[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - กำจัดวัชพืช
153 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 15 หน้า, หน้าที่ 16 มี 3 รายการ

โรคราแป้งองุ่น และ โรคราน้ำค้างองุ่น
โรคราแป้งองุ่น และ โรคราน้ำค้างองุ่น
การปลูกองุ่นในประเทศไทยสามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้ แต่ไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น จึงมักพบโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับองุ่น เช่น โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง โรคแอนแทรคโนส เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง และหนอนกระทู้ เป็นต้น ทำให้เกษตรกรใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูองุ่นในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated Pest Management; IPM) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อคนและสิ่งแวดล้อม เป็นการเลือกใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชตั้งแต่ 2 วิธีการขึ้นไปมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสม เป็นการลดการใช้สารเคมีเกษตรในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช หรือใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้นเพื่อลดระดับปริมาณศัตรูพืชให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ และเกิดความสมดุลของระบบนิเวศ โรคและแมลงศัตรูองุ่นที่สำคัญ ได้แก่

โรคราน้ำค้างองุ่น (Downy mildew)

เชื้อสาเหตุ : Plasmopara viticola

ลักษณะอาการ : เป็นขุยสีขาวที่ใต้ใบองุ่น ด้านบนใบจะเห็นเป็นสีเหลืองเป็นจ้ำๆ ถ้าเป็นรุนแรงใบจะไหม้ ช่อดอกและผลอ่อนเหี่ยวแห้ง

การระบาด : ระบาดในช่วงฤดูฝน หรือในช่วงที่มีความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด :

1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
3. งดให้น้ำในช่วงเย็น
4. การใช้สารปลอดภัย


โรคราแป้งองุ่น (Powdery mildew)

เชื้อสาเหตุ : Oidium tuckeri

ลักษณะอาการ : เป็นขุยแป้งขี้เถาสีขาว เกิดบนใบ กิ่ง และผล

การระบาด : ระบาดในช่วงปลายฤดูฝน-ฤดูหนาว

การป้องกันกำจัด :

1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
3. การใช้สารปลอดภัย

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคพืชวงศ์แตง แตงโม แตงกวา เมลอน สคว็อช ซุคคินี่
โรคพืชวงศ์แตง แตงโม แตงกวา เมลอน สคว็อช ซุคคินี่
สำรวจโรคในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์แตงโม (19แปลง) แตงกวา (16 แปลง) เมลอน (93 แปลง) สคว็อช (33แปลง) ซุคคินี่ (28แปลง) ในเขต อ.เมืองขอนแก่น _ อ.หนองเรือ_ อ.น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น และ อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม_ กิ่งอำเภอเอราวัณ จ.เลย_ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู_ อ.ดอนตาล และ อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร และน้ำเต้า(17 แปลง) ในอ.ยางตลาด อ.ห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์

ในช่วงฤดูการปลูกปลายธันวาคม 2548- เดือนเมษายน 2549_ กันยายน - พฤศจิกายน 2549 และช่วงฤดูปลูกปลายธันวาคม 2549 ถึง เมษายน 2550 ในแต่ละแปลงได้สำรวจโรค 2 ครั้งคือ ในช่วงที่เริ่มผสมเกสรหรือติดผลแรก และในระยะที่ผลแก่เต็มที่ก่อนเก็บเกี่ยว รวมทั้งการตรวจวินิจฉัยตัวอย่างโรคแตงโมที่ปลูกอยู่ในแหล่ง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น อ. พรรณานิคม จ. สกลนคร และ อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ ซึ่งบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ส่งมาให้ตรวจ

ได้พบโรคที่สำคัญต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ซึ่งอาการโรคมีความแตกต่างไปตามชนิด โรค ชนิดพืช สายพันธุ์พืช ระยะการเจริญของพืชและวิธีการดูแลรักษาแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกร และระดับความรุนแรงของโรคแต่ละชนิดในแปลงแตกต่างกันไปตามสภาพการเอา ใจใส่ดูแลแปลง และสภาพพื้นที่ปลูก และสายพันธุ์พืช

แบ่งออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ คือ

กลุ่มที่ 1) โรคที่เกิดจากเชื้อรา จัดเรียงตามลำดับความถี่ที่พบจากมากไปน้อย ได้แก่ โรคเถาแตกยางไหล (gummy stem blight) จากเชื้อรา Didymella bryoniae หรือ Phoma cucurbitarum โรคเถาแตกผลเน่าดำจากเชื้อราไฟซาโลสปอรา (Physalospora rhodina) โรคราน้ำค้าง(downy mildew) จากเชื้อรา Pseudoperospora cubensis โรคราแป้ง (powdery mildew) เกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โรคเหี่ยวฟิวซาเรี่ยม (fusarium wilt) เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp. โรคใบจุดเซอร์คอสปอรา (Cercospora leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Cercospora sp. โรคใบจุดคอไรนีสปอรา (Corynespora leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Corynespora sp. โรคแอนแทรกโนส (anthracnose) เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum orbiculare โรคเหี่ยวสเคลอโรเตียม (sclerotium wilt) เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii โรคผลเน่าจากเชื้อราพิเทียม (Pythium spp.)

กลุ่มที่ 2) โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จัดเรียงตามลำดับความถี่ที่พบจากมากไปน้อย ได้แก่ โรคใบจุดแบคทีเรียจากเชื้อ แซนโทโมแนส (Xanthomonas leaf spot) จากเชื้อ Xanthomonas spp._ โรคผลเน่าแบคทีเรีย(bacterial fruit blotch เกิดจากเชื้อ อะซิโดโวแรกซ์ (Acidovorax avenae subsp. citrulli) โรคผลเน่าจากเชื้อเออร์วิเนีย (Erwinia spp.) โรคเหี่ยว ต้นหรือเถาเน่าเละ (wilt and stem or vine soft rot) จากเชื้อเออร์วิเนีย (Erwinia spp.) และกลุ่มอาการโรคที่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยระบุชนิดเชื้อ เพิ่มเติมคือ โรคเหี่ยวเฉียบพลัน (sudden wilt) ในเมลอน โรคยอดไหม้ถอยกลับ (die back) โรคเหี่ยวเขียวในแตงกวา (bacterial wilt) และโรคเถาเหี่ยวเหลืองในแตงกวา (yellow vine wilt) โรคเถาแห้ง (vine necrosis)

กลุ่มที่ 3) โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เรียงตามความถี่ที่พบจากมากไปน้อย คือ โรคใบด่างซีเอ็มวี (Cucumber mosaic virus) โรคใบด่างจากเชื้อในจีนัสโพทีไวรัสซึ่งมีหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสใบด่างจุดวงแหวนมะละกอ (Papaya ringspot virus-W)_ ไวรัสใบด่างซุคคินี่ (Zucchini yellow mosaic virus)_ และไวรัสในวงศ์โพทีวิริดีที่ยังไม่ได้จำแนกระบุชนิด โรคใบด่างเนื้อเยื่อตายที่เกิดจากไวรัสในจีนัสทอสโพไวรัส (Tospovirus) โรคใบด่างเขียวที่เกิดจากเชื้อไวรัสใบด่างเขียว( Cucumber green mottle mosaic virus) และกลุ่มไวรัสที่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยระบุชนิดเพิ่มเติม คือ โรคไวรัสใบด่างเนื้อเยื่อตาย และโรคไวรัสเถาเหลือง

กลุ่มที่ 4) โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย ในบางพื้นที่พบปัญหาสำคัญที่เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.)

และ กลุ่มที่ 5) โรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (abiotic disease) ที่พบมากคือ การเป็นพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสารกำจัดวัชพืชที่ฉีดพ่นแบบไม่ถูกต้อง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
การปลูกกระชายขาว
การปลูกกระชายขาว
การขยายพันธุ์กระชายขาว: ปลูกด้วยเหง้าที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไป และต้องมีรากกระชายอยู่ 2 – 3 ราก/เหง้า

การเพาะปลูกกระชายขาว – ปลูกในดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์สูง ที่มีร่มเงารำไรโดยมากจะเป็นการปลูกในที่ดอน หรือปลูกกลางแจ้งในเขตพื้นที่ลาดเอียงที่มีความชื้นสูง โดยไถพรวนและขุดหลุมปลูกเป็นแถว ระยะระหว่างแถวและต้น 30 ซม. ส่วนการปลูกเป็นการค้าจะปลูกกลางแจ้งในเขตชลประทานหรือสามารถให้น้ำได้ ไถพรวนดินและยกร่องปลูกกว้าง 80 – 120 ซม. ใช้ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 25 – 30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปลูกแล้วใช้ฟางคลุมรักษาความชื้นของดิน รดน้ำทุก 2 – 3 วัน/ครั้ง กำจัดวัชพืชให้แปลงสะอาด และใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ อัตรา 30 กก./ไร่ เมื่ออายุประมาณ 3 เดือนหลังปลูกและเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 8 เดือนขึ้นไป ถ้าต้องการขยายช่วงเวลาเก็บเกี่ยวให้นานขึ้นหรือไว้ทำพันธุ์จะต้องคลุมฟางและรดน้ำเป็นครั้งคราวเพื่อรักษาความชื้นของดินให้เหง้าและรากกระชายไม่ฝ่อในช่วงแล้ง

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
โรคราสีชมพู ที่เกิดกับ ลองกองผลอ่อน
โรคราสีชมพู ที่เกิดกับ ลองกองผลอ่อน
สภาพอากาศร้อน สลับกับมีฝนตกในช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนลองกองเฝ้าระวัง การระบาดของโรคราสีชมพู มักพบโรคในระยะที่ต้นลองกองมีผลอ่อน เริ่มแรกพบเส้นใยสีขาวของเชื้อรา เจริญคลุมกิ่งหรือลำต้น ต่อมาเส้นใยของเชื้อราหนาขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีชมพูยึดแน่นกับกิ่ง เมื่อเฉือนดูบริเวณกิ่งหรือลำต้นที่พบเชื้อรา จะพบเนื้อไม้เป็นแผลสีน้ำตาล และกิ่งที่เป็นโรคราสีชมพูบริเวณยอดจะเหี่ยว ใบเหลือง และร่วงเป็นหย่อมๆ ต่อมากิ่งจะแห้งตายในที่สุด

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคราสีชมพู ให้เกษตรกรตัดแต่งทรงพุ่มต้นลองกองให้โปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อลดการสะสมความชื้นใต้ทรงพุ่มไม่ให้มีมากเกินไป ส่วนในช่วงฤดูฝนเกษตรกรควรหมั่นตรวจดูต้นลองกองบริเวณกิ่งภายในสวนอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการใบเหลืองหรือพบราสีขาว หรือสีชมพูขึ้นบนกิ่ง ให้เกษตรกรตัดกิ่งที่เป็นโรค เก็บเศษซากพืชส่วนที่เป็นโรค และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกนำไปเผาทำลายนอกสวน เพื่อลดการสะสมเชื้อราสาเหตุโรค

