[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ความดันโลหิตสูง
11 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 1 หน้า, หน้าที่ 2 มี 1 รายการ

Fish oil ป้องกัน หลอดเลือดหัวใจ ได้จริงไหม?
Fish oil ป้องกัน หลอดเลือดหัวใจ ได้จริงไหม?
น้ำมันปลา (Fish oil) เป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ กรดไขมันโอเมก้า-3 มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพหลายประการ รวมถึงการลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ

การศึกษาหลายชิ้นพบว่า การรับประทานน้ำมันปลาช่วยลดระดับไขมันในเลือดชนิดไม่ดี (LDL) และไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ น้ำมันปลายังช่วยลดการอักเสบและลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดอุดตันได้

จากข้อมูลการศึกษาเหล่านี้ สรุปได้ว่า น้ำมันปลาสามารถช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้ อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำมันปลาที่ควรรับประทานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนนั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัด โดยทั่วไป แนะนำให้รับประทานน้ำมันปลาวันละ 1_000-2_000 มิลลิกรัม โดยควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานน้ำมันปลา โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเลือดแข็งตัวผิดปกติ

นอกจากการรับประทานน้ำมันปลาแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆ ที่สามารถช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้ เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ เลิกสูบบุหรี่ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
อ่าน:3419
3 สมุนไพร บำรุงสมอง ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์
3 สมุนไพร บำรุงสมอง ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์
แพทย์แผนไทย แนะ 3 สมุนไพร เพิ่มความจำ บำรุงสมอง ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ พร้อมวิธีลดความเสี่ยงแบบง่ายๆ

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นโรคที่พบมากในผู้สูงอายุ จากการศึกษาวิจัยพบว่า เกิดจากการสะสมของ amyloid plaques ในเซลล์สมอง ส่งผลให้สารสื่อประสาทอะเซติลโคลีนลดลง ซึ่งมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน ปัจจัยด้านพันธุกรรม และมักเป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งการทำงาน และการเข้าสังคม
โดยอาการเริ่มต้น คือ การถามคำถามเดิมซ้ำๆ เริ่มคิดอะไรที่ซับซ้อนไม่ได้ มีความลังเล ไม่สามารถตัดสินใจเรื่องง่ายๆได้ มีความวิตกกังวลมากขึ้น ตื่นตกใจง่าย และอาจมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้

น.พ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้แนะนำสมุนไพร 3 ชนิด ที่สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่

-บัวบก
สมุนไพรที่ไม่ได้มีดีแค่แก้ช้ำใน ยังมีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย แก้อาการอ่อนเพลีย ที่สำคัญ สารสกัดจากบัวบก สามารถเพิ่มความจำและปรับสภาพอารมณ์ในผู้สูงอายุที่มีภาวะความจำเสื่อมเล็กน้อย รวมถึงช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กพิการทางสมองได้

-พรมมิ หรือ ผักมิ
มักนำมารับประทานเป็นผักลวกและจิ้มน้ำพริก ในตำราอายุรเวทของอินเดีย กล่าวไว้ว่า พรมมิ มีสรรพคุณช่วยเพิ่มความจำ บำรุงสมอง ส่วนข้อมูลทางเภสัชวิทยา พบว่า พรมมิ มีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของความจำ การตัดสินใจ ช่วยปกป้องเซลล์สมอง มีฤทธิ์ต้านความจำเสื่อม ช่วยใน เรื่องการนอนหลับ และลดความวิตกกังวลได้

-กลีบบัวแดง
เป็นสมุนไพรที่มีรสหอมเย็น ที่มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ จากการศึกษาวิจัย พบว่า กลีบบัวแดงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มกันของโปรตีนเบต้าอะมัยลอยด์ ซึ่งมีผลช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อม ทั้งชนิดความจำระยะสั้นและความจำระยะยาวได้ กลีบบัวแดง สามารถนำมาชงเป็นชาดื่มได้ โดยการนำกลีบบัวแดง ผสมกับเกสรทั้ง 5 ได้แก่ มะลิ_ พิกุล_ บุนนาค_ สารภี และเกสรบัวหลวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ในอัตราส่วน 1:1 ชงในน้ำร้อน ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน

วิธีลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์
-ควรงดสูบบุหรี่
-งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
-ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
-ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
เมนูยอดนิยม เฉาก๊วยนมสด ทำเองก็ได้ ขายก็รวย
เมนูยอดนิยม เฉาก๊วยนมสด ทำเองก็ได้ ขายก็รวย
เฉาก๊วย คืออะไร?
เฉาก๊วย (Grass Jelly) ขนมหวานสีดำ เป็นที่รู้จักของคนไทยมากกว่า 100 ปีแล้ว มาจากคนจีนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย แล้วได้เอาเฉาก๊วยเข้ามาขายด้วย เริ่มแรกขายเป็นเฉาก๊วยนิ่มแบบดั้งเดิมจากประเทศจีน โดยจะขายคู่กับเต้าฮวย และเนื่องจากเมืองไทยมีอากาศร้อนจัด ไม่นานเฉาก๊วย จึงเป็นที่นิยม และเริ่มขยายวงกว้างเป็นที่รู้จักของคนไทย

เฉาก๊วยทำมาจากอะไร?
เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้กันมากที่สุดว่า เฉาก๊วยทำจากอะไร? คำตอบคือ เฉาก๊วย เป็นขนมที่มาจากหญ้า ในภาษาจีนคำว่า เฉา แปลว่า หญ้า ส่วนคำว่า ก๊วย แปลว่า ขนม ในภาษาอังกฤษคือ Grass Jelly นั่นเอง ซึ่งหญ้าที่นำมาทำเฉาก๊วยคือ พืชชนิดหนึ่งในตระกูลเดียวกับใบมิ้นต์ คนไทยจะเรียกว่า หญ้าเฉาก๊วย (Mesona Chinensis) นั่นเอง

ประโยชน์ของเฉาก๊วย
เฉาก๊วยนอกจากเอามากินคลายร้อนแล้วยังมีประโยชน์ในด้านสมุนไพร คือ ช่วยแก้ร้อนใน แก้หวัด ลดความดันโลหิต ลดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ลดอาการตับอักเสบ ลดอาการไขข้ออักเสบ และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด หรือหากดื่มน้ำเฉาก๊วยเป็นประจำ จะช่วยลดอาการโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานได้ด้วย แต่ข้อควรระวัง คือ น้ำตาลที่ใส่ผสมลงไปต้องไม่มากเกินไปด้วย เพราะแทนที่จะได้ประโยชน์ อาจจะได้ผลเสียกลับมาแทนได้

สูตรทำเฉาก๊วยนมสด
วัตถุดิบของตัวเฉาก๊วย
1.น้ำดื่ม 12 ถ้วยตวง (3 ลิตร)
2.หญ้าเฉาก๊วย 500 กรัม
3.เบกกิ้งโซดา 2 ช้อนชา
4.แป้งมัน ½ ถ้วยตวง
5.ผงวุ้น 1½ ช้อนโต๊ะ
**หมายเหตุ สามารถหาซื้อหญ้าเฉาก๊วย ได้ที่ร้านข้างวัดเล่งเน่ยยี่ เยาวราช หรือตลาดสดใหญ่ ๆ ได้

วัตถุดิบของเฉาก๊วยนมสด
1.เฉาก๊วย หั่นเต๋า ½ ถ้วยตวง
2.น้ำเชื่อมคาราเมล 1 ออนซ์ (น้ำตาลอ้อย 1 ถ้วยตวง + น้ำตาลทรายแดง 1 ถ้วยตวง + น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง)
3.นมสด 2 ออนซ์
4.น้ำแข็งป่นละเอียด และน้ำตาลทรายแดง ตามต้องการ

วิธีทำ

ขั้นตอนที่ 1 : เตรียมน้ำเฉาก๊วย

นำหญ้าเฉาก๊วยล้างน้ำให้สะอาด ประมาน 3-4 น้ำ ให้ดิน และทรายหลุดออก
จากนั้น นำน้ำดื่ม ใส่ลงในหม้อแล้วนำไปตั้งไฟ เมื่อน้ำเดือดใส่เบกกิ้งโซดา และคนให้เข้ากับน้ำ
ตามด้วยหญ้าเฉาก๊วยที่ล้างไว้ลงไป ต้มทิ้งไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชม.

ขั้นตอนที่ 2 : แช่เฉาก๊วย

เมื่อครบเวลาแล้วนำไปกรองเอาแต่น้ำเฉาก๊วย ให้ได้ 8 ถ้วยตวง
จากนั้นนำน้ำเฉาก๊วยที่ได้ ใส่หม้อขึ้นตั้งไฟ แล้วเติมผงวุ้น และแป้งมัน คนให้เข้ากัน
ต้มจนกว่าน้ำเฉาก๊วยจะหนืดขี้น เมื่อน้ำเฉาก๊วยได้ที่แล้ว เทใส่พิมพ์แล้วแช่ในตู้เย็น เป็นเวลา 30 นาที แล้วค่อยนำออกมาตัดให้เป็นชิ้นสี่เหลี่ยม
Tip: ผงวุ้นควรใส่ตอนน้ำเฉาก๊วยยังไม่ร้อน ไม่ควรใส่ตอนน้ำเดือด ๆ เพราะจะทำให้ผงวุ้นจับตัวเป็นก้อน

Tip: แป้งมันควรนำไปละลายน้ำ อัตราส่วน 1:1 แล้วควรเทแป้งมันลงในหม้อที่กำลังเดือด ๆ เพื่อให้เฉาก๊วยเงาใส น่ารับประทาน

ขั้นตอนที่ 3 : จัดเสิร์ฟ

นำเฉาก๊วยที่เตรียมไว้ (ขั้นตอนที่ 2) ใส่ลงในแก้ว หรือภาชนะ ที่เตรียมไว้
ตามด้วยน้ำแข็งบดละเอียด นมสด ราดด้วยน้ำเชื่อมคาราเมล และน้ำตาลทรายแดง พร้อมเสิร์ฟ
ทิ้งท้ายสักนิด คุณค่าทางโภชนาการของเฉาก๊วย
คำนวณจากใบเฉาก๊วยแห้ง ขนาด 100 กรัม เฉาก๊วยจะมีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้

คาร์โบไฮเดรต 44.95%
โปรตีน 8.33%
ไขมัน 0.39%
เถ้า 37.34%
ใยอาหาร 24.06%
เฉาก๊วยในน้ำเชื่อม แคลอรี่ในของหวานปริมาณ 100 กรัม คือ

พลังงาน 18 กิโลแคลอรี่
โซเดียม 58 มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 8.8 กรัม
น้ำตาล 7 กรัม

