[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ข้าว
635 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 63 หน้า, หน้าที่ 64 มี 5 รายการ

ป้องกัน กำจัด หนอนชอนใบส้ม หนอนชอนใบมะนาว หนอนชอนใบในทุกพืช ไอกี้-บีที ตายช้ากว่ายาเคมี แต่ตายยกรัง
ป้องกัน กำจัด หนอนชอนใบส้ม หนอนชอนใบมะนาว หนอนชอนใบในทุกพืช ไอกี้-บีที ตายช้ากว่ายาเคมี แต่ตายยกรัง
หนอนงง ปรับตัวไม่ทัน เพราะเจอชีวภัณฑ์ แบคทีเรียสองสายพันธุ์ Kustaki และ Aizawai ออกฤทธิ์ทำลายหนอนพร้อมกัน ทำให้ตายใน 24-48 ชั่วโมง ตายช้ากว่ายาเคมี แต่ตายยกรัง เนื่องจากหนอนที่รับ บีที เข้าไป กลับไปตายรัง และพวกเดียวกันกินกินซาก จึงตายต่อกัน เนื่องจาก บีที เป็น ชีวภัณฑ์ ที่ขยายตัวตกผลึกในท้องหนอน และออกฤทธิ์เฉพาะกับหนอนเท่านั้น

หนอนชอนใบ เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืน มีขนาดเล็กมาก ลำตัวสีหม่น ปีกขาวนวล เพศเมียจะวางไข่หลังผสมพันธุ์ใน 24 ชั่วโมง ที่เส้นใต้ใบพืช ในเวลาไม่เกิน 3 วัน หลังจากฟักออก จะเป็นตัวหนอน กัดกิน ชอนไชอยู่ระหว่างผิวใบพืช รอยการทำลายจะอยู่ด้านใต้ใบ มากกว่าด้านบนใบ สังเกตุได้ง่าย จะเห็นใบพืช เป็นลาย เป็นเส้นทางคดเคี้ยวไปมา

หากระบาดมาก หนอนจะเจาะเข้าทำลายกิ่งอ่อน และผลอ่อนของพืชด้วย

กำจัดหนอน ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดภัยแน่นอน เพราะ บีที ไม่ออกฤทธิ์ กับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คนและสัตว์เลี้ยง จึงปลอดภัย 100%

✅ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
✅ฉีดพ่นต่อเนื่องไม่อันตราย
✅ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บฟาร์มเกษตรโดยตรง http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Lazada ไอกี้-บีที http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Shopee ไอกี้-บีที http://www.farmkaset..link..


ข้อมูลและอัตราผสมใช้

🐛 ไอกี้ อัตตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)

🐛 ข้อมูลจำเพาะ ไอกี้-บีที

ใช้แก้ปัญหา : โรคหนอนกออ้อย หนอนกอในนาข้าว หนอนห่อใบข้าว หนอนม้วนใบ หนอนทรายในสวนยางพารา หนอนชักใยปาล์มน้ำมัน หนอนปลอกใหญ่ หนอนเจาะฝักข้าวโพด หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด

ประกอบด้วยจุลินทรีย์สายพันธ์ บีที (BT) ที่มีประสิทธิภาพสูง คือ Bacillus thuringiensis var. aizawai และ Bacillus thuringi
ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ

ไอกี้-บีที บีที
ชื่อสามัญ : บาซิลลัส ทูริงเยนซิส [ Bacillus truringiensis ] กลุ่มสารเคมี : Bacterium
สารสำคัญ : Bacillus thuringiensis var. kurstaki

นำหนักสุทธิ : 500 กรัม

ฆ่าหนอน กำจัดหนอนแมลงศัตรูพืชด้วยสารชีวินทรีย์ประสิทธิภาพสูง เอนไซม์สกัด บีที เพิ่มศักยภาพในการกำจัดแมลงศัตรูพืชให้กับเกษตรกร โดยการรวมประสิทธิภาพการกำจัดแมลงของเชื้อ Bacillus thuringiensis 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ Kustaki และ Aizawai เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มการปลดปล่อยสารพิษในการทำลายแมลงศัตรูพืช ด้วยการสร้างสารพิษผลึกโปรตีน delta-endotoxins ที่มีอยู่ในเชื้อ Bacillus thuringiensis เมื่อแมลงศัตรูพืชได้รับสารพิษนี้เข้าไป จะทำให้เกิดพิษในกระเพาะอาหารเป็นอัมพาต ลำตัวเหี่ยวแห้ง และตายภายในเวลา 24-48 ชั่วโมง โดยไม่เป็นอันตราต่อสิ่งแวดล้อม แมลงศัตูธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

วิธีการใช้
อัตราส่วนการใช้ 40-60 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว ทุกๆ 4-7 วัน

วิธีเก็บรักษา
ต้องเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดแน่นและมีฉลากปิดมิดชิด ห่างจากแสงแดด เด็ก สัตว์เลี้ยง และอาหาร
ป้องกัน กำจัด เพลี้ยอ่อนข้าวโพด เพลี้ยต่างๆ และ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ใช้ได้กับพืชทุกชนิด (1ลิตร ผสมน้ำได้ 400ลิตร)
ป้องกัน กำจัด เพลี้ยอ่อนข้าวโพด เพลี้ยต่างๆ และ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ใช้ได้กับพืชทุกชนิด (1ลิตร ผสมน้ำได้ 400ลิตร)
มาคา เป็นยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ กำจัดแมลงศัตรูพืช
สกัดจากพืช_ 100% จากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค

เพลี้ยอ่อนข้าวโพด (Corn leaf aphid : Rhopalosiphum maidis Fitch.)

มักจะพบเกาะเป็นกลุ่ม ๆ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของต้นข้าวโพด เช่น ยอด กาบใบ โคนใบ กาบฝัก และจะพบมากที่สุดบริเวณช่อดอกทำให้บริเวณที่ถูกดูดกินแสดงอาการเป็นจุดสีเหลืองปนแดง ถ้าช่อดอกมีเพลี้ยเกาะกินอยู่มากจะทำให้ช่อดอกไม่บาน การติดเมล็ดน้อยและทำให้เมล็ดแก่เร็วทั้ง ๆ ที่เมล็ดยังไม่เต็มฝัก นอกจากนี้น้ำหวานที่เกิดจากเพลี้ยอ่อนยังดึงดูดให้แมลงศัตรูชนิดอื่นของข้าวโพด เช่น หนอนเจาะฝักหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด มาวางไข่ที่ไหมข้าวโพดอีกด้วย

รูปร่างลักษณะของ เพลี้ยอ่อนข้าวโพด

เพลี้ยอ่อนข้าวโพดเป็นแมลงชนิดเล็กเคลื่อนไหวช้า หัวและอกมีขนาดเล็ก ส่วนท้องโตมีรูปร่างคล้ายผลฝรั่ง ตัวเต็มวัยและตัวอ่อนมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ตัวเต็มวัยมีสีเขียวอ่อนตลอดทั้งตัว และพบทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ซึ่งเป็นตัวเมียทั้งหมด โดยปกติพวกที่มีปีกจะมีลำตัวเล็กกว่าพวกที่ไม่มีปีก คือ มีความยาวประมาณ 0.7-2 มิลลิเมตร หัว อก หนวด และขามีสีดำ ส่วนท้องมีสีเขียวอ่อนและจุด ๆ สีดำทั่วไป ตรงส่วนท้ายของลำต้นมีท่อเล็ก ๆ ยื่นออกมาคล้ายหาง 2 อัน ท่อนี้เรียกว่า Cornicle ซึ่งเป็นที่ขับถ่ายน้ำหวาน (Honey Dew) ที่เกิดจากการดูดกินน้ำเลี้ยงจากท่ออาหารของพืชโดยปากที่มีลักษณะเป็นท่อยางคล้ายเข็มฉีดยา เพลี้ยอ่อนขยายพันธุ์โดยการออกลูกเป็นตัว มีเพศเมียเพียงเพศเดียว ตัวอ่อนที่ออกมาใหม่ ๆ มีขนาดเล็กมากจะมองเห็นเป็นเพียงจุดสีเหลืองอ่อน ๆ เพลี้ยอ่อนที่ไม่มีปีกจะลอกคราบไม่เกิน 4 ครั้ง ก็จะเป็นตัวแก่ที่สมบูรณ์ ถ้ามีการลอกคราบครั้งที่ 5 ก็จะเป็นพวกที่มีปีก ซึ่งมักจะเกิดเมื่อพืชอาหารไม่สมบูรณ์ เช่น ใบนั้นมีเพลี้ยเกาะกินอยู่อย่างหนาแน่น ขาดน้ำหรือใบแก่ไป เป็นต้น ระยะเวลาจากตัวอ่อนจนเป็นตัวโตเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 12 วัน เมื่อเป็นตัวโตเต็มวัยแล้วก็พร้อมที่จะขยายพันธุ์ได้อีกโดยไม่ต้องผสมพันธุ์ ภายในเวลาประมาณ 5 วัน หลังจากเป็นตัวเต็มวัย เพลี้ยอ่อนตัวหนึ่งจะออกลูกได้ถึง 45 ตัว แต่โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 19 ตัว ตัวเต็มวัยชนิดไม่มีปีกมีขนาดยาวประมาณ 2-2.3 มิลลิเมตรเท่านั้น ถ้ามีอาหารตลอดทั้งปี ในปีหนึ่งจะมี 30-40 รุ่น

ที่มาของข้อมูล เพลี้ยอ่อนข้าวโพด : สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

แมลงศัตรูพืช ที่ใช้ มาคา ได้

#เพลี้ยไฟ #แมลงหวี่ขาว #เพลี้ยไก่แจ้ #เพลี้ยอ่อน #เพลี้ยกระโดด #เพลี้ยจักจั่น #เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

#Aphid #Insect #Aphididae #Aphidoidea #greenfly #blackfly #Drosophila #whitefly

✅ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
✅ฉีดพ่นต่อเนื่องไม่อันตราย
✅ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บฟาร์มเกษตรโดยตรง http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Lazada มาคา http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Shopee มาคา http://www.farmkaset..link..

