[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3518 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 351 หน้า, หน้าที่ 352 มี 8 รายการ

 
โรคแตงไทย โรคแตงโม และ โรคที่กิดกับพืชตระกูลแตง
โรคแตงไทย โรคแตงโม และ โรคที่กิดกับพืชตระกูลแตง
โรคที่เกิดกับผักตระกูลแตง

พืชตระกูลแตงมีหลายชนิด บางชนิดใช้รับประทานแบบพืชผักบางชนิดรับประทานแบบผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นแตงชนิดไหนก็ตามมีโอกาสที่จะเป็นโรคชนิดเดียวกันได้ แตงที่รับประทานแบบผลไม้ได้แก่ แตงโม แตงกวา แคนตาลูป แตงไทย แตงที่ใช้เป็นอาหารจำพวก ผัก ได้แก่ แตงกวา แตงร้าน มะระ ฟักทอง ฟัก แฟง น้ำเต้า ตำลึง บวบ ฯลฯ

จากการสำรวจพบว่าพืชในตระกูลแตงแต่ละชนิดมีโรคระบาดที่สำคัญและเป็นอุปสรรคต่อการปลูกมากหลายโรคด้วยกัน แต่ละโรคทำลายพืชตระกูลแตงเกือบทุกชนิดและเป็นโรคเดียวกัน ดังนั้นการศึกษาและเรียบเรียงคำแนะนำเรื่องโรคใดโรคหนึ่งและวิธีป้องกันกำจัดจึงสามารถใช้รวมไปได้กับพืชทุกชนิดในตระกูลแตง

โรคผักตระกูลแตงและวิธีป้องกันกำจัด

โรคผักตระกูลแตงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจไม่แพ้โรคผักของพืชตระกูลอื่น ๆ หรือพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ และกำลังจะได้รับการส่งเสริมให้พืชบางชนิดในตระกูลนี้ปลูกกันอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้ผลิตอาหารกระป๋องสำเร็จรูป เช่น ทำแตงกวาดอง ฯลฯ และเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องประสพปัญหาเรื่องโรค ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการเอกสารวิชาการเกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องโรคและวิธีป้องกันกำจัด เช่น รายละเอียดเรื่องระดับความเสียหายความรุนแรงของโรค การแพร่ระบาด สาเหตุของโรค สภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรคพาหะนำโรคและวิธีป้องกันกำจัดที่ให้ผลดีที่สุดและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย การป้องกันกำจัดโรค โดยวิธีใช้สารเคมีฉีดพ่นอาจไม่ได้ผลเลยและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นโดยไม่จำเป็น เช่น ในกรณี ที่เกิดโรคขาดธาตุอาหารหรือสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เชื้อโรค ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องทราบสาเหตุที่แท้จริงเสียก่อน แล้วจึงจะคัดเลือกวิธีการป้องกันกำจัดที่แท้จริงมาใช้หรืออาจจะต้องใช้วิธีการหลาย ๆ วิธีเข้าร่วมกันเพื่อให้การป้องกันกำจัดมีประสิทธิภาพสูง โรคจะได้ลดน้อยลง เพื่อที่จะให้การเรียบเรียงสมบูรณ์จึงได้จัดแบ่งโรคของผักตระกูลแตงออกเป็นหมวดหมู่ตามสาเหตุของโรค

โรคปลายผลเน่าเกิดจากขาดธาตุแคลเซียม

โรคปลายผลเน่าแห้งสีดำ (Blossomend rot)

โรคปลายผลเน่าเป็นโรคที่ทำความเสียหายมากกับแตงโม โดยเฉพาะพันธุ์ชาร์ลสตันเกรย์ ซึ่งปลูกไม่แพร่หลายนัก เพราะพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่มากไม่เป็นที่นิยมของผู้ซื้อ แต่ก็มีข้อดีที่เก็บได้นานกว่าแตงพันธุ์ชูก้าเบบี้ ซึ่งนิยมปลูกกันมากในปัจจุบัน พันธุ์ชูก้าเบบี้เก็บไม่ได้นานเท่าชาร์ลสตันเกรย์ก็จริงแต่เนื่องจากไม่เป็นโรคนี้และมีขนาดกำลังดี จึงนิยมปลูกกันมาก นอกจากแตงโมแล้ว แตงร้านและแตงกวาก็ปรากฎว่าเป็นโรคนี้บ้างเล็กน้อย

ลักษณะอาการของโรค

อาการเหี่ยวเริ่มจากปลายผลเข้ามาต่อมาเนื้อเยื่อจะแห้งแข็งเป็นสีน้ำตาบ เนื่อเยื่อจะยุบเข้าไปและมักจะมีเชื้อราอื่น ๆ มาขึ้นบนเนื้อเยื่อที่ตายแล้วทำให้เกิดอาการเน่าขึ้นภายหลัง

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียมและเกี่ยวกับการดูดซึมน้ำของรากแตงโมด้วย สาเหตุทั้งสองมีความสัมพันธ์กันมาก เพราะธาตุแคลเซียมจะช่วยให้การดูดซึมที่รากดีขึ้นด้วย แตงโม คงต้องการธาตุนี้มากกว่าพืชอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน

การป้องกันกำจัด

การปลูกแตงโมควรใช้ปูนขาวใส่ลงในดินสัก 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ หรือจะใช้ฉีดพ่นด้วยธาตุแคลเซียม เช่น แคลเซียมคลอไรด์ 0.2 % และควรให้น้ำสม่ำเสมอหรือต้องปลูกในที่ ๆ มีน้ำในระดับที่แตงโมจะดูดซึมได้สม่ำเสมอตลอดเวลา

โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

1. โรคเหี่ยวเฉาเกิดจากแบคทีเรีย (Bacterial wilt)

แตงกวาเป็นโรคนี้มากกว่าอย่างอื่น และแตงโมมีความทนทานต่อโรคนี้สูงมากจนเกือบจะไม่พบโรคนี้เลย ถ้ามีโรคนี้ระบาดจะเสียหายเพราะแตงจะเหี่ยวภายในเวลาอันรวดเร็ว

ลักษณะอาการของโรค

อาการเกิดที่ใบโดยแสดงอาการเหี่ยวเป็นบางใบก่อน อาการเหี่ยวลามไปที่ขั้วใบและเถาแตง ทำให้เถาแตงเหี่ยวตายทั้งต้นในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเหี่ยวมาก ๆ ผลจะเหี่ยวแห้งแล้วต้นพืชจะตาย

การตรวจโรคนี้ใช้วิธีตัดลำต้นที่เป็นโรคตามขวางเพื่อดูเชื้อบักเตรีซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวขุ่นข้นสีเหมือนสีน้ำนม ออกมาจากรอยตัด บางครั้งไม่พบของเหลวดังกล่าวควรนำไปแช่ในน้ำที่สะอาดถ้าพบของเหลวดังกล่าวไหลออกมาทำให้น้ำขุ่นกว่าเดิมก็แสดงว่าพืชนั้นมีแบคทีเรียในเนื้อเยื่อพืชก็ต้องนำมาทำการเพาะเลี้ยงเชื้อหาเชื้อบริสุทธิ์

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งแพร่ระบาดโดยแมลงศัตรูพืช

การป้องกันกำจัด

ถอนต้นที่เป็นโรคไปทำลายเสีย กำจัดแมลงที่อาจนำเชื้อโรค

2. โรคใบจุด โรคใบจุดของผักตระกูลแตงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุอยู่ 2 ชนิด

ก. โรคใบจุดเกิดจากแบคทีเรีย (Angular leaf spot_ Bacterial spot jor Blight)

แตงแคนตาลูป แตงโม เป็นโรคนี้มากกว่าอย่างอื่น ส่วนแตงกวา น้ำเต้า มีความคงทนต่อโรคนี้ต่างกัน

ลักษณะอาการของโรค

อาการเริ่มแรกจะเป็นเป็นจุดฉ่ำน้ำ ขนาดแผลไม่แน่นอน ในที่ ๆ มีอากาศชื้นอาจพบเชื้อแบคทีเรียดูดออกมาที่แผล

เมื่อแผลแห้งจุดของแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและใบจะแห้งร่วงไปในที่สุด อาการของโรคเป็นเฉพาะที่ เช่น ที่กิ่ง ใบ ผล แต่แผลที่ผลมีขนาดเล็กกว่า ถ้าเป็นมาก ๆ ผลจะร่วง

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas lachrymans (E.F. Smith and Bryan) Carsner

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่ในเศษซากพืชและอยู่ในเมล็ด การป้องกันจึงควรแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำร้อน ประมาณ 55 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที ก่อนปลูก หรือปลูกพืชหมุนเวียน 3 ปี ควรทำลายเศษซากพืชเสียก่อนปลูกพืชและใช้ยาฆ่าแมลงที่อาจนำเชื้อโรคมาสู่ต้นพืช

ข. โรคใบจุด (Bacterial leaf-spot)

พืชที่เป็นโรคนี้ได้แก่ แตงกวา ฟักทอง แตงโม น้ำเต้า

ลักษณะอาการของโรค

โรคใบจุดนี้มีอาการเหมือนกับชนิดแรกต่างกันพบโรคเฉพาะที่ใบไม่เป็นที่ผล

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas cucurbitae

การป้องกันกำจัด

ใช้วิธีการป้องกันกำจัดเหมือนชนิดแรก

โรคที่เกิดจากเชื้อรา

1. โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)

โรคราน้ำค้างจัดว่าเป็นโรคที่สำคัญของแตงโมทุกพันธุ์รวมทั้งพืชในตระกูลนี้อีกหลายชนิดเช่น แตงกวา แตงร้าน มะระ ฯลฯ ส่วนพวกตำลึง บวบ ฟักทอง ฟักข้าว ไม่ค่อยพบโรคนี้ระบาด

