[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ข้าว
635 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 63 หน้า, หน้าที่ 64 มี 5 รายการ

🎗ใส่ปุ๋ยมากแต่.. พืชไม่โต โตช้า เพราะ
🎗ใส่ปุ๋ยมากแต่.. พืชไม่โต โตช้า เพราะ
🎗ใส่ปุ๋ยมากแต่.. พืชไม่โต โตช้า เพราะ "ธาตุอาหารที่มีอยู่ต่ำสุด จะจำกัดการเจริญเติบโตของพืช"
หากขาดธาตุอาหารที่จำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง การเจริญเติบโตของพืชก็จะไม่ดี แม้ว่าจะมีธาตุอาหารที่จำเป็นอื่นๆ มากมาย เป็นคำอธิบายของ Law of the minimum ของ Liebig ต้อนฉบับของประโยคข้างต้นเขียนไว้ว่า "If one of the essential plant nutrients is deficient, plant growth will be poor even when all other essential nutrients are abundant."

บันทึกใน WikiPedia http://www.farmkaset..link..

จึงเป็นคำตอบของปัญหา ที่เกษตรกรพบในการเพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกพืชซ้ำๆ ในแปลงปลูกขนาดใหญ่ เช่น ไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด ไร่มันสำปะหลัง

ทั้งที่ใส่ปุ๋ยมาก แต่พืชก็ตอบสนองไม่ดี ไม่โตไวเหมือนปีก่อนๆ สาเหตุเป็นเพราะว่า เกษตรกรใสสัดส่วนจำนวนมาก ให้อาหารพืชโดยการใส่ปุ๋ยเฉพาะ N-P-K หรือ ไนโตเจน-ฟอสฟอรัส-โพแทสเซียม ให้ซ้ำๆในทุกๆปี เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ก็จะประกอบไปด้วย ไนโตรเจน 13 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัส 13 เปอร์เซนต์ โพแตสเซียม 21 เปอร์เซนต์ และเปลี่ยนไปปุ๋ยสูตรอื่นๆ ก็เพียงแค่ เพิ่มลดสัดส่วน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม ในการให้ปุ๋ยแต่ละครั้ง ถึงแม้ว่าสามธาตุนี้ เป็นธาตุอาหารพืช ที่จำเป็นมากที่สุด ต่อการเจริญเติบโต สร้างระบบราก และเพิ่มผลผลิตพืช แต่ธาตุอาหารอื่นๆ ถึงแม้พืชจะต้องการน้อย แต่เราไม่เคยเติม หรือไม่เคยให้พืชเลย พืชก็จะไม่สามารถนำ 3 ธาตุหลัก ไปใช้ได้อย่างเต็มที่

ยกตัวอย่างเช่น

- พืชขาดธาตุ แคลเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ธาตุแคลเซียม [Ca] ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- พืชขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- พืชขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

จะเห็นได้ชัดเจนแล้วว่า ธาตุอาหารพืชต่างๆนั้น ทำงานสอดคล้อง สนับสนุนกัน หากเราไม่เติมธาตุที่ขาด ใส่เฉพาะ N-P-K ไปมากๆ ก็ได้ประโยชน์น้อย เป็นการเปลืองต้นทุนโดยไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่

🌿เกี่ยวกับ FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig's law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น

🌿 ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี [FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖คลิกลิงค์เพื่อสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ http://www.farmkaset..link..

อ้างอิงข้อมูล

Wiki pedia : http://www.farmkaset..link..
Website: http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3437
🎗โรคไวรัส ในพืชต่างๆ ไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง ให้ป้องกันกำจัดแมลงพาหะ และบำรุงพืชให้แข็งแรง
🎗โรคไวรัส ในพืชต่างๆ ไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง ให้ป้องกันกำจัดแมลงพาหะ และบำรุงพืชให้แข็งแรง
ในความเป็นจริงแล้ว การดูแล บำรุงพืช ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง โดยการให้ ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม อย่างครบถ้วน ในสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นการเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงไปด้วยในตัว เป็นเช่นเดียวกับ เด็กวัยเจริญเติบโต ที่ได้รับอาหารครบ 5 หมู่ บางคนยังทานวิตามินบำรุงด้วย ย่อมทำให้ ส่งเสริมการเจริญเติบโต มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่ป่วยบ่อย เหมือนเด็กที่ไม่สมบูรณ์ ขาดสารอาหาร

พืชต่างๆ หากได้รับแต่ปุ๋ยเชิงเดียว ที่มีแต่ ไนโตรเจน (N) หรือให้เฉพาะปุ๋ยที่มีเฉพาะธาตุหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม (N P K) เปรียบเทียบแล้วก็คล้ายกับ เด็กที่ทานเฉพาะอาหารอย่างเดียวซ้ำๆ ก็คือ อิ่ม โตขึ้นได้ แต่มีร่างกายที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง เมื่อเป็นโรค ก็ให้ยารักษา ก็อาจจะหายช้า หรือไม่หาย ถึงแม้หาย ก็เจ็บป่วยซ้ำอยู่บ่อยๆ เจ็บป่วยออดๆแอดๆ แต่หากในขณะที่รักษาให้เริ่มฟื้นตัวแล้ว ลองบำรุง ให้อาหารจนครบ 5 หมู่ ทานอาหารเสริมที่เป็นประโยชน์บ้าง และปรับพฤติกรรมการทานอาหาร เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็น คนที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงได้ ในทางด้านพืชนั้น อย่างที่กล่าวข้างต้น เรามักจะให้ปุ๋ยทั่วไป ที่ประกอบด้วยเฉพาะ N P K แต่ในความเป็นจริงแล้ว อีกหลายธาตุ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต จำเป็นต่อการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ สร้างคลอโรฟิลล์ สังเคราะห์แสง และบางธาตุ ก็ส่งเสริมให้พืช นำธาตุอาหารหลัก ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ยกตัวอย่างธาตุอาหารพืช ที่จำเป็นเช่น แคลเซียม (ca) แมกนีเซียม (Mg) สังกะสี (Zn) และยังมีอีกหลายธาตุ ซึ่งหากพืชที่ปลูกอยู่ ไม่เคยได้รับ และวันนึงได้รับ จะส่งผลให้พืชโตขึ้น และแข็งแรงขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจาก ธาตุที่พืชไม่เคยได้รับเหล่านี้ เมื่อได้รับลงไป จะช่วยปลดปล่อยธาตุหลัก ที่พืชได้รับอยู่ตลอด แต่นำไปใช้ไม่ได้ ไปกระตุ้นให้พืช นำไปใช้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งใน FK-1 จะประกอบไปด้วยทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน นอกจากจะเป็นให้ธาตุอาหารพืชที่จำเป็นโดยตรงแล้ว ยังกระตุ้นให้พืช นำทุกธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ในดิน ไปใช้ได้อย่างเต็มที่

โรคไวรัส ที่เกิดกับพืชต่างๆ

ในที่นี้ประกอบด้วย โรคใบหงิกเหลือง โรคใบด่างเรียวเล็ก โรคใบด่าง และโรคเหี่ยวลาย สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืชต่างๆ เช่น โรคไวรัสมะละกอ มะละกอใบด่าง โรคไวรัสด่างวงแหวนมะละกอ โรคใบด่างเรียวเล็กในมะเขือเทศ โรคมะเขือเทศเหี่ยวลาย โรคไวรัสใบด่างเหลืองในถั่ว ในพืชตระกูลถั่ว โรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง โรคไวรัสใบด่างแตง ในพืชตระกูลแตง โรคไวรัสใบด่างผักกาด โรคไวรัสใบด่างแคระข้าวโพด และยังมีโรคไวรัสใบด่าง ในพืชอื่นๆอีกหลายพืช

กรณีโรคใบหงิกเหลือง จะพบใบยอดและใบอ่อนหดย่นหงิกสีเหลือง ขอบใบม้วนงอ ยอดเป็นพุ่ม ใบแตกใหม่เล็ก ต้นแคระแกร็น ไม่ติดผล หรือติดผลน้อยมาก ส่วนโรคใบด่างเรียวเล็ก มักพบใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อน ม้วนงอ ต่อมาใบเรียวเล็กกว่าปกติ หากรุนแรงมาก ใบจะเรียวเล็กเหลือแต่เส้นกลางใบ ต้นชะงักการเจริญเติบโต ไม่ติดผล หรือมีผลเล็ก ถ้าเกิดโรคในระยะกล้า จะทำให้ต้นแคระแกร็น ไม่ติดผล

สำหรับโรคใบด่าง จะมีใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือสีเหลือง ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง หากเกิดโรคในระยะกล้า ต้นแคระแกร็น ใบเล็กและลดรูป ในส่วนของโรคเหี่ยวลาย มักพบใบมีแผลเนื้อเยื่อตายสีน้ำตาลเข้มหรือดำกระจายทั่วทั้งใบ หรือเกิดรอยด่างสีเหลือง ใบยอดด่างและยอดสั้น ใบอ่อนแห้งตายจากปลายใบเข้าหาโคนใบ ใบแก่มีสีเหลืองขนาดเล็กกว่าปกติ ตามแนวยาวของลำต้นและก้านใบมีรอยขีดสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลเสียรูปทรง ผิวผลพบเนื้อเยื่อตายเป็นวง กรณีรุนแรง กิ่งและลำต้นเปลี่ยนเป็นสีดำ เหี่ยวเฉา และตายในที่สุด

ในพื้นที่ที่พบการระบาดของโรคนี้ ให้เกษตรกรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อไวรัสและแมลงพาหะ ถ้าพบต้นที่เป็นโรคให้ถอนแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที ควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว ให้เก็บเศษซากพืชส่วนที่หลงเหลือในแปลงไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก หากพบโรคในแปลงที่จะปลูกฤดูถัดไป ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อใกล้แปลงปลูก เช่น ขึ้นฉ่าย ยาสูบ งา กะเพราขาว ตำลึง หงอนไก่ บานไม่รู้โรย ทานตะวัน พืชตระกูลแตง พืชตระกูลถั่ว และพืชตระกูลมะเขือ อีกทั้งควรเลือกใช้กล้าพันธุ์พืชที่ต้านทานโรค แข็งแรง และปลอดโรคมาปลูก

