[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ข้าว
632 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 63 หน้า, หน้าที่ 64 มี 2 รายการ

ข้าวใบไหม้ โรคไหม้ข้าว ใบเหลือง มีจุดสีน้ำตาล แก้ด้วย ไอเอส
ข้าวใบไหม้ โรคไหม้ข้าว ใบเหลือง มีจุดสีน้ำตาล แก้ด้วย ไอเอส
ข้าวใบไหม้ โรคไหม้ข้าว ใบเหลือง มีจุดสีน้ำตาล แก้ด้วย ไอเอส

โรคไหม้ (Rice Blast Disease)

พบทุกภาคในประเทศไทย ในข้าวนาสวน ทั้งนาปีและนาปรัง และข้าวไร่

สาเหตุ เชื้อรา Pyricularia oryzae.

.

ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้อาการ

.

ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ

.

ระยะออกรวง (โรคไหม้คอรวง หรือ โรคเน่าคอรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก

.

การแพร่ระบาด พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงและมีสภาพแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน น้ำค้างยาวนานถึงตอนสายราว 9 โมง อากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 22-25 oC ลมแรงจะช่วยให้โรคแพร่กระจายได้ดี

.

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สำหรับป้องกันและยับยั้งเชื้อรา สกัดจากพืช ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค ปลอดสารพิษ ไม่มีสารตกค้าง ใช้ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและยับยั้งโรคพืชทุกชนิด ที่มีสาเหตุมากจากเชื้อรา

.

สนใจ โทรสั่งซื้อ 090-592-8614

ไลน์ไอดี FarmKaset หรือ ไอดี PrimPB

สั่งทางเฟสบุ๊คได้เช่นกัน https://www.facebook.com/farmkaset

หรือลาซาด้า https://www.lazada.co.th/..

อ่าน:3411
เที่ยวเกษตรที่สูง ภูหินร่องกล้า
เที่ยวเกษตรที่สูง ภูหินร่องกล้า
เกษตรจังหวัดพิษณุโลก โทรมาชวนไปทำข่าวเปิดศูนย์บริการท่องเที่ยวเกษตรบ้านร่องกล้า หมู่ที่ 10 ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก อยู่เลยขึ้นไปจากที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เราตกลงรับปากโดยไม่ต้องคิดมาก ตั้งใจจะไปลักเก็บกระหล่ำปลีและบล็อคโคลีที่ชาวม้งปลูกไว้อยู่เต็มดอย มาทำกับข้าวกินซะหน่อย
อ่าน:5533
จัดตั้ง..นิคมข้าวหอมมะลิ ใช้แกนนำหมู่บ้าน..ขยาย แนวคิด 
จัดตั้ง..นิคมข้าวหอมมะลิ ใช้แกนนำหมู่บ้าน..ขยาย แนวคิด 
พื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่จะใช้ “สารเคมี”......เพื่อให้ผลผลิตได้ปริมาณ ได้ประโยชน์เพียงคาบเวลาหนึ่ง ปัจจุบันหลายแห่งเริ่มประสบปัญหาสภาพดินเสื่อม ท้ายสุดส่งให้ผลิตผลลดลงอย่างเห็นได้ชัด 

ฉะนี้...เกษตรกรจึงหาทางออกด้วย “เกษตรอินทรีย์” สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รณรงค์ส่งเสริมขึ้นในหลายพื้นที่....ล่าสุดจัดทำ “โครงการจัดตั้งนิคมข้าวหอมมะลิ” 

...นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล เลขาธิการ สปก. เผยว่า......หลักใหญ่ของการจัดตั้งนิคมคือ ดูความพร้อมของชุมชน ชาวบ้าน และ ความต้องการของคนส่วนใหญ่ โดยวางพื้นที่เป้าหมายไว้ 200,000 ไร่ ใน 5 จังหวัดได้แก่ ยโสธร ร้อยเอ็ด สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ เนื่องจากมีชื่อเสียงและความรู้ในการทำนาเกษตรอินทรีย์ 

ส่วน...สปก. เข้าไปสนับสนุนเรื่องของการ พัฒนาแหล่งน้ำ ส่งเสริมให้ จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงโค ที่มีเป้าหมายหลักคือต้องการ ทำธนาคารปุ๋ยเคลื่อนที่ เพื่อเอาปุ๋ยกลับไปสู่แปลงนา เป้าหมายรอง คือ เลี้ยงเพื่อเอาเนื้อขาย 

ทั้งนี้ เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่มีการรวมตัวเป็น “ชมรมเกษตรอินทรีย์ ชมรมรักษ์ธรรมชาติ” อยู่แล้ว จึงเป็นจุดดีที่มีองค์ความรู้อยู่ในพื้นที่ เพราะ แกนนำเหล่านี้จะไปขยายแนวคิดสู่ชุมชน 
อ่าน:2988
ส้มตำ อาหารไทยในซุปเปอร์มาเก็ต ประเทศพม่า

เป็นเรื่องที่ผมเพิ่งจะรู้เมื่อตอนโตมาเป็นผู้ใหญ่ครับ ว่าอาหารไทยแบบ ส้มตำ เป็นอาหารที่คุณผู้หญิงจำนวนหนึงของประเทศไทย (จำนวนหนึ่งนี่มากทีเดียวเลย) ไม่สามารถจะหยุดกินได้เป็นเวลานานๆ หรือไม่สามารถเว้นระยะห่างการเติมส้มตำเข้าไปในร่างกายได้เกิน 1 สัปดาห์โดยเฉลี่ย

 

ถ้าเราลองสังเกตุดูรอบๆตัว เราจะพบร้านส้มตำ หรือร้านส้มตำรถเข็น หรือไก่ย่างส้มตำได้รอบตัว ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นตามศูนย์อาหารต่างๆภายในห้างสรรพสินค้า ตามริมถนน แถวรั้วโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย ร้านตามย่านท่องเที่ยว แหล่งอาหารใกล้ออฟฟิศที่ทำงาน ผมคิดว่าน่าจะหาทานได้ง่ายกว่าข้าวราดแกงเสียอีก แม้แต่ต้มยำกุ้งที่ว่าดังที่สุดจากประเทศไทย ออกไปสู่นานาชาติ ก็ยังหาทานยากกว่าส้มตำไก่ย่างเสียอีก