ลักษณะอาการของโรค

ใบแตงโมมีแผลสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลอ่อนประปรายทั่วใบ ทำให้ใบแห้งและเหี่ยวอาการจะปรากฎบนใบแก่โคนเถาก่อน โรคระบาดรวดเร็วมากจะทำให้เถาแตงเหี่ยวตายหมดทั้งเถาได้ในเวลาที่อากาศชื้น ด้านท้องใบจะมีกระจุกของราสีขาวหม่นขึ้นบนแผลคล้ายผงแป้ง โรคมักจะระบาดรุนแรงและรวดเร็ว เมื่อแตงกำลังให้ผล ทำให้เถาแตงตายไปก่อนที่แตงโมจะสุก

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis ซึ่งเป็นเชื้อราที่แพร่ระบาดไปในอากาศ

การป้องกันกำจัด

1. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย ไอเอส อัตราผสม 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

2. ฉีดพ่นด้วย ไอเอส ชนิดใดชนิดหนึ่งฉีดพ่น 5-7 วันต่อครั้ง

โรคราแป้ง

โรคราแป้งจัดว่าเป็นโรคที่ทำความเสียหายมากอีกโรคหนึ่งของแตงโมทุกพันธุ์และพืชในตระกูลนี้เกือบทุกชนิดเป็นโรคนี้ได้ง่าย

ลักษณะอาการของโรค

ใบมีราสีขาวจับคล้ายผงแป้งโดยเฉพาะด้านบนใบและตามผล เมื่อเชื้อราเริ่มจับใบใหม่ ๆ มีลักษณะเป็นวงกลมสีขาวซึ่งจะขยายออกไปจนคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบแห้งกรอบเป็นสีน้ำตาลอาการใบแห้งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทำให้ใบแห้งหมดทั้งเถาได้ เถาแตงโมจะทรุดโทรมเร็ว

สาเหตุของโรค

โรคราแป้งเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. ซึ่งสร้างสปอร์สีขาวคล้ายผงแป้งจับเคลือบอยู่บนใบและหลุดปลิวแพร่ระบาดไปในอากาศได้ง่าย

การป้องกันกำจัด

1. ควรฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรานี้โดยใช้ยากำมะถันผงชนิดละลายน้ำได้ในอัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ

2. ใช้ยาคาราเทนหรือมิลเด็กซ์

หมายเหตุ อัตราส่วนตามข้างสลากการฉีดพ่นยาดังกล่าวต้องฉีดพ่นในเวลาที่ไม่มีแสงแดดหรืออากาศร้อนจัด และใช้ความเข้มข้นต่ำไว้ก่อนจะไม่ทำให้เกิดอาการใบไหม้ ยาชนิดอื่นไม่ให้ผลดีเท่ายาที่กล่าวมาแล้ว

3. โรคแอนแทรกโนส (Anthracnose)

แตงโมทุกพันธุ์เป็นโรคนี้และจัดว่าเป็นโรคที่ระบาดทั่วไป โรคนี้ไม่ทำให้เนื้อใบเสียแต่ทำให้แตงโม มีรสหวานน้อยลงและมีสีอ่อนกว่าปกติ ยกเว้นแตงแคนตาลูป ซึ่งมีแผลใหญ่และผลเน่าอย่างรวดเร็วและเสียหายมากกว่าแตงพันธุ์อื่น ๆ

ลักษณะอาการของโรค

โรคนี้ทำให้เกิดจุดหรือแผลนูนเล็ก ๆ สีน้ำตาบประปรายทั่วไป แผลดังกล่าวนี้เกิดบนผลแตงโม ทำให้ผลแตงโมมีผิวขรุขระ พันธุ์ที่ไม่มีความต้านทาน แผลจะขยายใหญ่ขึ้นและเนื้อเยื่อตรงกลางแผลจะยุบต่ำลงไปจากระดับเดิมเล็กน้อย ตรงกลางแผลมีเชื้อราเป็นหยดเยิ้มสีชมพูอ่อน เรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้นตามขนาดของแผลที่ขยายใหญ่ขึ้น เช่น แผลบนแตงแคนตาลูป

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum lagenarium

การป้องกันกำจัด

ฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไอเอส อัตราตามข้างสลากทุก ๆ 5-7 วัน เมื่อเริ่มพบโรคระบาดและเก็บผลที่เป็นโรคทิ้ง เพื่อทำให้มีเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น ยาป้องกันกำจัดเชื้อราเกือบทุกชนิดให้ผลในการป้องกันกำจัดใกล้เคียงกัน การใส่ปุ๋ยอินทรีย์และกากพืชจำนวนมากมีผลทำให้โรคลดน้อยลงได้มาก

4. โรคเหี่ยว (Fusarium wilts)

แตงโม แตงกวา แตงร้าน แคนตาลูป เป็นโรคนี้ทั่วไปทุกแห่ง พืชอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกันนี้มีความต้านทานและคงทนต่อโรคสูง จึงไม่ใครพบโรคนี้ ความเสียหายเกิดขึ้นมากน้อยแล้วแต่จำนวนต้นที่เหี่ยวตาย แต่จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งซึ่งเป็นมากในระยะที่แตงกำลังตกผล ซึ่งอาจจะทำให้ต้นเหี่ยวตายไปก่อนที่จะเก็บผล

ลักษณะอาการของโรค

ใบแก่ที่อยู่ที่โคนเถาแตงจะเริ่มเหลืองและเหี่ยวตายก่อนแล้วลามไปจนถึงปลายเถาบางต้นมีลำต้นแตกช้ำ แตงมักจะเริ่มเหี่ยวจากแขนงใดแขนงหนึ่งก่อน แล้วจะแห้งตายหมดทั้งเถาในเวลาต่อมา

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp. ซึ่งเป็นเชื้อราที่ชอบอาศัยอยู่ในดินที่เป็นทรายมากและเป็นดินกรด ดินที่ปลูกแตงติดต่อกันหลายปีมักจะมีโรคนี้ระบาดมาก

การป้องกันกำจัด

1. ควรปรับดินด้วยปูนขาวประมาณ 100-150 กก. ต่อไร่ และเมื่อจะปลูกซ้ำ ที่ควรจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากหลังจากการใส่ปูนขาวจะช่วยทำให้โรคนี้ลดน้อยลง ถ้าปุ๋ยอินทรีย์จำพวกปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์หายากก็ควรพิจารณาปลูกพืชตระกูลถั่วแซมหรือสลับแล้วไถกลบต้นถั่วให้เป็นปุ๋ยพืชสดหรือกากพืชลงไปในดิน และไม่ควรปลูกแตงซ้ำที่เกินกว่า 3 ปี

2. ใช้ ไอเอส อัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร รดโคนต้นให้ชุ่ม

หมายเหตุ การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มากจะทำให้เป็นโรคนี้มากขึ้น ควรใส่แต่น้อยแต่ใส่หลาย ๆ ครั้ง

5. โรคใบจุด

แตงมีโรคใบจุดเกิดจากเชื้อราต่างกันหลายชนิด มีอาการคล้ายคลึงกัน การระบาดของโรคไม่รุนแรงเหมือนโรคอื่น ๆ โรคใบจุดของแตงมีดังต่อไปนี้

5.1 โรคใบจุดของแตงเกิดจากเชื้อออเทอนาเรีย (Alternaria)

ลักษณะอาการของโรค

จุดแผลจะฉ่ำน้ำ มีสีเหลือง และสีของแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือเทากลาง ๆแผลมีสีดำ เมื่อแผลมีขนาดใหญ่ แผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มและพบเชื้อราขึ้นเรียงเป็นวงแหวนกลาง ๆ แผลอาจฉีกขาด ผลของต้นที่เป็นโรคมักจะสุกก่อนกำหนด และอาจพบแผลที่ผลและที่ลำต้น

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Alternaria cucumerina (Ellis and Everhart Elliott)

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากเชื้อราอาศัยอยู่ในเศษซากพืช การป้องกันกำจัดจึงควรทำดังนี้

1. ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรค

2. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค

3. คลุกยาคลุกเมล็ด เช่น ไดเทนเอ็ม 45 ชนิดสีแดงเสียก่อนปลูก

4. ปลูกพืชหมุนเวียน 3 ปี

5. ฉีดพ่นด้วย ไอเอส

5.2 โรคใบจุดเกิดจากเชื้อราเซอคอสปอรา

ลักษณะอาการของโรค

จุดของแผลมีขนาดเล็กเป็นรูปกลมหรือเหลี่ยมมีสีน้ำตาล กลาง ๆ จุด มีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อนขอบของแผลมีสีม่วง หรือน้ำตาลอ่อน ส่วนมากเกิดด้านใบ

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Cercospora citrullina Cook

การป้องกันกำจัด

ใช้วิธีเดียวกับโรคที่เกิดจากเชื้อออเทอนาเรีย

6. โรคใบแห้ง (Corynespora blight)

แตงกวาเป็นโรคได้ง่าย

ลักษณะอาการของโรค

ลักษณะของแผลที่ใบจะกลมหรือเหลี่ยมมีสีน้ำตาล กลาง ๆ แผลมีสีเขียวหรือเหลือง เมื่อมีแผลมากและแผลมีขนาดใหญ่ขึ้น ใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งตาย แผลบนกิ่งก้าน มีลักษณะยาวตามส่วนของพืช ผลที่ถูกเชื้อเข้าทำลายมักจะเป็นผลที่แก่และผลที่มีสีเหลือง ใบหรือผลอ่อนที่มีสีเขียวเชื้อราชนิดนี้จะไม่เข้าทำลาย

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Corynespora melonia (Cooke) Lindan

การป้องกันกำจัด

1. ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรคและเศษซากพืชหลังเก็บเกี่ยว

2. ใช้ยาเบนเลท ไดเทนเอ็ม 45 หรือ ไดโฟลาแทน ชนิดใดชนิดหนึ่งในการป้องกันกำจัดแต่จากการทดลองพบว่ายาเบนเลทใช้ได้ผลดี

