[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3562 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 2 รายการ

แก้วมังกรเงินล้านของเกษตรกรตัวอย่าง-สกลฯ
แก้วมังกรเงินล้านของเกษตรกรตัวอย่าง-สกลฯ
แก้วมังกร กำลังเป็นผลไม้ที่นิยมปลูกในจังหวัดสกลนครเนื่องจากผลผลิตทำรายได้ให้ปีละ หลายแสนบาทถึงปีนี้ราคาต่อกิโลกรัมจะตกลงกว่าปีที่แล้ว แต่ยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัดได้เป็นอย่างดี

เกษตรกร ตัวอย่าง เจ้าของสวนธนูทอง เล่าว่า บนพื้นที่กว่า 20 ไร่ ของสวนธนูทอง บ้านหนองยาง ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เต็มไปด้วยต้นแก้วมังกรที่เขียวขจี สลับกับสีชมพูอมแดงของผลแก้วมังกรที่กำลังสุกงอมรอการ...

อ่านทั้งหมดที่ http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00226
อ่าน:3454
ปุ๋ยเม็ดสกัดเพอร์เฟค ซี (ตรานกอินทรีคู่) สูตรสีแดง และปุ๋ยเม็ดสกัดวันเดอร์ สูตรสีเขียว
ปุ๋ยเม็ดสกัดเพอร์เฟค ซี (ตรานกอินทรีคู่) สูตรสีแดง และปุ๋ยเม็ดสกัดวันเดอร์ สูตรสีเขียว
ปุ๋ยเม็ดสกัดเพอร์เฟค ซี (ตรานกอินทรีคู่) สูตรสีแดง

เร่งโต แตกกอ
อาหารพืชครบถ้วน เพิ่มปริมาณ และคุณภาพผลผลิต เพิ่มความต้านทานโรคและแมลง

ไนโตรเจนสูง (N): ช่วยสร้างอาหาร ส่งเสริมการเจริญเติบโต เพิ่มความเขียว ระบบรากทำงานเต็มที่

กรดอะมีโน: สร้างฮอร์โมน ทำให้พืชสมบูรณ์ทุกระยะ

จุลินทรีย์: เพิ่มการย่อยสลาย ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหาร และปรับปรุงโครงสร้างดิน

ใช้สำหรับ
- เร่งโตแตกกอในนาข้าว ทำให้ข้าวแตกกอใหญ่ ใบตั้งตรง ต้านทานโรค
- ใส่มันมันปะหลังอายุ 1 เดือน - สองเดือน เพื่อเร่งให้แตกตอ และใบเขียวสมบูรณ์
- พืชผักกินใบ เช่นกับกาด ผักบุ้ง และผักอื่นๆ

ปุ๋ยเม็ดสกัดวันเดอร์ (ตรานกอินทรีคู่) สูตรสีเขียว

เตรียมดิน บำรุงต้น ส่งเสริมการเจริญเติบโต
เขียวนาน ใบตั้งตรง ต้นแข็งแรง ผลผลิตดี

3T เทคโนโลยี เม็ดปุ๋ย 3 ชั้น

T1: เคลือบชั้นนอกสุด ด้วยจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง 3 กลุ่ม ในการย้อยแป้ง โปรตีน และเส้นใย

T2: ชั้นที่สองเป็นธาตุอาหารสกัดปลดปล่อยเร็ว ที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว และนำไปใช้ได้ทันที

T3: ธาตุอาหารปลดปล่อยช้า คุณภาพสูง กรดอะมิโน และอินทรีย์วัตถุ

ใช้สำหรับ
ยางพารา ก่อนเปิดกรีด, นาข้าวช่วงไถกลบและช่วงตั้งท้อง, ปาล์มน้ำมัน, มันสัมปะหลัง, พืชผัก ผลไม้ต่างๆ

