[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ข้าว
635 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 63 หน้า, หน้าที่ 64 มี 5 รายการ

มอดดิน ศัตรูข้าวโพดในภาวะแล้ง
มอดดิน ศัตรูข้าวโพดในภาวะแล้ง
มอดดิน ( Ground weevil : Calomycterus sp.)

ทำลายพืชในระยะตัวเต็มวัยเท่านั้น ระบาดในสภาพแล้งจัด

โดยทั่วไปมอดดินชอบอาศัยในดินและมีสีกลมกลืนกับสีดินจึงได้ชื่อว่ามอดดิน แต่มีรูปร่างลำตัวอ้วนป้อมสั้น และมีปากงุ้มลงคล้ายงวงช้าง เกษตรกรจึงนิยมเรียกว่ามอดช้าง

ลักษณะการทำลาย

กัดกินใบและลำต้นอ่อนของข้าวโพด รวมทั้งเมล็ดที่เพิ่งงอก ทำให้ต้นกล้าเสียหายถึงตายได้ ต้นที่รอดจากการทำลายจะแตกแขนง ชะงักการเจริญเติบโตทำให้ข้าวโพดแก่ไม่พร้อมกัน ฝักลีบเล็กหรือไม่ติดเมล็ด เกษตรกรมักจะไม่สามารถแก้ไขเมื่อเกิดการระบาดของแมลงชนิดนี้ จำเป็นต้องไถทิ้งและปลูกใหม่ มักประสบปัญหานี้ในสภาพฝนแล้ง ซึ่งเป็นการเพิ่มระดับความเสียหายจากแมลงชนิดนี้รุนแรงมากยิ่งขึ้น

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

มอดดินในระยะไข่มีลักษณะกลมรีสีขาว ผิวเรียบ วางเป็นฟองเดี่ยวๆ ระยะไข่เฉลี่ย 6.8 วัน หนอนมีรูปร่างงอเป็นรูปตัว C ไม่มีขา หนอนที่โตเต็มที่มีความกว้างของหัวกะโหลกเฉลี่ย 0.75 มิลลิเมตร ความยาวลำตัวเฉลี่ย 6.5 มิลลิเมตร

ระยะหนอน เฉลี่ย 45 วัน ดักแด้ มีรูปร่างแบบ exarate pupa คือขาและปีกเคลื่อนไหวได้เป็นอิสระไม่ติดกับลำตัว มีสีขาวครีม ระยะดักแด้ เฉลี่ย 5 วัน

ตัวเต็มวัย เป็นด้วงงวงขนาดเล็ก ลำตัวป้อม มีสีดำปนน้ำตาลและเทา มีขนาดความกว้างของลำตัวเฉลี่ย 2.22 มิลลิเมตร ความยาวลำตัวเฉลี่ย 3.5 มิลลิเมตร กลางวันพบเดินอยู่ทั่วๆ ไปในแปลง หรือหลบอยู่ใต้ดินแถวโคนต้นพืชหรือเศษซากพืช โดยเฉพาะตามกอต้นอ่อนของข้าวโพดที่งอกจากฝักที่หลงตกค้างอยู่ ตัวเต็มวัยเริ่มออกหากินในเวลาพลบค่ำ พร้อมกับจับคู่ผสมพันธุ์กันไปด้วย ตัวเต็มวัยวางไข่ในดินและตัวหนอนจะอาศัยกินอินทรียวัตถุที่อยู่ในดินจนกระทั่งเข้าดักแด้

แหล่งข้อมูล: แมลงศัตรูข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และการป้องกันกำจัด เอกสารประกอบการฝึกอบรม หลักสูตร ระบบการปลูกพืชที่มีข้าวเป็นหลัก สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร

ที่มา http://www.farmkaset..link..
ธาตุอาหารพืช
ธาตุอาหารพืช
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่สามารถสร้างอาหารได้เอง คนและสัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ต้องกินพืชเป็นอาหาร ถ้าปราศจากพืช สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ไม่สามารถอยู่ได้

พืชมีความต้องการธาตุอาหารเพื่อดำรงชีวิต เช่นเดียวกับมนุษย์และสัตว์ พืชสร้างอาหารโดยการนำธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำ อากาศ และในดิน มาผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงที่ใบจะได้น้ำตาล แล้วพืชจะนำไปรวมกับแร่ธาตุชนิดอื่น ๆ ที่ดูดขึ้นมาจากดิน เพื่อสร้างแป้ง โปรตีน ไขมัน เอนไซม์ ฮอร์โมน ฯลฯ สำหรับใช้ในการเจริญเติบโตต่อไป (สมกับคำที่ว่าชีวิตเกิดจากดิน น้ำ ลม ไฟ)

จากการที่พืชดูดใช้ธาตุอาหารทั้งที่อยู่ในอากาศ ในน้ำ และในดิน เมื่อนำเนื้อเยื่อพืชไปวิเคราะห์ พบธาตุชนิดต่าง ๆ ถึง 92 ชนิด แต่มีความสำคัญและจำเป็นเพียง 17 ชนิด ที่ถูกจัดเป็นธาตุอาหารพืช จากคุณสมบัติที่สำคัญ ดังนี้ 1) พืชจะขาดไม่ได้ ถ้าขาดพืชจะตาย หรือเจริญไม่ครบชีพจักร 2) แต่ละธาตุทำหน้าที่เฉพาะในการเจริญเติบโตของพืช 3) แต่ละธาตุไม่สามารถทำหน้าที่ทดแทนกันได้

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชมี 17 ชนิด โดย 3 ชนิด พืชได้รับมาจากน้ำ และอากาศ ประกอบด้วยคาร์บอน (C) พืชได้จากคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ไฮโดรเจน (H) และ ออกซิเจน (O) พืชได้จากน้ำ ส่วนที่เหลืออีก 14 ชนิด เป็นแร่ธาตุที่อยู่ในดิน แบ่งตามความต้องการของพืชได้ดังนี้

1) ธาตุอาหารหลัก เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณมาก และดินมักจะขาด หรือมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ประกอบด้วย ไนโตรเจน (N_ เอ็น) ฟอสฟอรัส (P_ พี) โพแทสเซียม (K_ เค) ในการปลูกพืชถ้าดินขาด เราต้องเติมธาตุอาหารในรูปของปุ๋ย ซึ่งประกอบด้วยธาตุอาหาร 3 ตัวนี้เป็นหลัก

2) ธาตุอาหารรอง เป็นธาตุที่พืชใช้ในปริมาณน้อยกว่าธาตุอาหารหลัก ประกอบด้วย แคลเซ๊ยม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S) ดินส่วนใหญ่ยังไม่ขาด

