[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - วัชพืช
203 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 20 หน้า, หน้าที่ 21 มี 3 รายการ

ปลูกมันสำปะหลังอย่างไร จึงจะได้ผลผลิตสูงสุด
ปลูกมันสำปะหลังอย่างไร จึงจะได้ผลผลิตสูงสุด
ราคา มันสำปะหลังสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์อย่างไม่เคยมีมาก่อน จึงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกมันสำปะหลังกันมากขึ้น และเพื่อป้องกันมิให้มีการหักร้างถางป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่การปลูกมัน สำปะหลัง ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง จึงได้แนะนำ หลักในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ดังนี้

1. การปรับปรุงดินให้เหมาะสมต่อการผลิตมันสำปะหลัง หลักสำคัญก็คือการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินเป็นการสร้างให้ดินมีความ สามารถในการอุ้มน้ำได้ดีและการเพิ่มธาตุอาหารหลักให้กับดิน ได้แก่ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์หรือเปลือกมันจากโรงงานแป้งหรือปุ๋ยพืชสดจาก ปอเทืองและถั่วพร้าปลูกแล้วไถกลบ ในกรณีที่ดินถูกใช้งานมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดชั้นดินดานใต้ดิน ทำให้ระบายน้ำลงใต้ดินได้ยากในฤดูฝน เกิดปัญหาหัวเน่าจากน้ำท่วมขัง ในช่วงฤดูแล้งมันสำปะหลังไม่สามารถใช้น้ำใต้ดินได้ ทำให้เกิดการชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้น ควรไถระเบิดชั้นดินดาน หรือ ใช้หญ้าแฝกปลูกประมาณ 1-2 ปี เพราะหญ้าแฝกมีระบบรากลึกถึง 3 เมตร สามารถทำลายชั้นดินดานได้ อีกทั้งเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดินด้วย

2. การเลือกฤดูปลูก หลักสำคัญก็คือควรจัดวันปลูกเพื่อให้ช่วงอายุ 3-12 เดือนของมันสำปะหลังได้รับน้ำฝนมากที่สุด เพราะผลผลิตขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนในช่วงอายุดังกล่าว โดยในช่วงแรกระยะตั้งแต่ 1-3 เดือนหลังปลูก มันสำปะหลังต้องการน้ำน้อยเพื่อการเจริญเติบโต ดังนั้น เมื่อคำนวณแล้ว พบว่า การปลูกมันสำปะหลังแบบอาศัยน้ำฝนจะให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อปลูกในช่วงฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-มีนาคม) รองลงมา คือ ต้นฤดูฝน (เมษายน-พฤษภาคม) และปลายฤดูฝน (ตุลาคม-พฤศจิกายน) แต่การปลูกในช่วงฤดูร้อนและปลายฤดูฝนมีข้อจำกัดของปริมาณน้ำฝนค่อนข้างน้อย มีผลต่อการงอกของท่อนพันธุ์

3. การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ดินร่วนเหนียวถือได้ว่าเป็นดินดี ดินชนิดนี้สามารถนำไปปั้นเป็นลูกกระสุนได้ และดินร่วนทรายถือได้ว่าเป็นดินปานกลางถึงเลว ดินชนิดนี้ไม่สามารถนำไปปั้นเป็นลูกกระสุนได้ เนื่องจากดินแตกง่ายไม่เกาะติดกัน โดยดินร่วนเหนียว ควรปลูก พันธุ์ระยอง 5 และระยอง 72 ส่วนดินร่วนทรายควรปลูกพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 90 ห้วยบง 60 และระยอง 9 เนื่องจากทั้ง 4 พันธุ์ เมื่อนำไปปลูกในดินร่วนเหนียวจะเจริญเติบโตในส่วนของ ลำต้นที่อยู่เหนือดินมากกว่าลงหัว หรือที่ชาวบ้าน เรียกกันว่าขึ้นต้นหรือบ้าต้นเกินไป ส่วนพันธุ์ระยอง 7 นั้นเหมาะทั้งดินร่วนเหนียวและดินร่วนทรายที่มีความชื้นของดินดีตลอดช่วงของ การเจริญเติบโต แต่ไม่เหมาะกับสภาพดินที่แห้งแล้ง

4. การเตรียมดินให้ลึก หลักสำคัญก็คือ ต้องไถดะครั้งแรกให้ลึกที่สุดด้วยผาล 3 หรือ ผาล 4 เท่านั้น ควรไถดะในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ ห้ามไถดะด้วยผาล 7 เพราะจะไถได้ไม่ลึกการ ไถดะให้ลึกจะเพิ่มความสามารถในการเก็บกักความชื้นของดินได้มากขึ้นและมัน สำปะหลัง ลงหัวได้ง่าย จากนั้น ตากหน้าดินเพื่อให้วัชพืชตาย ถ้าเป็นดินร่วนเหนียวควรไถแปรครั้งที่สองเพื่อย่อยดินด้วยผาล 7 และตามด้วยการยกร่องพร้อมปลูก ส่วนดินร่วนทรายไม่จำเป็นต้องไถแปรครั้งที่สองด้วยผาล 7 สามารถยกร่องพร้อมปลูกได้เลย ในกรณีที่ เกษตรกรสามารถหาปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักได้ควร หว่านก่อนไถดะ ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้ผลดี คือ ปุ๋ยหมักมูลไก่ 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ วัสดุอินทรีย์จากกากมันที่เหลือจากโรงงานแป้ง 2 ตันต่อไร่

5. การปลูกที่ถูกต้อง หลักสำคัญก็คือ ต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรมีอายุ 10-12 เดือน จะให้ความงอกดีที่สุด โดยเลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรง มีตาถี่ ขนาดโตพอสมควร ต้องตัดท่อนปลูกด้วยมีดที่คม เพื่อมิให้ท่อนปลูกช้ำ ยาวไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร ปลูกปักตรงให้ลึก 2 ใน 3 ของความยาวท่อนปลูก ในดินร่วนเหนียว ควรใช้ระยะแถวกว้าง 1.20 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-1.00 เมตร และในดินร่วนทราย ควรใช้ระยะแถวแคบ 0.80 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-0.80 เมตร

6. การกำจัดวัชพืช หลักสำคัญก็คือ มันสำปะหลังใช้เวลาประมาณ 3 เดือนหลังจากปลูก เพื่อสร้างพุ่มใบให้คลุมพื้นที่ระหว่างร่องทั้งหมด ดังนั้น ภายในช่วง 3 เดือนแรกถือว่าเป็นช่วงวิกฤติของมันสำปะหลัง ต้องดูแลรักษาให้มันสำปะหลังปลอดวัชพืช ถ้าปล่อยให้วัชพืชแข่งขันกับมันสำปะหลัง มันสำปะหลังจะแคระแกร็น มีผลให้ผลผลิตลดลงมาก การกำจัดวัชพืชสามารถเลือกทำแบบผสมผสาน โดยใช้จอบถาง รถไถเดินตามแถก ระหว่างร่อง ใช้สารเคมีประเภทคลุมก่อนวัชพืชงอกหรือสารเคมีฆ่าหลังวัชพืชงอก สารเคมีประเภทคลุมใช้ได้ผลเฉพาะการปลูกต้นฤดูฝนเท่านั้น ห้ามใช้ไกลโฟเสทในขณะที่มันสำปะหลังต้นเล็กอยู่ เพราะมีผลทำให้ชะงักการเจริญเติบโต

7. การใส่ปุ๋ยเคมี ควรเลือกใช้ปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 2 : 1 : 2 ปุ๋ยเคมีที่แนะนำ คือ 15-7-18 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ปุ๋ย 2 ข้างลำต้นรัศมีพุ่มใบแล้วกลบ ใส่ปุ๋ยครั้งเดียวเมื่ออายุ 1 เดือนหลังจากปลูก และต้องใส่ปุ๋ยเคมีในขณะที่ดินมีความชื้นและต้องกลบปุ๋ยด้วย ถ้าไม่กลบปุ๋ยอาจสูญเสียปุ๋ยมากเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการเก็บเกี่ยวควรเลือกเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงที่เหมาะสมตั้งแต่ อายุ 10-18 เดือน ควรงดเว้นการเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังในช่วงฝนแรก คือ ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน เนื่องจากมันสำปะหลังแตกใบอ่อน จะให้เปอร์เซ็นต์ แป้งต่ำ

8. การให้น้ำมันสำปะหลัง ควรให้น้ำในช่วงฤดูแล้งเพื่อจะช่วยให้มันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตอย่างต่อ เนื่องหรือทำให้ใบร่วงน้อยที่สุด มีผลทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ละเดือนอย่างก้าวกระโดด ดังนั้น การปลูกมันสำปะหลังเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ต้องปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือ ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเมษายน มีการให้น้ำในช่วง สองเดือนแรกของการเจริญเติบโตตามความจำเป็น และให้น้ำเต็มที่ในช่วงฤดูแล้ง 5 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม เก็บเกี่ยวที่อายุ 12 เดือน ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัว

รายละเอียดสอบถามได้ที่สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-0603 และ 0-2940-5492 และศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง 0-3868-1515 ทุกวันในเวลาราชการ.

นวลศรี โชตินันทน์
ข้อมูลจาก: dailynews.co.th/ web/html/popup_news/ Default.aspx?Newsid=162916 &NewsType=1&Template=1
อ่าน:3433
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง เพิ่มขนาดและน้ำหนักหัวมันสำปะหลัง Technology of increate cassava yield
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง เพิ่มขนาดและน้ำหนักหัวมันสำปะหลัง Technology of increate cassava yield
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง เพิ่มขนาดและน้ำหนักหัวมันสำปะหลัง Technology of increate cassava yield
ในสภาพแวดล้อมที่เหมะสม มันสำปะหลังอาจให้ผลผลิตสูงกว่า 20 ตันต่อไร่ ที่เปอร์เซ็นแป้ง 20-30 เปอร์เซ็น

มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญระดับแนวหน้า และกำลังทวีความสำคัญยิ่งขึ้นไปเนื่องจากมีประโยชน์ใช้สอยอย่างกว้างขวาง และสามารถปลูกได้ในดินดอนทั่วไปอย่างแทบจะไร้ขีดจำกัดเมื่อมีการปฏิบัติดูแลอย่างดีพอสมควร มันสำปะหลังนับว่าเป็นพืชที่มีศักยในการให้ผลผลิตสูงมากพืชหนึ่ง ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน และในท้องที่ที่มีสภาพที่เหมาะสม อาจให้ผลผลิตสูงกว่า 20 ตันต่อไร่ โดยที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งอยู่ในช่วง 25-30 เปอร์เซ็นต์

การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง สภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ

ถึงแม้ว่ามันสำปะหลังจะเป็นพืชที่ปลูกง่ายตายยากและให้ผลผลิตโดยง่าย โดยมีความเสี่ยงน้อยต่อความไม่เหมาะสมของสิ่งแวดล้อมก็ตาม แต่การที่จะให้มันสำปะหลังแสดงออกถึงศักยภาพของแต่ละสายพันธุ์ที่มีอยู่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก โดยทั่วไปย่อมเป็นที่รู้ในหมู่นักวิชาการว่าในการปลูกมันสำปะหลังนั้นมีหลัก และขั้นตอนที่สำคัญอยู่หลายประการ ซึ่งผู้ปลูกควรจะยึดถือเป็นแนวปฏิบัติซึ่งได้แก่ การใช้พันธุ์ที่ดีที่เหมาะสมกับท้องที่ การใช้ต้นพันธุ์ และการใช้พันธุ์ที่มีคุณภาพ การปรับปรุงบำรุงดินและการเตรียมดินอย่างถูกวิธี การเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม การปลูกย่างประณีตโดยใช้ระยะปลูกอย่างเหมาะสม การใส่ปุ๋ยให้เพียงพอและสมดุล การปฏิบัติดูแลด้วยการเอาใจใส่พอสมควร ไปจนถึงการเลือกเวลาเก็บเกี่ยวและการเก็บเกี่ยวอย่างเหมาะสม ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นอกจากนี้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งของมันสำปะหลังยังขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อีกมาก เช่น ความชื้นในดิน ในอากาศ อุณหภูมิ และแสง เป็นต้น

