[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - เพลี้ย
645 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 64 หน้า, หน้าที่ 65 มี 5 รายการ

โรคมะกอกโอลีฟ โรคราดำมะกอกโอลีฟ และโรคมะกอกโอลีฟ ที่เกิดจากเชื้อรา
โรคมะกอกโอลีฟ โรคราดำมะกอกโอลีฟ และโรคมะกอกโอลีฟ ที่เกิดจากเชื้อรา
โรคที่สำคัญสำหรับแปลงปลูกมะกอกโอลีฟในเขตเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่

1. โรค Tuberculosis (Olive knot) ที่เกิดจากการติดเชื้อ Pseudomonas savastanoi (Smith) ซึ่งก่อให้เกิดอาหารเป็นปมขึ้นที่กิ่งก้านและทำให้เกิดการเจริญเติบโตมากผิดปกติ โดยมีสาเหตุมาจากการตัดแต่งเป็นส่วนมากถ้ามีการตัดแต่งบ่อยก็มีผลให้เกิดการติดเชื้อที่แผลบริเวณที่ตัดได้ซึ่งเชื้อโรคนี้อาจติดมากับเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดแต่งกิ่งและอาจเข้าทางบาดแผลบนกิ่งหรือต้น ดังนั้นจึงมีการใช้สารพวก copper ทาหลังจากที่มีการตัดแต่งและให้ทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ก่อนตัดแต่ง พันธุ์มะกอกโอลีฟที่อ่อนแอต่อเชื้อแบคทีเรียนี้ได้แก่ พันธุ์ Cornicabra

2. โรคที่เกิดจากเชื้อรา Cycloconium oleaginum ซึ่งทำให้เกิดอาการแผลบนใบในช่วงระหว่างฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีฝนตกหรือความชื้นสูง เมื่อเชื้อรานี้เจริญขึ้นบนใบในระยะแรกแผลบนใบจะเป็นจุดเล็ก ๆ จากนั้นจะลุกลามแผ่ขยายขนาดแผลและทำให้ใบร่วง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผลผลิตลดลงในที่สุด พันธุ์มะกอกโอลีฟที่อ่อนแอต่อเชื้อรานี้ได้แก่ พันธุ์ Cailletier_พันธุ์ Lucques และพันธุ์ Tanche

3. โรคราดำ เป็นโรคที่เกิดขึ้นบนแผ่นใบ ทำให้ลดพื้นที่การสังเคราะห์แสงและการหายใจของใบซึ่งมีผลทำให้ผลผลิตลดลงในที่สุด นอกจากนี้ราดำยังแพร่ลุกลามไปบนกิ่งและยอดมะกอกโอลีฟด้วย โดยปกติมักแพร่ระบาดได้ดีในช่วงที่อากาศเย็นและชื้น เมื่อใดสังเกตพบราดำนี้จะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเริ่มมีแมลงชนิดหนึ่งเข้ามาแล้วคือเพลี้ยดำ

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น มาคา เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ย ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อรักษา โรคราดำ และโรคราต่างๆ ใช้ FK-1 เพื่อฟื้นฟู บำรุงโอลีฟ สร้างภูมิต้านทาน และส่งเสริมผลผลิต
โรคใบด่างมันสำปะหลัง
โรคใบด่างมันสำปะหลัง
โรคใบด่างมันสำปะหลัง สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส Cassava mosaic virus ; CMV

อาการ : ใบด่างเหลือง ผิดรูป ยอดเเตกใหม่ แสดงอาการด่างเหลืองชัดเจน ลำต้นเเคระเเกร็น ไม่เจริญเติบโต

การเเพร่ระบาด :
1. ท่อนพันธ์ุ จากต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรค
2. เเมลงหวี่ขาวยาสูบ นำเชื้อไวรัสจากต้นเป็นโรคไปสู่ต้นปกติ

ความเสียหาย : มันสำปะหลังไม่สร้างหัว หัวลีบเล็ก หรือหัวไม่มีเเป้ง ผลผลิตลดลงหากเป็นโรคตั้งเเต่ระยะเล็ก จะเสียหายถึง 80-100%

การปฏิบัติเพื่อกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง :

1. สำรวจเเปลงมันสำปะหลังของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นมันสำปะหลังแสดงอาการใบด่างให้รีบเเจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านทันที

2. กำจัดต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคและเเมลงหวี่ขาวยาสูบ

3. คัดเลือกท่อนพันธ์ุสะอาด ใช้ท่อนพันธุ์จากเเปลงที่ไม่เคยเป็นโรคหรือใช้ท่อนพันธ์ุที่ทราบเเหล่งที่มา

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
และ http://www.farmkaset..link..

โรคใบด่างมันสำปะหลัง ยังไม่มียารักษาโดยตรง ทำได้โดยการ ป้องกัน กำจัด แมลงหวี่ขาว และ เพลี้ย พาหะของโรค

ฉีดพ่น มาคา เพื่อป้องกัน กำจัด แมลงหวีขาว และ เพลี้ยต่างๆ

ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง เพิ่มผลผลิต

สามารถผสม มาคา และ FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
แตงกวา การปลูกแตงกวา การป้องกันกำจัด เพลี้ย แมลง และการรักษาโรคแตงกวา
แตงกวา การปลูกแตงกวา การป้องกันกำจัด เพลี้ย แมลง และการรักษาโรคแตงกวา
แตงกวา (Cucumber) เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า ซึ่งมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาค ของประเทศ มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวสั้น โดยใช้เวลาเพียง 30-45 วัน หลังจากปลูกเมื่อเปรียบเทียบรายได้จากการปลูก แตงกวากับพืชอื่นๆ หลายชนิดแล้ว แตงกวาเป็นพืชหนึ่งที่สามารถทำรายได้ดีทีเดียว สำหรับในแง่ของผู้บริโภคแล้ว แตงกวาที่สามารถ นำไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิด เช่น การนำไปแกงจืด ผัด จิ้มน้ำพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง จะเห็นได้ว่าแตงกวาเป็นพืชที่เข้ามามีบทบาทต่อการค้าทั้งในและต่างประเทศ

ถิ่นกำเนิดแตงกวา

แตงกวา การปลูกแตงกวาแตงกวามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย มีการบันทึกประวัติการปลูกมากกว่า 3_000 ปี และมีการปลูกในประเทศ แถบทะเล เมดิเตอร์เรเนียน เมื่อก่อน 2_000 ปี โดยนำผ่านเอเซียกลางและตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ในศตวรรษที่ 6 ได้นำไปปลูก ในประเทศจีน โดยสันนิษฐานว่าได้นำเข้าประเทศจีน 2 ทาง คือ เส้นทางสายไหม โดยผ่านประเทศในเอเซียตะวันออก ไปภาคเหนือของประเทศจีน ส่วนอีกเส้นทางโดยผ่านประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว ไปสู่ทางภาคใต้ ของประเทศจีน ในศตวรรษที่ 9-14 ได้นำไปปลูกในทวีปยุโรป และได้รับการพัฒนาพันธุ์ต้นศตวรรษที่ 19 ได้รับการพัฒนาพันธุ์ ให้เหมาะสม ต่อการปลูกได้ในโรงเรือน ศตวรรษที่ 15-16 ได้นำไปปลูกในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาเหนือ และได้รับการ พัฒนาพันธุ์อย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันแตงกวาเป็นผักที่นิยมบริโภคทั่วโลก ทั้งในสภาพ การบริโภคสดและแปรรูป
ลักษณะทางพฤษศาสตร์

แตงกวามีจำนวนโครโมโซม 2n = 14 เป็นพืชผสมข้ามตามธรรมชาติโดยอาศัยลมและแมลง แต่พบอัตราการผสมตัวเอง 1-47 เปอร์เซ็นต์ โดยธรรมชาติมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกดอกแต่อยู่ภายในต้นเดียวกัน เป็นพืชฤดูเดียว เถาเลื้อยหรือขึ้นค้าง

ระบบราก เป็นระบบรากแก้ว (tap root system) รากแขนงเป็นจำนวนมาก รากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลงได้ลึกถึง 1 เมตร

ลำต้น เป็นเถาเลื้อย เป็นเหลี่ยม มีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10-20 ซม. มือเกาะเกิดออก มาตามข้อ โดยส่วนปลายของมือเกาะไม่มีการแตกแขนงเป็นหลายเส้น ใบมีก้านใบยาว 5-15 ซม. ใบหยาบมีขนใบมีมุมใบ 3-5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่แบบ palmate มีเส้นใบ 5-7 เส้น ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวเกิดจากบริเวณมุม ใบหรือข้อมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ รังไข่มีลักษณะกลมยาว 2-5 ซม. มีปุ่มนูนของหนามและขนชัดเจน ส่วนของยอดเกสรตัวเมียมี 2-5 แฉก ส่วนดอกเพศผู้อาจเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนดอกเพศเมีย ละอองเกสรตัวผู้ 3 อัน และมีก้านชูเกสรสั้น ๆ ดอกเพศเมียและดอกเพศผู้บานในตอนเช้าและพร้อมรับการผสมเกสรดอกจะหุบ ตอนบ่ายภายในวันเดียวกัน

การเกิดดอกตัวเมีย นั้นขึ้นอยู่กับช่วง แสงและอุณหภูมิกล่าว คือ จะเกิดดอกตัวเมียมากกว่าดอกตัวผู้ ในสภาพช่วงแสงสั้นและมีอุณหภูมิกลางคืนต่ำ ซึ่งตรงกับฤดูหนาวของเมืองไทย

ผลของแตงกวามีลักษณะกลมยาวทรงกระบอก ความยาวผลระหว่าง 5-40 ซม. มีไส้ภายในผล และในปัจจุบันพันธุ์การค้าในต่างประเทศมีการปรับปรุงพันธุ์ที่สามารถติดผล ได้ โดยไม่ได้รับการผสมเกสร (parthenocarpic type) โดยภายในผลไม่มีไส้ เนื้อกรอบ และน้ำหนักต่อผลสูงนิยมทั้งบริโภคผลสดแปรรูป สีผลมีสีขาว เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้มดำ สีหนามสีขาว แดง น้ำตาล และดำ

แตงกวาสามารถจำแนก ได้ตามประโยชน์การใช้สอยดังนี้

1. พันธุ์สำหรับรับประทานสด เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อบางและไส้ใหญ่ สีเปลือกเป็นสีเขียวอ่อน ผลมีน้ำมากเป็นพันธุ์ที่มีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ เมื่อผลยังอ่อนอยู่จะมีหนามเต็มไปหมด แต่เมื่อโตเต็มที่หนามจะหลุดออกเอง พันธุ์รับประทานสดนี้ไม่เหมาะกับการนำไปดอง

