[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3562 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 2 รายการ

การกำจัดวัชพืชในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การกำจัดวัชพืชในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
วัชพืชที่ขึ้นในแปลงข้าวโพดมีทั้งวัชพืชฤดูเดียวและวัชพืชข้ามปี

วัชพืชฤดูเดียว เป็นวัชพืชที่ครบวงจรชีวิตภายในฤดูเดียว ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าตีนกา หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้าขจรจบดอกใหญ่ หญ้าขจรจบดอกเล็ก หญ้าโขย่ง และหญ้าดอกขาว เป็นต้น
ประเภทใบกว้าง เช่น ผักโขม ผักบุ้งยาง ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ สะอึก เทียนนา และกะเม็ง เป็นต้น
ประเภทกก เช่น กกทราย
วัชพืชข้ามปี เป็นวัชพืชที่ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยต้น ราก เหง้า หัว และไหล ได้ดีกว่าขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าตีนติด หญ้าแพรก และหญ้าชันกาด เป็นต้น
ประเภทใบกว้าง เช่น สาบเสือ และเถาตอเชือก เป็นต้น
ประเภทกก เช่น แห้วหมู
การป้องกันกำจัด
– ไถ 1 ครั้ง ตากดิน 7-10 วัน พรวน 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัวและไหลของวัชพืชข้ามปี ออกจากแปลง
– กำจัดวัชพืชระหว่างแถวปลูกด้วยแรงงานหรือเครื่องจักรกล เมื่อข้าวโพดอายุ 20-25 วันก่อนใส่ปุ๋ย
– ในกรณีที่กำจัดวัชพืชด้วยแรงงานหรือเครื่องจักรกลไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอควรใช้สารกำจัดวัชพืช

ที่มา http://www.farmkaset..link..
โรคใบด่างถั่วเขียว
โรคใบด่างถั่วเขียว
พบการระบาดของโรคใบด่างในถั่วเขียว ในแหล่งปลูกที่สำคัญหลายพื้นที่ เช่น นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ชัยนาท เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร จากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท และ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ เมื่อวันที่ 21-22 ตุลาคม 2563 เพื่อเก็บตัวอย่างถั่วเขียวที่มีอาการผิดปกติไปตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจในเบื้องต้นด้วยเทคนิค ELISA PCR และ RT-PCR พบว่าเกิดจากเชื้อไวรัส 2 วงศ์ ได้แก่ Geminiviridae : Begomovirus และ Potyviridae : Potyvirus ขณะนี้อยู่ระหว่างการจำแนกชนิดของเชื้อสาเหตุด้วยเทคนิคชีวโมเลกุล เพื่อยืนยันลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อทั้งทางด้านชีววิทยา นิเวศวิทยา ลักษณะอาการ การถ่ายทอดโรค สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ผลกระทบ และมาตรการในการจัดการโรค

ถั่วเขียวที่เป็นโรคใบด่าง จะมีอาการด่างเหลือง ออกดอก ติดฝักน้อย ฝักเล็กลีบ โค้งงอ ผลผลิตลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่ให้ผลผลิต

ที่มา http://www.farmkaset..link..

โรคใบด่างถั่วเขียว เกิดจากเชื้อไวรัส ยังไม่มียารักษาโดยตรง ทำได้โดยการ ป้องกันกำจัดเพลี้ย และแมลงพาหะของโรค ใช้ มาคา และ FK-1 เพื่อป้องกัน กำจัด เพลี้ย แมลงพาหะของโรคใบด่าง
ไรแดงมันสำปะหลัง
ไรแดงมันสำปะหลัง
ภาวะที่อากาศร้อน แห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง เป็นสภาพที่เหมาะต่อการระบาดของไรแดงมันสำปะหลัง พื้นที่ใดประสบกับภาวะดังกล่าว เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก เมื่อเริ่มพบการระบาด จะได้ป้องกันกำจัดทันก่อนที่มันสำปะหลังแสดงอาการรุนแรงซึ่งกระทบต่อการให้ผลผลิต

