[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ข้าว
632 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 63 หน้า, หน้าที่ 64 มี 2 รายการ

น้ำหมัก จุลินทรีย์ เพื่อนที่ดีของต้นไม้
น้ำหมัก จุลินทรีย์ เพื่อนที่ดีของต้นไม้
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับจุลินทรีย์กันดีกว่า จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่บทบาทของมันไม่ได้เล็กไปด้วย จุลินทรีย์มีบทบาทที่สำคัญต่อดินและพืชหลายประการ ไม่ได้เป็นแหล่งธาตุอาหารของพืชโดยตรง แต่ทำหน้าที่ “เป็นผู้ย่อยสลาย” ย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนให้มีขนาดเล็กและกลายเป็นธาตุอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งปรับสมดุลและสภาพแวดล้อมต่างๆ ในดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช

จุลินทรีย์มีหลายชนิด สามารถใช้ทางการเกษตรได้ และชนิดที่คนอาจจะคุ้นเคยและใช้กันแพร่หลายแล้วคือ จุลินทรีย์ EM (Effective Microorganisms) ลักษณะเป็นน้ำสีน้ำตาลเข้ม ที่ขยายพันธุ์ด้วยกากน้ำตาล ไม่ชอบแสงแดด แต่วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับจุลินทรีย์น้องใหม่ที่ชอบแสงแดดและมีประโยชน์ไม่แพ้กัน นั่นก็คือจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง หรือ PSB (Photosynthetic Bacteria) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่อยู่ในกลุ่มของจุลินทรีย์สีม่วง พบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติ สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตร บำบัดน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือนและอุตสาหกรรมได้เช่นกัน จุลินทรีย์กลุ่มนี้ต้องการสิ่งที่จำเป็นในการเจริญเติบโตคือแสงแดด

ความสามารถที่ไม่ธรรมดาของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นประโยชน์ด้วยมีดังนี้

1.ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคพืชได้ดี ทำให้เปลือกหรือลำต้นแข็งแรง ทนต่อการกัดกินของแมลง
2.ช่วยกระตุ้นเซลล์เจริญบริเวณปลายรากพืชให้ขยายตัวและแตกแขนงได้ดี ทำให้มีรากฝอยที่หากินเก่งจำนวนมาก จึงทำให้พืชสามารถเพิ่มผลผลิตได้ดีเนื่องจากการสะสมอาหารได้มาก
3.สามารถใช้แทนปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยยูเรีย คือ ปุ๋ยสังเคราะห์ที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนในอัตราที่สูง โดยจุลินทรีย์ใช้หลักการย่อยสลายกลุ่มก๊าซของเสียให้เป็นไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืช
4.นำจุลินทรีย์ไปใช้ผสมผสานร่วมกับน้ำหมักหรือปุ๋ยสูตรต่างๆ จะทำให้ผลผลิตยิ่งเพิ่ม และคุณภาพผลิตดีขึ้นตามด้วย
5.ลดต้นทุนการผลิต เมื่อใช้เป็นประจำและต่อเนื่อง สามารถลดการใช้ปุ๋ยสูตรต่างๆ ลงได้สูงสุด 50% ทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง กำไรเพิ่มมากขึ้น
6.ช่วยในการบำบัดน้ำเสีย ได้ทั้งกับน้ำเสียที่อยู่ทั่วไปในท่อ บ่อปลา ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือกับน้ำเสียจากอุตสาหกรรมก็ได้
7.ช่วยย่อยสลายของเสียในดิน โดยเฉพาะกลุ่มก๊าซไข่เน่า หรือไฮโดรเจนซัลไฟด์ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะเข้าไปทำลายกำจัดก๊าซไฮโดรเจนโดยนำของเสียนั้นมาเป็นพลังงานใช้ในการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ และขับของเสียออกมาให้อยู่ในรูปกลุ่มโกรทฮอร์โมน (growth hormone) ที่มีประโยชน์ต่อพืช
8.ช่วยลดสภาวะโลกร้อน เนื่องจากจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงย่อยสลายทำลายโครงสร้างของก๊าซมีเทน (methane) ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ เป็นตัวทำลายชั้นบรรยากาศของโลกเรา และมีอยู่มากในท้องนาที่มีน้ำขังอยู่ เพียงแค่เกษตรกรนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงไปใส่ในนา นอกจากจะทำให้ต้นข้าวเติบโตแข็งแรงแล้ว ยังเป็นการช่วยปกป้องโลกของเราได้ด้วย

ในการขยายเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง สิ่งที่ต้องเตรียม ประกอบไปด้วย
1.ขวดน้ำพลาสติก (สามารถเตรียมได้ทั้ง 3 ขนาด คือ 600 cc / 1500 cc / 6000 cc)
2.น้ำเปล่า (สามารถใช้น้ำฝน น้ำบ่อ หรือน้ำประปาที่พักค้างคืนไว้)
3.ไข่ (ไข่ไก่ หรือไข่เป็ดก็ได้ ไข่เน่าแล้วก็ยังได้ จุลินทรีย์ยิ่งชอบ)
4.น้ำปลา หรือกะปิ
5.ผงชูรส
6.ถ้วย ช้อน ส้อม
7.หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ถ้ามี)

ขั้นตอนการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
1.ลอกพลาสติกที่ปิดขวดออกก่อน และกรอกน้ำลงไปในขวดให้ได้ 70% ของขวด
2.ตอกไข่ใส่ถ้วย ตีไข่ขาวและไข่แดงให้เป็นเนื้อเดียวกัน ใส่น้ำปลา และผงชูรสตามไป ตีจนเข้ากันเหมือนกำลังทำไข่เจียว อัตราส่วน ไข่ 1 ฟอง : น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ : ผงชูรส 1 ช้อนโต๊ะ จำง่ายๆ คือ 1:1:1)
3.จะใส่หรือไม่ใส่เปลือกไข่ก็ได้ ถ้าใส่ก็ช่วยเสริมแคลเซียม ให้ตำหรือบดให้ละเอียดแล้วใส่ลงในไข่ที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน
4.ตักใข่ที่ผสมแล้วใส่ลงในขวดน้ำที่เตรียมไว้ ดังนี้
5.สำหรับขวด 600 cc ใส่ครึ่งช้อนโต๊ะ
6.สำหรับขวด 1500 cc ใส่ 1 ช้อนโต๊ะ
7.สำหรับขวด 6000 cc ใส่ 4 ช้อนโต๊ะ
8.เขย่าส่วนผสมให้เข้ากับน้ำ แล้วเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะแสงลงไปให้เหลือพื้นที่วางในขวดเล็กน้อย ปิดฝาขวดให้แน่น
9.นำขวดไปวางเรียงกันในที่ที่มีแสงแดดส่องตลอดวัน
เขย่าขวดบ้าง หากมีแก๊สในขวดมากก็เปิดฝาระบายออกได้ รอจนกว่าจะเป็นสีแดงเข้มทั้งขวดจึงจะนำไปใช้ได้ (ถ้าใส่หัวเชื้อใช้เวลา 2 อาทิตย์จึงแดงดี ถ้าไม่มีหัวเชื้อใช้เวลาประมาณ 1 เดือน)

เท่านี้ ก็ได้จุลินทรีย์ใช้กันแล้ว ซึ่งทำไม่ยากเลยแต่แค่ต้องใจเย็นในการรอให้จุลินทรีย์ขยายตัว โดยปริมาณการใช้ จะใช้จุลินทรีย์ 200 CC ผสมน้ำ 20 ลิตร (ใช้กะปริมาณได้ไม่ต้องเป๊ะมาก ประมาณจุลินทรีย์ 1 แก้ว ต่อน้ำ 1 กะละมัง) ฉีดพ่นหรือรดน้ำทุกๆ 5-7 วัน ซึ่งใช้ทางการเกษตรในการปลูกต้นไม้ ดังนี้

-ใช้แช่เมล็ดพืช ก่อนปลูก 1-2 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น ช่วยให้รากพืชงอกเร็วและแข็งแรง ลดการติดเชื้อกำจัดเชื้อราหรือแบคทีเรียก่อโรคที่เมล็ดพืช ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นปลูกสามารถควบคุมไม่ให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้
-ใช้เตรียมดินปลูก ฉีดพ่นลงพื้นดินที่เพาะปลูก จะช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย ลดความเป็นกรดในดิน และลดเชื้อโรคในดิน
-ใช้ฉีดพ่น หรือรดต้นไม้ ทุก 7-15 วัน ช่วยทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตงอกงามแข็งแรง ผลไม้รสชาติดี หวาน กรอบ อร่อย ช่วยเพิ่มน้ำหนักผลไม้ ช่วยป้องกันโรคและแมลง ช่วยป้องกันการร่วงหล่นทิ้งลูกทิ้งผลก่อนเก็บเกี่ยว

หากอยากผลิตจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเพื่อจำหน่าย ต้องปฏิบัติตามนี้

การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับปุ๋ย

ขั้นตอนการ ขึ้นทะเบียนปุ๋ย (ฉบับสมบูรณ์)
1. เครื่องหมายการค้า (กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์)
– ขึ้นทะเบียนเครื่องหมายการค้าใหม่ (ใช้เวลาประมาณ 1-3 ปี)
– ซื้อต่อเครื่องหมายการค้าจากคนอื่น ที่จดจำพวกสำหรับ “ปุ๋ย” ไว้แล้ว (ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์)

บริการขึ้นทะเบียนเครื่องหมายการค้า
2. ขึ้นทะเบียนปุ๋ย (กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) (ใช้เวลาประมาณ 8-12 เดือน)
2.1 เลือกประเภทของปุ๋ย
– ปุ๋ยอินทรีย์
– ปุ๋ยเคมี
– ปุ๋ยเคมี ธาตุรองเสริม
– ปุ๋ยอินทรีย์เคมี
– ปุ๋ยชีวภาพ
2.2 เลือก สูตร / ลักษณะการผลิต ที่ต้องการขึ้นทะเบียน
– ปุ๋ยอินทรีย์ OM20% ปั้นเม็ด ขนาดบรรจุ 25 กก. และ 50 กก.
– ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สูตร 6-3-3 OM10% แบบคอมปาวน์ ขนาดบรรจุ 25 กก. และ 50 กก.
– ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สูตร 6-3-3 OM10% แบบผสม ขนาดบรรจุ 25 กก. และ 50 กก.
– ปุ๋ยเคมี ธาตุรองเสริม ชนิดน้ำ Cal 10% ขนาดบรรจุ 100 CC. _ 250 CC. _ 500 CC. และ 1 ลิตร
2.3 เลือก ชื่อทางการค้า
– ตั้งชื่อทางการค้า สำหรับเรียกสินค้าชนิดนั้น ๆ เฉพาะ เช่น ดินน้ำต้นไม้ _ บราโว่ เอ _วะว้าว
– เครื่องหมายการค้า ตรา อินเนอร์โกร ต้องการขึ้นทะเบียนปุ๋ย โดยใช้ชื่อที่ขออนุญาตขึ้นทะเบียนว่า “ปุ๋ยอินทรีย์ ดินน้ำต้นไม้ ตรา อินเนอร์โกร” หรือ “ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 6-3-3 OM10% บราโว่ เอ ตรา อินเนอร์โกร” หรือ “ปุ๋ยเคมี วะว้าว ตรา อินเนอร์โกร”
2.4 ส่งตัวอย่างปุ๋ยเพื่อตรวจวิเคราะห์ กับแล็บที่ได้รับรองจากกรมวิชาการเกษตรเท่านั้น
2.5 ยื่นผลวิเคราะห์ปุ๋ย พร้อมกับเอกสารเจ้าของเครื่องหมายการค้า ที่กรมวิชาการเกษตร

3. ขออนุญาติขายปุ๋ย (กรมวิชาการเกษตร / หน่วยราชการใกล้บ้าน ) (ใช้เวลาประมาณ 1-4 สัปดาห์)
– จดทะเบียนการค้า / จดทะเบียนบริษัท / จดห้างหุ้นส่วน

4. สั่งทำบรรจุภัณฑ์ (ใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์)
– ออกแบบ
– ทำบล็อคกระสอบ
– ผลิตกระสอบ
– ผลิตขวด บรรจุภัณฑ์
– ผลิตฉลาก

5. ผลิตปุ๋ยน้ำหมัก (ใช้เวลาประมาณ 7-14 วันทำการ)
– ผลิตปุ๋ย
– หารถขนส่ง

ข้อมูลการทำน้ำหมักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จาก okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4064/

ข้อมูลการขึ้นทะเบียน ปุ๋ย (น้ำหมักจุลินทรียื) จาก http://ไปที่..link..

สำหรับผู้ผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์สังเคาะห์แสง เพื่อจำหน่าย ที่สนใจตรวจวิเคราะห์น้ำหมักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์ นี้ http://ไปที่..link..

สำหรับผู้ผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์สังเคาะห์แสง เพื่อจำหน่าย ที่สนใจตรวจฉลากสินค้า สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์ นี้ http://ไปที่..link..
ขั้นตอน และเคล็ดลับ “SME” นำสินค้าขายใน ห้างสรรพสินค้า
ขั้นตอน และเคล็ดลับ “SME” นำสินค้าขายใน ห้างสรรพสินค้า
ปัจจุบันประเทศไทยมี ผู้ประกอบการ SME ที่อยู่ในระบบกว่า 3 ล้านราย แต่ในความจริงแล้วยังมี SME อีกมากที่ไม่ได้อยู่ในระบบ จึงประมาณการว่าโดยรวมแล้ว ประเทศไทยมีผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมไม่ต่ำกว่า 9 ล้านราย!