พันธุ์มันสำปะหลังที่นิยมปลูกในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้มีพันธุ์มันสำปะหลังที่ดีถูกสร้างออกมาให้เกษตรกรใช้เป็นจำนวนมาก ที่เป็นพันธุ์รับรองซึ่งได้รับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมีมากกว่า 7 สายพันธุ์ เช่น พันธุ์ระยอง 5 พันธุ์ระยอง 7 พันธุ์ระยอง 9 พันธุ์ระยอง 72 และพันธุ์ระยอง 90 ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง นอกจากนี้ยังมีพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ที่มางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้พัฒนาขึ้น และนำอกมาให้เกษตรกรใช้ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะมีการปรับตัวได้อย่างดีเยี่ยมต่อสภาพแวดล้อม เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมกับมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยได้พัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังขึ้นมาพันธุ์หนึ่งและได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชื่อว่าพันธุ์ห้วยบง 60 ซึ่งเป็นมันสำปะหลังอีกพันธุ์หนึ่งที่ให้ผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งสูงในหลายพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมา

มันสำปะหลังพันธุ์รับรอง ที่ให้ผลผลิตสูง

จากการทดลองในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในปี พ.ศ.2546-2547 พบว่า มันสำปะหลังพันธุ์รับรอง 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 พันธุ์ระยอง 5 พันธุ์ระยอง 72 และพันธุ์ระยอง 90 สามารถให้ผลผลิตสูงอยู่ในช่วงระหว่าง 11-12 ตันต่อไร่ที่อายุ 13 เดือน โดยมีเปอร์เซ็นต์แป้งอยู่ที่ 25-28 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มที่จะสามารถทำให้ผลผลิตสูงขึ้นกว่านี้ได้ นอกจากนี้ยังมีมันสำปะหลังที่ยังไม่ได้ผ่านการรับรองแต่มีศักยในการให้ผลผลิตดีในบางท้องที่ และยังมีพันธุ์อื่นๆ ที่เกษตรกรรวบรวมหรือจัดหามาได้ ก็อาจนำมาใช้ได้ ปัจจุบันระบบการปลูกมันสำปะหลังอาจมีความจำเป็นจะต้องนำเครื่องทุ่นแรงเข้ามาใช้มากขึ้น ตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว ดังนั้นพันธุ์มันสำปะหลังที่จะนำมาใช้นอกจากจะมีผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งสูงแล้วยังควรมีลำต้นตั้งตรงไม่แตกกิ่งอีกด้วย ดังนั้นเกษตรกรจึงควรสังเกตและเลือกเก็บพันธุ์ที่ดีด้วยตนเอง

ท่อนพันธุ์ที่ดี และความยาวท่อนพันธุ์ที่เหมาะสมกับ การปลูกมันสำปะหลัง

ท่อนพันธุ์หรือท่อนปลูก เมื่อผู้ปลูกมันสำปะหลังแน่ใจว่าพันธุ์ที่มีอยู่ในมือนั้น เป็นพันธุ์ที่ดี ขั้นต่อไปก็คือควรจะปลูกรักษาพันธุ์ดีเอาไว้ และเอามาเป็นท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพ จากนั้นจึงนำมาใช้เมื่อมีอายุระหว่าง 8-20 เดือน โดยใช้เฉพาะส่วนกลางของลำต้นที่มีความแก่-อ่อน พอเหมาะ ขนาดของท่อนพันธุ์ที่ใหญ่มักจะให้หัวมากกว่าท่อนพันธ์ที่เล็กถ้าสามารถตัดได้โดยไม่แตก ความยาวของท่อนอาจอยู่ที่ 15-25 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับฤดูปลูกและเตรียมดิน การใช้ท่อนพันธุ์ที่ค่อนข้างสั้นจะเหมาะกับการปลูกในช่วงที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ ในช่วงต้นฝนหรือผู้ปลูกมีต้นพันธุ์จำนวนจำกัด การใช้ท่อนพันธุ์ที่มีความยาวกว่า 30 เซนติเมตร อาจใช้ได้ดีเมื่อเตรียมดิน และใส่ปุ๋ยได้ลึกหรือในสภาพที่ปัญหาวัชพืชที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งการใส่ปุ๋ยและปลูกลึกในบางพันธุ์จะช่วยเพิ่มผลผลิตได้มาก

การเตรียมดินปลูกมันสำปะหลัง ไม่เหมือนกันในแต่ละสภาพแวดล้อม

การเตรียมดิน มีวิธีการแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ และสภาพของดิน ปริมาณน้ำฝน และการจัดการอื่นๆ สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อย หน้าดินลึก ดินร่วนซุย ในบางครั้งอาจไม่มีความจำเป็นต้องไถพรวน เพียงแต่ปลูกท่อนพันธุ์ และใส่ปุ๋ยลงไปในหลุมดินที่ได้ถอนหัวมันออกแล้วก็อาจได้ผลผลิตดีพอๆ กับที่มีการเตรียมดินอย่างดี แต่สำหรับในบางดินบางสถานการณ์ การเตรียมดินเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชต้องการอากาศมาก และต้องการสภาพของดินที่ร่วนโปร่งและฟู ในบางครั้งอาจจะต้องใช้สารปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้กายภาพของดินมีสภาพเหมาะสมดังกล่าว และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินให้ลงไปในระดับลึก ซึ่งจะทำให้เกิดผลดี เมื่อเสียบท่อนพันธุ์ลงไปในระดับลึกได้โดยไม่ขัดขวางการงอกของรากจากรอยตัด และทำให้รากของต้นอ่อนมันสำปะหลังอยู่ในอยู่ในระดับใต้ดินที่ยังมีความชื้นเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้สามารถผ่านช่วงแล้ง 5-6 เดือนได้ อย่างไรก็ดี การปลูกลึกอาจสร้างปัญหาทำให้เก็บเกี่ยวยากขึ้น ในดินที่ค่อนข้างเหนียว เกษตรกรไม่ควรเตรียมดินในขณะที่ดินมีความชื้นสูง เพราะน้ำหนักของเครื่องมือจะกดทับดินชั้นล่างให้เป็นแผ่นดินดานแข็ง ในดินที่มีปัญหาเกิดแผ่นดานขึ้นในชั้นใต้ดินควรใช้ไถสิ่วหรือไถระเบิดดาน (sub-soiler) กดลงไปในระดับลึกซึ่งจะช่วยให้ดินมีการระบายน้ำและระบายอากาศดีขึ้น

วัสดุปรับปรุงดิน และปุ๋ยเคมีก็จำเป็น มากน้อยแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม

การใส่วัสดุปรับปรุงดิน ในท้องที่ซึ่งดินแน่นง่ายการไถกลบวัชพืช และเศษมันสำปะหลังจะช่วยให้ดินโปร่งร่วนในระดับหนึ่ง แต่ในบางครั้งอาจยังไม่เพียงพอต้องหาวัสดุปรับปรุงดิน เช่น แกลบดิบ เถ้าแกลบ กากหม้อกรองอ้อย หินฝุ่นจากภูเขาไฟ หินปูนฝุ่น ปูนขาว ยิบซั่ม พูไมซ์ เพอร์ไลท์ และซีโอไลท์ ฯลฯ มาใส่ ซึ่งแต่ละชนิดมีความถูก-แพง และการจัดการไม่เหมือนกัน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้น อาจมีความจำเป็นอย่างยิ่งในดินที่แน่นง่ายหรือเนื้อดินค่อนข้างเหนียว และมีธาตุอาหารต่างๆ อยู่ในดินน้อย การรองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ 200-500 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมไปกับวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน จะช่วยให้ผลผลิตดีขึ้นมาก จะช่วยให้ต้นมันสำปะหลังมีการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตสูงและมีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นจำนวนมากอาจมีความจำเป็นต้องทำให้เจือจางลงโดยการเติมสารอินทรีย์ที่มีความเค็มน้อย เช่น ฟางข้าว แกลบ กากหม้อกรองอ้อย ฯลฯ และควรมีการหมักทิ้งไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้ความร้อนสลายไป ปุ๋ยเคมีอาจมีความจำเป็นต้องใส่รองพื้นบ้างในกรณีของพื้นที่ซึ่งไม่มีการใช้ปุ๋ยอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน

การให้ปุ๋ยมันสำปะหลังหลัง

การใส่ปุ๋ยรองพื้น มันสำปะหลังเป็นพืชที่มีศักยในการให้ผลผลิตสูง และมีอายุอยู่ในพื้นที่ปลูกค่อนข้างนาน จึงมีความต้องการธาตุอาหารในปริมาณมาก ซึ่งผลผลิตจะขึ้นอยู่กับปริมาณของธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินว่าจะสมดุลและสมบูรณ์เพียงใด มันสำปะหลังมีความสามารถในการสกัดธาตุอาหารจากหินและแร่ ซึ่งใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการใช้ปูนขาว หินปูนบด (หินฝุ่น) โดโลไมท์บด พูไมซ์ ซีโอไลท์ สเมกไตท์ ฯลฯ จะช่วยทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้กว่าครึ่งที่เป้าหมายผลผลิตเท่ากัน เศษซากพืช และปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยให้มีธาตุอาหารในลักษณะที่สมดุลขึ้นแต่ต้องใช้ในปริมาณค่อนข้างมาก ปุ๋ยเคมีอาจมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อเสริมปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็น ในกรณีที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และไม่สามารถหาเศษซากพืชหรือปุ๋ยอินทรีย์ได้เพียงพอ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 200-400 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับหินปูนฝุ่นประมาณ 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ประมาณ 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถคาดหมายผลผลิตระหว่าง 8-12 ตันต่อไร่ ในเวลา 12 เดือน โดยมีการลงทุนเพิ่มจากที่เกษตรกรเคยทำเพียงเล็กน้อย การคาดหมายผลผลิตที่มากกว่านี้อาจทำได้โดยใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้น แต่เกษตรกรจะต้องปรับระยะปลูกให้ห่างออก ทำให้ปุ๋ยเจือจางลงหรือละลายช้าลงหรือเพิ่มจำนวนครั้งในการให้ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมไปกับปุ๋ยอินทรีย์ อาจช่วยให้การย่อยสลายของปุ๋ยอินทรีย์สมดุลขึ้น และยังสามารถดึงไนโตรเจนในอากาศมาเป็นปุ๋ยในดิน และทำให้หินแร่ในดินและวัสดุปรับปรุงดินที่ใส่ลงไปย่อยสลาย ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แกต้นมันสำปะหลังได้ดีขึ้น ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อีกมาก การใช้ปุ๋ยอินทรีย์สลายเร็วหรือปุ๋ยเคมีอัตราสูงเป็นปุ๋ยรองพื้น อาจมีผลเสียต่อการงอกของท่อนปลูก และทำให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตรวดเร็วเกินไป (ขึ้นต้น) จะไม่ค่อยลงหัว

การพรวนดิน การเตรียมดิน ในการปลูกมันสำปะหลัง

การพรวนดิน ในดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างเหนียว อาจมีความจำเป็นต้องพรวนหลายครั้ง หรืออาจใช้วิธีไถดะ ตากดินไว้ให้แห้ง ซึ่งจะง่ายต่อการพรวน แต่ในดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินทราย อาจไถลึกเพียงครั้งเดียวหลังการหว่านปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ก็สามารถนำท่อนพันธุ์ลงปลูกได้เลย การพรวนดินให้ละเอียดมากเกินไปอาจทำให้ดินแน่นได้โดยง่ายเมื่อมีฝนตกหนัก ซึ่งผู้ปลูกจะต้องสังเกตและไถพรวนอย่างเหมาะสม

การยกร่องปลูกมันสำปะหลัง

การยกร่อง อาจมีความจำเป็นเมื่อดินมีความลดเทน้อย หรือพื้นที่ขนาดใหญ่มากและเป็นดินที่มีโอกาสแฉะเมื่อฝนชุกหรือดินระบายน้ำยาก การยกร่องช่วยทำให้ใส่ปุ๋ยรองพื้นได้ง่ายขึ้นโดยใส่ปุ๋ยไว้ก้นร่องและพรวนกลบ ซึ่งจะทำให้ดินมีธาตุอาหารอยู่ในระดับลึก ต้นมันสำปะหลังใช้ปุ๋ยได้ดีแต่วัชพืชจะไม่มีโอกาสใช้ปุ๋ยที่อยู่ลึก จึงอาจช่วยทำให้ไม่ต้องกำจัดวัชพืชที่มีขนาดเล็กหรือมีการแข่งขันกับต้นมันสำปะหลังน้อย การยกร่องยังช่วยให้ง่ายต่อการนำท่อนพันธุ์ลงปลูกอีกด้วย แต่สำหรับผู้มีความชำนาญก็อาจนำท่อนพันธุ์ลงปลูกได้โดยไม่ต้องยกร่องในพื้นที่ ซึ่งมีการระบายน้ำดี นอกจากนี้การยกร่องยังให้ประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของการชะล้างพังทลาย และการไหลบ่าของน้ำ