เชื้อไวรัสโรคพืช ยังไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง

ป้องกันกำจัดได้ โดยการกำจัดแมลงพาหะ เช่น แมลงหวี่ขาว และเพลี้ยต่างๆ และ บำรุงพืชให้เจริญเติบโต แข็งแรง เพื่อสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงให้สูงขึ้น

🦗 ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ กำจัด เพลี้ย แมลงหวี่ขาว และแมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)

🌿 ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี [FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..
🎖คลิกลิงค์เพื่อสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ http://www.farmkaset..link..
🦗ข้อมูล มาคา

มาคา เป็นยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ กำจัดแมลงศัตรูพืช
สกัดจากพืช_ 100% จากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค
*การใช้มาคากำจัด เพลี้ย และแมลงศัตรูพืช กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

🌿ข้อมูล FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig's law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แคลเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ธาตุแคลเซียม [Ca] ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น
อ่าน:3496
โรครา โรคใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ราน้ำค้าง ไฟทอปธอร่า บวกด้วย ฟึ้นฟู ให้แตกยอด แตกใบใหม่
โรครา โรคใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ราน้ำค้าง ไฟทอปธอร่า บวกด้วย ฟึ้นฟู ให้แตกยอด แตกใบใหม่
แก้ปัญหาโรคพืช ที่ีมีสาเหตุจากเชื้อรา ยกตัวอย่างเช่น โรคใบไหม้ ในพืชต่างๆ โรคใบติดทุเรียน โรคราน้ำค้างองุ่น เกิดจากเชื้อรา Plasmopara viticola ในแคนตาลูป เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis ในข้าวเกิดจาก เชื้อรา Peronosclerospora sorghi โรคใบไหม้มันฝรั่ง โรคใบจุดสีน้ำตาลในข้าว โรคเน่าคอรวงในข้าว หรือข้าวขาดคอรวง โรคแอนแทรคโนส พริก และพืชอื่นๆ ที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum sp โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โรคใบจุด โรคราสนิม โรคราน้ำค้าง โรคราดำ โรคราเขม่าดำ และโรคเชิื้อราในอีกหลายพืช

โรคที่ใช้ไอเอสไม่ได้ คือโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุจากเชื้อรา แต่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส เช่น โรคใบด่าง โรคใบด่างในอ้อย โรคไวรัสวงแหวนมะละกอ หรือโรคที่มีสาเหตุจากแบคทีเรียต่างๆ เช่น โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม มะนาว ก็ใช้ไอเอสไม่ได้เช่นกัน

🍂ไอเอส ราคา 450บาท บรรจุ 1ลิตร ส่วนผสม 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร
🌾FK ธรรมชาตินิยม ราคา 490บาท บรรจุ 250ซีซี ส่วนผสม 25-50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์

🎖 คลิกที่นี่เพื่อสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ

🍂ข้อมูล ไอเอส

สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติทั้งหมด ผ่านการวิจัยพัฒนา เพื่อคัดเลือกวัตถุดับที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุม และยับยั้งเชื้อรา ด้วยเทคโนโลยี “การควบคุมด้วยประจุไฟฟ้า (Ion Control)” โดยควบคุมสภาพแวดล้อมที่ผิวใบพืช ทำให้เกิดภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ของเชื้อรา อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดผิวใบพืชได้ดียิ่งขึ้น ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้ใช้และผู้บริโภค

🎗คุณประโยชน์
- ป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อรา สาเหตุโรคในพืชต่างๆ
- ลดการแพร่กระจายของเชื้อราที่เกิดกับพืช
- ป้องกันการลุกลามของแผลที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา
- มีความต้านทานโรคเพิ่มขึ้น เมื่อใช้เป็นประจำ
อ่าน:3479
วิธีปลูกทุเรียนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว
วิธีปลูกทุเรียนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว
เมื่อถึงฤดูกาลของผลไม้สีเหลืองกลิ่นยั่วใจ คนที่ชื่นชอบการทานทุกเรียนจะต้องยอมจ่ายเงินซื้อทุเรียนกินทุกครั้งไป และบางคนอาจอยากรู้สึกลองปลูกทุเรียนดูบ้าง แต่หลายคนก็บอกว่าปลูกทุเรียนมันยาก มักไม่ค่อยรอด เรามีคำแนะนำการปลูกทุเรียนจากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นข้อมูลให้เบื้องต้น

พันธุ์ทุเรียน

ชะนี
ข้อดี

-ทนทานต่อโรครากเน่า โคนเน่าพอสมควร
-ออกดอกง่าย
-เนื้อแห้ง รสดี สีสวย

ข้อเสีย

-ออกดอกดกแต่ติดผลยาก
-เป็นไส้ซึมง่าย
-อ่อนแอต่อโรคใบติด

หมอนทอง

ข้อดี

-ราคาสูงกว่าพันธุ์อื่น
-ติดผลดีมาก น้ำหนักผลดี
-เนื้อมาก เมล็ดลีบ มีกลิ่นน้อย เนื้อละเอียดแห้ง ไม่เละ ผลสุกแล้วเก็บไว้ได้นาน
-ไม่ค่อยเป็นไส้ซึม

ข้อเสีย

-อ่อนแอต่อโรครากเน่าโคนเน่า

ก้านยาว

ข้อดี

-ติดผลดี
-ราคาค่อนข้างดี
-น้ำหนักผลดี

ข้อเสีย

-ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรค รากเน่า โดนเน่า
-เปลือกหนา
-เนื้อน้อย
-เป็นไส้ซึมค่อนข้างง่าย
-ผลสุกเก็บไว้ได้ไม่นาน กันผลแตกง่าย
-อายุการให้ผลช้า

กระดุม

ข้อดี

-ไม่มีปัญหาไส้ซึมเพราะเป็นพันธุ์เบาเก็บเกี่ยวก่อนฝนตกชุก
-ออกดอกเร็วผลแก่เร็วจึงขายได้ราคาดีในช่วงต้นฤดู
-ผลดก ติดผลง่าย
-อายุการให้ผลเร็ว

ข้อเสีย

-อ่อนแอต่อโรครากเน่าโดนเน่า

การเลือกพื้นที่ปลูกทุเรียนควรคำนึงถึง

1.แหล่งน้ำ ต้องมีแหล่งน้ำจืดให้ต้นทุเรียนได้เพียงพอตลอดปี

2.อุณหภูมิและความชื้น ทุเรียนชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วงประมาณ 25-30 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 75-85% ถ้าปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศแห้งแล้งมีอากาศร้อนจัดเย็นจัดและมีลมแรงจะพบปัญหาใบไหม้หรือใบร่วง ต้นทุเรียนไม่เจริญเติบโตหรือเติบโตช้า ให้ผลผลิตช้าและน้อยไม่คุ้มต่อการลงทุน

3. สภาพดินควรเป็นดินร่วนดินร่วนปนทรายดินเหนียวปนทรายที่มีการระบายนํ้าดีและมีหน้าดินลึกเพราะทุเรียนเป็นพืชที่อ่อนแอต่อสภาพนํ้าขังความเป็นกรดด่างของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ถ้าจําเป็นต้องปลูกทุเรียนในสภาพดินทรายจําเป็นต้องนําหน้าดินจากแหล่งอื่นมาเสริมต้องใส่ปุ๋ยคอกและต้องดูแลเรื่องการให้นํ้ามากเป็นพิเศษแหล่งนํ้าต้องเพียงพอ

การปลูก

ฤดูปลูก ถ้ามีการจัดระบบการให้นํ้าอย่างมีประสิทธิภาพสามารถดูแลให้นํ้ากับต้นทุเรียนได้สมํ่าเสมอช่วงหลังปลูกควรปลูกตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายนแต่ถ้าหากจัดระบบนํ้าไม่ทันหรือยังไม่อาจดูแลเรื่องนํ้าได้ควรปลูกต้นฤดูฝนเตรียมพื้นที่การปลูกทุเรียน

1. ไถขุดตอขุดรากไม้เก่าออกจากแปลง
- พื้นที่ดอนไม่มีปัญหานํ้าทวมขัง : ไถกําจัดวัชพืชอย่างเดียว
- พื้นที่ดอนมีแอ่งที่ลุ่มนํ้าขัง : ไถปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ
- พื้นที่ลุ่มหรือตํ่ามีนํ้าท่วมขัง : ทําทางระบายนํ้าหรือยกร่อง

2. กําหนดระยะปลูก
ระยะระหว่างต้นและระยะระหว่างแถวด้านละ 9 เมตรปลูกได้ไร่ละ 20 ต้นการทําสวนขนาดใหญ่ควรขยายระยะระหว่างแถวให้กว้างขึ้นเพื่อสะดวกต่อการนําเครื่องจักรกลต่างๆไปทํางานในระหว่างแถว
3. วางแนวและปักไม้ตามระยะปลูกที่กําหนด
วางแนวกําหนดแถวปลูกโดยคํานึงว่าแนวปลูกขวางความลาดเทของพื้นที่หรืออาจกําหนดในแนวตั้งฉากกับถนนหรือกําหนดแถวปลูกไปในแนวทิศตะวันออกตะวันตกและถ้ามีการจัดวางระบบนํ้าต้องพิจารณาแนวทางจัดวางท่อในสวนด้วยจากนั้นจึงปักไม้ตามระยะที่กําหนดเพื่อขุดหลุมปลูกต่อไปวิธีการปลูกทุเรียนทําได้ 2 ลักษณะ

1. วิธีการขุดหลุมปลูกเหมาะกับสวนที่ไม่มีการวางระบบนํ้า
2. วิธีการปลูกแบบไม่ขุดหลุมเหมาะกับสวนที่จัดวางระบบนํ้ามีข้อดีคือประหยัดแรงงานค่าใช้จ่ายในการขุดหลุมดินระบายนํ้าและอากาศดีรากเจริญเร็ว

การปลูกทุเรียนแบบขุดหลุมปลูก

1. ขุดหลุมมีขนาดกว้างยาวและลึกด้านละ 50 เซนติเมตร

2. ผสมปุ๋ยคอกเก่าประมาณ 5 กิโลกรัมและปุ๋ยหินฟอสเฟตครึ่งกิโลกรัมคลุกเคล้ากับดินที่ขุดขึ้นมากลบกลับคืนไปในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม

3. เตรียมต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์ไม่เป็นโรคไม่มีแมลงทําลายและมีใบยอดคู่สุดท้ายแก้ระบบรากแผ่กระจายดีไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง

