[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ฟ้าทะลายโจร
17 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 1 หน้า, หน้าที่ 2 มี 7 รายการ

โอกาสใหม่เพิ่มรายได้เกษตรกร ธุรกิจแปรรูปสมุนไพร
โอกาสใหม่เพิ่มรายได้เกษตรกร ธุรกิจแปรรูปสมุนไพร
ท่ามกลางการระบาดครั้งใหญ่ของไวรัสโควิด 19 ได้นำมาซึ่งโอกาสของ สมุนไพรไทย ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่าสมุนไพรไทยบางชนิดมีฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตของไวรัส หรือมีประโยชน์ในการรักษา อาทิ ฟ้าทะลายโจร ที่เรียกว่าผลิตกันมาไม่พอขาย จนถึงขั้นขาดตลาด และยังมีสมุนไพรไทยอีกหลายชนิดที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค ขณะเดี่ยวกัน เทรนด์การบริโภคของผู้คนรุ่นใหม่ ได้มองว่าสมุนไพรคือทางเลือกสำหรับการดูแลสุขภาพที่ปลอดภัย ไม่มีอันตราย เพราะทุกอย่างล้วนมาจากธรรมชาติ

ดังนั้นในบทความนี้เราจะมากล่าวถึงโอกาสทางธุรกิจของสมุนไพรไทยกัน ว่าจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร อีกทั้งการแปรรูปสมุนไพรไทยแบบไหนที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนยุคใหม่

สมุนไพรแปรรูปได้ในรูปแบบไหนบ้าง ?

1. การนำสารสกัดเข้มข้นจากสมุนไพร มาใช้ในการผลิตยาแผนโบราณ/แผนปัจจุบัน เครื่องสำอางและอาหารเสริม

2. การนำสมุนไพรออร์แกนิคมาแปรรูปให้ง่ายต่อการใช้งาน เช่น น้ำมันหอมระเหย น้ำมันนวด ผงสกัดเย็น เป็นต้น

3. การนำสมุนไพรมาเป็นเครื่องดื่มบำรุงร่างกาย

4. การนำสมุนไพรมาเป็นส่วนผสมหลักในผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย เช่น ครีมทาผิว ยาสระผม ยาสีฟัน ฯลฯ

5. การนำสมุนไพรสูตรต่างๆ มาอบแห้ง เพื่อจำหน่าย

ตลาดสมุนไพรเป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมยาเพิ่มขึ้น

จากข้อมูลกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ‘สมุนไพร’ มีมูลค่าการส่งออกอยู่ในหลักแสนล้านบาท โดยสมุนไพรไทยในกลุ่มอาหารเสริมมีมูลค่าการใช้และส่งออกรวมกว่า 80_000 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มสปา และผลิตภัณฑ์มีมูลค่าประมาณ 10_000 ล้านบาท และกลุ่มยาแผนโบราณตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยมีมูลค่าประมาณ 10_000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ได้มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าของอุตสาหกรรมยาจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ในส่วนมูลค่าตลาดสมุนไพรและสารสกัดจากธรรมชาติ เนื่องด้วยปัจจุบันคนรุ่นใหม่นิยมใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ตลาดสมุนไพรที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตของอุตสาหกรรมยาเติบโตพุ่งสูงขึ้นเป็น 20_000 ล้านบาทในปี 2563 ขณะที่ปัจจุบันแนวโน้มดังกล่าวยังเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง

หลายๆ เหตุผลที่ทำให้ผู้คนหันมาสนใจ สมุนไพร

1. ผู้คนเริ่มหันกลับมาให้ความสนใจในเรื่องของสุขภาพกันมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

2. ความเชื่อมั่นของผู้คน ว่าสมุนไพรนั้น จะช่วยบำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี ไม่มีสารตกค้าง เพราะเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมมาตั้งแต่โบราณ

3. ในปัจจุบันนี้เริ่มมีผลวิจัยออกมารองรับว่าสมุนไพรชนิดต่างๆ นั้น มีสรรพคุณในการรักษา ยับยั้ง บำรุง ร่างกายได้เป็นอย่างดีไม่แพ้ยาปฏิชีวนะ

4. ราคาของสมุนไพรแปรรูปนั้นถูกมาก! เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารเสริมหรือยาบำรุงร่างกายชนิดอื่นๆ

5. ผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูปหลายๆ เจ้า มีมาตรฐานรองรับว่าปลอดภัย ตรวจสอบแหล่งที่มาได้ ตรวจสอบย้อนกลับได้ ถูกต้องตามหลักสากลกำหนด

6. การซื้อหรือกลับมาให้ความสนใจสมุนไพรนั้น ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแรงช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทาง เพราะสมุนไพรส่วนใหญ่แล้ว ทางบริษัทแปรรูปสมุนไพรส่วนใหญ่จะไปรับซื้อมาจากเกษตรกรนั่นเอง

ตลาดต้องการวัตถุดิบที่เพียงพอและปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม การเติบโตของตลาดสมุนไพรยังคงมีอุปสรรคในปัจจุบัน คือเรื่องของคุณภาพ มาตรฐานการรับรอง และการยอมรับในวงกว้างซึ่งต้องนำงานวิจัยมาเข้าเพื่อพัฒนานวัตกรรมการแปรรูปสมุนไพรให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของมาตรฐาน ความปลอดภัย ซึ่งผู้บริโภคให้ความสำคัญเหนือสิ่งใด

ด้วยเหตุนี้เกษตรกรผู้ผลิต และแปรรูปในขั้นต้น จะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของกระบวนการผลิตที่ปลอดสารเคมี ซึ่งตลาดให้ความสำคัญมากต่อการทำเกษตรแบบอินทรีย์ ขณะเดียวกันปริมาณที่เพียงพอและต่อเนื่องก็เป็นอีกอุปสรรคของตลาดสมุนไพรไทยที่ต้องหาวิธีบริหารจัดการเรื่องนี้อย่างเหมาะสม

เพราะแม้ดีมานด์ในตลาดจะมีมาก แต่หากผู้ผลิตยังไม่สามารถบริหารจัดการด้านการผลิตที่เหมาะสม และตรงกับความต้องการของตลาด โอกาสในธุรกิจนี้ก็ยังจะไม่เกิดเป็นผลในเชิงรูปธรรมมากเท่าที่ควรจะเป็น

กระนั้น จากแนวโน้มก็เป็นโอกาสดีที่จะมีเกษตรกรส่วนหนึ่งหันมาปลูก หรือส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น ซึ่งจากกระแสโควิด 19 และการใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ทำให้นี่จะเป็นโอกาสของตลาดสมุนไพรไทย ที่เกษตรกร ผู้แปรรูปขั้นต้นสามารถนำมาสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นได้


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
เลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ต้นทุนต่ำ ทำกำไรตัวละ 3 บาทต่อวัน
เลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ต้นทุนต่ำ ทำกำไรตัวละ 3 บาทต่อวัน
ไข่ไก่ ถือเป็นสินค้าเกษตรที่มีความต้องการสูง แต่ปริมาณผลผลิตไข่ไก่ในแต่ละวันที่ป้อนเข้าสู่ตลาดก็สูงเช่นกัน เมื่อเทียบกับอัตราการบริโภคเฉลี่ยของคนไทยที่น้อยกว่าปริมาณผลผลิตต่อวัน เรียกว่าโอเวอร์ซัพพลาย เพราะฉะนั้นเมื่ออุปสงค์-อุปทานไม่สมดุลกันเช่นนี้ จึงเป็นที่มาของปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรต้องแบกรับภาวะขาดทุนอยู่บ่อยครั้ง เป็นสาเหตุทำให้เกษตรกรหลายรายปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยง จากเคยเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิดหรือเลี้ยงในกรงตับ เปลี่ยนมาเลี้ยงในระบบเปิดแทน เน้นปล่อยให้หาอาหารกินเองตามธรรมชาติ หรือบางฟาร์มที่พัฒนาไปกว่านั้นคือการเลี้ยงแบบระบบอินทรีย์ เพื่อลดคู่แข่งทางการตลาด เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นคนรักสุขภาพ แถมยังขายไข่ได้ราคาสูงกว่าไข่ที่เลี้ยงในระบบปิดทั่วไปอีกด้วย

คุณศุภกร ชินบุตร หรือ พี่จี๊ป เจ้าของบ้านสวนสานสุข-ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ฮาร์เวสท์ไลฟ์
คุณศุภกร ชินบุตร หรือ พี่จี๊ป เจ้าของบ้านสวนสานสุข-ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ฮาร์เวสท์ไลฟ์ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 126/10 หมู่ที่ 5 ตำบลอ่างหิน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี อดีตพนักงานประจำของฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผันตัวทำเกษตรผสมผสาน ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ สร้างระบบหมุนเวียนภายในสวน ลดต้นทุน สร้างรายได้เข้ากระเป๋าทุกวัน

พี่จี๊ป เล่าถึงจุดเริ่มต้นการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ให้ฟังว่า ก่อนที่จะลาออกจากงานประจำตนเองได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าก่อนแล้วว่าจะทำเกษตรอินทรีย์ แต่ยังไม่เจาะจงว่าจะต้องเลี้ยงไก่ เน้นพุ่งเป้าไปที่การปลูกพืชผสมผสาน ได้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี ก็ต้องประสบกับที่ประเทศไทยอยู่ในภาวะแล้งจัด ไม่มีน้ำสำหรับการเพาะปลูก ซึ่งในตอนนั้นที่สวนได้เลี้ยงไก่ไข่ไว้ ประมาณ 20 ตัว ไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือน แต่บริโภคเองยังไงก็บริโภคไม่หมด พี่ที่ทำเกษตรอินทรีย์ด้วยกันจึงแนะนำให้นำเอาไข่ไก่ส่วนที่เหลือไปขาย แล้วได้ผลตอบรับที่ดีมากๆ จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาวิธีการเลี้ยงไก่เพิ่มเติม และเริ่มเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์เป็นอาชีพสร้างรายได้หลักได้เป็นระยะเวลากว่า 6 ปี

สีของเปลือกไข่เป็นสีน้ำตาล เป็นที่ต้องการของตลาด
เจ้าของบอกว่า ปัจจุบันที่ฟาร์มของตนเองเน้นเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์เป็นอาชีพหลักสร้างรายได้ ส่วนการปลูกพืชผสมผสานถือเป็นการสร้างรายได้เสริมเป็นรายปี โดยตอนนี้ที่ฟาร์มเลี้ยงไก่อยู่ประมาณ 900 ตัว จากจุดเริ่มต้นมาจาก 20 ตัว ค่อยๆ ศึกษาทุกเรื่องที่เกี่ยวกับไก่ ทั้งในเรื่องของโรค และการจัดการต่างๆ แล้วจึงค่อยเพิ่มจำนวนการเลี้ยงขึ้น จาก 20 ตัว เพิ่มเป็น 50 ตัว 100 ตัว 400 ตัว จนปัจจุบันเลี้ยงอยู่ 900 ตัว

เลือกเลี้ยงไก่ไข่ สายพันธุ์ไฮบริด มีจุดเด่นคือ ให้ไข่ดก ฟองใหญ่ สีของเปลือกไข่เป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็นสีของไข่ไก่ที่ตลาดต้องการ ตอบโจทย์กับตลาดในเมืองไทย

