พิมพ์คำค้นหา หรือลองคลิกตัวอย่าง >
มันสำปะหลัง
,
ข้าว
,
อ้อย
,
ทุเรียน
,
กัญชา
,
ข้าวโพด
,
ปาล์ม
,
ยางพารา
,
อินทผลัม
,
โรคใบไหม้
,
ราสนิม
,
เพลี้ย
,
ยาแช่ท่อนพันธุ์
+ โพสเรื่องใหม่ |
^ เลือกหน้า |
All contents
3586 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 358 หน้า, หน้าที่ 359 มี 6 รายการ
ผู้ใหญ่ลี ตีกลองประชุม!! เป็นเพลงที่แต่งจากเรื่องจริง และมีภาพถ่ายผู้ใหญ่ลี ตัวเป็นๆให้ได้ดูกัน
โฉมหน้า ผู้ใหญ่ลี ตีกลองประชุม!!
มีความสงสัยมาตั้งนานปีแล้วว่า ตัวตนผู้ใหญ่ลี ในเพลงผู้ใหญ่ลีนี่มีตัวตนจริงหรือไม่
ที่สุดวันนี้ก็ได้ภาพมาเฉลยให้กระจ่างใจตน
อาจจะเป็นที่มาแห่งเพลงผู้ใหญ่ลี ที่ร้องกันทั่วบ้าน ทั่วเมือง ร้องกันรุ่นปู่ รุ่นย่า ยันรุ่นปัจจุบัน
ในภาพคือ ผู้ใหญ่ลี นาคะเดช
อดีตผู้ใหญ่บ้านแห่งบ้านหนองหมาว้อ ตำบลนาจิก อำเภออำนาจเจริญ อุบลราชธานี ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ผู้ทำให้เกิดตำนานเพลงอันโด่งดังในอดีต
"ผู้ใหญ่ลี"
เพลงนี้โด่งดังมากๆเมื่อสัก 50 ปีก่อน คือ ปี 2504 เพราะเป็นเพลงลูกทุ่งที่ร้องกันไปทั่วบ้านทั่วเมือง ลูกเล็กเด็กแดง ร้องกันเป็นหมด ด้วยจังหวะเพลงที่จัดว่าสนุกในสมัยนั้น และยังมีเนื้อหาที่เสียดสีสังคมไปในทางขบขันสะท้อนให้เห็นทั้งการสื่อสารระหว่างทางการกับประชาชน เพราะแม้กระทั่งตัวผู้ใหญ่ลีที่เป็นหัวหน้าชุมชน ในระดับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ยังมีปัญหาในการจับประเด็นเรื่องราวมาถ่ายทอดให้ชาวบ้านฟัง ในยุคที่ มีการประกาศใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรกคือ ปี พ.ศ. 2503ในยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพื่อนำพาให้บ้านเมืองไปสู่ความสมัยใหม่ตามแบบประเทศพัฒนาฝั่งตะวันตก ในเนื้อหาของเพลงบางวรรค
"แดดฮ้อนฮ้อนใส่แว่นตาดำ... ถอดแว่นตาดำ ฟ้าแจ้งจางปางๆ..." (แกคงใส่ในที่ร่มแล้ว มันมืดมัวซัวไปหมด)...