ไรแดงหม่อน หรือไรแดงมันสำปะหลัง (Mulberry red mite : Tetranychus truncatus Ehara) : เป็นศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่บริเวณใต้ใบและสร้างเส้นใยอยู่เหนือผิวใบบริเวณที่ไรดูดทำลายอยู่ ผลของการดูดกินน้ำเลี้ยงของไรตรงบริเวณใต้ใบ มีผลทำให้หน้าใบเกิดจุดประด่างขาว โดยเฉพาะตามแนวเส้นใบ ต่อมาขยายแผ่กว้างขึ้น ทำให้หน้าใบทั้งหมดมีสีขาวซีด ใบกระด้าง กรอบ หากระบาดรุนแรง ใบร่วงหลุดจากต้น

นอกจากไรแดงมันสำปะหลัง อาจพบการระบาดของไรแมงมุมคันซาวาและไรแดงชมพู่

ไรแมงมุมคันซาวา (Kanzawa spider mite : Tetranychus kanzawa Kishida) : ลักษณะตัวกลมรูปไข่ ลำตัวสีแดงสด สองข้างลำตัวมีแถบสีดำ มีตาเป็นจุดสีแดงอยู่บนสันหลังด้านข้างลำตัวทั้งสองข้าง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่บริเวณใต้ใบ โดยสร้างใยปกคลุมผิวใบบริเวณที่ไรอยู่อาศัยรวมกัน ใบมันสำปะหลังที่ถูกทำลาย เกิดปื้นแดง ไหม้เป็นสีน้ำตาลและขาดทะลุ ชงักการเจริญเติบโต

ไรแดงชมพู่ (Rose apple red mite : Oligonychus biharensis Hirst) ไรชนิดนี้เป็นศัตรูของไม้ผลและไม้ดอก ในมันสำปะหลัง พบระบาดเป็นครั้งคราว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงด้านหน้าใบ เกิดเป็นจุดประสีด่างขาว ใบแห้ง หลุดร่วงได้ ไรชนิดนี้ไม่สร้างเส้นใย

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ป้องกัน กำจัด ไรแดงมันสำปะหลัง ด้วย มาคา และ FK-1
หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall Armyworm)
หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall Armyworm)
หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall armyworm : Spodoptera frugiperda JE Smith)

เป็นศัตรูสำคัญของข้าวโพด เดิมระบาดในทวีปอเมริกา ระบาดสู่แอฟริกาในปี 2559 และกลางปี 2561 มีรายงานการระบาดในอินเดีย ปลายปี 2561 เริ่มพบระบาดในประเทศไทย

วงจรชีวิตของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ใช้เวลา 30-40 วัน เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ผีเสื้อเพศเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยวางไข่เป็นกลุ่ม ประมาณ 100-200 ฟอง มีขนปกคลุมไข่ ผีเสื้อเพศเมียหนึ่งตัววางไข่ได้ประมาณ 1_500-2_000 ฟอง ระยะไข่ 2-3 วัน หนอนมี 6 วัย ระยะหนอน 14-22 วัน หนอนที่โตเต็มที่มีขนาดลำตัวยาว 3.2-4.0 เซนติเมตร จะทิ้งตัวลงดินเพื่อเข้าดักแด้ ระยะดักแด้ 7-13 วัน จึงเป็นตัวเต็มวัย มีชีวิต 10-21 วัน สามารถบินเคลื่อนย้ายระหว่างแปลง และอพยพระยะไกลระหว่างประเทศ หรือภูมิภาคได้