ทำความเข้าใจกับ การปลดปล่อยธาตุอาหาร ของปุ๋ยสามชนิด


จากกราฟ แสดงให้เห็น (รูปภาพที่แนบมาด้านล่าง)
เส้นสีแดง เป็นประสิทธิภาพการปล่อยธาตุอาหารของปุ๋ยเคมี
เส้นสีเขียว เป็นประสิทธิภาพการปล่อยธาตุอาหารของปุ๋ยเม็ดสกัดวันเดอร์
เส้นสีน้ำเงิน เป็นประสิทธิภาพการปล่อยธาตุอาหารของปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไป
ให้เราลองพิจารณากราฟเส้นสีแดง ของปุ๋ยเคมี จะเห็นได้ว่าเมื่อท่านได้ทำการใส่ปุ๋ยเคมีลงในพืช จะเห็นผลได้ชัดเจน ภายในช่วง 3-11 วัน จากนั้น พืชผักที่ได้รับปุ๋ยเคมี ก็จะได้รับธาตุอาหารน้อยลงไป ตามกราฟ ความเขียวจะลดลง หรือกลับสู่สภาพเดิม หลังจากสองสัปดาห์และต่อๆไป และสังเกตุได้ว่า ปีต่อๆไป ท่านต้องใส่ปุ๋ยเคมี ในปริมาณมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลผลิตใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

มาดูในส่วนของกราฟเส้นสีเขียว ของปุ๋ยเม็ดสกัดวันเด้อร์ จาก กราฟ แสดงให้เราเห็นว่า หลังจากใส่ปุ๋ย จะเห็นผลช้ากว่าปุ๋ยเคมี คือเริ่มเห็นผลชัดเจนเต็มที่ประมาณ 7 วันหลังจากใส่ แต่ช่วงที่ต้นไม้ ได้รับธาตุอาหารจะนานกว่า ไปจนถึงประมาณ สามถึงสี่สัปดาห์ ธาตุอาหารจึงค่อยลดลงไป แต่ลดลงไปไม่มากเท่าปุ๋ยเคมี เนืองจาก ปุ๋ยเม็ดสกัดวันเด้อร์ มีเทคโนโลยี 3T ที่นอกจากให้ธาตุอาหารแล้ว ยังมีการปรับปรุงจุลินทรีย์ และบำรุงดินด้วย

และสุดท้ายกราฟเส้นสีน้ำเงิน ของปุ๋ยอินทรีย์ เป็นที่แน่นอน และทราบกันอยู่ทั่วไปว่า ปุ๋ยอินทรีย์จะเห็นผลได้ช้า หลังจากใส่แต่จะทำให้ดินดีขึ้นตลอด และในปีถัดไป ดินก็จะมีธาตุอาหารเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างช้าๆ เหมาะกับการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน



สนใจผลิตภัณฑ์ หรือสนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย

ติดต่อ ฟาร์มเกษตร
คุณ ปิยะมาศ

โทร: 0894599003
6.00 น. - 21.00 น.

แฟกซ์: 045-511273
e-mail: [email protected]
[email protected]
อ่าน:3451
ดินเปรี้ยว แก้ปัญหาดินเปรี้ยวด้วย สารปรับสภาพดิน ไฮ-แมกก้า
ดินเปรี้ยว แก้ปัญหาดินเปรี้ยวด้วย สารปรับสภาพดิน ไฮ-แมกก้า
ไฮ - แมกกา ตรานกอินทรีคู่
สารปรับสภาพดิน ราคาคลิกที่นี่
แก้เปรี้ยว ช่วยเขียว เยียวยาดิน
ขนาด 25 กก.

ส่วนประกอบ
แคลเซียมออกไซต์           35%
แมกนีเซียมออกไซต์         25%
ซิลิกอนไดออกไซต์           10%

·        แก้ปัญหาการขาดธาตุอาหาร แคลเซียม แมกนีเซียม และซิลิกอน ในดิน
·        เพิ่มค่าการดูดซับ และความสามารถการแลกเปลี่ยน CEC ของดิน
·        เพิ่มการสังเคราะห์แสง การสร้างสารเขียว และการแบ่งเซลล์ของพืช
·        เพิ่มความสามารถการทำงานของจุลินทรีย์ ปัองกันโรค และแมลงเข้าทำลาย

สนใจผลิตภัณฑ์ หรือสนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย

ติดต่อ ฟาร์มเกษตร
คุณ ปิยะมาศ

โทร: 0894599003
6.00 น. - 21.00 น.