 

ตามรูปด้านล่างนี้ เป็นแพ็คเกจส้มตำกึ่งสำเร็จรูป ที่ขายอยู่ในซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ ของประเทศพม่าครับ พอดีคุณปริมต้องเข้าไปในไร่ ที่อยู่ในพื้นที่ห่างจากกรุงย่างกุ้งราวๆ 100 กิโลเมตร เลยแวะซื้อของที่ซุปเปอร์มาเก็ตก่อนเดินทางไปที่ไร่ เราพบอาหารไทยจำนวนมากเลย ที่ขายอยู่ที่นี่ คาดว่า 30% เลยที่เดียว ที่เป็นสินค้าไทย ไม่ว่าจะเป็น มาม่า ปลากระป๋อง ชา กาแฟ ถ้าเป็นสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทย จะอยู่ในระดับพรีเมี่ยมกว่าสินค้าที่นำเข้าจากประเทศอื่นๆเลยครับ ในสายตาของชาวพม่า แต่สินค้าไทยเราดีจริงๆครับ เมื่อเทียบกันสินค้าของชาติอื่นๆ ที่นำมาขายในศูนย์การค้าที่ผมเห็น ณ ที่นี้

 

ลองสังเกตุดูครับ ที่ฉลากเขียนไว้ว่า Thai Taste Papaya Salad ซึ่งแปลว่า ส้มตำในรสชาติแบบไทยๆนั้นเอง

 

ส้มตำไทย ในประเทศพม่า

อ่าน:3184
FK Talk: กำลังเข้าสู่ฤดูหนาว อย่าลืมใช้ปุ๋ยน้ำปลอดสารพิษจากเรา ดูแลพืชของคุณนะครับ

FK Talk 5 ตุลาคม 2557

สวัสดีครับ ฤดูหนาวใกล้เข้ามาแล้ว อากาศเริ่มเปลี่ยน เพื่อนพี่น้องฟาร์มเกษตรรักษาสุขภาพด้วยนะครับ (ถ้ามียาแก้หวัดจะรีบประกาศขายตอนนี้เลย ^^)

 

วันนี้ผมมาแนะนำปุ๋ยน้ำ หรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำนาโนอะมิโน, นาโนคือผลิตด้วยนาโนเทคโนโลยี นาโนคืออะไรที่มันเล็กมากๆครับ ถ้านับนามวิชาคณิตศาสตร์เช่น 1 เซนติเมตร 1 มิลลิเมตร 1 ไมโคร และก็ 1 นาโนเมตร เซ็นติเมตร คือ 1, มิลลิคือ 1x10 ยกกำลัง -3 หรือพูดง่ายๆคือมีขนาดเท่ากับ 1ส่วนหนึ่งพันของ 1เซ็นติเมตรนั้นเอง, ส่วนไม่โคร คือ 1x10 ยกกำลัง -6 และนาโนนั้นขนาดเล็กเท่ากับ 1x10 ยกกำลัง -9, พูดให้งงน้อยกว่านี้อีกนิดนึงคือ ขนาดของเทคโนโลยีนาโน ถ้าเรามองเห็นได้ เราจะเห็นมันมีขนาดเท่ากับ 1ส่วนพันล้าน ของ 1เซ็นติเมตรนั้นเอง เห็นรึปล่าวครับ ว่ามันเล็กขนาดไหน (คงมองไม่เห็น ^^), เอาเป็นว่ามันเล็กมาาาาก ครับ

 

อมิโนล่ะ, อะมิโน หรือกรดอะมิโน คือโปรตีนแบบหนึ่ง ที่พืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้ทันที อย่างรวดเร็ว โดยลัดขั้นตอนบางอย่างของพืชไป ทำให้เราสังเกตุเห็นได้ชัดว่า หลังจากฉีดปุ๋ยอินทรีย์น้ำ นาโนอะมิโน ลงไป จะทำให้พืชเขียว ดูสดชื่นขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งสารเคมีเลย แต่มีกลิ่นเหม็นอยู่พอสมควรนะครับ แต่เป็นกลิ่นเหม็นที่ไม่มีอันตราย ต่างกับเคมี ที่มีอันตรายต่อสุขภาพ

 

ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

 

ขายของเลยแล้วกันครับ, ปุ๋ยอินทรีย์น้ำนาโนอะมิโนตัวนี้จากฟาร์มเกษตร มีลักษณะพิเศษคือ กลิ่นเหม็น สารภาพตรงๆว่า เรายังหาวิธีทำให้มันมีกลิ่นหอมดังเช่นน้ำหอมไม่ได้ โดยยังคงรักษาคุณภาพให้ได้เท่าเดิมอยู่

 

เหมาะสำหรับใช้ฉีดพ่นทางใบให้กับพืชได้เกือบทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงแล้ง ที่พืชต้องการความชื้นที่มากขึ้นกว่าฤดูอื่นๆ เพื่อให้พืชเจริญเติบโตได้สมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง

 

นาข้าว, มันสำปะหลัง, ไร่อ้อย, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ข้าวโพด, ผักปลอดสารพิษ, ผักสวนครัว, ไม้ดอก ไม้ประดับ ก็สามารถใช้ปุ๋ยน้ำนาโนอะมิโนนี้ได้ แต่ไม่แนะนำให้ฉีดไม้ประดับที่เลี้ยงไว้ในบ้าน หรือบริเวณที่นั่งเล่นนะครับ เพราะกลิ่นเหม็นคล้ายมูลสัตว์ อาจจะทำให้ท่านอารมณ์ไม่ดีทั้งวันเลยก็ได้

 

ข้อมูลที่มากกว่านี้ อ่านด้านล้างนี้ครับ ขอบคุณครับผม สวัสดีครับ

อะมิโน [Amino Acids] มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช

ปุ๋ยน้ำ : นาโนอะมิโน : ให้ปุ๋ยน้ำอะมิโนผ่านระบบน้ำหยด หรือ ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำอะมิโน เป็นการให้น้ำทางใบ ช่วยส่งเสริมให้พืช มีความอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่ลำต้นไปจนถึงใบ 