3) จุลธาตุ เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง แต่พืชจะขาดไม่ได้เช่นกัน ประกอบด้วย เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) คลอรีน (Cl) โบรอน โมลิบดินัม (Mo) และนิเกิล (Ni)

เมื่อนำชิ้นส่วนของพืชไปวิเคราะห์ พบว่า 95 % ของน้ำหนักแห้ง ประกอบด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ซึ่งพืชได้รับมาฟรีๆ จากน้ำและอากาศ ส่วนที่เหลืออีกเพียง 5 % เป็นแร่ธาตุที่เหลือ 14 ชนิด ที่ได้มาจากดิน ยกตัวอย่างเช่น ในผลผลิตข้าว 1_000 กก./ไร่ พบว่า เป็นส่วนของคาร์บอน ออกซิเจน และ ไฮโดรเจน ถึง 950 กก. ที่เหลืออีกเพียง 50 กก. ที่เป็นส่วนของแร่ธาตุที่อยู่ในดิน ซึ่งถ้าดินขาด เราจะเติมให้พืชในรูปของปุ๋ย (ให้สังเกตพืชที่โตในป่า บนเขา ตามข้างถนน ไม่เคยถูกใส่ปุ๋ย แต่ทำไมพืชเจริญเติบโตได้ดี เพราะ 95 % มาจากน้ำและอากาศ 5 % มาจากดิน พืชดูดขึ้นไปใช้ ใบแก่ร่วงลงดิน แล้วย่อยสลายกลับมาเป็นอาหารพืชใหม่ แต่ข้าวในนาธาตุอาหารติดออกไปกับเมล็ด และสูญเสียไปกับการเผาฟาง)

ในส่วนของธาตุอาหารที่พืชดูดใช้จากดิน (5 %) เมื่อนำชิ้นส่วนพืชไปวิเคราะห์ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นธาตุไนโตรเจน 1.5 % ฟอสฟอรัส 0.1-0.4 % โพแทสเซียม 1-5 % กำมะถัน 0.1-0.4 % แคลเซียม 0.2-1 % และแมกนีเซียม 0.1-0.4 % ส่วนที่เหลือ คือ เหล็ก โบรอน แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โมลิบดินัม คลอรีน และนิเกิล พืชมีความต้องการน้อยมาก (แต่ขาดไม่ได้) เช่น ความต้องการไนโตรเจนกับโมลิบดินัมต่างกัน 10_000 เท่า พืชต้องการแมกนีเซียมมากกว่าเหล็ก 40 เท่า เป็นต้น ดังนั้นคำแนะนำปุ๋ยในปัจจุบันจึงเน้นให้ใส่เฉพาะไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมก่อน เพราะพืชต้องการมากและมีผลกระทบต่อผลผลิตมากกว่าตัวอื่น (ในบรรดาธาตุอาหารที่ได้จากดิน) และดินส่วนใหญ่มักจะขาด ส่วนธาตุอาหารชนิดอื่น ๆ พืชต้องการน้อย และดินส่วนใหญ่ยังไม่ขาด (แต่หลายพื้นที่เริ่มขาดแล้ว)

จะเห็นได้ว่าในการปลูกพืช เราต้องใส่ธาตุอาหารให้พืชอย่างมากที่สุดเพียง 5 % จากที่พืชต้องใช้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันเราใส่ปุ๋ยตามความต้องการของพืช หรือว่า ใส่ตามความต้องการของเราเอง ?

โดย วีรวัฒน์ นิลรัตนคุณ
อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการผลิตพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ ภาคเหนือตอน​ล่าง
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 กรมวิชาการเกษตร

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุอาหารพืชโดยตรง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม สารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช เสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรค และแมลง
โรคใบด่างข้าวโพด
โรคใบด่างข้าวโพด
โรคใบด่างในข้าวโพด เกิดจากเชื้อไวรัส Maize dwarf mosaic virus วงศ์ Potyviridae เป็น subgroup ของเชื้อ sugarcane mosaic virus (SCMV-MDB)

การแพร่ระบาด อาศัยเพลี้ยอ่อนข้าวโพดเป็นพาหะ (Corn leaf aphid : Rhopalosiphum maidis Fitch) ปริมาณการแพร่ระบาดของเพลี้ยอ่อนข้าวโพดมีผลต่อการแพร่ระบาดของโรค นอกจากนี้ยังแพร่ระบาดโดยการสัมผัส การติดไปกับเครื่องมือทางการเกษตร และสามารถถ่ายทอดไปกับเมล็ดพันธุ์

ที่มา http://www.farmkaset..link..

โรคใบด่างข้าวโพด ยังไม่มียารักษาโดยตรง ทำได้โดยการป้องกันกำจัด แมลงพาหะของโรค เช่น เพลี้ยอ่อนข้าวโพด และเพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่น มาคา เพลี้ยป้องกันกำจัดแมลงพาหะ และ FK-1 เพื่อ ฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง ส่งเสริมการเจริญเติบโต
หญ้าแม่มด
หญ้าแม่มด
หญ้าแม่มด (Witch weed; Striga asiatica) เป็นพืชที่ต้องอิงอาศัยพืชชนิดอื่น (obligate parasite) จัดเป็นวัชพืชใบกว้างฤดูเดียว มีอายุ 90-120 วัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีลำต้นตั้งตรง มีขนสีขาวปกคลุมทั่วลำต้น ขนาดความสูงประมาณ 15-40 เซนติเมตร มีดอกเดี่ยวสีขาว ออกตามซอกใบ ฝักมีสีน้ำตาลแก่ 1 ฝัก มีเมล็ดเฉลี่ย 736 เมล็ด หรือ 1 ต้น สร้างเมล็ดได้ถึง 200_000 เมล็ด เมล็ดมีชีวิตในดินได้นาน 15-20 ปี

พืชอาศัยของหญ้าแม่มดมีหลายชนิด ได้แก่ อ้อย ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ข้าวฟ่างหางกระรอก peal millet ข้าว ฯลฯ หลังเมล็ดงอก จะแทงรากเข้าไปในรากของพืชอาศัย เพื่อดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้พืชอาศัยแคระแกร็น หรือแห้งตาย

