[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3517 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 351 หน้า, หน้าที่ 352 มี 7 รายการ

 
ยาฆ่าเพลี้ย มะขามเทศ ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
ยาฆ่าเพลี้ย มะขามเทศ ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
มาคา และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน

เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เข้าทำลายช่วงมะขามเทศช่วงแทงช่อดอก ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ฝักมะขามเทศ

มาคา สารอัลคาลอยต์ กำจัดเพลี้ย (ขนาด1ลิตร อัตรการผสม 50-100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 3-7วัน)
เป็นสารอัลคาลอยด์สกัดจากธรรมชาติที่ถูกคัดสรรอย่างพิถีพิถัน โดยใช้หลักการเทคโนโลยีชั้นสูง
โดยดารรวมสารอัลคาลอยด์เข้มข้นที่มีประสิทธิภาพสูงเข้าด้วยกัน สามารถฉีดพ่นได้ในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว
โดยปราศจากสารพิษตกค้างในดินและน้ำ ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค

FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว
ขนาด 1 ลิตร
อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

แนะนำให้ผสม มาคา และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน
มาคา 50 ซีซี และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้..

เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า

เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม

สั่งซื้อ
โทร 0909-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link.. ได้เช่นกัน
ผลิต สบู่ ขาย ต้องขอ อย.หรือไม่ และต้องทำอย่างไร
ผลิต สบู่ ขาย ต้องขอ อย.หรือไม่ และต้องทำอย่างไร
การผลิตสบู่ขาย ต้องขอ อย.หรือไม่
เป็นคำถามของผู้ที่สนใจธุรกิจประเภทนี้สงสัย เนื่องจากบางครั้งเห็นว่าเป็นการทำสบู่ สมุนไพร เองที่บ้าน ไม่ได้มีโรงงานผลิต เป็นล่ำเป็นสัน บางทีก็เป็นการต่อยอดจากการทดทองทำใช้เองในครอบครัว เมื่อเห็นว่ามีประสิทธิภาพดีกับการใช้กับตนเอง จึงคิดว่าหากทำออกขาย ก็ไม่จำเป็นต้องขออนุญาติ ทั้งยังไม่เห็น เครื่องหมาย เลขที่ อย. อยู่ในบรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทนี้ แต่อย่างไรก็ตามผู้ผลิตหลายรายก็ต้องการทำไห้ถูกต้อง เพื่อที่จะได้ต่อยอดธุรกิจไห้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้

สำหรับเรื่องการผลิตสบู่ เพื่อนำออกจำหน่ายนั้น ตามกฎหมายต้องมีการขออนุญาติก่อนกับ อย. แต่จะไม่ได้เลขทะเบียน อย. อย่างอาหารและยา แต่จะได้รับ เลขที่ใบรับแจ้ง เพื่อแสดงการจดแจ้ง

เอกสาร ที่ใช้ในการจดแจ้ง
1.เอกสารสำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ 2 ชุด
2.สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจ 2 ชุด
3.ถ้าเป็นนิติบุคคล ต้องมีสำเนาการจดรับรองนิติบุคคล 1 ชุด
4.สำเนาทะเบียนพาณิชย์ กรณีจดทะเบียนธุรกิจการค้า
5.เสาเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งของธุรกิจ
6.แผนที่ตั้งธุรกิจ
7.แผนผังแสดงรายละเอียด สถานที่ผลิต สถานที่เก็บสินค้า สถานที่จำหน่ายสินค้า
8.ตัวอย่างสินค้า พร้อมฉลาก อีก 2 ชุด

นอกจากนี้เรายีงต้องเตรียมข้อมูลเพื่อไห้รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ในเจ้าหน้าที่ในการจดแจ้ง ซึ่งเราต้องกรอกลงไปในแบบ จค ซึ่งจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเราทั้งหมด เช่น ชื่อทางการค้า หรือ ยี่ห้อ รูปแบบผลิตภัณฑ์เป็นอย่างไร มีกลิ่นอะไรบ้าน ประเภทของการใช้ จุดประสงค์ที่ใช้ วิธีใช้ นอกจากนี้จะมีคำถามไห้เราตอบข้อมูลในส่วนที่เลือกตอบเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับสบู่เท่านั้น เพื่องจากเป็นแบบฟอร์มรวมที่ใช้กับเครื่องสำอางประเภทอื่นๆด้วยฉะนั้นเลือกตอบเฉพาะบางข้อก็พอ ส่วนที่สำคัญที่สุดในเอกสารนี้คือ การกรอกแจ้งสูตรส่วนผสม ว่าเราต้องใช้สารชนิดใดบ้าง ซึ่งส่วนนี้อาจจะยากหน่อยสำหรับรายใหม่ๆส่วยใหญ่ผู้ที่อยากผลิตและขายสบู่เอง จะมีปัญหาในขั้นตอนนี้เนื่องจากเขียนไม่เหมาะสม ทำไห้ขอขึ้นทะเบียนได้ยาก

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..

สำหรับผู้ผลิตสินค้าที่สนใจ ตรวจฉลากโภชนาการของสินค้า ตรวจสารสกัดชนิดๆ สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้ http://www.farmkaset..link..
อยากทำน้ำพริกขายเริ่มต้นอย่างไรดี
อยากทำน้ำพริกขายเริ่มต้นอย่างไรดี
ผู้ประกอบการรายย่อย
หรือคนที่อยากเริ่มทำธุรกิจเป็นของตนเองหลายคนมักบอกว่า ตนเองหรือครอบครัวหรือมีญาติของตนเองทำน้ำพริกอร่อย มีสูตรเฉพาะไม่เหมือนใคร ทำให้ใครทานทุกคนก็ติดใจและมีแต่คนแนะนำให้ทำขาย แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เนื่องจากที่ผ่านมาเคยแต่ทำทานเองในบ้านหรือทำแจกเพื่อนฝูง ไม่มีสูตรชัดเจน ใช้กะๆดูเอา หรือใช้วิธีชิมๆเอา ไม่เคยรู้ว่าเก็บได้กี่วัน เก็บไว้นานๆไม่รู้ว่าคุณภาพเป็นอย่างไร จึงขอแนะนำสำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้นประกอบอาชีพทำน้ำพริกขาย ให้สามารถนำไปประยุกต์ได้กับน้ำพริกทุกประเภท โดยขอยกตัวอย่างเป็นน้ำพริกแดงที่ใส่ปลาย่าง หรือบางคนเรียกว่าน้ำพริกปลาย่างก็ได้

น้ำพริกแดง หรือน้ำพริกตาแดง หรือน้ำพริกปลาย่าง หรือน้ำพริกเผา เป็นน้ำพริกที่มีรสเผ็ดและมีเนื้อค่อนข้างแห้งทำให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้เป็นเวลานาน จึงเหมาะสำหรับเวลาเดินทางไกลหรือไปเที่ยว หรือซื้อเป็นของฝาก

ในการทำอาหารเพื่อการจำหน่าย ผู้ประกอบการจะต้องมีสูตรการผลิตที่ชั่งตวงวัดที่เป็นมาตรฐาน และมีขั้นตอนการผลิตเรียงตามลำดับก่อนหลังเป็นขั้นตอน

วิธีบรรจุน้ำพริก
ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีบรรจุน้ำพริกโดยใช้ขวดแก้วหรือขวดพลาสติกที่ทนความร้อน เพื่อจำหน่ายและให้สามารถเก็บไว้ได้นาน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการบรรจุขวดและให้ความร้อนฆ่าเชื้อ
1. หม้อนึ่งหรือลังถึงเพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อ
2. ทัพพีสำหรับบรรจุน้ำพริกลงขวดที่ผ่านการลวกน้ำร้อน เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แล้ว
3. ขวดพร้อมฝาสำหรับบรรจุ

วิธีบรรจุ
1. ทำความสะอาดขวดแก้วและฝาที่จะใช้บรรจุโดยการนึ่งในลังถึงด้วยการเรียงฝาและขวดแก้ว หรือขวดพลาสติกที่ทนความร้อนคว่ำวางบนลังถึง แล้วนำไปนึ่งบนน้ำต้มเดือด นานประมาณ 5-10 นาที ยกลงมาผึ่งให้แห้งสนิทก่อนนำไปบรรจุน้ำพริก
2. ใช้ทัพพีที่ลวกน้ำร้อนทิ้งให้แห้งก่อนนำมาตักน้ำพริกที่ผัดแล้ว บรรจุลงในขวดเว้นที่ว่างต่ำจากขอบด้านบนปากขวดประมาณ 1 นิ้ว หากขวดเลอะให้เช็ดปากขวดให้สะอาด ด้วยกระดาษทิชชู่ที่สเปร์ด้วยแอลกอฮอล์
3. ปิดฝาให้แน่น นำขวดน้ำพริกไปเรียงในลังถึง แล้วไปนึ่งบนน้ำเดือดนาน 15-30 นาที (ขึ้นกับขนาดขวด) เมื่อครบตามเวลาปิดไฟนำขวดออกมาตั้งทิ้งไว้ให้เย็นสนิท
4. เช็ดขวดรอบนอกให้แห้ง เก็บไว้ในที่อากาศเย็น ไม่อบอ้าว ห่างจากแสงสว่าง ปิดฉลากแสดงชื่อแสดงวันผลิตหรือวันหมดอายุและรายละเอียดของน้ำพริกนั้น ๆแล้วนำออกจำหน่าย

วิธีเก็บรักษาน้ำพริก
น้ำพริกทุกชนิดที่ผ่านการนึ่งหรือต้มทั้งขวดเพื่อฆ่าเชื้อด้วยความร้อน จะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น โดยสามารถเก็บในสภาวะปกติได้นานกว่า 6 เดือนขึ้นไป แต่หลังเปิดฝาขวดใช้งานแล้วควรจัดเก็บในตู้เย็น และไม่ควรเก็บนานกว่า 1 เดือน โดยเฉพาะน้ำพริกประเภทที่มีน้ำมากควรรับประทานให้หมดภายใน 1 สัปดาห์หลังเปิดขวด

