[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - กำจัดวัชพืช
153 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 15 หน้า, หน้าที่ 16 มี 3 รายการ

โรคกุ้งแห้ง หรือ โรคแอนแทรคโนสในพริก
โรคกุ้งแห้ง หรือ โรคแอนแทรคโนสในพริก
#โรคกุ้งแห้ง หรือ #โรคแอนแทรคโนสในพริก สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นลง มีฝนตก บางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกพริก ในทุกระยะการเจริญเติบโต หมั่นตรวจสอบแปลงพริกอยู่เสมอ เพื่อป้องกันผลผลิตเสียหาย โรคแอนแทรคโนส หรือโรคกุ้งแห้ง (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides_ Colletotrichum capsici)โรคนี้มักพบบนผลพริกที่เริ่มสุก หรือก่อนที่ผลพริกจะเปลี่ยนสี อาการเริ่มแรกเป็นจุดหรือแผลช้ำยุบตัวเล็กน้อย ต่อมาแผลขยายใหญ่ลักษณะเป็นวงรีหรือวงกลม บริเวณแผลพบส่วนของเชื้อราเป็นตุ่มสีดำขนาดเล็กเรียงเป็นวงซ้อนกัน ในสภาพที่อากาศชื้นจะเห็นเมือกเยิ้มสีส้มอ่อน ซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรค ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ผลเน่า ผลพริกที่เป็นโรคนี้จะโค้งงอบิดเบี้ยวลักษณะคล้ายกุ้งแห้ง และร่วงก่อนเก็บเกี่ยว

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. เลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ หรือต้นกล้า จากแหล่งที่ปราศจากโรค หรือถ้าเก็บเมล็ดพันธุ์เอง ต้องเลือกจากผลพริกที่ไม่เป็นโรค

2. ควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส นาน 20-30 นาที ก่อนเพาะ

3. จัดระยะปลูกพริกให้เหมาะสม ไม่ปลูกชิดกันเกินไป และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้แปลงปลูกมีความชื้นสูง ซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค

4. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบผลพริกเป็นโรค เก็บนำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค

ป้องกันกำจัด โรคกุ้งแห้ง โรคแอนแทรคโนสพริก โรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา โรคราแป้ง โรคไหม้ โรคใบไหม้ โรคแอนแทรคโนส โรคเชื้อราไฟทอปโธร่า โรคราต่างๆ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา

เร่งการเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทาน เพิ่มผลผลิต ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน

สามารถผสม ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

พริกเป็นเชื้อรา พริกเป็นรา โรคราพริก ราในพริก แก้โรคเชื้อราในพริก
โรคใบหงิก (โรคจู๋) ข้าวใบหงิก ข้าวใบม้วน (Rice Ragged Stunt Disease)
โรคใบหงิก (โรคจู๋) ข้าวใบหงิก ข้าวใบม้วน (Rice Ragged Stunt Disease)
พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง

สาเหตุ เชื้อไวรัส Rice Ragged Stunt Virus (RRSV)

อาการ ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้ง ระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง อาการของต้นข้าวที่เป็นโรค สังเกตได้ง่าย คือ ข้าวต้นเตี้ยกว่าปกติ ใบแคบและสั้นสีเขียวเข้ม แตกใบใหม่ช้ากว่าปกติ แผ่นใบไม่สมบูรณ์ ปลายใบบิดเป็นเกลียว ขอบใบแหว่งวิ่นและเส้นใบบวมโป่งเป็นแนวยาวทั้งที่ใบและกาบใบ ข้าวที่เป็นโรคออกรวงล่าช้าและให้รวงไม่สมบูรณ์ เมล็ดลีบ ผลผลิตลดลง 30 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และข้าวพันธุ์อ่อนแอที่เป็นโรคในระยะกล้า ต้นข้าวอาจตายและไม่ได้ผลผลิตเลย

การแพร่ระบาด เชื้อไวรัสสาเหตุโรคถ่ายทอดได้โดยแมลงพาหะ คือ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเชื้อไวรัสสามารถคงอยู่ในตอซัง และหญ้าบางชนิด

การป้องกันกำจัด

• กำจัดหรือทำลายเชื้อไวรัส โดยไถกลบหรือเผาตอซังในนาที่มีโรค กำจัดวัชพืช โดยเฉพาะวัชพืชใกล้แหล่งน้ำซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ของแมลงพาหะ

• ใช้พันธุ์ที่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น พันธุ์สุพรรณบุรี 90 สุพรรณบุรี 3 และชัยนาท 2 แต่ไม่ควรปลูกข้าวพันธุ์ดังกล่าว ติดต่อกันเป็นแปลงขนาดใหญ่ เนื่องจากแมลงสามารถปรับตัว เข้าทำลายพันธุ์ข้าวที่ต้านทานได้

• ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงพาหะ

อ้างอิง

http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

มาคา ป้องกำจัด เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยต่างๆ แมลงพาหะของโรคพืช
รายละเอียดด้านล่างนะคะ
ข้าวดีดระบาด3ล้านไร่ ชาวนาสูญ6พันล้าน
ข้าวดีดระบาด3ล้านไร่ ชาวนาสูญ6พันล้าน
ข้าวดีดระบาด3ล้านไร่ ชาวนาสูญ6พันล้าน
นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว เผยถึงสถานการณ์ปลูกข้าวของไทยว่า สิ่งที่สร้างความเสียหายต่อชาวนาไทยมากที่สุดในขณะนี้คือ ข้าววัชพืช หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าข้าวดีดข้าวเด้ง ซึ่งกำลังเป็นปัญหาระดับชาติ เพราะพบว่ามีการระบาดกินพื้นที่รวมกันประมาณ 3 ล้านไร่ และมีการระบาดอย่างรุนแรงในพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และนครนายก ซึ่งทำให้ชาวนาสูญรายได้คิดเป็นเงินประมาณ 3-6 พันล้านบาทเลยทีเดียว เนื่องจากเมื่อนำไปสีจะได้ผลผลิตน้อย ส่งผลกระทบต่อการส่งออก สาเหตุมาจากพันธุ์ข้าววัชพืชเหล่านี้ติดมากับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้คุณภาพและติดรถเกี่ยวนวด ซึ่งเป็นปัญหาที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีความเป็นห่วงอย่างมาก