ข้อมูลและอัตราผสมใช้

🦗 ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ กำจัด เพลี้ย แมลงหวี่ขาว แมลงพาหะของโรค และแมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)

🦗ข้อมูล มาคา

มาคา สกัดจากธรรมชาติ ที่ถูกคัดสรรอย่างพิถีพิถัน โดยใช้หลักการเทคโนโลยีชั้นสูง ในการรวมอัลคาลอยเข้มข้นที่มีประสิทธิภาพสูงเข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อีกทั้งสามารถยับยั้งการดื้อยาที่เกิดจากการใช้สารเคมีเป็นเวลานาน เนื่องจาก มาคา มีวิธีการออกฤทธิ์แบบไม่เจาะจง จึงทำให้แมลงไม่สามารถปรับตัวต้านทานได้ รวมทั้งสามารถฉีดพ่นได้ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว โดยปราศจากสารพิษตกค้างในดินและน้ำ ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

*การใช้มาคากำจัด เพลี้ย และแมลงศัตรูพืช กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

MAKA : Multiple Alkaloid Agent Insecticide

Natural Organic Plant Alkaloids extracted from specially selected plants using high technology. Highly concentrated alkaloids are extremely effective in eliminating and repelling insects. They protect the plants from further insect attacks. No insecticide resistance build-ups as the active ingredients are non-specific in action. No poisonous residues – safe to spray before harvest. No contamination of soil and water. No user and consumer poisonings.

Elimination Alkaloids act by destroying the nervous_ metabolism system of insects and haemocytes. Natural active insecticidal oil cover and block the breathing pores of insects. Kill ratio is high if used according to manufacturer’s instructions.

Repellent Odor and Active ingredients of Alkaloids effectively coat surfaces of plants The Ionic charges and nerve acting alkaloid will repel insects from attacking plants.

Protection MAKA Alkaloids will cover and stick to the leaves and plant surfaces to provide continuous repelling protection for extended periods.

Protect nad Eliminate pest
– Brown Planthopper (Nilaparvata lugens)
– Zigzag Leafhopper (Recilla dorsalis)
– Green Leafhopper (Nephotettix spp.)
– Rice Thrips (Balliothrips biformis)
โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต และ โรคพืช ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต และ โรคพืช ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
ปัจจุบันปัญหาด้านเศรษฐกิจนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกที เนื่องจากจำนวนประชากรของโลกเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่เนื้อที่ทำการเกษตรมีจำกัด หรืออาจน้อยลง เพราะส่วนหนึ่งต้องนำมาใช้เป็นที่อยู่อาศัย เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องใช้เนื้อที่ทางด้านการเกษตรที่มีอยู่ ในการเพาะปลูกพืชอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่ลดผลผลิตของพืช คือ ปัญหาศัตรูพืช ซึ่งหมายถึง โรคพืชและแมลง แมลงและสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคกับพืช เป็นสิ่งมีชีวิต ได้พยายามปรับตัว เพื่อต่อสู้วิธีการป้องกัน และกำจัดของมนุษย์ตลอดมา เพื่อความอยู่รอด การศึกษาด้านศัตรูพืชจึงต้องกระทำติดต่อตลอดไป เพื่อให้เข้าใจถึงวัฎจักรการเข้าทำลายพืชของแมลงและโรค และใช้วิธีที่เหมาะสมในการป้องกัน และกำจัด เพื่อแก้ปัญหาศัตรูพืชเหล่านี้ให้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งในที่นี้ จะกล่าวถึงเฉพาะด้านโรคพืช ถ้าจะมีใครสักคนถามว่า ความหมายของโรคพืชคืออะไร คงจะให้คำจำกัดความที่แน่นอนลงไปได้ยาก แต่ก็พอจะสรุปว่า เมื่อพืชแสดงอาการผิดปกติไปจากเดิม มีผลทำให้เกิดการสูญเสีย ในแง่การเจริญเติบโต และผลผลิตลดลง ไม่ว่าจะในระยะสั้นหรือยาวก็ตาม ก็ถือว่า พืชเป็นโรคทั้งสิ้น ดังจะได้กล่าวถึง ในรายละเอียดของอาการที่ผิดปกติต่อไป

อาการใบเหลืองซีดของอ้อย เกิดเป็นหย่อมๆ เป็นลักษณะหนึ่งของการขาดธาตุอาหาร อาการใบเหลืองซีดของอ้อย เกิดเป็นหย่อมๆ เป็นลักษณะหนึ่ง ของการขาดธาตุอาหาร
ความเสียหายที่เกิดจากโรคพืช ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ ๓ ประการ คือ ความอ่อนแอของพืชต่อการเกิดโรค ความรุนแรงของเชื้อโรค และสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่ การเกิดโรค เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสภาพ ความเป็นกรด และด่างของดิน ฯลฯ ในกรณีที่พืชอ่อนแอต่อโรคมาก เชื้อโรคมีความรุนแรงมากและสภาพแวดล้อมเหมาะสม ความเสียหาย จะเกิดขึ้นรุนแรง ในอดีต โรคไหม้ (blight) ของมันฝรั่งเคย ระบาดรุนแรง ทำให้ผลผลิตมันฝรั่งในประเทศไอร์แลนด์ลดต่ำลง จนไม่เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภคของประชาชน ทำให้ประชาชนอดอาหาร ล้มตายเป็นจำนวนมาก ในประเทศไทย โรคพืชชนิดต่างๆ เช่น โรคใบสีส้มของข้าว โรคราน้ำค้างของ ข้าวโพด โรครากเน่าของทุเรียน ทำให้ผลผลิตของพืชลดลง คิดเป็นมูลค่าปีละหลายพันล้านบาท

โรคพืช แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ

๑. โรคพืชที่เกิดจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต

สิ่งไม่มีชีวิตที่สามารถทำให้เกิดอาการผิดปกติแก่พืชได้แก่

๑.๑ ปุ๋ย

พืชที่ขาดธาตุอาหาร หรือได้รับธาตุอาหารมากเกินไป หรือภาษาทางการเกษตร ที่เรามักจะคุ้นเคยเรียกว่า พืชขาดปุ๋ย หรือได้รับปุ๋ยมากเกินไป ปกติธาตุอาหารเหล่านี้ มักมีอยู่ในดิน เพียงพอต่อความต้องการของพืช แต่บางกรณี สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่ไม่เหมาะสม ทำให้ธาตุอาหารต่างๆ เหล่านี้ เปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถดูดนำมาใช้ได้ หรือบางครั้ง เราปลูกพืชซ้ำที่เดิมเป็นเวลานาน โดยไม่มีการปรับดินให้ปุ๋ย จึงทำให้ดินบริเวณนั้นขาดแคลนธาตุอาหาร และพืชแสดงอาการเป็นโรคขาดธาตุอาหารให้เห็น อาการที่เกิดจากธาตุอาหารนี้ ส่วนใหญ่สังเกตได้ที่ใบอ่อน และใบแก่ โดยจะมีอาการเปลี่ยนสี ใบมีขนาดเล็กลง ม้วนขึ้น หรืองดลง ตลอดจนการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตผิดปกติ ตัวอย่างกรณีให้ปุ๋ยมากเกินไป อาจทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉาตาย หรือใบงามจนเกินไป และไม่ออกรวง เช่น ข้าวเป็นโรคเฝือใบ เนื่องจากได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป หรือกล้วยไม้ พวกหวายมาดามตัดดอก มีการบำรุง และเร่งการออกดอก ด้วยปุ๋ยสูตรชนิดต่างๆ โดยมิให้ต้นไม้มีการพักตัว ปรากฏว่า ดอกมาดามที่ตัดจากต้นเหล่านี้มีคุณภาพเลวลง โดยมีระยะการบานไม่ทน เหี่ยวเฉา และหลุดร่วงง่าย ทำให้เสียมาตรฐานคุณภาพไม้ตัดดอก และนำมาซึ่งปัญหาการตลาดระหว่างประเทศต่อไป
อาการก้นเน่าของมะเขือเทศ เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม
อาการก้นเน่าของมะเขือเทศ
เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม ส่วนอาการพืช เนื่องจากขาดธาตุอาหาร พบได้บ่อยครั้ง เช่น โรคอ้อยขาดธาตุเหล็ก ทำให้เกิดอาหารใบเหลืองซีด ส้มที่ขาดธาตุสังกะสี หรือที่เรียกว่า ใบแก้วของส้ม ใบที่ยอดอ่อนจะเรียวเล็ก และชี้ขึ้น หรือโรคก้นเน่าของมะเขือเทศ ซึ่งเกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม เป็นต้น
๑.๒ ดินที่มีสภาพความเป็นกรด เป็นด่างมากเกินไป