แตงกวารับประทานสดแบ่งตามขนาดของผลนั้น แบ่งได้เป็น

1.1 แตงผลยาว (long cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงร้านซึ่งมีความยาวผลอย่างน้อย 15 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหนาไส้แคบ กรณีที่เป็นพันธุ์ของไทยนั้น จะมีสีผลสีเขียวแก่ตรงส่วนใกล้ขั้วผลประมาณ 1/3 - ผ ของผลที่เหลือมีจุดประสีเขียวอ่อนหรือขาว และเส้นสีขาวเป็นแถบเล็ก ๆ ตลอดความยาวไปถึงปลายผล ส่วนพันธุ์ของต่างประเทศนั้น จะมีสีเขียวเข้มสม่ำเสมอทั้งผล

1.2 แตงผลสั้น (short cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงกวา ซึ่งมีความยาวผล 8-12 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อน้อยไส้กว้าง

2. พันธุ์อุตสาหกรรม เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อหนา ไส้เล็ก บางพันธุ์ก็ไม่มีไส้เลย เปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อนำไปดองจะคงรูปร่างได้ดี ไม่ค่อยเหี่ยวย่น แตงกวาพันธุ์นี้มักจะเป็นลูกผสม ผลมักมีรูปร่างผอมยาว ซึ่งแบ่งตามขนาดได้ดังนี้

2.1 แตงผลยาว (long cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทำแตงดองของญี่ปุ่นและจีนซึ่งจะต้องมีความยาวผล 20-30 ซม. และมีความกว้างผล 2-3 ซม. มีเนื้อหนาไส้แคบผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองโดยมีการใช้น้ำปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว

2.2 แตงผลสั้น (short cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทำแตงดองของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งมีความยาว 8-12 ซม. และมีความกว้างผล 1.0-5.1 ซม. โดยทั่วไปจะมีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง (L/D ratio) มีค่าอยู่ระหว่าง 2.8-3.1 มีเนื้อหนาและแน่น ไส้แคบ ผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองทั้งผล ผ่าตามความยาวและหั่นเป็นชิ้น ๆ ตามความกว้างของผลมักดองโดยมีการใช้น้ำปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว

สภาพแวดล้อมในการ ปลูกแตงกวา

อุณหภูมิที่เหมาะสม ต่อการงอกของเมล็ดระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส สามารถเจริญเติบโตได้ผลดีระหว่างอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน 22-28 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการผสมเกสรนั้นอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส

แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากแต่ขาดน้ำไม่ได้ โครงสร้างของดินที่ปลูกแตงกวาควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ควรมีความเป็นกรด ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ในสภาพดินที่เป็นดินทรายจัด หรือเหนียวจัด จำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูก โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วและสภาพความเป็นกรดด่างนั้น ควรจะวิเคราะห์หาค่าความต้องการปูนก่อนที่จะใช้ปูนขาวเพื่อให้มีการใช้ใน ปริมาณที่เหมาะสม

การเตรียมดิน ก่อนการปลูกแตงกวา ไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทำลายวัชพืช และศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออก แล้วเตรียมแปลงขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร โดยมีความยาวตามลักษณะของพื้นที่ แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไป ปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแตงกวา การเตรียมหลุมปลูกนั้นควรกำหนดระยะระหว่างต้น ประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร สำหรับการใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นนั้นอาจใช้สูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ในบางแหล่งอาจใช้ พลาสติกคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันความงอกของวัชพืช และพลาสติกบางชนิดสามารถที่จะไล่แมลงไม่ให้เข้ามาทำลายแตงกวาได้

การเตรียมพันธุ์ ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์ นับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการปลูกแตงกวา ซึ่งพอแบ่งได้ดังนี้

1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ซื้อจากร้านค้าให้เลือกซื้อจากร้านที่เชื่อถือ มีการบรรจุหีบห่อ เมล็ดที่สามารถป้องกันความชื้น หรืออากาศ จากภายนอกเข้าไปได้ ลักษณะเมล็ดแตงกวาควรมีการคลุกสารเคมี เพื่อป้องกันศัตรูพืชที่อาจติดมากับเมล็ด และก่อนใช้เมล็ดทุกครั้งควรทำการทดสอบความงอกก่อน

2. การเตรียมดินเพาะกล้า อัตราส่วนดิน : ปุ๋ยคอก 3:1 และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้นกล้า 1 ไร่ คลุกให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 6×10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสำหรับหยอดเมล็ดแตงกวาต่อไป

3. ทำการบ่มเมล็ด โดยนำเมล็ดบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรูพรุน แช่ในสารละลายเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เช่น แคปเทน ออโธไซด์ ผสมอัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที เพื่อทำลายเชื้อราที่ผิวเมล็ด จากนั้นนำมาแช่น้ำ 4 ชั่วโมง แล้วจึงบ่มในผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ซึ่งบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น บ่มในสภาพอุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง หลังจากรากงอกยาว 0.5 เซนติเมตร จึงนำไปเพาะต่อไป

4. การหยอดเมล็ดลงถุง นำเมล็ดที่ได้บ่มไว้หยอดลงแต่ละถุง จำนวนถุงละ 1 เมล็ด แล้วใช้ดินผสมหยอดกลบบางประมาณ 1 เซนติเมตร

การดูแลรักษากล้า หลังจากหยอดเมล็ดแล้ว ให้น้ำทันที โดยวิธีการฉีดพ่นให้เป็นฝอยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปริมาณน้ำที่ให้นั้นไม่ควรให้ปริมาณที่มากเกินไป ในช่วงฤดูร้อน ควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้ตรวจดูความชื้นก่อนการให้น้ำทุกครั้ง ถุงเพาะกล้านี้ควรเก็บไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุกันแสงไม่ให้มากระ ทบต้นกล้ามากเกินเกินไปเมื่อแตงกวา เริ่มงอกให้หมั่นตรวจดูความผิดปกติของต้นกล้าเป็นระยะ ๆ หากมีการระบาดของแมลงหรือโรคพืช ต้องรีบกำจัดโดยเร็ว และเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบ จะอยู่ในระยะพร้อมที่จะย้ายปลูก

การปลูก วิธีการปลูกแตงกวานั้น พบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ด หากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้ว จะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จำเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อน จึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่น ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสม่ำเสมอ ประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้า เป็นต้น

สำหรับการย้ายกล้าปลูกนั้น ให้ดำเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้ว และเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กำหนด จากนั้นนำต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กำหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00 น. จะทำให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพ แวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

การให้น้ำ หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว ต้องให้น้ำทันที ระบบการให้น้ำนั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้น้ำตามร่อง เพราะว่าจะไม่ทำให้ลำต้น และใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ ช่วงเวลาการให้น้ำในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและเมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้น้ำให้นานขึ้น ข้อควรคำนึงสำหรับการให้น้ำนั้น คือ ต้องกระจายในพื้นที่สม่ำเสมอตลอดแปลง และตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าได้

การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้น อาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้

1. ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

2. หลังย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต ในอัตราประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่

3. ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา ประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

แมลงศัตรูแตงกวา

1. เพลี้ยไฟ (Thrips : Haplothrips floricola)
ลักษณะ เป็น แมลงขนาดเล็ก ตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแก่ พบตามยอดใบอ่อน ดอก และผลอ่อน
การทำลาย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบ ดอกอ่อน และยอดอ่อน ทำให้ใบม้วนหงิกงอ รูปร่างผิดปกติเป็นกระจุก มีสีสลับเขียวเป็นทาง ระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง นับเป็นแมลงที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุดในการปลูกแตงกวา

การป้องกันกำจัด ให้น้ำเพิ่มความชื้นในแปลงปลูก โดยให้น้ำเป็นฝอยตอนเช้าและตอนเย็น จะช่วยลดปัญหาของเพลี้ยไฟได้

2. เพลี้ยอ่อน (Alphids: Aphids gossypii)
ลักษณะ เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวคล้ายผลฝรั่ง มีท่อเล็ก ๆ ยื่นยาวออกไปทางส่วนท้ายของลำตัว 2 ท่อน เป็นแมลงปากดูด ตัวอ่อนสีเขียว ตัวแก่สีดำและมีปีก

การทำลาย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อน ทำให้ใบม้วน ต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหนะนำไวรัสด้วย มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ โดยมีมดเป็นตัวนำหรือการบินย้ายที่ของตัวแก่

3. ไรแดง (Red spider mites: Tetranychus spp.)
ลักษณะ ไม่ได้เป็นแมลงแต่เป็นสัตว์ที่มีขา 8 ขา มีขนาดเล็กมาก มองเห็นเป็นจุดสีแดง
การทำลาย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและหยอดอ่อนทำให้ใบเป็นจุดด่างมีสีซีด โดยจะอยู่ใต้ใบเข้าทำลายร่วมกับเพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีกำจัดไร ได้แก่ เคลเทน ไตรไทออน หรือ โอไมท์ เป็นต้น

4. เต่าแตงแดง (Red cucurbit beetle: Aulacophora simills) และเต่าแตงดำ (Black cucurbit beetle: A. frontalis)

ลักษณะ เป็นแมลงปีกแข็ง ปีกมีสีส้มแดงและสีดำเข้ม ตัวมีขนาดเล็กยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม. อาศัยอยู่ตามกอข้าวที่เกี่ยวแล้วในนา หรือตามกอหญ้า

การทำลาย กัดกินใบตั้งแต่ระยะใบเลี้ยงจนกระทั่งต้นโต ทำให้เป็นแผลและเป็นพาหะของโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียด้วย ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนต้น ตัวหนอนกัดกินราก

การป้องกันกำจัด ควรทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง รวมทั้งเศษซากแตงหลังการเก็บเกี่ยว
ใช้สารเคมีฉีดพ่น ได้แก่ เซฟวิน คาร์โบน๊อกซี-85 หรือ ไบดริน หรือใช้สารเคมีชนิดเม็ด เช่น ฟูราดาน 3 จี หรือคูราแทร์ 3 จี ใส่หลุมปลูกพร้อมกับการหยอดเมล็ด จะป้องกันเต่าแตงได้ประมาณ 2 สัปดาห์