เพื่อแก้ปัญหาไม่ให้ลุกลามไปมากกว่านี้ นายชัยฤทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้กรมการข้าวได้จัดทำโครงการตั้งหมู่บ้านปลอดข้าวดีดข้าวเด้ง ในพื้นที่ 3 จังหวัด สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา และนครนายก เพื่อสร้างต้นแบบหมู่บ้านปลอดข้าววัชพืช เริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน ปรับเมล็ดพันธุ์คุณภาพ และทำนาโดยใช้การปักดำหรือโยนกล้า จะช่วยให้สามารถกำจัดวัชพืชได้ง่าย รวมทั้งการระบายน้ำเข้านาเพียง 5 ซม. เพื่อไม่ให้วัชพืชเติบโต รวมทั้งการถอนการปลอมปนในพื้นที่ ส่วนกรณีที่มีข้าวร่วงงอกขึ้นในนา จะปล่อยให้งอกแล้วไถกลบ เพื่อไม่ให้ข้าววัชพืชมีโอกาสเติบโตได้ โดยจะเปิดโครงการฯ ขึ้นเป็นแห่งแรกที่สุพรรณบุรี ในวันที่ 11 มิ.ย.นี้ มั่นใจว่าถ้าขยายผลในพื้นที่ 3 จังหวัดนี้ได้ เชื่อว่าจะสามารถการแก้ปัญหาผลผลิตต่ำ ไม่ได้คุณภาพได้ระดับหนึ่ง.

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ชุดย่อยสลายฟางข้าว ชุดย่อยสลายตอฟาง ย่อยสลายใน 7วัน ไม่ต้องเผา

ลดข้าวดีดมากกว่า 70% รวดเร็วในการย่อยสลายตอซังฟางข้าว ภายใน 5-7 วัน โดยไม่ต้องเผา ปรับสภาพดินในนาข้าว สามารถไถพรวนได้ง่าย เพิ่มจุลธาตุอาหารให้แก่นาข้าวหลังการเก็บเกี่ยว สามารถลดปัญหาข้าวดีด และข้าววัชพืชอื่น ๆ ในนาข้าวได้

#ย่อยสลายฟางข้าว #ย่อยสลายตอฟาง #ย่อยสลายตอซัง

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว กับ Lazada : http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว กับ Shopee : http://www.farmkaset..link..
ข้าววัชพืช ป้องกัน กำจัด ลดปริมาณ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว
ข้าววัชพืช ป้องกัน กำจัด ลดปริมาณ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว
ข้าววัชพืช ป้องกัน กำจัด ลดปริมาณ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว
1. ข้าววัชพืช คืออะไร ต่างกับข้าวทั่วไปอย่างไร

ข้าวที่ชาวนาใช้ปลูกทั่วไป มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza sativa L. ใช้ปลูกในประเทศไทยมากกว่า 100 พันธุ์ เรียกในที่นี้ว่าข้าวปลูก เป็นพันธุ์ข้าวที่ถูกคัดเลือกให้มีลักษณะที่ต้องการเช่นผลผลิตสูง ข้าวสารมีสีขาว ใส คุณภาพหุงต้มนุ่มและหอม ไปจนถึงร่วนแข็ง ต้านทานต่อโรคหรือแมลงที่สำคัญ ข้าวพันธุ์หนึ่งจะมีลักษณะทางการเกษตรต่างๆ เหมือนกันและคงตัว คือในพันธุ์เดียวกันจะมีลักษณะ สีใบ ทรงกอ ความสูง การออกรวง สีเปลือก สีข้าวกล้อง เหมือนกันและคงตัว และทุกพันธุ์จะมีลักษณะสำคัญคือเมล็ดจะสุกแก่ใกล้เคียงกันคือหลังบานดอกแล้วประมาณ 28-30 วัน พร้อมที่จะถูกเก็บเกี่ยวและถูกนวดให้หลุดจากรวง คือจะไม่สุกแก่ก่อนเวลาไม่หลุดร่วงเองได้ง่ายๆ และข้าวเปลือกจะไม่มีหางหรือถ้ามีก็จะสั้นมาก

ข้าวป่าเป็นบรรพบุรุษของข้าวที่ใช้ปลูกในปัจจุบัน เป็นข้าวอีกชนิดหนึ่งที่มีตามธรรมชาติทั้งในที่ลุ่มลึกและบนที่ดอน ข้าวป่ามีหลายชนิดและที่มีความสำคัญและคาดว่าจะเป็นเชื้อพันธุ์ของข้าววัชพืชมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza rufipogon Griff. ข้าวป่าแม้จะสามารถแบ่งเป็นหลายชนิด ในแต่ละชนิดจะมีหลายลักษณะ แต่มีลักษณะสำคัญหลายประการที่มีในข้าวป่าทุกชนิดคือ เมล็ดในรวงเดียวกันสุกแก่ไม่พร้อมกันตั้งแต่ 9-30 วัน เมื่อสุกแก่ก็จะหลุดร่วงได้เอง เมล็ดมีระยะพักตัวหลากหลายตั้งแต่ไม่มีระยะพักตัวไปจนถึงระยะพักตัวหลายปี เมล็ดข้าวเปลือกและข้าวกล้องของข้าวป่าจะมีหลากหลายสี เมล็ดอาจมีหางยาวมากกว่า 10 เท่าตัวของเมล็ด และมีหลายสี