โดยปกติสภาพความเป็นกรดด่างของดิน มิใช่ตัวควบคุมการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง แต่มีผลทางอ้อมต่อพืช ในการนำธาตุอาหารในดินมาใช้ หรือในแง่การเจริญเติบโต และอยู่ร่วมกันของเชื้อจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งจะมีผลช่วยให้พืชมีการเจริญเติบโตดี หรือผิดปกติไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและพืชแต่ละชนิด เรามักได้ยินคำว่า ดินเปรี้ยว ทำให้พืชมีขนาดเล็ก การเจริญเติบโตช้า อันเนื่องมาจากความเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป ทำให้พืชไม่สามารถใช้ธาตุอาหารบางชนิดได้ หรือมีการเสริมให้เชื้อโรคในดินบางชนิดระบาดรุนแรงขึ้น เช่น โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ และพืชบางชนิด ซึ่งเกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium sp.) จะแสดงอาการโรครุนแรงมาก ในดินกรด หรือค่อนข้างไปทางกรด ในทางตรงกันข้าม เชื้อราเวอร์ติซิลเลียม (Verticillium sp.) ซึ่งทำให้เกิดอาการเหี่ยวของมะเขือเทศเช่นเดียวกัน จะทำให้เป็นโรครุนแรงในสภาพดินด่าง เป็นต้น
อาการเหี่ยวของพริก เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม
อาการเหี่ยวของพริก เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม
๑.๓ วิธีการทางเขตกรรม

วิธีการนี้มีหลายกรณี เนื่องจากการเพาะปลูก จำเป็นต้องมีการเตรียมดินฆ่าเชื้อในแปลงปลูกที่เคยเป็นโรคมาก่อน หรืออุปกรณ์ในการเพาะกล้า และย้ายปลูก บางครั้งฤทธิ์ตกค้างของสารเคมีบางชนิดยังคงอยู่ และทำให้เกิดอาการผิดปกติกับพืชได้ การกำจัดวัชพืช หรือการใช้ปุ๋ยซึ่งมีวิธีต่างๆ กันอาจกระทบกระเทือนระบบราก และทำให้เกิดอาการเหี่ยวเฉา การยึดพืชกับเครื่องปลูก หรือสิ่งยึดเกาะ หากไม่แข็งแรงพอจะทำให้ระบบรากสั่นคลอน เนื่องจากกระแสลม หรือแรงกระทำอื่นๆ ทำให้รากไม่ยึดเกาะดิน หรือเครื่องปลูก อาจทำให้พืชเหี่ยวเฉา หรือถึงแห้งตายได้ มักจะเกิดกับกล้วยไม้ และการปลูกพวกกิ่งตอนต่างๆ
อาการใบไหม้ของส้มเกิดจากการใส่ปุ๋ยแล้วขาดการรดน้ำ
อาการใบไหม้ของส้มเกิดจากการใส่ปุ๋ย แล้วขาดการรดน้ำ
๑.๔ แสงแดดหรืออากาศที่ร้อนจัดเกินไป

มีพืชบางชนิด ที่ไม่สามารถทนความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ เช่น พวกพืชอวบน้ำ ใบหนา เมื่อมีหยดน้ำเกาะติดบนใบพืชและถูกแสงอาทิตย์ส่องนานๆ จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นถูกทำลายเป็นเซลล์ตาย สีน้ำตาลหรือสีดำ และอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคอื่นๆ เช่น เชื้อรา เชื้อบัคเตรี ฯลฯ นอกจากนี้ในโรงเรือนที่อบ หรือการขนส่งจำนวนมากๆ ในสภาพอากาศร้อนจัด มักทำให้พืชได้รับการกระทบกระเทือนมีอาการตายนิ่ง สลัดใบทิ้ง ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต หรืออาจถึงแห้งตาย มักเกิดขึ้นกับพืชทุกชนิด
๑.๕ ความชื้นมากหรือน้อยเกินไป

ความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเจริญเติบโตของพืช แต่ถ้าความชื้นมากเกินไป ก็มักจะช่วยส่งเสริมการเกิดโรคได้มากขึ้น เช่น การบรรจุไม้ตัดดอกส่งต่างประเทศ จะต้องมีกรรมวิธีการบรรจุที่ถูกต้อง ช่อไม้ดอกจะต้องแห้งปราศจากหยดน้ำบริเวณกลีบดอก ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาดอกเน่า จากการเข้าทำลายของเชื้อบางชนิด ในขณะที่มีการขนส่งไปยังตลาดในระยะทางไกลๆ หรือหากปลูกพืชแช่อยู่ในดิน หรือบริเวณที่ปลูกที่น้ำขัง การระบายน้ำไม่ดี ก็มักจะทำให้ระบบรากเน่า หรือเชื้อโรคในดินเข้าทำลายระบบรากได้ง่าย แต่ถ้าความชื้นน้อยเกินไป ก็จะมีผลโดยตรงกับการเจริญของพืช ต้นพืชจะเหี่ยวเฉา และโตช้า อาการใบไหม้ของไม้ประดับเกิดจากการใส่ปุ๋ยมากและอากาศร้อนจัด
อาการใบไหม้ของไม้ประดับเกิดจากการใส่ปุ๋ยมากและอากาศร้อนจัด
๒. โรคที่เกิดจากสิ่งที่มีชีวิต

มีเชื้อโรคหลายชนิด ที่ทำให้พืชเป็นโรค เชื้อแต่ละชนิดมีคุณสมบัติการเข้าทำลายพืช และการแพร่ระบาดโรคแตกต่างกันไป จึงขอกล่าวถึงเชื้อแต่ละชนิดพอเป็นสังเขป ดังต่อไปนี้

๒.๑ เชื้อรา

เป็นเชื้อที่พบว่า ทำให้เกิดโรคแก่พืชมากที่สุด และทำให้เกิดอาการประเภทต่างๆ บนพืชมากที่สุดด้วย เช่น ใบเป็นแผลจุด ใบไหม้ ใบติด ใบเหี่ยว รากเน่า โคนเน่า ผลเน่า เมล็ดเน่า ต้นกล้าเน่า หรือแห้งตายทั้งต้น เชื้อราส่วนใหญ่มีการแพร่ระบาดโรคด้วยส่วนที่เรียกว่า สปอร์ (spore) โดยมี น้ำ ลม หรือสิ่งมีชีวิตเป็นตัวนำ หรืออาจติดไปกับส่วนของพืชและดินที่เป็นโรค เชื้อราบางชนิดพักตัวอยู่ในส่วนของพืชและดินเป็นเวลานานนับปี มีความสามารถในการเข้าทำลายพืชได้ทั้งทางแผล ช่องเปิดธรรมชาติ หรือเข้าทำลายเนื้อเยื่อพืชโดยตรงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อรา

อาการใบไหม้เป็นวงซ้อนของใบกล้วยไม้ซึ่งเกิดจากเชื้อรา เข้าทำลายซ้ำเติมบริเวณที่ถูกแดดเผา อาการใบไหม้เป็นวงซ้อนของใบกล้วยไม้ซึ่งเกิดจากเชื้อรา เข้าทำลายซ้ำเติมบริเวณที่ถูกแดดเผา
เชื้อราแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ ๔ กลุ่มด้วยกันคือ

๒.๑.๑ ไฟโคไมซิทิส (phycomycets) เรามักเรียก เชื้อราในกลุ่มนี้ว่า ราชั้นต่ำ หรือราน้ำ มีลักษณะที่สำคัญคือ เส้นเชื้อราไม่มีผนังเซลล์กั้นด้านขวาง เรียกว่า โคโนไซติก ไฮฟีหรืออะเซพเทต ไฮฟี (coenocytic hyphae หรือ aseptate hyphae) ขยายพันธุ์ทั้งแบบไม่ใช้เพศโดยสร้างโซโอสปอร์ หรือสปอร์ที่มีหางในถุงหุ้มโซโอสปอร์ (zoosporangium) และแบบใช้เพศโดยผสมระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะและเพศต่างกัน ให้สปอร์ผนังหนาผิวเรียบ เรียกว่า โอโอสปอร์ (oospore) หรืออาจเกิดจากการผสมระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะและเพศต่างกัน แต่ต่างเพศกันให้สปอร์ผนังหนาขรุขระ เรียกว่า ไซโกสปอร์ (zygospore) สปอร์เหล่านี้จะแพร่ระบาดโดยลมพัดพาไป หรือว่ายน้ำไป เชื้อราในกลุ่มนี้ ทำให้เกิดโรคที่สำคัญกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น โรคราน้ำค้างของข้างโพด เกิดจากเชื้อสเคลอโรสปอรา ซอร์ไจ (Scherospora sorghi) โรคราน้ำค้างขององุ่น เกิดจากเชื้อพลาสโมพารา วิทิโคลา (Plasmopara viticola) โรครากเน่าของทุเรียนเกิดจากเชื้อไฟทอฟทอรา (Phytophthora sp.) เป็นต้น