แม่ไก่แข็งแรง สมบูรณ์ ทุกตัว

ได้เวลากินอาหาร
ซึ่งการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ถือเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เนื่องจากว่าไก่สายพันธุ์นี้ถูกออกแบบมาให้เลี้ยงในระบบโรงเรือนปิดหรือเลี้ยงในกรงตับ แต่พอนำมาเลี้ยงในระบบโรงเรือนเปิด เน้นเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติเป็นหลัก จำเป็นต้องใช้การดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ มีการแบ่งพื้นที่เลี้ยงในสัดส่วนที่เหมาะสม และได้มาตรฐานสำหรับการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ในพื้นที่ 1 ไร่ เลี้ยงไก่ได้ประมาณ 400 ตัว ประกอบกับในพื้นที่มีการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นอื่นๆ ไว้เพื่อให้ร่มเงากับไก่ และเจ้าของสวนสามารถเก็บผลผลิตจากไม้ผล ไปขายในการสร้างรายได้เพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง

วิธีการเลี้ยง

ปล่อยให้คุ้ยเขี่ยหาอาหารกินเองตามธรรมชาติ

ถึงเวลาให้อาหารเสริมวิตามินจากธรรมชาติ ทำให้ได้ไข่ไก่ที่มีคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นคาว
ที่ฟาร์มเริ่มเลี้ยงไก่ไข่จากลูกเจี๊ยบ ไม่ขังกรง มีพื้นที่ปล่อยให้ไก่สามารถแสดงพฤติกรรมทางธรรมชาติได้ คือการคุ้ยเขี่ยหาอาหารเองตามธรรมชาติ และอาหารที่ใช้เลี้ยงมีแหล่งที่มาเป็นอินทรีย์ทั้งหมด ปราศจากยาปฏิชีวนะ ไม่มีการใช้สารเคมีหรือฮอร์โมนเร่ง แต่จะใช้วิธีให้ผลไม้สุกหรือสมุนไพรตามธรรมชาติเป็นยาแทน ทำให้ได้ไข่ไก่ที่มีคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นคาว
ต้องมีโรงเรือนไว้สำหรับให้แม่ไก่หลบแดด หลบฝน ส่วนพื้นที่ปล่อยเป็นพื้นที่ไว้สำหรับให้ไก่ได้ออกกำลังกาย ได้คุ้ยเขี่ยหาอาหาร ได้นอนคลุกฝุ่น จะทำให้ไก่มีสุขภาพที่ดี และหมั่นสังเกตพฤติกรรมของไก่เป็นประจำ

การเอาใจใส่ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด จะเป็นสัตว์บกหรือสัตว์น้ำล้วนแล้วต้องการการเอาใจใส่เหมือนกันเพราะเราปฏิเสธไม่ได้ว่าภาคการเกษตรแตกต่างจากภาคอุตสาหกรรมอย่างหนึ่งคือ ภาคอุตสาหกรรมเมื่อเราใส่อินพุตไปเท่าไหร่ เอาต์พุตจะได้ออกมาเท่ากับที่เราคำนวณไว้ แต่ภาคเกษตรกรรมบางทีเราใส่อินพุตเข้าไป แต่เอาต์พุตที่ได้อาจจะติดลบ หรืออาจจะบวกมากกว่าปกติ มันขึ้นอยู่กับทั้งปัจจัยสภาพแวดล้อม กับการดูแลเอาใจใส่ เพราะว่าสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิต พอเราไม่เอาใจใส่บางทีเขาก็มีการเจ็บป่วย มีการล้มตาย หรือบางทีทำให้ทั้งฟาร์มเกิดโรคระบาด มันก็ส่งผลเสียในระยะยาว หรือส่งผลเสียทั้งระบบได้ เพราะฉะนั้นเรื่องการเอาใส่ใจ หรือการสังเกตพฤติกรรมของเขาเป็นเรื่องสำคัญ

อาหาร ให้วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หลังจากให้อาหารเช้าเสร็จจะมีการล้างทำความสะอาดถังให้น้ำ และเปลี่ยนน้ำให้ไก่ รวมถึงคอยสังเกตสภาพอากาศในแต่ละวัน หากวันไหนอากาศร้อนจะเปิดสปริงเกลอร์รดน้ำบนหลังคาเพื่อช่วยลดอุณหภูมิ หรือช่วงไหนอากาศเย็นจะมีการเปิดไฟในโรงเรือน เพื่อเพิ่มความอบอุ่น หากเป็นช่วงที่ไก่อยู่ในช่วงออกไข่ ที่ฟาร์มจะเริ่มเก็บไข่ตั้งแต่ในช่วงสายถึงเที่ยง เพราะจะเป็นช่วงที่ไข่ออกเยอะ หลังจากเก็บไข่เสร็จจะนำมาเช็ดทำความสะอาด คัดไซซ์ และเตรียมส่งให้ลูกค้า

สูตรอาหารลดต้นทุน ไก่แข็งแรง เน้นใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติเป็นหลัก ประกอบไปด้วย 1. ปลายข้าวหรือเปลือกข้าว 50 เปอร์เซ็นต์ 2. เปลือกหอยป่น 5 เปอร์เซ็นต์ 3. ปลาป่น 5 เปอร์เซ็นต์ 4. รำข้าว 10 เปอร์เซ็นต์ 5. สมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด ขมิ้นชัน สับผสมรวมกัน ประมาณ 0.5 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับการให้ผลไม้สุกและหญ้าสดลงไปด้วย

แม่ไก่แข็งแรง สมบูรณ์ ทุกตัว
ระยะเวลาในการเลี้ยง ประมาณ 5-6 เดือน หรือประมาณ 20 สัปดาห์ เริ่มเก็บไข่ได้ในปริมาณเฉลี่ย 60-70 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 500 ฟองต่อวัน หากเทียบกับปริมาณผลผลิตของไก่ที่เลี้ยงเชิงอุตสาหกรรม จำนวนของที่ฟาร์มจะเก็บได้น้อยกว่า เนื่องจากการเลี้ยงในอุตสาหกรรมจะมีการเลี้ยงแบบขังกรง และมีการให้อาหารเสริมเพื่อเร่งให้ไข่ดก มีข้อเสียคือไข่จะมีอายุประมาณ 1-1 ปีครึ่ง เมื่อเทียบกับไก่ที่เลี้ยงแบบอินทรีย์จะให้ไข่ได้นานถึง 2 ปี ถึงครบกำหนดปลดระวาง

ระบบจัดการ Zero Waste ที่ฟาร์มจะมีจุดเด่นในเรื่องการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนภายในสวน หรือ Zero Waste ทำให้ในแต่ละวันแทบจะไม่มีขยะหรือของเสียออกจากฟาร์มเลย ด้วยวิธีการนำของเสียจากการผลิตสิ่งหนึ่ง ไปเป็นปัจจัยการผลิตอีกสิ่งหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ที่ฟาร์มจะมีการทำนาปลูกข้าวไว้กิน และใช้เป็นวัตถุดิบในการเลี้ยงไก่ จำนวน 7 ไร่ ที่มีกระบวนการหลังจากการทำนาเสร็จ จะมีฟางข้าวและแกลบที่เป็นเปลือกข้าวเหลือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำกลับมาใช้เลี้ยงไก่ได้ทั้งหมด คือนำปลายข้าวหรือรำข้าวมาเป็นอาหารให้ไก่ ส่วนฟางข้าวนำมาเป็นวัสดุรองพื้นหรือทำรังไว้ให้สำหรับแม่ไก่ฟักไข่ได้ทั้งหมด

และส่วนของเสียจากไก่คือมูลไก่ที่ถ่ายผสมออกมากับแกลบ ก็จะนำกลับไปใช้เป็นปุ๋ยในนาข้าว และตอซังจะใช้วิธีการหมักกับมูลไก่แล้วไถกลบ จะไม่มีการเผาเกิดขึ้น และไม่มีการสร้างมลพิษทางอากาศ

ข้อดีที่เห็นได้ชัด คือ

ช่วยลดต้นทุนได้อย่างแน่นอนเพราะว่าปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่ต้องซื้อ เช่น ปุ๋ย หรืออาหารสัตว์ นับเป็นต้นทุนทั้งหมด แต่ถ้ามีการจัดสรรพื้นที่ให้พอเหมาะทั้ง 2 ทาง ทั้งการปศุสัตว์และการปลูกพืช แล้วทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในฟาร์มเราแทบจะไม่ต้องซื้อปัจจัยการผลิตจากภายนอกเลย ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงไก่มีค่อนข้างน้อยมากๆ
ทำให้เรารู้ถึงแหล่งที่มาของปัจจัยการผลิต ว่าปัจจัยการผลิตจากฟาร์มไม่ปนเปื้อนสารเคมีหรือไม่ปนเปื้อนสารตกค้างใดๆ ปลอดภัยทั้งกับผู้บริโภค 100 เปอร์เซ็นต์
ต้นทุนการดูแล เฉลี่ยประมาณ 1_800 บาทต่อวัน ราคาขายของไข่อินทรีย์ของที่ฟาร์มจะขายได้ราคาเฉลี่ยฟองละประมาณ 6 บาท ได้ราคาสูงกว่าไข่ที่เลี้ยงในระบบฟาร์มปิด คิดเป็นรายได้ต่อวันประมาณ 3_000 บาท หักต้นทุนออกประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ ตกค่าดูแลตัวละ 3-3.50 บาท ที่เหลือคือกำไร

ความแตกต่างระหว่างไข่อินทรีย์กับไข่ที่เลี้ยงระบบปิด

สีของไข่แดงจะแตกต่างจากไข่ทั่วไปตามท้องตลาด เพราะอาหารที่ใช้เลี้ยงเป็นอาหารจากธรรมชาติ ไม่มีสารเร่งสีไข่แดง จึงทำให้สีของไข่แดงจะออกเหลืองถึงเหลืองส้ม จะไม่ถึงกับส้มแดง
สีของเปลือกมีสีหลากหลาย มีทั้งสีเข้มและสีอ่อนผสมกัน มีผลมาจากการเลี้ยงแบบปล่อย ไก่แต่ละตัวคุ้ยอาหารตามธรรมชาติได้มากน้อยต่างกัน ส่งผลทำให้สีของเปลือกไข่เปลี่ยนไปตามแต่ละวัน ซึ่งข้อนี้จะต้องทำความเข้าใจกับลูกค้าให้เข้าใจด้วย

ไข่ 500 ฟอง ขายหมดทุกวัน
เน้นส่งโรงแรม ร้านอาหาร

พี่จี๊ป อธิบายให้ฟังว่า สำหรับการหาตลาดไม่เฉพาะแค่ไข่ไก่อินทรีย์เท่านั้น แต่รวมไปถึงในส่วนของสินค้าเกษตรอินทรีย์หรือสินค้าเกษตรทางเลือกชนิดอื่นๆ จำเป็นต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายลูกค้าให้ตรงกลุ่ม แล้วค่อยเจาะไปกลุ่มเป้าหมายนั้น โดยตลาดหลักของที่ฟาร์มตอนนี้เน้นส่งสินค้าให้กับโรงแรมและร้านอาหารเป็นหลัก รวมถึงการมีหน้าร้านขายประจำอยู่ที่ตลาดสุขใจสวนสามพราน ขายทุกวันเสาร์-อาทิตย์

ถ้าหากท่านใดสนใจการเลี้ยงไก่ไข่ถือเป็นอาชีพที่น่าสนใจ อย่างผมไม่ได้เลี้ยงแค่ไก่อย่างเดียว แต่ยังมีการปลูกพืชในรูปแบบของเกษตรทางเลือกทุกด้าน ไม่ว่าจะปลูกผักอินทรีย์ ผลไม้อินทรีย์ หรือการแปรรูปจากผลไม้หรือผักอินทรีย์ เพราะผมมองว่าในอนาคตคนจะสนใจในสินค้าทางเลือกมากขึ้น ในเรื่องของเทรนด์รักสุขภาพ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้นในการทำเกษตรที่เป็นทางเลือกพวกนี้ มันตอบโจทย์ทั้งในเรื่องของสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาชุมชนในเรื่องของสังคมด้วย เพราะคนสมัยใหม่ไม่ได้มองแค่ตัวสินค้าอย่างเดียว แต่เขามองลึกเข้าไปถึงว่าสินค้าตัวนี้ช่วยอะไรอย่างอื่นเพิ่มได้อีกไหม นอกจากแค่ซื้อกิน แต่สามารถช่วยพัฒนาชุมชน ช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อมด้วยไหม พี่จี๊ป กล่าวทิ้งท้าย


