป็นหวัดได้กว่าตอนฝนตกหนัก

ช่วงฝนตกปรอย ๆ เม็ดฝนมีขนาดเล็ก ความชื้น ละอองฝน ฝุ่นละอองที่มีไวรัสปะปน จะเข้าจมูกและทางเดินหายใจง่ายกว่าตอนฝนตกหนัก ขณะเดียวกันอุณหภูมิร่างกายลดลง ทำให้ไวรัสเติบโตมากพอจนทำให้เราเป็นหวัด

.
ฉนั้นถ้าเราฝ่าฝนปรอยๆ หัวเปียกชื้นมานิดๆล่ะก็ เข้าบ้านรีบอาบน้ำสระผมทันที เช็ดตัวให้แห้ง เป่าผมให้แห้งไวๆ ก็น่าจะช่วยป้องกันโรคหวัดได้ดีในระดับนึง

อ่าน:3814
อินทผลัมใบไหม้ อินทผาลัมใบแห้ง จุดสนิม โรคต่างๆจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู โตไว ผลผลิตดี
อินทผลัมใบไหม้ อินทผาลัมใบแห้ง จุดสนิม โรคต่างๆจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู โตไว ผลผลิตดี
โรคที่เกิดกับ อินทผลัม หรือ อินทผาลัม ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา อาการ ใบใหม้ ใบแห้ง ยอดแห้ง ราสนิม ใบจุดสีน้ำตาล

การป้องกันกำจัด โรคราต่างๆ
1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
2. กำจัดวัชพืช
3. งดให้น้ำในช่วงเย็น
4. ฉีดพ่น ไอเอส และ FK-1 ในอัตราส่วนที่แนะนำ สามารถผสม ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้

ไอเอส ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้ ใบจุดสีน้ำตาล กิ่งแห้ง โรคใบติด โรคราน้ำค้าง ราสนิม แอนแทรคโนส ไฟธอปโทร่า หรือ โรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ไอเอส หยุดโรค และ FK-1 ธาตุหลัก N-P-K ธาตุรอง ธาตุเสริม Mg_ Zn สำหรับบำรุงให้แข็งแรง โตไว ผลผลิตดี สร้างภูมิคุ้มกันโรค

ตัวอย่างเชื้อรา สาเหตุโรคพืชต่างๆ
#Pyricularia_oryzae สาเหตุ โรคไหม้คอรวง ข้าวเน่าคอรวง
#Phytophthora_spp. #Sclerotium_spp. สาเหตุ โรครากเน่า โคนเน่า
#Capnodium_sp. #Meliola_sp. สาเหตุ โรคราดำ
#Maravaria_pterocarpi (ราสนิมพะยูง)
#Olivea_teetonae (ราสนิมสัก)
#Cercospora_sp. #Macrophoma_sp. สาเหตุ โรคใบจุด
#Alternaria_sp. #Phyllachora_sp. สาเหตุ โรคใบจุดนูนดำ
#Pestalotropsis_sp. สาเหตุ โรคใบไหม้
#Oidium_sp. #Uncinula_tectonas สาเหตุ โรคราแป้ง
#Verticillium_sp. #Fumsarium_spp. #Selerotium_sp. สาเหตุ โรคเหี่ยว

✅ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
✅ฉีดพ่นต่อเนื่องไม่อันตราย
✅ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

ข้อมูลและอัตราผสมใช้
🍂 ไอเอส อัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)
🌿 FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส ได้เลย
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🍂ข้อมูลจำเพาะ ไอเอส

สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติทั้งหมด ผ่านการวิจัยพัฒนา เพื่อคัดเลือกวัตถุดับที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุม และยับยั้งเชื้อรา ด้วยเทคโนโลยี “การควบคุมด้วยประจุไฟฟ้า (Ion Control)” โดยควบคุมสภาพแวดล้อมที่ผิวใบพืช ทำให้เกิดภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ของเชื้อรา อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดผิวใบพืชได้ดียิ่งขึ้น ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้ใช้และผู้บริโภค
*การใช้ ไอเอส ในช่วงรักษาโรคพืชจากเชื้อรา กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

🌿ข้อมูลจำเพาะ FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig s law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บฟาร์มเกษตรโดยตรง (เลือกแยกซื้อได้)
http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Lazada http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Shopee http://www.farmkaset..link..
โรคผักบุ้ง โรคราสนิมขาวผักบุ้ง ผักบุ้งใบไหม้ ใบเหลือง จุดเหลือง โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
โรคผักบุ้ง โรคราสนิมขาวผักบุ้ง ผักบุ้งใบไหม้ ใบเหลือง จุดเหลือง โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
โรคราสนิมขาวผักบุ้ง White Rust มีสาเหตจาก เชื้อรา Albugo ipomoea-aquaticae Sawada เป็นเชื้อราชั้นต่ำ อาการที่แสดงให้เห็น เป็นจุดเหลืองอ่อนด้านบนใบ ทางตรงข้ามด้านใต้ใบ เป็นตุ่มนูน และพบปุ่มพอง ในส่วนของลำต้น และก้านใบ

การป้องกันกำจัด

ชุดคู่ป้องกันกำจัด บวกด้วยฟื้นฟูบำรุง

ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกัน กำจัด ยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ โรคใบไหม้ ใบจุด ยอดแห้ง ราสนิม ราน้ำค้าง แอนแทรคโนส ไฟทอปโธร่า

และ FKธรรมชาตินิยม ฟื้นฟู แก้ต้นโทรม ราพืชไม่กินปุ๋ย อาการใบซีด ใบเหลือง ต้นแคระ อาการขาดธาตุอาหารของพืช

โรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ยกตัวอย่างโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น อาการ ใบไหม้ ใบจุด ใบขีดสีน้ำต้าง โรคใบติด ราสนิม ราน้ำค้าง โรคกุ้งแห้ง แอนแทรคโนส ไฟท็อปโธร่า เป็นต้น

ทั้งอาการใบไหม้ และใบเหลือง เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดได้จากโรค และการขาดธาตุอาหารพืชที่จำเป็น รวมถึงการให้น้ำ และการได้รับแสงแดด ซึ่งการพิจารณาสาเหตุนั้น ต้องสังเกตุอาการ และแก้ปัญหาทีละจุด

ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดโรคพืชต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FKธรรมชาตินิยม แก้ปัญหาโรคพืช ที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารพืชต่างๆ และส่งเสริมการเจริญเติบโต ตลอดไปถึง การส่งเสริมผลผลิตพืช

