[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - กำจัดวัชพืช
153 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 15 หน้า, หน้าที่ 16 มี 3 รายการ

🎗โรคไวรัส ในพืชต่างๆ ไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง ให้ป้องกันกำจัดแมลงพาหะ และบำรุงพืชให้แข็งแรง
🎗โรคไวรัส ในพืชต่างๆ ไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง ให้ป้องกันกำจัดแมลงพาหะ และบำรุงพืชให้แข็งแรง
ในความเป็นจริงแล้ว การดูแล บำรุงพืช ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง โดยการให้ ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม อย่างครบถ้วน ในสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นการเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงไปด้วยในตัว เป็นเช่นเดียวกับ เด็กวัยเจริญเติบโต ที่ได้รับอาหารครบ 5 หมู่ บางคนยังทานวิตามินบำรุงด้วย ย่อมทำให้ ส่งเสริมการเจริญเติบโต มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่ป่วยบ่อย เหมือนเด็กที่ไม่สมบูรณ์ ขาดสารอาหาร

พืชต่างๆ หากได้รับแต่ปุ๋ยเชิงเดียว ที่มีแต่ ไนโตรเจน (N) หรือให้เฉพาะปุ๋ยที่มีเฉพาะธาตุหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม (N P K) เปรียบเทียบแล้วก็คล้ายกับ เด็กที่ทานเฉพาะอาหารอย่างเดียวซ้ำๆ ก็คือ อิ่ม โตขึ้นได้ แต่มีร่างกายที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง เมื่อเป็นโรค ก็ให้ยารักษา ก็อาจจะหายช้า หรือไม่หาย ถึงแม้หาย ก็เจ็บป่วยซ้ำอยู่บ่อยๆ เจ็บป่วยออดๆแอดๆ แต่หากในขณะที่รักษาให้เริ่มฟื้นตัวแล้ว ลองบำรุง ให้อาหารจนครบ 5 หมู่ ทานอาหารเสริมที่เป็นประโยชน์บ้าง และปรับพฤติกรรมการทานอาหาร เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็น คนที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงได้ ในทางด้านพืชนั้น อย่างที่กล่าวข้างต้น เรามักจะให้ปุ๋ยทั่วไป ที่ประกอบด้วยเฉพาะ N P K แต่ในความเป็นจริงแล้ว อีกหลายธาตุ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต จำเป็นต่อการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ สร้างคลอโรฟิลล์ สังเคราะห์แสง และบางธาตุ ก็ส่งเสริมให้พืช นำธาตุอาหารหลัก ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ยกตัวอย่างธาตุอาหารพืช ที่จำเป็นเช่น แคลเซียม (ca) แมกนีเซียม (Mg) สังกะสี (Zn) และยังมีอีกหลายธาตุ ซึ่งหากพืชที่ปลูกอยู่ ไม่เคยได้รับ และวันนึงได้รับ จะส่งผลให้พืชโตขึ้น และแข็งแรงขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจาก ธาตุที่พืชไม่เคยได้รับเหล่านี้ เมื่อได้รับลงไป จะช่วยปลดปล่อยธาตุหลัก ที่พืชได้รับอยู่ตลอด แต่นำไปใช้ไม่ได้ ไปกระตุ้นให้พืช นำไปใช้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งใน FK-1 จะประกอบไปด้วยทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน นอกจากจะเป็นให้ธาตุอาหารพืชที่จำเป็นโดยตรงแล้ว ยังกระตุ้นให้พืช นำทุกธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ในดิน ไปใช้ได้อย่างเต็มที่

โรคไวรัส ที่เกิดกับพืชต่างๆ

ในที่นี้ประกอบด้วย โรคใบหงิกเหลือง โรคใบด่างเรียวเล็ก โรคใบด่าง และโรคเหี่ยวลาย สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืชต่างๆ เช่น โรคไวรัสมะละกอ มะละกอใบด่าง โรคไวรัสด่างวงแหวนมะละกอ โรคใบด่างเรียวเล็กในมะเขือเทศ โรคมะเขือเทศเหี่ยวลาย โรคไวรัสใบด่างเหลืองในถั่ว ในพืชตระกูลถั่ว โรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง โรคไวรัสใบด่างแตง ในพืชตระกูลแตง โรคไวรัสใบด่างผักกาด โรคไวรัสใบด่างแคระข้าวโพด และยังมีโรคไวรัสใบด่าง ในพืชอื่นๆอีกหลายพืช

กรณีโรคใบหงิกเหลือง จะพบใบยอดและใบอ่อนหดย่นหงิกสีเหลือง ขอบใบม้วนงอ ยอดเป็นพุ่ม ใบแตกใหม่เล็ก ต้นแคระแกร็น ไม่ติดผล หรือติดผลน้อยมาก ส่วนโรคใบด่างเรียวเล็ก มักพบใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อน ม้วนงอ ต่อมาใบเรียวเล็กกว่าปกติ หากรุนแรงมาก ใบจะเรียวเล็กเหลือแต่เส้นกลางใบ ต้นชะงักการเจริญเติบโต ไม่ติดผล หรือมีผลเล็ก ถ้าเกิดโรคในระยะกล้า จะทำให้ต้นแคระแกร็น ไม่ติดผล

สำหรับโรคใบด่าง จะมีใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือสีเหลือง ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง หากเกิดโรคในระยะกล้า ต้นแคระแกร็น ใบเล็กและลดรูป ในส่วนของโรคเหี่ยวลาย มักพบใบมีแผลเนื้อเยื่อตายสีน้ำตาลเข้มหรือดำกระจายทั่วทั้งใบ หรือเกิดรอยด่างสีเหลือง ใบยอดด่างและยอดสั้น ใบอ่อนแห้งตายจากปลายใบเข้าหาโคนใบ ใบแก่มีสีเหลืองขนาดเล็กกว่าปกติ ตามแนวยาวของลำต้นและก้านใบมีรอยขีดสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลเสียรูปทรง ผิวผลพบเนื้อเยื่อตายเป็นวง กรณีรุนแรง กิ่งและลำต้นเปลี่ยนเป็นสีดำ เหี่ยวเฉา และตายในที่สุด

ในพื้นที่ที่พบการระบาดของโรคนี้ ให้เกษตรกรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อไวรัสและแมลงพาหะ ถ้าพบต้นที่เป็นโรคให้ถอนแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที ควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว ให้เก็บเศษซากพืชส่วนที่หลงเหลือในแปลงไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก หากพบโรคในแปลงที่จะปลูกฤดูถัดไป ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อใกล้แปลงปลูก เช่น ขึ้นฉ่าย ยาสูบ งา กะเพราขาว ตำลึง หงอนไก่ บานไม่รู้โรย ทานตะวัน พืชตระกูลแตง พืชตระกูลถั่ว และพืชตระกูลมะเขือ อีกทั้งควรเลือกใช้กล้าพันธุ์พืชที่ต้านทานโรค แข็งแรง และปลอดโรคมาปลูก

เชื้อไวรัสโรคพืช ยังไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง

ป้องกันกำจัดได้ โดยการกำจัดแมลงพาหะ เช่น แมลงหวี่ขาว และเพลี้ยต่างๆ และ บำรุงพืชให้เจริญเติบโต แข็งแรง เพื่อสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงให้สูงขึ้น

🦗 ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ กำจัด เพลี้ย แมลงหวี่ขาว และแมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)

🌿 ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี [FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..
🎖คลิกลิงค์เพื่อสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ http://www.farmkaset..link..
🦗ข้อมูล มาคา

มาคา เป็นยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ กำจัดแมลงศัตรูพืช
สกัดจากพืช_ 100% จากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค
*การใช้มาคากำจัด เพลี้ย และแมลงศัตรูพืช กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

🌿ข้อมูล FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig's law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แคลเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ธาตุแคลเซียม [Ca] ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น
อ่าน:3497
🎗โรคมะเขือเทศ ไวรัสมะเขือเทศ ไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง ให้ป้องกันกำจัดแมลงพาหะ
🎗โรคมะเขือเทศ ไวรัสมะเขือเทศ ไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง ให้ป้องกันกำจัดแมลงพาหะ
ในความเป็นจริงแล้ว การดูแล บำรุงมะเขือเทศ ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง โดยการให้ ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม อย่างครบถ้วน ในสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นการเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงไปด้วยในตัว เป็นเช่นเดียวกับ เด็กวัยเจริญเติบโต ที่ได้รับอาหารครบ 5 หมู่ บางคนยังทานวิตามินบำรุงด้วย ย่อมทำให้ ส่งเสริมการเจริญเติบโต มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่ป่วยบ่อย เหมือนเด็กที่ไม่สมบูรณ์ ขาดสารอาหาร