การป้องกันกำจัด

ใช้เมล็ดพันธุ์/ท่อนพันธุ์ จากแหล่งที่ไม่มีการระบาด
ระวังการแพร่กระจายของเมล็ด เนื่องจากมีขนาดเล็กคล้ายฝุ่น สามารถปลิวไปกับลม ไหลไปกับน้ำ ติดไปกับเครื่องมือ เครื่องจักรกลการเกษตร รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานในแหล่งที่มีหญ้าแม่มด
ปลูกพืชหมุนเวียน ที่ไม่ใช่พืชอาศัย
กำจัดวัชพืชประเภทใบแคบวงศ์หญ้าที่เป็นพืชอาศัย
ไม่ควรใช้มือถอนหรือจอบดาย เพราะจะทำให้หญ้าแม่มดแตกหน่อใหม่จากลำต้นใต้ดิน
พ่นด้วยสารซัลเฟนทราโซน อัตรา 300 มิลลิลิตรต่อไร่ หลังพ่นสารสองเดือน หากยังมีการแตกต้นใหม่ ให้พ่นซ้ำอีกครั้ง
แหล่งข้อมูล :
FB สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย
http://www.farmkaset..link..
ที่มา http://www.farmkaset..link..
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ สายพันธุ์พ่อแม่ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม กรมวิชาการเกษตร
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ สายพันธุ์พ่อแม่ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม กรมวิชาการเกษตร
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ นครสวรรค์ 1

Pedigree : (DA9-1(S)-7-3 x SW1C9)-S9-19-11-1-B

เดิมชื่อรหัส Nei 9008 ใช้เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แม่ ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 72 ซึ่งได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์รับรอง และตั้งชื่อเทิดพระเกียรติเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมายุครบ 72 พรรษา ในปี 2542

การพัฒนาพันธุ์

ปี 2532 ต้นฤดูฝน ปลูกประชากรข้าวโพด (DA9-1(S)-7-3 x SW1(S)C9)F2 ในสภาพการก่อให้เกิดโรคราน้ำค้าง จำนวน 2_000 ต้น ในต้นที่ต้านทานโรคราน้ำค้างและคัดเลือกไว้เพื่อทำการผสมตัวเอง สร้างสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่หนึ่ง 800-1_000 ต้น เก็บเกี่ยวคัดเลือกฝัก 250 ฝัก

ปี 2532 ปลายฤดูฝน – 2533 ปลายฤดูฝน ฝักที่คัดเลือก 250 ฝัก นำไปปลูกแบบฝักต่อแถว คัดเลือกสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 ได้จำนวน 140 สายพันธุ์

ปี 2534 ฤดูแล้ง นำสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 แต่ละสายพันธุ์จากประชากร (DA-9-1(S)-7-3 x SW1(S)C9)F2 ไปผสมกับประชากรข้าวโพด Pop 28(HS)C5 เพื่อประเมินสมรรถนะการผสม คัดเลือกสายพันธุ์ (DA9-1(S)-7-3 x SW1(S)C9)-S5-177 ซึ่งมีสมรรถนะการผสมดีกับ Pop 28 (HS)C5 ต้านทานโรคราน้ำค้าง ทนทานการหักล้ม เมล็ดมีสีส้มชนิดหัวแข็ง และต่อมาตั้งชื่อเป็น Nei 9008

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ นครสวรรค์ 2

Pedigree : Pop 28(HS)C5-S9-5-2-1-B

เดิมชื่อรหัส Nei 9202 ใช้เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์พ่อ ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 72 ซึ่งได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์รับรอง ในปี 2542

การพัฒนาพันธุ์

ปี 2533 ต้นฤดูฝน – 2534 ต้นฤดูฝน สร้างสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 1-4 ในสภาพการก่อให้เกิดโรค ราน้ำค้าง จากประชากรข้าวโพด Pop 28(HS)C5 ซึ่งได้รับจากศูนย์ปรับปรุงข้าวโพดข้าวสาลีนานาชาติประจำเขตเอเชีย (CIMMYT-ARMP) คัดเลือกสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 จากประชากร Pop 28(HS)C5 จำนวน 100 สายพันธุ์

ปี 2535 ฤดูแล้ง นำสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 จากประชากร Pop 28(HS)C5 ผสมกับสายพันธุ์ Nei 9008 ประเมินสมรรถนะการผสมในฤดูฝน คัดเลือกสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 ได้สายพันธุ์ Pop 28(HS)C5-S5-129 ซึ่งมีสมรรถนะการผสมดีกับสายพันธุ์แท้ Nei 9008 และต้านทานโรคราน้ำค้าง ต่อมาตั้งชื่อเป็น Nei 9202

อ่านทั้งหมดที่ http://www.farmkaset..link..
รับมือ โรคราน้ำค้างในข้าวโพด
รับมือ โรคราน้ำค้างในข้าวโพด
ในระยะนี้จะมีอากาศร้อนและมีฟ้าหลัวตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดให้หมั่นสังเกตอาการของโรคราน้ำค้าง มักพบแสดงอาการในระยะที่เริ่มเพาะปลูกจนถึงระยะที่ต้นข้าวโพดมีอายุประมาณ 30 วัน ซึ่งในระยะนี้ต้นข้าวโพดจะอ่อนแอต่อโรคนี้มาก โดยอาการของโรคจะพบได้ตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก เริ่มแรกจะพบจุดเล็กสีเขียวฉ่ำน้ำบนใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดบริเวณยอดมีสีเหลืองซีด หรือใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับเขียวแก่ ในเวลาเช้าที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและมีความชื้นสูง ด้านใต้ใบมักพบส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราเป็นผงสีขาวจำนวนมาก บางครั้งพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นแคระแกร็น เตี้ย ข้อถี่ ไม่มีฝักหรือมีฝักขนาดเล็ก ก้านฝักมีความยาวมากหรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ แต่ฝักจะไม่สมบูรณ์ เช่น มีจำนวนเมล็ดน้อย หรือไม่มีเมล็ดเลย

กรณีเริ่มพบการระบาดของโรค ให้เกษตรกรถอนต้นกล้าข้าวโพดที่แสดงลักษณะอาการของโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เนื่องจากเชื้อสาเหตุโรค สามารถเข้าทำลายต้นข้าวโพดได้ตั้งแต่ในระยะที่ข้าวโพดเริ่มงอก ซึ่งการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชหลังจากต้นข้าวโพดอายุ 20 วันขึ้นไป จะไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้ สำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน ในส่วนของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีพื้นที่ปลูกเป็นบริเวณกว้าง ให้เน้นการป้องกันกำจัดโดยใช้วิธีการคลุกเมล็ดพันธุ์

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกัน รักษาโรคราน้ำค้างในข้าวโพด ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟูข้าวโพด บำรุง เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคราน้ำค้าง รวมถึงส่งเสริมการเจริญเติบโต ตลอดจนเพิ่มผลผลิต
ป้องกัน กำจัด หนอนปลอกข้าว (rice caseworm)
ป้องกัน กำจัด หนอนปลอกข้าว (rice caseworm)
ป้องกัน กำจัด หนอนปลอกข้าว (rice caseworm)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Nymphula depunctalis Guenee วงศ์ :Pyralidae อันดับ :Lepidoptera ชื่อสามัญอื่น :หนอนขยอก

