[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - กำจัดวัชพืช
153 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 15 หน้า, หน้าที่ 16 มี 3 รายการ

โรคราแป้งองุ่น (Powdery mildew)
โรคราแป้งองุ่น (Powdery mildew)
เชื้อรา Oidium tuckeri เป็นเชื้อราสาเหตุของ โรคราแป้งองุ่น ลักษณะอาการ จะเป็นขุยแป้งขี้เถาสีขาว เกิดบนใบ กิ่ง และผล การระบาด จะระบาดในช่วงปลายฤดูฝน-ฤดูหนาว

การป้องกันกำจัดโรคราแป้งองุ่น

1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค

2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน

3. การใช้สารปลอดภัย

3.1 ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

3.2 ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี
[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3445
โรคราน้ำค้างองุ่น (Downy mildew) - โรคองุ่น
โรคราน้ำค้างองุ่น (Downy mildew) - โรคองุ่น
โรคราน้ำค้างองุ่น (Downy mildew) เกิดจากเชื้อ Plasmopara viticola โดยอาการที่แสดงให้เห็นนั้น จะเป็นขุยสีขาวที่ใต้ใบองุ่น ด้านบนใบจะเห็นเป็นสีเหลืองเป็นจ้ำๆ ถ้าเป็นรุนแรงใบจะไหม้ ช่อดอกและผลอ่อนเหี่ยวแห้ง

การระบาดของโรคราน้ำค้างองุ่น : ระบาดในช่วงฤดูฝน หรือในช่วงที่มีความชื้นสูง

การป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้างองุ่น :

1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค

2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน

3. งดให้น้ำในช่วงเย็น

4. ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

5. ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี
[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด
อ่าน:3505
พืชเป็นโรค หมายความว่าอย่างไร ?
การที่พืชแสดงอาการเจริญเติบโตผิดปกติเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมักเรียกว่าพืชนั้นเป็นโรค ซึ่งเกิดได้ จากสาเหตุต่าง ๆ กัน ทั้งนี้เกิดจาก สิ่งมีชีวิต ที่มีขนาดเล็กมาก ได้แก่ เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ เช่น (เชื้อรา (fungi) แบคทีเรีย (bacteria) ไส้เดือนฝอย (nematode) ไฟโตพลาสมา (phytoplasma) ไวรัส (virus)_ ไวรอยด์ (virord) เป็นต้น และสาเหตุที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิตได้แก่ สภาพแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับ การปลูกพืชนั้น ๆไม่เหมาะสมหรือมีความผิดปกติผันแปรไปในลักษณะต่างๆเช่น ปุ๋ย หรือธาตุอาหาร น้ำ สภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โรคพืชที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค อาจเรียกว่าโรคติดเชื้อหรือโรคระบาด และโรคพืชที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เรียกว่า โรคไม่ติดเชื้อ หรือโรคที่ เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต

โรคพืชติดเชื้อหรือโรคระบาด (Infectious diseases)
พืชเป็นโรค (Diseased plants) ในที่นี้จะหมายถึง พืชที่แสดงอาการผิดปกติไป ทั้งในด้านสัณฐานวิทยา (Morphology) และสรีรวิทยา (Physiology) ที่สามารถแพร่ระบาดจาก ดิน เศษซากพืชที่เป็นโรค หรือสปอร์ในอากาศไปยังพืชปกติได้ โดยมีสาเหตุมาจากเชื้อจุลินทรีย์ชนิด ต่างๆ ได้แก่ เชื้อราสาเหตุโรค เชื้อแบคทีเรีย ไส้เดือนฝอยศัตรูพืช เชื้อไวรัส

เชื้อราสาเหตุโรคพืช ลักษณะของเชื้อราทั่วไปจะเป็นเส้นใยคล้ายเส้นด้ายละเอียด เส้นใยแต่ละเส้น มีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น จะเห็นได้เมื่อมีการเจริญเป็นกลุ่มก้อนหรือเมล็ดพันธุ์พืช นั่นคือพร้อมที่จะเจริญและงอก แต่เป็นการเจริญแพร่พันธุ์และงอกได้ในพืช สปอร์เหล่านี้ พร้อมที่จะระบาดจากพืชในพื้นที่หนึ่งไปสู่อีกพื้นที่หนึ่ง โดยมีลม น้ำ หรือมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญในการพัดและ หรือพาไป เมื่อสปอร์เหล่านี้ไปสู่พืชพรรณชนิดต่าง ๆ ที่เหมาะสม สปอร์ก็จะเจริญและงอกเข้าไปในพืช โดยการแทงผ่านผิวพืชเข้าไปในพืชได้โดยตรง หรืองอกแล้วแทงผ่าน เข้าไปตามแผล ที่เกิดขึ้น ตามส่วนต่าง ๆ ของพืช หรือเข้าตามช่องเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบเมื่อเข้าไปแล้ว เชื้อราพวกนี้ก็จะมี การสร้างสารพิษ เอนไซม์ หรือสารกระตุ้นต่าง ๆ ทำลายพืชให้ได้รับความเสียหาย เกิดการเปลี่ยนแปลง ผิดปกติไป ปัจจุบันมีการผลิตสารเคมีเรียกว่าสารควบคุมเชื้อราโรคพืช หรือ Fungicides ใช้ฉีดพ่น ทั้งในลักษณะป้องกันและรักษาก่อนและหลังจากที่พืชเป็นโรค

