[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ศัตรูพืช
1167 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 116 หน้า, หน้าที่ 117 มี 7 รายการ

วิธีการไถกลบตอซังข้าว
วิธีการไถกลบตอซังข้าว
พื้นที่เขตชลประทาน ในเขตพื้นที่ชลประทานซึ่งสามารถปลูกข้าวได้ต่อเนื่อง 2-3 ครั้งต่อปี หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วไม่ต้องเผาตอซังและฟางข้าว ให้ทำการไถกลบตอซังและฟางข้าวแล้วปล่อยน้ำเข้านา โดยให้ระดับน้ำพอท่วมวัสดุ หลังจากนั้นใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร คิดเป็นอัตราส่วน 1 : 20 ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป หรือสามารถปลูกพืชไร่เศรษฐกิจชนิดอื่นได้ เช่น พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด ข้างฟ่าง ฯลฯ

พื้นที่เขตเกษตรน้ำฝน ในกรณีที่เกษตรกรมีการปลูกข้าวเป็นพืชหลักเพียงอย่างเดียวตลอดฤดูเพาะปลูกโดยอาศัยน้ำฝน หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวให้ทิ้งฟางข้าวและตอซังไว้ในพื้นที่ของเกษตรกร เพื่อเป็นการคลุมผิวหน้าดิน จากนั้นเมื่อเข้าสู่ต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายน หรือต้นเดือนพฤษภาคม ให้ทำการเตรียมดินพร้อมกับการไถกลบตอซังและฟางข้าว แล้วปฏิบัติเช่นเดียวกับในเขตชลประทาน โดยทำการปล่อยน้ำเข้านาให้ระดับน้ำท่วมวัสดุที่ไถกลบ หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้อัตรา 5 ลิตร โดยให้เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ก่อนราดลงในแปลงนาข้าว หมักทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้ตอซังข้าวเกิดการย่อยสลาย แล้วจึงทำเทือกเตรียมแปลงพร้อมที่จะปลูกข้าวต่อไป

ผลเสียจากการเผาตอซัง

เกษตรกรที่เตรียมพื้นที่สำหรับปลูกข้าวโดยทำการเผาตอซังข้าวเพื่อให้เกิดความสะดวกในการไถเตรียมดิน หรือเพื่อต้องการกำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืชนั้นจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง
สมบัติของดินทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ เนื่องจากความร้อนจากการเผาตอซัง กล่าวคือ

1. ทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป อนุภาคของดินจับตัวกันแน่นและแข็ง ทำให้รากพืชแคระแกร็น ไม่สมบูรณ์และอ่อนแอ การหาอาหารลดลงรวมทั้งเชื้อโรคพืชสามารถเข้าทำลายได้ง่าย

2. สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน คาร์บอนและอินทรียวัตถุในดินเมื่อถูกเผาจะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูญเสียไปในบรรยากาศ ส่วนธาตุอาหารจะแปรสภาพให้อยู่ในรูปที่สามารถสูญเสียไปจากดินได้ง่าย

3. ทำลายจุลินทรีย์และแมลงที่เป็นประโยชน์ในดิน ทำให้ปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินลดลง เช่น กิจกรรมการเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนจากบรรยากาศให้อยู่ในรูปของสารประกอบไนโตรเจนที่พืชใช้ประโยชน์ได้ การแปรสภาพอนินทรีย์ฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ และการย่อยสลายอินทรียสารเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน นอกจากนั้นตัวอ่อนของแมลงศัตรูพืช เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียนที่อาศัยอยู่ในดินหรือตอซังพืชรวมทั้งจุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมโรคพืชถูกเผาทำลายไป ซึ่งหากระบบนิเวศน์ของดินไม่สมดุลจะทำให้การแพร่ระบาดของโรคเกิดได้ง่ายขึ้น

4. สูญเสียน้ำในดิน การเผาตอซังพืชทำให้ผิวดินมีอุณหภูมิสูงถึง 90 องศาเซลเซียส น้ำในดินจะระเหยสู่บรรยากาศอย่างรวดเร็ว ให้ความชื้นของดินลดลง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Lazada : http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Shopee : http://www.farmkaset..link..
โรคราแป้งยางพารา
โรคราแป้งยางพารา
ในการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิดถ้าผู้ปลูกคำนึงถึงการจัดการศัตรูพืชเพื่อลดความเสี่ยงจากการทำลายของ ศัตรูพืชแต่ละชนิดคงจะดีมาก เพราะ การลดความเสี่ยงนี้ คือ ความสามารถในการจัดการพืชให้รอดปลอดภัยจาก โรคและแมลงศัตรูพืช

ในช่วงเดือน ธันวาคม –มกราคม ใบยางพาราร่วงหล่น เป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่ชาวสวนยางต้องเฝ้าสังเกต ต้นยางอย่างใกล้ชิดมากขึ้นเพราะเมื่อใบเก่าร่วงไป ใบใหม่ก็ต้องมาทดแทน ซึ่งโรคราแป้งในยางพาราก็มักจะเกิด ในช่วงแตกใบอ่อน ดังนั้นแล้วก็ต้องเฝ้าระวัง

ราแป้ง เกิดจากเชื้อเชื้อราOidium heveae Steinm ( Oidium Leaf Disease)

เชื้อสาเหตุมีลักษณะเป็นฝุ่นแป้งบนใบอ่อนยางพารามักพบการระบาดในช่วงที่ฝนตกปรอยๆ อุณหภูมิลดลง ๓ – ๔ องศาเซลเซียส หรือสภาพอากาศเย็นอุณหภูมิประมาณ ๑๘ – ๒๐ องศาเซลเซียส ใบอ่อนยางพาราจะมีสีขาวคล้ายฝุ่นแป้ง กระจายทั่วทั้งใบ ประมาณ ๒ – ๔ วัน หลังจากนั้นใบจะร่วง มีอาการคล้ายน้ำร้อนลวก อาการรุนแรงร่วงโกรนทั้งต้น ไม่รุนแรงใบจะมีรอยจุด หรือบิดงอใบยางพาราที่เจริญงอกมาแทนใบร่วงโกรนใบจะเล็กกว่าปกติ