มะเขือเทศ และพืชอื่นๆก็เช่นกัน หากได้รับแต่ปุ๋ยเชิงเดียว ที่มีแต่ ไนโตรเจน (N) หรือให้เฉพาะปุ๋ยที่มีเฉพาะธาตุหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม (N P K) เปรียบเทียบแล้วก็คล้ายกับ เด็กที่ทานเฉพาะอาหารอย่างเดียวซ้ำๆ ก็คือ อิ่ม โตขึ้นได้ แต่มีร่างกายที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง เมื่อเป็นโรค ก็ให้ยารักษา ก็อาจจะหายช้า หรือไม่หาย ถึงแม้หาย ก็เจ็บป่วยซ้ำอยู่บ่อยๆ เจ็บป่วยออดๆแอดๆ แต่หากในขณะที่รักษาให้เริ่มฟื้นตัวแล้ว ลองบำรุง ให้อาหารจนครบ 5 หมู่ ทานอาหารเสริมที่เป็นประโยชน์บ้าง และปรับพฤติกรรมการทานอาหาร เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็น คนที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงได้ ในทางด้านพืชนั้น อย่างที่กล่าวข้างต้น เรามักจะให้ปุ๋ยทั่วไป ที่ประกอบด้วยเฉพาะ N P K แต่ในความเป็นจริงแล้ว อีกหลายธาตุ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต จำเป็นต่อการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ สร้างคลอโรฟิลล์ สังเคราะห์แสง และบางธาตุ ก็ส่งเสริมให้พืช นำธาตุอาหารหลัก ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ยกตัวอย่างธาตุอาหารพืช ที่จำเป็นเช่น แคลเซียม (ca) แมกนีเซียม (Mg) สังกะสี (Zn) และยังมีอีกหลายธาตุ ซึ่งหากพืชที่ปลูกอยู่ ไม่เคยได้รับ และวันนึงได้รับ จะส่งผลให้พืชโตขึ้น และแข็งแรงขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจาก ธาตุที่พืชไม่เคยได้รับเหล่านี้ เมื่อได้รับลงไป จะช่วยปลดปล่อยธาตุหลัก ที่พืชได้รับอยู่ตลอด แต่นำไปใช้ไม่ได้ ไปกระตุ้นให้พืช นำไปใช้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งใน FK-1 จะประกอบไปด้วยทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน นอกจากจะเป็นให้ธาตุอาหารพืชที่จำเป็นโดยตรงแล้ว ยังกระตุ้นให้พืช นำทุกธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ในดิน ไปใช้ได้อย่างเต็มที่

4 โรคไวรัสมะเขือเทศ

ในที่นี้ประกอบด้วย โรคใบหงิกเหลือง โรคใบด่างเรียวเล็ก โรคใบด่าง และโรคเหี่ยวลาย สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ กรณีโรคใบหงิกเหลือง จะพบใบยอดและใบอ่อนหดย่นหงิกสีเหลือง ขอบใบม้วนงอ ยอดเป็นพุ่ม ใบแตกใหม่เล็ก ต้นแคระแกร็น ไม่ติดผล หรือติดผลน้อยมาก ส่วนโรคใบด่างเรียวเล็ก มักพบใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อน ม้วนงอ ต่อมาใบเรียวเล็กกว่าปกติ หากรุนแรงมาก ใบจะเรียวเล็กเหลือแต่เส้นกลางใบ ต้นชะงักการเจริญเติบโต ไม่ติดผล หรือมีผลเล็ก ถ้าเกิดโรคในระยะกล้า จะทำให้ต้นแคระแกร็น ไม่ติดผล

สำหรับโรคใบด่าง จะมีใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือสีเหลือง ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง หากเกิดโรคในระยะกล้า ต้นแคระแกร็น ใบเล็กและลดรูป ในส่วนของโรคเหี่ยวลาย มักพบใบมีแผลเนื้อเยื่อตายสีน้ำตาลเข้มหรือดำกระจายทั่วทั้งใบ หรือเกิดรอยด่างสีเหลือง ใบยอดด่างและยอดสั้น ใบอ่อนแห้งตายจากปลายใบเข้าหาโคนใบ ใบแก่มีสีเหลืองขนาดเล็กกว่าปกติ ตามแนวยาวของลำต้นและก้านใบมีรอยขีดสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลเสียรูปทรง ผิวผลพบเนื้อเยื่อตายเป็นวง กรณีรุนแรง กิ่งและลำต้นเปลี่ยนเป็นสีดำ เหี่ยวเฉา และตายในที่สุด

ในพื้นที่ที่พบการระบาดของทั้ง 4 โรคนี้ ให้เกษตรกรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อไวรัสและแมลงพาหะ ถ้าพบต้นที่เป็นโรคให้ถอนแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที ควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว ให้เก็บเศษซากพืชส่วนที่หลงเหลือในแปลงไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก หากพบโรคในแปลงที่จะปลูกฤดูถัดไป ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อใกล้แปลงปลูกมะเขือเทศ เช่น ขึ้นฉ่าย ยาสูบ งา กะเพราขาว ตำลึง หงอนไก่ บานไม่รู้โรย ทานตะวัน พืชตระกูลแตง พืชตระกูลถั่ว และพืชตระกูลมะเขือ อีกทั้งควรเลือกใช้กล้าพันธุ์มะเขือเทศที่ต้านทานโรค แข็งแรง และปลอดโรคมาปลูก

เชื้อไวรัสสาเหตุของโรคทั้ง 4 ยังไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง

ป้องกันกำจัดได้ โดยการกำจัดแมลงพาหะ เช่น แมลงหวี่ขาว และเพลี้ยต่างๆ

🦗 ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ กำจัด เพลี้ย แมลงหวี่ขาว และแมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)

🌿 ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี [FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..
🎖คลิกลิงค์เพื่อสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ http://www.farmkaset..link..
🦗ข้อมูล มาคา

มาคา เป็นยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ กำจัดแมลงศัตรูพืช
สกัดจากพืช_ 100% จากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค
*การใช้มาคากำจัด เพลี้ย และแมลงศัตรูพืช กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

🌿ข้อมูล FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig's law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แคลเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ธาตุแคลเซียม [Ca] ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น

อ้างอิงข้อมูล http://www.farmkaset..link.. อ้างอิงรูปภาพ http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3703
🎗โรคใบติด ระวัง โรคใบติดทุเรียน โรคทุเรียนกิ่งแห้ง ระบาดมากใน สวนทุเรียนภาคใต้ และสวนทุเรียนภาคตะวันออก
🎗โรคใบติด ระวัง โรคใบติดทุเรียน โรคทุเรียนกิ่งแห้ง ระบาดมากใน สวนทุเรียนภาคใต้ และสวนทุเรียนภาคตะวันออก
🎗โรคใบติด ระวัง โรคใบติดทุเรียน โรคทุเรียนกิ่งแห้ง ระบาดมากใน สวนทุเรียนภาคใต้ และสวนทุเรียนภาคตะวันออก
ทุเรียนใบติด เป็นอาการของ โรคทุเรียนใบไหม้ มีสาเหตุจากเชื้อรา Rhizoctonia sp. (ไรซ็อกโทเนีย) ซึ่งเจริญได้ดีในช่วงฝนสลับร้อน อากาศร้อนชื้น พบมากในระยะทุเรียนแตกใบอ่อน

โรคใบติดทุเรียน อาการเริ่มแรก พบแผลคล้ายน้ำร้อนลวกบนใบทุเรียน จากนั้นแผลเริ่มขยายตัวเป็นสีน้ำตาล และลุกลามใบยังใบปกติข้างเคียง โดยเฉพาะใบที่อยู่ด้านล่าง แท้จริงแล้วคือโรคใบไหม้ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา คล้ายพืชอื่น แต่สำหรับในทุเรียนนั้น จะมีเส้นใยคล้ายใยแมงมุม ยึดใบทุเรียนให้ติดกัน ใบทุเรียนจะแห้งไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งหลุดร่วงไปโดนใบล่าง ทำให้การระบาดจะลุกลาม เป็นหย่อม ขยายออกไป หนักเข้า ใบทุเรียนจะแห้งติดกันเป็นกระจุกตามกิ่งต่างๆ ส่งผลให้ทุเรียนกิ่งแห้งในที่สุด