กัดหยิกเจ็บนิดๆไปถึงการแต่งตัวผู้ใหญ่ลีที่นำสมัย ผิดแผลกแตกต่างไปจากยุคนั้น เพราะแว่นตาดำหรือแว่นกันแดดคงเป็นสิ่งโก้หรูมิน้อย
เนื้อเพลงเต็มไปด้วยความสนุกของภาษาถิ่นอีสานอย่างมีอารมณ์ขัน
เพลงนี้ต้นฉบับขับร้องโดย ศักดิ์ศรี ศรีอักษร บันทึกเสียงครั้งแรกในปี 2507 ในส่วนของเนื้อเพลงก็แต่งโดยสามีของนางเอง ชื่อ พิพัฒน์ บริบูรณ์ ซึ่งเนื้อหาของเพลงได้ถูดดัดแปลงมาจาก รำโทน เรื่องราวของชายชาวอีสานชื่อผู้ใหญ่ลี มีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านนั่นเอง
แหล่งที่มาของข้อมูล ได้มาจากการส่งต่อๆกันทางไลน์ จึงไม่ทราบต้นทางของผู้เรียบเรียง |
จำปาดะ คล้ายขนุน สีเข้มกว่า กลิ่ินหอมมากๆ พบได้เฉพาะทางใต้ของไทย
จำปาดะ หรือ Champedak ชื่อพฤกษศาสตร์ Artocarpus integer (Thumb.) Merr. อยู่ในสกุลเดียวกับขนุน A. heterophyllus Lam. หรือ Jackfruit และ สาเก A. altilis (Parkinson) Fosberg หรือ Breadfruit ภายใต้วงศ์ Moraceae แต่ขนุนและสาเกเป็นพืชต่างถิ่น ขนุนมีถิ่นกำเนิดที่อินเดีย ส่วนสาเกมีถิ่นกำเนิดในฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโมลุกกะ และนิวกินี สกุล Artocarpus ในไทยมีพืชพื้นเมือง 12 ชนิด รวมถึงจำปาดะ แยกเป็น 2 สกุลย่อย คือ subg. Artocarpus ที่ใบเรียงเวียน หูใบยาวมากกว่า 1 ซม. หุ้มยอด ดอกเพศเมียและผลไม่เรียบ subg. Psedojaga ใบเรียงสลับในระนาบเดียว หูใบยาวไม่เกิน 5 มม. ติดด้านข้าง ดอกเพศเมียและผลเรียบ ซึ่งจำปาดะอยู่สกุลย่อย subg. Artocarpus
ชื่อพื้นเมือง จำปาเดาะ (ภาคใต้) ชื่อสามัญ Champedak มาจากภาษามาเลย์ chempadak หรือได้ชื่อว่า Golden Jackfruit เนื่องจากเหมือนขนุนแต่มีสีเข้มกว่า
ถิ่นกำเนิด พบที่คาบสมุทรมลายู บอร์เนียว สุมาตรา สุลาเวสี โมลุกก และปาปัว ในไทยพบเฉพาะทางภาคใต้ที่สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง ภูเก็ต สงขลา ยะลา และนราธิวาส ขึ้นในป่าดิบชื้น และปลูกเป็นไม้ผลทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมพม่าและเวียดนาม และในอินเดีย ในไทยพบปลูกเฉพาะทางภาคทางภาคใต้ในระดับต่ำ ๆ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ส่วนมากสูงถึงประมาณ 20 ม. หรือสูงกว่านี้ มีขนหยาบหรือขนสากสั้น ๆ สีน้ำตาลตามกิ่งอ่อน หูใบ เส้นแขนงใบด้านบน แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ และก้านช่อดอก หูใบเรียวหุ้มยอด ยาว 1.5-9 ซม. ใบเรียงเวียน รูปรี รูปไข่กลับ หรือแกมรูปขอบขนาน ส่วนมากยาว 8-20 ซม. ใบในต้นอ่อนมักจัก 3 พู ก้านใบยาวได้ถึง 3 ซม. ช่อดอกออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ กิ่ง หรือลำต้น ดอกจำนวนมาก ใบประดับวงใน (inteflora bracts) ไม่มี ช่อเพศผู้แบบช่อเชิงลด รูปรีหรือรูปทรงกระบอก ยาว 1.5-5.5 ซม. ก้านช่อยาวถึง 6 ซม. ดอกแยกกัน กลีบรวมรูปหลอด ยาวประมาณ 1 มม. ปลายจัก 2 พู เกสรเพศผู้มี 1 อัน ยาวกว่าหลอดกลีบเล็กน้อย ช่อเพศเมียรูปไข่กลับหรือรูปทรงกระบอก ก้านช่อยาว 1.5-10 ซม. กลีบรวมเชื่อมติดกับดอกข้าง ๆ รังไข่แยกกัน ผลรวมเกิดจากกลีบรวมที่เชื่อมติดกันพัฒนาเป็นช่อรูปทรงกระบอกอ้วน ๆ หรือเกือบกลม ยาว 20-35 ซม. ผนังชั้นนอกแข็งเป็นช่องร่างแห ปลายกลีบรวมติดทนรูปกรวยคลายหนาม ยาว 1.5-3 มม. ผนังชั้นกลางสดนุ่ม ผลติดบนแกนกลาง แยกกัน รูปรี ยาวประมาณ 3 ซม. ผนังผลหนา เมล็ดขนาดใหญ่ ไม่มีเอนโดสเปอร์ม
หมายเหตุ พันธุ์ป่ามีความแตกต่างจากพันธุ์ที่ปลูกที่ผลมีขนาดเล็กกว่า ไม่มีกลิ่น และผนังผลย่อยไม่มีรสชาติ ส่วนต่าง ๆ มีขนน้อยกว่าหรือเกลี้ยง และถูกจำแนกเป็น var. silvestris Corner
ลักษณะทั่วไปคล้ายกับขนุน แต่ขนุนขนตามส่วนต่าง ๆ สีขาว สั้น ๆ ใบในต้นอ่อนไม่จักเป็นพู ก้านช่อดอกเพศเมียและผลส่วนปลายขยายหนาเป็นขอบนูน ช่อผลรวมทรงกลม ๆ ไม่เรียวยาว ผลมีขนาดใหญ่และยาวกว่า เปลือกหนากว่า สุกมีกลิ่นแรงน้อยกว่าจะปาดะ ส่วนสาเกช่อดอกออกตามซอกใบ ใบมีขนาดใหญแยกเป็นแฉก
การใช้ประโยชน์ ใบอ่อนและผลอ่อนรับประทานดิบหรือใช้ปรุงอาหาร ผลแก่มีกลิ่นหอมแรง เยื่อหุ้มเมล็ดกินสดหรือนำไปชุบแป้งทอด เมล็ดต้มหรือเผารสชาติคล้านถั่ว เนื้อไม้แข็งและทนทาน ใช้ก่อสร้าง ใช้ย้อมผ้าให้สีเหลือง
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด หรือกิ่งตอน โตเร็ว ออกดอกและติดผลได้ภายใน 3-6 ปี
อ้างอิง:
Berg_ C.C._ Pattharahirantricin_ N. & Chantarasuwan_ B. (2011). Moraceae. In Flora of Thailand Vol. 10(4): 484-485.