5. หนอนกินใบแตง (Leaf eating caterpilla: Palpita indica) และหนอนไถเปลือกหรือหนอนเจาะผล (Fruit boring caterpillar: Helicoverpa armigera)

ลักษณะ หนอนกัดกินใบแตง มีรูปร่างเรียวยาวประมาณ 2 ซม. สีเขียวอ่อน ตรงกลางสันหลังมีเส้นแถบสีขาวตามยาว 2 เส้น หนอนตัวโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อที่มีปีกโปร่งใสตรงกลาง ส่วนหนอนเจาะผลมีขนาดใหญ่กว่า ลำตัวยาวสีเขียวอ่อนถึงสีน้ำตาลดำ มีรอยต่อปล้องชัดเจน

การทำลาย กัดกินใบ ไถเปลือกเป็นแผลและเจาะผลเป็นสาเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าทำลายต่อได้ เช่น โรคผลเน่า

การ ป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เช่น อโซดริน แลนเนท ทามารอน โตกุไทออน บุก หรือ อะโกรน่า เป็นต้น

โรคที่เป็นศัตรู สำคัญของแตงกวา ได้แก่

1. โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) หรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่าโรคใบลาย เกิดจากเชื้อ Psudoperonospora

ลักษณะอาการ เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลนั้นจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ ถ้าเป็นมาก ๆ แผลลามไปทั้งใบทำให้ใบแห้งตาย ในตอนเช้าที่มีหมอกน้ำค้างจัดช่วงหลังฝนตกติดต่อกันทำให้มีความชื้นสูง ในบริเวณปลูก จะพบว่าใต้ใบตรงตำแหน่งของแผลจะมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผง สีดำ

การป้องกันกำจัด คลุกเมล็ดแตงด้วยสารเคมีเอพรอน หรือริโดมิลเอ็มแซดก่อนปลูกหรือจะนำเมล็ดมาแช่สารเคมีที่ละลายน้ำเจือจาง เป็นเวลา 3 ชั่วโมงก็ได้ เมื่อมีโรคระบาดในแปลงและในช่วงนั้นมีหมอกและน้ำค้างมาก ซึ่งควรฉีด Curzate M8_ Antrachor สลับกันเพื่อป้องกันการดื้อสารเคมีของเชื้อ

2. โรคใบด่าง (Mosaic)
เชื้อสาเหตุ Cucumber mosaic virus
ลักษณะอาการ ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือด่างเขียวสลับเหลืองเนื้อใบ ตะปุ่มตะป่ำ มีลักษณะนูนเป็นระยะ ๆ ใบหงิกเสียรูปร่าง

การป้องกันกำจัด ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้สารเคมีหรือวิธีการใด ๆ ที่จะลดความเสียหายเมื่อโรคนี้ระบาด ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดขณะนี้คือการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เช่น เลือกแหล่งปลูกที่ปลอดจากเชื้อไวรัส อาจทำได้โดยเลือกแหล่งปลูกที่ไม่เคยปลูกผักตระกูลแตงมาก่อนและทำความสะอาด แปลงปลูกพร้อมทั้งบริเวณใกล้เคียงให้สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อและ แมลงพาหะ

3. โรคผลเน่า (Fruit rot)
เชื้อสาเหตุ Pythium spp._ Rhizoctonia solani_ Botrytis cinerea
ลักษณะอาการ มักเกิดกับผลที่สัมผัสดิน และผลที่แมลงกัดหรือเจาะทำให้เกิดแผลก่อน จะพบมากในสภาพที่เย็นและชื้น กรณีที่เกิดจากเชื้อพิเที่ยมจะเป็นแผลฉ่ำน้ำเริ่มจากส่วนปลายผล ถ้ามีความชื้นสูงจะมีเส้นใยฟูสีขาวขึ้นคลุม กรณีที่เกิดจากเชื้อไรซ๊อกโทเนียจะเป็นแผลเน่าฉ่ำน้ำบริเวณผิวของผลที่ สัมผัสดิน แผลจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลแก่และมีรอยฉีกของแผลด้วย ส่วนกรณีที่เกิดจากเชื้อโบทริทิ่สนั้น บริเวณส่วนปลายของผลที่เน่า จะมีเชื้อราขึ้นคลุมอยู่
การป้องกันกำจัด ทำลายผลที่เป็นโรค อย่าให้ผลสัมผัสดิน ป้องกันไม่ให้ผลเกิดบาดแผล

4. โรคราแป้ง (Powdery mildew)
เชื้อสาเหตุ Oidium sp.
ลักษณะอาการ มักเกิดใบล่างก่อนในระยะที่ผลโตแล้ว บนใบจะพบราสีขาวคล้ายผงแป้งคลุมอยู่เป็นหย่อม ๆ กระจายทั่วไป เมื่อรุนแรงจะคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วแห้งตาย
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เช่น เบนเลท เดอโรซาล Diametan หรือ Sumilex ฉีดพ่นเมื่อพบการระบาด

การเก็บเกี่ยว แตงกวา

อายุการเก็บเกี่ยวของแตงกวานับจากวันปลูก ประมาณ 30-40 วัน แล้วแต่พันธุ์แตงกวาสำหรับบริโภคสด ควรเลือกเก็บขณะที่ผลยังอ่อนอยู่เนื้อแน่นกรอบ และสังเกตได้จากมีนวลสีขาวเกาะและยังมีหนามอยู่บ้าง ถ้าผลแก่นวลจะจางหาย สีผลเริ่มเป็นสีเหลือง และไม่มีหนาม การเก็บแตงกวาควรทยอยเก็บวันเว้นวัน ไม่ปล่อยให้แก่คาต้น เพราะจะทำให้ผลผลิตทั้งหมดลดลง โดยปกติจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 1 เดือน

อ้างอิง : vegetweb.com

*สินค้าจากฟาร์มเกษตร ที่แนะนำสำหรับแตงกวา
มาคา ใช้ป้องกันกำจัดเพลี้ยต่างๆ
ไอเอส ใช้ป้องกันกำจัดโรค ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ และโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ
ไอกี้-บีที ใช้ป้องกันและกำจัดหนอน
FK-1 ใช้บำรุงให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง เร่งโต และเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง
ยาฉีดแตงกวา สำหรับป้องกันและกำจัด โรคแตงกวา และแมลงศัตรูพืชแตงกวา
ยาฉีดแตงกวา สำหรับป้องกันและกำจัด โรคแตงกวา และแมลงศัตรูพืชแตงกวา
ยาฉีดแตงกวา สำหรับป้องกันและกำจัด โรคแตงกวา และแมลงศัตรูพืชแตงกวา
โรคของแตงกวา โรคต่างๆที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ยกตัวอย่างเช่น แตงกวาใบด่าง แตงกวายางไหล ต้นแตก แตงกวาผลเน่า แตงกวาผลเหี่ยว ราแป้งในแตงกวา ราน้ำค้างแตงกวา อาการต่างๆเหล่านี้ ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา

ส่วนพวกแมลงศัตรูแตงกวา อย่าง เพลี้ยไฟในแตงกวา เพลี้ยอ่อน ใช้ มาคา สารอัลคาลอยด์ สกัดจากพืช กำจัดเพลี้ย

หากมีหนอนต่างๆ ใช้ ไอกี้ สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอน

หนอนมาใช้ ไอกี้_ เจ้าเพลี้ยตัวดีใช้ มาคา_ หากเจอโรคใบไหม้โรคเชื้อราใช้ ไอเอส_ ใจร้อนอยากให้พืชฟื้นตัวเร็วใช้ FK-1 เร่งฟื้นตัว เร่งเขียว เร่งโตนะคะ

ทั้งหมดนี้ ใช้ได้กับทุกพืชค่ะ

ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค

ไอกี้ กำจัดหนอน 490 บาท บรรจุ 500กรัม_ ไอกี้ เป็นสารชีวินทรีย์ แบคทีเรียแกรมบวก ใช้กำจัดหนอนทุกชนิดโดยเฉพาะ

มาคา กำจัดเพลี้ย 470 บาท บรรจุ 1 ลิตร_ มาคา เป็นสารอินทรีย์สกัดจากพืช

ไอเอส กำจัดโรคใบไหม้ โรคเชื้อรา 450 บาท บรรจุ 1 ลิตร_ ไอเอส เป็นสารอินทรีย์ ทำงานแบบ อีออนคอนโทรลในการกำจัดโรคราต่างๆ

FK-1 ใช้เร่งฟื้นตัว เร่งโตแตกยอดแตกใบใหม่ ราคา 890 บาท บรรจุ 2 กิโลกรัม_ FK-1 เป็นธาตุหลัก N-P-K บวกธาตุรองธาตุเสริม สารจับใบ (ปุ๋ยเคมี ธาตุ N-P-K ไม่ได้อันตรายเหมือนสารเคมีหรือยาเคมี แต่ สำหรับคนที่กังวล ไม่ต้องซื้อตัวนี้ค่ะ ตัดออกไปเลย)

การสั่งซื้อ
ทักแชทได้เลยค่ะ..
หรือ ไลน์ไอดี PrimPB
หรือ โทร 090-592-8614
 โรคใบจุดสีม่วงหอมใหญ่ โรคใบจุดสีม่วงกระเทียม : PURPLE BLOTCH DISEASE [ ไอเอส + FK-1 ]
โรคใบจุดสีม่วงหอมใหญ่ โรคใบจุดสีม่วงกระเทียม : PURPLE BLOTCH DISEASE [ ไอเอส + FK-1 ]
เชื้อสาเหตุ : รา Alternaria porri (Ell.) Cif ชีววิทยาของเชื้อ : เมื่อราเข้าทำลายพืชจะสร้างสปอร์หรือ conidia สีน้ำตาลทองรูปร่าง clubshape หรือ obclavate คือส่วนโคนใหญ่แล้วค่อยๆ เรียวไปทางปลาย ขนาด 100-300 x 15-20 ไมครอน มีผนังกั้นตามขวาง 8-12 ผนัง ผนังกั้นตามยาวอาจมีหลายผนังหรืออาจไม่มี สปอร์เกิดที่ปลายก้าน ซึ่งชูตั้งมาจากเส้นใยบริเวณ แผลสีม่วงบนใบ เมื่อสปอร์เจริญเต็มที่จะหลุดออกจากก้าน ปลิวไปตกลงบนพืช และสภาพแวดล้อมเหมาะสม จะงอกเส้นใยแทงทะลุผ่านผิวพืชเข้าไปภายในได้ทั้งโดยตรง เข้าทางปากใบหรือรอยแผลจากแมลง แล้วสร้าง สปอร์พร้อมที่จะระบาดต่อไป