“ข้าววัชพืช” มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า weedy rice เป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในนาภาคกลางจนถึงภาคเหนือตอนล่าง มีลักษณะเหมือนต้นข้าวจนแยกไม่ออกในระยะกล้า มีชื่อเรียกต่างๆกันไปในแต่ละท้องถิ่นตามลักษณะของข้าววัชพืชที่ปรากฏเช่น ข้าวหาง เนื่องเมล็ดมีหางยาว ข้าวดีด ข้าวเด้ง เนื่องจากเมื่อเมล็ดแก่ และถูกลมพัดหรือคนไปสัมผัส เมล็ดจะร่วง ข้าวลาย เนื่องเมล็ดมีเปลือกลาย ข้าวแดง เนื่องจากเมื่อแกะเมล็ดจะพบว่าเมล็ดข้าวกล้องมีสีแดง ดาวกระจาย เนื่องจากลักษณะรวงจะกางออกและเมื่อเมล็ดแก่จะร่วงและกระจายไปรอบๆ เป็นต้น เคยระบาดในประเทศไทยที่จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี และพิษณุโลกในปี 2518 ความเสียหายที่จังหวัดปราจีนบุรี ทำให้ผลผลิตลดลงมากกว่า 80% แต่ก็มีการจัดการได้ซึ่งสมัยนั้นโดยการเผาฟาง เปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ การเขตกรรมโดยการไถล่อข้าววัชพืชหลายครั้ง เนื่องจากชาวนายังทำนาปีละ 1 ครั้งเท่านั้น และพบการระบาดรุนแรงอีกครั้งเมื่อปี 2544 ที่จังหวัดกาญจนบุรี จนถึงปัจจุบัน ข้าววัชพืชขยายวงกว้างของการระบาดออกไปเรื่อย ๆ จากการสำรวจข้อมูลการระบาดของข้าววัชพืชในฤดูนาปี 2550 พบการระบาดในพื้นที่นาของประเทศไทยถึง 19.2 ล้านไร่

2. ข้าววัชพืชเกิดขึ้นได้อย่างไร

จากการศึกษาของหลายหน่วยงานพบว่า ข้าววัชพืชเกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวป่าธรรมชาติ
(O. rufipogon L.) กับข้าวปลูก และมีการกระจายตัวของลูกหลานออกเป็นหลายลักษณะ โดยอัตราการผสมข้ามระหว่างข้าวปลูกกับข้าวป่า และระหว่างข้าวปลูกกับข้าววัชพืช ลูกผสมที่กระจายตัวและเจริญแพร่พันธุ์ในแปลงปลูกมีลักษณะส่วนใหญ่ไม่เป็นที่ต้องการของชาวนา

3. การจำแนกข้าววัชพืช
สามารถจำแนกตามลักษณะภายนอกของข้าววัชพืชได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

ข้าวหางหรือข้าวนก
คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะเมล็ดข้าวเปลือกสีดำหรือสึน้ำตาลเข้ม มีหางยาว หางอาจจะมีสีแดงหรือขาวในระยะข้าวยังสด เมล็ดร่วงก่อนเก็บเกี่ยว สีของเยื่อหุ้มเมล็ดมีทั้งแดงไปจนถึงขาว

ข้าวแดงหรือข้าวลาย
คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะสีข้าวเปลือกมักมีสีเข้มไปจนถึงลายสีน้ำตาลแดง เมล็ดข้าวเปลือกส่วนใหญ่ไม่มีหาง เมล็ดมีทั้งร่วงและไม่ร่วงก่อนเก็บเกี่ยว แต่สีของเยื่อหุ้มเมล็ดส่วนใหญ่มีสีแดง

ข้าวดีดหรือข้าวเด้ง
คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะร่วงง่ายและร่วงเร็วโดยทยอยร่วงตั้งแต่หลังบานดอก 9 วันเป็นต้นไป เมล็ดข้าวเปลือกส่วนใหญ่มีหางสั้นหรือไม่มีหาง ข้าวเปลือกส่วนใหญ่มีสีเหลืองฟาง สีของเยื่อหุ้มเมล็ดมีทั้งแดงและขาว

4. สาเหตุการแพร่ระบาดของข้าววัชพืช
การแพร่ระบาดของข้าววัชพืช มาจากสาเหตุ 5 ประการ คือ

4.1 ติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวเนื่องจากเกษตรกรใช้พันธุ์ข้าวจากแหล่งไม่มีคุณภาพ ในรอบ 1 ปี ชาวนามีความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณกว่า 1 ล้านตัน แต่หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ได้มาตรฐานได้ไม่เกิน 15 % ของความต้องการของชาวนาเท่านั้น อีก 85 % ชาวนาจำเป็นต้องเสี่ยงในการหาซื้อเมล็ดพันธุ์เองตามร้านค้าและแหล่งผลิตเอกชน ซึ่งอาจจะไม่ได้มาตรฐานและมีเมล็ดข้าววัชพืชติดมาด้วย

4.2 ติดมากับอุปกรณ์ในการทำนา เครื่องมือเตรียมดิน_ เก็บเกี่ยวหรือภาชนะบรรจุข้าว โดยเฉพาะรถเกี่ยวนวดข้าว เมื่อไปเกี่ยวข้าวในแปลงที่มีการระบาดของข้าววัชพืชรุนแรง เมล็ดข้าวที่ติดมากับรถเกี่ยวนวด มีจำนวนประมาณ 2-5 ถัง ซึ่งมีโอกาสที่เมล็ดข้าววัชพืชติดมาด้วย และมาร่วงหล่นในนาแปลงใหม่ที่รถเกี่ยวนวดข้าวลงทำงาน

