[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - กำจัดหนอน
301 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 30 หน้า, หน้าที่ 31 มี 1 รายการ

หนอนกัดกินเปลือกยางพารา
หนอนกัดกินเปลือกยางพารา
หนอนกัดกินเปลือกยางพารา
หนอนกัดกินเปลือกยางพารา อยู่ในวงศ์ Yponomeutidae อันดับ Lepidoptera ตัวหนอน ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลเข็ม ลำตัวสีส้ม และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีแดง ยาวประมาณ 20 มม. กว้าง 2 มม. มีขาจริง 3 คู่ ขาเทียม 4คู่

หนอนชนิดนี้ เข้าทำลาย กัดกินเปลือกยางพารา อาศัยอยู่ในรังที่สร้างขึ้นภายใต้เปลือก ของต้นยางพารา เข้าทำลายบริเวณรอยกรีดยางพารา และใกล้เคียง แพร่ระบาดมาก ในเดือนตุลาคม - เมษายน

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าแนะนำจากเรา ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ สำหรับป้องกัน และกำจัดหนอนทุกชนิด ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง เป็นแบคทีเรียแกรมบวก ที่ออกฤทธิ์ทำลายหนอนเท่านั้น
การใช้ตะไคร้หอมกำจัดหนอนใยผัก
การใช้ตะไคร้หอมกำจัดหนอนใยผัก
การใช้ตะไคร้หอมกำจัดหนอนใยผัก
เกษตรกรที่ปลูกผักไม่ว่าจะปลูกเพื่อจำหน่ายหรือปลูกเพื่อเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะผักตระกูลกระหล่ำและผักกาดขาว มักจะประสบกับปัญหาหนอนใยผักกัดกินยอดของพืชผักทั้งบนใบและใต้ใบ ทำให้ผลผลิตที่ได้นั่นเกิดความเสียหายนำไปขายไม่ได้ต้องคัดทิ้ง ทำให้ต้นทุนในการปลูกเพิ่มมากยิ่งขึ้น จากการสัมภาษณ์คุณโชคชัย บุญยัง หัวหน้ากลุ่มงานอารักขาศัตรูพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกี่ยวกับการกำจัดหนอนใยผักศัตรูตัวร้ายของพืชตระกูลกระหล่ำด้วยตะไคร้หอม

คุณโชคชัย บุญยัง หัวหน้ากลุ่มงานอารักขาศัตรูพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า หนอนใยผักจะเป็นศัตรูพืชที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นเกษตรกรบางรายจะหันไปใช้สารเคมีในการจัดการแมลงชนิดกันเป็นจำนวนมากเพราะกลัวว่าผลผลิตจะได้รับความเสียหายจากศัตรูพืชต่าง ๆ แต่กลับขาดความรู้ความเข้าใจในพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้จัดการแทนสารเคมีที่ปลอดภัยได้ ซึ่งมีอยู่ชนิดหนึ่งที่สามารถใช้เข้ควบคุมกำจัด และป้องกันได้ ก็คือ ตะไคร้หอม ซึ่งเกษตรกรสามารถนำตะไคร้หอม(มีลักษณะใบสีขาวอมม่วง) ต้นที่แก่จัด(จะเห็นสีม่วงชัดเจน) มาใช้ในการป้องกันกำจัดได้ เนื่องจาก ต้นที่แก่จัดของตะไคร้หอมนั้น จะมีสารออกฤทธิ์หรือสรรพคุณในการนำมาใช้ป้องกันกำจัดได้ดีกว่าตะไคร้หอมต้นที่ไม่แก่จัดหรือตะไคร้บ้านที่ปลูกกันโดยทั่วไป

โดยมีวิธีการนำมาใช้ป้องกัน-กำจัดหนอนใยผักอย่างได้ผล ดังนี้

1. นำต้นตะไคร้หอมที่แก่จัดทั้งต้นมาหั่นหรือสับ ให้ได้ น้ำหนักประมาณ 5 ขีด

2. นำไปผสมกับน้ำครึ่งปี๊บ(ประมาณ 10 ลิตร) หมัก ทิ้งไว้ 1 วัน (24 ชั่วโมง)

3. กรองเอาแต่น้ำ ไปผสมกับสบู่หรือแชมพู ฉีดพ่นแปลงพืชผักที่พบว่ามีหนอนใยผักเข้าทำลายทุก ๆ 3 วัน ในช่วงเย็น

** จะช่วยป้องกันและจำกัดหนอนใยผักได้เป็นอย่างดี พร้อมยังเป็นการลดใช้สารเคมีที่จะไปเพิ่มต้นทุนในการผลิตให้สูงขึ้น และ บั่นทอนสุขภาพของเกษตรกร/ผู้บริโภคได้อีกด้วย

หมายเหตุ : เกษตรกรควรหมั่นกำจัดวัชพืชซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย/หลบซ่อนของแมลงศัตรูพืช ที่อยู่ในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ และตระไคร้ที่นำมาใช้ต้องเป็นตระไคร้หอมเท่านั้น ซึ่งถ้าปลูกผักจำนวนมากสามารถเพิ่มอัตราส่วนได้โดยการเปรียบเทียบตามสูตรได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่และขนาดแปลงผักที่ปลูก

เรียบเรียงโดย :นงพงา ไกรวิลาศ. เจ้าหน้าศูนย์ประสานงานร่วมด้วยช่วยกัน จังหวัดชุมพร.

