พิมพ์คำค้นหา หรือลองคลิกตัวอย่าง >
มันสำปะหลัง
,
ข้าว
,
อ้อย
,
ทุเรียน
,
กัญชา
,
ข้าวโพด
,
ปาล์ม
,
ยางพารา
,
อินทผลัม
,
โรคใบไหม้
,
ราสนิม
,
เพลี้ย
,
ยาแช่ท่อนพันธุ์
+ โพสเรื่องใหม่ |
^ เลือกหน้า |
All contents
3518 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 351 หน้า, หน้าที่ 352 มี 8 รายการ
อาการพืชขาดธาตุแมกนีเซียม พืชจะใบเหลือง และมีเส้นใยสีเขียวบนใบเหลือง อาการเกิดที่ใบแก่ ฉีดพ่น FK-1
แมกนีเซียม (Mg)
มันสำปะหลังค่อนข้างจะขาด Mg (แมกนีเซียม) ได้ง่าย มันสำปะหลังมีความต้องการ Mg (แมกนีเซียม) ที่เข้มข้นในสารละลายธาตุอาหารสูงกว่าถั่วพุ่มหรือฝ้าย การใส่ปุ๋ย K (โพแตสเซียม) มากเกินไปจะทำ ให้พืชเกิดการขาด Mg (แมกนีเซียม) ได้
การทดสอบปุ๋ย Mg ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมากๆ และดินกรด 2 งาน จัดทำในเขตที่ราบภาคตะวันตกของโคลัมเบียพบว่า พืช จะตอบสนองต่อ Mg อย่างมีนัยสำคัญจนถึงระดับสูงสุดที่ 9.6 กก. Mg/ไร่โดยภาพรวมแหล่งต่างๆ ของ Mg จะไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ Mg จากซัลโฟแม็ก (Sulphomag) ซึ่งละลายน้ำ ได้ดีกว่าจะมีการตอบสนองได้ดีกว่าเมื่อใช้อัตราปานกลาง ส่วนแมกนีเซียมซัลเฟตใส่โดยโรยเป็นแถบและการหว่านแมกนีเซียมอ๊อกไซด์จะได้ผลดีกว่าเมื่อใช้อัตราสูงๆ
การใช้ปูนโดโลไมท์หว่านไถกลบลงในดินจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิต และถึงแม้ว่าแมกนีเซียมซัลเฟตจะค่อนข้างละลายน้ำ แต่การหว่านแมกนีเซียมซัลเฟตและไถกลบลงในดินจะให้ผลดีกว่าการใส่โดยการโรยเป็นแถบสั้นๆ ใกล้กับท่อนพันธุ์พร้อมกับการใส่ปุ๋ย N P K
ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย แมกนีเซียม แคลเซียม สังกะสี ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม (Mg Ca Zn N P K)
Reference: main content from agriman.doae.go.th |
หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม แมลงศัตรู ที่สําคัญ พืชตระกูลกะหล่ำ และการป้องกันกําจัด
ความสําคัญและลักษณะการทําลาย
หนอนใยผักก่อให้เกิดความเสียหายกับผักตระกูลกะหล่ําทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะในแหล่งปลูกผักเพื่อการค้าจะพบหนอนใยผักระบาดเป็นประจํา เนื่องจากหนอนใยผักมีวงจรชีวิตสั้น และมีการแพร่ขยายพันธุ์รวดเร็ว ตัวเต็มวัยเพศเมียสามารถผสมพันธุ์ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากออกจากดักแดและวางไข่ได้ตลอดชีวิต ระยะหนอนทําลายพืช สามารถกินใบ กาบใบ ยอด ได้
พืชอาหาร
ผักคะน้า กะหล่ําปลี กะหล่ําดอก กะหล่ําดอกอิตาเลียน กะหล่ําปม ผักกาดหัว ผักกาดเขียวปลี ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกาดดอก ผักกาดฮ้องเต้
การป้องกันกําจัด
1. ติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง 80 กับดัก/ไร่
2. ใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อนขนาด 16 mesh (256 ช่องต่อตารางนิ้ว)หรือปลูกผักกางมุ้ง
3. ใช้แตนเบียนไข่ Trichogramma confusum Viggiani หรือ Trichogrammatoidea bactrae Nagaraja อัตรา 60_000 ตัว/ไร่ ทุก 10 วัน
4. ฉีดพ่น ไอกี้-บีที ในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 3-7 วัน หมั่นสังเกตุอาการ การระบาด
Reference: main content from thaifarmer.lib.ku.ac.th |