4. ใช้มีดกรีดก้นถุงออกถ้าพบรากขดงออยู่ก้นถุงให้ตัดออก

5. วางถุงต้นกล้าที่ตัดก้นถุงออกแล้ววางลงตรงกลางหลุมจัดให้ตรงแนวกับต้นอื่นๆ พร้อมทั้งปรับระดับสูงตํ่าของต้นทุเรียนให้รอยต่อระหว่างรากกับลําต้นหรือระดับดินปากถุงเดิมสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย

6. ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงจากล่างขึ้นบนทั้งสองด้าน

7. ดึงถุงพลาสติกออกระมัดระวังอย่าให้ดินในถุงแตก

8. กลบดินที่เหลือลงไปในหลุมอย่ากลบดินสูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ

9. ปักไม้หลักข้างต้นทุเรียนที่ปลูกแล้วพร้อมทั้งผูกเชือกยึดไว้เพื่อป้องกันลมพัดโยก

10. กดดินบริเวณโคนต้นหาวัสดุคลุมโคนต้นแล้วรดนํ้าตามให้โชก

11. จัดทําร่มเงาให้ต้นทุเรียนที่เพิ่งปลูกโดยใช้ทางมะพร้าวทางจากแผงหญ้าคาทางระกําหรือตาข่ายพรางแสงเมื่อทุเรียนตั้งตัวดีแล้วควรปลดออกหรืออาจปลูกไม้เพื่อให้ร่มเงาเช่น กล้วยก็จะช่วยเป็นร่มเงาและเพิ่มความชื้นในสวนทุเรียนได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่อากาศแห่งและมีแสงแดดจัด

12. แกะผ่าพลาสติกที่พันรอยเสียบยอดหรือทาบออกเมื่อปลูกไปแล้วประมาณ1-2 เดือน

การปลูกทุเรียนแบบไม่ขุดหลุม

1. โรยปุ๋ยหินฟอสเฟต 500 กรัมหรือประมาณหนึ่งกระป๋องนมครึ่งตรงตําแหน่งที่ต้องการปลูกกลบดินบางๆ

2. นําต้นพันธุ์มาวางแล้วถากดินข้างๆ ขึ้นมาพูนกลบแต่ถ้าหากเป็นดินร่วนปนทรายดินทรายดินจะไม่เกาะตัวกันควรใช้วิธีขุดหลุมปลูกหรือจะใช้วิธีดัดแปลง

3. วิธีดัดแปลงคือนําหน้าดินจากแหล่งอื่นมากองตรงตําแหน่งที่จะปลูกกองดินควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ1เมตรสูง15 เซนติเมตรแหวกกลางกองดินโรยปุ๋ยหินฟอสเฟตในช่องที่แหวกไว้กลบดินบางๆ วางต้นพันธุ์ดีลงตรงช่องที่แหวกไว้กลบดินทับ

4. การแกะถุงออกต้องระมัดระวังอย่าให้ดินแตกอาจทําได้โดยกรีดก้นถุงออกก่อนแล้วนําไปวางในตําแหน่งที่ปลูกกรีดถุงพลาสติกให้ขาดจากล่างขึ้นบนแล้วจึงค่อยๆ ดึงถุงพลาสติกออกเบาๆ

5. ระมัดระวังอย่ากลบดินให้สูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ

6. หาวัสดุคลุมโคนและจัดทําร่มเงาให้กับต้นทุเรียนเหมือนการปลูกโดยวิธีขุดหลุม

การปฏิบัติดูแลรักษาทุเรียน

การปฏิบัติดูแลทุเรียนในช่วงก่อนให้ผลผลิต

เป็นสิ่งสําคัญที่จะทําใหญ่ทุเรียนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และให้ผลผลิตได้เร็วขึ้น

1.ในระหว่างรอทุเรียนให้ผลผลิตในช่วงแรกควรปลูกพืชแซมเสริมรายได้โดยเลือกพืชให้ตรงกับความต้องการของตลาด

2. เมื่อตรวจพบทุเรียนตายหลังปลูกให้ทําการปลูกซ่อม

3. การให้นํ้าช่วงเวลาหลังจากปลูกจะตรงกับฤดูฝนถ้ามีฝนตกหนักควรทําทางระบายนํ้าและตรวจดูบริเวณหลุมปลูกถ้าดินยุบตัวเป็นแอ่งมีนํ้าขังต้องพูนดินเพิ่มถ้าฝนทิ้งช่วงควรรดนํ้าให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอในปีต่อๆไปควรดูแลรดนํ้าให้ต้นไม้ผลอย่างสมํ่าเสมอและในช่วงฤดูแล้งควรใช้วัสดุคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นในดินเช่นฟางข้าวหญ้าแห้ง

4. การตัดแต่งกิ่ง
ปีที่1-2 ไม่ควรตัดแต่ง ปล่อยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตอย่างเต็มที่
ปีต่อๆ ไปตัดแต่งกิ่งแห้งกิ่งแขนงกิ่งกระโดงในทรงพุ่มกิ่งเป็นโรคออกเลี้ยงกิ่งแขนงที่สมบูรณ์ที่อยู่ในแนวขนานกับพื้น (กิ่งมุมกว้าง) ไว้ในปริมาณและทิศทางเหมาะสมโดยให้กิ่งล่างสุดอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 80-100 เซนติเมตร

5. การป้องกันกําจัด
ชวงแตกใบอ่อน : ควรป้องกันกําจัดโรคใบติดเพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟไรแดงช่วงฤดูฝน:ป้องกันกําจัดโรครากเน่าโคนเน่าและควบคุมวัชพืชโดยการปลูกพืชคลุมดินและอาจจะกําจัดโดยใช้แรงงานขุดถากถอนตัดพยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเพราะต้นทุเรียนยังเล็กอยู่ละอองสารเคมีอาจจะไปทําลายต้นทุเรียน

6. การทําร่มเงา
ในช่วงฤดูแล้งแสงแดดจัดมากทําให้ทุเรียนใบไหม้ได้ ควรทําร่มเงาให้

7. การใส่ปุ๋ยควรทําดังนี้
- ใส่ปุ๋ยหลังจากตัดแต่งกิ่ง-
- ใส่ปุ๋ยพร้อมกับการทําโคน คือถากวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่มหว่านปุ๋ยและพรวนดินนอกชายพุ่มขึ้นมากลบใต้ทรงพุ่มให้มีลักษณะเป็นหลังเต่า และขยายขนาดของเนินดินให้กว้างขึ้นตามขนาดของทรงพุ่มหรือจะใส่ปุ๋ยโดยวิธีใช้ไม้ปลายแหลมแทงดินเป็นรูหยอดปุ๋ยใส่และปิดหลุมเป็นระยะให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่มวิธีหลังนี้แม้จะเปลืองแรงงานแต่ช่วยลดการสูญเสียของปุ๋ยจากการระเหยหรือถูกนํ้าชะพา
- หว่านปุ๋ยคอกก่อนและตามด้วยปุ๋ยเคมี
- ควรใส่ปุ๋ยในบริเวณใต้ทรงพุ่มโดยรอบและให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 20-30เซนติเมตรขึ้นไปขึ้นกับขนาดทรงพ่มปริมาณและเวลาใส่ปุ๋ย
ปีที่1 : ใส่ปุ๋ยและทําโคน 4 ครั้ง (เดือนเว้นเดือน)
ครั้งที่1-3 ใส่ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ1ปีบ)
ครั้งที่ 4 - ใส่ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ1ปีบ)

- ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 หรือ16-16-16 ประมาณ150-200 กรัมต่อต้น (ครึ่งกระป๋องนมข้น)ปีต่อๆไป(ระยะที่ทุเรียนยังไม่ให้ผลผลิต):ใส่ปุ๋ยและทําโคน 2 ครั้ง (ต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน)ครั้งที่1 (ต้นฝน) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 หรือ16-16-16ประมาณครึ่งถึง 3 กิโลกรัมต่อต้นครั้งที่ 2 (ปลายฝน) ใส่ปุ๋ยคอก15-50 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ 3-10 ปีบ)ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 หรือ16-16-16 ประมาณครึ่งถึง 3 กิโลกรัมต่อต้นปริมาณปุ๋ยเคมีที่ใส่ในแต่ละครั้งขึ้นกับขนาดของทรงพุ่มโดยยึดหลักว่าวัดจากโคนต้นมายังชายพุ่มเป็นเมตรได้เท่าไรคือจํานวนปุ๋ยเคมีที่ใส่เป็นกิโลกรัมเช่นระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม1เมตรใส่ปุ๋ย1กิโลกรัมระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 2 เมตรใส่ปุ๋ย 2 กิโลกรัมระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 2 เมตรครึ่งใส่ปุ๋ย 2 กิโลกรัมครึ่ง

การปฏิบัติดูแลทุเรียนในช่วงให้ผลแล้ว

เป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้ทุเรียนออกดอกติดผลมากและให้ผลผลิตคุณภาพดีการเตรียมต้นให้พร้อมที่จะออกดอกคือการเตรียมให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์มีอาหารสะสมเพียงพอเมื่อทุเรียนมีใบแก่ทั้งต้นและสภาพแวดล้อมเหมาะสมฝนแล้งดินมีความชื้นตํ่าอากาศเย็นลงเล็กน้อยทุเรียนก็จะออกดอกขั้นตอนต่างๆ จะต้องรีบดําเนินการภายหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตดังนี้

1. การตัดแต่งกิ่ง
หลังเก็บเกี่ยวให้รีบตัดแตงกิ่งแห้งกิ่งเป็นโรคกิ่งแขนงด้านในทรงพุ่มออกโดยเร็วทารอยแผลที่ตัดด้วยสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อราหรือปูนแดงกินกับหมาก
2. หลังตัดแต่งกิ่งให้กําจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยทันที
- ปุ๋ยคอก15-50 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ 3-10 ปีบ)
- ปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 หรือ16-16-16 ในอัตรา 3-5 กก. ต่อต้น (ทุเรียนต้นที่ขาดความสมบูรณ์ต้องการปุ๋ยมากกว่าทุเรียนต้นที่มีความสมบูรณ์อยู่แล้วทุเรียนต้นที่ให้ผลผลิตไปมากต้องการปุ๋ยมากกว่าทุเรียนที่ให้ผลผลิตน้อย)