Jansen_ P.C.M. (1992). Artocarpus integer_ pp. 91-94. In Plant Resources of South-East Asia. 2. Edible Fruits and Nuts. E.W.M. Verheij and R.E. Coronel (eds). PROSEA_ Pudoc_ Wageningen.
จำปาดะ Artocarpus integer
ขนุน Artocarpus heterophyllus (ภาพซ้าย); สาเก Artocarpus altilis (ภาพขวา) ข้อมูลและภาพ: ราชันย์ ภู่มา
Reference: dnp.go.th |
มะเขือเทศใบซีด มะเขือเทศใบเหลือง อาการเริ่มจากใบแก่ ก่อนลุกลามไปใบอ่อน เพราะขาดไนโตรเจน
อาการ มะเขือเทศ ขาดไนโตรเจน คล้ายกับอาการ มะเขือเทศขาดกำมะถัน
ต่างกันตรงที่ อาการมะเขือเทศขาดธาตุไนโตรเจน จะเริ่มจากใบแก่ ลุกลามไปยังใบใหม่ หรือใบอ่อน ส่วน อาการมะเขือเทศขาดธาตุกำมะถัน จะเริ่มออกอาการจากใบอ่อนก่อน เนื่องจาก กำมะถันไม่เคลื่อนที่ในต้น ซึ่งต่างกับ ไนโตรเจน
การขาดธาตุไนโตรเจน อาจมีสาเหตุจาก ดินมีค่า pH ต่ำหรือสูง ดินทรายหรือดินร่วน (ชะละลาย) มีสารอินทรีย์ต่ำ สภาพแห้งแล้ง ฝนตกมาก (ชะละลาย) หรือมีการชะหน้าดินหนัก ใช้สารเพิ่มหรือปุ๋ยสด/ปุ๋ยคอก เป็นจำนวนมาก (เช่น ฟาง) พืชโตเร็ว
ไนโตรเจน ทำหน้าที่ การสังเคราะห์กรดอะมิโน โปรตีน โคเอนไซม์ กรดนิวคลิอิก การสังเคราะห์คลอโรฟิลล์และ ATP
สามารถฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงฟื้นฟู จากอาการขาดธาตุไนโตรเจน ในอัตราส่วน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
Reference Main content from: yara.co.th |
ดอกชบา การปลูกชบา การดูแล ป้องกันกำจัดโรค และแมลง
ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย
การดูแล
แสง ชอบแสงแดดมาก
น้ำ ต้องการน้ำพอประมาณ
ดิน เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
การขยายพันธ์ ตอน ปักชำ
โรคและแมลง ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก
ลักษณะเด่น
คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous) อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก3-5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบแต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอกเกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสีเหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น 5 ยอกตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวานสำหรับจับละอองเรณู
ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ 1.ดอกบานเป็นรูปถ้วย 2.ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน 3.กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ 1.การปักชำ 2.การเสียบยอด 3.การติดตา
โรคและแมลงศัตรู 1. โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ
2. แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย ดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง
3. สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก
สรรพคุณทางยาและประโยชน์
ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม
ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม
Reference: nongyai.ac.th |
โรคใบไหม้ในมันฝรั่ง มันฝรั่งใบไหม้ ป้องกันและกำจัดได้อย่างไร
ระวังโรคใบไหม้ในมันฝรั่ง
สภาพอากาศเย็นและมีฝนตกบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งเฝ้าระวังโรคใบไหม้ สามารถพบได้ในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น มักพบแสดงอาการของโรคที่ใบล่างก่อน โดยอาการเริ่มแรกด้านบนใบเป็นจุดฉ่ำน้ำสีเขียวเข้มคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ ตรงกลางแผลแห้งเป็นสีน้ำตาล ขอบแผลฉ่ำน้ำสีดำ เมื่อพลิกดูด้านใต้ใบในบริเวณตรงกันจะพบละอองน้ำเล็กสีขาวใสติดอยู่บริเวณขอบแผล และแผลจะขยายลุกลามออกไปจนทำให้ใบไหม้แห้งเป็นสีน้ำตาลในที่สุด
กรณีสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ อากาศเย็นและมีความชื้นสูง หรือในสภาพที่มีหมอกลงจัด โรคใบไหม้จะลุกลามอย่างรวดเร็วไปยังต้นอื่นๆ ทำให้มองเห็นใบไหม้แห้งกระจายเป็นหย่อมในแปลง ส่วนลำต้นและกิ่งก้านที่พบอาการของโรค แผลจะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ ถ้าอาการรุนแรง จะทำให้ลำต้นหรือกิ่งก้านหักพับและแห้งตายอย่างรวดเร็ว หากโรคใบไหม้เข้าทำลายที่หัว จะทำให้หัวเน่า
เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบต้นที่แสดงอาการของโรคให้ถอนแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก หากพบโรคเริ่มระบาด
ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร สามารถผสม FK-1 สำหรับฟื้นฟูส่งเสริมการเจริญเติบโต ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน
ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน และคอยสังเกตุว่าโรคหยุดการลุกลามหรือไม่ หลีกเลี่ยงการพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และควรใช้สลับชนิด เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อราสาเหตุโรค
สำหรับในแปลงที่พบการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เกษตรกรเก็บซากพืชที่ตกค้างอยู่ในแปลงนำไปทำลายนอกแปลงปลูก และให้ใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรเมื่อใช้ในแปลงที่มีการระบาดแล้ว ให้นำเครื่องมือมาทำความสะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุกครั้ง จากนั้นให้ไถพรวนดินและตากดินไว้นาน 1-2 สัปดาห์ เพื่อจะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในดิน หลีกเลี่ยงการปลูกมันฝรั่งในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน และงดการให้น้ำในตอนเย็นและการให้น้ำที่มากเกินไป อีกทั้งควรปรับระยะปลูกไม่ให้แน่นเกินไป เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค
Reference Main content from: thethaipress.com/2020/27559/ |
โรคใบไหม้ในทุเรียน โรคใบติดทุเรียน เกิดได้ง่าย ในช่วงอากาศร้อน ปนฝน
สภาพอากาศร้อนชื้น เวลากลางวันมีแดดจัด และมีฝนตกในบางพื้นที่ช่วงนี้ แนะนำให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนเฝ้าระวัง การระบาดของโรคใบไหม้หรือโรคใบติด สามารถพบได้ในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น อาการเริ่มแรกจะพบบนใบมีแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน จากนั้นจะลุกลามไปยังใบปกติข้างเคียง กรณีที่มีความชื้นสูงเชื้อราสาเหตุโรคจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุมยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรคจะแห้งติดอยู่กับกิ่งก่อนหลุดร่วงไปสัมผัสกับใบที่อยู่ด้านล่าง ทำให้โรคระบาดลุกลามจนใบไหม้เห็นเป็นหย่อมๆ ใบแห้งติดกันเป็นกระจุกแขวนค้างตามกิ่ง ต่อมาใบจะร่วงจนเหลือแต่กิ่ง และกิ่งแห้งในที่สุด ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง
สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคใบไหม้ เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดของโรคใบไหม้ ให้เกษตรกรตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่นนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสะสมในแปลง จากนั้น ให้เกษตรกรพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้นด้วย สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อนำ้ 20ลิตร สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมในคราวเดียวกัน เพื่อฟื้นฟู บำรุงพืช จากการเข้าทำลายของโรคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ส่วนในแปลงปลูกที่มีความชื้นสูง และมีการระบาดของโรคเป็นประจำ หลีกเลี่ยง การใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อลดการแตกใบของต้นทุเรียน จากนั้น ให้เกษตรกรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และช่วยลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก อีกทั้งควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง
Reference Main content from: technologychaoban.com |
รับซื้อตรง ผลผลิตเกษตรกร ทั่วประเทศ หอการค้าไทย จับมือ กลุ่มเซนทรัล รับซื้อ พืช ผัก ผลไม้
นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังจากที่หอการค้าไทยได้ผลักดันการเพิ่มศักยภาพของเกษตรกร ด้วยการจับมือกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (Modern Trade) รับซื้อผลผลิตทางการเกษตร ทั้งพืช ผัก และผลไม้ ผ่านการประสานงานในพื้นที่กับหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และเริ่มมีการรับซื้อไปบางส่วนแล้ว ขณะนี้ หอการค้าไทยได้ขยายความร่วมมือไปยังท็อปส์_ แฟมิลี่มาร์ท_ บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด ในเครือเซ็นทรัล รีเทล และกลุ่มเซ็นทรัล เพื่อเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการและเกษตรกร ในการสร้างช่องทางการตลาดและรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กลุ่มเซ็นทรัลได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้ประกอบการกับหอการค้าไทยอย่างต่อเนื่อง อาทิ การร่วมเป็นพี่เลี้ยงในโครงการ Big Brother 3 ปีต่อเนื่อง ตั้งแต่ Season 2 ถึง Season 4 โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของบริษัทในเครือที่มีความหลากหลายทางด้านธุรกิจ เข้ามาช่วยรับบริษัทน้องมา Coaching เชิงลึกจำนวน 24 ราย สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างรายได้เพิ่มให้กับบริษัทน้อง คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 95 ล้านบาท รวมถึงการเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้หัวข้อ "การสร้างหน้าร้าน Omni channel" และจัดกิจกรรม Onsite Visit เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารจัดการคลังสินค้า การจัดส่งสินค้า การบริหารหน้าร้าน และการจัดทำฉลากสินค้าเพื่อการจัดจำหน่าย นอกจากนั้น ยังได้ร่วมกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ Digital Economy and E-Commerce ของหอการค้าไทย ริเริ่มโครงการ Cloud for Digital Transformation in Private Sector และนำเสนอให้สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย รับไปจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ของประเทศต่อไป
"หอการค้าไทยเชื่อว่า ความร่วมมือที่เกิดขึ้นจากโครงการนี้จะเป็นการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกร ที่มักประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาดได้เป็นอย่างมาก นอกจากนั้น ยังเป็นหนทางในการบรรเทาความเดือดร้อน และช่วยสร้างช่องทางทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการขนาดเล็ก และเชื่อมั่นว่า กลุ่มเซ็นทรัลจะเข้ามาช่วยเป็นพี่เลี้ยงในโครงการ Big Brother อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งนำเครื่องมือใหม่ ๆ มาช่วยเหลือ SME ได้มากยิ่งขึ้น" นายกลินท์ กล่าว
นางสุจิตา เพ็งอุ่น รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายปฏิบัติการ Large Format ผู้บริหารท็อปส์ และเซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ กล่าวว่า บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรและผู้ประกอบการในระดับท้องถิ่นที่ประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาด ราคาตกต่ำ อีกทั้งขาดช่องทางการจำหน่ายเนื่องจากตลาดส่งออกยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ การร่วมมือกับหอการค้าไทย จึงเป็นมาตรการเร่งด่วนเพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกร และผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 2 โดยร่วมระบายผลผลิตให้ออกสู่ตลาดโดยเร็วที่สุด ด้วยการรับซื้อตรงผัก ผลไม้จากเกษตรกรทั่วประเทศ นำเข้าช่องทางจัดจำหน่ายผ่านทุกแพลตฟอร์มของท็อปส์และแฟมิลี่มาร์ท เพื่อให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคเป็นวงกว้าง รวดเร็ว ทั่วประเทศ พร้อมทั้งส่งทีมจัดซื้อประจำภูมิภาคร่วมสำรวจและให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างทันท่วงทีตามการแนะนำเพิ่มเติมจากหอการค้าไทย
"ปีที่ผ่านมา เรารับซื้อผลผลิตทางการเกษตรและสินค้าแปรรูปทั่วประเทศ จาก 1_170 ชุมชน จำนวน 9_000 รายการ ช่วยเหลือประชาชนได้มากกว่า 24_000 ครัวเรือนทั่วประเทศ แม้ว่าประเทศไทยและทั่วโลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดแต่บริษัทฯ ยังขยายความช่วยเหลือต่อไป ในปี 2564 จากความร่วมมือกับหอการค้าไทยและเครือข่ายในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ผ่านโครงการความร่วมมือเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ ทำให้ท็อปส์และแฟมิลี่มาร์ท สามารถขยายความช่วยเหลือเกษตรกรได้เพิ่มมากขึ้น ใน 14 จังหวัด อีกกว่า 1_800 ครัวเรือน เช่น รับซื้อแก้วมังกร ส้มเขียวหวาน จากวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืนแพร่_ ส้มโอทับทิมสยาม กลุ่มเกษตรกรบ้านแสงวิมานจ.นครศรีธรรมราช_ มันแกวหวาน วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักริมโขง_ มะม่วงแรด จากวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก จ.ฉะเชิงเทรา_ ชมพู่ทับทิบจันทร์ จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตชมพู่ทับทิบจันทร์ ดอนคา จ.ราชบุรี เป็นต้น" นางสุจิตา กล่าว