ผลกระทบ: กรณีใบร่วงโกรนทั้งต้น ยางพาราจะใช้เวลาเพิ่มที่จะพัฒนาเป็นแก่จัดพร้อมเปิดประมาณ ๓๐ – ๓๕ วันและผลผลิตลดลง กรณีใบเป็นจุดผลผลิตจะลดลง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคราแป้งองุ่น และ โรคราน้ำค้างองุ่น
โรคราแป้งองุ่น และ โรคราน้ำค้างองุ่น
การปลูกองุ่นในประเทศไทยสามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้ แต่ไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น จึงมักพบโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับองุ่น เช่น โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง โรคแอนแทรคโนส เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง และหนอนกระทู้ เป็นต้น ทำให้เกษตรกรใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูองุ่นในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated Pest Management; IPM) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อคนและสิ่งแวดล้อม เป็นการเลือกใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชตั้งแต่ 2 วิธีการขึ้นไปมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสม เป็นการลดการใช้สารเคมีเกษตรในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช หรือใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้นเพื่อลดระดับปริมาณศัตรูพืชให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ และเกิดความสมดุลของระบบนิเวศ โรคและแมลงศัตรูองุ่นที่สำคัญ ได้แก่

โรคราน้ำค้างองุ่น (Downy mildew)

เชื้อสาเหตุ : Plasmopara viticola

ลักษณะอาการ : เป็นขุยสีขาวที่ใต้ใบองุ่น ด้านบนใบจะเห็นเป็นสีเหลืองเป็นจ้ำๆ ถ้าเป็นรุนแรงใบจะไหม้ ช่อดอกและผลอ่อนเหี่ยวแห้ง

การระบาด : ระบาดในช่วงฤดูฝน หรือในช่วงที่มีความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด :

1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
3. งดให้น้ำในช่วงเย็น
4. การใช้สารปลอดภัย


โรคราแป้งองุ่น (Powdery mildew)

เชื้อสาเหตุ : Oidium tuckeri

ลักษณะอาการ : เป็นขุยแป้งขี้เถาสีขาว เกิดบนใบ กิ่ง และผล

การระบาด : ระบาดในช่วงปลายฤดูฝน-ฤดูหนาว

การป้องกันกำจัด :

1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
3. การใช้สารปลอดภัย

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคพืชวงศ์แตง แตงโม แตงกวา เมลอน สคว็อช ซุคคินี่
โรคพืชวงศ์แตง แตงโม แตงกวา เมลอน สคว็อช ซุคคินี่
สำรวจโรคในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์แตงโม (19แปลง) แตงกวา (16 แปลง) เมลอน (93 แปลง) สคว็อช (33แปลง) ซุคคินี่ (28แปลง) ในเขต อ.เมืองขอนแก่น _ อ.หนองเรือ_ อ.น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น และ อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม_ กิ่งอำเภอเอราวัณ จ.เลย_ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู_ อ.ดอนตาล และ อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร และน้ำเต้า(17 แปลง) ในอ.ยางตลาด อ.ห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์

ในช่วงฤดูการปลูกปลายธันวาคม 2548- เดือนเมษายน 2549_ กันยายน - พฤศจิกายน 2549 และช่วงฤดูปลูกปลายธันวาคม 2549 ถึง เมษายน 2550 ในแต่ละแปลงได้สำรวจโรค 2 ครั้งคือ ในช่วงที่เริ่มผสมเกสรหรือติดผลแรก และในระยะที่ผลแก่เต็มที่ก่อนเก็บเกี่ยว รวมทั้งการตรวจวินิจฉัยตัวอย่างโรคแตงโมที่ปลูกอยู่ในแหล่ง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น อ. พรรณานิคม จ. สกลนคร และ อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ ซึ่งบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ส่งมาให้ตรวจ

ได้พบโรคที่สำคัญต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ซึ่งอาการโรคมีความแตกต่างไปตามชนิด โรค ชนิดพืช สายพันธุ์พืช ระยะการเจริญของพืชและวิธีการดูแลรักษาแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกร และระดับความรุนแรงของโรคแต่ละชนิดในแปลงแตกต่างกันไปตามสภาพการเอา ใจใส่ดูแลแปลง และสภาพพื้นที่ปลูก และสายพันธุ์พืช

แบ่งออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ คือ

กลุ่มที่ 1) โรคที่เกิดจากเชื้อรา จัดเรียงตามลำดับความถี่ที่พบจากมากไปน้อย ได้แก่ โรคเถาแตกยางไหล (gummy stem blight) จากเชื้อรา Didymella bryoniae หรือ Phoma cucurbitarum โรคเถาแตกผลเน่าดำจากเชื้อราไฟซาโลสปอรา (Physalospora rhodina) โรคราน้ำค้าง(downy mildew) จากเชื้อรา Pseudoperospora cubensis โรคราแป้ง (powdery mildew) เกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โรคเหี่ยวฟิวซาเรี่ยม (fusarium wilt) เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp. โรคใบจุดเซอร์คอสปอรา (Cercospora leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Cercospora sp. โรคใบจุดคอไรนีสปอรา (Corynespora leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Corynespora sp. โรคแอนแทรกโนส (anthracnose) เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum orbiculare โรคเหี่ยวสเคลอโรเตียม (sclerotium wilt) เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii โรคผลเน่าจากเชื้อราพิเทียม (Pythium spp.)