7. โรคดอกเน่า (Choanephora wet-rot)

พืชที่เป็นโรคนี้ได้แก่ น้ำเต้า ฟักทอง และพืชอื่น ๆ

ลักษณะอาการของโรค

บริเวณที่เป็นโรคจะเป็นจุดสีดำขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ฉ่ำน้ำและเน่าเละมักเป็นโรคบริเวณยอดอ่อน ๆ และยอดที่กำลังมีดอกโดยยอดจะมีสีซีดกว่ายอดปกติ ต่อมายอดและผลอ่อนจะแห้ง ส่วนมากจะพบโรคนี้ในเวลาที่มีฝนตากชุกและมีน้ำค้างหรือหมอกลงจัด

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Choanephora cucurbitarum

การป้องกันกำจัด

ใช้ยาซาพรอล หรือไดโฟลาแทน อัตราส่วนตามข้างสลาก ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน

8. โรคผลเน่า

โรคผลเน่าที่พบมากเกิดจากเชื้อรา 2 ชนิด และเป็นมากกับแตงโมและแตงกวา

8.1 โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อพิเทียม (Pythium Fruit rot)

ใช้ยาริดโดมิล เอ็มแซด 72 หรือไดโฟลาแทนหรือซาพรอล อัตราส่วนตามข้างสลาก ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน

ลักษณะอาการของโรค

จะพบโรคนี้ทั้งที่ผลและที่ราก อาการที่ผลจะเน่าและมักพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราปกคลุมอยู่ที่ผิวของผล ถ้าเกิดที่รากจะทำให้รากเน่า

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา Pythium spp.

8.2 โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อดิพโพเดีย (Diplodia fruit rot)

แตงโมเป็นโรคนี้ได้มากที่สุด นอกจากนี้มีแตงกวา และแคนตาลูป

ลักษณะอาการของโรค

เมื่อกดดูบริเวณขั้วของแตงโมที่เป็นโรคจะบุ๋ม เชื้อราจะเข้าบริเวณขั้วก่อนเนื้อเยื่อที่ติดกับขั้วจะเน่าและฉ่ำน้ำ อาการเน่าเกิดขึ้นเร็วมาก เมื่อเป็นมาก ๆ ผลแตงจะมีสีดำ ถ้าอากาศชื้น ๆ จะพบเชื้อราสีเทา คลุมอยู่ที่ผล ถ้าพบเป็นโรคในผลที่ยังอ่อนเชื้อราจะเข้ามาบริเวณปลายผล มีอาการเหมือนบริเวณที่ขั้วของผลแตงโมที่ถูกเชื้อชนิดนี้เข้าทำลาย โดยมีสีอ่อนกว่าบริเวณที่ไม่ถูกเชื้อเข้าทำลาย เมื่อแผลมีขนาดใหญ่สีของแผลจะเข้ม พบเชื้อราบริเวณผิวแตงเห็นได้ชัดเจน ต่อมาผิวแตงจะแห้ง เชื้อราชนิดนี้ทำให้เกิดอาการผลเน่าได้เช่นเดียวกับเชื้อราชนิดแรกที่กล่าวมาแล้ว

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา (Diplodia gossypina coke)

การป้องกันกำจัด

1. ฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา

9. โรครากปม

การปลูกแตงโมในที่บางแห่งมีปัญหาโรครากปมระบาดมาก โรคนี้ไม่ทำให้เถาแตงโมตายแต่ก็ทำให้แตงแคระแกรนไม่ใคร่เจริญเติบโต ทำให้ผลผลิตตกต่ำ

ลักษณะอาการของโรค

ยอดแตงแสดงอาการชูตั้งชันและไม่เจริญยืดยาวออกไป ในเวลากลางวันที่มีอากาศร้อน เถาแตงจะแสดงอาการเหี่ยวและฟื้นเป็นปกติในเวลากลางคืนอีก ถ้าถอนต้นแตงตรวจดูจะพบรากบวมเป็นปมขนาดต่าง ๆ กัน ไม่มีรากฝอยซึ่งเป็นสาเหตุให้การดูดอาหารและน้ำที่รากไม่เป็นปกติเกิดการอุดตันขึ้นเพราะเชื้อโรคเข้าไปอาศัยอยู่และไปกระตุ้นให้เซลส์ของรากโตและมีระบบเนื้อเยื่อรากผิดปกติไป

สาเหตุของโรค

เกิดจากไส้เดือนฝอยชนิดหนึ่ง Meloidogyne spp. ซึ่งตัวเมียจะไชเข้าไปอาศัยอยู่ในราก ทำให้รากบวมโตเป็นปมและแย่งอาหารจากราก

การป้องกันกำจัด

1. ใช้ยาฟูราดาน อัตรา 3 กรัม รองก้นหลุมเมื่อปลูก

2. ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกและกากพืชเพื่อปรับปรุงดินจะช่วยลดปริมาณการเป็นโรคลง โดยเฉพาะการปลูกในดินร่วนปนทราย

3. ถอนต้นพืชที่เป็นโรคทิ้งเพื่อกำจัดไข่ตัวเมียที่จะแพร่ระบาดในแปลง

หมายเหตุ ในดินเหนียวและดินที่มีอินทรีย์วัตถุมาก ๆ ไม่ค่อยเป็นโรคนี้

10. โรคยอดหงิกใบด่าง

โรคยอดหงิกใบด่างของแตงโมและพืชอื่น ๆ เกิดจากเชื้อวิสาซึ่งมีศัตรูจำพวกปากดูดเป็นตัวนำเชื้อโรคให้แพร่ระบาดติดต่อกัน จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญอีกโรคหนึ่ง ทำความเสียหายมากเพราะจะทำให้ต้นที่เป็นโรคไม่ผลิดอกออกผล หรือมีผลเล็กผิดปกติ

ลักษณะอาการของโรค

พืชจะแสดงอาการใบมีสีเขียวและเหลืองด่างลายประปรายทั่วใบและเนื้อใบหยักเป็นคลื่น ใบเล็กลง ยอดตั้งชันและชงักการเจริญเติบโต ยอดหก ไม่ผลิดอกออกผลต่อไป

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อวิสาที่มีศัตรูจำพวกปากดูดเช่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรคจากต้นที่เป็นโรคติดต่อไปยังต้นดีได้ง่าย เชื้อวิสาของแตงโมมีหลายชนิดซึ่งทำให้เกิดอาการใกล้เคียงกัน

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากมีศัตรูพืชเป็นตัวนำโรคจึงต้องป้องกันมิให้มีศัตรูดังกล่าวระบาดโดยการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น แลนเนท และเซวิน กำจัดพวกเพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อน และถอนทำลายต้นที่แสดงอาการเป็นโรคออกไปจากไร่ จะช่วยลดโรคนี้หรือป้องกันโรคนี้ได้

หมายเหตุ ศัตรูพวกนี้มีขนาดเล็กมาก แต่พอจะสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพลี้ยไฟตัวเรียวยาวสีเหลืองอมส้ม เคลื่อนไหวรวดเร็ว ตัวแก่มีสีดำและบินได้

Main Content Reference:
กลุ่มงานวิจัยโรคพืชผักและไม้ประดับ กองโรคพืชและจุลชีวเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
thaikasetsart.com
อ่าน:3519
ไม้ดอกเป็นโรค ไม้กระถางเป็นโรค ลักษณะอาการโรค ของไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง
ไม้ดอกเป็นโรค ไม้กระถางเป็นโรค ลักษณะอาการโรค ของไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง
ลักษณะอาการของโรค

อาการของโรคของไม้ดอกกระถาง หรืออาการผิดปกติซึ่งเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ของแสดงอาการได้หลายแบบในเวลาเดียวกัน หรือแสดงอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งบนต้นพืชต้นเดียวกัน หรือปรากฏอาการบนส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของต้นพืช เช่น ปรากฏอาการเป็นแผลจุด แผลไหม้ อาการเน่า อาการเหี่ยว บนราก ลำต้น กิ่งก้าน ใบ ดอก ผล เมล็ด หรืออาจปรากฏอาการทั้งต้น

อาการโรคของไม้ดอกไม้กระถาง มีลักษณะอาการผิดปกติได้ ดังนี้

1. อาการที่ราก

1.1 โรครากเน่า รากเกิดอาการเน่าดำหรือสีน้ำตาล เปลือกล่อนหลุดติดมือออกมา เนื่องจากเชื้อโรคเข้าทำลาย เช่น โรครากเน่า เป็นต้น

1.2 โรครากปม รากจะมีอาการพองออกเป็นปม โดยจะพองออกจากภายในรากมิใช่พองออกมาเพียงด้านใดด้านหนึ่ง เช่น โรครากปมของเยอบีร่าและอาฟริกันไวโอเลท

1.3 โรครากแผล เกิดแผลไปตามความยาวของราก โดยมีรอยสีน้ำตาล หรือน้ำตาลเข้ม ต่อมาจะเป็นช่องทางให้เชื้อต่าง ๆ เข้าทำลายซ้ำเติมได้ดีขึ้น สาเหตุของรากแผลส่วนมากเกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอย

1.4 โรครากกุด รากกุดสั้นเป็นกระจุก ไม่ยืดยาวออกตามปกติ เช่น โรครากกุดของเข็มญี่ปุ่นซึ่งเกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอย

2. อาการที่ลำต้นและกิ่งก้าน

2.1 โรคเน่าคอดิน อาการแบบนี้ใช้เรียกเฉพาะกรณีที่เกิดกับต้นกล้า โดยจะพบแผลเน่าบริเวณโคนต้นที่อยู่ติดกับผิวดิน ทำให้ต้นหักล้มและแห้งตายเป็นหย่อม ๆ เช่น ต้นกล้าของไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดที่พบเน่าตายในแปลงเพาะกล้า โรคนี้เกิดจากเชื้อรา