แฟกซ์: 045-511273
e-mail: [email protected]
[email protected]
อ่าน:3430
ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวปน ข้าววัชพืช
ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวปน ข้าววัชพืช
ข้าววัชพืช weedy rice โดย ดร.จรรยา มณีโชติ กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
ข้อมูลนี้คัดมาจาก: http://kpp-rsc.ricethailand.go.th /weedyrice/weedy%20rice1.htm

ข้าววัชพืช
ปัจจุบัน ชาวนาในเขตภาคกลางจนถึงเหนือตอนล่าง กำลังประสบกับวัชพืชชนิดใหม่ที่มีลักษณะเหมือนต้นข้าวจนแยกไม่ออก
ในระยะต้นกล้า วัชพืชชนิดนี้มีชื่อเรียกต่างๆกันในแต่ละท้องถิ่นตามลักษณะภายนอกที่ปรากฏว่า “ข้าวหาง ข้าวนก ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวลาย หรือ ข้าวแดง” ซึ่งข้าวเหล่านี้จัดเป็นวัชพืชร้ายแรงในนาข้าว มีชื่อสามัญ ว่า “ข้าววัชพืช” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า
“weedy rice” ในระยะเริ่มต้นของการ ระบาด ข้าววัชพืชจะแฝงตัวเข้ามาในนาข้าวเพียงไม่กี่ต้น หากไม่มีการกำจัดในระยะเวลา
2-3 ฤดู เท่านั้น ข้าววัชพืชสามารถเพิ่มจำนวนเป็นหลายล้านต้นปกคลุมจนมองไม่เห็นต้นข้าว

ประวัติการระบาดของข้าววัชพืช
พบการระบาดรุนแรงครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ปีพ.ศ. 2544 ในนาหว่านน้ำตม ที่ตำบลเขาสามสิบหาบ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และในนาหว่านข้าวแห้ง ในเขตจังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี พื้นที่การระบาดเริ่มต้นเพียง 500 ไร่ และขยาย
วงกว้างออกไปเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2549 ข้าววัชพืชกลายเป็นปัญหาร้ายแรงที่พบในพื้นที่ทำนาหว่านน้ำตมจำนวนหลาย
แสนไร่ ทั่วเขตภาคกลางจนถึงเหนือตอนล่าง รวม 21 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง ชัยนาท อยุธยา นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก นอกจากนั้น ยังแพร่กระจายไปสู่แหล่งปลูกข้าวคุณภาพ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และหนองคาย

ข้าววัชพืช..มาจากไหน?
ข้าววัชพืช เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวป่าที่พบทั่วไปในธรรมชาติ กับข้าวปลูก เกิดเป็นลูกผสมที่มีการกระจายตัวของลูกหลาน
ออกเป็นหลายลักษณะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่ชาวนาไม่ต้องการ คือ เปลือกเมล็ดสีดำหรือลายน้ำตาลแดง เมล็ดข้าวสารมีสีแดง ปลายเมล็ดมีหางและเมื่อสุกแก่เมล็ดจะร่วงก่อนเก็บเกี่ยวข้าว

ชนิดของข้าววัชพืช
ข้าววัชพืชสามารถจำแนกตามความแตกต่างทางลักษณะภายนอกเป็น 3 ชนิด คือ ข้าวหาง ข้าวดีด และข้าวแดง ชนิดที่เป็นปัญหา
ร้ายแรงของชาวนาคือ ข้าวหาง และ ข้าวดีด เพราะเป็นข้าววัชพืชชนิดร่วงก่อนเกี่ยว เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และสูงข่มข้าวปลูก
ในระยะแตกกอ ข้าวหางและข้าวดีดจะออกดอกและเมล็ดจะสุกแก่ก่อนก่อนปลูกข้าวประมาณ 2 สัปดาห์ ชาวนาไม่สามารถ
เก็บเกี่ยวได ้เพราะเมล็ดร่วงเกือบหมด ทำให้ผลผลิตข้าวเสียหาย 10-100 % ขึ้นอยู่กับความหนาแน่น ของข้าวหาง และข้าวดีด บางแปลงที่มีความหนาแน่นมาก ใน 1 ตารางเมตร มีข้าวหาง 800 ต้น เหลือต้นข้าวจริงเพียง 2 ต้น ชาวนาไม่สามารถ เก็บเกี่ยวได้ ทำให้ผลผลิตเสียหาย 100% ส่วนข้าวแดงนั้นเป็นข้าววัชพืชชนิดเมล็ดไม่ร่วง ชาวนาสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ผลผลิตจึงไม่เสียหาย แต่คุณภาพ

ข้าว ลดลง เพราะเมล็ดขาวสารแดงที่ปนอยู่ ชาวนาถูกโรงสีตัดราคาเกวียนละ 200 - 800 บาท ตามเปอร์เซ็นต์ของข้าวแดงที่ปน เพื่อชดเชยผลผลิตที่จะต้องเสียไปบางส่วน เพื่อจะขัดเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงออก
ให้เป็นเมล็ดข้าวสารสีขาว ซึ่งบางครั้งในรายที่มีข้าววัชพืชปนเป็นจำนวนมาก โรงสีจะไม่รับซื้อ ชาวนาต้องนำไปขายเป็นข้าวเลี้ยงเป็ด และไก่ ในราคาถูกถังละ 30 - 50 บาท
---------------------------------------------------------------