กลุ่มที่ 2) โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จัดเรียงตามลำดับความถี่ที่พบจากมากไปน้อย ได้แก่ โรคใบจุดแบคทีเรียจากเชื้อ แซนโทโมแนส (Xanthomonas leaf spot) จากเชื้อ Xanthomonas spp._ โรคผลเน่าแบคทีเรีย(bacterial fruit blotch เกิดจากเชื้อ อะซิโดโวแรกซ์ (Acidovorax avenae subsp. citrulli) โรคผลเน่าจากเชื้อเออร์วิเนีย (Erwinia spp.) โรคเหี่ยว ต้นหรือเถาเน่าเละ (wilt and stem or vine soft rot) จากเชื้อเออร์วิเนีย (Erwinia spp.) และกลุ่มอาการโรคที่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยระบุชนิดเชื้อ เพิ่มเติมคือ โรคเหี่ยวเฉียบพลัน (sudden wilt) ในเมลอน โรคยอดไหม้ถอยกลับ (die back) โรคเหี่ยวเขียวในแตงกวา (bacterial wilt) และโรคเถาเหี่ยวเหลืองในแตงกวา (yellow vine wilt) โรคเถาแห้ง (vine necrosis)

กลุ่มที่ 3) โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เรียงตามความถี่ที่พบจากมากไปน้อย คือ โรคใบด่างซีเอ็มวี (Cucumber mosaic virus) โรคใบด่างจากเชื้อในจีนัสโพทีไวรัสซึ่งมีหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสใบด่างจุดวงแหวนมะละกอ (Papaya ringspot virus-W)_ ไวรัสใบด่างซุคคินี่ (Zucchini yellow mosaic virus)_ และไวรัสในวงศ์โพทีวิริดีที่ยังไม่ได้จำแนกระบุชนิด โรคใบด่างเนื้อเยื่อตายที่เกิดจากไวรัสในจีนัสทอสโพไวรัส (Tospovirus) โรคใบด่างเขียวที่เกิดจากเชื้อไวรัสใบด่างเขียว( Cucumber green mottle mosaic virus) และกลุ่มไวรัสที่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยระบุชนิดเพิ่มเติม คือ โรคไวรัสใบด่างเนื้อเยื่อตาย และโรคไวรัสเถาเหลือง

กลุ่มที่ 4) โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย ในบางพื้นที่พบปัญหาสำคัญที่เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.)

และ กลุ่มที่ 5) โรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (abiotic disease) ที่พบมากคือ การเป็นพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสารกำจัดวัชพืชที่ฉีดพ่นแบบไม่ถูกต้อง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
การปลูกฟ้าทะลายโจร
การปลูกฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจร (Kariyat_ The Creat) สำหรับในประเทศไทยมีชื่อเรียกเฉพาะแตกต่างกันไปในแต่ละภาค เช่น หญ้ากันงู เมฆทะลายฟ้าสะท้าน สามสิบดี ฟ้าสาง หรือน้ำลายพังพอน

ลักษณะเป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร มีรสขมทุกส่วน กิ่งใบเป็นสี่เหลี่ยม ใบมีสีเขียวเข้มผิวมัน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ และมีเส้นสีม่วง-แดงพาดอยู่ มีผลเป็นฝัก เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล ด้านในมีเมล็ดจำนวนมาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เมื่อต้นมีอายุประมาณ 3-5 เดือน ใช้ได้ทั้งต้น ใบสด และใบแห้ง

สายพันธุ์ฟ้าทะลายโจรที่นำมาปลูกมี 3 สายพันธุ์ด้วยกัน คือ สายพันธุ์จาก อ.กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เป็นสายพันธุ์ที่ให้ค่าน้ำหนักสดเฉลี่ยต่อต้นสูงสุด นอกเหนือจากนี้ก็มีสายพันธุ์จากระยอง และสายพันธุ์จากศรีสะเกษ

เทคนิคการปลูกและการดูแลรักษาฟ้าทะลายโจร

1. การเตรียมการก่อนปลูก

1.1 การเตรียมดิน โดยการขุดหรือไถพรวนเพื่อให้ดินร่วนซุย และตากดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงทำการไถแปร และปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก

1.2 การเตรียมพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใช้เมล็ดจากฝักแก่จัด เมล็ดต้องมีสีน้ำตาลแดง ลักษณะสมบูรณ์ ปราศจากโรคและแมลง เนื่องจากเมล็ดมีเปลือกแข็ง ก่อนปลูกแช่เมล็ดในน้ำที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 6-12ชั่วโมง เพื่อให้น้ำซึมผ่านเมล็ดและเมล็ดสามารถงอกได้

การปลูก ฟ้าทะลายโจรสามารถปลูกด้วยเมล็ดหรือต้นกล้า มี 4 วิธี คือ

1. นำเมล็ดผสมทรายหยาบอัตรา 1:1-2 ส่วน แล้วหว่านในแปลงปลูก

2. โรยเมล็ดเป็นแถวแนวขวาง แต่ละแถวห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วกลบด้วยดินบาง ๆ

3. เพาะต้นกล้าในถาดเพาะ แล้วย้ายกล้ามาปลูกในแปลง เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 30 วัน

4. เพาะต้นกล้าในแปลง การเตรียมแปลงเพาะต้นกล้าใช้วิธีเดียวกับการทำแปลงปลูก โดยรองพื้น

ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร



3. การดูแลรักษา

3.1 การใส่ปุ๋ย

แบ่งใส่เป็นระยะ ดังนี้ อายุ 60 วัน ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 125 กรัมต่อต้น หรือ 300 - 400 กรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร และเมื่ออายุ 90 - 110 วัน ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 300 - 500 กรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยวิธีการหว่านให้กระจายสม่ำเสมอกัน หลังหว่านปุ๋ยแล้วต้องรดน้ำทันทีอย่าให้ปุ๋ยค้างที่ใบ

3.2 การให้น้ำ

ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง ตั้งแต่ปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยว ในช่วงที่มีแดดจัดหรือหน้าร้อนควรรดน้ำ 2 ครั้งต่อวัน ทั้งเช้าและเย็น หากมีแดดไม่จัดมาก รดน้ำวันละครั้งเฉพาะช่วงเย็นก็ได้ เมื่อต้นอายุประมาณ 2 เดือนสามารถลดการให้น้ำได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

3.3 การป้องกันและแก้ไข ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช

โรคฟ้าทะลายโจร ได้แก่ โรคโคนเน่าและรากเน่า เกิดจากเชื้อรา หากพบให้ถอนทำลายทันที โรคแอนเทรคโนส พบตรงกลางหรือปลายใบ หากพบให้ตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้ง (โรคที่เกิดขึ้นกับฟ้าทะลายโจรนั้น ไม่พบว่าทำความเสียหายขั้นรุนแรง)

แมลงศัตรูฟ้าทะลายโจร ไม่พบแมลงชนิดใดที่ทำความเสียหายรุนแรง อาจพบหนอนผีเสื้อได้บ้าง ก็สามารถจับไปทำลายทิ้งได้



4. การปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว

- เก็บเกี่ยวในช่วงที่พืชออกดอกตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบาน 50% ซึ่งพืชจะมีอายุประมาณ 110 - 150 วัน เป็นช่วงที่มีสารสำคัญสูง โดยพบมากที่ส่วนยอดและใบ

- วิธีการเก็บเกี่ยวให้ตัดทั้งต้น ให้เหลือตอสูงประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร เพื่อให้เจริญให้ผลผลิตต่อไป ใช้เวลาประมาณ 2 - 3 เดือนจึงสามารถเก็บเกี่ยวได้อีกครั้ง

- การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว นำไปคัดแยกสิ่งปลอมปน เช่น วัชพืชที่ปะปนมาและล้างให้สะอาด ตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 3 - 5 เซนติเมตร ผึ่งให้แห้ง ทำแห้งโดย ตากแดดบนลานตากยกพื้นมีวัสดุรองรับที่สะอาด หรือใช้เครื่องอบแห้งแบบลมร้อน ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ใน 8 ชั่วโมงแรก และลดอุณหภูมิเหลือ 40 - 45 องศาเซลเซียส อบต่อจนแห้งสนิท

5. ข้อมูลอื่นๆ

สารสำคัญออกฤทธิ์ มีสารสำคัญประเภท ไดเทอร์ฟีน แลคโตน (diterpene lactones) ได้แก่ แอนโดรการโฟไลด์ (andrographolide) มีฤทธิ์ลดไข้และต้านอักเสบ และ ดีออกซีแอนโดรการโฟไลด์ (deoxyandrographolide) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของท้องร่วง มาตรฐานของฟ้าทะลายโจรที่ใช้ในการผลิตยาจะต้องมี andrographolide ไม่น้อยกว่า 6% โดยน้ำหนัก

ที่มาของข้อมูล: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
การใช้ตะไคร้หอมกำจัดหนอนใยผัก
การใช้ตะไคร้หอมกำจัดหนอนใยผัก
การใช้ตะไคร้หอมกำจัดหนอนใยผัก
เกษตรกรที่ปลูกผักไม่ว่าจะปลูกเพื่อจำหน่ายหรือปลูกเพื่อเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะผักตระกูลกระหล่ำและผักกาดขาว มักจะประสบกับปัญหาหนอนใยผักกัดกินยอดของพืชผักทั้งบนใบและใต้ใบ ทำให้ผลผลิตที่ได้นั่นเกิดความเสียหายนำไปขายไม่ได้ต้องคัดทิ้ง ทำให้ต้นทุนในการปลูกเพิ่มมากยิ่งขึ้น จากการสัมภาษณ์คุณโชคชัย บุญยัง หัวหน้ากลุ่มงานอารักขาศัตรูพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกี่ยวกับการกำจัดหนอนใยผักศัตรูตัวร้ายของพืชตระกูลกระหล่ำด้วยตะไคร้หอม

คุณโชคชัย บุญยัง หัวหน้ากลุ่มงานอารักขาศัตรูพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า หนอนใยผักจะเป็นศัตรูพืชที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นเกษตรกรบางรายจะหันไปใช้สารเคมีในการจัดการแมลงชนิดกันเป็นจำนวนมากเพราะกลัวว่าผลผลิตจะได้รับความเสียหายจากศัตรูพืชต่าง ๆ แต่กลับขาดความรู้ความเข้าใจในพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้จัดการแทนสารเคมีที่ปลอดภัยได้ ซึ่งมีอยู่ชนิดหนึ่งที่สามารถใช้เข้ควบคุมกำจัด และป้องกันได้ ก็คือ ตะไคร้หอม ซึ่งเกษตรกรสามารถนำตะไคร้หอม(มีลักษณะใบสีขาวอมม่วง) ต้นที่แก่จัด(จะเห็นสีม่วงชัดเจน) มาใช้ในการป้องกันกำจัดได้ เนื่องจาก ต้นที่แก่จัดของตะไคร้หอมนั้น จะมีสารออกฤทธิ์หรือสรรพคุณในการนำมาใช้ป้องกันกำจัดได้ดีกว่าตะไคร้หอมต้นที่ไม่แก่จัดหรือตะไคร้บ้านที่ปลูกกันโดยทั่วไป