อาการจุดสนิมของดอกกล้วยไม้ที่เกิดจากเชื้อรา มีอาการรุนแรงเมื่อมีความชื้นสูง เข้าทำลายซ้ำเติมบริเวณที่ถูกแดดเผา อาการจุดสนิมของดอกกล้วยไม้ที่เกิดจากเชื้อรา มีอาการรุนแรงเมื่อมีความชื้นสูง
๒.๑.๒ แอสโคไมซิทิส (ascomycets) เป็นเชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น (septate hyphae) ขยายพันธุ์ทั้งแบบไม่มีเพศ โดยสร้างสปอร์เรียกว่า โคนิเดีย (conidia) และแบบใช้เพศโดยผสมระหว่างเส้นใยที่มีลักษณะและเพศต่างกัน จะเกิดแอสโคสปอร์ (ascospore) ในถุงหุ้มสปอร์ (ascus) ถุงหุ้มสปอร์นี้อยู่ในกลุ่มเส้นใยซึ่งประสานตัวกัน มีผนังหนาสีดำ เรียกว่า ฟรุตติงบอดี (fruiting) คนโทปากเปิด (perithecium) และรูปถ้วยแชมเปญ (apothecium) ส่วนของฟรุตติงบอดีนี้ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อเกิดบนพืชเป็นโรคโดยจะเห็นเป็นจุดสีดำๆ เชื้อราในกลุ่มนี้ ทำให้เกิดโรคที่สำคัญ เช่น โรคราแป้งขาวขององุ่น กุหลาบ เป็นต้น
กลุ่มเส้นใยของเชื้อราที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ
กลุ่มเส้นใยของเชื้อรา
ที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ๒.๑.๓ เบสิดิโอไมซิทิส (basidiomycetes) เป็น เชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น ขยายพันธุ์ทั้งแบบไม่มีเพศโดยสร้าง สปอร์เรียกว่า โคนิเดีย และแบบมีเพศ โดยผสมระหว่างเส้นใยที่ มีลักษณะและเพศต่างกันเกิดสปอร์ เรียกว่า เบสิดิโอสปอร์ (basidiospore) ซึ่งอาจเกิดอยู่ในฟรุตติงบอดี หรือเกาะติดอยู่บน เส้นใยที่มีรูปร่างคล้ายกระบอง เรียกว่า เบสิเดียม (Basidium) เชื้อราในกลุ่มนี้ ทำให้เกิดโรคพืชต่างๆ ที่สำคัญ เช่น โรคสนิม ของพืช โรคเขม่าดำของข้าวโพด เกิดจากเชื้อยูสติลาโก เมย์ดิส (ustilago maydis) โรคเขม่าดำหรือแส้ดำ ของอ้อย เกิดจากเชื้อ ยูสติลาโก ไซตามิเนีย (Ustilago scitaminea) เป็นต้น
๒.๑.๔ ฟังไจอิมเปอร์เฟกไท หรือ ดิวเทอโรไมซิทิส (fungi imperfecti of deuteromycetes) เป็นเชื้อราที่เส้นใยมีผนังกั้น นิยมจัดให้เป็นเชื้อราในกลุ่มชั่วคราว เพราะปกติจะไม่พบการสืบพันธุ์แบบมีเพศ แต่เมื่อใดที่พบการสืบพันธุ์แบบมีเพศของเชื้อราในกลุ่มนี้ ก็จะจัดย้ายเชื้อรานี้เข้าอยู่ในพวกแอสโคไมซิทิส หรือ เบสิดิโอไมซิทิส (ตามลักษณะของสปอร์ที่เกิดจากการสืบพันธุ์แบบมีเพศ) ส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศจะมีการสร้างสปอร์ที่เรียกว่า โคนิเดีย เกิดจากก้านสปอร์เรียกว่า โคนิดิโอฟอร์ (conidiophore) หรือบรรจุอยู่ในฟรุตติงบอดี ที่มีรูปร่างหลายแบบ คือ ทรงกลมปิด เรียก พิกนิเดีย (pycnidia) รูปจาน เรียก อาเซอร์วูลัส (acervulus) สปอโรโดเชียม (sporodochium) และซินนีมาตา (synnemata) ฟรุตติงบอดีเหล่านี้สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า และนำมาช่วยในการวินิจฉัยโรคได้บางครั้ง การแพร่ระบาดของราในกลุ่มนี้ มักเกิดขึ้น โดยเชื้อปลิวไปกับลม หรือติดไปกับส่วนของพืชและดินที่มีพืชเป็นโรค เชื้อราในกลุ่มนี้ เป็นสาเหตุของโรคพืช และดินที่มีพืชเป็นโรค เชื้อราในกลุ่มนี้เป็นสาเหตุของโรคพืชที่สำคัญหลายชนิด เช่น โรคใบจุด ใบไหม้ต่างๆ และรากเน่า เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น ฟิวราเรียม แอลเทอนาเรีย คอลลีโททริเชียม โกลโอสปอเรียม เซอร์โคสปอรา เซอร์วูาลาเรีย และสเคลอโรเชียม เป็นต้น

๒.๒ บัคเตรี (Bacteria)

จัดเป็นพืชเซลล์เดียวที่มีขนาดเล็กมาก ต้องใช้กล้องขยายอย่างน้อย ๑_๐๐๐ เท่า และถ้าจะให้เห็นชัดจะต้องย้อมสีด้วย มีรูปร่างแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด คือ รูปกลม (spherical or coccus) รูปแท่ง (rod shape or bacillus) และรูปเกลียว (spiral or apirillum) บัคเตรีมีทั้งประโยชน์และโทษ พวกที่เป็นสาเหตุของโรคพืชจะมีรูปร่างเป็นแท่ง (rod shape) ไม่มีการสร้างสปอร์ ส่วนใหญ่เป็นพวกแกรมลบ (gram negative) คือย้อมสีติดสีแดงเป็นแอโรบิคบัคเตรี (Aerobic bacteria) คือ ต้องใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโต ส่วนใหญ่ไม่ทำลายเซลลูโลส และไม่ย่อยแป้ง มักมีชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในดิน เมื่อปลูกพืช มันก็จะเข้าทำลายพืชชอบสภาพเป็นกรดน้อยๆ และความชื้นสูง แพร่ระบาดได้ดีโดยไปกับน้ำ ลม เศษพืชที่เป็นโรค คุณสมบัติดังกล่าวนี้คือ บัคเตรีในสกุลซูโดโมนัส แซนโทโมนัส เออร์วิเนีย อะโกรแบคทีเรียม โคริเนเบคทีเรียม และสเตร็พโทไมซิส

รูปร่างและหางของเชื้อบัคเตรี : หางเดี่ยวที่ขั้วใดขั้วหนึ่งของเซลล์ (Monotrichous) รูปร่างและหางของเชื้อบัคเตรี : หางเดี่ยวที่ขั้วใดขั้วหนึ่งของเซลล์ (Monotrichous)
๒.๓ ไวรัส (virus)

เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุด ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา (light microscope) ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscope) ซึ่งมีกำลังขยายสูงจึงจะสามารถมองเห็นได้ ไวรัสประกอบด้วยโปรตีน (protein) และกรดนิวคลิอิก (nucleic acid) ซึ่งกรดนิวคลิอิกนี้จะต้องเป็นชนิดอาร์เอ็นเอ หรือ ดีเอ็นเอ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ไวรัสพืชส่วนใหญ่จะประกอบด้วยโปรตีน และกรดนิวคลิอิกชนิดอาร์เอ็นเอไวรัสทวีจำนวนได้เฉพาะในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เช่น เซลล์พืช เป็นต้น และมีคุณสมบัติ ทำให้พืชแสดงอาการผิดปกติ หรือเกิดโรคกับพืชนั่นเอง อาการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นได้แก่ ใบเปลี่ยนสี เปลี่ยนรูปร่าง พืชแคระแกร็น ไวรัสพืชมีรูปร่างได้หลายแบบ ได้แก่
กลุ่มไวรัสพืช
กลุ่มไวรัสพืช
๒.๓.๑ ท่อนสั้น (short rod) ซึ่งมีทั้งท่อนตรงสั้น หัวท้ายตัด ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดใบด่างกับยาสูบคือ เชื้อโทแบคโค โมเสค หรือทีเอ็มวี (Tobacco mosaic virus_ TMV) หรือเชื้อท่อนสั้น หัวท้ายมน (bacilliform) และไวรัสที่ทำให้เกิดโรคใบสีส้มของข้าง เป็นต้น

๒.๓.๒ รูปกลม (sphaerical) มีตั้งแต่รูปกลมขนาดเล็กลงจนถึงขนาดใหญ่ เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคใบด่างของแตง ใบด่างของพิทูเนีย เป็นต้น