ในแปลงทุเรียนที่มีความชื้นสูง และมีการระบาดของโรคใบติด เป็นประจำ หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเชิงเดี่ยวที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อลดการแตกใบที่มากเกินไป ไม่สมดุล เกษตรกรควรตัดแต่งทรงพุ่มทุเรียน ให้โปร่ง กำจัดวัชพืช ทำให้อาการถ่ายเทสะดวก แสงแดดส่องถึง จะช่วงลดความชื้น และระงับการเจริญของเชื้อรา

🍂 ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

🌿 ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี [FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..
🎖คลิกลิงค์เพื่อสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ http://www.farmkaset..link..
🍂ข้อมูล ไอเอส

สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติทั้งหมด ผ่านการวิจัยพัฒนา เพื่อคัดเลือกวัตถุดับที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุม และยับยั้งเชื้อรา ด้วยเทคโนโลยี “การควบคุมด้วยประจุไฟฟ้า (Ion Control)” โดยควบคุมสภาพแวดล้อมที่ผิวใบพืช ทำให้เกิดภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ของเชื้อรา อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดผิวใบพืชได้ดียิ่งขึ้น ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้ใช้และผู้บริโภค

🌿ข้อมูล FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig's law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แคลเซียม [Ca] (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม [Mg] (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี [Zn] (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น

อ่าน:3570
ทุเรียน ระวังโรคใบติดทุเรียน
ทุเรียน ระวังโรคใบติดทุเรียน
ทุเรียน ระวังโรคใบติดทุเรียน
สภาพอากาศในช่วงฝนฟ้าคะนอง แนะเกษตรกรชาวสวนทุเรียนพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังการระบาดของโรคใบติดหรือโรคใบไหม้ สามารถพบได้ในระยะแตกใบอ่อน อาการเริ่มแรกจะพบบนใบมีแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน จากนั้นจะลุกลามไปยังใบปกติข้างเคียง กรณีที่มีความชื้นสูง เชื้อราสาเหตุโรคจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุมยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรคจะแห้งติดอยู่กับกิ่งก่อนหลุดร่วงไปสัมผัสกับใบที่อยู่ด้านล่าง ทำให้โรคระบาดลุกลามจนใบไหม้เห็นเป็นหย่อมๆ ใบแห้งติดกันเป็นกระจุกแขวนค้างตามกิ่ง ต่อมาใบจะร่วงจนเหลือแต่กิ่ง และกิ่งแห้งในที่สุด ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคใบติด เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดของโรคใบติด ให้เกษตรกรตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่นนำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสะสมในแปลง

- ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

- ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

ส่วนในแปลงปลูกที่มีความชื้นสูง และมีการระบาดของโรคเป็นประจำ หลีกเลี่ยง การใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อลดการแตกใบของต้นทุเรียน จากนั้น ให้เกษตรกรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อให้ต้นทุเรียนได้รับแสงแดด อากาศถ่ายเทสะดวก และช่วยลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะต่อการระบาดของโรค อีกทั้งควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3493
การดูแลรักษามะม่วง และเก็บเกี่ยว
การดูแลรักษามะม่วง และเก็บเกี่ยว
การดูรักษาและเก็บเกี่ยวมะม่วง

การดูแลรักษา

1. มะม่วงเริ่มปลูกถึงก่อนให้ผลผลิต

1.1 กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดปี

1.2 ตัดแต่งกิ่ง และจัดโครงสร้างต้น ให้เหมาะสมกับระยะปลูก

1.3 ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้มะม่วงมีกิ่งแข็งแรงมีใบสมบูรณ์

2. มะม่วงระยะเจริญทางกิ่งใบ

2.1 หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้วทำการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยทางดินทันที พร้อมกับการให้น้ำ อย่างเพียงพอ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และสร้างความสมบูรณ์ของต้น

2.2 มะม่วงแตกใบใหม่อย่างน้อย 2 รุ่นในรอบปี ดูแลรักษาให้ต้นและใบมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่

3. การเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างตาดอก

ปลายฤดูฝนเมื่อได้ต้นมะม่วงที่แข็งแรงสมบูรณ์ ควบคุมให้ต้นพักตัวและสะสมอาหารมะม่วงจะสร้างตาดอก ในระยะนี้ โดยงดการให้น้ำก่อนฤดูออกดอกอย่างน้อย 2 เดือน และไถพรวนรอบชายนอกทรงพุ่ม เป็นการตัดรากมะม่วงบางส่วนและกำจัดวัชพืชพร้อมกัน ในกรณีที่มีฝนหลงฤดูตกลงมา ควรพ่นปุ๋ยทางใบ เช่น สูตร 0-52-34 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 2-3 ครั้ง เพื่อยับยั้งไม่ให้มะม่วงแตกใบอ่อนและยังคงมีการสะสมอาหารต่อไป

การให้น้ำ

1. การใช้ระบบให้น้ำแบบหัวเหวี่ยงเล็ก(มินิสปริงเกอร์) การปฏิบัติงานทำได้สะดวก ประหยัดแรงงานและพืชได้น้ำสม่ำเสมอ

2. การให้น้ำแบบสายยางรดหรือแบบปล่อยตามร่องขนาดเล็ก มีต้นทุนต่ำกว่าระบบแรก แต่ควบคุม ปริมาณน้ำที่ให้พืชได้ยาก ไม่สม่ำเสมอ ใช้น้ำ แรงงาน และเวลามากกว่าระบบหัวเหวี่ยงเล็ก



ปริมาณน้ำ

มะม่วงระยะบำรุงต้น มีความต้องการน้ำประมาณ 0.5 เท่าของอัตราการระเหยน้ำ กล่าวคือ ถ้าสภาพ อากาศมีอัตราการระเหยน้ำ 5 มิลลิเมตรต่อวัน (การระเหย 1 มิลลิเมตรเทียบเท่ากับน้ำ 1 ลิตรต่อ ตารางเมตร)ต้นมะม่วงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 3 เมตร จะต้องให้น้ำประมาณ 22.5 ลิตรต่อต้น ต่อวัน (ครั้ง)

มะม่วงหลังการติดผล ถือเป็นระยะวิกฤตที่มะม่วงต้องการใช้น้ำมากที่สุด ประมาณ 0.7-0.8 เท่าของ อัตราการระเหยน้ำ กล่าวคือ ถ้าสภาพอากาศมีอัตราการระเหยน้ำ 5 มิลลิเมตรต่อวัน ต้นมะม่วงที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 5 เมตร จะต้องให้น้ำประมาณ 87.5-100 ลิตรต่อต้นต่อวัน (ครั้ง)

ความถี่ของการให้น้ำ

ขึ้นกับเนื้อดินและสภาพอากาศ ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายให้น้ำ 2-3 วันต่อครั้ง เนื้อดินเป็นดิน เหนียวให้น้ำ 4-5วันต่อครั้ง อย่างไรก็ตามอาจใช้วิธีสังเกตจากความชื้นดิน และสภาพของใบมะม่วง ประกอบการวางแผนให้น้ำก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น จากตัวอย่างที่ยกมาจากข้างบน ปริมาณการให้น้ำมะม่วง ระยะบำรุงต้นพืชต้องการน้ำ 22.5 ลิตรต่อต้นต่อวัน ถ้าต้องการให้น้ำ 4 วันต่อครั้งดังนั้นต้องให้น้ำ เท่ากับ 90 ลิตรต่อครั้ง

การงดให้น้ำ

ในช่วงก่อนมะม่วงออกดอก จะต้องงดให้น้ำจนกว่ามะม่วงเริ่มแทงช่อดอกแล้วจึงจะเริ่มให้น้ำอีก