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการเจริญเติบโต ส่งเสริมผลผลิต
โรคพืช จะรุนแรงขึ้น เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการระบาด และ พืชอ่อนแอ ดูแลพืชให้แข็งแรง ก็ต้านทานต่อโรคได้ เหมือนคนที่แข็งแรง
โรคพืช จะรุนแรงขึ้น เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการระบาด และ พืชอ่อนแอ ดูแลพืชให้แข็งแรง ก็ต้านทานต่อโรคได้ เหมือนคนที่แข็งแรง
โรคพืช หมายถึง ภาวะที่พืชมีลักษณะผิดปกติ เนื่องจากเชื้อโรคที่เป็นสิ่งมีชีวิต และ สภาพแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต ไปทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ในพืชผิดปกติ โครงสร้างและรูปร่างของส่วนต่างๆ ของพืชเปลี่ยนแปลง โดยการเกิดโรคพืชมีปัจจัยสำคัญ คือ พืชอาศัยอ่อนแอ สภาพแวดล้อมเหมาะสม เชื้อสาเหตุโรคที่รุนแรง และระยะเวลาที่พอเหมาะ

การจัดกลุ่มโรคพืชตามเชื้อสาเหตุโรค แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ

1. โรคพืชที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
ได้แก่ โรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ราสนิม ใบจุด ราน้ าค้าง ราแป้ง โรคที่เกิดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคแคงเกอร์ในตระกูลส้ม โรคเหี่ยว โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น โรคใบด่าง อ้อย โรคเส้นใบเหลือง โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย เช่น โรครากปม เป็นต้น

2. โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต
เช่น เกิดจากการขาดธาตุอาหาร สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เกิดจากความเป็นพิษของของธาตุอาหาร ดินมีความเป็นกรดด่างสูง เกิดจากพิษของสารกำจัดวัชพืชและสารเคมีต่างๆ

โรคพืชป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ โรคใบจุด (leaf spot) ใบไหม้ (leaf blight) ราสนิม(rust) ราแป้ง (powdery mildew) ราดำ (black mildew) จุดนูนดำ (tar spot) อาการเหี่ยว (wilt) โรครากเน่า โรคลำต้นผุเน่า เป็นต้น โรคส่วนใหญ่ที่พบมักเป็นโรคที่เกิดทางใบ ส่งผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสงของพืชและจะทำให้ลำต้นอ่อนแอ

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

โรคพืช ที่มีสาเหตุจาก เชื้อราต่างๆ ป้องกัน กำจัดด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

โรคพืช ที่มีสาเหตุจาก การขาดธาตุอาหาร ใช้ FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม สารสังเคราะห์คลอโรคฟิลล์ เป็นการให้อาหารพืชได้อย่างครบถ้วน

เลื่อนอ่านรายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคใบจุดของกล้วยหอมทอง
โรคใบจุดของกล้วยหอมทอง
โรคใบจุดของกล้วยหอมทอง
ลักษณะอาการโรคใบจุด จะเป็นจุดสีน้ำตาล และขยายขนาดออกตามความยาวของเส้นใบ ซึ่งจะส่งผลผกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิต

1. เริ่มแรกเป็นจุดสีน้ำตาลเข้มถึงดำ (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร)

2. ขยายขนาดตามความยาวของเส้นใบ มีรูปร่างไข่หรือรี สร้างวงเเหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล และบริเวณกลางแผลมีอาการเนื้อเยื่อตายเป็นสีเทาเมื่ออายุเเผลมากขึ้น

3. เมื่อเเต่ละเเผลขยายขนาดเชื่อมต่อกันจะปรากฏลักษณะอาการไหม้เป็นสีน้ำตาลเข้มผืนใหญ่ ส่วนมากมักพบอาการไหม้จากขอบใบและมักเริ่มจากปลายใบ

การระบาดของโรคใบจุดกล้วยหอมทอง

- พบการระบาดในช่วงฤดูฝน (มีความชื้นสัมพัทธ์ในแปลงมากกว่า 80%)

- การตัดเเต่งใบกล้วยเเล้วสุมไว้ข้างๆต้น ทำให้เชื้อราเกิด การเเพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง

- สภาพอากาศมีความชื้นสูงทำให้สร้างส่วนขยายพันธุ์ (สอปร์) ได้จำนวนมาก

- สปอร์ของเชื้อราปลิวไปทำลายบริเวณใบล่างของต้นกล้วยข้างเคียง

- ใช้หน่อกล้วยจากแปลงที่เป็นโรคมาปลูกในเเปลงอื่นๆ ทำให้เชื้อราเเพร่กระจายเป็นปริมาณกว้าง

การป้องกัน กำจัด โรคใบจุดกล้วยหอมทอง

1. สำรวจแปลงกล้วยตัดใบที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายให้ไกลเเหล่งปลูก เพื่อขจัดเเหล่งสะสมของเชื้อราเนื่องจากเชื้อรามีชีวิตอยู่ได้ในซากใบกล้วยที่ตายเเล้ว

2. กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มของต้นกล้วย เพื่อลดความชื้นในเเปลงเนื่องจากเชื้อราสาเหตุของโรคจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่มีความชื้นสูง

3. ฉีดพ่นสารป้องกัน กำจัด และยับยั้งโรคโรคพืชจากเชื้อรา

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและกำจัดโรคพืช จากเชื้อรา ใช้ ฉีดพ่น เพื่อป้องกัน และยับยั้งการระบาดของ โรคใบจุดกล้วยหอมทอง
โรคแก้วมังกรต้นจุด และผลเน่า
โรคแก้วมังกรต้นจุด และผลเน่า
โรคแก้วมังกรต้นจุด และผลเน่า
ฤดูฝนอากาศมีความชื้นสูง เอื้อต่อการระบาดของโรคพืชจากเชื้อรา กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกแก้วมังกรเฝ้าระวังการระบาดของโรคลำต้นจุดสีน้ำตาลและผลเน่า

พบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของแก้วมังกร เริ่มแรกจะแสดงอาการที่กิ่งหรือผลมีจุดสีเหลือง จากนั้นพัฒนาเป็นตุ่มนูนเล็กสีน้ำตาลคล้ายสีสนิมเหล็ก บางครั้งพบแผลสีเหลืองฉ่ำน้ำ หากอาการรุนแรง

แผลจะเน่า ถ้าเป็นที่กิ่งจะทำให้เนื้อเยื่อตรงแผลหลุดเห็นเป็นรูหรือเว้าแหว่ง สำหรับผลที่มีอาการรุนแรง จะทำให้กลีบผลไหม้แห้งเป็นสีดำ และผลเน่าในที่สุด

การป้องกันโรค ให้เกษตรกรเลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แข็งแรงปลอดโรค และลดการให้ปุ๋ยไนโตรเจน เพราะจะทำให้แก้วมังกรซึ่งเป็นพืชอวบน้ำอ่อนแอต่อโรคได้ง่ายขึ้น และให้หมั่นสำรวจทำความสะอาดกำจัดวัชพืชโคนต้น เก็บกวาดเศษซากพืชส่วนที่เป็นโรคใต้ต้นออกไปทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้นที่จะทำให้เชื้อราระบาด

หากพบโรคให้ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคอย่างระมัดระวัง ให้เกิดแผลน้อยที่สุด เพราะแผลจะเป็นช่องทางให้เชื้อเข้าทำลายได้ง่าย ควรตัดตรงส่วนที่เป็นรอยต่อข้อระหว่างกิ่ง และนำส่วนที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลงปลูก และควรล้างทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ทางการเกษตรให้สะอาด แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้งหลังการใช้งานทุกครั้ง

พร้อมทั้งควรให้น้ำแก้วมังกรเฉพาะในช่วงเช้า ไม่ควรให้น้ำในช่วงบ่ายหรือเย็น เพื่อลดการสะสมความชื้นในทรงต้น

กรณีมีการระบาดมาก หลังจากตัดแต่งกิ่ง ให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกัน กำจัด โรคแก้วมังกรต้นจุด โรคแก้วมังกรผลเน่า
การใช้ตะไคร้หอมกำจัดหนอนใยผัก
การใช้ตะไคร้หอมกำจัดหนอนใยผัก
การใช้ตะไคร้หอมกำจัดหนอนใยผัก
เกษตรกรที่ปลูกผักไม่ว่าจะปลูกเพื่อจำหน่ายหรือปลูกเพื่อเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะผักตระกูลกระหล่ำและผักกาดขาว มักจะประสบกับปัญหาหนอนใยผักกัดกินยอดของพืชผักทั้งบนใบและใต้ใบ ทำให้ผลผลิตที่ได้นั่นเกิดความเสียหายนำไปขายไม่ได้ต้องคัดทิ้ง ทำให้ต้นทุนในการปลูกเพิ่มมากยิ่งขึ้น จากการสัมภาษณ์คุณโชคชัย บุญยัง หัวหน้ากลุ่มงานอารักขาศัตรูพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกี่ยวกับการกำจัดหนอนใยผักศัตรูตัวร้ายของพืชตระกูลกระหล่ำด้วยตะไคร้หอม

คุณโชคชัย บุญยัง หัวหน้ากลุ่มงานอารักขาศัตรูพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า หนอนใยผักจะเป็นศัตรูพืชที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นเกษตรกรบางรายจะหันไปใช้สารเคมีในการจัดการแมลงชนิดกันเป็นจำนวนมากเพราะกลัวว่าผลผลิตจะได้รับความเสียหายจากศัตรูพืชต่าง ๆ แต่กลับขาดความรู้ความเข้าใจในพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้จัดการแทนสารเคมีที่ปลอดภัยได้ ซึ่งมีอยู่ชนิดหนึ่งที่สามารถใช้เข้ควบคุมกำจัด และป้องกันได้ ก็คือ ตะไคร้หอม ซึ่งเกษตรกรสามารถนำตะไคร้หอม(มีลักษณะใบสีขาวอมม่วง) ต้นที่แก่จัด(จะเห็นสีม่วงชัดเจน) มาใช้ในการป้องกันกำจัดได้ เนื่องจาก ต้นที่แก่จัดของตะไคร้หอมนั้น จะมีสารออกฤทธิ์หรือสรรพคุณในการนำมาใช้ป้องกันกำจัดได้ดีกว่าตะไคร้หอมต้นที่ไม่แก่จัดหรือตะไคร้บ้านที่ปลูกกันโดยทั่วไป

โดยมีวิธีการนำมาใช้ป้องกัน-กำจัดหนอนใยผักอย่างได้ผล ดังนี้

1. นำต้นตะไคร้หอมที่แก่จัดทั้งต้นมาหั่นหรือสับ ให้ได้ น้ำหนักประมาณ 5 ขีด

2. นำไปผสมกับน้ำครึ่งปี๊บ(ประมาณ 10 ลิตร) หมัก ทิ้งไว้ 1 วัน (24 ชั่วโมง)

3. กรองเอาแต่น้ำ ไปผสมกับสบู่หรือแชมพู ฉีดพ่นแปลงพืชผักที่พบว่ามีหนอนใยผักเข้าทำลายทุก ๆ 3 วัน ในช่วงเย็น

** จะช่วยป้องกันและจำกัดหนอนใยผักได้เป็นอย่างดี พร้อมยังเป็นการลดใช้สารเคมีที่จะไปเพิ่มต้นทุนในการผลิตให้สูงขึ้น และ บั่นทอนสุขภาพของเกษตรกร/ผู้บริโภคได้อีกด้วย

หมายเหตุ : เกษตรกรควรหมั่นกำจัดวัชพืชซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย/หลบซ่อนของแมลงศัตรูพืช ที่อยู่ในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ และตระไคร้ที่นำมาใช้ต้องเป็นตระไคร้หอมเท่านั้น ซึ่งถ้าปลูกผักจำนวนมากสามารถเพิ่มอัตราส่วนได้โดยการเปรียบเทียบตามสูตรได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่และขนาดแปลงผักที่ปลูก

เรียบเรียงโดย :นงพงา ไกรวิลาศ. เจ้าหน้าศูนย์ประสานงานร่วมด้วยช่วยกัน จังหวัดชุมพร.