แน่นอนว่าผู้ประกอบการ SME ทุกคนที่พัฒนาสินค้าออกมาแล้ว อยากมี “ช่องทางการจำหน่าย” ที่แข็งแกร่ง เชื่อว่าหนึ่งในช่องทางที่ SME อยากนำพาสินค้าของตัวเองเข้าไปขายคือ ช่องทางของ Modern Trade รายใหญ่ เพราะเชนค้าปลีกเหล่านี้ มีทั้งสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ

การนำสินค้าเข้าไปวางจำหน่าย มีหลักเกณฑ์ และขั้นตอนที่พิจารณาคัดเลือก
5 วิธีการ และขั้นตอนนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า

1. ศึกษากลุ่มสินค้า

– อาหารสด และอาหารพร้อมรับประทาน
เนื้อสัตว์ อาหารทะเลสด และแปรรูป ผักสด ผลไม้สด และแปรรูป
อาหารพร้อมปรุง อาหารสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนม ไส้กรอก
เบเกอรี่ โดนัท คุกกี้ เค้ก

– อาหารแห้ง
ข้าวสาร น้ำมัน น้ำปลา ซอสปรุงอาหาร แป้ง เส้น

– เครื่องดื่ม
น้ำผลไม้ นม ชา กาแฟ เครื่องดื่มสมุนไพร

– ขนมขบเคี้ยว
ขนมอบกรอบ ลูกอม มันฝรั่ง ปลาเส้น ผลไม้อบแห้ง

– สุขภาพ/ความงาม
สินค้าดูแลหน้า เส้นผม ผิวพรรณ สุขภาพช่องปาก ยา และสินค้าทำความสะอาดร่างกาย

– ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาทำความสะอาดพื้น

– สินค้าใช้ในบ้าน
เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น แอร์ หม้อหุงข้าว เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องนอน สินค้าตกแต่งบ้าน และปรับปรุงบ้าน
เครื่องใช้ในครัวเรือน หม้อ กระทะ จานชาม ช้อนส้อม
สินค้าใช้ทำความสะอาด และอุปกรณ์ทำความสะอาด

– เครื่องแต่งกาย
เครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี เด็ก และแฟชั่น

2. สินค้าต้องผ่านมาตรฐาน GMP / HACCP
ผู้ประกอบการที่จะนำเสนอสินค้าให้ห้างสรรพสินค้าพิจารณา โดยเบื้องต้นสินค้านั้นต้องมีมาตรฐาน GMP / HACCP ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิต ทั้งด้านความสะอาด ปลอดภัย และถูกต้องตามกฎหมายในด้านจริยธรรม และการจ้างแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย

3. เข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณา
โดยจะมีฝ่ายจัดซื้อ (Buyer) แต่ละแผนกสินค้าของห้างพิจารณาผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ มีกระบวนการพิจารณาอยู่ที่ 30 วัน

โดยทางห้าง และผู้ประกอบการธุรกิจ SME จะมีการพูดคุยร่วมกัน เช่น เงื่อนไขต่างๆ กำลังการผลิต ต้นทุนสินค้า สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องพัฒนา หรือปรับปรุงสินค้าเพิ่มเติม เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของห้างสรรพสินค้า

หากสินค้าผ่านการคัดเลือก ห้างสรรพสินค้า และผู้ประกอบการ SME สามารถตกลงกันในเงื่อนไขต่างๆ ได้แล้ว ก็พร้อมให้สินค้านั้นเข้ามาวางสินค้านั้น เข้ามาวางจำหน่ายในสาขาต่างๆ

4. สินค้าที่วางขาย ต้องตอบโจทย์ความคุ้มค่าคุ้มราคา และสร้างผลกำไรให้กับห้าง– ผู้ประกอบการ
เนื่องจากเชื่อในการเติบโตอย่างยั่งยืน ดังนั้นอีกหนึ่งหลักเกณฑ์สำคัญของการพิจารณาสินค้าที่นำมาวางขายคือ ต้องสร้าง Win-Win ให้กับทั้ง 3 ฝ่าย

– ลูกค้า ซื้อสินค้าคุณภาพดี มีมาตรฐาน และความปลอดภัย ราคาเข้าถึงได้
– ผู้ประกอบการ ต้องทำแล้ว มีกำไร
– ห้างสพพสิรค้า ต้องมีกำไรเช่นกัน

ดังนั้น ปัญหาอย่างหนึ่งของ SME คือ ต้นทุนการผลิตสินค้า สูงกว่าราคาขายในร้านค้าปลีก หากเป็นเช่นนี้จะส่งผลให้ SME มีผลกำไรน้อย ไปจนถึงไม่มีกำไร และขาดทุน!

ด้วยเหตุนี้เอง ห้างสรรพสินค้า จึงมีทีมงานพัฒนาธุรกิจ และทีมพัฒนาคุณภาพสินค้า ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการในด้านการลดต้นทุน เพราะถ้าผู้ประกอบการรายนั้นๆ ยังผลิตในต้นทุนที่สูงกว่าราคาขาย ย่อมไม่เกิดการค้าที่ Win-Win ได้ทุกฝ่าย

5. เมื่อสินค้าวางจำหน่ายแล้ว ต้องพัฒนามาตรฐานต่อเนื่อง – ทบทวนยอดขาย – ไม่หยุดนำเสนอนวัตกรรมใหม่
สินค้าที่ผ่านการคัดเลือก และได้วางจำหน่ายในห้างแล้ว ทั้งผู้ประกอบการ SME และห้างสรรพสินค้า จะทำงานร่วมกันแบบ “คู่ค้าพันธมิตร” (Business Partner) เพื่อสร้างการเติบโตด้วยกัน ประกอบด้วย

– ผู้ประกอบการตต้องทบทวนยอดขายกับทีมจัดซื้อเป็นประจำ
– มีการส่งเสริมการขายต่อเนื่อง
– มีการพัฒนามาตรฐานต่อเนื่อง ทั้งตรวจสอบคุณภาพ และรักษาคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ
– มีการนำเสนอสินค้าใหม่ หรือสินค้านวัตกรรมใหม่

ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..

ผู้ประกอบการ SMEs OTOP วิสาหกิจชุมชน ท่านใดกำลังมองหาแล็บทดสอบผลิตภัณฑ์ด้าย เกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม
-เพื่อขอขึ้นทะเบียน อย.
-เพื่อจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า
-ส่งออกไปต่างประเทศ
-งานวิจัย
-เพื่อทราบผล

ให้เซ็นทรัลเเล็บไทยหนึ่งในผู้นำแล็บทดสอบผลิตภัณฑ์อันดับต้นๆของ ASEN และได้รับการยอมรับทั่วโลก ด้วยห้องปฏิบัติการมาตรฐานระดับสากล เป็นผู้ช่ายในการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ของท่าน ผ่านวิธีการทดสอบที่ถูกต้องแม่นยำและน่าเชื่อถือ

สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์ นี้ http://ไปที่..link..

สำหรับผู้ผลิตสินค้าที่ที่ต้องการตรวจฉลากโภชนาการ สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์ นี้ http://ไปที่..link..


แจกสูตร หมูสวรรค์ หมูหวาน หมูนุ่มไม่แข็งกระด้าง เมนูทำขายสร้างอาชีพ !
แจกสูตร หมูสวรรค์ หมูหวาน หมูนุ่มไม่แข็งกระด้าง เมนูทำขายสร้างอาชีพ !
สูตรทำขาย เมนูทำขายตลาดนัด กับสูตรทำ แจกสูตร หมูสวรรค์ หมูหวาน หมูนุ่มไม่แข็งกระด้าง เมนูทำขายสร้างอาชีพ ! เมนูหมูหวาน ที่หลายคนคุ้นเคย เนื้อหมูหวานหอมเข้มข้น กินคู่ข้าวเหนียวหรือข้าวสวยร้อนๆ เข้ากันมาก จะทำไว้เป็นมื้อเช้าก่อนไปทำงาน หรือจะทำเป็นเมนูทานเล่นที่บ้านก็ได้ทั้ง ส่วนใครอยากจดสูตรไปทำขาย บอกเลยว่าสูตรนี้เด็ด เพราะหมูนุ่มไม่เหมือนใคร ถ้าพร้อมแล้วตามไปดูวิธีทำไปพร้อมกันเลย

สูตรทำ หมูสวรรค์ หมูหวาน สูตรทำขาย
ส่วนผสม หมูสวรรค์
เนื้อหมูส่วนสะโพกหั่นบาง 1000 กรัม (หั่นหนา 2 มิล)
น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี 150 กรัม
น้ำตาลมะพร้าว 150 กรัม
เกลือป่น 1 ช้อนตวง
ซอสปรุงรสฝาเขียว 1 ช้อนตวง
ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนตวง
น้ำปลา 1 ช้อนตวง
ซอสหอยนางรม 1 ช้อนตวง
น้ำมันงา 1 ช้อนตวง
ลูกผักชีโขลกหยาบ 3 ช้อนตวง
ยี่หร่าโขลกหยาบ 1 ช้อนชา

วิธีทำ หมูสวรรค์
นำหมูมาล้างให้สะอาดหั่นพังผืดหมูออกให้หมด นำไปแช่ให้แข็งพอประมาณ แล้วนำมาออกหั่นเป็นแนวยาว ความหนา 2 มิลลิเมตร
นำมาใส่น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลมะพร้าว เกลือป่น น้ำมันงา น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซอสฝาเขียว ซอสหอยนางรม
จากนั้นนำมานวดคลุกเคล้าให้เข้ากันดี จนน้ำตาลละลาย
จากนั้นใส่ยี่หร่า และลูกผักชี คลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง แรปด้วยพลาสติก นำแช่ตู้เย็นช่องธรรมดา 1 ชั่วโมง
จากนั้นนำหมูเรียงใส่กระด้ง ตากแดดประมาณ 2 ชั่วโมง กลับด้านเมื่อครบ 1 ชั่วโมงแรก
ตั้งกระทะใส่น้ำมันให้เยอะ เปิดแก๊สใช้ไฟกลางค่อนอ่อน ไม่ต้องรอให้น้ำมันร้อน ใส่หมูลงไปได้เลย
ระหว่างทอดไม่ต้องคนบ่อย ไม่เช่นนั้นน้ำตาลจะตกทราย ทอดไปเรื่อยๆ จนกว่าหมูจะมีสีเข้มขึ้น จากนั้นตักขึ้นไปพักให้สะเด็ดน้ำมัน
จากนั้นปิดแก๊ส เพื่อให้น้ำมันลดอุณหภูมิ แล้วนำหมูลงทอดรอบสอง ตักมาสะเด็ดน้ำมัน พักให้เย็น เป็นอันเสร็จ

วิธีการขอ อย.อาหาร
อาหาร ในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 หมายถึง วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ นอกจากนี้อาหารยังรวมถึงวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สี เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสด้วย

โดยปัจจุบันนี้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้รวมตัวกันเป็นชมรมหรือสหกรณ์ นำวัตถุดิบที่ได้จากการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายเป็นการช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ เช่น เครื่องดื่มทำจากผลไม้ท้องถิ่น เครื่องดื่มจากสมุนไพร กะปิ น้ำปลา ขนมหวาน อาหารขบเคี้ยว เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องสะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพหรือมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ผู้ผลิตอาจต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไป

อาหารกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ไม่แปรรูปหรือถ้าแปรรูปก็จะใช้กระบวนการผลิตง่าย ๆ ในชุมชน ผู้บริโภคจะต้องนำมาปรุงหรือผ่านความร้อนก่อนบริโภค อาหารกลุ่มนี้ผู้ผลิตที่มีสถานที่ผลิตไม่เข้าข่าย โรงงาน ( ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือคนงานน้อยกว่า 7 คน ) สามารถผลิตจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมาขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และ ยาหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แต่ต้องแสดงฉลากอาหารที่ถูกต้องไว้ด้วย

อาหารกลุ่มนี้เป็นอาหารที่มีการแปรรูปเป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูปหรือ อาหารสำเร็จรูปแล้ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคในระดับต่ำ ปานกลางหรือ สูง แล้วแต่กรณี ได้แก่ อาหารที่ต้องมีฉลาก อาหารกำหนดคุณภาพหรือ มาตรฐาน หรืออาหารควบคุมเฉพาะ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารและขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือ จดทะเบียนอาหาร หรือแจ้งรายละเอียดของอาหารแต่ละชนิดแล้วแต่กรณี ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และ ยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

เอกสารสำคัญที่ต้องจัดเตรียมเพื่อขอจัดตั้งโรงงาน / สถานที่ผลิต
1. สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ
2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจ
3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
4. สำเนา ภพ.20 ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
5. สำเนาทะเบียนบ้านของร้าน หรือ บริษัท ( กรณีที่อยู่ดังกล่าว ไม่ตรงกับที่อยู่ผู้มีอำนาจ )
6. แผนที่ตั้งของร้าน หรือ บริษัท
7. แผนผังภายในร้าน หรือ บริษัท ระบุ สถานที่ผลิต_บรรจุ_เก็บสินค้า ให้ชัดเจน
8. สินค้าตัวอย่างพร้อมฉลาก

อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตอาหาร
1. ใช้คนงานตั้งแต่ 7-19 คน โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 3_000 บาท
2. ใช้คนงานตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 5_000 บาท
3. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5-91 แรงม้า 6_000 บาท
4. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 10-24 แรงม้า 7_000 บาท
5. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 25-49 แรงม้า 8_000 บาท
6. ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ 50 แรงม้า ขึ้นไป 10_000 บาท สำหรับกรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น (ฟรี)