ขึ้นชื่อว่า เมนูเฉาก๊วยนมสด แต่อร่อยนะจะบอกให้ ยิ่งตอนรับประทาน ใส่น้ำแข็งเกล็ดหิมะ ยิ่งฟิน เพราะเวลาละลายแล้ว กินกับเฉาก๊วยรสชาติจะยังเข้มข้นอยู่ ลองทำกินตอนบ่ายเพิ่ม คลายร้อน ความสดชื่น หรือทำขายก็ปัง


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
คุณค่าทางสารอาหารและประโยชน์ต่อสุขภาพ ทานตะวัน
คุณค่าทางสารอาหารและประโยชน์ต่อสุขภาพ ทานตะวัน
ทานตะวัน พืชดอกสีเหลืองที่ไม่ได้มีดีแค่ความสวยงาม แต่เมล็ดทานตะวันและน้ำมันทานตะวันยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร และเชื่อกันว่าอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต บรรเทาการติดเชื้อแบคทีเรีย รักษาการติดเชื้อราที่เท้า เป็นต้น

ส่วนเมล็ดทานตะวันนั้น ประกอบไปด้วยวิตามินและสารอาหารที่มีคุณค่าหลายชนิด เช่น มีทองแดง แมงกานีส และซีลีเนียมในปริมาณมาก มีวิตามินอี วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก ใยอาหาร และโปรตีน เป็นต้น

นอกจากนี้ เมล็ดทานตะวันยังมีไขมันสูงด้วย แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่าการรับประทานไขมันชนิดนี้ในปริมาณที่พอดี และรับประทานทดแทนอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์สูง อาจมีส่วนช่วยในการบำรุงหัวใจ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ลดความดันโลหิต ตลอดจนลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลได้

ประโยชน์ต่อสุขภาพจากทานตะวัน

ลดคอเลสเตอรอล

เมล็ดและน้ำมันทานตะวันอุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งไขมันชนิดนี้มีหน้าที่กำจัดไขมันคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีซึ่งสะสมอยู่ตามหลอดเลือด การบริโภคผลิตภัณฑ์จากทานตะวันจึงอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองได้

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่สนับสนุนประโยชน์ของทานตะวันในด้านนี้ โดยการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ทดลองในกลุ่มชายอายุ 35-55 ปี จำนวน 14 คน และหญิงวัยหมดประจำเดือนอายุ 50-60 ปี จำนวน 14 คน พบว่าหลังรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำมันทานตะวันที่อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวเป็นเวลา 1 เดือน ผู้ทดลองมีระดับไขมันชนิดที่ดีเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจลดลงตามไปด้วย สอดคล้องกับงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ชี้ว่า กลุ่มชายหญิงที่รับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวจากน้ำมันทานตะวันนั้น มีระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีและระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ลดลงมากกว่าการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง

นอกจากนี้ มีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีจำนวนผู้ทดลองมากขึ้น และทดลองกับผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงโดยตรงจำนวน 96 คน โดยแบ่งกลุ่มให้ผู้ป่วยรับประทานน้ำมันทานตะวันหรือน้ำมันคาโนล่าเป็นเวลา 6 เดือน ผลปรากฏว่าทั้ง 2 กลุ่มต่างมีระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีและไขมันไตรกลีเซอไรด์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งมีไขมันชนิดที่ดีเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันดีอย่างทานตะวันแทนอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์นั้น เป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพและอาจช่วยลดไขมันชนิดที่ไม่ดีได้

ลดความดันโลหิต

นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ไขมันไม่อิ่มตัวอาจมีคุณสมบัติช่วยลดความดันโลหิตได้ ซึ่งเมล็ดทานตะวันและน้ำมันทานตะวันก็เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันชนิดนี้ จึงมีการทดลองเปรียบเทียบคุณสมบัติของไขมันไม่อิ่มตัวจากทานตะวันกับน้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวชนิดอื่น ๆ ตามมา

โดยมีงานวิจัยหนึ่งแบ่งกลุ่มให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 530 คนที่ใช้ยาลดความดันโลหิตอย่างนิเฟดิปีน รับประทานน้ำมันที่มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวอย่างน้ำมันงา น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วลิสง หรือไม่รับประทานน้ำมันชนิดใด ๆ ผลลัพธ์พบว่าทุกกลุ่มมีระดับความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อเทียบกับน้ำมันอีก 2 ชนิด กลุ่มน้ำมันงาจะเห็นผลชัดที่สุด โดยผู้ป่วยกลุ่มน้ำมันงาและน้ำมันทานตะวันมีระดับไขมันคอเลสเตอรอลโดยรวมและไขมันไตรกลีเซอไรด์ลดลง ในขณะเดียวกันก็มีระดับไขมันดีเพิ่มขึ้นด้วย

นอกจากนี้ ล่าสุดมีงานวิจัยที่ให้อาสาสมัครวัย 30-60 ปี จำนวน 60 คน ที่เป็นโรคอ้วนลงพุงแบ่งกลุ่มและให้ได้รับน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์หรือน้ำมันเมล็ดทานตะวันเป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์มีความดันโลหิตลดลงมากกว่าเล็กน้อย ในขณะที่กลุ่มน้ำมันเมล็ดทานตะวันมีไขมันโดยรวมและคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีลดลงมากกว่า

จากผลการทดลองต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าน้ำมันจากทานตะวันอาจมีผลต่อการลดระดับความดันโลหิตเล็กน้อยเมื่อเทียบกับน้ำมันจากพืชชนิดอื่น ๆ ดังนั้น ทานตะวันจึงอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดในการช่วยลดความดันโลหิต ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจึงควรรับการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอ และปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานอาหารเสริมหรือสมุนไพรใด ๆ ก็ตาม

รักษาการติดเชื้อราที่เท้า

น้ำมันจากดอกทานตะวันอาจช่วยยับยั้งเชื้อราได้ โดยมีงานวิจัยหนึ่งพบว่าผู้ป่วยโรคเชื้อราที่เท้าจำนวน 100 คนที่ได้รับการรักษาด้วยน้ำมันทานตะวัน 2 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ มีอาการดีขึ้นเทียบเท่ากับผู้ป่วยอีกกลุ่มที่ใช้ยารักษาการติดเชื้อราอย่างคีโตโคนาโซลที่ความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรือเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน

ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย

ทารกแรกเกิดนั้นเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งมักจะมีเกราะป้องกันผิวไม่แข็งแรงเท่าที่ควร การทาน้ำมันเมล็ดทานตะวันลงบนผิวของทารกจึงอาจเป็นวิธีทางธรรมชาติที่ประหยัดและปลอดภัยในการป้องกันเชื้อโรคให้ลูกน้อย

ผลงานวิจัยจำนวนหนึ่งสนับสนุนประโยชน์ในด้านนี้ โดยมีการทดลองพบว่าทารกที่คลอดก่อนกำหนดขณะมีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ จำนวน 51 คน ที่ถูกทาน้ำมันเมล็ดทานตะวันตามผิวหนังวันละ 3 ครั้ง มีอัตราการติดเชื้อขณะอยู่ในโรงพยาบาลลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับทารกอีก 52 คนที่ไม่ได้ทาน้ำมันชนิดนี้ และยังมีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่าทารกคลอดก่อนกำหนดที่ทาน้ำมันเมล็ดทานตะวันในช่วง 10 วันแรกหลังคลอดนั้นมีสภาพผิวที่แข็งแรงขึ้น

อย่างไรก็ตาม หลักฐานทางการแพทย์ในปัจจุบันก็ยังมีไม่มากและไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะสรุปสรรพคุณด้านนี้ของทานตะวันได้ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป ก่อนจะนำทานตะวันมาประยุกต์ใช้เพื่อต้านเชื้อโรคอย่างแบคทีเรียได้จริง

บริโภคหรือใช้ผลิตภัณฑ์ทานตะวันอย่างไร ให้ได้ประโยชน์และปลอดภัยต่อสุขภาพ ?

เมล็ดทานตะวันเป็นอาหารที่รับประทานง่ายและประยุกต์กับอาหารได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะกินเล่นเป็นของว่าง ผสมกับสลัดผักผลไม้ สลัดไก่ สลัดทูน่า สมูทตี้ โยเกิร์ต หรือไอศกรีม โดยเมล็ดทานตะวันมีแคลอรี่ในระดับปานกลางไปจนถึงสูงปานกลาง และสามารถเลือกรับประทานไขมันชนิดที่ดีได้จากเมล็ดทานตะวันหรืออาหารชนิดอื่น ๆ แทนอาหารที่มีแคลอรี่และไขมันอิ่มตัวสูง

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ปลอดภัย และส่งผลดีต่อสุขภาพ ผู้บริโภคควรจำกัดปริมาณการรับประทานให้เหมาะสม เพราะแม้ทานตะวันจะมีไขมันชนิดที่ดี แต่หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจทำให้มีน้ำหนักตัวและรอบเอวเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ ก่อนรับประทานเมล็ดทานตะวันที่ผ่านการแปรรูป ควรดูปริมาณเกลือหรือโซเดียมบนฉลากด้วย เพราะการได้รับโซเดียมจากอาหารมากเกินไปอาจส่งผลต่อสุขภาพหัวใจและไต รวมทั้งอาจทำให้เกิดภาวะบวมน้ำจนนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูงได้

ส่วนการรับประทานน้ำมันเมล็ดทานตะวันหรือการทาลงบนผิวหนังนั้น ก็อาจปลอดภัยหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่บุคคลต่อไปนี้ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ และปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอหากต้องการใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการรักษาหรือป้องกันโรค

หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะยืนยันได้ว่าน้ำมันทานตะวันมีความปลอดภัยต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารก
ผู้ที่เคยมีอาการแพ้หรือสงสัยว่าแพ้น้ำมันเมล็ดทานตะวัน
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะการรับประทานอาหารที่มีน้ำมันทานตะวันในปริมาณสูงอาจส่งผลให้ระดับอินซูลินและน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งอาจทำให้มีไขมันในเลือดหลังมื้ออาหารเพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงให้ผู้ป่วยโรคนี้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงตีบแข็งได้


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:3404
สารพัดประโยชน์ดอกทานตะวัน
สารพัดประโยชน์ดอกทานตะวัน
เวลาเห็นแสงแดดจ้าแล้วทุกคนจะต้องรีบหันหน้าหนีไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ตรงข้ามกับ ดอกทานตะวัน ที่ส่องแสงจากที่ใดก็จะรีบหันหน้าเข้าหาอย่างรวดเร็วมีสีเหลืองสวยงามและชอบแสงแดดเป็นพิเศษแล้วคุณสมบัติ ด้านการรักษาโรคก็ไม่ได้รับ มากกว่า