4.3 ติดมากับปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ที่ผลิตจากวัสดุที่ได้มาจากนาข้าว เช่น ฟาง แกลบ ขี้เถ้าแกลบ หน้าดินผสมจากท้องนา ซึ่งเมล็ดข้าววัชพืชมีคุณสมบัติอยู่ได้นานในสภาพต่าง ๆ

4.4 การแพร่ไปกับน้ำ ในระบบชลประทาน (ข้าวหาง ข้าวครึ่งเมล็ด) ลอยไปกับน้ำลงสู่แปลงนาได้

4.5 ติดไปกับอาหารเสริมของเป็ดที่ปล่อยในนาข้าว ส่วนใหญ่เป็นข้าวเปลือกที่มีราคาถูก มีสิ่งเจือปน

5. ลักษณะของข้าววัชพืชที่ทำให้เป็นปัญหาร้ายแรง
ดังได้กล่าวมาแล้วว่าข้าววัชพืชมีลักษณะต่างๆที่คล้ายหรือแตกต่างกับข้าวปลูกอย่างไรบ้าง แต่ลักษณะสำคัญที่ทำให้ข้าววัชพืชเป็นวัชพืชร้ายแรง ดังนี้

5.1 ข้าววัชพืชมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว มีความสามารถในการแข่งขันได้ดีกว่าข้าวปลูก ข้าววัชพืชอาจมีความสูงมากกว่าข้าว จึงมีความสามารถในการแก่งแย่งธาตุอาหารและแสงแดดมากกว่าข้าว ข้าววัชพืชที่ต้นสูงจะล้มทับข้าวในระยะออกรวงทำให้ต้นข้าวปลูกเสียหาย

5.2 ข้าววัชพืชบางชนิดออกดอกเร็วกว่าข้าวปลูกและเมล็ดส่วนใหญ่ร่วงก่อน จึงไม่ถูกเก็บเกี่ยวไปพร้อมกับข้าวปลูก ทำให้มีเมล็ดสะสมอยู่ในแปลงนา ซึ่งจะเพิ่มความหนาแน่นมากขึ้นในฤดูต่อไป

5.3 เมล็ดข้าววัชพืชที่ร่วงสะสมอยู่ในนามีระยะพักตัวหลากหลาย จึงไม่ได้งอกพร้อมกันทั้งหมด ทำให้ยากต่อการกำจัด

5.4 เมล็ดส่วนใหญ่ร่วงก่อนเก็บเกี่ยว จึงไม่ถูกเก็บเกี่ยวไปพร้อมกับข้าวปลูก ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์

5.5 เมล็ดข้าววัชพืชที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงปะปนไปกับผลผลิตข้าว ทำให้ถูกตัดราคา

6. การป้องกันปัญหาข้าววัชพืช
แม้ว่าข้าววัชพืชจะเกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวปลูกกับข้าวป่าก็ตาม แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นได้โดยง่าย ดังนั้นการป้องกันเมล็ดข้าววัชพืชจากแหล่งที่มีการระบาดแล้วไม่ให้เล็ดลอดเข้ามาในแปลงนาที่ยังไม่มีการปลอมปน และเพื่อไม่ให้เผชิญกับปัญหาข้าววัชพืช ดังนั้นชาวนาสามารถทำการป้องกันปัญหาข้าววัชพืชได้โดย

6.1 การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์มาตรฐานไม่มีข้าววัชพืชปลอมปน

6.2 ทำความสะอาดเครื่องจักรกลเกษตรก่อนการทำงานในแปลงทุกครั้ง

6.3 การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ที่ไม่นำวัสดุจากนาข้าวมาผลิต หรือต้องมั่นใจว่าไม่มีข้าววัชพืชปนมา

6.4 น้ำชลประทานที่ผ่านท้องที่ที่มีการระบาดของข้าววัชพืช อาจมีเมล็ดข้าววัชพืชลอยมากับน้ำได้ การใช้ตาข่ายกั้นทางน้ำก็จะป้องกันข้าววัชพืชได้

7. การกำจัดข้าววัชพืชโดยวิธีเขตกรรม
การผสมผสานหลายวิธีการในทุกขั้นตอนของการทำนาดังต่อไปนี้ จะช่วยแก้ปัญหาข้าววัชพืชได้ไม่ต้องพึ่งพาสารกำจัดวัชพืชหรือสารเคมีใดๆ

7.1 การกำจัดเมล็ดข้าววัชพืชโดยล่อให้งอกแล้วไถกลบ
การเตรียมดินโดยการไถ พรวน หรือคราดทำเทือก ควรเว้นช่วง 2-4 สัปดาห์ เพื่อเว้นระยะเวลาให้เมล็ดข้าววัชพืชที่ยังเหลืออยู่ในดินได้มีโอกาสพ้นระยะพักตัวมากขึ้น โดยการมีขั้นตอนดังนี้ ปล่อยให้แปลงแห้งก่อนการเก็บเกี่ยวข้าวประมาณ 10 วัน หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วปล่อยให้แห้งต่ออีก อย่างน้อย 1 สัปดาห์ แล้วเอาน้ำเข้าแปลงพอชื้น เพื่อให้เมล็ดข้าววัชพืชงอก ไถกลบ ปล่อยแปลงในสภาพชื้นต่ออีก 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้เมล็ดข้าววัชพืชที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีก แล้วไถทิ้ง การล่อให้งอกแล้วไถกลบทำลายในแต่ละครั้งสามารถลดปริมาณข้าววัชพืชลงได้มากกว่า 50 %