2.2 โรคโคนเน่า อาการเน่ามีแผลเป็นสีน้ำตาลบริเวณโคนต้น ถ้าถากเปลือกดูจะเห็นว่าใต้เปลือกมีอาการเน่าเป็นสีน้ำตาล เช่น โรคโคนเน่าของปาล์มและกล้วยไม้ เป็นต้น ส่วนมากโรคนี้จะเกิดจากเชื้อรา

2.3 โรคลำต้นเน่า แผลที่พบบริเวณโคนต้นจะขยายลุกลามไปรอบลำต้น ทำให้เปลือกรอบ ๆ ลำต้นเน่า และต้นไม้ตายทั้งต้น หรือบางครั้งเชื้อเข้าทำลายบริเวณลำต้นที่มีความชื้นสูงอยู่เสมอ เช่น บริเวณคาคบไม้ โรคนี้ส่วนมากเกิดจากเชื้อรา เช่น โรคลำต้นเน่าของโป๊ยเซียน เป็นต้น

2.4 โรคยางไหล จะมีอาการยางไหลออกมาจากลำต้น โดยบริเวณดังกล่าวจะมีรอยแผลช้ำ มียางไหลออกมาตามรอยแผลนั้น เช่น โรคยางไหลของแคคตัส ซึ่งเกิดจากเชื้อรา

2.5 โรคปุ่มปม เกิดอาการเป็นก้อนปุ่มปมขึ้นบริเวณกิ่งและลำต้น ส่วนมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

3. อาการที่ใบ

3.1 โรคใบจุด เกิดจุดแผลที่ใบ รูปร่างแตกต่างกันไปในรายละเอียด แล้วแต่สาเหตุที่เข้าทำลาย ขนาดของแผลเป็นเพียงจุดบนใบ อาจเกิดกระจายกันทั่วทั้งใบ ถ้าเกิดจุดแผลมาก ๆ อาจจะทำให้ใบแห้งได้ โรคใบจุดของพืชส่วนมากเกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคใบจุดของเยอบีรา โรคใบจุดของกุหลาบ โรคใบจุดของเบจมาศ เป็นต้น

3.2 โรคใบไหม้ เกิดแผลแห้งตาย มีขนาดของแผลใหญ่กว่าอาการใบจุด ขอบเขตขอบแผลจะกว้างขวางกว่า การไหม้อาจเกิดที่กลางใบ ปลายใบ หรือขอบใบก็ได้ ส่วนมากเกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคใบไหม้ของเฟื้องฟ้า เป็นต้น

3.3 โรคราสนิมเหล็ก แผลขนาดเล็ก สีสนิมโผล่เป็นตุ่มออกมาจากใบพืช ลักษณะคล้าย ๆ กับสีสนิมเหล็ก เมื่อเอามือลูบดูจะมีสปอร์ของเชื้อราติดมือเป็นสีสนิมเห็นได้ชัด โรคนี้เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมของทานตะวัน เป็นต้น

3.4 โรคราน้ำค้าง อาการของโรคนี้แตกต่างกัน ซึ่งพอจะแยกออกได้ดังนี้คือ อาการราน้ำค้างในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มักพบอาการใบลายสีเหลืองเขียวสลับกันตามความยาวของใบ ถ้าอากาศชื้น ๆ อุณหภูมิพอเหมาะจะพบผงสปอร์ของเชื้อสีขาว ๆ เกาะติดที่ใบ ในพืชตระกูลแตงจะเห็นใบมีอาการเป็นแผลจุดเหลี่ยมสีน้ำตาล ส่วนในพืชไม้ดอกต่าง ๆ จะเห็นเป็นใบจุดแผลสีเหลืองด้านบนใบ แต่ใต้ใบจะพบขุยสปอร์สีขาว ๆ โรคราน้ำค้างที่สำคัญ เช่น โรคราน้ำค้างของกุหลาบ เป็นต้น

3.5 โรคราแป้งขาว โรคนี้เกิดจากเชื้อรา โดยจะพบผงแป้งสีขาว ๆ เกาะติดที่ใบคล้าย ๆ กับเอาแป้งไปโรย ขึ้นปกคลุมกระจายตามส่วนต่าง ๆ ของใบหรือทั่วทั้งใบ ต่อมาใบจะเหลืองและแห้งตาย เช่น โรคราแป้งของบานชื่น และโรคราแป้งของกุหลาบ เป็นต้น

3.6 โรคแอนแทรคโนส ใบที่เกิดโรคนี้จะเป็นแผลแห้งสีน้ำตาล ส่วนมากจะเห็นเชื้อรามีลักษณะเรียงเป็นวงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ค่อนข้างชัดเจน ในพืชบางชนิดโรคนี้เกิดได้ทั้งบนใบ กิ่ง และผล สาเหตุเกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแอนแทรคโนสของกล้วยไม้ มะลิ หน้าวัว เป็นต้น

3.7 โรคราดำ ใบที่เกิดโรคนี้จะมีผงคล้ายเขม่าดำคลุมผิวใบหรือส่วนอื่น ๆ ของพืช เมื่อใช้มือลูบจะหลุดออก เพราะเชื้อราชนิดนี้จะไม่แทงเข้าไปในใบพืช เพียงแต่ขึ้นปกคลุมผิวใบ ส่วนมากพบหลังการทำลายของเพลี้ยจั๊กจั่นและแมลงหวี่ขาว เพราะราชนิดนี้จะขึ้นเจริญบนน้ำหวานที่แมลงขับถ่ายออกมา

3.8 โรคเน่าเละ อาการคือ เน่าเละสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นเหม็นรุนแรง เกิดได้ทั้งลำต้น ราก หัว และใบของพืช เมื่อเป็นโรคนี้พืชจะเน่าเละทั้งต้น หรือทั้งหัว สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเน่าเละของกล้วยไม้รองเท้านารี แคคตัส โป๊ยเซียน เป็นต้น

3.9 โรคใบด่าง อาการใบด่างมีหลายลักษณะแล้วแต่สาเหตุที่ทำให้ด่าง อาจเกิดจากเชื้อไวรัส ขาดธาตุอาหาร หรือลักษณะกลายพันธุ์ของพืช สำหรับอาการใบด่างที่เกิดจากไวรัสส่วนมากมีสีเหลืองสลับเขียว เนื้อใบไม่เรียบ เป็นคลื่น และใบมีรูปร่างผิดปกติ เช่น โรคใบด่างเหลืองของฟิตูเนีย โรคใบด่างของกุหลาบ โรคใบด่างของมะลิ เป็นต้น

3.10 โรคแตกพุ่มฝอย บริเวณยอดจะแตกเป็นพุ่มฝอย โดยมีใบเล็ก ๆ รวมกันเป็นกระจุก โรคนี้เกิดจากเชื้อมายโคพลาสมา เช่น โรคแตกพุ่มฝอยของเยอบีรา ดาวเรือง เป็นต้น

4. อาการที่ดอก

พบอาการคล้าย ๆ กับที่เกิดบนใบ เช่น โรคดอกจุด ดอกไหม้ ดอกด่าง ดอกบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ดอกเน่า และแอนแทรคโนส เป็นต้น โรคพวกนี้ส่วนมากเกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส เช่น โรคดอกสนิมของกล้วยไม้ โรคดอกด่างของแคทลียา โรคดอกเน่าของหน้าวัว เป็นต้น

5. อาการที่เกิดกับพืชทั้งต้น

5.1 โรคเหี่ยว ต้นพืชจะแสดงอาการเหี่ยวเฉาในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น การเกี่ยวเนื่องจากการขาดน้ำเมื่อได้น้ำก็จะฟื้นปกติ อาการเหี่ยวใบเหลืองลู่เนื่องจากเชื้อราไปทำลายท่อน้ำและอาหารของพืช อาการเหี่ยวแต่ใบยังเขียวอยู่ระยะหนึ่ง คือแมื่อแดดจัดก็จะเหี่ยว ต่อมาเมื่ออากาศเย็นลงก็จะฟื้นปกติ เป็นอยู่ระยะหนึ่งต่อจากนั้นก็จะเหี่ยวอย่างถาวร โรคนี้เกิดจากการทำลายของเชื้อราหลายชนิด และเชื้อแบคทีเรีย ตัวอย่างเช่น โรคเหี่ยวของฟิตูเนีย โรคเหี่ยวของบานชื่น โรคเหี่ยวของกล้วยไม้ โรคเหี่ยวของมะลิ เป็นต้น

5.2 ต้นพืชแคระแกร็น ต้นพืชจะแสดงอาการแคระแกร็นเมื่อเปรียบเทียบกับต้นปกติ ทั้งนี้อาจเนื่องจากการปฏิบัติดูแลรักษาไม่ดีพอ มีไส้เดือนฝอยหรือแมลงกัดทำลายราก หรือมีเชื้อโรคบางชนิด เช่น ไวรัสเข้าทำลาย ทำให้ต้นพืชไม่สามารถเจริญเติบโตตามปกติได้ มีดอกและผลน้อย

5.3 ต้นพืชเติบโตผิดปกติ โดยต้นที่เป็นโรคจะยืดสูงกว่าต้นปกติ สีเขียวอ่อนและไม่ออกดอก อาจเกิดเนื่องจากได้รับฮอร์โมนที่ผิดปกติ หรือต้นพืชที่ได้รับปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปก็จะทำให้เฝือใบ ไม่ออกดอก เป็นต้น