การควบคุมศัตรูพืชไม่มีวิธีการใดดีท่ีสุด ต้องใช้หลักการผสมผสาน
ควรเลือกวิธีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก ชนิดผัก ระยะเวลาปลูก ชนิดแมลง ลักษณะการทำลาย พฤติกรรมของแมลง การแพร่ระบาด และความจำเป็นของการควบคุม
วิธีเขตกรรม
ปลูกพืชหมุนเวียน ใช้พันธุ์ต้านทาน ทำลายแหล่งอาศัยของแมลงปลูกพืชอื่นสลับกับแปลงผัก จัดการเวลาปลูกและเก็บเกี่ยวทำความสะอาดแปลงปลูก เว้นระยะปลูกเหมาะสม
ตากดิน
หญ้า/วัชพืชเป็นพืชอาศัยของโรค-แมลง ควรไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช ตากดินโดยยกแปลงเป็นรูปสามเหลี่ยมให้โดนแสงแดดมากที่สุดประมาณ 1 สัปดาห์ พลิกกลับดิน เพื่อกำจัดไข่หรือดักแด้ของแมลงที่อยู่ลึกใต้ดินและยังช่วยกำจัดเชื้อราแบคทีเรีย สาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า
ใช้กับดัก
กับดักแสงไฟล่อผีเสื้อกลางคืน กับดักกาวเหนียว
กางมุ้ง
ป้องกันได้ 50% (แมลงบางตัววางไข่บนดิน ถ้าตากดินไม่ดีพอ ป้องกันไม่ได้)
ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ
ใช้ มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและกำจัดแมลง สม่ำเสมอตามสภาพการระบาดของ เพลี้ย แมลงศัตรูพืช
Reference: main content from nstda.or.th |
โรคพืช
โรคพืช หมายถึงลักษณะอาการของพืชที่ผิดไปจากปกติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นบนส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นพืช หรือตลอดทั้งต้น และรวมไปจนถึงการแห้งตายไปทั้งต้น สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืชแบ่งได้ 2 สาเหตุคือ
1. เกิดจากสิ่งมีชีวิต (pathogenic disease) เช่น โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส (virus) เชื้อไมโคพลาสมา
(mycoplasma) เชื้อแบคทีเรีย (bacteria) เชื้อรา (fungi) และไส้เดือนฝอย โรคพืชจะเกิดขึ้นและสามารถแพร่กระจายระบาดออกไปได้ถ้าหากมีเชื้อสาเหตุเหล่านี้ ตลอดจนมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดและการแพร่กระจายของโรคพืชนั้น ๆ การแพร่กระจายของโรคพืชอาศัย น้ำ ฝน ความชื้น ลม ดิน หรือโดยการถ่ายทอด (transmission) ผ่านทางเมล็ดพันธุ์ ส่วนขยายพันธุ์ หรือโดยแมลง
ลักษณะอาการ (symptom) ของโรคพืชซึ่งเกิดจากเชื้อสาเหตุที่แตกต่างกัน จะแตกต่างกันดังต่อไปนี้
1.1) ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส มักมีอาการโรคใบหด ใบหงิก ใบสีเหลืองส้ม ใบด่างเหลือง ใบม้วน
1.2) ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา มักมีอาการโรคใบขาว ลำต้นแคระแกรน แตกกอเป็นพุ่ม หรือใบเหลืองซีด กิ่งแห้งตาย ลำต้นทรุดโทรมและไม่ให้ผลผลิต
1.3) ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะอาการแตกต่างกัน 5 แบบ คือ
1.3.1) เหี่ยว (wilt) อาการเหี่ยวเฉา เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญในท่อน้ำ ท่ออาหารของต้นพืช ทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำและท่ออาหาร จึงเป็นเหตุให้พืชได้รับน้ำและอาหารไม่เพียงพอ เกิดอาการเหี่ยวเฉา หรือเจริญเติบโตผิดปกติและจะตายไปในที่สุด เช่น โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ ถั่วลิสง กล้วย แตงกวา แตงโม มีสาเหตุมาจากเชื้อ Xanthomonas spp._ Pseudomonas spp._ Erwinia spp.