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
โรคและแมลงของทานตะวัน
โรคและแมลงของทานตะวัน
โรคของทานตะวัน มีดังนี้

1.โรคโคนเน่าหรือต้นเน่า เกิดจากเชื้อราในดิน จะระบาดมากฤดูฝนหรือช่วงที่มีน้ำค้างและความชื้นสูง อาการเริ่มแรก จะพบใบมีสีเหลือง เหี่ยว และแห้งตายทั้งต้น เมื่อถอนต้นขึ้นมาดู จะพบว่าโคนต้นและรากเน่าเป็นสีน้ำตาลหรือดำ พบเส้นใยสีขาวอยู่ตามโคนต้นและดิน การป้องกัน ต้องไม่ปลูกให้ชิดกันเกินไปเพื่อไม่ให้เกิดการบังแสง เมื่อพบต้นที่เป็นโรคให้ตัดทำลายทิ้งนำไปเผา จากนั้นใช้ปูนขาวผสมน้ำราดลงไปในดินอีกครั้ง และอาจใช้วิธีปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เพื่อตัดวงจรของโรค โดยให้ปรับปรุงดินด้วยปูนขาวและปุ๋ยคอก

2.โรคใบจุดหรือใบไหม้ เกิดอาการใบจุดเล็กสีน้ำตาล มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล จุดที่ขยายใหญ่มีรูปร่างไม่แน่นอน และทำให้เกิดใบไหม้ ต่อมาแผลจุดจะแพร่กระจายไปทุกส่วนของต้น โรคนี้เกิดจากเชื้อรา ระบาดมากช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่มีน้ำค้างมาก หากเป็นมากจะไม่ให้ผลผลิตเลย การป้องกัน ให้หลีกเลี่ยงการเก็บเมล็ดพันธุ์ที่เป็นโรคไปปลูกและตัดทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้ง ควรกำจัดซากที่เป็นโรคด้วยการเผาหรือนำออกจากแปลง

3.โรคเน่าดำ โรคนี้จะทำให้ลำต้นมีขนาดเล็กกว่าปกติ ใบเหี่ยวลู่ลงแห้งติดคาต้น ลำต้นส่วนที่ติดผิวดิน เกิดแผลสีน้ำตาลดำลุกลามจากโคนต้นไปตามส่วนต่างๆ ของลำต้นและราก เมื่อผ่าดูภายในจะพบฝุ่นผงเมล็ดกลมเล็กสีดำ หรือเทาดำ กระจายอยู่ในเนื้อเยื่อพืชทั่วทุกส่วน และปิดกั้นขวางทางลำเลียงน้ำและอาหาร ทำให้ต้นทานตะวันเหี่ยวแห้งตาย ให้ทำการถอนและเผาทำลายต้นทานตะวันที่เป็นโรคนี้ ไม่ควรปล่อยให้ต้นทานตะวันขาดน้ำรุนแรงในช่วงที่อากาศร้อนจัด และความชื้นในดินต่ำ

4.โรคใบหงิก จะมีลักษณะใบหงิกงอเป็นรูปถ้วยหงาย ตั้งแต่ใบยอดลงมาจนถึงกลางต้น ด้านล่างใบ จะพบลักษณะของเส้นกลางใบและเส้นแขนงโป่งพองจนเห็นได้ชัด บริเวณเนื้อใบจะมีเส้นใบฝอยสีเขียวเข้มกระจายทั่วไป ทำให้ใบหดย่น ต้นแคระแกร็นจนไม่สามารถให้ดอก ในกรณีที่ให้ดอก ดอกอาจมีรูปร่างผิดปกติ เมื่อพบทานตะวันที่เป็นโรค ให้ถอนออกจากแปลงปลูก แล้วนำไปเผาทิ้ง

แมลงศัตรูที่สำคัญ และการป้องกันกำจัด

1.หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทู้ผัก และหนอนม้วนใบส้ม หนอนเหล่านี้ จะกินเมล็ด และเจาะจานดอก ทำให้ดอกเน่าเสียหาย มีการทำลายที่รุนแรงมาก และผลผลิตจะเสียหายมาก การป้องกันกำจัด วิธีที่ดีที่สุดคือ ดูแลรักษาต้นทานตะวันให้เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง หมั่นกำจัดวัชพืชทำความสะอาดต้น ด้วยการนำใบแก่ที่ร่วงหล่นออกไปให้พ้นบริเวณต้น กำจัดต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลาย หรือฉีดพ่นน้ำหมักสะเดา หรือสมุนไพรอื่นๆ ที่มีฤทธิ์ในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น ตะไคร้หอม ข่า ฟ้าทะลายโจร พริกขี้หนู หรือน้ำหมักชีวภาพ เพื่อขับไล่แมลงศัตรูพืชทุกๆ สัปดาห์ ควรทำในช่วงเช้า หรือหลังฝนตกหนัก และควรมีการปลูกพืชหมุนเวียนบำรุงดินชนิดอื่น เพื่อตัดวงจรของโรคแมลง

2.เพลี้ยจักจั่น ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยชอบดูดกินน้ำเลี้ยงที่ด้านใต้ใบ ทำให้ใบพืชหด หงิกงอ ขอบใบม้วนขึ้นด้านบน ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ขอบใบแห้ง หรือใบไหม้ ผลผลิตลดลง

การป้องกันกำจัดวัชพืช ก็เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรคและแมลงต่างๆ ด้วย ให้เก็บเศษซากวัชพืชออกจากแปลงให้หมด ตลอดช่วงของการปลูก ตั้งแต่ก่อนปลูกทานตะวัน จนถึงการเก็บเกี่ยว อาจใช้แรงงานคน หรือเครื่องจักรกล ทำได้เมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วัน แล้วให้คลุมดินด้วยเศษซากพืชหรือฟางข้าวทันที อย่างทั่วถึง นะคะ


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:3413
ทานตะวัน:ไม้ดอกยอดนิยมปลูกได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมี
ทานตะวัน:ไม้ดอกยอดนิยมปลูกได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมี
ทานตะวันเป็นไม้ล้มลุกอายุ 1 ปี ใบรูปกลมรี โคนใบโค้งเว้าเป็นรูปหัวใจปลายใบแหลมขอบใบหยักแบบฟันปลา หลังและใต้ท้องใบมีขนสาก ดอกออกเป็นช่อหรือกระจก กลีบดอกวงในมีสีเหลือง กลีบดอกวงนอกสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองทอง ล้อมรอบเกสรขนาดใหญ่คล้ายจานเป็นไม้ดอกที่มีลักษณะพิเศษคือ ดอกจะหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์เสมอ

พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก เช่น พันธุ์คัลเลอร์ แฟชั่น (Color Fashion) อิตาเลี่ยน ไวท์ (Italian White) ซึ่งเป็นชนิดที่แตกกิ่งก้านสาขา มีลำต้นสูงประมาณ 4-5 ฟุต ขนาดดอกประมาณ 3-4 นิ้ว

การขยายพันธุ์

ทานตะวันขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ซึ่งนิยมเพาะเมล็ดในแปลงปลูกโดยตรง ทานตะวันสามารถปลูกได้ดีในดินทุกชนิด ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี และชอบแสงแดดจัด

การเลือกสถานที่ปลูก

สถานที่ปลูกทานตะวันควรเป็นที่โล่งแจ้ง ได้รับแสงอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าวันละ 8-10 ชั่วโมง หากปลูกในที่ที่ได้รับแสงน้อยจะให้ผลผลิตต่ำ ขนาดดอกเล็ก และมักพบว่าต้นอ่อนแอต่อโรคได้ง่าย

การเตรียมแปลงปลูก

ก่อนปลูกควรมีการเตรียมดินหรือปรับปรุงดินให้มีคุณภาพ มีธาตุอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโต โดยขุดดินให้ลึกประมาณ 1 ฟุต แล้วตากดินเพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลงประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ย่อยดินให้ละเอียดใส่อินทรีย์วัตถุที่สลายตัวแล้วอย่างเช่น เศษฟาง เปลือกถั่วลิสง ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยพืชสด เพื่อให้ดินมีความร่วนซุย สามารถเก็บความชื้นและมีการระบายน้ำดี

ก่อนเพาะเมล็ดให้นำเมล็ดไปแช่ในน้ำสกัดชีวภาพก่อนนำไปปลูก จะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วและมีความแข็งแรงขึ้น การเพาะเมล็ดทานตะวันให้หยอดเมล็ดหลุมละ 2 เมล็ด ฝังลึกประมาณ 2 นิ้ว ระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 25×30 ซม. ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 70-75 ซม. ก่อนปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยชีวภาพที่ให้ธาตุอาหารหลักได้แก่ ไนโตรเจน โปแตสเซียมและฟอสฟอรัสครบถ้วน หลังจากกลบดินเรียบร้อยแล้วควรคลุมแปลงปลูกและรดน้ำให้ชุ่ม การคลุมแปลงจะช่วยรักษาความชื้นรักษาอุณหภูมิและช่วยป้องกันวัชพืช วัสดุที่ใช้คลุมแปลง เช่น ฟางข้าว เศษหญ้าแห้ง เปลือกถั่ว หรือวัสดุอื่นที่มี หลังจากเมล็ดงอกแล้วประมาณ 10 วัน ให้ถอนต้นกล้าออกเหลือเพียงหลุมละ 1 ต้น เพื่อให้ทานตะวันผลิตดอกที่มีคุณภาพต่อไป

การให้น้ำ

ระยะแรกควรให้น้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เพื่อรักษาความชื้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญให้เมล็ดงอก และเจริญเติบโตได้สมบูรณ์ หลังจากต้นตั้งตัวได้แล้วหรือมีความแข็งแรงเพียงพออาจให้น้ำได้ 1-2 วันต่อครั้งก็ได้

การให้ปุ๋ย

หลังจากปลูกประมาณ 30 วัน ให้ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของลำต้น กิ่ง และใบ ในระยะนี้หากทานตะวันขาดไนโตรเจนจะโตช้า ใบมีสีเหลือง กิ่งก้านยาว เล็ก และอ่อนแอ เมื่อทานตะวันเริ่มเกิดตาดอกจึงใส่ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูงเพื่อเร่งดอก หลังใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรรดน้ำตามทันที หรือฉีดพ่นด้วยน้ำหวานหมักจากผลไม้ ใช้ฉีดพ่นแบบฮอร์โมนพืช ให้ผลในการบำรุงดีมากโดยเฉพาะในช่วงที่พืชกำลังออกดอก

การตัดดอก

การตัดดอกควรทำเมื่อดอกยังไม่บานเต็มที่หรือบานประมาณ 70%หรือสังเกตว่าส่วนใจกลางของดอกยังมีสีเขียวอยู่ วิธีตัดให้ตัดชิดโคนกิ่งหรือให้มีความยาวของก้านดอกประมาณ 10-12 นิ้ว การตัดดอกควรตัดในช่วงเช้า

โรค-แมลงและการป้องกันกำจัด

โรคทานตะวัน

โรคทานตะวันที่สำคัญได้แก่ โรคโคนเน่าหรือต้นเน่า โรคใบจุด ซึ่งโรคเหล่านี้ผู้ปลูกจะทราบก็ต่อเมื่อเชื้อได้เข้าทำลายต้นแล้ว ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ใช้เชื้อโรคเข้าทำลายต้นได้