๒.๓.๓ ท่อนยาวคด (fleaxeous rod) มีขนาดความยาวแตกต่างกัน และเป็นกลุ่มที่มีไวรัสต่างชนิดจำนวนมาก เช่น ไวรัสทำให้เกิดโรคยอดบิด ใบด่างของกล้วยไม้ตระกูลต่างๆ และพวกที่มีความยาวมากที่สุด ได้แก่ ไวรัสทริสเทซา (tristeza) ทำให้เกิดโรคกับส้มซึ่งมีระบาดทั่วไปในเขตที่มีการปลูกส้ม รวมทั้งในประเทศไทยด้วย
โรคจู๋ของข้าว
โรคจู๋ของข้าว การเข้าทำลายพืชของไวรัสต้องอาศัยแผล ซึ่งอาจเกิดจากการเสียดสีกัน ของต้นไม้ ในธรรมชาติหรือคนและสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะแมลงเป็นตัวทำ ไวรัสไม่สามารถเข้าทำลายพืชโดยตรงด้วยตัวเอง เหมือนเชื้อราบางชนิด ด้วยเหตุนี้แมลงจึงเป็นพาหะสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไวรัสพืชระบาดได้กว้างขวาง รวดเร็ว และยากลำบากต่อการป้องกัน และกำจัด ตัวอย่างของโรคไวรัสที่สำคัญๆ ในประเทศไทยได้แก่ โรคจู๋ของข้าว โรคใบสีส้มของข้าว โรคใบด่างของพืชหลายชนิด เช่น พริก ยาสูบ แตง ถั่วต่างๆ ฯลฯ
ไวรัสจัดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืช และเสียหายมาก ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างของต่างประเทศ ที่มีการศึกษาทางด้านนี้มาก เช่น มันฝรั่งซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวยุโรปมีไวรัสหลายชนิดเข้าทำลาย และทำให้ผลผลิตลดลงอย่างต่ำที่สุดประมาณ ๑๐-๑๕ เปอร์เซ็นต์ พืชชนิดอื่นๆ ได้แก่ ผักและผลไม้ เช่น ส้ม ในเมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิลมีไวรัสทริสเทซาระบาด โดยมีแมลงเพลี้ยอ่อนเป็นตัวนำโรค ภายในเวลา ๑๒ ปี ทำให้ไร่ส้มเสียหายและตายประมาณ ๖ ล้านต้น (ประมาณ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ ของส้มที่ปลูก) ในประเทศกานา (Ghana) จำเป็นต้องโค่นต้นโกโก้จำนวนกว่า ๑๐๐ ล้านต้นทิ้งในปี ค.ศ. ๑๙๔๕ เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโรคยอดบวมของโกโก้ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่แมลงเพลี้ยแป้งเป็นตัวนำ ส่วนองุ่นผลผลิตลดลงประมาณ ๑๐-๑๕ เปอร์เซ็นต์ อันเป็นผลจากการทำลายของไวรัสเกรพไวน์แฟนลีด (grapevine fanleaf) ซึ่งแพร่ระบาด โดยมีไส้เดือนฝอยเป็นตัวนำ และติดไปกับส่วนขยายพันธุ์จากต้นเป็นโรค ตัวอย่างเหล่านี้เป็นข้อเตือนใจ ที่เราควรจะได้ศึกษาถึงปัญหาโรคไวรัสในบ้านเรา เพื่อเตรียมการป้องกันเกิดปัญหารุนแรงแก่พืชผลของเราต่อไป
๔. ไมโคพลาสมา (Mycoplasma)

เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคกับพืช โดยอาศัยอยู่ในท่อน้ำท่ออาหารของพืช เชื้อมีขนาดเล็กกว่าบัคเตรี แต่ใหญ่กว่าไวรัส ไม่มีผนังเซลล์จึงมีรูปร่างไม่แน่นอน ไมโคพลาสมาบางชนิดสามารถเลี้ยงได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อพิเศษ มีการแพร่ระบาด โดยมีแมลงบางชนิดเป็นพาหะ เช่น เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน และถ่ายทอดโรคได้ โดยต้นฝอยทอง (dodder) หรือการติดตาเทียบกิ่ง ลักษณะอาการส่วนใหญ่ที่พืชแสดง เนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อไมโคพลาสมา ได้แก่ ส่วนของพืชที่มีสีเขียว เปลี่ยนเป็นสีเหลือง (yellows) หรือขาว (white leaf) แตกเป็นพุ่ม (witches broom) บริเวณจุดเจริญต่างๆ เช่น ยอดหรือตา ส่วนที่เจริญเป็นดอกมีลักษณะคล้ายใบเป็นกระจุก (phyllody) ลักษณะอื่นๆ คือ ต้นแคระแกร็นและไม่เจริญเติบโต โรคทีสำคัญที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมาที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคกรีนนิงของส้ม โรคพุ่มไม้กวาดของลำไย โรคใบขาวของอ้อย เป็นต้น เชื้อไมโคพลาสมา
เชื้อไมโคพลาสมา
๕. ไส้เดือนฝอย (Nematode)

เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวไม่แบ่งเป็นปล้องมีเพศแยกจากกันซึ่งเป็นลักษณะต่างจากไส้เดือนธรรมดา เรามักพบได้ทั่วไป ทั้งในดิน น้ำจืด น้ำเค็ม หรือแม้แต่ในร่างกายของคนและสัตว์ เช่น พยาธิต่างๆ ไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดโรคกับพืช มีขนาดค่อนข้างเล็กประมาณ ๐.๒-๒ มิลลิเมตร มักเข้าทำลายรากพืชทำให้เกิดอาการรากปม รากเป็นแผล บางชนิดทำลายดอก เมล็ดต้นหรือหน่อ ไส้เดือนฝอยบางชนิดเป็นพาหะนำโรคไวรัสพืชและเป็นตัวการแพร่ระบาดโรค โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรครากปมของมะเขือ พริก พืชตระกูลแตง เป็นต้น ลักษณะการเข้าทำลายพืชของไส้เดือนฝอยรากปม คือ เข้าดูดกินน้ำเลี้ยง บริเวณเซลล์รากพืช และปล่อยเอนไซม์มาละลายผนังเซลล์ ทำให้เกิดเซลล์ขนาดใหญ่ หรือปล่อยฮอร์โมนมากระตุ้นให้เซลล์มีการแบ่งตัวมากผิดปกติ จึงทำให้พืชแสดงอาการรากบวมโต หรือเป็นปุ่มปม บางครั้งทำให้ปลายรากกุด ส่วนอาการที่แสดงบนต้นพืชคือ เหี่ยวเฉา แคระแกร็น ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลผลิตลดน้อย ไส้เดือนฝอยรากปมนี้มีพืชอาศัยเป็นจำนวนมาก ประมาณกว่า ๒_๕๐๐ ชนิด
นอกจากเชื้อต่างๆ ดังกล่าวที่ทำให้เกิดโรคกับพืชแล้วยังมีสิ่งมีชีวิตชั้นสูง คือ พวกมีดอก แต่มีลักษณะบางอย่างไม่สมบูรณ์ เช่น กาฝาก ฝอยทอง ซึ่งนอกจากจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้พืชเกิดอาการผิดปกติ และการเจริญเติบโตลดน้อยลงแล้ว บางชนิดยังเป็นตัวถ่ายทอดโรค และทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค เช่น ต้นฝอยทองบางชนิดเป็นตัวถ่ายทอดโรค ที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา เป็นต้น

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ข้อกำหนด การนำพืชจากต่างประเทศ เข้าประเทศญี่ปุ่น
ข้อกำหนด การนำพืชจากต่างประเทศ เข้าประเทศญี่ปุ่น
ข้อกำหนดการนำพืชจากต่างประเทศเข้าประเทศญี่ปุ่น
ระบบตรวจกักกันโรคพืช
กรมป้องกันโรคระบาดพืช “ตรวจสอบการนำเข้า” เพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชจากต่างประเทศไม่ให้เข้ามาในประเทศญี่ปุ่น และด้วยวัตถุประสงค์เดียวกันเรา “ตรวจสอบการนำออก”

เพื่อตอบเงื่อนไขการกักกันโรคพืชตามการเรียกร้องของประเทศปลายทาง
การนำพืชจากต่างประเทศเข้ามาหรือนำออกจากประเทศญี่ปุ่นต้องรับการตรวจกักกันโรคพืช

ข้อกำหนดการนำพืชจากต่างประเทศเข้าประเทศญี่ปุ่น
การนำพืชจากต่างประเทศเข้าประเทศญี่ปุ่นด้วยการขนส่งสินค้า เป็นสัมภาระติดตัว ส่งไปรษณีย์ ฯลฯ ไม่ว่าจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใดหรือด้วยวัตถุประสงค์ใดก็ตาม ต้องเข้ารับการตรวจสอบการนำเข้าเพื่อป้องกันไม่ให้มีโรคและแมลงศัตรูพืชติดกับพืชเข้ามาในประเทศญี่ปุ่น