โดยมีวิธีการนำมาใช้ป้องกัน-กำจัดหนอนใยผักอย่างได้ผล ดังนี้

1. นำต้นตะไคร้หอมที่แก่จัดทั้งต้นมาหั่นหรือสับ ให้ได้ น้ำหนักประมาณ 5 ขีด

2. นำไปผสมกับน้ำครึ่งปี๊บ(ประมาณ 10 ลิตร) หมัก ทิ้งไว้ 1 วัน (24 ชั่วโมง)

3. กรองเอาแต่น้ำ ไปผสมกับสบู่หรือแชมพู ฉีดพ่นแปลงพืชผักที่พบว่ามีหนอนใยผักเข้าทำลายทุก ๆ 3 วัน ในช่วงเย็น

** จะช่วยป้องกันและจำกัดหนอนใยผักได้เป็นอย่างดี พร้อมยังเป็นการลดใช้สารเคมีที่จะไปเพิ่มต้นทุนในการผลิตให้สูงขึ้น และ บั่นทอนสุขภาพของเกษตรกร/ผู้บริโภคได้อีกด้วย

หมายเหตุ : เกษตรกรควรหมั่นกำจัดวัชพืชซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย/หลบซ่อนของแมลงศัตรูพืช ที่อยู่ในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ และตระไคร้ที่นำมาใช้ต้องเป็นตระไคร้หอมเท่านั้น ซึ่งถ้าปลูกผักจำนวนมากสามารถเพิ่มอัตราส่วนได้โดยการเปรียบเทียบตามสูตรได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่และขนาดแปลงผักที่ปลูก

เรียบเรียงโดย :นงพงา ไกรวิลาศ. เจ้าหน้าศูนย์ประสานงานร่วมด้วยช่วยกัน จังหวัดชุมพร.

ที่มา http://www.farmkaset..link..

สำหรับสินค้าจากเรา ไอกี้-บีที เป็นสารชีวินทรีย์ปลอดภัย สำหรับ ป้องกัน และ กำจัดหนอน สามารถใช้ป้องกัน กำจัด ตระกูลหนอนได้หลายชนิด
หนอนหัวดำ หนอนศัตรูมะพร้าว การป้องกันและกำจัด หนอนหัวดำ
หนอนหัวดำ หนอนศัตรูมะพร้าว การป้องกันและกำจัด หนอนหัวดำ
หนอนหัวดำ หนอนศัตรูมะพร้าว การป้องกันและกำจัด หนอนหัวดำ
จังหวัดนครปฐมจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ป้องกันกำจัดหนอนหัวดำ ศัตรูมะพร้าว ซึ่งในขณะนี้กำลังระบาดในจังหวัดนครปฐมและอีกหลายจังหวัด ด้วยวิธีการผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน

ที่บริเวณศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 8 ตำบลสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม นายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม พร้อมด้วย นายอำเภอสามพราน เกษตรจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ เกษตรอำเภอ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประชาชน ร่วมกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ โครงการป้องกันและกำจัดหนอนหัวดำ ศัตรูมะพร้าว ซึ่งในขณะนี้กำลังระบาดในจังหวัดนครปฐมและอีกหลายจังหวัด สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรเป็นจำนวนมาก โดยนายบุญเลี้ยง ข่ายม่าน เกษตรจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า จังหวัดนครปฐมมีพื้นที่ปลูกมะพร้าว จำนวน 7_112 ไร่ มีพื้นที่การระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว จำนวน 121.48 ไร่ ซึ่งศัตรูมะพร้าว โดยเฉพาะหนอนหัวดำ หากไม่ป้องกันและกำจัดที่ดี จะทำให้ผลผลิตมะพร้าวลดลง และรายได้ของเกษตรกรก็ลดลงตามไปด้วย

สำหรับการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและกำจัดหนอนหัวดำในครั้งนี้ เป็นการกำจัดด้วยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และท้องถิ่น เพื่อรณรงค์ให้เกษตรกรปฏิบัติตามมาตรการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน บูรณาการร่วมกับงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี และการบริการเกษตร เพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่ ปี 2560 เพื่อถ่ายทอดความรู้ และให้บริการแก่เกษตรกรในชุมชนให้ได้รับความรู้ เข้าถึงปัจจัยการผลิต ลดความเสี่ยงในการบริหารจัดการ และให้เกิดความเข้มแข็ง โดยมีการจัดสถานีการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกร ได้แก่ การจัดการวัสดุจากมะพร้าวเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน การจัดการหนอนหัวดำโดยชีววิธี การกำจัดหนอนหัวดำโดยใช้สารเคมีและการให้ความรู้ด้านกฎหมาย การผลิตและใช้แตนเบียนบราคอนในการควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าว โดยศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน นอกจากนี้ ผู้ว่าราชารจังหวัดนครปฐม ได้มอบแตนเบียนบราคอนให้แก่ตัวแทนเกษตรกรทั้ง 7 อำเภอ และร่วมปล่อยแตนเบียนบราคอนบริเวณแปลงเรียนรู้การควบคุมศัตรูพืช ซึ่งเป็นการกำจัดโดยวิธีทางธรรมชาติ โดยแตนเบียนบราคอน จะไปทำลายหนอนหัวดำ และวางไข่ฝังในตัวหนอนหัวดำ และเกิดใหม่เพื่อไปทำลายหนอนหัวดำต่อไป โดยไม่ทำลายพืชผลทางการเกษตรของเกษตรกรแต่อย่างใด

อ้าอิง http://www.farmkaset..link..