ขั้นตอนการปลูก การคัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง

การนำท่อนพันธุ์ลงปลูก มันสำปะหลังสามารถปลูกได้หลายวิธี ตั้งแต่ปลูกด้วยเมล็ด ปลูกด้วยลำต้นที่ตัดเป็นท่อน หรือปลูกโดยใช้ยอดที่มีความยาวประมาณ 1-2 ฟุต แต่ที่นิยมคือการปลูกด้วยลำต้น นำมาตัดเป็นท่อน เรียกว่า “ท่อนพันธุ์หรือท่อนปลูก” ซึ่งอาจใช้วิธีเสียบตั้งตรง หรือเอียงเล็กน้อย ในต่างประเทศมีการปลูกด้วยเครื่องจักร ซึ่งจะวางท่อนปลูกนอนราบไปกับพื้น ซึ่งแต่ละวิธีอาจมีความเหมาะสมต่อสภาพของดิน อุปกรณ์เครื่องมือ และแรงงานที่มีอยู่ และผลผลิตที่ได้ย่อมมีความแตกต่างกันไป ซึ่งผู้ปลูกจะต้องเลือดให้เหมาะกับวิธีการจัดการที่ดีที่สุดของตนเอง ผลผลิตสูงสุดจะได้จากการทำงาที่ประณีต และมีขั้นตอนต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่และภูมิอากาศ การปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์น้อยนั้น การปลูกตื้นให้ผลดีกว่าการปลูกลึกเพราะธาตุอาหารดินอยู่บริเวณใกล้ผิวดิน อย่างไรก็ตามผลผลิตและคุณภาพที่ดีมักจะได้มาจากการปลูกในช่วงที่มีความชื้นเพียงพอ ไม่มากจนเกินไปในระยะต้นฤดู เช่น เดือนพฤษภาคม เป็นต้น

การกำจัดวัชพืชมันสำปะหลัง

การกำจัดวัชพืช มันสำปะหลังที่มีอายุน้อยยังมีระบบรากไม่แข็งแรง และมีการเจริญเติบโตไม่รวดเร็วจะไม่สามารถแข่งขันกับวัชพืชในระยะตั้งแต่เริ่มงอกจนถึง 3 เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัชพืชที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วและมีขนาดใหญ่ ในช่วงนี้จะต้องมีการควบคุมวัชพืชอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจทำได้โดยใช้จอบถาก ใช้รถไถเดินตามไถกลบ หรือใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช ซึ่งมีทั้งประเภทควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช เช่น อาลาคลอร์ ฟลูมิโอซาซิน ประเภทสัมผัสโดยตรง เช่น พาราควอท และประเภทดูดซึม เช่น ไกลโฟเสท ซึ่งผู้ปลูกมันสำปะหลังจะต้อเลือกใช้ให้เหมาะสม แต่การใช้สารควบคุมวัชพืชบ่อยครั้งและต่อเนื่อง อาจมีผลเสียต่อสภาพทางกายภาพและทางเคมีของดิน และทำให้สิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดินมีกิจกรรมลดลงหรือสูญหายไป หลังจากมันสำปะหลังอายุ 4 เดือน ไปแล้ว วัชพืชขนาดเล็กจะช่วยปกป้องหน้าดินให้มีอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ ทำให้ดินร่วนโปร่งเหมาะต่อการขยายของหัว และเพิ่มเปอร์เซ็นต์แป้ง จึงควรปล่อยวัชพืชขนาดเล็กให้เจริญเติบโตอยู่ใต้ร่มเงาของมันสำปะหลัง เพื่อปกป้องดินจากการชะล้างพังทลาย และยังช่วยสร้างอินทรียวัตถุที่จำเป็นต่อดินอีกด้วย การปลูกมันโดยวิธีใส่ปุ๋ยเป็นแนวในระดับลึก และเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสม จะช่วยให้ต้นมันเจริญเติบโตขึ้น คลุมวัชพืชได้โดยเร็ว ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชลงได้มาก

การให้ปุ๋ยมันสำปะหลัง ต่างกันตามฤดูกาล ต่างท้องที่ก็ดูแลไม่เหมือนกัน

การให้ปุ๋ยหลังปลูก ในบางท้องที่ และบางระยะของฤดู การใส่ปุ๋ยรองพื้นจำนวนมากอาจทำให้ท่อนปลูกของมันสำปะหลังมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำหรืออาจไม่งอกเลยทั้งแปลง ดังนั้นในขณะที่ความชื้นของดินไม่ดีนัก จึงควรใช้ปุ๋ยรองพื้นแต่น้อย และใส่เพิ่มเติมเมื่อมันสำปะหลังอายุ 3-4 เดือน 7-8 เดือน และ 10-12 เดือน ในกรณีที่ยืดอายุเก็บเกี่ยวไปถึง 16 เดือน ควรพิจารณาให้เดือนที่ 10-13 เป็นช่วงต้นฝน และเลือกใส่ปุ๋ยในเวลาที่ดินมีความชื้น เช่น หลังฝนตก 1-3 วัน โดยไม่จำเป็นต้องฝังกลบปุ๋ย เพราะรากของมันสำปะหลังมักขึ้นมาอยู่บนผิวดิน เมื่อดินมีความชื้นผู้ปลูกมันสำปะหลังควรหลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตกหนักบ่อยครั้ง และในช่วงที่ดินไม่มีความชื้น ซึ่งการใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมดังกล่าวนั้นอาจทำได้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ หินฝุ่น และปุ๋ยเคมี ซึ่งอาจแยกใส่หรือผสมกันแล้วใส่ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดหาวัสดุต่างๆ

การให้ปุ๋ยทางใบกันมันสำปะหลัง เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

การให้ปุ๋ยทางใบ เป็นวิธีการให้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากธาตุอาหารต่างๆ ฮอร์โมน วิตามิน คีเลตที่มีโมเลกุลขนาดเล็กจะสามารถซึมผ่านเข้าไปในใบ และพืชนำไปใช้ได้ทันที และขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมในพืชทั่วไป และมีคนนำมาใช้ในมันสำปะหลัง ในพื้นที่ที่ไม่ได้ปรับปรุงบำรุงดินไว้อย่างเหมาะสม แต่มีความจำเป็นต้องปลูกมันสำปะหลังเพื่อชิงเวลา การใส่ปุ๋ยทางดินอาจไม่ประณีตหรือสมบูรณ์ดีนัก อาจทำให้มันสำปะหลังไม่สามารถสกัดทุกธาตุอาหารจากดินตามความต้องการได้ การให้ปุ๋ยทางใบอาจช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทั้งทางราก และส่วนเหนือดินของต้นมันสำปะหลังได้ การใช้ปุ๋ยยูเรีย 1-2 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับปุ๋ยจุลธาตุที่มีองค์ประกอบของเหล็ก ทองแดง สังกะสี ฯลฯ ในรูปคีเลต จะช่วยให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตอย่างสมดุลดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหนาวจัดหรือแห้งแล้งจัด อีกทางเลือกหนึ่ง คือ การใช้ปุ๋ยหมักน้ำที่กรองแล้วฉีดพ่นทางใบ ซึ่งจะทำให้มีการเจริญเติบโตและมีผลผลิตดีขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของวัสดุที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมักน้ำ ซึ่งจะต้องไม่มีสารประกอบไนโตรเจนอยู่มากเกินไป การให้ปุ๋ยทางใบ อาจมีความจำเป็นในช่วงฤดูหนาวหรือแล้งจัด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ต้นมันสำปะหลังเจริญเติบโตโดยทิ้งใบ และเสริมธาตุอาหารที่ต้นมันสำปะหลังไม่สามารถสกัดและดูดขึ้นจากดินได้ ในสภาพที่ดินมีน้ำน้อยหรือดินมีความเป็นกรด-ด่าง และแฉะ-แห้งไม่เหมาะสม แต่โดยทั่วไปถ้าสามารถปรับสภาพดินและปุ๋ยในดินให้สมดุลเพียงพอแล้ว การใช้ปุ๋ยทางใบจะช่วยเสริมให้ต้นมันรับธาตุอาหาร วิตามิน ฮอร์โมน ได้อย่างเต็มที่

การดูแลมันสำปะหลัง หลังการปลูก

การติดตามตรวจสอบการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง หลังจากการปลูกมันสำปะหลังไปแล้ว ผู้ปลูกควรตรวจสอบความงอก และนำท่อนปลูกที่มีคุณภาพสูงมากไปปลูกเคียงคู่กับท่อนที่ไม่งอกภายใน 10 วัน โดยเสียบเคียงข้างห่างจากต้นเดิมประมาณหนึ่งฝ่ามือโดยไม่จำเป็นจะต้องเอาท่อนเดิมออก ต่อจากนั้นยังควรติดตามการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรให้มันสำปะหลังเติบโตเร็วหรือช้าเกินไป เช่น เมื่อมันสำปะหลังมีอายุประมาณ 2 เดือน จะมีความสูง 30-45 เซนติเมตร ซึ่งจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางหัวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร มีขนาดใบพอเหมาะ และมีสีใบไม่เขียวจัดหรือซีดเกินไป และเมื่อมีอายุได้ 4 เดือน จะมีความสูงประมาณ 100-150 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวระหว่าง 2-4 เซนติเมตร ในช่วงฤดูฝนมันสำปะหลังจะมีความสูงค่อนข้างมากแต่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวค่อนข้างน้อย แต่ในช่วงหลังฝนจะมีความสูงเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และมีขนาดหัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่หลังจากเข้าฤดูหนาวหรือช่วงแล้งฝนไม่ตก 2-3 เดือน มันสำปะหลังจะหยุดการเจริญเติบโต ดังนั้นผู้ปลูกจึงควรตรวจสอบเป็นระยะๆ และขอคำแนะนำจากผู้รู้ในการปรับปรุงและแก้ไขก่อนที่จะถึงระยะเวลาครึ่งหนึ่งของฤดูปลูก (การปลูก)

ระยะการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง

การเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังจะให้ผลผลิตเปอร์เซ็นต์แป้ง และคุณภาพที่ดีเมื่ออายุ 8 เดือนขึ้นไป แต่การปลูกให้น้ำผ่านช่วงฤดูหนาวอาจทำให้ได้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งที่สูงในระยะเวลาที่สั้นกว่านี้ แต่ยังไม่มีข้อมูลในด้านคุณภาพของแป้งเมื่อเก็บมันสำปะหลังอายุต่ำว่า 8 เดือน แต่มันสำปะหลังส่วนใหญ่จะมีการเจริญเติบโตของส่วนเหนือดินน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอายุระหว่าง 12 -18 เดือน จะมีการเจริญเติบโตของหัวและมีการสะสมแป้งในระดับสูงสุด และจะมีคุณภาพของเม็ดแป้งดีด้วย ซึ่งอยู่ระหว่าง 12 -18 เดือนนั้น ควรจะอยู่ในช่วงที่ดินมีความชื้นเหมาะสมไม่ผ่านช่วงแล้งมายาวนาน มันสำปะหลังที่เติบโตเข้าสู่ระยะฝนเริ่มตกจะมีการเจริญเติบโตในรอบใหม่ ซึ่งจะดึงแป้งจากหัวไปใช้ในการเจริญเติบโต ทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งในหัวต่ำลง และในบางครั้งอาจจะต่ำจากเดิมกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ถ้าผ่านช่วงแล้งมายาวนาน ผู้ปลูกมันสำปะหลังจึงควรประเมินผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งเป็นระยะๆ ก่อนทำการขุดและตัดสินใจ เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด โดยต้องไม่ลืมเก็บบางส่วนของพื้นที่ไว้เพื่อใช้ทำพันธุ์ให้มีการหมุนเวียนวงจรอย่างราบรื่น

หากผู้ปลูกมันสำปะหลังได้ปฏิบัติแต่ละขั้นตอนอย่างถูกต้อง และประณีตพอสมควรแล้วย่อมสามารถเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลังในไร่ของตนขึ้นได้หลายเท่าตัว ดังนั้นผู้ปลูกจึงควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับต้นทุน แรงงาน วัสดุ อุปกรณ์ และเวลาที่มีอยู่ อย่างไรก็ดียังมีข้อจำกัดที่ผู้ปลูกอาจไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความแห้งแล้ง อุณหภูมิต่ำหรือสูงเกินไป การเข้าทำลายของโรคแมลง ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามความคาดหมายเสมอไป แต่ผู้ปลูกมันสำปะหลังก็ควรที่จะพัฒนาวิธีการต่างๆ ให้ดีที่สุด ซึ่งจะทำให้สามารถนำรายได้มาสู่ตนเองและครอบครัว อันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยให้มีการสร้างงานใหม่ๆ และนำเข้าเงินตราจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านพลังงานของบ้านเมืองอีกด้วย