น้ำพริกที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนในการผลิต โดยทั่วไปอายุการเก็บรักษาของน้ำพริกประเภทแห้ง เช่น น้ำพริกตาแดง หรือน้ำพริกปลาย่าง จะเก็บได้นานกว่าน้ำพริกประเภทที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก โดยปกติแล้วน้ำพริกประเภทแห้งจะเก็บได้ประมาณ 5-10 วัน ในอุณหภูมิห้อง แต่ถ้าเก็บในตู้เย็นสามารถเก็บได้ประมาณ 1-2 เดือน

ถ้าไม่ผ่านการฆ่าเชื้อสำหรับน้ำพริกที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากเช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่องและน้ำพริกปลาทู จะไม่สามารถในสภาพปกติได้ จะต้องรับประทานภายในวันเดียว ถ้าเก็บในตู้เย็นจะเก็บได้ไม่เกิน 15 วัน ถ้าเกินกว่านี้ ก็จะมีกลิ่นบูดเน่า รับประทานไม่ได้ ดังนั้นน้ำพริกที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากจึงนิยมทำขายกันสดๆ เพราะจะได้น้ำพริกที่มีรสชาติดีอร่อย

การเข้าสู่อาชีพการทำน้ำพริก
การเข้าสู่อาชีพ "การทำน้ำพริก" ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบตนเองว่ามีความพร้อมในการประกอบอาชีพมากน้อยเพียงใด เช่น ความสนใจ เงินทุน สูตรและฝีมือในการปรุงอาหาร
2. มีความรู้ความสามารถและใจรักในการประกอบอาชีพการทำน้ำพริกชนิดต่างๆ มากน้อยเพียงไร รวมถึงความสามารถในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ดียิ่งขึ้น
3. มีความเข้าใจในความต้องการของผู้บริโภคแต่ละท้องถิ่นว่า มีรสนิยม และความชอบเป็นอย่างไร
4. มีความตั้งใจจริงและซื่อสัตย์ต่อลูกค้า โดยเลือกใช้แต่วัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพ และใส่ใจในการเรื่องความสะอาดในทุกขั้นตอนการผลิต

วิธีการขอเลข อย.
อาหาร ในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 หมายถึง วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ นอกจากนี้อาหารยังรวมถึงวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สี เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสด้วย โดยปัจจุบันนี้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้รวมตัวกันเป็นชมรมหรือสหกรณ์ นำวัตถุดิบที่ได้จากการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายเป็นการช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ เช่น เครื่องดื่มทำจากผลไม้ท้องถิ่น เครื่องดื่มจากสมุนไพร กะปิ น้ำปลา ขนมหวาน อาหารขบเคี้ยว เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องสะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพหรือมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ผู้ผลิตอาจต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไป

เอกสารสำคัญที่ต้องจัดเตรียมเพื่อขอจัดตั้งโรงงาน / สถานที่ผลิต
1. สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ
2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจ
3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
4. สำเนา ภพ.20 ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
5. สำเนาทะเบียนบ้านของร้าน หรือ บริษัท ( กรณีที่อยู่ดังกล่าว ไม่ตรงกับที่อยู่ผู้มีอำนาจ )
6. แผนที่ตั้งของร้าน หรือ บริษัท
7. แผนผังภายในร้าน หรือ บริษัท ระบุ สถานที่ผลิต_บรรจุ_เก็บสินค้า ให้ชัดเจน
8. สินค้าตัวอย่างพร้อมฉลาก

อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตอาหาร
1. ใช้คนงานตั้งแต่ 7-19 คน โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 3_000 บาท
2. ใช้คนงานตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 5_000 บาท
3. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5-91 แรงม้า 6_000 บาท
4. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 10-24 แรงม้า 7_000 บาท
5. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 25-49 แรงม้า 8_000 บาท
6. ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ 50 แรงม้า ขึ้นไป 10_000 บาท
สำหรับกรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น (ฟรี)

หลักฐานสำคัญเพื่อใช้ขอรับเลขสารบนอาหาร (อย.)
1. ใบจดทะเบียนอาหาร/แจ้งรายละเอียด (แบบ สบ.5) จำนวน 2 ฉบับ
2. สำเนาการได้รับอนุญาตตั้งสถานที่ผลิต
3. ใบรับรองสถานที่ผลิตอาหารที่เทียบเท่าเกณฑ์ Primary GMP

สรุป 4 ขั้นตอนการขอเครื่องหมาย อย.
1. จัดเตรียมสถานที่ผลิตอาหารให้ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP: GOOD MANUFACTURING PRACTICE)
2. จัดเตรียมเอกสาร โดยติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารทุกแห่ง
3. ยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตอาหาร พร้อมนัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจ สถานที่
4. ยื่นขอเอกสารอนุญาตขอรับเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.)
ตามแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารควบคุมเฉพาะ_อาหาร ที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
http://www.farmkaset..link..

สำหรับผู้ผลิตสินค้าที่สนใจ ตรวจฉลากโภชนาการของอาหาร ตรวจ บรรจุภัณฑ์ สารปนเปื้อน สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้ http://www.farmkaset..link..
การกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน
การกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน
“แหล่งน้ำผิวดิน” หมายถึง แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำสาธารณะอื่นๆ ที่อยู่ภายในผืนแผ่นดิน ซึ่งหมายความรวมถึงแหล่งน้ำสาธารณะที่อยู่ในผืนแผ่นดินบนเกาะด้วย แต่ไม่รวมถึงน้ำบาดาล และในกรณีที่แหล่งน้ำนั้นอยู่ติดกับทะเลให้หมายความถึงแหล่งน้ำที่อยู่ภายในปากแม่น้ำหรือปากทะเลสาบ (ปากแม่น้ำและปากทะเลสาบให้ถือแนวเขตตามที่กรมเจ้าท่ากำหนด)

1. การกำหนดมาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำ มีวัตถุประสงค์
1.1 เพื่อควบคุมและรักษาคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ และมีควาปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
1.2 เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากร และสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ
2. หลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำ
2.1 ความเหมาะสมต่อการนำมาใช้ประโยชน์ในกิจกรรมแต่ละประเภท ในกรณีที่แหล่งน้ำนั้นมีการใช้ประโยชน์หลายด้าน (Multi Purposes) โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์หลักเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ระดับมาตรฐานจะไม่ขัดแย้งต่อการใช้ประโยชน์หลายด้านพร้อมกัน
2.2 สถานการณ์คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำหลักของประเทศ และแนวโน้มของคุณภาพน้ำที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการพัฒนาด้านต่างๆ ในอนาคต
2.3 คำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของชีวิตมนุษย์และสัตว์น้ำส่วนใหญ่
2.4 ความรู้สึกพึงพอใจในการยอมรับระดับคุณภาพน้ำในเขตต่างๆ ของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำหลักและของประชาชนส่วนใหญ่
3. เป้าหมายในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพในแหล่งน้ำผิวดิน
3.1 เพื่อให้มีการจัดทำแบ่งประเภทแหล่งน้ำโดยมีมาตรฐานระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ของแหล่งน้ำ
3.2 เพื่อให้มีมาตรฐานคุณภาพน้ำและวิธีการตรวจสอบที่เป็นหลักสำหรับการวางโครงการต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึงแหล่งน้ำเป็นสำคัญ
3.3 เพื่อรักษาคุณภาพแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธารให้ปราศจากการปนเปื้อนจากกิจกรรมใดๆ ทั้งสิ้น
4. ประเภทและมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน
ประเภทและมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ แหล่งน้ำประเภทที่ 1 แหล่งน้ำประเภทที่ 2 แหล่งน้ำประเภทที่ 3 แหล่งน้ำประเภทที่ 4 และแหล่งน้ำประเภทที่ 5
4.1 แหล่งน้ำประเภทที่ 1 ได้แก่ แหล่งน้ำที่คุณภาพน้ำมีสภาพตามธรรมชาติ โดยปราศจากน้ำทิ้ง จากกิจกรรมทุกประเภทและสามารถเป็นประโยชน์เพื่อ
(1) การอุปโภคและบริโภค โดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติก่อน
(2) การขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตระดับพื้นฐาน
(3) การอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำ
4.2 แหล่งน้ำประเภทที่ 2 ได้แก่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อ
(1) การอุปโภคและบริโภค โดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติก่อน และผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อน
(2) การอนุรักษ์สัตว์น้ำ
(3) การประมง
(4) การว่ายน้ำและกีฬาทางน
4.3 แหล่งน้ำประเภทที่ 3 ได้แก่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อ
(1) การอุปโภคและบริโภค โดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติ และผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อน
(2) การเกษตร
4.4 แหล่งน้ำประเภทที่ 4 ได้แก่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อ
(1) การอุปโภคและบริโภค โดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติ และผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นพิเศษก่อน
(2) การอุตสาหกรรม
4.5 แหล่งน้ำประเภทที่ 5 ได้แก่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อการคมนาคม
5. การกำหนดมาตรฐานดัชนีคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน
5.1 คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำประเภทที่ 1 ต้องมีสภาพตามธรรมชาติ และสามารถใช้ประโยชน์ได้ตาม ข้อ 4 (4.1)
5.2 คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำประเภทที่ 2 ต้องมีมาตรฐานดังต่อไปนี้
5.2.1 ไม่มีวัตถุหรือสิ่งของที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ซึ่งจะทำให้ สี กลิ่น และรสของน้ำเปลี่ยนไปตามธรรมชาติ
5.2.2 อุณหภูมิ (Temperature) ไม่สูงกว่าอุณหภูมิตามธรรมชาติเกิน 3 องศาเซลเซียส
5.2.3 ความเป็นกรดและด่าง (pH) มีค่าระหว่าง 5.0 - 9.0
5.2.4 ออกซิเจนละลาย (DO) มีค่าไม่น้อยกว่า 6.0 มิลลิกรัม/ลิตร
5.2.5 บีโอดี (BOD) มีค่าไม่เกินกว่า 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร
5.2.6 แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform Bacteria) มีค่าไม่เกินกว่า 5_000 เอ็ม พี เอ็น./100 มิลลิลิตร
5.2.7 แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform Bacteria) มีค่าไม่เกินกว่า 1_000 เอ็ม พี เอ็น./100 มิลลิลิตร
5.2.8 ไนเตรต (NO3) ในหน่วยไนโตรเจน มีค่าไม่เกินกว่า 5.0 มิลลิกรัม/ลิตร
5.2.9 แอมโมเนีย (NH3) ในหน่วยไนโตรเจน มีค่าไม่เกินกว่า 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร
5.2.10 ฟินอล (Phenols) มีค่าไม่เกินกว่า 0.005 มิลลิกรัม/ลิตร
5.2.11 ทองแดง (Cu) มีค่าไม่เกินกว่า 0.1 มิลลิกรัม/ลิตร
5.2.12 นิคเกิล (Ni) มีค่าไม่เกินกว่า 0.1 มิลลิกรัม/ลิตร
5.2.13 แมงกานีส (Mn) มีค่าไม่เกินกว่า 1.0 มิลลิกรัม/ลิตร
5.2.14 สังกะสี (Zn) มีค่าไม่เกินกว่า 1.0 มิลลิกรัม/ลิตร
5.2.15 แคดเมียม (Cd) ในน้ำที่มีความกระด้างในรูปของ CaCO3 ไม่เกินกว่า 100 มิลลิกรัม/ลิตร มีค่าไม่เกินกว่า 0.005 มิลลิกรัม/ลิตร และในน้ำที่มีความกระด้างในรูปของ CaCO3 เกินกว่า 100 มิลลิกรัม/ลิตร มีค่าไม่เกินกว่า 0.05 มิลลิกรัม/ลิตร
5.2.16 โครเมียมชนิดเอ็กซาวาเล้นท์ (Cr Hexavalent) มีค่าไม่เกินกว่า 0.05 มิลลิกรัม/ลิตร
5.2.17 ตะกั่ว (Pb) มีค่าไม่เกินกว่า 0.05 มิลลิกรัม/ลิตร
5.2.18 ปรอททั้งหมด (Total Hg) มีค่าไม่เกินกว่า 0.002 มิลลิกรัม/ลิตร
5.2.19 สารหนู (As) มีค่าไม่เกินกว่า 0.01 มิลลิกรัม/ลิตร
5.2.20 ไซยาไนด์ (Cyanide) มีค่าไม่เกินกว่า 0.005 มิลลิกรัม/ลิตร
5.2.21 กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) มีค่ารังสีแอลฟา (Alpha) ไม่เกินกว่า 0.1 เบคเคอเรล/ลิตร และรังสีเบตา (Beta) ไม่เกินกว่า 1.0 เบคเคอเรล/ลิตร
5.2.22 สารฆาศัตรูพืชและสัตว์ชนิดที่มีคลอรีนทั้งหมด (Total Organochlorins Pesticides) มีค่าไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม/ลิตร
5.2.23 ดีดีที (DDT) มีค่าไม่เกินกว่า 1.0 ไมโครกรัม/ลิตร
5.2.24 บีเอซซีชนิดแอลฟา (Alpha-BHC) มีค่าไม่เกินกว่า 0.02 ไมโครกรัม/ลิตร
5.2.25 ดิลดริน (Dieldrin) มีค่าไม่เกินกว่า 0.1 ไมโครกรัม/ลิตร
5.2.26 อัลดริน (Aldrin) มีค่าไม่เกินกว่า 0.1 ไมโครกรัม/ลิตร
5.2.27 เฮปตาคลอร์ (Heptachlor) และเฮปตาคลอร์อีปอกไซด์ (Heptachlorepoxide) มีค่าไม่เกินกว่า 0.2 ไมโครกรัม/ลิตร
5.2.28 เอนดริน (Endrin) ไม่สามารถตรวจพบได้ตามวิธีการตรวจสอบที่กำหนด
5.3 คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำประเภทที่ 3 ต้องมีมาตรฐานตามข้อ 5.2 เว้นแต่
5.3.1 ออกซิเจนละลาย (DO) มีค่าไม่น้อยกว่า 4.0 มิลลิกรัม/ลิตร
5.3.2 บีโอดี (BOD) มีค่าไม่เกินกว่า 2.0 มิลลิกรัม/ลิตร
5.3.3 แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform Bacteria) มีค่าไม่เกินกว่า 20_000 เอ็ม พี เอ็น./100 มิลลิลิตร
5.3.4 แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform Bacteria) มีค่าไม่เกินกว่า 4_000 เอ็ม พี เอ็น./100 มิลลิลิตร
5.4 คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำประเภทที่ 4 ต้องมีมาตรฐานตามข้อ 5.2 (5.2.1) ถึง (5.2.5) และ (5.2.8) ถึง (5.2.28) เว้นแต่
5.4.1 ออกซิเจนละลาย (DO) มีค่าไม่น้อยกว่า 2.0 มิลลิกรัม/ลิตร
5.4.2 บีโอดี (BOD) มีค่าไม่เกินกว่า 4.0 มิลลิกรัม/ลิตร
5.5 คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำประเภทที่ 5 ต้องมีมาตรฐานต่ำกว่าคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำประเภทที่ 4


แหล่งที่มา: พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กฎ ประกาศ และระเบียบที่เกี่ยวข้องด้านการควบคุมมลพิษ เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ISBN 974-9879-92-9


ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..

สำหรับผู้ผลิตสินค้าที่สนใจตรวจคุณภาพที่ใช้ในการผลิต สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้
http://www.farmkaset..link..

ฉลากโภชนาการคืออะไร
ฉลากโภชนาการคืออะไร
ฉลากโภชนาการคืออะไร

การแสดงฉลากโภชนาการ คือ การแสดงข้อมูลโภชนาการของอาหารนั้นๆ บนฉลากในรูปของชนิด และปริมาณของสารอาหาร โดยอยู่ภายในกรอบ ที่มีรูปแบบเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า กรอบ ข้อมูลโภชนาการ นอกจากนั้น ยังรวมถึงการใช้ข้อความ กล่าวอ้างทางโภชนาการ เช่น โปรตีนสูง เสริมวิตามินซี เป็นต้น

ดังนั้น จึงกล่าวง่ายๆได้ว่า ฉลากโภชนาการ คือ… ฉลากอาหารปกติทั่วไป ซึ่งต้องมีข้อมูลการแสดง
ฉลากโดยทั่วไป เช่น ชื่อ ที่อยู่ผู้ผลิต วันผลิต น้้าหนักสุทธิ ฯลฯ อยู่แล้ว และ ฉลากนี้ มีการแสดง
ข้อมูลโภชนาการ ของอาหารนั้น ในรูปของ "กรอบข้อมูลโภชนาการ" ซึ่งระบุชนิดสารอาหาร
ปริมาณสารอาหาร ตามรูปแบบเงื่อนไขที่ก้าหนด โดยอาจมี ข้อความกล่าวอ้าง เช่น แคลเซียมสูง
เสริมไอโอดีน ด้วยหรือไม่ก็ได้

ประโยชน์ของฉลากโภชนาการ

ฉลากโภชนาการช่วยให้ผู้บริโภค

1. เลือกซื้ออาหารและเลือกบริโภคให้เหมาะสมกับความต้องการ หรือภาวะทาง
โภชนาการของตนได้ เช่น เลือกอาหารที่ระบุว่ามีโคเลสเตอรอลต่้า หรือ มีโซเดียมต่้า
2. เปรียบเทียบเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารชนิดเดียวกัน โดยเลือกที่มีคุณค่า
ทางโภชนาการดีกว่าได้
3. ในอนาคต เมื่อผู้บริโภคสนใจ ต้องการข้อมูลโภชนาการของอาหาร ผู้ผลิตก็จะ
แข่งขันกันผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่า แทนการแข่งขันกันในเรื่อง
หีบห่อ สี หรือสิ่งจูงใจภายนอกอื่นๆ
รายละเอียดข้อมูลที่แสดงบนเลขสารบบอาหาร
เลขสารบบอาหาร ประกอบด้วยตัวเลข 13 หลัก แสดงถึงข้อมูลส้าคัญ 2 ชุด ได้แก่
- ชุดข้อมูลชุดแรก (X) คือข้อมูลสถานที่ประกอบการ
ประกอบด้วยตัวเลข 8 หลักแรก
- ชุดข้อมูลชุดหลัง (Y) คือข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
ประกอบด้วยตัวเลข 5 หลักหลัง

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..

สำหรับผู้ผลิตสินค้าที่ต้องการจัดทำฉลากโภชนาการ สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้ http://www.farmkaset..link..
สารสำคัญ ในกัญชา มีอะไรบ้าง
สารสำคัญ ในกัญชา มีอะไรบ้าง
สารสำคัญในกัญชา บทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสารสำคัญในกัญชา มีอะไรบ้าง
สารสำคัญในกัญชา แต่ละตัวสำคัญอย่างไร ตัวใหนทำไห้เมา ตัวใหนทำไห้ติด และตัวใหนใช้รักษาโรค เราจะพาทุกท่านมาหาคำตอบในบทความนี้กันคะ

สารสำคัญในกัญชามีหลายร้อยชนิด แบ่งออกเป็นกลุ่มหลักๆ ได้3กลุ่ม
1)สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids)
2)สารเทอร์ปีน (Terpenes)
3)สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)

กลุ่มที่ 1 สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids)
เป็นสารสำคัญในกัญชา ซึ่งสารในกลุ่มนี้เป็นสารประกอบทางเคมี ที่มีมากกว่า 500 ชนิด เป็นสารที่ต้นกัญชาสามารถผลิตได้ และเก็บสะสมไว้ในไตรโคม และต่อมขน ที่มีอยู่มากบริเวณ ดอกกัญชาตัวเมีย

สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) มากกว่า 100 ชนิด จะมีแค่ในต้นกัญชาเท่านั้น ไม่สามารถหาได้จากพืชนิดอื่น สาร (Cannabinoids) ที่ได้จากกัญชา จะเรียกว่า ไฟโตแคนนาบินอยด์ เพื่อไม่ไห้สับสนระหว่าง สารแคนนาบินอนยด์ที่ร่างการมนุษย์สร้างขึ้น