1.3.2) เน่าเละ (soft rot) อาการเน่าและมีกลิ่นเหม็น ทั้งนี้เพราะแบคทีเรียเข้าทำลายเซลล์พืช และมีเชื้อจุลินทรีย์อื่น ๆ ร่วมเข้าทำลายซ้ำเติม โรคพืชแบบนี้มักเกิดกับส่วนของพืชที่อวบน้ำ เช่น โรคเน่าเละของพืชผัก มันฝรั่ง มะเขือเทศ แตงกวา กะหล่ำ พริก ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อ Erwinia spp.
1.3.3) แผลเป็นจุด (spot หรือ local lesion) อาการจุดแห้งตาย เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์หรือในเซลล์ ทำให้เซลล์บริเวณนั้นตายเป็นแผลแห้งมีขอบเขตจำกัด เช่น โรคใบจุดของฝ้าย โรคใบจุดของถั่วเหลือง โรคขอบใบแห้งของข้าว โรคแคงเคอร์ของส้ม โรคใบจุดของยาสูบ เชื้อสาเหตุ ได้แก่ Xanthomonas sp._ Pseudomonas spp.
1.3.4) ไหม้ (blight) อาการใบไหม้ตาย เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อน แล้วแผ่ขยายไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีขอบเขตจำกัด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ แต่ไม่ทำลายเนื้อเยื่อเซลล์ เพียงแต่ทำให้การเคลื่อนย้ายน้ำและอาหารในพืชไม่สะดวก ทำให้ใบและลำต้นมีสีซีด (necrosis) และอาจแห้งตายไปในที่สุด เช่น โรคใบไหม้ของถั่ว ยางพารา แอปเปิ้ล เชื้อสาเหตุได้แก่ Xanthomonas spp. Phythopthora spp. และ Erwinia spp.
1.3.5) ปุ่มปม (gall หรือ tumer) อาการเป็นปุ่มปมเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในเซลล์พืช แล้วสร้างสารบางชนิดออกมากระตุ้นให้เซลล์บริเวณนั้นมีการแบ่งตัวมากขึ้น เช่น โรค crown gall ของมะเขือเทศ โรค gall ของหัวบีท เชื้อสาเหตุได้แก่ Agrobacterium spp. และ Xanthomonas spp.