ยกตัวอย่างเช่น

อาการใบไหม้ และอาการต่างๆ ที่เกิดจากโรคเชื้อรา
- โรคใบไหม้ โรคใบจุด และโรคใบขีดสีน้ำตาล จะต่างจากการขาดธาตุที่สังเกตุได้คือ โรคที่มีสาเหตุจากเชื้อรา จะลุกลามไปยังใบไหม้ และลุกลามขยายวงไปยังต้นข้างเคียง
- โรคราแป้ง ราสนิม ราน้ำค้าง มีการลุกลามติดต่อเช่นกัน

อาการใบไหม้ และอาการต่างๆ ที่เกิดจากการขาดธาตุ
- ขาด โพแทสเซียม ที่ใบแก่จะเหลืองซีด ขอบใบมีจุดสีน้ำตาลไหม้
- ขาด แมกนีเซียม ใบจะมีจุดเหลืองทั่วทั้งใบ ที่ปลายใบจะแห้ง
- ขาด สังกะสี ใบจะมีจุดเหลืองคล้ายราสนิม

อาการใบเหลือง ใบซีด ก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- ใบเหลือง จากการขาดธาตุ ไนโตรเจน
- ใบเหลือง เพราะได้รับแสงไม่เพียงพอ
- ใบเหลือง เพราะรดน้ำมาก หรือน้อยจนเกินไป
- ใบเหลือง เพราะค่า pH หรือความเป็นกรดด่างของดิน ไม่เหมาะสม
- ใบเหลือง เพราะขาดธาตุเหล็ก
- ใบเหลือง เพราะพืชลดจำนวนคลอโรฟิลล์ เพราะการขาดธาตุรอง หรือธาตุเสริมบางอย่าง

อาการใบไหม้และโรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ทุก 3-5 วัน

อาการของพืช ที่เกิดจากการขาดธาตุต่างๆ ฉีดพ่น FK ธรรมชาตินิยม

หมายเหตุ สามารถ ผสม ไอเอส และ FK ธรรมชาตินิยม ฉีดพ่นไปพร้อมกันในคราวเดียว

อัตราส่วนผสม
ไอเอส 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร
FKธรรมชาตินิยม 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร
สามารถผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันได้
*สำหรับท่านที่พ่นด้วย ฟ็อกกี้ ขนาด 1-2ลิตร ใช้ฝา FKธรรมชาตินิยมตวงประมาณ 2ฝา


การสั่งซื้อ

โทร 090-592-8614

ไลน์ไอดี http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ฟาร์มเกษตร http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ช้อปปี้ http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ลาซาด้า http://www.farmkaset..link..
ขั้นตอนการปลูกข้าวโพดหวาน วิธีปลูกข้าวโพด การให้น้ำข้าวโพดหวาน
ขั้นตอนการปลูกข้าวโพดหวาน วิธีปลูกข้าวโพด การให้น้ำข้าวโพดหวาน
ขั้นตอนการปลูกข้าวโพดหวาน วิธีปลูกข้าวโพด การให้น้ำข้าวโพดหวาน
วิธีการปลูกและการให้น้ำข้าวโพดหวาน

แม้ว่าการปลูกข้าวโพดหวานสามารถทำได้ตลอดปีถ้ามีแหล่งน้ำเพียงพอ อย่างไรก็ตามผลผลิตและคุณภาพข้าวโพดหวานอาจจะแตกต่างไปตามฤดูกาล นอกจากนี้พันธุ์บางพันธุ์อาจตอบสนองต่อฤดูปลูกแตกต่างกัน โดยทั่วไปในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ จะให้ผลผลิตต่ำกว่าในช่วงอื่น ๆ เนื่องจากอากาศเย็น ขณะที่การปลูกในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม จะได้ผลผลิตดีกว่าช่วงอื่น ๆ ไม่มีโรคราน้ำค้างระบาดและปัญหาวัชพืชซึ่งจะน้อยกว่าการปลูกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เพราะผลผลิตบางส่วนอาจเสียหายได้เนื่องจากช่วงดังกล่าวฝนตกชุก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมหรือน้ำขังในแปลงปลูกได้ง่าย โดยเฉพาะในแปลงที่มีระบบการระบายน้ำไม่ดี
การเตรียมดิน

ในการปลูกข้าวโพดหวานควรมีการเตรียมดินอย่างดี เพื่อช่วยกำจัดวัชพืชย่อยเศษซากพืชและคลุกเคล้าอินทรียวัตถุ อีกทั้งยังเป็นการทำลายโรคและแมลงบางชนิดที่เป็นศัตรูข้าวโพด โดยทั่วไปการเตรียมดินควรปฏิบัติ ดังนี้

1. ไถด้วยผาลสาม 1 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร และตากดิน 7-10 วัน แล้วพรวนด้วยผาลเจ็ด 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว ไหล ของวัชพืชออกจากแปลงให้หมด

2. เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ ถ้าพบว่าดินมีความเป็นกรดต่ำกว่า 5.5 ให้หว่านปูนขาว อัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่แล้วพรวนกลบ จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 14 วัน ก่อนปลูกข้าวโพดหวาน

3. ถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5 ให้ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 500-1_000 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนดินกลบ

วิธีการปลูก

เมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกควรมีความงอกสูงกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ หยอด 1 เมล็ดต่อหลุม โดยใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1.0-1.2 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ถ้าเมล็ดพันธุ์มีความงอกต่ำกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ควรหยอดเมล็ด 1-2 เมล็ดต่อหลุม และหยอดลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร ซึ่งใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1.5-2.0 กิโลกรัมต่อไร่ เนื่องจากพันธุ์ข้าวโพดหวานที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง ดังนั้นก่อนปลูกทุกครั้งต้องคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเมตาแลกซิล อัตรา 7 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เพื่อป้องกันโรคราน้ำค้าง สำหรับอัตราปลูกที่เหมาะสมของข้าวโพดหวานเพื่ออุตสาหกรรมการแปรรูปควรอยู่ในช่วง 8_500-11_00 ต้นต่อไร่ ซึ่งการจัดระยะปลูกสามารถทำได้โดย

1. ใช้ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร และระยะระหว่างต้น 20-25 เซนติเมตร เมื่อข้าวโพดมีอายุประมาณ 10-14 วัน ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม จะได้จำนวนต้นประมาณ 8_533-10_667 ต้นต่อไร่