หลายคนสงสัยว่ากัญชาสร้างสารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) ที่เหมือนกับสารที่ร่างกายสร้างได้ด้วยหรือ คำตอบคือ เกือบเหมือนแต่ไม่เหมือน แต่ที่สำคัญเป็นสารที่ใช้แทนกันได้ สารโฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา มีโครงสร้าง ทางเคมีคล้ายกับสาร แคนนาบินอยด์ ที่ร่างกายสร้างขึ้น เพื่อใช้งานในระบบทำงานของร่างกาย เรียกว่า ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ Endocannabinioid System (ESC)

ระบบเอ็นโดแคนนนาบินอยด์
คือการรักษาสมดุลของร่างกายเพื่อไห้ทำงานเป็นปกติ โดยการควบคุมการทำงานต่างๆทั้งระบบประสาท กระบวนการทางกายภาพ การตอบสนองต่อความเจ็บปวด ความอยากอาหาร การย่อยอาหาร อารมณ์ การอักเสบต่างๆ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาทสำผัส การทำงานของหัวใจและอื่นๆระบบต่างๆจะถูกควบคุมด้วยระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ หากร่ายกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างแคนนาบินอยด์ ได้หรือสร้างได้น้อย

ร่างกายเกิดอาการผิดปกติ อาจเกิดโรคต่างๆขึ้นได้ การใช้สารแคนนาบินอยด์ ที่ได้จากกัญชาไปทดแทน จึงช่วยรักษาและป้องกันโรค ที่เกิดจากกระบวนการบกพร่องของสารแคนนาบินอยด์

สารแคนนาบินอยด์ จากต้นกัญชา
สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) เป็นสารสำคัญในกัญชา ตัวที่รู้จักและมีการศึกษามากในปัจจุบันได้แก่สาร THC_CBD_CBC_CBN_CBV โดยมีข้อมูลไห้พบมากที่สุดได้แก่ สารเดลตร้า 9 เดลตร้า ไฮโดรแคนนาบินอยด์ (THC) และแคนนาบิไดออล (CBD)

ซึ่งทั้ง2ชนิด มีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกันมาก โดยทั้ง2ประกอบด้วย คาร์บอน 21 อะตอม ไฮโดรเจน 30 และออกซิเจน 2 อะตอม แต่ที่มันต่างกันก็เพราะ การเรียนตัวของอะตอมไม่เหมือนกัน

สารเดลตร้า 9 เดตร้า ไฮโดรเเคนนาบินอยด์ (THC) สารกลุ่มนี้เป็นสารที่กลุ่มผู้ใช้เพื่อการนันทนาการต้องการ เพราะจะทำไห้เกิดอาการเมา หรือมีการผ่อนคลายทางร่างกาย ยิ่ง THC สูง ยิ่งเกิดอาการเมา

ซึ่งมีผลข้างเคียงจากการเสพติดตามมามากมายเช่น อาการปากแห้ง กระหายน้ำ หัวใจเต้นเร็ว ตาแดง สูญเสียความทรงจำชั่วขณะ ประสาทหลอน หูแว่ว

สารแคนนาบิไดออล (CBD) เป็นสารสำคัญในกัญชา สารตัวนี้จะทำไห้รู้สึกผ่อนคลายเช่นกัน แต่จะไม่ทำไห้มีผลต่อสุขภาพจิตประสาท ไม่ทำไห้เกิดอาการติด และยังช่วยลดอาการทางจิตประสาท ที่เกิดจากสาร ลดอาการวิตกกังวล ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ป้องกันโรคนอนไม่หลับ ลดอาการชักจากโรคปอกประสาทเสื่อม และโรคลมชักต่างๆ

กลุ่มที่ 2 สารเทอร์ปีน (Terpents)
เป็นสารสำคัญในกัญชาอีกชนิดหนึ่ง เป็นสารประกอบอโรมาติก เป็นสารทำไห้มีกลิ่นเฉพาะตัว ทำไห้เราสามารภแยกสายพันธ์ุกัญชาได้จากกลิ่น ซึ่งกลิ่นเหล่านี้ทำไห้กัญชามีเสน่ห์แตกต่างกันไป กัญชาจะมีกลิ่นและรสชาติที่โดดเด่น มีทั้ง ส้ม เบอร์รี่ มิ้น และอื่นๆอีกมากมาย

สิ่งที่ทำไห้ปริมาณสารเทอปีนมีมาก หรือ น้อย ประกอบด้วยหลายปัจจัย เช่น สภาพแวดล้อมที่ปลูก อุณภูมิ ปุ๋ย แสงไฟที่ได้รับ อายุการเก็บเกี่ยว การบ่ม การเก็บรักษา สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วยมีผลต่อปริมาณ และคุณภาพ ของสารเทอร์ปีน

เทอร์ปีน เป็นสารสำคัญในกัญชาที่มีผลต่อร่างการโดยตรง ช่วยไห้ผ่อนคลาย ช่วยบำบัดโรค โดยเป็นตัวเสริมซึ่งกันและกัน ระหว่าง สารแคนนาบินอยด์ ทำไห้มีฤทธิ์มากขึ้น หากใช้สารสกัด CBD เพียวๆอาจไม่ได้ผลดี เหมือนการใช้ดอกแห้งที่นังไม่สกัด เพราะสารสกัด CBD เพียวๆ จะไม่มีสารเทอร์ปีนอยู่ด้วย

กลุ่มที่ 3 สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)
สารฟลาโวนอยด์ เป็นสารสำคัญในกัญชา ที่จัดเป็นนิวตราซูติคอล หรือ อาหาร หรือส่วนประกอบของอาหาร เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ทางยา ป้องกัน รักษาโรค และชะลอความชรา มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

โดยทำหน้าที่หน่วงเหนี่ยว หรือเป็นสารต้านปฏิกริยา ออกซิเดชั่น จึงช่วยหยุด กริยาลูกโซ่ของอนุมูลอิสระได้ และยังช่วยลดการเกิดโรคเรื่อรังชนิดต่างๆ มีประโยชน์ต่อระบบสมอง ระบบเส้นเลือด และหัวใจ รวมทั้งพบสรรพคุณในการฆ่ามะเร็งได้ด้วย ปัจจุบันค้นพบการสำคัญในกัญชา ที่เป็นสารกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ มากกว่า20ชนิด

การใช้กัญชารักษาโรค
การใช้กัญชารักษาโรคนั้นจำเป็นต้องใช้ทั้ง 3 กลุ่ม ดังที่กล่าวไปข้างต้น ทำงานร่วมกันจึงจะได้ผลดี หากทำสกัดแยกสารออกมาเดี่ยวๆอาจจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร แต่การใช้ยาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน จำเป็นต้องระบุสารเคมีที่ใช้ไห้ชัดเจน ทั้งปริมาณและความบริสุทธิของสาร

ซึ่งเป็นอุปสรรค์ ของการใช้กัญชาทางการแพทย์อยู่พอสมควร ทั้งยังทำไห้ราคาสูงขึ้น เพราะจะต้องทำไห้เป็นสารบริสุทธิ์ การใช้กัญชาทางการแพทย์ในรูปแบบสมุนไพร น้ำมันกัญชา หรือการสูบไอระเหย จึงสะดวกกว่ามาก

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..

สำหรับผู้ผลิตสินค้าที่มีส่วนประกอบของกัญชา สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้ http://www.farmkaset..link..
การปรับปรุงดินลูกรัง ให้ปลูกพืชได้ดีขึ้น
การปรับปรุงดินลูกรัง ให้ปลูกพืชได้ดีขึ้น
ดินลูกรัง หรือดินตื้นมีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ มักเป็นกรด มีชั้นหินกรวดลูกรัง เป็นอุปสรรคต่อรากพืช ดินไม่อุ้มน้ำ ทำให้ขาดความชุ่มชื้น การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เป็นดินลูกรังเพื่อปลูกพืชสามารถทำได้แต่ต้องขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อมและระดับการจัดการ


การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรจำเป็นต้องมีการใช้เทคโนโลยีหรือมีการจัดการดินและพืชที่เหมาะสมด้วยได้แก่ ชลประทาน การปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน การใช้ปุ๋ยในรูปที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด

สำหรับการพัฒนาดินลูกรังมาใช้ในการเพาะปลูกพืช มีการศึกษาวิจัยวิธีการจัดการดินและการพัฒนาพันธุ์พืชหรือคัดเลือกพันธุ์พืชมาปลูกให้เหมาะสมกับสภาพของดินและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตลอดมา จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่าการเพิ่มผลผลิตของพืชที่ปลูกในดินลูกรังควรคำนึงถึงด้านการจัดการดินและการพัฒนาพันธุ์พืชหรือคัดเลือกพันธุ์พืช ให้มีความสามารถทนทานต่อสภาพปัญหาของดินลูกรัง เช่น การคัดเลือกพันธุ์พืชที่ขึ้นได้ในดินลูกรังและทนทานต่อความแห้งแล้ง

จะต้องปรับปรุงสภาพของดินให้มีความสามารถในการดูดยึดธาตุอาหารเพิ่มขึ้นซึ่งบางพื้นที่อาจทำโดยการลดความเป็นกรดด้วยการใช้ปูน การเพิ่มอินทรียวัตถุ การเพิ่มความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน โดยการผสมหินบะซอลต์บดลงในดิน

การจัดการพืช ก็ควรเลือกชนิดพืชให้เหมาะสมและมีอัตราเสี่ยงต่อการลงทุนน้อยที่สุดสำหรับบางพื้นที่จะใช้พื้นที่ที่มีลักษณะดินเช่นนี้ทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ก็ควรทำในลักษณะทุ่งหญ้าผสมถั่ว สำหรับไม้ยืนต้นและไม้ผลนั้นสามารถปลูกได้โดยขุดหลุมให้กว้างและลึกเป็นพิเศษ เช่น มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ มะขาม ขนุน เป็นต้น และในบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 1_600 มิลลิเมตร สามารถปลูกยางพาราได้ การปลูกสร้างสวนป่าอาจเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่น่าสนใจ โดยใช้ไม้ที่สามารถเจริญเติบโตได้ในดินปนกรวด ได้แก่ กระถินณรงค์ ยูคาลิปตัส สน ประดู่ และสัก เป็นต้น

ดังที่ สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านห้วยแม่เกี๋ยง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ แม้พื้นที่จะไม่ใช่ดินลูกรังโดยตรง แต่ก็เป็นพื้นที่ที่มีก้อนหินทั้งใหญ่และเล็กปะปนอยู่บริเวณหน้าดินเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะยากต่อการใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืช

แต่เจ้าหน้าที่ของสถานีไม่ละความพยายามได้มีการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำหน้าดินบริเวณนั้นมาใช้ประโยชน์ และประสบความสำเร็จ ปัจจุบันได้เป็นแบบอย่างให้กับราษฎรในพื้นที่ได้เข้ามาเรียนรู้ และนำกลับไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง แบบเพาะปลูกพืชผักหมุนเวียนสามารถลดการบุกรุกแผ้วถางป่าลงได้มากอย่างน่าพอใจยิ่ง

ปัจจุบันสถานีแห่งนี้ได้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของราษฎรในการนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของตนเองโดยไม่ต้องเข้าป่าบุกรุกป่าสร้างที่ใหม่ ๆ เพื่อปลูกพืชกันอีกต่อไป....

