ผักบุ้งทะเล ชื่อสามัญ Goat’s foot creeper_ Beach morning glory
ผักบุ้งทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea pes-caprae (L.) R. Br.(ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Convolvulus pes-caprae L._ Ipomoea biloba Forssk.) จัดอยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)
สมุนไพรผักบุ้งทะเล มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักบุ้งต้น ผักบุ้งขน (ไทย)_ ผักบุ้งเล (ภาคใต้)_ ละบูเลาห์ (มะลายู-นราธิวาส)_ หม่าอานเถิง (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะของผักบุ้งทะเล
ต้นผักบุ้งทะเล จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน สามารถเลื้อยไปได้ยาวมาก ประมาณ 5-30 เมตร ลักษณะของลำต้นหรือเถากลมเป็นสีเขียวปนแดงหรือเป็นสีแดงอมม่วง ผิวเกลี้ยงลื่น ตามข้อจะมีรากฝอย ภายในกลวง ทั้งต้นและใบมียางสีขาว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและตัดลำต้นปักชำ เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี มักขึ้นตามหาดทรายหรือริมทะเล
ใบผักบุ้งทะเล ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปกลม รูปไข่ รูปไต หรือรูปเกือกม้า ปลายใบเว้าบุ๋มเข้าหากัน โคนใบสอบแคบเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 7-11 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร เส้นใบเป็นแบบขนนก เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบมันเป็นสีเขียว หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบยาวมีสีแดง
ดอกผักบุ้งทะเล ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่มตามง่ามใบ ในช่อดอกจะมีดอกประมาณ 2-6 ดอก และจะทยอยบานทีละดอก ลักษณะของดอกเป็นรูปปากแตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ส่วนปลายดอกบานเป็นรูปปากแตร มี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกกลมรี แตกออกเป็นแฉก 5 แฉก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน ดอกเป็นสีม่วงอมชมพู สีม่วงอมแดง สีชมพู หรือเป็นสีม่วง ผิวเกลี้ยง ด้านในของดอกส่วนโคนจะมีสีเข้มกว่าด้านนอก ส่วนกลีบดอกเลี้ยงเป็นสีเขียว และดอกจะเหี่ยวง่าย
ต้นช่วยทำให้เจริญอาหาร (ต้น)
ทั้งต้นมีรสเผ็ด ขม เค็ม เป็นยาเย็นเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อม้ามและตับ ใช้เป็นยาขับลม ขับน้ำชื้น (ทั้งต้น)
ช่วยแก้หวัดเย็น (ทั้งต้น)
ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ราก)
ใช้แก้อาการจุกเสียด (ใบ)
เมล็ดมีรสขื่น ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง (เมล็ด)
รากใช้เป็นยาแก้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ราก)
เมล็ดใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย (เมล็ด)
รากเป็นยาขับปัสสาวะ ขับปัสสาวะในโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ราก)
ใบใช้เข้ากับสมุนไพรอื่น นำมาต้มเอาไอรมรักษาริดสีดวงทวาร (ใบ)ผลผักบุ้งทะเล ลักษณะของเป็นรูปมนรีหรือรูปไข่มีเหลี่ยมคล้ายแคปซูล ผิวผลเรียบ พอผลแห้งจะแตกออกได้ มีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดลักษณะกลม เป็นสีเหลือง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 มิลลิเมตร มีขนสีน้ำตาลปกคลุม
สรรพคุณของผักบุ้งทะเล
1. ใบใช้เป็นยาทาภายนอก แก้แผลเรื้อรัง หรือนำไปต้มกับน้ำใช้ล้างแผล (ใบ) น้ำคั้นจากใบนำมาต้มกับน้ำมะพร้าว ทำเป็นขี้ผึ้งทาแผลได้ชนิดรวมทั้งแผลเรื้อรัง (ใบ)
2. ทั้งต้นช่วยกระจายพิษ แก้พิษฝีบวม ฝีหนองบวมแดงอักเสบ แก้งูสวัด (ทั้งต้น)[4] ส่วนใบนำมาโขลก พอก ถอนพิษ แก้พิษต่าง ๆ เช่น พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ปลา สัตว์ทะเลอื่น ๆ แมลง เป็นต้น (ใบ)
3. ต้นใช้เป็นยาถอนพิษลมเพลมพัดหรืออาการบวมที่เปลี่ยนไปตามอวัยวะทั่วไป (ต้น_ ทั้งต้น)
4. ใช้เป็นยาทาแก้อาการอักเสบ แก้พิษจากแมงกะพรุนไฟ ทำให้แผลหายเร็วและไม่เป็นแผลเป็น ตามตำรายาระบุให้ใช้ต้นสดนำมาตำให้พอแหลกผสมกับน้ำส้มสายชู นำมาใช้ทาบริเวณที่เป็น ส่วนตำรายาไทยระบุให้ใช้ใบสดประมาณ 10-15 ใบ นำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำทาแผลบริเวณที่ถูกแมงกะพรุน หรือจะตำกับเหล้าใช้เป็นยาพอกก็ได้ หรืออาจจะใช้รากสด 1 ราก นำมาฝนกับน้ำฝนให้ข้น ๆ ผสมกับเหล้าโรงหรือแอลกอฮอล์ แล้วใช้ทาบ่อย ๆ หรือจะใช้ทั้งต้นนำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำหรือนำมาตำผสมกับเหล้าใช้เป็นยาทาหรือพอกก็ได้เช่นกัน (ก่อนทายาให้ใช้ทรายขัดบริเวณที่โดนพิษแมงกะพรุนเพื่อเอาเมือกของแมงกะพรุนออกไปให้หมดก่อนและให้ทาวันละ 2-3 ครั้ง เช้า กลางวัน และเย็น จนกว่าจะหาย) (ต้น_ ราก_ ใบ_ ทั้งต้น)
5. ใบใช้เป็นยาพอกหรือต้มอาบรักษาโรคผิวหนัง (ใบ)
6. ต้นนำมาต้มกับน้ำอาบแก้อาการคันตามผิวหนัง (ต้น_ ทั้งต้น) ส่วนรากใช้เป็นยาแก้ผดผื่นคันมีน้ำเหลือง (ราก)
7. ใช้แก้ผดผื่นคันบริเวณหลังเนื่องจากการกดทับ ตามตำรายาระบุให้ใช้ใบสดนำมาตำให้แหลก คั้นเอาแต่น้ำ ใช้ทาบริเวณที่เป็น (ใบ)
8. ตำรายาแก้ฝีหนองภายนอกระบุให้ใช้ต้นสดนำมาตำให้พอแหลก ผสมกับน้ำตาลทรายแดงหรือน้ำผึ้ง แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (ต้น)
9. เมล็ดใช้เป็นยาแก้ตะคริว ป้องกันตะคริว (เมล็ด)
10. ใบมีรสขื่นเย็น ใช้ภายนอกเป็นยาทาแก้โรคไขข้ออักเสบ แก้ปวดไขข้ออักเสบมีหนอง (ใบ)
11. ช่วยแก้ลมชื้นปวดเมื่อยตามข้อ แก้เหน็บชา (ทั้งต้น)
12. ช่วยแก้โรคเท้าช้าง (ราก)
ขอบคุณข้อมูลจาก:
https://medthai.com/