2. ใช้ระยะระหว่างแถวและระยะระหว่างต้นเท่ากัน คือ ประมาณ 40 เซนติเมตร เมื่อข้าวโพดมีอายุประมาณ 10-14 วัน ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม จะได้จำนวนต้นประมาณ 10_000 ต้นต่อไร่

การให้น้ำ

การขาดน้ำทุกระยะการเจริญเติบโตจะมีผลให้ผลผลิตและคุณภาพของข้าวโพดลดลง ก่อนการปลูกเกษตรกรต้องมีการวางแผนวิธีการให้น้ำที่เหมาะสมกับสภาพแปลงปลูก โดยทั่วไปการให้น้ำมีหลักปฏิบัติ ดังนี้

1. ให้น้ำทันทีหลังปลูกและหลังการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง หลังจากนั้นให้น้ำทุก 7-12 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ วิธีการให้น้ำที่เกษตรกรปฏิบัติมีอยู่ 2 แบบ คือ ให้น้ำตามร่องคูและให้น้ำแบบพ่นฝอย (Sprinkler) ซึ่งการให้น้ำแบบพ่นฝอยควรให้น้ำแต่ละครั้งประมาณ 35-40 มิลลิลิตร ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและชนิดของดิน เช่น ถ้าดินที่ใช้ปลูกเป็นดินทรายหรือดินร่วน ควรให้น้ำถี่กว่าดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียว เพราะดินดังกล่าวมีความสามารถในการเก็บความชื้นไว้ นอกจากนี้ในช่วงการเจริญเติบโต หากสภาพอากาศมีอุณหภูมิสูงหรือมีลมแรงก็ควรมีการให้น้ำถี่ขึ้น

2. หากพบว่าใบข้าวโพดหวานเหี่ยวหรือม้วนในช่วงเช้าหรือเย็น แสดงว่าขาดน้ำต้องรีบให้น้ำทันที

3. หลังการให้น้ำต้องระวังไม่ให้น้ำท่วมขังในแปลงนานเกิน 24 ชั่วโมง เพราะข้าวโพดหวานจะชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงหรืออาจตายได้

4. อย่าให้ข้าวโพดขาดน้ำในช่วงการเจริญเติบโต โดยเฉพาะในช่วงผสมเกสรและติดเมล็ด เพราะจะทำให้ผลผลิตและคุณภาพผลผลิตลดลงอย่างมาก ถึงแม้การขาดน้ำจะเป็นช่วงสั้น ๆ และไม่รุนแรง

5. หยุดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานประมาณ 2-3 วัน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง kubotasolutions.com/ knowledge/corn/detail/313
อ่าน:3803
รับมือ โรคราน้ำค้างในข้าวโพด
รับมือ โรคราน้ำค้างในข้าวโพด
ในระยะนี้จะมีอากาศร้อนและมีฟ้าหลัวตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดให้หมั่นสังเกตอาการของโรคราน้ำค้าง มักพบแสดงอาการในระยะที่เริ่มเพาะปลูกจนถึงระยะที่ต้นข้าวโพดมีอายุประมาณ 30 วัน ซึ่งในระยะนี้ต้นข้าวโพดจะอ่อนแอต่อโรคนี้มาก โดยอาการของโรคจะพบได้ตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก เริ่มแรกจะพบจุดเล็กสีเขียวฉ่ำน้ำบนใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดบริเวณยอดมีสีเหลืองซีด หรือใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับเขียวแก่ ในเวลาเช้าที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและมีความชื้นสูง ด้านใต้ใบมักพบส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราเป็นผงสีขาวจำนวนมาก บางครั้งพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นแคระแกร็น เตี้ย ข้อถี่ ไม่มีฝักหรือมีฝักขนาดเล็ก ก้านฝักมีความยาวมากหรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ แต่ฝักจะไม่สมบูรณ์ เช่น มีจำนวนเมล็ดน้อย หรือไม่มีเมล็ดเลย

กรณีเริ่มพบการระบาดของโรค ให้เกษตรกรถอนต้นกล้าข้าวโพดที่แสดงลักษณะอาการของโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เนื่องจากเชื้อสาเหตุโรค สามารถเข้าทำลายต้นข้าวโพดได้ตั้งแต่ในระยะที่ข้าวโพดเริ่มงอก ซึ่งการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชหลังจากต้นข้าวโพดอายุ 20 วันขึ้นไป จะไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้ สำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน ในส่วนของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีพื้นที่ปลูกเป็นบริเวณกว้าง ให้เน้นการป้องกันกำจัดโดยใช้วิธีการคลุกเมล็ดพันธุ์

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกัน รักษาโรคราน้ำค้างในข้าวโพด ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟูข้าวโพด บำรุง เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคราน้ำค้าง รวมถึงส่งเสริมการเจริญเติบโต ตลอดจนเพิ่มผลผลิต
ส่งออกข้าวโพดหวาน อนาคตรุ่ง
ส่งออกข้าวโพดหวาน อนาคตรุ่ง

 

ผู้ประกอบการข้าวโพดหวานกระป๋องลุ้นระทึกอียูยกเลิกมาตรการตอบโต้ทุ่มตลาดกลางปีนี้ เผยหากผู้ประกอบการฝรั่งเศส ฮังการี ไม่เสนอกรรมาธิการยุโรปทบทวน จะถูกยกเลิกโดยปริยายชี้หวังได้สูงเหตุหิมะถล่มสินค้าขาดตลาด ข้าวโพดฝักอ่อนไทยพลอยได้รับอานิสงส์ราคาแตะกก. 35 บาท 

 
นายพรชัย ปิ่นวิเศษ ประธานกลุ่มข้าวโพดหวาน สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงสถานการณ์ตลาดข้าวโพดหวานกระป๋องว่ามีแนวโน้มที่สดใสมาก เพราะเวลานี้ทุกตลาดหันมานำเข้าข้าวโพดหวานกระป๋องจากประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี แม้ว่าข้าวโพดหวานกระป๋องของไทยจะถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี)จากสหภาพยุโรป(อียู) แต่ยังสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะสหรัฐอเมริกาผลผลิตข้าวโพดหวานเริ่มลดลงหลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมปลูกพืชพลังงาน จึงหันมานำเข้าจากไทย ส่วนญี่ปุ่นก่อนหน้านี้เป็นผู้นำเข้าจากสหรัฐฯเมื่อผลผลิตสหรัฐฯลดลงสินค้าราคาแพงญี่ปุ่นจึงหันมานำเข้าจากไทยเช่นเดียวกัน