ไอกี้-บีที คือ สารชีิวนทรีย์ สำหรับป้องกัน และกำจัดหนอนทุกชนิด ปลอดภัย ผลิตจาก เชื้อ BT เป็นแบคทีเรียแกรมบวก ที่ออกฤทธิ์ ทำลาย ตะกูลหนอนทั้งหมด และเป็นอันตรายต่อตระกูลหนอนเท่านั้น ปลอดภัยต่อคน และสัตว์เลี้ยง
สูตรกำจัดหนอน กำจัดหนอนลำไย กำจัดหนอนลิ้นจี่
สูตรกำจัดหนอน กำจัดหนอนลำไย กำจัดหนอนลิ้นจี่
สูตรกำจัดหนอน กำจัดหนอนลำไย กำจัดหนอนลิ้นจี่
ศูนย์บริหารศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรชาวสวนลําไยและลิ้นจี่ ในภาคเหนือ ให้ระวังการระบาดของหนอนเจาะขั้วผลลําไยและลิ้นจี่ซึ่งหนอนเจาะขั้วผลลําไยและลิ้นจี่จะเข้าทําลายผลผลิตในสองระยะ คือระยะเริ่มติดผลได้ประมาณ 1.5 – 2 เดือน และระยะที่ผลโตใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิต

โดยรูปร่างลักษณะตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนมีขนาดเล็กมาก เมื่อกางปีกสีเทาดํา ปลายปีกสีเหลือง มีขน สีดําปีกคู่หลังมีขนรอบปีก หนวดยาวกว่าลําตัว ตัวหนอนมีสีขาวนวล บางครั้งมีสีเขียวอ่อนขึ้นอยู่กับอาหารที่กิน ลําตัวเป็นปล้องเห็นชัดเจน หนอนเจริญเติบโตเต็มที่มีขนาดยาว 8 – 9 มิลลิเมตร หนอนจะใช้ปากชักใยคล้ายกับแผ่นพลาสติกใสหุ้มตัวเองอ่ภายใน ตามใบลิ้นจี่ที่ต้น และใบที่ร่วงหล่นอยู่ตามพื้นดิน หรือตามใบหญ้า ระยะดักแด้ประมาณ 7 – 8 วัน

การระบาดมี2 ระยะๆ แรกเมื่อเริ่มติดผลได้ประมาณ 1.5 – 2 เดือน หนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในเมล็ด มองดูภายนอกจะไม่เห็นรอยทําลายเลยเมื่อผ่าดูจะเห็นรอยทําลาย ทำให้ผลถูกหนอนทําลายไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ และร่วงหล่นจนหมด ระยะที่สองเมื่อผลมีขนาดโตขึ้นหนอนจะเจาะกินบริเวณขั้วผล บริเวณใกล้ขั้วจะพบรูเล็กๆ ปรากฏอยู่

สำหรับวิธีการป้องกันกําจัด ถ้าพบหนอนหรือรอยทําลาย ให้เก็บผลที่ร่วงทุกวันไปเผาทําลาย สารธรรมชาติใช้สารสกัดจากเมล็ดสะเดา โดยใช้เมล็ดสะเดาบด 1 กิโลกรัมต่อน้ํา 20 ลิตรแช่ทิ้งไว้ 1 คืน นํามากรองด้วยผ้าขาวบางแล้วนําสารสะเดาที่ได้มาผสมกับสารจับใบฉีดพ่นเมื่อพบหนอนเจาะขั้วผล และหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวผล 15 วัน

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

หากไม่มีเวลาทำเอง หรือปลูกในปริมาณมาก ใช้ ไอกี้-บีที ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก สารป้องกันกำจัดหนอน ชีวภาพ ปลอดภัย จากเรานะคะ
ป้องกัน กำจัด เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยต่างๆ และ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ใช้ได้กับพืชทุกชนิด (1ลิตร ผสมน้ำได้ 400ลิตร)
ป้องกัน กำจัด เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยต่างๆ และ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ใช้ได้กับพืชทุกชนิด (1ลิตร ผสมน้ำได้ 400ลิตร)
มาคา เป็นยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ กำจัดแมลงศัตรูพืช
สกัดจากพืช_ 100% จากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata lugens

เป็นแมลงจำพวกปากดูด ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิดปีกสั้น (bracrypterous form) ชนิดมีปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกล โดยอาศัยกระแสลม ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ในหนึ่งฤดูปลูกข้าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย (generation)

ลักษณะการทำลายและการระบาดของ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลส์ท่อน้ำท่ออาหาร บริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวกแห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียก"อาการไหม้"(hopperburn) โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวงซึ่ง นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส โรคใบหงิก(rice raggedstunt) มาสู่ต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็นต้นเตี้ยใบสีเขียวแคบและสั้นใบแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว และ ขอบใบแหว่งวิ่น

เพลี้ยกระโดดหลังขาว Sogatella furcifera (Horvath)

เป็น แมลงจำพวกปากดูด ตัวเต็มวัยคล้ายกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่ปีกมีจุดดำที่กลางและปลายปีก และมีแถบสีขาวตรงส่วนอกระหว่างฐานปีกทั้งสอง ตัวเต็มวัย มีสีน้ำตาลถึงสีดำ ลำตัวสีเหลือง มีแถบสีขาวเห็นชัดอยู่ตรงส่วนอกระหว่างฐานปีกทั้งสอง มีทั้งชนิดปีกสั้นและปีกยาว เพศเมียสามารถวางไข่ได้ 300-500 ฟองในชั่วชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ไข่มีลักษณะและขนาดเหมือนกับไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่มีเปลือกหุ้มไข่ยาวกว่า ตัวอ่อนมีจุดดำและขาวที่ส่วนท้องด้านบน