ที่มาของชื่อ ดอกทานตะวัน
ถ้าใครได้ไปเที่ยวทุ่งทานตะวันทานตะวันหรือว่าจะออกมาจากดอกทานตะวันที่คอหอยในเวลากลางคืนพอพระอาทิตย์ตกดินจะออกไปช่อดอกทานตะวันและหันไปทางทิศตะวันออกหันไปทางทิศตะวันออก... ชื่อ ดอกทานตะวัน แต่ การหันของดอกทานตะวันจะลดน้อย ลงเรื่อย ๆ (หลังตามที่คุณคุณคุณอาทิตย์) มีหัวเรื่อง: ผสมเกสรหัวเรื่อง: การแล้วหลังช่วงคุณดอกทานตะวันโดยช่อคุณดอกจะหันหน้า: ภาพประกอบไปทางทิศตะวัหนังสือนออกเสมอลักษณะ อง ดอก - ต้นทานตะวัน

ลักษณะของ ดอก - ต้นทานตะวัน

ต้นทานตะวันเป็นพืชที่มีความยาวประมาณ 1 - 3 เมตรมีความยาวประมาณ 3-3.5 เมตรโดยมีรากแก้วที่มีความแข็งแรงสูงถึง 150 เมตร -270 เซนติเมตรที่สำคัญรากสามารถขยายได้กว้างถึง 60-150 เซนติเมตรขอให้ดอก ทานตะวันยากเพราะดูดความชื้นในดินหล่อเลี้ยงได้อย่างดี

ใบดอกทานตะวันมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวตรงข้ามกันและใบมีดแตกต่างกันมี 5 ใบแล้วมีจำนวนมากรวมกันใน 1 ต้นประมาณ 8-70 ใบมีดรูปทรงกลมหรือรูปไข่เป็นรูปหัวใจหรือรูป หัวใจมีสีแดงเข้มและสีเขียวเข้มรูปใบจักรีซี่โครงกว้างประมาณ 9-25 เซนติเมตรยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตรการสร้างใบจะมีมากในช่วงก่อนดอกบานและลดลง เมื่อดอกบาน

ดอกทานตะวันมีลักษณะเป็นรูปจานกลมๆแบน ๆ เป็นดอกเดี่ยวออกมาตอนปลายกลีบดอกมีสีเหลืองเข้มมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25-30 เซนติเมตรและมีกลีบดอกเป็นจำนวนมากเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เล็กจำนวนมาก (700 -3_000 ดอก) ซ้อนกันอยู่กลางดอกมีเกสรสีน้ำตาลอมเหลือง

ผลไม้ดอกทานตะวัน(หรือเรียกว่า ทานตะวัน ) มีขนาดใหญ่มากประมาณ 6-17 มิลลิเมตรเปลือกหุ้มผลมีสีเทาเข้ม หรือสีดำและเป็นลายส่วนภายในผลมีสีเหลืองอ่อนเพียง 1 คะแนนความยาวสามารถแบ่งได้

น้ำมันที่ใช้น้ำมันสกัดเป็นส่วนเล็ก ๆ สีดำเปลือก
ใครเป็นคนแรกที่มีเปลือกหนาไม่ลงในเนื้อด้วยใบมะกรูดอบแห้งแล้วนำมาปรุงแต่งรสชาติให้ได้มากที่สุดเมล็ดทานตะวันอบขิงหรืออบเนย
เมล็ดที่ใช้เลี้ยงนกหรือไก่

ดอกทานตะวัน มีสรรพคุณทางยาประโยชน์ทั้งต้นรากใบดอก
ดอกทานตะวันเป็นดอกไม้ที่จัดเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาในการรักษาและป้องกันโรคได้ดีซึ่งทุกส่วนของต้นดอกทานตะวันนั้นทั้งดอก ใบ เมล็ด ลำต้น และรากล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยในดอกทานตะวันเป็นแหล่งของสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นให้พลังงานสูง มีไขมันและเส้นใยอาหาร อุดมด้วยวิตามินเอ วิตามินบีทุกชนิด วิตามินซี วิตามินอี รวมทั้งแคลเซียม สังกะสี ทองแดง ซีลีเนียม เป็นต้น

นอกจากนี้ดอกทานตะวันยังถูกนำมาแปรรูปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้อีกมากอย่างเมล็ดทานตะวันที่สามารถใช้กินเล่นได้แบบเพลินๆ แถมมีคุณค่าต่อร่างกาย หรือน้ำมันดอกทานตะวันซึ่งถือเป็นน้ำมันที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพเช่นกันเพราะช่วยป้องกันโรคได้ดี หรือในส่วนของต้นอ่อนทานตะวันก็เป็นอาหารสุขภาพที่ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงได้อย่างดียิ่ง

14 สรรพคุณของดอกทานตะวัน ประโยชน์ในการรักษาโรค

1. ดอกทานตะวันเป็นแหล่งของน้ำมันคุณภาพดี ที่เมื่อนำมาใช้ปรุงอาหารกินแล้วไม่มีโทษต่อร่างกาย เพราะน้ำมันที่สกัดมาจากดอกทานตะวันเป็นน้ำมันไม่อิ่มตัวสูงซึ่งจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจได้เป็นอย่างดี

2. น้ำมันจากดอกทานตะวันหรือเมล็ดทานตะวันยังอุดมด้วยวิตามินที่จำเป็นอยู่ครบ จึงนิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร เช่น เนยเทียม นมไม่มีไขมัน ฯลฯ และในเครื่องสำอาง เช่น ครีมบำรุงผิว ยาสระผมและครีมนวดผม ฯลฯ

3. ดอกทานตะวันเมื่อนำมาทำเป็นน้ำดื่มก็ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย ช่วยต้านโรคได้หลายชนิด บำรุงสุขภาพ หายจากอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยได้เร็ว อย่างแก้อาการไข้หวัด บรรเทาอาการไอและวิงเวียนศีรษะจะเป็นลม

4. ดอกทานตะวันมีเมล็ดที่นำมากินเป็นอาหารว่าง ซึ่งอุดมด้วยคุณประโยชน์ทางสารอาหารสูง มีโปรตีนที่มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ จึงเหมาะกับคนกินมังสวิรัติที่ไม่สามารถกินเนื้อสัตว์ได้ แถมยังมีไขมันสูงกว่าแป้ง มีธาตุเหล็กสูงกว่าไข่แดงหรือตับสัตว์อีกด้วย

5. เมล็ดดอกทานตะวันเป็นแหล่งรวมของวิตามินที่สำคัญหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินอีที่มีมากกว่าในถั่วเหลืองและข้าวโพดถึง 3 เท่า ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยรักษาผิวพรรณให้ยังคงความชุ่มชื้น ดูอ่อนเยาว์ เพราะจะต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของผิวพรรณ

6. เมล็ดของดอกทานตะวันมีสรรพคุณช่วยบำรุงเลือด เพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้ไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดีขึ้น ทำให้หัวใจแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจวายและการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ลดความดันโลหิตสูง

7. ดอกทานตะวันมีสรรพคุณช่วยชะลอการเกิดโรคต้อกระจก ทำให้สายตาเป็นปกติ มองเห็นได้ชัดเจนไม่เสื่อมเร็ว

8. ประโยชน์ของต้นอ่อนทานตะวันนำมาทานเป็นอาหารได้ ต้นอ่อนทานตะวันที่เพาะมาจากเมล็ดนั้นสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหารรวมถึงน้ำดื่มเพื่อสุขภาพได้ ซึ่งนอกจากจะมีรสชาติกรอบอร่อยและย่อยง่ายแล้ว ยังมีทั้งวิตามินและเกลือแร่หลากหลาย ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยบำรุงสมอง และป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้เป็นอย่างดี

9. ดอกทานตะวันมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ที่ช่วยแก้อาการท้องผูก ทำให้ระบบการขับถ่ายเป็นปกติ และยังช่วยขับปัสสาวะ

10. ดอกทานตะวันช่วยให้ระบบสืบพันธุ์เป็นปกติ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ยังช่วยบรรเทาอาการปวดท้องก่อนที่ประจำเดือนจะมา หรือในระหว่างที่มีประจำเดือนก็ทำให้หายจากอาการปวดท้องได้ แก้อาการตกขาวด้วย

11. สรรพคุณดอกทานตะวันมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้อาการปวดท้องแน่นหน้าอก รวมทั้งช่วยบรรเทาอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ และแก้โรคบิดได้

12. รากของดอกทานตะวันมีประโยชน์ในทางการแพทย์ ซึ่งจะใช้เป็นอาหารให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้ เพราะมีวิตามินบี 1 รวมทั้งแร่ธาตุที่มีสรรพคุณช่วยแก้อาการของโรคนี้ได้ดี

13. ดอกทานตะวันมีฤทธิ์ที่ช่วยถอนพิษไข้ ใช้เป็นยาขับพิษร้อน ทำให้อวัยวะภายในร่างกายมีความชุ่มชื้น

14. ดอกทานตะวันสีเหลืองสวยเด่นมีประโยชน์ใช้ทำเป็นสีย้อมผ้าเพื่อให้เป็นสีเหลือง และนิยมใช้ตกแต่งในงานพิธีต่างๆ หรือใช้เยี่ยมคนป่วยเพราะจะให้ความรู้สึกสดใส

จากสรรพคุณและประโยชน์ของดอกทานตะวันที่กล่าวมาทั้งหมดเห็นได้ว่าดอกทานตะวันเป็นไม้ที่น่าสนใจสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพอย่างมากเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนที่เราให้ออกไปจากร่างกายที่แข็งแรงส่วนของดอกสีเหลืองสวย ก็นับเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่เราไม่ควรพลาดจริงๆ


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:3417
ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ ..ทานตะวัน..
ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ ..ทานตะวัน..
ชื่อสมุนไพร ทานตะวัน
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ชอนตะวัน(ภาคกลาง) _ บัวตอง _ บัวผัด (ภาคเหนือ) _ทานหวัน (ภาคใต้)_ ดอกกินตะเวน (ภาคอีสาน) หมากปังเจิญ (ไทยใหญ่) _ เซี่ยงยื่อขุย (จีนกลาง) _ เหี่ยวหยิกขุย (จีนแต้ติ๋ว)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Helianthus annuus Linn.
ชื่อสามัญ Sunflower _ Sunchoke
วงศ์ ASTERACEAE

ถิ่นกำเนิดทานตะวัน
ทานตะวันเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลางโดยเชื่อกันว่ามีการปลูกในประเทศ เม็กซิโก ตั้งแต่ 2600 ปี ก่อนคริสตกาลแล้ว แต่ก็มีข้อมูลในบางแหล่งระบุว่า ทานตะวันมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทางตะวันตก ของสหรัฐอเมริกา โดยชาวอินเดียนแดงได้เก็บเมล็ดมาบริโภคเป็นเวลานานมากแล้ว จนกระทั่งเมื่อ 300 - 400 ปีที่ผ่านมา ชาวยุโรปได้นำทานตะวันไปปลูกเป็นไม้ดอก ในยุโรป