ฟาร์มเกษตรนำเสนอสินค้า

ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว ไอซี-คิท ลดข้าวดีดได้มากกว่า 70%

ไอซี-คิท ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว ชุด 2 ขวด
ขนาด 1 ลิตร x 2 ขวด/ชุด

ชุดย่อยสลาย เฉพาะเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร

ลดข้าวดีดมากกว่า 70%

- รวดเร็วในการย่อยสลายตอซังฟางข้าว ภายใน 5-7 วัน โดยไม่ต้องเผา

- ปรับสภาพดินในนาข้าว สามารถไถพรวนได้ง่าย

- เพิ่มจุลธาตุอาหารให้แก่นาข้าวหลังการเก็บเกี่ยว

- สามารถลดปัญหาข้าวดีด และข้าววัชพืชอื่น ๆ ในนาข้าวได้


สนใจผลิตภัณฑ์ หรือสนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย

ติดต่อ ฟาร์มเกษตร
คุณ ปิยะมาศ

โทร: 090-592-8614
6.00 น. - 21.00 น.

หรือคลิกที่ลิงค์ด้านล่าง เพื่อดูราคา และข้อมูลสินค้า
อ่าน:3625
เยี่ยมไร่อ้อยของท่านนายกสมาคมชาวไร่อ้อยมุกดาหาร
วันที่ 27 พฤษภาคม 2009 เวลา 9:00 น. - 11.30 น. ฟาร์มเกษตรไปพบปะเยี่ยมชมไร่อ้อย ของคุณวิละ สุดวิเศษ นายกสมาคมชาวไร่อ้อยมุกดาหาร ซึ่งเป็นลูกค้าของเราในเขตอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
อ่าน:3422
ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ภาคใต้ เป็นที่ยอมรับทั้งภาครัฐและเอกชน
ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ภาคใต้ เป็นที่ยอมรับทั้งภาครัฐและเอกชน
บ.ไอออนิค จำกัด ภาคใต้ รัฐบาลร่วมลงทุน(สสว.) มาเลเซีย ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ไทย วิจัยพัฒนา (r&d)
ผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้น ปาล์มน้ำมันมีความสมบูรณ์ ลูกดก ทะลายมาก
ปาล์มน้ำมันมีแปลงที่ประสบความสำเร็จให้ดู ที่สุราษ / กระบี่
รับดูแลทั้งระบบ 50ไร่ อัพ
4 รอบการใช้หรือ 18 เดือน เห็นผลทันตา
อ่าน:3452
ฟาร์มเกษตร ให้ความรู้การเพิ่มผลผลิต ข้าว และมันสำปะหลังให้กับพี่น้องเกษตรกร
ฟาร์มเกษตร ให้ความรู้การเพิ่มผลผลิต ข้าว และมันสำปะหลังให้กับพี่น้องเกษตรกร
วันที่ 28 กพ 2552 ฟาร์มเกษตร ได้เดินทางไปให้ความรู้การเพิ่มผลผลิต ข้าว และมันสำปะหลังให้กับพี่น้องเกษตรกรอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับความสนใจจากพี่น้องเกษตรกรจำนวนมาก
อ่าน:3395
ปลูกมันสำปะหลังอย่างไร จึงจะได้ผลผลิตสูงสุด
ปลูกมันสำปะหลังอย่างไร จึงจะได้ผลผลิตสูงสุด
ราคา มันสำปะหลังสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์อย่างไม่เคยมีมาก่อน จึงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกมันสำปะหลังกันมากขึ้น และเพื่อป้องกันมิให้มีการหักร้างถางป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่การปลูกมัน สำปะหลัง ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง จึงได้แนะนำ หลักในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ดังนี้