1. โรคโคนเน่าหรือต้นเน่า

เกิดจากเชื้อราในดิน ระบาดมากในช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่มีน้ำค้าง มีความชื้นสูง ๆ มักเกิดกับต้นแก่มากกว่าต้นอ่อน อาการเริ่มแรกจะพบใบมีสีเหลือง เหี่ยว และแห้งตายทั้งต้น เมื่อถอนต้นขึ้นมาดูจะพบว่าโคนต้นและรากเน่าเป็นสีน้ำตาลหรือดำ พบเส้นใยสีขาอยู่ตามโคนต้นและดิน

การป้องกัน

ไม่ปลูกทานตะวันให้ชิดกันเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบังแสงอันเป็นเหตุให้ต้นมีความชื้นง่ายต่อการเข้าทำลายของโรค เมื่อพบที่เป็นโรคให้ตัดทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้งเสีย และอาจใช้วิธีปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียนกับทานตะวันเพื่อตัดวงจรของโรคให้หายไป โดยให้ปรับปรุงดินด้วยปูนขาวและปุ๋ยคอก สำหรับต้นที่เป็นโรคให้ถอนและขุดดินในหลุมไปเผา จากนั้นใช้ปูนขาวผสมน้ำราดลงไปในดินอีกครั้ง

2. โรคใบจุด

เกิดจากเชื้อรา เกิดได้ตั้งแต่ระยะต้นอ่อนจนถึงตัดดอก อาการเริ่มแรกจะมีจุดสีน้ำตาลเข้มและมีสีเหลืองล้อมรอบ มักเกิดกับใบแก่มากกว่าใบอ่อน ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม หรือช่วงที่มีน้ำค้างมาก หากเป็นมากจะทำให้ทานตะวันไม่ให้ผลผลิตเลย

การป้องกัน

ให้หลีกเลี่ยงการเก็บเมล็ดพันธุ์ที่เป็นโรคไปปลูก และตัดทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้งเสีย

แมลงศัตรูทานตะวัน

แมลงศัตรูทานตะวันที่สำคัญ ได้แก่ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทู้ผัก หนอนม้วนใบส้ม

การป้องกันกำจัด

วิธีที่ดีที่สุดคือดูแลรักษาต้นทานตะวันให้เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง หมั่นกำจัดวัชพืชทำความสะอาดต้นด้วยการ นำใบแก่ที่ร่วงหล่นออกไปให้พ้นบริเวณต้น กำจัดต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลาย หรือฉีดพ่นน้ำหมักสะเดาหรือสมุนไพรอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์ในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น ตะไคร้หอม ข่า ฟ้าทะลายโจร พริกขี้หนู หรือน้ำหมักชีวภาพ เพื่อขับไล่แมลงศัตรูพืชทุก ๆ สัปดาห์ ก่อนที่จะมีโรคแมลงรบกวน โดยควรทำในช่วงเช้าหรือหลังฝนตกหนัก และควรมีการปลูกพืชหมุนเวียนบำรุงดินชนิดอื่น เพื่อตัดวงจรของโรคแมลง และให้มีการใช้ประโยชน์จากดินอย่างเต็มที่ เพราะพืชแต่ละชนิดมีรากลึกและต้องการธาตุอาหารแตกต่างกัน


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
ข้อมูลรูปภาพจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:3438
6 สมุนไพรไทย สมุนไพรพื้นที่บ้านช่วยต้านโควิด 19
6 สมุนไพรไทย สมุนไพรพื้นที่บ้านช่วยต้านโควิด 19
ซึ่งจากการศึกษาวิจัย พบว่า ฟ้าทะลายโจร มีกลไกต้านไวรัส ป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์_ ลดการแบ่งตัวไวรัสภายในเซลล์_ เพิ่มภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับไวรัส_ ลดการอักเสบที่ปอดจากการติดเชื้อไวรัส

กระชายขาว สมุนไพรต้านโควิด

สมุนไพรอย่างที่ 2 ที่แพทย์แนะนำคือ กระชายขาว โดยจากการศึกษาพบกว่า สาร panduratin ของกระชายขาวมีฤทธิ์ในการต้านไวรัสทั้งในระยะก่อนและหลังการติดเชื้อ และยังมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเชื้อเอดส์ ต้านไวรัสไข้เลือดออกในกลุ่ม Flaviviridae family และยับยั้งเชื้อไวรัส picornavirus ซึ่งก่อโรคมือเท้าปาก นอกจากนี้ยังพบว่า ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อีกด้วย

ขิง สมุนไพรต้านโควิด

สมุนไพรตัวที่ 3 คือ ขิง ซึ่งมีรสเผ็ดร้อนเป็นสมุนไพรพื้นบ้านมักนำมารับประทานแก้หวัด แต่จากการศึกษาพลว่า สารสำคัญ Zingerol และ Gingerol สามารถแย่งจับกับตำแหน่ง main protease ที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ได้

มะขามป้อม สมุนไพรต้านโควิด

สมุนไพรตัวที่ 4 คือ มะขามป้อม ซึ่งเป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ โดยพื้นบ้านใช้รักษาหลอดลมอักเสบ วัณโรคปอด หอบหืด ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยสารสำคัญในมะขามป้อมสามารถจับกับขาโปรตีนของไวรัสโควิด-19 และตัวรับ ACE2 ซึ่งมีบทบาทการผ่านเข้าเซลล์ปอด และยังเข้าจับกับเชื้อในหลายตำแหน่งที่มีผลต่อการยับยั้งการสร้างและการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสได้

กระเทียม สมุนไพรต้านโควิด

สมุนไพรตัวที่ 5 คือ กระเทียม ซึ่งมีฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน เพราะสาร allicin ในกระเทียม มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ป้องกันการหลั่งสาร cytokine ที่ทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาว และช่วยเพิ่มแอนติบอดี้ ชนิด immunoglobulin A (IgA) ซึ่งเป็นด่านแรกของภูมิคุ้มกันในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการทำงานของ B-cell lymphocyte รวมทั้งกระตุ้นการหลั่งของสาร interferon ซึ่งเป็นสารที่สร้างในระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต้านไวรัส

ขมิ้นชัน สมุนไพรต้านโควิด

สมุนไพรตัวที่ 6 คือ ขมิ้นชัน ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสารสำคัญของขมิ้นชัน และdemethoxycurcumine สามารถแย่งจับกับตำแหน่งของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ที่จะเข้าสู่เซลล์ปอด และตำแหน่งที่มีผลยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้

และนี่เป็นเพียงตัวอย่างสมุนไพรพื้นบ้านซึ่งเป็นภูมิปัญญารุ่นต่อรุ่นที่มีการส่งต่อมาถึงปัจจุบัน และยิ่งมีการศึกษาวิจัยก็ยิ่งทำให้เห็นชัดว่าสมุนไพรไทย ก็สามารถต่อยอดจนเป็นที่ยอมรับได้อย่างกว้างขวาง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
การปลูกฟ้าทะลายโจร
การปลูกฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจร (Kariyat_ The Creat) สำหรับในประเทศไทยมีชื่อเรียกเฉพาะแตกต่างกันไปในแต่ละภาค เช่น หญ้ากันงู เมฆทะลายฟ้าสะท้าน สามสิบดี ฟ้าสาง หรือน้ำลายพังพอน

ลักษณะเป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร มีรสขมทุกส่วน กิ่งใบเป็นสี่เหลี่ยม ใบมีสีเขียวเข้มผิวมัน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ และมีเส้นสีม่วง-แดงพาดอยู่ มีผลเป็นฝัก เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล ด้านในมีเมล็ดจำนวนมาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เมื่อต้นมีอายุประมาณ 3-5 เดือน ใช้ได้ทั้งต้น ใบสด และใบแห้ง

สายพันธุ์ฟ้าทะลายโจรที่นำมาปลูกมี 3 สายพันธุ์ด้วยกัน คือ สายพันธุ์จาก อ.กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เป็นสายพันธุ์ที่ให้ค่าน้ำหนักสดเฉลี่ยต่อต้นสูงสุด นอกเหนือจากนี้ก็มีสายพันธุ์จากระยอง และสายพันธุ์จากศรีสะเกษ

เทคนิคการปลูกและการดูแลรักษาฟ้าทะลายโจร

1. การเตรียมการก่อนปลูก

1.1 การเตรียมดิน โดยการขุดหรือไถพรวนเพื่อให้ดินร่วนซุย และตากดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงทำการไถแปร และปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก

1.2 การเตรียมพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใช้เมล็ดจากฝักแก่จัด เมล็ดต้องมีสีน้ำตาลแดง ลักษณะสมบูรณ์ ปราศจากโรคและแมลง เนื่องจากเมล็ดมีเปลือกแข็ง ก่อนปลูกแช่เมล็ดในน้ำที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 6-12ชั่วโมง เพื่อให้น้ำซึมผ่านเมล็ดและเมล็ดสามารถงอกได้

การปลูก ฟ้าทะลายโจรสามารถปลูกด้วยเมล็ดหรือต้นกล้า มี 4 วิธี คือ

1. นำเมล็ดผสมทรายหยาบอัตรา 1:1-2 ส่วน แล้วหว่านในแปลงปลูก

2. โรยเมล็ดเป็นแถวแนวขวาง แต่ละแถวห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วกลบด้วยดินบาง ๆ

3. เพาะต้นกล้าในถาดเพาะ แล้วย้ายกล้ามาปลูกในแปลง เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 30 วัน

4. เพาะต้นกล้าในแปลง การเตรียมแปลงเพาะต้นกล้าใช้วิธีเดียวกับการทำแปลงปลูก โดยรองพื้น

ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร



3. การดูแลรักษา

3.1 การใส่ปุ๋ย

แบ่งใส่เป็นระยะ ดังนี้ อายุ 60 วัน ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 125 กรัมต่อต้น หรือ 300 - 400 กรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร และเมื่ออายุ 90 - 110 วัน ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 300 - 500 กรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยวิธีการหว่านให้กระจายสม่ำเสมอกัน หลังหว่านปุ๋ยแล้วต้องรดน้ำทันทีอย่าให้ปุ๋ยค้างที่ใบ

3.2 การให้น้ำ

ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง ตั้งแต่ปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยว ในช่วงที่มีแดดจัดหรือหน้าร้อนควรรดน้ำ 2 ครั้งต่อวัน ทั้งเช้าและเย็น หากมีแดดไม่จัดมาก รดน้ำวันละครั้งเฉพาะช่วงเย็นก็ได้ เมื่อต้นอายุประมาณ 2 เดือนสามารถลดการให้น้ำได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

3.3 การป้องกันและแก้ไข ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช

โรคฟ้าทะลายโจร ได้แก่ โรคโคนเน่าและรากเน่า เกิดจากเชื้อรา หากพบให้ถอนทำลายทันที โรคแอนเทรคโนส พบตรงกลางหรือปลายใบ หากพบให้ตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้ง (โรคที่เกิดขึ้นกับฟ้าทะลายโจรนั้น ไม่พบว่าทำความเสียหายขั้นรุนแรง)

แมลงศัตรูฟ้าทะลายโจร ไม่พบแมลงชนิดใดที่ทำความเสียหายรุนแรง อาจพบหนอนผีเสื้อได้บ้าง ก็สามารถจับไปทำลายทิ้งได้



4. การปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว

- เก็บเกี่ยวในช่วงที่พืชออกดอกตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบาน 50% ซึ่งพืชจะมีอายุประมาณ 110 - 150 วัน เป็นช่วงที่มีสารสำคัญสูง โดยพบมากที่ส่วนยอดและใบ

- วิธีการเก็บเกี่ยวให้ตัดทั้งต้น ให้เหลือตอสูงประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร เพื่อให้เจริญให้ผลผลิตต่อไป ใช้เวลาประมาณ 2 - 3 เดือนจึงสามารถเก็บเกี่ยวได้อีกครั้ง

- การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว นำไปคัดแยกสิ่งปลอมปน เช่น วัชพืชที่ปะปนมาและล้างให้สะอาด ตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 3 - 5 เซนติเมตร ผึ่งให้แห้ง ทำแห้งโดย ตากแดดบนลานตากยกพื้นมีวัสดุรองรับที่สะอาด หรือใช้เครื่องอบแห้งแบบลมร้อน ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ใน 8 ชั่วโมงแรก และลดอุณหภูมิเหลือ 40 - 45 องศาเซลเซียส อบต่อจนแห้งสนิท

5. ข้อมูลอื่นๆ

สารสำคัญออกฤทธิ์ มีสารสำคัญประเภท ไดเทอร์ฟีน แลคโตน (diterpene lactones) ได้แก่ แอนโดรการโฟไลด์ (andrographolide) มีฤทธิ์ลดไข้และต้านอักเสบ และ ดีออกซีแอนโดรการโฟไลด์ (deoxyandrographolide) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของท้องร่วง มาตรฐานของฟ้าทะลายโจรที่ใช้ในการผลิตยาจะต้องมี andrographolide ไม่น้อยกว่า 6% โดยน้ำหนัก

ที่มาของข้อมูล: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
การควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืช ด้วยสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ
การควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืช ด้วยสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ
ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมก าลังเข้าขั้นวิกฤติ สืบเนื่องมาจากการกระท าของมนุษย์
โดยเฉพาะการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต และการก าจัดศัตรูพืช ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อ
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน น้ า และระบบ
นิเวศวิทยา การท ากสิกรรมธรรมชาติ เพื่อผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัย ปลอดภัย และ
ประหยัดต้นทุนนั้น เกษตรกรจ าเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และหันมาใช้สารสกัดจาก
สมุนไพรทดแทนถึงแม้ว่าสารสกัดสมุนไพร จะมีผลในการท าลายแมลงที่เป็นประโยชน์พวกแมลงตัว
ห้ า หรือแมลงตัวเบียนบ้างก็ตาม แต่ก็น้อยกว่าสารเคมีเพราะพิษจากสมุนไพรสลายตัวได้รวดเร็ว
และไม่ตกค้างนาน การใช้สารสมุนไพรทดแทนการใช้สารเคมี จะมีความจ าเป็นในช่วงแรก ๆ ของ
การเปลี่ยนแปลง เพราะเกษตรกรใช้สารเคมีติดต่อกันมาเป็นเวลานาน จนท าให้ความสมดุล
ระหว่างแมลงศัตรูพืช กับแมลงที่เป็นประโยชน์สูญเสียไป เมื่องดสารเคมี และใช้สารสมุนไพร
ทดแทนไปสักระยะจนสามารถอนุรักษ์ และเพิ่มจ านวนประชากรของแมลงที่เป็นประโยชน์ได้มาก
จนเกิดความสมดุลภายในแปลงได้แล้วจึงค่อย ๆ ลดการใช้สารสมุนไพรลง โดยใช้เฉพาะเท่าที่
จ าเป็นเท่านั้น การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในคน สัตว์ และพืช การน าสมุนไพรมาใช้ในการ
ควบคุมโรคนั้น ควรมีความเข้าใจพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุนานาชนิด ที่
จะน ามาใช้ปรุงเป็นยาเสียก่อน โดยสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดนั้นจะขึ้นอยู่กับรสของสมุนไพร
นั้น ๆ รสยาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1 ยารสประธาน หมายถึง ยาที่ปรุงเป็นต ารับแล้ว แบ่งเป็น 3 รส คือ รสเย็น รส
ร้อน และรสสุขุม
2 ยา 9 รส หมายถึง สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด คือ
1) รสฝาด สรรพคุณ ใช้ในการสมานแผลต่าง ๆ
2) รสหวาน สรรพคุณ ซึมซาบไปตามผิว
3) รสเบื่อเมา สรรพคุณ แก้พิษ ดับพิษโลหิต
4) รสขม สรรพคุณ แก้ทางโลหิตและดี
5) รสมัน สรรพคุณ เป็นยาอายุวัฒนะ
6) รสหอมเย็น สรรพคุณ บ ารุงหัวใจ บ ารุงโลหิต
7) รสเค็ม สรรพคุณ ฟอกโลหิต ดับพิษร้อน
8) รสเปรี้ยว สรรพคุณ บ ารุงเลือด แก้กระหายน้ า
9) รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้โรคลม บ ารุงธาตุไฟ
และบางต ารายังได้เพิ่มอีก 1 รส คือ รสจืด สรรพคุณ ดับพิษ แก้ไข้ ขับปัสสาวะแก้ทางเตโชธาตุ
พิการ เช่นกันกับการน าสมุนไพรมาใช้ในการควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืชนั้น ก็ต้องมีความ
เข้าใจในพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุต่าง ๆ ที่จะน ามาใช้ปรุงเป็นยาป้องกัน
หรือยารักษาโรคพืชรวมทั้งยาฆ่า - ท าลายวงจรชีวิต และป้องกันแมลงด้วยโดยสรรพคุณของตัวยา
สมุนไพรที่ใช้ในการเกษตรสามารถแบ่งออกตามรสของสมุนไพรได้ประมาณ 5 รส คือ
1) สมุนไพรรสขม ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันแมลง อาทิเช่น ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด
สะเดา และหญ้าใต้ใบ
2) สมุนไพรรสเบื่อเมา ฆ่าหนอนเพลี้ย แมลงอื่น ๆ อาทิเช่น หางไหล หนอนตาย
หยาก ขอบชะนางแดง - ขาว ใบน้อยหน่า สลัดได พญาไร้ใบ แสยก และเมล็ดมะกล่ า
3) สมุนไพรที่มีรสฝาด แก้เชื้อราโรคพืช อาทิเช่น เปลือกแค เปลือกมังคุด ใบฝรั่ง
และใบทับทิม
4) สมุนไพรหอมระเหย ไล่แมลง เปลี่ยนกลิ่นต้นพืช อาทิเช่น ตะไคร้หอม สาบเสือ
โหระพา กะเพรา ผักชี กะทกรก สาบแร้งสาบกา และผักแพรวแดง
5) สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว ไล่แมลง แสบร้อน อาทิเช่น เปลือกส้ม มะกรูด มะนาว และ
มะขาม
วิธีการปรุง หรือสกัดยาสมุนไพร เพื่อใช้ในการเกษตร สามารถประยุกต์เทคนิคการปรุง หรือสกัด
ยาสมุนไพร เพื่อน ามาใช้ในการเกษตรได้หลายวิธี อาทิเช่น
1) บดผง น าไปโรย หรือคลุมดินป้องกันศัตรูพืช
2) แช่น้ า (1 - 2 วัน) น าไปฉีดพ่น
3) ดองเหล้า (1 - 3 วัน) น าไปฉีดพ่น
4) ต้ม น าไปฉีดพ่น และรดราด
5) สกัดด้วยไอน้ า และความดัน ซึ่งเป็นเทคนิคต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่แข็งแรง
6) การหมัก ซึ่งเป็นวิธีการที่ประหยัด และเก็บรักษาสรรพคุณของยาไว้ได้ทนนาน
นอกจากนี้ยังได้สารฮอร์โมน วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ ต่อพืชอีกด้วย
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด ตั้งอยู่เลขที่ 44/2 หมู่ 3 ต าบลพลับพลา อ าเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมก าลังเข้าขั้นวิกฤติ สืบเนื่องมาจากการกระท าของมนุษย์
โดยเฉพาะการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต และการก าจัดศัตรูพืช ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อ
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน น้ า และระบบ
นิเวศวิทยา การท ากสิกรรมธรรมชาติ เพื่อผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัย ปลอดภัย และ
ประหยัดต้นทุนนั้น เกษตรกรจ าเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และหันมาใช้สารสกัดจาก
สมุนไพรทดแทนถึงแม้ว่าสารสกัดสมุนไพร จะมีผลในการท าลายแมลงที่เป็นประโยชน์พวกแมลงตัว
ห้ า หรือแมลงตัวเบียนบ้างก็ตาม แต่ก็น้อยกว่าสารเคมีเพราะพิษจากสมุนไพรสลายตัวได้รวดเร็ว
และไม่ตกค้างนาน การใช้สารสมุนไพรทดแทนการใช้สารเคมี จะมีความจ าเป็นในช่วงแรก ๆ ของ
การเปลี่ยนแปลง เพราะเกษตรกรใช้สารเคมีติดต่อกันมาเป็นเวลานาน จนท าให้ความสมดุล
ระหว่างแมลงศัตรูพืช กับแมลงที่เป็นประโยชน์สูญเสียไป เมื่องดสารเคมี และใช้สารสมุนไพร
ทดแทนไปสักระยะจนสามารถอนุรักษ์ และเพิ่มจ านวนประชากรของแมลงที่เป็นประโยชน์ได้มาก
จนเกิดความสมดุลภายในแปลงได้แล้วจึงค่อย ๆ ลดการใช้สารสมุนไพรลง โดยใช้เฉพาะเท่าที่
จ าเป็นเท่านั้น การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในคน สัตว์ และพืชการน าสมุนไพรมาใช้ในการควบคุม
โรคนั้น ควรมีความเข้าใจพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุนานาชนิด ที่จะ
น ามาใช้ปรุงเป็นยาเสียก่อน โดยสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดนั้นจะขึ้นอยู่กับรสของสมุนไพร
นั้น ๆ รสยาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
ยารสประธาน หมายถึง ยาที่ปรุงเป็นต ารับแล้ว แบ่งเป็น 3 รส ย่อย คือ รสเย็น รสร้อน และ
รสสุขุม
5.6.2 ยา 9 รส หมายถึง สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด คือ
1) รสฝาด สรรพคุณ ใช้ในการสมานแผลต่าง ๆ
2) รสหวาน สรรพคุณ ซึมซาบไปตามผิว
3) รสเบื่อเมา สรรพคุณ แก้พิษ ดับพิษโลหิต
4) รสขม สรรพคุณ แก้ทางโลหิตและดี
5) รสมัน สรรพคุณ เป็นยาอายุวัฒนะ
6) รสหอมเย็น สรรพคุณ บ ารุงหัวใจ บ ารุงโลหิต
7) รสเค็ม สรรพคุณ ฟอกโลหิต ดับพิษร้อน
8) รสเปรี้ยว สรรพคุณ บ ารุงเลือด แก้กระหายน้ า
9) รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้โรคลม บ ารุงธาตุไฟ
และบางต ารายังได้เพิ่มอีก 1 รส คือ รสจืด สรรพคุณ ดับพิษ แก้ไข้ ขับปัสสาวะแก้
ทางเตโชธาตุพิการ เช่นกันกับการน าสมุนไพรมาใช้ในการควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืชนั้น ก็
ต้องมีความเข้าใจในพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุต่าง ๆ ที่จะน ามาใช้ปรุงเป็น
ยาป้องกัน หรือยารักษาโรคพืชรวมทั้งยาฆ่า - ท าลายวงจรชีวิต และป้องกันแมลงด้วยโดยสรรพคุณ
ของตัวยา
สมุนไพรที่ใช้ในการเกษตรสามารถแบ่งออกตามรสของสมุนไพรได้ประมาณ 5 รส คือ
1) สมุนไพรรสขม ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันแมลง อาทิเช่น ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด
สะเดา และหญ้าใต้ใบ
2) สมุนไพรรสเบื่อเมา ฆ่าหนอนเพลี้ย แมลงอื่น ๆ อาทิเช่น หางไหล หนอนตาย
หยาก ขอบชะนางแดง - ขาว ใบน้อยหน่า สลัดได พญาไร้ใบ แสยก และเมล็ดมะกล่ า
3) สมุนไพรที่มีรสฝาด แก้เชื้อราโรคพืช อาทิเช่น เปลือกแค เปลือกมังคุด ใบฝรั่ง
และใบทับทิม
4) สมุนไพรหอมระเหย ไล่แมลง เปลี่ยนกลิ่นต้นพืช อาทิเช่น ตะไคร้หอม สาบเสือ
โหระพา กะเพรา ผักชี กะทกรก สาบแร้งสาบกา และผักแพรวแดง
5) สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว ไล่แมลง แสบร้อน อาทิเช่น เปลือกส้ม มะกรูด มะนาว และ
มะขาม
วิธีการปรุง
หรือสกัดยาสมุนไพร เพื่อใช้ในการเกษตร สามารถประยุกต์เทคนิคการปรุง หรือสกัด
ยาสมุนไพร เพื่อน ามาใช้ในการเกษตรได้หลายวิธี อาทิเช่น
1) บดผง น าไปโรย หรือคลุมดินป้องกันศัตรูพืช
2) แช่น้ า (1 - 2 วัน) น าไปฉีดพ่น
3) ดองเหล้า (1 - 3 วัน) น าไปฉีดพ่น
4) ต้ม น าไปฉีดพ่น และรดราด
5) สกัดด้วยไอน้ า และความดัน ซึ่งเป็นเทคนิคต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่แข็งแรง
6) การหมัก ซึ่งเป็นวิธีการที่ประหยัด และเก็บรักษาสรรพคุณของยาไว้ได้ทนนาน
นอกจากนี้ยังได้สารฮอร์โมน วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ ต่อพืชอีกด้วย
สมุนไพรสูตร (ต ารับ)
ใช้เป็นสารไล่แมลง และบ ารุงพืชที่ก าลังได้รับความนิยมใช้กันโดยทั่วไป กว่า 60
จังหวัดทั่วประเทศ พอจะประมวลประสบการณ์จากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ศูนย์กสิกรรมสมุนไพรวังจันทร์ จังหวัดระยอง ศูนย์เรียนรู้ชุมชน กลุ่ม