จากนั้นทานตะวันจึงได้แพร่กระจายพันธุ์ไปยัง เขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยเชื่อกันว่าทานตะวันเข้ามาในประเทศในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวฝรั่งเศสนำมาปลูก และในปัจจุบันสามารถพบเห็นได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในแถบภาคกลางบริเวณจังหวัด ลพบุรี และเพชรบูรณ์ เป็นต้น

ประโยชน์และสรรพคุณทานตะวัน
1.ช่วยขับปัสสาวะ
2.แก้ไอ
3.แก้ขับหนองใน ฝีฝักบัว
4.แก้ไข้หวัด
5.ใช้ลดไขมันในเส้นเลือด
6.แก้พิษแมลงป่อง
7.แก้อาการปวดท้องเสียดแน่นหน้าอก
8.แก้ฟกช้ำ
9.เป็นยาระบาย
10.ขับพยาธิไส้เดือน
11.ช่วยขับลม
12.ช่วยทำให้ตาสว่าง
13.แก้วิงเวียน
14.แก้อาการปวดหัว
15.แก้ปวดฟัน
16.แก้ปวดท้องโรคกระเพาะ
17.แก้ปวดประจำเดือน
18.แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ
19.ใช้แก้โรคหืด
20.แก้เบาหวาน
21.แก้อาการหูอื้อ
22.ช่วยขับเสมหะ

ลักษณะทั่วไปทานตะวัน

ทานตะวันจัดเป็นไม้ล้มลุก สูง 2-4 เมตร ลำต้นตั้งตรงเป็นแกนแข็ง มีขนสากแข็งสีขาวปกคลุม โดยส่วนใหญ่ลำต้นจะไม่มีแขนง แต่บางพันธุ์ก็อาจมีการแตกแขนง ส่วนขนาดของลำต้นจะขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพแวดล้อม รากเป็นระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปประมาณ 1-2.5 เมตร และมีรากแขนงแผ่ขยายไปด้านข้างยาวได้ถึง 1.5 เมตร เพื่อช่วยค้ำจุนลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันตรงข้ามใบเป็นรูปกลมรึหรือรูปไข่ โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีขนแข็งสากทั้งสองด้าน ก้านใบยาว โดยขนานของใบจะกว้างประมาณ 8-25 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ส่วนสีของใบอาจเป็นสีเขียวอ่อน เขียว หรือเขียวเข้ม แล้วแต่ละพันธุ์ ซึ่งทานตะวัน 1 ต้นอาจมีใบได้ 8-70 ใบ เลยทีเดียว ดอก ออกเป็นดอกเดียวบริเวณปลายยอดลำต้น โดยเป็นรูปจานขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกประมาณ 6-37 เซนติเมตร (ซึ่งขึ้นกับพันธุ์และสภาพแวดล้อม) ดอกมีลักษณะเป็นแบบช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

ดอกย่อยที่อยู่รอบนอกจากดอก เป็นดอกที่ไม่มีเพศ (เป็นหมัน) มีกลีบดอกสีเหลืองส้ม
ดอกย่อยที่อยู่ในจานดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรตัวผู้ที่พร้อมจะผสมได้ก่อนเกสรตัวเมีย ซึ่งกลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลมมีสีเหลืองสด ส่วนด้านในคือช่อดอก มีลักษณะเป็นจาน ประกอบไปด้วยดอกขนาดเล็กจำนวนมาก กลางดอกมีเกสรสีน้ำตาลอมสีม่วงและภายในมีผลจำนวนมาก โดยในแต่ละจากดอกจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 700 – 3000 ดอก
ผลเป็นรูปกลมรีและแบนนูน ด้านหนึ่งมน อีกด้านหนึ่งแหลม ผลมีขนาดประมาณ 6-17 มิลลิเมตร มีเปลือกหุ้มผลแข็ง เปลือกผลเป็นสีเทาเข้มหรือสีดำและเป็นลายในแนวตั้ง ภายในผลมีเมล็ดสีเหลืองอ่อน 1 เมล็ด ลักษณะรียาว

การขยายพันธุ์ทานตะวัน

ทานตะวันสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการใช้เมล็ด โดยมีการดังนี้ ก่อนอื่นควรเลือกเมล็ดพันธุ์ที่จะนำไปปลูกโดยควรเลือกเมล็ดพันธุ์ที่แก่จัดและเลือกจากต้นพันธุ์ที่แข็งแรงไม่มีโรค จากนั้นควรเตรียมดินในแปลงปลูกโดยไถดอนให้ลึกประมาณ 30 เซนติเมตรหรือลึกกว่านั้น เพราะว่าการไถดินลึกจะช่วยทำลายการอัดแน่นของดินในชั้นไถพรวน ทำให้น้ำซึมลงในดินชั้นล่างได้มากขึ้น และควรกำลัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด และไถย่อยดินครั้งสุดท้ายให้ร่วนซุย และหลังจากเตรียมดินเสร็จแล้ว ควรทำร่องสำหรับหยอดเมล็ด โดยให้มีความห่างละร่อง 70-75 เซนติเมตร และให้หลุมปลูกในร่องห่างกัน 25-30 เซนติเมตรแล้วจึงทำการปลูกโดยหยอดเมล็ดลงไปหลุมละ 2 เมล็ด แล้วกลบดินโดยให้เมล็ดอยู่ลึก 5-8 เซนติเมตร จากนั้นรดน้ำให้ชุ่มและหมั่นคอยรดน้ำตลอด เมื่อพืชงอกได้ 10 วัน หรือมีใบจริง 2-4 คู่ให้ถอนแยกเหลือไว้เฉพาะต้นที่แข็งแรงเพียงหลุมละ 1 ต้น

สำหรับการเก็บเกี่ยวทานตะวัน จะมีอายุการเก็บเกี่ยวแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก ซึ่งวิธีการเก็บเกี่ยวนั้นให้สังเกตจากด้านหลังของจานดอกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซึ่งเป็นช่วงการสร้างน้ำมันในเมล็ดจะเริ่มลดลง และจะหยุดสร้างน้ำมันเมื่อจานดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จึงเริ่มเก็บเกี่ยวได้ หลังจากเก็บเกี่ยวให้นำไปผึ่งแดดจัดๆ 1-2 แดด โดยแขวนให้หัวห้อยลงและหมั่นกลับช่อดอก เพื่อให้ดอกแห้งอย่างสม่ำเสมอ

องค์ประกอบทางเคมี

มีผลการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนต่างๆ ของทานตะวันพบว่า ทั้งต้นพบมีสาร Earotenoids_ Glycocoll_ Seopoline Heliangine_ Quercimeritin_ Phospholipid Methionine_ Cryptoxanthin_ Tocopherol _Globulin ดอก พบสาร quercimeritrin_ triterpenoid saponins_ helianthoside A_ B_ C เป็นต้น กรดอินทรีย์ ได้แก่ oleanolic acid และ echinocystic acid อับเรณูของดอกส่วนใหญ่มี ß-sitosterol ในเมล็ดพบโปรตีน _ ออกไซด์คาร์บอเนต และน้ำมัน โดยในน้ำมันพบสาร Phospholipid_ Linolenic acid_ Glycerol oil_ Phosphatide_ และ B-Sitosterol ใบ พบสาร neochlorogenic acid_ isochlorogenic acid _chlorogenic acid _ 3-o-feruloylquinic acid_ 4-o-caffeoylquinic acid_ caffeic acid_ scopoline heliangine dicarboxylic acid tricarboxylic acid citric acid malic acid fumaric acid เปลือกเมล็ด พบสาร cellulose_ lignin_ pentosan ราก พบสาร cytokinin _ kinetin ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือน zeatin แกนของต้น พบสาร chlorogenicacid_ scopo nine_ 4-o-caffeoylquinic acid_ neochlorogenic acid

นอกจากนี้ในเมล็ดทานตะวันยังมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดทานตะวันแห้ง ต่อ 100 กรัม

พลังงาน 490กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 38.6กรัม
โปรตีน 16.7กรัม
ไขมัน 32.8กรัม
ใยอาหาร 3.7กรัม
วิตามินเอ 50 หน่วยสากล
วิตามินบี 1 1.480 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.07มิลลิกรัม
วิตามินบี 2.4มิลลิกรัม
วิตามินบี 5 1.130 มิลลิกรัม
วิตามินบี 6 1.345 มิลลิกรัม
วิตามินบี 9 227 ไมโครกรัม
วิตามินซี 1.4 มิลลิกรัม
วิตามินอี 35.17 มิลลิกรัม
แคลเซียม 92มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 5.8มิลลิกรัม
ธาตุแมกนีเซียม 325 มิลลิกรัม
ธาตุแมงกานีส 1.950 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 632มิลลิกรัม
ธาตุโพแทสเซียม 645 มิลลิกรัม
โครงสร้างทานตะวัน

ที่มา : Wikipedia

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้ขับปัสสาวะ โดยใช้แกนต้น 15 กรัม ต้มน้ำกิน หรือรากสด 15- 30 กรัม คั้นน้ำแล้วผสมกับน้ำผึ้งกินแก้อาการช่วยขับปัสสาวะขุ่นขาว ขับปัสสาวะ ให้ใช้แกนกลางลำต้น ยาวประมาณ 60 ซม. (หรือประมาณ 15 กรัม ) และรากต้นจุ้ยขึ้งฉ่ายราว 60 กรัม ใช้ต้มคั้นเอาน้ำ หรือใช้ผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน แก้อาการบิดมูกเลือด ให้ใช้เม็ดประมาณ 30 กรัม ใส่น้ำตาลเล็กน้อย ต้มน้ำนานราว 60 นาที แล้วใช้ดื่ม แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต ใช้แกนต้นยาว 2 ฟุต ต้มน้ำ กินวันละครั้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ติดต่อกัน หรือใช้รากสด 30 กรัม ต้มน้ำกิน แก้อาการปวดหัว ตาลาย ใช้ฐานรองดอกที่แห้งแล้ว ประมาณ 25- 30 กรัม นำมาตุ๋น กับไข่ 1 ฟอง รับประทานหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง ใช้ปวดท้องน้อยก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน ใช้ฐานรองดอก 30- 60 กรัม ต้มน้ำแล้วเติมน้ำตาลแดง 30 กรัมกิน ลดความดันโลหิต ให้ใช้ใบสด 60 กรัม (แห้ง 30 กรัม ) และโถวงู่ฉิกสด 60 กรัม (แห้ง 30 กรัม ) นำมาต้มเอาน้ำรับประทาน แก้ไอกรน ให้ใช้แกนกลางลำต้นโขลกให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำตาล ทรายขาว ชงด้วยน้ำร้อนรับประทาน ขับพยาธิไส้เดือน ให้ใช้รากสดประมาณ 30 กรัม เติมน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย ต้มน้ำรับประทาน แก้อาการปวดฟัน ให้ใช้ดอกที่แห้งแล้ว ประมาณ 25 กรัม นำมาสูบเหมือนยาสูบ หรือใช้ฐานรองดอก 1 อัน พร้อมรากเก๋ากี้ นำมาตุ๋นกับไข่รับประทานก็ได้ ฝีฝักบัว ฝีเป็นหนองมาก ใช้ฐานรองดอกคั่ว บดเป็นผงผสม น้ำมันงาทา แผลมีเลือดออก ใช้แกนต้นตำพอก แก้ไอ คั่วเมล็ดให้เหลืองทำเป็นยาชงดื่ม หูอื้อ ใช้เปลือกเมล็ด 10-15 กรัม ต้มน้ำกิน