ด้าน นางสาวเมทินี พิศุทธิ์สินธพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายปฏิบัติการ Small Format ผู้บริหารแฟมิลี่มาร์ท เปิดเผยว่า ในส่วนของแฟมิลี่มาร์ท แม้ว่าจะเป็นร้านค้าปลีกขนาดเล็ก แต่มีจุดแข็งคือจำนวนสาขาที่กระจายตัวในชุมชน ย่านการค้า อาคารสำนักงาน เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย จึงเป็นอีกช่องทางการจัดจำหน่ายที่จะช่วยเร่งระบายผลผลิตให้กับเกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ โดยเน้นจำหน่ายผัก ผลไม้ตามฤดูกาลที่เป็นแพคเล็ก เช่น กล้วยหอม ส้มเขียวหวาน ส้มสายน้ำผึ้ง ลิ้นจี่ แตงกวา มะเขือเทศ ผักสลัด ผักบุ้ง มะนาว หอมใหญ่ กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี และพริก เป็นต้น และอำนวยความสะดวกในทุกช่วงเวลาเร่งรีบกับผลไม้พร้อมรับประทาน เช่น สับปะรด ส้มโอ แก้วมังกร เมล่อน นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสและสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยที่มีความสนใจ ต้องการนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย ซึ่งบริษัทฯ มีทีมจัดซื้อพี่เลี้ยงให้กับกลุ่ม SMEs ภายใต้โครงการ Big Brother ที่ดำเนินร่วมกับหอการค้าไทย เพื่อนำองค์ความรู้ ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ธุรกิจ SMEs เติบโตได้อย่างมั่นคง
นางสาวภาธิณี เลี้ยงหิรัญกุล ผู้อำนวยการฝ่ายอีเว้นท์และประชาสัมพันธ์ บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด กล่าวว่า ไทวัสดุภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยในการยกระดับคุณภาพชีวิต และเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้สินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนไทยได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง พร้อมทั้งเป็นสื่อกลางนำสินค้ามาจัดจำหน่าย ส่งผลให้วิสาหกิจชุมชนมีรายได้และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้เป้าหมายในอนาคต ไทวัสดุยังคงมุ่งเน้นและตอกย้ำในการมีส่วนร่วมพัฒนาสินค้าชุมชนให้ยั่งยืนมากขึ้น โดยวางแผนในการเป็นช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้าชุมชนต่าง ๆ จัดหาพื้นที่ในการสร้างตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายให้กับผู้ค้าได้ส่งผลิตภัณฑ์คุณภาพดีจากท้องถิ่นถึงมือลูกค้าได้สะดวกรวดเร็วและง่ายยิ่งขึ้น
Reference: ryt9.com/s/prg/3210539 |
คุมเข้มดูแลทุกขั้นตอน ปลูกกัญชง ห่วงเกษตรกร ถูกหลอก เสียหาย
นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ เปิดเผยว่า กระทรวงสาธรณสุขจะร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดูและเกษตรกรไม่ให้เกิดความเสียหายจากการปลูกกัญชง และไม่ให้ถูกหลอกลวงจากผู้ไม่หวังดี โดยจะเข้าไปดูแลทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา การปลูก การสกัดหรือแปรรูป และการพัฒนาต่อยอดไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
"ไม่ใช่คิดจะปลูกก็ปลูกได้เลย ต้องมีการขออนุญาตก่อน เพราะยังควบคุมการปลูกอยู่ อย่าไปตามกระแสโดยไม่ไตร่ตรอง เดี๋ยวจะถูกหลอก" นพ.ธงชัย กล่าว
นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมฯ จะเข้ามาดูแลเรื่องความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกตั้งแต่มาตรฐานของเมล็ดพันธุ์กัญชง ทั้งในส่วนของผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย และผู้ปลูก การวิจัยสายพันธุ์ที่เหมาะสม รวมถึงการให้ความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับระบบการเพาะปลูกที่มีความเหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่ การดูแลรักษาในระหว่างการปลูก ตลอดจนการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการอนุญาต การปลูกกัญชา ซึ่งจะทำหน้าที่ประเมินความเหมาะสมในเบื้องต้นแล้วส่งต่อให้กับคณะกรรมการในระดับจังหวัดพิจารณา
"เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่จึงยังไม่มีการทำวิจัยไว้ จากนี้จะได้เร่งวิจัยหาสายพันธุ์ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่" นายพิเชษฐ์ กล่าว
ทั้งนี้ กรมฯ จะเร่งวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ที่มีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ หลังมีข่าวการหลอกขายเมล็ดพันธุ์ให้กับเกษตรกรรายย่อย โดยคาดว่าจะนำเข้าเมล็ดพันธุ์เข้ามาเริ่มทดลองได้ราวเดือน ส.ค.64 ซึ่งจะทดลองปลูกทั้งในระบบปิด_ ในโรงเรือน และในระบบเปิด ซึ่งจะได้ผลทดลองชุดแรกหลังจากนั้นอีก 120 วัน
ด้าน นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า กัญชงเป็นพืชที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น เปลือก ลำต้น เส้นใย ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม วัสดุก่อสร้าง เสื้อเกราะ ส่วนช่อดอกนำมาสกัดให้ได้สาร CBD ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ อาหาร เครื่องสำอาง ขณะที่เมล็ดกัญชงและน้ำมันเมล็ดกัญชง ใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องสำอาง
กฎกระทรวงเปิดกว้างให้กับผู้ขออนุญาตปลูกกัญชงเป็นประชาชน หรือเกษตรกร บุคคลทั่วไป หน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานภาคเอกชน สามารถมาขออนุญาตได้ ซึ่งหากพื้นที่ปลูกอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถยื่นขออนุญาตที่ อย. ส่วนต่างจังหวัดยื่นได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โดย สสจ.ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตรวจประเมินพื้นที่ พื้นที่ปลูกต้องมีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองถูกต้องตามกฎหมาย เช่น โฉนดที่ดิน สัญญาเช่าที่ดิน
และตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค.64 ที่กฎกระทรวงกัญชงมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศมีผู้มายื่นขออนุญาตปลูกแล้วจำนวนทั้งสิ้น 18 ราย พื้นที่ประมาณ 900 ไร่ โดยมีทั้งเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งเป็นการปลูกเพื่อใช้ประโยชน์เกี่ยวกับเส้นใย
เลขาธิการ อย.กล่าวว่า แม้ในพื้นที่ภาคเหนือจะมีกัญชงสายพันธุ์พื้นเมืองปลูกอยู่แล้ว แต่คุณภาพในเรื่องเส้นใย และสาร CBD ยังต่ำ ดังนั้น จึงต้องมีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์คุณภาพจากต่างประเทศ
ส่วนกรณีบริษัทเอกชนที่มีคุณสมบัติเป็นผู้นำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชง-กัญชานั้น ในการนำเข้าแต่ละครั้งจะต้องส่งเอกสารรายละเอียดชัดเจน เช่น คำสั่งซื้อ สายพันธุ์ เพื่อป้องกันปัญหารั่วไหล เพราะเมล็ดพันธุ์สามารถนำไปใช้เป็นยาเสพติดได้ ซึ่งขณะนี้เอกชนทั้ง 7 รายที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้นำเข้า ขณะนี้ยังไม่ได้แจ้งขอมาว่ามีการนำเข้ามาเมื่อไหร่อย่างไร
Reference: ryt9.com/s/iq01/3210598 |
ผลักดันกฎหมาย กระจายถือครองที่ดิน ช่วยเกษตรกร-รายย่อย-แรงงาน
รัฐบาลอยู่ระหว่างผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน พ.ศ. … ประกาศบังคับใช้ เป้าหมายหลักเพื่อเป็นกลไกในการกระจายการถือครองที่ดิน สนับสนุนให้เกษตรกรและผู้ยากจนได้มีที่ดินทำกินหรืออยู่อาศัย เพื่อส่งเสริมเกษตรกรรายย่อย ผู้ยากจน แรงงานไร้ที่ดิน และองค์กรของคนจนในรูปแบบต่าง ๆ ได้มีสิทธิร่วมกันในที่ดินโดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และป้องกันไม่ให้ที่ดินหลุดมือ หรือหลุดเข้าสู่กลไกตลาด
เป็นการปกป้องที่ดินไว้ให้รายย่อย ผู้ยากจน และแรงงานไร้ที่ดิน โดยใช้ประโยชน์ร่วมกัน และบริหารจัดการร่วมกันระหว่างรัฐกับประชาชน
สาระสำคัญของร่างกฎหมายแบ่งออกเป็น 6 หมวด 1 บทเฉพาะกาล รวมทั้งหมด 60 มาตรา ประกอบด้วย บททั่วไป มาตราที่ 1-4 โดยให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมวด 1 การจัดตั้ง วัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่ของสถาบัน มาตรา 5-8 อาทิ เพื่อจัดหาที่ดินของรัฐและเอกชนเพื่อการใช้ประโยชน์ จัดการกระจายการถือครองที่ดินและที่อยู่อาศัยแก่เกษตรกรหรือผู้ยากจน ป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัยของเกษตรกรหรือผู้ยากจน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนบริหารจัดการที่ดินร่วมกัน ฯลฯ
