<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
โรคใบติดหรือใบไหม้ในทุเรียน มีสาเหตุจาก เชื้อราไรซอกโทเนีย (Rhizoctonia sp.) รักษาได้ด้วย ไอเอส
สาเหตุ ของโรคใบติด หรือโรคใบไหม้ ในทุเรียน นั้นเกิดจาก เชื้อราไรซอกโทเนีย (Rhizoctonia sp.)
ลักษณะอาการของโรคใบติดทุเรียน
พบแผลคล้ายน้ำร้อนลวกบนใบ บริเวณกลางใบหรือขอบใบ ต่อมาแผลขยายตัวลุกลามและ
เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างแผลไม่แน่นอนเชื้อราจะแพร่ไปยังใบอื่นที่ติดกันโดยการสร้างเส้นใยของเชื้อรายึดใบให้ติดกัน ทำให้เกิดอาการใบแห้งเป็นหย่อม ๆ และใบจะค่อย ๆ ร่วงหล่นลงยังโคนต้นเหลือแต่กิ่ง ซึ่งต่อมาจะค่อย ๆ แห้ง ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง และมีการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์
การแพร่ระบาดของโรคใบติดทุเรียน
เชื้อราสามารถพักตัวอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน โดยอาศัยเศษซากพืช และแพร่ระบาดเข้าทำลายพืชระยะใบอ่อน โดยเฉพาะในช่วงในตกชุก
การป้องกันกำจัดโรคใบติดทุเรียน
1. ตัดแต่งกิ่งทุเรียนให้เหมาะสม โดยให้มีความชื้นในปริมาณที่ต้นทุเรียนเจริญเติบโตได้ดี และมีความชื้นในทรงพุ่มไม่เหมาะต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรค
2. ในช่วงทุเรียนแตกใบอ่อนควรหมั่นสำรวจอาการของโรค หากพบโรคควรตัดกิ่งที่เป็นโรคออก นำไปเผานอกแปลงปลูก และพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา
3. เก็บและรวบรวมเศษใบเป็นโรคที่ร่วงหล่นอยู่บริเวณโคนต้น แล้วนำไปเผาทำลายเพื่อลดปริมาณ เชื้อโรคในแปลงปลูกให้น้อยลง
4. ในแปลงปลูกที่ความชื้นสูง และมีการระบาดของโรคเป็นประจำ ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนต่ำ เพื่อลดความอุดมสมบูรณ์ของการแตกใบ
อ่านต่อที่
http://www.farmkaset..link..