เมื่อนำพืช เข้ามาในประเทศญี่ปุ่น ตามกฎหมายจะต้องมีการยื่นใบรับรองสุขอนามัยพืชที่ออกโดยรัฐบาลของประเทศผู้ส่งออก และมีการตรวจสอบการนำเข้าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพืช
หากไม่มีการแสดงใบรับรองสุขอนามัยพืช พืชจะถูกนำไปกำจัด อาจบังคับใช้บทลงโทษตามกฎหมายในกรณีที่มีการละเมิด เช่น การนำเข้าโดยปราศจากใบรับรองสุขอนามัยพืชหรือปราศจากการตรวจสอบการนำเข้าพืช: ท่านจะถูกจำคุกเป็นเวลาสูงสุดสามปีหรือถูกปรับสูงสุดหนึ่งล้านเยน

เราป้องกันการเข้ามาของโรคและแมลงศัตรูพืชโดยกำหนดหมวดหมู่ข้อกำหนดตามประเทศที่มีโรคหรือแมลงศัตรูพืช และพืชที่มีโอกาสติดโรคหรือแมลงศัตรูพืชนั้น ๆ ซึ่งหมวดหมู่ข้อกำหนดดังกล่าวมีดังต่อไปนี้



สิ่งที่ห้ามนำเข้า
ห้ามนำเข้าสิ่งที่คาดว่าจะเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ฯลฯ หากหลุดเข้าประเทศมาได้

รวมถึงพืชจากประเทศหรือภูมิภาคที่มีโรคหรือแมลงศัตรูพืชที่ยากต่อการตรวจสอบในขณะนำเข้าประเทศ และพืชดังกล่าวที่มีโอกาสติดโรคหรือแมลงศัตรูพืชนั้น

และห้ามนำเข้าสิ่งต่อไปนี้จากทุกประเทศและภูมิภาคทั่วโลก

ดิน
พืชที่มีดินติดมาด้วย
โรคและแมลงศัตรูพืช
ฟางข้าวและแกลบข้าว (ยกเว้นคาบสมุทรเกาหลีและไต้หวัน)
นอกจากนี้ มีผักผลไม้ ฯลฯ ที่ห้ามนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตหรือประเทศและภูมิภาคต้นทางบางแห่ง (สิ่งที่ห้ามนำเข้า) กรุณาตรวจสอบจาก “ฐานข้อมูลเงื่อนไขการนำเข้า” (ภาษาอังกฤษ)!

กรุณาดูแผ่นพับที่ระบุสิ่งที่ห้ามนำเข้าหลัก



สิ่งที่ต้องรับการตรวจสอบการนำเข้า
พืชต่อไปนี้ที่ไม่ถูกจัดว่าเป็นสิ่งที่ห้ามนำเข้า ต้องเข้ารับการตรวจสอบในขณะนำเข้า

และมีส่วนหนึ่งที่ต้องรับการตรวจหรือดำเนินมาตรการกักกันพิเศษที่ประเทศต้นทางมาก่อนด้วย

ข้อกำหนดการนำเข้าจะแตกต่างกันตามประเภทของพืช ประเทศผู้ผลิต และประเทศต้นทาง กรุณาตรวจสอบรายการหลักจาก “ฐานข้อมูลเงื่อนไขการนำเข้า” (ภาษาอังกฤษ)!



ตัวอย่างประเภทพืชที่ต้องรับการตรวจสอบการนำเข้า

ต้นกล้า หัว/หน่อ เมล็ด
ดอกไม้
ผักผลไม้
ธัญพืช ถั่ว
วัสดุจากไม้
วัตถุดิบเครื่องปรุง วัตถุดิบสมุนไพร เป็นต้น
search here thai

検索ボタン search button

検索キャラクター図


สิ่งที่ไม่ต้องรับการตรวจสอบการนำเข้า
สินค้าแปรรูปที่ใช้พืชเป็นวัตถุดิบ ซึ่งไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืช หรือไม่มีโอกาสที่โรคและแมลงศัตรูจะยังคงอยู่ได้ อาจไม่จำเป็นต้องรับการตรวจสอบการนำ

สำหรับรายละเอียด กรุณาสอบถามกรมป้องกันโรคระบาดพืช



กระบวนการนำเข้าพืชจากต่างประเทศ (กรณีนำเข้าเป็นสัมภาระติดตัวเข้ามา)
พืชทั้งหมด รวมถึงสิ่งที่ซื้อจากร้านปลอดภาษีหรือของฝากที่มีปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ตาม ต้องรับการตรวจสอบการนำเข้าเพื่อตรวจว่าไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืชใด ๆ

กรุณาเข้ารับการตรวจสอบการนำเข้าที่เคาน์เตอร์ตรวจกักกันโรคพืชก่อนเข้ารับการตรวจศุลกากร

ตรวจคนเข้าเมือง → ตรวจสอบการนำเข้าพืช (เคาน์เตอร์ตรวจกักกันโรคพืช) → ตรวจศุลกากร





กรุณายื่นใบรับรองการตรวจ (หรือเรียกว่า ใบรับรองปลอดโรคพืช หรือ phytosanitary certificate และอาจเป็นแบบแท็กสำหรับติดก็ได้) ที่ออกโดยหน่วยงานกักกันโรคพืชของประเทศต้นทาง ให้เจ้าหน้าที่ป้องกันโรคระบาดพืชที่เคาน์เตอร์ตรวจกักกันโรคพืช

เมื่อผ่านการตรวจสอบการนำเข้าแล้วจะได้ประทับ “ตรารับรองการผ่านการตรวจพืช” พืชที่ไม่มีตรานี้จะเข้ารับการตรวจศุลกากรไม่ได้

ทั้งนี้ มีพืชที่ไม่จำเป็นต้องใช้ใบรับรองการตรวจด้วย สำหรับรายละเอียด กรุณาสอบถามกรมป้องกันโรคระบาดพืช

หากนำเข้ามาโดยไม่รับการตรวจ อาจถูกลงโทษตามกฎหมายป้องกันโรคระบาดพืชของประเทศญี่ปุ่น



คำถามที่พบบ่อย
Q1: การตรวจสอบการนำเข้าใช้เวลาเท่าใด
และมีค่าใช้จ่ายหรือไม่
A1: ต่างกันตามประเภทและปริมาณของพืช แต่ส่วนมากจะใช้เวลาไม่นาน
และไม่มีค่าใช้จ่าย

Q2: หากนำเข้าพืชแบบส่งมาแยกต่างหาก ต้องใช้อะไรบ้าง
A2: ในกรณีนี้ กรุณาขอให้ตัวแทนดำเนินการด้านศุลกากร (บริษัทขนส่งระหว่างประเทศ) ยื่น “ใบรับรองการตรวจ (หรือเรียกว่า ใบรับรองปลอดโรคพืช หรือ phytosanitary certificate)” ที่ออกโดยหน่วยงานกักกันโรคพืชของประเทศต้นทาง ให้กรมป้องกันโรคระบาดพืชในขณะตรวจสอบสิ่งที่ส่งมาเท่าที่จะเป็นไปได้

Q3: มีข้อควรระวังในการนำพืชเข้ามาทางไปรษณีย์หรือบริการส่งสิ่งของระหว่างประเทศหรือไม่
A3: กรุณาขอให้ผู้ส่งระบุอย่างชัดเจน (เช่น “PLANT” ฯลฯ) ในใบศุลกากร (Declaration Form) ที่แนบมากับพัสดุและบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ทราบว่ามีพืชบรรจุอยู่ และสามารถดำเนินการตรวจสอบการนำเข้าของพัสดุได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ กฎหมายป้องกันโรคระบาดพืชห้ามนำเข้าพืชโดยใช้จดหมายหรือไปรษณีย์แบบอื่นที่ไม่ใช่พัสดุไปรษณีย์
บริการส่งสิ่งของระหว่างประเทศถือเป็นการขนส่งสินค้าทางอากาศ แต่มีบริษัทผู้ให้บริการส่งสิ่งของระหว่างประเทศที่ไม่รับส่งพืชที่ต้องรับการตรวจสอบการนำเข้าอยู่ด้วย ขอแนะนำให้ตรวจสอบจากเว็บไซต์ ฯลฯ ของผู้ให้บริการล่วงหน้า

Q4: ต้องขอรับ “ใบอนุญาตนำเข้า” ที่ออกโดยกรมป้องกันโรคระบาดพืชของญี่ปุ่นก่อนนำเข้าพืชหรือไม่
A4: บางประเทศใช้ระบบการอนุญาตนำเข้าโดยต้องขอรับ “ใบอนุญาตนำเข้า (import permit)” ที่ออกโดยหน่วยงานกักกันโรคพืชของประเทศตนก่อน จึงจะนำพืชเข้าได้ แต่ระบบการกักกันโรคพืชของญี่ปุ่นไม่ได้ใช้ระบบการอนุญาตนำเข้าดังกล่าว จึงไม่จำเป็นต้องขอรับ “ใบอนุญาตนำเข้า” ล่วงหน้า