โดยให้สถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน มีหน้าที่และอำนาจในการถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง หรือมีทรัพย์สิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ ว่าจ้าง รับจ้าง จัดหา หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของสถาบัน รวมทั้งทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ จัดหาที่ดินของรัฐตามที่หน่วยงานรัฐที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบมอบหมาย และจัดหาที่ดินเอกชน ทำความตกลงและร่วมมือกับองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐและเอกชน องค์กรชุมชน หรือเครือข่ายองค์กรชุมชน ในกิจการเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดิน หรือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินและที่อยู่อาศัย ฯลฯ
หมวด 2 คณะกรรมการบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน มาตรา 9-18 หมวด 3 สถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน มาตรา 19-30 หมวด 4 กองทุนบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน มาตรา 31-35 หมวด 5 การดำเนินงานของสถาบัน มาตรา 36-49 อาทิ
การบริหารจัดการ และการกระจายการถือครอง ให้สถาบันมีอำนาจดำเนินการบริหารจัดการ จัดสรรที่ดินเพื่อการเกษตร และที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยแก่เกษตรกร ผู้ยากจน และองค์กรชุมชน ซึ่งสถาบันจัดให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยการให้เช่า ให้เช่าซื้อ ให้ใช้ประโยชน์ ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด หรือให้ใช้ประโยชน์ในรูปแบบของการถือกรรมสิทธิ์ร่วมระหว่างรัฐกับประชาชน ในกรณีเป็นที่ดินของหน่วยงานรัฐ ที่ดินราชพัสดุ หรือที่ดินที่สถาบันไม่มีกรรมสิทธิ์จะจัดการให้ใช้ประโยชน์ สถาบันต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับประเภทของที่ดินด้วย
การป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดิน การสนับสนุนอาชีพ โดยให้สถาบันดำเนินการ อาทิ ไถ่ถอนที่ดินจากการจำนองหรือขายฝาก จากผู้รับจำนองหรือผู้รับซื้อฝาก ซึ่งยังอยู่ในอายุสัญญา ให้สินเชื่อเพื่อการคงสิทธิในที่ดิน ซื้อที่ดินที่เคยเป็นกรรมสิทธิ์ของเกษตรกรและผู้ยากจน แต่ได้สูญเสียสิทธิเพราะการจำนองหรือขายฝากไปแล้วไม่เกิน 10 ปี ซื้อที่ดินที่อยู่ระหว่างการบังคับคดี หรือจะถูกบังคับคดี ฯลฯ การสนับสนุนอาชีพ โดยยึดหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่
หมวด 6 การบัญชี การตรวจสอบ การประเมินผลงาน และการรายงาน มาตรา 50-53 และบทเฉพาะกาล มาตรา 54-60 เมื่อร่างพระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้แล้ว ให้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์กรมหาชน) พ.ศ. 2554 เป็นอันยกเลิก และให้บรรดากิจการ เงินทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ รวมทั้งงบประมาณของสถาบัน ที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ตกเป็นของสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
Reference prachachat.net/columns/news-596201 |
|
|
|
กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3,
นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)
กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอเอสกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอเอส3ลิตร กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งมาคากับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอกี้-บีทีกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งFK-T 250ซีซี กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งไอเอสกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง
สั่ง อินเวท กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง เมทาแลคซิล กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง คาร์รอน กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่งกับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|
สั่ง แม็กซ่า กับ |
ลาซาด้า |
ช้อปปี้
|