การตัดแต่งกิ่ง

– การจัดทรงหรือสร้างทรงพุ่มมะม่วง

– เลือกลำต้นหลัก 1 ลำต้น ความสูง 75-100 เซนติเมตร

– ทำลายตายอด ทำให้ตาข้างผลิเกิดเป็นกิ่งแขนง คัดเลือกกิ่งไว้ในทิศทางที่ต้องการ 3-5 กิ่ง และเลือกกิ่งไว้ ไปอีก 2-3 ครั้ง ตามขนาดทรงพุ่มที่ต้องการ

– ขนาดพุ่มต้นควรคำนึงถึงความสะดวกในการทำงานรวมถึงความปลอดภัยและเหมาะสมกับเครื่องมือที่มีอยู่





วิธีการตัดแต่งกิ่ง

– การตัดแต่งกิ่งแบบบางเบา

เป็นการบังคับ และเลือกกิ่งให้เจริญเติบโตไปในทิศทางที่ต้องการ โดยตัดแต่งกิ่งที่ไม่ต้องการออก เช่น กิ่งที่โรคและแมลงทำลาย กิ่งกระโดง กิ่งไขว้ กิ่งไม่สมบูรณ์ กิ่งที่ผลิบริเวณ ปลายกิ่งที่แน่นมากเกินไปออก

– การตัดแต่งแบบปานกลาง

เมื่อพุ่มต้นใกล้จะชนกัน ตัดกิ่งรอบนอกทรงพุ่มทั้งหมดจากปลายยอดลึกเข้าหาศูนย์กลางต้นยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร มะม่วงจะผลิตา แตกกิ่ง – ใบใหม่มาทดแทน แล้วคัดเลือกกิ่งและตัดแต่งกิ่งอย่างบางเบา หลังการตัดแต่งแบบปานกลางอีก 1-2 ครั้ง

– การตัดแต่งกิ่งแบบหนัก

เมื่อต้นอายุมาก ต้นถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นทรุดโทรม ควรสร้างโครงสร้างต้นมะม่วงใหม่(แต่งสาว) โดยตัดแต่งกิ่งเปิดกลางทรงพุ่มให้มีความสูง 1.5-3.0 เมตร ปริมาตรทรงพุ่ม ตัดออกไปประมาณครึ่งหนึ่ง กิ่งที่ถูกตัดเป็นแผลขนาดใหญ่ควรทาแผลด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือสีน้ำมันจากนั้นกิ่งจะผลิตาให้กิ่ง แขนงใหม่ จากนั้นทำการคัดเลือกและตัดแต่งกิ่งอย่างบางเบา 1-2 ครั้ง เมื่อกิ่งแขนงใหม่บริเวณกลางทรงพุ่ม มีโครงสร้างเจริญเติบโตแข็งแรงมาทดแทนกิ่งเดิม และคาดการณ์ จะสามารถให้ผลผลิตในปีต่อไปได้ ให้ตัดแต่งกิ่งโครงสร้างเก่าที่อยู่รอบนอกของ โครงสร้างใหม่ออก มีความยาวใกล้เคียงกับการตัดแต่งกิ่งเปิดกลางทรงพุ่ม คัดเลือกกิ่งและตัดแต่งกิ่งแบบบางเบา 1-2 ครั้ง ช่วงแรกผลผลิตจะลดลงบ้างประมาณ 20-40 เปอร์เซ็นต์ แต่จะสามารถให้ผลผลิตได้เต็มที่ในปีที่ 3 หลังจากเริ่มตัดแต่ง กิ่งอย่างหนัก

หมายเหตุ : หลังจากตัดแต่งกิ่งทุกครั้งควรบำรุงต้นมะม่วงทันที ด้วยการใส่วัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์แท้ เกรดAAA ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-14 วัน และให้น้ำตามปกติ เพื่อเร่งการผลิตาสร้างกิ่ง และใบใหม่ที่สมบูรณ์มาทดแทนได้อย่างรวดเร็ว







รอบระยะพัฒนาการของผลมะม่วง

ระยะการพัฒนาจนครบรอบเป็นดังนี้

มิถุนายน(ตัดแต่งกิ่ง) กรกฎาคม(ตัดแต่งกิ่ง>แตกใบอ่อน ครั้งที่ 1)สิงหาคม(แตกใบอ่อน) กันยายน(แตกใบอ่อน ครั้งที่ 2) ตุลาคม(พักตัว) พฤศจิกายน(พักตัว) ธันวาคม(แทงช่อดอก)

มกราคม—>ดอกบาน กุมภาพันธ์(ผสมเกสร ตัดผลอ่อน) มีนาคม(ขยายผล) เมษายน(เข้าไคล) พฤษภาคม(เข้าไคล>ผลแก่>เก็บเกี่ยว)

การบังคับให้มะม่วงออกดอก

การบังคับให้ต้นมะม่วงออกดอก ด้วยสารพาโคลบิวทราโซล โดยราดสารนี้ลงในดินรอบๆ ต้น ซึ่งมีวิธีการดังนี้คือ

1) ต้องบำรุงต้นมะม่วงให้สมบูรณ์เต็มที่ก่อน กล่าวคือ หลังจากเก็บผลแล้วให้ตัดแต่งกิ่งใส่ปุ๋ยให้น้ำ เพื่อให้ต้นมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่ หลังจากนั้นปล่อยให้มะม่วงแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ชุด

2) ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการใช้สารคือ ช่วงที่ใบยังอยู่ในระยะใบอ่อนหรือใบพวง

3) ก่อนราดสาร ควรตรวจดูดินที่มีความชื้นพอสมควร และเมื่อราดสารลงดินแล้วให้รดน้ำตามด้วย เพื่อให้รากดูดสารได้อย่างเต็มที่

4) หลังจากราดสารประมาณ 21-30 วัน ให้ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วันเพื่อกระตุ้นช่อดอก ทำให้การออกดอกเป็นไปอย่างสม่ำเสมอทั้งต้น ประมาณ 1½เดือนถึง 2 เดือนมะม่วงก็จะออกดอก

5) อัตราการใช้สารพาโคลบิวทราโซลเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของต้นมะม่วง ดังนี้

เส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม

6) การรดด้วยสารพาโคลบิวทราโซลให้รดทั่วบริเวณทรงพุ่มอย่างสม่ำเสมอ



การช่วยให้ช่อดอกมะม่วงติดผลดีขึ้น

เนื่องจากมีผู้สนใจปลูกมะม่วงกันแพร่หลาย และมักจะประสบปัญหาอย่างเดียวกันว่า มะม่วงออกช่อดอกแล้วไม่ค่อยติดผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีหมอกลงจัดในขณะที่ช่อดอกกำลังบานแล้ว ก็จะยิ่งทำให้มะม่วงไม่ติดผล ซึ่งก็มีความเชื่อกันอย่างนั้น ซึ่งสาเหตุหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่ทำให้มะม่วงเมื่อออกดอกแล้วไม่ติดผล มีดังต่อไปนี้คือ

1. สาเหตุอันเกิดจากเพลี้ยจั๊กจั่นและโรคราดำ

สาเหตุนี้เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดในการที่จะให้ช่อมะม่วงไม่ติดผล ซึ่งพบสาเหตุนี้ในเกือบทุกสวนมะม่วง หรือทุกต้นมะม่วงในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ เกือบทุกจังหวัดก็ว่าได้ การทำลายของเพลี้ยจั๊กจั่น หรือที่ชาวสวนเรียกกันว่า แมงกะอ้า กับโรคราดำนั้น เกิดควบคู่กันไป กล่าวคือ เพลี้ยจั๊กจั่นทำลายช่อดอกมะม่วง โดยดูดน้ำเลี้ยงช่อดอกมะม่วง ทำให้ดอกมะม่วงขาดน้ำเลี้ยง ไม่สามารถเจริญต่อไปเป็นผลมะม่วงได้ ดอกจะร่วงหล่นในที่สุด และในขณะเดียวกัน เพลี้ยจั๊กจั่นก็จะขับถ่ายออกมา เป็นของเหลวที่มีรสหวาน ที่เป็นอาหารอันโอชะของเชื้อราดำ ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบรรยากาศ ทำให้ราดำเจริญได้ดีตามช่อดอกมะม่วง เห็นช่อดอกมะม่วงเป็นสีดำ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเกิดมีหมอกลงจัด นั่นย่อมหมายความว่า มีละอองน้ำในอากาศอยู่มาก มีความชื้นสูง ซึ่งธรรมชาติของเชื้อราดำหรือราต่างๆ จะชอบเจริญได้ดีในที่ๆ มีความชุ่มชื้นสูง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หมอกมีส่วนช่วยให้โรคราดำเจริญ หรือระบาดได้อย่างรวดเร็ว