ที่มา http://www.farmkaset..link..

สำหรับสินค้าจากเรา ไอกี้-บีที เป็นสารชีวินทรีย์ปลอดภัย สำหรับ ป้องกัน และ กำจัดหนอน สามารถใช้ป้องกัน กำจัด ตระกูลหนอนได้หลายชนิด
กำจัดหนอนชอนใบส้มโอ
กำจัดหนอนชอนใบส้มโอ
กำจัดหนอนชอนใบส้มโอ
สวนส้มโอในช่วงอากาศเย็นลงและมีลมแรงแบบนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังการระบาดของ หนอนชอนใบส้ม จะสามารถพบได้ในระยะที่ต้นส้มโอแตกใบอ่อน เกษตรกรจะพบผีเสื้อตัวเต็มวัย วางไข่ใต้เนื้อเยื่อใบใกล้เส้นกลางใบ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนจะชอนไชเข้าไปทำลายกัดกินเนื้อเยื่ออยู่ในระหว่างผิวใบอ่อนและยอดอ่อน ตัวหนอนจะทำลายด้านใต้ใบมากกว่าบนใบ รอยทำลายจะสังเกตได้ง่ายตั้งแต่เริ่มทำลายโดยเห็นเป็นเส้นทางสีขาวเรียวยาวในระยะเริ่มแรก และรอยทำลายจะปรากฏขยายใหญ่ขึ้นเป็นทางคดเคี้ยวไปมาบนใบ ส่งผลให้ใบมีลักษณะบิดงอลงทางด้านที่มีตัวหนอนทำลาย หากระบาดรุนแรง ตัวหนอนจะเข้าทำลายกิ่งอ่อนและผลอ่อน ซึ่งรอยแผลที่เกิดจากการทำลายของตัวหนอนจะเป็นช่องทางให้เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas citri subsp. citri ที่เป็นเชื้อสาเหตุของโรคแคงเกอร์เข้าทำลายซ้ำได้

เกษตรกรควรควบคุมบังคับต้นส้มให้แตกยอดพร้อมกัน เพื่อง่ายต่อการป้องกันกำจัด ช่วยควบคุมประชากรหนอนชอนใบส้มได้ดีขึ้น สะดวกในการดูแลรักษา ช่วยลดจำนวนครั้งในการพ่นสารเคมี และช่วยอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติที่พบมากในสวนส้ม ส่วนใบอ่อนที่พบหนอนชอนใบส้มเข้าทำลายมาก ให้เกษตรกรตัดและเก็บยอดอ่อนหรือใบอ่อนที่ถูกทำลายนำไปทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณหนอนชอนใบส้มและช่วยในการแตกยอดของต้นส้มรุ่นต่อไป

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

ไอกี้-บีที เป็นสารชีวินทรีย์ ปลอดภัย สำหรับ ป้องกัน และ กำจัด หนอนชอนใบส้มโอ
หนอนหัวดำ หนอนศัตรูมะพร้าว การป้องกันและกำจัด หนอนหัวดำ
หนอนหัวดำ หนอนศัตรูมะพร้าว การป้องกันและกำจัด หนอนหัวดำ
หนอนหัวดำ หนอนศัตรูมะพร้าว การป้องกันและกำจัด หนอนหัวดำ
จังหวัดนครปฐมจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ป้องกันกำจัดหนอนหัวดำ ศัตรูมะพร้าว ซึ่งในขณะนี้กำลังระบาดในจังหวัดนครปฐมและอีกหลายจังหวัด ด้วยวิธีการผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน

ที่บริเวณศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 8 ตำบลสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม นายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม พร้อมด้วย นายอำเภอสามพราน เกษตรจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ เกษตรอำเภอ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประชาชน ร่วมกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ โครงการป้องกันและกำจัดหนอนหัวดำ ศัตรูมะพร้าว ซึ่งในขณะนี้กำลังระบาดในจังหวัดนครปฐมและอีกหลายจังหวัด สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรเป็นจำนวนมาก โดยนายบุญเลี้ยง ข่ายม่าน เกษตรจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า จังหวัดนครปฐมมีพื้นที่ปลูกมะพร้าว จำนวน 7_112 ไร่ มีพื้นที่การระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว จำนวน 121.48 ไร่ ซึ่งศัตรูมะพร้าว โดยเฉพาะหนอนหัวดำ หากไม่ป้องกันและกำจัดที่ดี จะทำให้ผลผลิตมะพร้าวลดลง และรายได้ของเกษตรกรก็ลดลงตามไปด้วย

สำหรับการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและกำจัดหนอนหัวดำในครั้งนี้ เป็นการกำจัดด้วยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และท้องถิ่น เพื่อรณรงค์ให้เกษตรกรปฏิบัติตามมาตรการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน บูรณาการร่วมกับงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี และการบริการเกษตร เพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่ ปี 2560 เพื่อถ่ายทอดความรู้ และให้บริการแก่เกษตรกรในชุมชนให้ได้รับความรู้ เข้าถึงปัจจัยการผลิต ลดความเสี่ยงในการบริหารจัดการ และให้เกิดความเข้มแข็ง โดยมีการจัดสถานีการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกร ได้แก่ การจัดการวัสดุจากมะพร้าวเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน การจัดการหนอนหัวดำโดยชีววิธี การกำจัดหนอนหัวดำโดยใช้สารเคมีและการให้ความรู้ด้านกฎหมาย การผลิตและใช้แตนเบียนบราคอนในการควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าว โดยศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน นอกจากนี้ ผู้ว่าราชารจังหวัดนครปฐม ได้มอบแตนเบียนบราคอนให้แก่ตัวแทนเกษตรกรทั้ง 7 อำเภอ และร่วมปล่อยแตนเบียนบราคอนบริเวณแปลงเรียนรู้การควบคุมศัตรูพืช ซึ่งเป็นการกำจัดโดยวิธีทางธรรมชาติ โดยแตนเบียนบราคอน จะไปทำลายหนอนหัวดำ และวางไข่ฝังในตัวหนอนหัวดำ และเกิดใหม่เพื่อไปทำลายหนอนหัวดำต่อไป โดยไม่ทำลายพืชผลทางการเกษตรของเกษตรกรแต่อย่างใด

อ้าอิง http://www.farmkaset..link..

ไอกี้-บีที คือ สารชีิวนทรีย์ สำหรับป้องกัน และกำจัดหนอนทุกชนิด ปลอดภัย ผลิตจาก เชื้อ BT เป็นแบคทีเรียแกรมบวก ที่ออกฤทธิ์ ทำลาย ตะกูลหนอนทั้งหมด และเป็นอันตรายต่อตระกูลหนอนเท่านั้น ปลอดภัยต่อคน และสัตว์เลี้ยง
สูตรกำจัดหนอน กำจัดหนอนลำไย กำจัดหนอนลิ้นจี่
สูตรกำจัดหนอน กำจัดหนอนลำไย กำจัดหนอนลิ้นจี่
สูตรกำจัดหนอน กำจัดหนอนลำไย กำจัดหนอนลิ้นจี่
ศูนย์บริหารศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรชาวสวนลําไยและลิ้นจี่ ในภาคเหนือ ให้ระวังการระบาดของหนอนเจาะขั้วผลลําไยและลิ้นจี่ซึ่งหนอนเจาะขั้วผลลําไยและลิ้นจี่จะเข้าทําลายผลผลิตในสองระยะ คือระยะเริ่มติดผลได้ประมาณ 1.5 – 2 เดือน และระยะที่ผลโตใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิต

โดยรูปร่างลักษณะตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนมีขนาดเล็กมาก เมื่อกางปีกสีเทาดํา ปลายปีกสีเหลือง มีขน สีดําปีกคู่หลังมีขนรอบปีก หนวดยาวกว่าลําตัว ตัวหนอนมีสีขาวนวล บางครั้งมีสีเขียวอ่อนขึ้นอยู่กับอาหารที่กิน ลําตัวเป็นปล้องเห็นชัดเจน หนอนเจริญเติบโตเต็มที่มีขนาดยาว 8 – 9 มิลลิเมตร หนอนจะใช้ปากชักใยคล้ายกับแผ่นพลาสติกใสหุ้มตัวเองอ่ภายใน ตามใบลิ้นจี่ที่ต้น และใบที่ร่วงหล่นอยู่ตามพื้นดิน หรือตามใบหญ้า ระยะดักแด้ประมาณ 7 – 8 วัน

การระบาดมี2 ระยะๆ แรกเมื่อเริ่มติดผลได้ประมาณ 1.5 – 2 เดือน หนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในเมล็ด มองดูภายนอกจะไม่เห็นรอยทําลายเลยเมื่อผ่าดูจะเห็นรอยทําลาย ทำให้ผลถูกหนอนทําลายไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ และร่วงหล่นจนหมด ระยะที่สองเมื่อผลมีขนาดโตขึ้นหนอนจะเจาะกินบริเวณขั้วผล บริเวณใกล้ขั้วจะพบรูเล็กๆ ปรากฏอยู่

สำหรับวิธีการป้องกันกําจัด ถ้าพบหนอนหรือรอยทําลาย ให้เก็บผลที่ร่วงทุกวันไปเผาทําลาย สารธรรมชาติใช้สารสกัดจากเมล็ดสะเดา โดยใช้เมล็ดสะเดาบด 1 กิโลกรัมต่อน้ํา 20 ลิตรแช่ทิ้งไว้ 1 คืน นํามากรองด้วยผ้าขาวบางแล้วนําสารสะเดาที่ได้มาผสมกับสารจับใบฉีดพ่นเมื่อพบหนอนเจาะขั้วผล และหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวผล 15 วัน

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

หากไม่มีเวลาทำเอง หรือปลูกในปริมาณมาก ใช้ ไอกี้-บีที ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก สารป้องกันกำจัดหนอน ชีวภาพ ปลอดภัย จากเรานะคะ
หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall Armyworm)
หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall Armyworm)
หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall Armyworm)
หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall armyworm : Spodoptera frugiperda JE Smith) เป็นศัตรูสำคัญของข้าวโพด เดิมระบาดในทวีปอเมริกา ระบาดสู่แอฟริกาในปี 2559 และกลางปี 2561 มีรายงานการระบาดในอินเดีย ปลายปี 2561 เริ่มพบระบาดในประเทศไทย

วงจรชีวิตของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ใช้เวลา 30-40 วัน เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ผีเสื้อเพศเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยวางไข่เป็นกลุ่ม ประมาณ 100-200 ฟอง มีขนปกคลุมไข่ ผีเสื้อเพศเมียหนึ่งตัววางไข่ได้ประมาณ 1_500-2_000 ฟอง ระยะไข่ 2-3 วัน หนอนมี 6 วัย ระยะหนอน 14-22 วัน หนอนที่โตเต็มที่มีขนาดลำตัวยาว 3.2-4.0 เซนติเมตร จะทิ้งตัวลงดินเพื่อเข้าดักแด้ ระยะดักแด้ 7-13 วัน จึงเป็นตัวเต็มวัย มีชีวิต 10-21 วัน สามารถบินเคลื่อนย้ายระหว่างแปลง และอพยพระยะไกลระหว่างประเทศ หรือภูมิภาคได้

ลักษณะการทำลาย
ผีเสื้อหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เริ่มวางไข่บนต้นข้าวโพด ตั้งแต่ข้าวโพดงอก อายุ 3-4 วัน โดยพบกลุ่มไข่ทั้งด้านบนใบ ใต้ใบ และที่ลำต้น หลังจากฟักจากไข่ หนอนขนาดเล็กจะรวมกลุ่มกัดกินผิวใบ เริ่มเห็นรอยทำลายสีขาวที่ผิวใบเมื่อข้าวโพดอายุ 6-7 วัน (10-11 วันหลังปลูก) ลักษณะเป็นจุดหรือเป็นแถบสีขาว หนอนตัวเล็กที่เพิ่งฟักสามารถกระจายไปยังต้นข้างเคียงโดยปลิวไปกับลม หนอนวัย 3-6 เป็นระยะที่ทำความเสียหายมาก กัดกินอยู่ในยอดข้าวโพด ทำให้ใบขาดเป็นรู เว้าแหว่ง ยอดกุด ระยะก่อนที่ดอกตัวผู้จะโผล่หนอนจะกัดกินเกสรตัวผู้ หลังจากใบยอดคลี่ทั้งหมด ดอกตัวผู้โผล่พ้นใบที่หุ้มอยู่ หนอนจะย้ายไปที่ฝัก กัดกินไหม และเจาะเปลือกหุ้มฝักเข้าไปกัดกินภายในฝัก

ปกติหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด จะทำลายใบ อยู่ในยอดข้าวโพด ในกรณีที่อากาศร้อนจัด ก่อนเข้าสู่ฤดูฝน (เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน) อุณหภูมิ 36-41 องศา หรือ ในช่วงที่มีอากาศร้อน แห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง สภาพดังกล่าวนี้ หนอนที่มีอายุประมาณ 5 วัน มักจะหลบอาศัยใต้ผิวดิน กัดกินเนื้อเยื่อเจริญส่วนโคนต้น ทำให้เกิดอาการยอดเหี่ยว (dead heart) ต้นตาย ต้นข้าวโพดที่ยอดตายบางต้นมักจะมีการแตกหน่อข้าง ถ้าดินมีสภาพเปียก แฉะ หรือ ถ้าช่วงที่มีอากาศเย็นตอนที่ปลูกข้าวโพดฤดูแล้งหลังนา หนอนมักจะไม่ลงมาทำลายใต้ดินบริเวณโคนต้น มักไม่พบอาการยอดเหี่ยว หรือพบน้อย การคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงก่อนปลูก สามารถลดปัญหาการลงมาเจาะที่โคนต้นได้เมื่อเทียบกับการไม่คลุกเมล็ด

การปลูกข้าวโพดในฤดูฝน หากมีการกระจายของฝนดี ฝนตกต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ความรุนแรงในการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดจะลดลง ฝนที่ตกหนักจะชะกลุ่มไข่ หรือ หนอนขนาดเล็กที่เพิ่งฟัก หรือทำให้หนอนที่อยู่ในดินซึ่งกำลังจะเข้าดักแด้ รวมทั้งดักแด้ที่อยู่ในดินมีชีวิตรอดน้อยลง ทำให้สามารถเว้นระยะห่างในการพ่นสารและลดจำนวนครั้งในการพ่นสารลงได้ อย่างไรก็ตามควรมีการติดตามสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ

ช่วงที่ต้องมีการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดคือระยะตั้งแต่ข้าวโพดงอกจนถึงอายุประมาณ 30-43 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการระบาดสูงที่สุด และเป็นช่วงที่ข้าวโพดฟื้นตัวได้ หลังจากช่วงนี้ไปแล้วการระบาดลดลงตามธรรมชาติ (Oliveira et al._ 1995) ประกอบกับศัตรูธรรมชาติเริ่มมีปริมาณมากขึ้น การป้องกันกำจัดในช่วงดังกล่าวจะลดปริมาณหนอนที่จะเข้าทำลายในระยะติดฝักซึ่งเป็นระยะที่ข้าวโพดต้นสูง การพ่นสารทำได้ยาก ไม่ปลอดภัย และไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนที่เจาะอยู่ในฝัก