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
การควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืช ด้วยสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ
การควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืช ด้วยสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ
ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมก าลังเข้าขั้นวิกฤติ สืบเนื่องมาจากการกระท าของมนุษย์
โดยเฉพาะการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต และการก าจัดศัตรูพืช ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อ
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน น้ า และระบบ
นิเวศวิทยา การท ากสิกรรมธรรมชาติ เพื่อผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัย ปลอดภัย และ
ประหยัดต้นทุนนั้น เกษตรกรจ าเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และหันมาใช้สารสกัดจาก
สมุนไพรทดแทนถึงแม้ว่าสารสกัดสมุนไพร จะมีผลในการท าลายแมลงที่เป็นประโยชน์พวกแมลงตัว
ห้ า หรือแมลงตัวเบียนบ้างก็ตาม แต่ก็น้อยกว่าสารเคมีเพราะพิษจากสมุนไพรสลายตัวได้รวดเร็ว
และไม่ตกค้างนาน การใช้สารสมุนไพรทดแทนการใช้สารเคมี จะมีความจ าเป็นในช่วงแรก ๆ ของ
การเปลี่ยนแปลง เพราะเกษตรกรใช้สารเคมีติดต่อกันมาเป็นเวลานาน จนท าให้ความสมดุล
ระหว่างแมลงศัตรูพืช กับแมลงที่เป็นประโยชน์สูญเสียไป เมื่องดสารเคมี และใช้สารสมุนไพร
ทดแทนไปสักระยะจนสามารถอนุรักษ์ และเพิ่มจ านวนประชากรของแมลงที่เป็นประโยชน์ได้มาก
จนเกิดความสมดุลภายในแปลงได้แล้วจึงค่อย ๆ ลดการใช้สารสมุนไพรลง โดยใช้เฉพาะเท่าที่
จ าเป็นเท่านั้น การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในคน สัตว์ และพืช การน าสมุนไพรมาใช้ในการ
ควบคุมโรคนั้น ควรมีความเข้าใจพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุนานาชนิด ที่
จะน ามาใช้ปรุงเป็นยาเสียก่อน โดยสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดนั้นจะขึ้นอยู่กับรสของสมุนไพร
นั้น ๆ รสยาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1 ยารสประธาน หมายถึง ยาที่ปรุงเป็นต ารับแล้ว แบ่งเป็น 3 รส คือ รสเย็น รส
ร้อน และรสสุขุม
2 ยา 9 รส หมายถึง สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด คือ
1) รสฝาด สรรพคุณ ใช้ในการสมานแผลต่าง ๆ
2) รสหวาน สรรพคุณ ซึมซาบไปตามผิว
3) รสเบื่อเมา สรรพคุณ แก้พิษ ดับพิษโลหิต
4) รสขม สรรพคุณ แก้ทางโลหิตและดี
5) รสมัน สรรพคุณ เป็นยาอายุวัฒนะ
6) รสหอมเย็น สรรพคุณ บ ารุงหัวใจ บ ารุงโลหิต
7) รสเค็ม สรรพคุณ ฟอกโลหิต ดับพิษร้อน
8) รสเปรี้ยว สรรพคุณ บ ารุงเลือด แก้กระหายน้ า
9) รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้โรคลม บ ารุงธาตุไฟ
และบางต ารายังได้เพิ่มอีก 1 รส คือ รสจืด สรรพคุณ ดับพิษ แก้ไข้ ขับปัสสาวะแก้ทางเตโชธาตุ
พิการ เช่นกันกับการน าสมุนไพรมาใช้ในการควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืชนั้น ก็ต้องมีความ
เข้าใจในพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุต่าง ๆ ที่จะน ามาใช้ปรุงเป็นยาป้องกัน
หรือยารักษาโรคพืชรวมทั้งยาฆ่า - ท าลายวงจรชีวิต และป้องกันแมลงด้วยโดยสรรพคุณของตัวยา
สมุนไพรที่ใช้ในการเกษตรสามารถแบ่งออกตามรสของสมุนไพรได้ประมาณ 5 รส คือ
1) สมุนไพรรสขม ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันแมลง อาทิเช่น ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด
สะเดา และหญ้าใต้ใบ
2) สมุนไพรรสเบื่อเมา ฆ่าหนอนเพลี้ย แมลงอื่น ๆ อาทิเช่น หางไหล หนอนตาย
หยาก ขอบชะนางแดง - ขาว ใบน้อยหน่า สลัดได พญาไร้ใบ แสยก และเมล็ดมะกล่ า
3) สมุนไพรที่มีรสฝาด แก้เชื้อราโรคพืช อาทิเช่น เปลือกแค เปลือกมังคุด ใบฝรั่ง
และใบทับทิม
4) สมุนไพรหอมระเหย ไล่แมลง เปลี่ยนกลิ่นต้นพืช อาทิเช่น ตะไคร้หอม สาบเสือ
โหระพา กะเพรา ผักชี กะทกรก สาบแร้งสาบกา และผักแพรวแดง
5) สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว ไล่แมลง แสบร้อน อาทิเช่น เปลือกส้ม มะกรูด มะนาว และ
มะขาม
วิธีการปรุง หรือสกัดยาสมุนไพร เพื่อใช้ในการเกษตร สามารถประยุกต์เทคนิคการปรุง หรือสกัด
ยาสมุนไพร เพื่อน ามาใช้ในการเกษตรได้หลายวิธี อาทิเช่น
1) บดผง น าไปโรย หรือคลุมดินป้องกันศัตรูพืช
2) แช่น้ า (1 - 2 วัน) น าไปฉีดพ่น
3) ดองเหล้า (1 - 3 วัน) น าไปฉีดพ่น
4) ต้ม น าไปฉีดพ่น และรดราด
5) สกัดด้วยไอน้ า และความดัน ซึ่งเป็นเทคนิคต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่แข็งแรง
6) การหมัก ซึ่งเป็นวิธีการที่ประหยัด และเก็บรักษาสรรพคุณของยาไว้ได้ทนนาน
นอกจากนี้ยังได้สารฮอร์โมน วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ ต่อพืชอีกด้วย
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด ตั้งอยู่เลขที่ 44/2 หมู่ 3 ต าบลพลับพลา อ าเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมก าลังเข้าขั้นวิกฤติ สืบเนื่องมาจากการกระท าของมนุษย์
โดยเฉพาะการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต และการก าจัดศัตรูพืช ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อ
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน น้ า และระบบ
นิเวศวิทยา การท ากสิกรรมธรรมชาติ เพื่อผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัย ปลอดภัย และ
ประหยัดต้นทุนนั้น เกษตรกรจ าเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และหันมาใช้สารสกัดจาก
สมุนไพรทดแทนถึงแม้ว่าสารสกัดสมุนไพร จะมีผลในการท าลายแมลงที่เป็นประโยชน์พวกแมลงตัว
ห้ า หรือแมลงตัวเบียนบ้างก็ตาม แต่ก็น้อยกว่าสารเคมีเพราะพิษจากสมุนไพรสลายตัวได้รวดเร็ว
และไม่ตกค้างนาน การใช้สารสมุนไพรทดแทนการใช้สารเคมี จะมีความจ าเป็นในช่วงแรก ๆ ของ
การเปลี่ยนแปลง เพราะเกษตรกรใช้สารเคมีติดต่อกันมาเป็นเวลานาน จนท าให้ความสมดุล
ระหว่างแมลงศัตรูพืช กับแมลงที่เป็นประโยชน์สูญเสียไป เมื่องดสารเคมี และใช้สารสมุนไพร
ทดแทนไปสักระยะจนสามารถอนุรักษ์ และเพิ่มจ านวนประชากรของแมลงที่เป็นประโยชน์ได้มาก
จนเกิดความสมดุลภายในแปลงได้แล้วจึงค่อย ๆ ลดการใช้สารสมุนไพรลง โดยใช้เฉพาะเท่าที่
จ าเป็นเท่านั้น การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในคน สัตว์ และพืชการน าสมุนไพรมาใช้ในการควบคุม
โรคนั้น ควรมีความเข้าใจพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุนานาชนิด ที่จะ
น ามาใช้ปรุงเป็นยาเสียก่อน โดยสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดนั้นจะขึ้นอยู่กับรสของสมุนไพร
นั้น ๆ รสยาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
ยารสประธาน หมายถึง ยาที่ปรุงเป็นต ารับแล้ว แบ่งเป็น 3 รส ย่อย คือ รสเย็น รสร้อน และ
รสสุขุม
5.6.2 ยา 9 รส หมายถึง สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด คือ
1) รสฝาด สรรพคุณ ใช้ในการสมานแผลต่าง ๆ
2) รสหวาน สรรพคุณ ซึมซาบไปตามผิว
3) รสเบื่อเมา สรรพคุณ แก้พิษ ดับพิษโลหิต
4) รสขม สรรพคุณ แก้ทางโลหิตและดี
5) รสมัน สรรพคุณ เป็นยาอายุวัฒนะ
6) รสหอมเย็น สรรพคุณ บ ารุงหัวใจ บ ารุงโลหิต
7) รสเค็ม สรรพคุณ ฟอกโลหิต ดับพิษร้อน
8) รสเปรี้ยว สรรพคุณ บ ารุงเลือด แก้กระหายน้ า
9) รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้โรคลม บ ารุงธาตุไฟ
และบางต ารายังได้เพิ่มอีก 1 รส คือ รสจืด สรรพคุณ ดับพิษ แก้ไข้ ขับปัสสาวะแก้
ทางเตโชธาตุพิการ เช่นกันกับการน าสมุนไพรมาใช้ในการควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืชนั้น ก็
ต้องมีความเข้าใจในพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุต่าง ๆ ที่จะน ามาใช้ปรุงเป็น