หลักฐานสำคัญเพื่อใช้ขอรับเลขสารบนอาหาร (อย.)
1. ใบจดทะเบียนอาหาร/แจ้งรายละเอียด (แบบ สบ.5) จำนวน 2 ฉบับ
2. สำเนาการได้รับอนุญาตตั้งสถานที่ผลิต
3. ใบรับรองสถานที่ผลิตอาหารที่เทียบเท่าเกณฑ์ Primary GMP

สรุป 4 ขั้นตอนการขอเครื่องหมาย อย.
1. จัดเตรียมสถานที่ผลิตอาหารให้ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP: GOOD MANUFACTURING PRACTICE)
2. จัดเตรียมเอกสาร โดยติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารทุกแห่ง
3. ยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตอาหาร พร้อมนัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจ สถานที่
4. ยื่นขอเอกสารอนุญาตขอรับเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.) ตามแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารควบคุม เฉพาะ_อาหาร ที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก

สถานที่ยื่นคำขออนุญาต ในกรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ ( One stop service center ) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดนั้น ๆ นี่คือเรื่องพื้นฐานในทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ และ ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สันทัดในการเดินเอกสารก็มีหลายบริษัทที่เข้าทำหน้าที่รับดำเนินการแทนแต่เราก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายทางที่ดีเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยากทำเองก็จะช่วยลดต้นทุนได้ดีกว่าสำคัญคือสินค้าเรามีคุณภาพสถานที่ผลิตได้มาตรฐานทุกอย่างก็ผ่านอนุมัติง่ายและเร็ว

ขอบคุณคลิปและข้อมูลจาก
FB : แม่ซี น้องมดดี้ channel
Youtube : แม่ซี น้องมดดี้ channel
ข้อมูลจาก http://ไปที่..link.. ข้อมูลจาก http://ไปที่..link.. http://ไปที่..link..

สำหรับผู้ผลิตอาหารแปรรูป ที่ต้องการตรวจฉลากบรรจุภัณฑ์ สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้ http://ไปที่..link..
GMP คืออะไร หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร อย่างปลอดภัย
GMP คืออะไร หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร อย่างปลอดภัย
GMP (Good Manufacturing Practice) หมายถึง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม และทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจทำให้อาหารเป็นอันตราย เป็นพิษ หรือเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

GMP คือ ระบบประกันคุณภาพที่มีการปฏิบัติและพิสูจน์แล้วจากกลุ่มนักวิชาการด้านอาหารทั่วโลกว่า สามารถทำให้อาหารเกิดความปลอดภัย และเป็นที่เชื่อถือยอมรับจากผู้บริโภค โดยอาศัยหลายปัจจัยที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ดังนั้นหากปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดได้ทั้งหมด ก็จะทำให้อาหารมีคุณภาพมีความปลอดภัยและได้มาตรฐาน

โดยหลักการของ GMP จะครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ประกอบการ โครงสร้างอาคาร กระบวนการผลิตที่ดีมีความปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่ขั้นตอน เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และการขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีความปลอดภัยได้คุณภาพเป็นที่มั่นใจเมื่อถึงมือผู้บริโภค และ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะนำไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ที่สูงกว่าต่อไป เช่น ISO 9000 และ HACCP (Hazards Analysis and Critical Points)

ประเภทของ GMP
GMP สุขลักษณะทั่วไป (General GMP) เป็นหลักเกณฑ์ที่นำไปใช้ปฏิบัติสำหรับอาหารทุกประเภท
GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ (Specific GMP) เป็นข้อกำหนดที่เพิ่มเติมจาก GMP ทั่วไป เพื่อมุ่งเน้นในเรื่องของความเสี่ยงกับความปลอดภัยของแต่ละผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันทางสำนักงานคณะกรรมอาหารและยาของไทย ได้นำเอาหลักเกณฑ์ของ GMP มาบังคับใช้เป็นกฎหมาย โดยกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษา ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นมา ซึ่งข้อกำหนดตามประกาศฯ (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เป็นเกณฑ์สุขลักษณะทั่วไป ได้ประยุกต์มาจากเกณฑ์ GMP สากลของ CodeX โดยคำนึงถึงความพร้อมของผู้ผลิตในประเทศไทย ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องเงินทุน เวลากับความรู้ เพื่อให้ผู้ผลิตทุกระดับ โดยเฉพาะขนาดเล็กกับขนาดกลาง ซึ่งมีเป็นจำนวนมากสามารถปรับปรุงและปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้ แต่ทั้งนี้ข้อกำหนดยังคงสอดคล้องตามแนวทางของหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ

ประเภทอาหารที่มีการบังคับให้ใช้ GMP ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เช่น อาหารเสริมสำหรับทารกกับเด็กเล็ก_ อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกกับเด็กเล็ก_ น้ำแข็ง_ นมโค_ นมเปรี้ยว_ เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท_ สีผสมอาหาร_ ชา_ กาแฟ_ อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก_ ไข่เยี่ยวม้า และข้าวเติมวิตามิน เป็นต้น

ข้อกำหนดทั่วไป หรือ General GMP

1.สุขลักษณะของสถานที่ตั้งกับอาคารผลิต สถานที่ตั้งตัวอาคารกับบริเวณใกล้เคียง จะต้องอยู่ในที่ที่จะไม่ทำให้อาหารที่ผลิตเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย และอาคารผลิตมีขนาดเหมาะสม มีการออกแบบและก่อสร้างที่ง่ายแก่การบำรุงสภาพรักษาความสะอาด และสะดวกในการปฏิบัติงาน ต้องจัดให้มีพื้นที่เพียงพอ ต้องแยกบริเวณผลิตอาหารออกเป็นสัดส่วน มีการระบายอากาศอย่างเพียงพอ เพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความชื้นหรือฝุ่นละอองจากการผลิต

2.เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต จะต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร ไม่เป็นพิษ ไม่เป็นสนิม มีความแข็งแรงทนทาน จำนวนเครื่องมือ เครื่องจักรกับอุปกรณ์ต้องมีอย่างเพียงพอ และเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานในแต่ละประเภท การจัดเก็บอุปกรณ์ที่ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อแล้ว ควรจัดเก็บแยกเป็นสัดส่วน อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้มีโอกาสเกิดการปนเปื้อนจากฝุ่นละอองกับสิ่งสกปรกต่าง ๆ

3.การควบคุมกระบวนการผลิต การดำเนินการทุกขั้นตอนจะต้องมีการควบคุมตามหลักสุขาภิบาลที่ดี ทั้งวัตถุดิบ ส่วนผสม ภาชนะบรรจุ การผลิต การเก็บรักษา การขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อาหาร

4.การสุขาภิบาล เป็นเกณฑ์สำหรับสิ่งที่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานทั้งหลาย เช่น น้ำใช้ อ่างล้างมือ ห้องน้ำ ห้องส้วม ระบบกำจัดขยะมูลฝอย ทางระบายน้ำทิ้ง การป้องกันและกำจัดสัตว์กับแมลง

5.การบำรุงรักษา และการทำความสะอาด ช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันการปนเปื้อนของสารอันตรายสู่อาหาร โดยต้องทำความสะอาด ดูแลและเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิตให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ทั้งก่อนและหลังการผลิต

6.บุคลากร สวมเสื้อผ้าที่สะอาดและเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากการปฏิบัติงานและตัวบุคลากร ซึ่งผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตจะต้องมีสุขภาพดี ไม่เป็นวัณโรคในระยะอันตราย โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจหรือโรคเรื้อน

ประโยชน์ของ GMP

1.ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยมีคุณภาพ

2.เป็นแนวทางการผลิต เพื่อประกันว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพปลอดภัย ตรงตามที่มาตรฐานกำหนด และผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอในทุก ๆ ล็อตการผลิต

3.ช่วยลดข้อผิดพลาดหรือความเบี่ยงเบนที่จะผลิตไม่ได้มาตรฐาน

4.ป้องกันไม่ให้มีข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตหรือการควบคุมคุณภาพ รวมทั้งขจัดปัญหามิให้เกิดขึ้นซ้ำซ้อน

5.ส่งผลต่อคุณภาพอาหารในระยะยาว และช่วยลดต้นทุนการผลิต

6.มีความสะดวก และง่ายต่อการติดตามข้อมูล

7.มีการควบคุม และรักษามาตรฐานความสะอาด และถูกสุขลักษณะของโรงงาน

8.สร้างความสะดวกปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานในขณะปฏิบัติงาน

9.ช่วยสร้างทัศนคติที่ดี และถูกต้องแก่ผู้ปฏิบัติงาน

10.ความคล่องตัวในการดูแล การจัดการ และการประเมินงานในโรงงาน

อ้างอิง http://ไปที่..link..

สำหรับผู้ประกอบการ หรือโรงงาน ที่มีความประสงค์ ตรวจวิเคราะห์น้ำใช้ในกระบวนการผลิต สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้ http://ไปที่..link..
ทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์ ?
ทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์ ?
เกษตรกรและการเกษตรกรรม เป็นอาชีพที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างช้านานจนกลายเป็นรากฐานของสังคมไทย การปลูกพืชพันธุ์ต่าง ๆ เป็นการผลิตของคนส่วนใหญ่ วิถีชีวิตของคนเพาะปลูกและทำอาชีพเกษตรกรจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเสริมสร้างสังคม วัฒนธรรม การปกครอง การกินอยู่ ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนการแสดงออกต่าง ๆ ของคนในประเทศและรวมไปถึงเรื่องของการค้า เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้นเราจึงต้องดูแลให้อาชีพเกษตรกรอยู่ได้อย่างมีความสุขและมั่นคงในอาชีพของเขา


และในยุคสมัยที่เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งต่าง ๆ เข้ามามีอิทธิพลและบทบาทในการทำอาชีพของเกษตรกร ไปจนถึงปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการทำงานไป เช่น จากการใช้ควายไถนา เปลี่ยนมาใช้เครื่องจักร_ การใช้ปุ๋ยและสารเคมี_ การใช้เทคโนโลยีควบคุมการปล่อยน้ำและอื่น ๆ อีกมาก ก็ยิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสริมสร้าง พัฒนาและเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นให้วงการเกษตรก้าวไกลให้ทันโลกและนำมาประยุกต์ใช้ในวงการเกษตรของไทยให้ได้ แต่เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยแม้จะอำนวยความสะดวก แต่ด้วยปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ทั้งเรื่องที่ดิน_ ต้นทุนการผลิตที่มากขึ้น_ ภัยพิบัติ_ ภาวะเศรษฐกิจ และอื่น ๆ ก็ทำให้ภาคการเกษตรนั้นมีแนวโน้มที่จะอยู่อย่างลำบากมากขึ้น จนเกษตรกรที่เป็นอาชีพหลักนั้นอยู่อย่างลำบาก และมีแนวโน้มที่จะมีหนี้สินมากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือสวก. จึงเป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการวิจัยการเกษตร เพื่อเกษตรไทยอยู่ได้อย่างเข้มแข็งอย่างมั่นคง ยั่งยืนและผลักดันให้วงการเกษตรก้าวไกลให้ทันยุคสมัย โดยทางสวก. นั้นมีผลงานและงานวิจัยมากมายที่ได้ให้การสนับสนุนแก่นักวิจัย เกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตั้งแต่โครงการอบรม การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย_ การให้ทุนการวัยวิจัยในหัวข้อต่าง ๆ ที่กำหนด_ การผลักดันเกษตรกรให้เป็น Smart Farmer_ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ_ การวิจัยพืชพันธุ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลผลิตการเกษตรต่าง ๆ และมีผลงานอีกมากมายที่สวก. พยายามผลักดันและสนับสนุนให้การเกษตรก้าวไกลและอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง

และเพื่อให้เกษตรกรไทยอยู่ได้อย่างเข้มแข็งจริง สวก. จึงมีวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ ค่านิยมและพันธกิจต่าง ๆ เกษตรอินทรีย์ คือ อะไร และทำไมต้องเกษตรอินทรีย์?