 
นอกจากมีตลาดใหม่เข้ามารองรับตลาดสหภาพยุโรปแล้ว ขณะนี้ผู้ประกอบการมีความหวังลึกๆ ว่ากลางปีนี้จะมีข่าวดีสำหรับตลาดสหภาพยุโรป เพราะว่าเดือนมิถุนายน 2555 จะครบ 5 ปีที่อียูเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและจะมีการทบทวนเป็นครั้งแรก ซึ่งตามขั้นตอนนั้นผู้ประกอบการในยุโรปที่เป็นผู้ยื่นเรื่องต่อทางการของยุโรปให้ไต่สวนและเรียกเก็บภาษีเอดีผู้ส่งออกของไทยต้องเป็นผู้ยื่นให้มีการทบทวนจะยกเลิกหรือเรียกเก็บภาษีเอดีในอัตราเท่าใด หากผู้ประกอบยุโรปไม่ยื่นให้ทบทวนเท่ากับว่าการเรียกเก็บภาษีเอดีจากผู้ส่งออกไทยถูกยกเลิกไปโดยปริยาย

 
"เวลานี้หลายประเทศในสหภาพยุโรปประสบภัยธรรมชาติหิมะตกอย่างรุนแรง จนไม่สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตรได้ สินค้าพืชผักต่างๆ ไม่เพียงพอบริโภค จะเห็นได้ว่าเวลานี้ยุโรปสั่งนำเข้าข้าวโพดฝักอ่อนสดจากประเทศไทยจนสินค้าไม่พอป้อน และดันราคาภายในประเทศสูงขึ้นจากเคยรับซื้อกก.ละ 20-21 บาท เวลานี้ข้าวโพดฝักอ่อนราคาสูงถึงกก.ละ 35 บาท จึงมีความหวังว่าผู้ประกอบการในประเทศฝรั่งเศส ฮังการี และอิตาลีที่ยื่นฟ้องกล่าวหาไทยทุ่มตลาดข้าวโพดหวานจะไม่ยื่นให้ทางการยุโรปทบทวน นั่นเท่ากับว่ามาตรการเรียกเก็บเอดีถูกยกเลิกไปโดยปริยาย ส่วนข้าวโพดหวานกระป๋องราคายังไม่เคลื่อนไหวสูงขึ้นเท่ากับข้าวโพดฝักอ่อนเพราะเป็นสินค้าอุตสาหกรรม"

 
นายพรชัย กล่าวว่าจากการที่อุตสาหกรรมข้าวโพดหวานกระป๋องมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จึงได้เสนอสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) บรรจุข้าวโพดหวานเป็นพืชเศรษฐกิจ มีนโยบายส่งเสริมปลูกอย่างชัดเจน เพราะเวลานี้ปัญหาของผู้ประกอบการคือวัตถุดิบไม่เพียงพอป้อนโรงงาน ทั้งที่ตลาดมีความต้องการ ขณะเดียวกันได้เสนอกระทรวงพาณิชย์เข้ามากำกับดูแลผู้ประกอบการไม่ให้ขายสินค้าตัดราคากันเอง เพราะสาเหตุถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดอยู่ ณ เวลานี้เป็นผลสืบเนื่องจากผู้ประกอบการขายตัดราคากันเอง ซึ่งไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด เพราะข้าวโพดหวานกระป๋องตลาดมีความต้องการสูง ผู้ส่งออกของไทยสามารถกำหนดราคาขายได้โดยไม่ต้องไปกดราคาขายแข่งกันแต่อย่างใด
 
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
 
อ่าน:3791
วิธีการคำนวณสูตรปุ๋ย
วิธีการคำนวณสูตรปุ๋ย
วิธีการคำนวณสูตรปุ๋ย
การคำนวณสูตรปุ๋ย เป็นการหาอัตราส่วนของการใช้แม่ปุ๋ย 3 สูตร เพื่อผสมเป็นปุ๋ยสูตรใดๆ ตามต้องการ ปุ๋ยสูตรต่างๆที่มีขายในท้องตลาด เกิดจากการใช้แม่ปุ๋ยต่างๆ ผสมเป็นสูตรที่กำหนด เพื่อให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การนำไปใช้ โดยหลักการง่ายๆแล้ว สูตรปุ๋ยจะถูกออกแบบมาเพื่อให้บำรุงพืชตามช่วงการเจริญเติบโตของพืช ในช่วงอายุต่างๆกัน

เม่ปุ๋ยที่นิยมใช้มากที่สุดจะมีอยู่ 3 สูตรดังนี้
1. แม่ปุ๋ย N หรือไนโตรเจน ใช้ สูตร 46-0-0 มีชื่อเรียกว่า ปุ๋ยยูเรีย
2. แม่ปุ๋ย P หรือฟอสฟอรัส ใช้ สูตร 18-46-0 มีชื่อเรียกว่า DAP ปุ๋ยแด๊ป
3. แม่ปุ๋ย K หรือโพแทสเซียม ใช้ สูตร 0-0-60 มีชื่อเรียกว่า MOP ปุ๋ยม็อป

ตัวเลขข้างกระสอบปุ๋ย 3 หลัก จะจัดเรียงธาตุอาหารเป็น
N-P-K = ไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส-โพแทสเซียม ตามลำดับ

จะเห็นได้ว่าตัวเลขสูตรในแม่ปุ๋ย มีเปอร์เซ็นของธาตุอาหารไม่เท่ากันในแต่ละหลัก การผสมปุ๋ยเป็นสูตรต่างๆ จึงไม่ได้ตรงไปตรงมา เช่น การเอาแม่ปุ๋ยทุกสูตร ในปริมาณเท่ากันทั้ง 3 สูตร มาผสมกัน จะไม่ได้ปุ๋ยสูตรเสมอ ที่มีธาตุอาหารทุกธาตุเท่าๆกัน เช่นสูตร 15-15-15 ไม่ได้หมายความว่า จะเอาแม่ปุ๋ยต่างๆมาอย่างละเท่าๆกัน แล้วเติม ฟิลเลอร์ลงไป หลายๆคนเข้าใจผิดในจุดนี้