อ้างอิง
ดร.อัศจรรย์ สุขธำรง และ ดร.เรณู ขำเลิศ
http://web.sut.ac.th
อ่าน:3739
แตงใบจุด แตงใบเหลือง โรคใบจุดของแตงที่เกิดจากเชื้อ Cercospora
แตงใบจุด แตงใบเหลือง โรคใบจุดของแตงที่เกิดจากเชื้อ Cercospora
(Cercospora leaf spot)

แตงที่เป็นโรคนี้ได้แก่ แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย แคนทาลูป ฟักแฟง สควอซ บวบ

อาการโรค

อาการส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ใบโดยมีลักษณะเป็นแผลจุดเล็ก ๆ รูปร่างไม่แน่นอนหรือค่อนข้างกลมสีนํ้าตาลจาง ๆ ตรงกลางขาว มีขอบสีดำหรือม่วงล้อมอยู่โดยรอบ ผลหรือลูกแตงจะไม่แสดงอาการในบางกรณีที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมมากๆ ต้น เถา ส่วนที่ยังอ่อนและอวบนํ้า อาจถูกเชื้อเข้าทำลายเกิดเป็นแผลจุดขึ้นได้เช่นกัน

สาเหตุโรค : Cercospora citrullina

เป็นเชื้อราพวก imperfecti เช่นเดียวกับ Alternaria sp. มีการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศโดยการเกิดโคนีเดียที่มีลักษณะยาว (cylindrical) ท้ายป้านปลายเรียวไม่มีสี มีหลายเซลล์ เกิดบนก้านยาวสีน้ำตาลที่เกิดเป็นกระจุก โคนีเดียเหล่านี้สามารถปลิวไปตามลมได้เป็นระยะทางไกลๆ เมื่อตกลงบนใบแตง ได้รับความชื้นเพียงพอก็จะงอกก่อให้เกิดโรคขึ้นใหม่ได้อีกภายใน 7 – 10 วัน เชื้อ Cercospora อยู่ข้ามฤดูได้โดยการสร้าง stroma ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของเส้นใยที่มีผนังหนากลายเป็นแผ่นหรือก้อนแข็ง มักจะพบเกิดอยู่ตามฐานของกลุ่ม conidiophore stroma ดังกล่าว จะเกาะติดอยู่กับใบพืชที่เป็นโรคซึ่งร่วงหลุดจากต้นอยู่ตามพื้นดิน จนถึงฤดูปลูกใหม่ก็จะงอกออกมาเป็นเส้นใยสร้างสปอร์ ปลิวกระจายไปตกลงบนใบพืชก่อให้เกิดโรคต่อไปได้อีก

นอกจาก Cercospora citrullina ยังมีอีก species หนึ่งที่พบว่าก่อให้เกิดโรคใบจุดกับแตงบางชนิด เช่น สควอช และ ฟักทอง คือ Cercospona cucurbita ทั้งสองชนิดมีลักษณะ โคนีเดีย และการเป็นอยู่คล้ายๆ กัน ผิดกันตรงพืชที่ถูกเข้าทำลายเท่านั้น

ในการเข้าทำลายพืชและการขยายพันธุ์เชื้อทั้งสองชนิด ต้องการความชื้นสูงและอุณหภูมิระหว่าง 27 – 30 ∘ซ.

การป้องกันกำจัด

1. ปลูกพืชหมุนเวียนอย่างน้อย 3 ปี

2. ปลูกแตงในดินที่มีการเตรียม บำรุงรักษา และมีการถ่ายเทอากาศที่ดี

3. กำจัดทำลายวัชพืชพวกแตงในบริเวณแปลงปลูกให้หมด

อ้างอิง
thaikasetsart.com/ โรคใบจุดจากเชื้อcercospora/

สินค้าแนะนำ จากฟาร์มเกษตร

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งเชื้อรา ผสมในอัตราส่วน 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 500 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน เพื่อเร่งให้มันสำปะหลังฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้เร็วยิ่งขึ้น

FK-1 ใช้บำรุงให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง เร่งโต และเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง

สามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร

ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)
อ่าน:3533
การไถดินดาน ที่ถูกต้อง ก่อนปลูกมันสำปะหลัง น้ำและอากาศไหลซึมได้ดี รากมันโตได้ไกล เพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี
การไถดินดาน ที่ถูกต้อง ก่อนปลูกมันสำปะหลัง น้ำและอากาศไหลซึมได้ดี รากมันโตได้ไกล เพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี
การไถดินดาน ที่ถูกต้อง ก่อนปลูกมันสำปะหลัง น้ำและอากาศไหลซึมได้ดี รากมันโตได้ไกล เพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี
การไถดินดานในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง

ความหมายของชั้นดินดาน

ชั้นดินดาน หมายถึง ชั้นดินที่อัดตัวแน่นทึบ หรือชั้นที่มีสารเชื่อมอนุภาคดินมาจับตัวกัน ทำให้ดินแน่นทึบและแข็ง จนเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไหลซึมของน้ำและอากาศ ซึ่งกระบวนการเกิดชั้นดินดานมี 3 ประเภท มีรายละเอียดดังนี้

1. ชั้นดินดานแข็ง (duripan) เป็นชั้นดินแข็งเชื่อมกันแน่นโดยสารเชื่อม ซึ่งสารเชื่อมมีหลายชนิดและมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปขึ้นอยู่ชนิดของสารเชื่อม ได้แก่ เหล็ก คาร์บอเนต ซิลิก้า

2. ชั้นดินดานเปราะ (fragipan) เป็นชั้นดินดานที่มีความหนาแน่นสูงกว่าชั้นดินบนและล่าง ชั้นดินดานนี้เกิดจากการอัดตัวของดินเหนียว ทรายแป้ง และทราย มีการเชื่อมตัวกันแน่น เมื่อแห้ง จะเปราะ เมื่อชื้นน้ำซึมผ่านได้ยาก

3. ชั้นดินดานไถพรวน (plowpan) เป็นชนิดเดียวกันกับชั้นดินดานเปราะ แต่ใช้เรียกเฉพาะ ชั้นดินดานที่เกิดจากการไถพรวนในระดับความลึกเดียวกันเป็นเวลานาน ซึ่งพบมากในพื้นที่ปลูก มันสำปะหลังต่อเนื่องเป็นเวลานาน

สามารถแยกชั้นดินดานแข็งออกจากชั้นดินดานเปราะ โดย พิจารณาจากการละลายน้ำ ถ้าหากละลายน้ำได้ จะเป็นชั้นดินดานเปราะ โดย ชั้นดินดานเปราะมีข้อจำกัดในการปลูกพืชน้อยกว่าชั้นดินดานแข็ง

กระบวนการเกิดชั้นดินดานไถพรวน

เกิดจากการไถพรวน ในระดับความลึกเดียวกันเป็นเวลานาน โครงสร้างของดินแตกละเอียด เมื่อฝนตกทำให้อนุภาคของดินเหนียว ทรายแป้ง รวมทั้งอินทรียวัตถุถูกชะล้างลงมาสะสมกันใต้ชั้น ไถพรวน นอกจากนี้ ยังมีแรงกดทับจากแทรกเตอร์ ในการเตรียมดินจนถึงการเก็บเกี่ยว และรถบรรทุกขนส่งหัวมันสำปะหลังไปยังโรงงาน สิ่งดังกล่าวเหล่านี้ก่อให้เกิดชั้นดินดานไถพรวนขึ้นในพื้นที่ปลูก มันสำปะหลังต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน

ระดับความรุนแรงของโอกาสเกิดชั้นดินดาน

การจำแนกระดับความรุนแรงของโอกาสในการเกิดชั้นดินดานในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 มีโอกาสเกิดชั้นดินดานได้น้อย เนื่องจากพื้นที่เป็นดินเนื้อละเอียด มีปริมาณทรายแป้ง น้อย อนุภาคของดินเป็นแบบก้อนเหลี่ยมและก้อนกลม ซึ่งทนทานต่อแรงไถพรวนและแรงกดทับจากเครื่องจักรกลขนาดใหญ่

ระดับที่ 2 มีโอกาสเกิดชั้นดินดานในระดับปานกลาง เนื่องจากพื้นที่เป็นเนื้อค่อนข้างละเอียด มีปริมาณทรายแป้งปานกลาง อนุภาคของดินเป็นแบบก้อนเหลี่ยม ซึ่งทนทานต่อแรงไถพรวนและแรง กดทับจากเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ปานกลาง

ระดับที่ 3 มีโอกาสเกิดชั้นดินดานในระดับสูง เนื่องจากพื้นที่เป็นเนื้อค่อนข้างหยาบ มีปริมาณทรายแป้งสูง โครงสร้างของดินแน่นทึบ ซึ่งทนทานต่อแรงไถพรวนและแรงกดทับจากเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ได้น้อย

สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง สามารถทราบได้ว่าพื้นที่ปลูกพืชมีชั้นดินดานอยู่ใต้ดินหรือไม่ สังเกตในช่วงฤดูฝนเมื่อมีฝนตกลงมา พื้นที่ราบน้ำจะท่วมขังอยู่นาน เพราะน้ำไม่สามารถซึมผ่านชั้นดินดานลงไปสู่ชั้นดินล่างได้ แต่น้ำจะไหลบ่าไปบนผิวดิน เกิดการชะล้างหน้าดินออกจากพื้นที่ ส่วนในช่วงฤดูแล้งชั้นดินดานจะขวางกั้นไม่ให้ความชื้นจากดินชั้นล่างขึ้นมาถึงบริเวณรากพืชได้ พืชจะขาดน้ำ ทำให้พืชแคระแกร็นหรือยืนต้นตายได้ ในทางวิชาการเราสามารถเก็บตัวอย่างดินที่ระดับความลึก 50 เซนติเมตร เพื่อนำมาวิเคราะห์หาค่าความหนาแน่นรวม (bulk density) ถ้าดินมีความหนาแน่นรวมมากกว่า 1.65 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร แสดงว่ามีชั้นดินดานเกิดขึ้นในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง

การไถระเบิดชั้นดินดานในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง

พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง มักมีการไถพรวนที่ระดับความลึกเดียวกันตลอด มีการไถพรวนในขณะดินมีความชื้นไม่เหมาะสม มีการกดทับจากแทรกเตอร์หรือรถบรรทุกในการเตรียมดิน เก็บเกี่ยว และการขนส่งหัวมันสำปะหลังไปยังโรงงาน สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดชั้นดินดานได้ง่าย โดยชั้นดินดานจะขัดขวางการแพร่กระจายของรากพืชและการแทรกซึมของน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังหรือไหลบ่ามากขึ้นในช่วงฝนตกและยังชะล้างเอาหน้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงออกไปจากพื้นที่ ขณะเดียวกันก็ทำให้พืชขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากชั้นดินดานจะขวางกั้นไม่ให้ความชื้นจากดินชั้นล่างขึ้นมาถึงบริเวณรากพืชได้ จึงทำให้พืชแคระแกร็นหรือยืนต้นตายได้ ดังนั้น พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีชั้นดินดาน ควรทำการไถระเบิดชั้นดินดาน ทุก 3-5 ปี มีรายละเอียด 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. การทำลายวัชพืชและเศษซากพืชก่อนไถระเบิดชั้นดินดานด้วยการไถพรวน 2 ครั้ง เพื่อไม่ให้เศษพืช พันขาไถระเบิดชั้นดินดานหรือเป็นอุปสรรคต่อการไถระเบิดชั้นดินดาน

2. การไถระเบิดชั้นดินดานด้วยเครื่องไถแบบสั่นสะเทือน (shaking ripper) โดยไถ 2 รอบ รอบแรกไถไปตามแนวยาวของพื้นที่ก่อน รอบที่สองไถตามขวางของพื้นที่หรือที่เรียกว่าไถตัดกันเป็นตาหมากรุก เพื่อให้ชั้นดินดานแตกร้าวสม่ำเสมอรอบทิศทางทั่วทั้งพื้นที่

3. ไถดะด้วยผาล 3 หรือผาล 4 เพื่อทำลายวัชพืชและตากหน้าดินเพื่อทำลายศัตรูพืช

4. ไถพรวนเพื่อย่อยดินให้ละเอียดและกลบรอยไถระเบิดชั้นดินดาน หลังจากนั้นทำการไถร่องปลูกมันสำปะหลัง

การไถระเบิดชั้นดินดานไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาการเกิดชั้นดินดานอย่างถาวร แต่ถ้าหากไม่มีการจัดดินที่ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ชั้นดินดานก็จะกลับมาเกิดขึ้นใหม่ได้ ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้น การชะลอการเกิดชั้นดินดานจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดสามารถทำได้ ดังนี้