ในข้าวโพด พบว่าผีเสื้อหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด มาวางไข่บนใบข้าวโพดอย่างต่อเนื่อง โดยจะวางไข่มากในช่วง ระยะ 3 สัปดาห์แรกหลังจากข้าวโพดงอก เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพด จึงควรหมั่นสำรวจแปลงหลังจากข้าวโพดงอก สังเกตกลุ่มไข่ และรอยทำลายสีขาวที่ผิวใบ เมื่อพบต้นถูกทำลาย จนมีรอยกัดขาดเป็นรู ป้องกันกำจัดตามคำแนะนำของสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เน้นพ่นสารลงในกรวยยอด

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
หนอนใยผัก การกำจัด และป้องกัน
หนอนใยผัก การกำจัด และป้องกัน
หนอนใยผัก การกำจัด และป้องกัน
ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟอง เดี่ยวๆ หรือกลุ่มเล็กๆ ทั้งบนใบ และใต้ใบพืช แต่จะพบใต้ใบพืช เป็นส่วนใหญ่ หนอนมีลักษณะ เรียวยาว หัวแหลมท้ายแหลม ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกเป็น 2 แฉกเมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรง และสร้างใยพาตัวขึ้นลงระหว่างพื้นดินกับใบพืชได้ หนอนกัดกิน ผิวใบทำให้ผักเป็นรูพรุนคล้าย ร่างแห จากนั้นเข้าดักแด้บริเวณ ใบพืช โดยมีใยบางๆ ปกคลุมติด ใบพืช

แนวทางป้องกัน/แก้ไข :

๑. การใช้กับดักชนิดต่างๆ ได้แก่ - กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เป็นกับดักทรงกระบอก หรือ กระป๋องน้ ามันเครื่องสีเหลืองทาด้วยกาวเหนียว ทุก ๗- ๑๐ วันครั้ง สามารถจับผีเสื้อหนอนใยผักได้เฉลี่ย ๑๖ ตัว ต่อวันต่อกับดัก โดยจับผีเสื้อเพศเมีย : เพศผู้ ได้ ๐.๗๙ : ๑ และเมื่อติดตั้งกับดักกาวเหนียวสีเหลืองจ านวน ๘๐ กับดักต่อไร่สามารถลดการใช้สารฆ่าแมลงมากกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์

- กับดักแสงไฟ หลอดสีน้ าเงิน ๒๐ วัตต์ เป็นหลอดเรือง แสงที่เหมาะสมในการใช้จับผีเสื้อหนอนใยผักมากที่สุด มี ราคาถูกกว่าหลอด blacklight-blue ๒๐ วัตต์ และ ปลอดภัยไม่มีอันตรายจากแสงอุลตร้าไวโอเล็ต ในการติดตั้งกับดักแสงไฟควรติดตั้งรอบนอกแปลงผัก และควรดำเนินการติดตั้งพร้อมกันในพื้นที่

๒. การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายไนล่อน ขนาด ๑๖ mesh (๒๕๖ ช่องต่อตารางนิ้ว) สามารถ ป้องกันการเข้าทำลายของหนอนใยผักและหนอนผีเสื้อ อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน ต้องปิดอย่างมิดชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันผีเสื้อเพศเมียเล็ดลอดเข้าไปวางไข่

๓. การใช้ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ - การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) ปกติใน ธรรมชาติจะพบเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ซึ่งมีประสิทธิภาพใน การกำจัดหนอนใยผัก แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมเป็น ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อปริมาณเชื้อแบคทีเรียที่จะทำให้ หนอนใยผักตาย ปัจจุบันจึงมีการผลิตเชื้อแบคทีเรียในรูป การค้าออกจำหน่ายที่สำคัญมี ๒ สายพันธุ์ คือ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai และ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki อัตรา ๑๐๐-๒๐๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร (ไม่ควรใช้ในแหล่งปลูกผักภาคกลาง ในช่วงที่มีการระบาดมากพิจารณาการใช้อัตราสูง และช่วงเวลาพ่นถี่ขึ้น หรือพ่นสลับสารฆ่าแมลง)

๔. การใช้วิธีทางเขตกรรม สามารถช่วยลดการระบาดของ หนอนใยผักได้ เช่น การไถพรวนดินตากแดด หรือการ ทำลายซากพืชอาหาร หรือการปลูกพืชหมุนเวียน ทั้งนี้ เพื่อขัดขวางการขยายพันธุ์อย่างต่อเนื่องของหนอนใยผัก

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ไอกี้-บีที คือ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai และ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki สำหรับ ป้องกัน และกำจัดหนอน
หนอนห่อใบข้าว (rice leaffolder, LF) ป้องกัน กำจัด ด้วย ไอกี้
หนอนห่อใบข้าว (rice leaffolder, LF) ป้องกัน กำจัด ด้วย ไอกี้
หนอนห่อใบข้าว (rice leaffolder, LF) ป้องกัน กำจัด ด้วย ไอกี้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cnaphalocrocis medinalis (Guenee) วงศ์ :Pyralidae อันดับ :Lepidoptera ชื่อสามัญอื่น : หนอนม้วนใบข้าว หนอนกินใบข้าว