ในกลุ่มของจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืช เชื้อราจัดเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำความเสียหายให้แก่พืชผลมากที่สุด มีเชื้อรามากกว่า 8_000 ชนิดที่เป็นสาเหตุโรคพืช และมีพืชชั้นสูง และหรือพืชผลทางการเกษตรเกิดโรค เนื่องจากเชื้อราไม่น้อยกว่า 100_000 โรค เชื้อราสามารถแพร่ระบาดไปตามที่ต่าง ๆ ได้โดยติดไปกับ ซากพืชเป็นโรค เมล็ดและหรือท่อนพันธุ์ ดิน ปุ๋ยคอก หรือวัสดุปลูกต่าง ๆ รวมทั้งแพร่ไปกับน้ำ และปลิวไปกับลมได้ดี

สำหรับโรคของพืชป่าไม้ประเทศไทย พบว่ามีเชื้อราที่เป็น Microfungi จำนวนมากที่สามารถเข้าทำลาย พืชป่าไม้ได้ ตั้งแต่ระยะเมล็ด กล้าไม้ และส่วนต่าง ๆ ของลำต้น ได้แก่ ใบ กิ่งก้าน ลำต้น และฝัก โดยขณะนี้พบเชื้อราประมาณ 92 ชนิด จากเมล็ดไม้ 47 ชนิด ; 72 ชนิด จากกล้าไม้ 40 ชนิด และประมาณ 29 ชนิด จากไม้ใหญ่ 9 ชนิด โดยเชื้อราสาเหตุโรคพืชป่าไม้ที่หลากหลายเหล่านี้ สามารถจัดกลุ่มตามลักษณะอาการ ต่าง ๆ ของโรคได้ เช่น โรคเน่าคอดิน (damping off)_ ราสนิม (rust)_ ราแป้ง (powdery mildew)_ จุดนูนดำ (tar sport)_ ใบไหม้ (leaf blight)_ ยอดตาย (dieback)_ แผลแตกตามลำต้น (canker) ฯลฯ เป็นต้น

เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช แบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์เซลล์เดียว มีผนังแข็งห่อหุ้มเซลล์ (cell wall) รูปร่างจึงคงที่ แต่ละเซลล์มีขนาดเล็กมากต้องใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงจะเห็นเซลล์ชัดเจน แบคทีเรียบางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้เองด้วยหาง บางชนิดสามารถ สร้างสปอร์ที่คงทนต่อสภาพแวดล้อม ที่ไม่เหมาะสมได้ แบคทีเรียมีการทวีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วยการแบ่งเซลล์ ส่วนใหญ่แบคทีเรียสาเหตุโรคพืช มีรูปร่างเป็นท่อนสั้นและ ไม่สร้างสปอร์ แต่จะมีชั้นเมือกหรือแคบซูลห่อหุ้มผนังด้านนอกเซลล์อีกชั้นหนึ่ง จึงช่วยให้มีอายุนาน และทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดีขึ้น แบคทีเรียสามารถผลิตสารพิษ และเอนไซม์ทำลายพืชให้ได้รับความเสียหายได้ แบคทีเรียบางชนิดสร้างสารเร่งการเจริญเติบโตไป ทำให้เซลล์พืชเจริญมากผิดปกติ เกิดอาการบวมพอง เป็นปุ่มปม แบคทีเรียเข้าทำลายพืชได้ทางแผล ที่เกิดขึ้นตามผิวพืชและทางช่องเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบ แบคทีเรียมักจะถูกยับยั้งการเจริญได้ง่าย โดยยาปฏิชีวนะแทบทุกชนิด รวมทั้งสารประกอบที่มีธาตุทองแดงเป็นส่วนผสม แบคทีเรียที่เป็น สาเหตุโรคพืชมีประมาณ 200 ชนิด การแพร่กระจายของแบคทีเรียไปสู่ที่ต่าง ๆจะเป็นไปในลักษณะ เช่นเดียวกับการแพร่ระบาดของเชื้อรา

ไส้เดือนฝอยศัตรูพืช ไส้เดือนฝอยเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีขนาดเล็กมากยากที่จะมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า มีลักษณะรูปร่างยาวเรียวเป็นส่วนใหญ่ บางชนิดตัวเมียเมื่อโตเต็มวัย มีลักษณะบวมพอง อ้วนกลม ไส้เดือนฝอยดูดแย่งอาหารจากพืชโดยใช้หลอดดูดอาหารในช่องปาก ที่มีลักษณะเป็นเข็มกลวง ปลายแหลม เรียกว่า spear หรือ stylet บางชนิดเกาะติดอยู่ภายนอกส่ง เฉพาะ stylet เข้าไป ดูดอาหารในเซลล์พืช บางชนิดปักเฉพาะส่วนปากและหัวเข้าไป บางชนิดเข้าไปอยู่ในพืชทั้งตัว ทำให้พืชเป็นโรคโดยทำลายเซลล์พืช หรือไปเปลี่ยนแปลงขบวนการเจริญเติบโตของพืชให้ผิดปกติไป

เชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคพืช เริ่มมีรายงานว่าเป็นเชื้อสาเหตุโรคได้ เมื่อ พ.ศ. 2503 มีเซลล์เดียวและมีเฉพาะ เนื้อเยื่อห่อหุ้มเซลล์ แต่ไม่มีผนังล้อมรอบ ทำให้รูปร่างของเซลล ์ไม่แน่นอน จะพบอยู่ในเซลล์พืชเท่านั้น โดยเฉพาะที่ท่อลำเลียงอาหารทำให้พืชแสดงอาการเหลืองผิดปกติ เชื้อแพร่ระบาดได้ดี โดยมีแมลงพวกปากดูดเป็นพาหะพาไป โดยเฉพาะเพลี้ยจักจั่น ซึ่งเชื้อนี้จะเจริญ
และทวีจำนวน ในตัวแมลงได้ ลักษณะเฉพาะของเชื้ออีกประการหนึ่ง คือ มีสารปฏิชีวนะเพียงชนิดเดียว เท่านั้นที่สามารถยับยั้งการเจริญ หรือฆ่าเชื้อบนพืชได้ คือ สารเตตราไซคลีน (tetracycline) ปัจจุบันมีรายงานพบ เชื้อไฟโตพลาสมามากกว่า 80 ชนิดเป็นสาเหตุโรคของพืชกว่า 300 ตระกูล

เชื้อไวรัสและไวรอยด์สาเหตุโรคพืช ไวรัสและไวรอยด์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุด อนุภาคของไวรัสมีเฉพาะกรดนิวคลีอิค (nucleic acid) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาร์เอ็นเอ และโปรตีน เป็นส่วนประกอบเท่านั้น ไวรอยด์ไม่มีโปรตีนมีแต่อาร์เอ็นเอ (RNA) จะมองเห็นได้ เมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษ (Electron Microscopes) กำลังขยาย 2_000-3_000 เท่า มีรายงานว่าพบไวรัสไม่น้อยกว่า 500 ชนิด ที่สามารถเข้าทำลายและเป็นสาเหตุโรคพืชได้

โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต

สาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิตเนื่องจากสภาพแวดล้อมได้แก่ การขาดแร่ธาตุอาหาร การได้รับพิษจากสารเคมีมากเกินไป ความเสียหาย เนื่องจากพืชได้รับอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป ความแห้งแล้ง ไฟป่า เป็นต้น อาการผิดปกติเนื่องจากสาเหตุเหล่านี้ บางครั้งพืชแสดงอาการคล้ายกัน กับโรคติดเชื้อ เช่น อาการขาดแร่ธาตุบางชนิด แสดงอาการซีดเหลืองคล้ายกับที่เกิดจากเชื้อไวรัส และมายโคพลาสมา และอาการเป็นพิษจาก สารเคมีที่ทำให้เกิดแผลคล้ายที่เกิดจากเชื้อรา เป็นต้น ทำให้เกิดการสับสนได้ จึงมีความจำเป็นต้องทำการตรวจวินัจฉัยอย่างละเอียดก่อนสรุปว่า เกิดจากสาเหตุใดแน่

การขาดแร่ธาตุอาหารในพืช

เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของโรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต พืชจะแสดงอาการขาดธาตุอาหารเมื่อสภาพดินที่ปลูกขาดแร่ธาตุชนิดนั้น ๆ หรืออย ใน สภาพที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้เนื่องจากสภาพความเป็นกรดเป็นด่างไม่เหมาะสม ลักษณะอาการพืชที่ขาดธาตุบางชนิดอาจสรุปได้ดังนี้

ขาดธาตุไนโตรเจน พืชเจริญเติบโตช้า ใบมีสีซีดเหลืองทั่วทั้งต้นเริ่มจากใบล่างก่อน
ขาดธาตุฟอสฟอรัส พืชเจริญเติบโตช้า ใบมีสีเขียวเข้มหรือม่วงบริเวณใบล่าง ๆ ลำต้นมียอดสั้น
ขาดธาตุโพแทสเซียม ต้นพืชมียอดน้อยใบล่างซีดเหลือง ขอบใบม้วนขึ้นปลายใบและขอบใบแห้งมีสีน้ำตาล ผลมีขนาดเล็กลง
ขาดธาตุแมกนีเซียม ใบแก่ แสดงอาการซีดเหลืองหรือแดงบริเวณขอบใบและปลายใบก่อน ใบมีสีซีดเหลืองเป็นรูปตัววีหัวกลับ ขอบใบ ม้วนขึ้น
ขาดธาตุแคลเซียม ใบอ่อนบิดงอ ชะงักการเจริญเติบโต แสดงอาหารบิดม้วนขอบใบฉีก ตายอดแห้งตายลำต้นมีรากน้อย ทำให้ผลแตกใน ไม้ผลหลายชนิด
ขาดธาตุโบรอน ทำให้ก้านใบอ่อนแตกและหัก ใบบิดงอ ราก ลำต้น และผลแสดงอาการแผลแตก ลำต้นเป็นรูกลวง และเมล็ดลีบในผักหลายชนิด
ขาดธาตุกำมะถัน ใบอ่อนมีสีซีดเหลืองทั่วทั้งใบ
ขาดธาตุเหล็ก ใบอ่อนมีสีซีดเหลืองแต่เส้นใบยังคงมีสีเขียว
ขาดธาตุสังกะสีี ใบด่างเหลืองระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กเกิดเป็นกระจุก
การวินิจฉัยการขาดธาตุในพืชอาจทำได้โดยการวิเคราะห์จากเนื้อเยื่อพืช (tissue analysis) จากใบที่สร้าง ใหม่ ๆ แล้วเปรียบเทียบกับค่า มาตรฐานที่วิเคราะห์ได้จากพืชปกติ การวิเคราะห์ดินและ วัดระดับความเป็นกรดเป็นด่างในดิน จะช่วยในการเตรียมป้องกันการขาดธาตุอาหาร ในพืชได้