ที่มา http://www.farmkaset..link..

สำหรับสินค้าจากเรา ไอกี้-บีที เป็นสารชีวินทรีย์ปลอดภัย สำหรับ ป้องกัน และ กำจัดหนอน สามารถใช้ป้องกัน กำจัด ตระกูลหนอนได้หลายชนิด
โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต และ โรคพืช ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต และ โรคพืช ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
ปัจจุบันปัญหาด้านเศรษฐกิจนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกที เนื่องจากจำนวนประชากรของโลกเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่เนื้อที่ทำการเกษตรมีจำกัด หรืออาจน้อยลง เพราะส่วนหนึ่งต้องนำมาใช้เป็นที่อยู่อาศัย เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องใช้เนื้อที่ทางด้านการเกษตรที่มีอยู่ ในการเพาะปลูกพืชอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่ลดผลผลิตของพืช คือ ปัญหาศัตรูพืช ซึ่งหมายถึง โรคพืชและแมลง แมลงและสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคกับพืช เป็นสิ่งมีชีวิต ได้พยายามปรับตัว เพื่อต่อสู้วิธีการป้องกัน และกำจัดของมนุษย์ตลอดมา เพื่อความอยู่รอด การศึกษาด้านศัตรูพืชจึงต้องกระทำติดต่อตลอดไป เพื่อให้เข้าใจถึงวัฎจักรการเข้าทำลายพืชของแมลงและโรค และใช้วิธีที่เหมาะสมในการป้องกัน และกำจัด เพื่อแก้ปัญหาศัตรูพืชเหล่านี้ให้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งในที่นี้ จะกล่าวถึงเฉพาะด้านโรคพืช ถ้าจะมีใครสักคนถามว่า ความหมายของโรคพืชคืออะไร คงจะให้คำจำกัดความที่แน่นอนลงไปได้ยาก แต่ก็พอจะสรุปว่า เมื่อพืชแสดงอาการผิดปกติไปจากเดิม มีผลทำให้เกิดการสูญเสีย ในแง่การเจริญเติบโต และผลผลิตลดลง ไม่ว่าจะในระยะสั้นหรือยาวก็ตาม ก็ถือว่า พืชเป็นโรคทั้งสิ้น ดังจะได้กล่าวถึง ในรายละเอียดของอาการที่ผิดปกติต่อไป

อาการใบเหลืองซีดของอ้อย เกิดเป็นหย่อมๆ เป็นลักษณะหนึ่งของการขาดธาตุอาหาร อาการใบเหลืองซีดของอ้อย เกิดเป็นหย่อมๆ เป็นลักษณะหนึ่ง ของการขาดธาตุอาหาร
ความเสียหายที่เกิดจากโรคพืช ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ ๓ ประการ คือ ความอ่อนแอของพืชต่อการเกิดโรค ความรุนแรงของเชื้อโรค และสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่ การเกิดโรค เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสภาพ ความเป็นกรด และด่างของดิน ฯลฯ ในกรณีที่พืชอ่อนแอต่อโรคมาก เชื้อโรคมีความรุนแรงมากและสภาพแวดล้อมเหมาะสม ความเสียหาย จะเกิดขึ้นรุนแรง ในอดีต โรคไหม้ (blight) ของมันฝรั่งเคย ระบาดรุนแรง ทำให้ผลผลิตมันฝรั่งในประเทศไอร์แลนด์ลดต่ำลง จนไม่เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภคของประชาชน ทำให้ประชาชนอดอาหาร ล้มตายเป็นจำนวนมาก ในประเทศไทย โรคพืชชนิดต่างๆ เช่น โรคใบสีส้มของข้าว โรคราน้ำค้างของ ข้าวโพด โรครากเน่าของทุเรียน ทำให้ผลผลิตของพืชลดลง คิดเป็นมูลค่าปีละหลายพันล้านบาท

โรคพืช แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ

๑. โรคพืชที่เกิดจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต

สิ่งไม่มีชีวิตที่สามารถทำให้เกิดอาการผิดปกติแก่พืชได้แก่

๑.๑ ปุ๋ย

พืชที่ขาดธาตุอาหาร หรือได้รับธาตุอาหารมากเกินไป หรือภาษาทางการเกษตร ที่เรามักจะคุ้นเคยเรียกว่า พืชขาดปุ๋ย หรือได้รับปุ๋ยมากเกินไป ปกติธาตุอาหารเหล่านี้ มักมีอยู่ในดิน เพียงพอต่อความต้องการของพืช แต่บางกรณี สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่ไม่เหมาะสม ทำให้ธาตุอาหารต่างๆ เหล่านี้ เปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถดูดนำมาใช้ได้ หรือบางครั้ง เราปลูกพืชซ้ำที่เดิมเป็นเวลานาน โดยไม่มีการปรับดินให้ปุ๋ย จึงทำให้ดินบริเวณนั้นขาดแคลนธาตุอาหาร และพืชแสดงอาการเป็นโรคขาดธาตุอาหารให้เห็น อาการที่เกิดจากธาตุอาหารนี้ ส่วนใหญ่สังเกตได้ที่ใบอ่อน และใบแก่ โดยจะมีอาการเปลี่ยนสี ใบมีขนาดเล็กลง ม้วนขึ้น หรืองดลง ตลอดจนการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตผิดปกติ ตัวอย่างกรณีให้ปุ๋ยมากเกินไป อาจทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉาตาย หรือใบงามจนเกินไป และไม่ออกรวง เช่น ข้าวเป็นโรคเฝือใบ เนื่องจากได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป หรือกล้วยไม้ พวกหวายมาดามตัดดอก มีการบำรุง และเร่งการออกดอก ด้วยปุ๋ยสูตรชนิดต่างๆ โดยมิให้ต้นไม้มีการพักตัว ปรากฏว่า ดอกมาดามที่ตัดจากต้นเหล่านี้มีคุณภาพเลวลง โดยมีระยะการบานไม่ทน เหี่ยวเฉา และหลุดร่วงง่าย ทำให้เสียมาตรฐานคุณภาพไม้ตัดดอก และนำมาซึ่งปัญหาการตลาดระหว่างประเทศต่อไป
อาการก้นเน่าของมะเขือเทศ เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม
อาการก้นเน่าของมะเขือเทศ
เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม ส่วนอาการพืช เนื่องจากขาดธาตุอาหาร พบได้บ่อยครั้ง เช่น โรคอ้อยขาดธาตุเหล็ก ทำให้เกิดอาหารใบเหลืองซีด ส้มที่ขาดธาตุสังกะสี หรือที่เรียกว่า ใบแก้วของส้ม ใบที่ยอดอ่อนจะเรียวเล็ก และชี้ขึ้น หรือโรคก้นเน่าของมะเขือเทศ ซึ่งเกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม เป็นต้น
๑.๒ ดินที่มีสภาพความเป็นกรด เป็นด่างมากเกินไป

โดยปกติสภาพความเป็นกรดด่างของดิน มิใช่ตัวควบคุมการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง แต่มีผลทางอ้อมต่อพืช ในการนำธาตุอาหารในดินมาใช้ หรือในแง่การเจริญเติบโต และอยู่ร่วมกันของเชื้อจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งจะมีผลช่วยให้พืชมีการเจริญเติบโตดี หรือผิดปกติไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและพืชแต่ละชนิด เรามักได้ยินคำว่า ดินเปรี้ยว ทำให้พืชมีขนาดเล็ก การเจริญเติบโตช้า อันเนื่องมาจากความเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป ทำให้พืชไม่สามารถใช้ธาตุอาหารบางชนิดได้ หรือมีการเสริมให้เชื้อโรคในดินบางชนิดระบาดรุนแรงขึ้น เช่น โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ และพืชบางชนิด ซึ่งเกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium sp.) จะแสดงอาการโรครุนแรงมาก ในดินกรด หรือค่อนข้างไปทางกรด ในทางตรงกันข้าม เชื้อราเวอร์ติซิลเลียม (Verticillium sp.) ซึ่งทำให้เกิดอาการเหี่ยวของมะเขือเทศเช่นเดียวกัน จะทำให้เป็นโรครุนแรงในสภาพดินด่าง เป็นต้น
อาการเหี่ยวของพริก เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม
อาการเหี่ยวของพริก เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม
๑.๓ วิธีการทางเขตกรรม

วิธีการนี้มีหลายกรณี เนื่องจากการเพาะปลูก จำเป็นต้องมีการเตรียมดินฆ่าเชื้อในแปลงปลูกที่เคยเป็นโรคมาก่อน หรืออุปกรณ์ในการเพาะกล้า และย้ายปลูก บางครั้งฤทธิ์ตกค้างของสารเคมีบางชนิดยังคงอยู่ และทำให้เกิดอาการผิดปกติกับพืชได้ การกำจัดวัชพืช หรือการใช้ปุ๋ยซึ่งมีวิธีต่างๆ กันอาจกระทบกระเทือนระบบราก และทำให้เกิดอาการเหี่ยวเฉา การยึดพืชกับเครื่องปลูก หรือสิ่งยึดเกาะ หากไม่แข็งแรงพอจะทำให้ระบบรากสั่นคลอน เนื่องจากกระแสลม หรือแรงกระทำอื่นๆ ทำให้รากไม่ยึดเกาะดิน หรือเครื่องปลูก อาจทำให้พืชเหี่ยวเฉา หรือถึงแห้งตายได้ มักจะเกิดกับกล้วยไม้ และการปลูกพวกกิ่งตอนต่างๆ
อาการใบไหม้ของส้มเกิดจากการใส่ปุ๋ยแล้วขาดการรดน้ำ
อาการใบไหม้ของส้มเกิดจากการใส่ปุ๋ย แล้วขาดการรดน้ำ
๑.๔ แสงแดดหรืออากาศที่ร้อนจัดเกินไป