3. ในช่วงฤดูฝน

-ถ้าฝนตกหนักจัดการระบายนํ้าออกจากแปลงปลูก

- ถ้าฝนทิ้งช่วงให้รดนํ้าแก่ต้นทุเรียน

- ควบคุมวัชพืชโดยการตัดและหรือใช้สารเคมี

- ป้องกันกําจัดโรคแมลงเช่นโรครากเน่าโคนเน่าโรคใบติดโรคแอนแทรกโนสเพลี้ยไก่แจ ไรแดงและเพลี้ยไฟ


4. ในช่วงปลายฤดูฝน


-เมื่อฝนทิ้งช่วงใหญ่ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24_ 9-24-24 หรือ12-24-12 2-3 กก.ต่อต้นเพื่อช่วยในการออกดอก

- ให้กําจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มกวาดเศษหญ้าและใบทุเรียนออกจากโคนต้นเพื่อให้ดินแห้งเร็วขึ้น

-งดการให้นํ้า 10-14 วันเมื่อสังเกตเห็นใบทุเรียนเริ่มลดลงต้องเริ่มให้นํ้าทีละน้อยเพื่อกระตุ้นให้ตามดอกเจริญอย่าปล่อยให้ขาดนํ้านานจนใบเหลืองใบตกเพราะตาดอกจะไม่เจริญและระวังอย่าให้นํ้ามากเกินไปเพราะช่อดอกอาจเปลี่ยนเป็นใบได้วิธีให้นํ้าที่เหมาะสมคือให้นํ้าแบบโชยๆ แล้วเว้นระยะสังเกตอาการของใบและดอกเมื่อเห็นดอกระยะไข่ปลามากพอแล้วก็เพิ่มปริมาณให้มากขึ้นเรื่อยๆจนสู่สภาวะปกติ

เอกสารประกอบการเรียบเรียง
1. สํานักงานส่งเสริมการเกษตรภาคกลาง_ 2534_ เอกสารวิชาการการบริหารศัตรูไม้ผลโดยวิธีผสาน. ชัยนาท. หน้า1/1-1/21.
2. สํานักงานส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออก_ 2534_ ทุเรียนภาคตะวันออก. ระยอง. 118หนา.
3. สมาคมชาวสวนผลไม้จังหวัดระยองและสํานักงานเกษตรจังหวัดระยอง_2536_ บันทึกชาวสวนผลไม้_ ระยอง. 102 หน้า.
4. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี_ 2533_ ปัจจัยและเทคนิคการเพิ่มการติดผลในทุเรียน. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีเพื่อการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ. วันที่ 27 ธันวาคม2533. 39 หน้า.
5. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี_ 2534_ ปัจจัยและการจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตของทุเรียน.เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีเพื่อการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพวันที่ 9มกราคม 2534. 26 หน้า.
6. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี_ 2534_ การเตรียมสภาพต้นเพื่อการชักนําให้ออกดอก. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีเพื่อการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพวันที่13 มิถุนายน2534. 16 หน้า.
7. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี_ 2536. เอกสารวิชาการพัฒนาการใช้สารคัลทาร์กับการผลิตทุเรียนก่อนฤดู. กรมวิชาการเกษตร_30 หน้า.8. หิรัญหิรัญประดิษฐ์และคณะ_ 2536. เทคนิคการผลิตทุเรียนก่อนฤดู_ วารสารส่งเสริมการเกษตรปีที่ 23 ฉบับที่ 67 มิถุนายน 2536. หน้า 2-9.

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:4121
ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวปน ข้าววัชพืช
ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวปน ข้าววัชพืช
ข้าววัชพืช weedy rice โดย ดร.จรรยา มณีโชติ กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
ข้อมูลนี้คัดมาจาก: http://kpp-rsc.ricethailand.go.th /weedyrice/weedy%20rice1.htm

ข้าววัชพืช
ปัจจุบัน ชาวนาในเขตภาคกลางจนถึงเหนือตอนล่าง กำลังประสบกับวัชพืชชนิดใหม่ที่มีลักษณะเหมือนต้นข้าวจนแยกไม่ออก
ในระยะต้นกล้า วัชพืชชนิดนี้มีชื่อเรียกต่างๆกันในแต่ละท้องถิ่นตามลักษณะภายนอกที่ปรากฏว่า “ข้าวหาง ข้าวนก ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวลาย หรือ ข้าวแดง” ซึ่งข้าวเหล่านี้จัดเป็นวัชพืชร้ายแรงในนาข้าว มีชื่อสามัญ ว่า “ข้าววัชพืช” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า
“weedy rice” ในระยะเริ่มต้นของการ ระบาด ข้าววัชพืชจะแฝงตัวเข้ามาในนาข้าวเพียงไม่กี่ต้น หากไม่มีการกำจัดในระยะเวลา
2-3 ฤดู เท่านั้น ข้าววัชพืชสามารถเพิ่มจำนวนเป็นหลายล้านต้นปกคลุมจนมองไม่เห็นต้นข้าว

ประวัติการระบาดของข้าววัชพืช
พบการระบาดรุนแรงครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ปีพ.ศ. 2544 ในนาหว่านน้ำตม ที่ตำบลเขาสามสิบหาบ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และในนาหว่านข้าวแห้ง ในเขตจังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี พื้นที่การระบาดเริ่มต้นเพียง 500 ไร่ และขยาย
วงกว้างออกไปเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2549 ข้าววัชพืชกลายเป็นปัญหาร้ายแรงที่พบในพื้นที่ทำนาหว่านน้ำตมจำนวนหลาย
แสนไร่ ทั่วเขตภาคกลางจนถึงเหนือตอนล่าง รวม 21 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง ชัยนาท อยุธยา นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก นอกจากนั้น ยังแพร่กระจายไปสู่แหล่งปลูกข้าวคุณภาพ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และหนองคาย

ข้าววัชพืช..มาจากไหน?
ข้าววัชพืช เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวป่าที่พบทั่วไปในธรรมชาติ กับข้าวปลูก เกิดเป็นลูกผสมที่มีการกระจายตัวของลูกหลาน
ออกเป็นหลายลักษณะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่ชาวนาไม่ต้องการ คือ เปลือกเมล็ดสีดำหรือลายน้ำตาลแดง เมล็ดข้าวสารมีสีแดง ปลายเมล็ดมีหางและเมื่อสุกแก่เมล็ดจะร่วงก่อนเก็บเกี่ยวข้าว

ชนิดของข้าววัชพืช
ข้าววัชพืชสามารถจำแนกตามความแตกต่างทางลักษณะภายนอกเป็น 3 ชนิด คือ ข้าวหาง ข้าวดีด และข้าวแดง ชนิดที่เป็นปัญหา
ร้ายแรงของชาวนาคือ ข้าวหาง และ ข้าวดีด เพราะเป็นข้าววัชพืชชนิดร่วงก่อนเกี่ยว เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และสูงข่มข้าวปลูก
ในระยะแตกกอ ข้าวหางและข้าวดีดจะออกดอกและเมล็ดจะสุกแก่ก่อนก่อนปลูกข้าวประมาณ 2 สัปดาห์ ชาวนาไม่สามารถ
เก็บเกี่ยวได ้เพราะเมล็ดร่วงเกือบหมด ทำให้ผลผลิตข้าวเสียหาย 10-100 % ขึ้นอยู่กับความหนาแน่น ของข้าวหาง และข้าวดีด บางแปลงที่มีความหนาแน่นมาก ใน 1 ตารางเมตร มีข้าวหาง 800 ต้น เหลือต้นข้าวจริงเพียง 2 ต้น ชาวนาไม่สามารถ เก็บเกี่ยวได้ ทำให้ผลผลิตเสียหาย 100% ส่วนข้าวแดงนั้นเป็นข้าววัชพืชชนิดเมล็ดไม่ร่วง ชาวนาสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ผลผลิตจึงไม่เสียหาย แต่คุณภาพ

ข้าว ลดลง เพราะเมล็ดขาวสารแดงที่ปนอยู่ ชาวนาถูกโรงสีตัดราคาเกวียนละ 200 - 800 บาท ตามเปอร์เซ็นต์ของข้าวแดงที่ปน เพื่อชดเชยผลผลิตที่จะต้องเสียไปบางส่วน เพื่อจะขัดเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงออก
ให้เป็นเมล็ดข้าวสารสีขาว ซึ่งบางครั้งในรายที่มีข้าววัชพืชปนเป็นจำนวนมาก โรงสีจะไม่รับซื้อ ชาวนาต้องนำไปขายเป็นข้าวเลี้ยงเป็ด และไก่ ในราคาถูกถังละ 30 - 50 บาท
---------------------------------------------------------------

ฟาร์มเกษตรนำเสนอสินค้า

ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว ไอซี-คิท ลดข้าวดีดได้มากกว่า 70%

ไอซี-คิท ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว ชุด 2 ขวด
ขนาด 1 ลิตร x 2 ขวด/ชุด

ชุดย่อยสลาย เฉพาะเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร

ลดข้าวดีดมากกว่า 70%

- รวดเร็วในการย่อยสลายตอซังฟางข้าว ภายใน 5-7 วัน โดยไม่ต้องเผา

- ปรับสภาพดินในนาข้าว สามารถไถพรวนได้ง่าย

- เพิ่มจุลธาตุอาหารให้แก่นาข้าวหลังการเก็บเกี่ยว

- สามารถลดปัญหาข้าวดีด และข้าววัชพืชอื่น ๆ ในนาข้าวได้


สนใจผลิตภัณฑ์ หรือสนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย

ติดต่อ ฟาร์มเกษตร
คุณ ปิยะมาศ

โทร: 090-592-8614
6.00 น. - 21.00 น.

หรือคลิกที่ลิงค์ด้านล่าง เพื่อดูราคา และข้อมูลสินค้า
อ่าน:3625
ปุ๋ยสำหรับทุเรียน ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ ส่งเสริมการเจริญเติบโต และผลผลิตทุเรียน
ปุ๋ยสำหรับทุเรียน ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ ส่งเสริมการเจริญเติบโต และผลผลิตทุเรียน
ปุ๋ยสำหรับทุเรียน ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ ส่งเสริมการเจริญเติบโต และผลผลิตทุเรียน
ระหว่าง เรารวบข้าวเช้า ข้าวเที่ยง ข้าวเย็น มาทานมื้อเดียวให้อิ่มไปเลย อัดเข้าไปเยอะๆ กินให้ได้เยอะที่สุด กับการที่เรา ทานข้าวเช้า ข้าวเที่ยง และเย็น ตามเวลา ทานในปริมาณที่พอเหมาะ

ผู้อ่านมีความเห็นว่า ทานแบบไหน ถึงจะทานได้ในปริมาณที่มากกว่า และร่างกายได้รับประโยชน์ จากอาหารที่ทานได้มากกว่า?