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3440
ทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์ ?
ทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์ ?
เกษตรกรและการเกษตรกรรม เป็นอาชีพที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างช้านานจนกลายเป็นรากฐานของสังคมไทย การปลูกพืชพันธุ์ต่าง ๆ เป็นการผลิตของคนส่วนใหญ่ วิถีชีวิตของคนเพาะปลูกและทำอาชีพเกษตรกรจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเสริมสร้างสังคม วัฒนธรรม การปกครอง การกินอยู่ ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนการแสดงออกต่าง ๆ ของคนในประเทศและรวมไปถึงเรื่องของการค้า เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้นเราจึงต้องดูแลให้อาชีพเกษตรกรอยู่ได้อย่างมีความสุขและมั่นคงในอาชีพของเขา


และในยุคสมัยที่เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งต่าง ๆ เข้ามามีอิทธิพลและบทบาทในการทำอาชีพของเกษตรกร ไปจนถึงปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการทำงานไป เช่น จากการใช้ควายไถนา เปลี่ยนมาใช้เครื่องจักร_ การใช้ปุ๋ยและสารเคมี_ การใช้เทคโนโลยีควบคุมการปล่อยน้ำและอื่น ๆ อีกมาก ก็ยิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสริมสร้าง พัฒนาและเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นให้วงการเกษตรก้าวไกลให้ทันโลกและนำมาประยุกต์ใช้ในวงการเกษตรของไทยให้ได้ แต่เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยแม้จะอำนวยความสะดวก แต่ด้วยปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ทั้งเรื่องที่ดิน_ ต้นทุนการผลิตที่มากขึ้น_ ภัยพิบัติ_ ภาวะเศรษฐกิจ และอื่น ๆ ก็ทำให้ภาคการเกษตรนั้นมีแนวโน้มที่จะอยู่อย่างลำบากมากขึ้น จนเกษตรกรที่เป็นอาชีพหลักนั้นอยู่อย่างลำบาก และมีแนวโน้มที่จะมีหนี้สินมากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือสวก. จึงเป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการวิจัยการเกษตร เพื่อเกษตรไทยอยู่ได้อย่างเข้มแข็งอย่างมั่นคง ยั่งยืนและผลักดันให้วงการเกษตรก้าวไกลให้ทันยุคสมัย โดยทางสวก. นั้นมีผลงานและงานวิจัยมากมายที่ได้ให้การสนับสนุนแก่นักวิจัย เกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตั้งแต่โครงการอบรม การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย_ การให้ทุนการวัยวิจัยในหัวข้อต่าง ๆ ที่กำหนด_ การผลักดันเกษตรกรให้เป็น Smart Farmer_ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ_ การวิจัยพืชพันธุ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลผลิตการเกษตรต่าง ๆ และมีผลงานอีกมากมายที่สวก. พยายามผลักดันและสนับสนุนให้การเกษตรก้าวไกลและอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง

และเพื่อให้เกษตรกรไทยอยู่ได้อย่างเข้มแข็งจริง สวก. จึงมีวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ ค่านิยมและพันธกิจต่าง ๆ เกษตรอินทรีย์ คือ อะไร และทำไมต้องเกษตรอินทรีย์?

หลายท่านเคยสงสัยหรือมีคำถาม ว่าเกษตรอินทรีย์คืออะไร ทำไมเดี๋ยวนี้ เราไปเลือกซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้า สินค้าหรือวัตถุดิบต่างๆ มักจะมีฉลากระบุที่ข้างกล่องหรือภาชนะ ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับการทำเกษตรอินทรีย์ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร

เกษตรอินทรีย์

คือการทำการเกษตรด้วยกรรมวิธีทางธรรมชาติ โดยที่พื้นที่ที่ทำเกษตรนั้น ต้องไม่มีสารพิษ หรือสารเคมีตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทั้งทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อความสมบูรณ์ทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามสมดุลของธรรมชาติให้มากที่สุด โดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม และมุ่งเน้นการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบในการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตสูง อุดมด้วยคุณค่าทางอาหารและปลอดสารพิษ ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิต และสามารถประยุกต์ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติเพื่อคุณภาพชีวิต และสนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ทำไมต้องเกษตรอินทรีย์

จากการใช้ทรัพยากรดินทำการเกษตรโดยไม่คำนึงถึงผลเสียของ ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุและกายภาพของดินตามธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ที่อาศัยอยู่ในดินนั้นสูญหาย และไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งการที่ธรรมชาติขาดสมดุลนี้ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ต่อกระบวนการเจริญเติบโตทางธรรมชาติ แต่เมื่อเกิดความไม่สมดุลขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ผืนดินสูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุในดิน ทำให้ผลผลิตมีแร่ธาตุ วิตามิน และพลังงานชีวิตต่ำ เป็นผลให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองในพืช เป็นสาเหตที่ทำให้พืช ผลผลิตอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทานโรค และทำให้เกิดการคุกคามของแมลง ศัตรูพืช และเชื้อโรคในพืช ซึ่งจะนำไปสู่การใช้สารเคมีฆ่าแมลงและเชื้อราเพิ่มขึ้น ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพในที่สุด และในดินที่เสื่อมคุณภาพนี้ จะทำปฏิกิริยาเร่งการเจริญเติบโตของศัตรูพืชให้เจริญเติบโตแข่งกับพืชเกษตร และนำไปสู่การใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดแมลงและวัชพืช

เป็นเกษตรอินทรีย์ได้อย่างไร

การเกษตรปัจจุบัน สามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดยเริ่มต้นศึกษาหาความรู้จากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้น ซึ่งเกษตรกรควรเริ่มต้นด้วยความสนใจ โดยศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติ และเมื่อเริ่มปฏิบัติตามนี้แล้วก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยนเรียนรู้ และเมื่อได้ลงมือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ไม่นานก็จะสามารถเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของการทำเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิตขึ้นนั้น ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว และหลักการสำคัญ คือการทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ และมีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียร โดยไม่ท้อถอยต่อปัญหาหรืออุปสรรค จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก เพราะเกษตรอิทรีย์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริง แล้วเกษตรกรเองก็สามารถขอรับการผ่านรับรองมาตรฐานจากภาครัฐจึงจะนับได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ที่สมบูรณ์พร้อม

หลักการผลิตพืชอินทรีย์

1. พื้นที่ที่จะทำการเกษตรนั้นต้องไม่เคยทำการเกษตรเคมีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี

2. พื้นที่ควรมีลักษณะค่อนข้างดอนและโล่งแจ้ง

3. พื้นที่ต้องอยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม

4. พื้นที่ควรอยู่ห่างจากแปลงที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี

5. พื้นที่ห่างจากถนนหลวงหลัก

6. พื้นที่มีแหล่งน้ำที่ปลอดสารพิษ

มาตรฐานของเกษตรอินทรีย์

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ คือเกณฑ์ข้อกำหนดที่เกษตรกรผู้ผลิตจะต้องปฏิบัติตาม และหน่วยงานรับรองจะใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจประเมินการผลิต และตัดสินใจในการรับรองฟาร์มที่ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานนั้นๆ

ปกติในการกำหนดมาตรฐานโดยส่วนใหญ่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์กลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้ค้า ผู้บริโภค รวมทั้งนักสิ่งแวดล้อม และนักวิชาการด้านต่างๆ จะมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น และตัดสินใจในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในแต่ละข้อ ความคาดหวังหรือการให้คุณค่ากับการปฏิบัติเกษตรอินทรีย์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละส่วนจะถูกตรวจสอบ และยอมรับหรือปฏิเสธโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ประกอบการ เพราะผู้ผลิตและผู้ประกอบการจะเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดเหล่านั้น ดังนั้น มาตรฐานจึงเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นกระบวนการแปลความคาดหวังและคุณค่าของเกษตรอินทรีย์ให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ ดังนั้น ข้อตกลงในมาตรฐานจึงเปรียบเหมือนเป็น “สัญญาประชาคม” ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ทำให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มีสถานะเสมือนหนึ่งเป็น “คำนิยาม” ของเกษตรอินทรีย์ไปพร้อมกันด้วย

จะเห็นได้ว่า มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นภาพสะท้อนของสภาวการณ์การผลิตและการแปรรูปผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ที่เกษตรกรได้พัฒนายกระดับความสามารถในการทำการผลิตและแปรรูปให้ก้าวรุดหน้ามากขึ้น ดังนั้น มาตรฐานเกษตรอินทรีย์จึงไม่ใช่มาตรฐานที่หยุดนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เป็นสภาพการณ์ที่ยังสามารถมีการแปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ตามสภาวการณ์ของการผลิตเกษตรอินทรีย์ ที่นับวันมีแต่จะก้าวรุดหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ

ในที่นี้ จะขอกล่าวถึงข้อกำหนดโดยสรุปของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในบางเรื่องที่สำคัญ

1) ระบบนิเวศการเกษตร

ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ต้องเอื้ออำนวยต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้ม ซึ่งผู้ผลิตจะต้องดำเนินการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและสภาพนิเวศท้องถิ่นดั้งเดิมไว้ เพื่อให้พืชพรรณและสัตว์ท้องถิ่นสามารถมีที่อยู่อาศัยได้อย่างเพียงพอ นอกเหนือจากการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังจำเป็นต้องมีมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างจริงจังอีกด้วย

2) การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์

การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ควรเริ่มจากการมีแผนการปรับเปลี่ยนที่ชัดเจน โดยแผนการปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน โดยอาจจะปรับเปลี่ยนฟาร์มทั้งหมดเข้าสู่เกษตรอินทรีย์พร้อมกัน หรือค่อยๆ ปรับเปลี่ยนบางส่วนของฟาร์มเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ก็ได้ แต่ทั้งนี้ แผนการปรับเปลี่ยนจะต้องระบุถึงขั้นตอนและระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนฟาร์มทั้งหมดเข้าสู่เกษตรอินทรีย์ รวมทั้งการจัดแยกระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์และไม่ใช่เกษตรอินทรีย์ออกจากกัน ซึ่งในแต่ละมาตรฐานอาจกำหนดระยะเวลาของการปรับเปลี่ยนแตกต่างกันไป ซึ่งในช่วงระยะปรับเปลี่ยนนี้อาจใช้เวลา 12 – 36 เดือนขึ้นอยู่กับมาตรฐาน

3) การผลิตพืช

ในระบบการปลูกพืช ควรเลือกปลูกพืชที่หลากหลายชนิดและพันธุ์ เพื่อสร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนของนิเวศฟาร์ม นอกจากนี้ การปลูกพืชหลากหลายพันธุ์ ยังเป็นการช่วยรักษาความหลากหลายของพันธุกรรมพืชไว้ด้วย ในการสร้างความหลากหลายของการปลูกพืชนี้ ควรมีการปลูกพืชหมุนเวียน โดยมีพืชที่เป็นปุ๋ยพืชสดรวมอยู่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชตระกูลถั่วและพืชที่มีระบบรากลึก โดยจัดระบบการปลูกพืชให้มีพืชคลุมดินอยู่ตลอดทั้งปี

4) การจัดการดิน และธาตุอาหาร

การจัดการดินที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบเกษตรอินทรีย์ การปรับปรุงดินและการบริหารจัดการดินและธาตุอาหาร มีเป้าหมายเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งรวมถึงการจัดการให้มีธาตุอาหารอย่างเพียงพอกับพืชที่เพาะปลูก และเพิ่มพูนอินทรียวัตถุให้กับดินอย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างกลไกของการหมุนเวียนธาตุอาหารในฟาร์ม รวมทั้งการป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และการสูญเสียของธาตุอาหาร ซึ่งการจัดหาแหล่งธาตุอาหารพืชนั้นควรเน้นที่ธาตุอาหารที่ผลิตขึ้นได้ภายในระบบฟาร์ม

5) การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

ในระดับฟาร์ม การป้องกันกำจัดศัตรูพืชในระบบเกษตรอินทรีย์จะเน้นที่การเขตกรรม การจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี และวิธีกลเป็นหลัก ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างสมดุลของระบบนิเวศการเกษตร ที่ทำให้พืชที่เพาะปลูกพัฒนาภูมิต้านทานโรคและแมลง และสภาพแวดล้อมของฟาร์มไม่เอื้ออำนวยต่อการระบาดของโรคและแมลง ต่อเมื่อการป้องกันไม่เพียงพอ เกษตรกรจึงอาจใช้ปัจจัยการผลิตสำหรับควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูพืช ซึ่งกำหนดอนุญาตไว้ในมาตรฐาน

6) การป้องกันมลพิษ การปนเปื้อน และการปะปน

ในระดับฟาร์ม เกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์จะต้องมีมาตรการในการป้องกันมิให้ดินและผลผลิตเกษตรอินทรีย์ปนเปื้อนจากมลพิษ และสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตร ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งรวมถึงโลหะหนัก และมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน รวมทั้งมีมาตรการในการลดการปนเปื้อน

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แต่ละแห่งจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการแนวกันชน (buffer zone) ที่แตกต่างกัน โดยอาจมีการกำหนดทั้งระยะห่างระหว่างแปลงเกษตรอินทรีย์กับแปลงเกษตรเคมี หรือการปลูกพืช หรือการจัดทำสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นแนวป้องกันการปนเปื้อน ในพื้นที่แนวกันชนที่แตกต่างกันได้ โดยทั่วไป จะมีการกำหนดเกณฑ์แนวกันชนขั้นต่ำไว้ในมาตรฐาน ซึ่งหน่วยงานรับรองอาจจะพิจารณาให้เกษตรกรต้องมีการจัดการแนวกันชนเพิ่มเติมจากข้อกำหนดขั้นต่ำ โดยการพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงของฟาร์มแต่ละแห่ง

ในขั้นของการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูป ผู้ผลิต-ผู้ประกอบการจะต้องมีการจัดการผลผลิตเกษตรอินทรีย์ โดยป้องกันมิให้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ปะปนกันกับวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ หรือสัมผัสกับปัจจัยการผลิต หรือสารต้องห้ามต่างๆ ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน เพราะจะทำให้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์นั้นสูญเสียสถานะของการได้รับการรับรองมาตรฐานได้ ยกตัวอย่างเช่น การไม่ใช้กระสอบที่บรรจุปุ๋ยเคมี หรือสารเคมีมาใช้บรรจุผลผลิตเกษตรอินทรีย์ หรือในการจัดเก็บผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในโรงเก็บ จะต้องไม่มีการใช้สารกำจัดศัตรูในโรงเก็บ ในขณะที่มีการเก็บผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ขนส่งผลผลิตเกษตรอินทรีย์

ที่จำต้องทำให้สำเร็จให้ได้ เพื่อพี่น้องชาวเกษตรกรและคนไทยทุกคน โดยทั้งหมดนั้นต่างก็สอดคล้องและรับเข้ากับสถานการณ์ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ แนวนโยบาย ทิศทางยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์การวิจัยด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาของประเทศ การปฏิรูประบบวิทยาศาตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานนวัตกรรมของประเทศ ดังเช่นพันธกิจของสวก. ที่จะส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการวิจัยการเกษตร_ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยการเกษตร สุดท้าย ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัยการเกษตร

โดยจากที่กล่าวมาจะยกตัวอย่างของการวิจัยที่ทางสวก. สามารถให้การสนับสนุนและเป็นเรื่องของนวัตกรรมที่สามารถเรียกว่าเป็น Smart farmer ในยุค 4.0 และเป็นต้นแบบของการผลักดันให้เกษตรก้าวไกลไปได้อย่างยั่งยืนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การวิจัยพืชพันธุ์ใหม่_ การนำเทคโนโลยี A.I. () มาประยุกต์ใช้งาน_ การใช้ระบบ IOT (Internet of things)_ การใช้โดรนขับเคลื่อน_ นวัตกรรมการปลุกพืชแบบใหม่_ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ไปสู่อุตสาหกรรมอื่น และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งตัวอย่างที่จะยกมาในบทความนี้ที่เป็นหนึ่งใน Smart Farmer ในยุค 4.0 ที่น่าสนใจ สิ่งนั้นคือ “อุตสาหกรรมการแปรรูป”

อุตสาหกรรมการแปรรูป เป็นสิ่งที่มีมานานและถูกพัฒนา วิจัยและเพิ่มพูนความสามารถมาอยู่ในทุกยุคทุกสมัย และการเกษตรกับการแปรรูปก็เป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาเช่นเดียวกัน โดยในยุค 4.0 นี้ มีความน่าสนใจที่วงการอุตสาหกรรมแปรรูปจะช่วยพาให้เกษตรก้าวไกลไปได้มากกว่าแค่ผลิตผลทางการเกษตรธรรมดา ยกตัวอย่างเช่น “การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม” เพื่อให้การเกษตรเข้าไปอยู่ในชีวิตของคนยุคใหม่ โดยเราอาจจะได้เห็นมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ รุ่นย่า ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรานำสมุนไพรต่าง ๆ มาเป็นเครื่องบำรุงผิวพรรณ ซึ่งในยุคปัจจุบันก็ไม่ต่างกัน อุตสาหกรรมความสวยความงามได้นำผลผลิตทางการเกษตรมาวิจัย พัฒนาและต่อยอด เพื่อตอบโจทย์ Beauty Lifestyle ของคนยุคใหม่ ผ่านเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลบำรุงผิว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด รวมถึงสารสกัดเรื่องกลิ่นที่มาเป็นส่วนประกอบของสุคนธบำบัด (Aromatherapy) นอกจากสารสกัดจากธรรมชาติจะส่งผลดีต่อร่างกายแล้ว ยังส่งผลด้านวิทยาให้ผู้บริโภคสนใจและเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์อีกเช่นกัน ซึ่งปัจจัยที่จะเพิ่มมูลค่าให้การทำธุรกิจด้านนี้ คือการเกาะตามติดความต้องการของตลาดผู้บริโภคและนำมาพัฒนาให้ตอบโจทย์อยู่ตลอดเวลา

หรือจะเป็นเรื่องของ “การแปรรูปผลิตภัณฑืเพื่อผู้สูงอายุ” เพราะประเทศไทยของเราเองกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ (Aging Society) อันเนื่องมาจากประชาชนยุค Baby Boom ได้เข้าใกล้สู่ช่วงอายุความสูงวัย คาดการณ์ว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุวัยมากกว่า 60 ปี (เกิน 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ) ดังนั้นสินค้าเพื่อสุขภาพจึงถูกผลิตขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ในด้านของความใส่ใจในการดูแลสุขภาพของคนในสังคมและผู้สูงอายุ โดยกลุ่มสินค้าที่ได้รับความสนใจนั้น ได้แก่พืชผลเกษตรที่ให้คุณค่าทดแทนแป้งและน้ำตาล อาหารเสริมผลิตจากผลผลิตทางการเกษตร เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคของผู้สูงอายุ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือแม้แต่ภาวะทุพโภชนาการ โดยสิ่งเหล่านี้ได้มีการผลิตออกมาวางจำหน่ายทั่วไปแล้ว ยกตัวอย่าง ธัญพืชอัดแท่ง เครื่องดื่มสมูทตี้สําเร็จรูปที่ให้สารอาหารสมบูรณ์สําหรับผู้สูงอายุ ผักอัดเม็ดเสริมโพรไบโอติกส์ น้ำนมข้าวกล้อง เครื่องปรุงรสอาหารที่เน้นการลดโซเดียม เป็นต้น