มีพืชบางชนิด ที่ไม่สามารถทนความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ เช่น พวกพืชอวบน้ำ ใบหนา เมื่อมีหยดน้ำเกาะติดบนใบพืชและถูกแสงอาทิตย์ส่องนานๆ จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นถูกทำลายเป็นเซลล์ตาย สีน้ำตาลหรือสีดำ และอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคอื่นๆ เช่น เชื้อรา เชื้อบัคเตรี ฯลฯ นอกจากนี้ในโรงเรือนที่อบ หรือการขนส่งจำนวนมากๆ ในสภาพอากาศร้อนจัด มักทำให้พืชได้รับการกระทบกระเทือนมีอาการตายนิ่ง สลัดใบทิ้ง ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต หรืออาจถึงแห้งตาย มักเกิดขึ้นกับพืชทุกชนิด
๑.๕ ความชื้นมากหรือน้อยเกินไป

ความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเจริญเติบโตของพืช แต่ถ้าความชื้นมากเกินไป ก็มักจะช่วยส่งเสริมการเกิดโรคได้มากขึ้น เช่น การบรรจุไม้ตัดดอกส่งต่างประเทศ จะต้องมีกรรมวิธีการบรรจุที่ถูกต้อง ช่อไม้ดอกจะต้องแห้งปราศจากหยดน้ำบริเวณกลีบดอก ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาดอกเน่า จากการเข้าทำลายของเชื้อบางชนิด ในขณะที่มีการขนส่งไปยังตลาดในระยะทางไกลๆ หรือหากปลูกพืชแช่อยู่ในดิน หรือบริเวณที่ปลูกที่น้ำขัง การระบายน้ำไม่ดี ก็มักจะทำให้ระบบรากเน่า หรือเชื้อโรคในดินเข้าทำลายระบบรากได้ง่าย แต่ถ้าความชื้นน้อยเกินไป ก็จะมีผลโดยตรงกับการเจริญของพืช ต้นพืชจะเหี่ยวเฉา และโตช้า อาการใบไหม้ของไม้ประดับเกิดจากการใส่ปุ๋ยมากและอากาศร้อนจัด
อาการใบไหม้ของไม้ประดับเกิดจากการใส่ปุ๋ยมากและอากาศร้อนจัด
๒. โรคที่เกิดจากสิ่งที่มีชีวิต

มีเชื้อโรคหลายชนิด ที่ทำให้พืชเป็นโรค เชื้อแต่ละชนิดมีคุณสมบัติการเข้าทำลายพืช และการแพร่ระบาดโรคแตกต่างกันไป จึงขอกล่าวถึงเชื้อแต่ละชนิดพอเป็นสังเขป ดังต่อไปนี้

๒.๑ เชื้อรา

เป็นเชื้อที่พบว่า ทำให้เกิดโรคแก่พืชมากที่สุด และทำให้เกิดอาการประเภทต่างๆ บนพืชมากที่สุดด้วย เช่น ใบเป็นแผลจุด ใบไหม้ ใบติด ใบเหี่ยว รากเน่า โคนเน่า ผลเน่า เมล็ดเน่า ต้นกล้าเน่า หรือแห้งตายทั้งต้น เชื้อราส่วนใหญ่มีการแพร่ระบาดโรคด้วยส่วนที่เรียกว่า สปอร์ (spore) โดยมี น้ำ ลม หรือสิ่งมีชีวิตเป็นตัวนำ หรืออาจติดไปกับส่วนของพืชและดินที่เป็นโรค เชื้อราบางชนิดพักตัวอยู่ในส่วนของพืชและดินเป็นเวลานานนับปี มีความสามารถในการเข้าทำลายพืชได้ทั้งทางแผล ช่องเปิดธรรมชาติ หรือเข้าทำลายเนื้อเยื่อพืชโดยตรงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อรา

อาการใบไหม้เป็นวงซ้อนของใบกล้วยไม้ซึ่งเกิดจากเชื้อรา เข้าทำลายซ้ำเติมบริเวณที่ถูกแดดเผา อาการใบไหม้เป็นวงซ้อนของใบกล้วยไม้ซึ่งเกิดจากเชื้อรา เข้าทำลายซ้ำเติมบริเวณที่ถูกแดดเผา
เชื้อราแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ ๔ กลุ่มด้วยกันคือ

๒.๑.๑ ไฟโคไมซิทิส (phycomycets) เรามักเรียก เชื้อราในกลุ่มนี้ว่า ราชั้นต่ำ หรือราน้ำ มีลักษณะที่สำคัญคือ เส้นเชื้อราไม่มีผนังเซลล์กั้นด้านขวาง เรียกว่า โคโนไซติก ไฮฟีหรืออะเซพเทต ไฮฟี (coenocytic hyphae หรือ aseptate hyphae) ขยายพันธุ์ทั้งแบบไม่ใช้เพศโดยสร้างโซโอสปอร์ หรือสปอร์ที่มีหางในถุงหุ้มโซโอสปอร์ (zoosporangium) และแบบใช้เพศโดยผสมระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะและเพศต่างกัน ให้สปอร์ผนังหนาผิวเรียบ เรียกว่า โอโอสปอร์ (oospore) หรืออาจเกิดจากการผสมระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะและเพศต่างกัน แต่ต่างเพศกันให้สปอร์ผนังหนาขรุขระ เรียกว่า ไซโกสปอร์ (zygospore) สปอร์เหล่านี้จะแพร่ระบาดโดยลมพัดพาไป หรือว่ายน้ำไป เชื้อราในกลุ่มนี้ ทำให้เกิดโรคที่สำคัญกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น โรคราน้ำค้างของข้างโพด เกิดจากเชื้อสเคลอโรสปอรา ซอร์ไจ (Scherospora sorghi) โรคราน้ำค้างขององุ่น เกิดจากเชื้อพลาสโมพารา วิทิโคลา (Plasmopara viticola) โรครากเน่าของทุเรียนเกิดจากเชื้อไฟทอฟทอรา (Phytophthora sp.) เป็นต้น

อาการจุดสนิมของดอกกล้วยไม้ที่เกิดจากเชื้อรา มีอาการรุนแรงเมื่อมีความชื้นสูง เข้าทำลายซ้ำเติมบริเวณที่ถูกแดดเผา อาการจุดสนิมของดอกกล้วยไม้ที่เกิดจากเชื้อรา มีอาการรุนแรงเมื่อมีความชื้นสูง
๒.๑.๒ แอสโคไมซิทิส (ascomycets) เป็นเชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น (septate hyphae) ขยายพันธุ์ทั้งแบบไม่มีเพศ โดยสร้างสปอร์เรียกว่า โคนิเดีย (conidia) และแบบใช้เพศโดยผสมระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะและเพศต่างกัน จะเกิดแอสโคสปอร์ (ascospore) ในถุงหุ้มสปอร์ (ascus) ถุงหุ้มสปอร์นี้อยู่ในกลุ่มเส้นใยซึ่งประสานตัวกัน มีผนังหนาสีดำ เรียกว่า ฟรุตติงบอดี (fruiting) คนโทปากเปิด (perithecium) และรูปถ้วยแชมเปญ (apothecium) ส่วนของฟรุตติงบอดีนี้ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อเกิดบนพืชเป็นโรคโดยจะเห็นเป็นจุดสีดำๆ เชื้อราในกลุ่มนี้ ทำให้เกิดโรคที่สำคัญ เช่น โรคราแป้งขาวขององุ่น กุหลาบ เป็นต้น
กลุ่มเส้นใยของเชื้อราที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ
กลุ่มเส้นใยของเชื้อรา
ที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ๒.๑.๓ เบสิดิโอไมซิทิส (basidiomycetes) เป็น เชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น ขยายพันธุ์ทั้งแบบไม่มีเพศโดยสร้าง สปอร์เรียกว่า โคนิเดีย และแบบมีเพศ โดยผสมระหว่างเส้นใยที่ มีลักษณะและเพศต่างกันเกิดสปอร์ เรียกว่า เบสิดิโอสปอร์ (basidiospore) ซึ่งอาจเกิดอยู่ในฟรุตติงบอดี หรือเกาะติดอยู่บน เส้นใยที่มีรูปร่างคล้ายกระบอง เรียกว่า เบสิเดียม (Basidium) เชื้อราในกลุ่มนี้ ทำให้เกิดโรคพืชต่างๆ ที่สำคัญ เช่น โรคสนิม ของพืช โรคเขม่าดำของข้าวโพด เกิดจากเชื้อยูสติลาโก เมย์ดิส (ustilago maydis) โรคเขม่าดำหรือแส้ดำ ของอ้อย เกิดจากเชื้อ ยูสติลาโก ไซตามิเนีย (Ustilago scitaminea) เป็นต้น
๒.๑.๔ ฟังไจอิมเปอร์เฟกไท หรือ ดิวเทอโรไมซิทิส (fungi imperfecti of deuteromycetes) เป็นเชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น นิยมจัดให้เป็นเชื้อราในกลุ่มชั่วคราว เพราะปกติจะไม่พบการสืบพันธุ์แบบมีเพศ แต่เมื่อใดที่พบการสืบพันธุ์แบบมีเพศของเชื้อราในกลุ่มนี้ ก็จะจัดย้ายเชื้อรานี้เข้าอยู่ในพวกแอสโคไมซิทิส หรือ เบสิดิโอไมซิทิส (ตามลักษณะของสปอร์ที่เกิดจากการสืบพันธุ์แบบมีเพศ) ส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศจะมีการสร้างสปอร์ที่เรียกว่า โคนิเดีย เกิดจากก้านสปอร์เรียกว่า โคนิดิโอฟอร์ (conidiophore) หรือบรรจุอยู่ในฟรุตติงบอดี ที่มีรูปร่างหลายแบบ คือ ทรงกลมปิด เรียก พิกนิเดีย (pycnidia) รูปจาน เรียก อาเซอร์วูลัส (acervulus) สปอโรโดเชียม (sporodochium) และซินนีมาตา (synnemata) ฟรุตติงบอดีเหล่านี้สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า และนำมาช่วยในการวินิจฉัยโรคได้บางครั้ง การแพร่ระบาดของราในกลุ่มนี้ มักเกิดขึ้น โดยเชื้อปลิวไปกับลม หรือติดไปกับส่วนของพืชและดินที่มีพืชเป็นโรค เชื้อราในกลุ่มนี้ เป็นสาเหตุของโรคพืช และดินที่มีพืชเป็นโรค เชื้อราในกลุ่มนี้เป็นสาเหตุของโรคพืชที่สำคัญหลายชนิด เช่น โรคใบจุด ใบไหม้ต่างๆ และรากเน่า เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น ฟิวราเรียม แอลเทอนาเรีย คอลลีโททริเชียม โกลโอสปอเรียม เซอร์โคสปอรา เซอร์วูาลาเรีย และสเคลอโรเชียม เป็นต้น