วิธีป้องกัน : ใช้ ชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษ “เมทา แม็ก” อัตรา 40-80 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อกำจัดเป็นประจำ ทุก ๆ 5-7 วันในช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อ-ดอกบาน(ประมาณ 4-5 ครั้ง)

2. สาเหตุอันเกิดจากสิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือจากแมลงและโรคทำลายช่อดอก

เมื่อต้นมะม่วงมีอายุไม่ถึงวัยที่จะออกดอกออกผล แต่ออกดอกก่อนกำหนด หรือการบำรุงต้นมะม่วงในช่วงระยะแรกตั้งแต่เริ่มเพาะปลูกนั้นไม่ดีพอ ต้นมะม่วงเหล่านี้ เมื่อออกดอกแล้ว มีดอกไม่ติดผล เพราะต้นมะม่วงยังไม่แข็งแรงและสมบูรณ์พอ อายุหรือวัยที่ต้นมะม่วงควรจะออกดอกออกผล คือ ถ้าปลูกด้วยกิ่งตอน ควรมีอายุประมาณ 3 ปี ถ้าปลูกด้วยกิ่งทาบหรือกิ่งติดตา ควรมีอายุประมาณ 4-5 ปี จึงเริ่มออกดอกออกผล ถ้าปลูกด้วยเมล็ด ควรมีอายุประมาณ 5-6 ปี ดังนี้เป็นต้น

วิธีป้องกันรักษา คือ หมั่นดูแลรักษา และใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ หากมะม่วงติดดอก ให้เด็ดดอกทิ้งเสียในขณะที่ช่อดอกเริ่มออก เพื่อต้นมะม่วงจะได้ไม่เสียน้ำเลี้ยงไปสร้างช่อดอกต่อไป ถ้าปล่อยช่อดอกไว้ไม่เด็ดทิ้ง อาจติดผลได้ แต่เป็นผลที่ไม่สมบูรณ์ และต้นมะม่วงจะมีการเจริญเติบโตของลำตนช้าลง หรือชะงักงัน

3. ต้นมะม่วงขาดน้ำ หรืออากาศแห้งแล้งในระยะที่มีช่อดอก จะทำให้ดอกเหี่ยวแห้ง และร่วงหล่นไปได้

วิธีป้องกันรักษา คือ หลังจากมะม่วงออกช่อดอกแลว ให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมออย่าปล่อยให้แห้ง

4.ต้นมะม่วงไม่สมบูรณ์และแข็งแรงพอ หากต้นมะม่วงไม่สมบูรณ์และแข็งแรงพอ ก็จะทำให้ช่อดอกมะม่วงไม่ติดผล เนื่องจากขาดอาหาร หรือน้ำเลี้ยงที่จะมาเลี้ยงช่อดอกหรือผลต่อไปได้

วิธีป้องกันรักษา : ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำ และให้ตัดแต่งกิ่งมะม่วงที่แห้ง หรือกิ่งที่มีโรคหรือแมลงทำลาย ออกเสีย

อนึ่ง อาจมีสาเหตุอื่นอีกที่มะม่วงออกช่อดอก แล้วไม่ติดผล เช่น อาจเป็นเพราะ ในท้องที่ที่ปลูกมะม่วงนั้น มีแมลงช่วยผสมเกสรอยู่น้อย หรืออาจเป็นเพราะ ต้นมะม่วงที่ปลูกนั้นอยู่ในที่อับ ไม่มีลมพัดผ่าน และแสงแดดน้อย เรื่องพันธุ์มะม่วงก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เช่น มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ พันธุ์พิมเสนมัน มักจะออกดอกติดผลได้ดีกว่าพันธุ์อื่น และมักจะออกดอกนอกฤดูกาลอีกด้วย พันธุ์แรดมักจะออกดอกก่อนพันธุ์อื่น และออกดอกติดผลสม่ำเสมอเกือบทุกปี เหล่านี้เป็นต้น

การให้ปุ๋ย

มะม่วงตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 2 ปี :

ทางดิน : ใส่วัสดุปรับปรุงดินเกรด AAA “ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น ทุก ๆ 30-45 วัน สลับกับการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อัตรา 150-300 กรัม(1-2 กำมือ)ต้น ปีละ 2-3 ครั้ง

ทางใบ : ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 15-20 วัน(1-2ครั้งต่อเดือนเป็นประจำ)


สรุปการให้ปุ๋ยมะม่วงที่ให้ผลผลิตแล้วหรือต้นอายุ 3 ปีขึ้นไป

ช่วงเวลา ทางดิน ทางใบ

หลังเก็บเกี่ยวและตัดแต่งกิ่งแล้ว ครั้งที่ 1 ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น

ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 อัตรา 0.5กิโลกรัมต่อต้น ห่างจากครั้งแรก 30 วัน

ไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(0.5 ลิตรต่อน้ำ200 ลิตร) + อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน ประมาณ 5ครั้ง

เตรียมต้นสะสมอาหาร ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อสะสมอาหารในต้น ปุ๋ยสูตร 0-52-34 อัตรา 50-80 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ช่วยบังคับต้นให้สะสมอาหาร ไม่ให้แตกใบอ่อน

กระตุ้นดอก เร่งช่อยาว ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลงอัตรา 50-80 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(0.5 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร + อาหารเสริมรวม “คีเลท”อัตรา 5-10 กรัม ฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน ประมาณ 4-5 ครั้ง

ติดผลจนถึงเก็บเกี่ยว ครั้งที่ 1 เมื่อติดเม็ดขนาดเท่ามะเขือพวง ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น

ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา0.5 กิโลกรัม + ยักษ์เขียว เกรดAAAสูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2กิโลกรัมต่อต้น

ครั้งที่ 3 หลังจากนั้นอีก 30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 24-4-24 อัตรา 0.5กิโลกรัม+ปุ๋ยอินทรีย์ตรายักษ์เขียว สูตร1 (แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้นต่อต้น

ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผลอัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร บวกกับ อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วันจนถึงเก็บเกี่ยว

หมายเหตุ :

1. อัตราการใส่ปุ๋ย ควรปรับใช้ตามขนาดต้น อายุพืช และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ใช้ตามค่าการ วิเคราะห์ดินและพืช และควรกำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง และหากมีการตัดแต่งทรงพุ่มและควบคุมขนาดของทรงพุ่มไม่ให้มีขนาดใหญ่มากจนเกินไป จะทำให้ประหยัดปุ๋ยทางดินที่ใส่และยังประหยัดค่าแรงในการเก็บเกี่ยวอีกด้วย โดยขนาดทรงพุ่มที่เหมาะสม ควรมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 4 เมตร และสูงไม่เกิน 5 เมตรซึ่งหากทรงพุ่มอยู่ในช่วงที่กล่าวแล้ว การใช้ปุ๋ยเคมีแต่ละช่วง สามารถใช้เพียงต้นละ 0.5 กิโลกรัมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว 1-3 กิโลกรัม(ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิต) มะม่วงก็จะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและมีปริมาณมากเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุน ทำให้มีส่วนต่างของกำไรมาก

2. เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว จะพบว่าผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพดี(ติดดก_ลูกใหญ่_ได้น้ำหนัก) โดยที่เทียบเปอร์เซ็นต์ต้นทุนต่อผลผลิตแล้วจำนวนเงินกำไร(ผลตอบแทน)เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ได้เปรียบกว่าสวนอื่น ๆ ที่ลงทุนปุ๋ยและยาปริมาณมาก ๆ

3. ช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง หากพบการระบาดของโรคราในพืชให้เว้นการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบทุกชนิดในช่วงนั้น แล้วใช้ยาป้องกันและรักษาโรคฉีดพ่นตามอาการ 1-2 ครั้งก่อน จึงเริ่มใช้ปุ๋ยทางใบต่อไปได้

4. การป้องกันแมลงศัตรูพืชก่อนที่จะเข้ามาทำลายต้นโดยการใช้ ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)นั้นจะประหยัดต้นทุนและลดความเสียหายได้ดีกว่า การใช้ยาฆ่าแมลงกำจัดเมื่อมีการระบาด ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองต้นทุนมาก และมีความเสี่ยงที่แมลงจะดื้อยา ทำให้ต้องใช้ยาแรงขึ้น สิ้นเปลืองทั้งเงินและสุขภาพของผู้ใช้เอง