ต้นทุเรียน ก็เช่นเดียวกัน การที่เราอัดปุ๋ยไปมากๆครั้งเดียว นานๆให้สักครั้งนึง ย่อมสู้กับการให้น้อยๆ ให้บ่อยๆไม่ได้ ความสามารถในการดูดกินอาหารของพืช และการรับธาตุอาหารนั้นมีจำกัด ในช่วงเวลาหนึ่ง ก็รับธาตุอาหารได้จำกัด ใส่ไปมากกว่านั้น ก็ไม่สามารถจะดูดกินขึ้นไปพัฒนาเป็นการเจริญเติบโต หรือผลผลิตได้ เราใส่มากไปก็เกิน ที่เกิน ก็สลาย หายไปกับน้ำ กับลม กับฝน ระเหิด ระเหย ไปกับแสงแดด

ฉีดพ่น FK-1 อย่างสม่ำเสมอ ทุก 15-30 วัน เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต ให้กับต้นทุเรียนอย่างต่อเนื่อง มีความสมบูรณ์แข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง ตลอดไปจนได้ผลผลิตที่ดีขึ้น มีคุณภาพ และปริมาณที่มากขึ้น ด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ต่างๆ ที่มีอยู่ใน FK-1 ที่มากพอ เพียงพอต่อความต้องการของต้นทุเรียน ในหลายๆระยะการเจริญเติบโต

ธาตุไนโตรเจน (Nitrogen N) มีหน้าที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน ช่วยให้พืชมีสีเขียว เร่งการเจริญเติบโตทางใบ หากพืชขาดธาตุนี้จะแสดงอาการใบเหลือง ใบมีขนาดเล็กลง ลำต้นแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ

ธาตุฟอสฟอรัส (Phosphorus - P) เป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของสารพันธุกรรมและสารชีวเคมีที่ช่วยเก็บพลังงานในสิ่งมีชีวิตซึ่งถูกสร้างจากกระบวนการสังเคราะห์แสง มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของรากและช่วยรากพืชดูดซับสารอาหารในดินได้หลายชนิด การขาดฟอสฟอรัสจะทำให้พืชหยุดชะงักการเติบโตได้

ธาตุโพแทสเซียม (Potassium - K) โพแทสเซียม เป็นธาตุที่ช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาล แป้ง และโปรตีน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล ช่วยให้ผลเติบโตเร็วและมีคุณภาพดี ช่วยให้พืชแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลงบางชนิด ถ้าขาดธาตุนี้พืชจะไม่แข็งแรง ลำต้นอ่อนแอ ผลผลิตไม่เติบโต มีคุณภาพต่ำ สีไม่สวย รสชาติไม่ดี

ธาตุแคลเซียม (Calcium - Ca) แคลเซียมมีส่วนช่วยให้เนื้อเยื้อพืชแข็งแรงขึ้นได้เช่นเดียวกับการสร้างความแข็งแรงของกระดูก และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ช่วยในการทำงานเนื้อเยื้อพืช แคลเซียม เป็นองค์ประกอบที่ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด พืชขาดธาตุนี้ใบที่เจริญใหม่จะหงิกงอ ตายอดไม่เจริญ อาจมีจุดดำที่เส้นใบ รากสั้น ผลแตก และมีคุณภาพไม่ดี

ธาตุแมกนีเซียม (Magnesium - Mg) แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน และน้ำตาล ทำให้สภาพกรดด่างในเซลล์พอเหมาะและช่วยในการงอกของเมล็ด ถ้าขาดธาตุนี้ใบแก่จะเหลือง ยกเว้นเส้นใบ และใบจะร่วงหล่นเร็ว

ธาตุสังกะสี (Zinc Zn) สังกะสี ช่วยในการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์ และแป้ง ถ้าขาดธาตุนี้ใบอ่อนจะมีสีเหลืองซีดและปรากฏสีขาวๆ ประปรายตามแผ่นใบ โดยเส้นใบยังเขียว รากสั้นไม่เจริญตามปกติ

ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]
อ่าน:3485
โรคไหม้ข้าว (ระยะออกรวง)
โรคไหม้ข้าว (ระยะออกรวง)
เตือนเกษตรกรที่ปลูกข้าวในทุกภาคของประเทศไทย ที่ข้าวอยู่ระยะตั้งท้องถึงออกรวง จากข้อมูลจากแปลงติดตามสถานการณ์ศัตรูข้าวพบโรคไหม้ข้าว ในหลายพื้นที่ทางภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบการอาการของโรคไหม้ ใบข้าวมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตามีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ให้เร่งป้องกันกำจัด

เชื้อสาเหตุของโรคไหม้ข้าว : เชื้อรา Magnaporthe oryzae

Synonyms : Pyricularia oryzae Cavara

ลักษณะอาการของ โรคไหม้ข้าว

ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ ๒ - ๕ มิลลิเมตร และความยาวประมาณ ๑๐ - ๑๕ มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้

ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ

ระยะออกรวง (โรคไหม้คอรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก

การแพร่ระบาด พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยอัตราสูงและมีสภาพอากาศแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน ลมแรงจะแพร่กระจายโรคได้ดี

แนะนำวิธีการป้องกันกำจัดโรคไหม้ข้าว ดังนี้

๑. ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

๒. ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

ควรพ่นในแปลงข้าวที่มีประวัติว่าเคยมีโรคระบาดมาก่อน เชื้อราจะพยายามต้านทานสารป้องกันกำจัด หรือดื้อยา หากต้องใช้ยาต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อป้องกัน ควรสลับยาบ้าง เมื่อจำเป็นต้องใช้นานเกินไป

ในฤดูถัดไป

๑. แช่เมล็ดพันธุ์ด้วย สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดเชื้อรา ไอเอส ในอัตราส่วน 20ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร (ผสมอ่อนกว่าตอนฉีดพ่น)

๒. หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม ๑๕ – ๒๐ กิโลกรัมต่อไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดี

อ้างอิงข้อมูลหลักจาก
๑. กรมการข้าว
๒. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๓. กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
อ่าน:3627
หนอนคอรวงข้าว หากปีที่แล้วเคยระบาด ปีนี้ป้องกันไว้ดีกว่าแก้
หนอนคอรวงข้าว หากปีที่แล้วเคยระบาด ปีนี้ป้องกันไว้ดีกว่าแก้
หนอนกระทู้คอรวง Mythimna separata (Walker) ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลอ่อน แทรกสีน้ำตาลแดง ปีกกว้างประมาณ 4.5-5 เซนติเมตร วางไข่เป็นกลุ่มตามกาบใบและลำต้นหรือฐานของใบที่ม้วน ไข่ไม่มีขนปกคลุม วางไข่เป็นกลุ่มๆละประมาณ 100 ฟอง ระยะไข่นาน 6-8 วัน หนอนที่ฟักออกใหม่กัดกินใบหญ้าอ่อนจนอายุประมาณ 15 วัน จึงเริ่มกัดกินใบและรวงข้าว ระยะหนอนประมาณ 25-30 วัน หนอนมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว้างประมาณ 3.5-4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2.8 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน หนอนเข้าดักแด้ที่โคนกอข้าวหรือตามรอแตกของดิน ดักแด้มีสีน้ำตาลแดง ระยะดักแด้ 10-12 วัน

หนอนกระทู้คอรวง(rice ear-cutting caterpillar)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mythimna separata (Walker)
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lepidoptera
ชื่อสามัญอื่น :หนอนกระทู้ควายพระอินทร์

ลักษณะการทำลายของ หนอนกระทู้คอรวงข้าว

หนอนกระทู้คอรวงชอบกัดกินส่วนคอรวงหรือระแง้ของรวงข้าวที่กำลังจะ สุก(rippening stage) ทำให้คอรวงขาด สามารถทำลายรวงข้าวได้มาถึง 80% โดยลักษณะการทำลายคล้ายหนอนกระทู้กล้า มักเข้าทำลายต้นข้าวช่วงกลางคืนหรือตอนพลบค่ำถึงเช้าตรู่ กลางวันอาศัยตามใบหรือโคนต้นข้าวหรือวัชพืชตระกูลหญ้า หนอนจะกัดกินต้นข้าวทุกวันจนกระทั่งเข้าดักแด้ พบระบาดมากหลังน้ำท่วมหรือฝนตกหนักหลังผ่านช่วงแล้งที่ยาวนานแล้วตามด้วยฝน ตกหนัก การทำลายจะเสียหายรุนแรง จนชาวนาเรียกกันว่า “ หนอนกระทู้ควายพระอินทร์”

การป้องกันกำจัดหนอนกระทู้

1. กำจัดวัชพืชรอบๆ แปลงนา

2. ฉีดพ่น ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ ปลอดสารพิษ สำหรับป้องกันกำจัดหนอนต่างๆ ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

3. ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี
[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

# http://farmkaset..link..
อ่าน:3483
โรคแตงไทย โรคแตงโม และ โรคที่กิดกับพืชตระกูลแตง
โรคแตงไทย โรคแตงโม และ โรคที่กิดกับพืชตระกูลแตง
โรคที่เกิดกับผักตระกูลแตง

พืชตระกูลแตงมีหลายชนิด บางชนิดใช้รับประทานแบบพืชผักบางชนิดรับประทานแบบผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นแตงชนิดไหนก็ตามมีโอกาสที่จะเป็นโรคชนิดเดียวกันได้ แตงที่รับประทานแบบผลไม้ได้แก่ แตงโม แตงกวา แคนตาลูป แตงไทย แตงที่ใช้เป็นอาหารจำพวก ผัก ได้แก่ แตงกวา แตงร้าน มะระ ฟักทอง ฟัก แฟง น้ำเต้า ตำลึง บวบ ฯลฯ