ลักษณะการทำลาย
ผีเสื้อหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เริ่มวางไข่บนต้นข้าวโพด ตั้งแต่ข้าวโพดงอก อายุ 3-4 วัน โดยพบกลุ่มไข่ทั้งด้านบนใบ ใต้ใบ และที่ลำต้น หลังจากฟักจากไข่ หนอนขนาดเล็กจะรวมกลุ่มกัดกินผิวใบ เริ่มเห็นรอยทำลายสีขาวที่ผิวใบเมื่อข้าวโพดอายุ 6-7 วัน (10-11 วันหลังปลูก) ลักษณะเป็นจุดหรือเป็นแถบสีขาว หนอนตัวเล็กที่เพิ่งฟักสามารถกระจายไปยังต้นข้างเคียงโดยปลิวไปกับลม หนอนวัย 3-6 เป็นระยะที่ทำความเสียหายมาก กัดกินอยู่ในยอดข้าวโพด ทำให้ใบขาดเป็นรู เว้าแหว่ง ยอดกุด ระยะก่อนที่ดอกตัวผู้จะโผล่หนอนจะกัดกินเกสรตัวผู้ หลังจากใบยอดคลี่ทั้งหมด ดอกตัวผู้โผล่พ้นใบที่หุ้มอยู่ หนอนจะย้ายไปที่ฝัก กัดกินไหม และเจาะเปลือกหุ้มฝักเข้าไปกัดกินภายในฝัก

ปกติหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด จะทำลายใบ อยู่ในยอดข้าวโพด ในกรณีที่อากาศร้อนจัด ก่อนเข้าสู่ฤดูฝน (เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน) อุณหภูมิ 36-41 องศา หรือ ในช่วงที่มีอากาศร้อน แห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง สภาพดังกล่าวนี้ หนอนที่มีอายุประมาณ 5 วัน มักจะหลบอาศัยใต้ผิวดิน กัดกินเนื้อเยื่อเจริญส่วนโคนต้น ทำให้เกิดอาการยอดเหี่ยว (dead heart) ต้นตาย ต้นข้าวโพดที่ยอดตายบางต้นมักจะมีการแตกหน่อข้าง ถ้าดินมีสภาพเปียก แฉะ หรือ ถ้าช่วงที่มีอากาศเย็นตอนที่ปลูกข้าวโพดฤดูแล้งหลังนา หนอนมักจะไม่ลงมาทำลายใต้ดินบริเวณโคนต้น มักไม่พบอาการยอดเหี่ยว หรือพบน้อย การคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงก่อนปลูก สามารถลดปัญหาการลงมาเจาะที่โคนต้นได้เมื่อเทียบกับการไม่คลุกเมล็ด

การปลูกข้าวโพดในฤดูฝน หากมีการกระจายของฝนดี ฝนตกต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ความรุนแรงในการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดจะลดลง ฝนที่ตกหนักจะชะกลุ่มไข่ หรือ หนอนขนาดเล็กที่เพิ่งฟัก หรือทำให้หนอนที่อยู่ในดินซึ่งกำลังจะเข้าดักแด้ รวมทั้งดักแด้ที่อยู่ในดินมีชีวิตรอดน้อยลง ทำให้สามารถเว้นระยะห่างในการพ่นสารและลดจำนวนครั้งในการพ่นสารลงได้ อย่างไรก็ตามควรมีการติดตามสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ

ช่วงที่ต้องมีการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดคือระยะตั้งแต่ข้าวโพดงอกจนถึงอายุประมาณ 30-43 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการระบาดสูงที่สุด และเป็นช่วงที่ข้าวโพดฟื้นตัวได้ หลังจากช่วงนี้ไปแล้วการระบาดลดลงตามธรรมชาติ (Oliveira et al._ 1995) ประกอบกับศัตรูธรรมชาติเริ่มมีปริมาณมากขึ้น การป้องกันกำจัดในช่วงดังกล่าวจะลดปริมาณหนอนที่จะเข้าทำลายในระยะติดฝักซึ่งเป็นระยะที่ข้าวโพดต้นสูง การพ่นสารทำได้ยาก ไม่ปลอดภัย และไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนที่เจาะอยู่ในฝัก