5. สำหรับในพื้นที่ ที่มีการปลูกพืชกันมาก แนะนำให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) สลับหรือร่วมกับการใช้สารเคมีควบคุม อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลและลดต้นทุนการผลิตการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว” ร่วมด้วยเป็นประจำ จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม เนื่องจาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า

สรุปเทคนิคการปฏิบัติเพื่อช่วยให้มะม่วงติดผลมาก

1. มะม่วงในฤดู เมื่อต้นเริ่มแทงช่อ ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20ลิตร + อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน จนกระทั่งดอกบาน ช่อดอกที่ได้จะสมบูรณ์ ติดดอกออกผลมาก และปัญหาเรื่องการระบาดของเพลี้ยจั๊กจั่นจะลดลง ประหยัดต้นทุนสารเคมีกำจัดแมลง

2. มะม่วงนอกฤดู หลังจากราดสาร 21-30 วัน ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร (1/2 ลิตรต่อน้ำ 1 ถัง 200ลิตร) + อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน จนกระทั่งดอกบาน ช่อดอกที่ได้จะสมบูรณ์ ติดดอกออกผลมากสม่ำเสมอทั้งต้น และยังช่วยลดปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายช่อดอก

3. ช่วงที่กระตุ้นดอก กรณีความชื้นในอากาศสูงหรือในช่วงฤดูฝน ควรใช้สารควบคุมโรคราหรือ ชีวภัณฑ์กำจัดโรครา(ปลอดสารพิษ) ไตรโคแม็ก อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นป้องกันเป็นระยะตามความเหมาะสม

4. เมื่อช่อมะม่วงเจริญพ้นพุ่มใบออกมาอย่างเด่นชัดแล้ว ควรรดน้ำให้ดินชุ่มอยู่เสมอ การรดน้ำควรรดแต่น้อยก่อน แล้วจึงเพิ่มมากขึ้น เรื่อย ๆ จนถึงที่เคยรดให้ตามปกติ

5. ในพื้นที่ที่มักมีการระบาดของแมลงศัตรูพืชรุนแรง ควรพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ร่วมกับยาเพื่อป้องกันกำจัดแมลงที่จะมาทำลายช่อมะม่วง_หนอนเจาะผล_แมลงวันทอง ได้แก่ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช(ปลอดสารพิษ) “เมทาแม็ก” + ชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษ(กำจัดหนอน) “บาร์ท๊อป” ฉีดพ่นเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องระมัดระวัง(แทงช่อดอก_ติดผล) หรืออาจใช้สารเคมีกำจัด อาทิเช่น อิมิดาโคลพริด_ เอ็นโดซัลแฟน หรือบีพีเอ็มซี อัตราตามฉลาก(ครั้งแรกให้พบในระยะที่ดอกยังตูม หรือสำรวจพบเพลี้ยจั๊กจั่น 3 ตัวต่อช่อและครั้งที่สองเมื่อเห็นว่ามะม่วงติดผลมีขนาดเท่าหัวแมลงวัน การพ่นยาครั้งที่สองอาจเติมยากันราลงไปด้วยถ้าเห็นว่ายังมีราดำอยู่ตามช่อดอกและใบ)หรือ พ่นคาร์บาริล อัตราตามฉลาก ทุก ๆ 7-10 วัน หากไม่ต้องการพ่นยากำจัดแมลง ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)อัตรา 50-100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วัน และป้องกันการเข้าทำลายของโรครา ด้วยการฉีดพ่น โปรคลอราซ หรือ เบโนมิล ในช่วงก่อนดอกบาน



การเก็บเกี่ยว

การเก็บผลมะม่วงเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง ต้องเก็บให้ถูกต้อง เพื่อให้ผลมะม่วงที่ได้มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาดไม่อ่อนเกินไป หรือปล่อยไว้จนสุกงอมเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมะม่วง และความใกล้ไกลของตลาด เป็นสำคัญ ข้อสังเกตง่ายๆ ว่ามะม่วงจะแก่เมื่อใดนั้น สิ่งที่น่าสังเกต 2 ประการคือ

1. แก้มผลทั้ง 2 ข้างพองโตเต็มที่ สีผิวเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาวจาง สังเกตจากผิวของผลมะม่วงมีสีขาวนวลหรือไขปกคลุมผล

2. เก็บตัวอย่างผลมะม่วงมา 2-3 ผล เพื่อทดสอบ โดยนำมะม่วงมาแช่น้ำดู หากผลมะม่วงจมน้ำแสดงว่าแก่จัด ถ้าลอยแสดงว่ายังอ่อนอยู่ และเวลาเก็บต้องอย่าให้ช้ำ มิฉะนั้นจะเน่าและเสียได้ง่ายเวลามะม่วงสุก

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3687
โรคแอนแทรคโนส มะม่วง
โรคแอนแทรคโนส มะม่วง
เชื้อราสาเหตุของ โรคแอนแทรคโนสมะม่วง Colletotrichum gloeosporioides ข้อสังเกตลักษณะ อาการที่อาจพบ เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต โดยมีลักษณะอาการดังนี้

อาการที่ใบ
ใบอ่อนพบจุดฉ่ำน้ำต่อมาเปลี่ยนเป็นแผลสีน้ำตาลดำ หากอาการรุนแรงแผลจะขยายตัวอย่างรวดเร็วติดต่อกันทั้งผืนใบ ทำให้ใบบิดเบี้ยวเสียรูปทรงยอดอ่อนเหี่ยวและดำ ส่วนใบแก่พบแผลรูปร่างค่อนข้างเหลี่ยม หากอาการรุนแรงแผลจะทะลุเป็นรู อาการที่ช่อดอก พบจุดหรือขีดสีน้ำตาลแดงเล็กๆ บนก้านช่อดอกต่อมาแผลขยายใหญ่ หากมีความชื้นสูงจะพบเมือกสีส้มซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรคอยู่ที่บริเวณแผล ทำให้ช่อดอกเหี่ยวแห้ง ดอกหลุดร่วงก่อนติดผล

อาการที่ผลอ่อน
พบจุดแผลสีน้ำตาลดำถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมผลที่ถูกทำลายจะเป็นสีดำและหลุดร่วงก่อนกำหนด ในบางครั้งเชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายแบบแฝงในผลอ่อน โดยไม่แสดงอาการของโรค แต่จะแสดงอาการของโรคเมื่อผลสุก และอาการรุนแรงมากขึ้นตามความสุกของผล

อาการที่ผลแก่หรือผลสุกหลังเก็บเกี่ยว
พบจุดแผลสีดำเล็กๆ ต่อมาแผลขยายลุกลามและยุบตัวลง ถ้ามีหลายแผลขยายมาติดกัน ขนาดของแผลจะกว้างขึ้นและยุบตัวเป็นแอ่งบุ๋มทำให้เน่าทั้งผล บางครั้งพบเมือกสีส้ม ซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรคอยู่ที่บริเวณแผล

แนวทางการป้องกัน แก้ไข

1. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบพืชเริ่มมีอาการของโรค ตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค

2. กำจัดวัชพืชรอบโคนต้น เพื่อลดความชื้นในทรงพุ่ม

3. ควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสม ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนมากเกินไป

4. แหล่งปลูกที่พบการระบาดของโรคเป็นประจำในช่วงที่มะม่วงแตกใบอ่อน เริ่มแทงช่อดอก และหลังติดผลอ่อน ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ตามข้อ 5 แต่ไม่ควรพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันเกิน 4 ครั้ง ในช่วงที่มะม่วงติดผล หากมีสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมต่อการเกิดโรค คือ มีฝนตกและอากาศ ร้อนชื้น ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชดังกล่าว เพื่อป้องกันการระบาดของโรค

5. ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

6. ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส และ มาคา
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3556
การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
นอกเหนือจากการปรับปรุงบำรุงดินร่วมกับการอนุรักษ์ดิน และการใช้พันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดีแล้ว การจัดการดูแลดี โดยเริ่มตั้งแต่ ฤดูการปลูกที่เหมาะสม การเตรียมดินดี การเตรียมท่อนพันธุ์ปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสมตลอดจนการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสม การกำจัดวัชพืชถือเป็นปัจจัยที่ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น โดยเฉพาะการเอาใจใส่ในการเตรียมท่อนพันธุ์จะมีผลทำให้ความอร่อยของมันสำปะหลังสูงขึ้น โดยเฉพาะการเอาใจใส่ในการเตรียมท่อนพันธุ์จะมีผลทำให้อัตราความอยู่รอดของมันสำปะหลังสูงขึ้น