หนอนปลอกข้าว Nymphula depunctalis Guenee ตัว เต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีขาวมีแถบสีน้ำตาลอ่อนถึงดำ 2-3 แถบตามขอบปีก ลำตัวค่อนข้างบอบบาง มีขนาด 6-8 มิลลิเมตร ความยาวของปีเมื่อกางออกประมาณ 15 มิลลิเมตร เพศผู้ตายหลังจากผสมพันธุ์ เพศเมียตอนกลางวันชอบหลบอยู่ในนาข้าวและวางไข่ตอนกลางคืน เพศเมียวางไข่เป็นแถว 1-2 แถว ติดกันบนผิวใต้ใบข้าวหรือก้านใบเหนือระดับน้ำ ไข่มีลักษณะกลม ผิวเรียบสีเหลืองอ่อน ระยะไข่นานประมาณ 4 วัน ตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่มีสีครีมหัวสีเหลืองอ่อน ตัวหนอนที่โตเต็มที่มีสีเขียวอ่อน ตัวหนอนมีชีวิตกึ่งแมลงในน้ำ (semi-aquatic) มีเหงือกจำนวน 6 แถว สำหรับใช้รับอากาศจากน้ำ กินอาหารโดยทำปลอกหุ้มและอาศัยอยู่ในปลอกกัดกินส่วนผิวของใบอ่อนเกิดเป็นรอย ขาวเป็นแถบ เมื่อหนอนโตเต็มที่จะคลานขึ้นไปบนต้นข้าวแล้วยึดปลอกติดกับต้นข้าวอยู่เหนือ ผิวน้ำ ตัวหนอนจะถักไหมทำรังรอบตัวและเข้าดักแด้อยู่ภายในปลอกและสลัดปลอกทิ้งเมื่อ มีการลอกคราบ ตัวหนอนมี 5 ระยะ ระยะดักแด้ประมาณ 2 สัปดาห์

ลักษณะการทำลายและการระบาด

ตัวหนอนเริ่มกัดกินผิวใบอ่อนของข้าวและจะทำปลอกหุ้มลำตัวไว้ภายใน 2 วันต่อมา โดยตัวหนอนจะเคลื่อนย้ายไปยังปลายใบข้าวและกัดใบตรงด้านหนึ่งของเส้นกลางใบ และใช้สารที่สกัดจากร่างกายยึดริมขอบใบทั้งสองข้างเข้าหากันเป็นปลอกหุ้ม เห็นเป็นรอยเยื่อสีขาวบางๆไว้ ตัวหนอนสามารถเคลื่อนย้ายไปทำลายข้าวต้นอื่น โดยอาศัยปลอกลอยน้ำไปยังข้าวต้นใหม่ และคลานขึ้นไปกัดกินใบข้าวใหม่ต่อไปเรื่อยๆ มักพบระบาดเฉพาะแปลงข้าวที่มีน้ำขัง ในนาชลประทานและนาที่ลุ่มอาศัยน้ำฝน ความเสียหายเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ ต้นข้าวสามารถฟื้นตัวจากการทำลายใบในระยะแรกๆได้ การมีน้ำขังในแปลงตลอดช่วงข้าวเจริญเติบโตทางใบมีผลทำให้หนอนปลอกระบาดมาก ขึ้น ถ้าระบาดรุนแรงก็สามารถทำให้ข้าวชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น และแห้งตายเป็นหย่อมๆ แต่จะไม่เสียหายในระยะข้าวแตกกอเต็มที่แล้ว

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โรคบวบ ราน้ำค้างบวบ ราแป้งบวบ บวบใบไหม้ โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู เร่งโต สร้างภูมิฯ 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
โรคบวบ ราน้ำค้างบวบ ราแป้งบวบ บวบใบไหม้ โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู เร่งโต สร้างภูมิฯ 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
บวบหอม บวบเหลี่ยม บวบขม บวบงู ซูกินี่ เป็นพืชระสั้น ได้ผลผลิตเร็ว สามารถปลูกหลังการปลูกข้าวโพด หรือหลังการทำนาได้ บวบ ก็มีปัญหาทางด้าน โรคและแมลงอยู่บ้าง ที่สามารถป้องกัน กำจัดได้ หากเข้าใจพื้นฐาน ของโรคพืช และแมลงศัตรูพืช

โรคราน้ำค้างของบวบ เป็นโรคประจำชนิดหนึ่งที่มักพบเสมอๆ เกิดจากราชั้นต่ำที่มีชื่อว่า ซูโดเพอเรอโนสปอร่า อาการมักแสดงบนใบ มีแผลเหลี่ยมเล็ก สีเหลือง บางครั้งเป็นแผลสีขาว หรือสีเทา ต่อมา ใบเหลือง แห้ง แผลจะเกิดในขอบเขตเส้นใบ เช่นเดียวกับแตงกวา

โรคราต่างๆนี้ ส่งผลให้ บวบ ติดผลน้อย ผลเล็ก ความหวานลดลง หากโรคราเหล่านี้ระบาดเร็ว จะส่งผลให้ใบเหลืองแห้งตายทั้งต้น เถาตายก่อนเก็บเกี่ยว

โรคราน้ำค้าง (downy mildew of grapes) มี Plasmopara viticola เป็นเชื้อราสาเหตุของโรค โรคราน้ำค้าง และแสดงอาการเป็นขุยสีขาวที่ใต้ใบ ด้านบนใบจะเป็นเป็นสีเหลืองจ้ำๆ ช่อดอก และผลอ่อนจะเหี่ยวแห้ง และมีอาการใบไหม้ โรคราน้ำค้าง ระบมาดมากในช่วงที่มีความชื้นสูง เช่น ฤดูฝน

โรคราแป้ง (เชื้อรา Oidium sp.) พบเชื้อราคล้ายผงแป้งสีขาวเกิดเป็นหย่อมๆ บนใบมักพบที่ใบส่วนล่างของต้นก่อน ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมอาการโรคจะกระจายทั่วทั้งใบ และลุกลามขึ้นไปยังใบส่วนบนของต้น เห็นเชื้อราคล้ายผงแป้งสีขาวปกคลุมใบเกือบทั้งต้น ต่อมาใบค่อยๆซีดเหลืองและแห้ง หากโรคระบาดรุนแรงจะลุกลามไปยังทุกส่วนของพืช ทำให้ต้นแห้งตายในที่สุด ถ้าพืชเป็นโรคในระยะติดผลอ่อน จะทำให้ผลแกร็น บิดเบี้ยว ผวขรุขระ เป็นตุ่ม หรือแผลที่เปลือก