ลักษณะอาการ : เริ่มแรกเป็นจุดฉ่ำน้ำ ขนาดเล็ก เมื่อแห้งเปลี่ยนเป็นจุดแผลสีขาว ต่อมาแผลขยายออก รูปกลมรีหรือยาวไปตามใบ ขนาดไม่แน่นอน เนื้อเยื่อยุบตัวลง แผลมีสีม่วงเข้มหรือสีน้ำตาลอมม่วง ตรงกลาง ซีดจางกว่าเล็กน้อย ส่วนรอบนอกมีแถบเซลล์ตายสีขาวหรือสีเหลืองส้มล้อมรอบ เมื่ออากาศชื้น ราจะสร้าง สปอร์สีดำที่บริเวณแผล ใบที่มีแผลขนาดใหญ่หลายแผลติดกัน จะหักพับลงทำให้ใบแห้งตาย เมื่อโรคระบาด รุนแรงใบจะแห้งหมด ต้นตาย เก็บผลผลิตไม่ได้ บางครั้งถ้าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม พบแผลจุดสีขาว ขนาดเล็กจำนวนมากกระจายทั่วใบ แผลไม่พัฒนาขยายใหญ่เป็นแผลสีม่วง มองเห็นเป็นอาการใบลายใน หอมหัวใหญ่ อาจพบราเข้าทำลายที่ส่วนหัวเมื่อใกล้เก็บเกี่ยว โดยเข้าทำลายที่คอหรือกาบนอกของหัวหอม

การแพร่ระบาด : โรคระบาดโดย สปอร์ของเชื้อแพร่กระจายไปตามลม น้ำ แมลง เครื่องมือการเกษตร และเมล็ดพันธุ์ ราอยู่ข้ามฤดู โดยสปอร์ปนอยู่กับเศษซากพืชในดิน โรคระบาดได้ดีในสภาพอากาศเย็น มีความชื้น สูง จึงพบโรคระบาดในฤดูหนาวที่มีน้ำค้างลงจัดหรือปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาว โดยปกติจะพบโรคระบาดในระยะ หอมกระเทียมโตหรือลงหัวแล้ว แต่บางครั้งอาจพบเมื่อต้นยังเล็ก ถ้าปลูกพืชล่าช้า ในขณะที่แปลงข้างเคียง มีโรคระบาดอยู่แล้ว โรคจะระบาดรุนแรงมากถ้ามีเพลี้ยไฟร่วมเข้าทำลาย

การป้องกันกำจัด :

1. ก่อนปลูกพืชควรใส่ปูนขาว ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อปรับสภาพดิน โดยค่า pH ของดินที่เหมาะแก่ การปลูกพืชสกุลหอมกระเทียม คือ 6.5-7.0

2. ใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ปราศจากโรค ก่อนปลูกควรแช่หัวพันธุ์ หรือต้นกล้าด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช

3. ดูแลแปลงปลูกให้สะอาด ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรค

4. ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรค

5. ป้องกันกำจัดแมลง โดยเฉพาะเพลี้ยไฟ

6. ปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่สกุลหอมกระเทียมหมุนเวียน เพื่อลดการระบาดของโรค

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

ป้องกันกำจัด โรคใบจุดสีม่วงหอมหัวใหญ่ โรคใบจุดสีม่วงกระเทียม โรคหอมเลื้อย โรคแอนแทรคโนสหอมแดง โรคแอนแทรคโนสหอมหัวใหญ่ และพืชตระกูลหอม กระเทียม ต่างๆ โรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา โรคราแป้ง โรคไหม้ โรคใบไหม้ โรคแอนแทรคโนส โรคเชื้อราไฟทอปโธร่า โรคราต่างๆ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา

เร่งการเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทาน เพิ่มผลผลิต ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน

สามารถผสม ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้
โรคราดำกาแฟ มีต้นเหตุจาก เพลี้ย และ เชื้อราสาเหตุ แคบโนเดียม ใช้ มาคา + ไอเอส + FK-1
โรคราดำกาแฟ มีต้นเหตุจาก เพลี้ย และ เชื้อราสาเหตุ แคบโนเดียม ใช้ มาคา + ไอเอส + FK-1
โรคราดำกาแฟ เชื้อราสาเหตุ Capnodium spl. มีคราบเขม่าดำ ปกคลุม ใบ กิ่ง ช่อดอก หากเป็นที่ช่อดอกรุนแรง ส่งผลให้ดอกร่วง ผสมเกสรไม่ได้ ไม่ติดผล ผลผลิตจึงลดลงเป็นอย่างมาก

ลักษณะอาการที่พบ แมลงพวกปากดูดถ่ายน้ำหวานมาปกคลุมส่วนต่าง ๆ ของต้นกาแฟ เชื้อราที่อยู่ในอากาศจะปลิวมาขึ้นบนส่วนที่มีน้ำหวานสีดำของเชื้อราขึ้นปกคลุมใบ กิ่ง ช่อดอก ทำให้เห็นเป็นคราบสีดำคล้ายเขม่า บนใบที่ถูกเคลือบด้วยแผ่นคราบดำของเชื้อ อาการที่ปรากฏที่ช่อดอกถ้าเป็นรุนแรงทำให้ดอกร่วงไม่สามารถผสมเกสรได้

ป้องกันกำจัด เพลี้ย และแมลงจำพวกปากดูด ซึ่งเป็นพาหะของโรค ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ป้องกันกำจัด เพลี้ย และแมลงจำพวกปากดูด

ป้องกันกำจัด โรคราดำกาแฟ โรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา โรคราแป้ง โรคไหม้ โรคใบไหม้ โรคแอนแทรคโนส โรคเชื้อราไฟทอปโธร่า โรคราต่างๆ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา

เร่งการเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทาน เพิ่มผลผลิต ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน

สามารถผสม ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้
สาเหตุ และ การรักษาโรคแอนแทรคโนสในแตงกวา
สาเหตุ และ การรักษาโรคแอนแทรคโนสในแตงกวา
โรคนี้เกิดจากเชื้อราที่ทำให้เกิดโรค Colletotrichum มันได้รับผ่านเศษซากพืชที่ติดเชื้อบนพื้นดินมักจะถูกถ่ายเทจากพุ่มไม้หนึ่งไปยังอีกพุ่มหนึ่งโดยลมหรือฝน นอกจากนี้เมล็ดที่เก็บจากผลไม้ที่เป็นโรคก็กลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อ พืชที่อยู่ในพื้นที่เปิดโล่งและในเรือนกระจกมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

สภาพอากาศที่เปียกและอบอุ่นเป็นสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบายสำหรับการติดเชื้อรา มีน้ำค้างกระจายและมีฝนตกหนักบ่อยครั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อราจะทำงานเมื่อความชื้นในอากาศสูงกว่า 60 องศา

เพลี้ยอ่อนและไรเดอร์เป็นพาหะของสปอร์จากพุ่มไม้ที่เป็นโรคไปจนถึงแมลงที่มีสุขภาพดีดังนั้นคุณควรต่อสู้กับแมลงเหล่านี้

ความหนาแน่นของพืชเป็นสาเหตุของการถ่ายโอนสปอร์จากพืชที่เป็นโรคไปยังพืชที่มีสุขภาพดี

ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมเชื้อราจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วนำไปสู่โรคพืชทุกชนิดที่ปลูกในสวน แต่เมื่อความชื้นในอากาศลดลงอย่างรวดเร็วการเติบโตของเชื้อจะช้าลงและหยุดลง

ป้องกันกำจัด โรคแอนแทรคโนส โรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา โรคราแป้ง โรคไหม้ โรคใบไหม้ โรคแอนแทรคโนส โรคเชื้อราไฟทอปโธร่า โรคราต่างๆ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา

เร่งการเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทาน เพิ่มผลผลิต ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน

สามารถผสม ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
เพลี้ยจักจั่นมะม่วง มะม่วงใบหงิก บิดงอ กำจัดเพลี้ยด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นมะม่วง มะม่วงใบหงิก บิดงอ กำจัดเพลี้ยด้วย มาคา
เพลี้ยจักจั่นมะม่วง มะม่วงใบหงิก บิดงอ กำจัดเพลี้ยด้วย มาคา
ระยะที่มะม่วงกำลังออกดอก โดยจะดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ดอกแห้งและร่วงหล่น ติดผลน้อยหรือไม่ติดเลย ระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยง จะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ำเหนียวๆ คล้ายน้ำหวานติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบๆทรงพุ่ม ทำให้ใบมะม่วงเปียกเยิ้ม หลังจากนั้นตามใบ ช่อดอก จะถูกปกคลุมโดยเชื้อราดำ ถ้าปกคลุมมากก็จะกระทบกระเทือนต่อการสังเคราะห์แสง ใบที่ถูกดูดน้ำเลี้ยงในระยะเพสลาด (ใบกึ่งอ่อนกึ่งแก่) ใบจะบิดงอโค้งลงด้านใต้ใบ ตามขอบใบจะมีอาการปลายใบแห้ง

มาคา เป็นสารอัลคาลอยด์ ป้องกันและกำจัด เพลี้ย แมลงศัตรูพืช สกัดจากพืช 5 ชนิด ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค

.

สนใจ โทรสั่งซื้อ 090-592-8614

ไลน์ไอดี FarmKaset หรือ ไอดี PrimPB

สั่งทางเฟสบุ๊คได้เช่นกัน https://www.facebook.com/farmkaset

หรือลาซาด้า เลือก มาคา https://www.lazada.co.th/..