1. การใช้เครื่องจักรกลการเกษตร โดย ควบคุมการใช้เครื่องจักรกลในพื้นที่การเกษตรเท่าที่จำเป็นและใช้ในขณะดินมีความชื้นพอเหมาะ ควบคุมแนวทางเดินของเครื่องจักรกลซ้ำที่เดิมและวางแนวปลูกพืชให้อยู่ระหว่างล้อของเครื่องจักร เพื่อไม่ให้เกิดชั้นดินดานทั่วพื้นที่

2. ความชื้นของดิน ชั้นดินดานที่อยู่ใต้ดินชั้นไถพรวนจะเป็นอุปสรรคต่อการไชชอนของรากพืช ก็ต่อเมื่อชั้นดินดานแห้ง ดังนั้น การรักษาความชื้นของดินชั้นดินดานให้พอเหมาะ สามารถลดผลกระทบของชั้นดินดานต่อรากพืช

3. การปรับปรุงโครงสร้างของดินเพื่อให้เม็ดดินมีเสถียรภาพ โดย การเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด เพื่อให้ดินมีคุณสมบัติทางกายภาพดีขึ้น ดูดซับน้ำได้มากขึ้น มีช่องว่างในดินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความหนาแน่นรวมลดลงได้

4. การปลูกหญ้าแฝก ชั้นดินดานเป็นดินที่มีความหนาแน่นสูง ส่วนประกอบของดินมีน้ำ ช่องว่าง อากาศ รวมทั้งอินทรียวัตถุลดน้อยลง หญ้าแฝกเป็นพืชที่ขึ้นได้ในสภาพดินดาน มีระบบรากลึกเจาะผ่านชั้นดินดานได้และให้ปริมาณรากมากกว่าพืชอื่น ดังนั้น เมื่อฝนตกลงมาความชื้นจะซึมผ่านลงตามระบบของรากหญ้าแฝก สร้างความชื้นและอินทรียวัตถุให้กับดินในชั้นดินดานอย่างรวดเร็ว

อ้างอิง
สถาบันวิจัยพืชไร่ และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร
kubotasolutions.com/ knowledge/cassava/detail/393
อ่าน:3569
การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ไม่จำกัดอายุการเก็บเกี่ยว แต่ควรเก็บเกี่ยวเมื่ออายุครบ 8 เดือนขึ้นไป โดยอายุที่เหมาะสมคือ 12 เดือน ไม่ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่มีฝนตกชุก เพราะจะทำให้มีเปอร์เซนต์แป้งต่ำ การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังมีกระบวนการดังต่อไปนี้

- ใช้มีดตัดต้นเหนือระดับพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร
- ถอน โดยใช้จอบหรือรถแทรกเตอร์ที่มีอุปกรณ์ชุดพ่วงถ้ายเพื่อขุดหัวมันสำปะหลัง
- ตัดส่วนหัวมันสำปะหลังออกจากต้น หรือเหง้า

ข้อควรระวัง
- สภาพพื้นที่ปลูกควรดูแลรักษาให้ปราศจากวัชพืช โรค และแมลงอยู่เสมอ
- ต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรใหม่ สด ไม่บอบช้ำ ปราศจากโรค แมลง และเป็นพันธุ์ที่ไม่ถูกทำลายโดยสารเคมีกำจัดวัชพืช
- ผลผลิต (หัวสด) เมื่อเก็บเกี่ยวส่งจำหน่ายไม่ควรมีส่วนของลำต้นและดินปน
- หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรรีบส่งจำหน่ายทันที ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 4 วัน เพราะจะเน่าเสียหาย
- การพ่นสารเคมีกำจัดโรค แมลง และวัชพืช ทุกครั้ง ควรมีการป้องกันให้ถูกวิธี

อ้างอิง
nstda.or.th/ agritec/cassava-harvest
อ่าน:3554
โรคใบด่างมะละกอ เชื้อไวรัสในมะละกอ ต้องกำจัดเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำโรค และมีดตอนกิ่งที่ไม่สะอาดก็มีส่วน
โรคใบด่างมะละกอ เชื้อไวรัสในมะละกอ ต้องกำจัดเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะนำโรค และมีดตอนกิ่งที่ไม่สะอาดก็มีส่วน
แนะนำแก้โรคใบด่าง จากเชื้อไวรัส ในมะละกอ

คุณนวลจันทร์ ฉัตรเท เกษตรอำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ได้มอบหมายให้ นางสาวธารทิพย์ สุธรรม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เข้าสำรวจแปลงปลูกมะละกอของเกษตรกรในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

หลังจากที่มีเกษตรกร หมู่ 3 ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด มาขอคำแนะนำและปรึกษาเกี่ยวกับโรคที่เกิดกับมะละกอที่ปลูก ซึ่งจากการสำรวจแปลงปลูกพบว่ามะละกอของเกษตรกรเป็นโรคใบด่างจากเชื้อไวรัส

สาเหตุหลัก เกิดจากการใช้มีดตอนกิ่งมะละกอ โดยไม่ทำความสะอาด

และจากการสอบถามเกษตรกรพบว่า สาเหตุหลักมาจากการใช้มีดในการตอนกิ่งมะละกอเล่มเดียวกันโดยไม่ได้ทำความสะอาด เมื่อเปลี่ยนต้นในการตอน และอาจจะมีมะละกอบางต้นที่เป็นโรคนี้อยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นสาเหตุให้เชื้อไวรัสติดไปยังกิ่งตอนอื่น ๆ เมื่อนำมาปลูกจึงเกิดการระบาดในแปลงปลูก เพราะจากการสำรวจพบว่าที่เป็นโรคจะเกิดเฉพาะต้นที่ตอนกิ่งมาเท่านั้น

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอแหลมงอบ ได้ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในการทำลายมะละกอต้นที่เกิดโรค และการดูแลรักษาต้นมะละกอ ตลอดถึงการป้องกันกำจัดโรคและแมลงในพริก มะเขือและพืชผักอื่น ๆ ที่เกษตรกรนำมาปลูกเสริมในแปลงปลูกมะละกอให้แก่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรนำความรู้และวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการไปปฏิบัติใช้อย่างถูกต้องในการดูแลแปลงปลูกพืชของตนเองเพื่อลดและป้องกันการระบาดเพิ่มอีกด้วย

สำหรับโรคใบด่างจากเชื้อไวรัสนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบุว่า เกิดจากเชื้อไวรัสเข้าทำลาย ซึ่งเชื้อจะเข้าทำลายได้ทุกระยะของการเจริญเติบโตของมะละกอ จะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบด่างเหลือง บิดเบี้ยวเสียรูป ใบจะหงิกงอ เรียวเล็กเหมือนหางหนู ถ้าเป็นรุนแรงใบจะเหลือแค่เส้นใบดูเหมือนเส้นด้าย และต้นกล้าอาจตายได้หรือไม่เจริญเติบโต ในต้นที่โตแล้ว ใบจะมีอาการด่าง บิดเบี้ยว หงิกงอ ยอดและใบมีสีเหลืองกว่าต้นที่ไม่เป็นโรค และจะสังเกตเห็นลักษณะจุดหรือทางยาวสีเขียวเข้ม ดูช้ำตามก้านใบ ลำต้น การติดผลจะไม่ดีหรือไม่ติดเลย 

ในต้นที่ยังติดผล ผลก็อาจบิดเบี้ยว มีจุดลักษณะเป็นวงแหวน ทั่วทั้งผล เนื้อบริเวณที่เป็นจุดวงแหวนมักจะเป็นไตแข็ง มีรสขม ถ้าเป็นรุนแรงแผลเหล่านี้จะมีลักษณะคล้ายสะเก็ด หรือหูดนูนขึ้นมา บนผิวของผลจะขรุขระ ต้นที่เป็นโรคในระยะออกดอก จะทำให้ติดผลไม่ดี และผลที่ได้จะมีจุดวงแหวนเห็นได้ชัด นอกจากนี้ดอกในรุ่นต่อ ๆ ไปก็จะร่วง ไม่ติดผลอีกด้วย 

เพลี้ยอ่อน เป็นพาหะ นำไวรัสมะละกอมาติด และระบาดในสวนมะละกอ

และโรคนี้สามารถแพร่ระบาดไปได้โดยมีเพลี้ยอ่อนหลายชนิดเป็นพาหะ เช่น เพลี้ยอ่อนถั่ว เพลี้ยอ่อนยาสูบ โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนฝ้ายที่จะเป็นพาหะสำคัญที่แพร่ระบาดของโรคนี้ โดยเพลี้ยอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นเป็นโรค เชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปากของแมลง และเมื่อบินหรือย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ไม่เป็นโรค ก็จะถ่ายเชื้อไวรัสเข้าไป

ซึ่งการถ่าย ทอดโรคนี้จะใช้เวลาสั้นมาก โดยดูดจากต้นเป็นโรคประมาณ 10-30 วินาที ก็สามารถถ่ายโรคไปยังต้นอื่นได้ ภายหลังมะละกอได้รับเชื้อไวรัสแล้วประมาณ 15-30 วินาที ก็จะแสดงอาการของโรคให้เห็น และที่ผ่านมาค่อนข้างยากที่จะหาวิธีป้องกันหรือกำจัดโรคนี้โดยตรง แต่เกษตรกรสามารถป้องกันได้ด้วยการทำลายต้นที่ติดเชื้อโรคที่แสดงอาการอย่างแน่ชัด โดยการเผาหรือฝังในดินให้ลึก และปลูกมะละกอพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคนี้ เช่น ปากช่อง 1 แขกดำ ท่าพระ โดยบริเวณปลูกต้องกำจัดวัชพืชให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของเพลี้ยอ่อน

การปลูกมะละกอให้ห่างจากพืชตระกูลแตง หรือปลูกเหนือลม ช่วยป้องกันการระบาดของไวรัสมะละกอได้ดี

และควรปลูกห่างจากพืชตระกูลแตงและนำพืชตระกูลแตงมาปลูกบริเวณด้านเหนือลม เพื่อเป็นกับดักตามธรรมชาติให้เพลี้ยอ่อนเข้าดูดกิน และสูญเสียการถ่ายเชื้อไวรัสเข้าสู่มะละกอ ก็จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
dailynews.co.th/ agriculture/555912

*สินค้าจาก ฟาร์มเกษตร สำหรับการป้องกัน และรักษาโรคไวรัสมะละกอ เป็นการป้องกันกำจัดพาหะนำโรค คือเพลี้ยอ่อน และเพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่นด้วยมาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด หากต้องการบำรุง ให้มะละกอฟื้นตัวเร็ว เจริญเติบโตดี แข็งแรง และต้านทานต่อโรคมากขึ้น สามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจัดใบนั่นเอง)
อ่าน:4467
การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถช่วยยกระดับผลผลิตข้าว ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตได้
การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถช่วยยกระดับผลผลิตข้าว ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตได้
การเพิ่มผลผลิตข้าว ตามเขตศักยภาพการให้ผลผลิตของพื้นที่ปลูกข้าวของไทย

กรมการข้าว โดยสำนักวิจัยและพัฒนาข้าว ได้ทำการวิจัยการจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าว ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ ประกอบการจัดการดิน ตามความอุดมสมบูรณ์ที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ตลอดจนทำให้ทราบขีดความสามารถในการผลิต ช่วยให้การกำหนดยุทธศาสตร์ตลอดจนวางแผนการผลิตข้าวของประเทศไทย มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เริ่มทำการวิจัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ภายใต้โครงการนำร่อง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย บุรีรัมย์ และสุพรรณบุรี และได้ขยายโครงการเป็นการศึกษาทั่วประเทศ โดยทีมงานวิจัยซึ่งกระจายอยู่ตามศูนย์วิจัยข้าวต่างๆ ทั่วประเทศ จนถึง พ.ศ. 2553 ได้สรุปผลการศึกษาและเผยแพร่ผลงานแล้วประมาณ 60 จังหวัด ดังนั้นเพื่อให้การศึกษาครอบคลุมพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ พ.ศ. 2554-2556 จึงดำเนินการศึกษาในพื้นที่ที่เหลือ รวมทั้งนำผลการศึกษารายจังหวัดมาจัดทำแผนที่ศักยภาพการผลิตเป็นรายภาคและของทั้งประเทศ เพื่อประโยชน์ในการใช้วางแผนการผลิต ตั้งแต่ระดับรายแปลงจนถึงระดับนโยบาย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวแหล่งใหญ่ของประเทศ มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวปานกลาง การใช้เทคโนโลยีช่วยยกระดับผลผลิตข้าวได้ดี ช่วยให้ได้ผลผลิตข้าวมากกว่า 550 กิโลกรัมต่อไร่เป็นส่วนใหญ่ ส่วนภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวมาก ได้ผลผลิตสูงสุดมากกว่า 1_000 กิโลกรัมต่อไร่ ภาคเหนือตอนบน และ ภาคใต้ เป็นเขตที่มีพื้นที่ปลูกข้าวกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ไม่ติดต่อกันเป็นผืนใหญ่ โดยภาคเหนือตอนบน มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวมาก อย่างไรก็ดีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถเพิ่มพื้นที่ที่ให้ผลผลิตมากกว่า 550 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 75 เป็น ร้อยละ 95 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้ สามารถยกระดับผลผลิตของพื้นที่จาก 450-550 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นมากกว่า 550 กิโลกรัมต่อไร่ได้