ลักษณะการทำลายของ เพลี้ยกระโดดหลังขาว

เพลี้ยกระโดดหลังขาวตัวเต็มวัยเข้ามาในแปลงข้าวช่วง 30 วันแรกหลังจากเป็นต้นกล้า โดยจะอาศัยอยู่บริเวณโคนต้นข้าว ใน 1 ฤดูปลูกสามารถเจริญเติบโตขยายพันธุ์ได้น้อยชั่วอายุกว่าเพลี้ยกระโดดสี น้ำตาล และชอบดูดกินน้ำเลี้ยงบนข้าวต้นอ่อน และขยายพันธุ์เป็นพวกปีกยาว จากนั้นจะอพยพออกจากแปลงข้าวก่อนที่ข้าวจะออกดอก กับดักแสงไฟสามารถดักจับตัวเต็มวัยได้เป็นจำนวนมาก เพลี้ยกระโดดหลังขาวพบเป็นแมลงประจำท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาค เหนือตอนบนมากกว่าภาคกลาง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดหลังขาวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากโคนกอข้าว ต้นข้าวที่ถูกทำลายใบมีสีเหลืองส้ม ซึ่งต่างจากต้นข้าวที่ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายจะแสดงอาการใบสีน้ำตาล แห้ง เมื่อมีปริมาณแมลงมาก ต้นข้าวอาจจะถูกทำลายจนเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด การระบาดค่อนข้างกระจายสม่ำเสมอเป็นพื้นที่กว้าง ซึ่งแตกต่างจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่การระบาดทำลายข้าวจะเป็นหย่อมๆ พบระบาดตั้งแต่ระยะกล้าถึงระยะออกรวง ยังไม่มีรายงานว่าเป็นแมลงพาหะนำโรคไวรัสมาสู่ต้นข้าว

แมลงศัตรูพืช ที่ใช้ มาคา ได้

#เพลี้ยไฟ #แมลงหวี่ขาว #เพลี้ยไก่แจ้ #เพลี้ยอ่อน #เพลี้ยกระโดด #เพลี้ยจักจั่น #เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

#Aphid #Insect #Aphididae #Aphidoidea #greenfly #blackfly #Drosophila #whitefly

✅ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
✅ฉีดพ่นต่อเนื่องไม่อันตราย
✅ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บฟาร์มเกษตรโดยตรง http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Lazada มาคา http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Shopee มาคา http://www.farmkaset..link..

ข้อมูลและอัตราผสมใช้

🦗 ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ กำจัด เพลี้ย แมลงหวี่ขาว แมลงพาหะของโรค และแมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)

🦗ข้อมูล มาคา

มาคา สกัดจากธรรมชาติ ที่ถูกคัดสรรอย่างพิถีพิถัน โดยใช้หลักการเทคโนโลยีชั้นสูง ในการรวมอัลคาลอยเข้มข้นที่มีประสิทธิภาพสูงเข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อีกทั้งสามารถยับยั้งการดื้อยาที่เกิดจากการใช้สารเคมีเป็นเวลานาน เนื่องจาก มาคา มีวิธีการออกฤทธิ์แบบไม่เจาะจง จึงทำให้แมลงไม่สามารถปรับตัวต้านทานได้ รวมทั้งสามารถฉีดพ่นได้ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว โดยปราศจากสารพิษตกค้างในดินและน้ำ ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

*การใช้มาคากำจัด เพลี้ย และแมลงศัตรูพืช กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

MAKA : Multiple Alkaloid Agent Insecticide

Natural Organic Plant Alkaloids extracted from specially selected plants using high technology. Highly concentrated alkaloids are extremely effective in eliminating and repelling insects. They protect the plants from further insect attacks. No insecticide resistance build-ups as the active ingredients are non-specific in action. No poisonous residues – safe to spray before harvest. No contamination of soil and water. No user and consumer poisonings.

Elimination Alkaloids act by destroying the nervous_ metabolism system of insects and haemocytes. Natural active insecticidal oil cover and block the breathing pores of insects. Kill ratio is high if used according to manufacturer’s instructions.

Repellent Odor and Active ingredients of Alkaloids effectively coat surfaces of plants The Ionic charges and nerve acting alkaloid will repel insects from attacking plants.

Protection MAKA Alkaloids will cover and stick to the leaves and plant surfaces to provide continuous repelling protection for extended periods.

Protect nad Eliminate pest
– Brown Planthopper (Nilaparvata lugens)
– Zigzag Leafhopper (Recilla dorsalis)
– Green Leafhopper (Nephotettix spp.)
– Rice Thrips (Balliothrips biformis)
ป้องกัน กำจัด เพลี้ยไฟ เพลี้ยต่างๆ และ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ใช้ได้กับพืชทุกชนิด (1ลิตร ผสมน้ำได้ 400ลิตร)
ป้องกัน กำจัด เพลี้ยไฟ เพลี้ยต่างๆ และ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ใช้ได้กับพืชทุกชนิด (1ลิตร ผสมน้ำได้ 400ลิตร)
มาคา เป็นยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ กำจัดแมลงศัตรูพืช
สกัดจากพืช_ 100% จากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค

เพลี้ยไฟ Stenchaetohrips biformis (Bagnall) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ขนาดเล็ก มีทั้ง ชนิดมีปีก และ ไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อน

เพลี้ยไฟ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะทำลายพืช ดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบอ่อน ทำให้ใบเหี่ยว ขอบใบม้วน หงิก งอ ผิดรูปทรง

แมลงศัตรูพืช ที่ใช้ มาคา ได้

#เพลี้ยไฟ #แมลงหวี่ขาว #เพลี้ยไก่แจ้ #เพลี้ยอ่อน #เพลี้ยกระโดด #เพลี้ยจักจั่น #เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

#Aphid #Insect #Aphididae #Aphidoidea #greenfly #blackfly #Drosophila #whitefly

✅ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
✅ฉีดพ่นต่อเนื่องไม่อันตราย
✅ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บฟาร์มเกษตรโดยตรง http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Lazada มาคา http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Shopee มาคา http://www.farmkaset..link..