7.2 เปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว

7.2.1 วิธีปักดำ
การปักดำด้วยมือ ใช้เครื่องจักรตกกล้าปักดำ หลังปลูกให้ขังน้ำทันทีระดับน้ำลึก 3-5 ซม. จะป้องกันการงอกข้าววัชพืชได้ แต่ชาวนาต้องใช้เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ และตกกล้าในแปลงนาที่ไม่มีข้าววัชพืชอยู่ก่อน อย่างไรก็ตามแม้จะใช้วิธีปักดำและการขังน้ำอย่างมีประสิทธิภาพก็อาจยังมีข้าววัชพืชงอกและเจริญเติบโตขึ้นมาได้ ทั้งนี้ข้าววัชพืชที่เจริญเติบโตขึ้นมาได้นี้จะอยู่นอกแถวหรือนอกกอของการปักดำ ชาวนาจึงพบเห็นข้าววัชพืชได้สะดวกตั้งแต่ในระยะแรก และสามารถถอนกำจัดเสียแต่ต้น

7.2.2 การปลูกข้าวด้วยวิธีโยนกล้า
ปลูกข้าวด้วยวิธีโยนกล้า เป็นการเพาะข้าวจำนวน 3-4 เมล็ดต่อหลุมลงในถาดพลาสติก มีหลุมขนาดเล็ก แต่ละหลุมบรรจุดินประมาณ 2.5 กรัม โดยใช้เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์เพียง 3-4 กิโลกรัม เพาะลงในถาดจำนวน 50-60 ถาด นำไปโยนได้ 1 ไร่ อายุต้นกล้าที่เหมาะสม 12-16 วัน หลังโยนกล้า 1-2 วัน ให้ขังน้ำและเพิ่มระดับน้ำ 5-10 ซม. จะป้องกันการงอกของข้าววัชพืชได้ดี แต่เกษตรกรจะต้องเตรียมแปลงให้สม่ำเสมอ และข้อสำคัญอย่าให้นาขาดน้ำ

7.3 การตรวจตัดข้าววัชพืช
การตรวจตัดข้าววัชพืชเป็นการลดปัญหาไม่ให้ข้าววัชพืชผลิตเมล็ดสะสมในแปลงนาเพิ่มขึ้น ในระยะแตกกอเริ่มเห็นความแตกต่างค่อนข้างชัดเจน โดยจะสังเกตเห็นข้าววัชพืชส่วนใหญ่มีความสูงมากกว่า ลำต้นและใบมีสอ่อนกว่าข้าวปลูก ระยะนี้ต้องใช้วิธีถอนต้นข้าววัชพืชทิ้ง พอถึงระยะออกดอกจะเห็นความแตกต่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยข้าววัชพืชส่วนใหญ่จะออกดอกก่อนข้าวปลูก ระยะนี้ต้องใช้วิธีตัดชิดโคนต้นข้าววัชพืช แล้วนำไปทิ้งนอกแปลง เนื่องจากข้าววัชพืชงอกไม่พร้อมกันจึงแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างข้าวปลูกกับข้าววัชพืชไม่พร้อมกัน ดังนั้นจึงควรมี

7.4 การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง
การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งสามารถลดปริมาณเมล็ดข้าววัชพืชที่หลุดร่วงอยู่บนผิวดินได้ โดยเป็ด 200 ตัว/ไร่ ปล่อยไว้เป็นเวลา 2 วัน สามารถลดความหนาแน่นข้าววัชพืชได้ถึง 50 %

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
สินค้าจากเรา

ชุดย่อยสลายฟางข้าว ชุดย่อยสลายตอฟาง ย่อยสลายใน 7วัน ไม่ต้องเผา

ลดข้าวดีดมากกว่า 70% รวดเร็วในการย่อยสลายตอซังฟางข้าว ภายใน 5-7 วัน โดยไม่ต้องเผา ปรับสภาพดินในนาข้าว สามารถไถพรวนได้ง่าย เพิ่มจุลธาตุอาหารให้แก่นาข้าวหลังการเก็บเกี่ยว สามารถลดปัญหาข้าวดีด และข้าววัชพืชอื่น ๆ ในนาข้าวได้

#ย่อยสลายฟางข้าว #ย่อยสลายตอฟาง #ย่อยสลายตอซัง

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Lazada : http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Shopee : http://www.farmkaset..link..
วิธีการไถกลบตอซังข้าว
วิธีการไถกลบตอซังข้าว
พื้นที่เขตชลประทาน ในเขตพื้นที่ชลประทานซึ่งสามารถปลูกข้าวได้ต่อเนื่อง 2-3 ครั้งต่อปี หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วไม่ต้องเผาตอซังและฟางข้าว ให้ทำการไถกลบตอซังและฟางข้าวแล้วปล่อยน้ำเข้านา โดยให้ระดับน้ำพอท่วมวัสดุ หลังจากนั้นใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร คิดเป็นอัตราส่วน 1 : 20 ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป หรือสามารถปลูกพืชไร่เศรษฐกิจชนิดอื่นได้ เช่น พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด ข้างฟ่าง ฯลฯ

พื้นที่เขตเกษตรน้ำฝน ในกรณีที่เกษตรกรมีการปลูกข้าวเป็นพืชหลักเพียงอย่างเดียวตลอดฤดูเพาะปลูกโดยอาศัยน้ำฝน หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวให้ทิ้งฟางข้าวและตอซังไว้ในพื้นที่ของเกษตรกร เพื่อเป็นการคลุมผิวหน้าดิน จากนั้นเมื่อเข้าสู่ต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายน หรือต้นเดือนพฤษภาคม ให้ทำการเตรียมดินพร้อมกับการไถกลบตอซังและฟางข้าว แล้วปฏิบัติเช่นเดียวกับในเขตชลประทาน โดยทำการปล่อยน้ำเข้านาให้ระดับน้ำท่วมวัสดุที่ไถกลบ หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้อัตรา 5 ลิตร โดยให้เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ก่อนราดลงในแปลงนาข้าว หมักทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้ตอซังข้าวเกิดการย่อยสลาย แล้วจึงทำเทือกเตรียมแปลงพร้อมที่จะปลูกข้าวต่อไป

