<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
โรคใบด่างมะละกอ เชื้อไวรัสในมะละกอ ต้องกำจัดเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำโรค และมีดตอนกิ่งที่ไม่สะอาดก็มีส่วน
แนะนำแก้โรคใบด่าง จากเชื้อไวรัส ในมะละกอ
คุณนวลจันทร์ ฉัตรเท เกษตรอำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ได้มอบหมายให้ นางสาวธารทิพย์ สุธรรม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เข้าสำรวจแปลงปลูกมะละกอของเกษตรกรในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
หลังจากที่มีเกษตรกร หมู่ 3 ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด มาขอคำแนะนำและปรึกษาเกี่ยวกับโรคที่เกิดกับมะละกอที่ปลูก ซึ่งจากการสำรวจแปลงปลูกพบว่ามะละกอของเกษตรกรเป็นโรคใบด่างจากเชื้อไวรัส
สาเหตุหลัก เกิดจากการใช้มีดตอนกิ่งมะละกอ โดยไม่ทำความสะอาด
และจากการสอบถามเกษตรกรพบว่า สาเหตุหลักมาจากการใช้มีดในการตอนกิ่งมะละกอเล่มเดียวกันโดยไม่ได้ทำความสะอาด เมื่อเปลี่ยนต้นในการตอน และอาจจะมีมะละกอบางต้นที่เป็นโรคนี้อยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นสาเหตุให้เชื้อไวรัสติดไปยังกิ่งตอนอื่น ๆ เมื่อนำมาปลูกจึงเกิดการระบาดในแปลงปลูก เพราะจากการสำรวจพบว่าที่เป็นโรคจะเกิดเฉพาะต้นที่ตอนกิ่งมาเท่านั้น
ทั้งนี้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอแหลมงอบ ได้ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในการทำลายมะละกอต้นที่เกิดโรค และการดูแลรักษาต้นมะละกอ ตลอดถึงการป้องกันกำจัดโรคและแมลงในพริก มะเขือและพืชผักอื่น ๆ ที่เกษตรกรนำมาปลูกเสริมในแปลงปลูกมะละกอให้แก่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรนำความรู้และวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการไปปฏิบัติใช้อย่างถูกต้องในการดูแลแปลงปลูกพืชของตนเองเพื่อลดและป้องกันการระบาดเพิ่มอีกด้วย
สำหรับโรคใบด่างจากเชื้อไวรัสนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบุว่า เกิดจากเชื้อไวรัสเข้าทำลาย ซึ่งเชื้อจะเข้าทำลายได้ทุกระยะของการเจริญเติบโตของมะละกอ จะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบด่างเหลือง บิดเบี้ยวเสียรูป ใบจะหงิกงอ เรียวเล็กเหมือนหางหนู ถ้าเป็นรุนแรงใบจะเหลือแค่เส้นใบดูเหมือนเส้นด้าย และต้นกล้าอาจตายได้หรือไม่เจริญเติบโต ในต้นที่โตแล้ว ใบจะมีอาการด่าง บิดเบี้ยว หงิกงอ ยอดและใบมีสีเหลืองกว่าต้นที่ไม่เป็นโรค และจะสังเกตเห็นลักษณะจุดหรือทางยาวสีเขียวเข้ม ดูช้ำตามก้านใบ ลำต้น การติดผลจะไม่ดีหรือไม่ติดเลย
ในต้นที่ยังติดผล ผลก็อาจบิดเบี้ยว มีจุดลักษณะเป็นวงแหวน ทั่วทั้งผล เนื้อบริเวณที่เป็นจุดวงแหวนมักจะเป็นไตแข็ง มีรสขม ถ้าเป็นรุนแรงแผลเหล่านี้จะมีลักษณะคล้ายสะเก็ด หรือหูดนูนขึ้นมา บนผิวของผลจะขรุขระ ต้นที่เป็นโรคในระยะออกดอก จะทำให้ติดผลไม่ดี และผลที่ได้จะมีจุดวงแหวนเห็นได้ชัด นอกจากนี้ดอกในรุ่นต่อ ๆ ไปก็จะร่วง ไม่ติดผลอีกด้วย
เพลี้ยอ่อน เป็นพาหะ นำไวรัสมะละกอมาติด และระบาดในสวนมะละกอ
และโรคนี้สามารถแพร่ระบาดไปได้โดยมีเพลี้ยอ่อนหลายชนิดเป็นพาหะ เช่น เพลี้ยอ่อนถั่ว เพลี้ยอ่อนยาสูบ โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนฝ้ายที่จะเป็นพาหะสำคัญที่แพร่ระบาดของโรคนี้ โดยเพลี้ยอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นเป็นโรค เชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปากของแมลง และเมื่อบินหรือย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ไม่เป็นโรค ก็จะถ่ายเชื้อไวรัสเข้าไป
ซึ่งการถ่าย ทอดโรคนี้จะใช้เวลาสั้นมาก โดยดูดจากต้นเป็นโรคประมาณ 10-30 วินาที ก็สามารถถ่ายโรคไปยังต้นอื่นได้ ภายหลังมะละกอได้รับเชื้อไวรัสแล้วประมาณ 15-30 วินาที ก็จะแสดงอาการของโรคให้เห็น และที่ผ่านมาค่อนข้างยากที่จะหาวิธีป้องกันหรือกำจัดโรคนี้โดยตรง แต่เกษตรกรสามารถป้องกันได้ด้วยการทำลายต้นที่ติดเชื้อโรคที่แสดงอาการอย่างแน่ชัด โดยการเผาหรือฝังในดินให้ลึก และปลูกมะละกอพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคนี้ เช่น ปากช่อง 1 แขกดำ ท่าพระ โดยบริเวณปลูกต้องกำจัดวัชพืชให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของเพลี้ยอ่อน
การปลูกมะละกอให้ห่างจากพืชตระกูลแตง หรือปลูกเหนือลม ช่วยป้องกันการระบาดของไวรัสมะละกอได้ดี
และควรปลูกห่างจากพืชตระกูลแตงและนำพืชตระกูลแตงมาปลูกบริเวณด้านเหนือลม เพื่อเป็นกับดักตามธรรมชาติให้เพลี้ยอ่อนเข้าดูดกิน และสูญเสียการถ่ายเชื้อไวรัสเข้าสู่มะละกอ ก็จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
dailynews.co.th/ agriculture/555912
*สินค้าจาก ฟาร์มเกษตร สำหรับการป้องกัน และรักษาโรคไวรัสมะละกอ เป็นการป้องกันกำจัดพาหะนำโรค คือเพลี้ยอ่อน และเพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่นด้วยมาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด หากต้องการบำรุง ให้มะละกอฟื้นตัวเร็ว เจริญเติบโตดี แข็งแรง และต้านทานต่อโรคมากขึ้น สามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง
ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจัดใบนั่นเอง)