คุณสมบัติจำเพาะ : มีกรดอะมิโนมากกว่า 15 ชนิด ต้นอ้อยสามารถนำไปใช้ได้ทันที, ฉีดพ่นทางใบ ส่งเสริมการดูดซึมธาตุอาหาร, เพิ่มขนาดและความเขียวของใบ, ทำให้พืชเจริญเติบโต ผ่านระยะต่างๆได้อย่างสมบูรณ์ 

ส่วนประกอบของธาตุอาหาร : ประกอบด้วยธาตุอาหาร N (ไนโตรเจน) P (ฟอสฟอรัส) K (โพแทสเซียม) Ca (แคลเซียม) Mg (แมกนีเซียม) S (กำมะถัน) Zn (สังกะสี) Fe (เหล็ก) Cu (ทองแดง) Mn (แมงกานีส) Mo (โมลิบดีนัม) Cl (คลอรีน) B (โบรอน) NI (นิกเกิล) พร้อมจุลธาตุอาหารอื่นๆ รวมทั้งกรดอะมิโนครบถ้วนตามที่พืชต้องการ เลขที่วิเคราะห์ 248.435.5100 โดยสถาบันวิจัย Absolute Analytical Inc. รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา 

วิธีใช้ และอัตราส่วนการผสม ปุ๋ยน้ำอะมิโน 250 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ให้ผ่านระบนน้ำหยด หรือ ฉีดพ่น 100 ลิตรต่อไร่ [ฉีดพ่นตอนไม่มีแดด ช่วงก่อนแดดออก 5:00 น. - 9:00 น. หรือ หลังแดดตก เวลา 16:00 น. - 20:00 น. ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดจัด] 

ปุ๋ยน้ำ นาโนอะมิโน ตรานกอินทรีคู่ ประกอบด้วย
- ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารที่พืชต้องการครบถ้วน
- มีกรดอะมิโนมากกว่า 15 ชนิด ซึ่งอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที
- ไม่มีจุลินทรีย์และกากน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคพืช
- สามารถใช้ร่วมกับปุ๋ยอื่น ๆ ได้ทุกชนิด
- ช่วยฟื้นฟูสภาพต้นหลังการเก็บเกี่ยว
- เร่งแตกใบอ่อน ใบเขียว ผลผลิตดีมีคุณภาพ
- กรดอะมิโน พร้อมด้วยธาตุอาหารพืชครบถ้วน สกัดจากธรรมชาติ 100%
- มีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารตามที่พืชต้องการ
- ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการสกัดธาตุอาหารที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที

สนใจผลิตภัณท์ติดต่อ
ฟาร์มเกษตร โทร 089-4599003

อ่าน:3702
ไทยขาดดุลกว่า 3.62 แสนล้านบาท วิกฤติหนี้ยุโรป กระทบส่งออก
ไทยขาดดุลกว่า 3.62 แสนล้านบาท วิกฤติหนี้ยุโรป กระทบส่งออก
วิกฤติหนี้ยุโรปกดดันส่งออกเดือนมิถุนายนปรับตัวลดลงกว่า 2.5% รวมครึ่งปีแรกลดลง1.66% ไทยขาดดุลกว่า 3.62 แสนล้านบาท ด้าน “ภูมิ” ยังไม่ถอดใจประกาศจับมือทูตพาณิชย์-เอกชนรุกเจาะตลาดใหม่หวังดันแตะเป้า 15% ขณะที่ไทยพาณิชย์ฟันธงทำได้แค่ 8% เหตุปัจจัยลบเพียบยุโรปใช้เวลา 4-5 ปีกว่าจะฟื้นตัว
 
นายภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์เปิดเผยว่าในเดือนมิถุนายน 2555 ส่งออกมีมูลค่า 20,128.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 2.50% ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 616,506.3 ล้านบาท ลดลง 0.69% เมื่อรวมครึ่งปีแรกของปี 2555 (มกราคม-มิถุนายน)มีมูลค่า 112,622.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.66% ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,465,935.7ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.52%
 
“ปัจจัยที่ทำให้ส่งออกลดลงเพราะการลุกลามของปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป กระทบต่อการผลิตและจำหน่ายสินค้าในหลายประเทศซึ่งเป็นตลาดสำคัญของไทย อาทิ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป เอเชียใต้ เกาหลีใต้ ไต้หวัน รัสเซีย ทำให้มีการนำเข้าสินค้าจากไทยลดลง แต่ถึงแม้หลายฝ่ายจะกังวลว่าส่งออกจะไม่ถึงเป้า 15% แต่เราก็จะพยายามทำให้ดีที่สุดโดยเร่งทำงานเชิงรุกหาตลาดใหม่ๆ โดยร่วมมือกับทูตพาณิชย์และผู้ประกอบการและหากสถานการณ์ในยุโรปไม่รุนแรงมาก การส่งออกในครึ่งหลังจะฟื้นตัวโดยเฉลี่ยประมาณ 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน”
 
การส่งออกสินค้าในเดือนมิถุนายน 2555 ลดลงเฉพาะในหมวดสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรโดยลดลง -19.8% สินค้าส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว -49.2% ยางพารา -31.4% กุ้งแช่แข็งและแปรรูป -12.3% ผักและผลไม้ -20% น้ำตาล -23.9% หมวดสินค้าอุตสาหกรรม ภาพรวมเพิ่มขึ้น 1.9% สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ +2.2% เครื่องใช้ไฟฟ้า +1.1%ยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ +21.3% วัสดุก่อสร้าง +6.1% อัญมณีและเครื่องประดับ +27.2% อาหารสัตว์เลี้ยง +18.5% สินค้าส่งออกที่ลดลงได้แก่ สิ่งทอ -16.2% ผลิตภัณฑ์ยาง -6.4%สิ่งพิมพ์ กระดาษและบรรจุภัณฑ์ -73.2% หมวดสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้น 0.2%
 
แต่เมื่อรวมการส่งออกช่วงครึ่งปีแรกพบว่า ลดลงทั้งหมวดสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม โดยหมวดสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรลดลง 9.1% สินค้าส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว -37.6% ยางพารา -26.8% กุ้งแช่แข็งและแปรรูป -7.8% สินค้าที่เพิ่มขึ้นได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็ง (ไม่รวมกุ้ง) +11.4%ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป +17.8% น้ำตาล 17.4%
 
หมวดสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญโดยรวมลดลง 3.6% ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ -1.7% เครื่องใช้ไฟฟ้า -2.3% เม็ด และผลิตภัณฑ์พลาสติก -3.3% สิ่งทอ -15.3% อัญมณีและเครื่องประดับ -10.5% สิ่งพิมพ์ กระดาษและบรรจุภัณฑ์ -75.6%เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน -4.9% สินค้าที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ +17.8% อัญมณี(ไม่รวมทองคำ) +3.6% ผลิตภัณฑ์ยาง +5.3 % เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์ +11.4%อาหารสัตว์เลี้ยง +20.7% หมวดสินค้าอื่นๆ +13.7%
 
ขณะที่ครึ่งปีแรกพบว่าขยายตัวลดลงในทุกตลาด ยกเว้นตลาดศักยภาพระดับรอง โดยตลาดหลักภาพรวมลดลง 4.1% ตลาดที่ลดลง ได้แก่ ญี่ปุ่น (-3.8%) สหภาพยุโรปสมาชิกเดิม 15 ประเทศ (-12%) ขณะที่สหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 3.7%
 
ส่วนทางด้านการนำเข้า เดือนมิถุนายน 2555 มีมูลค่า 20,678.4 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 4.41% เมื่อเทียบกับปีก่อนในรูปเงินบาท มีมูลค่า 641,205.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.36% เมื่อรวมครึ่งปีแรก มีมูลค่า 122,966.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.28% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในรูปเงินบาท มีมูลค่า 3,828,537.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.66% โดยสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นคือหมวดสินค้าเชื้อเพลิง +34.5% หมวดสินค้าทุน +11.9% เนื่องจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น
 
จากการนำเข้าที่สูงขึ้นส่งผลให้ดุลการค้าเดือนมิถุนายน 2555 ขาดดุล 550.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อน 60.09% ในรูปเงินบาท มีมูลค่า 24,699.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2555 ประมาณ 68.38% แต่เมื่อรวมครึ่งปีแรกของปี 2555 ขาดดุลการค้ามูลค่า 10,344.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ในรูปเงินบาท ขาดดุลการค้ามูลค่า 362,602.2 ล้านบาท
 
ขณะที่นางสุทธาภา อมรวิวัฒน์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ประเมินว่าปีนี้การส่งออกของไทยจะสามารถขยายตัวได้เพียง 8% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวประมาณ 11% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป และมองว่ายุโรปจะต้องใช้เวลาแก้ปัญหาไม่ต่ำกว่า 4-5 ปี
 
จาก naewna.com
อ่าน:3023
ส่งออกข้าวโพดหวาน อนาคตรุ่ง
ส่งออกข้าวโพดหวาน อนาคตรุ่ง

 

ผู้ประกอบการข้าวโพดหวานกระป๋องลุ้นระทึกอียูยกเลิกมาตรการตอบโต้ทุ่มตลาดกลางปีนี้ เผยหากผู้ประกอบการฝรั่งเศส ฮังการี ไม่เสนอกรรมาธิการยุโรปทบทวน จะถูกยกเลิกโดยปริยายชี้หวังได้สูงเหตุหิมะถล่มสินค้าขาดตลาด ข้าวโพดฝักอ่อนไทยพลอยได้รับอานิสงส์ราคาแตะกก. 35 บาท 

 
นายพรชัย ปิ่นวิเศษ ประธานกลุ่มข้าวโพดหวาน สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงสถานการณ์ตลาดข้าวโพดหวานกระป๋องว่ามีแนวโน้มที่สดใสมาก เพราะเวลานี้ทุกตลาดหันมานำเข้าข้าวโพดหวานกระป๋องจากประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี แม้ว่าข้าวโพดหวานกระป๋องของไทยจะถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี)จากสหภาพยุโรป(อียู) แต่ยังสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะสหรัฐอเมริกาผลผลิตข้าวโพดหวานเริ่มลดลงหลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมปลูกพืชพลังงาน จึงหันมานำเข้าจากไทย ส่วนญี่ปุ่นก่อนหน้านี้เป็นผู้นำเข้าจากสหรัฐฯเมื่อผลผลิตสหรัฐฯลดลงสินค้าราคาแพงญี่ปุ่นจึงหันมานำเข้าจากไทยเช่นเดียวกัน

 
นอกจากมีตลาดใหม่เข้ามารองรับตลาดสหภาพยุโรปแล้ว ขณะนี้ผู้ประกอบการมีความหวังลึกๆ ว่ากลางปีนี้จะมีข่าวดีสำหรับตลาดสหภาพยุโรป เพราะว่าเดือนมิถุนายน 2555 จะครบ 5 ปีที่อียูเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและจะมีการทบทวนเป็นครั้งแรก ซึ่งตามขั้นตอนนั้นผู้ประกอบการในยุโรปที่เป็นผู้ยื่นเรื่องต่อทางการของยุโรปให้ไต่สวนและเรียกเก็บภาษีเอดีผู้ส่งออกของไทยต้องเป็นผู้ยื่นให้มีการทบทวนจะยกเลิกหรือเรียกเก็บภาษีเอดีในอัตราเท่าใด หากผู้ประกอบยุโรปไม่ยื่นให้ทบทวนเท่ากับว่าการเรียกเก็บภาษีเอดีจากผู้ส่งออกไทยถูกยกเลิกไปโดยปริยาย

 
"เวลานี้หลายประเทศในสหภาพยุโรปประสบภัยธรรมชาติหิมะตกอย่างรุนแรง จนไม่สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตรได้ สินค้าพืชผักต่างๆ ไม่เพียงพอบริโภค จะเห็นได้ว่าเวลานี้ยุโรปสั่งนำเข้าข้าวโพดฝักอ่อนสดจากประเทศไทยจนสินค้าไม่พอป้อน และดันราคาภายในประเทศสูงขึ้นจากเคยรับซื้อกก.ละ 20-21 บาท เวลานี้ข้าวโพดฝักอ่อนราคาสูงถึงกก.ละ 35 บาท จึงมีความหวังว่าผู้ประกอบการในประเทศฝรั่งเศส ฮังการี และอิตาลีที่ยื่นฟ้องกล่าวหาไทยทุ่มตลาดข้าวโพดหวานจะไม่ยื่นให้ทางการยุโรปทบทวน นั่นเท่ากับว่ามาตรการเรียกเก็บเอดีถูกยกเลิกไปโดยปริยาย ส่วนข้าวโพดหวานกระป๋องราคายังไม่เคลื่อนไหวสูงขึ้นเท่ากับข้าวโพดฝักอ่อนเพราะเป็นสินค้าอุตสาหกรรม"