ผลเสียจากการเผาตอซัง

เกษตรกรที่เตรียมพื้นที่สำหรับปลูกข้าวโดยทำการเผาตอซังข้าวเพื่อให้เกิดความสะดวกในการไถเตรียมดิน หรือเพื่อต้องการกำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืชนั้นจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง
สมบัติของดินทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ เนื่องจากความร้อนจากการเผาตอซัง กล่าวคือ

1. ทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป อนุภาคของดินจับตัวกันแน่นและแข็ง ทำให้รากพืชแคระแกร็น ไม่สมบูรณ์และอ่อนแอ การหาอาหารลดลงรวมทั้งเชื้อโรคพืชสามารถเข้าทำลายได้ง่าย

2. สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน คาร์บอนและอินทรียวัตถุในดินเมื่อถูกเผาจะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูญเสียไปในบรรยากาศ ส่วนธาตุอาหารจะแปรสภาพให้อยู่ในรูปที่สามารถสูญเสียไปจากดินได้ง่าย

3. ทำลายจุลินทรีย์และแมลงที่เป็นประโยชน์ในดิน ทำให้ปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินลดลง เช่น กิจกรรมการเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนจากบรรยากาศให้อยู่ในรูปของสารประกอบไนโตรเจนที่พืชใช้ประโยชน์ได้ การแปรสภาพอนินทรีย์ฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ และการย่อยสลายอินทรียสารเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน นอกจากนั้นตัวอ่อนของแมลงศัตรูพืช เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียนที่อาศัยอยู่ในดินหรือตอซังพืชรวมทั้งจุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมโรคพืชถูกเผาทำลายไป ซึ่งหากระบบนิเวศน์ของดินไม่สมดุลจะทำให้การแพร่ระบาดของโรคเกิดได้ง่ายขึ้น

4. สูญเสียน้ำในดิน การเผาตอซังพืชทำให้ผิวดินมีอุณหภูมิสูงถึง 90 องศาเซลเซียส น้ำในดินจะระเหยสู่บรรยากาศอย่างรวดเร็ว ให้ความชื้นของดินลดลง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Lazada : http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Shopee : http://www.farmkaset..link..
เฝ้าระวัง โรคยางพาราใบร่วง หรือ ไฟทอฟธอรายางพารา ในช่วงฤดูฝน
เฝ้าระวัง โรคยางพาราใบร่วง หรือ ไฟทอฟธอรายางพารา ในช่วงฤดูฝน
การยางแห่งประเทศไทย แนะเกษตรกรชาวสวนยาง เฝ้าระวังโรคใบร่วงหรือไฟทอฟธอราในช่วงหน้าฝน ย้ำเกษตรกรต้องดูแลเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ป้องกันการระบาดจากต้นสู่ต้น

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝน ถือเป็นช่วงที่เชื้อรา

ไฟทอฟธอรา (Phytophthora) หรืออีกชื่อคือโรคใบร่วง มักจะระบาดหนักในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะกับสวนยางพารา ซึ่งเชื้อราไฟทอฟธอราจะเข้าทำลายส่วนต่าง ๆ ของต้นยางได้แก่ ฝัก ใบ กิ่งก้าน และหน้ากรีดยาง ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำ ค้างอยู่บนต้น ไม่แตก และร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งพักตัวของเชื้อ และที่สำคัญ ผลผลิตยางจะเริ่มลดลงถ้าเชื้อราไฟทอฟธอราระบาด ทำให้ใบร่วงมากกว่า 20% และหากปล่อยให้โรคระบาดโดยไม่มีการควบคุมใบจะร่วงถึง 75% ส่งผลให้ผลผลิตลดลง 30-50%

ด้านลักษณะอาการเกษตรกรสามารถสังเกตุอาการได้เด่นชัดที่ก้านใบ จะปรากฎรอยแผลช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำตามความยาวของก้านใบ แผลบริเวณที่เป็นทางเข้าของเชื้อ มักมีหยดน้ำยางเล็ก ๆ เกาะติดอยู่ การเข้าทำลายที่ก้านใบนี้เองเป็นผลทำให้เกิดใบร่วงทั้งที่ใบยังมีสีเขียวสดอยู่ เนื่องจากเชื้อสร้างเนื้อเยื่อ abscission layer เมื่อนำมาสะบัดเบา ๆ ใบย่อยจะหลุดออกจากก้านใบโดยง่าย บนแผ่นใบย่อยเชื้ออาจเข้าทำลายที่ปลายใบ หรือขอบใบ เกิดแผลสีน้ำตาล มีลักษณะช้ำน้ำ ขยายติดต่อกันเป็นแผลใหญ่ ทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแดงก่อนที่จะร่วง ทั้งนี้เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น สภาพอากาศเหมาะสมต่อการเติบโตของเชื้อราไฟทอฟธอรา พันธุ์ยางที่ปลูกอ่อนแอ ส่งผลให้ผลผลิตลดลงอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อนี้สามารถเข้าทำลายฝักยางได้ทุกระยะ ทำให้ฝักเน่า ถ้าความชื้นในอากาศสูงจะพบเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุมฝัก ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ไม่แตกและร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งเชื้อโรคในปีถัดมา

สำหรับความรุนแรงของการเกิดโรคขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน และจำนวนวันฝนตก รวมถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ อยู่ระหว่าง 25-28 องศา เชื้อนี้ต้องการน้ำเพื่อการขยายพันธุ์ จึงระบาดได้ดีในสภาพอากาศเย็น ฝนตกชุก มีความชื้นสูงต่อเนื่องกันอย่างน้อย 4 วัน เช่นหน้าฝน หรือมีน้ำท่วมขัง และมีแสงแดดน้อยกว่า 3 ชั่วโมง ต่อวัน