การศึกษาทางเภสัชวิทยา

มีผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาจากส่วนต่างๆ ของทานตะวันหลายฉบับทั่วในประเทศไทยและต่างประเทศ พบว่ามีฤทธิ์ต่างๆ ดังนี้

ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด มีการศึกษาถึงการทดลองในการลดไขมันในเลือดของเมล็ดทานตะวันในหนูขาวทดลอง โดยได้ทำการทดลองนานถึง 9 สัปดาห์ ด้วยการกระตุ้นให้หนูขาวเป็นเบาหวาน โดยให้ Alloxan แล้วจึงทำการป้อน น้ำมันดอกทานตะวัน ผลการทดลองพบว่าหนูทดลองมีปริมาณไขมันในเลือดมีระดับลดลง

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางคลินิกในการลดไขมันในเลือดของน้ำมันเมล็ดทานตะวันในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนจำนวน 14 คน โดยทำการทดลอง 28 วัน ซึ่งแบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 3กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มควบคุม ส่วนกลุ่มที่สองให้น้ำมันมะกอกผสมกับน้ำมันเมล็ดทานตะวัน และกลุ่มสามคือกลุ่มที่ให้อาหารไขมันสูง ภายหลังการทดลองพบว่ากลุ่มที่สองมีระดับคอเลสเตอรอลลดลงแตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ฤทธิ์ลดความดันโลหิต มีการศึกษาทดลองฤทธิ์ลดความดันโลหิตโดยใช้สารสกัดน้ำจากดอกทานตะวันทดลองกับกระต่ายด้วยวิธีการฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำ พบว่าจะทำให้ความดันโลหิตต่ำและกระตุ้นการหายใจ นอกจากนี้เมื่อนำมาหยอดลงบริเวณใบหูของกระต่ายก็ว่าทำให้เส้นเลือดขยายตัวขึ้น และยังทำให้การบีบตัวของลำไส้เล็กเพิ่มขึ้นอีกด้วย

และยังมีการทดลองทางคลินิก โดยใช้ฐานรองดอกแห้ง 45 กรัม บดเป็นผง และทำเป็นยาน้ำเชื่อม 100 มล. ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง จำนวน 10 ราย โดยให้กินครั้งละ 20 มล. วันละ 3 ครั้ง ผลปรากฏว่าหลังจากรักษาแล้ว 2 เดือนแล้ว สังเกตอาการพบว่าอาการดีขึ้น 4 ราย ดีขึ้นเล็กน้อย 4 ราย ไม่ได้ผล 2 ราย (รายหนึ่งแพ้ยาทำให้โรคกำเริบ แต่ภายหลังมีอาการดีขึ้น) สำหรับรายที่ได้ผล ความดันโลหิตจะเริ่มลดลงภายใน 1 สัปดาห์ และไม่มีอาการข้างเคียง

นอกจากนี้ทานตะวันยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ อีกเช่น ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยังยั้งมะเร็ง ขับปัสสาวะและกลีบของดอกทานตะวันยังมีสาร triterpene glycosides ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูทดลองได้อีกด้วย

การศึกษาทางพิษวิทยา

มีรายงานการทดสอบความเป็นพิษพบว่าสารสกัดของทานตะวันจากส่วนที่อยู่เหนือดินด้วย 50% เอทานอล มีค่า LD50มากกว่า 1.0 กรัมต่อกิโลกรัมเมื่อทำการฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร ซึ่งถือว่ามีความปลอดภัยสูง

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ในการใช้ทานตะวันเป็นสมุนไพรควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในปริมาณที่พอดีที่ได้ระบุไว้ในตำรับ ตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป หรือใช้ติดต่อกันนานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ สำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นประจำ ก่อนจะใช้ทานตะวันเป็นสมุนไพรสำหรับบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
ข้อมูลรูปภาพจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:3441
ทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์ ?
ทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์ ?
เกษตรกรและการเกษตรกรรม เป็นอาชีพที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างช้านานจนกลายเป็นรากฐานของสังคมไทย การปลูกพืชพันธุ์ต่าง ๆ เป็นการผลิตของคนส่วนใหญ่ วิถีชีวิตของคนเพาะปลูกและทำอาชีพเกษตรกรจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเสริมสร้างสังคม วัฒนธรรม การปกครอง การกินอยู่ ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนการแสดงออกต่าง ๆ ของคนในประเทศและรวมไปถึงเรื่องของการค้า เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้นเราจึงต้องดูแลให้อาชีพเกษตรกรอยู่ได้อย่างมีความสุขและมั่นคงในอาชีพของเขา


และในยุคสมัยที่เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งต่าง ๆ เข้ามามีอิทธิพลและบทบาทในการทำอาชีพของเกษตรกร ไปจนถึงปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการทำงานไป เช่น จากการใช้ควายไถนา เปลี่ยนมาใช้เครื่องจักร_ การใช้ปุ๋ยและสารเคมี_ การใช้เทคโนโลยีควบคุมการปล่อยน้ำและอื่น ๆ อีกมาก ก็ยิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสริมสร้าง พัฒนาและเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นให้วงการเกษตรก้าวไกลให้ทันโลกและนำมาประยุกต์ใช้ในวงการเกษตรของไทยให้ได้ แต่เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยแม้จะอำนวยความสะดวก แต่ด้วยปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ทั้งเรื่องที่ดิน_ ต้นทุนการผลิตที่มากขึ้น_ ภัยพิบัติ_ ภาวะเศรษฐกิจ และอื่น ๆ ก็ทำให้ภาคการเกษตรนั้นมีแนวโน้มที่จะอยู่อย่างลำบากมากขึ้น จนเกษตรกรที่เป็นอาชีพหลักนั้นอยู่อย่างลำบาก และมีแนวโน้มที่จะมีหนี้สินมากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือสวก. จึงเป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการวิจัยการเกษตร เพื่อเกษตรไทยอยู่ได้อย่างเข้มแข็งอย่างมั่นคง ยั่งยืนและผลักดันให้วงการเกษตรก้าวไกลให้ทันยุคสมัย โดยทางสวก. นั้นมีผลงานและงานวิจัยมากมายที่ได้ให้การสนับสนุนแก่นักวิจัย เกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตั้งแต่โครงการอบรม การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย_ การให้ทุนการวัยวิจัยในหัวข้อต่าง ๆ ที่กำหนด_ การผลักดันเกษตรกรให้เป็น Smart Farmer_ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ_ การวิจัยพืชพันธุ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลผลิตการเกษตรต่าง ๆ และมีผลงานอีกมากมายที่สวก. พยายามผลักดันและสนับสนุนให้การเกษตรก้าวไกลและอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง

และเพื่อให้เกษตรกรไทยอยู่ได้อย่างเข้มแข็งจริง สวก. จึงมีวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ ค่านิยมและพันธกิจต่าง ๆ เกษตรอินทรีย์ คือ อะไร และทำไมต้องเกษตรอินทรีย์?

หลายท่านเคยสงสัยหรือมีคำถาม ว่าเกษตรอินทรีย์คืออะไร ทำไมเดี๋ยวนี้ เราไปเลือกซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้า สินค้าหรือวัตถุดิบต่างๆ มักจะมีฉลากระบุที่ข้างกล่องหรือภาชนะ ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับการทำเกษตรอินทรีย์ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร

เกษตรอินทรีย์

คือการทำการเกษตรด้วยกรรมวิธีทางธรรมชาติ โดยที่พื้นที่ที่ทำเกษตรนั้น ต้องไม่มีสารพิษ หรือสารเคมีตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทั้งทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อความสมบูรณ์ทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามสมดุลของธรรมชาติให้มากที่สุด โดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม และมุ่งเน้นการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบในการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตสูง อุดมด้วยคุณค่าทางอาหารและปลอดสารพิษ ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิต และสามารถประยุกต์ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติเพื่อคุณภาพชีวิต และสนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ทำไมต้องเกษตรอินทรีย์

จากการใช้ทรัพยากรดินทำการเกษตรโดยไม่คำนึงถึงผลเสียของ ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุและกายภาพของดินตามธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ที่อาศัยอยู่ในดินนั้นสูญหาย และไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งการที่ธรรมชาติขาดสมดุลนี้ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ต่อกระบวนการเจริญเติบโตทางธรรมชาติ แต่เมื่อเกิดความไม่สมดุลขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ผืนดินสูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุในดิน ทำให้ผลผลิตมีแร่ธาตุ วิตามิน และพลังงานชีวิตต่ำ เป็นผลให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองในพืช เป็นสาเหตที่ทำให้พืช ผลผลิตอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทานโรค และทำให้เกิดการคุกคามของแมลง ศัตรูพืช และเชื้อโรคในพืช ซึ่งจะนำไปสู่การใช้สารเคมีฆ่าแมลงและเชื้อราเพิ่มขึ้น ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพในที่สุด และในดินที่เสื่อมคุณภาพนี้ จะทำปฏิกิริยาเร่งการเจริญเติบโตของศัตรูพืชให้เจริญเติบโตแข่งกับพืชเกษตร และนำไปสู่การใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดแมลงและวัชพืช

เป็นเกษตรอินทรีย์ได้อย่างไร

การเกษตรปัจจุบัน สามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดยเริ่มต้นศึกษาหาความรู้จากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้น ซึ่งเกษตรกรควรเริ่มต้นด้วยความสนใจ โดยศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติ และเมื่อเริ่มปฏิบัติตามนี้แล้วก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยนเรียนรู้ และเมื่อได้ลงมือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ไม่นานก็จะสามารถเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของการทำเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิตขึ้นนั้น ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว และหลักการสำคัญ คือการทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ และมีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียร โดยไม่ท้อถอยต่อปัญหาหรืออุปสรรค จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก เพราะเกษตรอิทรีย์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริง แล้วเกษตรกรเองก็สามารถขอรับการผ่านรับรองมาตรฐานจากภาครัฐจึงจะนับได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ที่สมบูรณ์พร้อม

หลักการผลิตพืชอินทรีย์

1. พื้นที่ที่จะทำการเกษตรนั้นต้องไม่เคยทำการเกษตรเคมีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี

2. พื้นที่ควรมีลักษณะค่อนข้างดอนและโล่งแจ้ง

3. พื้นที่ต้องอยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม

4. พื้นที่ควรอยู่ห่างจากแปลงที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี

5. พื้นที่ห่างจากถนนหลวงหลัก

6. พื้นที่มีแหล่งน้ำที่ปลอดสารพิษ

มาตรฐานของเกษตรอินทรีย์

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ คือเกณฑ์ข้อกำหนดที่เกษตรกรผู้ผลิตจะต้องปฏิบัติตาม และหน่วยงานรับรองจะใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจประเมินการผลิต และตัดสินใจในการรับรองฟาร์มที่ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานนั้นๆ

ปกติในการกำหนดมาตรฐานโดยส่วนใหญ่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์กลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้ค้า ผู้บริโภค รวมทั้งนักสิ่งแวดล้อม และนักวิชาการด้านต่างๆ จะมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น และตัดสินใจในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในแต่ละข้อ ความคาดหวังหรือการให้คุณค่ากับการปฏิบัติเกษตรอินทรีย์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละส่วนจะถูกตรวจสอบ และยอมรับหรือปฏิเสธโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ประกอบการ เพราะผู้ผลิตและผู้ประกอบการจะเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดเหล่านั้น ดังนั้น มาตรฐานจึงเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นกระบวนการแปลความคาดหวังและคุณค่าของเกษตรอินทรีย์ให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ ดังนั้น ข้อตกลงในมาตรฐานจึงเปรียบเหมือนเป็น “สัญญาประชาคม” ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ทำให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มีสถานะเสมือนหนึ่งเป็น “คำนิยาม” ของเกษตรอินทรีย์ไปพร้อมกันด้วย

จะเห็นได้ว่า มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นภาพสะท้อนของสภาวการณ์การผลิตและการแปรรูปผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ที่เกษตรกรได้พัฒนายกระดับความสามารถในการทำการผลิตและแปรรูปให้ก้าวรุดหน้ามากขึ้น ดังนั้น มาตรฐานเกษตรอินทรีย์จึงไม่ใช่มาตรฐานที่หยุดนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เป็นสภาพการณ์ที่ยังสามารถมีการแปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ตามสภาวการณ์ของการผลิตเกษตรอินทรีย์ ที่นับวันมีแต่จะก้าวรุดหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ

ในที่นี้ จะขอกล่าวถึงข้อกำหนดโดยสรุปของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในบางเรื่องที่สำคัญ

1) ระบบนิเวศการเกษตร

ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ต้องเอื้ออำนวยต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้ม ซึ่งผู้ผลิตจะต้องดำเนินการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและสภาพนิเวศท้องถิ่นดั้งเดิมไว้ เพื่อให้พืชพรรณและสัตว์ท้องถิ่นสามารถมีที่อยู่อาศัยได้อย่างเพียงพอ นอกเหนือจากการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังจำเป็นต้องมีมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างจริงจังอีกด้วย

2) การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์

การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ควรเริ่มจากการมีแผนการปรับเปลี่ยนที่ชัดเจน โดยแผนการปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน โดยอาจจะปรับเปลี่ยนฟาร์มทั้งหมดเข้าสู่เกษตรอินทรีย์พร้อมกัน หรือค่อยๆ ปรับเปลี่ยนบางส่วนของฟาร์มเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ก็ได้ แต่ทั้งนี้ แผนการปรับเปลี่ยนจะต้องระบุถึงขั้นตอนและระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนฟาร์มทั้งหมดเข้าสู่เกษตรอินทรีย์ รวมทั้งการจัดแยกระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์และไม่ใช่เกษตรอินทรีย์ออกจากกัน ซึ่งในแต่ละมาตรฐานอาจกำหนดระยะเวลาของการปรับเปลี่ยนแตกต่างกันไป ซึ่งในช่วงระยะปรับเปลี่ยนนี้อาจใช้เวลา 12 – 36 เดือนขึ้นอยู่กับมาตรฐาน

3) การผลิตพืช

ในระบบการปลูกพืช ควรเลือกปลูกพืชที่หลากหลายชนิดและพันธุ์ เพื่อสร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนของนิเวศฟาร์ม นอกจากนี้ การปลูกพืชหลากหลายพันธุ์ ยังเป็นการช่วยรักษาความหลากหลายของพันธุกรรมพืชไว้ด้วย ในการสร้างความหลากหลายของการปลูกพืชนี้ ควรมีการปลูกพืชหมุนเวียน โดยมีพืชที่เป็นปุ๋ยพืชสดรวมอยู่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชตระกูลถั่วและพืชที่มีระบบรากลึก โดยจัดระบบการปลูกพืชให้มีพืชคลุมดินอยู่ตลอดทั้งปี

4) การจัดการดิน และธาตุอาหาร

การจัดการดินที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบเกษตรอินทรีย์ การปรับปรุงดินและการบริหารจัดการดินและธาตุอาหาร มีเป้าหมายเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งรวมถึงการจัดการให้มีธาตุอาหารอย่างเพียงพอกับพืชที่เพาะปลูก และเพิ่มพูนอินทรียวัตถุให้กับดินอย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างกลไกของการหมุนเวียนธาตุอาหารในฟาร์ม รวมทั้งการป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และการสูญเสียของธาตุอาหาร ซึ่งการจัดหาแหล่งธาตุอาหารพืชนั้นควรเน้นที่ธาตุอาหารที่ผลิตขึ้นได้ภายในระบบฟาร์ม

5) การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

ในระดับฟาร์ม การป้องกันกำจัดศัตรูพืชในระบบเกษตรอินทรีย์จะเน้นที่การเขตกรรม การจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี และวิธีกลเป็นหลัก ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างสมดุลของระบบนิเวศการเกษตร ที่ทำให้พืชที่เพาะปลูกพัฒนาภูมิต้านทานโรคและแมลง และสภาพแวดล้อมของฟาร์มไม่เอื้ออำนวยต่อการระบาดของโรคและแมลง ต่อเมื่อการป้องกันไม่เพียงพอ เกษตรกรจึงอาจใช้ปัจจัยการผลิตสำหรับควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูพืช ซึ่งกำหนดอนุญาตไว้ในมาตรฐาน

6) การป้องกันมลพิษ การปนเปื้อน และการปะปน

ในระดับฟาร์ม เกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์จะต้องมีมาตรการในการป้องกันมิให้ดินและผลผลิตเกษตรอินทรีย์ปนเปื้อนจากมลพิษ และสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตร ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งรวมถึงโลหะหนัก และมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน รวมทั้งมีมาตรการในการลดการปนเปื้อน

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แต่ละแห่งจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการแนวกันชน (buffer zone) ที่แตกต่างกัน โดยอาจมีการกำหนดทั้งระยะห่างระหว่างแปลงเกษตรอินทรีย์กับแปลงเกษตรเคมี หรือการปลูกพืช หรือการจัดทำสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นแนวป้องกันการปนเปื้อน ในพื้นที่แนวกันชนที่แตกต่างกันได้ โดยทั่วไป จะมีการกำหนดเกณฑ์แนวกันชนขั้นต่ำไว้ในมาตรฐาน ซึ่งหน่วยงานรับรองอาจจะพิจารณาให้เกษตรกรต้องมีการจัดการแนวกันชนเพิ่มเติมจากข้อกำหนดขั้นต่ำ โดยการพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงของฟาร์มแต่ละแห่ง

ในขั้นของการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูป ผู้ผลิต-ผู้ประกอบการจะต้องมีการจัดการผลผลิตเกษตรอินทรีย์ โดยป้องกันมิให้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ปะปนกันกับวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ หรือสัมผัสกับปัจจัยการผลิต หรือสารต้องห้ามต่างๆ ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน เพราะจะทำให้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์นั้นสูญเสียสถานะของการได้รับการรับรองมาตรฐานได้ ยกตัวอย่างเช่น การไม่ใช้กระสอบที่บรรจุปุ๋ยเคมี หรือสารเคมีมาใช้บรรจุผลผลิตเกษตรอินทรีย์ หรือในการจัดเก็บผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในโรงเก็บ จะต้องไม่มีการใช้สารกำจัดศัตรูในโรงเก็บ ในขณะที่มีการเก็บผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ขนส่งผลผลิตเกษตรอินทรีย์

ที่จำต้องทำให้สำเร็จให้ได้ เพื่อพี่น้องชาวเกษตรกรและคนไทยทุกคน โดยทั้งหมดนั้นต่างก็สอดคล้องและรับเข้ากับสถานการณ์ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ แนวนโยบาย ทิศทางยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์การวิจัยด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาของประเทศ การปฏิรูประบบวิทยาศาตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานนวัตกรรมของประเทศ ดังเช่นพันธกิจของสวก. ที่จะส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการวิจัยการเกษตร_ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยการเกษตร สุดท้าย ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัยการเกษตร

โดยจากที่กล่าวมาจะยกตัวอย่างของการวิจัยที่ทางสวก. สามารถให้การสนับสนุนและเป็นเรื่องของนวัตกรรมที่สามารถเรียกว่าเป็น Smart farmer ในยุค 4.0 และเป็นต้นแบบของการผลักดันให้เกษตรก้าวไกลไปได้อย่างยั่งยืนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การวิจัยพืชพันธุ์ใหม่_ การนำเทคโนโลยี A.I. () มาประยุกต์ใช้งาน_ การใช้ระบบ IOT (Internet of things)_ การใช้โดรนขับเคลื่อน_ นวัตกรรมการปลุกพืชแบบใหม่_ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ไปสู่อุตสาหกรรมอื่น และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งตัวอย่างที่จะยกมาในบทความนี้ที่เป็นหนึ่งใน Smart Farmer ในยุค 4.0 ที่น่าสนใจ สิ่งนั้นคือ “อุตสาหกรรมการแปรรูป”

อุตสาหกรรมการแปรรูป เป็นสิ่งที่มีมานานและถูกพัฒนา วิจัยและเพิ่มพูนความสามารถมาอยู่ในทุกยุคทุกสมัย และการเกษตรกับการแปรรูปก็เป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาเช่นเดียวกัน โดยในยุค 4.0 นี้ มีความน่าสนใจที่วงการอุตสาหกรรมแปรรูปจะช่วยพาให้เกษตรก้าวไกลไปได้มากกว่าแค่ผลิตผลทางการเกษตรธรรมดา ยกตัวอย่างเช่น “การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม” เพื่อให้การเกษตรเข้าไปอยู่ในชีวิตของคนยุคใหม่ โดยเราอาจจะได้เห็นมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ รุ่นย่า ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรานำสมุนไพรต่าง ๆ มาเป็นเครื่องบำรุงผิวพรรณ ซึ่งในยุคปัจจุบันก็ไม่ต่างกัน อุตสาหกรรมความสวยความงามได้นำผลผลิตทางการเกษตรมาวิจัย พัฒนาและต่อยอด เพื่อตอบโจทย์ Beauty Lifestyle ของคนยุคใหม่ ผ่านเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลบำรุงผิว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด รวมถึงสารสกัดเรื่องกลิ่นที่มาเป็นส่วนประกอบของสุคนธบำบัด (Aromatherapy) นอกจากสารสกัดจากธรรมชาติจะส่งผลดีต่อร่างกายแล้ว ยังส่งผลด้านวิทยาให้ผู้บริโภคสนใจและเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์อีกเช่นกัน ซึ่งปัจจัยที่จะเพิ่มมูลค่าให้การทำธุรกิจด้านนี้ คือการเกาะตามติดความต้องการของตลาดผู้บริโภคและนำมาพัฒนาให้ตอบโจทย์อยู่ตลอดเวลา