การคัดเลือกท่อนพันธุ์สมบูรณ์

๑. ต้องใช้ท่อนพันธุ์ที่มีอายุ 8-14 เดือน โดยสังเกตจากสีของลำต้นที่จะเปลี่ยนแปลง เป็นสีเข้มเมื่อมีอายุ มากขึ้น และไม่มีโรคแมลงติดมา

๒. ต้องเก็บรักษาต้นพันธุ์ให้ดี หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรรีบนำต้นพันธุ์ไปปลูกทันที หากจำเป็นต้องเก็บรักษาต้นพันธุ์ไว้ทำพันธุ์ต่อไป สามารถทำได้โดยตั้งกองพันธุ์ไว้กลางแจ้งในแนวตั้ง ให้ส่วนของโคนสัมผัสผิวดิน หรือใช้ดินกลบโคนและกองไม่ให้ใหญ่เกินไป เพื่อให้อากาศถ่ายเท ซึ่งวิธีการดังกล่างจะสามารถเก็บรักษาต้นพันธุ์ได้ 15-30 วัน หรือนานถึง 2 เดือน แต่ถ้าเก็บรักษาไว้นานต้นจะแห้งจากส่วนปลายลงมา และตาจะแตกทำให้ได้จำนวนท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์น้อยลง

๓. ต้องใช้ส่วนกลางของลำต้น ควรเป็นส่วนกลางของลำต้นที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป

๔. ต้องตัดท่อนที่มีความยาวเหมาะสม ในช่วงต้นฤดูฝน ควรใช้ท่อนพันธุ์ขนาด 20 เซนติเมตร และช่วงปลายฝน ควรใช้ท่อนพันธุ์ขนาด 25-30 เซนติเมตร (ควรมีตาอย่างน้อย 5-7 ตา) ส่วนการสับท่อนพันธุ์ ควรสับให้เฉียงเล็กน้อย และหลีกเลี่ยงให้ตาบนท่อนพันธุ์ช้ำ หรือถูกกระทบกระเทือน

๕. วิธีการปลูกที่เหมาะสมควรปลูกแบบปักตรงหรือเอียงเล็กน้อย เป็นวิธีให้ผลผลิตสูงความลึกในการปักท่อนพันธุ์ลงในดินประมาณ 8-10 เซนติเมตร แต่ไม่ควรปักลึกมากและควรมีการตรวจสอบความงอกหลังปลูกเพื่อให้ซ่อมได้ทันเวลา

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3405
มันสำปะหลังอินทรีย์ จ.อุบลราชธานี พืชยกระดับรายได้เกษตรกร มีตลาดรองรับ
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จังหวัดอุบลราชธานีนับเป็นแหล่งผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากข้อมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี (ณ 31 มีนาคม 2564) พบว่า มีพื้นที่ปลูก 14_048 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 13_978 ไร่ ผลผลิตรวม 48_224 ตัน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร ผสานความร่วมมือกับภาคเอกชนให้การสนับสนุนด้านองค์ความรู้ ปัจจัยการผลิต การใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิต รวมถึงการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ นอกจากนี้ มีเกษตรกรบางพื้นที่ได้เข้าร่วมโครงการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ของบริษัทที่เข้ามาส่งเสริมภายใต้การทำ Contract Farming เนื่องจากเกษตรกรมีแรงจูงใจในเรื่องราคาที่ให้ผลตอบแทนดีกว่ามันสำปะหลังทั่วไป และมีตลาดรองรับที่แน่นอน

จากการติดตามสถานการณ์การผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ปัจจุบันเกษตรกรหันมาปลูกมันสำปะหลังอินทร์กันมากขึ้น โดยบริษัทอุบลไบโอเอทานอล จำกัด (มหาชน) ได้ทำ Contract Farming กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร และอำนาจเจริญ ใน ?โครงการปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์? ตั้งแต่ปี 2559 โดยรับซื้อผลผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์จากเกษตรกรทั้งหมด ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 939 ราย พื้นที่ปลูก 5_656 ไร่ ดำเนินการมาแล้วทั้งหมด 5 รุ่น ซึ่งผลผลิตของเกษตรกรทั้ง 5 รุ่น ได้ออกสู่ตลาดช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาประมาณ 21_000 ตัน สำหรับปี 2564 กำลังอยู่ในช่วงรับสมัครรุ่นที่ 6 และกำหนดการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร สำหรับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี กรมวิชาการเกษตร ได้ร่วมมือกับบริษัทฯ ในการลงพื้นที่ ให้ความรู้กับเกษตรกรในเรื่องการผลิต การดูแล การป้องกันโรคแมลง การปรับปรุงบำรุงดิน และการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิต รวมถึงการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์

สำหรับราคามันสำปะหลังอินทรีย์เชื้อแป้ง 25% ที่บริษัทฯ ประกันราคาอยู่ที่ 3.25 บาท/กก. ซึ่ง สศก. โดย สศท.11 อุบลราชธานี ได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษาต้นทุน ผลตอบแทน และการตลาดของสินค้ามันสำปะหลังอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง พบว่า ต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ยอยู่ที่ 7_039 บาท/ไร่/รอบการผลิต เนื่องจากต้องจ้างแรงงานคนในการกำจัดวัชพืชจึงทำให้มีค่าแรงสูง ต้นทุนการผลิตจึงสูงกว่ามันสำปะหลังทั่วไป เกษตรกรนิยมปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ระยะเวลาเพาะปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 8 ? 10 เดือน เก็บเกี่ยวช่วงเดือนมีนาคมของปีถัดไป ผลผลิตเฉลี่ย 3_800 กก./ไร่ ผลตอบแทน 12_350 บาท/ไร่/รอบการผลิต ผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิ (กำไร) 5_311 บาท/ไร่/รอบการผลิต ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวผลผลิตและเกษตรบางส่วนเริ่มเตรียมดินสำหรับทำการเพาะปลูกรอบถัดไป

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้สร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ โดยเน้นย้ำว่าปัจจุบันได้มีการแปรรูปมันสำปะหลังอินทรีย์เป็นแป้งออร์แกนิค ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากแป้งออร์แกนิคสามารถแปรรูปเป็นอาหารแห่งอนาคต (Future Food) และอาหารเพื่อสุขภาพได้หลากหลาย สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในการเป็นส่วนผสมอาหารพรีเมี่ยม จึงนับว่าเป็นโอกาสดีของเกษตรกร ทั้งนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ ได้ผ่านมาตรฐานอินทรีย์ไทย และมาตรฐานอินทรีย์สากล ได้แก่ 1) มาตรฐาน มกษ 9000-2552 หรือ Organic Thailand 2) มาตรฐานอินทรีย์ USDA-NOP (สหรัฐอเมริกา) 3) มาตรฐานอินทรีย์ EU (ยุโรป) 4) มาตรฐานอินทรีย์ JAS (ญี่ปุ่น) 5) มาตรฐานอินทรีย์ Korean (เกาหลี) และ 6) มาตรฐานอินทรีย์ China (จีน) จึงเป็นเครื่องการันตีและสร้างความมั่นใจกับผู้ค้าได้ว่า ผลผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ของเกษตรกรได้มาตรฐานและมีคุณภาพสูง

ผู้อำนวยการ สศท.11 กล่าวเพิ่มเติมว่า การปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ได้คุณภาพนั้น เกษตรกรต้องใช้ความอดทน พิถีพิถันในทุกขั้นตอน และต้องจำกัดพื้นที่ปลูกเพื่อควบคุมมาตรฐาน รวมทั้งต้องมีการวางแผนล่วงหน้าช่วงเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้เปอร์เซ็นต์แป้งตามต้องการ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยน 2 ? 3 ปี จึงจะได้ผลผลิตที่เป็นอินทรีย์ผ่านมาตรฐาน ทั้งนี้ หากเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจข้อมูลการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังอินทรีย์ หรือสนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถขอคำปรึกษาได้ที่คุณกัณฑ์พร กรรณสูต ตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายประสานงานภาครัฐ บริษัท อุบลไบโอเอทานอล จำกัด (มหาชน) โทร 08 9962 6544

ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์ / ข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3455
โรคองุ่นเน่าดำ (Black rot) โรคองุ่น
โรคองุ่นเน่าดำ (Black rot) โรคองุ่น
เชื้อสาเหตุของ โรคเน่าดำองุ่น เกิดจากเชื้อรา Phyllosticta ampelicida องุ่นที่เป็นโรคเน่าดำ จะมีลักษณะอาการ ใบเป็นรูจุดไหม้สีน้ำตาลแดง ตรงกลางแผลมีสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม กิ่งจะมีลักษณะปื้นดำเป็นแถบ เนื้อเยื่อบริเวณแผลยุบตัวลงแต่ไม่ลึก มีสีเทา บริเวณแผล มีเม็ดเล็กๆ สีดำ ผลอ่อนเป็นจุดแผลฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเนื้อเยื่อบริเวณแผลยุบตัวลง

การระบาดของ โรคเน่าดำองุ่น ระบาดในสภาพอากาศเย็นและชื้น

การป้องกันกำจัด โรคองุ่นเน่าดำ

1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค

2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน

3. งดให้น้ำในช่วงเย็น

4. การใช้สารปลอดภัย

4.1 ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

4.2 ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี
[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3449
หนอนคอรวงข้าว หากปีที่แล้วเคยระบาด ปีนี้ป้องกันไว้ดีกว่าแก้
หนอนคอรวงข้าว หากปีที่แล้วเคยระบาด ปีนี้ป้องกันไว้ดีกว่าแก้
หนอนกระทู้คอรวง Mythimna separata (Walker) ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลอ่อน แทรกสีน้ำตาลแดง ปีกกว้างประมาณ 4.5-5 เซนติเมตร วางไข่เป็นกลุ่มตามกาบใบและลำต้นหรือฐานของใบที่ม้วน ไข่ไม่มีขนปกคลุม วางไข่เป็นกลุ่มๆละประมาณ 100 ฟอง ระยะไข่นาน 6-8 วัน หนอนที่ฟักออกใหม่กัดกินใบหญ้าอ่อนจนอายุประมาณ 15 วัน จึงเริ่มกัดกินใบและรวงข้าว ระยะหนอนประมาณ 25-30 วัน หนอนมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว้างประมาณ 3.5-4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2.8 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน หนอนเข้าดักแด้ที่โคนกอข้าวหรือตามรอแตกของดิน ดักแด้มีสีน้ำตาลแดง ระยะดักแด้ 10-12 วัน

หนอนกระทู้คอรวง(rice ear-cutting caterpillar)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mythimna separata (Walker)
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lepidoptera
ชื่อสามัญอื่น :หนอนกระทู้ควายพระอินทร์

ลักษณะการทำลายของ หนอนกระทู้คอรวงข้าว

หนอนกระทู้คอรวงชอบกัดกินส่วนคอรวงหรือระแง้ของรวงข้าวที่กำลังจะ สุก(rippening stage) ทำให้คอรวงขาด สามารถทำลายรวงข้าวได้มาถึง 80% โดยลักษณะการทำลายคล้ายหนอนกระทู้กล้า มักเข้าทำลายต้นข้าวช่วงกลางคืนหรือตอนพลบค่ำถึงเช้าตรู่ กลางวันอาศัยตามใบหรือโคนต้นข้าวหรือวัชพืชตระกูลหญ้า หนอนจะกัดกินต้นข้าวทุกวันจนกระทั่งเข้าดักแด้ พบระบาดมากหลังน้ำท่วมหรือฝนตกหนักหลังผ่านช่วงแล้งที่ยาวนานแล้วตามด้วยฝน ตกหนัก การทำลายจะเสียหายรุนแรง จนชาวนาเรียกกันว่า “ หนอนกระทู้ควายพระอินทร์”

การป้องกันกำจัดหนอนกระทู้

1. กำจัดวัชพืชรอบๆ แปลงนา

2. ฉีดพ่น ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ ปลอดสารพิษ สำหรับป้องกันกำจัดหนอนต่างๆ ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

3. ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี
[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

# http://farmkaset..link..
อ่าน:3485
153 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 15 หน้า, หน้าที่ 16 มี 3 รายการ
|-Page 13 of 16-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
โรคเชื้อราต่างๆใน อ้อย อ้อยใบจุด ใบไหม้ แส้ดำ ใช้ แพนน่อน
Update: 2567/10/25 10:06:44 - Views: 27
ฟักทอง ใบไหม้ ราน้ำค้าง กำจัดโรคฟักทอง จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/26 09:55:22 - Views: 3448
บร็อคโคลี่ใบไหม้ ราน้ำค้าง กำจัดโรคบร็อคโคลี่ จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/10 10:41:19 - Views: 3403
โรคใบไหม้ในหน้าวัว และโรคใบไหม้ใน สาวน้อยปะแป้ง
Update: 2563/11/16 07:16:11 - Views: 3989
ฮิวมิค FK สารอินทรีย์เข้มข้น ช่วยให้มะพร้าวเจริญเติบโตแข็งแรง ผลผลิตดก และยังใช้ได้กับพืชทุกชนิด!
Update: 2567/10/22 09:34:42 - Views: 143
จากช่างซ่อมรถ รายได้เดือนหมื่นห้า เปลี่ยนมาเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง สร้างรายได้กว่า 200000 บาท สองแสนบาทต่อเดือน
Update: 2563/05/07 15:41:16 - Views: 3399
โรคราแป้ง ที่เกิดกับ แตงกวา
Update: 2564/08/09 05:45:36 - Views: 3634
โรคราดำ ป้องกันและกำจัดโรคราดำ ในทุเรียน โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติ
Update: 2566/05/20 13:39:39 - Views: 3439
ลำไย โตไว ใบเขียว ผลใหญ่ แข็งแรง ผลผลิตดี อะมิโนโปรตีนจำเป็นสำหรับพืช 18 ชนิด อะมิโนแรปเตอร์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/05 13:33:28 - Views: 3395
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในต้นมะพร้าวน้ำหอม
Update: 2566/05/06 10:31:36 - Views: 3508
ปุ๋ยสำหรับอ้อย เพื่อบำรุงผลผลิต การแก้โรคอ้อย ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ป้องกันกำจัดเพลี้ย ในไร่อ้อย
Update: 2563/06/18 17:25:32 - Views: 4180
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอน ใน ส้มโอ และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/04 14:32:50 - Views: 3579
🐛หนอน!! ตาย ต่อกันถึงรัง ยาฆ่าหนอน ไอกี้-บีที ตายช้ากว่ายาเคมี แต่ตายยกรัง
Update: 2564/08/10 12:11:58 - Views: 3509
โรคหม่อนกินผล โรคหม่อนไหม และการป้องกันกำจัด
Update: 2564/01/04 20:38:52 - Views: 3389
ปุ๋ยสำหรับอ้อย ประสิทธิภาพสูง ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สูตร 16-3-3 ตรานกอินทรีคู่ (เพอร์เฟค เอส)
Update: 2565/12/31 05:46:13 - Views: 3487
ยาแก้เพลี้ย ใน ผักกวางตุ้ง ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ กวางตุ้งดอกฮ่องกง ยากำจัดหนอน ยาแก้โรคใบไหม้ โรคราต่างๆ และ ปุ๋ย สำหรับ ผัก กวางตุ้ง
Update: 2563/06/25 08:51:38 - Views: 4318
การป้องกันและกำจัด โรคเหี่ยว ในกล้วย
Update: 2566/05/04 09:43:00 - Views: 3391
มะเขือเทศ ผลใหญ่ ผลดก ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ สตาร์เฟอร์ 0-0-60
Update: 2567/04/17 14:14:04 - Views: 3405
ทุเรียน ผลใหญ่ ผลดก ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ทุเรียน ด้วย ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ สตาร์เฟอร์ 0-0-60
Update: 2567/04/11 10:43:06 - Views: 3431
เพิ่มผลผลิต สับปะรด ด้วยการให้ปุ๋ยตามระยะการเจริญเติบโตของสับปะรด
Update: 2567/11/12 08:44:51 - Views: 25
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022