1. การปรับปรุงดินให้เหมาะสมต่อการผลิตมันสำปะหลัง หลักสำคัญก็คือการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินเป็นการสร้างให้ดินมีความ สามารถในการอุ้มน้ำได้ดีและการเพิ่มธาตุอาหารหลักให้กับดิน ได้แก่ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์หรือเปลือกมันจากโรงงานแป้งหรือปุ๋ยพืชสดจาก ปอเทืองและถั่วพร้าปลูกแล้วไถกลบ ในกรณีที่ดินถูกใช้งานมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดชั้นดินดานใต้ดิน ทำให้ระบายน้ำลงใต้ดินได้ยากในฤดูฝน เกิดปัญหาหัวเน่าจากน้ำท่วมขัง ในช่วงฤดูแล้งมันสำปะหลังไม่สามารถใช้น้ำใต้ดินได้ ทำให้เกิดการชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้น ควรไถระเบิดชั้นดินดาน หรือ ใช้หญ้าแฝกปลูกประมาณ 1-2 ปี เพราะหญ้าแฝกมีระบบรากลึกถึง 3 เมตร สามารถทำลายชั้นดินดานได้ อีกทั้งเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดินด้วย

2. การเลือกฤดูปลูก หลักสำคัญก็คือควรจัดวันปลูกเพื่อให้ช่วงอายุ 3-12 เดือนของมันสำปะหลังได้รับน้ำฝนมากที่สุด เพราะผลผลิตขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนในช่วงอายุดังกล่าว โดยในช่วงแรกระยะตั้งแต่ 1-3 เดือนหลังปลูก มันสำปะหลังต้องการน้ำน้อยเพื่อการเจริญเติบโต ดังนั้น เมื่อคำนวณแล้ว พบว่า การปลูกมันสำปะหลังแบบอาศัยน้ำฝนจะให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อปลูกในช่วงฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-มีนาคม) รองลงมา คือ ต้นฤดูฝน (เมษายน-พฤษภาคม) และปลายฤดูฝน (ตุลาคม-พฤศจิกายน) แต่การปลูกในช่วงฤดูร้อนและปลายฤดูฝนมีข้อจำกัดของปริมาณน้ำฝนค่อนข้างน้อย มีผลต่อการงอกของท่อนพันธุ์

3. การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ดินร่วนเหนียวถือได้ว่าเป็นดินดี ดินชนิดนี้สามารถนำไปปั้นเป็นลูกกระสุนได้ และดินร่วนทรายถือได้ว่าเป็นดินปานกลางถึงเลว ดินชนิดนี้ไม่สามารถนำไปปั้นเป็นลูกกระสุนได้ เนื่องจากดินแตกง่ายไม่เกาะติดกัน โดยดินร่วนเหนียว ควรปลูก พันธุ์ระยอง 5 และระยอง 72 ส่วนดินร่วนทรายควรปลูกพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 90 ห้วยบง 60 และระยอง 9 เนื่องจากทั้ง 4 พันธุ์ เมื่อนำไปปลูกในดินร่วนเหนียวจะเจริญเติบโตในส่วนของ ลำต้นที่อยู่เหนือดินมากกว่าลงหัว หรือที่ชาวบ้าน เรียกกันว่าขึ้นต้นหรือบ้าต้นเกินไป ส่วนพันธุ์ระยอง 7 นั้นเหมาะทั้งดินร่วนเหนียวและดินร่วนทรายที่มีความชื้นของดินดีตลอดช่วงของ การเจริญเติบโต แต่ไม่เหมาะกับสภาพดินที่แห้งแล้ง

4. การเตรียมดินให้ลึก หลักสำคัญก็คือ ต้องไถดะครั้งแรกให้ลึกที่สุดด้วยผาล 3 หรือ ผาล 4 เท่านั้น ควรไถดะในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ ห้ามไถดะด้วยผาล 7 เพราะจะไถได้ไม่ลึกการ ไถดะให้ลึกจะเพิ่มความสามารถในการเก็บกักความชื้นของดินได้มากขึ้นและมัน สำปะหลัง ลงหัวได้ง่าย จากนั้น ตากหน้าดินเพื่อให้วัชพืชตาย ถ้าเป็นดินร่วนเหนียวควรไถแปรครั้งที่สองเพื่อย่อยดินด้วยผาล 7 และตามด้วยการยกร่องพร้อมปลูก ส่วนดินร่วนทรายไม่จำเป็นต้องไถแปรครั้งที่สองด้วยผาล 7 สามารถยกร่องพร้อมปลูกได้เลย ในกรณีที่ เกษตรกรสามารถหาปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักได้ควร หว่านก่อนไถดะ ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้ผลดี คือ ปุ๋ยหมักมูลไก่ 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ วัสดุอินทรีย์จากกากมันที่เหลือจากโรงงานแป้ง 2 ตันต่อไร่