Reference: baanjomyut.com
อ่าน:3487
ป้องกัน กำจัด แมลงหวีขาว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงศัตรู กัญชา และ กัญชง
ป้องกัน กำจัด แมลงหวีขาว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงศัตรู กัญชา และ กัญชง
การใช้สารอินทรีย์ปลอดภัย ในการป้องกันกำจัดเพลี้ย แมลงหวี่ขาวในกัญชา และกัญชงนั้น การป้องกัน โดยการฉีดพ่นไว้เป็นระยะ จะได้ผลดีกว่าการกำจัด เนื่องจากเมื่อเวลาที่มีการระบาดมากแล้ว บริเวณข้างเคียงก็จะมีการระบาดด้วย เพื่อเราฉีดพ่นสารอินทรีย์ แม้ว่าจะป้องกันกำจัด เพลี้ย แมลงหวี่ขาวในแปลงเราแล้ว สามสี่วันถัดมา พวกที่ระบาดอยู่รอบนอก ในแปลงข้างเคียง หรือในตำบลใกล้ๆกัน ก็อาจจะระบาด และแพร่กระจายมาที่สวน หรือไร่ของเราอีก

ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช ผสมกับ FK-1 เพื่อบำรุงให้พืชฟื้นฟูจากการเข้าทำลายได้ดีขึ้น และสร้่างภูมิต้านทานให้กับ กัญชา กัญชง ทุก 3-5 วันในกรณีที่ระบาดแล้ว หรือทุก 15-30 วัน ในกรณีเพื่อป้องกันการระบาด
อ่าน:3513
โรคกัญชา กัญชาใบไหม้ กัญชาใบเหลือง ดูสาเหตุของโรคและแก้ปัญหา
โรคกัญชา กัญชาใบไหม้ กัญชาใบเหลือง ดูสาเหตุของโรคและแก้ปัญหา
ทั้งอาการใบไหม้ และใบเหลืองของกัญชา เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดได้จากโรค และการขาดธาตุอาหารพืชที่จำเป็น รวมถึงการให้น้ำ และการได้รับแสงแดด ซึ่งการพิจารณาสาเหตุนั้น ต้องสังเกตุอาการ และแก้ปัญหาทีละจุด

ยกตัวอย่างเช่น

อาการใบไหม้ และอาการต่างๆ ที่เกิดจากโรคเชื้อรา
- โรคใบไหม้ โรคใบจุด และโรคใบขีดสีน้ำตาล จะต่างจากการขาดธาตุที่สังเกตุได้คือ โรคที่มีสาเหตุจากเชื้อรา จะลุกลามไปยังใบไหม้ และลุกลามขยายวงไปยังต้นข้างเคียง
- โรคราแป้ง ราสนิม ราน้ำค้าง มีการลุกลามติดต่อเช่นกัน

อาการใบไหม้และโรคต่างๆของกัญชา ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ให้ครอบคลุมบริเวณที่มีการระบาด ทุก 3-5 วัน และคอยสังเกตุอาการ

อาการใบไหม้ และอาการต่างๆ ที่เกิดจากการขาดธาตุ
- ขาด โพแทสเซียม ที่ใบแก่จะเหลืองซีด ขอบใบมีจุดสีน้ำตาลไหม้
- ขาด แมกนีเซียม ใบจะมีจุดเหลืองทั่วทั้งใบ ที่ปลายใบจะแห้ง
- ขาด สังกะสี ใบจะมีจุดเหลืองคล้ายราสนิม

อาการใบเหลือง ใบซีด ก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- ใบเหลือง จากการขาดธาตุ ไนโตรเจน
- ใบเหลือง เพราะกัญชาได้รับแสงไม่เพียงพอ
- ใบเหลือง เพราะรดน้ำมาก หรือน้อยจนเกินไป
- ใบเหลือง เพราะค่า pH หรือความเป็นกรดด่างของดิิน ไม่เหมาะสม
- ใบเหลือง เพราะขาดธาตุเหล็ก
- ใบเหลือง เพราะพืชลดจำนวนคลอโรฟิลล์ เพราะการขาดธาตุรอง หรือธาตุเสริมบางอย่าง

อาการของพืช ที่เกิดจากการขาดธาตุต่างๆ ฉีดพ่น FK ธรรมชาตินิยม ในอัตราส่วน 1 ฝา ต่อน้ำ 1-2 ลิตร ทุก 5-7 วัน

หมายเหตุ สามารถ ผสม ไอเอส และ FK ธรรมชาตินิยม ฉีดพ่นไปพร้อมกันในคราวเดียว

กัญชาใบไหม้ กัญชาใบเหลือง โรครากัญชา โรคกัญชา


การสั่งซื้อ

โทร 090-592-8614

ไลน์ไอดี http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ฟาร์มเกษตร http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ช้อปปี้ http://www.farmkaset..link..
หนอนแมคคาเดเมีย ป้องกันกำจัดหนอน แมคคาเดเมีย ด้วยสาวชีวินทรีย์ ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
หนอนแมคคาเดเมีย ป้องกันกำจัดหนอน แมคคาเดเมีย ด้วยสาวชีวินทรีย์ ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ
หนอนกาแฟสีแดง (red coffee borer: zeuzeracoffeaenietner)

การทำลายมะคาเดเมียของหนอนกาแฟสีแดงมีน้อยมาก พบการทำลายเฉพาะในกิ่งขนาดเล็ก และเป็นกิ่งปลายๆ เท่านั้น โดยกิ่งส่วนที่อยู่เหนือรูเจาะทำลายขึ้นไปจะแห้งตาย เป็นสีน้ำตาล ส่วนลำต้นของแมคคาเดเมียไม่พบการทำลายของหนอนชนิดนี้ การป้องกันกำจัดโดยตัดแต่งกิ่งที่ถูกทำลายออกเผาทิ้ง เพื่อทำลายตัวหนอนที่ยังอยู่ภายใน และป้องกันการขยายพันธุ์ต่อไป

หนอนเจาะลำต้นกาแฟ (xylotrechusquedripeschev.)

ตัวเต็มวัยเป็นด้วงหนวดยาว ซึ่งวางไข่ที่เปลือกของลำต้นระดับคอดิน หนอนระยะแรกแทะกินอยู่ใต้เปลือกลำต้น เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้น จะเจาะเข้าไปภายในลำต้น การป้องกันโดยการใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมรอบโคนต้น จะป้องกันได้ดีกว่าการใช้สารฆ่าแมลง

หนอนเจาะผล (nut boror)

ตัวเต็มวัยวางไข่ที่เปลือกผลบริเวณแนวรอยแตกตามยาวของเปลือก และบริเวณรอบๆ ขั้วผล เมื่อเป็นระยะตัวหนอน จะทำลายเนื้อในภายในกะลา แต่ทำลายเพียงเล็กน้อย โดยชอนเข้าไปอยู่ภายในเปลือก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ผลอ่อนร่วง และทำให้คุณภาพเนื้อในลดลง การสำรวจชนิดของหนอนเจาะผลและการเข้าทำลายในสภาพบนที่สูง พบว่า มีหนอน 2 ชนิด ซึ่งยังไม่ทราบชื่อแน่นอน ชนิดแรกมีขนาด 0.5x1.5 เซนติเมตร ชนิดที่ 2 ขนาด 0.15x1.0 เซนติเมตร ทั้ง 2 ชนิด เริ่มเข้าทำลายผล ตั้งแต่ผลมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.3-3.4 เซนติเมตร ไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว แต่ยังมีการระบาด และทำความเสียหายเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง

Reference
Main content from: sites.google.com/site /extension5701222068/
อ่าน:3465
ตอก - ใช้มัดข้าวหลังการเก็บเกี่ยวข้าวด้วยมือของชาวนา รู้จักกันหรือไม่?
ตอก - ใช้มัดข้าวหลังการเก็บเกี่ยวข้าวด้วยมือของชาวนา รู้จักกันหรือไม่?
ตอก - ใช้มัดข้าวหลังการเก็บเกี่ยวข้าวด้วยมือของชาวนา รู้จักกันหรือไม่?
ตอก หรือ เชือกตอก

เชือกตอก ทำจากไม้ไผ่ โดยการตัดหรือสไลด์ออกเป็นเส้นบางๆ ใช้สำหรับมัดข้าวในขั้นตอนเกี่ยวข้าวด้วยมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วในการทำนาปี ที่เป็นนาดำ และมีการลงแขกเกี่ยวข้าว หากเป็นการใช้รถเกี่ยวข้าว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ตอก หรือเชือกตอกอีกต่อไป ผมเลยสันนิษฐานว่า อีกไม่นาน เราจะไม่เห็นเชือกตอก หรือจะค่อยๆหายไปตามการเวลา และจะหาดูได้อยากในอนาคตอันใกล้นี้

เมื่อถึงเวลาใกล้เกี่ยวข้าว หรือใกล้ๆกับต้นเดือนธันวาคมของทุกปี จะเริ่มเข้าฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ชาวนามีคำท่องติดปากเล่นๆว่า ข้าวนาปี ปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อ อันนี้เป็นวิธีการจดจำช่วงเวลาการทำนาง่ายๆ ไว้สำหรับบอกกล่าวกับคนทั่วไป ที่ไม่ได้เป็นชาวนา เวลามาถามว่า ข้าวนาปีปลูกเมื่อไหร่
อ่าน:3451
กัญชา กัญชง: จากสิ่งต้องห้ามเป็นสิ่งต้องมี
กัญชา กัญชง: จากสิ่งต้องห้ามเป็นสิ่งต้องมี
กัญชานั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายมาเกือบร้อยปีในเกือบทุกประเทศทั่วโลก เนื่องด้วยสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทในต้นกัญชา อย่างไรก็ตาม ด้วยประโยชน์ทางการแพทย์ของกัญชาที่นักวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบันได้ค้นพบพืชสมุนไพรชนิดนี้ จึงกลายเป็นโอกาสใหม่ของนักธุรกิจ_ นักลงทุน_ ผู้บริโภค และผู้ป่วยทั่วโลก