โดยสรุป ผลการศึกษาโดยรวมพบว่า การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถช่วยยกระดับผลผลิตข้าว ลดต้นทุนการผลิต ส่งผลให้สามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวของจังหวัดในภาคต่างๆได้ ด้วยการนำความเหมาะสมต่อการปลูกข้าว มาจัดระดับความอุดมสมบูรณ์ ร่วมกับการออกสำรวจระดับผลผลิตตามที่เกษตรกรปฏิบัติ จากนั้นแนะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสม ตั้งแต่การใช้พันธุ์ข้าว วิธีการปลูก การควบคุมดูแลวัชพืช โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ และตามค่าวิเคราะห์ดิน พบว่า โดยเฉลี่ย สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวของประเทศ ได้สูงสุด ประมาณร้อยละ 60 ที่จังหวัดกำแพงเพชร หรือเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 20 หากคำนวนพื้นที่ปลูกและระดับผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เปรียบเทียบกับการปฏิบัติของเกษตรกร เฉลี่ย 666 กิโลกรัมต่อไร่ จะสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตข้าวของประเทศได้ ประมาณ 2.2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าข้าวที่เพิ่มขึ้น ฤดูละประมาณ 3 แสนล้านบาท นอกจากนี้ การจัดทำแผนที่การผลิตรายภาคและของประเทศ สามารถนำไปประกอบการวางแผนการผลิตข้าวของประเทศได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

คำสำคัญ: เขตศักยภาพการผลิตข้าว ภาคกลาง ภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคใต้ ผลผลิตข้าว

อ้างอิง ricethailand.go.th
อ่าน:3456
การปลูกมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตดี
การปลูกมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตดี
การปลูกมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตดี
มันสำปะหลัง Manihot esculenta Crantz เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย นอกจากจะเป็นผู้ผลิตมันสำปะหลังได้มากเป็นอันดับที่สามของโลก รองจากประเทศ ไนจีเรีย และบราซิล ยังเป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นอันดับหนึ่งของโลก และนำรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 30_000 ล้านบาท เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชของขวัญของเกษตรกรไทย เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่ายแม้ดินจะไม่ดี ทนต่อความแห้งแล้ง ปัญหาโรคแมลงมีน้อย หัวสดมีตลาดรองรับแน่นอน การขุดเก็บเกี่ยวไม่ขึ้นกับฤดูกาล สามารถจะชะลอการเก็บเกี่ยวได้

จากการสำรวจมันสำปะหลังจะเห็นได้ว่า ผลผลิตหัวมันสดเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นไม่มากในปี 2547/2548 2548/2549 เฉลี่ยต่อไร่ (2_749และ 2_921กิโลกรัม)

จากการสำรวจการปลูกมันสำปะหลังประจำปี 2550/2551 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 7_302_960 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 3_782 ตัน ผลผลิตรวม 27_618_763 ตัน เปรียบเทียบกับ ปีประจำปี 2549/2550 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 7_201_243 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 3_668 ตัน ผลผลิตรวม 26_411_233 ตัน

พื้นที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น 1.41% ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น 3.11% และผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น 4.57% (มูลนิธิพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย_ 2550) แม้ในปัจจุบัน จะมีการขยายพื้นที่มันสำปะหลังพันธุ์ดีสู่เกษตรกรไปมากแล้วก็ตาม สาเหตุหลักเนื่องจากดินเสื่อมโทรม ทำให้ผลผลิตต่ำแม้ใช้มันสำปะหลังพันธุ์ดีเนื่องจากเกษตรกรไม่นิยมปรับปรุงบำรุงดิน

การเพิ่มผลผลิตโดยรวมของประเทศ จึงมาจากการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้นมากกว่า ในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่เพิ่มขึ้นนั้น เกษตรกรสามารถทำได้ 3 วิธีร่วมกันคือ

- การจัดการดินดี
- การใช้พันธุ์ดีที่เหมาะสมกับดินและพื้นที่
- การปฏิบัติดูแลรักษาดี

ก็จะช่วยให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ปัญหาของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังคือ ดินเสื่อมโทรมจะเป็นปัญหาอันดับหนึ่ง จึงจำเป็นต้องหาหนทางในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน และการบำรุงรักษาดิน และการดูแลรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้สูงอยู่เสมอ จะช่วยให้ผลผลิตหัวสดต่อไร่สูงขึ้นกว่าในปัจจุบัน เนื่องจากศักยภาพของพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ ถ้าเกษตรกรมีการปฏิบัติดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม จะทำให้ได้ผลผลิตสูงเฉลี่ยต่อไร่ 5-10 ตันต่อไร่ได้ เนื่องจากการผลิตมันสำปะหลังในปัจจุบัน แม้ราคาจำหน่ายหัวมันสดจะสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละกว่า 2.50 บาท แต่ปัจจัยการผลิตต่างๆ ก็แพงขึ้นตามตัวไม่ว่าจะราคาน้ำมัน (ดีเซล) ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปุ๋ยเคมี สารกำจัดวัชพืช ค่าแรงงาน ทำให้ต้องมองหาวิธีการลดต้นทุนปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี มีราคาแพงถึงกระสอบละ 1_000 กว่าบาทนั้น ต้องมองหาแหล่งปุ๋ยอินทรีย์ ที่นับวันจะหาอยากเพื่อจะนำมาใช้ทั้งโดยตรง และร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีที่ใช้อัตราต่ำลง แต่ยังคงให้ผลผลิตคุ้มกับการลงทุน

ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหากับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและน้ำมันิบมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การหาแหล่งพลังงานใหม่เข้ามาทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบ จากวัตถุดิบทางการเกษตรที่สามารถผลิตได้เองภายในประเทศ จะช่วยให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ อย่างยั่งยืน สถานภาพวัตถุดิบที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล สามารถผลิตได้จากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันเบนซินในอัตราส่วน 20% จะได้น้ำมันที่เรียกว่า แก๊ซโซฮอล์ (Gasohol) โดยวัตถุดิบทางการเกษตรในประเทศไทยที่มีศักยภาพสูงสำหรับการผลิตเอทานอลได้แก่ อ้อย กากน้ำตาล และมันสำปะหลัง

จากการวิจัยและพัฒนาพบว่า วัตถุดิบที่เหมาะสมที่สุดในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล คือมันเส้นเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุชนิดอื่นๆ การใช้วัตถุดิบจากมันสำปะหลังจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้มันน้อยที่สุด ทั้งนี้พิจารณาถึงความสามารถและกำลังการผลิตหัวมันสำปะหลังซึ่งในปัจจุบัน ผลผลิตหัวสดมีปริมาณไม่เพียงพอในการผลิตแป้ง ในปัจจุบัน และราคาหัวมันสดที่สูงถึงกว่า 2.50 บาท จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตเอธานอลที่ไม่คุ้มกับการลงทุน เนื่องจากปัญหาจำนวนผลผลิตส่วนใหญ่ใช่ในอุตสาหกรรมอาหาร จึงมีผลผลิตไม่เพียงพอในการนำไปผลิตพลังงานทดแทน หากจะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นเป็นเรื่องจำเป็น

การปฏิบัติในการปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตและปริมาณแป้งในมันสำปะหลัง เพื่อรองรับทางด้านพลังงานสามารถทำได้ดังนี้

1. การเตรียมดินดี ดินเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการปลูกพืช ดินที่ปลูกจะต้องมีความอุดมสมบูรณ์ที่เหมาะสมในการปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่จะปลูกในดินร่วนปนทราย ในสภาพพื้นที่ลอนลาด เนินเขาต่างๆ ในการปฏิบัติส่วนใหญ่หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จในช่วงต้นฤดูฝน ถ้าทำการปลูกต่อจะไถพื้นที่ด้วยรถไถผาล 3 หรือเรียกว่าไถดะ เพื่อไถหมักต้นและใบสดที่ทิ้งในแปลง รวมทั้งวัชพืชที่ขึ้นในแปลงโดยทิ้งไว้ประมาณ 15-20 วัน เพื่อหมักให้วัชพืชเน่าเปื่อย หากจะบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือสารปรับปรุงดิน เช่น ยิบซั่ม ก็ทำการหว่านให้ทั่วทั้งแปลง เมื่อดินมีความชื้นเพียงพอก็ทำการไถอีกครั้งด้วยรถไถผาล 7 เรียกว่าไถแปร ถ้าหากปลูกแบบพื้นราบก็ทำการปลูกได้เลยโดยการใช้เชือกทำเครื่องหมาย
ระยะปลูกให้เหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่ หากในบางพื้นที่ก็ทำการยกร่องปลูกก็ขึ้นกับสภาพพื้นที่

2. ปรับปรุง และบำรุงดิน ปัจจุบันพันธุ์มันสำปะหลัง เทคโนโลยีการผลิตนั้น ประเทศไทยถือได้ว่ามีความก้าวหน้ามากที่สุดประเทศหนึ่ง ในประเทศผู้ปลูกมันสำปะหลังในโลกปัจจุบัน แต่ปัญหาใหญ่ของเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทยคือ ปัญหาเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ต่ำ ทำให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยของเกษตรและของประเทศ ส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำประมาณ 2.5-3.0 ตันต่อไร่ (ปี 2549/50 3.7 ตันต่อไร่) แม้เกษตรกรจะใช้มันสำปะหลังพันธุ์ที่ใหม่และให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 5-10 ตันต่อไร่ก็ตาม แต่หากไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินให้ดีก็คงจะได้ผลผลิตสูงได้ยาก

การปรับปรุงบำรุงดินเป็นสิ่งจำเป็นในการปลูกมันสำปะหลัง หากจะปลูกแล้วให้มีกำไรและให้ผลผลิตอย่างยั่งยืน ปัจจุบันเกษตรกรนิยมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่ ปุ๋ยมูลไก่ มูลสุกร มูลโค หรือมูลสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่หาได้โดยใส่อัตราประมาณ 500 – 1_000 กก./ไร่ หรือปุ๋ยอื่น ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น เช่นนอกจากนั้นยังสามารถใช้วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานที่สามารถนำมาใช้โดยตรง เช่น เปลือกมันสำปะหลังจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังที่ทิ้งหมักไว้แล้ว วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานผงชูรส เป็นต้น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปรับปรุงบำรุงดิน ต้องใส่่ในปริมาณที่มาก เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่มีปริมาณธาตุอาหารที่ต่ำ และการปลดปล่อยธาตุอาหารก็ช้า และต้องใช้เวลาในการใช้จึงจะเห็นผลจำเป็นต้องใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี
จึงจะเกิดประโยชน์และช่วยให้ผลผลิตสูงขึ้น

ในกรณีปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินเป็นเรื่องที่ดีในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติแม้ผลการทดลอง จากการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกมันสำปะหลังได้ผลผลิตหัวสดสูงขึ้น แต่การขยายผลจากงานทดลองสู่เกษตรกรยังไม่มีการตอบรับจากเกษตรส่วนใหญ่ เนื่องจากเกษตรกรมีทุนในการปลูกมันสำปะหลังน้อยอยู่แล้ว การไถแต่ละครั้งต้องใช้ต้นทุนสูงขึ้นจึงไม่ได้รับการยอมรับ

ประภาสและคณะ ศึกษาการใช้แคลเซียมซัลเฟต (CaSo4.2H2O) หรือยิบซั่มซึ่งเป็นสารปรับปรุงดินที่มีธาตุแคลเซี่ยม(Ca) และกำมะถัน(S) เป็นองค์ประกอบหลักใส่ในการปลูกมันสำปะหลัง ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยมูลไก่ ทั้งในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนโดยในชุดดินวาริน ทำการศึกษาโดยใช้มันสำปะหลังพันธุ์ เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 72 และพันธุ์ห้วยบง 60 ส่วนชุดดินมาบบอนใช้มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 และพันธุ์ระยอง 5 ทั้งต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนเป็นเวลา 3 ปี