5. การปลูกที่ถูกต้อง หลักสำคัญก็คือ ต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรมีอายุ 10-12 เดือน จะให้ความงอกดีที่สุด โดยเลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรง มีตาถี่ ขนาดโตพอสมควร ต้องตัดท่อนปลูกด้วยมีดที่คม เพื่อมิให้ท่อนปลูกช้ำ ยาวไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร ปลูกปักตรงให้ลึก 2 ใน 3 ของความยาวท่อนปลูก ในดินร่วนเหนียว ควรใช้ระยะแถวกว้าง 1.20 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-1.00 เมตร และในดินร่วนทราย ควรใช้ระยะแถวแคบ 0.80 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-0.80 เมตร

6. การกำจัดวัชพืช หลักสำคัญก็คือ มันสำปะหลังใช้เวลาประมาณ 3 เดือนหลังจากปลูก เพื่อสร้างพุ่มใบให้คลุมพื้นที่ระหว่างร่องทั้งหมด ดังนั้น ภายในช่วง 3 เดือนแรกถือว่าเป็นช่วงวิกฤติของมันสำปะหลัง ต้องดูแลรักษาให้มันสำปะหลังปลอดวัชพืช ถ้าปล่อยให้วัชพืชแข่งขันกับมันสำปะหลัง มันสำปะหลังจะแคระแกร็น มีผลให้ผลผลิตลดลงมาก การกำจัดวัชพืชสามารถเลือกทำแบบผสมผสาน โดยใช้จอบถาง รถไถเดินตามแถก ระหว่างร่อง ใช้สารเคมีประเภทคลุมก่อนวัชพืชงอกหรือสารเคมีฆ่าหลังวัชพืชงอก สารเคมีประเภทคลุมใช้ได้ผลเฉพาะการปลูกต้นฤดูฝนเท่านั้น ห้ามใช้ไกลโฟเสทในขณะที่มันสำปะหลังต้นเล็กอยู่ เพราะมีผลทำให้ชะงักการเจริญเติบโต

7. การใส่ปุ๋ยเคมี ควรเลือกใช้ปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 2 : 1 : 2 ปุ๋ยเคมีที่แนะนำ คือ 15-7-18 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ปุ๋ย 2 ข้างลำต้นรัศมีพุ่มใบแล้วกลบ ใส่ปุ๋ยครั้งเดียวเมื่ออายุ 1 เดือนหลังจากปลูก และต้องใส่ปุ๋ยเคมีในขณะที่ดินมีความชื้นและต้องกลบปุ๋ยด้วย ถ้าไม่กลบปุ๋ยอาจสูญเสียปุ๋ยมากเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการเก็บเกี่ยวควรเลือกเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงที่เหมาะสมตั้งแต่ อายุ 10-18 เดือน ควรงดเว้นการเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังในช่วงฝนแรก คือ ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน เนื่องจากมันสำปะหลังแตกใบอ่อน จะให้เปอร์เซ็นต์ แป้งต่ำ

8. การให้น้ำมันสำปะหลัง ควรให้น้ำในช่วงฤดูแล้งเพื่อจะช่วยให้มันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตอย่างต่อ เนื่องหรือทำให้ใบร่วงน้อยที่สุด มีผลทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ละเดือนอย่างก้าวกระโดด ดังนั้น การปลูกมันสำปะหลังเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ต้องปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือ ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเมษายน มีการให้น้ำในช่วง สองเดือนแรกของการเจริญเติบโตตามความจำเป็น และให้น้ำเต็มที่ในช่วงฤดูแล้ง 5 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม เก็บเกี่ยวที่อายุ 12 เดือน ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัว

รายละเอียดสอบถามได้ที่สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-0603 และ 0-2940-5492 และศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง 0-3868-1515 ทุกวันในเวลาราชการ.