การป้องกันกำจัด โรคราต่างๆ
1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
3. งดให้น้ำในช่วงเย็น
4. ฉีดพ่น ไอเอส และ FK-1 ในอัตราส่วนที่แนะนำ สามารถผสม ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้

ไอเอส ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้ ใบจุดสีน้ำตาล กิ่งแห้ง โรคใบติด โรคราน้ำค้าง ราสนิม แอนแทรคโนส ไฟธอปโทร่า หรือ โรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ไอเอส หยุดโรค และ FK-1 ธาตุหลัก N-P-K ธาตุรอง ธาตุเสริม Ca_ Mg_ Zn สำหรับบำรุงให้แข็งแรง โตไว ผลผลิตดี สร้างภูมิคุ้มกันโรค

ตัวอย่างโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ
#ราน้ำค้างบวบ #ราแป้งบวบ #ราแป้งซูกินี่ #ราน้ำค้างซูกินี่ #ราน้ำค้างองุ่น #ราแป้งองุ่น #แอนแทรคโนสองุ่น #ราน้ำค้างแคลตาลูป #ราน้ำค้างเมล่อน #ราน้ำค้างข้าวโพด #ราน้ำค้างถั่วเหลือง #ราน้ำค้างกะหล่ำปลี #ราน้ำค้างฟักแม้ว #ราน้ำค้างฟักเขียว #ราน้ำค้างแตงกวา #ราน้ำค้างมะระจีน #ราน้ำค้างฟักทอง #ข้าวไหม้คอรวง #ข้าวเน่าคอรวง #ข้าวขาดคอรวง #โรคข้าว #แตงโมเถาเหี่ยว #ราน้ำค้างแตงโม #แตงโมใบไหม้ #โรคพืช #โรคใบไหม้ #โรคราสนิม #โรคใบติด #ทุเรียนใบติด #โรคราน้ำค้าง #แอนแทรคโนส #ไฟธอปโทร่า #โรคกุ้งแห้ง #โรคใบจุด #ราแป้ง #โรคเหี่ยว

ตัวอย่างเชื้อรา สาเหตุโรคพืชต่างๆ
#Pyricularia_oryzae สาเหตุ โรคไหม้คอรวง ข้าวเน่าคอรวง
#Phytophthora_spp. #Sclerotium_spp. สาเหตุ โรครากเน่า โคนเน่า
#Capnodium_sp. #Meliola_sp. สาเหตุ โรคราดำ
#Maravaria_pterocarpi (ราสนิมพะยูง)
#Olivea_teetonae (ราสนิมสัก)
#Cercospora_sp. #Macrophoma_sp. สาเหตุ โรคใบจุด
#Alternaria_sp. #Phyllachora_sp. สาเหตุ โรคใบจุดนูนดำ
#Pestalotropsis_sp. สาเหตุ โรคใบไหม้
#Oidium_sp. #Uncinula_tectonas สาเหตุ โรคราแป้ง
#Verticillium_sp. #Fumsarium_spp. #Selerotium_sp. สาเหตุ โรคเหี่ยว

✅ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
✅ฉีดพ่นต่อเนื่องไม่อันตราย
✅ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บฟาร์มเกษตรโดยตรง (เลือกแยกซื้อได้)

http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Lazada

ชุดคู่ ไอเอส + FK-1 http://www.farmkaset..link..
ไอเอส อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..
FK-1 อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Shopee

ชุดคู่ ไอเอส + FK-1 http://www.farmkaset..link..
ไอเอส อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..
FK-1 อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..

ข้อมูลและอัตราผสมใช้
🍂 ไอเอส อัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)
🌿 FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส ได้เลย
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🍂ข้อมูลจำเพาะ ไอเอส

สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติทั้งหมด ผ่านการวิจัยพัฒนา เพื่อคัดเลือกวัตถุดับที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุม และยับยั้งเชื้อรา ด้วยเทคโนโลยี “การควบคุมด้วยประจุไฟฟ้า (Ion Control)” โดยควบคุมสภาพแวดล้อมที่ผิวใบพืช ทำให้เกิดภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ของเชื้อรา อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดผิวใบพืชได้ดียิ่งขึ้น ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้ใช้และผู้บริโภค
*การใช้ ไอเอส ในช่วงรักษาโรคพืชจากเชื้อรา กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

🌿ข้อมูลจำเพาะ FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig s law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แคลเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ธาตุแคลเซียม [Ca] ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น
การปลูกบวบ
การปลูกบวบ
ในช่วงภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ควรต้องระวังสุขภาพกันสักหน่อย เพราะทั้งหวัด ทั้งไข้ และไหนจะโรคภูมิแพ้หรือหอบหืดอีก อุบัติเหตุจากยวดยานก็เยอะ ก็คงต้องระมัดระวังกันนะค่ะ ทำร่างกายให้อบอุ่นไว้ หากไม่สบายแล้วจะเสียทั้งเวลาและเสียงานหมด

หากท่านรู้สึกอึดอัด คัดจมูก หรือเป็นหวัด ก็ลองใช้ยาแก้หวัดแบบโบราณดู อาจได้ผลดีก็ได้ แถมไม่มีผลข้างเคียงแต่อย่างใด

วิธีไล่หวัดแบบโบราณ

ผู้เฒ่าผู้แก่ ท่านบอกว่า เอาหัวหอมหรือหอมแดง มาปอกสัก 4-5 หัว ทุบให้พอแตก แล้วเอาน้ำตั้งไฟให้เดือด จากนั้นเอาหัวหอมใส่แล้วยกลง ให้เอาผ้าขาวม้าหรือผ้าขนหนูเช็ดตัวก็ได้ คลุมหัวแล้วก้มหน้าไปที่หัวหอมที่เราทำไว้ทันที ระวังอย่าเอาหน้าไปใกล้มาก เพราะไอน้ำที่ยังร้อนอยู่จะลวกหน้าเอา สูดเอากลิ่นหัวหอมเข้าช้าๆ ลึกๆ เรื่อยๆ จนหมดกลิ่น หรือจนน้ำนั้นเย็น จะทำให้ท่านโล่งจมูก

อาหารโบราณอีกอย่างหนึ่งตอนหน้าฝนที่ทำง่ายๆ และอร่อยด้วย และรับรองว่าหาคนเคยกินยาก จะเป็นขนมหวานก็ไม่เชิง กินกับข้าวก็อร่อย กินเปล่าๆ ก็อร่อย ซึ่งมันก็คือ บวบต้มน้ำตาลนั่นเอง!! ทุกท่านเคยได้ยินกันบ้างหรือป่าว!! และส่วนใหญ่จะบอกว่าไม่รู้จักเลย… สำหรับวิธีการทำก็ไม่ได้ยากอะไร