๒.๒ บัคเตรี (Bacteria)

จัดเป็นพืชเซลล์เดียวที่มีขนาดเล็กมาก ต้องใช้กล้องขยายอย่างน้อย ๑_๐๐๐ เท่า และถ้าจะให้เห็นชัดจะต้องย้อมสีด้วย มีรูปร่างแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด คือ รูปกลม (spherical or coccus) รูปแท่ง (rod shape or bacillus) และรูปเกลียว (spiral or apirillum) บัคเตรีมีทั้งประโยชน์และโทษ พวกที่เป็นสาเหตุของโรคพืชจะมีรูปร่างเป็นแท่ง (rod shape) ไม่มีการสร้างสปอร์ ส่วนใหญ่เป็นพวกแกรมลบ (gram negative) คือย้อมสีติดสีแดงเป็นแอโรบิคบัคเตรี (Aerobic bacteria) คือ ต้องใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโต ส่วนใหญ่ไม่ทำลายเซลลูโลส และไม่ย่อยแป้ง มักมีชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในดิน เมื่อปลูกพืช มันก็จะเข้าทำลายพืชชอบสภาพเป็นกรดน้อยๆ และความชื้นสูง แพร่ระบาดได้ดีโดยไปกับน้ำ ลม เศษพืชที่เป็นโรค คุณสมบัติดังกล่าวนี้คือ บัคเตรีในสกุลซูโดโมนัส แซนโทโมนัส เออร์วิเนีย อะโกรแบคทีเรียม โคริเนเบคทีเรียม และสเตร็พโทไมซิส

รูปร่างและหางของเชื้อบัคเตรี : หางเดี่ยวที่ขั้วใดขั้วหนึ่งของเซลล์ (Monotrichous) รูปร่างและหางของเชื้อบัคเตรี : หางเดี่ยวที่ขั้วใดขั้วหนึ่งของเซลล์ (Monotrichous)
๒.๓ ไวรัส (virus)

เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุด ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา (light microscope) ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscope) ซึ่งมีกำลังขยายสูงจึงจะสามารถมองเห็นได้ ไวรัสประกอบด้วยโปรตีน (protein) และกรดนิวคลิอิก (nucleic acid) ซึ่งกรดนิวคลิอิกนี้จะต้องเป็นชนิดอาร์เอ็นเอ หรือ ดีเอ็นเอ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ไวรัสพืชส่วนใหญ่จะประกอบด้วยโปรตีน และกรดนิวคลิอิกชนิดอาร์เอ็นเอไวรัสทวีจำนวนได้เฉพาะในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เช่น เซลล์พืช เป็นต้น และมีคุณสมบัติ ทำให้พืชแสดงอาการผิดปกติ หรือเกิดโรคกับพืชนั่นเอง อาการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นได้แก่ ใบเปลี่ยนสี เปลี่ยนรูปร่าง พืชแคระแกร็น ไวรัสพืชมีรูปร่างได้หลายแบบ ได้แก่
กลุ่มไวรัสพืช
กลุ่มไวรัสพืช
๒.๓.๑ ท่อนสั้น (short rod) ซึ่งมีทั้งท่อนตรงสั้น หัวท้ายตัด ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดใบด่างกับยาสูบคือ เชื้อโทแบคโค โมเสค หรือทีเอ็มวี (Tobacco mosaic virus_ TMV) หรือเชื้อท่อนสั้น หัวท้ายมน (bacilliform) และไวรัสที่ทำให้เกิดโรคใบสีส้มของข้าง เป็นต้น

๒.๓.๒ รูปกลม (sphaerical) มีตั้งแต่รูปกลมขนาดเล็กลงจนถึงขนาดใหญ่ เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคใบด่างของแตง ใบด่างของพิทูเนีย เป็นต้น

๒.๓.๓ ท่อนยาวคด (fleaxeous rod) มีขนาดความยาวแตกต่างกัน และเป็นกลุ่มที่มีไวรัสต่างชนิดจำนวนมาก เช่น ไวรัสทำให้เกิดโรคยอดบิด ใบด่างของกล้วยไม้ตระกูลต่างๆ และพวกที่มีความยาวมากที่สุด ได้แก่ ไวรัสทริสเทซา (tristeza) ทำให้เกิดโรคกับส้มซึ่งมีระบาดทั่วไปในเขตที่มีการปลูกส้ม รวมทั้งในประเทศไทยด้วย
โรคจู๋ของข้าว
โรคจู๋ของข้าว การเข้าทำลายพืชของไวรัสต้องอาศัยแผล ซึ่งอาจเกิดจากการเสียดสีกัน ของต้นไม้ ในธรรมชาติหรือคนและสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะแมลงเป็นตัวทำ ไวรัสไม่สามารถเข้าทำลายพืชโดยตรงด้วยตัวเอง เหมือนเชื้อราบางชนิด ด้วยเหตุนี้แมลงจึงเป็นพาหะสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไวรัสพืชระบาดได้กว้างขวาง รวดเร็ว และยากลำบากต่อการป้องกัน และกำจัด ตัวอย่างของโรคไวรัสที่สำคัญๆ ในประเทศไทยได้แก่ โรคจู๋ของข้าว โรคใบสีส้มของข้าว โรคใบด่างของพืชหลายชนิด เช่น พริก ยาสูบ แตง ถั่วต่างๆ ฯลฯ
ไวรัสจัดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืช และเสียหายมาก ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างของต่างประเทศ ที่มีการศึกษาทางด้านนี้มาก เช่น มันฝรั่งซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวยุโรปมีไวรัสหลายชนิดเข้าทำลาย และทำให้ผลผลิตลดลงอย่างต่ำที่สุดประมาณ ๑๐-๑๕ เปอร์เซ็นต์ พืชชนิดอื่นๆ ได้แก่ ผักและผลไม้ เช่น ส้ม ในเมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิลมีไวรัสทริสเทซาระบาด โดยมีแมลงเพลี้ยอ่อนเป็นตัวนำโรค ภายในเวลา ๑๒ ปี ทำให้ไร่ส้มเสียหายและตายประมาณ ๖ ล้านต้น (ประมาณ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ ของส้มที่ปลูก) ในประเทศกานา (Ghana) จำเป็นต้องโค่นต้นโกโก้จำนวนกว่า ๑๐๐ ล้านต้นทิ้งในปี ค.ศ. ๑๙๔๕ เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโรคยอดบวมของโกโก้ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่แมลงเพลี้ยแป้งเป็นตัวนำ ส่วนองุ่นผลผลิตลดลงประมาณ ๑๐-๑๕ เปอร์เซ็นต์ อันเป็นผลจากการทำลายของไวรัสเกรพไวน์แฟนลีด (grapevine fanleaf) ซึ่งแพร่ระบาด โดยมีไส้เดือนฝอยเป็นตัวนำ และติดไปกับส่วนขยายพันธุ์จากต้นเป็นโรค ตัวอย่างเหล่านี้เป็นข้อเตือนใจ ที่เราควรจะได้ศึกษาถึงปัญหาโรคไวรัสในบ้านเรา เพื่อเตรียมการป้องกันเกิดปัญหารุนแรงแก่พืชผลของเราต่อไป
๔. ไมโคพลาสมา (Mycoplasma)

เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคกับพืช โดยอาศัยอยู่ในท่อน้ำท่ออาหารของพืช เชื้อมีขนาดเล็กกว่าบัคเตรี แต่ใหญ่กว่าไวรัส ไม่มีผนังเซลล์จึงมีรูปร่างไม่แน่นอน ไมโคพลาสมาบางชนิดสามารถเลี้ยงได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อพิเศษ มีการแพร่ระบาด โดยมีแมลงบางชนิดเป็นพาหะ เช่น เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน และถ่ายทอดโรคได้ โดยต้นฝอยทอง (dodder) หรือการติดตาเทียบกิ่ง ลักษณะอาการส่วนใหญ่ที่พืชแสดง เนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อไมโคพลาสมา ได้แก่ ส่วนของพืชที่มีสีเขียว เปลี่ยนเป็นสีเหลือง (yellows) หรือขาว (white leaf) แตกเป็นพุ่ม (witches broom) บริเวณจุดเจริญต่างๆ เช่น ยอดหรือตา ส่วนที่เจริญเป็นดอกมีลักษณะคล้ายใบเป็นกระจุก (phyllody) ลักษณะอื่นๆ คือ ต้นแคระแกร็นและไม่เจริญเติบโต โรคทีสำคัญที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมาที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคกรีนนิงของส้ม โรคพุ่มไม้กวาดของลำไย โรคใบขาวของอ้อย เป็นต้น เชื้อไมโคพลาสมา
เชื้อไมโคพลาสมา
๕. ไส้เดือนฝอย (Nematode)

เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวไม่แบ่งเป็นปล้องมีเพศแยกจากกันซึ่งเป็นลักษณะต่างจากไส้เดือนธรรมดา เรามักพบได้ทั่วไป ทั้งในดิน น้ำจืด น้ำเค็ม หรือแม้แต่ในร่างกายของคนและสัตว์ เช่น พยาธิต่างๆ ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดโรคกับพืช มีขนาดค่อนข้างเล็กประมาณ ๐.๒-๒ มิลลิเมตร มักเข้าทำลายรากพืชทำให้เกิดอาการรากปม รากเป็นแผล บางชนิดทำลายดอก เมล็ดต้นหรือหน่อ ไส้เดือนฝอยบางชนิดเป็นพาหะนำโรคไวรัสพืชและเป็นตัวการแพร่ระบาดโรค โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรครากปมของมะเขือ พริก พืชตระกูลแตง เป็นต้น ลักษณะการเข้าทำลายพืชของไส้เดือนฝอยรากปม คือ เข้าดูดกินน้ำเลี้ยง บริเวณเซลล์รากพืช และปล่อยเอนไซม์มาละลายผนังเซลล์ ทำให้เกิดเซลล์ขนาดใหญ่ หรือปล่อยฮอร์โมนมากระตุ้นให้เซลล์มีการแบ่งตัวมากผิดปกติ จึงทำให้พืชแสดงอาการรากบวมโต หรือเป็นปุ่มปม บางครั้งทำให้ปลายรากกุด ส่วนอาการที่แสดงบนต้นพืชคือ เหี่ยวเฉา แคระแกร็น ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลผลิตลดน้อย ไส้เดือนฝอยรากปมนี้มีพืชอาศัยเป็นจำนวนมาก ประมาณกว่า ๒_๕๐๐ ชนิด
นอกจากเชื้อต่างๆ ดังกล่าวที่ทำให้เกิดโรคกับพืชแล้วยังมีสิ่งมีชีวิตชั้นสูง คือ พวกมีดอก แต่มีลักษณะบางอย่างไม่สมบูรณ์ เช่น กาฝาก ฝอยทอง ซึ่งนอกจากจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้พืชเกิดอาการผิดปกติ และการเจริญเติบโตลดน้อยลงแล้ว บางชนิดยังเป็นตัวถ่ายทอดโรค และทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค เช่น ต้นฝอยทองบางชนิดเป็นตัวถ่ายทอดโรค ที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา เป็นต้น