ผู้ว่าการ กยท. กล่าวต่อถึงวิธีการป้องกันเชื้อไฟทอฟธอราว่า เกษตรกรควรปลูกยางพันธุ์ต้านทานโรค เช่น RRIT 251 และ RRIT 408 ในเขตและแหล่งปลูกยางที่ระบาดของโรค ไม่ควรปลูกยางพันธุ์ที่อ่อนแอ เช่น RRIM600 หมั่นกำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยาง ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวนยาง เมื่อพบโรคให้ใช้สารเคมี metalaxyl หรือ fosetyl-AI ทาที่หน้ากรีดเพื่อป้องกันโรคเส้นดำ เนื่องจากเป็นเชื้อเดียวกัน ต้นยางใหญ่ที่เกิดใบร่วงอย่างรุนแรงจนใบร่วงหมด ควรหยุดกรีดยาง และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางให้สมบูรณ์

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ไฟทอฟธอรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคราแป้งในถั่วลันเตา
โรคราแป้งในถั่วลันเตา
กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลันเตาให้เฝ้าสังเกตการระบาดของโรคราแป้ง สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต

ระยะนี้จะมีอากาศเย็น และมีน้ำค้างในตอนเช้า กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลันเตาให้เฝ้าสังเกตการระบาดของโรคราแป้ง สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของถั่วลันเตา มักพบอาการของโรคได้กับทุกส่วนของพืช อาการเริ่มแรกจะพบที่ใบล่างติดโคนต้นก่อน โดยมีลักษณะคล้ายผงแป้งสีขาวเกิดกระจายเป็นหย่อมๆ ทั้งบนใบและใต้ใบ หากอาการรุนแรง จะเห็นต้นถั่วลันเตาขาวโพลนทั้งต้น ทำให้ใบและส่วนต่างๆ บิดเบี้ยวเสียรูปทรง ใบจะเหลือง ไหม้ และร่วงก่อนกำหนด กรณีเกิดโรคในระยะออกดอก จะทำให้ต้นแคระแกร็น ติดฝักน้อย ฝักบิดเบี้ยว หรือฝักและเมล็ดลีบเล็กลง

เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูก กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก และบริเวณใกล้เคียงนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้น ลดแหล่งสะสมเชื้อราสาเหตุโรค ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค หากเริ่มพบต้นที่เป็นโรค ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัด

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคราแป้งกุหลาบ
โรคราแป้งกุหลาบ
กรมวิชาการเกษตร เพื่อเกษตรกร ระยะนี้อากาศเย็น และมีหมอกในตอนเช้าอาจส่งผลกระทบต่อการปลูกกุหลาบ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบเฝ้าระวังการเกิดโรคราแป้ง สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของต้นกุหลาบ

โดยจะพบอาการของโรคได้กับทุกส่วนของพืช บนใบอ่อน หรือดอกตูม เริ่มแรกจะพบแสดงอาการบนผิวใบเกิดรอยแผลจุดสีชมพูเข้ม ต่อมาจะพบเชื้อรามีลักษณะคล้ายผงแป้งสีขาวเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ ทั้งด้านบนใบและใต้ใบ หากรุนแรง จะพบผงสีขาวบนก้านใบ กิ่ง ดอก ก้านดอก ใบอ่อน กลีบเลี้ยง กลีบดอก และลำต้น หรือพบผงสีขาวทั่วทั้งต้น ทำให้ใบและดอกบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ใบจะเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แห้งกรอบ และร่วงในที่สุด

เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูก กำจัดวัชพืช ตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้น ลดแหล่งสะสมเชื้อราสาเหตุโรค ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค หากเริ่มพบต้นที่เป็นโรค ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคราแป้งในพืชตระกูลแตง (เชื้อรา Oidium sp.)
โรคราแป้งในพืชตระกูลแตง (เชื้อรา Oidium sp.)
ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ : พืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ

ระยะการเจริญเติบโตของพืช : ทุกระยะการเจริญเติบโต

ปัญหาที่ควรระวัง : โรคราแป้ง (เชื้อรา Oidium sp.)

ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ

พบเชื้อราคล้ายผงแป้งสีขาวเกิดเป็นหย่อมๆ บนใบมักพบที่ใบส่วนล่างของต้นก่อน ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมอาการโรคจะกระจายทั่วทั้งใบ และลุกลามขึ้นไปยังใบส่วนบนของต้น เห็นเชื้อราคล้ายผงแป้งสีขาวปกคลุมใบเกือบทั้งต้น ต่อมาใบค่อยๆซีดเหลืองและแห้ง หากโรคระบาดรุนแรงจะลุกลามไปยังทุกส่วนของพืช ทำให้ต้นแห้งตายในที่สุด ถ้าพืชเป็นโรคในระยะติดผลอ่อน จะทำให้ผลแกร็น บิดเบี้ยว ผวขรุขระ เป็นตุ่ม หรือแผลที่เปลือก

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. ดูแลและบำรุงรักษาต้นพืชให้มีความแข็งแรง สมบูรณ์

2. หมั่นกำจัดวัชพืช เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศในแปลงได้ดี

3. ตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคเริ่มระบาด พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรค

4. แปลงที่เป็นโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรเก็บซากพืชไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
ราแป้งเงาะ โรคราแป้งที่พบในเงาะผลอ่อน
ราแป้งเงาะ โรคราแป้งที่พบในเงาะผลอ่อน
อากาศร้อน และมีฝนตกในบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนเงาะเฝ้าระวังการเกิดโรคราแป้ง มักพบได้ในระยะที่ต้นเงาะสร้างช่อดอกและเริ่มติดผลอ่อน เริ่มแรกจะพบผงสีขาวหรือสีเทาอ่อนคล้ายแป้งเกาะบนช่อดอกและตามร่องขนของผลเงาะ ทำให้ต้นเงาะติดผลน้อยหรือไม่ติดผล กรณีที่ต้นเงาะติดผลจะมีผลขนาดเล็กไม่สมบูรณ์ ผลหลุดร่วงง่ายหรือทำให้ผลเน่าแห้งติดคาที่ก้านช่อ หากเป็นโรคราแป้งในระยะผลโต จะทำให้ขนที่ผลแห้ง แข็ง ผิวผลมีสีคล้ำไม่สม่ำเสมอ ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ขนกุด เรียกว่า เงาะขนเกรียน สำหรับในระยะที่ผลเงาะกำลังสุก ส่วนที่มีเชื้อราปกคลุมจะมีสีซีดกว่าปกติ อาจพบอาการของโรคได้ที่ส่วนยอดและใบ หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบอ่อนร่วง

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคราแป้ง ให้เกษตรกรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก และตัดแต่งทรงพุ่มต้นเงาะให้โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อเป็นการลดความชื้นในทรงพุ่ม และลดแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค จากนั้น เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรค ให้เกษตรกรตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรเมื่อใช้ในแปลงที่มีการระบาดแล้ว เกษตรกรควรนำเครื่องมือมาทำความสะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุกครั้ง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
153 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 15 หน้า, หน้าที่ 16 มี 3 รายการ
|-Page 9 of 16-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
การต่อสู้กับเชื้อราที่ทำลายต้นแก้วมังกร: ทำความรู้จักและป้องกันโรคในสวน
Update: 2566/11/10 09:36:45 - Views: 309
คู่มืองป้องกันและกำจัดโรคในลำไย โรคราต่างๆ ใบไหม้ ราแป้ง ราสนิม กิ่งแห้ง และราอื่นๆ
Update: 2566/04/30 08:55:27 - Views: 16523
ยากำจัดโรคโคนเน่าและรากเน่า ใน กระเจี๊ยบเขียว โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/08 13:54:20 - Views: 3050
การรู้จักและจัดการกับหนอนศัตรูพืชที่เข้าทำลายต้นพุทรา
Update: 2566/11/11 10:39:32 - Views: 369
โรคน้อยหน่า น้อยหน่าดอกร่วง ใบไหม้ โรคมัมมี่ โรคแอนแทรคโนสน้อยหน่า โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/10 04:09:29 - Views: 3484
โรคสับปะรด ที่เกิดจากเชื้อราต่างๆ ทำให้เกิดอาการสับปะรดยอดเน่า รากเน่า ใบไหม้ ยกตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้
Update: 2566/11/08 06:16:07 - Views: 9294
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคใบจุด ใบไหม้ ใน มังคุด ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/09 12:31:59 - Views: 3032
โรคมะพร้าว ราสนิมมะพร้าว ราน้ำค้าง มะพร้าวใบไหม้ มะพร้าวยอดแห้ง
Update: 2566/11/07 10:11:40 - Views: 8714
การใช้คาร์รอน (Diuron 80% WG) ในกำจัดวัชพืชในสวนผักกะหล่ำปลี
Update: 2567/02/13 09:19:12 - Views: 148
ปุ๋ยสำหรับอ้อย เพื่อบำรุงผลผลิต การแก้โรคอ้อย ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ป้องกันกำจัดเพลี้ย ในไร่อ้อย
Update: 2563/06/18 17:25:32 - Views: 3490
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค: ฟื้นฟูระบบรากและปรับปรุงดินสำหรับผักบุ้ง
Update: 2567/02/13 09:47:58 - Views: 135
ทำความรู้จักกับศัตรูพืช: การจัดการหนอนในดอกกล้วยไม้
Update: 2566/11/22 12:30:24 - Views: 292
โรคใบติดทุเรียน โรคราสีชมพูในทุเรียน โรคทุเรียนกิ่งแห้ง ต้องหมั่นสังเกตุตรวจดูแลสวน หากพบ ให้เร่งป้องกันกำจัด
Update: 2566/11/04 14:14:10 - Views: 8687
คู่มือป้องกันกำจัดโรคราต่างๆในแมคคาเดเมีย แมคคาเดเมียใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ราต่างๆ
Update: 2566/05/01 15:18:59 - Views: 16988
ทำไม ชื่อสายพันธุ์ โควิด-19 จึงเป็น แอลฟ่า เบต้า เดลต้า แกมม่า
Update: 2564/08/15 07:21:45 - Views: 3663
การป้องกันกำจัดโรค แอนแทรคโนสมังคุด ด้วยสารอินทรีย์
Update: 2566/01/14 07:11:52 - Views: 2978
ถั่วเหลือง โตไว ใบเขียว ผลใหญ่ ผลผลิตดี ฉีดพ่นปุ๋ย FK-1 ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4เท่าเพิ่มผลผลิตสูงสุด 20เปอร์เซ็นต์
Update: 2566/04/27 11:09:47 - Views: 3050
หยุดวงจรโรคใบด่างมันสำปะหลัง ปลูก ระยอง 72/KU 50
Update: 2564/01/20 14:03:06 - Views: 2990
การทำไร่อ้อย ใน 4 ขั้นตอนหลักๆ
Update: 2563/09/27 20:19:32 - Views: 5562
แช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังก่อนปลูกด้วย กู๊ดโซค น้ำยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เร่งราก ป้องกันโรค สะสมอาหารในท่อนพันธุ์
Update: 2564/08/27 23:48:10 - Views: 4709
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022