 
นายพรชัย กล่าวว่าจากการที่อุตสาหกรรมข้าวโพดหวานกระป๋องมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จึงได้เสนอสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) บรรจุข้าวโพดหวานเป็นพืชเศรษฐกิจ มีนโยบายส่งเสริมปลูกอย่างชัดเจน เพราะเวลานี้ปัญหาของผู้ประกอบการคือวัตถุดิบไม่เพียงพอป้อนโรงงาน ทั้งที่ตลาดมีความต้องการ ขณะเดียวกันได้เสนอกระทรวงพาณิชย์เข้ามากำกับดูแลผู้ประกอบการไม่ให้ขายสินค้าตัดราคากันเอง เพราะสาเหตุถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดอยู่ ณ เวลานี้เป็นผลสืบเนื่องจากผู้ประกอบการขายตัดราคากันเอง ซึ่งไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด เพราะข้าวโพดหวานกระป๋องตลาดมีความต้องการสูง ผู้ส่งออกของไทยสามารถกำหนดราคาขายได้โดยไม่ต้องไปกดราคาขายแข่งกันแต่อย่างใด
 
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
 
อ่าน:3600
ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน ไทยส่งออกข้าวโพสหวาน อันดับ 3 ของโลก

 

ข้าวโพดหวานเป็นสินค้าผักประเภทหนึ่งที่น่าจับตามอง เนื่องจากในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานของไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานของไทยสามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านราคาและคุณภาพ โดยปัจจุบันไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากฮังการี และสหรัฐฯ ทำให้การปลูกข้าวโพดหวานในประเทศมีการขยายตัวอย่างมาก รองรับกับความต้องการของผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่มีการขยายการลงทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน 
 
ตลาดผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานโลก…ฮังการีครองแชมป์ ไทยกำลังไล่ตามสหรัฐฯ 
 
ฮังการี สหรัฐฯและไทยเป็นประเทศที่มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานมากที่สุดในโลก ปัจจุบันฮังการีมีสัดส่วนการส่งออกข้าวโพดหวานสดแช่เย็นและแช่แข็งร้อยละ 31.0 ของปริมาณการส่งออกในตลาดโลก และมีสัดส่วนร้อยละ 34.0 สำหรับข้าวโพดหวานแปรรูป โดยสามารถแย่งชิงตลาดผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานมาจากสหรัฐฯ โดยในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมากการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานของสหรัฐฯในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง 
 
กล่าวคือ สัดส่วนการส่งออกข้าวโพดหวานสด แช่เย็นและแช่แข็งเหลือเพียงร้อยละ 30.0 เทียบกับสัดส่วนที่เคยสูงถึงร้อยละ 50.0 ในปี 2541 ขณะที่สัดส่วนการส่งออกข้าวโพดหวานแปรรูปเหลือเพียงร้อยละ 33.0 เทียบกับสัดส่วนที่เคยสูงถึงร้อยละ 70.0 ในปี 2541 ในทางตรงกันข้ามฮังการีและไทยมีสัดส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานในตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันฮังการีนั้นสามารถแซงสหรัฐฯขึ้นเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานอันดับหนึ่งของโลก เนื่องจากสหรัฐฯประสบปัญหาที่ประเทศผู้นำเข้าไม่ไว้วางใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอ(Genetically Modified Organisms : GMOs) และสัดส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานไปยังสหภาพยุโรปมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากสหภาพยุโรปมีมาตรการตรวจสอบย้อนกลับสำหรับสินค้าอาหาร และการติดฉลากแยกระหว่างสินค้าที่มีจีเอ็มโอและสินค้าที่ปลอดจีเอ็มโอ 
 
นอกจากนี้ในปัจจุบันฮังการีเข้าไปเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรป ทำให้ประเทศในสหภาพยุโรปหันไปนำเข้าจากฮังการีมากขึ้น ส่วนไทยนั้นแม้ว่าจะผลิตข้าวโพดหวานได้เป็นอันดับ 8 ของโลก แต่ก็สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานได้มากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากฮังการีและสหรัฐฯ และมีสัดส่วนตลาดประมาณร้อยละ 20.0 ของข้าวโพดหวานแปรรูปในตลาดโลก 
 
ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานในไทย…หลากปัจจัยหนุน ผลผลิตเพิ่ม ส่งออกพุ่ง 
 
ปัจจุบันพื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานในประเทศไทยมีประมาณ 737,500 ไร่ ผลผลิต(ทั้งเปลือก)ประมาณ 1.48 ล้านตัน จากในปี 2545 มีพื้นที่ปลูกประมาณ 200,000 ไร่ ผลผลิต(ทั้งเปลือก)ประมาณ 400,000 ตัน เนื่องจากหลากหลายปัจจัยหนุน กล่าวคือ การส่งออกที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้บรรดาผู้ประกอบการในธุรกิจผักและผลไม้กระป๋องหันมาเพิ่มสายการผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน และจำนวนผู้ประกอบการที่ผลิตข้าวโพดหวานสด แช่เย็นและแช่แข็งก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยผู้ประกอบการเหล่านี้หันไปลงทุนส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกข้าวโพดหวานในลักษณะตลาดข้อตกลง โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือ ซึ่งในระยะ 4 ปีที่ผ่านมาผลผลิตข้าวโพดหวานในภาคเหนือเพิ่มขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัวทุกปี ทำให้ในปัจจุบันแหล่งปลูกข้าวโพดหวานที่สำคัญของไทยอยู่ทางภาคเหนือ จากเดิมแหล่งปลูกจะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะในจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และมหาสารคาม และภาคตะวันตกในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม เพชรบุรี และสมุทรสาคร ปัจจุบันจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานมีประมาณ 30 โรงงาน 
 