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โรคพืช
โรคพืช
พยาธิวิทยาของพืช (เช่นphytopathology ) เป็นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโรคในพืชที่เกิดจากเชื้อโรค (สิ่งมีชีวิตที่ติดเชื้อ) และสภาพแวดล้อม (ปัจจัยทางสรีรวิทยา) [1]มีชีวิตที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ ได้แก่เชื้อรา _ oomycetes _ แบคทีเรีย _ ไวรัส _ ไวรอยด์ _ ไวรัสเหมือนมีชีวิตไฟโตพลาสมา _ โปรโตซัว _ ไส้เดือนฝอยและพืชกาฝาก ไม่ได้รวมเป็นปรสิตภายนอกเช่นแมลง _ไร _ เลี้ยงลูกด้วยนมหรืออื่น ๆศัตรูพืชที่มีผลต่อสุขภาพของพืชโดยการรับประทานอาหารของเนื้อเยื่อพืช โรคพืชนอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการศึกษาของประชาชนเชื้อสาเหตุโรครอบโรคผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ระบาดวิทยาโรคพืช _ ความต้านทานต่อโรคพืชวิธีโรคพืชส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสัตว์พันธุศาสตร์ pathosystem และการจัดการโรคพืช


วงจรชีวิตของเชื้อโรคเน่าดำ Xanthomonas campestris pathovar campes
ภาพรวม
การควบคุมโรคพืชมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตอาหารที่เชื่อถือได้และก่อให้เกิดปัญหาสำคัญในการใช้ที่ดินน้ำเชื้อเพลิงและปัจจัยอื่น ๆ ทางการเกษตร พืชทั้งในประชากรธรรมชาติและปลูกดำเนินการต้านทานโรคโดยธรรมชาติ แต่มีตัวอย่างมากมายของการทำลายล้างผลกระทบโรคพืชเช่นความอดอยากของไอร์แลนด์และทำลายเกาลัดเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นอีกโรคพืชที่รุนแรงเช่นระเบิดข้าว _ ถั่วเหลืองไส้เดือนฝอยถุงและส้ม โรคแคงเกอร์ .

อย่างไรก็ตามการควบคุมโรคประสบความสำเร็จพอสมควรสำหรับพืชผลส่วนใหญ่ การควบคุมโรคทำได้โดยการใช้พืชที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้มีความต้านทานต่อโรคต่างๆได้ดีและโดยวิธีการเพาะปลูกพืชเช่นการปลูกพืชหมุนเวียนการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อโรควันที่ปลูกและความหนาแน่นของพืชที่เหมาะสมการควบคุมความชื้นในสนามและยาฆ่าแมลงใช้. จำเป็นต้องมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในวิทยาศาสตร์ด้านพยาธิวิทยาของพืชเพื่อปรับปรุงการควบคุมโรคและเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของความดันโรคที่เกิดจากวิวัฒนาการและการเคลื่อนย้ายของเชื้อโรคพืชอย่างต่อเนื่องและจากการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติทางการเกษตร

โรคพืชก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่สำหรับเกษตรกรทั่วโลก ในภูมิภาคขนาดใหญ่และพันธุ์พืชหลายชนิดคาดว่าโรคโดยทั่วไปจะลดผลผลิตพืชลง 10% ทุกปีในสภาพแวดล้อมที่พัฒนามากขึ้น แต่การสูญเสียผลผลิตของโรคมักจะเกิน 20% ในสภาพแวดล้อมที่พัฒนาน้อยกว่า องค์การอาหารและเกษตรประมาณการว่าศัตรูพืชและโรคมีความรับผิดชอบประมาณ 25% ของการสูญเสียพืช ในการแก้ปัญหานี้จำเป็นต้องใช้วิธีการใหม่ในการตรวจหาโรคและแมลงศัตรูพืชตั้งแต่เนิ่นๆเช่นเซ็นเซอร์ใหม่ที่ตรวจจับกลิ่นพืชสเปกโทรสโกปีและไบโอโฟโตนิกส์ที่สามารถวินิจฉัยสุขภาพของพืชและการเผาผลาญได้ [2]

เชื้อโรคพืช

โรคราแป้งเป็นเชื้อราทางชีวภาพ
เชื้อรา
เชื้อราสาเหตุโรคพืชส่วนใหญ่อยู่ในAscomycetesและBasidiomycetes เชื้อราจะสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศโดยการสร้างสปอร์และโครงสร้างอื่น ๆ สปอร์อาจแพร่กระจายได้ในระยะทางไกลโดยทางอากาศหรือทางน้ำหรืออาจมาจากดิน เชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินจำนวนมากที่มีความสามารถในการมีชีวิตอยู่saprotrophicallyการดำเนินการส่วนหนึ่งของวงจรชีวิตของพวกเขาในดิน เหล่านี้คือ saprotrophs ปัญญา โรคเชื้อราอาจควบคุมได้โดยการใช้ยาฆ่าเชื้อราและการปฏิบัติทางการเกษตรอื่น ๆ อย่างไรก็ตามเชื้อราเผ่าพันธุ์ใหม่มักมีวิวัฒนาการที่ทนทานต่อสารฆ่าเชื้อราต่างๆ เชื้อราที่ก่อโรคทางชีวภาพจะตั้งรกรากอยู่ในเนื้อเยื่อพืชที่มีชีวิตและได้รับสารอาหารจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เชื้อโรคจากเชื้อราNecrotrophic จะติดเชื้อและฆ่าเนื้อเยื่อของโฮสต์และดึงสารอาหารจากเซลล์ที่ตายแล้ว เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคพืชที่สำคัญ ได้แก่ : [ ต้องการอ้างอิง ]


ระเบิดข้าวที่เกิดจากเชื้อราเนื้อร้าย
Ascomycetes
Fusarium spp. (Fusarium โรคเหี่ยว)
Thielaviopsis spp. (โรคแคงเกอร์เน่ารากดำรากเน่า Thielaviopsis )
Verticillium spp.
Magnaporthe grisea (ระเบิดข้าว)
Sclerotinia sclerotiorum (เน่าคอตตอน)
Basidiomycetes
Ustilago spp. (smuts) เขม่าของข้าวบาร์เลย์
Rhizoctonia spp.
Pakospora pachyrhizi (สนิมถั่วเหลือง)
Puccinia spp. (สนิมของธัญพืชและหญ้าอย่างรุนแรง)
Armillaria spp. (สายพันธุ์ของเชื้อราน้ำผึ้ง_ เชื้อโรคที่รุนแรงของต้นไม้)
สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายเชื้อรา
Oomycetes
oomycetesเป็นสิ่งมีชีวิตเชื้อราเช่น [3]พวกเขารวมถึงบางส่วนของที่สุดเชื้อสาเหตุโรคพืชทำลายรวมทั้งจำพวก เชื้อรา Phytophthoraซึ่งรวมถึงตัวแทนสาเหตุของมันฝรั่งปลายทำลาย[3]และการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของโอ๊ค [4] [5]สายพันธุ์เฉพาะของ oomycetes มีความรับผิดชอบสำหรับโรครากเน่า

แม้ว่าจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับเชื้อรา แต่ oomycetes ก็ได้พัฒนากลยุทธ์การติดเชื้อที่คล้ายคลึงกัน Oomycetes สามารถใช้โปรตีน effector เพื่อปิดการป้องกันของพืชในกระบวนการติดเชื้อ [6]นักพยาธิวิทยาพืชมักจะรวมกลุ่มกับเชื้อราที่ทำให้เกิดโรค

เชื้อโรคพืช oomycete ที่สำคัญ ได้แก่ :

ไพเธียมเอสพีพี
Phytophthora spp. รวมถึงการทำลายมันฝรั่งของ Great Irish Famine (1845–1849)
ไฟโตมีเซีย
ราเมือกบางชนิดในPhytomyxeaทำให้เกิดโรคที่สำคัญ ได้แก่รากไม้ในกะหล่ำปลีและญาติของมันและขี้เรื้อนในมันฝรั่ง สิ่งเหล่านี้เกิดจากสายพันธุ์ของPlasmodiophoraและSpongosporaตามลำดับ

แบคทีเรีย

โรคมงกุฎน้ำดีที่เกิดจาก Agrobacterium
แบคทีเรียส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับพืชนั้นแท้จริงแล้วเป็นsaprotrophicและไม่เป็นอันตรายต่อพืชเอง อย่างไรก็ตามมีจำนวนน้อยประมาณ 100 ชนิดที่รู้จักกันดีสามารถทำให้เกิดโรคได้ [7]โรคจากแบคทีเรียเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในพื้นที่กึ่งเขตร้อนและเขตร้อนของโลก

แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคพืชส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นรูปแท่ง ( bacilli ) เพื่อให้สามารถตั้งรกรากของพืชได้พวกเขามีปัจจัยการก่อโรคที่เฉพาะเจาะจง เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจัยการก่อโรคของแบคทีเรีย 5 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ การใช้เอนไซม์ย่อยสลายผนังเซลล์สารพิษโปรตีนเอฟเฟกเตอร์ไฟโตฮอร์โมนและเอ็กโซโพลีแซ็กคาไรด์

จุลชีพก่อโรคเช่นErwiniaชนิดใช้มือถือของเอนไซม์ย่อยสลายผนังที่จะทำให้เกิดโรคเน่าเละ สายพันธุ์Agrobacteriumเปลี่ยนระดับของออกซินเพื่อทำให้เกิดเนื้องอกด้วยไฟโตฮอร์โมน Exopolysaccharidesผลิตโดยแบคทีเรียและปิดกั้นหลอดเลือดxylemซึ่งมักนำไปสู่การตายของพืช

แบคทีเรียควบคุมการผลิตของปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคทางองค์ประชุมตรวจจับ


Vitis viniferaกับการติดเชื้อ "Ca. Phytoplasma vitis"
แบคทีเรียก่อโรคพืชที่สำคัญ:

บูร์โกเทอเรีย[8]
โปรตีโอแบคทีเรีย
Xanthomonas spp.
Pseudomonas spp.
Pseudomonas syringae pv. มะเขือเทศทำให้ต้นมะเขือเทศให้ผลผลิตน้อยลงและ "ยังคงปรับตัวเข้ากับมะเขือเทศโดยลดการรับรู้ของระบบภูมิคุ้มกันของมะเขือเทศ" [9]
ไฟโตพลาสมาสและสไปโรพลาสมาส
ไฟโตพลาสม่าและสไปโรพลาสม่าเป็นจำพวกของแบคทีเรียที่ไม่มีผนังเซลล์และเกี่ยวข้องกับไมโคพลาสม่าซึ่งเป็นเชื้อโรคของมนุษย์ ร่วมกันพวกเขาจะเรียกว่าเป็นmollicutes นอกจากนี้ยังมีจีโนมที่เล็กกว่าแบคทีเรียอื่น ๆ ส่วนใหญ่ พวกเขาจะถูกส่งตามปกติโดย SAP ดูดแมลงถูกโอนเข้ามาในโรงงานใยเปลือกไม้ที่มันทำ