หรือจะเป็นเรื่องของ “การแปรรูปผลิตภัณฑืเพื่อผู้สูงอายุ” เพราะประเทศไทยของเราเองกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ (Aging Society) อันเนื่องมาจากประชาชนยุค Baby Boom ได้เข้าใกล้สู่ช่วงอายุความสูงวัย คาดการณ์ว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุวัยมากกว่า 60 ปี (เกิน 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ) ดังนั้นสินค้าเพื่อสุขภาพจึงถูกผลิตขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ในด้านของความใส่ใจในการดูแลสุขภาพของคนในสังคมและผู้สูงอายุ โดยกลุ่มสินค้าที่ได้รับความสนใจนั้น ได้แก่พืชผลเกษตรที่ให้คุณค่าทดแทนแป้งและน้ำตาล อาหารเสริมผลิตจากผลผลิตทางการเกษตร เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคของผู้สูงอายุ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือแม้แต่ภาวะทุพโภชนาการ โดยสิ่งเหล่านี้ได้มีการผลิตออกมาวางจำหน่ายทั่วไปแล้ว ยกตัวอย่าง ธัญพืชอัดแท่ง เครื่องดื่มสมูทตี้สําเร็จรูปที่ให้สารอาหารสมบูรณ์สําหรับผู้สูงอายุ ผักอัดเม็ดเสริมโพรไบโอติกส์ น้ำนมข้าวกล้อง เครื่องปรุงรสอาหารที่เน้นการลดโซเดียม เป็นต้น

สุดท้ายนี้ยังมีการแปรรูปอีกหลากหลายมากมาย และมีอีกหลายหัวข้อที่ทางสวก. พร้อมที่จะให้การสนับสนุน เพราะในปัจจุบันหลากหลายประเทศเริ่มมีการพัฒนา หรือนำหน้าเราไปแล้วในเรื่องของการเกษตร เราจึงต้องรีบนำนวัตกรรมเกษตรและเกษตรกรให้เข้าสู่ยุค Smart Farming เพื่อแก้ปัญหาภาวะสังคมเมืองและประชากรโลกที่ขยายตัว ณ จุดนี้ ประเทศไทยเองก็มีหน่วยงานที่คอยพัฒนาและสนับสนุน อย่าง สวก. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน) คอยช่วยให้อุตสาหกรรมเกษตร และบุคคลากรทางการเกษตรของประเทศไทยพัฒนาเพื่อผลักดันให้การเกษตรก้าวไกล และไม่แพ้การเกษตรของชาติใดบนโลก

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3409
ผู้ป่วย หรือคนที่เป็น ไขมันในเลือดสูง กินน้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อน ได้หรือไม่
ผู้ป่วย หรือคนที่เป็น ไขมันในเลือดสูง กินน้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อน ได้หรือไม่
โดยปกติแล้วไขมันในอาหารแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทซึ่งมีประเภทหลัก ๆ คือ saturated fat_ trans fat และ cholesterol ซึ่งการรับประทานไขมันในอาหารแต่ละประเภทนี้จะส่งผลต่อระดับค่าไขมันในเลือดแตกต่างกันไป จากคำถามเรื่องน้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนนั้นมีส่วนประกอบดังนี้ – น้ำมะพร้าวอ่อนปริมาณ 100 กรัมนั้นจะให้พลังงาน 16 กิโลแคลอรี่ จะมีส่วนประกอบหลักคือน้ำ และมีส่วนประกอบอื่นๆ คือคาร์โบไฮเดรต 3.9 กรัม_ โปรตีน 0.1 กรัม_ และวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ – เนื้อมะพร้าวอ่อนปริมาณ 100 กรัมนั้นจะให้พลังงาน 81 กิโลแคลอรี่ จะมีส่วนประกอบหลักคือน้ำ และมีส่วนประกอบอื่นๆ คือไขมัน 5.9 กรัม_ คาร์โบไฮเดรต 3.8 กรัม_ ไฟเบอร์ 3.2 กรัม_ โปรตีน 1.8 กรัม_ และวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าส่วนประกอบหลักในน้ำมะพร้าวคือคาร์โบไฮเดรตและมีส่วนประกอบของไขมันน้อยมาก ดังนั้นการรับประทานน้ำมะพร้าวจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าระดับไขมันในเลือด แต่ในเนื้อมะพร้าวอ่อนนั้นจะมีส่วนประกอบหลักคือไขมันและคาร์โบไฮเดรต โดยไขมันที่ได้จากมะพร้าวนั้นคือ saturated fat เป็นหลัก ซึ่ง saturated fat จะสามารถเพิ่มระดับไขมันในเลือดได้ ในคนปกติทั่วไปนั้นจะแนะนำให้ทาน saturated fat ไม่เกิน 7% ของปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับต่อวันหรือประมาณ 16 กรัม นอกจากนี้แล้วในเนื้อมะพร้าวยังประกอบด้วยน้ำตาลซึ่งสามารถส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นกัน ดังนั้นหากเป็นไปได้ผู้ป่วยไขมันสูงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อมะพร้าวทั้งอ่อนและแก่จะดีที่สุด Keywords: saturated fat_ trans fat_ cholesterol_ คาร์โบไฮเดรต_ ไขมัน_ น้ำมะพร้าว_ เนื้อมะพร้าว_ โปรตีน_ ไฟเบอร์_ วิตามินและแร่ธาตุ_ พลังงาน_ แคลอรี่

Reference:

1. Dignan C_ Burlingame B_ Kumar S_ Aalbersberg W. The Pacific Islands Food Composition Tables. FAO Publications_ Rome 2004.

2. American Heart Association National Center.
http://www.farmkaset..link..

ที่มา http://www.farmkaset..link..
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3.1 ประเภทของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

สารเคมีกําจัดศัตรูพืชในทางการเกษตรซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการควบคุมและกําจัด คือ สารเคมีกําจัดแมลง สารป้องกัน
กําจัดวัชพืช สารป้องกันกําจัดเชื้อราสารกําจัดหนูและสัตว์แทะ สารเคมีกําจัดหอยและปู เป็นต้น

สารเคมีกําจัดแมลง (Insecticide)
สารเคมีกําจัดแมลงเป็นสารเคมีการเกษตรที่มีจํานวนชนิดมากที่สุด สารเคมีกําจัดแมลงแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามชนิดของสารเคมีได้ 4 ประเภท คือ

1.1 กลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine) ซึ่งเป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ สารเคมีกําจัดแมลงในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันมาก เช่น ดีดีที (DDT)
ดีลดริน(Dieldrin) ออลดริน (Aldrin) ท็อกซาฟีน (Toxaphene) คลอเดน(Chlordane) และลินเดน (Lindane) เป็นต้น

1.2 กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ เช่น มาลาไธออน (Malathion) และ เฟนนิโตรไธออน
(Fenitrothion) เป็นต้น

1.3 กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamate) ซึ่งมีคาร์บาริลเป็นองค์ประกอบสําคัญ เช่น คาร์บาริล (Carbaryl) คาร์โบฟูแรน (Carbofuran) และเมโทมิล (Methomyl)
เป็นต้น

1.4 กลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroid) เป็นสารเคมีกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมีความสัมพันธ์ตามโครงสร้างของไพรีทริน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากพืชไพรีทรัม
เช่น เดลตาเมธริน (Deltamethrin) เพอร์เมธริน (Permethrin) เรสเมธริน (Resmethrin) และไบโอเรสเมธริน (Bioresmethrin) เป็นต้น

สารป้องกันกําจัดวัชพืช (Herbicide)
สารเคมีกําจัดวัชพืชแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ จำแนกตามการเลือกทำลายเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

2.1 สารชนิดเลือกทำลาย (Selective herbicide) โดยทำลายเฉพาะวัชพืช แต่ไม่เป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูก เช่น 2_4-D กำจัดวัชพืชใบกว้างโดยไม่เป็นพิษต่อ
ต้นข้าวที่เป็นพืชใบแคบ เป็นต้น

2.2 สารชนิดไม่เลือกทำลาย (Non-selective herbicide) ทำลายวัชพืชใบแคบ ใบกว้าง หรือกก แนะนำให้ใช้กำจัดวัชพืชในที่ที่ไม่มีการปลูกพืช หรือถ้าจะพ่น
ในที่ที่มีพืชขึ้นอยู่หรืออยู่ใกล้เคียง ต้องพ่นอย่างระมัดระวัง เช่น พาราควอท (Paraquat) ไกลโฟเสท (Glyphosate) เป็นต้น

สารกําจัดเชื้อรา (Fungicide) มีอยู่หลายกลุ่ม บางชนิดมีพิษน้อย แต่บางชนิดมีพิษมาก เช่น
3.1 กลุ่ม Dimethey Dithiocarbamates เช่น ไซแรม(Ziram) เฟอแบม (Ferbam) ไธแรม(Thiram) เป็นต้น มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetaldehyde
dehydrogenase เกิด Antabuse Effect ในคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย

3.2 กลุ่ม Ethylenebisdithiocarbamates เช่น มาแนบ (Maneb) แมนโคแซบ (Mancozeb) ไซแนบ (Zineb) เป็นต้น กลุ่มนี้จะถูก Metabolize เป็น
Ethylene thiourea ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์

3.3 กลุ่ม Methyl Mercury ดูดซึมได้ดีทางผิวหนังและมีพิษต่อระบบประสาท

3.4 กลุ่ม Hexachlorobenzene ยับยั้งเอนไซม์ Uroporphyrinogen Decarboxylase มีพิษต่อตับ ผิวหนัง ข้อกระดูกอักเสบ

3.5 กลุ่ม Pentachlorophenol สัมผัสมากๆ ทำให้ไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว

สารกําจัดหนูและสัตว์แทะ (Rodenticides)
สารกําจัดหนูและสัตว์แทะที่นิยมใช้กัน ส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ตัวอย่างเช่น วอฟฟาริน (Warfarin) เป็นต้น



3.2 ความเป็นพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ปัญหาสุขภาพที่สำคัญคืออันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลายเพื่อ
เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและมีเกษตรกรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีฯที่ไม่ถูกต้อง ปลอดภัย ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและ
เรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรัง
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติและโรคต่างๆ เช่น มะเร็งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้
หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรม
การใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้นทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชน และผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น