แม่ปุ๋ย P หากเลือกให้ DAP ซึ่งเป็นสูตร 18-46-0 ก็เป็นตัวเลขที่ทำให้ต้องถอดค่าออกมาสองรอบ เนื่องจากใน DAP เป็นแม่ปุ๋ยฟอสฟอรัสก็จริง แต่ก็มี ไนโตรเจนปนอยู่ด้วย 18 เปอร์เซ็นต์ เราจึงต้องถอดอัตราส่วนของ ฟอสฟอรัสที่ได้ และถอดอัตราส่วน ไนโตรเจนที่ได้ออกมากอีกรอบ แล้วนำอัตราส่วน ไนโตรเจนที่ได้จาก DAP ไปร่วมกับอัตราส่วน ไนโตรเจนที่ได้จาก ยูเรีย อีกรอบหนึ่ง ถึงจะได้ค่า N หรือไนโตรเจนรวม ที่ถูกต้อง

N-P-K หมายความง่ายๆอย่างไร
จำแบบง่ายๆ
ปุ๋ย N สูง ใช้ เร่งโต เพิ่มความเขียว แตกยอดผลิตใบสร้างเนื้อเยื่อ
ปุ๋ย P สูง ใช้ ส่งเสริมระบบราก เร่งการออกดอก
ปุ๋ย K สูง ใช้ เร่งผลผลิต ผลโต น้ำหนักดี และยังส่งเสริมภูมิต้านทานด้วย

ถาม: เวลาต้องการเร่งโต เร่งเขียว ทำไมไม่ใส่ 46-0-0 ไปเลยล่ะ ก็ในเมื่อต้องการให้มันโต?
ตอบ: จะดีกว่าไหม ในต้องที่เร่งโต เราส่งเสริมระบบรากไปด้วยพร้อมกัน พืชจะได้กินอาหารได้ดีขึ้น โตได้มากขึ้นกว่าใส่ยูเรียเพียวๆ พร้อมกันนั้นก็ให้โพแทสเซียมนิดหน่อย จะได้ต้านทานต่อโรคได้ดีขึ้น จึงมีการคิดค้นปุ๋ย 16-16-8 หรือ 16-8-8 หรือ 15-15-15 ขึ้นมา ใส่แล้วได้ผลดีกว่าใช้แม่ปุ๋ยเพียวๆ หรืออย่างปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ FK-1 เป็นสูตร 20-20-20 เป็นตัวเลขที่สูงมาก ใช้แม่ปุ๋ยหลัก Urea_ DAP_ MOP ผสมไม่ได้ เพราะความเข็มข้นไม่เพียงพอ ปุ๋ยสูตรลักษณะนี้ เกิดจากการผสมจากแม่ปุ๋ยอื่นๆที่หาซื้อได้ยากเช่น MAP โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟส หรืออื่นๆ

ถาม: ตอนเร่งให้ผลโต น้ำหนักดี ทำไมไม่ใช้ 0-0-60 ไปเลยล่ะ?
ตอบ: การบวนการสร้างแป้งและน้ำตาล เพิ่มผลผลิต ใช้ โพแทสเซียมสูงที่สุดก็จริง แต่ระบบรากที่ดี ทำให้พืชแข็งแรง ไนโตรเจน ช่วยหล่อเลี้ยงความเขียว ทำให้ต้นไม่โทรมในขณะสร้างผล และไนโตรเจนยังเพิ่มคลอโรฟิลล์ เมื่อพืชใบเขียว รับแสงแดด ปรุงอาหารได้ดี จึงทำให้กระบวนการสร้างแป้งและน้ำตาล และเคลื่อนย้ายมาสะสมเป็นผลผลิต ทำได้ดี สมบูรณ์กว่าการใช้ โพแตสเซียมเพียวๆ จึงได้มีการคิดสูตรอย่างเช่น 13-13-21 หรือ 8-8-24 หากเป็นปุ๋ยฉีดพ่นทางใบก็ FK-3 ที่เป็นสูตร 5-10-40 ก็ใช้เร่งผลผลิตได้เป็นอย่างดี

การคำนวณสูตรปุ๋ย ทุกวันนี้ไม่ต้องคิดเองแล้ว ใช้เว็บแอพคำนวณได้เลย ที่ เว็บแอพฯผสมปุ๋ย
การทำไร่อ้อย ใน 4 ขั้นตอนหลักๆ
การทำไร่อ้อย ใน 4 ขั้นตอนหลักๆ
การทำไร่อ้อย ใน 4 ขั้นตอนหลักๆ
การทำไร่อ้อย มีหลักใหญ่ ๆ อยู่ประมาณ 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
ขั้นตอนที่ 1. การเตรียมดิน
ขั้นตอนที่ 2. การปลูกอ้อย
ขั้นตอนที่ 3. การดูแล – รักษา
ขั้นตอนที่ 4. การเก็บเกี่ยว


ขั้นตอนที่ 1. การเตรียมดิน
ชาวไร่ที่จะเริ่มปลูกอ้อยใหม่ไม่ว่าจะปลูกในที่แปลงใหม่ที่ที่ยังไม่เคยปลูกอ้อยมาก่อนเลย หรือแปลงอ้อยเก่าล้างทิ้งเพื่อปลูกใหม่ ก็ต้องมีการเตรียมการเกี่ยวกับดินในแปลงที่จะปลูก การเตรียมอ้อยของชาวไร่ปลูกอ้อยกัน ตั้งแต่หลังฤดูตัดอ้อยเข้าโรงงานแล้ว อยู่ประมาณเดือนมีนาคม – มิถุนายน เพราะเป็นช่วงหน้าแล้งต่อฤดูฝน จะได้มีเวลาเตรียมดินและเตรียมปลูกอ้อยก่อนฤดูฝนมีฝนตกมาก ๆจะมาถึง