นวลศรี โชตินันทน์
ข้อมูลจาก: dailynews.co.th/ web/html/popup_news/ Default.aspx?Newsid=162916 &NewsType=1&Template=1
อ่าน:3431
หนุนอีสานปลูกยาง 2.5 ล้านไร่ เปิดแหล่งรับซื้อ บุรีรัมย์ หนองคาย 
หนุนอีสานปลูกยาง 2.5 ล้านไร่ เปิดแหล่งรับซื้อ บุรีรัมย์ หนองคาย 
From: http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=112971

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากการที่ไทยได้เสนอต่อที่ประชุมยางโลกซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกคือไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซียที่ว่าประเทศไทยมีนโยบายลดพื้นที่ปลูกยาง 4 แสนไร่ เพื่อหันมาปลูกปาล์มนั้น ส่งผลให้สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เป็นผู้ซื้อรายใหญ่

โดยแต่ละปีจะมีการนำเข้ายางพาราจากประเทศไทยประมาณ 830,000 ตัน จากปริมาณการส่งออกทั้งประเทศ 2,700,000 ตัน หรือ 1 ใน 3 เกิดความไม่แน่ใจ พร้อมทั้งเตรียมหาแหล่งรับซื้อที่ใหม่โดยมุ่งไปที่ประเทศเวียดนาม ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงเดินทางเข้าพบกับรัฐมนตรีเกษตรจีนที่กำกับดูแลยาง และสมาคมอุตสาหกรรมยางจีนที่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาการซื้อวัตถุดิบป้อนโรงงาน

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวต่อว่า ในการเจรจาดังกล่าวได้ข้อสรุปว่า สาเหตุที่ทำให้ราคาผันผวนเพราะมีการเก็งราคา รวมทั้งซื้อขายลมโดยไม่มีการส่งมอบจริง และยังสร้างความมั่นใจว่าปริมาณผลผลิตยางไทยยังมีคุณภาพ มีเพียงพอต่อความต้องการใช้ เพราะไทยได้ส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่แถบภาคอีสานปลูกยางเพิ่มขึ้นอีก 2.5 ล้านไร่ ซึ่งผลผลิตจะเริ่มทยอยออกสู่ตลาดในปี'54 และเมื่อผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาด จะไม่มีปัญหาเรื่องราคาอย่างแน่นอน เพราะได้เตรียมแหล่งรับซื้อผลิตผล ไว้ 2 จุด ซึ่งอยู่ ในจังหวัดบุรีรัมย์ และหนองคาย

อย่างไรก็ตาม ยังได้เสนอให้ผู้ที่ลงทุนในสมาคมยางจีน เข้ามาลงทุนทำอุตสาหกรรมฯในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งคาดว่าต่อไปในอนาคตผลิตผลจากฝั่งลาว และเขมร ที่ประเทศเวียดนามเข้าไปลงทุน จะถูกส่งมาแปรรูปทางด้านบริเวณนี้และจะส่งผลให้เศรษฐกิจในพื้นที่และภายใน ประเทศดีขึ้นอย่างแน่นอน

“การไปในครั้งนี้ยังได้เยี่ยม สนง.ที่ดูมาตรฐานของยางจีนที่ใช้ระบบ CCC รับรองมาตรฐาน เพื่อต่อไปไทยจะได้นำระบบดังกล่าวมาทำระบบมาตรฐานอย่างที่จีนใช้ นำมากำหนดเทียบเคียงร่วมกัน โดยเจ้าหน้าที่ของไทยจะเป็นผู้ตรวจสอบดูแลระบบทั้งหมด” นายสมชายกล่าว.
อ่าน:3420
ประชุมมันสำปะหลังนานาชาติ ประกวดหัวมัน- เกษตรกรดีเด่น
ประชุมมันสำปะหลังนานาชาติ ประกวดหัวมัน- เกษตรกรดีเด่น
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เผยว่า เพื่อโชว์ศักยภาพในฐานะที่เป็นผู้นำการผลิตมันสำปะหลังของไทย รวมถึงการเพาะปลูก พัฒนาพันธุ์และการค้า ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของโลก กรม การค้าต่างประเทศจึงได้จัดกิจกรรมประชุมมันสำปะหลังนานาชาติ หรือ World Tapioca Conference 2009 ที่จะจัดขึ้น ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ในวันที่ 15-16 มกราคม 52

เพื่อให้การจัดงานประชุมครั้งนี้คึกคัก คณะกรรมการจึงจัดการประกวดขึ้น 2 ประเภท คือ การประกวดมันสำปะหลังหัวใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และการประกวดเกษตรกรดีเด่น โดยจะพิจารณา คัดเลือกจากบัญชีรายชื่อของมูลนิธิกองทุนมันสำปะหลังที่ได้คัดเลือกไว้ แล้วเมื่อปี 2549-2550 ตามหลักเกณฑ์ การเพิ่มปริมาณผลผลิตการบริหารจัดการไร่ การบำเพ็ญประโยชน์ การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เป็นตัวชี้วัดในการตัดสินเพื่อมอบรางวัลเกษตรกร ที่ชนะเลิศการประกวดประเภทมันสำปะหลังหัวใหญ่ รางวัลที่ 1, 2 และ 3 จะได้รับโล่รางวัลประกาศเกียรติคุณพร้อมเงินสด หากเกษตรกรสนใจส่งมันสำปะหลังหัวใหญ่และเกษตรกรดีเด่น สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ โทรศัพท์ 0-2547-4744 และสายด่วน 1385 ในเวลา