ปุ๋ยชีวภาพ งานวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชด าริ
จังหวัดจันทบุรี โครงการเกษตรอินทรีย์สุรินทร์ เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย
เครือข่ายชุมชนชาวอโศก พอสรุปได้ดังนี้สารสมุนไพร ก าจัดเพลี้ยชนิดต่าง ๆ เช่น เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยไรแดงเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยกระโดดสีน้ าตาล และหมัดกระโดด
สูตร 1
ส่วนประกอบ
1) หนอนตายหยาก 2 กิโลกรัม
2) บอระเพ็ด 1 กิโลกรัม
3) ขมิ้นชัน 1 กิโลกรัม
4) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
5) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 2 กิโลกรัม
6) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดสมุนไพรแล้วหมักรวมกันไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สูตร 2
ส่วนประกอบ
1) ว่านน้ า 1 กิโลกรัม
2) สาบเสือ 1 กิโลกรัม
3) ยาฉุน ½ กิโลกรัม
4) ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
5) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
6) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
7) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดสมุนไพรหมักรวมกัน 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สูตร 3
ส่วนประกอบ
1) ยาฉุน ½ กิโลกรัม
2) สะเดา ½ กิโลกรัม
3) ข่า 1 กิโลกรัม
4) ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
5) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
6) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
7) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักทิ้งไว้ 7 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สูตร 4
ส่วนประกอบ
1) หางไหลสด 1 กิโลกรัม
2) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า ทุบให้แตก แช่น้ า 1 วัน
วิธีใช้ ผสมน้ า 1:20 ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน
สูตร 5
ส่วนประกอบ
1) ใบเสม็ดขาว 1 กิโลกรัม
2) เหล้า 10 ลิตร
วิธีท า สับบดดองเหล้าไว้ 3 วัน
วิธีใช้ ผสมน้ า ½ ลิตร ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สารสมุนไพร ก าจัดหนอนกระทู้ หนอนชอนใบ หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว
หนอนใต้หนอนเจาะสมอฝ้าย
สูตร 1
ส่วนประกอบ
1) ฟ้าทะลายโจร 1 กิโลกรัม
2) เปลือกหัน 1 กิโลกรัม
3) เปลือกแค 1 กิโลกรัม
4) หางไหล 1 กิโลกรัม
5) ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
6) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
7) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 ลิตร
8) น้ าสะอาด 15 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักรวมไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100 ฉีดพ่น และรดราด
สูตร 2
ส่วนประกอบ
1) หนอนตายหยาก 1 ลิตร
2) โทงเทง 1 ลิตร
3) สาบเสือ 1 ลิตร
4) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
5) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 ลิตร
6) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักทิ้งไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100 ฉีดพ่นและรดราด
สารสมุนไพรก าจัดโรคพืช
สูตร 1
ส่วนประกอบ
1) เปลือกแค 1 กิโลกรัม
2) กระเทียม 1 กิโลกรัม
3) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
4) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 ลิตร
5) น้ าสะอาด 1 กิโลกรัม
วิธีท า
สับบดหมักไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100-1:200 ฉีดพ่นและรดราด
สูตร 2
ส่วนประกอบ
1) ว่านหางจระเข้ 1 กิโลกรัม
2) ใบดอกรัก 1 กิโลกรัม
3) กระเทียม 1 กิโลกรัม
4) ขมิ้นชัน 1 กิโลกรัม
5) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
6) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
7) น้ าสะอาด 15 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100 - 1:200 ฉีดพ่นและรดราด
สูตร 3
ส่วนประกอบ
1) ว่านหางจระเข้ 200 กรัม
2) กระเทียม 200 กรัม
3) น้ าสบู่ 4 ช้อนโต๊ะ
4) น้ าส้มสายชู 100 ซี.ซี.
5) น้ าสะอาด 20 ลิตร
วิธีท า
สับบด หมักไว้ 7 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 4 ช้อนต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น ทุก ๆ 7 วัน
สารสมุนไพร ก าจัดหอยเชอรี่
ส่วนประกอบ
1) น้ าปูนใส 1 ลิตร
2) มะกรูด 1 กิโลกรัม
3) กระเทียม 1 กิโลกรัม
4) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
5) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
6) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
หมักมะกรูด กระเทียม หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น น้ าตาล และน้ า รวมกันไว้ 7 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ าปูนใส กับส่วนผสมที่หมักไว้ ในอัตราส่วน 1: 1 หยดลงในนาที่มีหอยเชอรี่
หมายเหตุ การฉีดพ่นสมุนไพรก าจัดโรค และแมลงควรฉีดพ่นในช่วงเช้ามือ หรือช่วงเย็น ๆ ถ้า
มีโรคระบาด หรือแมลงระบาด ควรฉีดพ่น และรดราดดินติดต่อกันทุกวัน เป็นเวลา 3 วัน
ติดต่อกันอย่างไรก็ตามการควบคุมโรค และแมลงให้ได้ผลดีควรท าทั้งการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
และการใช้สมุนไพรควบคู่กันไปจนกว่าธรรมชาติในแปลงจะสมดุล
สารสมุนไพร จากสะเดา
ส่วนผสม
1) สะเดาทั้ง 5 2 กิโลกรัม (ได้เมล็ดด้วยยิ่งดี)
2) บอระเพ็ดทั้ง 5 4 กิโลกรัม
3) ข่าทั้ง 5 1 กิโลกรัม
4) ตะไคร้หอมทั้ง 5 1 กิโลกรัม
5) หางไหล หรือโล่ติ้น 1 กิโลกรัม
6) ผลไม้สุก 3 ชนิด 1 กิโลกรัม (กล้วยสุก มะละกอสุก ฟักทอง
อย่างละเท่า ๆ กัน)
7) ยาฉุน 2 กิโลกรัม
8) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
9) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 3 กิโลกรัม
10) น้ าสะอาด 40 ลิตร
วิธีท า
หั่น หรือสับสะเดา บอระเพ็ด ข่า ตะไคร้หอม หางไหล และผลไม้สุก ให้ได้ความ
ยาวประมาณ 1 - 2 ข้อมือ ผสมน้ าสะอาด กับน้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาลใส่ลงในถังหมัก
น าส่วนผสมที่หั่น หรือสับแล้วใส่ลงในถังหมักปิดฝาให้สนิทและเก็บไว้ในที่ร่ม 1 เดือน
วิธีใช้
ผสมน้ าหมัก 1 ลิตร ต่อน้ าสะอาด 300 ลิตร ฉีดพ่นในเวลาเช้ามืด หรือหลัง
ตะวันตกดิน
หมายเหตุ ได้ประโยชน์ทั้งเป็นสารขับไล่แมลง เป็นฮอร์โมนบ ารุงพืชให้ติดดอกออกผลดี และยัง
เป็นปุ๋ย อินทรีย์ชีวภาพอีกด้วย
เทคนิคส าคัญในการผลิต และการใช้สารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ
1 การหมักสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ ควรหมักในถังพลาสติกที่มีฝาปิดสนิท
และควรมีลักษณะทึบแสง
2 ควรเก็บรักษาไว้ในที่ร่ม ไม่ควรโดนแสงแดด
3 ตลอดระยะเวลาการหมักไม่ควรเปิดฝาก่อนถึงเวลา เพราะอาจท าให้การหมักไม่
สมบูรณ์ น ามาใช้ประโยชน์ไม่ได้ แต่ในกรณีถ้าถังบวมมาก จนอาจระเบิดได้ ก็อนุโลมให้แง้มฝา
เล็กน้อย เพื่อปล่อยก๊าซออกบ้าง แล้วให้รีบปิดให้สนิทเหมือนเดิม
4 ควรคลุมดิน (อย่าเปลือยดิน) โดยใช้เศษฟาง เศษใบไม้ หรือวัชพืชจ าพวกหญ้า
ต่าง ๆ คลุมให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่ม หรือเลยออกมาเล็กน้อย ควรเว้นระยะห่างจากโคนต้น
ประมาณ 1 คืบ และหนาประมาณ 1 ฝ่ามือ
5 การฉีดพ่นใบ หรือรดราดดิน ควรผสมตามอัตราส่วนที่ก าหนดและควรฉีดพ่น
หรือรดราดลงบนดินให้ทั่วบริเวณทรงพุ่ม โดยฉีดพ่น หรือรดราดลงบนเศษฟาง หรือใบไม้กิ่งไม้ที่
คลุมดินอยู่
6 ไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้า เพราะจะท าให้ประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์
ชีวภาพลดลง ให้ใช้การตัดหรือนาบแทน
7 ไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมี หรือยาฆ่าแมลง เพราะประสิทธิภาพของสารสกัด
สมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพจะลดลง และสิ่งส าคัญ คือ แมลงที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ (ตัวห้ า ตัวเบียน)
จะตายลง
ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านชุมชนปฐมอโศก ตั้งอยู่เลขที่ 66 หมู่ 5 ต าบลพระประโทน อ าเภอเมือง
จังหวัดนครปฐม
คุณสมบัติของสมุนไพรแต่ละชนิดในการป้องกันและก าจัด (แมลงโรคพืช)
พืชสมุนไพร
หางไหล : หนอนกินช่อ เพลี้ยไฟ ไรขาว ไรแดง เพลี้ยจักจั่น
ขมิ้นชัน : ดวงเจาะเมล็ด ด้วงงวงข้าว มอดข้าวเปลือก หนอนกระทู้ ไรแดง
สบู่ต้น : หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนแปะใบ หนอนแก้ว
ตะไคร้หอม : หนอนกระทู้ หนอนคืบ หนอนใย หนอนหลอด ราน้ าค้าง หนอนม้วน
ใบ ราแป้ง หนอนเจาะยอด / ดอก / ผล ราสนิม
กระเทียม : เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้ ราน้ าค้าง ราแป้ง ราสนิม
ใบมะเขือเทศสด : ด้วงหมัดผัก หนอนเจาะต้น ไส้เดือนฝอย รา / แบคทีเรียบางชนิด
หนอนใย
ยาสูบ / ยาฉุน : เพลี้ย ไร รา ด้วงหมัดผัก ด้วงเจาะสมอ หนอนกระ หล่ า หนอน
ชอนใบ หนอนมวนใบ หนอนกระทู้
พริกสด : โรคจากไวรัสทุกชนิด ขับไล่แมลง
ใบแก่มะรุม : (ใช้รองก้นหลุม) ราในดิน รากเน่า โคนเน่า ผลเน่า (แตง _ ฟัก) เน่า
คอดิน แง่งขิงเน่า
สาบเสือ : หนอนกระทู้ หนอนใย เพลี้ยกระโดด เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น
แมลงโรคพืช
เพลี้ยไฟ : ใช้พืชสมุนไพร หางไหล สะเดา ยาสูบ ยาฉุน สาบเสือ ตะไคร้หอม /
แกง ใบดาวเรือง กระเทียม ข่า พริก ดีปลี
แมลงหวี่ขาว : ใช้พืชสมุนไพร กระเทียม พริก มะกรูด ขึ้นฉาย ตะไคร้หอม /
แกง
หมัดกระโดด : (ใช้ทางใบ)ตะไคร้หอม/แกงขิง ข่า พริก ใบน้อยหน่า หางไหล หนอน
ตายหยาก (ใช้ทางดิน) สะเดา เมล็ดน้อยหน่า ตะไคร้หอม / แกง ยาฉุน
เพลี้ยอ่อน : ใช้พืชสมุนไพร สะเดา ยาสูบ ยี่หร่า หางไหล (เหล้าขาว +
น้ าส้มสายชู)
เพลี้ยแป้ง : ใช้พืชสมุนไพร ยาสูบ ยาฉุน สะเดา บอระเพ็ด ตะไคร้หอม / แกง
สาบเสือ กระเทียม (ไวท์ออย + น้ ามันก๊าซ)
รากเน่าโคนเน่า : ใช้พืชสมุนไพร เปลือกมะม่วงหิมพานต์ เทียนหยด ราก หม่อน
ผลเน่า : ใช้พืชสมุนไพร ต้นกระดูกไก่ด า / ขาว ว่านน้ า ตะไคร้หอม กระ
เพรา โหระพา ใบยูคาลิปตัส
ไส้เดือนฝอย : ใช้พืชสมุนไพร สะเดา ละหุ่ง ใบยูคาลิปตัส สาบเสือ แขยง เลี่ยน
ปะทัดจีน ใบดาวเรือง ตะไคร้หอม
โรคเน่าคอดิน: ใช้พืชสมุนไพร ใบมะรุมแห้ง กระเทียม ผิวมะกรูด รากหม่อน
โรคเหี่ยว : ใช้พืชสมุนไพร เปลือกเงาะ ขึ้นฉาย ใบมะรุมแห้ง
โรคใบจุด : ใช้พืชสมุนไพร ว่านน้ า ใบกระดูกไก่ด า / ขาว ลูกประค าดีควาย
เปลือก มะม่วงหิมพานต์