ในข้าวโพด พบว่าผีเสื้อหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด มาวางไข่บนใบข้าวโพดอย่างต่อเนื่อง โดยจะวางไข่มากในช่วง ระยะ 3 สัปดาห์แรกหลังจากข้าวโพดงอก เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพด จึงควรหมั่นสำรวจแปลงหลังจากข้าวโพดงอก สังเกตกลุ่มไข่ และรอยทำลายสีขาวที่ผิวใบ เมื่อพบต้นถูกทำลาย จนมีรอยกัดขาดเป็นรู ป้องกันกำจัดตามคำแนะนำของสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เน้นพ่นสารลงในกรวยยอด

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ป้องกัน กำจัด หนอนกระทู้ข้าวโพด ด้วย ไอกี้บีที และ FK-1
โรคราน้ำค้างข้าวโพด
โรคราน้ำค้างข้าวโพด
โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Peronosclerospora sorghi เกิดโรคได้ตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก โดยพบจุดเล็กๆ สีเขียวฉ่ำน้ำบนใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดมีสีเหลืองซีดโดยเฉพาะใบยอด หรือ ใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับสีเขียวแก่ ในเวลาเช้ามักพบส่วนของเชื้อรา ลักษณะเป็นผงสีขาวจำนวนมากบนใบ บางครั้งพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นแคระแกร็น เตี้ย ข้อถี่ ไม่มีฝัก หรือมีฝักที่ติดเมล็ดน้อยหรือไม่ติดเมล็ดเลย ก้านฝักมีความยาวมาก หรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ ข้าวโพดอายุ 1-3 สัปดาห์ จะอ่อนแอต่อโรคมาก

ที่มา http://www.farmkaset..link..
ใช้ ไอเอส และ FK-1 เพื่อ ป้องกัน กำจัด โรคราน้ำค้างข้าวโพด
ตระกูลแตงระวัง โรคราน้ำค้าง
ตระกูลแตงระวัง โรคราน้ำค้าง
กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตง อาทิ แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักเขียว ฟักทอง ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ ให้สังเกตการระบาดของโรคราน้ำค้าง

อาการเริ่มแรกจะอยู่ที่ใบด้านล่างของต้น บนใบจะมีแผลฉ่ำน้ำ แล้วแผลจะขยายลุกลาม ทำให้เห็นแผลเหลี่ยมเล็กเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ถ้าตอนเช้าอากาศมีความชื้นสูง จะพบเส้นใยของเชื้อราเป็นขุยสีขาวถึงเทาตรงแผลใต้ใบ จากนั้นแผลจะขยายติดต่อกันเป็นแผลขนาดใหญ่ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ หากอาการรุนแรง จะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น ต้นพืชที่เป็นโรคจะติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก คุณภาพความหวานของผลจะลดลง ถ้าเป็นโรคในระยะมีผลอ่อน จะทำให้ผลลีบเล็ก บิดเบี้ยว

ที่มา http://www.farmkaset..link..
“ราน้ำค้าง” โรคระบาดในพืชผักตระกูลแตงและพืชผักตระกูลกะหล่ำ
“ราน้ำค้าง” โรคระบาดในพืชผักตระกูลแตงและพืชผักตระกูลกะหล่ำ
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักตระกูลแตงและตระกูลกะหล่ำ เฝ้าระวังโรคราน้ำค้าง โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากช่วงนี้มีฝนตกอย่างต่อเนื่องกลางวันอากาศร้อน กลางคืนอากาศเย็น ความชื้นสูงและมีหมอกในตอนเช้า สภาพอากาศเหมาะต่อการระบาดของโรคราน้ำค้าง ซึ่งสามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช กรมส่งเสริมการเกษตรขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงปลูกพืชผักอย่างสม่ำเสมอเมื่อเริ่มพบใบพืชเป็นจุดแผลสีเหลือง หรืออาจเป็นปื้นสีเหลือง กรณีสภาพอากาศชื้นในตอนเช้าพลิกดูใต้ใบมักจะพบเส้นใยเชื้อราสีขาวหรือเทาคล้ายปุยฝ้ายให้รีบแจ้งและขอคำแนะนำในการป้องกันกำจัดจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดทันที

เชื้อราสาเหตุโรคราน้ำค้าง คือ เชื้อรา Pseudoperonosporacubensisและเชื้อรา Peronosporaparasitica ซึ่งอาการในพืชผักตระกูลแตงเริ่มแรกจะพบที่ใบล่าง ใบแก่ หรือโคนเถา โดยจะเริ่มเป็นจุดแผลสีเขียวซีดขึ้นก่อน ต่อมาจะค่อยๆ ขยายโตขึ้นเป็นสีเหลือง หรือสีน้ำตาลขนาดเล็ก แล้วขยายขนาดใหญ่ขึ้นเป็นรูปเหลี่ยมอยู่ระหว่างเส้นใบ

ส่วนอาการในพืชผักตระกูลกะหล่ำเริ่มแรกบริเวณหน้าใบเป็นจุดแผลสีเหลือง หรืออาจเป็นปื้นสีเหลืองหากช่วงเช้ามืดพลิกดูใต้ใบตรงกับจุดแผลที่เกิดขึ้นจะพบกลุ่มของเส้นใยเชื้อราลักษณะเป็นขุยสีขาว หรือผงสีเทา ซึ่งเมื่อใบแก่ หรือแผลแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบจะแห้งแต่ก้านใบจะชูขึ้น ขอบใบม้วน ใบร่วง กรณีที่เกิดโรครุนแรงและสภาพแวดล้อมเหมาะสม ใบส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในต้นอาจถูกเชื้อเข้าทำลายอย่างรุนแรง ต้นจะโทรมอาจตายได้ทั้งต้น สำหรับผลมักจะไม่ถูกเชื้อเข้าทำลายโดยตรง แต่ผลจะเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ผลแคระแกร็น เสียคุณภาพ และรสชาติเสียไป ในเมลอน แคนตาลูป และแตงโม จะทำให้ความหวานลดลง ในบล็อกโคลี่ หรือกะหล่ำดอกก้านดอกจะยืด และดอกอาจจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรง

ที่มา http://www.farmkaset..link..
ไล่พนักงานออก ไล่ผู้เช่าหอพักออก เมื่อทราบว่าติด โควิด-19 ผิด พรบ.โรคติดต่อ
ไล่พนักงานออก ไล่ผู้เช่าหอพักออก เมื่อทราบว่าติด โควิด-19 ผิด พรบ.โรคติดต่อ
กรมควบคุมโรค แนะเจ้าของบ้าน หอพัก สถานประกอบการทุกประเภท หากพบผู้พักอาศัยหรือลูกจ้างติดเชื้อ โควิด-19 ขอให้รีบแจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่โดยเร็ว เพื่อนำตัวเข้าสู่ระบบการแยกกักและป้องกันควบคุมโรค และไม่ไล่ผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยออกจากที่พักหรือที่ทำงาน เพราะอาจทำให้ผู้ติดเชื้อเสี่ยงอันตราย และยัง เป็นการทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายออกไปในวงกว้าง

กรมควบคุมโรคขอให้ข้อมูลว่า การไล่ผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยโควิด-19 จะทำให้เกิดผลเสีย และอาจเข้าข่ายมีความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 เนื่องจากอาจทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายออกไปในวงกว้างยากต่อการควบคุมโรค อาจทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย


ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ หากพบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคโควิด-19 ให้เจ้าของบ้านเช่า หอพัก หรือเจ้าของสถานประกอบการ รีบแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งอาจเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทราบและเริ่มการสอบสวนควบคุมโรคโดยเร็ว


ทั้งนี้ขอให้ประชาชนทุกคนร่วมมือกันปฏิบัติตามและร่วมกันเป็นหูเป็นตาให้กับภาครัฐ เพื่อช่วยให้ผู้ติดเชื้อไม่ว่าจะมีอาการป่วยปรากฏแล้วหรือยังไม่มีอาการก็ตาม ได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานมีความปลอดภัย และลดโอกาสแพร่เชื้อต่อไปยังผู้อื่น