1.4) ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรา ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรามีมากหลายแบบ เช่น ใบเป็นแผล ใบไหม้ ใบบิด ต้นเหี่ยว รากเน่า โคนต้นเน่า ผลเน่า เมล็ดเน่า ต้นกล้าเน่า หรือต้นแห้งตายไปทั้งต้น ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรามักจะสังเกตเห็นเส้นใย (hypha) สปอร์ (spore) ส่วนสืบพันธุ์ต่างๆ เช่น sporangium_ conidia_ basidiumascus มีสีขาว หรือสีดำ หรือสีน้ำตาล ปรากฏตามรอยแผลอาการของโรค หรือตรงส่วนที่เชื้อสาเหตุเข้าสู่ต้นพืช ตัวอย่างของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้แก่ โรคโคนเน่าคอดินของต้นกล้า โรครากและโคนต้นเน่า โรคราน้ำค้าง โรคเน่าของผลไม้และผัก โรคราแป้งขาว โรคราสนิมเหล็ก โรคเขม่าดำ โรคแส้ดำของอ้อย โรคไหม้ของข้าว โรคใบจุดของข้าวโพด โรคใบจุดตานกของยางพารา โรคแอนแทรคโนส โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ
1.5) ลักษณะอาการของโรคพืชจากไส้เดือนฝอย มักทำให้เกิดโรครากปม รากขอด และลำต้นพืชเหี่ยวเฉาตายไปในที่สุด
2) เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (nonpathogenic disease) อาการของโรคพืชอาจเกิดจากสาเหตุเนื่องจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น การขาดธาตุอาหาร ธาตุอาหารเป็นพิษ ดินเป็นกรด ดินเค็มจัด ดินเป็นด่าง หรือพิษจากสารเคมีบางชนิด สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ทำให้การเจริญเติบโตของต้นพืชผิดปกติ ลำต้นแคระแกร็น มีสีซีด หรือสีผิดปกติ ไม่ให้ผลผลิต โรคพืชซึ่งมีสาเหตุเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต จะเกิดเฉพาะบริเวณ ไม่สามารถแพร่กระจายหรือระบาดไปยังแหล่งอื่นๆ ได้
สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรค สืบศักดิ์ (2540) กล่าวว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคนั้น มีด้วยกัน 4 ประการที่สำคัญคือ เชื้อสาเหตุของโรค พืชอาศัย สภาพแวดล้อม และเวลา ปัจจัยทั้งสี่มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างยิ่งยวด จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เลย หากนำมาเขียนเป็นรูปจะได้รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ซึ่งเรียกว่า “สามเหลี่ยมโรคพืช” ดังแสดงในรูป
Reference: main content from natres.psu.ac.th |
🍇 ต้นไม้ไม่งาม อ่อนแอ เป็นโรค โตช้า เพราะขาดธาตุอาหารพืช ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม
🌽 FK-1 ธาตุอาหารพืชโดยตรง ที่ประกอบด้วย ไนไตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม สังกะสี และสารจับใบ
🍅 ในหนึ่งกล่องของ FK-1 ประกอบด้วย สองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นธาตุเสริมและสารจับใบ บรรจุ ถุงละ 1 กิโลกรัม
🍑 ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง 🍉 อัตราส่วนผสม ถุงแรก 1 ช้อนโต๊ะ ถุงที่สอง 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร
🌶 ฟื้นฟูพืช ให้โตไว เขียว แข็งแรง ต้านทานโรคได้ดีขึ้น 🍎 แก้อาการพืชขาดธาตุ N P K Ca Mg Zn 🍏 ส่งเสริมการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ 🥦 ธาตุอาหารพืช โดยตรง
|
โรคมันสำปะหลัง มันสำปะหลังขาดธาตุสังกะสี ทำให้โตช้า พบจุดขาว หรือเหลืองบนใบอ่อน ใบย่น ขาดรุนแรงอาจตายได้
ปัญหาผลผลิตมันสำปะหลังต่ำ เนื่องจากขาดจุลธาตุสังกะสี
ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีอยู่ 16 ธาตุ แต่มีเพียง 7 ธาตุ เท่านั้นที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อยมาก และเราเรียกธาตุเหล่านี้ว่า จุลธาตุ (Micronutrient) ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) โบรอน (B) โมลิดินัม (Mo) คลอรีน (Cl) แม้ว่าพืชต้องการธาตุเหล่านี้น้อย แต่ก็มีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดสังกะสีในมันสำปะหลัง ซึ่งในปัจจุบันเป็นปัญหาของเกษตรกรจำนวนมาก
ความสำคัญของธาตุสังกะสี
เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของเอนไซม์หลายชนิด รวมทั้งออกซิเจนและฮอร์โมนในพืช เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างกรดอินโดลอะเซติก (LAA) เป็นธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ และการสร้างเมล็ดพืช ตลอดจนมีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในพืช
ลักษณะอาการขาดธาตุสังกะสีในมันสำปะหลัง
พบเห็นโดยทั่วไปในดินด่าง จะมีลักษณะการยืดต้นช้า พบจุดหรือแถบสีขาว หรือเหลือง บนใบอ่อน ใบอาจย่นหรือเปลี่ยนรูปร่าง อาจพบจุดแผลเซลล์ตายในใบล่างและอาจรุนแรงทำให้ต้นตาย ส่งผลถึงความอยู่รอดและผลผลิตมันสำปะหลัง
สาเหตุ
- พื้นที่มีการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
- ปลูกมันสำปะหลังในที่เดิมเป็นเวลานาน ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน
- ดินมีความเป็นด่างสูง (pH สูง) หรือดินที่มีแคลเซียม (Ca) สูง
- เกษตรกรใส่ปุ๋ยธาตุอาหารหลักอย่างเดียว
ข้อแนะนำ
ฉีดพ่น FK-1 ทุก 7-15 วัน ต่อเนื่อง 2-4 ครั้ง ตามอัตราส่วนที่แนะนำ |
โรคข้าว ข้าวขาดฟอสฟอรัส จะแคระแกรน แตกกอน้อย ใบแคบ สั้น ลำต้นผอมเรียว ชะงักการโต ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุง
การขาดฟอสฟอรัส (Phosphorus deficiency)
ฟอสฟอรัส (P)
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ Adenosine triphosphate (ATP) นิวคลีโอไทล์ (Nucleotile) กรดนิวคลีอิก (Nucleic acids) และฟอสโฟไลปิด (Phospholipid) ฟอสฟอรัสจะช่วยในการแตกกอ การพัฒนาของราก การออกดอกและการสุกแก่ของข้าว ปุ๋ยฟอสเฟตจะจำเป็นมากสำหรับข้าวที่ระบบรากยังไม่พัฒนาเต็มที่ เช่นหลังการปักดำใหม่ๆ ดังนั้นจึงควรใส่ปุ๋ยฟอสเฟตเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนการปักดำหรือในวันปักดำ
ข้าวที่ขาดฟอสฟอรัส
จะแคระแกรน การแตกกอน้อย ใบแคบ สั้น ตั้งตรงและมีสีเขียวเข้ม ลำต้นผอมเรียว ข้าวจะชะงักการเจริญเติบโต จำนวนใบ จำนวนรวงและจำนวนเมล็ดต่อรวงลดลง ใบอ่อนสมบูรณ์ดีแต่ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและตายในที่สุด ถ้าพันธุ์ข้าวที่ปลูกสามารถผลิต Anthocyanin ได้ใบอาจเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีม่วง ในดินที่เป็นกรดการขาดฟอสฟอรัสมักจะเกิดร่วมกับเหล็กเป็นพิษ
สาเหตุของการขาดฟอสฟอรัส
เกิดจากการมีระดับฟอสฟอรัสในดินนาต่ำหรือถูกตรึงโดยดินจนพืชนำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้ (จะเกิดในดินที่เป็นกรดจัด) การใส่ปุ๋ยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช วิธีการปลูกแบบนาหว่านมีโอกาสทำให้ข้าวขาดฟอสฟอรัสมากกว่าปลูกแบบปักดำเพราะต้นข้าวจะหนาแน่นกว่าและมีรากตื้นกว่าข้าวที่
การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดฟอสฟอรัสสามารถทำได้โดย การไถกลบฟางข้าวลงในแปลง เพราะถึงแม้ว่าปริมาณฟอสฟอรัสในฟางข้าวจะมีน้อย แต่จะช่วยรักษาระดับฟอสฟอรัสในดินในระยะยาว ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต ปุ๋ยคอกและวัสดุอินทรีย์อื่นๆ ให้กับข้าวอย่างพอเพียง เพื่อชดเชยกับธาตุอาหารที่สูญเสียไปจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต
ฉีดพ่น FK-1 เพื่อให้ ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม
Reference: main content from ricethailand.go.th |
กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3,
นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)
กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอเอสกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอเอส3ลิตร กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งมาคากับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอกี้-บีทีกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งFK-T 250ซีซี กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอเอสกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง
สั่ง อินเวท กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง เมทาแลคซิล กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง คาร์รอน กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง แม็กซ่า กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|