ช่วงปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา หลังรัฐประกาศอนุญาตให้ภาคเอกชนไทยปลูกกัญชงได้ หุ้นไทยที่มีแผนทำธุรกิจเกี่ยวกับกัญชงได้ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้รับความสนใจจากทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติ โดยประเทศไทยนั้นถือเป็นประเทศแรกในเอเชียที่อนุญาตให้มีการปลูกทั้งกัญชงและกัญชา โดยกัญชงนั้นทางภาครัฐอนุญาตให้ภาคเอกชนมาขออนุญาตปลูกได้ ส่วนการปลูกกัญชานั้นยังคงจำกัดให้เพียงบางหน่วยงานที่ได้รับอนุญาต เช่น โรงพยาบาล_ สถาบันการศึกษา และวิสาหกิจชุมชน

แม้ว่ากัญชาและกัญชงจะเป็นพืชที่คล้ายคลึงกันมาก เส้นแบ่งที่ชัดเจนที่สุดคือปริมาณสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (tetrahydrocannabinol หรือ THC) โดยเหตุผลที่รัฐเปิดกว้างให้กับพืชกัญชงมากกว่านั้นเป็นเพราะกัญชงมีสาร THC น้อยจนไม่ก่อให้เกิดการนำมาสูบจนมึนเมาได้ ในขณะที่ในกัญชามีปริมาณ THC ในระดับที่สูงกว่าและเมื่อนำกัญชามาสูบแล้วจะมีสารออกฤทธิ์มึนเมา แต่สำหรับสารสำคัญที่ทำให้ทั้งกัญชาและกัญชงได้รับความนิยมเพื่อใช้ทางการแพทย์ คือสาร Cannabidiol หรือ CBD ซึ่งสามารถรักษาและบรรเทาโรคและอาการได้หลากหลาย เช่น โรคลมชัก_ พาร์กินสัน หรือแม้กระทั่งช่วยลดความทรมานจากการทำคีโมรักษามะเร็ง ประโยชน์ของ CBD นั้นมีหลายประการจนในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลกได้ทำการปลดล็อกให้กัญชงและกัญชาสำหรับใช้ทางการแพทย์ถูกกฎหมาย

นอกจากประโยชน์ด้านการแพทย์ของ CBD อีกสาเหตุที่นักลงทุนให้ความสนใจต่อการเข้ามาของธุรกิจกัญชงถูกกฎหมายนั้นก็เพราะกัญชาและกัญชงนับเป็นพืชที่มีมูลค่าสูงมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก สำหรับเกษตรกรไทย ถ้าเลือกที่จะปลูกข้าวอาจมีรายได้เพียงหลักหมื่นต่อไร่ต่อปี ในขณะที่ปลูกกัญชงอาจได้ผลิตผล (โดยเฉพาะดอกกัญชงแห้งที่มีสาร CBD สูง) ที่มีมูลค่าหลักล้านบาทต่อไร่ต่อปี และการที่กัญชาเป็นพืชล้มลุก ระยะเวลา 1 การเก็บเกี่ยวประมาณสี่เดือน ทำให้ปีหนึ่งสามารถปลูกได้ถึง 1-3 รอบ ในขณะที่ผลไม้ยืนต้น เช่น ทุเรียน มังคุด สามารถเก็บเกี่ยวได้เพียงหนึ่งครั้งต่อปี

สำหรับภาพตลาดกัญชาทั่วโลก อ้างอิงข้อมูลจาก MarketsandMarkets ปี 2020 ตลาดกัญชาทั่วโลกมีขนาด 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดการณ์จะเติบโตได้ต่อเนื่องในอัตรา 28% ต่อปี จนมีขนาด 9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2026 การเติบโตที่แข็งแกร่งนี้ก็จะมาจากการค่อยๆ ทยอยปลดล็อกกฎหมายกัญชาในแต่ละประเทศทั่วโลก และการเพิ่มการใช้ในประเทศที่กัญชาถูกกฎหมายอยู่แล้ว โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นตลาดของการบริโภคกัญชาถูกกฎหมายที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งประเทศแคนาดาได้มีการออกกฎหมายให้กัญชาถูกกฎหมาย ทั้งการใช้เพื่อการแพทย์และสันทนาการไปแล้วตั้งแต่ปี 2018 ส่วนในประเทศอเมริกาแต่ละรัฐก็มีการทยอยแก้กฎหมายกัญชาอย่างต่อเนื่อง

ในเวลาเดียวกันกับกระแสหุ้นกัญชงในประเทศไทย หุ้นกัญชาที่จดทะเบียนในอเมริกาก็ปรับตัวขึ้นอย่างมากเช่นกันตั้งแต่ต้นปี 2021 ได้แก่ Tilray ปรับตัวขึ้น 227%_ Aphria 192%_ Canopy Growth 37%_ Aurora 26% (หมายเหตุ: หุ้นสองตัวแรกขึ้นแรงเป็นพิเศษจากปัจจัยการควบรวมกันและจากการถูกดันโดยชาว Reddit) หลักๆ จากความหวังว่า ประธานาธิบดีไบเดนจะแก้กฎหมายให้กัญชาถูกกฎหมายในระดับสหพันธรัฐ (Federal level) หรือหมายถึงกฎหมายที่บังคับใช้ทั่วประเทศอเมริกา จากที่ปัจจุบันการใช้กัญชายังถือเป็นความผิดทางอาญาระดับสหพันธรัฐ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแต่ละรัฐสามารถออกกฎหมายกัญชาแยกแตกต่างกันไปได้ เช่น รัฐแคลิฟอร์เนียกัญชาถูกกฎหมายทั้งเพื่อใช้ในการแพทย์และเพื่อสันทนาการ ในขณะที่รัฐเพนซิลเวเนียกัญชานั้นถูกกฎหมายเฉพาะเพื่อการแพทย์ โดยปัจจุบันมีทั้งสิ้น 15 รัฐที่สามารถใช้กัญชาเพื่อสันทนาการได้ และ 34 รัฐที่สามารถใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ได้

X

แม้ว่าหุ้นกัญชาที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ โดยภาพรวมจะยังขาดทุนอยู่ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงโดยเฉพาะค่า R&D แต่ถ้าการเติบโตของยอดขายมีอย่างต่อเนื่องก็จะสามารถกำไรได้ในที่สุด โดยหุ้นกัญชาบางตัวก็เริ่มมี EBITDA เป็นบวกแล้ว (EBITDA คือ กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย)

สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในธุรกิจกัญชาต่างประเทศก็ควรจะศึกษาในรายละเอียดเพื่อเพิ่มความรู้และความเข้าใจในธุรกิจ เลือกบริษัทที่ผู้บริหารมีความสามารถและมีศักยภาพในการเติบโต ประกอบกับเลือกหุ้นที่มูลค่าสมเหตุผล นอกจากนี้ ควรกระจายการลงทุนในหลายบริษัท ไม่ลงทุนกระจุกตัวจนเกินไปเพื่อลดความเสี่ยงเฉพาะของแต่ละบริษัท นักลงทุนควรศึกษากฎระเบียบของตลาดที่จะลงทุนรวมถึงภาษี รวมถึงการเปิดบัญชี Broker ซื้อขายหลักทรัพย์ และการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน อีกทางเลือกหนึ่ง นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวม หรือ Exchange Traded Fund (ETF) ที่ลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจกัญชาหลายๆ ตัวไว้ด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ETFMG Alternative Harvest ที่ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกัญชา ยาสูบ และอื่นๆ ครอบคลุมถึงกัญชาเพื่อการแพทย์และสันทนาการ

ในอดีตนักลงทุนอาจจะมองว่ากัญชาเป็นสิ่งเสพติด แต่หากเรามองถึงประโยชน์ทางการแพทย์ของสาร CBD ในกัญชา การลงทุนในหุ้นกัญชาก็ไม่ต่างจากการลงทุนธุรกิจนวัตกรรมสุขภาพ ที่จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยนานาประเทศ

Reference: โดย ผู้จัดการออนไลน์
อ่าน:3380
เผยปลูกกัญชง 4 เดือน ฟันกำไร 2 ล้าน ต้องรู้เทคนิค แนะจุดต่างกัญชา
เผยปลูกกัญชง 4 เดือน ฟันกำไร 2 ล้าน ต้องรู้เทคนิค แนะจุดต่างกัญชา
นักวิชาการ เผยปลูกกัญชง 4 เดือน ฟันกำไร 2 ล้าน ต้องรู้เทคนิค แนะจุดต่างกัญชา

ชื่อของ “กัญชง” ถูกพูดถึง ถูกสงสัย และกลายเป็นพืชที่คนไทยอยากรู้จักมากที่สุด ภายหลังจากที่ ครม.ไฟเขียว เห็นชอบ ร่างกฎกระทรวง ดัน “กัญชง” เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่

ส่วน “กัญชง” คืออะไร ปลูกยังไง ปลูกแล้วรวยหรือไม่ และแตกต่างจากกัญชาอย่างไร ทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์ พูดคุยกับ รศ.ดร.วิเชียร กีรตินิจกาล ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาควิชาพืชไร่นา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และที่ปรึกษา การปลูกและการปรับปรุงพันธุ์กัญชา องค์การเภสัชกรรม มีข้อมูลน่าสนใจมากมาย ทีมข่าวไล่เรียงใจความสำคัญมาให้ ดังต่อไปนี้

กัญชง VS กัญชา แตกต่างกันอย่างไร?
“อันที่จริงแล้ว กัญชง กับ กัญชา เป็นพืชวงศ์เดียวกัน ถือว่าเป็นพี่น้องกันก็ว่าได้ เพียงแต่ทั้งคู่จะมีความแตกต่างทางกายภาพ และปริมาณสารสำคัญ ซึ่งสหประชาชาติกำหนดไว้ว่า ในกัญชง ต้องมีสาร THC ต่ำกว่า 0.2% แต่สำหรับประเทศไทยกำหนดไว้ว่า ต้องมี THC ไม่เกิน 1% และไม่ให้ใช้ในอาหาร” รศ.ดร.วิเชียร กล่าว

โดย "กัญชง" และ "กัญชา" จะมีลักษณะทางกายภาพแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