สำหรับการแจ้งข้อมูลต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ เมื่อพบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคติดต่ออันตรายตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 กรณีที่ผู้แจ้งเป็นเจ้าบ้านหรือเป็นผู้ควบคุมดูแลบ้าน ให้แจ้งชื่อที่อยู่ของตนเอง ความสัมพันธ์กับผู้ที่ป่วยหรือสงสัยว่าป่วยเป็นโรคติดต่ออันตราย พร้อมแจ้งชื่อ อายุ เพศ สัญชาติ ที่อยู่ปัจจุบันของผู้ป่วย แจ้งวันเริ่มป่วย และอาการสำคัญที่ปรากฏด้วย


ในกรณีที่เป็นเจ้าของหรือผู้ควบคุมสถานประกอบการ ให้แจ้งชื่อ ที่อยู่ สถานที่ทำงานของตนเอง แจ้งความสัมพันธ์กับผู้ที่ป่วย แจ้งชื่อ อายุ เพศ สัญชาติ ที่อยู่ปัจจุบัน และอาการสำคัญของผู้ป่วยด้วย โดยสามารถแจ้งข้อมูลดังกล่าวไปยังศูนย์บริการสาธารณสุข ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือสำนักอนามัย กทม. หรือสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค หรือโรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน


ส่วนการหาเตียงให้ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยที่มีหลักประกันสุขภาพ ติดต่อกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) โทร.1330 กรณีเป็นผู้ประกันตนแจ้งสำนักงานประกันสังคม โทร.1506 จะมีเจ้าหน้าที่ประเมินอาการเบื้องต้น ถ้ามีอาการไม่รุนแรง จะแนะนำให้แยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) โดยจะจัดส่งชุดเวชภัณฑ์ดูแลรักษาโรคเบื้องต้นไปให้ที่บ้าน

หากผู้ป่วยไม่สามารถแยกกักตัวที่บ้านได้ เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจขั้นยืนยันผลด้วยวิธี RT-PCR อีกครั้ง หากผลเป็นบวกหรือติดเชื้อ จะทำการส่งตัวเข้าศูนย์พักคอย (Community Isolation) เพื่อให้ผู้ป่วยเข้ามาอยู่ในความดูแลของบุคลากรทางการแพทย์และรับยาได้ทันที โดยในส่วนของศูนย์พักคอยจะมีใบยินยอม ให้ผู้ป่วยกรอกรายละเอียดข้อมูลก่อนเข้ารับการรักษาในศูนย์พักคอย หรือในกรณีที่ผู้ป่วยเดินทางไปตรวจที่หน่วยบริการ ซึ่งทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit แล้วมีผลเป็นบวกที่แสดงว่าติดเชื้อ จะทำการส่งตัวเข้าศูนย์พักคอยก่อน โดยไม่ต้องรอผลตรวจตรวจ RT-PCR ระหว่างนี้ให้แยกอยู่ไม่ปะปนกับผู้ป่วยยืนยันรายอื่น


ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้จัดเตรียมศูนย์พักคอย โดยมีเป้าหมายกำหนดให้ในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งมี 50 สำนักงานเขตต้องมีเขตละ 1 ศูนย์ ศูนย์ละ 100 เตียง และหากเป็นไปได้บางเขตมีได้ 2 ศูนย์ ซึ่งจะได้เตียงผู้ป่วยเพิ่มอีก 5_000 เตียง หรือหากทุกเขตใน กทม. มี 2 ศูนย์พักคอยในแต่ละเขต เราจะได้เตียงผู้ป่วยเป็น 10_000 เตียง ซึ่งตอนนี้ กทม.เปิดศูนย์พักคอยรองรับแล้ว 49 เขต ในพื้นที่ 47 เขต สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทร. 02-245-4964