หลายท่านเคยสงสัยหรือมีคำถาม ว่าเกษตรอินทรีย์คืออะไร ทำไมเดี๋ยวนี้ เราไปเลือกซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้า สินค้าหรือวัตถุดิบต่างๆ มักจะมีฉลากระบุที่ข้างกล่องหรือภาชนะ ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับการทำเกษตรอินทรีย์ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร

เกษตรอินทรีย์

คือการทำการเกษตรด้วยกรรมวิธีทางธรรมชาติ โดยที่พื้นที่ที่ทำเกษตรนั้น ต้องไม่มีสารพิษ หรือสารเคมีตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทั้งทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อความสมบูรณ์ทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามสมดุลของธรรมชาติให้มากที่สุด โดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม และมุ่งเน้นการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบในการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตสูง อุดมด้วยคุณค่าทางอาหารและปลอดสารพิษ ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิต และสามารถประยุกต์ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติเพื่อคุณภาพชีวิต และสนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ทำไมต้องเกษตรอินทรีย์

จากการใช้ทรัพยากรดินทำการเกษตรโดยไม่คำนึงถึงผลเสียของ ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุและกายภาพของดินตามธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ที่อาศัยอยู่ในดินนั้นสูญหาย และไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งการที่ธรรมชาติขาดสมดุลนี้ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ต่อกระบวนการเจริญเติบโตทางธรรมชาติ แต่เมื่อเกิดความไม่สมดุลขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ผืนดินสูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุในดิน ทำให้ผลผลิตมีแร่ธาตุ วิตามิน และพลังงานชีวิตต่ำ เป็นผลให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองในพืช เป็นสาเหตที่ทำให้พืช ผลผลิตอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทานโรค และทำให้เกิดการคุกคามของแมลง ศัตรูพืช และเชื้อโรคในพืช ซึ่งจะนำไปสู่การใช้สารเคมีฆ่าแมลงและเชื้อราเพิ่มขึ้น ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพในที่สุด และในดินที่เสื่อมคุณภาพนี้ จะทำปฏิกิริยาเร่งการเจริญเติบโตของศัตรูพืชให้เจริญเติบโตแข่งกับพืชเกษตร และนำไปสู่การใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดแมลงและวัชพืช

เป็นเกษตรอินทรีย์ได้อย่างไร

การเกษตรปัจจุบัน สามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดยเริ่มต้นศึกษาหาความรู้จากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้น ซึ่งเกษตรกรควรเริ่มต้นด้วยความสนใจ โดยศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติ และเมื่อเริ่มปฏิบัติตามนี้แล้วก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยนเรียนรู้ และเมื่อได้ลงมือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ไม่นานก็จะสามารถเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของการทำเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิตขึ้นนั้น ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว และหลักการสำคัญ คือการทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ และมีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียร โดยไม่ท้อถอยต่อปัญหาหรืออุปสรรค จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก เพราะเกษตรอิทรีย์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริง แล้วเกษตรกรเองก็สามารถขอรับการผ่านรับรองมาตรฐานจากภาครัฐจึงจะนับได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ที่สมบูรณ์พร้อม

หลักการผลิตพืชอินทรีย์

1. พื้นที่ที่จะทำการเกษตรนั้นต้องไม่เคยทำการเกษตรเคมีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี

2. พื้นที่ควรมีลักษณะค่อนข้างดอนและโล่งแจ้ง

3. พื้นที่ต้องอยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม

4. พื้นที่ควรอยู่ห่างจากแปลงที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี

5. พื้นที่ห่างจากถนนหลวงหลัก

6. พื้นที่มีแหล่งน้ำที่ปลอดสารพิษ

มาตรฐานของเกษตรอินทรีย์

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ คือเกณฑ์ข้อกำหนดที่เกษตรกรผู้ผลิตจะต้องปฏิบัติตาม และหน่วยงานรับรองจะใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจประเมินการผลิต และตัดสินใจในการรับรองฟาร์มที่ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานนั้นๆ

ปกติในการกำหนดมาตรฐานโดยส่วนใหญ่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์กลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้ค้า ผู้บริโภค รวมทั้งนักสิ่งแวดล้อม และนักวิชาการด้านต่างๆ จะมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น และตัดสินใจในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในแต่ละข้อ ความคาดหวังหรือการให้คุณค่ากับการปฏิบัติเกษตรอินทรีย์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละส่วนจะถูกตรวจสอบ และยอมรับหรือปฏิเสธโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ประกอบการ เพราะผู้ผลิตและผู้ประกอบการจะเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดเหล่านั้น ดังนั้น มาตรฐานจึงเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นกระบวนการแปลความคาดหวังและคุณค่าของเกษตรอินทรีย์ให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ ดังนั้น ข้อตกลงในมาตรฐานจึงเปรียบเหมือนเป็น “สัญญาประชาคม” ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ทำให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มีสถานะเสมือนหนึ่งเป็น “คำนิยาม” ของเกษตรอินทรีย์ไปพร้อมกันด้วย

จะเห็นได้ว่า มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นภาพสะท้อนของสภาวการณ์การผลิตและการแปรรูปผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ที่เกษตรกรได้พัฒนายกระดับความสามารถในการทำการผลิตและแปรรูปให้ก้าวรุดหน้ามากขึ้น ดังนั้น มาตรฐานเกษตรอินทรีย์จึงไม่ใช่มาตรฐานที่หยุดนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เป็นสภาพการณ์ที่ยังสามารถมีการแปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ตามสภาวการณ์ของการผลิตเกษตรอินทรีย์ ที่นับวันมีแต่จะก้าวรุดหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ

ในที่นี้ จะขอกล่าวถึงข้อกำหนดโดยสรุปของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในบางเรื่องที่สำคัญ

1) ระบบนิเวศการเกษตร

ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ต้องเอื้ออำนวยต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้ม ซึ่งผู้ผลิตจะต้องดำเนินการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและสภาพนิเวศท้องถิ่นดั้งเดิมไว้ เพื่อให้พืชพรรณและสัตว์ท้องถิ่นสามารถมีที่อยู่อาศัยได้อย่างเพียงพอ นอกเหนือจากการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังจำเป็นต้องมีมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างจริงจังอีกด้วย

2) การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์

การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ควรเริ่มจากการมีแผนการปรับเปลี่ยนที่ชัดเจน โดยแผนการปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน โดยอาจจะปรับเปลี่ยนฟาร์มทั้งหมดเข้าสู่เกษตรอินทรีย์พร้อมกัน หรือค่อยๆ ปรับเปลี่ยนบางส่วนของฟาร์มเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ก็ได้ แต่ทั้งนี้ แผนการปรับเปลี่ยนจะต้องระบุถึงขั้นตอนและระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนฟาร์มทั้งหมดเข้าสู่เกษตรอินทรีย์ รวมทั้งการจัดแยกระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์และไม่ใช่เกษตรอินทรีย์ออกจากกัน ซึ่งในแต่ละมาตรฐานอาจกำหนดระยะเวลาของการปรับเปลี่ยนแตกต่างกันไป ซึ่งในช่วงระยะปรับเปลี่ยนนี้อาจใช้เวลา 12 – 36 เดือนขึ้นอยู่กับมาตรฐาน

3) การผลิตพืช

ในระบบการปลูกพืช ควรเลือกปลูกพืชที่หลากหลายชนิดและพันธุ์ เพื่อสร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนของนิเวศฟาร์ม นอกจากนี้ การปลูกพืชหลากหลายพันธุ์ ยังเป็นการช่วยรักษาความหลากหลายของพันธุกรรมพืชไว้ด้วย ในการสร้างความหลากหลายของการปลูกพืชนี้ ควรมีการปลูกพืชหมุนเวียน โดยมีพืชที่เป็นปุ๋ยพืชสดรวมอยู่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชตระกูลถั่วและพืชที่มีระบบรากลึก โดยจัดระบบการปลูกพืชให้มีพืชคลุมดินอยู่ตลอดทั้งปี

4) การจัดการดิน และธาตุอาหาร

การจัดการดินที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบเกษตรอินทรีย์ การปรับปรุงดินและการบริหารจัดการดินและธาตุอาหาร มีเป้าหมายเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งรวมถึงการจัดการให้มีธาตุอาหารอย่างเพียงพอกับพืชที่เพาะปลูก และเพิ่มพูนอินทรียวัตถุให้กับดินอย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างกลไกของการหมุนเวียนธาตุอาหารในฟาร์ม รวมทั้งการป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และการสูญเสียของธาตุอาหาร ซึ่งการจัดหาแหล่งธาตุอาหารพืชนั้นควรเน้นที่ธาตุอาหารที่ผลิตขึ้นได้ภายในระบบฟาร์ม

5) การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

ในระดับฟาร์ม การป้องกันกำจัดศัตรูพืชในระบบเกษตรอินทรีย์จะเน้นที่การเขตกรรม การจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี และวิธีกลเป็นหลัก ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างสมดุลของระบบนิเวศการเกษตร ที่ทำให้พืชที่เพาะปลูกพัฒนาภูมิต้านทานโรคและแมลง และสภาพแวดล้อมของฟาร์มไม่เอื้ออำนวยต่อการระบาดของโรคและแมลง ต่อเมื่อการป้องกันไม่เพียงพอ เกษตรกรจึงอาจใช้ปัจจัยการผลิตสำหรับควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูพืช ซึ่งกำหนดอนุญาตไว้ในมาตรฐาน

6) การป้องกันมลพิษ การปนเปื้อน และการปะปน

ในระดับฟาร์ม เกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์จะต้องมีมาตรการในการป้องกันมิให้ดินและผลผลิตเกษตรอินทรีย์ปนเปื้อนจากมลพิษ และสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตร ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งรวมถึงโลหะหนัก และมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน รวมทั้งมีมาตรการในการลดการปนเปื้อน

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แต่ละแห่งจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการแนวกันชน (buffer zone) ที่แตกต่างกัน โดยอาจมีการกำหนดทั้งระยะห่างระหว่างแปลงเกษตรอินทรีย์กับแปลงเกษตรเคมี หรือการปลูกพืช หรือการจัดทำสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นแนวป้องกันการปนเปื้อน ในพื้นที่แนวกันชนที่แตกต่างกันได้ โดยทั่วไป จะมีการกำหนดเกณฑ์แนวกันชนขั้นต่ำไว้ในมาตรฐาน ซึ่งหน่วยงานรับรองอาจจะพิจารณาให้เกษตรกรต้องมีการจัดการแนวกันชนเพิ่มเติมจากข้อกำหนดขั้นต่ำ โดยการพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงของฟาร์มแต่ละแห่ง

ในขั้นของการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูป ผู้ผลิต-ผู้ประกอบการจะต้องมีการจัดการผลผลิตเกษตรอินทรีย์ โดยป้องกันมิให้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ปะปนกันกับวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ หรือสัมผัสกับปัจจัยการผลิต หรือสารต้องห้ามต่างๆ ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน เพราะจะทำให้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์นั้นสูญเสียสถานะของการได้รับการรับรองมาตรฐานได้ ยกตัวอย่างเช่น การไม่ใช้กระสอบที่บรรจุปุ๋ยเคมี หรือสารเคมีมาใช้บรรจุผลผลิตเกษตรอินทรีย์ หรือในการจัดเก็บผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในโรงเก็บ จะต้องไม่มีการใช้สารกำจัดศัตรูในโรงเก็บ ในขณะที่มีการเก็บผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ขนส่งผลผลิตเกษตรอินทรีย์

ที่จำต้องทำให้สำเร็จให้ได้ เพื่อพี่น้องชาวเกษตรกรและคนไทยทุกคน โดยทั้งหมดนั้นต่างก็สอดคล้องและรับเข้ากับสถานการณ์ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ แนวนโยบาย ทิศทางยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์การวิจัยด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาของประเทศ การปฏิรูประบบวิทยาศาตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานนวัตกรรมของประเทศ ดังเช่นพันธกิจของสวก. ที่จะส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการวิจัยการเกษตร_ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยการเกษตร สุดท้าย ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัยการเกษตร

โดยจากที่กล่าวมาจะยกตัวอย่างของการวิจัยที่ทางสวก. สามารถให้การสนับสนุนและเป็นเรื่องของนวัตกรรมที่สามารถเรียกว่าเป็น Smart farmer ในยุค 4.0 และเป็นต้นแบบของการผลักดันให้เกษตรก้าวไกลไปได้อย่างยั่งยืนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การวิจัยพืชพันธุ์ใหม่_ การนำเทคโนโลยี A.I. () มาประยุกต์ใช้งาน_ การใช้ระบบ IOT (Internet of things)_ การใช้โดรนขับเคลื่อน_ นวัตกรรมการปลุกพืชแบบใหม่_ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ไปสู่อุตสาหกรรมอื่น และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งตัวอย่างที่จะยกมาในบทความนี้ที่เป็นหนึ่งใน Smart Farmer ในยุค 4.0 ที่น่าสนใจ สิ่งนั้นคือ “อุตสาหกรรมการแปรรูป”

อุตสาหกรรมการแปรรูป เป็นสิ่งที่มีมานานและถูกพัฒนา วิจัยและเพิ่มพูนความสามารถมาอยู่ในทุกยุคทุกสมัย และการเกษตรกับการแปรรูปก็เป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาเช่นเดียวกัน โดยในยุค 4.0 นี้ มีความน่าสนใจที่วงการอุตสาหกรรมแปรรูปจะช่วยพาให้เกษตรก้าวไกลไปได้มากกว่าแค่ผลิตผลทางการเกษตรธรรมดา ยกตัวอย่างเช่น “การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม” เพื่อให้การเกษตรเข้าไปอยู่ในชีวิตของคนยุคใหม่ โดยเราอาจจะได้เห็นมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ รุ่นย่า ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรานำสมุนไพรต่าง ๆ มาเป็นเครื่องบำรุงผิวพรรณ ซึ่งในยุคปัจจุบันก็ไม่ต่างกัน อุตสาหกรรมความสวยความงามได้นำผลผลิตทางการเกษตรมาวิจัย พัฒนาและต่อยอด เพื่อตอบโจทย์ Beauty Lifestyle ของคนยุคใหม่ ผ่านเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลบำรุงผิว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด รวมถึงสารสกัดเรื่องกลิ่นที่มาเป็นส่วนประกอบของสุคนธบำบัด (Aromatherapy) นอกจากสารสกัดจากธรรมชาติจะส่งผลดีต่อร่างกายแล้ว ยังส่งผลด้านวิทยาให้ผู้บริโภคสนใจและเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์อีกเช่นกัน ซึ่งปัจจัยที่จะเพิ่มมูลค่าให้การทำธุรกิจด้านนี้ คือการเกาะตามติดความต้องการของตลาดผู้บริโภคและนำมาพัฒนาให้ตอบโจทย์อยู่ตลอดเวลา