อ่าน:3404
3562 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 2 รายการ
|-Page 355 of 357-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 | 353 | 354 | 355 | 356 | 357 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
โรคฝรั่งใบไหม้ ราดำในฝรั่ง ใบจุด จุดสนิม โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/10 01:40:27 - Views: 3588
คู่มือป้องกันกำจัดโรคราต่างๆในแมคคาเดเมีย แมคคาเดเมียใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ราต่างๆ
Update: 2566/05/01 15:18:59 - Views: 10098
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคแอนแทรคโนส ใน ถั่วฝักยาว ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/11 14:34:11 - Views: 3449
อาการขาดธาตุอาหาร ในต้นมันสำปะหลัง N, P, K, Mg, Zn "เราช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้คุณได้"
Update: 2566/11/04 11:39:00 - Views: 3447
หนอนกัดกินเปลือกยางพารา
Update: 2564/08/18 05:25:23 - Views: 3446
วิธีปลูกทุเรียนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว
Update: 2564/05/31 08:12:06 - Views: 4121
ถั่วเขียวระวัง หนอนแมลงวันเจาะลำต้นถั่ว หนอนกระทู้ผัก หนอนม้วนใบ
Update: 2564/08/14 05:22:15 - Views: 3641
กำจัดหนอน ไอกี้-บีที [Aiki-BT] สารชีวินทรีย์ประสิทธิภาพสูง สกัดจากธรรมชาติ FK-1 เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชื้อราในพืช
Update: 2566/06/19 13:23:19 - Views: 3391
กำจัดแมลงโรคและแมลงศัตรูพืช ในดอกกล้วยไม้ และ พืชทุกชนิด ไตรโครเร็กซ์ และ บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/01 13:39:29 - Views: 3414
FK-1 พืชโตไว แตกยอดใบ รากสมบูรณ์ ทนแล้ง ทนโรค ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ด้วยธาตุอาหารพืช ธาตุหลัก ธาตุเสริม และสารลดแรงตึงผิว
Update: 2566/10/10 07:22:04 - Views: 3453
การปลูกฟักทอง ให้ได้ผลผลิตดี ด้วยการให้ ปุ๋ยยาฯ ที่เหมาะสม
Update: 2567/11/13 09:08:23 - Views: 15
การควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืช ด้วยสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ
Update: 2564/08/13 11:44:44 - Views: 3476
โรคปาล์ม : โรคที่เกิดกับปาล์มประดับ และปาล์มน้ำมั้น รวมถึงปาล์มสายพันธุ์ต่างๆ
Update: 2564/01/09 09:42:15 - Views: 3430
เตือนภัย!! ต้นมะกรูด สร้างความเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร ??
Update: 2566/11/07 10:56:40 - Views: 3404
ยาป้องกัน กำจัด หนอน หนอนทุกชนิด ใช้ได้ทุกพืช ไอกี้-บีที + FK-1 บำรุง ฟื้นตัว สร้างภูมิฯ 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
Update: 2564/08/10 12:13:11 - Views: 3419
การปลูกตะไคร้ แซมสวนผลไม้
Update: 2564/09/06 06:41:21 - Views: 3414
การลับมีดให้คมเหมือนมีดโกน องศาการลับต้องแม่น
Update: 2566/11/14 13:27:09 - Views: 3428
โรคไหม้ในพืช หรือเรียกว่าโรคใบไหม้ มีสาเหตุจากเชื้อราหลายชนิด มีชื่อเรียกต่างกันออกไป
Update: 2566/11/04 08:42:14 - Views: 3381
5 พืชเศรษฐกิจไทย ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด
Update: 2567/11/19 07:40:20 - Views: 7
มะนาว โตไว ผลใหญ่ น้ำหนักดี ฉีดพ่นปุ๋ย FK-1 ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4 เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20 เปอร์เซ็นต์ 1 กล่อง บรรจุ 2 กิโลกรัม
Update: 2566/05/29 10:18:57 - Views: 3421
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022