การมีธาตุอาหารมากเกินไป

ธาตุอาหารที่พืชมีความต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อาจเกิดการสะสมทำให้เกิดความเข้มข้น ในเนื้อเยื่อพืชสูง ขึ้นจนถึงขั้นที่เป็นพิษ กับพืช เช่น การมีธาตุโบรอน (B) มากเกินไป ทำให้พืชเกิดอาการ ใบเหลืองขึ้นเป็นแห่ง ๆ เนื่องจากขาด chiorophyll เริ่มจากปลายใบแล้วจึง ลุกลามไปตามของใบเกิด
การไหม ้และใบร่วงหล่นได้ เป็นต้น

สภาพของภูมิอากาศไม่เหมาะสม

1. การขาดน้ำหรือมีน้ำอยู่มากเกินไป พืชที่ประสบกับความแห้งแล้งของอากาศจะมีอาการใบเหลือง ใบมีสีม่วง ใบเหี่ยวย่น และตายอย่างรวดเร็ว และใบไหม้ระหว่างเส้นใบ และตามขอบใบ หรือถ้าเกิดการแห้งแล้ง อย่างรุนแรง ใบจะเหี่ยวแห้งตาย ใบและผลของไม้ยืนต้นจะหลุดร่วงก่อนกำหนด การตายของใบและผล อาจเนื่องจากการขาดน้ำภายในเซลล์ทำให้ความเข้มข้นของธาตุเพิ่มขึ้นจนเป็นพิษ ในไม้ยืนต้น ผลของ ความแห้งแล้งมักจะปรากฏในฤดูถัดไป โดยเกิดการตายแบบตายจากปลายยอด (dieback) ของกิ่งก้าน ความชื้นในดินที่มากเกิน ทำให้โรคบางชนิดเกิดได้ง่าย เช่น รากเน่า ในดินที่มีการระบายน้ำไม่ดีจะมีไนไตรท์ (nitrite) สูง และเป็นพิษกับพืช พืชจะเจริญเติบโตช้า ใบเหลือง ในไม้ยืนต้นใบจะร่วงและเกิดอาการ dieback ของยอด
2. อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไป อุณหภูมิที่ต่ำทำให้เกิดผลเสียแก่พืช คือ อุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิต่ำสุด ที่พืชจะเจริญได้ ทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงาน (metabolism) ช้าลง มีผลทำให้พืชโตช้า ถ้าเกิดติดต่อกันยาวนาน พืชจะตายก่อนกำหนด หรืออุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0 องศา เซลเซียส อาจจะฆ่าต้นพืช เพราะน้ำที่อยู่ระหว่างเซลล์และภายในเซลล์กลายเป็นน้ำแข็งใบของต้นพืชที่ถูกกับอุณหภูมิที่ร้อนจัดมากเกินไป จะสูญเสียน้ำ และเนื้อเยื่อจะตาย โดยเริ่มที่ปลายใบก่อนเป็นที่ขอบใบ ต้นพืชจะเหี่ยวอย่างรวดเร็ว อาการที่พบ คือ เกิดแผลพอง (scald) ที่ผล และอาการแผลแตก (heat canker) ที่ลำต้น

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่เหมาะสม

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่เหมาะสมและถูกต้องอาจเป็นสาเหตุที่ทำความเสียหายแก่พืช เช่น การใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรต่าง ๆ ได้แก่ ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ (สารกำจัดเชื้อสาเหตุโรค สารกำจัดแมลง และสารกำจัดวัชพืช) โดยอาจใช้ในอัตราที่เข้มข้นสูงเกินไป เลือกสารไม่ เหมาะสมกับพืช ซึ่งจะทำให้พืชแสดงอาการใบไหม้หรือใบจุดได้

# https://www.dnp.go.th/ foremic/fmo/pathology_knl.htm
อ่าน:3385
โรคไวรัสมะละกอ
โรคไวรัสมะละกอ
โรคไวรัสมะละกอ ไม่มียารักษาโดยตรง ป้องกันได้โดยการกำจัดเพลี้ย ซึ่งเป็นแมลงพาหะ