หรือจะเป็นเรื่องของ “การแปรรูปผลิตภัณฑืเพื่อผู้สูงอายุ” เพราะประเทศไทยของเราเองกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ (Aging Society) อันเนื่องมาจากประชาชนยุค Baby Boom ได้เข้าใกล้สู่ช่วงอายุความสูงวัย คาดการณ์ว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุวัยมากกว่า 60 ปี (เกิน 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ) ดังนั้นสินค้าเพื่อสุขภาพจึงถูกผลิตขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ในด้านของความใส่ใจในการดูแลสุขภาพของคนในสังคมและผู้สูงอายุ โดยกลุ่มสินค้าที่ได้รับความสนใจนั้น ได้แก่พืชผลเกษตรที่ให้คุณค่าทดแทนแป้งและน้ำตาล อาหารเสริมผลิตจากผลผลิตทางการเกษตร เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคของผู้สูงอายุ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือแม้แต่ภาวะทุพโภชนาการ โดยสิ่งเหล่านี้ได้มีการผลิตออกมาวางจำหน่ายทั่วไปแล้ว ยกตัวอย่าง ธัญพืชอัดแท่ง เครื่องดื่มสมูทตี้สําเร็จรูปที่ให้สารอาหารสมบูรณ์สําหรับผู้สูงอายุ ผักอัดเม็ดเสริมโพรไบโอติกส์ น้ำนมข้าวกล้อง เครื่องปรุงรสอาหารที่เน้นการลดโซเดียม เป็นต้น

สุดท้ายนี้ยังมีการแปรรูปอีกหลากหลายมากมาย และมีอีกหลายหัวข้อที่ทางสวก. พร้อมที่จะให้การสนับสนุน เพราะในปัจจุบันหลากหลายประเทศเริ่มมีการพัฒนา หรือนำหน้าเราไปแล้วในเรื่องของการเกษตร เราจึงต้องรีบนำนวัตกรรมเกษตรและเกษตรกรให้เข้าสู่ยุค Smart Farming เพื่อแก้ปัญหาภาวะสังคมเมืองและประชากรโลกที่ขยายตัว ณ จุดนี้ ประเทศไทยเองก็มีหน่วยงานที่คอยพัฒนาและสนับสนุน อย่าง สวก. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน) คอยช่วยให้อุตสาหกรรมเกษตร และบุคคลากรทางการเกษตรของประเทศไทยพัฒนาเพื่อผลักดันให้การเกษตรก้าวไกล และไม่แพ้การเกษตรของชาติใดบนโลก

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3033
พืชที่เหมาะจะปลูก ในแต่ละภาค ของประเทศไทย ภาคไหน... ปลูกอะไรดี?
พืชที่เหมาะจะปลูก ในแต่ละภาค ของประเทศไทย ภาคไหน... ปลูกอะไรดี?
พี่น้องเกษตรกรหลายคน น่าจะเคยสงสัยว่าเราปลูกพืชชนิดเดิมๆ มานาน อยากเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นบ้าง แล้วเราจะปลูกอะไรดี หรือเกษตรมือใหม่ทีอยากจะปลูกพืช แต่ไม่รู้ว่าพื้นที่ๆ เราอยู่ควรปลูกพืชอะไรดี

เพื่อให้ง่ายกับการวางแผนการทำการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นเก๋า เกษตรกรรุ่นใหม่ เกษตรกรมือใหม่ มาดูกันว่าในแต่ละภูมิภาคที่เราอยู่ปลูกพืชชนิดไหนได้บ้าง

ภาคกลาง - ภูมิภาคแห่งการปลูกข้าว

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคกลาง มีดังนี้

ข้าว

อ้อย

ข้าวโพด

ผัก

ภาคกลางนั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่มและมีแหล่งน้ำเพียงพอ การเลือกปลูกพืชสำหรับภาคกลางจึงไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากให้เลือกชนิดพืชที่เหมาะสมที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นข้าว ในประเทศไทยนั้นมีพื้นที่กว่า 32 ล้านไร่ที่เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าว นอกเหนือจากนั้นยังเหมาะกับการปลูกอ้อยและข้าวโพดอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ด้วยความเป็นพื้นที่ราบลุ่มและมีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย สิ่งที่เกษตรกรพึงระวังคือเรื่องน้ำท่วม เนื่องจากมีสภาพพื้นที่ลุ่มต่ำ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่มาก ทำให้เป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมมากที่สุด การวางแผนทำการเกษตรในภาคกลางจึงควรคำนึงถึงเรื่องนี้เพื่อป้องกันการเสียหายจากน้ำท่วมในอนาคต

ภาคเหนือ - สูงและเย็น คือคำนิยาม

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคเหนือ มีดังนี้

ข้าว

ลำไย

ลิ้นจี่

ส้ม

สตรอเบอรี่

บ๊วย

พลับ

กีวี่

พีช

เสาวรส

ผักเมืองหนาว

ภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยภูเขา แต่ก็ยังเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวได้อย่างดี โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ แต่สิ่งที่ทำให้ภาคเหนือมีความพิเศษคือสภาพอากาศหนาวเย็น เปิดโอกาสให้เกษตรกรภาคเหนือได้ปลูกพืชเมืองหนาว ซึ่งหาไม่ได้จากเมืองร้อนอย่างไทย เช่นสตรอเบอรี่ บ๊วย พลับ กีวี่ พีช เสาวรส และผักเมืองหนาว เป็นต้น

ถึงอย่างนั้น หากเป็นภาคเหนือบริเวณพื้นที่ภูเขาสูง อาจต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการน้ำ เพราะหลายพื้นที่ก็อาจขาดแคลนน้ำได้ รวมถึงต้องระวังการปลูกพืชที่ไม่ชอบอากาศหนาวอีกด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - แดนดินเค็มและแห้งแล้ง

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้

ข้าว

อ้อย

มันสำปะหลัง

ข้าวโพด

สับปะรด

มะพร้าว

ลำไย

ถือเป็นภาคที่ขึ้นชื่อเรื่องสภาพพื้นที่อันโหดร้าย เพราะความแล้งจัดและความเค็มของดินจึงทำให้ยากต่อการเลือกปลูกพืชสำหรับภาคอีสาน อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคนี้กลับเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวคุณภาพดีชั้นหนึ่งของไทยอย่างข้าวหอมมะลิ การปลูกพืชในภาคอีสานต้องมีการปรับปรุงดินและบริหารจัดการน้ำที่ดี เพราะเสี่ยงภัยแล้งจัดและดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่องข้างต่ำกว่าที่อื่น นอกเหนือจากข้าวแล้วยังมีอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด สับปะรด มะพร้าว และลำไย ซึ่งพืชเหล่านี้ถือว่ามีความเหมาะสมระดับปานกลางที่จะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การแก้ปัญหาดินเค็มนั้นใช้ต้นทุนค่อนข้างสูงและยาก ยิ่งสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้อาจจะยิ่งซ้ำปัญหาดินเค็มมากกว่าเดิม แต่เกษตรกรสามารถทดลองปลูกพืชทนเค็ม จำพวกพุทรา มะขาม หน่อไม้ฝรั่ง ละมุด เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งได้ หรือหากอยู่ในภาคอีสานตอนบนที่ค่อนข้างสูงและเย็น ก็สามารถทดลองปลูกไม้เมืองหนาวได้เช่นกัน

ภาคตะวันออก - แดนทุเรียน ถิ่นไม้ผล

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคตะวันออก มีดังนี้

ทุเรียน

มังคุด

ลำไย

อ้อย

มันสำปะหลัง

ข้าวโพด

สับปะรด

ยางพารา

หากพูดถึงภาคตะวันออก หนึ่งในจังหวัดที่นิยมปลูกไม้ผลที่สุดคงไม่พ้นจังหวัดจันทบุรีและระยอง ที่มีชื่อเสียงจากทุเรียน เนื่องจากเป็นภาคที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นและฝนตกชุก ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกไม้ผลเป็นอย่างยิ่ง แต่นอกเหนือจากทุเรียนแล้ว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด สับปะรด และยางพาราก็เหมาะสมที่จะปลูกในภาคตะวันออกเช่นกัน

แม้จะเป็นพื้นที่เหมาะกับการปลูกไม้ผล แต่เพราะสภาพอากาศฝนตกชุกของภาคตะวันออก เกษตรกรควรระวังโรคที่มากับฝนและความชื้น เช่น โรคไฟทอปธอร่าในทุเรียน ที่มักจะระบาดหนักจากความชื้นในดิน ดังนั้นภูมิภาคนี้ต้องการความใส่ใจมากเป็นพิเศษ ไม่แพ้ภาคอื่นๆเลยทีเดียว

ภาคใต้ - พื้นที่มากฝนและพายุ จุดศูนย์รวมปาล์มน้ำมันและยางพารา

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคใต้ มีดังนี้

ทุเรียน

ปาล์มน้ำมัน

ยางพารา

เงาะ

กาแฟโรบัสต้า

ด้วยสภาพพื้นที่ยื่นออกไปในทะเลอันดามันและอ่าวไทย ภาคใต้จึงเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกชุกมากที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งสภาพอากาศโดยรวมคือร้อนชื้น คล้ายคลึงกับภาคตะวันออกเป็นอย่างมาก จึงทำให้เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกไม้ผลและพืชไร่หลายชนิด แต่หนึ่งในพืชที่เหมาะสมโดดเด่นที่สุดในภาคใต้คงหนีไม่พ้นปาล์มน้ำมัน ยางพารา และเงาะ ซึ่งสามารถปลูกได้ทั้งภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงนราธิวาส ทว่านอกเหนือจากพืชสองชนิดนี้แล้ว กาแฟโรบัสต้าเองก็มีความเหมาะสมปานกลางที่จะปลูกในภาคใต้อีกด้วย

ข้อควรระวังของภาคใต้ คือฝนตกชุกที่อาจนำพาโรคมา รวมไปถึงพายุที่อาจทำให้สวนของเกษตรกรเสียหายได้ ดังนั้นจึงควรระวังและป้องกันพืชผลไม่ให้ถูกทำลายจากพายุให้ดี

นอกเหนือจากข้อมูลเหล่านี้แล้ว สิ่งที่เกษตรกรควรคำนึงถึงก่อนเลือกปลูกพืชในแต่ละภูมิภาค คือสภาพดินในไร่สวนของตนเอง เกษตรกรควรมีการตรวจวิเคราะห์ดินโดยสามารถส่งตรวจกับสำนักงานพัฒนาที่ดินในพื้นที่ของตนเอง จากนั้นจึงนำผลมาใช้ในการปรับปรุงดินให้เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกพืชต่อไป การปลูกพืชนอกเหนือไปจากพื้นที่ที่เหมาะสมนั้นสามารถทำได้ เพียงแต่ต้องอาศัยการจัดการที่มากขึ้น ซึ่งอาจหมายถึงต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าการปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมตามธรรมชาติ และต้องคำนึงถึงช่องทางการขายและการขนส่งผลผลิตไปยังโรงงานแปรรูปหรือผู้รับซื้ออีกด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก : Kaset Go

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:2989
ประเทศไทย ปลูกพืชอะไรมากที่สุด?
ประเทศไทย ปลูกพืชอะไรมากที่สุด?
เกษตรกรทั่วทุกภาคของประเทศไทย ที่เป็นประเทศเกษตรกรรม โดยมีการปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามมีพืชหลายชนิดที่เป็นพืชนิมปลูกในพื้นที่ต่างๆ โดยแบ่งตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ การปลูกพืช ภูมิอากาศ พืชที่นิยมปลูกในแต่ละภูมิภาคอาจแบ่งได้ดังนี้

1. พืชนิยมปลูกภาคเหนือของประเทศไทย

ที่ตั้งอยู่บนภูเขาสูงมีการปลูกพืชระบบหมุนเวียนตามฤดูกาล ปัจจุบันการผลิตข้าวนาขั้นบันไดเป็นระบบการเกษตรที่ยั่งยืนบนพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือตอนบน และสามารถสร้างผลผลิตสูงกว่าการปลูกข้าวไร่ โดยจะมีการปลูกข้าวอยู่ในระดับปานกลาง เพียงร้อยละ 10.3 ของพื้นที่การปลูกข้าวบนที่สูง การปลูกพืชหมุนเวียนเป็นระบบการปลูกพืชที่สามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินในช่วงเวลาหนึ่งลดความเสี่ยงจากการระบาดของโรคและแมลงและเป็นรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรได้ และมีการปลูก ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าวโพด ฝ้าย ข้าวฟ่าง ข้าวโพด และอื่นๆ รวมถึงผลไม้ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย มะม่วง เป็นต้น การปลูกพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ จึงทำให้มีความหลากหลายของพืชพรรณต่างๆ ด้วยพื้นที่ชลประทาน 10% ในช่วงฤดูแล้งเกษตรกรจึงนิยมปลูก โดยจะการปลูกข้าวที่ใช้ปลูกในฤดูแล้ง หรือ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วฝักยาว ยาสูบ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดอ่อน หอมหัวใหญ่ กระเทียม มะเขือเทศ แตงโม เป็นต้น ดังนั้นการปลูกพืชโดยทั่วไปในพื้นที่นี้จึงเป็นการปลูกข้าวและการปลูกไม้ผลเป็นหลัก