จากการสำรวจพบว่าพืชในตระกูลแตงแต่ละชนิดมีโรคระบาดที่สำคัญและเป็นอุปสรรคต่อการปลูกมากหลายโรคด้วยกัน แต่ละโรคทำลายพืชตระกูลแตงเกือบทุกชนิดและเป็นโรคเดียวกัน ดังนั้นการศึกษาและเรียบเรียงคำแนะนำเรื่องโรคใดโรคหนึ่งและวิธีป้องกันกำจัดจึงสามารถใช้รวมไปได้กับพืชทุกชนิดในตระกูลแตง

โรคผักตระกูลแตงและวิธีป้องกันกำจัด

โรคผักตระกูลแตงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจไม่แพ้โรคผักของพืชตระกูลอื่น ๆ หรือพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ และกำลังจะได้รับการส่งเสริมให้พืชบางชนิดในตระกูลนี้ปลูกกันอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้ผลิตอาหารกระป๋องสำเร็จรูป เช่น ทำแตงกวาดอง ฯลฯ และเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องประสพปัญหาเรื่องโรค ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการเอกสารวิชาการเกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องโรคและวิธีป้องกันกำจัด เช่น รายละเอียดเรื่องระดับความเสียหายความรุนแรงของโรค การแพร่ระบาด สาเหตุของโรค สภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรคพาหะนำโรคและวิธีป้องกันกำจัดที่ให้ผลดีที่สุดและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย การป้องกันกำจัดโรค โดยวิธีใช้สารเคมีฉีดพ่นอาจไม่ได้ผลเลยและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นโดยไม่จำเป็น เช่น ในกรณี ที่เกิดโรคขาดธาตุอาหารหรือสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เชื้อโรค ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องทราบสาเหตุที่แท้จริงเสียก่อน แล้วจึงจะคัดเลือกวิธีการป้องกันกำจัดที่แท้จริงมาใช้หรืออาจจะต้องใช้วิธีการหลาย ๆ วิธีเข้าร่วมกันเพื่อให้การป้องกันกำจัดมีประสิทธิภาพสูง โรคจะได้ลดน้อยลง เพื่อที่จะให้การเรียบเรียงสมบูรณ์จึงได้จัดแบ่งโรคของผักตระกูลแตงออกเป็นหมวดหมู่ตามสาเหตุของโรค

โรคปลายผลเน่าเกิดจากขาดธาตุแคลเซียม

โรคปลายผลเน่าแห้งสีดำ (Blossomend rot)

โรคปลายผลเน่าเป็นโรคที่ทำความเสียหายมากกับแตงโม โดยเฉพาะพันธุ์ชาร์ลสตันเกรย์ ซึ่งปลูกไม่แพร่หลายนัก เพราะพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่มากไม่เป็นที่นิยมของผู้ซื้อ แต่ก็มีข้อดีที่เก็บได้นานกว่าแตงพันธุ์ชูก้าเบบี้ ซึ่งนิยมปลูกกันมากในปัจจุบัน พันธุ์ชูก้าเบบี้เก็บไม่ได้นานเท่าชาร์ลสตันเกรย์ก็จริงแต่เนื่องจากไม่เป็นโรคนี้และมีขนาดกำลังดี จึงนิยมปลูกกันมาก นอกจากแตงโมแล้ว แตงร้านและแตงกวาก็ปรากฎว่าเป็นโรคนี้บ้างเล็กน้อย

ลักษณะอาการของโรค

อาการเหี่ยวเริ่มจากปลายผลเข้ามาต่อมาเนื้อเยื่อจะแห้งแข็งเป็นสีน้ำตาบ เนื่อเยื่อจะยุบเข้าไปและมักจะมีเชื้อราอื่น ๆ มาขึ้นบนเนื้อเยื่อที่ตายแล้วทำให้เกิดอาการเน่าขึ้นภายหลัง

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียมและเกี่ยวกับการดูดซึมน้ำของรากแตงโมด้วย สาเหตุทั้งสองมีความสัมพันธ์กันมาก เพราะธาตุแคลเซียมจะช่วยให้การดูดซึมที่รากดีขึ้นด้วย แตงโม คงต้องการธาตุนี้มากกว่าพืชอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน

การป้องกันกำจัด

การปลูกแตงโมควรใช้ปูนขาวใส่ลงในดินสัก 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ หรือจะใช้ฉีดพ่นด้วยธาตุแคลเซียม เช่น แคลเซียมคลอไรด์ 0.2 % และควรให้น้ำสม่ำเสมอหรือต้องปลูกในที่ ๆ มีน้ำในระดับที่แตงโมจะดูดซึมได้สม่ำเสมอตลอดเวลา

โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

1. โรคเหี่ยวเฉาเกิดจากแบคทีเรีย (Bacterial wilt)

แตงกวาเป็นโรคนี้มากกว่าอย่างอื่น และแตงโมมีความทนทานต่อโรคนี้สูงมากจนเกือบจะไม่พบโรคนี้เลย ถ้ามีโรคนี้ระบาดจะเสียหายเพราะแตงจะเหี่ยวภายในเวลาอันรวดเร็ว

ลักษณะอาการของโรค

อาการเกิดที่ใบโดยแสดงอาการเหี่ยวเป็นบางใบก่อน อาการเหี่ยวลามไปที่ขั้วใบและเถาแตง ทำให้เถาแตงเหี่ยวตายทั้งต้นในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเหี่ยวมาก ๆ ผลจะเหี่ยวแห้งแล้วต้นพืชจะตาย

การตรวจโรคนี้ใช้วิธีตัดลำต้นที่เป็นโรคตามขวางเพื่อดูเชื้อบักเตรีซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวขุ่นข้นสีเหมือนสีน้ำนม ออกมาจากรอยตัด บางครั้งไม่พบของเหลวดังกล่าวควรนำไปแช่ในน้ำที่สะอาดถ้าพบของเหลวดังกล่าวไหลออกมาทำให้น้ำขุ่นกว่าเดิมก็แสดงว่าพืชนั้นมีแบคทีเรียในเนื้อเยื่อพืชก็ต้องนำมาทำการเพาะเลี้ยงเชื้อหาเชื้อบริสุทธิ์

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งแพร่ระบาดโดยแมลงศัตรูพืช

การป้องกันกำจัด

ถอนต้นที่เป็นโรคไปทำลายเสีย กำจัดแมลงที่อาจนำเชื้อโรค

2. โรคใบจุด โรคใบจุดของผักตระกูลแตงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุอยู่ 2 ชนิด

ก. โรคใบจุดเกิดจากแบคทีเรีย (Angular leaf spot_ Bacterial spot jor Blight)

แตงแคนตาลูป แตงโม เป็นโรคนี้มากกว่าอย่างอื่น ส่วนแตงกวา น้ำเต้า มีความคงทนต่อโรคนี้ต่างกัน

ลักษณะอาการของโรค

อาการเริ่มแรกจะเป็นเป็นจุดฉ่ำน้ำ ขนาดแผลไม่แน่นอน ในที่ ๆ มีอากาศชื้นอาจพบเชื้อแบคทีเรียดูดออกมาที่แผล

เมื่อแผลแห้งจุดของแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและใบจะแห้งร่วงไปในที่สุด อาการของโรคเป็นเฉพาะที่ เช่น ที่กิ่ง ใบ ผล แต่แผลที่ผลมีขนาดเล็กกว่า ถ้าเป็นมาก ๆ ผลจะร่วง

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas lachrymans (E.F. Smith and Bryan) Carsner

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่ในเศษซากพืชและอยู่ในเมล็ด การป้องกันจึงควรแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำร้อน ประมาณ 55 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที ก่อนปลูก หรือปลูกพืชหมุนเวียน 3 ปี ควรทำลายเศษซากพืชเสียก่อนปลูกพืชและใช้ยาฆ่าแมลงที่อาจนำเชื้อโรคมาสู่ต้นพืช

ข. โรคใบจุด (Bacterial leaf-spot)

พืชที่เป็นโรคนี้ได้แก่ แตงกวา ฟักทอง แตงโม น้ำเต้า

ลักษณะอาการของโรค

โรคใบจุดนี้มีอาการเหมือนกับชนิดแรกต่างกันพบโรคเฉพาะที่ใบไม่เป็นที่ผล

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas cucurbitae

การป้องกันกำจัด

ใช้วิธีการป้องกันกำจัดเหมือนชนิดแรก

โรคที่เกิดจากเชื้อรา

1. โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)

โรคราน้ำค้างจัดว่าเป็นโรคที่สำคัญของแตงโมทุกพันธุ์รวมทั้งพืชในตระกูลนี้อีกหลายชนิดเช่น แตงกวา แตงร้าน มะระ ฯลฯ ส่วนพวกตำลึง บวบ ฟักทอง ฟักข้าว ไม่ค่อยพบโรคนี้ระบาด

ลักษณะอาการของโรค

ใบแตงโมมีแผลสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลอ่อนประปรายทั่วใบ ทำให้ใบแห้งและเหี่ยวอาการจะปรากฎบนใบแก่โคนเถาก่อน โรคระบาดรวดเร็วมากจะทำให้เถาแตงเหี่ยวตายหมดทั้งเถาได้ในเวลาที่อากาศชื้น ด้านท้องใบจะมีกระจุกของราสีขาวหม่นขึ้นบนแผลคล้ายผงแป้ง โรคมักจะระบาดรุนแรงและรวดเร็ว เมื่อแตงกำลังให้ผล ทำให้เถาแตงตายไปก่อนที่แตงโมจะสุก

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis ซึ่งเป็นเชื้อราที่แพร่ระบาดไปในอากาศ

การป้องกันกำจัด

1. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย ไอเอส อัตราผสม 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

2. ฉีดพ่นด้วย ไอเอส ชนิดใดชนิดหนึ่งฉีดพ่น 5-7 วันต่อครั้ง

โรคราแป้ง

โรคราแป้งจัดว่าเป็นโรคที่ทำความเสียหายมากอีกโรคหนึ่งของแตงโมทุกพันธุ์และพืชในตระกูลนี้เกือบทุกชนิดเป็นโรคนี้ได้ง่าย

ลักษณะอาการของโรค

ใบมีราสีขาวจับคล้ายผงแป้งโดยเฉพาะด้านบนใบและตามผล เมื่อเชื้อราเริ่มจับใบใหม่ ๆ มีลักษณะเป็นวงกลมสีขาวซึ่งจะขยายออกไปจนคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบแห้งกรอบเป็นสีน้ำตาลอาการใบแห้งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทำให้ใบแห้งหมดทั้งเถาได้ เถาแตงโมจะทรุดโทรมเร็ว