วิธีการเตรียมดินในแปลงที่จะปลูกอ้อย ควรจะกำจัดใบอ้อยหรือวัชพืชต่าง ๆ ที่ตกค้างอยู่ในแปลง
โดยการเผาทำลายหรือขนทิ้งเสีย หลังจากนั้นใช้รถไถดินเข้าไปไถในแปลงครั้งแรกนี้ เรียกว่า “ไถดะ” เสร็จแล้วทิ้งดินตากแดดไว้อย่างน้อย 15 วันเพื่อให้วัชพืชพร้อมทั้ง แมลงศัตรูอ้อยที่ฝังตัวอยู่ในดินพลิกขึ้นมาถูกแดดเผาทำลายเสีย หากเป็นไปได้รอให้ฝนตกลงมาจะทำให้ดินในแปลงที่ไถดะเอาไว้ถูกน้ำฝน ดินจะแตกออกและชื้นนุ่มหลังจากนั้นใช้รถไถดินกลับเข้าไปไถอีกครั้งเรียกว่า “ไถแปร” การไถแปรนี้หากไถไปแล้วหนึ่งครั้ง สังเกตเห็นว่าดินในแปลงยังก้อนใหญ่อยู่ ยังไม่ร่วนซุยพอ ก็สมควรที่จะต้องแปรเพิ่มอีกหนึ่งครั้งเพราะถ้าหากทำดินไม่ดี จะมีผลต่อการงอกและเจริญเติบโตของอ้อยคือ ถ้าดินก้อนใหญ่เกินไป ดินจะไม่กระชับท่อนพันธุ์อ้อยทำให้อ้อยไม่แตกราก ไม่งอกในเวลาอันสมควร แต่ถ้าดินร่วนซุยดี ดินจะเข้าไปกระชับติดกับลำอ้อยท่อนพันธุ์ ความชื้นมากทำให้อ้อยแตกรากเร็ว งอกเร็ว เติบโต ได้ดี ซึ่งจะมีผลต่อการดูแล – รักษา และบำรุงเพิ่มผลผลิตต่อไป

ขั้นตอนที่ 2 การปลูกอ้อย
อ้อยที่ปลูกกันอยู่ในประเทศไทย เพื่อผลิตน้ำตาลในขณะนี้มีอยู่หลายสายพันธุ์ แต่ละพันธุ์ก็เหมาะกับพื้นดินแต่ละพื้นที่ โดยส่วนมากชาวไร่จะ นิยมปลูกอ้อยที่เห็นว่าเหมาะสมกับพื้นที่มีอยู่ประมาณ 4 – 5 พันธุ์ เช่น เค 84 – 200 เค 88 – 92 เค 90 – 77 พันธุ์อู่ทอง 1 และอื่นๆ พันธุ์อ้อยเหล่านี้ ชาวไร่ปลูกแล้วได้ผลผลิตต่อไร่สูง ให้ความหวานสูง ดูแลรักษาและเก็บเกี่ยวง่าย จึงนิยมปลูกกันมาก

เมื่อชาวไร่พันธุ์อ้อยแล้ว ฝนตกมีความชื้นดีแล้วสมควรปลูก การปลูกอ้อยของกลุ่มชาวไร่อ้อยมีปลูกกันอยู่ 2 วิธีด้วยกันคือ 1. ใช้แรงงานคนปลูกโดยตรง 2. ใช้รถไถมีเครื่องปลูก

วิธีที่ 1 การใช้แรงงานคนปลูก ชาวไร่จะต้องใช้รถไถเข้าไปยกร่องในแปลงปลูกให้เป็นร่อง ๆ แต่ละร่องห่างกันประมาณ 1.00 เมตร ถึง 1.50 เมตร แล้วแต่ความชอบของชาวไร่แต่ ละคน เรียบร้อยแล้วใช้คนงานนำพันธุ์อ้อยใส่ลงในร่องทั้งลำ หรือตัดเป็นท่อน ๆ แล้วแต่ความเหมาะสม ในกรณีปลูกโดยอาศัยน้ำฝนควรจะรอให้ฝนตกลงมา มีความชื้นในร่องอ้อยมากพอก่อนจึงปลูก แต่ถ้ามีน้ำสูบเองก็ปลูกได้เลย

วีธีที่ 2 ใช้รถไถมีเครื่องปลูก วิธีนี้กลุ่มชาวไร่นิยมปลูกกันมาก เพราะประหยัดแรงงาน ประหยัดเวลา และเครื่องปลูกยังสามารถใส่ปุ๋ยในดินไปพร้อมกับปลูกอ้อยไปด้วยเลย การปลูกโดยวิธีที่ 2 นี้ ควรปลูกหลังจากฝนตกลงมาความชื้นในดินมีมากพอ

ขั้นตอนที่ 3 การดูแล – รักษา
การดูแลรักษาอ้อยให้เจริญงอกงามนั้น เป็นภาระอันสำคัญของชาวไร่อ้อยเป็นอย่างมาก สาเหตุหลักหลักก็คือ เรื่องวัชพืชที่ขึ้นมาแย่งอาหารของอ้อย แมลงศัตรูกัดทำลายต้นอ้อย และโรคระบาดของอ้อย

อ้อยปลูกใหม่ไม่ว่าจะปลูกโดยแรงงานคน หรือ ใช้รถปลูก ควรจะใช้สารคุมวัชพืชไว้ก่อน หากไม่ทำไว้เสียฝนตกลงมา วัชพืชจะโตเร็วกว่าอ้อย จะคลุมหน่ออ้อยแย่งอาหาร ทำให้อ้อยหยุดเจริญเติบโต ต้องเสียทั้งค่ากำจัดวัชพืชเพิ่ม ค่าปุ๋ยเพิ่มอีก โดยเฉพาะผลผลิตจะต่ำ ฉะนั้นการดูแลรักษาจะต้องกระทำไปตลอด จนกว่าจะตัดอ้อยเข้าโรงงาน ส่วนเรื่องแมลงทำลายอ้อยและโรคระบาดอ้อย

ส่วนของอ้อยตอ การดูแล รักษาก็คงเหมือนกันกับอ้อยใหม่ โดยเฉพาะอ้อยตอ หลังจากตัดอ้อยแล้ว ใบอ้อยที่ตกค้างอยู่ในไร่จะเป็นตัวช่วยป้องกันความชื้นในดินไม่ให้ระเหยไปเร็ว พร้อมเป็นตัวปิดบังคับความเจริญของวัชพืชอีกด้วย แต่ในกรณีที่อ้อยตอไฟไหม้ในแปลง ทำให้พื้นดินไม่มีใบอ้อยปิดบัง ควรจะต้องดูแลแบบอ้อยปลูกใหม่ ที่สำคัญที่สุดไม่ว่าจะเป็นอ้อยปลูกใหม่หรืออ้อยตอก็ดี ชาวไร่จะต้องดูแลบำรุง รักษา เรื่องน้ำ วัชพืช ตลอดไปจนถึงแมลงและโรคระบาด โดยเฉพาะไฟไหม้อ้อยอันเกิดจากความประมาทหรือบังเอิญก็แล้วแต่ จนกว่าจะถึงวันตัดอ้อยได้ หากไม่เช่นนั้นผลผลิตและผลลัพธ์จะไม่เป็นดังที่ท่านตั้งความหวังไว้