2.พืชนิยมปลูกภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (ภาคอีสาน)

การเพาะปลูก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำการเพาะปลูกมากที่สุด แต่ผลผลิตต่อไร่ต่ำสุด เนื่องจากดินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น การปลูกข้าว พืชไร่ที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ปอ ฝ้าย โดยพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.เกิดปัญหาดินเค็ม ขาดความอุดมสมบูรณ์ 2.ขาดแคลนน้ำมากที่สุด เนื่องจากดินเป็นดินปนทรายไม่อุ้มน้ำ 3.การบุกรุกป่าไม้ของประชากรเพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการเพาะปลูก หรือเพื่อการค้า ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรัพยากรดิน ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินทรายและขาดธาตุอาหาร ใต้ดินมีเกลือหินทำให้ดินเค็มและแห้ง ไม่เหมาะในการเพาะปลูกพืช และทำนา ดังนั้นไร่เทพจึงมีส่วนสำคัญในการช่วยปรับปรุงดิน ทำให้โครงสร้างของดินดี ดินโปร่ง ร่วนซุย น้ำและอากาศถ่ายเทสะดวก รากพืชแผ่ขยายได้ง่าย ผสมน้ำราดโคนต้น จะช่วยปรับสภาพดินเหนียวให้คลายตัวออก สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารที่ถูกตรึงไว้ในดินให้พืชกลับนำมาใช้ใหม่ได้ใหม่อย่างเต็มที่ในดินทรายจะช่วยอุ้มน้ำ รักษาความเป็นกรด ด่าง ไม่ให้เปลี่ยนแปลงเร็ว เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินปนทรายไม่สามารถอุ้มน้ำได้ จึงทำให้ขาดแคลนน้ำเป็นสำคัญ จึงต้องอาศัยการชลประทานเข้ามาช่วยมีการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเก็บกักน้ำ

3. พืชนิยมปลูกภาคกลางของประเทศไทย

รูปแบบการทำเกษตรกรรมในภาคกลางเป็นทำการเกษตรกรรมแบบผสมผสานคือมีการปลูกพืชและเลี้ยงปศุสัตว์ควบคู่กัน สามารถปลูกพืชอายุสั้น เช่น ข้าว (โดยเฉพาะการปลูกข้าวนาปรัง) พืชไร่ พืชผักมากกว่า 1 ครั้งในรอบปี โดยจังหวัดที่มีความถี่ของการใช้พื้นที่เพื่อเพาะปลูก ค่อนข้างสูง สำหรับกลุ่มพืชไร่ที่เพาะปลูกในภาคกลางที่สำคัญประกอบด้วย ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย สับปะรด ทานตะวัน และข้าวฟ่าง ซึ่งกระจายอยู่ทั่วทั้งภาค ดังนี้ อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง สับปะรด และข้าวฟ่าง

4.พืชนิยมปลูกภาคใต้ของประเทศไทย

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญในภาคใต้ ได้แก่ ยางพารา มะพร้าว กาแฟ ปาล์มน้ำมัน ข้าวและไม้ผล ต่าง ๆ แม้ว่าข้าวจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอสำหรับบริโภค ส่วนพืชไร่และพืชผัก ต่าง ๆ มีปลูกกันน้อย เช่นเดียวกันกับการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น โค กระบือ ก็ยังมีเป็นส่วนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดการถือครองพื้นที่การเกษตร อย่างไรก็ตาม บริเวณพื้นที่ที่น่าจับตามองว่าจะเป็นแหล่งที่จะพัฒนาการเลี้ยงโคได้ดี เนื่องจากมีศักยภาพทางด้านพื้นที่และความพร้อมของประชากร หากได้รับการสนับสนุนทางด้านปัจจัยการผลิต เงินทุน อัตรา ดอกเบี้ยและระยะเวลาผ่อนชำระหนี้นานจากรัฐบาล น่าจะทำให้การพัฒนาการเลี้ยงโค-กระบือในภาคใต้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความต้องการโค-กระบือของตลาดทั้งภายในประเทศและนอกประเทศยังอยู่ในระดับสูง

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3311
ดินมีปัญหา ไม่เหมาะกับการเพาะปลูก รู้ปัญหา แก้ได้ ตรวจดินกับ iLab
ดินมีปัญหา ไม่เหมาะกับการเพาะปลูก รู้ปัญหา แก้ได้ ตรวจดินกับ iLab
ดินที่มีปัญหาทางด้านการเกษตร หมายถึง ดินที่มีสมบัติทางกายภาพและเคมีไม่เหมาะสม หรือเหมาะสมน้อยสำหรับการเพาะปลูก ทำให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตามปกติได้

ส่วนใหญ่เป็นดินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินอินทรีย์. ดินปนกรวด และดินตื้น นอกจากนี้ยังรวมถึงพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ซึ่งถ้ามีการใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรแล้ว จะทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง หากว่าจะใช้ดินเหล่านี้ในการปลูกพืชแล้ว จำเป็นต้องมีการจัดการเพื่อแก้ไขสภาพของดินให้เหมาะสมก่อนการปลูกพืชตามวิธีการปกติเสียก่อน
ดินที่มีปัญหาประเภทต่างๆ ที่พบในประเทศไทย

1.ดินเปรี้ยวจัด

ดินเปรี้ยวจัด หมายถึง ดินที่มีสภาพความเป็นกรดสูงมาก เนื่องจากอาจจะมี กำลังมี หรือได้เคยมีกรดกำมะถันซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเกิดดินชนิดนี้อยู่ในหน้าตัดของดิน และปริมาณของกรดกำมะถันที่เกิดขึ้นนั้น มีมากพอที่จะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน และการเจริญเติบโตของพืชในบริเวณนั้น

การเกิดดินเปรี้ยวจัด..

เป็นผลสืบเนื่องมาจากกระบวนการกำเนิดของดิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับตะกอนน้ำทะเลหรือตะกอนน้ำกร่อย ทำให้เกิดการสะสมสารประกอบกำมะถันขึ้นในดิน ซึ่งเมื่อดินแห้ง สารประกอบกำมะถันเหล่านี้จะแปรสภาพทำให้เกิดกรดกำมะถันขึ้นในดิน ทำให้ดินเป็นกรดสูงมากจนมีผลกระทบต่อพืชที่ปลูก โดยทั่วไปจะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง หรือพีเอช (pH) ต่ำกว่า 4.0 และมักจะพบจุดประสีเหลืองฟางข้าว ของสารจาโรไซต์ (jarosite) ในชั้นดินล่าง

แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ตามระดับความลึกของจุดประสีเหลืองฟางข้าวที่พบ ได้แก่

1.ดินเปรี้ยวจัดระดับตื้น พบจาโรไซต์ภายใน 50 ซม. จากผิวดิน

2. ดินเปรี้ยวจัดระดับลึกปานกลาง พบจาโรไซต์ภายในช่วง 50-100 ซม. จากผิวดิน

3. ดินเปรี้ยวจัดระดับลึก พบจาโรไซต์ที่ระดับความลึกมากกว่า 100 ซม.จากผิวดิน

ปัญหาที่เกิดจากดินเปรี้ยวจัด

การที่ดินมีความเป็นกรดสูงเกินไปทำให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส นอกจากนี้สภาพที่เป็นกรดสูงยังทำให้ธาตุเหล็กและอะลูมินัมละลายออกมาอยู่ในดินมากจนถึงระดับที่เป็นพิษต่อพืชที่ปลูก

การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด มีหลายวิธี สำหรับดินที่มีปฏิกิริยาของดินเป็นกรดไม่รุนแรง อาจใช้วิธีการทำให้กรดเจือจางลง โดยการใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดในดิน หรือการขังน้ำไว้นานๆ แล้วระบายออกก่อนปลูกพืช ร่วมกับการเลือกพันธุ์พืชที่ทนต่อดินกรด สำหรับการจัดการดินที่มีปฏิกิริยาของดินเป็นกรดรุนแรงมาก จะใช้วิธีการใส่วัสดุปูน เช่น ปูนมาร์ล ปูนขาว หินปูนบด หินปูนฝุ่น ผสมคลุกเคล้ากับหน้าดินในอัตราที่เหมาะสมตามความต้องการปูนของดิน เพื่อช่วยลดความเป็นกรดในดิน หรือใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน ซึ่งเป็นวิธีการที่สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดรุนแรงมากและถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นเวลานาน

2.ดินอินทรีย์...

ดินอินทรีย์ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ดินพรุ” หมายถึง ดินที่เกิดจากการสะสมเศษซากอินทรีย์ ที่เกิดจากการสลายตัวเน่าเปื่อยของพืชพรรณไม้ตามธรรมชาติ ที่ขึ้นอยู่ในแอ่งที่ลุ่มต่ำมีน้ำแช่ขังเป็นเวลานาน จนเกิดการสะสมเป็นชั้นดินอินทรีย์ที่หนากว่า 40 ซม

ดินอินทรีย์ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพื้นที่ที่เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลง บริเวณชายฝั่งทะเลที่เคยมีน้ำขึ้นลงท่วมถึง จนเกิดเป็นแอ่งต่ำปิด ที่น้ำทะเลไม่สามารถเข้าถึงได้อีก เนื่องจากมีสันทรายปิดกั้นไว้ ต่อมานานวันเข้าน้ำทะเลที่แช่ขังอยู่จึงค่อยๆ จืดลงและมีพืชพวกหญ้าหรือกกงอกขึ้นมา เมื่อพืชเหล่านี้ตายทับถมกันจนพื้นที่ตื้นเขินขึ้น ต้นไม้เล็กใหญ่จึงขึ้นมาแทนที่ เกิดเป็นป่าชนิดที่เรียกว่า “ป่าพรุ” ต่อมาต้นไม้ใหญ่น้อยล้มตายลงตามอายุทับถมลงในแอ่งน้ำขัง ที่อัตราการย่อยสลายของเศษซากพืชเกิดขึ้นได้อย่างช้าๆ จึงเกิดการทับถมอินทรียสารเกิดเป็นชั้นดินอินทรีย์ที่หนาขึ้นเรื่อยๆ

ลักษณะของดินอินทรีย์

สีดินเป็นสีน้ำตาลแดงเข้มหรือน้ำตาลแดงคล้ำ องค์ประกอบของดินส่วนใหญ่เป็นอินทรียวัตถุทั้งที่ย่อยสลายแล้ว และบางส่วนที่ยังคงสภาพเป็นเศษชิ้นส่วนของพืช เช่น กิ่ง ก้าน ลำต้น หรือราก ที่มีการสะสมเป็นชั้นหนามากกว่า 40 ซม. ขึ้นไป ดินตอนล่างถัดจากชั้นดินอินทรีย์ลงไป จะเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงินซึ่งเป็นตะกอนน้ำทะเล ซึ่งบางแห่งอาจมีการสะสมสารประกอบกำมะถันที่จะเกิดเป็นดินเปรี้ยวจัด เมื่อมีการระบายน้ำออกจากพื้นที่จนดินอยู่ในสภาพที่แห้งด้วย

ปัญหาของดินอินทรีย์

เป็นดินที่มีชิ้นส่วนของพืชเป็นองค์ประกอบมาก พื้นที่มักจะี่มีน้ำขัง หากระบายน้ำออกจนแห้ง ดินจะยุบตัวมาก มีน้ำหนักเบา ติดไฟง่าย และต้นพืชที่ปลูกไม่สามารถตั้งตรงอยู่ได้ นอกจากนี้ในบริเวณที่มีดินที่มีศักยภาพเป็นดินเปรี้ยวจัดอยู่ตอนล่าง หลังจากมีการระบายน้ำออก ดินจะกลายเป็นดินกรดจัดรุนแรงด้วย

การปรับปรุงแก้ไข

เลือกพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำจืดบริเวณขอบพรุ และมีชั้นวัสดุอินทรีย์หนาน้อยกว่า 100 ซม.จากผิวดิน

มีแนวป้องกันน้ำท่วมร่วมกับคลองระบายน้ำ และคลองส่งน้ำในระบบ ที่สามารถป้องกันอันตรายจากน้ำท่วมได้ เพื่อใช้ปลูกข้าว โดยเลือกปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง หรือพันธุ์ที่ทนต่อสภาพความเป็นกรดของดิน

ในบริเวณที่ปลูกพืชไร่ ควรมีแนวป้องกันน้ำท่วม และคูระบายน้ำ มีการควบคุมระดับใต้ดินให้คงที่ เพื่อป้องกันการเกิดกรดของดินเพิ่มขึ้น หากดินเป็นกรดจัดมาก ปรับสภาพความเป็นกรดในดิน และเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร โดยไถคลุกเคล้าวัสดุปูน หินปูนฝุ่นอัตรา 2.5-3.0 ตัน/ไร่ ให้ทั่วบนสันร่อง และหว่านในร่องคูน้ำ

3.ดินเค็ม

ดินเค็ม หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในสารละลายดินมากเกินไป จนมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลิตผลของพืช เนื่องจากทำให้พืชเกิดอาการขาดน้ำ และมีการสะสมไอออนที่เป็นพิษในพืชมากเกินไป นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารพืชด้วย

ดินเค็มที่พบในประเทศไทย สามารถจำแนกตามลักษณะการเกิดและสัณฐานภูมิประเทศ ได้ 2 ประเภท คือ