หนอนห่อใบข้าว Cnaphalocrocis medinalis (Guenee) ตัว เต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนปีกสีน้ำตาลเหลืองมีแถบสีดำพาดที่ปลายปีก ตรงกลางปีกมีแถบสีน้ำตาลพาดขวาง 2-3 แถบ ขณะเกาะใบข้าวปีกจะหุบเป็นรูปสามเหลี่ยม มักเกาะอยู่ในที่ร่มใต้ใบข้าว เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมียเล็กน้อย เพศเมียวางไข่เวลากลางคืนประมาณ 300 ฟองบนใบข้าว ขนานตามแนวเส้นกลางใบและสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ไข่มีลักษณะเป็นรูปจานสีขาวขุ่นเป็นกลุ่ม ประมาณ 10-12 ฟอง บางครั้งวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ระยะไข่ 4-6 วัน หนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ๆ มีสีขาวใส หัวมีสีน้ำตาลอ่อน หนอนโตเต็มที่มีสีเขียวแถบเหลือง หัวสีน้ำตาลเข้ม หนอนโตเต็มที่จะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเมื่อถูกสัมผัส หนอนมี 5-6 ระยะ ส่วนใหญ่มี 5 ระยะ หนอนวัยที่ 5 เป็นวัยที่กินใบข้าวได้มากที่สุด ระยะหนอน 15-17 วัน หนอนเข้าดักแด้ในใบข้าวที่ห่อตัวนั้น ระยะดักแด้ 4-8 วัน ตัวเต็มวัยจะหลบซ่อนบนต้นข้าวและวัชพืชตระกูลหญ้าในเวลากลางวัน และจะบินหนีเมื่อถูกรบกวน

ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนปีกสีน้ำตาลอ่อนมีแถบสีดำพาดที่ปลายปีก ตรงกลางปีกมีแถบสีน้ำตาลพาดขวาง 2-3 แถบ เมื่อเกาะใบข้าวปีกจะหุบเป็นรูปสามเหลี่ยม มักเกาะอยู่ในที่ร่มใต้ใบข้าว ตัวเมียวางไข่บนใบข้าว ขนานตามแนวเส้นใบและสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ไข่มีสีขาวขุ่นค่อนข้างแบนเป็นกลุ่ม แต่บางครั้งก็วางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ระยะไข่ 4-6 วัน หนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ๆ มีสีขาวใส หัวมีสีน้ำตาลอ่อน หนอนโตเต็มที่มีสีเขียวแถบเหลือง หัวสีน้ำตาลเข้ม หนอนมี 5-6 ระยะ ส่วนใหญ่มี 5 ระยะ หนอนวัยที่ 5 เป็นวัยที่กินใบข้าวได้มากที่สุด ระยะหนอน 15-17 วัน หนอนเข้าดักแด้ในใบข้าวที่ห่อตัวนั้น ระยะดักแด้ 4-8 วัน

ลักษณะการทำลายและการระบาด

ผีเสื้อหนอนห่อใบข้าวจะเคลื่อนย้ายเข้าแปลงนา ตั้งแต่ข้าวยังเล็กและวางไข่ที่ใบอ่อน โดยเฉพาะใบที่ 1-2 จากยอด เมื่อตัวหนอนฟักออกมาจะแทะผิวใบข้าวส่วนที่เป็นสีเขียว ทำให้เห็นเป็นแถบยาวสีขาว มีผลให้การสังเคราะห์แสงลดลง หนอนจะใช้ใยเหนียวที่สกัดจากปาก ดึงขอบใบข้าวทั้งสองด้านเข้าหากันเพี่อห่อหุ้มตัวหนอนไว้หนอนจะทำลายใบข้าว ทุกระยะการเจริญเติบโตของข้าวถ้าหนอนมีปริมาณมากจะใช้ใบข้าวหลายๆ ใบมาห่อหุ้มและกัดกินอยู่ภายใน ซึ่งปรกติจะพบตัวหนอนเพียงตัวเดียวในใบห่อนั้น ในระยะข้าวออกรวงหนอนจะทำลายใบธงซึ่งมีผลต่อผลผลิตเพราะทำให้ข้าวมีเมล็ดลีบ น้ำหนักลดลง หนอนห่อใบสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัยต่อฤดูปลูก พบระบาดในนาเขตชลประทาน โดยเฉพาะแปลงข้าวที่ใส่ปุ๋ยอัตราสูง หนอนใช้ใบข้าวห่อหุ้มตัวและกัดกินอยู่ภายใน บริเวณที่ถูกทำลายจะเป็นทางขาวยาวขนานกับเส้นกลางใบ ทำให้การสังเคราะห์แสงของต้นข้าวลดลง

พืชอาหาร
ข้าว ข้าวป่า ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย หญ้าข้าวนก หญ้าคา หญ้าชันกาด หญ้าไซ หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก หญ้าปล้องหิน หญ้าตีนติด

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ป้องกันกำจัด หนอนชอนใบมะนาว ด้วย ยาฉุน กับเหล้าขาว 40 ดีกรี
ป้องกันกำจัด หนอนชอนใบมะนาว ด้วย ยาฉุน กับเหล้าขาว 40 ดีกรี
ป้องกันกำจัด หนอนชอนใบมะนาว ด้วย ยาฉุน กับเหล้าขาว 40 ดีกรี
หนอนชอนใบ เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กชนิดหนึ่ง เมื่อขยายปีกออกเต็มที่วัดได้ 6.0-6.8 มิลลิเมตร ลำตัวสีนวล ปีกคู่หน้าเล็กกว่าปีคู่หลัง เมื่อผสมพันธุ์แล้ว เพศเมียจะวางไข่คราวละ 1 ฟอง มีขนาดเล็กมากเท่าหัวเข็มหมุดสีเหลืองอ่อนไว้ที่ใบอ่อน แล้วฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 3 วัน ตัวหนอนเจาะเข้าระหว่างผิวใบไปดูดกินน้ำเลี้ยงภายใน ทิ้งซากเป็นรอยคดเคี้ยวไปมา มีระยะเป็นตัวหนอน 7-10 วัน จากนั้นจะเข้าดักแด้