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ฉลาดกิน ฟ้าทะลายโจรสู้โรค ป้องกันโควิด-19
ฉลาดกิน ฟ้าทะลายโจรสู้โรค ป้องกันโควิด-19
โดยแพทย์หญิงศรันยา สาครินทร์ แพทย์แผนปัจจุบัน จบจากโรงพยาบาลรามาธิบดีและศึกษาต่อปริญญาโท ด้านฝังเข็มยาจีน นวดทุยหนา และโภชนาการจากประเทศสหรัฐอเมริกา จึงมีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพและการรักษาโรคจากทั้งศาสตร์ตะวันออกและตะวันตก

“ฟ้าทะลายโจร” พืชล้มลุกที่มีกำเนิดจากแถบประเทศอินเดียและศรีลังกา สำหรับในไทยฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรที่อยู่ในตำรายาไทยโบราณมานาน มีรสขม จัดอยู่ในกลุ่มยาเย็นมีสรรพคุณทางการแพทย์แผนไทยใช้เพื่อบรรเทาอาการไข้หวัด แก้ไอและเจ็บคอ ฟ้าทะลายโจรยังเป็นสมุนไพรที่ถูกบรรจุอยู่ในบียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2542 ของกระทรวงสาธารณสุข

จากผลการศึกษาและวิจัยพบว่า ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของฟ้าทะลายโจรมีสารสำคัญชื่อว่า

“สารแอนโดรกราโฟไลค์” (Andrographolide) ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ในทุกระยะและช่วยยับยั้งการอักเสบ และยังมีสารประกอบสาร Lactone 4 ชนิดที่มีฤทธิ์เย็นหนืด ช่วยจับโปรตีนของไวรัสให้อยู่กับที่ ทำให้ฤทธิ์ของฟ้าทะลายโจรต้านไวรัสได้ดียิ่งขึ้น และช่วยป้องกันผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะได้ ลดการบีบตัวของลำไส้ ต้านเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย ช่วยรักษาอาการไอ เจ็บคอป้องกันและบรรเทาหวัด

สำหรับแพทย์แผนจีนนั้นระบุว่า ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์เย็นจัด มีรสขมและแห้ง มีสรรพคุณลดความร้อน ทั้งความร้อนในร่างกายและความร้อนเกินที่เข้ามาในร่างกาย เช่น ติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ช่วยดูดความชื้นในร่างกาย ขจัดเสลดของเหลวต่างๆให้แห้ง จึงช่วยลดอุณหภูมิร่างกายได้เวลาเป็นไข้ขึ้นสูง ลดเจ็บคอ ช่วยเรื่องการทำงานของปอดเป็นหลัก สำหรับหมอเองก็ใช้ฟ้าทะลายโจรควบคู่กับสูตรยาจีนเพื่อช่วยลดอุณหภูมิความร้อนให้คนไข้ เพราะสามารถใช้ร่วมกันได้ หมอแนะนำให้กินแบบธรรมชาติ คือ กินเป็นใบทั้งแบบสดหรือแบบตากแห้งบดก็ได้

กินเพื่อป้องกัน (For Prevention)

แบบใบสด ประมาณวันละ 2-3 ใบ เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 เดือนในช่วงฤดูหนาว จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกายได้

แบบตากแห้งแล้วบดใส่แคปซูล กินวันละ 1 แคปซูล (ประมาณ 500 มิลลิกรัม) ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 3 เดือน ระยะเวลาและขนาดปริมาณประมาณนี้ยังไม่มีผลข้างเคียงเรื่องการทำลายตับ

มีงานวิจัยคำนวณอิงสารแอนโดกราโฟไลค์เพื่อป้องกันหวัดจะใช้ปริมาณ 11.2 มิลลิกรัมต่อวัน กิน 5 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่อง 3 เดือน มีผลป้องกันหวัดได้

กินเพื่อรักษาอาการ (For Treatment)

สำหรับปริมาณการรักษา หมอแนะนำให้เลือกแบบตากแห้งแล้วบดใส่แคปซูล กินครั้งละ 1_500-3_000 มิลลิกรัม จำนวน 4 ครั้งต่อวัน หรือประมาณ 2-4 แคปซูล วันละ 3 มื้อ ระยะเวลา 7-10 วัน (หรือไม่ควรเกิน 2 สัปดาห์) หากอิงจากสารแอนโดรกราโฟไลด์ระดับในการรักษาคือ ประมาณ 60-120 มิลลิกรัมต่อวันนั่นเองค่ะ

ข้อควรระวังในการรับประทานยาฟ้าทะลายโจร

-ห้ามใช้ยาฟ้าทะลายโจรในผู้ที่มีอาการแพ้

-ห้ามหญิงตั้งครรรภ์หรือให้นมบุตรกินฟ้าทะลายโจร

-สำหรับคนที่ถ่ายเหลว ท้องเสียบ่อย ระบบย่อยไม่ค่อยดี ภาวะธาตุอ่อนไม่ควรกินฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน หากร่างกายเย็นไปจะทำให้ถ่ายท้อง ถ่ายเหลว เพิ่มขึ้นได้

-ไม่ควรรับประทานในขนาดสูงติดต่อกันนานเกินไป เพราะอาจเสี่ยงทำให้แขนขาเป็นเหน็บชาหรืออ่อนแรง ท้องเสีย เนื่องจากยามีฤทธิ์เย็น ทำให้เลือดเดินไปเลี้ยงส่วนแขนขาติดขัด ระบบย่อยลำบาก

-หากรับประทานยาฟ้าทะลายโจรเพื่อลดอาการเจ็บคอ เมื่อครบ 24 ชั่วโมง แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการรุนแรงกว่าเดิม ควรหยุดรับประทานแล้วพบแพทย์

-ควรระมัดระวังในการรับประทานยาฟ้าทะลายโจรควบคู่ไปกับยาลดความดันเพราะอาจเสริมฤทธิ์กันให้ความดันโลหิตลดมากกว่าเดิมได้

-ควรระมัดระวังในการรับประทานยาฟ้าทะลายโจรควบคู่ไปกับยาที่มีสารกันเลือดเป็นลิ่มและยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด เช่น วาร์ฟาริน แอสไพริน เป็นต้น

เพราะฉะนั้นสำหรับฟ้าทะลายโจร หมอถือว่าเลือกกินตามอาการจะดีกว่า เมื่ออาการดีขึ้นจึงหยุดยา ด้วยความที่ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์เย็นและมีรสขม เมื่อกินเข้าไปติดต่อกันจะทำให้ร่างกายเย็น สำหรับแผนจีนเมื่อร่างกายเย็นมากจะทำให้เลือดลมไม่หมุนเวียน มักมีอาการอ่อนเพลีย บางคนอาจมีอาการท้องเสีย

ส่วนรูปแบบในการกินฟ้าทะลายโจรนั้น แนะนำให้กินแบบสดหรือตากแห้งแล้วบดหยาบมากกว่า เพราะจะได้สารสกัดแอนโดรกราโฟไลด์เดี่ยวค่ะ เนื่องด้วยในฟ้าทะลายโจรแบบยังไม่ได้สกัดจะมีสาร Lactone ที่จะช่วยจับโปรตีนของไวรัสได้ดีกว่า ทำให้ฤทธิ์ของฟ้าทะลายโจรแบบไม่สกัดทำงานต้านไวรัสได้ดีกว่า แต่จำนวนเม็ดที่กินอาจจะต้องมากกว่าแบบสกัด เพื่อให้ได้ฤทธิ์ถึงในระดับการรักษาอาการป่วยค่ะ

อย่างไรก็ตาม การกินฟ้าทะลายโจรสามารถกินเพื่อการดูแลรักษาตนเองเป็นเบื้องต้น สร้างความแข็งแรง เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย แต่ควรกินในปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสมเท่านั้นนะคะ

นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 545 ปีที่ 23 16 มิถุนายน 2564

ที่มา http://www.farmkaset..link..
พช.อยุธยา เดินหน้าขับเคลื่อน “โคก หนอง นา อยุธยา” อำเภอพระนครศรีอยุธยา
พช.อยุธยา เดินหน้าขับเคลื่อน “โคก หนอง นา อยุธยา” อำเภอพระนครศรีอยุธยา
ณ ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายกิจจา ทองแดง พัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงพื้นที่สนับสนุนติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ระดับครัวเรือน (House hold Lab Model for quality of life : HLM) อำเภอพระนครศรีอยุธยา ของนางเอื้อมพร ศาสนกุล ขนาดพื้นที่ 3 ไร่ บ้านภูเขาทอง หมู่ที่ 2 ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา​ โดยมีนางสาวอัญชลี เฉลยรัตน์ พัฒนาการอำเภอพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ร่วมลงพื้นที่ในการวางแผนขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ “โคก หนอง นา โมเดล”