1.ดินเค็มชายฝั่งทะเล

มักพบบริเวณตามแนวชายฝั่งทะเล ซึ่งยังคงมีน้ำท่วมถึง หรือเคยเป็นพื้นที่ๆมีน้ำทะเลท่วมมาก่อน โดยพบมากที่สุดตามแนวฝั่งชายทะเลในภาคใต้ เกิดจากการได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลงของน้ำทะเล และทำให้เกิดการสะสมเกลือในดิน

2.ดินเค็มบก พบบริเวณในแอ่งที่ลุ่มหรือตามเชิงเนิน ที่เป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างสภาพพื้นที่แบบลูกคลื่น โดยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นที่บริเวณขอบเขตแอ่งโคราช หรือที่แอ่งสกลนคร และพบบ้างในภาคกลางแถบจังหวัดเพชรบุรี

ปัญหาของดินเค็ม

ปลูกพืชไม่ได้ผลหรือผลผลิตลดลงและมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากมีปริมาณเกลือที่ละลายได้ในน้ำมากเกินไป จนเป็นอันตรายต่อพืช พืชเกิดอาการขาดน้ำ และได้รับพิษจากธาตุที่เป็นส่วนประกอบของเกลือที่ละลายออกมา

การปรับปรุงแก้ไข

1. การจัดการดินเค็มชายทะเล อาจทำได้ 2 ลักษณะใหญ่ คือ การจัดการให้เหมาะกับสภาพธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น การปลูกป่าชายเลน การทำนาเกลือ หรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการดัดแปลงสภาพธรรมชาติ เช่น การสร้างเขื่อนปิดกั้นน้ำทะเล เพื่อพัฒนาให้เป็นพื้นที่ปลูกถาวร และการยกเป็นร่องสวนเพื่อปลูกไม้ทนเค็ม เป็นต้น

2. การจัดการดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน เช่น การใช้พืชทนเค็ม การไถกลบพืชปุ๋ยสด ปุ๋ยอินทรีย์ หรือใส่วัสดุปรับปรุงดิน เช่น แกลบ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดิน หรือการปลูกข้าวโดยใช้ต้นกล้าที่อายุมากกว่าปกติ และปักดำด้วยจำนวนต้นมากกว่าปกติ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องระมัดระวังในการทำกิจกรรมบางอย่างที่ จะมีผลกระทบต่อการที่จะทำให้เกลือแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นได้ เช่น การทำเหมืองเกลือขนาดใหญ่ การตัดไม้ทำลายป่า หรือการสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ที่มีแหล่งสะสมเกลือ

4.ดินทรายจัด

ดินทรายจัด หมายถึง ดินที่มีเนื้อดินบนเป็นดินทราย หรือดินทรายปนร่วน มีอนุภาคขนาดทรายเป็นองค์ประกอบมากกว่าร้อยละ 85 มีความหนามากกว่า 50 เซนติเมตร

ดินมีการระบายน้ำดีจนถึงดีเกินไป ไม่อุ้มน้ำ ทำให้ดินเก็บน้ำไว้ไม่อยู่ และเกิดการกร่อนได้ง่าย มักเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่เป็นตะกอนเนื้อหยาบ หรือตะกอนทรายชายฝั่งทะเล พบได้ทั้งในพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ดอน

ดินทรายในพื้นที่ดอน

พบตามบริเวณหาดทราย สันทรายชายทะเล หรือบริเวณพื้นที่ลาดถึงที่ลาดเชิงเขา เนื้อดินเป็นทรายตลอด มีการระบายน้ำดีมากจนถึงดีมากเกินไป ดินไม่อุ้มน้ำ และเกิดการชะล้างพังทะลายได้ง่ายเนื่องจากอนุภาคดินมีการเกาะตัวกันน้อยมาก ส่วนใหญ่ใช้ปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด

ดินทรายในพื้นที่ลุ่ม

มักพบตามที่ลุ่มระหว่างสันหาด หรือเนินทรายชายฝั่งทะเล หรือบริเวณที่ราบที่อยู่ใกล้ภูเขาหินทราย ดินมีการระบายน้ำเลวหรือค่อนข้างเลว ทำให้ดินแฉะหรือมีน้ำขังเป็นระยะเวลาสั้นๆ ได้ หลังจากที่มีฝนตกหนัก บางแห่งใช้ทำนา บางแห่งใช้ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย และปอ บางแห่งเป็นทืทิ้งร้าง หรือเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติ

นอกจากนี้ในบางพื้นที่ บริเวณหาดทรายเก่า หรือบริเวณสันทรายชายทะเล โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันออกและภาคใต้ อาจพบดินทรายที่มีชั้นดินดานอินทรีย์ ซึ่งเป็นดินทรายที่มีลักษณะเฉพาะตัวคือ ช่วงชั้นดินตอนบนจะเป็นทรายสีขาว แต่เมื่อขุดลึกลงมา จะพบชั้นทรายสีน้ำตาลปนแดงที่เกิดจากการจับตัวกัน ของสารประกอบพวกเหล็ก และอินทรียวัตถุอัดแน่นเป็นชั้นดานในตอนล่าง ซึ่งในช่วงฤดูแล้งชั้นดานในดินนี้ จะแห้งแข็งมากจนรากพืชไม่อาจชอนไชผ่านไปได้ ส่วนในฤดูฝนดินจะเปียกแฉะ ส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่ป่าเสม็ด ป่าชายหาด ป่าละเมาะ หรือบางแห่งใช้ปลูกมะพร้าว มะม่วงหิมพานต์

ปัญหาดินทราย

ดินระบายน้ำดีเกินไป อุ้มน้ำได้น้อย มีความสามารถในการจับหรือแลกเปลี่ยนประจุธาตุอาหารต่ำ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก มีธาตุอาหารน้อย เกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย

การปรับปรุงแก้ไข

ปรับปรุงบำรุงดินดินและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการใช้ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปลูกพชปุ๋ยสดแล้วไถกลบ เพื่อเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน และปริมาณธาตุอาหารให้เพียงพอแก่ความต้องการของพืช และควรจะต้องมีระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างเหมาะสม

5.ดินตื้น

ดินตี้น หมายถึง ดินที่มีชั้นลูกรัง ก้อนกรวด เศษหิน ปะปนอยู่ในเนื้อดิน หรือมีชั้นหินปูนมาร์ล หรือพบชั้นหินพื้น อยู่ตื้นกว่า 50 เซนติเมตรจากผิวดิน เนื้อดินจะมีปริมาณชิ้นส่วนหยาบ กรวด หรือลูกรังปนอยู่ มากกว่าร้อยละ 35 ทำให้มีปริมาตรของดินน้อย ดินจึงอุ้มน้ำได้น้อย มักขาดแคลนน้ำในฤดูฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตต่ำ

แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1) ดินตื้นที่มีการระบายน้ำเลว พบในบริเวณที่ราบต่ำที่มีน้ำขังในช่วงฤดูฝน แสดงว่าดินมีการระบายน้ำค่อนข้างเลว ขุดลงไปจากผิวดินที่ระดับความลึก 25-50 เซนติเมตร มีกรวดหรือลูกรังปนอยู่ในเนื้อดินมากกว่า 35 เปอร์เซ็นโดยปริมาตร ถ้าขุดลึกลงมาถัดไปจะเป็นชั้นดินที่มีศิลาแลงอ่อนปนทับอยู่บนชั้นหินผุ

2) ดินตื้นปนลูกรังหรือกรวดที่มีการระบายน้ำดี พบตามพื้นที่ลอนลาดหรือเนินเขา ตั้งแต่บริเวณผิวดินลงไปมีลูกรังหรือหินกรวดมนปะปนอยู่ในดินมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร และดินประเภทนี้บางแห่งก็มีก้อนลูกรังหรือศิลาแดงโผล่กระจัดกระจายทั่วไปที่บริเวณผิวดิน

3) ดินตื้นปนหินมีการระบายน้ำดี พบตามพื้นที่ลอนลาดหรือบริเวณเนินภูเขา ดินประเภทนี้เมื่อขุดลงไปที่ความลึกประมาณ 30- 50 เซนติเมตร จะพบเศษหินแตกชิ้นน้อยใหญ่ปะปนอยู่ในเนื้อดินมากกว่า 35 เปอร์เซ็นโดยปริมาตร บางแห่งพบหินผุหรือหินแข็งปะปนอยู่กับเศษหิน บางแห่งมีก้อนหินและหินโผล่กระจัดกระจายทั่วไปตามหน้าดิน

4) ดินตื้นปนปูนมาร์ล พบตามพื้นที่ลาดถึงพื้นที่ลอนลาด หรือบริเวณที่ลาดเชิงเขา เมื่อขุดลงไปในระดับความลึกที่ 20-50 เซนติเมตร จะพบสารประกอบจำพวกแคลเซียมหรือแมกนิเซียมคาร์บอเนตปนอยู่ ทำให้ดินประเภทนี้จัดว่าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่มีข้อเสียคือมีปฏิกิริยาเป็นด่าง เป็นข้อจำกัดต่อพืชบางชนิดที่ไวต่อความเป็นด่าง เช่น สัปปะรด

การเกิดดินตี้น

เกิดมาจากวัตถุกำเนิดดิน เช่น หินดินดานเชิงเขา หรือเศษหินเชิงเขา ที่ส่วนใหญ่เป็นพวกหินตะกอนเนื้อหยาบ คือ หินทราย หินกรวดมน แตกกระจัดกระจายร่วงหล่นออกมาทับทมเกะกะอยู่บริเวณเชิงเขา หรือเป็นผลจากกระบวนการทางดินที่ทำให้เกิดการสะสมปูนมาร์ลหรือศิลาแลงในดิน

ปัญหาดินตี้น

ดินตื้นนั้นเป็นดินที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกเพราะ มีปริมาณชิ้นส่วนหยาบปนอยู่ในดินมาก ทำให้มีเนื้อดินน้อย มีธาตุอาหารน้อย ไม่อุ้มน้ำ ชั้นล่างของดินชนิดนี้จะแน่นทึบรากพืชชอนไชไปได้ยาก พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างปกติ

การปรับปรุงแก้ไข

การจัดการดินในพื้นที่เหล่านี้จะต้องกระทำอย่างระมัดระวัง ควรเลือกทำการเกษตรในพื้นที่ที่มีหน้าดินหนามากกว่า 25 ซม. และไม่มีก้อนกรวดหรือลูกรังกระจัดกระจายอยู่ที่ผิวดินมาก ปรับปรุงดินด้วยการไถกลบพืชปุ๋ยสด ร่วมกับการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา 2-3 ตัน/ไร่ หรือขุดหลุมปลูกไม้ผลขนาด 75x75x75 ซม. หรือถึงชั้นหินพื้น และปรับปรุงหลุมปลูกด้วยหน้าดิน ที่ไม่มีก้อนกรวดหรือลูกรังร่วมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ใช้ปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำและผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.3 และพด.7 หรือพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3118
โมลิบดินัม (Mo) หากขาดธาตุนี้ พืชคล้ายจะถูกจำกัดการเจริญเติบโต
โมลิบดินัม (Mo) หากขาดธาตุนี้ พืชคล้ายจะถูกจำกัดการเจริญเติบโต
การขาดโมลิบดีนัม (Mo)เกิดขึ้นเมื่อการเจริญเติบโตของพืชมีจำกัด เนื่องจากพืชไม่สามารถรับสารอาหารรองที่จำเป็นนี้ในปริมาณที่เพียงพอจากอาหารเลี้ยงเชื้อ สำหรับพืชที่ปลูกในดิน อาจเป็นผลมาจากความเข้มข้นของโมในดินโดยรวมต่ำ (กล่าวคือ วัสดุต้นกำเนิดของดินมีโมโมะต่ำ) หรือเนื่องจากดินโมจัดอยู่ในรูปแบบที่ไม่สามารถหาได้ พืช - การดูดซับของโมเป็นที่แข็งแกร่งที่สุดในดินกรด

ฟังก์ชั่น

ในพืชฟังก์ชั่นหลักของโมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงความจุที่ว่ามันผ่านส่วนประกอบของเอนไซม์ที่กระตุ้นความหลากหลายปฏิกิริยาปฏิกิริยา เนื่องจากองค์ประกอบสามารถอยู่ในสถานะออกซิเดชันที่หลากหลาย สถานะออกซิเดชัน IV_ V และ VI มีความสำคัญในระบบทางชีววิทยา จำนวนมากของความผิดปกติของ Mo-ขาดมีความเกี่ยวข้องกับการหยุดชะงักของกิจกรรมปกติของหลายเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในการเผาผลาญอาหารไนโตรเจน

เอ็นไซม์เหล่านี้ได้แก่

ไนโตรซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทางชีวภาพN 2ตรึงโดยทั้งสอง asymbiotic และชีวภาพแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน

ไนเตรตรีดักเตสซึ่งจำเป็นสำหรับการลดไนเตรต – นี่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรวมไนเตรต-Nในโปรตีน และ

Xanthine dehydrogenase ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดยูริกจากพิวรีน

อาการ

อาการขาดโมลิบดีนัมในพืชส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการสะสมของไนเตรตในส่วนพืชที่ได้รับผลกระทบ นี่เป็นผลมาจากกิจกรรมไนเตรตรีดักเตสที่ไม่ดี อาการต่างๆ ได้แก่[1] [2]

ใบสีซีดที่มีคลอโรซิสระหว่างเส้นและขอบ(สีเหลือง) และเนื้อร้าย (น้ำร้อนลวก);

whiptailความผิดปกติในBrassicaพืช (โดยเฉพาะกะหล่ำ);

ลด tasselling ในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์;