วิธีป้องกันกำจัด ให้เด็ดใบที่มีหนอนชอนใบเข้าทำลายเผาทิ้งไป ถ้าปลูกใกล้บ้านน้อยต้นแนะนำให้ใช้น้ำยาฉุน เตรียมยาฉุน หรือยาเส้น มีขายตามร้านของชำทั่วไปครึ่งถุงแช่ในน้ำสะอาด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 3 ชั่วโมง คั้นแล้วกรองเอาน้ำสีชา ใส่กระบอกฉีด เติมเหล้าขาว 40 ดีกรี อัตรา 1 ช้อนโต๊ะ เขย่าให้เข้ากัน ฉีดพ่นทั้งทรงพุ่ม ตั้งแต่มะนาวผลิใบตั้งแต่วันแรก แล้วฉีดตามอีก 2 ครั้ง ห่างกันทุก 3 วัน เมื่อใบมะนาวมีอายุครบ 9-10 วัน ใบมะนาวจะปลอดภัยจากการเข้าทำลายจากหนอนชอนใบ

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..

หากไม่มีเวลาทำเอง หรือปลูกเป็นจำนวนมาก ใช้ ไอกี้-บีที จากเรา ซึ่งเป็น แบคทีเรียแกรมบวก กำจัดหนอน ปลอดภัย ไร้สารพิษนะคะ

หนอนคืบ กินใบลำไย(Leaf eating looper) ระบาดในหลายพื้นที่
หนอนคืบ กินใบลำไย(Leaf eating looper) ระบาดในหลายพื้นที่
หนอนคืบ กินใบลำไย(Leaf eating looper) ระบาดในหลายพื้นที่
ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรจังหวัดลำพูน สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำพูน รายงานว่า ฤดูฝนลำไยแตกใบอ่อน ต้องระวังเจ้าหนอนตัวนี้ครับ หนอนคืบกินใบลำไยเป็นหนอนที่พบประจำในสวนลำไยโดยเฉพาะในช่วงลำไยแตกใบอ่อนหนอนจะเข้าทำลายเป็นกลุ่มใหญ่กัดกินใบอ่อน แต่ละต้นทำให้ใบอ่อนถูกทำลายเสียหายในเวลาอันรวดเร็วถ้าเข้าทำลายต้นลำไยที่มีขนาดเล็กจะทำให้ต้นชงักการเจริญเติบโต ถ้าเข้าทำลายลำไยที่เตรียมเป็นใบชุดที่จะใส่สาร จะทำให้ลำไยใส่สารแล้วไม่ออกดอก

หนอนคืบกินใบ (แมลงบุ้งลำไย) ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxyodes scrobicularta Fabr. หนอนผีเสื้อชนิดนี้ระบาดอยู่ทั่วไปตามแหล่งปลูกลำไยและลิ้นจี่ พบมากในบางแห่งโดยเฉพาะระยะที่ลำไยแตกยอดอ่อน ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงตุลาคม ทำลายโดยกัดกินใบอ่อนให้เสียหาย ทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต ตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางคืน อาศัยผลลำไยและลิ้นจี่เป็นอาหาร ตัวสีน้ำตาลอ่อน มีคู่ที่สองสีน้ำตาลลายดำ ขอบปีกด้านบนเป็นแถบสีดำ ขนาดของผีเสื้อกางปีกกว้างประมาณ 5 ซม. ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม ตัวผู้และตัวเมียมีขนาดไล่เรี่ยกัน ตัวเมียจะวางไข่ไว้เดี่ยวๆ ไข่มีขนาดเล็กกลมสีขาวไม่มีสิ่งปกคลุม และมักจะไข่ไว้บนยอดอ่อนใบอ่อน หนอนเมื่อฟักไข่ออกมาใหม่ๆ ตัวจะมีสีเขียวอ่อน เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล มีแถบสีน้ำตาลตลอดลำตัว ขนาดตัวหนอนที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 3 - 4 ซม. ระยะตัวหนอน 9 - 14 วัน ตัวหนอนจะเข้าทำลายใบอ่อนและยอดอ่อน มีนิสัยชอบทิ้งตัวเมื่อได้รับความกระทบกระเทือนใกล้เข้าดักแด้ตัว จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงใช้ใบห่อหุ้มแล้วเจริญเป็นดักแด้