อ่าน:3655
คำนิยม : โรคเชื้อรา ในกุหลาบ ขอบคุณลูกค้าท่านนี้ ที่สั่งซื้อต่อเนื่อง และช่วยโพสลงกลุ่มกุหลาบให้ค่ะ
คำนิยม : โรคเชื้อรา ในกุหลาบ ขอบคุณลูกค้าท่านนี้ ที่สั่งซื้อต่อเนื่อง และช่วยโพสลงกลุ่มกุหลาบให้ค่ะ
ลูกค้ามีปัญหา โรคเชื้อราในกุหลาบ ซึ่งปลูกอยู่ เกือบ 700 ต้น สั่งซื้อ ไอเอส ขนาด 3 ลิตรไปใช้ และชื่นชอบ ติดต่อมา สั่งซื้อรอบสอง เลือกชุดโปร ไอเอส+FKธรรมชาตินิยม แจ้งว่า ใช้ได้ดีมาก จากนั้นเจอปัญหาเพลี้ย ก็มาสั่ง ชุดโปร มาคา+FKธรรมชาตินิยม ไปใช้อีก ขอบคุณมากนะคะ
อ่าน:3411
การปลูกเสาวรส
การปลูกเสาวรส
ชนิดและพันธุ์เสาวรส โดยทั่วไปแล้วเสาวรสสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดผลสีม่วง และชนิดผลสีเหลืองซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ

1. เสาวรสชนิดผลสีม่วง (Passiflora edulis)

เสาวรสชนิดนี้ผิวผลจะเป็นสีม่วงผลมีลักษณะกลมหรือรูปไข่ ดอกสามารถผสมตัวเองได้ดีดอกจะบานในตอนเช้า ผลสุกมีรสหวานและกลิ่นหอมกว่าพันธุ์สีเหลือง แต่ผลมักจะมีขนาดเล็กกว่าคือเส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 4-5 เซนติเมตร น้ำหนัก 50-60 กรัมต่อผล

2. เสาวรสชนิดผลสีเหลือง (Deneger P. edulis Forma F. flavicarpa)

ลักษณะผิวผลจะมีสีเหลืองผลมีขนาดใหญ่กว่าชนิดผลสีม่วงคือเส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 6 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 80-120 กรัมต่อผล เนื้อในให้ความเป็นกรดสูงกว่าชนิดสีม่วง จึงมีรสเปรี้ยวมากและใช้แปรรูป เป็นหลัก

เสาวรสชนิดผลสีเหลืองดอกจะบานในตอนเที่ยงส่วนใหญ่ผสมตัวเองไม่ติดต้องผสมข้ามต้นแต่ต้นมีทนทานต่อโรคต้นเน่า เถาเหี่ยว โรคไวรัสและทนต่อไส้เดือนฝอยมากกว่าพันธุ์สีม่วงจึงนิยมใช้เป็นต้นตอในการเสียบกิ่งของพันธุ์ม่วง

พันธุ์เสาวรสรับประทานสด

เสาวรสพันธุ์รับประทานสดที่มูลนิธิโครงการหลวง คัดเลือกได้และส่งเสริมให้ปลูกเป็นการค้ามี 2 พันธุ์คือเสาวรสรับประทานสดเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์สีม่วงทั้ง 2 พันธุ์ โดยคัดเลือกได้เมื่อปี พ.ศ. 2539 จากต้นที่เพาะเมล็ดจากเสาวรสสายพันธุ์ไต้เหวัน

1. พันธุ์รับประทานสดเบอร์ 1

ลักษณะผลเป็นรูปไข่สีม่วงอมแดง เมื่อตัดขวางผลจะเห็นว่ามีลักษณะเป็น 3 พู เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 5 เซนติเมตร น้ำหนักผลประมาณ 70-80 กรัมต่อผลรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม ความหวานเฉลี่ยประมาณ 16 Brix

2. พันธุ์รับประทานสดเบอร์ 2

ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับพันธุ์เบอร์ 1 แต่สีผลจะเข้มและมีคุณภาพดีกว่าพันธ์เบอร์ 1 คือ รสชาติหวานและน้ำหนักต่อผลสูงกว่า โดยผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 70-100 กรัมต่อผล ความหวานเฉลี่ยที่ประมาณ 17-18 Brix พันธุ์นี้เปลือกหนากว่าพันธุ์เบอร์ 1 จึงสามารถเก็บไว้ได้นาน

ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวง ได้เน้นให้เกษตรกรที่ปลูกเสาวรสใช้พันธุ์รับประทานเบอร์ 2 สำหรับปลูกเป็นการค้าเนื่องจากลักษณะเด่นที่กล่าวไปแล้วข้างต้น สำหรับพันธุ์ที่ใช้แปรรูปทั้งสีม่วงและสีเหลืองก็สามารถปลูกเพื่อรับประทานผลสดได้แต่ราคาของผลผลิตจะต่ำกว่าตามคุณภาพของผลผลิต

การขยายพันธุ์เสาวรส

วิธีการขยายพันธุ์

การปลูกเสาวรสรับประทานสดจะแตกต่างจากเสาวรสโรงงานที่ปลูกด้วยต้นกล้าจากการเพราะเมล็ด คือ ต้องรักษาให้เผลผลิตมีคุณภาพและรสชาติดี ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากพันธุ์เดิม ดังนั้นการปลูกจึงจำเป็นต้องใช้ต้นกล้าที่ได้จากการเปลี่ยนยอดพันธุ์ดีโดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. การเพาะเมล็ดสำหรับทำต้นตอ

ต้นตอที่ใช้ควรเป็นเสาวรสโรงงานชนิดพันธุ์สีเหลือง เนื่องจากมีความแข็งแรงและทนทานตอโรงแมลงได้ดี และเมล็ดที่จะนำมาเพราะควรคัดจากผลและต้นแม่ที่สมบูรณ์ไม่เป็นโรคไวรัส นำมาล้างเอารกที่หุ้มเมล็ดออก นำมาผึ่งให้แห้งแล้วจึงนำไปเพาะแต่ไม่ควรเก็บเมล็ดไว้นานเกินไปเพราะจะทำให้ความงอกลดลง

การเพาะเมล็ดสามารถทำได้ทั้งในภาชนะ เช่น ถุงพลาสติกและตะกร้าหรือในแปลงเพาะกล้าโดยวัสดุเพาะใช้ดิน ปุ๋ยหมัก ขี้เถ้าแกลบและขุยมะพร้าว ผสมกันในสัดส่วน 2:1:1:1 ใช้วิธีโรยเมล็ดเป็นแถวแล้วกลบด้วยวัสดุเพาะให้หน้าประมาณ 1 เซนติเมตร ระวังอย่าให้เมล็ดแน่นเกินไปเพราะจะทำให้เกิดโรคโคนเน่า ปกติเมล็ดที่เพาะจะงอกภายใน 7-10 วัน หลังจากต้นกล้ามีใบจริง 1 ใบ ซึ่งอายุประมาณ 15-20 วันหลังเพาะจึงย้ายลงถุงปลูกขนาด 2.5 x 6 นิ้ว หรือแปลงปลูก ถ้าเป็นฤดูฝนหรือสามารถให้น้ำได้ทั้งนี้ขึ้นกับว้าจะเปลี่ยนยอกดเป็นพันธุ์ดีในเรือนเพาะชำหรือในแปลงปลูก ในระหว่างการเพาะกล้านั้นต้องมีการพ่นยาป้องกันกำจัดมดที่จะทำลายเมล็ดและแมลงที่เป็นเพาหะของโรคไวรัส เช่น เพลี้ยไฟและไรแดงอยู่เสมอ เพื่อให้ต้นกล้าปลอดจากโรคไวรัสและต้องให้ปุ๋ยช่วยเพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตเร็วขึ้น โดยอาจจะให้ปุ๋ยทางใบหรือใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หรือ 21-0-0 ผสมน้ำรด หลังจากที่ต้นกล้ามีอายุประมาณ 2-3 เดือน จึงสามารถเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดีดได้

2. การเปลี่ยนยอดพันธุ์

เสาวรสเป็นพืชที่สามารถเปลี่ยนยอดได้ง่ายและทำได้ทุกฤดูกาล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสามารถทำได้ 2 แบบคือ การเปลี่ยนยอดพันธุ์ต้นกล้าในถุงก่อนนำไปปลูกและการนำต้นตอไปปลูกในแปลงก่อนแล้วจึงเปลี่ยนพันธุ์ภายหลัง

2.1 การเปลี่ยนยอดต้นกล้าที่ปลูกในถุง

การเปลี่ยนยอดแบบนี้มีข้อดีคือทำได้ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา เนื่องจากทำได้ในพื้นที่จำกัดและสามารถคัดเลือกต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงสม่ำเสมอกันไปปลูก นอกจากนี้ยังให้ผลผลิตได้เร็วขึ้นจึงเป็นวิธีการที่แนะนำให้ใช้การเปลี่ยนยอดนิยมใช้วิธีเสียบลิ่ม (Cleft grafting) ซึ่งทำได้ 2 แบบคือ

2.1.1 การเปลี่ยนยอดแบบใช้ยอดอ่อน

การเปลี่ยนยอดแบบนี้งานพัฒนาและส่งเสริมไม้ผล มูลนิธิโครงการหลวงได้พัฒนาขึ้นเพื่อลดการติดโรคไวรัสของต้นกล้า ปรับปรุงคุณภาพของต้นกล้าให้แข็งแรงสมบูรณ์สม่ำเสมอมากขึ้น ลดระยะเวลาในการเลี้ยงต้นกล้าในถุงปลูกให้สั้นลง เพื่อให้ระบบรากไม่เสียและให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้ต่อเนื่องไม่ชะงัดการเจริญเติบโตหลังการเปลี่ยนยอด

ต้นตอที่เหมาะสำหรับเปลี่ยนยอดคืออายุ 1.5-2 เดือน หลังเพาะซึ่งจะมีใบประมาณ 5-7 ใบและต้นยังอ่อนอยู่ ทำการเตรียมแผลของต้นตอโดยตัดยอดให้เหลือใบ 3-4 ใบ ผ่าต้นตอลึก 1.5-2.0 เซนติเมตร นำยอดพันธุ์ที่เป็นปลายยอดอ่อน ความยาวประมาณ 5 เซนติเมตรมีใบ 2-3 ใบ มาปาดเป็นรูปลิ่มความยาวเท่ากับแผลของต้นตอ จากนั้นนำมาเสียบลงบนต้นตอผูกด้วยเชือกฟาง ยางยืดหรือใช้ตัวหนีบ เสร็จแล้วนำต้นใส่ไว้ในกระโจมพลาสติกเพื่อรักษาความชื้นไม่ให้ยอดเหี่ยว หลังจากนั้น 7 วัน ยอดพันธุ์ดีจะติดสามารถนำออกจากกระโจมและเลี้ยงให้แข็งแรงอีก 20-30 วันก่อนนำไปปลูก