เริ่มแรก โดยการนำเอาบวบเหลี่ยมหรือบวบหอมก็ได้ มาปอกเปลือกออกแล้วล้างสักหน่อย จากนั้นให้ฝานเป็นชิ้นๆ พอคำ อย่าให้ใหญ่มาก (หั่นเหมือนกับจะผัดนั่นแหล่ะค่ะ) เอาน้ำใส่หม้อตั้งไฟให้เดือด (ใช้หม้อเล็กๆ ก็พอ อย่าทำทีละมากๆ เพราะต้องกินร้อนๆ จึงจะอร่อย)

เมื่อน้ำเดือดพล่านแล้ว ให้เอาน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลปี๊บ ปริมาณของน้ำตาลก็ให้กะเอาขนาดเท่าหัวแม่มือเรา

หากน้ำในหม้อมีอยู่ประมาณสักสองชามแกง ใช้น้ำตาลเท่าหัวแม่มือโตๆ จะอร่อยดี เอาน้ำตาลใส่ลงในน้ำเดือด พอน้ำตาลละลายหมดก็เอาบวบใส่ลงไปพอประมาณ รอจนบวบสุก แต่อย่าให้เปื่อย กะว่าพอใส่บวบลงไปสักพัก แล้วน้ำเดือดอีกครั้งก็ยกลง

ทีนี้ก็ตักใส่ถ้วยนั่งซดกันร้อนๆ อร่อย และยังไล่หวัด แถมให้ความอบอุ่นได้ดีอีกด้วย ได้ประโยชน์ทางยาด้วย

เพราะบวบนั้น มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยเจริญอาหาร เป็นกากใยอีกด้วย ใช้กินคู่กับอาหารรสเผ็ดๆ ก็ดี เช่น กินน้ำพริกผักจิ้ม แล้วซดบวบต้มน้ำตาลร้อนๆ ตามไป รับรองอร่อยเหาะเลยค่ะ

มาปลูกไว้กินเองค่ะ

บวบ เป็นผักพื้นบ้านที่มีความหลากหลายทางสายพันธุ์ และก็เป็นผักพื้นบ้านที่น่าปลูกมากอีกอย่างหนึ่ง บวบเป็นผักที่มีแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัสมาก รวมทั้งกาก (fiber) ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ อีกทั้งการปลูกก็ง่าย และเลือกสายพันธุ์ปลูกได้หลายสายพันธุ์อีกด้วยนะคะ

วิธีการปลูกบวบ ไม่ว่าท่านจะเลือกปลูกบวบหอม หรือบวบเหลี่ยม นั้น มีขั้นตอนการปลูกที่คล้ายๆ กัน และบวบทั้งสองชนิดนี้เป็นพืชที่ต้องใช้ค้างช่วย เพราะบวบเป็นไม้เถา การปลูกบวบนอกจากต้องเตรียมดินแล้ว ท่านยังต้องเตรียมไม้ไผ่ไว้ทำค้างให้บวบเลื้อยพันอีกด้วย ซึ่งก็หาซื้อได้แถวๆ ที่เขาขายต้นไม้ ดินปลูก ปุ๋ย หรืออุปกรณ์ปลูกต้นไม้นั่นแหล่ะ!!

เริ่มแรก ต้องเตรียมดินกันก่อน โดยพรวนดินให้ร่วนซุย แล้วผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักสักหน่อย จากนั้นก็ยกร่อง ตากดินไว้สัก 1 สัปดาห์ จากนั้นก็ขุดหลุมให้ลึกสักฝ่ามือ แล้วเอาเมล็ดพันธุ์บวบหยอดลงไป 3-5 เมล็ด กลบด้วยดินร่วนที่ผสมปุ๋ยไว้แล้ว รดน้ำให้ชุ่ม คลุมหลุมด้วยหญ้าหรือฟางพอประมาณ รดน้ำให้ชุ่มสม่ำเสมอทุกวัน เช้า-เย็นยิ่งดี จะทำให้งอกเร็วขึ้น

เมื่อต้นกล้าบวบงอกขึ้นมามีใบจริงสัก 2 ใบ ให้ถอนต้นกล้าหรือต้นอ่อนที่ไม่แข็งแรงทิ้งไป ให้เหลือเพียงหลุมละ 2 ต้น ก็พอ จะได้โตดี เมื่อบวบเริ่มเลื้อยก็ให้ทำค้างให้บวบเลื้อยขึ้นพัน

ส่วนท่านที่ใช้กระถางปลูกบวบ ก็ให้เอาดินถุงที่ซื้อมา ผสมกับใบไม้แห้งและปุ๋ย เคล้าให้เข้ากัน แล้วแหวกให้เป็นหลุม เอาเมล็ดบวบหยอดลงไปสัก 3-4 เมล็ด แล้วกลบดิน คลุมด้วยฟางหรือหญ้า รดน้ำให้ชุ่ม ตั้งไว้ในที่ที่โดนแดดตอนเช้า ไม่นานต้นกล้าบวบก็จะงอกขึ้นมา

พอมีใบจริงสัก 2 ใบ ก็ถอนต้นที่ไม่แข็งแรงออกไป และรดน้ำไปเรื่อยๆ พอต้นเริ่มทอดยอดจะเลื้อย ก็เอาไม้ไผ่มาปักคร่อมเป็นสามเส้าทำเป็นค้างให้บวบเลื้อยพันได้

การปลูกบวบต้องหมั่นรดน้ำให้สม่ำเสมอ เพราะบวบเป็นพืชที่ชอบน้ำ ไม่นานก็จะมีลูกบวบที่ออกลูกห้อยระย้า ทีนี้ก็เก็บไปผัด ไปแกง หรือไปทำเมนูอื่นๆ ตามใจท่านแหละกันค่ะ

ชนิดของบวบไทย
พืชผักที่คนไทยเรียกกันว่า บวบ นั้น มีหลายชนิด แต่อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือ cucurbitaceac และเป็นไม้เถา ดอกสีเหลืองเช่นเดียวกัน เช่น

1. บวมเหลี่ยม นิยมปลูกทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ส่วนชื่อเรียกก็ตามแต่ละภูมิภาคท้องถิ่นนั้นๆ

2. บวมหอม หรือ บวมกลมนิยมปลูกในภาคเหนือและอีสานมากกว่าภาคอื่นๆ

3. บวมขมเป็นบวบชนิดเดียวกับบวบหอม แต่บวบผลเล็ก สั้น และมีรสขมมาก มักขึ้นเองในป่า หรือตามที่รกร้างว่างเปล่า ไม่ใช่กินเป็นผัก แต่ใช้เป็นยาหรือประโยชน์ด้านอื่น