การป้องกันกำจัด เขย่ากิ่งให้หนอนร่วงหล่นแล้วเก็บรวบรวมไปทำลายหรือนำไปเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ เก็บรวบรวมดักแด้ไปทำลาย เช่น ฝัง หรือเผาไฟ เมื่อลำไยแตกยอดอ่อน ถ้าพบมีการระบาดควรจะพ่นยาฆ่าแมลงคาร์บาริลใน อัตรา 30 - 45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แต่ถ้าหนอนระบาดมากทำความเสียหายให้อย่าง รุนแรงควรพ่นด้วยยาฆ่าแมลงโมโนโครโตฟอสในอัตรา 15 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร และจากการวิจัยของ รศ.ดรจริยา วิสิทธ์พานิช และคณะ พบว่าแมลงศัตรูลำไยระยะใบอ่อนที่ระบาดเป็นประจำในช่วงที่ลำไยแตกใบอ่อนคือ หนอนคืบลำไย หนองคืบเขียวกินใบ แมลงค่อมทอง แมลงนูน และอาการโรคพุ่มไม้กวาด กลุ่มหนอนกัดกินใบ เช่น หนอนคืบ หนอนมังกร ทำลายโดยกัดกินใบอ่อนหมดทั้งต้นได้ภายใน 2-3 วัน หนอนมังกร หนอนคืบ

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
301 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 30 หน้า, หน้าที่ 31 มี 1 รายการ
|-Page 23 of 31-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ธาตุรอง และ จุลธาตุ มีประโยชน์อย่างไร ต่อพืช?
Update: 2565/08/04 01:47:06 - Views: 3487
โรคใบหงิก (โรคจู๋) ข้าวใบหงิก ข้าวใบม้วน (Rice Ragged Stunt Disease)
Update: 2564/08/27 02:49:38 - Views: 3514
ฮิวมิคแอซิด ฟาร์มิค: เคล็ดลับสู่ดินอุดมสมบูรณ์และการเจริญเติบโตของพืช สำหรับต้นแคนตาลูป
Update: 2567/02/13 09:38:20 - Views: 3407
โรคราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ เกิดได้กับหลายพืช เร่งควบคุม ป้องกัน กำจัด ลดความเสียหายต่อพืช
Update: 2566/11/04 09:41:04 - Views: 8879
การจัดการกับปัญหาหนอนในต้นสละ: วิธีป้องกันและการกำจัดให้ต้นสละเจริญเติบโต
Update: 2566/11/20 10:17:14 - Views: 3485
ปลูกมะม่วง ใช้ ฮิวมิคFK โตไว รากแข็งแรง ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารพืช และยังใช้ได้กับพืชทุกชนิด
Update: 2567/10/22 09:38:28 - Views: 41
โรคมะม่วง โรคแอนแทรคโนสในมะม่วง เริ่มจากการเป็นจุดชุ่มน้ําและเปลี่ยนเป็นสีดํา ช่อที่ติดผลอ่อนรวมทั้งผลแก่จะมีแผลเน่าดํา
Update: 2564/02/21 00:41:02 - Views: 3554
ท้าวเวสสุวรรณ สลักบนแผ่นเหล็กน้ำพี้: พลังแห่งศรัทธาและความเชื่อ เทพแห่งโชคลาภและความมั่งคั่ง
Update: 2567/02/17 13:07:58 - Views: 3427
กุหลาบ โตไว ใบเขียว ดอกสวย แข็งแรง ผลผลิตดี อะมิโนโปรตีนจำเป็นสำหรับพืช 18 ชนิด อะมิโนแรปเตอร์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/04 14:28:35 - Views: 3499
การใช้เมทาแล็คซิลในการป้องกันและกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในปลูกมันสำปะหลัง
Update: 2566/11/11 14:04:46 - Views: 3423
หนอนศัตรูพืชในบล็อคโคลี่: วิธีป้องกันและควบคุมเพื่อสร้างผลผลิตที่ดี
Update: 2566/11/10 12:58:30 - Views: 3474
โรคลำไย โรคราดำลำไย ต้องป้องกันกำจัดที่ต้นเหตุ และต้นเหตุนั้นเกิดจากเพลี้ยต่างๆ ถ่ายน้ำหวานมาปกคลุม ทำให้เชื้อราในอากาศปลิวมาเกาะติด
Update: 2564/02/25 12:25:26 - Views: 3674
การใช้ INVET ผสมปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดเพลี้ยอ่อน ศัตรูพืชสำหรับต้นองุ่น
Update: 2567/02/24 13:57:25 - Views: 3511
มะระ ใบไหม้ ใบเหลือง ราน้ำค้าง กำจัดโรคมะระ จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/26 11:48:18 - Views: 3400
สับปะรด ใบไหม้ ใบจุด ยอดเน่า รากเน่า ผลเน่าสีน้ำตาล เชื้อราต่างๆ ในต้นสับปะรด ป้องกันและกำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟูด้วย ปุ๋ย FK-T
Update: 2567/03/19 14:13:40 - Views: 3552
ยาฆ่าเพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง แมลงจำพวกปากดูด ใน มัลเบอร์รี่ เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/03/01 10:12:14 - Views: 3426
กำจัดเพลี้ย ใน มะกอก เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/10 14:28:22 - Views: 3440
ปุ๋ย FK-1 ฉีดพ่น แตงไทย ผลใหญ่ ดกเต็มต้น ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4 เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20 เปอร์เซ็นต์
Update: 2566/03/14 09:42:20 - Views: 3409
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยไฟ ในพืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/24 11:03:59 - Views: 3474
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนชอนใบ ใน แตงโม และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/01 15:00:15 - Views: 3421
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022