2.1.2 การเปลี่ยนยอดแบบใช้ตาข้าง

การเปลี่ยนพันธุ์แบบนี้เป็นวิธีการที่ใช้อยู่เดิม ซึ่งมีวิธีการเช่นเดียวกับการเปลี่ยนยอดแบบใช้ยอดอ่อน แต่ต้นตอที่ใช้จะต้องมีอายุมากกว่าคือประมาณ 3-4 เดือน เพื่อให้ต้นตอมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับยอดพันธุ์ดีที่ใช้ โดยตัดเถาให้มีตาข้าง 2 ตาและตัดใบออกให้เหลือครึ่งใบ ในกรณีที่ไม่มีกระโจมการเปลี่ยนยอดแบบนี้สามารถใช้ถุงครอบยอดเป็นต้นๆ ได้ หรือใส่ในกระโจมขนาดใหญ่ได้ เพราะไม่ต้องรักษาความชื้นให้สม่ำเสมอมากนัก

2.2 การเปลี่ยนยอดพันธุ์ในแปลงปลูก

วิธีการนี้จะทำหลังจากที่นำต้นตอลงไปปลูกในแปลงแล้ว ซึ่งมีข้อเสียคือยากแก่การเปลี่ยนพันธุ์และดูแลรักษาเนื่องจากใช้พื้นที่มาก แต่จะเหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกที่อาศัยน้ำฝน เพราะสามารถปลูกต้นตอซึ่งมีความแข็งแรงกว่าต้นที่เปลี่ยนพันธุ์ลงไปก่อนในช่วงปลายฤดูฝนแล้วจึงทำการเปลี่ยนยอดพันธุ์ภายหลัง

การเปลี่ยนยอดสามารถทำได้ตั้งแต่หลังปลูกต้นตอไปแล้วประมาณ 1 เดือนจนกระทั่งเถาเจริญถึงค้างแล้ว โดยวิธีการเสียบลิ่ม (Cleft grafting) เช่นเดียวกับการเปลี่ยนพันธุ์ในถุงปลูก แต่กิ่งพันธุ์ที่นั้นจะเอาใบออกทั้งหมดและต้องคลุมด้วยถุงพลาสติกเพื่อรักษาความชื้นและหุ้มด้วยกระดาษป้องกันความร้อนจากแสงแดด นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนยอดพันธุ์ได้โดยวิธีการเสียบข้าง (Side grafting) ได้ หลังการเปลี่ยนยอดให้รักษาใบของต้นตอไว้แต่ต้องหมั่นปลิดยอดที่จะแตกจากตาข้างของต้นตอออก เพื่อไม่ให้แข่งขันกับยอดพันธุ์ดี

การวางแผนการขยายพันธุ์และการผลิตต้นกล้า

การขยายพันธุ์และผลิตต้นกล้าเสาวรสนั้นต้องมีการวางแผนให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่ต้องการปลูก ฤดูกาลและนิสัยการเจริญเติบโตของเสาวรสโดยเฉพาะระยะเวลาให้ผลผลิต การวางแผนที่ถูกต้องจะทำให้เสาวรสให้ผลผลิตอย่างเต็มที่และเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาน้อยที่สุด โดยต้องวางแผนผลิตต้นกล้าให้มีอายุเหมาะสมพอดีเมื่อถึงเวลาปลูกที่ได้กำหนดไว้ว่าเหมาะสมสำหรับรูปแบบการปลูกต่างๆ เช่นปลูกแบบให้น้ำหรือการปลูกแบบอาศัยน้ำฝน การผลิตต้นกล้าเร็วเกินไปจะทำให้ต้องเลี้ยงต้นไว้ในถุงนานจะมีปัญหาระบบรากไม่ดีและต้นทุนการดูแลเพิ่มขึ้น การผลิตต้องล้าช้าก็จะทำให้ต้นกล้าไม่แข็งแรงสมบูรณ์พอเพียงกับระยะเวลาปลูกที่เหมาะสม

การปลูกเสาวรสรับประทานสด

เสาวรสรับประทานสดมีวิธีการปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษาเช่นเดียวกับเสาวรสโรงงาน แต่ต้องเพิ่มความประณีตในการปฏิบัติดูแลรักษาบางอย่าง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ปกติแล้วเสาวรสเป็นพืชที่มีอายุยาวนานหลายปี แต่โดยทั่วไปแล้วมีการปลูกกัน 2 ระบบ คือ การปลูกแบบเก็บเกี่ยว 1 ฤดูกาลต่อการปลูก 1 ครั้ง และเก็บเกี่ยว 2-3 ฤดูกาลต่อการปลูก 1 ครั้ง แต่ระบบที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ในปัจจุบันคือแบบปลูก 1 ครั้ง เก็บเกี่ยว 2-3 ฤดูกาล เนื่องจากเป็นการลดต้นทุนคือลงทุนทำค้าง 1 ครั้งสามารถเก็บผลผลิตได้ยาวนานขึ้น

ระยะการปลูกและการวางแผนปลูก

โดยธรรมชาติแล้วเสาวรสจะออกดอกและให้ผลผลิตเมื่อมีอายุประมาณ 5-7 เดือนหลังปลูกสำหรับเสาวรสรับประทานสดนั้นจะออกดอกติดผลเร็วกว่านี้ เนื่องจากเป็นต้นกล้าที่เปลี่ยนยอด แต่อายุเหมาะสมที่ควรให้ติดผลไม่ควรต่ำกว่า 5 เดือนเพื่อให้ต้นแข็งแรงพอและขึ้นค้างแล้ว ปกติแล้วเสาวรสจะให้ผลผลิตได้ตลอดปีถ้าไม่ขาดน้ำ แต่ในสภาพที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝนนั้น เสาวรสจะให้ผลผลิตได้ดีในระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้นการปลูกเสาวรสรับประทานสดจึงจะต้องวางแผนให้สอดคล้องกับช่วงเวลาการให้ผลผลิตและสภาพการปลูก

1. การปลูกโดยอาศัยน้ำฝน

เนื่องจากเสาวรสจะให้ผลผลิตได้ดีในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกุมภาพันธ์ การปลูกโดยอาศัยน้ำฝนและจะต้องตัดแต่งในเดือนกุมภาพันธ์ทุกปี ดังนั้นการปลูกจะต้องทำก่อนเดือนสิงหาคมอย่างน้อย 7 เดือน ซึ่งมี 2 ช่วงคือระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูฝนถึงฤดูหนาว แต่หลังปลูกจะต้องให้น้ำช่วยเพื่อให้ต้นสามารถเจริญผ่านฤดูแล้วแรกไปก่อน สำหรับอีกช่วงหนึ่งคือการปลูกในช่วงต้นฤดูฝนคือเดือนพฤษภาคม ช่วงนี้ไม่ต้องให้น้ำแต่ในปีแรกช่วงระยะเวลาให้ผลผลิตจะสั้นแค่ 3-4 เดือนเท่านั้น คือจากเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์

2. การปลูกแบบให้น้ำ

พื้นที่ปลูกสามารถให้น้ำได้ในฤดูแล้งเสาวรสจะสามารถให้ผลผลิตได้ทันทีเมื่ออายุประมาณ 5-7 เดือนหลังปลูก และให้ผลผลิตได้ตลอดปี ดังนั้นจึงสามารถปลูกได้ทุกช่วงเวลา แต่ยังคงต้องคำนึงถึงความสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษาด้วย ตัวอย่างเช่นถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนจะประหวัดในเรื่องการให้น้ำแต่จะต้องเพิ่มการกำจัดวัชพืชมากขึ้น แต่ถ้าปลูกในช่วงฤดูแล้งจะต้องช่วยให้น้ำแต่ปัญหาเรื่องวัชพืชจะน้อยลงมาก

การปลูกเสาวรสในกรณีที่จะเปลี่ยนยอดในแปลงปลูกนั้นจะใช้เวลาตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งเปลี่ยนพันธุ์และให้ผลผลิตใกล้เคียงกับการปลูกด้วยต้นพันธุ์ดีเช่นกัน โดยปกติแล้วจะปลูกต้นตอในช่วงปลายฤดูฝนและทำการเปลี่ยนพันธุ์ในช่วงปลายฤดูหนาวซึ่งต้นตอเจริญเติบโตถึงค้างแล้ว

ขั้นตอนการปลูก

การปลูกเสาวรสรับประทานสดมีขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการและมีการปฏิบัติดูแลรักษาดังนี้

1. การคัดเลือกและเตรียมพื้นที่ปลูก

เสาวรสรับประทานสดเป็นไม้ผลที่ปลูกง่าย สามารถปลูกเป็นการค้าได้โดยอาศัยน้ำฝน แต่ถ้าสามารถเลือกพื้นที่ปลูกที่สามารถให้น้ำได้จะทำให้คุณภาพผลผลิตดีขึ้นและการให้ผลผลิตยาวนานตลอดปี เสาวรสรับประทานสดนั้นสามารถปลูกได้ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1_000 เมตร แต่พื้นที่ปลูกควรมีแสงแดดจัด ไม่ควรมีน้ำขังและลาดชันมากเกินไปเพราะจะทำให้ทำค้างยาก ในเขตที่มีฝนตกชุกเสาวรสอาจจะติดผลไม่ดีนักในบางช่วง เนื่องจากละอองเกสรตัวผู้จะถูกน้ำชะล้างและแมลงไม่สามารถผสมเกสรได้ เสาวรสปลูกได้ดีในดินหลายชนิด ดินที่เป็นกรดก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี แต่ถ้าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ต่ำกว่า 5.5 ควรใส่ปูนขาวลงไปด้วย

การเตรียมพื้นที่ปลูกเสาวรสรับประทานสดนั้น ต้องมีการไถพรวนพื้นที่ก่อนถ้าพื้นที่ไม่ลาดชันนัก และถ้าสามารถหว่านปุ๋ยอินทรีย์ในขณะไถพรวนพื้นที่ได้ก็จะดีมาก เนื่องจากเสาวรสมีระบบรากตื้นแต่แผ่กว้างมาก จากนั้นจึงขุดหลุมปลูกโดยให้มีระยะปลูก 3×3 เมตร (177 ต้นต่อไร่) หลุมปลูกควรมีขนาด 30x30x30 เซนติเมตรและอยู่บริเวณโคนเสาค้างเพราะจะทำให้สะดวกในการปฏิบัติงานภายในแปลง ก้นหลุมปลูกรองด้วยปุ๋ยอินทรีย์หรือเศษวัชพืชและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 จำนวน 100 กรัม จากนั้นผสมดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์อีกครั้งลงในหลุมและควรเตรียมหลุมปลูกก่อนล่วงหน้าระยะหนึ่งจะดีมาก เพื่อให้อินทรียวัตถุที่ใส่ลงไปย่อยสลายก่อน