การเพิ่มผลผลิตอ้อย ไม่ว่าจะพยายามลดต้นทุนหรือลดการใช้สารเคมี แต่การใส่ปุ๋ยอ้อยในขณะนี้ก็ยังมีความจำเป็นอยู่ เหตุเพราะว่า ปลูกอ้อยกันมานาน บางแปลงปลูกมานาน 10 ปีกว่าแล้ว ธาตุอาหารในดินสำหรับอ้อยย่อมหมดไป จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตปุ๋ยที่ชาวไร่ ใช้กันอยู่มีทั้งปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ปุ๋ยทั้ง 2 ชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ใส่แล้วให้ผลช้าแต่ไม่ทำลายดิน ปุ๋ยเคมีให้ผลเร็วทันใจแต่มักเป็นผลเสียต่อดิน มีสารตกค้างสิ่งแวดล้อมเสีย สิ่งนี้ชาวไร่เราทราบดี แต่จำเป็นต้องใส่ ซึ่งก็พยายามใส่ปุ๋ยอินทรีย์กันมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 4 การเก็บเกี่ยวหรือตัดอ้อย
1. ใช้แรงงานคน
2. ใช้รถตัดอ้อย
การตัดอ้อยทำน้ำตาล จะเริ่มเปิดหีบตั้งแต่ประมาณ เดือนธันวาคม - เดือนเมษายน ฉะนั้นชาวไร่จะต้องเริ่มตัดอ้อยกัน

http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3788
ลองกอง การเพิ่มผลผลิตในฤดูและนอกฤดู
ลองกอง การเพิ่มผลผลิตในฤดูและนอกฤดู
ลองกองเป็นพืชที่เพื่อนๆ เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกกันเชิงการค้านะครับ วันนี้ผมจะไม่ชวนคุยเรื่องการปลูก แต่จะมาชวนคุยเรื่องการเพิ่มผลผลิตกันครับ ทั้งเรื่องการตัดแต่งกิ่งให้ได้ผลเยอะและมีคุณภาพ และการปลูกลองกองนอกฤดู เพื่อให้พวกเราได้ผลผลิตเยอะขึ้นกันนะครับ

การตัดแต่งช่อผลในช่วง 1-2 สัปดาห์และ 7-8 สัปดาห์หลังดอกบานเลือกช่อที่สมบูรณ์ และทำการเด็ดผลบริเวณโคนช่อกรณีที่ผลแน่นมากเกินไป เพราะเมื่อเจริญเติบโตขึ้นจะเกิดการเบียดเสียดและอัดแน่นจนทำให้หลุดทั้งช่อได้ ในการตัดช่อดอกต่อกิ่ง แนะนำว่าเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้วให้ไว้ดอก 3-5 ช่อ ถ้าเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 นิ้วให้ไว้ดอก 10 ถึง 15 ช่อ สำหรับการตัดแต่งผลช่อ ควรตัดแต่งผลที่ไม่สมบูรณ์และก้านอัดแน่นเกินไปออก ให้ผลที่เหลืออยู่เจริญเติบโตเต็มที่และสม่ำเสมอทุกผล ทำให้ช่อผลลองกองมีคุณภาพดี การตัดปลายช่อผลเป็นนวัตกรรมใหม่ทำให้คุณภาพผลผลิตลองกองดีขึ้นมาก ผลสุกสม่ำเสมอจากโคนช่อและปลายช่อ โดยใช้กรรไกรปากเป็ดและกรรไกรปากนกแก้วต่อด้ามยาว 2-3 เมตร ควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคที่คมกรรไกรทุกครั้งที่ใช้งาน

การใส่ปุ๋ยบำรุงผลนั้น ขณะที่ผลลองกองกำลังเจริญเติบโต จำเป็นต้องเพิ่มปุ๋ยบำรุงโดยเฉพาะ ถ้ามีการแตกใบอ่อนออกมาในระยะนี้ ลองกองต้องสูญเสียสารอาหารที่สะสมไว้ออกไป ฉะนั้นต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น หรือสูตร 12-12-17 ปริมาณ 0.5- 1 กิโลกรัมต่อต้น ถ้าต้องการให้ใบอ่อนแก่เร็วขึ้นควรใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 7-13 -14 ในอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นเพิ่มเติมและให้น้ำสม่ำเสมอ

ต่อมาเรามาดูเรื่องการบังคับลองกองออกนอกฤดูกันบ้างครับ ก่อนอื่นต้องสังเกตที่ต้นลองกองที่ตาดอกว่ามีดอกออกหรืไม่ ถ้าดอกไม่ออกก็ควรฉีดพ่นฮอร์โมนเพื่อเปิดตาดอกก่อน สังเกตกิ่ง ที่ตาดอกอันเล็กๆ ถ้าหากว่าเราไม่ทำการบังคับเร่งดอก ดอกและผลก็จะไปออกตามฤดูกาล ขั้นตอนที่สำคัญคือสังเกตไปที่ใต้ต้นลองกองนะครับเห็นหญ้าเขียวปกคลุมอยู่ เราควรจะตัดออกให้เกลี้ยงแล้วโรยด้วยปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ประมาณ 3-4 กำมือ หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ สังเกตที่ต้นลองกองว่ากิ่งก้านจะเริ่มทรุดโทรม ใบก็จะเหลือน้อยลง ถ้าหากว่ามีฝนตกในช่วงนี้ให้หาพลาสติกมาคลุมโคนต้นไว้ เมื่อต้นลองกองทรุดโทรมเหมือนกับใกล้จะตาย เราก็จะให้น้ำ ด้วยสปริงเกอร์อย่างน้อยประมาณ 2 ชั่วโมงขึ้นไป แล้วทดสอบด้วยการเหยียบไปที่โคนต้นที่เรารดน้ำ ดินจะมีการยุบตัวลง ก็ถือว่าใช้ได้ครับ และเราก็ควรจะรดน้ำทุกวันนะครับวันละประมาณครึ่งชั่วโมงก็พอนะครับหลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ ดอกก็จะเริ่มมีความยาวขึ้นมาประมาณ 2 เซนติเมตร ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์ 4 สัปดาห์ความยาวก็จะเริ่มยาวขึ้น ดอกที่ออกมาหลายๆ ช่อ เราก็จะเด็ดออกให้เหลือแค่ช่อเดียว ระยะห่างของช่อดอกให้ห่างกันอย่างน้อย 1 คืบ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดก็ประมาณ 1 ศอก เพื่อที่เราจะได้ช่อที่มีความยาวมีความสมบูรณ์เต็มที่ หลังจากนั้นประมาณ 3 เดือนผลผลิตลองกองก็จะเริ่มออกสู่ตลาด โดยรวมแล้วเราก็จะใช้เวลาบังคับลองกองจนถึงผลผลิตออกก็ประมาณ 5 เดือนครับ