ข้าวโพดหวานที่จำหน่ายในตลาดแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ 
 
1.ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูป ในช่วงระยะ 3 ปีที่ผ่านมาปริมาณการผลิตข้าวโพดหวานเพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวโพดแปรรูปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลผลิตข้าวโพดหวานในประเทศร้อยละ 95 จะส่งเข้าโรงงานเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวโพด และที่เหลืออีกร้อยละ 5 ส่งเข้าโรงงานผลิตข้าวโพดสดแช่เย็นแช่แข็ง คาดการณ์ว่าในปี 2548 ปริมาณการผลิตข้าวโพดหวานในส่วนนี้เท่ากับ 141,200 ตัน เมื่อเทียบกับในปี 2547 แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 ปริมาณข้าวโพดหวานที่ผลิตได้ในแต่ละปีประมาณร้อยละ 94 ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 6 เป็นการบริโภคในประเทศ 
 
การส่งออกข้าวโพดหวานแปรรูปมีทั้งในรูปของเมล็ดข้าวโพดหวานในน้ำเกลือ(Whole Kernel Corn) และซุปข้าวโพด(Cream Style Corn) ซึ่งข้าวโพดหวานแปรรูปของไทยได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูปของไทยมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าในปี 2548 มูลค่าการส่งออกเท่ากับ 3,500 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2547 แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2 ตลาดส่งออกสำคัญคือ สหภาพยุโรปมีสัดส่วนตลาดประมาณร้อยละ 50.0 ส่วนตลาดที่มีความสำคัญรองลงมาและมีการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูงคือ เกาหลีใต้ รัสเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และฟิลิปปินส์ คาดว่าในอนาคตตลาดเหล่านี้จะเพิ่มความสำคัญมากขึ้นทดแทนการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปที่เริ่มมีปัญหา โดยผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูปของไทยสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดบางส่วนจากสหรัฐฯมาได้ ทั้งนี้เนื่องจากราคาข้าวโพดหวานแปรรูปคุณภาพดีของไทยนั้นมีราคาถูกกว่าของสหรัฐฯประมาณร้อยละ 20 และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูปของไทยนั้นดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งขัน 
 
อย่างไรก็ตามสิ่งที่พึงระวังของการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูป คือ 
 
1.การแข่งขันกันเองของผู้ส่งออกของไทยที่ผลิตข้าวโพดหวานคุณภาพปานกลางและต่ำ ซึ่งจะเป็นตัวดึงราคาข้าวโพดหวานแปรรูปของไทยในอนาคต และอาจจะส่งผลกระทบถึงภาพลักษณ์โดยรวมของผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูปส่งออกโดยรวมของไทย ถ้ามีการปฏิเสธการนำเข้าผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูปของไทย เนื่องจากสินค้าของผู้ผลิตบางรายคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่ประเทศนำเข้ากำหนดไว้ และผู้ส่งออกมีการตัดราคาจำหน่ายแข่งขันกันเอง ซึ่งอาจจะส่งผลเสียในระยะยาว โดยกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์รายงานว่ามีกระแสข่าวว่าผู้ผลิตข้าวโพดกระป๋องในสหภาพยุโรปเตรียมจะฟ้องร้องเพื่อให้เปิดการไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้าข้าวโพดกระป๋องที่ส่งออกจากไทย หลังพบว่าการส่งออกจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีราคาต่ำ ทำให้ผู้ผลิตภายในของสหภาพยุโรปได้รับผลกระทบ 
 
2.การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูปไปยังสหภาพยุโรปลดลง อันเนื่องจากการที่ฮังการี ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูปอันดับหนึ่งของโลกเข้าไปเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปในเดือนพฤษภาคม 2547 ทำให้สหภาพยุโรปหันไปนำเข้าจากฮังการีมากยิ่งขึ้น 
 
3.ข้าวโพดหวานสดแช่เย็นแช่แข็ง ในช่วงระยะ 3 ปีที่ผ่านมาปริมาณการผลิตข้าวโพดหวานเพื่อนำไปผลิตเป็นข้าวโพดหวานสด แช่เย็นและแช่แข็งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าในปี 2548 ปริมาณการผลิตข้าวโพดหวานในส่วนนี้เท่ากับ 6,145 ตัน เมื่อเทียบกับในปี 2547 แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 ปริมาณข้าวโพดหวานที่ผลิตได้ในแต่ละปีประมาณร้อยละ 90 ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 เป็นการบริโภคในประเทศ 
 
การส่งออกข้าวโพดหวานสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่ามูลค่าการส่งออกข้าวโพดหวานสดแช่เย็นแช่แข็งในปี 2548 เท่ากับ 170.0 ล้านบาท เมื่อเทียบกับมูลค่าส่งออกในปี 2547 แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.6 ซึ่งข้าวโพดหวานสดแช่เย็นแช่แข็งกำลังเป็นที่นิยมบริโภคในตลาดต่างประเทศ ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น โดยมีสัดส่วนร้อยละ 60.0 การส่งออกไปยังญี่ปุ่นมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตลาดช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่าน และในปี 2547 ขยายตัวถึง 4 เท่าตัว คาดว่าในปี 2548 มูลค่าการส่งออกข้าวโพดหวานสดแช่เย็นแช่แข็งไปยังญี่ปุ่นจะยังคงขยายตัวอีกประมาณ 1 เท่าตัว อย่างไรก็ตามไทยต้องเผชิญกับปัญหาความเข้มงวดในเรื่องมาตรฐานด้านสุขอนามัย และการแข่งขันกับจีน ซึ่งมีราคาถูกกว่า แต่ผู้ส่งออกไทยยังคงได้เปรียบในเรื่องคุณภาพของสินค้า สำหรับตลาดอื่นๆที่น่าสนใจคือ ไต้หวันและสหรัฐฯ ส่วนตลาดใหม่ที่เริ่มมีการส่งออกคือ คอสตาริกา สวีเดน เวียดนาม เรอูเนียง สิงคโปร์ และอิหร่าน 
 