สุดท้ายนี้ยังมีการแปรรูปอีกหลากหลายมากมาย และมีอีกหลายหัวข้อที่ทางสวก. พร้อมที่จะให้การสนับสนุน เพราะในปัจจุบันหลากหลายประเทศเริ่มมีการพัฒนา หรือนำหน้าเราไปแล้วในเรื่องของการเกษตร เราจึงต้องรีบนำนวัตกรรมเกษตรและเกษตรกรให้เข้าสู่ยุค Smart Farming เพื่อแก้ปัญหาภาวะสังคมเมืองและประชากรโลกที่ขยายตัว ณ จุดนี้ ประเทศไทยเองก็มีหน่วยงานที่คอยพัฒนาและสนับสนุน อย่าง สวก. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน) คอยช่วยให้อุตสาหกรรมเกษตร และบุคคลากรทางการเกษตรของประเทศไทยพัฒนาเพื่อผลักดันให้การเกษตรก้าวไกล และไม่แพ้การเกษตรของชาติใดบนโลก

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3357
การรดน้ำให้ต้นไม้ พืชที่เราปลูก ต้องรดน้ำมากน้อยเท่าไร จึงจะเหมาะสม
การรดน้ำให้ต้นไม้ พืชที่เราปลูก ต้องรดน้ำมากน้อยเท่าไร จึงจะเหมาะสม
การปลูกพืชให้ได้ผลดีเรามักพูดกันติดปากว่า ดินดี น้ำดี แต่คำว่าน้ำดีนั้นแค่ไหนถึงเรียกว่าน้ำดี ถ้าเราขุดบ่อมีแหล่งน้ำดีแล้วจะต้องดูดขึ้นไปรดน้ำให้พืชมากแค่ไหนพืชถึงจะพอ

ปลูกพืชต้องรดน้ำเท่าไหร่จึงจะพอ

น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับพืช ทำให้พืชเจริญเติบโต ให้ผลผลิต ดินมีปุ๋ยแต่ไม่มีน้ำพืชก็อยู่ไม่ได้ การเพาะปลูกพืชจึงต้องมีน้ำเพียงพอเหมาะสมกับพืชชนิดนั้นๆ

มาดูกันก่อนว่าน้ำสำคัญกับพืชยังไง

1. น้ำทำให้ดินนุ่ม รากพืชชอนไชไปหาธาตุอาหารได้

2. น้ำช่วยละลายธาตุอาหารเป็นสารละลายให้พืชดูดไปใช้ได้

3. พืชออสโมซีส คือ ดูดน้ำจากในดินผ่านทางราก เข้าสู่ท่อน้ำ แล้วไปคายทิ้งที่ปากใบ กระบวนการดูดน้ำนี้ทำให้มีธาตุอาหารที่เป็นสารละลายติดขึ้นมาเป็นอาหารด้วย

การรดน้ำ จึงขอแค่เพียงให้ดินชื้นพอให้พืชออสโมซีสได้

วิธีการหาปริมาณความต้องการน้ำของพืชตามหลักวิชาการมีมากมายหลายทฤษฎี แต่คำนวณยุ่งยากมาก ปล่อยให้เป็นเรื่องของนักวิชาการและกรมชลประทานเขาใช้คำนวณเพื่อออกแบบระบบชลประทานกันไป สำหรับเกษตรกรเราสามารถคำนวณหาปริมาณการรดน้ำให้พืชได้ง่ายกว่านั้น

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าน้ำหรือความชื้นในดินสูญเสียหรือสูญหายได้ 3 กรณี คือ

1. ซึมหายลงไปในดิน

2. ระเหยหายไปในอากาศ

3. ถูกพืชดูดขึ้นไปคายทิ้งทางใบ

ปริมาณน้ำที่ซึมหายไปในดินเราไม่ต้องสนใจ เพราะน้ำส่วนมากจะซึมหายไปได้เมื่อมีน้ำในดินมากๆ เช่น ตอนฝนตก หรือมีน้ำท่วม แต่เมื่อน้ำในดินเหลือน้อยเพียงแค่ดินชื้นๆ น้ำจะถูกมวลดินซึมซาบไว้ไม่ปล่อยให้ไหลซึมลึกลงไปง่ายๆ แต่จะหายไปเพราะการระเหยและถูกพืชดูดไปใช้มากกว่า

ดังนั้น น้ำในดินจึงถูกแย่งกันระหว่างการระเหยกับถูกพืชดูดไปใช้

หลักการรดน้ำง่ายๆ จึงขอแค่ให้รดน้ำในปริมาณไม่น้อยกว่าหรือเท่ากับอัตราการระเหยก็พอ ซึ่งเท่ากับยังมีความชื้นในดินให้แข่งกันระหว่างการระเหยกับพืชดูดมาใช้

อัตราการระเหยของน้ำแต่ละพื้นที่แต่ละเดือนไม่เท่ากัน ดูข้อมูลได้จากสถิติของกรมอุตุนิยมวิทยา และการนำมาใช้งานต้องปรับใช้ให้เหมาะสมด้วย เช่น ถ้าเอามาใช้กับสวนยาง สวนปาล์ม หรือสวนผลไม้ที่พุ่มโตแล้ว ใต้ต้นมีร่มเงามาก อัตราการระเหยจริงก็จะต่ำกว่าข้อมูลที่ดูจากสถิติ

ตัวอย่างการคำนวณ เช่น

จังหวัดนครราชสีมาในช่วงเดือนเมษายนมีอากาศค่อนข้างร้อน มีสถิติย้อนหลังบอกว่าเดือนนี้มีอัตราการระเหยของน้ำอยู่ที่ 5.11 มม.ต่อวัน และเกือบจะไม่มีในตกเลย การปลูกพืชจึงต้องรดน้ำอย่างเดียวหวังพึ่งน้ำฝนไม่ได้

คำนวณอัตราการสูญเสียน้ำจากการระเหยได้เท่ากับ 0.511 x 100 x 100 / 1_000 = 5.11 ลิตรต่อตารางเมตรต่อวัน

ถ้าเราปลูกทุเรียน และทุเรียนของเรามีรัศมีพุ่มใบ 1 เมตร ให้เรานึกภาพว่าตอนนี้ทุเรียนของเราจะมีรากอยู่ในรัศมี 1 เมตรนั่นแหล่ะ เวลาเรารดน้ำก็รดน้ำในรัศมีนี้เพื่อชดเชยน้ำที่ระเหยหายไปในอากาศ ส่วนที่อยู่นอกรัศมีพุ่มใบถ้าดินแห้งก็ปล่อยให้แห้งไป

พื้นที่รัศมี 1 เมตร มีพื้นที่ = 22/7 x 1^2 = 3.14 ตารางเมตร

การระเหยของน้ำในพื้นที่รดน้ำ = 5.11 x 3.14 = 16 ลิตรต่อวัน

ดังนั้น จึงต้องรดน้ำทุเรียนต้นนี้ 16 ลิตรต่อวันเป็น ซึ่งอาจจะเป็นการรดน้ำ 16 ลิตรทุกวัน หรือรดน้ำ 32 ลิตรทุก 2 วัน หรือรดน้ำ 48 ลิตรทุก 3 วัน ก็ได้ โดยการเว้นระการรดน้ำต้องดูด้วยว่าไม่ได้ปล่อยให้ดินแห้งจนถึงขั้นต้นไม้แสดงอาการเหี่ยว

หลักการคำนวณการรดน้ำง่ายๆ นี้ นำไปใช้ได้กับพืชทุกชนิด รู้หลักการนี้แล้วถ้าเกษตรกรทำสวนขนาดใหญ่ก็สามารถใช้คำนวณระบบท่อน้ำต่อไปได้ด้วย

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3531
พืชที่เหมาะจะปลูก ในแต่ละภาค ของประเทศไทย ภาคไหน... ปลูกอะไรดี?
พืชที่เหมาะจะปลูก ในแต่ละภาค ของประเทศไทย ภาคไหน... ปลูกอะไรดี?
พี่น้องเกษตรกรหลายคน น่าจะเคยสงสัยว่าเราปลูกพืชชนิดเดิมๆ มานาน อยากเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นบ้าง แล้วเราจะปลูกอะไรดี หรือเกษตรมือใหม่ทีอยากจะปลูกพืช แต่ไม่รู้ว่าพื้นที่ๆ เราอยู่ควรปลูกพืชอะไรดี

เพื่อให้ง่ายกับการวางแผนการทำการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นเก๋า เกษตรกรรุ่นใหม่ เกษตรกรมือใหม่ มาดูกันว่าในแต่ละภูมิภาคที่เราอยู่ปลูกพืชชนิดไหนได้บ้าง

ภาคกลาง - ภูมิภาคแห่งการปลูกข้าว

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคกลาง มีดังนี้

ข้าว

อ้อย

ข้าวโพด

ผัก

ภาคกลางนั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่มและมีแหล่งน้ำเพียงพอ การเลือกปลูกพืชสำหรับภาคกลางจึงไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากให้เลือกชนิดพืชที่เหมาะสมที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นข้าว ในประเทศไทยนั้นมีพื้นที่กว่า 32 ล้านไร่ที่เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าว นอกเหนือจากนั้นยังเหมาะกับการปลูกอ้อยและข้าวโพดอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ด้วยความเป็นพื้นที่ราบลุ่มและมีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย สิ่งที่เกษตรกรพึงระวังคือเรื่องน้ำท่วม เนื่องจากมีสภาพพื้นที่ลุ่มต่ำ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่มาก ทำให้เป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมมากที่สุด การวางแผนทำการเกษตรในภาคกลางจึงควรคำนึงถึงเรื่องนี้เพื่อป้องกันการเสียหายจากน้ำท่วมในอนาคต