Reference http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3785
การป้องกันกำจัด โรคใบไหม้ของต้นยางพารา ด้วยสารอินทรีย์
การป้องกันกำจัด โรคใบไหม้ของต้นยางพารา ด้วยสารอินทรีย์
โรคใบไหม้เป็นโรคทั่วไปของต้นยางที่เกิดจากเชื้อรา เชื้อราสามารถทำลายใบของต้นไม้ได้อย่างมาก ทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตลดลง อย่างไรก็ตาม มีวิธีป้องกันและกำจัดโรคนี้โดยใช้สารประกอบอินทรีย์ ไอเอส และเทคนิคการควบคุมไอออน

สารประกอบอินทรีย์ ไอเอส มีประสิทธิภาพในการกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เทคนิคการควบคุมไอออนเกี่ยวข้องกับการทำให้สภาพแวดล้อมบนใบพืชไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา ทำได้โดยการฉีดพ่นส่วนผสมของ ไอเอส และ FK-1 บนใบของต้นยาง

เมื่อนำมาใช้ร่วมกัน ไอเอส จะกำจัดโรคในขณะที่ FK-1 เร่งการงอกใหม่ของพืชและส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิต FK-1 เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารที่จำเป็น เช่น แมกนีเซียม สังกะสี ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม รวมทั้งสารลดแรงตึงผิว

หากต้องการใช้วิธีนี้ ให้ผสม ไอเอส และ FK-1 เข้าด้วยกัน แล้วฉีดลงบนใบของต้นยาง ควรทำเป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าสภาพแวดล้อมบนใบไม้ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา

สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าการป้องกันและกำจัดโรคใบไหม้ต้องใช้วิธีการแบบองค์รวม ซึ่งรวมถึงการสุขาภิบาลของสนามและบริเวณโดยรอบ การคัดเลือกพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค และการจัดการทางโภชนาการที่เหมาะสม

สรุปได้ว่า สารอินทรีย์ ไอเอส และเทคนิคการควบคุมไอออนเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดโรคใบไหม้ของต้นยาง การใช้ ไอเอส และ FK-1 ร่วมกันไม่เพียงแต่กำจัดโรค แต่ยังส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิต ซึ่งสามารถนำไปสู่การปรับปรุงผลผลิตพืชผลและผลกำไรสำหรับเกษตรกร

เลือกซื้อ ไอเอส และ FK-1 เลื่อนลงล่างอีกนิดนะคะ
3562 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 2 รายการ
|-Page 8 of 357-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 | 353 | 354 | 355 | 356 | 357 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
โรคเผือก โรคใบจุดตากบ โรคใบจุดตาเสือ โรคใบไหม้ในเผือก แก้ด้วย ไอเอส
Update: 2564/06/15 11:30:49 - Views: 4085
มะไฟ ผลร่วง กำจัดโรคมะไฟ จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/05 11:21:41 - Views: 3426
โรคที่เกิดกับ ไม้พันธุ์ด่าง โรคใบไหม้ ใบจุด ราสนิม โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/13 22:13:04 - Views: 3434
กำจัดเพลี้ย แมลงจำพวกปากดูด ใน ถัวลิสง และพืช ทุกชนิด เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)
Update: 2566/05/03 13:42:59 - Views: 3410
โรคแอนแทรคโนสหอมแดง โรคแอนแทรคโนสหอมหัวใหญ่ : ANTHRACNOSE DISEASE [ไอเอส+FK-1]
Update: 2564/08/09 05:01:52 - Views: 3456
กำจัดเพลี้ย ใน องุ่น เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/16 15:58:28 - Views: 3511
โรคเชื้อราในฟักทอง คู่มือป้องกันและกำจัดโรคฟักทอง
Update: 2566/04/30 10:04:18 - Views: 3641
กำจัดหนอน ลีลาวดี หนอนเจาะลำต้นลีลาวดี ป้องกันกำจัดด้วย ไอกี้ บำรุง ฟื้นตัวด้วย FK-T
Update: 2565/07/23 08:19:23 - Views: 3485
โรคอ้อยใบไหม้ โรคใบจุดอ้อย ใบขีดสีน้ำตาล โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิคุ้มกันโรค 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
Update: 2564/08/28 04:17:47 - Views: 3442
อ้อย ต้นใหญ่ ลำโต น้ำหนักดี ซีซีเอสสูง ฉีดพ่นปุ๋ย FK-3S ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4เท่าเพิ่มผลผลิตสูงสุด20เปอร์เซ็นต์
Update: 2566/05/05 12:03:23 - Views: 3413
ยาฆ่าหนอน ใน ต้นเมล่อน และพืชทุกชนิด เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ ไอกี้-บีที และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/04/24 11:43:54 - Views: 3386
มะม่วงเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตสูง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ซิงค์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
Update: 2566/11/10 07:07:37 - Views: 9765
การจัดการเพลี้ยในต้นลำไย: วิธีการป้องกันและควบคุม
Update: 2566/11/24 13:10:07 - Views: 3419
เพิ่มผลผลิตถั่วลิสง ด้วย ฟาร์มิค ฮิวมิคประสิทธิภาพสูง
Update: 2567/03/12 13:21:02 - Views: 3439
กระท้อน ใบจุด กำจัดโรคกระท้อน จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK สวย ปุ๋ย ศัตรูพืช
Update: 2565/11/10 10:33:03 - Views: 3447
คู่มือการปลูกทุเรียน: วิธีปลูกและดูแลต้นทุเรียน
Update: 2566/04/28 13:12:43 - Views: 3645
โรคข้าว: โรคถอดฝักดาบ (Bakanae Disease) ป้องกันกำจัด ด้วย ไอเอส
Update: 2564/01/29 10:47:28 - Views: 3449
การดูแลไร่อ้อย ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว และการเพิ่มผลผลิต
Update: 2567/11/05 10:41:19 - Views: 17
การจัดการและป้องกันหนอนในต้นฟักทอง: วิธีการแก้ไขปัญหาในการปลูกฟักทอง
Update: 2566/11/14 13:56:40 - Views: 3446
โรคลำต้นจุดสีน้ำตาลของแก้วมังกร โรคจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส
Update: 2563/02/14 08:56:13 - Views: 3437
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022