ที่มา http://www.farmkaset..link..
พช.อยุธยา เดินหน้าขับเคลื่อน “โคก หนอง นา อยุธยา” อำเภอพระนครศรีอยุธยา
พช.อยุธยา เดินหน้าขับเคลื่อน “โคก หนอง นา อยุธยา” อำเภอพระนครศรีอยุธยา
ณ ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายกิจจา ทองแดง พัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงพื้นที่สนับสนุนติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ระดับครัวเรือน (House hold Lab Model for quality of life : HLM) อำเภอพระนครศรีอยุธยา ของนางเอื้อมพร ศาสนกุล ขนาดพื้นที่ 3 ไร่ บ้านภูเขาทอง หมู่ที่ 2 ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา​ โดยมีนางสาวอัญชลี เฉลยรัตน์ พัฒนาการอำเภอพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ร่วมลงพื้นที่ในการวางแผนขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ “โคก หนอง นา โมเดล”

นายกิจจา ทองแดง พัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาขยายผลในกระบวนการทำงาน โดย “โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พัฒนาชมุชน” เป็นการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ได้จริงในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะเจ้าของแปลงได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาพื้นที่ของตนเองเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ เพื่อเผยแพร่แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)​ กรมการพัฒนาชุมชนได้ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนได้ปลูกพืชสมุนไพร เช่น กระชาย และฟ้าทะลายโจร เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันและบรรเทาอาการจากโรคระบาด ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รณรงณ์ให้ประชาชนในจังหวัดฯ รวมถึงเจ้าของแปลงโครงการ “โคก หนอง นา โมเดล” ได้ร่วมกันปลูกพืชสมุนไพรดังกล่าว เพื่อใช้ในครัวเรือนและเพื่อประโยชน์ต่อคนในชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ต่อไป

ด้านนางเอื้อมพร ศาสนกุล เจ้าของแปลง 3 ไร่ เผยว่าขอขอบคุณกรมการพัฒนาชุมชน ที่ให้โอกาสเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” เพราะเป็นการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ได้จริงในพื้นที่ รวมทั้งยังเป็นการลดรายจ่ายเพิ่​มรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน และในอนาคตมีความมุ่งหวังจะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล ได้ศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในวิถีชีวิต

ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)​ ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และคำสั่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ 1849/2564 กำหนดมาตรการตามพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด อย่างเคร่งครัด

ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพระนครศรีอยุธยา/สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยุธยา
ข่าว : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โกโก้ พืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่สร้างกำไรดี ผลตอบแทน 22,400 บาท ต่อไร่ ต่อปี
โกโก้ พืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่สร้างกำไรดี ผลตอบแทน 22,400 บาท ต่อไร่ ต่อปี
“โกโก้” เป็นพืชเศรษฐกิจที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีแผนส่งเสริมพัฒนาการผลิตและการตลาด ให้เป็นสินค้าสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความต้องการของตลาดโลกสูง ส่งออกยุโรป ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ อีกทั้งเป็นพืชทางเลือกชนิดหนึ่งที่สามารถปลูกเป็นพืชทดแทนและเป็นพืชแซมในสวนผสม เป็นพืชที่ดูแลง่าย เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้ง และให้ผลผลิตสูง

นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ของ สศท.7 เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิตและตลาดโกโก้ ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคกลาง (ชัยนาท สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี) พบว่ามีพื้นที่ปลูกรวม 495 ไร่ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 100 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2564) เกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์ ไอ.เอ็ม.1 เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตเร็วให้ผลผลิตสูง มีกลิ่นหอมเมื่อแปรรูป และเป็นที่ต้องการของตลาดต้นทุนการผลิตโกโก้เฉลี่ยอยู่ที่ 6_630 บาท/ไร่/ปี (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 3 และเก็บเกี่ยวจนถึงอายุต้น 30 ปี) เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทุก 15 วัน และเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี ผลผลิตจะออกมากที่สุดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน ผลผลิตเฉลี่ย 2_400-3_000 กิโลกรัม/ไร่/ปี ราคาที่เกษตรกรขายได้ (ผลสด) ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 อยู่ที่ 8-10 บาท/กิโลกรัม เกษตรกรได้ผลตอบแทน 22_400 บาท/ไร่/ปี คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิ (กำไร) 15_770 บาท/ไร่/ปี