ความเป็นพิษของสารกำจัดศัตรูพืชชนิดต่างๆ

สารออร์กาโนฟอสเฟต มีฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาท รอบนอก โดยจะจับกับตัวเอ็นไซม์
โคลีนเอสเตอเรส ซึ่งมีหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทหยุดการทำงาน ผลการจับ ตัวกับเอ็นไซม์ทำให้ปริมาณของเอ็นไซม์ ลดลง และมีผลต่อกล้ามเนื้อต่าง ๆ
ต่อมต่าง ๆและกล้ามเนื้อเรียบซึ่ง ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ในการทำงานมากกว่าปกติ เนื่องจากปริมาณเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีไม่มากพอที่จะ หยุด
การทำงาน พบอาการ ม่านตาหรี่ หายใจลำบาก เวียนศีรษะ อาเจียน มือสั่น เดินโซเซ ชัก หมดสติ ระบบกล้ามเนื้อพบอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ตะคริว
ที่กล้ามเนื้อ ต่อมต่าง ๆ ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออกมา มาก ต่อมเหงื่อขับเหงื่อออกมามาก

สารคาร์บาเมต สารในกลุ่มนี้มีการออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับสารออร์กาโนฟอสเฟต แต่ความเป็นพิษน้อยกว่า อาการที่เกิดขึ้นเหมือนกับการได้รับสาร
ออร์กาโนฟอสเฟต ยกเว้นอาการชัก ไม่รู้สึกตัวเกิดขึ้นน้อย

สารออร์กาโนคลอรีน สารกลุ่มนี้ถูกดูดซึมที่ผิวหนัง เมื่อได้รับมาก ๆจะทำให้ระบบประสาทส่วนกลาง ถูกขัดขวาง พบอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เวียน
ศีรษะ ปวดศีรษะ

สารไพรีทรอยด์ เป็นสารที่มีความไวทางชีวภาพสูง และใช้แบบเจือจาง สารกลุ่มนี้ถูกกำจัดออกจาก ร่างกาย ไม่ถูกสะสมอยู่ในร่างกาย พบอาการชา
หายใจเร็วตื้น เจ็บคอ คอแห้ง แสบจมูก คันตามผิวหนัง ท้องเสีย น้ำลายไหลมาก หนังตากระตุก เดินโซเซ

สารกำจัดวัชพืช เช่น สารพาราควอท ที่ออกฤทธิ์เร็วและจะเสื่อมฤทธิ์ทันทีเมื่อตกถึงพื้นดิน สารนี้ ละลายน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี ไม่มีสี มีกลิ่นอ่อน ๆ
คล้ายกลิ่นแอมโมเนีย สารนี้มีพิษต่อผิวหนัง และเยื่อเมือกพบอาการผิวหนังแห้งแตก ผื่นแดง เป็นแผล เล็บซีดขาว เล็บเปราะ ระบบหายใจ พบอาการไอ
เลือดกำเดาไหล เจ็บคอ หากรับประทานเข้าไปทำให้เกิดพังผืดที่ปอด การหายใจล้มเหลว

สารเคมีกำจัดหนู เช่น ซิงค์ฟอสไฟต์ มีความเป็นพิษมาก เมื่อถูกน้ำและกรดในกระเพาะอาหารเกิดปฏิกิริยาได้ก๊าซพิษฟอสฟีน ทำลายเซลล์กระเพาะ
อาหาร ตับ ไต การดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทำให้มีน้ำคั่งในปอด ปวดศีรษะ หายใจขัด ความดันโลหิตสูง อาจทำให้เสียชีวิตภายในระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง

สารไธโอคาร์บาเมต เป็นสารกลุ่มรักษาโรคพืช ลักษณะอาการเกิดขึ้นมีลักษณะเหมือนไพรีทรอยด์ ทางเดินหายใจพบอาการ คอแห้ง แสบจมูก ไอ
ตาพบอาการเคืองตา ตาแดง ผิวหนัง พบอาการคันผิวหนัง มีจุดขาวที่ผิวหนัง ผื่นแดง

ความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง 12 ชนิด

สารกําจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง 12 ชนิด ที่กรมควบคุมโรคเห็นความสําคัญเป็นสารในกลุ่มเดียวกับวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเฝ้าระวังซึ่งสารกําจัด
ศัตรูพืชกลุ่มนี้เป็นสารที่อยู่ในข่ายที่ต้องเฝ้าระวังในการใช้เนื่องจากเป็นสารที่มีปริมาณการใช้มาก มีความเป็นพิษสูง หรือมีการตกค้างระยะยาวในสิ่งแวดล้อม
สารทั้ง12 ชนิดนี้ ประกอบด้วย

อัลดิคาร์บ (Aldicarb)
บลาสติซิดิน เอส ( Blasticidin-S)
คาร์โบฟูราน (Carbofuran)
ไดโครโตฟอส (Dicrotophos)
อีพีเอ็น (EPN)
อีโธโปรฟอส (Ethoprofos)
โฟมีทาเนต (Formethanate)
เมทิดาไธออน (Methidathion)
เมโทมิล (Methomyl)
อ๊อกซามิล (Oxamyl)
เอ็นโดซัลแฟน (Endosulfan)
พาราไธออนเมทธิล(Parathion Methyl)
การจัดระดับความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้ค่า ปริมาณสารเคมีต่อน้ำหนักตัวของสัตว์ทดลองที่รับเข้าไปครั้งเดียวแล้วทำให้ตายไป 50%
(LD50) และมีหลายหน่วยงานได้จัดระดับความเป็นอันตรายของสารเคมีทางการเกษตร เพื่อแยกระดับความรุนแรงของสารเคมีแต่ละชนิด โดยให้สัญลักษณ์
ของอันตรายแต่ละระดับ

อ่านต่อทั้งหมดที่ http://www.farmkaset..link..
กระเจี๊ยบแดง เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนัก ลดความดันโลหิต ลดความเหนียวข้นของเลือด
กระเจี๊ยบแดง เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนัก ลดความดันโลหิต ลดความเหนียวข้นของเลือด
กระเจี๊ยบแดง เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนัก ลดความดันโลหิต ลดความเหนียวข้นของเลือด
กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด

กระเจี๊ยบแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.

ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel_ Roselle

วงศ์ : Malvaceae

ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้

สรรพคุณ :

กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล

เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย

ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด

น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง

ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี

น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง

ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ

เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ

เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย

ใบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก

ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก

ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ

เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด

นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน

นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด

วิธีและปริมาณที่ใช้
โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี

ดอก พบ Protocatechuic acid_ hibiscetin_ hibicin_ organic acid_ malvin_ gossypetin
คุณค่าด้านอาหาร

น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง

น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ

ข้อมูลจาก rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_01.htm

รูปภาพจาก arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages &page_id=1450&code_db=610010&code_type=01
อ่าน:3406
11 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 1 หน้า, หน้าที่ 2 มี 1 รายการ
|-Page 1 of 2-|
1 | 2 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรครากเน่า โคนเน่า ในส้ม ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/05 14:38:10 - Views: 3466
การใช้คาร์รอน (Diuron 80% WG) ในการควบคุมวัชพืชในสวนแตงโม
Update: 2567/02/13 09:13:23 - Views: 3498
ฝรั่ง ใบไหม้ ใบจุด โรคแอนแทรคโนส โรคเหี่ยว รากเน่า ผลเน่า โรคราต่างๆ ป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟู ด้วยปุ๋ย FK-T
Update: 2567/04/03 11:16:10 - Views: 3474
โรคสับปะรด ที่เกิดจากเชื้อราต่างๆ ทำให้เกิดอาการสับปะรดยอดเน่า รากเน่า ใบไหม้ ยกตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้
Update: 2566/11/08 06:16:07 - Views: 10126
วันนี้อาชีพเลี้ยงหมูได้เปลี่ยนอดีตชาวนาให้สามารถจับเงินปีละล้าน
Update: 2558/07/17 17:07:14 - Views: 3416
ยาแก้โรค ทุเรียนใบแห้ง ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา ยารักษาโรค ทุเรียนใบติด ทุเรียนใบไหม้ ใช้ ไอเอส ยับยั้งโรค และ ผสมด้วย FK-1 เพื่อเร่งฟื้นตัว
Update: 2563/07/04 09:19:08 - Views: 3939
เพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ด้วย FK-1 890บาท และ FK-3S 950บาท ใช้ได้ 5 ไร่
Update: 2562/10/08 15:58:46 - Views: 4175
มันสำปะหลังผลผลิตต่ำ! เพราะขาดธาตุ สังกะสี เพราะเกี่ยวข้องกับการสร้าง คลอโรฟิลล์ สังเคราะห์โปรตีน ส่งเสริมการใช้ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน ฯลฯ
Update: 2564/08/10 12:17:29 - Views: 3644
โรคไหม้ข้าว (ระยะออกรวง)
Update: 2564/05/03 08:21:45 - Views: 3631
ปุ๋ย FK-1 ฉีดพ่น ทุเรียน ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4 เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20 เปอร์เซ็นต์ 1 กล่องผสมน้ำได้ 400-800 ลิตร
Update: 2566/02/18 10:42:12 - Views: 3431
โรคลำไย โรคราดำลำไย ต้องป้องกันกำจัดที่ต้นเหตุ และต้นเหตุนั้นเกิดจากเพลี้ยต่างๆ ถ่ายน้ำหวานมาปกคลุม ทำให้เชื้อราในอากาศปลิวมาเกาะติด
Update: 2564/02/25 12:25:26 - Views: 3678
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว ศัตรูตัวร้าย ในนาข้าว บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/23 13:42:38 - Views: 3562
ยากำจัดโรคตายพลาย ใน ต้นกล้วย โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/05 13:47:24 - Views: 3442
โรคราแป้ง ที่เกิดกับ แตงกวา
Update: 2564/08/09 05:45:36 - Views: 3635
โรคทุเรียน
Update: 2566/03/03 08:27:38 - Views: 3511
มะพร้าวยอดเน่า โรคใบจุดมะพร้าว และการป้องกันกำจัด
Update: 2563/12/11 11:12:49 - Views: 3760
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยไฟ ในมะเขือ และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/01 14:33:16 - Views: 3440
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในดอกลีลาวดีอย่างได้ผล
Update: 2566/05/09 10:41:24 - Views: 3383
การปลูกมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตดี
Update: 2563/06/05 10:07:34 - Views: 3631
ตั๊กแตนตำข้าว พลางตัวด้วยสีเหมือนกิ้งไม้ ใบหญ้าแห้ง ป้องกันตนจากภัยอันตราย
Update: 2563/05/26 10:24:16 - Views: 3678
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022