สาเหตุของโรค

โรคราแป้งเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. ซึ่งสร้างสปอร์สีขาวคล้ายผงแป้งจับเคลือบอยู่บนใบและหลุดปลิวแพร่ระบาดไปในอากาศได้ง่าย

การป้องกันกำจัด

1. ควรฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรานี้โดยใช้ยากำมะถันผงชนิดละลายน้ำได้ในอัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ

2. ใช้ยาคาราเทนหรือมิลเด็กซ์

หมายเหตุ อัตราส่วนตามข้างสลากการฉีดพ่นยาดังกล่าวต้องฉีดพ่นในเวลาที่ไม่มีแสงแดดหรืออากาศร้อนจัด และใช้ความเข้มข้นต่ำไว้ก่อนจะไม่ทำให้เกิดอาการใบไหม้ ยาชนิดอื่นไม่ให้ผลดีเท่ายาที่กล่าวมาแล้ว

3. โรคแอนแทรกโนส (Anthracnose)

แตงโมทุกพันธุ์เป็นโรคนี้และจัดว่าเป็นโรคที่ระบาดทั่วไป โรคนี้ไม่ทำให้เนื้อใบเสียแต่ทำให้แตงโม มีรสหวานน้อยลงและมีสีอ่อนกว่าปกติ ยกเว้นแตงแคนตาลูป ซึ่งมีแผลใหญ่และผลเน่าอย่างรวดเร็วและเสียหายมากกว่าแตงพันธุ์อื่น ๆ

ลักษณะอาการของโรค

โรคนี้ทำให้เกิดจุดหรือแผลนูนเล็ก ๆ สีน้ำตาบประปรายทั่วไป แผลดังกล่าวนี้เกิดบนผลแตงโม ทำให้ผลแตงโมมีผิวขรุขระ พันธุ์ที่ไม่มีความต้านทาน แผลจะขยายใหญ่ขึ้นและเนื้อเยื่อตรงกลางแผลจะยุบต่ำลงไปจากระดับเดิมเล็กน้อย ตรงกลางแผลมีเชื้อราเป็นหยดเยิ้มสีชมพูอ่อน เรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้นตามขนาดของแผลที่ขยายใหญ่ขึ้น เช่น แผลบนแตงแคนตาลูป

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum lagenarium

การป้องกันกำจัด

ฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไอเอส อัตราตามข้างสลากทุก ๆ 5-7 วัน เมื่อเริ่มพบโรคระบาดและเก็บผลที่เป็นโรคทิ้ง เพื่อทำให้มีเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น ยาป้องกันกำจัดเชื้อราเกือบทุกชนิดให้ผลในการป้องกันกำจัดใกล้เคียงกัน การใส่ปุ๋ยอินทรีย์และกากพืชจำนวนมากมีผลทำให้โรคลดน้อยลงได้มาก

4. โรคเหี่ยว (Fusarium wilts)

แตงโม แตงกวา แตงร้าน แคนตาลูป เป็นโรคนี้ทั่วไปทุกแห่ง พืชอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกันนี้มีความต้านทานและคงทนต่อโรคสูง จึงไม่ใครพบโรคนี้ ความเสียหายเกิดขึ้นมากน้อยแล้วแต่จำนวนต้นที่เหี่ยวตาย แต่จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งซึ่งเป็นมากในระยะที่แตงกำลังตกผล ซึ่งอาจจะทำให้ต้นเหี่ยวตายไปก่อนที่จะเก็บผล

ลักษณะอาการของโรค

ใบแก่ที่อยู่ที่โคนเถาแตงจะเริ่มเหลืองและเหี่ยวตายก่อนแล้วลามไปจนถึงปลายเถาบางต้นมีลำต้นแตกช้ำ แตงมักจะเริ่มเหี่ยวจากแขนงใดแขนงหนึ่งก่อน แล้วจะแห้งตายหมดทั้งเถาในเวลาต่อมา

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp. ซึ่งเป็นเชื้อราที่ชอบอาศัยอยู่ในดินที่เป็นทรายมากและเป็นดินกรด ดินที่ปลูกแตงติดต่อกันหลายปีมักจะมีโรคนี้ระบาดมาก

การป้องกันกำจัด

1. ควรปรับดินด้วยปูนขาวประมาณ 100-150 กก. ต่อไร่ และเมื่อจะปลูกซ้ำ ที่ควรจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากหลังจากการใส่ปูนขาวจะช่วยทำให้โรคนี้ลดน้อยลง ถ้าปุ๋ยอินทรีย์จำพวกปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์หายากก็ควรพิจารณาปลูกพืชตระกูลถั่วแซมหรือสลับแล้วไถกลบต้นถั่วให้เป็นปุ๋ยพืชสดหรือกากพืชลงไปในดิน และไม่ควรปลูกแตงซ้ำที่เกินกว่า 3 ปี

2. ใช้ ไอเอส อัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร รดโคนต้นให้ชุ่ม

หมายเหตุ การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มากจะทำให้เป็นโรคนี้มากขึ้น ควรใส่แต่น้อยแต่ใส่หลาย ๆ ครั้ง

5. โรคใบจุด

แตงมีโรคใบจุดเกิดจากเชื้อราต่างกันหลายชนิด มีอาการคล้ายคลึงกัน การระบาดของโรคไม่รุนแรงเหมือนโรคอื่น ๆ โรคใบจุดของแตงมีดังต่อไปนี้

5.1 โรคใบจุดของแตงเกิดจากเชื้อออเทอนาเรีย (Alternaria)

ลักษณะอาการของโรค

จุดแผลจะฉ่ำน้ำ มีสีเหลือง และสีของแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือเทากลาง ๆแผลมีสีดำ เมื่อแผลมีขนาดใหญ่ แผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มและพบเชื้อราขึ้นเรียงเป็นวงแหวนกลาง ๆ แผลอาจฉีกขาด ผลของต้นที่เป็นโรคมักจะสุกก่อนกำหนด และอาจพบแผลที่ผลและที่ลำต้น

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Alternaria cucumerina (Ellis and Everhart Elliott)

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากเชื้อราอาศัยอยู่ในเศษซากพืช การป้องกันกำจัดจึงควรทำดังนี้

1. ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรค

2. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค

3. คลุกยาคลุกเมล็ด เช่น ไดเทนเอ็ม 45 ชนิดสีแดงเสียก่อนปลูก

4. ปลูกพืชหมุนเวียน 3 ปี

5. ฉีดพ่นด้วย ไอเอส

5.2 โรคใบจุดเกิดจากเชื้อราเซอคอสปอรา

ลักษณะอาการของโรค

จุดของแผลมีขนาดเล็กเป็นรูปกลมหรือเหลี่ยมมีสีน้ำตาล กลาง ๆ จุด มีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อนขอบของแผลมีสีม่วง หรือน้ำตาลอ่อน ส่วนมากเกิดด้านใบ

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Cercospora citrullina Cook

การป้องกันกำจัด

ใช้วิธีเดียวกับโรคที่เกิดจากเชื้อออเทอนาเรีย

6. โรคใบแห้ง (Corynespora blight)

แตงกวาเป็นโรคได้ง่าย

ลักษณะอาการของโรค

ลักษณะของแผลที่ใบจะกลมหรือเหลี่ยมมีสีน้ำตาล กลาง ๆ แผลมีสีเขียวหรือเหลือง เมื่อมีแผลมากและแผลมีขนาดใหญ่ขึ้น ใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งตาย แผลบนกิ่งก้าน มีลักษณะยาวตามส่วนของพืช ผลที่ถูกเชื้อเข้าทำลายมักจะเป็นผลที่แก่และผลที่มีสีเหลือง ใบหรือผลอ่อนที่มีสีเขียวเชื้อราชนิดนี้จะไม่เข้าทำลาย

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Corynespora melonia (Cooke) Lindan

การป้องกันกำจัด

1. ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรคและเศษซากพืชหลังเก็บเกี่ยว

2. ใช้ยาเบนเลท ไดเทนเอ็ม 45 หรือ ไดโฟลาแทน ชนิดใดชนิดหนึ่งในการป้องกันกำจัดแต่จากการทดลองพบว่ายาเบนเลทใช้ได้ผลดี

7. โรคดอกเน่า (Choanephora wet-rot)

พืชที่เป็นโรคนี้ได้แก่ น้ำเต้า ฟักทอง และพืชอื่น ๆ

ลักษณะอาการของโรค

บริเวณที่เป็นโรคจะเป็นจุดสีดำขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ฉ่ำน้ำและเน่าเละมักเป็นโรคบริเวณยอดอ่อน ๆ และยอดที่กำลังมีดอกโดยยอดจะมีสีซีดกว่ายอดปกติ ต่อมายอดและผลอ่อนจะแห้ง ส่วนมากจะพบโรคนี้ในเวลาที่มีฝนตากชุกและมีน้ำค้างหรือหมอกลงจัด

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Choanephora cucurbitarum

การป้องกันกำจัด

ใช้ยาซาพรอล หรือไดโฟลาแทน อัตราส่วนตามข้างสลาก ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน

8. โรคผลเน่า

โรคผลเน่าที่พบมากเกิดจากเชื้อรา 2 ชนิด และเป็นมากกับแตงโมและแตงกวา

8.1 โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อพิเทียม (Pythium Fruit rot)

ใช้ยาริดโดมิล เอ็มแซด 72 หรือไดโฟลาแทนหรือซาพรอล อัตราส่วนตามข้างสลาก ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน

ลักษณะอาการของโรค

จะพบโรคนี้ทั้งที่ผลและที่ราก อาการที่ผลจะเน่าและมักพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราปกคลุมอยู่ที่ผิวของผล ถ้าเกิดที่รากจะทำให้รากเน่า

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา Pythium spp.