4. บวบงูมีลักษณะกลม ยาว ปลายแหลมและบิด สีผลเขียวลายขาว มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียอาคเนย์และจีน นิยมปลูกทั่วไปโดยเฉพาะภาคอีสาน ภาคเหนือ

5. บวบหอม และบวมงู ใช้ปรุงอาหารได้คล้ายคลึงกับบวบเหลี่ยม เพียงแต่มีกลิ่น รส แตกต่าง ออกไปบ้าง ขึ้นอยู่กับผู้กินว่าจะชอบชนิดใดมากกว่ากัน

มากด้วยคุณค่า และสารพัดประโยชน์
บวบมีหลายชนิดและใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง แต่คนไทยรู้จักบวบในฐานะเป็นผักอย่างหนึ่งมากที่สุด บวบเหลี่ยมนับเป็นผักที่รู้จักแพร่หลาย หาซื้อได้ในตลาดทั่วประเทศไทย และมีให้กินได้ตลอดปี

ผลอ่อนของบวบเหลี่ยมใช้ประกอบอาหารได้หลายประเภท เช่น ใช้เป็นผักจิ้มกับเครื่องจิ้มต่างๆ เช่น น้ำพริกปลาร้า กะปิ ปลาเจ่า และอื่นๆ ได้อีกหลายเมนู (คนใต้มักจะนำเอาผลอ่อนของบวบเหลี่ยมมาจิ้มกินกับน้ำพริก หรือเหนาะแกงใต้รสเผ็ดๆ)

สำหรับคนทางภาคอีสานบางท้องถิ่น เขามักจะใช้ยอดอ่อนของบวบเป็นผัก เช่น นำไปนึ่ง ลวก แล้วเอามาจิ้มกับน้ำพริกปลาร้า หรือใส่ในแกงอ่อม แกงเหน่อไม้ใบย่านาง และอื่นๆ ได้อีกหลายเมนู ต้องขอบอกว่าแซบดีอยู่เด้อค่า

นอกจากใช้เป็นผักแล้ว บวบยังมีประโยชน์ต่อมนุษย์อีกหลายประการ เช่น เมื่อผลบวบแก่จนแห้งแล้วจะมีเส้นใยที่เหนียว โปร่ง และยืดหยุ่นได้ดี นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ถูตัวแทนฟองน้ำ ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้กันมาก (งานโอท็อปมีเยอะมากค่ะ)

สมัยเด็กๆ ผู้เขียนยังพอจำความได้ว่า แม่จะนำใยบวบแก่มาตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำมาตัดเป็นแผ่นๆ แล้วให้เอามาขัดถูล้างถ้วย ชาม แทนฝอยขัดชนิดต่างๆ และก็ใช้ได้ดีอีกด้วยค่ะ ซึ่งพอเลิกใช้แล้วก็เอาไปใส่ต้นไม้ ปล่อยให้มันย่อยสลายเส้นใยไปตามธรรมชาติเอง

ในสมัยปัจจุบัน ยังมีการนำมาใช้ตกแต่งเป็นดอกไม้ประดิษฐ์รูปแบบต่างๆ ได้อีกด้วย รวมทั้งใช้รองป้านชา และยัดในรองเท้า เพื่อรักษารูปทรงได้

ประโยชน์หลักอีกด้านหนึ่งของบวบที่ทุกท่านรับรู้ก็คือ ด้านสมุนไพร เช่น ในประเทศจีนเขาจะนำผลบวบแก่มาเผาให้เป็นเถ้า (นิยมใช้บวบหอม) แล้วนำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิและยาขับลม น้ำคั้นจากผลสดใช้เป็นยาระบาย เมล็ดแก่ ใช้ทำให้อาเจียนและเป็นยาถ่าย และน้ำมันที่บีบจากเมล็ดยังใช้ทาแก้โรคผิวหนังได้อีกด้วย

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ป้องกันกำจัดโรคราต่างๆในบวบ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา

เร่งการเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทาน เพิ่มผลผลิต ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน

สามารถผสม ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้
มะระขี้นก
มะระขี้นก
มีข้อมูลว่ามะระขี้นกเป็นสมุนไพรที่ใช้กันมานานนับพันปี ในเอเชีย อาฟริกา และละตินอเมริกา ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวรวมกับข้อมูลการค้นคว้าถิ่นกำเนิดของมะระขี้นกที่ได้มีการค้นคว้ากันมากในอดีตพอจะสรุปได้ว่า ถิ่นกำเนิดของมะระขี้นกนั้นอยู่ในเขตร้อนของเอเชียและทางตอนเหนือของแอฟริกาเขตร้อน ซึ่งอาจรวมไปถึงเขตร้อนในอเมริกาใต้หรือแถบประเทศลาตินอเมริกาอีกด้วย เพราะในปัจจุบันนั้นมะระขี้นกสามารถเพาะปลูกหรือมีให้เห็นได้ในประเทศเขตร้อนชื้น เช่น ประเทศในแถบอเมริกาใต้ เช่น บราซิล _ อาร์เจนตินา _ ปารกวัย ฯลฯ แอฟริกาตะวันออก เช่น เคนยา _ แทนซาเนีย _ อูกานดา ฯลฯ และเอเชีย เช่น พม่า _ ไทย _ ลาว _ กัมพูชา เป็นต้น

ชื่ออื่น ๆ / ชื่อท้องถิ่น มะไห่ _ มะห่อย _ ผักไห่ _ ผักไซ (ภาคเหนือ) _ มะระหนู _ มะร้อยรู (ภาคกลาง) _ ผักสะไล _ ผักไส่ (ภาคอีสาน) _ ระ (ภาคใต้) _ ผักไห (นครศรีธรรมราช) _ ผักเหย (สงขลา) _ สุพะซู _ สุพะซู _ สุพะเด (กะเหรี่ยง - มะฮ่องสอน) _ โกควยเกี๋ย _ โคงกวย (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantin Linn
ชื่อสามัญ Bitter cucumber_ Balsam pear_ Balsam apple_ Bitter melon_ Bitter gourd_ Carilla fruit
วงศ์ Cucurbitaceae

ประโยชน์สรรพคุณของมะระขี้นก
แก้ท่อน้ำดีอักเสบ
ช่วยทำให้เจริญอาหาร
ช่วยแก้ไข แก้ตัวร้อน ดับพิษร้อน แก้ปากเปื่อย เป็นขุม
แก้พิษฝี
บำรุงน้ำดี แก้ตับม้ามพิการ
แก้อักเสบฟกบวม แก้ปวดเนื่องจากลมคั่งในข้อ
แก้หอบหืด
ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิตระดู
แก้ตับม้ามอักเสบ
ช่วยขับพยาธิ
แก้เจ็บปวดจากพิษต่างๆ
เป็นยาระบายอ่อนๆ
แก้เบาหวาน
แก้ไข้หวัด
ช่วยต้านไวรัสเอดส์ ต้านมะเร็ง
ใบช่วยสมานแผล
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และเป็นยาระบาย
ช่วยป้องกันและรักษาโรคมาลาเรีย
รักษาอาการอาการกรดไหลย้อนหรือแผลในกระเพาะอาหาร
ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ เสริมการเผาผลาญน้ำตาล