2. การคัดเลือกและเตรียมต้นกล้า

การปลูกเสาวรสรับประทานสดต้องมีการเตรียมต้นกล้าไว้ล่วงหน้าให้พอดีกับช่วงเวลาที่จะปลูกเพื่อให้ได้ต้นกล้าที่คุณภาพดี เพราะการผลิตกล้าเสาวรสส่วนใหญ่จะใช้ถุงปลูกขนาดเล็กให้สะดวกต่อการขนส่งจึงไม่สามารถเลี้ยงต้นกล้าไว้ในถุงปลูกนานได้และที่สำคัญต้นกล้าที่จะนำมาปลูกต้องคัดเลือกให้มีความสมบูรณ์สม่ำเสมอกันและไม่แสดงอาการเป็นโรคไวรัส

3. วิธีการปลูก

หลังจากเตรียมหลุมปลุกแล้วก็สามารถน้ำนกล้าลงปลูกได้ในกรณีที่ปลูกด้วยต้นที่เปลี่ยนยอดแล้วต้องให้รอยต่อของยอดพันธุ์กับต้นตออยู่สูงกว่าระดับดินเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าทางรอยต่อและต้องตรวจสอบดูด้วยว่าได้เอาวัสดุพันกิ่งออกแล้วหรือไม่ เมื่อปลูกต้นกล้าแล้วใช้หลักไม้ไผ่ขนาดเล็กความสูงถึงระดับค้างปักและผูกเถาติดกับหลักหรือเสาค้างก็ได้เพื่อให้ยอดของต้นตั้งตรงตลอดเวลาต้นจึงจะเจริญเติบโตได้เร็ว

4. การทำค้าง

เนื่องจากเสาวรสเป็นไม้ผลประเภทเถ้าเลื้อยการปลูกจึงต้องมีค้างรองรับต้นและผลผลิต ค้างเสาวรสนั้นต้องแข็งแรงเพียงพอสามารถใช้งานได้อย่างน้อย 3 ปี ต่อการปลูก 1 ครั้งและต้องทำก่อนปลูกหรือทำทันทีหลังปลูกเพื่อให้ทันกันการเจริญเติบโตของต้นเสาวรสสามารถเลี้ยงเถาได้ทันทีเมื่อเถาเจริญถึงค้าง ซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน การทำค้างช้าเป็นปัญหาที่พบมาก เพราะเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ทุนและแรงงานมากที่สุด

ค้างเสาวรสมีอยู่ 2 ระบบคือค้างแบบรั้วตั้งและค้างแบบเป็นผืนที่ยังแยกออกเป็นอีก 2 แบบคือ แบบเป็นผืนใหญ่เต็มพื้นที่และแบบตัวที แต่ค้างแบบรั้วตั้งและแบบตัวทีนั้นยังไม่แนะนำให้เกษตรกรใช้เพราะพื้นที่เลี้ยงเถามีจำกัดต้องเพิ่มการตัดแต่งมากกว่าปกติ

ค้างแบบเป็นผืนใหญ่เต็มพื้นที่เป็นแบบที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ปัจจุบันเนื่องจากมีพื้นที่เลี้ยงเถามาก เกษตรกรไม่ต้องเสียเวลาในการเลี้ยงและตัดแต่งเถามาก นอกจากนี้ยังทำได้ง่ายและแข็งแรงซึ่งค้างประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่

1. เสาค้าง สามารถใช้ได้ทั้งเสาคอนกรีต เสาไม้หรือเสาไม้ไผ่แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการลงทุนให้น้อยที่สุดในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เสาค้าง 177 ต้น คือใช้ระยะ 3×3 เมตร เช่นเดียวกับหลุมปลูก

2. ค้างส่วนบน เป็นพื้นที่เลื้อยของเถาเพื่อไม่ให้เถาห้อยตกลงมา วัสดุที่ใช้อาจจะเป็นไม้ไผ่ลวดสังกะสีหรือเชือกไนล่อนก็ได้ แต่วิธีที่แนะนำให้เกษตรกรใช้คือใช้ลวดสังกะสีเบอร์ 14 สานเป็นโครงสร้างและใช้เชือกไนล่อนสานเป็นตารางขนาด 40×50 เซนติเมตร วิธีนี้จะทำให้น้ำหนักค้างส่วนบนลดลง

ในแต่ละปีต้องมีการซ่อมแซมค้างที่เสียหายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยปกติแล้วจะทำหลังจากการตัดแต่งกิ่งในเดือนกุมภาพันธ์ เช่น เปลี่ยนเชือกที่ขาดและเสาที่ผุพัง เป็นต้น

5. การจัดทรงต้นและการเลี้ยงเถา

เสาวรสเช่นเดียวกับไม้ผลชนิดอื่นๆ ที่จะต้องจัดทรงต้นให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตโดยเริ่มตั้งแต่หลังปลูกจนกระทั่งขึ้นค้าง คือจะต้องให้เสาวรสมีลำต้นเดียวตั้งแต่ระดับพื้นดินจนถึงค้างในระยะนี้จะต้องคอยดูแลตัดหน่อที่งอกจากต้นตอกิ่งข้างของต้นออกให้หมดรวมทั้งต้องมัดเถาให้เลื้อยขึ้นตั้งตรงอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้ายอดของเถาห้อยลงจะทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโตและแตกตาข้างมากและเนื่องจากเสาวรสรับประทานสดเน้นการเลี้ยวเถาเป็นต้นจากการเสียบยอดจึงติดผลเร็ว ต้องหมั่นเด็ดผลทิ้งจนกว่าต้นจะเจริญถึงค้าง

หลังจากต้นเจริญถึงค้างแล้วให้ทำการตัดยอดบังคับให้แตกเถาใหม่ 3-4 กิ่ง จากนั้นจัดเถาให้กระจายออกไปโดยรอบต้นทั่วพื้นที่ของค้าง และควรตัดยอดของเถาอีกครั้งเมื่อยาวพอสมควรแล้วเพื่อช่วยให้แตกยอดมากขึ้น

6. การใส่ปุ๋ย

เสาวรสเป็นพืชที่ออกดอกติดผลตลอดทั้งปี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับปุ๋ยอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จึงจะให้ผลผลิตได้ดีและมีคุณภาพโดยเฉพาะเสาวรสรับประทานสดนั้นยิ่งมีความจำเป็นมาก การได้รับปุ๋ยที่ไม่ถูกต้องและเพียงพอจะมีผลทำให้คุณภาพและรสชาติของผลผลิตต่ำกว่ามาตรฐาน ปุ๋ยที่ใช้ในการปลูกเสาวรสรับประทานสดมี 2 ชนิดคือ

1. ปุ๋ยอินทรีย์ มีประโยชน์ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินทำให้ต้นเสาวรสมีความแข็งแรงขึ้นและลดความรุนแรงของโรคไวรัสลง ซึ่งได้แก่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก ต้องใส่ให้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งคือใส่พร้อมกับการเตรียมดินก่อนปลูกและหลังจากสิ้นสุดช่วงเก็บเกี่ยวแล้วและทำการติดแต่งกิ่งของแต่ละปีในช่วงต้นกุมภาพันธ์โดยใช้ประมาณ 10 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี โดยอาจจะใช้วิธีโรยเป็นแถวระหว่างต้นหรือรอบต้นแล้วไถพรวนหรือดินกลบ

2. ปุ๋ยเคมี มีความจำเป็นต่อเสาวรสรับประทานสดมาก โดยทั่วไปแล้วแนะนำให้ใช้อย่างต่อเนื่อง ครั้งละจำนวนน้อยแต่บ่อยครั้งเพราะเสาวรสมีช่วงการให้ผลผลิตตลอดปีและพื้นที่สูงมักจะมีปัญหาการชะล้างของฝนทำให้เกิดการสูญเสียของปุ๋ยได้ง่าย อัตราใช้ปุ๋ยเคมีที่แนะนำคือ 150-200 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปีหรือประมาณ 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี
7. การให้น้ำและกำจัดวัชพืช

เสาวรสสามารถทนแล้งได้ดีพอสมควร สามารถปลูกโดยอาศัยน้ำฝนได้ แต่การปลูกเสาวรสรับประทานสดแบบให้น้ำเพื่อให้มีผลผลิตตลอดปีนั้นจำเป็นต้องให้น้ำในฤดูแล้งประมาณ 7 วันครั้ง ซึ่งสามารถให้ได้โดยหลายวิธี เช่น น้ำพ่นฝอย น้ำหยด หรือรดน้ำ ควรให้น้ำ 1-2 ครั้ง / สัปดาห์ เป็นต้น สำหรับวัชพืชนั้นต้องหมั่นกำจัดอยู่เสมอโดยอาจจะใช้วีการตัดหรือพ่นด้วยสารเคมีได้แต่ต้องไม่ใช้ประเภทดูดซึม หลังจากที่เถาเต็มค้างแล้วปัญหาเรื่องวัชพืชจะน้อยลง

8. การปลิดผล

โดยธรรมชาติแล้วเสาวรสจะออกดอกและติดผลได้ง่ายโดยจะเกิดที่ทุกข้อบริเวณโคนก้านใบของกิ่งใหม่ถึงแม้ว่าดอกบางส่วนจะร่วงไม่ติดผลแต่ก็มักจะติดผลค่อนข้างมากอยู่ ทำให้ผลผลิตคุณภาพไม่สม่ำเสมอจำเป็นต้องปลิดผลที่มีคุณภาพต่ำทิ้ง ให้ผลที่เหลืออยู่มีคุณภาพดี ซึ่งจำเป็นมากสำหรับเสาวรสรับประทานสดที่ต้องเน้นเรื่องคุณภาพ

ใน 1 เถาเสาวรสจะให้ผลที่มีคุณภาพดีเป็นชุด ๆ ละ 3-4 ผล หลังจากติดผล 1 ชุดแล้ว ผลชุดที่ติดต่อไปมักมีขนาดเล็กเพราะอาหารไม่เพียงพอจึงต้องทิ้งบ้าง นอกจากนี้ยังมีผลที่บิดเบี้ยวเนื่องจากการทำลายของโรคแมลงที่ต้องปลิดทิ้งด้วย โดยทำตั้งแต่ผลมีขนาดเล็กอยู่

9. การตัดแต่งเถา

เนื่องจากเสาวรสเป็นไม้ผลที่ออกดอกบนกิ่งใหม่จึงต้องทำให้ต้นมีการแตกกิ่งใหม่ตลอดเวลาเสาวรสจึงจะให้ผลผลิตได้ดีอีกประการหนึ่งคือเถาเสาวรสจะเลื้อยยืดยาวออกไปตลอดเวลา ทำให้กิ่งใหม่และผลติดอยู่ไกลลำต้นจึงได้รับน้ำและอาหารไม่เต็มที่ การตัดแต่งจะมีประโยชน์ในการช่วยให้ต้นแตกกิ่งใหม่และเถาไม่ยาวเกินไป ซึ่งทำได้ 2 ลักษณะตามรูปแบบการปลูกคือ