บทสรุป 
 
ปัจจุบันไทยครองอันดับ 3 ในการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานในตลาดโลกรองจากฮังการีและสหรัฐฯ โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานของไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานของไทยได้รับการยอมรับทั้งในด้านคุณภาพและราคา รวมทั้งยังเป็นที่นิยมบริโภคอย่างมากในตลาดต่างประเทศ ส่งผลให้ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ผักหลายรายหันมาเพิ่มสายการผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานเพื่อการส่งออก ทำให้มีการเข้าไปลงทุนส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหวานในลักษณะตลาดข้อตกลงเพื่อควบคุมปริมาณและคุณภาพการผลิตให้ตรงตามความต้องการ อย่างไรก็ตามปัจจัยพึงระวังที่ต้องเร่งแก้ไขเพื่อให้การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานของไทยยังจะเติบโตต่อเนื่องต่อไป ก็คือ การรักษาระดับมาตรฐานการผลิตและปัญหาการตัดราคากันเองของผู้ส่งออก ซึ่งอาจจะนำไปสู่ปัญหาการสอบสวนการทุ่มตลาดในประเทศนำเข้าสำคัญ โดยทั้งสองปัญหานี้จะส่งผลกระทบต่อทั้งภาพรวมการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานของไทยในอนาคต 
 
 
ปริมาณการผลิตและความต้องการข้าวโพดหวานแช่แข็งของไทย 
: ตัน 
2545 2546 2547 2548* 
สต็อกต้นปี 130 126 360 390 
ปริมาณการผลิต 1,200 4,700 5,100 6,145 
ปริมาณการนำเข้า 18 17 15 15 
รวม 1,348 4,843 5,475 6,550 
ส่งออก 1,072 4,310 4,900 6,000 
บริโภคในประเทศ 150 173 185 200 
สต็อกปลายปี 126 360 390 350 
ที่มา : USDA. GAIN Report. Thailand Processed Sweet Corn Annual 2004. 
หมายเหตุ : *คาดการณ์ 
 
มูลค่าส่งออกข้าวโพดหวานสดแช่เย็นแช่แข็งของไทย 
: ล้านบาท 
ประเทศ 2545 2546 2547 มค.-มิย. 2548 
ญี่ปุ่น 4.4 9.9 52.5 52.6 
ไต้หวัน 1.9 2.6 25.3 7.2 
คอสตาริกา - - - 6.5 
สหภาพยุโรป 22.1 11.5 16.1 5.0 
เวียดนาม - - 2.1 2.7 
สหรัฐฯ 2.1 0.8 5.1 1.7 
อื่นๆ 21.3 19.5 12.5 10.0 
รวม 51.8 
(7.2) 44.3 
(-14.5) 113.6 
(156.4) 85.7 
(38.7) 
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ 
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา 
 
 
 
 
ปริมาณการผลิตและความต้องการข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องของไทย 
: ตัน 
2545 2546 2547 2548* 
สต็อกต้นปี 6,521 5,605 6,500 6,300 
ปริมาณการผลิต 67,500 90,000 118,000 141,200 
ปริมาณการนำเข้า 5 5 5
รวม 74,026 95,610 124,505 147,505 
ส่งออก 66,321 86,264 115,000 138,000 
บริโภคในประเทศ 2,100 2,846 3,205 3,505 
สต็อกปลายปี 5,605 6,500 6,300 6,000 
ที่มา : USDA. GAIN Report. Thailand Processed Sweet Corn Annual 2004. 
หมายเหตุ : *คาดการณ์ 
มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานแปรรูปของไทย 
: ล้านบาท 
ประเทศ 2545 2546 2547 มค.-มิย. 2548 
สหภาพยุโรป 647.1 984.4 1,409.1 691.0 
เกาหลีใต้ 193.1 225.6 184.9 105.1 
รัสเซีย 132.0 82.9 128.1 93.8 
ญี่ปุ่น 24.4 102.4 124.3 66.1 
ไต้หวัน 116.8 141.0 146.4 60.0 
สหรัฐฯ 24.6 67.6 94.0 50.5 
ฟิลิปปินส์ 35.0 38.6 57.0 47.6 
อื่นๆ 408.2 435.7 566.0 436.8 
รวม 1,581.2 
(61.6) 2,078.2 
(31.4) 2,709.8 
(30.4) 1,550.9 
(22.6) 
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
อ่าน:3060
สาหร่าย กับการทำนาของลุงทองเหมาะ แจ่มแจ้ง
สาหร่าย กับการทำนาของลุงทองเหมาะ แจ่มแจ้ง
วันก่อน ไปเรียนการหมักจุลินทรีย์ที่บ้านคุณลุงทองเหมาะ แจ่มแจ้ง ที่สุพรรณบุรี มา แล้วเดินดูโน่นดูนี่รอบๆบ้านของคุณลุง เห็นแล้วน่าอิจฉาวิถีชีวิตของคุณลุงจัง พอดีไปสะดุดตาที่อ่างซีเมนต์ ที่คุณลุงทำการทดลองปลูกข้าวแบบเมล็ดเดียว เห็นบางอ่างต้นสูง แตกกอดี กว่าอ่างอื่นๆ เลยถามคุณลุงดู เห็นคุณลุงบอกว่า แกใช้ “สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ เป็นชีวภาพ สาหร่ายตัวนี้มันดี มันตรีงไนโตรเจนในอากาศมาเป็นอาหารของต้นข้าวได้” และคุณลุงยังบอกอีกว่า เอาไปใช้ในนาข้าวของแกแล้ว ดีมากเลย พอดีแกให้ลูกชายเอาไปใส่ แต่ลูกใส่ไม่ทั่วแปลงนา คราวนี้เลยเห็นชัดเจนเลยว่า “ตรงไหนที่ใส่สาหร่ายตัวนี้ลงไป ต้นข้าวจะสูง และแตกกอดีกว่าต้นที่ไม่ได้โดนสาหร่าย” ซึ่งทางเราเห็นว่าสาหร่ายตัวนี้น่าจะมีประโยชน์กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เลยนำมาเล่าให้ฟัง หากเพื่อนๆ คนไหนสนใจอยากรู้รายละเอียด ก็ไปสอบถามกับคุณลุงทองเหมาะได้นะคะ เผื่ออาจจะได้ความรู้ดีๆ เพื่อมาปรับใช้กับการทำแปลงนาของเพื่อนๆ
อ่าน:3044
อาหารไทย อาหารสุขภาพ
อาหารไทย อาหารสุขภาพ
อาหารไทยถือว่ามีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษ เนื่องจากประเทศไทยเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ มีอาหารตามธรรมชาติที่มี ลักษณะพิเศษตามภูมิอากาศและภูมิประเทศที่หลากหลายตลอดทั้งปี รวมทั้งคนไทยมีศิลปะอยู่ในสายเลือดอยู่แล้ว จึงแสดงออกซึ่งศิลปวิทยาของตนในรูปแบบการปรุงแต่งและการกินอาหารที่มีลักษณะเฉพาะ ตั้งแต่เรื่องการผสมกลม กลืนในการปรุงแต่งกลิ่น รส ให้กลมกล่อมอร่อยและรสจัดอย่างโดดเด่นเป็นพิเศษ ในเรื่องการจัดรูปแบบและแกะสลัก ตบแต่งสีสันสวยงามวิจิตรบรรจง ในเรื่องการผสมผสานทางคุณค่าอาหารและสรรพคุณทางยาเพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ สูงสุดทั้งในแง่การป้องกัน การบำรุงและการรักษา ตลอดจนการใช้อาหารเป็นเครื่องแสดงความผูกพันในหมู่ญาติมิตร และเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคม รวมทั้งการใช้อาหารเป็นสื่อทางความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ 