มะระขี้นกสามารถนำมารับประทาน หรือนำมาประกอบเป็นอาหารได้ เช่น ใบอ่อน ยอดอ่อน และผลอ่อน นึ่งหรือลวกให้สุก รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกปลาทู น้ำพริกตาแดง และยังสามารถใช้เป็นส่วนผสมของแกงแค และคั่วแคได้มะระขี้นกมีรสขมมากกว่ามะระจีน จึงนิยมกินในหมู่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ผลอ่อนนำไปต้มหรือเผากินได้ทั้งลูก ผลแก่ต้องนำมาผ่ากลาง คว้านเมล็ดออกเสียก่อน การลดความขมของมะระขี้นกนั้นทำได้โดยต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือสักหยิบมือ ลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ แต่มะระจะยังคงมีผลสีเขียวสด การปรุงแกงจืดมะระขี้นกยัดไส้หมูสับ ต้องต้มนานหน่อยให้ความขมจางลง หรือปรุงอาหารเผ็ด เช่น พะแนงมะระขี้นกยัดไส้ หรือเป็นแกงเผ็ดก็ได้ ถ้าจะนำไปปรุงอาหารผัด เช่น ผัดกับไข่ ให้ต้มน้ำแล้วเททิ้งหนึ่งครั้ง หรือคั้นกับน้ำเกลือแล้วล้างออกเพื่อลดความขมก็ได้ อีกทั้งสมัยโบราณมีการนำมะระขี้นกมาปรุงเป็นกับข้าวต้มเค็มกินด้วย

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ไอเอส สารอินทรีย์ ฉีดพ่นเพื่อป้องกันกำจัด โรคมะระขี้นก ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น มะระขี้นกใบไหม้ โรคราแป้งมะระขี้นก โรคราน้ำค้างมะระขี้นก

FK-1 ฉีดพ่นมะระขี้นก เพื่อ บำรุง เร่งการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต เสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคและแมลง
635 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 63 หน้า, หน้าที่ 64 มี 5 รายการ
|-Page 55 of 64-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
โรคทุเรียนต่างๆ ทุเรียนใบไหม้ ราสีชมพูในทุเรียน โรคทุเรียนก้านธูป เชื้อราต่างๆ ใช้ ไอเอส
Update: 2566/10/28 12:25:31 - Views: 10045
โรคอ้อย โรคใบจุดวงแหวน และโรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิคุ้มกันโรค 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
Update: 2564/08/28 04:18:48 - Views: 3416
โรคใบด่างมะละกอ เชื้อไวรัสในมะละกอ ต้องกำจัดเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำโรค และมีดตอนกิ่งที่ไม่สะอาดก็มีส่วน
Update: 2563/06/10 16:16:45 - Views: 4450
กำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใน มังคุด เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ไตรโครเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/19 15:27:34 - Views: 3446
การให้ปุ๋ยฉีดพ่นที่เหมาะสำหรับต้นอะโวคาโด้: สู่ผลผลิตที่มีคุณภาพ โตเร็ว และต้นสมบูรณ์
Update: 2566/11/22 14:32:38 - Views: 3411
กำจัดโรคใบไหม้ โรคพืชจากเชื้อรา กำจัดเพลี้ยต่างๆ กำจัดหนอน ด้วยสารอินทรีย์ ไอเอส มาคา และสารชีวินทรีย์ ไอกี้-บีที
Update: 2564/06/07 13:13:10 - Views: 3421
ปุ๋ยเร่งผลฝรั่ง ปุ๋ยฝรั่ง ผลโต น้ำหนักดี คุณภาพสูง ให้ ธาตุ โพแทสเซียม ถึง 40% สำหรับเร่งผลโดยเฉพาะ
Update: 2565/02/10 00:52:46 - Views: 3407
เพิ่มครอโรฟิลล์ เร่งการเจริญเติบโต ใบเขียวเข้ม เขียวไว เขียวนาน เพิ่มคุณภาพและผลผลิด ไห้พืชทุกชนิด ด้วยแมกซ่า
Update: 2566/09/27 14:27:10 - Views: 3511
6 บริษัทไทย ติดอันดับสุดยอด 200 บริษัท ประจำปี 2555 โดย Forbes Asia
Update: 2565/11/14 06:50:43 - Views: 3493
โรคแก้วมังกรลำต้นจุด และโรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิคุ้มกันโรค 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
Update: 2564/07/09 08:57:36 - Views: 3438
12 อาการต้นไม้ขาดธาตุอาหาร พร้อมวิธีดูแลต้นไม้ให้ฟื้นคืนชีพ
Update: 2565/07/26 00:53:17 - Views: 3440
กำจัดหนอนชอนใบมะนาว ด้วย ไอกี้-บีที ยากำจัดหนอนปลอดสารพิษ
Update: 2564/08/31 10:25:56 - Views: 3649
โรคใบไหม้ ในพืชต่างๆ ราน้ำค้าง ราสนิม ใบจุด พืชขาดธาตุอาหาร ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม #โรคใบไหม้ #โรคพืชจากเชื้อรา
Update: 2564/11/01 08:17:32 - Views: 3409
ยากำจัดโรคยอดไหม้ ใบไหม้ ใน ลิ้นจี่ โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/08 12:09:03 - Views: 3412
ประโยชน์ของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกอ้อยในประเทศไทย
Update: 2566/01/05 09:01:40 - Views: 3402
การจัดการเพลี้ยในต้นข้าวโพด: วิธีและกลยุทธ์ในการควบคุมการระบาดของศัตรูพืช
Update: 2566/11/21 10:38:39 - Views: 3431
การจัดการเพลี้ยในต้นทับทิม: วิธีป้องกันและควบคุมเพลี้ยที่มีประสิทธิภาพ
Update: 2566/11/10 14:46:46 - Views: 3448
ยากำจัดโรคแอนแทครโนส ใน แตงโม โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/07 11:38:23 - Views: 3385
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 3 สูตร: การดูแลต้นน้อยหน่าให้เติบโตและผลผลิตมากขึ้น
Update: 2567/02/13 08:50:45 - Views: 3465
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าแมลงหวี่ขาว แมลงศัตรู ผักสลัด ผักไฮโดรโปนิกส์ และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/09 12:39:53 - Views: 3412
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022