ภาคเหนือ - สูงและเย็น คือคำนิยาม

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคเหนือ มีดังนี้

ข้าว

ลำไย

ลิ้นจี่

ส้ม

สตรอเบอรี่

บ๊วย

พลับ

กีวี่

พีช

เสาวรส

ผักเมืองหนาว

ภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยภูเขา แต่ก็ยังเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวได้อย่างดี โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ แต่สิ่งที่ทำให้ภาคเหนือมีความพิเศษคือสภาพอากาศหนาวเย็น เปิดโอกาสให้เกษตรกรภาคเหนือได้ปลูกพืชเมืองหนาว ซึ่งหาไม่ได้จากเมืองร้อนอย่างไทย เช่นสตรอเบอรี่ บ๊วย พลับ กีวี่ พีช เสาวรส และผักเมืองหนาว เป็นต้น

ถึงอย่างนั้น หากเป็นภาคเหนือบริเวณพื้นที่ภูเขาสูง อาจต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการน้ำ เพราะหลายพื้นที่ก็อาจขาดแคลนน้ำได้ รวมถึงต้องระวังการปลูกพืชที่ไม่ชอบอากาศหนาวอีกด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - แดนดินเค็มและแห้งแล้ง

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้

ข้าว

อ้อย

มันสำปะหลัง

ข้าวโพด

สับปะรด

มะพร้าว

ลำไย

ถือเป็นภาคที่ขึ้นชื่อเรื่องสภาพพื้นที่อันโหดร้าย เพราะความแล้งจัดและความเค็มของดินจึงทำให้ยากต่อการเลือกปลูกพืชสำหรับภาคอีสาน อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคนี้กลับเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวคุณภาพดีชั้นหนึ่งของไทยอย่างข้าวหอมมะลิ การปลูกพืชในภาคอีสานต้องมีการปรับปรุงดินและบริหารจัดการน้ำที่ดี เพราะเสี่ยงภัยแล้งจัดและดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่องข้างต่ำกว่าที่อื่น นอกเหนือจากข้าวแล้วยังมีอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด สับปะรด มะพร้าว และลำไย ซึ่งพืชเหล่านี้ถือว่ามีความเหมาะสมระดับปานกลางที่จะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การแก้ปัญหาดินเค็มนั้นใช้ต้นทุนค่อนข้างสูงและยาก ยิ่งสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้อาจจะยิ่งซ้ำปัญหาดินเค็มมากกว่าเดิม แต่เกษตรกรสามารถทดลองปลูกพืชทนเค็ม จำพวกพุทรา มะขาม หน่อไม้ฝรั่ง ละมุด เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งได้ หรือหากอยู่ในภาคอีสานตอนบนที่ค่อนข้างสูงและเย็น ก็สามารถทดลองปลูกไม้เมืองหนาวได้เช่นกัน

ภาคตะวันออก - แดนทุเรียน ถิ่นไม้ผล

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคตะวันออก มีดังนี้

ทุเรียน

มังคุด

ลำไย

อ้อย

มันสำปะหลัง

ข้าวโพด

สับปะรด

ยางพารา

หากพูดถึงภาคตะวันออก หนึ่งในจังหวัดที่นิยมปลูกไม้ผลที่สุดคงไม่พ้นจังหวัดจันทบุรีและระยอง ที่มีชื่อเสียงจากทุเรียน เนื่องจากเป็นภาคที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นและฝนตกชุก ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกไม้ผลเป็นอย่างยิ่ง แต่นอกเหนือจากทุเรียนแล้ว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด สับปะรด และยางพาราก็เหมาะสมที่จะปลูกในภาคตะวันออกเช่นกัน

แม้จะเป็นพื้นที่เหมาะกับการปลูกไม้ผล แต่เพราะสภาพอากาศฝนตกชุกของภาคตะวันออก เกษตรกรควรระวังโรคที่มากับฝนและความชื้น เช่น โรคไฟทอปธอร่าในทุเรียน ที่มักจะระบาดหนักจากความชื้นในดิน ดังนั้นภูมิภาคนี้ต้องการความใส่ใจมากเป็นพิเศษ ไม่แพ้ภาคอื่นๆเลยทีเดียว

ภาคใต้ - พื้นที่มากฝนและพายุ จุดศูนย์รวมปาล์มน้ำมันและยางพารา

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคใต้ มีดังนี้

ทุเรียน

ปาล์มน้ำมัน

ยางพารา

เงาะ

กาแฟโรบัสต้า

ด้วยสภาพพื้นที่ยื่นออกไปในทะเลอันดามันและอ่าวไทย ภาคใต้จึงเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกชุกมากที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งสภาพอากาศโดยรวมคือร้อนชื้น คล้ายคลึงกับภาคตะวันออกเป็นอย่างมาก จึงทำให้เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกไม้ผลและพืชไร่หลายชนิด แต่หนึ่งในพืชที่เหมาะสมโดดเด่นที่สุดในภาคใต้คงหนีไม่พ้นปาล์มน้ำมัน ยางพารา และเงาะ ซึ่งสามารถปลูกได้ทั้งภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงนราธิวาส ทว่านอกเหนือจากพืชสองชนิดนี้แล้ว กาแฟโรบัสต้าเองก็มีความเหมาะสมปานกลางที่จะปลูกในภาคใต้อีกด้วย

ข้อควรระวังของภาคใต้ คือฝนตกชุกที่อาจนำพาโรคมา รวมไปถึงพายุที่อาจทำให้สวนของเกษตรกรเสียหายได้ ดังนั้นจึงควรระวังและป้องกันพืชผลไม่ให้ถูกทำลายจากพายุให้ดี

นอกเหนือจากข้อมูลเหล่านี้แล้ว สิ่งที่เกษตรกรควรคำนึงถึงก่อนเลือกปลูกพืชในแต่ละภูมิภาค คือสภาพดินในไร่สวนของตนเอง เกษตรกรควรมีการตรวจวิเคราะห์ดินโดยสามารถส่งตรวจกับสำนักงานพัฒนาที่ดินในพื้นที่ของตนเอง จากนั้นจึงนำผลมาใช้ในการปรับปรุงดินให้เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกพืชต่อไป การปลูกพืชนอกเหนือไปจากพื้นที่ที่เหมาะสมนั้นสามารถทำได้ เพียงแต่ต้องอาศัยการจัดการที่มากขึ้น ซึ่งอาจหมายถึงต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าการปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมตามธรรมชาติ และต้องคำนึงถึงช่องทางการขายและการขนส่งผลผลิตไปยังโรงงานแปรรูปหรือผู้รับซื้ออีกด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก : Kaset Go

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3383
3517 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 351 หน้า, หน้าที่ 352 มี 7 รายการ
|-Page 239 of 352-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
เพลี้ยในสวนฝรั่ง เพลี้ยฝรั่ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง สาเหตุโรคราดำ ใช้ มาคา
Update: 2565/06/18 06:28:01 - Views: 3383
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคเน่าและ ใน ผักกาดขาว ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/13 13:18:50 - Views: 3388
มารู้จักแต่ละชนิด!! ดอกทานตะวันมีสายพันธุ์อะไรบ้าง? พร้อมวิธีดูแลอย่างง่าย ๆ
Update: 2565/11/14 13:15:47 - Views: 3441
สารออกฤทธิ์ฮิวมิคแอซิดของยี่ห้อฟาร์มิคสำหรับฟื้นฟูระบบรากและปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับพืช
Update: 2567/02/13 09:26:05 - Views: 3395
แนวทางการจัดการและป้องกันหนอนในต้นลิ้นจี่
Update: 2566/11/23 12:38:56 - Views: 3389
กำจัดเพลี้ยในนาข้าว: วิธีการป้องกันและกำจัดเพลี้ยในต้นข้าว
Update: 2566/11/10 14:28:22 - Views: 3489
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 : ตัวช่วยเพิ่มผลผลิตมันฝรั่ง หัวใหญ่ ดก คุณภาพดี
Update: 2567/03/04 11:01:19 - Views: 3358
โรคฟัก ฟักใบไหม้ ฟักใบเหลือง โรคราน้ำค้างในฟัก โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/10/02 23:37:50 - Views: 3494
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนกระทู้ ใน ดอกบัว และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/15 15:44:02 - Views: 3414
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราน้ำค้าง ในแตงโม ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/20 14:15:02 - Views: 3362
โรคราน้ำค้างแตงโม
Update: 2564/08/21 21:51:25 - Views: 3524
กระเพรา ใบไหม้ ใบขุด ราน้ำค้าง รากเน่า โรคราต่างๆ ในต้นกระเพรา ป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟู ด้วย FK-T
Update: 2567/04/19 15:27:03 - Views: 3378
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคพืชที่เกิดในหน้าหนาว ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคเน่า เชื้อราต่างๆ ฯลฯ ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัย
Update: 2566/07/13 11:22:43 - Views: 3353
เริ่มต้นธุรกิจน้ำดื่มต้องรู้
Update: 2565/09/12 15:34:51 - Views: 3381
โรคราดำทุเรียน ป้องกันราดำทุเรียน แก้ราดำทุเรียน ติดต่อ ไลน์ @FarmKaset
Update: 2565/03/02 00:24:03 - Views: 3358
โรคราแป้งในพืชตระกูลแตง (เชื้อรา Oidium sp.)
Update: 2564/08/22 21:42:16 - Views: 3410
กำจัด โรคผลเน่า ในต้นทุเรียน แก้ปัญหาโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ไอเอส สารอินทรีย์คุณภาพสูง จาก FK ขนาด 250 ซีซี
Update: 2566/05/23 14:01:08 - Views: 3425
ราสนิมขาวผักบุ้ง โรคผักบุ้งใบไหม้ และโรคราต่างๆ สร้างความเสียหายต่อผลผลิต ควบคุม ป้องกันกำจัดก่อนเกิดความเสียหาย
Update: 2566/11/04 09:56:30 - Views: 7122
โรคมันสำปะหลังจากเชื้อ ใบไหม้ ใบจุด ใช้ไอเอส เร่งหัวมันสำปะหลังเร่งเปอร์เซ็นต์แป้ง ใช้ FK3C
Update: 2563/04/11 13:24:47 - Views: 3360
ความแตกต่าง อ้อยเคี้ยว กับ อ้อยทำน้ำตาล
Update: 2563/06/04 17:14:30 - Views: 3470
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022