ไวรัสโมเสคยาสูบ
ไวรัสไวรอยด์และสิ่งมีชีวิตที่คล้ายไวรัส
มีหลายประเภทของมีไวรัสพืชและบางคนแม้ไม่มีอาการ ภายใต้สถานการณ์ปกติไวรัสพืชทำให้ผลผลิตของพืชสูญเสียไปเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่สามารถดำเนินการทางเศรษฐกิจได้ที่จะพยายามควบคุมพวกมันยกเว้นเมื่อพวกมันติดเชื้อไม้ยืนต้นเช่นไม้ผล

ส่วนใหญ่ไวรัสพืชมีขนาดเล็กเดียว stranded RNA จีโนม อย่างไรก็ตามไวรัสพืชบางชนิดยังมีRNAแบบเกลียวคู่หรือจีโนมดีเอ็นเอแบบเกลียวเดี่ยวหรือคู่ จีโนมของเหล่านี้อาจเข้ารหัสเพียงสามหรือสี่โปรตีนกเรพลิโปรตีนเสื้อเป็นโปรตีนเคลื่อนไหวเพื่อที่จะช่วยให้มือถือกับการเคลื่อนไหวของเซลล์ผ่านplasmodesmataและบางครั้งโปรตีนที่ช่วยให้การส่งโดยเวกเตอร์ที่ ไวรัสพืชสามารถมีโปรตีนได้หลายชนิดและใช้วิธีการแปลโมเลกุลที่แตกต่างกัน

ไวรัสพืชโดยทั่วไปมักถ่ายทอดจากพืชไปยังพืชโดยใช้เวกเตอร์แต่การแพร่เชื้อทางกลและเมล็ดพืชก็เกิดขึ้นได้ ส่งเวกเตอร์มักจะเป็นโดยแมลง (ตัวอย่างเช่นเพลี้ย ) แต่บางเชื้อรา _ ไส้เดือนฝอยและโปรโตซัวได้รับการแสดงที่จะเป็นพาหะของเชื้อไวรัส ในหลายกรณีแมลงและไวรัสมีความจำเพาะต่อการแพร่กระจายของไวรัสเช่นเพลี้ยจักจั่นบีทรูทที่แพร่เชื้อไวรัสด้านบนที่เป็นลอนซึ่งก่อให้เกิดโรคในพืชหลายชนิด [10]ตัวอย่างหนึ่งคือโรคโมเสคของยาสูบที่ใบเหี่ยวเฉาและคลอโรฟิลล์ของใบไม้ถูกทำลาย อีกตัวอย่างหนึ่งคือยอดกล้วยที่เป็นพวงซึ่งต้นจะแคระแกร็นและใบด้านบนจะเป็นรูปดอกกุหลาบที่แน่น

ไส้เดือนฝอย

รากปมไส้เดือนฝอย galls
ไส้เดือนฝอยเป็นสัตว์หนอนหลายเซลล์ขนาดเล็ก หลายคนมีชีวิตอยู่อย่างอิสระในดิน แต่มีบางชนิดที่พืช parasitize ราก เป็นปัญหาในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของโลกซึ่งอาจทำให้พืชผลเสียหายได้ ไส้เดือนฝอยในถุงมันฝรั่ง ( Globodera pallidaและG. rostochiensis ) กระจายอยู่ทั่วไปในยุโรปและอเมริกาเหนือและใต้และสร้างความเสียหายมูลค่า300 ล้านดอลลาร์ในยุโรปทุกปี ไส้เดือนฝอยรากปมมีช่วงโฮสต์ค่อนข้างใหญ่พวกมันเป็นปรสิตในระบบรากของพืชและส่งผลโดยตรงต่อการดูดซึมน้ำและสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ของพืชตามปกติ[11]ในขณะที่ไส้เดือนฝอยถุงมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อได้เพียงไม่กี่ชนิด ไส้เดือนฝอยสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในเซลล์รากเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต

โปรโตซัวและสาหร่าย
มีตัวอย่างบางส่วนของโรคพืชที่เกิดจากโปรโตซัว (เช่นPhytomonas _ kinetoplastid ) [12]พวกมันถูกถ่ายทอดเป็นโซสปอร์ที่ทนทานซึ่งอาจจะสามารถอยู่รอดได้ในสภาพที่ไม่อยู่นิ่งในดินเป็นเวลาหลายปี นอกจากนี้ยังสามารถแพร่เชื้อไวรัสพืชได้ เมื่อ zoospores เคลื่อนที่เข้ามาติดต่อกับรากผมที่พวกเขาผลิตPlasmodiumซึ่งก้าวก่ายราก

สาหร่ายกาฝากไม่มีสีบางชนิด (เช่นCephaleuros ) ยังก่อให้เกิดโรคพืช [ ต้องการอ้างอิง ]

พืชกาฝาก
พืชกาฝากเช่นBroomrape _ มิสเซิลโทและสั่นที่จะถูกรวมในการศึกษาของ phytopathology ตัวอย่างเช่น Dodder สามารถเป็นท่อส่งไวรัสหรือตัวแทนที่คล้ายไวรัสจากพืชโฮสต์ไปยังพืชที่โดยทั่วไปแล้วไม่ได้เป็นโฮสต์หรือสำหรับตัวแทนที่ไม่สามารถรับต่อกิ่งได้

วิธีการติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคทั่วไป
เอนไซม์ย่อยสลายผนังเซลล์ : ใช้ในการสลายผนังเซลล์พืชเพื่อปลดปล่อยสารอาหารภายใน
สารพิษ : สิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่เฉพาะโฮสต์ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชทั้งหมดหรือเฉพาะโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายเฉพาะกับพืชที่เป็นโฮสต์เท่านั้น
effector โปรตีน : เหล่านี้สามารถหลั่งสารในสภาพแวดล้อมหรือโดยตรงเข้าไปในเซลล์โฮสต์ที่มักจะผ่านประเภทระบบสามหลั่ง เอฟเฟกต์บางตัวเป็นที่ทราบกันดีว่ายับยั้งกระบวนการป้องกันโฮสต์ ซึ่งอาจรวมถึง: การลดกลไกการส่งสัญญาณภายในพืชหรือลดการผลิตสารพฤกษเคมี [13]แบคทีเรียเชื้อราและ oomycetes เป็นที่รู้จักสำหรับหน้าที่นี้ [3] [14]
สปอร์ : สปอร์ของเชื้อรา phytopathogenic สามารถเป็นแหล่งที่มาของการติดเชื้อในพืชที่เป็นโฮสต์ อันดับแรกสปอร์จะเกาะติดกับชั้นหนังกำพร้าบนใบและลำต้นของพืชที่เป็นเจ้าภาพ เพื่อให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ต้องขนส่งสปอร์ที่ติดเชื้อจากแหล่งที่มาของเชื้อโรคสิ่งนี้เกิดขึ้นทางลมน้ำและพาหะเช่นแมลงและมนุษย์ เมื่ออยู่ในสภาพที่เอื้ออำนวยสปอร์จะสร้างเส้นใยดัดแปลงที่เรียกว่าหลอดเชื้อโรค หลอดเชื้อโรคนี้ต่อมาเป็นส่วนนูนเรียกว่าแอพเพล็ตสเตอเรียมซึ่งสร้างผนังเซลล์ที่เป็นเม็ดสีเพื่อสร้างแรงกดดันจากแรงดึง เมื่อแรงดันเทอร์เกอร์สะสมเพียงพอแล้วแอพเพรสโซเรียมจะยืนยันแรงกดต่อชั้นหนังกำพร้าในรูปแบบของหมุดเจาะที่แข็งตัว กระบวนการนี้ยังได้รับความช่วยเหลือจากการหลั่งเอนไซม์ย่อยสลายผนังเซลล์จากแอปเพรสโซเรียม เมื่อหมุดเจาะเข้าไปในเนื้อเยื่อของโฮสต์มันจะพัฒนาเส้นใยเฉพาะที่เรียกว่า haustorium ขึ้นอยู่กับวงจรชีวิตของเชื้อโรค haustorium นี้สามารถบุกรุกและเลี้ยงเซลล์ข้างเคียงภายในเซลล์หรือมีอยู่ภายในเซลล์ภายในโฮสต์ [15]

• ไบล์ท

• ส้มแคงเกอร์

• สนิม

•สมุต

• โมเสคยาสูบ

• กระเบื้องโมเสคเส้นเลือดสีเหลือง

ความผิดปกติของพืชทางสรีรวิทยา
ความผิดปกติของ abiotic อาจเกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติเช่นภัยแล้ง _ น้ำค้างแข็ง _ หิมะและลูกเห็บ ; น้ำท่วมและการระบายน้ำไม่ดี การขาดสารอาหาร ; การสะสมของเกลือแร่เช่นโซเดียมคลอไรด์และยิปซั่ม ; ลมไหม้และแตกจากพายุ และไฟป่า ความผิดปกติที่คล้ายคลึงกัน (โดยปกติจัดอยู่ในประเภท abiotic) อาจเกิดจากการแทรกแซงของมนุษย์ซึ่งส่งผลให้เกิดการบดอัดของดินมลพิษทางอากาศและในดินการเค็มที่เกิดจากการชลประทานและการเค็มของถนนการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมากเกินไปการจัดการที่เงอะงะ และป่าเถื่อน [ ต้องการอ้างอิง ]


ใบกล้วยไม้ติดเชื้อไวรัส
ระบาดวิทยา
ระบาดวิทยา:การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดและการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ [16]


สามเหลี่ยมโรคพืช
โรคจัตุรมุข (ปิรามิดโรค) จับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับโรคพืชได้ดีที่สุด พีระมิดนี้ใช้สามเหลี่ยมของโรคเป็นรากฐานซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆเช่นโฮสต์เชื้อโรคและสิ่งแวดล้อม นอกจากองค์ประกอบทั้งสามนี้แล้วมนุษย์และเวลายังเพิ่มองค์ประกอบที่เหลือเพื่อสร้างโรคจัตุรมุข

ประวัติ:โรคระบาดของโรคพืชที่ทราบกันในอดีตจากการสูญเสียครั้งใหญ่:

- มันฝรั่งไอริชปลายใบไหม้[17]

- โรคดัตช์เอล์ม[18]

- โรคใบไหม้เกาลัดในอเมริกาเหนือ[19]

ปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่ระบาด:

ผู้ดำเนินรายการ: ระดับความต้านทานหรือความอ่อนแออายุและพันธุกรรม

เชื้อโรค: ปริมาณของหัวเชื้อพันธุกรรมและประเภทของการสืบพันธุ์

ต้านทานโรค
ความต้านทานโรคพืชคือความสามารถของพืชในการป้องกันและยุติการติดเชื้อจากเชื้อโรคพืช