ที่มา http://www.farmkaset..link..
3562 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 356 หน้า, หน้าที่ 357 มี 2 รายการ
|-Page 298 of 357-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 | 353 | 354 | 355 | 356 | 357 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
กำจัด โรคราแป้ง ในต้นทุเรียน แก้ปัญหาโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ไอเอส สารอินทรีย์คุณภาพสูง จาก FK ขนาด 250 ซีซี
Update: 2566/05/23 11:26:10 - Views: 3426
ยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง กู๊ดโซค
Update: 2564/08/27 23:31:07 - Views: 3453
เชื้อราเข้ากัดกิน มะพร้าว
Update: 2564/08/19 06:08:59 - Views: 3428
ไทยขาดดุลกว่า 3.62 แสนล้านบาท วิกฤติหนี้ยุโรป กระทบส่งออก
Update: 2555/07/31 21:07:16 - Views: 3404
เฝ้าระวัง โรคยางพาราใบร่วง หรือ ไฟทอฟธอรายางพารา ในช่วงฤดูฝน
Update: 2564/08/23 04:40:58 - Views: 3503
โรคฝรั่งใบไหม้ ราดำในฝรั่ง ใบจุด จุดสนิม โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/10 01:40:27 - Views: 3588
คู่มือป้องกันกำจัดโรคราต่างๆในแมคคาเดเมีย แมคคาเดเมียใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ราต่างๆ
Update: 2566/05/01 15:18:59 - Views: 10098
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคแอนแทรคโนส ใน ถั่วฝักยาว ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/11 14:34:11 - Views: 3449
อาการขาดธาตุอาหาร ในต้นมันสำปะหลัง N, P, K, Mg, Zn "เราช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้คุณได้"
Update: 2566/11/04 11:39:00 - Views: 3447
หนอนกัดกินเปลือกยางพารา
Update: 2564/08/18 05:25:23 - Views: 3446
วิธีปลูกทุเรียนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว
Update: 2564/05/31 08:12:06 - Views: 4121
ถั่วเขียวระวัง หนอนแมลงวันเจาะลำต้นถั่ว หนอนกระทู้ผัก หนอนม้วนใบ
Update: 2564/08/14 05:22:15 - Views: 3641
กำจัดหนอน ไอกี้-บีที [Aiki-BT] สารชีวินทรีย์ประสิทธิภาพสูง สกัดจากธรรมชาติ FK-1 เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชื้อราในพืช
Update: 2566/06/19 13:23:19 - Views: 3391
กำจัดแมลงโรคและแมลงศัตรูพืช ในดอกกล้วยไม้ และ พืชทุกชนิด ไตรโครเร็กซ์ และ บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/01 13:39:29 - Views: 3414
FK-1 พืชโตไว แตกยอดใบ รากสมบูรณ์ ทนแล้ง ทนโรค ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ด้วยธาตุอาหารพืช ธาตุหลัก ธาตุเสริม และสารลดแรงตึงผิว
Update: 2566/10/10 07:22:04 - Views: 3453
การปลูกฟักทอง ให้ได้ผลผลิตดี ด้วยการให้ ปุ๋ยยาฯ ที่เหมาะสม
Update: 2567/11/13 09:08:23 - Views: 15
การควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืช ด้วยสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ
Update: 2564/08/13 11:44:44 - Views: 3476
โรคปาล์ม : โรคที่เกิดกับปาล์มประดับ และปาล์มน้ำมั้น รวมถึงปาล์มสายพันธุ์ต่างๆ
Update: 2564/01/09 09:42:15 - Views: 3430
เตือนภัย!! ต้นมะกรูด สร้างความเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร ??
Update: 2566/11/07 10:56:40 - Views: 3404
ยาป้องกัน กำจัด หนอน หนอนทุกชนิด ใช้ได้ทุกพืช ไอกี้-บีที + FK-1 บำรุง ฟื้นตัว สร้างภูมิฯ 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
Update: 2564/08/10 12:13:11 - Views: 3419
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022