การงอกของเมล็ดข้าวโพดก่อนเวลาอันควร

ในพืชตระกูลถั่ว การยับยั้งการตรึงN 2อาจทำให้พืชซีด สีเหลือง และขาดไนโตรเจน ขนาดและจำนวนของก้อนรากมักจะลดลง

สภาพดิน

การขาดโมลิบดีนัมพบได้บ่อยในดินหลายประเภท ดินบางชนิดมีความเข้มข้นของ Mo ทั้งหมดต่ำ และดินบางชนิดมี Mo ที่พืชใช้ได้ต่ำเนื่องจากการดูดซับ Mo อย่างแรง อาการมักเกิดขึ้นกับทั้งสองเงื่อนไข เช่น ในดินปนทรายที่เป็นกรด โมลิบดีนัมอาจถูกดูดซับอย่างรุนแรงในดินที่เป็นหินเหล็ก ปูนของดินบ่อยบรรเทาการขาด Mo Mo โดยการลดการดูดซับ [2]

ข้อกำหนดโมลิบดีนัม

โมลิบดีนัมเป็นสารอาหารรองที่จำเป็นซึ่งหมายความว่าจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการพัฒนาของพืช แต่ต้องการในปริมาณที่น้อยมาก แม้ว่าความต้องการ Mo จะแตกต่างกันไปตามพืชผล แต่ความเข้มข้นของใบ Mo (บนพื้นฐานเรื่องแห้ง ) ในช่วง0.2–2.0 มก. กก. -1ก็เพียงพอสำหรับพืชส่วนใหญ่

การรักษา

การเพิ่มค่า pH ของดินโดยการใส่ปูนจะช่วยบรรเทาอาการขาด Mo อย่างไรก็ตาม มีหลายสถานการณ์ที่การใช้ปุ๋ย Mo ทางดิน เมล็ด หรือทางใบนั้นคุ้มค่ากว่าการใช้ปูนขาวเพื่อเพิ่มความพร้อมของ Mo สารประกอบที่ใช้เป็นปุ๋ย ได้แก่ (ตามลำดับความสามารถในการละลายที่ลดลง): โซเดียม โมลิบเดต แอมโมเนียม โมลิบเดต กรดโมลิบดิก โมลิบดีนัม ไตรออกไซด์ และโมลิบดีนัมซัลไฟด์ อัตราการใช้ดินและทางใบโดยทั่วไปคือ50–200 ก. โมฮา-1 ; อัตราที่แนะนำสำหรับช่วงการรักษาจากเมล็ด7-100 กรัมโมฮ่า -1 [1]

อ้างอิง

^ a b c d e Hamlin_ รัสเซลล์ แอล. (2007). "โมลิบดีนัม". ใน Barker_ AV; พิลบีม_ ดีเจ (สหพันธ์). คู่มือของธาตุอาหารพืช โบคา เรตัน: สำนักข่าวซีอาร์ซี น. 375–394. ISBN 978-0824759049.

อรรถเป็น ข Mengel คอนราด; เคิร์กบี้_ เออร์เนสต์ เอ. (2001). "โมลิบดีนัม". หลักโภชนาการพืช (ฉบับที่ 5) Dordrecht: สำนักพิมพ์ Kluwer Academic น. 613–619. ISBN 079237150X.

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link.._(plant_disorder)
อ่าน:3451
ปลูกพืชในดินลูกรัง การจัดการ ดินลูกรัง ที่ถูกวิธี ช่วยเพิ่มผลผลิตพืชได้
ปลูกพืชในดินลูกรัง การจัดการ ดินลูกรัง ที่ถูกวิธี ช่วยเพิ่มผลผลิตพืชได้
ดินลูกรัง (Skeletal soils) หมายถึง ดินที่พบชั้นลูกรัง ชั้นกรวด ชั้นเศษหิน หรือชั้นหินพื้นในระดับตื้นกว่า 50 เซนติเมตร จากผิวดิน เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย อาจพบกรวด หินมนเล็ก หรือเศษหินปะปน จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช

การจัดการดินลูกรังเพื่อเพิ่มผลผลิต

ดินลูกรัง (Skeletal soils)หมายถึง ดินที่พบชั้นลูกรัง ชั้นกรวด ชั้นเศษหิน หรือชั้นหินพื้นในระดับตื้นกว่า 50 เซนติเมตร จากผิวดิน เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย อาจพบกรวด หินมนเล็ก หรือเศษหินปะปน จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินลูกรังเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จากผลการสำรวจพบว่า ประเทศไทยมีดินลูกรังประมาณ 52 ล้านไร่ หรือร้อยละ 16.3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรของดินลูกรัง

พื้นที่ที่พบดินลูกรังมีอยู่เกือบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นในเขตฝนตกชุกทางภาคใต้ ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรที่สำคัญ คือเป็นดินตื้นที่มีกรวดหินมนเล็กหรือเศษหินปะปนกันอยู่มาก ทำให้ดินมีปริมาณเนื้อดินน้อยลง มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ นอกจากนี้ลักษณะของดินเป็นอุปสรรคต่อการไถพรวนหน้าดินถูกชะล้างพังทลายได้ง่าย ดินมีความสมบรูณ์ต่ำ และการจัดระบบชลประทานมีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากสภาพพื้นที่ไม่อำนวย

ดินลูกรัง เป็นดินที่มีศักยภาพในการเกษตรต่ำ เนื่องจากดินชั้นล่างแน่นทึบเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้ดินที่มีกรวดปนมักเป็นดินที่ขาดความชุ่มชื้นได้ง่าย และปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ มีข้อจำกัดในการเลือกชนิดของพืชปลูก โดยเฉพาะไม้ยืนต้นและไม้ผลจำเป็นต้องจัดการเป็นพิเศษ ในการเตรียมหลุมปลูก การปลูกพืชติดต่อกันในดินนี้จะทำให้ปริมาณธาตุอาหารในดินลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากหน้าดินมักเกิดการกร่อนได้ง่าย ปัจจุบันดินนี้ยังใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกไม่มากนัก ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้จำพวกป่าแดงโปร่ง

แนวทางแก้ไขและการใช้ประโยชน์ดินลูกรัง

ดินลูกรังเป็นดินที่มีข้อจำกัดต่าง ๆ มาก การแก้ไขปัญหาเพื่อใช้ประโยชน์จากดินนี้อาจทำได้หลายแนวทาง คือ

1. การทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เหมาะกับดินลูกรังที่พบในที่ดอนและมีหน้าดินหนาเกิน 15 ซม. ขึ้นไป

2. การปลูกพืชไร่ ดินลูกรังที่มีหน้าดินหนา ประมาณ 20 ซม. มีการระบายน้ำดีปานกลาง ไม่มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน สามารถปลูกพืชไร่ได้หลายชนิด เช่น ข้าว ฟ่าง ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และพืชรากตื้นอื่น ๆ แต่ควรมีการบำรุงรักษาความอุดมสมบรูณ์ของดินโดยการใส่ปุ๋ย และรักษาความชื้นของดินโดยใช้วัสดุคลุมดิน

3. การปลูกไม้ผลและไม้โตเร็ว ดินลูกรังจะไม่จับกันเป็นชั้นแน่นมากนักสามารถปลูกไม้ผลและไม้โตเร็ว เช่น มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ มะขาม ยูคาลิปตัส กระถินต่างๆ สะเดา ขี้เหล็กบ้าน น้อยหน่า พุทรา และไผ่ ส่วนยางพาราสามารถปลูกได้ในบริเวณที่มีปริมาณฝนมากกว่า 1_400 มม. /ปี

4. การทำนา ดินลูกรังที่พบในที่ราบหรือที่ราบต่ำที่มีหน้าดินลึกประมาณ 15 ซม. และมีการระบายน้ำเลวในช่วงฤดูฝนมีน้ำขังแฉะเป็นเวลานาน ควรใช้ปลูกข้าวและมีการใส่ปุ๋ยซึ่งจะช่วยให้ข้าวมีผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุน

อย่างไรก็ตาม ดินลูกรังที่มีหน้าดินตื้น ไม่ควรใช้ในการเพาะปลูกพืชที่ต้องมีการไถพรวนดิน เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด หากไม่จำเป็นจึงไม่ควรนำมาใช้ในการเพาะปลูกแต่ควรปล่อยให้เป็นพื้นที่ป่าไม้ตลอดไป

การปรับปรุงดินลูกรังให้เหมาะสมต่อการปลูกพืช

ในการปรับปรุงบำรุงดินลูกรังเพื่อปลูกพืชเพื่อเพิ่มผลผลิต โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุสามารถทำได้โดย

1. การไถกลบฟางข้าว และรดด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำอัตรา 5 ลิตร/ไร่ หมักทิ้งไว้ช่วยให้ฟางย่อยสลายเร็วขึ้นเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน

2. ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก อัตรา 2 - 4 ตัน/ไร่ คลุกเคล้ากับดินในแปลงปลูกพืช หรือในบริเวณหลุมปลูกไม้ผล ในอัตราเฉลี่ย 25 - 50 กิโลกรัมต่อหลุม

3. ปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า แล้วไถกลบลงดิน ในช่วงออกดอก (อายุประมาณ 50 - 60 วัน หลังปลูก) ก่อนปลูกพืชหลักทุกชนิดเพิ่มอินทรีย์วัตถุ ทำให้ดินร่วนซุย การถ่ายเทอากาศดีการระบายน้ำดีดินมีความอุดมสมบรูณ์เพิ่มขึ้น

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:4617
632 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 63 หน้า, หน้าที่ 64 มี 2 รายการ
|-Page 44 of 64-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
การรับมือกับโรคเหี่ยวในผักกาดขาวปลี: สูตรควบคุมและป้องกันการระบาดจากเชื้อรา
Update: 2566/11/15 13:09:21 - Views: 362
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 3 สูตร สำหรับต้นแครอทที่เติบโตแข็งแรงและผลผลิต
Update: 2567/02/12 14:43:30 - Views: 134
ยากำจัดโรคเน่าคอดิน ใน มันสำปะหลัง โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/05 10:39:01 - Views: 3048
กำจัดเพลี้ย ไรแดง แมลงศัตรูพืช เชื้อบิวเวอร์เรีย ผสม เชื้อเมธาไรเซียม บิวทาเร็กซ์ ปลอดภัยเพาะเชื้อจาก Lab 100%
Update: 2566/07/25 10:56:38 - Views: 525
การปลูกฟ้าทะลายโจร
Update: 2564/08/20 22:59:07 - Views: 2986
โรงงานน้ำตาลแห่เปิดใหม่อีก 5 แห่งรับฤดูการเปิดหีบอ้อยปี 2555/56
Update: 2563/06/24 08:57:16 - Views: 3172
โรคเชื้อราในกะหล่ำดอก: วิธีป้องกันและควบคุมเชื้อราที่มีผลกระทบต่อผลผลิต
Update: 2566/11/21 09:24:19 - Views: 347
มะกรูด โตไว ใบเขียว เร่งราก เร่งดอก ขยายขนาด ผลใหญ่ ดก เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ย สตาร์เฟอร์
Update: 2567/04/08 15:15:02 - Views: 113
โรคใบด่างมะละกอ เชื้อไวรัสในมะละกอ ต้องกำจัดเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำโรค และมีดตอนกิ่งที่ไม่สะอาดก็มีส่วน
Update: 2563/06/10 16:16:45 - Views: 4423
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค: เคล็ดลับสู่การเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในการเกษตร สำหรับต้นปาล์ม
Update: 2567/02/13 09:29:49 - Views: 144
แม่หอบ เหมือนปู ผสมกุ้ง แต่ไม่ใช่ทั้งสอง สัตว์ดึกดำบรรพ์ 16 ล้านปี ที่พบได้ในประเทศไทย ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว
Update: 2565/08/05 17:13:37 - Views: 3190
การใช้ คาร์รอน (Diuron 80% WG) เพื่อกำจัดวัชพืชในสวนเขือเปราะ
Update: 2567/02/13 09:10:42 - Views: 149
กำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในแตงโม เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ไตรโครเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/18 14:47:44 - Views: 3040
การป้องกัน กำจัดเพลี้ย กำจัดแมลงศัตรูพืช ด้วย ชีวภัณฑ์ บิวเวอเรีย และ เมธาไรเซียม ได้ผลดี และปลอดภัย
Update: 2566/11/10 06:26:57 - Views: 7997
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคพืช ฉีดพ่น ไอเอส และ FK-T ช่วยฟื้นฟู พืช จากการเข้าทำลายของเชื้อรา โดย FK ขนาด 1 ลิตร
Update: 2566/06/21 14:49:54 - Views: 512
เพลี้ยอ่อน
Update: 2564/08/30 06:40:07 - Views: 5192
กำจัดเชื้อราโรคพืช ใบไหม้ ราเน่า ผลเน่า ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/10 13:48:45 - Views: 3526
แก้ปัญหาโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ใบไหม้ ราสนิม ราน้ำค้าง ราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2566/09/26 10:31:35 - Views: 284
โรคอ้อย โรคอ้อยยอดบิด (พกกะบอง) เมื่อโรครุนแรงยอดจะเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง และใบที่ม้วนอยู่ถูกทำลาย ลำตายในที่สุด
Update: 2564/02/21 00:23:23 - Views: 3750
แก้ทุเรียนเล็กใบไหม้ ใบแห้ง ยอดไหม้ ใบเหลือง เพราะโรคจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส
Update: 2564/05/07 12:21:17 - Views: 6200
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022