นายกิจจา ทองแดง พัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาขยายผลในกระบวนการทำงาน โดย “โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พัฒนาชมุชน” เป็นการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ได้จริงในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะเจ้าของแปลงได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาพื้นที่ของตนเองเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ เพื่อเผยแพร่แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)​ กรมการพัฒนาชุมชนได้ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนได้ปลูกพืชสมุนไพร เช่น กระชาย และฟ้าทะลายโจร เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันและบรรเทาอาการจากโรคระบาด ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รณรงณ์ให้ประชาชนในจังหวัดฯ รวมถึงเจ้าของแปลงโครงการ “โคก หนอง นา โมเดล” ได้ร่วมกันปลูกพืชสมุนไพรดังกล่าว เพื่อใช้ในครัวเรือนและเพื่อประโยชน์ต่อคนในชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ต่อไป

ด้านนางเอื้อมพร ศาสนกุล เจ้าของแปลง 3 ไร่ เผยว่าขอขอบคุณกรมการพัฒนาชุมชน ที่ให้โอกาสเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” เพราะเป็นการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ได้จริงในพื้นที่ รวมทั้งยังเป็นการลดรายจ่ายเพิ่​มรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน และในอนาคตมีความมุ่งหวังจะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล ได้ศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในวิถีชีวิต

ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)​ ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และคำสั่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ 1849/2564 กำหนดมาตรการตามพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด อย่างเคร่งครัด

ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพระนครศรีอยุธยา/สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยุธยา
ข่าว : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
กนก แนะรัฐเร่งทบทวนนโยบายใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด ครม.มติหนุนแต่สธ.ให้ใช้ Favipiravir
กนก แนะรัฐเร่งทบทวนนโยบายใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด ครม.มติหนุนแต่สธ.ให้ใช้ Favipiravir
"กนก" แนะรัฐเร่งทบทวนนโยบายใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด หลังครม.มติหนุน แต่สธ.ให้ใช้ Favipiravir ชี้โจทย์ใหญ่รัฐบาลต้องเร่งวิจัยศักยภาพ-ส่งเสริมการปลูก เชื่อช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้

เมื่อวันที่ 29 ก.ค.นายกนก วงษ์ตระหง่าน รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงปัญหาฟ้าทะลายโจรขาดแคลน เพราะความต้องการสูงในขณะนี้ว่า ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องทบทวนว่าจะกำหนดนโยบายและวางอนาคตของสมุนไพรไทยอย่างไร เพราะในขณะนี้ ฟ้าทะลายโจรมีผลการวิจัยโดยแพทย์แผนปัจจุบันยืนยันแล้วว่าสามารถช่วยรักษาโรคไวรัสโควิด 19 ได้ และสามารถบอกได้จากการทดลองเชิงปฏิบัติกับผู้ป่วยแล้วว่าจำนวนหรือปริมาณการรับประทาน สารออกฤทธิ์ในฟ้าทะลายโจร คือ แอนโดรกราฟโฟไลด์ (Andrographolide) ต่อวัน และสามารถเปรียบเทียบผลกับผู้ป่วยที่ไม่ได้ทานฟ้าทะลายโจร แล้วพบว่าฟ้าทะลายโจรมีความปลอดภัยสูงต่อผู้ป่วย มีสิทธิภาพ ต่อการรักษาดี อีกทั้งหาได้ง่ายและราคาถูกสำหรับคนไทย เพราะฟ้าทะลายโจรเป็นพืชที่ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ของประเทศ การที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการใช้ฟ้าทะลายโจร เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 เพื่อการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่ยังไม่มีอาการโรค โดยกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ยืนยันถึงประสิทธิภาพของการรักษาโรคโควิด 19 ของฟ้าทะลายโจร แต่ถ้าเข้าไปดูแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อวันที่ 21 ก.ค.64 ของกระทรวงสาธารณสุข แนะนำเรื่องการรักษา Covid-19 กรณีผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ให้ใช้ยา Favipiravir เท่านั้น ไม่ปรากฏฟ้าทะลายโจรอยู่ในแนวเวชปฏิบัติของกระทรวง

นายกนก กล่าวด้วยว่า จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่ายังมีความย้อนแย้งอยู่ในส่วนนโยบายการรักษา จึงต้องเร่งทบทวนกำหนดนโยบายที่ชัดเจน ทำไมประกาศฉบับหลังสุดคือ 21 กรกฎาคม 2564 จึงไม่มีฟ้าทะลายโจรในประกาศของแนวทางเวชปฏิบัติ ซึ่งส่งผลให้แพทย์ในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขและแพทย์ทั่วไปไม่กล้าที่จะใช้ฟ้าทะลายโจรกับผู้ป่วยโควิด 19 อีกทั้งสปสช.ก็ไม่อาจจะนำฟ้าทะลายโจรรวมเข้าเป็นค่าใช้จ่ายการรักษาตามระบบ ประกันสุขภาพด้วย ผลที่ตามมาคือการใช้ยา Favipiravir ราคาแพงกว่าฟ้าทะลายโจรเป็นร้อยเท่า จะทำให้ค่ายารักษาโรคโควิด 19 สูงขึ้นอย่างมาก และถ้าองค์การเภสัชกรรมผลิตยา Favipiravir ไม่ทันกับความต้องการ อาจต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศที่ทำให้เสียทั้งเงินและเวลามากขึ้น คำถามที่กระทรวงสาธารณสุขต้องตอบประชาชนคือ ทำไมจึงไม่บรรจุฟ้าทะลายโจรลงในแนวทางเวชปฏิบัติฯ เพื่อให้เกิดการใช้ฟ้าทะลายโจรอย่างถูกต้อง กว้างขวาง และเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยจำนวนมหาศาลที่กำลังรอเข้าโรงพยาบาลสนาม

“ฟ้าทะลายโจรมีสารออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อการรักษาโรคโควิด 19 มาก แต่การจะนำ ฟ้าทะลายโจรมาเป็นยารักษาโรคที่ได้มาตรฐานอย.นั้น เกี่ยวข้องกับกระบวนการอื่น ๆ อีกมาก ตั้งแต่การปลูกฟ้าทะลายโจรที่ปลอดภัย การเก็บเกี่ยวที่รักษาคุณภาพสารออกฤทธิ์ การแปรรูปเป็นแคปซูลที่ได้มาตรฐานจนถึงการใช้ที่ถูกต้อง รวมไปถึงการทำให้ฟ้าทะลายโจรเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศที่เกษตรกรได้รับส่วนแบ่งจากราคาปลีกของฟ้าทะลายโจรอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่มีเพียงบริษัทยาเท่านั้นที่ได้ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ และเกษตรกรได้เพียงราคาฟ้าทะลายโจรกิโลกรัมละ 100 บาทเท่านั้น ประเด็นเหล่านี้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยหลายด้านที่ต้องทำเพิ่ม เกี่ยวข้องกับการวางโครงสร้างพื้นฐานของการผลิตและแปรรูปสมุนไพร ของประเทศ จนถึงเกี่ยวกับการยอมรับยาสมุนไพรของชาติและประชาชนโดยรวม โจทย์ใหญ่ของรัฐบาลที่ต้องคิดไปข้างหน้า เพื่อใช้ศักยภาพของฟ้าทะลายโจรให้เกิดประโยชน์ในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ ในยุคโควิด-19 อย่างไร แต่ไม่ว่ารัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไร โครงการสกลนครโมเดลที่ผมและทีมงานจะเดินหน้าขับเคลื่อน ฟ้าทะลายโจรเป็นหัวขบวนของการใช้สมุนไพรเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศต่อไป” นายกนก กล่าว

ที่มา http://www.farmkaset..link..
17 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 1 หน้า, หน้าที่ 2 มี 7 รายการ
|-Page 1 of 2-|
1 | 2 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ฉลาดกิน ฟ้าทะลายโจรสู้โรค ป้องกันโควิด-19
Update: 2564/08/12 22:11:04 - Views: 3615
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราแป้ง ในดอกกุหลาบ ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/04 14:31:57 - Views: 3502
กินเมล่อนแล้ว เอาเมล็ดมาปลูกเองต่อ ได้หรือไม่?
Update: 2562/08/17 12:54:04 - Views: 3444
กำจัดเพลี้ย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยต่างๆ ฯลฯ มาคา สารอัลคาลอยด์สกัดจากธรรมชาติ โดย FK
Update: 2566/06/24 09:39:24 - Views: 3434
ปุ๋ยน้อยหน่า ปุ๋ยตรา FK ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นทางใบ น้อยหน่าโตไว ผลผลิตดี ด้วยธาตุอาหารพืชที่สมดุลและครบครัน
Update: 2565/12/17 11:20:47 - Views: 3440
การทำธุรกิจขายปุ๋ย จะขายปุ๋ยได้ต้องทำอะไรบ้าง กฏการขายปุ๋ย
Update: 2565/11/15 14:39:50 - Views: 3535
น้ำท่วม หากต้องการความช่วยเหลือจากทหาร โทรประสานงานได้ที่ นพค.51
Update: 2562/09/01 09:45:15 - Views: 3393
ปุ๋ยสำหรับมะนาว: ส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตด้วย FK-1 ฉีดพ่นทางใบ
Update: 2566/02/01 08:28:54 - Views: 3403
โรคใบไหม้ ใบจุดสีน้ำตาล ในช่วงอาการร้อนชื้น แดดจัด และมีฝนตกมาใบบางครั้ง
Update: 2563/04/22 09:43:10 - Views: 3387
ลำไย ใบไหม้ ใบจุด ผลเน่า กิ่งแห้ง รากเน่า ราน้ำฝน โรคแอนแทรคโนส โรคราต่างๆ กำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟูด้วย ปุ๋ย FK-T
Update: 2567/03/27 10:15:35 - Views: 3480
โรคราสนิม โรคราน้ำค้าง โรคราดำ โรคใบไหม้ โรคใบติด โรคใบจุด ที่เกิดกับพืชต่างๆ ใช้สินค้าจาก FK
Update: 2565/06/16 19:58:45 - Views: 3397
ในศาสนาพุทธ มีชาติภพ หรือไม่?
Update: 2567/01/01 14:47:25 - Views: 3452
ปลูกมันสำปะหลัง ใช้ ฮิวมิคFK บำรุงราก แทงหัวไว โตสมบูรณ์ ดินดี ปลูกอะไรก็งาม
Update: 2567/10/22 09:41:40 - Views: 36
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนใยผัก ใน ผักกระเพรา และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/15 13:44:02 - Views: 3422
เตือน!! ระวังเพลี้ยแป้ง บุก สวนมะปราง สร้างเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร?
Update: 2566/11/01 10:47:05 - Views: 3442
เตือน!! ระวังหนอน ชอนใบ ระบาดทำลาย พืช ของคุณ ...สร้างเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร?
Update: 2566/11/02 15:57:36 - Views: 3405
APCO วิจัยสำเร็จใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดด้วยสารสกัดจากพืชกินได้ปราบ HIV
Update: 2564/08/12 00:21:22 - Views: 3395
โรคใบติดทุเรียน โรคทุเรียนใบไหม้ การดูแลบำรุงรักษา โรคทุเรียน ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
Update: 2564/12/06 22:28:36 - Views: 3526
ข้าวโพด กาบใบไหม้ ใบจุด ราน้ำค้าง ราสนิม โรคราต่างๆ ป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟู ด้วยปุ๋ย FK-T
Update: 2567/04/03 10:42:55 - Views: 3529
แตงกวา โตไว ใบเขียว ผลใหญ่ แข็งแรง ผลผลิตดี อะมิโนโปรตีนจำเป็นสำหรับพืช 18 ชนิด อะมิโนแรปเตอร์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/03 14:02:04 - Views: 3463
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022