การป้องกันโรคไวรัสมะละกอที่ดี เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลง ทำความสะอาด กำจัดวัชพืชในแปลงและบริเวณรอบๆแปลงปลูก

หากพบต้นมะละกอ ที่เป็นโรคไวรัสมะละกอ รีบขุดถอน และเผาทำลายนอกแปลงทันที และหมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สัมผัสต้นมะละกอที่เป็นโรค ก่อนนำมาใช้อีกครั้งหนึ่ง

สำหรับพื้นที่ ที่มีการระบาดของโรคไวรัสมะละกอ หากเป็นไปได้ ให้หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของสาเหตุโรค เช่น พืชตระกูลแตง มะเขือเทศ ตำลึง และพืชตระกูลถั่วเป็นต้น ควรหาพืชอื่นๆมาปลูกหมุนเวียนแทน

เนื่องจากโรคไวรัสมะกอ ไม่มียารักษาโดยตรง เราป้องกันได้โดยการ ป้องกันกำจัดพาหะนำโรค อันได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อนฝ้าย และเพลี้ยต่างๆ โดยการฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัด เพลี้ย แมลงศัตรูพืชจำพวกปากดูด ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุกๆ 3-7 วัน หมั่นสังเกตุ เมื่อเห็นว่าจำนวนเพลี้ยลดลงแล้ว เว้นระยะการฉีดพ่น เป็นระยะป้องกัน ทุก 15-30 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า บริเวณแปลงรอบข้าง หรือในหมู่บ้านตำบล มีการระบาดของเพลี้ยหรือไม่

ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ มาคา เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูของพืช จากโรคและแมลง ทำให้เจริญเติบโตดี และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อ่าน:3640
โรคใบไหม้ในมันฝรั่ง มันฝรั่งใบไหม้ ป้องกันและกำจัดได้อย่างไร
โรคใบไหม้ในมันฝรั่ง มันฝรั่งใบไหม้ ป้องกันและกำจัดได้อย่างไร
ระวังโรคใบไหม้ในมันฝรั่ง

สภาพอากาศเย็นและมีฝนตกบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งเฝ้าระวังโรคใบไหม้ สามารถพบได้ในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น มักพบแสดงอาการของโรคที่ใบล่างก่อน โดยอาการเริ่มแรกด้านบนใบเป็นจุดฉ่ำน้ำสีเขียวเข้มคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ ตรงกลางแผลแห้งเป็นสีน้ำตาล ขอบแผลฉ่ำน้ำสีดำ เมื่อพลิกดูด้านใต้ใบในบริเวณตรงกันจะพบละอองน้ำเล็กสีขาวใสติดอยู่บริเวณขอบแผล และแผลจะขยายลุกลามออกไปจนทำให้ใบไหม้แห้งเป็นสีน้ำตาลในที่สุด

กรณีสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ อากาศเย็นและมีความชื้นสูง หรือในสภาพที่มีหมอกลงจัด โรคใบไหม้จะลุกลามอย่างรวดเร็วไปยังต้นอื่นๆ ทำให้มองเห็นใบไหม้แห้งกระจายเป็นหย่อมในแปลง ส่วนลำต้นและกิ่งก้านที่พบอาการของโรค แผลจะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ ถ้าอาการรุนแรง จะทำให้ลำต้นหรือกิ่งก้านหักพับและแห้งตายอย่างรวดเร็ว หากโรคใบไหม้เข้าทำลายที่หัว จะทำให้หัวเน่า

เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบต้นที่แสดงอาการของโรคให้ถอนแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก หากพบโรคเริ่มระบาด

ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร สามารถผสม FK-1 สำหรับฟื้นฟูส่งเสริมการเจริญเติบโต ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน

ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน และคอยสังเกตุว่าโรคหยุดการลุกลามหรือไม่ หลีกเลี่ยงการพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และควรใช้สลับชนิด เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อราสาเหตุโรค

สำหรับในแปลงที่พบการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เกษตรกรเก็บซากพืชที่ตกค้างอยู่ในแปลงนำไปทำลายนอกแปลงปลูก และให้ใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรเมื่อใช้ในแปลงที่มีการระบาดแล้ว ให้นำเครื่องมือมาทำความสะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุกครั้ง จากนั้นให้ไถพรวนดินและตากดินไว้นาน 1-2 สัปดาห์ เพื่อจะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในดิน หลีกเลี่ยงการปลูกมันฝรั่งในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน และงดการให้น้ำในตอนเย็นและการให้น้ำที่มากเกินไป อีกทั้งควรปรับระยะปลูกไม่ให้แน่นเกินไป เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค

Reference
Main content from: thethaipress.com/2020/27559/
อ่าน:3452
โรคใบไหม้ในทุเรียน โรคใบติดทุเรียน เกิดได้ง่าย ในช่วงอากาศร้อน ปนฝน
โรคใบไหม้ในทุเรียน โรคใบติดทุเรียน เกิดได้ง่าย ในช่วงอากาศร้อน ปนฝน
สภาพอากาศร้อนชื้น เวลากลางวันมีแดดจัด และมีฝนตกในบางพื้นที่ช่วงนี้ แนะนำให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนเฝ้าระวัง การระบาดของโรคใบไหม้หรือโรคใบติด สามารถพบได้ในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น อาการเริ่มแรกจะพบบนใบมีแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน จากนั้นจะลุกลามไปยังใบปกติข้างเคียง กรณีที่มีความชื้นสูงเชื้อราสาเหตุโรคจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุมยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรคจะแห้งติดอยู่กับกิ่งก่อนหลุดร่วงไปสัมผัสกับใบที่อยู่ด้านล่าง ทำให้โรคระบาดลุกลามจนใบไหม้เห็นเป็นหย่อมๆ ใบแห้งติดกันเป็นกระจุกแขวนค้างตามกิ่ง ต่อมาใบจะร่วงจนเหลือแต่กิ่ง และกิ่งแห้งในที่สุด ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคใบไหม้ เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดของโรคใบไหม้ ให้เกษตรกรตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่นนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสะสมในแปลง จากนั้น ให้เกษตรกรพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้นด้วย สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อนำ้ 20ลิตร สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมในคราวเดียวกัน เพื่อฟื้นฟู บำรุงพืช จากการเข้าทำลายของโรคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ส่วนในแปลงปลูกที่มีความชื้นสูง และมีการระบาดของโรคเป็นประจำ หลีกเลี่ยง การใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อลดการแตกใบของต้นทุเรียน จากนั้น ให้เกษตรกรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และช่วยลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก อีกทั้งควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง

Reference
Main content from: technologychaoban.com
อ่าน:3425
กล้วยใบม่วงหลังใบอ่อน เกิดจุดกระเป็นริ้วเขียวอมเหลือง เพราะ กล้วยขาดธาตุสังกะสี
กล้วยใบม่วงหลังใบอ่อน เกิดจุดกระเป็นริ้วเขียวอมเหลือง เพราะ กล้วยขาดธาตุสังกะสี
กล้วยเนื้อเยื่อตาย เพราะขาดธาตุสังกะสี (Zn)

อาการที่บ่งบอกว่ากล้วย ขาดธาตุสังกะสี แสดงให้เห็นตรงระหว่างเส้นใบ มีอาการใบเหลือง และลามออกไปทั่วทั้งใบ และเกิดเป็นจุดกระเป็นริ้ว เขียวอมเหลือง อาการจะเริ่มจากใบอ่อนของกล้วย สังเกตุเห็นแต้มจางสีม่วงหลังใบอ่อน ต้นกล้วยจะเรียงกาบใบเป็นชั้นแคบๆ เครือกล้วยมีขนาดเล็ก รูปร่างผิดปกติ ผลกล้วยสั้นเล็กเหมือนนิ้วมือ

อาการขาดธาตุสังกะสี (Zn) พบบ่อยที่สุด เมื่อเทียบกับการขาดธาตุอาหารอื่นๆในพืช

อาการใบเหลือง พบเช่นกันเมื่อ ขาดธาตุ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม แมงกานีส เหล็ก
แต่การขาดธาตุสังกะสี มักพบบ่อยที่สุด

การขาดธาตุสังกะสี สับสนได้ง่ายกับ โรคไวรัส เหรือผลข้างเคียงกับการใช้สารกำจัดวัชพืช

สังกะสี มีหน้าที่สำคัญ

ส่วนใหญ่สำคัญต่อการทำงานของเอนไซม์และก็สำคัญสำหรับการสังเคราะห์ฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตด้วย ส่งผลกระทบหลักต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้วย ผลผลิตและคุณภาพ ธาตุสังกะสีเป็นหนึ่งในธาตุอาหารรองที่สำคัญที่สุดในการผลิตกล้วยและมีรายงานว่าขาดธาตุนี้อย่างแพร่หลาย

Reference: main content from yara.co.th
อ่าน:3476
การควบคุมศัตรูพืชไม่มีวิธีการใดดีท่ีสุด ต้องใช้หลักการผสมผสาน
การควบคุมศัตรูพืชไม่มีวิธีการใดดีท่ีสุด ต้องใช้หลักการผสมผสาน
ควรเลือกวิธีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก ชนิดผัก ระยะเวลาปลูก ชนิดแมลง ลักษณะการทำลาย พฤติกรรมของแมลง การแพร่ระบาด และความจำเป็นของการควบคุม

วิธีเขตกรรม

ปลูกพืชหมุนเวียน ใช้พันธุ์ต้านทาน ทำลายแหล่งอาศัยของแมลงปลูกพืชอื่นสลับกับแปลงผัก จัดการเวลาปลูกและเก็บเกี่ยวทำความสะอาดแปลงปลูก เว้นระยะปลูกเหมาะสม