8.2 โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อดิพโพเดีย (Diplodia fruit rot)

แตงโมเป็นโรคนี้ได้มากที่สุด นอกจากนี้มีแตงกวา และแคนตาลูป

ลักษณะอาการของโรค

เมื่อกดดูบริเวณขั้วของแตงโมที่เป็นโรคจะบุ๋ม เชื้อราจะเข้าบริเวณขั้วก่อนเนื้อเยื่อที่ติดกับขั้วจะเน่าและฉ่ำน้ำ อาการเน่าเกิดขึ้นเร็วมาก เมื่อเป็นมาก ๆ ผลแตงจะมีสีดำ ถ้าอากาศชื้น ๆ จะพบเชื้อราสีเทา คลุมอยู่ที่ผล ถ้าพบเป็นโรคในผลที่ยังอ่อนเชื้อราจะเข้ามาบริเวณปลายผล มีอาการเหมือนบริเวณที่ขั้วของผลแตงโมที่ถูกเชื้อชนิดนี้เข้าทำลาย โดยมีสีอ่อนกว่าบริเวณที่ไม่ถูกเชื้อเข้าทำลาย เมื่อแผลมีขนาดใหญ่สีของแผลจะเข้ม พบเชื้อราบริเวณผิวแตงเห็นได้ชัดเจน ต่อมาผิวแตงจะแห้ง เชื้อราชนิดนี้ทำให้เกิดอาการผลเน่าได้เช่นเดียวกับเชื้อราชนิดแรกที่กล่าวมาแล้ว

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา (Diplodia gossypina coke)

การป้องกันกำจัด

1. ฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา

9. โรครากปม

การปลูกแตงโมในที่บางแห่งมีปัญหาโรครากปมระบาดมาก โรคนี้ไม่ทำให้เถาแตงโมตายแต่ก็ทำให้แตงแคระแกรนไม่ใคร่เจริญเติบโต ทำให้ผลผลิตตกต่ำ

ลักษณะอาการของโรค

ยอดแตงแสดงอาการชูตั้งชันและไม่เจริญยืดยาวออกไป ในเวลากลางวันที่มีอากาศร้อน เถาแตงจะแสดงอาการเหี่ยวและฟื้นเป็นปกติในเวลากลางคืนอีก ถ้าถอนต้นแตงตรวจดูจะพบรากบวมเป็นปมขนาดต่าง ๆ กัน ไม่มีรากฝอยซึ่งเป็นสาเหตุให้การดูดอาหารและน้ำที่รากไม่เป็นปกติเกิดการอุดตันขึ้นเพราะเชื้อโรคเข้าไปอาศัยอยู่และไปกระตุ้นให้เซลส์ของรากโตและมีระบบเนื้อเยื่อรากผิดปกติไป

สาเหตุของโรค

เกิดจากไส้เดือนฝอยชนิดหนึ่ง Meloidogyne spp. ซึ่งตัวเมียจะไชเข้าไปอาศัยอยู่ในราก ทำให้รากบวมโตเป็นปมและแย่งอาหารจากราก

การป้องกันกำจัด

1. ใช้ยาฟูราดาน อัตรา 3 กรัม รองก้นหลุมเมื่อปลูก

2. ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกและกากพืชเพื่อปรับปรุงดินจะช่วยลดปริมาณการเป็นโรคลง โดยเฉพาะการปลูกในดินร่วนปนทราย

3. ถอนต้นพืชที่เป็นโรคทิ้งเพื่อกำจัดไข่ตัวเมียที่จะแพร่ระบาดในแปลง

หมายเหตุ ในดินเหนียวและดินที่มีอินทรีย์วัตถุมาก ๆ ไม่ค่อยเป็นโรคนี้

10. โรคยอดหงิกใบด่าง

โรคยอดหงิกใบด่างของแตงโมและพืชอื่น ๆ เกิดจากเชื้อวิสาซึ่งมีศัตรูจำพวกปากดูดเป็นตัวนำเชื้อโรคให้แพร่ระบาดติดต่อกัน จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญอีกโรคหนึ่ง ทำความเสียหายมากเพราะจะทำให้ต้นที่เป็นโรคไม่ผลิดอกออกผล หรือมีผลเล็กผิดปกติ

ลักษณะอาการของโรค

พืชจะแสดงอาการใบมีสีเขียวและเหลืองด่างลายประปรายทั่วใบและเนื้อใบหยักเป็นคลื่น ใบเล็กลง ยอดตั้งชันและชงักการเจริญเติบโต ยอดหก ไม่ผลิดอกออกผลต่อไป

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อวิสาที่มีศัตรูจำพวกปากดูดเช่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรคจากต้นที่เป็นโรคติดต่อไปยังต้นดีได้ง่าย เชื้อวิสาของแตงโมมีหลายชนิดซึ่งทำให้เกิดอาการใกล้เคียงกัน

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากมีศัตรูพืชเป็นตัวนำโรคจึงต้องป้องกันมิให้มีศัตรูดังกล่าวระบาดโดยการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น แลนเนท และเซวิน กำจัดพวกเพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อน และถอนทำลายต้นที่แสดงอาการเป็นโรคออกไปจากไร่ จะช่วยลดโรคนี้หรือป้องกันโรคนี้ได้

หมายเหตุ ศัตรูพวกนี้มีขนาดเล็กมาก แต่พอจะสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพลี้ยไฟตัวเรียวยาวสีเหลืองอมส้ม เคลื่อนไหวรวดเร็ว ตัวแก่มีสีดำและบินได้

Main Content Reference:
กลุ่มงานวิจัยโรคพืชผักและไม้ประดับ กองโรคพืชและจุลชีวเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
thaikasetsart.com
อ่าน:3571
ตอก - ใช้มัดข้าวหลังการเก็บเกี่ยวข้าวด้วยมือของชาวนา รู้จักกันหรือไม่?
ตอก - ใช้มัดข้าวหลังการเก็บเกี่ยวข้าวด้วยมือของชาวนา รู้จักกันหรือไม่?
ตอก - ใช้มัดข้าวหลังการเก็บเกี่ยวข้าวด้วยมือของชาวนา รู้จักกันหรือไม่?
ตอก หรือ เชือกตอก

เชือกตอก ทำจากไม้ไผ่ โดยการตัดหรือสไลด์ออกเป็นเส้นบางๆ ใช้สำหรับมัดข้าวในขั้นตอนเกี่ยวข้าวด้วยมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วในการทำนาปี ที่เป็นนาดำ และมีการลงแขกเกี่ยวข้าว หากเป็นการใช้รถเกี่ยวข้าว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ตอก หรือเชือกตอกอีกต่อไป ผมเลยสันนิษฐานว่า อีกไม่นาน เราจะไม่เห็นเชือกตอก หรือจะค่อยๆหายไปตามการเวลา และจะหาดูได้อยากในอนาคตอันใกล้นี้

เมื่อถึงเวลาใกล้เกี่ยวข้าว หรือใกล้ๆกับต้นเดือนธันวาคมของทุกปี จะเริ่มเข้าฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ชาวนามีคำท่องติดปากเล่นๆว่า ข้าวนาปี ปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อ อันนี้เป็นวิธีการจดจำช่วงเวลาการทำนาง่ายๆ ไว้สำหรับบอกกล่าวกับคนทั่วไป ที่ไม่ได้เป็นชาวนา เวลามาถามว่า ข้าวนาปีปลูกเมื่อไหร่
อ่าน:3479
635 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 63 หน้า, หน้าที่ 64 มี 5 รายการ
|-Page 58 of 64-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
5 ประโยชน์ของกัญชา ที่น่าสนใจ
Update: 2565/09/12 15:43:07 - Views: 3457
การป้องกันและกำจัด โรคใบจุด ในข้าวโพด.
Update: 2566/03/08 15:40:40 - Views: 3408
โรคราสีชมพู ที่เกิดกับ ลองกองผลอ่อน
Update: 2564/08/20 12:43:41 - Views: 3602
การใช้ INVET ผสมปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ ศัตรูพืชสำหรับต้นสตอเบอร์รี่
Update: 2567/02/26 13:08:42 - Views: 3472
แก้ปัญหา โรคมันสำปะหลัง มันสำปะหลังใบไหม้ เพลี้ยมันสำปะหลัง และ ปุ๋ยมันสำปะหลัง
Update: 2565/04/25 17:19:54 - Views: 3405
ต่อสู้ทันที! วิธีกำจัดหนอนในต้นแตงโม
Update: 2566/11/15 14:56:32 - Views: 3460
เกษตรกรท่านใดมีปัญหา !!💢ต้นไม่แข็งแรง 💢ผลผลิตโตช้า 💢ผลผลิตไม่สมบูรณ์💢ปลูกแล้วขาดทุน "เราช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้คุณได้" ขาดทุน
Update: 2566/11/04 11:42:23 - Views: 3442
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว ศัตรูตัวร้าย ในนาข้าว บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/23 13:42:38 - Views: 3559
คะน้า ใบจุด ใบเหลือง ใบไหม้ ราน้ำค้าง ในต้นผักคะน้า สร้างความเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร ??
Update: 2566/11/07 09:33:43 - Views: 3432
ปุ๋ยบำรุงมะนาว ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ
Update: 2564/04/01 13:41:16 - Views: 3539
กำจัดเพลี้ย ศัตรูพืชในต้นทุเรียน มาคา สารอัลคาลอยด์สกัดจากธรรมชาติ FK-1 เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชืั้อราในต้นทุเรียน
Update: 2566/05/23 10:17:58 - Views: 3421
การป้องกันกำจัด โรคราสนิมถั่วเหลือง (soybean rust)
Update: 2563/12/07 09:09:25 - Views: 3421
การป้องกันกำจัด โรคใบจุดในกล้วย
Update: 2566/03/11 12:10:37 - Views: 3405
กำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใน เมล่อน เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ไตรโครเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/24 13:54:22 - Views: 3412
แก้ปัญหา มะพร้าวใบเหลือง ผลเล็ก ไม่ติดผล ด้วยปุ๋ย สตาร์เฟอร์
Update: 2567/03/15 13:35:04 - Views: 3845
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคลำต้นและกิ่งไหม้ ใน ดอกบานไม่รู้โรย ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/19 12:15:55 - Views: 3453
มังคุด ใบไหม้ ใบจุด กำจัดโรคมังคุด จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/21 09:48:28 - Views: 3434
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยหอย ในดอกกุหลาบ และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/11 14:13:10 - Views: 3455
โรคใบติดทุเรียน โรคราสีชมพูในทุเรียน โรคทุเรียนกิ่งแห้ง ต้องหมั่นสังเกตุตรวจดูแลสวน หากพบ ให้เร่งป้องกันกำจัด
Update: 2566/11/04 14:14:10 - Views: 10150
ยารักษาโรคพืช กำจัดโรครากำมะหยี่ ใน มะเขือเทศ โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด(ขนาด3 ลิตรใช้ได้15ไร่)
Update: 2566/05/31 11:19:05 - Views: 3416
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022