เครื่องปรุงอาหารไทยที่สะท้อนให้เห็นสรรพคุณทางยาและสมุนไพรที่เรากินกันบ่อย ก็เช่น 
อ่าน:3003
632 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 63 หน้า, หน้าที่ 64 มี 2 รายการ
|-Page 63 of 64-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
การป้องกันและจัดการโรคผลเน่าในทุเรียน: วิธีการปรับปรุงดูแลและลดความเสี่ยง
Update: 2566/11/11 09:22:37 - Views: 347
โรคไหม้ข้าว (ระยะออกรวง)
Update: 2564/05/03 08:21:45 - Views: 3244
ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งเชื้อรา ขนาด 3 ลิตร ปลอดภัย ใช้ดี
Update: 2562/08/30 11:47:08 - Views: 3487
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 ตัวช่วยสำคัญสำหรับการเพิ่มผลผลิตของต้นละมุด ช่วยให้ผลมีขนาดใหญ่ ผลดก น้ำหนักดี เพิ่มคุณภาพ ตรงตามความต้องการของตลาด
Update: 2567/03/09 14:19:44 - Views: 116
การต่อสู้กับเพลี้ยในต้นกาแฟ: วิธีการป้องกันและกำจัดให้พืชเติบโตอย่างสมบูรณ์
Update: 2566/11/17 13:00:04 - Views: 357
คู่มืองป้องกันและกำจัดโรคในลำไย โรคราต่างๆ ใบไหม้ ราแป้ง ราสนิม กิ่งแห้ง และราอื่นๆ
Update: 2566/04/30 08:55:27 - Views: 16565
โรคกุหลาบใบไหม้ โรคใบจุดกุหลาบ และ โรคจากเชื้อราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค 1ขวด ผสมน้ำได้ 400ลิตร
Update: 2564/08/16 07:39:18 - Views: 3322
โรคเชื้อราต่างๆในแก้วมังกร โรคไหม้ ราจุดสนิม เป็นแผลจุดสีน้ำตา โรคแก้วมังกรต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
Update: 2564/02/09 04:35:41 - Views: 3136
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนเจาะฝักถั่ว ใน ถั่วฝักยาว และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/07 14:31:14 - Views: 3109
Fujinon xf 35mm f1.4 และ xf 35mm f2.0 เลนส์สามัญประจำชาว Fuji ที่น่าจะมีไว้สักตัว
Update: 2564/04/25 02:38:08 - Views: 5760
วันนี้อาชีพเลี้ยงหมูได้เปลี่ยนอดีตชาวนาให้สามารถจับเงินปีละล้าน
Update: 2558/07/17 17:07:14 - Views: 3030
อะโวคาโด้ ผลใหญ่ ผลดก ด้วย ปุ๋ย สตาร์เฟอร์ 0-0-60 โพแทสเซี่ยม สูตรเร่งผล เพิ่มผลผลิต ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก และคุณภาพ
Update: 2567/04/29 10:32:42 - Views: 110
พริกยอดหงิก ใบหงิก ขอบใบม้วน เพราะเพลี้ยดูดกินน้ำเลี้ยง กำจัดด้วย มาคา
Update: 2562/08/10 10:25:33 - Views: 3220
โรคมันสำปะหลังจากเชื้อ ใบไหม้ ใบจุด ใช้ไอเอส เร่งหัวมันสำปะหลังเร่งเปอร์เซ็นต์แป้ง ใช้ FK3C
Update: 2563/04/11 13:24:47 - Views: 2993
ทุเรียนใบไหม้ ในช่วงอาการร้อนชื้น แดดจัด และมีฝนตกมาใบบางครั้ง
Update: 2563/04/21 09:11:49 - Views: 3026
ปุ๋ยสำหรับข้าว ปุ๋ยเพิ่มผลผลิตข้าว ยาแก้โรคใบไหม้ เน่าคอรวง ยากำจัดเพลี้ยในนาข้าว
Update: 2563/06/18 17:22:27 - Views: 3093
ผักบุ้งทะเล แก้แผลเรื้อรัง แก้พิษฝีบวม แก้งูสวัด ถอนพิษ จากแมลงกัดต่อย พิษสัตว์ทะเล แมงกระพรุน
Update: 2563/05/23 13:58:08 - Views: 3284
ยารักษาโรค ยาปราบแมลงศัตรูพืช สำหรับต้นหอม ปุ๋ยสำหรับหอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่
Update: 2563/06/19 08:34:56 - Views: 4451
พืชใบหงิกงอ พืชใบม้วน ใบด่าง ควรใช้ยาอะไร ต้องสังเกตุที่ต้นเหตุ แล้วเลือกใช้ยาแก้อาการ - ฟาร์มเกษตร
Update: 2563/06/01 09:52:03 - Views: 3258
โรคทานตะวันใบไหม้ โรคใบจุดทานตะวัน โรคราน้ำค้างทานตะวัน โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/21 01:29:58 - Views: 3343
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022