ข้อมูลและอัตราผสมใช้

🦗 ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ กำจัด เพลี้ย แมลงหวี่ขาว แมลงพาหะของโรค และแมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)

🦗ข้อมูล มาคา

มาคา สกัดจากธรรมชาติ ที่ถูกคัดสรรอย่างพิถีพิถัน โดยใช้หลักการเทคโนโลยีชั้นสูง ในการรวมอัลคาลอยเข้มข้นที่มีประสิทธิภาพสูงเข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อีกทั้งสามารถยับยั้งการดื้อยาที่เกิดจากการใช้สารเคมีเป็นเวลานาน เนื่องจาก มาคา มีวิธีการออกฤทธิ์แบบไม่เจาะจง จึงทำให้แมลงไม่สามารถปรับตัวต้านทานได้ รวมทั้งสามารถฉีดพ่นได้ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว โดยปราศจากสารพิษตกค้างในดินและน้ำ ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

*การใช้มาคากำจัด เพลี้ย และแมลงศัตรูพืช กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

MAKA : Multiple Alkaloid Agent Insecticide

Natural Organic Plant Alkaloids extracted from specially selected plants using high technology. Highly concentrated alkaloids are extremely effective in eliminating and repelling insects. They protect the plants from further insect attacks. No insecticide resistance build-ups as the active ingredients are non-specific in action. No poisonous residues – safe to spray before harvest. No contamination of soil and water. No user and consumer poisonings.

Elimination Alkaloids act by destroying the nervous_ metabolism system of insects and haemocytes. Natural active insecticidal oil cover and block the breathing pores of insects. Kill ratio is high if used according to manufacturer’s instructions.

Repellent Odor and Active ingredients of Alkaloids effectively coat surfaces of plants The Ionic charges and nerve acting alkaloid will repel insects from attacking plants.

Protection MAKA Alkaloids will cover and stick to the leaves and plant surfaces to provide continuous repelling protection for extended periods.

Protect nad Eliminate pest
– Brown Planthopper (Nilaparvata lugens)
– Zigzag Leafhopper (Recilla dorsalis)
– Green Leafhopper (Nephotettix spp.)
– Rice Thrips (Balliothrips biformis)
1167 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 116 หน้า, หน้าที่ 117 มี 7 รายการ
|-Page 107 of 117-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
โรคราแป้ง ที่เกิดกับ แตงกวา
Update: 2564/08/09 05:45:36 - Views: 3635
โรคทุเรียน
Update: 2566/03/03 08:27:38 - Views: 3511
มะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว และการป้องกันกำจัด
Update: 2563/12/11 11:12:49 - Views: 3760
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยไฟ ในมะเขือ และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/01 14:33:16 - Views: 3440
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในดอกลีลาวดีอย่างได้ผล
Update: 2566/05/09 10:41:24 - Views: 3383
การปลูกมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตดี
Update: 2563/06/05 10:07:34 - Views: 3631
ตั๊กแตนตำข้าว พลางตัวด้วยสีเหมือนกิ้งไม้ ใบหญ้าแห้ง ป้องกันตนจากภัยอันตราย
Update: 2563/05/26 10:24:16 - Views: 3678
มะละกอผลเน่า มะละกอใบไหม้ ราขาวมะละกอ ราดำมะละกอ ควบคุม ป้องกันกำจัด ก่อนโรคจะสร้างความเสียหาย
Update: 2566/11/04 19:44:55 - Views: 9643
ราสนิมขาวผักบุ้ง โรคผักบุ้งใบไหม้ และโรคราต่างๆ สร้างความเสียหายต่อผลผลิต ควบคุม ป้องกันกำจัดก่อนเกิดความเสียหาย
Update: 2566/11/04 09:56:30 - Views: 9528
มะม่วงเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตสูง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ซิงค์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
Update: 2566/11/10 07:07:37 - Views: 9857
ยากำจัดเพลี้ยมะระ เพลี้ยไฟมะระ เพลี้ยอ่อนมะระ เพลี้ยจักจั่นมะระ เพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่น มาคา
Update: 2564/10/06 02:57:02 - Views: 3424
FK Talk: กำลังเข้าสู่ฤดูหนาว อย่าลืมใช้ปุ๋ยน้ำปลอดสารพิษจากเรา ดูแลพืชของคุณนะครับ
Update: 2557/10/05 09:05:14 - Views: 3440
โรคกิ่งเน่า ลำต้นเน่า โคนเน่า ในมังคุด: วิธีป้องกันและกำจัดด้วยสารอินทรีย์
Update: 2566/01/13 07:58:38 - Views: 3436
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราแป้ง ในองุ่น ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/09 10:15:59 - Views: 3453
การควบคุมศัตรูพืชไม่มีวิธีการใดดีท่ีสุด ต้องใช้หลักการผสมผสาน
Update: 2564/03/10 22:01:08 - Views: 3985
การไถกลบตอซัง เพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว
Update: 2564/08/24 01:25:40 - Views: 3556
การป้องกันกำจัด เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยต้นทุเรียน
Update: 2566/05/06 08:15:02 - Views: 7670
ปุ๋ย FK-1 ฉีดพ่น ทุเรียน ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4 เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20 เปอร์เซ็นต์ 1 กล่องผสมน้ำได้ 400-800 ลิตร
Update: 2566/05/27 15:34:16 - Views: 3446
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนแมลงวันทอง ใน พริก และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/28 14:17:46 - Views: 3591
การควบคุมโรคเชื้อรา ในต้นข้าว อย่างมีประสิทธิภาพ
Update: 2566/05/04 09:59:18 - Views: 3431
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022