โครงสร้างที่ช่วยให้พืชป้องกันโรค ได้แก่ ชั้นผิวหนังชั้นนอกผนังเซลล์และเซลล์ป้องกันปากใบ สิ่งเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่โฮสต์ของพืช

เมื่อโรคผ่านพ้นอุปสรรคเหล่านี้ไปแล้วผู้รับของพืชจะเริ่มส่งสัญญาณเพื่อสร้างโมเลกุลเพื่อแข่งขันกับโมเลกุลแปลกปลอม เส้นทางเหล่านี้ได้รับอิทธิพลและกระตุ้นโดยยีนภายในพืชโฮสต์และมีความอ่อนไหวต่อการถูกควบคุมโดยการผสมพันธุ์ทางพันธุกรรมเพื่อสร้างพันธุ์พืชที่ต้านทานต่อเชื้อโรคที่ทำลายล้าง [20]

การจัดการ
กักกันภายในประเทศ
พืชที่เป็นโรคหรือพืชแต่ละชนิดสามารถแยกออกจากการเจริญเติบโตอื่น ๆ ที่มีสุขภาพดีได้ ตัวอย่างอาจถูกทำลายหรือย้ายไปไว้ในเรือนกระจกเพื่อบำบัดหรือศึกษา

การตรวจสอบและกักกันท่าเรือและชายแดน
อีกทางเลือกหนึ่งคือหลีกเลี่ยงการนำสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่สัตว์พื้นเมืองที่เป็นอันตรายมาใช้โดยการควบคุมการจราจรและกิจกรรมทั้งหมดของมนุษย์ (เช่นบริการกักกันและตรวจสอบของออสเตรเลีย ) แม้ว่ากฎหมายและการบังคับใช้จะมีความสำคัญเพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่ยั่งยืน ปริมาณการค้าทั่วโลกในปัจจุบันมีให้บริการและจะยังคงให้โอกาสในการนำศัตรูพืชมาใช้อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน [McC 1]ในสหรัฐอเมริกาแม้จะได้รับการประมาณจำนวนที่ดีขึ้นของการแนะนำดังกล่าวและด้วยเหตุนี้ความจำเป็นในการกำหนดเขตกักบริเวณและการตรวจสอบท่าเรือและชายแดนจะต้องมีการตรวจสอบเพิ่มขึ้นอย่างมาก [McC 2]ในออสเตรเลียข้อบกพร่องในการทำความเข้าใจที่คล้ายคลึงกันมีต้นกำเนิดที่แตกต่างกัน: การตรวจสอบพอร์ตไม่มีประโยชน์มากนักเนื่องจากผู้ตรวจสอบรู้เรื่องอนุกรมวิธานน้อยเกินไป มักจะมีศัตรูพืชที่รัฐบาลออสเตรเลียจัดลำดับความสำคัญว่าเป็นอันตรายที่จะถูกเก็บออกนอกประเทศ แต่มีญาติที่อยู่ใกล้นักอนุกรมวิธานที่ทำให้เกิดความสับสน และผู้ตรวจสอบยังพบในสิ่งที่ตรงกันข้าม - ชาวพื้นเมืองที่ไม่เป็นอันตรายหรือชาวพื้นเมืองที่ยังไม่ถูกค้นพบหรือชาวพื้นเมืองที่เพิ่งค้นพบที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องกังวล แต่ซึ่งง่ายต่อการสับสนกับสมาชิกในครอบครัวชาวต่างชาติที่ผิดกฎหมาย [BH 1]

X-rayและลำแสงอิเล็กตรอน / E คานฉายรังสีของอาหารที่ได้รับการทดลองการรักษากักกันสำหรับผลไม้ สินค้าที่มาจากฮาวาย องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ) USDA APHIS ( บริการตรวจสุขภาพสัตว์และพืช ) ผู้ผลิตและผู้บริโภคต่างยอมรับในผลลัพธ์นั่นคือการกำจัดศัตรูพืชอย่างละเอียดถี่ถ้วนและการย่อยสลายของรสชาติน้อยกว่าการอบด้วยความร้อน [21]

วัฒนธรรม
การทำฟาร์มในบางสังคมยังคงอยู่ในระดับเล็ก ๆ โดยมีคนที่มีวัฒนธรรมรวมถึงประเพณีการทำฟาร์มที่ย้อนกลับไปในสมัยโบราณ (ตัวอย่างของประเพณีดังกล่าวจะเป็นการฝึกอบรมตลอดชีวิตเกี่ยวกับเทคนิคการลงพื้นที่การคาดการณ์และการตอบสนองต่อสภาพอากาศการปฏิสนธิการปลูกถ่ายอวัยวะการดูแลเมล็ดพันธุ์และการจัดสวนโดยเฉพาะ) พืชที่ได้รับการตรวจสอบอย่างตั้งใจมักจะได้รับประโยชน์จากการป้องกันภายนอกที่มีการเคลื่อนไหวเท่านั้น ความแข็งแรงโดยรวม ในขณะที่แบบดั้งเดิมในแง่ของการเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ใช้แรงงานมากที่สุดในขณะที่ในทางปฏิบัติหรือจำเป็นก็เพียงพอแล้ว

ความต้านทานของพืช
การพัฒนาทางการเกษตรที่ซับซ้อนในปัจจุบันช่วยให้ผู้ปลูกสามารถเลือกจากสายพันธุ์ผสมข้ามสายพันธุ์อย่างเป็นระบบเพื่อให้แน่ใจว่าพืชผลมีความแข็งแกร่งมากที่สุดตามความเหมาะสมกับลักษณะทางพยาธิวิทยาของภูมิภาคใด แนวทางปฏิบัติในการปรับปรุงพันธุ์ได้รับการปรับปรุงให้สมบูรณ์แบบมานานหลายศตวรรษ แต่ด้วยการปรับแต่งทางพันธุกรรมแม้กระทั่งการควบคุมลักษณะภูมิคุ้มกันของพืชให้ละเอียดขึ้นก็เป็นไปได้ วิศวกรรมของพืชอาหารอาจให้ผลตอบแทนน้อยกว่าอย่างไรก็ตามเนื่องจากผลผลิตที่สูงขึ้นมักถูกชดเชยด้วยความสงสัยและความคิดเห็นเชิงลบเกี่ยวกับ "การปลอมแปลง" นี้กับธรรมชาติ

สารเคมี
สามารถใช้สารประกอบจากธรรมชาติและสารสังเคราะห์หลายชนิดเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามข้างต้น วิธีนี้ใช้ได้ผลโดยการกำจัดสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดโรคโดยตรงหรือยับยั้งการแพร่กระจาย อย่างไรก็ตามแสดงให้เห็นว่ามีผลกระทบในวงกว้างเกินไปโดยทั่วไปจะเป็นผลดีต่อระบบนิเวศในท้องถิ่น จากมุมมองทางเศรษฐกิจสารเติมแต่งจากธรรมชาติที่เรียบง่ายที่สุดอาจทำให้ผลิตภัณฑ์ขาดคุณสมบัติจากสถานะ "ออร์แกนิก" ซึ่งอาจทำให้มูลค่าของผลผลิตลดลง

ที่มา http://www.farmkaset..link..
153 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 15 หน้า, หน้าที่ 16 มี 3 รายการ
|-Page 10 of 16-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ทุเรียนผลแตก ทุเรียนผลปลิ และเกิดอาการเน่า รอบรอยปลิแตก เนื่องจาก ทุเรียนขาดธาตุแคลเซียม ผลไม้อื่นก็เช่นกัน ฉีดพ่น FK-1
Update: 2564/03/11 21:55:16 - Views: 3296
การป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ในมะละกอ ป้องกันมะละกอผลเน่า ผลไหม้
Update: 2566/01/31 09:08:45 - Views: 3323
ปุ๋ยแตงโม ปุ๋ยน้ำสำหรับแตงโม FK ธรรมชาตินิยม เพิ่มผลผลิต ปลอดภัยไร้สารพิษ
Update: 2567/05/17 08:15:44 - Views: 24
โรคเชื้อราต่างๆในแก้วมังกร โรคไหม้ ราจุดสนิม เป็นแผลจุดสีน้ำตา โรคแก้วมังกรต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
Update: 2564/02/09 04:35:41 - Views: 3131
ปุ๋ยสำหรับมะยงชิด ปุ๋ยน้ำสำหรับมะปรางหวาน FK-1 โตไว ใบเขียว ระบบรากแข็งแรง ผลโต น้ำหนักดี
Update: 2564/09/16 01:31:37 - Views: 3102
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 เป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ ช่วยให้เพิ่มผลผลิตและคุณภาพของลิ้นจี่ได้
Update: 2567/03/11 11:40:00 - Views: 111
โรคบั่วปมมะม่วง การป้องกัน และการกำจัดโรคบั่วปมมะม่วง
Update: 2564/05/04 11:16:28 - Views: 3261
โรคสับปะรด ที่เกิดจากเชื้อราต่างๆ ทำให้เกิดอาการสับปะรดยอดเน่า รากเน่า ใบไหม้ ยกตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้
Update: 2566/11/08 06:16:07 - Views: 9170
ถาพนกที่ ฟาร์มเกษตร
Update: 2563/05/31 09:22:42 - Views: 2969
การรดน้ำให้ต้นไม้ พืชที่เราปลูก ต้องรดน้ำมากน้อยเท่าไร จึงจะเหมาะสม
Update: 2565/08/16 18:22:10 - Views: 3907
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนเจาะสมอฝ้าย ใน มะเขือเทศ และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/13 14:27:16 - Views: 2993
โรคแอนแทรคโนสในพริก (Anthracnose) ใช้ ไอเอส + FK-1
Update: 2564/08/09 04:29:25 - Views: 3065
โรคองุ่นเน่าดำ (Black rot) โรคองุ่น
Update: 2564/05/01 12:50:15 - Views: 3214
ยาปราบฯอินทรีย์ จากฟาร์มเกษตร ส่งทั่วไทย ชำระเงินปลายทาง
Update: 2562/08/08 14:02:02 - Views: 2977
โรคส้มโอ จุดสนิม ราสีชมพู ส้มโอใบไหม้ สแคป โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/10 22:14:14 - Views: 3413
ยาฆ่าเพลี้ย แมลงจำพวกปากดูด ใน ฝรั่ง และพืช ทุกชนิด เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/03/28 15:13:01 - Views: 3034
อโวคาโด จุดดำ กำจัดโรคอโวคาโด จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/05 11:20:18 - Views: 2967
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 3 สูตร: เพิ่มสมรรถภาพของต้นลำไย
Update: 2567/02/13 08:56:29 - Views: 142
กำจัดเพลี้ย ใน ชะอม เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/16 12:02:06 - Views: 3019
ถั่วลิสง ฝักใหญ่ ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ สตาร์เฟอร์ 0-0-6
Update: 2567/04/17 15:47:39 - Views: 76
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022