ตากดิน

หญ้า/วัชพืชเป็นพืชอาศัยของโรค-แมลง ควรไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช ตากดินโดยยกแปลงเป็นรูปสามเหลี่ยมให้โดนแสงแดดมากที่สุดประมาณ 1 สัปดาห์ พลิกกลับดิน เพื่อกำจัดไข่หรือดักแด้ของแมลงที่อยู่ลึกใต้ดินและยังช่วยกำจัดเชื้อราแบคทีเรีย สาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า

ใช้กับดัก

กับดักแสงไฟล่อผีเสื้อกลางคืน กับดักกาวเหนียว

กางมุ้ง

ป้องกันได้ 50%
(แมลงบางตัววางไข่บนดิน ถ้าตากดินไม่ดีพอ ป้องกันไม่ได้)

ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ

ใช้ มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและกำจัดแมลง สม่ำเสมอตามสภาพการระบาดของ เพลี้ย แมลงศัตรูพืช

Reference: main content from nstda.or.th
อ่าน:3982
เพลี้ยองุ่น เพลี้ยไฟองุ่น ดูกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน และช่อผลอ่อน เกิดแผลสีน้ำตาล ยอดแคระแกร็น ชะงักการโต เร่งป้องกันกำจัด
เพลี้ยองุ่น เพลี้ยไฟองุ่น ดูกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน และช่อผลอ่อน เกิดแผลสีน้ำตาล ยอดแคระแกร็น ชะงักการโต เร่งป้องกันกำจัด
เพลี้ยไฟ (Thrips)

การเข้าทำลาย : ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อผลอ่อน

ลักษณะอาการ : เกิดแผลสีน้ำตาลบริเวณยอดอ่อนและใบ คล้ายกับอาการไหม้ ระยะผลอ่อนมีลักษณะเป็นสะเก็ดแผลตามผิวผล หากเพลี้ยไฟเข้าทำลายตั้งแต่ระยะแตกตา-แตกยอดอ่อน ส่งผลให้ต้นองุ่นชะงักการเจริญเติบโต ยอดแคระแกร็น

การระบาด : ระบาดสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง

การป้องกันกำจัด :

1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบเพลี้ยไฟ โดยเฉพาะช่วงแตกใบอ่อนและติดผลอ่อน

2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน

3. ฉีดพ่นด้วย มาคา สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดเพลี้ย ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน หมั่นสั่งเกตุอาการ ควรหายาอื่นๆ มาสลับใช้ หากจำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการดื้อยา

✅ ปลอดสารพิษ ✅ จากธรรมชาติ ✅ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค

🚚 มีบริการเก็บเงินปลายทางฟรี ไม่ต้องโอน

📞 โทรสอบถามหรือสั่งซื้อ 090-592-8614

👉 แอดไลน์ไอดี FarmKaset หรือคลิก http://www.farmkaset..link..

👉 สอบถามสั่งซื้อทางเพจ ฟาร์มเกษตร หรือคลิก http://www.farmkaset..link..

reference: main content from hrdi.or.th
อ่าน:3549
มะยงชิดใบไหม้สีน้ำตาล มะปรางหวานใบไหม้ โรครามะยงชิด
มะยงชิดใบไหม้สีน้ำตาล มะปรางหวานใบไหม้ โรครามะยงชิด
อากาศร้อน และมีฝนตกในบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกมะปรางและมะยงชิดให้ระวังโรคแอนแทรคโนส มักพบเชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ใบ พบแผลรูปร่างไม่แน่นอน ขอบแผลชัดเจนสีน้ำตาลเข้ม กลางแผลสีน้ำตาลอ่อนบางใสกว่าเนื้อใบรอบๆ กรณีมีความชื้นสูง แผลจะเพิ่มจำนวนขยายใหญ่อย่างรวดเร็วติดต่อกันทั้งใบ ทำให้ใบบิดเบี้ยวหรือไหม้แห้ง หากรุนแรงถึงระยะออกดอก เชื้อราสาเหตุโรคจะเข้าทำลายช่อดอก โดยเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลดำกระจายบนก้านดอก ทำให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วงไม่ติดผล ผลอ่อน จะพบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำและ ร่วงหล่น เชื้อราสาเหตุโรคจะแฝงอยู่ที่ผลอ่อนโดยไม่แสดงอาการของโรค แต่จะแสดงอาการเมื่อผลแก่ โดยพบจุดแผลสีดำเล็กๆ ต่อมาแผลขยายลุกลามและบริเวณแผลอาจพบรอยแตก ทำให้ผลเน่าในที่สุด

เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบพืชเริ่มมีอาการของโรค ให้ตัดแต่งกิ่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค และกำจัดวัชพืชรอบโคนต้น เพื่อลดความชื้นในทรงพุ่ม จากนั้น ให้ควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสม ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนมากเกินไป ภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง โดยเฉพาะกิ่งที่เป็นโรค และเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคในฤดูกาลผลิตต่อไป

สำหรับแหล่งปลูกที่พบการระบาดของโรคเป็นประจำ จะพบในช่วงแตกใบอ่อน เริ่มแทงช่อดอก และหลังติดผลอ่อน เกษตรกรควรพ่นในช่วงติดผลด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอะซอกซีสโตรบิน 25% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโพรคลอราซ 45% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน หากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค คือ มีฝนตกและอากาศร้อนชื้น ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชดังกล่าว เพื่อป้องกันการระบาดของโรค และควรหยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่น้อยกว่า 15 วัน หลีกเลี่ยงการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชในระยะดอกบาน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อแมลงช่วยผสมเกสรของพืช

ป้องกัน ยับยั้งด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร

📌 ไอเอส ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.farmkaset..link..
📌 ไอเอส ข้อมูลรายละเอียด และโปรโมชั่น ที่ลิงค์นี้นะค่ะ http://www.farmkaset..link..
✅ ปลอดสารพิษ ✅ จากธรรมชาติ ✅ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค

🚚 มีบริการเก็บเงินปลายทางฟรี ไม่ต้องโอน

📞 โทรสอบถามหรือสั่งซื้อ 090-592-8614

👉 แอดไลน์ไอดี FarmKaset หรือคลิก http://www.farmkaset..link..
👉 สอบถามสั่งซื้อทางเพจ ฟาร์มเกษตร หรือคลิก http://www.farmkaset..link..
ขอบคุณข้อมูลจาก stock.newsplus.co.th/186810
อ่าน:3471
153 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 15 หน้า, หน้าที่ 16 มี 3 รายการ
|-Page 14 of 16-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
การให้ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับต้นพุทรา: วิธีการและสูตรที่เหมาะสม
Update: 2566/11/18 09:03:29 - Views: 3413
ทุเรียนใบไหม้ มีสาเหตุมาจากโรคเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส ราฝ่อ หยุดลุกลาม
Update: 2563/10/28 14:21:37 - Views: 3706
ฮิวมิค แอซิด: เทคโนโลยีใหม่สำหรับฟื้นฟูระบบรากและปรับปรุงดินในการปลูกมะปราง
Update: 2567/02/13 09:52:05 - Views: 3418
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรครากเน่า ใน ดอกโป๊ยเซียน ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/18 10:34:00 - Views: 3556
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในผักกาดหอม
Update: 2566/05/13 09:57:14 - Views: 3411
โรคราดำทุเรียน ป้องกันราดำทุเรียน แก้ราดำทุเรียน ติดต่อ ไลน์ @FarmKaset
Update: 2565/03/02 00:24:03 - Views: 3399
โรคมันสำปะหลัง มันสำปะหลังขาดธาตุสังกะสี ทำให้โตช้า พบจุดขาว หรือเหลืองบนใบอ่อน ใบย่น ขาดรุนแรงอาจตายได้
Update: 2564/03/07 00:03:14 - Views: 3558
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในพืชพริกไทย
Update: 2566/05/06 11:18:43 - Views: 3428
โรคราแป้งทุเรียน (Powdery Mildew)
Update: 2564/06/17 17:48:13 - Views: 3453
เพิ่มผลผลิตบวบ ปุ๋ยบำรุงบวบ ปุ๋ยน้ำสำหรับบวบ ปลูกบวบ ผลผลิตดี ฉีดพ่น FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/10/01 04:22:42 - Views: 3410
การดูแลสวนกาแฟเพื่อให้ต้นโตไวและได้ผลผลิตสูง ด้วยฮิวมิค FK เสริมฟลูวิค และปุ๋ยทางใบ FK-1
Update: 2567/11/06 14:24:57 - Views: 23
อะโวคาโด้ ผลใหญ่ ผลดก ด้วย ปุ๋ย สตาร์เฟอร์ 0-0-60 โพแทสเซี่ยม สูตรเร่งผล เพิ่มผลผลิต ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก และคุณภาพ
Update: 2567/04/29 10:32:42 - Views: 3460
ยาแก้ โรคแตงโมเถาเหี่ยว ยารักษา โรคราน้ำค้างแตงโม โรคต่างๆจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส
Update: 2564/09/24 11:21:59 - Views: 3437
คู่มือป้องกันกำจัดโรคราต่างๆในแมคคาเดเมีย แมคคาเดเมียใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ราต่างๆ
Update: 2566/05/01 15:18:59 - Views: 10192
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าด้วงเต่าแตง ในแตงกวา และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/27 14:06:44 - Views: 3564
วิธีปลูกทุเรียนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว
Update: 2564/05/31 08:12:06 - Views: 4129
ยาแก้โรคเน่า ทานตะวันงอก ต้นอ่อนทานตะวัน โรคทานตะวันอ่อน ที่เกิดจากเชื้อราต่างๆ
Update: 2563/06/25 09:41:19 - Views: 3554
เทคนิคการบำรุง สวนมะพร้าว ให้ได้ผลผลิตสูง
Update: 2567/11/07 09:02:03 - Views: 65
เผือก ใบไหม้ ใบจุดตากบ ใบจุดตาเสือ กำจัดโรคเผือก จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/25 11:06:39 - Views: 3647
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 : สูตรลับผลใหญ่ ผลดก เพิ่มน้ำหนัก และคุณภาพสำหรับมะไฟของคุณ
Update: 2567/03/13 12:01:10 - Views: 3474
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022