จากผลการทดลองในดินชุดวาริน ในอำเภอด่านขุนทดจังหวัดนครราชสีมา และชุดดินมาบบอนในอำเภอพนมสารคามจังหวัดฉะเชิงเทรา ในการทดลองทั้งสองชุดดินที่มีสภาพเป็นดินร่วนปนทรายสามารถยกระดับผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อย่างชัดเจน ก็เป็นทางเลือกที่เกษตรกรจะพิจารณาใส่ในการปลูกมันสำปะหลัง เนื่องจากปัญหาราคาปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงมาก

3. การวางแผนการปลูกให้เหมาะสมกับฤดูกาล

ปลูกปลายฤดูฝน
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงเดือนตุลาคม ไม่ควรเกินวันที่ 10 พฤศจิกายน ในภาคตะวันออกตั้งแต่เดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ การปลูกมันสำปะหลัง ในช่วงปลายฤดูฝนความสม่ำเสมอในการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังจะต่ำกว่าการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เนื่องจากการปลูกปลายฤดูฝนมันสำปะหลังจะติดแล้ง ในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโตอายุ 3-4 เดือน การปลูกในช่วงปลายฤดูฝนจึงแนะนำให้ปลูกในพื้นที่ดินเป็นทรายหรือร่วนปนทราย ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ดินค่อนข้างเหนียว ซึ่งเมื่อกระทบแล้งมันสำปะหลังจะตายมาก และมีในภาคตะวันออกอาจจะเริ่มปลูกตั้งแต่เดือนตุลาคม – มกราคม เนื่องจากสภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายและหากมีการไถดะให้ลึกเพื่อตัดเก็บความชื้นเอาไว้
จะช่วย ให้ในดินมีความชื้นและปริมาณน้ำฝนที่มากและการกระจายตัวของฝนมากกว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปลูกต้นฤดูฝน
ตั้งแต่ปลายมีนาคม – เมษายน ในฤดูฝนควรดำเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคมให้เสร็จ หากปลูกหลังจากเดือนนี้จะมีปัญหาเรื่องวัชพืชที่มี ต้นทุนสูงที่สุดในขั้นตอนการปลูกมันสำปะหลั งยิ่งทำในพื้นที่มากๆแล้วไม่แนะนำให้ดำเนินการในช่วงเดือนนี้ ควรทำในช่วงต้นฤดูฝน

4. ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดี คือ พันธุ์ที่มีการปรับตัวในสภาพแวดล้อมต่าง ๆได้ดี สามารถงอกและมีอัตราการอยู่รอดสูง เจริญเติบโตดี สามารถคลุมวัชพืชดี ทรงต้นดี อายุการเก็บต้นพันธุ์หลังการเก็บเกี่ยวได้นาน ให้ผลผลิตหัวสดและปริมาณแป้งสูง ในพื้นที่ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังควรเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับดินที่เกษตรกรปลูกเอง ในปัจจุบันทางราชการได้แนะนำพันธุ์มันสำปะหลังประเภทปลูกส่งโรงงานอุตสาหกรรมให้เกษตรกรขยายพันธุ์ปลูกไปแล้วจำนวน 11 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ระยอง 1 ระยอง 3 ระยอง 60 ศรีราชา 1 ระยอง 90 เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 5 ระยอง 72 ห้วยบง 60 ระยอง 7 และระยอง 9 ซึ่งแต่ละพันธุ์มีลักษณะเด่น และด้อยต่างกัน

5. การใช้ต้นพันธุ์ดี พันธุ์ที่มีคุณภาพเหมาะสมและวิธีการปลูกที่ถูกต้องผลผลิตหัวสดที่ได้จากการปลูกมันสำปะหลัง มีความสัมพันธุ์อย่างมากกับความงอกและจำนวนต้น อยู่รอดจนกระทั่งขุดเก็บเกี่ยว แต่ส่วนมากนิยมการปลูกแบบปักตรง ซึ่งได้รับผลผลิตสูงกว่า ตางอกได้เร็วกว่า การดูแลรักษาหลังการปลูก เช่น การกำจัดวัชพืช ปัญหาเรื่องแดดเผาต้นไม่มี การใส่ปุ๋ยตลอดจนการขุดเก็บเกี่ยวทำได้สะดวก การเลือกท่อนพันธุ์ที่ดี เป็นต้นพันธุ์ที่ใหม่หลังการตัดต้นพันธุ์แล้ว ควรรีบดำเนินการปลูกภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หากขุดมันแล้ว เกิดภาวะแห้งแล้งไม่เหมาะสมในการปลูก หากจำเป็นต้องเก็บต้นไว้ปลูกหลายเดือนควรเก็บท่อนพันธุ์ตั้งไว้กลางแจ้ง ให้โคนต้นถึงพื้นดินทุกต้นและกรบโคนต้น รดน้ำให้ดินมีความชื้นโดยกองละประมาณ 500 ต้น ต้นมันสำปะหลังจะรักษาน้ำเลี้ยงคงความสดไว้ได้นานกว่า 2 เดือน ต้นพันธุ์ที่เหมาะสมควรคัดต้นที่สมบูรณ์ ตาของท่อนพันธุ์ต้องถี่ ต้นมีสีออกน้ำตาล หลีกเหลี่ยงการใช้ส่วนที่เป็นโคนต้นและปลายยอดที่มีสีเขียว รวมทั้งลำต้นที่เป็นโพรง วิธีการสับท่อนพันธุ์เป็นเรื่องที่น่าสนใจและใช้ความระมัดระวังอย่างมาก อย่าให้กระทบกระเทือนตาบนท่อนพันธุ์ และแนะนำให้สับตรงหรือเฉียงเล็กน้อย ไม่ควรสับเฉียงจนแหลมมาก นอกจากนั้นต้องตัดท่อนพันธุ์ให้มีความยาวที่เหมาะสม คือ ยาวประมาณ 20-25 ซม. การใช้ต้นพันธ์เพื่อปลูก ถ้าต้นพันธุ์มันสำปะหลังมีความยาวขนาด 1.20 เมตร จะใช้ต้นพันธุ์ประมาณ 500 - 650 ต้นต่อไร่ก็ขึ้นกับพันธุ์

6. วิธีการปลูก
สำหรับการปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทยที่เกษตรกรนิยมปลูกมีด้วยกัน 3 วิธีคือ
6.1.การปลูกแบบยกร่อง
6.2.การปลูกแบบพื้นราบ
6.3.การปลูกโดยใช้เครื่องจักร

7.จัดระยะปลูกให้ถูกต้อง
ทุกสภาพดินการปลูกมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มผลผลิตสามารถกระทำได้โดยการใช้ระยะปลูกให้เหมาะสมกับชนิดของพันธุ์ที่ใช้ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน หลักในการพิจารณาโดยทั่วๆไปที่เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้คนที่มีอาชีพปลูกมันสำปะหลังสำปะหลังก็คือ “ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง” ความนิยมของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ โดยจะมีระปลูกโดยทั่วไปเช่น ระยะ1.0 x1.0 เมตรใช้ท่อนพันธุ์ 1_600 ท่อน 1.2 x 0.8 เมตร (1_600 ท่อนปลูกระยะถี่1.0 x 0.8 เมตร (2_400 ท่อน ) ในบางครั้งจะเห็นว่าเกษตรกรนั้นปลูกระถี่กว่านี้จะใช้ระยะ 1.2 x 0.3-0.7 เมตร ขึ้นกับพันธุ์ที่ใช้ปลูก

8. การกำจัดวัชพืช
นอกจากปัญหาเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว ปัญหาวัชพืชหรือทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า “รุ่น” เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงตลอดฤดูฝน ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในการปลูกและดูแลรักษาเกิดจากการป้องกันกำจัดวัชพืช โดยเฉพาะในระยะ 1-4 เดือนแรกของการปลูกเกษตรกร
ต้องหมั่นตรวจแปลงปลูกทุก 15 วัน เพื่อแก้ปัญหาวัชพืชโดยใช้หลักป้องกันไว้ก่อน การแก้ปัญหาล่าช้า ปล่อยให้วัชพืชแข็งแรง เจริญเติบโตจนกระทั่งออกดอก จะกำจัดทำลายยากและยืดเยื้อ ใช้ต้นทุนสูง ทำให้มันสำปะหลังแคระแกรน ผลผลิตต่ำ การปลูกมันสำปะหลังในช่วงปลายฤดูฝนซึ่งตรงกับหน้าแล้ง ปัญหาวัชพืชจะไม่รุนแรง

9. การเพิ่มผลผลิตโดยการใช้ปุ๋ยเคมี การใส่ปุ๋ยเคมีให้ทันเวลาหมายถึงการใส่ปุ๋ยเคมีหลังปลูก เพื่อใส่ปุ๋ยเนื่องจากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรส่วนใหญ่ทำในพื้นที่หลายไร่ จึงจำเป็นต้องเริ่มใส่ปุ๋ยให้เร็วเพราะจะทำให้มันสำปะหลังเจริญเติบได้เร็ว สามารถคลุมวัชพืชได้เร็ว และจะช่วยลดปัญหาการชะล้างพังทะลายของดินซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ แล้วยังจะช่วยลดการกำจัดวัชพืชได้ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้

10. ขุดเก็บเกี่ยวให้ถูกฤดูกาลในช่วงเวลาที่เหมาะสม ส่วนใหญ่ขุดระหว่าง 8-12 เดือน มันสำปะหลังสังเกตุจากมันจะเริ่มทิ้งใบ โดยใช้เครื่องจักรหรือแรงงานคน ส่วนใหญ่จะเริ่มขุดในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ถึงเดือนเมษายนเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากมันจะได้อายุครบ 12 เดือนหรือใกล้เคียง อีกช่วงหนึ่งที่มีการขุดหัวมันขายมากก็ในช่วง เดือนกันยายน-ตุลาคม หรือเรียกว่ามันที่ปลูกปลายฤดูฝน หากช่วงไหนราคามันไม่ดีหรือมีแปลงขนาดใหญ่ ที่มีการหมุนเวียนการปลูกภายในฟาร์มขนาดใหญ่ ก็ไม่จำเป็นที่จะขุดที่ 12 เดือน เป็นหลักอาจจะยืดอายุการขุดออกไปถึง 15-18 เดือนเนื่องจากอายุ ยิ่งมาก ผลผลิตก็ยิ่งสูงขึ้นก็ขึ้นกับปริมาณน้ำฝน

ข้อมูลจาก ku.ac.th/e-magazine/ oct51/agri/agri2.htm
อ่าน:3632
การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูทุเรียน โรคทุเรียน เพลี้ยแป้งทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน โรคใบติด ในทุเรียน โรคเชื้อรา ไฟทอฟธอรา ทุเรียน
การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูทุเรียน โรคทุเรียน เพลี้ยแป้งทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน โรคใบติด ในทุเรียน โรคเชื้อรา ไฟทอฟธอรา ทุเรียน
การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูทุเรียน โรคทุเรียน เพลี้ยแป้งทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน โรคใบติด ในทุเรียน โรคเชื้อรา ไฟทอฟธอรา ทุเรียน
ศัตรูที่สำคัญของทุเรียนในระยะต้นเล็กซึ่งมีการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านสาขา ได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่า โรคราใบติด โรคราสีชมพู เพลี้ยไก้แจ้ และปัญหาสำคัญ คือวัชพืช ควรใช้หลายๆ วิธีประกอบกัน ทั้งการใช้แรงงานถอน ถาก ตัดด้วยเครื่องมือหรือใช้ยาอินทรีย์ โดยต้องระมัดระวังอย่าให้ระบบรากกระทบกระเทือน

1. โรคจากเชื้อราไฟทอฟธอรา
1.1 โรคเข้าทำลายใบ ให้พ่นไอเอส ให้ทั่วทั้งภายในและนอกทรงพุ่ม
1.2 โรคที่ระบบราก ใช้ไอเอสผสมน้ำราดใต้ทรงพุ่มให้ทั่ว พร้อมกับกระตุ้นการเจริญของรากโดยการผสมปุ๋ยน้ำ FK-1 ไปพร้อมกัน
1.3 โรคที่ลำต้นและกิ่ง ถ้าอาการเล็กน้อย ให้ขูดผิวเปลือกส่วนที่เป็นโรคออกนำไปเผาทำลาย แล้วทาด้วยปูนแดง ถ้าพบอาการรุนแรง ใช้กรดฟอสฟอรัส ฉีดเข้าลำต้น หรือกิ่งในบริเวณตรงข้าม หรือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค

2. โรคใบติด พบอาการเล็กน้อยให้ตัดเผาทำลาย หากอาการรุนแรงให้พ่นด้วยไอเอส

3. เพลี้ยไก่แจ้ เมื่อพบยอดทุเรียนถูกทำลายมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของยอดหรือพบไข่บนยอดมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ให้พ่นด้วยมาคา ทุก 3 ถึง 7 วันจนใบแก่

4. หนอนเจาะผล พ่นด้วยไอกี้-บีที

ขอบคุณข้อมูลก่อนปรับแต่งจาก arda.or.th/kasetinfo/south/durian/controller/01-08.php
อ่าน:3476
ปลูกมันเบอร์รี่ หรือหม่อนกินผล รายได้หลัก 3 หมื่นบาทต่อไร่ ราคาอยู่ในช่วง 150 ถึง 250 บาทต่อ กก.
ปลูกมันเบอร์รี่ หรือหม่อนกินผล รายได้หลัก 3 หมื่นบาทต่อไร่ ราคาอยู่ในช่วง 150 ถึง 250 บาทต่อ กก.
ปลูกมันเบอร์รี่ หรือหม่อนกินผล รายได้หลัก 3 หมื่นบาทต่อไร่ ราคาอยู่ในช่วง 150 ถึง 250 บาทต่อ กก.
หม่อน หรือ ลูกมัลเบอรี่ นอกจากรสชาติเปรี้ยวๆ หวานๆ อร่อยถูกปากใครหลายคนแล้ว ยังมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ทั้งช่วยลดระดับน้ำตาลในหลอดเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงสายตา ต่อสารอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ต่อต้านอาการขาดเลือดในสมอง ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย คุณประโยชน์ดีๆมาเพียบแบบนี้ ไม่กินไม่ได้แล้ว

ส่วนราคาของผลมัลเมอร์รีจะอยู่ที่ 150 ถึง 250 บาทต่อกิโลกรัมเลยทีเดียว สำหรับใครที่ชอบทานมัลเบอร์รี่วันนี้เรามีวิธีการปลูกหม่อน หรือ (Mulberry)ไว้กินเองมาฝากกันค่ะ ปลูกง่ายแถมได้เก็บมัลเบอร์รี่สดๆทานได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย มีวิธีอย่างไรบ้าง โดยการปลูกมัลเบอร์รีควรเริ่มจากการหาต้นพันธุ์ ซึ่งในประเทศไทยจะมีหลากหลายพันธุ์ที่นิยมปลูก แต่พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยก็คือ กำแพงแสน 84 บุรีรัมย์ 60 เชียใหม่60 ซึ่ง 3 พันธุ์นี้เหมาะสำหรับพื้นที่แลภูมิอากาศของประเทศไทยเพราะได้มีการพัฒนาจากสถานบันเกษตรต่าง ๆอย่างต่อเนื่อง

วิธีปลูกต้นหม่อนกินผลสด

1. เตรียมต้นหม่อนที่จะปลูก (สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายต้นไม้ พันธ์ไม้ต่างๆ หรืออาจทำการปักชำเองก็ได้ ถ้ามีต้นหม่อน)
2. ระยะปลูก ปลูกเป็นแถว แต่ละต้นห่างกัน 4 เมตร เพื่อเผื่อรัศมีทรงพุ่มไว้อย่างน้อย 2.00 เมตร หรือจะปลูกในแปลงพื้นที่สี่เหลี่ยมด้วยระยะปลูก 4.00 x 4.00 เมตรก็ได้
3. การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมลึก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 10 กิโลกรัมต่อหลุม ใส่ปูนโดโลไมท์หรือปูนขาว ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อหลุม และปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 250 กรัมต่อหลุม หรือจะให้แม่นยำต้องใส่ตามค่าการวิเคราะห์ดิน คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วกลบหลุมด้วยหน้าดินให้พูนเล็กน้อย
4. ขุดดินบนหลุมที่เตรียมไว้ให้ลึกพอประมาณ แล้วนำต้นหม่อนที่เตรียมไว้ลงปลูก กลบดินให้แน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

ต้นมัลเบอร์รีให้ผลผลิตได้เต็มที่เมื่อมีอายุครบ 2 ปี ซึ่งระหว่างนั้นเราควรที่จะบำรุงรักษาด้วยการใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยสูตรอย่างสม่ำเสมอ ถ้าต้นมัลเบอร์รีมีความสมบูรณ์จะให้ผลผลิต ประมาณ 1.5-35 กิโลกรัมหรือประมาณ 750-1_850 ผลต่อครั้งต่อต้นเลยทีเดียว

เทคนิคเพิ่มเติมในการปลูกหม่อนให้ได้ผลผลิตดี

การบังคับทรงต้น

ต้นหม่อนที่ปลูกจากกิ่งชำชนิดล้างราก หรือชนิดชำถุง หรือปลูกด้วยท่อนพันธุ์จากกิ่งพันธุ์โดยตรง เมื่อต้นหม่อนเจริญเติบโตได้ประมาณ 6-12 เดือน จะต้องบังคับทรงพุ่มโดยตัดแต่งกิ่งให้เหลือเพียงกิ่งเดียวไว้เป็นต้นตอ มีความสูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร จากพื้นดิน ปล่อยให้หม่อนแตกกิ่งใหม่หลายๆกิ่ง เก็บกิ่งที่สมบูรณ์ไว้ กิ่งที่ไม่สมบูรณ์ให้ตัดทิ้งเพื่อให้ด้านล่างโปร่ง ง่ายต่อการปฏิบัติดูแลรักษาด้านเขตกรรมต่างๆ เช่น การกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การพรวนดิน การตัดแต่งกิ่งแขนงและการเก็บเกี่ยวผลผลิต เป็นต้น อนึ่งสำหรับหม่อนที่ปลูกในปีแรกๆ ลำต้นและระบบรากยังเจริญเติบโตไม่มาก อาจจะหักล้มได้ง่าย ดังนั้นจะต้องทำการยึดลำต้นไว้ด้วยไม้ หรือไม้ไผ่ให้แน่นหนา

การใส่ปุ๋ย

ในปีที่ 2 ให้ใส่ปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ตามการวิเคราะห์ความต้องการปูนขาวของดินเพิ่ม ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 250 กรัมต่อต้น

การให้น้ำ

จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้น้ำหม่อนในระยะที่หม่อนติดผลแล้ว (โดยปกติจะมีฝนหลงฤดูหรือฝนชะช่อมะม่วงผ่านเข้ามา จะทำให้ต้นหม่อนแตกตาติดดอก ถ้าไม่มีฝนหลงฤดู หลังโน้มกิ่ง รูดใบ ต้องให้น้ำกระตุ้นการแตกตาแทนน้ำฝน) หากขาดน้ำจะทำให้ผลหม่อนฝ่อก่อนที่จะสุก หรือทำให้ผลหม่อนมีขนาดเล็ก การตัดแต่งกิ่งและการดูแลรักษาทรงพุ่ม ตัดเฉพาะกิ่งแขนงที่ไม่สมบูรณ์และเป็นโรคทิ้ง เพื่อลดการสะสมโรคและแมลง

การบังคับให้หม่อนติดผลนอกฤดูกาล

ใช้วิธีการบังคับต้นหม่อน เพื่อให้ได้ผลผลิตผลหม่อนในระยะเวลาที่ต้องการ มีวิธีการดังนี้
1. ทำการโน้มกิ่งหม่อนที่ปลูกแบบทรงพุ่ม โดยการโน้มกิ่งให้ปลายยอดขนานกับพื้น หรือโน้มลงพื้นดิน รูดใบหม่อนออกให้หมด พร้อมทั้งตัดยอดส่วนที่เป็นกิ่งสีเขียวออกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ใช้เชือกผูกโยงติดไว้กับหลักไม้ไผ่ ซึ่งปักไว้บนพื้นดินสำหรับยึดเชือกไว้
2. หลังการโน้มกิ่ง 8-12 วัน ดอกหม่อนจะแตกออกพร้อมใบ จากนั้นจะมีการพัฒนาการของ ผลหม่อน โดยผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาว สีชมพู สีแดง และสีม่วงดำ ตามลำดับ โดยใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน ผลจะเริ่มแก่และสุก สามารถเก็บไปรับประทานสดหรือนำไปแปรรูปได้ มีระยะเวลาในการเก็บผลประมาณ 30 วันต่อต้น เพราะผลหม่อนจะทยอยสุก เนื่องจากออกดอกไม่พร้อมกัน เมื่อต้นหม่อนมีอายุตั้งแต่ 2 ปี เป็นต้นไปจะให้ผลผลิตผลหม่อนประมาณ 1.5-35 กิโลกรัม(ประมาณ 750-1_850 ผลต่อครั้งต่อต้น) เพียงพอต่อการบริโภคผลสดทั้งครอบครัวทุกวัน ตลอดปี ซึ่งร่างกายต้องการวันละ 10-30 ผลเท่านั้น อีกทั้งยังมีผลหม่อนสดไว้แปรรูปเป็นอาหารและเครื่องดื่มได้อีกหลายชนิด เช่น น้ำหม่อน แยมหม่อน เชอเบทหม่อน ฯลฯ

ข้อมูลต้นฉบับจาก tnews.co.th/variety/512312/เทคนิคปลูกหม่อนง่ายๆ-ให้ลูกดก-เก็บกินได้ตลอดทั้งปี
อ่าน:3420
203 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 20 หน้า, หน้าที่ 21 มี 3 รายการ
|-Page 20 of 21-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
มะเขือเทศ ใบไหม้ ใบจุด โรคแอนแทครโนส ราน้ำค้าง โรคที่เกิดจากเชื้อราต่างๆ ป้องกันและกำจัดด้วย ไอเอส และปุ๋ย FK-T
Update: 2567/03/19 10:33:27 - Views: 3472
ปลูกมันสำปะหลังอย่างไร ให้ได้ผลผลิตสูง
Update: 2565/02/25 02:32:28 - Views: 3412
โรคใบไหม้มันสำปะหลัง มันสำปะหลังใบไหม้ ฉีดพ่นด้วยไอเอส และบำรุงให้ฟื้นตัวได้รวดเร็ว ด้วย FK-1
Update: 2563/06/08 08:49:24 - Views: 3404
กำจัดเพลี้ย ใน ต้นข้าว เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/04 15:17:34 - Views: 3380
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยแป้ง ในต้นกล้วย และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/30 09:21:24 - Views: 3428
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าไรแดง ในดอกดาวเรือง และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/28 12:28:07 - Views: 3460
ยากำจัดโรคราดำ ใน ฝรั่ง โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/03 11:06:24 - Views: 3423
อาการผิดปกติของมันสำปะหลังที่เกิดจากสารกำจัดวัชพืช
Update: 2564/08/10 12:00:51 - Views: 3479
โรคแก้วมังกรต้นจุด และผลเน่า
Update: 2564/08/19 07:02:48 - Views: 3558
ราสนิมขาวผักบุ้ง โรคผักบุ้งใบไหม้ และโรคราต่างๆ สร้างความเสียหายต่อผลผลิต ควบคุม ป้องกันกำจัดก่อนเกิดความเสียหาย
Update: 2566/11/04 09:56:30 - Views: 9551
เพิ่มความงามและปริมาณดอกกุหลาบด้วยปุ๋ยสตาร์เฟอร์ สูตร 10-40-10+3 MgO
Update: 2567/02/12 14:41:09 - Views: 3490
การป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ในอ้อย อ้อยใบลวก ด้วยสารอินทรีย์
Update: 2566/01/07 07:52:50 - Views: 3446
ขั้นตอนการปลูกข้าวโพดหวาน วิธีปลูกข้าวโพด การให้น้ำข้าวโพดหวาน
Update: 2563/12/27 09:37:25 - Views: 3810
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนแดง ใน พุทรา และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/07 10:55:32 - Views: 3430
การเลือกซื้อ ดาบ คาตานะ ดาบซามูไร ให้ได้คุณภาพดี ในราคาไม่แพง
Update: 2566/10/28 12:32:08 - Views: 9770
ลิ้นจี่ โตไว ใบเขียว เร่งราก เร่งดอก ขยายขนาด ผลใหญ่ ผลดก เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ย สตาร์เฟอร์
Update: 2567/04/01 14:53:38 - Views: 3533
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราดำ ใน พุทรา ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/11 09:08:24 - Views: 3482
กำจัดเชื้อรา ดอกมะลิ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/12 11:17:29 - Views: 3424
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 3 สูตร: พิเศษสำหรับต้นแก้วมังกร
Update: 2567/02/13 08:56:54 - Views: 3463
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 เป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพผล และเพิ่มรายได้
Update: 2567/03/09 10:42:03 - Views: 3524
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022