กัญชง - มีลำต้นสูงประมาณ 2 เมตรขึ้นไป สูงใหญ่กว่ากัญชา แตกกิ่งก้านน้อย ใบเป็นสีเขียวอมเหลือง มีแฉกประมาณ 7-9 แฉก แต่กัญชงมีข้อแตกต่างที่ชัดเจนจากกัญชา คือ ชั้นของกิ่งจะสูงชะลูดกว่ากัญชา และถึงแม้ว่า กัญชงจะมีใบเหมือนกัญชา แต่มีสีเขียวเหลืองมากกว่ากัญชา

ขณะที่ กัญชง จะมีสารสำคัญที่จะกล่าวถึงต่อไป คือ THC (Tetrahydro Cannabionol สารออกฤทธิ์ทางจิตประสาททำให้เมา) และ CBD (Cannabinol ไม่ออกฤทธิ์ทางจิตประสาทและไม่เมา)

กัญชา - ส่วนกัญชามีความสูงไม่ถึง 2 เมตร แตกกิ่งก้านมาก มีใบประมาณ 5-7 แฉก เป็นสีเขียวถึงเขียวจัด ส่วนใบเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้ง โดยมีสรรพคุณช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการได้รับเคมีบำบัด ช่วยผ่อนคลาย แต่หากเสพในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตัวเองไม่ได้

ประโยชน์ “กัญชง”
โดย รศ.ดร.วิเชียร แบ่งประโยชน์ของกัญชง ออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใย (ชาวเขาในประเทศไทยปลูก)
การปลูกกัญชงเพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใยจะใช้ในส่วนของลำต้น ซึ่งเส้นใยของกัญชงนั้น มีคุณภาพสูง จึงถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเป็นผลิตภัณฑ์ ได้มากกว่า 50_000 รายการ เช่น เสื้อผ้า_ เยื่อกระดาษ_ เชือก_ กระเป๋า_ ฉนวนกันความร้อน_ วัสดุก่อสร้าง_ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ส่วนกากใยที่เหลือก็สามารถนำไปผลิตเป็นเอทานอลได้อีกด้วย

“เส้นใยของกัญชงมีความแข็งแรงมากกว่าฝ้ายถึง 2 เท่า เพราะฉะนั้น เสื้อยืด cotton ธรรมดา ราคาส่งในตลาดอาจอยู่ที่ 30-60 บาท แต่พอเป็นเสื้อที่ผสมใยกัญชง ราคาส่งในตลาดจะพุ่งไปที่ 120-150 บาททันที”

2. ปลูกเพื่อเอาเมล็ด (เมืองไทยยังไม่มีใครปลูก)
ขณะเดียวกัน เมล็ดของกัญชงก็ยังสามารถสกัดเป็นน้ำมันคุณภาพเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร_ เครื่องสำอาง และยังมีโอเมก้า 3 ที่สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหารได้ อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยยับยั้งความเสื่อมของเซลล์ ลดภาวะการอักเสบของผิวหนังได้อีกด้วย

"โดยมูลค่าของน้ำมันจากเมล็ดกัญชง 1 ลิตรจะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 3_000-4_000 บาท” รศ.ดร.วิเชียร กล่าว

3. ปลูกเพื่อเอาสาร CBD (ประเทศไทยปลูกได้ แต่ห้ามเอามาใส่ในอาหารเสริม แต่สามารถเอามาใช้เป็นยาได้)
“การปลูกกัญชงเพื่อเอาสาร CBD จะใช้ส่วนของดอก ซึ่งกัญชงประเภทนี้ จะมีความคล้ายกัญชามากๆ และจะมีสาร THC น้อยมาก แต่ให้สาร CBD สูง” รศ.ดร.วิเชียร กล่าว

“การนำ CBD มาใช้เป็นยา ถือว่าให้ผลที่ดีมาก ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในไทยป่วยเป็นลมชัก อาการอยู่ในระดับแย่มาก แต่เมื่อใช้สารสกัด CBD ก็สามารถรอดชีวิตมาได้ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า นักศึกษาคนหนึ่งที่กำลังจะตาย เพราะไม่มียารักษา กลับรอดด้วยสาร CBD จากกัญชง และนอกจากนี้ สาร CBD ยังช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของการนอนไม่หลับ_ การเจ็บป่วย (ทดแทนมอร์ฟีน)_ รักษาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน_ ผลิตภัณฑ์กลุ่มรักษาสิว และเครื่องสำอางได้อีกด้วย” รศ.ดร.วิเชียร กล่าว

ปลูกกัญชงแล้วจะรวยหรือไม่?
เมื่อถามว่า การปลูกกัญชง จะทำให้รวยหรือไม่? รศ.ดร.วิเชียร ผู้มากประสบการณ์ในการวิจัยและพัฒนากัญชง ให้คำตอบว่า “ถ้าถามว่า ปลูกกัญชงแล้วจะรวยไหม คำตอบก็คือ มีโอกาสที่รายได้จะดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งการปลูกกัญชงที่ชาวเขาปลูก มีรายได้ไร่ละ 2_000-3_000 บาท จึงไม่มีใครอยากปลูก เพราะรายได้น้อยมาก แต่ถ้าคุณปลูกพันธุ์ที่ดี คุณปลูกถูกวิธี คุณก็จะได้เงินเยอะ เพราะฉะนั้น คุณต้องรู้ว่า คุณควรปลูกกัญชงเพื่อใช้ประโยชน์แบบไหน และคุณต้องรู้ว่า คุณจะปลูกไปขายให้ใคร”

“การปลูกกัญชงเพื่อเอาเส้นใย จะได้เงินน้อยกว่าการปลูกกัญชงเพื่อเอาเมล็ด แต่การปลูกกัญชงเพื่อเอาเมล็ดก็จะได้เงินน้อยกว่าการปลูกกัญชงเพื่อเอาสาร CBD” รศ.ดร.วิเชียร กล่าว

โดย รศ.ดร.วิเชียร กล่าวถึงผลกำไรจากการปลูก “กัญชง” ซึ่งใช้ระยะเวลาในการปลูกรอบละ 4 เดือน บนพื้นที่ 1 ไร่ จะได้ผลกำไรโดยประมาณ(หากปลูกอย่างถูกวิธี) ดังต่อไปนี้

ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใย --> กำไร 2_000 บาท
ปลูกเพื่อเอาเมล็ด --> กำไร 20_000 บาท
ปลูกเพื่อเอาสาร CBD (ขาดตลาด ความต้องการสูงมาก) --> กำไร 2_000_000 บาท หรือเฉลี่ยกิโลกรัมละประมาณ 70_000 กว่าบาท
“แม้สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงจะอนุญาตให้ปลูกกัญชงได้ครัวเรือนละไม่เกิน 1 ไร่ แต่ต้องมีใบอนุญาตปลูก พร้อมระบุสายพันธุ์ที่ได้รับอนุญาต แต่ภาครัฐก็ต้องอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจด้วยว่า การปลูกกัญชงสามารถนำไปขายใครได้บ้าง ปลูกอย่างไร เพราะถ้าปลูกไปแล้ว แต่ไม่รู้จะเอาไปขายใคร ก็เปล่าประโยชน์” รศ.ดร.วิเชียร ทิ้งท้าย.

Reference: thairath.co.th/news/ local/bangkok/1761733
อ่าน:3367
กัญชา-กัญชง ต่างกันอย่างไร กฎหมายอนุญาตใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
กัญชา-กัญชง ต่างกันอย่างไร กฎหมายอนุญาตใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
กัญชา เป็นพืชที่เราคุ้นชื่อมานานและรู้จักในนามของพืชต้องห้ามเพราะกฎหมายจัดว่าเป็นยาเสพติด ส่วนกัญชง ก่อนหน้านี้เราไม่คุ้นชื่อกันเท่าไหร่ แต่ช่วงหลัง ๆ ก็เริ่มได้ยินบ่อยจนคุ้นหูมากแล้วเหมือนกัน เนื่องจากรัฐบาลปัจจุบันได้ปลดล็อกให้ใช้ประโยชน์มากมายของพืช 2 ชนิดนี้ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และเศรษฐกิจ

คำว่า “ปลดล็อก” ไม่ได้หมายความว่า พืช 2 ชนิดนี้ถูกถอดออกจากรายชื่อยาเสพติดแล้ว แต่หมายถึงการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ได้ภายใต้กรอบกฎหมาย

กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวง เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ให้บางส่วนของต้นกัญชาและกัญชงไม่จัดเป็นยาเสพติด

ส่วนต่าง ๆ ของกัญชาที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด ได้แก่ เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย สารสกัด CBD ที่มี THC ไม่เกินร้อยละ 0.2% และกากที่เหลือจากการสกัดกัญชา ซึ่งต้องมี THC ไม่เกิน 0.2%

ส่วนต่าง ๆ ของกัญชงที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด ได้แก่ เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย สารสกัด CBD ที่มี THC ไม่เกิน 0.2% เมล็ด น้ำมันหรือสารสกัดจากเมล็ด และกากที่เหลือจากการสกัดกัญชง ซึ่งต้องมี THC ไม่เกิน 0.2%

ประชาชน เอกชน สามารถใช้ประโยชน์จากส่วนเหล่านี้ของกัญชาและกัญชงได้ แต่มีข้อกำหนดว่าต้องได้มาจากสถานที่ปลูกหรือผลิตในประเทศ ซึ่งได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น กรณีการนำเข้าสามารถนำเข้าได้ โดยขออนุญาตเป็นยาเสพติด ยกเว้นเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง และเส้นใยแห้ง ได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดตามประกาศนี้

กรณีกัญชงนั้นก้าวหน้าไปก่อนกัญชาแล้ว เพราะกระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎกระทรวง เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2563 ให้ขออนุญาตปลูก ผลิต ส่งออก จำหน่าย ครอบครองได้ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2564 ส่วนการนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชงเข้ามาปลูกจะสามารถทำได้ภายใน 5 ปี นับตั้งแต่กฎกระทรวงฉบับนี้บังคับใช้