1) การปลูกแบบอาศัยน้ำฝน จะต้องทำการตัดแต่งหนัก 1 ครั้ง หลังจากสิ้นสุดฤดูกาลเก็บผลผลิตในเดือนกุมภาพันธ์โดยตัดเถาโครงสร้างที่เกิดจากลำต้นให้เหลือ 3-4 กิ่งยาวประมาณ 30 เซนติเมตร หลังจากนั้น 1 เดือนจะแตกยอดใหม่ที่กิ่งโครงสร้าง ตัดแต่งกิ่งอีกครั้งโดยเลื้อยยอดใหม่ที่สมบูรณ์ ไว้ 2-3 ยอดต่อเถาโครงสร้าง 1 เถา จัดเถาให้กระจายไปรอบต้น

ในระหว่างที่ต้นเจริญเติบโตและให้ผลผลิตนั้นต้องคอยตัดแต่งกิ่งข้างที่แก่และกิ่งที่ให้ผลผลิตไปแล้วออกโดยให้เหลือตา 2-3 ตา เพื่อให้แตกยอดใหม่ให้ผลผลิตต่อไป

2) การปลูกแบบให้น้ำ

การปลูกแบบนี้จะไม่มีการตัดแต่งหนักในฤดูแล้งเพราะต้องการให้มีผลผลิตตลอดปี แต่จะใช้การตัดยอดของเถาโครงสร้างที่ยืดยาวออกไปเป็นระยะๆ หลังจากที่ต้นขึ้นค้างแล้ว เพื่อบังคับให้แตกเถาข้างมากขึ้นและทำการตัดแต่งเถาข้างเมื่อยาวพอสมควรเป็นระยะเช่นกัน เพื่อบังคับให้แตกเถาแขนงให้มากสำหรับให้ผลผลิตและต้องตัดแต่งเถาข้างหรือเถาแขนงที่แก่หรือให้ผลผลิตแล้วออกเป็นประจำเพื่อให้แตกยอดใหม่ทดแทนตลอดเวลาโดยตัดให้เหลือ 2-3 ตา

ในบางช่วงที่ต้นติดผลน้อยกว่าปกติ อาจจะตัดแต่งให้หนักมากขึ้นได้เพราะจะไม่กระทบกับการให้ผลผลิตมากนัก

10. การเก็บเกี่ยวและการบ่ม

เสาวรสรับประทานสดจะไม่เก็บเกี่ยวโดยปล่อยให้ร่วงเหมือนกับเสาวรสโรงงาน คือต้องเก็บจากต้นโดยผลจะสุกเมื่ออายุประมาณ 50-70 วันหลังดอกบาน ระยะที่เหมาะสมเก็บเกี่ยวเมื่อผลเปลี่ยนเป็นสีม่วงแล้วประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ โดยสีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงอมม่วงจึงเก็บเกี่ยวด้วยวิธีการใช้กรรไกรตัดขั้วผลจากต้นให้สั้นติดผล แล้วจึงนำมาบ่มเพื่อให้สีผลสวยและรสชาติดีขึ้น โดยทั่วไปแล้วจะทำการเก็บเกี่ยวทุกๆ 2-3 วันต่อครั้ง

การบ่อใช้ก๊าซอะเซทธิลีน ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่น ใส่ผลลงไปภาชนะเช่นกล่องกระดาษ แล้วนำแคลเซียมคาร์ไบด์ที่ใส่ในภาชนะเล็กๆ หรือห่อกระดาษเติมน้ำเล็กน้อยให้เกิดก๊าซอะเซทธิลีนแล้วปิดภาชนะทิ้งไว้ 2-3 วันผลจะเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงแดงเข้มขึ้นจึงนำส่งจำหน่าย ในกรณีที่ผลผลิตมีจำนวนมากให้ใช้วิธีใส่ผลผลิตลงในลังพลาสติกหลายๆ ลังนำมาตั้งรวมกันใส่แคลเซียมคาร์ไบด์มากเกินไปเพราะจะทำให้ผิวผลเสียหาย

ก่อนการบ่มควรคัดคุณภาพผลผลิตก่อนที่สำคัญคือระดับความสุกของผลให้สม่ำเสมอกันเพราะจะทำให้ใช้ระยะเวลาในการบ่มเท่ากันสีของผลสม่ำเสมอกันทุกผล

11. การคัดคุณภาพผลผลิตและบรรจุหีบห่อ

ผลผลิตเสาวรสรับประทานสดนั้นต้องเน้นเรื่องคุณภาพเป็นอย่างมากโดยเฉพาะคุณภาพภายใน ซึ่งได้แก่ความหวานและน้ำหนักต่อผล โดยความหวานต้องไม่ต่ำกว่า 16 Brix และผลที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 5 เซนติเมตร ควรมีน้ำหนักประมาณ 70 กรัม เพราะผลที่มีขนาดใหญ่แต่น้ำหนักเบาภายในจะมีเนื้อน้อย สำหรับลักษณะภายนอกนั้นผลต้องไม่บิดเบี้ยว ไม่เน่า แตก หรือเหี่ยว ผิวผลอาจจะลายจากโรคไวรัสหรือแมลงได้ แต่ไม่มากเกินไป ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงกำหนดชั้นมาตรฐานผลผลิตไว้ 2 เกรด คือ เกรด 1 เส้นผ่าศูนย์กลางผลตั้งแต่ 5 เซนติเมตรขึ้นไป และเกรด 2 เส้นผ่าศูนย์กลางผลตั้งแต่ 4-5 เซนติเมตร

หลังจากคัดคุณภาพแล้วจึงบรรจุผลผลิตเพื่อส่งจำหน่ายโดยกำหนดให้บรรจุผลลงในลังสีเขียวที่บุข้างด้วยกระดาษและส่งให้งานคัดบรรจุตรวจสอบคุณภาพและส่งจำหน่ายต่อไปโดยอาจจะบรรจุใหม่สำหรับขายปลีกเป็นกิโลกรัม

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3493
645 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 64 หน้า, หน้าที่ 65 มี 5 รายการ
|-Page 54 of 65-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
หนอนพริก แมลงวันพริก หนอนแมลงวัน ศัตรูพริก ป้องกันและกำจัดด้วย ไอกี้-บีที
Update: 2564/02/26 06:22:10 - Views: 3525
คู่มือโรคมะพร้าว แนวทางการป้องกันและกำจัดโรคเชื้อรา ที่เกิดขึ้นกับต้นมะพร้าว
Update: 2566/04/30 07:17:35 - Views: 3509
กำจัด หนอนผีเสื้อ หนอนศัตรูพืชทุกชนิด ปลอดสารพิษ ไอกี้ และ FK-T (ใช้ได้ทุกพืช) โดย FK
Update: 2565/07/14 08:29:22 - Views: 3421
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค: เทคโนโลยีช่วยปรับปรุงดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช สำหรับผักกวางตุ้ง
Update: 2567/02/13 09:29:27 - Views: 3481
โรคทุเรียนต่างๆ ทุเรียนใบไหม้ ราสีชมพูในทุเรียน โรคทุเรียนก้านธูป เชื้อราต่างๆ ใช้ ไอเอส
Update: 2566/10/28 12:25:31 - Views: 10046
จอมปลวกที่เห็นตามท้องไร่ท้องนา ใช้ฉีดย่อยสลายฟางข้าวได้ ยับยั้งโรคพืชได้อีกด้วย
Update: 2563/06/24 07:55:04 - Views: 3448
ผู้ปลูกดอกเบญจมาศ ในช่วงฝนตกต่อเนื่อง เตือน ระวังโรคใบจุด ในดอกเบญจมาศ
Update: 2566/11/07 14:17:56 - Views: 3390
การป้องกันและกำจัด โรคยางพาราเปลือกเน่า โรคยางพาราเปลือกแห้ง
Update: 2566/03/04 11:36:06 - Views: 3478
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคแอนแทรคโนส ในมะม่วง ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/22 10:46:17 - Views: 3408
ผักโขมใบจุด ใบไหม้ กำจัดโรคเชื้อราในผักโขม ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK สวน ปุ๋ย ศัตรูพืช
Update: 2565/11/14 09:59:40 - Views: 3408
หนอนในต้นมะระ: วิธีการแก้ไขปัญหาในสวนผักของคุณ
Update: 2566/11/14 14:36:17 - Views: 3413
มะเขือเทศใบซีด มะเขือเทศใบเหลือง อาการเริ่มจากใบแก่ ก่อนลุกลามไปใบอ่อน เพราะขาดไนโตรเจน
Update: 2564/03/27 03:26:32 - Views: 3491
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคเมลาโนส หรือ โรครา น้ำหมาก ในส้ม ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/05 13:57:26 - Views: 3437
ปุ๋ยมะเฟือง การปลูกมะเฟือง ปุ๋ยงเร่งโต เร่งผลผลิตมะเฟือง ฉีดพ่น FK-1 มี N-P-K, Mg, Zn และสารจับใบ
Update: 2564/11/05 09:23:43 - Views: 3414
ปุ๋ยบอนไซ รักษาโรคบอนไซ ใบเหลือง ใบจุด ใบไหม้ ขาดธาตุ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม #ปุ๋ยบอนไซ #บอนไซใบแห้ง
Update: 2564/11/04 08:01:29 - Views: 3405
แตงกวา ใบไหม้ ใบแห้ง ราน้ำค้าง กำจัดโรคจากเชื้อราต่างๆในแตงกวา ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK สวน ปุ๋ย ศัตรูพืช
Update: 2565/11/02 13:14:37 - Views: 3441
ศัตรูพืช และ การป้องกันกำจัด
Update: 2563/11/06 08:59:08 - Views: 3413
โรคแอนแทรคโนสในทุเรียน
Update: 2564/04/27 12:41:00 - Views: 3469
โรคทุเรียนผลเน่า กำจัดโรค ในทุเรียน โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อราสกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติ
Update: 2566/05/22 12:05:12 - Views: 3404
แนวทางป้องกันและกำจัดโรคใบไหม้ในมันสำปะหลัง: การรับมือกับภัยคุกคามในการผลิตมันสำปะหลัง
Update: 2566/11/08 10:25:25 - Views: 3432
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022