ทราบเรื่องทางกฎหมาย-การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์กันแล้ว เรามาทำความรู้จักกัญชากับกัญชงกันต่อซิว่า มีความเหมือนและความต่างกันอย่างไร

อย่างที่เราเห็นกันว่า กัญชา กัญชง มีความคล้ายความเหมือนทั้งชื่อและรูปร่างหน้าตา จริง ๆ แล้ว กัญชาและกัญชงเป็นพืชที่มีต้นกำเนิดจากพืชชนิดเดียวกัน คือ Cannabis sativa L. ในวงศ์ Cannabidaceae จึงทำให้ลักษณะภายนอกแตกต่างกันน้อยมาก แต่หลังจากที่มีการนำพืชทั้ง 2 ชนิดนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง โดยในอดีตกัญชาถูกใช้เป็นยารักษาโรคและเพื่อการสันทนาการ ขณะที่กัญชงเป็นพืชที่นำเส้นใยมาใช้สำหรับการถักทอ จึงมีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีสุด ทำให้กัญชงและกัญชามีความแตกต่างกันเกิดขึ้น

กัญชา (Marijuana) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L.subsp. indica ต้นสูงไม่มากหากเทียบกับกัญชง โดยมีความสูงไม่เกิน 2 เมตร มีลักษณะเป็นต้นพุ่ม แตกกิ่งก้านสาขาค่อนข้างมาก ลำต้นเป็นปล้องหรือข้อสั้น ใบสีเขียวจัด มี 5-7 แฉก โดยจะเรียงชิดกัน จะออกดอกเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน และช่อดอกมียางมาก

กัญชง (Hemp) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L.subsp. sativa โดยทั่วไปจะมีลำต้นสูงกว่ากัญชา หรือสูงมากกว่า 2 เมตร มีลักษณะลำต้นสูงเรียว แตกกิ่งก้านสาขาน้อย ปล้องหรือข้อยาว ใบสีเขียวอ่อน มีประมาณ 7-11 แฉก โดยใบมีการเรียงสลับค่อนข้างห่างอย่างชัดเจน กัญชงจะออกดอกเมื่ออายุมากกว่า 4 เดือน และช่อดอกมียางไม่มาก

การจะแยกแยะพืชสองพี่น้องนี้ด้วยตาเปล่า เราต้องจำลักษณะสำคัญของมันว่า กัญชาต้นเตี้ยและใบอ้วน ส่วนกัญชงต้นสูงและใบเรียว

นอกจากลักษณะทางกายภาพที่ค่อนข้างต่างกันแล้ว สารสกัดที่ได้จากพืชทั้ง 2 ชนิดก็มีปริมาณที่ต่างกันด้วย กัญชงและกัญชามีสารที่เรียกว่า THC (Tetrahydroconnabinol) และ CBD (Canabidiol) ซึ่งสารเหล่านี้จะเป็นตัวแบ่งแยกพืชทั้ง 2 ชนิดนี้ออกจากกัน

THC เป็นสารที่ทำให้เมาหรือเคลิบเคลิ้ม พบได้มากในกัญชา โดยมีประมาณ 1-20% ส่วนกัญชงมีสารชนิดนี้น้อยกว่า 1% ในทางการแพทย์สาร THC มีประโยชน์ช่วยลดอาการปวด ช่วยเพิ่มความอยากอาหาร รักษาผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด แต่การใช้สารชนิดนี้ในการรักษาก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยปากแห้ง ตาแห้ง หรือการตอบสนองช้าลงได้

ส่วนสาร CBD ซึ่งเป็นสารที่พบได้ในกัญชงมากกว่ากัญชา คือพบประมาณ 2% แต่ในกัญชามีสารชนิดนี้อยู่น้อยมาก เมื่อเสพสารชนิดนี้เข้าไปจะไม่มีอาการเมาหรือเคลิบเคลิ้มเหมือนกัญชา คุณสมบัติทางการแพทย์ของ CBD มีหลากหลาย ช่วยลดอาการปวด แก้อาการนอนไม่หลับ แก้อาการโรคลมชัก แม้จะใช้ในปริมาณมากก็ไม่มีผลข้างเคียง และสารนี้ยังนิยมนำมาใช้ในเครื่องสำอางและสกินแคร์ต่าง ๆ ด้วย

อีกประโยชน์หนึ่งของกัญชง คือ เป็นพืชที่ให้เส้นใยยาว เส้นใยมีความละเอียดใกล้เคียงกับลินิน มีความเหนียวทนทาน และมีความเงางาม ครบถ้วนคุณสมบัติเส้นใยชั้นดี จึงเป็นเส้นใยชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มกันมาเป็นเวลายาวนานแล้ว ในปัจจุบันผ้าที่ทอจากเส้นใยกัญชงมีราคาสูงและเป็นที่ต้องการมาก

ด้วยประโยชน์ที่หลากหลาย ใช้งานได้เกือบทุกส่วน จึงไม่น่าแปลกใจที่ทั้งกัญชาและกัญชงกำลังได้รับความสนใจอย่างมาก ไม่ใช่แค่ในระดับรายย่อยเท่านั้น ได้ข่าวว่าบริษัทใหญ่ ๆ ก็กำลังสนใจโอกาสใหม่นี้เช่นกัน

Reference: prachachat.net/d-life/news-618836
อ่าน:3416
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงที่ไม่ได้ทำนาปี ก็ปลูกผักสวนครัว ปลูกถั่วขายตามหมู่บ้าน
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงที่ไม่ได้ทำนาปี ก็ปลูกผักสวนครัว ปลูกถั่วขายตามหมู่บ้าน
ในจังหวัดอำนาจเจริญ ทำนาได้เพียงปีละครัง ทำนาปรังไม่ได้ เนื่องจากไม่มีระบบชลประทาน ที่ให้น้ำเพียงพอที่จะให้เกษตรกร สามารถทำนาได้ปีละ 2-3 ครั้ง เหมือนทางภาคกลาง เว้นว่างจากการทำนา เกษตรกรก็จะเลี้ยงวัว ปลูกผัก ปลูกถั่ว ปลูกแตงโม โดยมากแล้ว ทำไว้เพื่อมีทานเอง เหลือก็เอาไปขายตามหมู่บ้าน
อ่าน:3400
3518 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 351 หน้า, หน้าที่ 352 มี 8 รายการ
|-Page 309 of 352-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
เผยความลับของโรงงานผลิตปุ๋ย มีแม่ปุ๋ยเพียง 3 สูตร ก็ผสมเป็นได้ทุกสูตร และทุกคนก็ทำเองได้! ต้นทุนค่าปุ๋ยต่ำลงอย่างมาก
Update: 2566/01/21 07:23:56 - Views: 3447
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนกระทู้กล้า ในต้นข้าว และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/28 14:24:06 - Views: 3413
ไม้ดอกเป็นโรค ไม้กระถางเป็นโรค ลักษณะอาการโรค ของไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง
Update: 2564/04/10 11:02:37 - Views: 3487
แก้วมังกร เปลือกเน่า ราสนิม โรคเชื้อราในแก้วมังกร กำจัดด้วย ไอเอส
Update: 2562/08/12 20:29:17 - Views: 3459
กำจัดหนอน ใน ต้นข้าว เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/18 14:36:42 - Views: 3446
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนแดง ใน ฝรั่ง และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/28 14:03:29 - Views: 3384
คำนิยม ขอบคุณลูกค้าท่านนี้ ทำสวนทุเรียน สั่งซื้อ FK-1 ฉีดพ่นทุเรียนต่อเนื่อง
Update: 2564/02/20 00:24:13 - Views: 3412
กำจัดเพลี้ย ใน องุ่น เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/16 15:58:28 - Views: 3467
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าไรแดง ในแตงกวา และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/27 14:24:57 - Views: 3440
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าปลวก ในไร่อ้อย และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/27 08:22:46 - Views: 3422
กุยช่าย ใบจุด ราสนิม กำจัดโรคกุยช่าย จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK สวน ปุ๋ย ศัตรูพืช
Update: 2565/11/12 09:53:47 - Views: 3449
โรคใบไหม้ลีลาวดี ลั่นทม เกิดจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม #ลีลาวดีใบไหม้ #ลั่นทมใบไหม้
Update: 2564/10/30 03:05:48 - Views: 3380
วันนี้ที่ฟาร์มเกษตร เปลี่ยนน้ำปลาคาร์ฟ พบลูกปลาคาร์ฟ ที่เกิดเองจำนวนมาก
Update: 2567/06/08 08:01:46 - Views: 8843
กรมส่งเสริมการเกษตร ตั้ง คลินิกพืช ปั้นนักส่งเสริมเป็น หมอพืช วินิจฉัยโรคพืช แก้ปัญหาให้กับเกษตรกรตรงจุด
Update: 2564/08/12 22:07:12 - Views: 3389
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราแป้ง ในกัญชา กัญชง ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/21 09:48:20 - Views: 3488
มะเขือเทศ โตไว ใบเขียว ผลใหญ่ ผลผลิตดี ฉีดพ่นปุ๋ย FK-1 ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20เปอร์เซ็นต์
Update: 2566/04/17 10:39:52 - Views: 3405
โรคยางพาราใบจุด ใบร่วง ราสีชมพู ใช้ ไอเอส และ บำรุงให้ฟื้นตัวด้วย FK-1
Update: 2565/12/07 07:03:17 - Views: 3392
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในผักกวางตุ้งอย่างมีประสิทธิผล
Update: 2566/05/11 09:54:24 - Views: 3394
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าไรแดง สายเขียว และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/08 13:09:18 - Views: 3439
ความสำเร็จอันหอมหวานของการปลูกทุเรียน: คู่มือสำหรับเกษตรกร
Update: 2566/04/28 13:19:39 - Views: 7626
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022