ยาป้องกัน หรือยารักษาโรคพืชรวมทั้งยาฆ่า - ท าลายวงจรชีวิต และป้องกันแมลงด้วยโดยสรรพคุณ
ของตัวยา
สมุนไพรที่ใช้ในการเกษตรสามารถแบ่งออกตามรสของสมุนไพรได้ประมาณ 5 รส คือ
1) สมุนไพรรสขม ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันแมลง อาทิเช่น ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด
สะเดา และหญ้าใต้ใบ
2) สมุนไพรรสเบื่อเมา ฆ่าหนอนเพลี้ย แมลงอื่น ๆ อาทิเช่น หางไหล หนอนตาย
หยาก ขอบชะนางแดง - ขาว ใบน้อยหน่า สลัดได พญาไร้ใบ แสยก และเมล็ดมะกล่ า
3) สมุนไพรที่มีรสฝาด แก้เชื้อราโรคพืช อาทิเช่น เปลือกแค เปลือกมังคุด ใบฝรั่ง
และใบทับทิม
4) สมุนไพรหอมระเหย ไล่แมลง เปลี่ยนกลิ่นต้นพืช อาทิเช่น ตะไคร้หอม สาบเสือ
โหระพา กะเพรา ผักชี กะทกรก สาบแร้งสาบกา และผักแพรวแดง
5) สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว ไล่แมลง แสบร้อน อาทิเช่น เปลือกส้ม มะกรูด มะนาว และ
มะขาม
วิธีการปรุง
หรือสกัดยาสมุนไพร เพื่อใช้ในการเกษตร สามารถประยุกต์เทคนิคการปรุง หรือสกัด
ยาสมุนไพร เพื่อน ามาใช้ในการเกษตรได้หลายวิธี อาทิเช่น
1) บดผง น าไปโรย หรือคลุมดินป้องกันศัตรูพืช
2) แช่น้ า (1 - 2 วัน) น าไปฉีดพ่น
3) ดองเหล้า (1 - 3 วัน) น าไปฉีดพ่น
4) ต้ม น าไปฉีดพ่น และรดราด
5) สกัดด้วยไอน้ า และความดัน ซึ่งเป็นเทคนิคต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่แข็งแรง
6) การหมัก ซึ่งเป็นวิธีการที่ประหยัด และเก็บรักษาสรรพคุณของยาไว้ได้ทนนาน
นอกจากนี้ยังได้สารฮอร์โมน วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ ต่อพืชอีกด้วย
สมุนไพรสูตร (ต ารับ)
ใช้เป็นสารไล่แมลง และบ ารุงพืชที่ก าลังได้รับความนิยมใช้กันโดยทั่วไป กว่า 60
จังหวัดทั่วประเทศ พอจะประมวลประสบการณ์จากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ศูนย์กสิกรรมสมุนไพรวังจันทร์ จังหวัดระยอง ศูนย์เรียนรู้ชุมชน กลุ่ม
ปุ๋ยชีวภาพ งานวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชด าริ
จังหวัดจันทบุรี โครงการเกษตรอินทรีย์สุรินทร์ เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย
เครือข่ายชุมชนชาวอโศก พอสรุปได้ดังนี้สารสมุนไพร ก าจัดเพลี้ยชนิดต่าง ๆ เช่น เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยไรแดงเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยกระโดดสีน้ าตาล และหมัดกระโดด
สูตร 1
ส่วนประกอบ
1) หนอนตายหยาก 2 กิโลกรัม
2) บอระเพ็ด 1 กิโลกรัม
3) ขมิ้นชัน 1 กิโลกรัม
4) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
5) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 2 กิโลกรัม
6) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดสมุนไพรแล้วหมักรวมกันไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สูตร 2
ส่วนประกอบ
1) ว่านน้ า 1 กิโลกรัม
2) สาบเสือ 1 กิโลกรัม
3) ยาฉุน ½ กิโลกรัม
4) ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
5) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
6) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
7) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดสมุนไพรหมักรวมกัน 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สูตร 3
ส่วนประกอบ
1) ยาฉุน ½ กิโลกรัม
2) สะเดา ½ กิโลกรัม
3) ข่า 1 กิโลกรัม
4) ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
5) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
6) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
7) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักทิ้งไว้ 7 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สูตร 4
ส่วนประกอบ
1) หางไหลสด 1 กิโลกรัม
2) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า ทุบให้แตก แช่น้ า 1 วัน
วิธีใช้ ผสมน้ า 1:20 ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน
สูตร 5
ส่วนประกอบ
1) ใบเสม็ดขาว 1 กิโลกรัม
2) เหล้า 10 ลิตร
วิธีท า สับบดดองเหล้าไว้ 3 วัน
วิธีใช้ ผสมน้ า ½ ลิตร ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สารสมุนไพร ก าจัดหนอนกระทู้ หนอนชอนใบ หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว
หนอนใต้หนอนเจาะสมอฝ้าย
สูตร 1
ส่วนประกอบ
1) ฟ้าทะลายโจร 1 กิโลกรัม
2) เปลือกหัน 1 กิโลกรัม
3) เปลือกแค 1 กิโลกรัม
4) หางไหล 1 กิโลกรัม
5) ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
6) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
7) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 ลิตร
8) น้ าสะอาด 15 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักรวมไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100 ฉีดพ่น และรดราด
สูตร 2
ส่วนประกอบ
1) หนอนตายหยาก 1 ลิตร
2) โทงเทง 1 ลิตร
3) สาบเสือ 1 ลิตร
4) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
5) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 ลิตร
6) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักทิ้งไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100 ฉีดพ่นและรดราด
สารสมุนไพรก าจัดโรคพืช
สูตร 1
ส่วนประกอบ
1) เปลือกแค 1 กิโลกรัม
2) กระเทียม 1 กิโลกรัม
3) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
4) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 ลิตร
5) น้ าสะอาด 1 กิโลกรัม
วิธีท า
สับบดหมักไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100-1:200 ฉีดพ่นและรดราด
สูตร 2
ส่วนประกอบ
1) ว่านหางจระเข้ 1 กิโลกรัม
2) ใบดอกรัก 1 กิโลกรัม
3) กระเทียม 1 กิโลกรัม
4) ขมิ้นชัน 1 กิโลกรัม
5) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
6) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
7) น้ าสะอาด 15 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100 - 1:200 ฉีดพ่นและรดราด
สูตร 3
ส่วนประกอบ
1) ว่านหางจระเข้ 200 กรัม
2) กระเทียม 200 กรัม
3) น้ าสบู่ 4 ช้อนโต๊ะ
4) น้ าส้มสายชู 100 ซี.ซี.
5) น้ าสะอาด 20 ลิตร
วิธีท า
สับบด หมักไว้ 7 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 4 ช้อนต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น ทุก ๆ 7 วัน
สารสมุนไพร ก าจัดหอยเชอรี่
ส่วนประกอบ
1) น้ าปูนใส 1 ลิตร
2) มะกรูด 1 กิโลกรัม
3) กระเทียม 1 กิโลกรัม
4) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
5) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
6) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
หมักมะกรูด กระเทียม หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น น้ าตาล และน้ า รวมกันไว้ 7 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ าปูนใส กับส่วนผสมที่หมักไว้ ในอัตราส่วน 1: 1 หยดลงในนาที่มีหอยเชอรี่
หมายเหตุ การฉีดพ่นสมุนไพรก าจัดโรค และแมลงควรฉีดพ่นในช่วงเช้ามือ หรือช่วงเย็น ๆ ถ้า
มีโรคระบาด หรือแมลงระบาด ควรฉีดพ่น และรดราดดินติดต่อกันทุกวัน เป็นเวลา 3 วัน
ติดต่อกันอย่างไรก็ตามการควบคุมโรค และแมลงให้ได้ผลดีควรท าทั้งการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
และการใช้สมุนไพรควบคู่กันไปจนกว่าธรรมชาติในแปลงจะสมดุล
สารสมุนไพร จากสะเดา
ส่วนผสม
1) สะเดาทั้ง 5 2 กิโลกรัม (ได้เมล็ดด้วยยิ่งดี)
2) บอระเพ็ดทั้ง 5 4 กิโลกรัม
3) ข่าทั้ง 5 1 กิโลกรัม
4) ตะไคร้หอมทั้ง 5 1 กิโลกรัม
5) หางไหล หรือโล่ติ้น 1 กิโลกรัม
6) ผลไม้สุก 3 ชนิด 1 กิโลกรัม (กล้วยสุก มะละกอสุก ฟักทอง
อย่างละเท่า ๆ กัน)
7) ยาฉุน 2 กิโลกรัม
8) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
9) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 3 กิโลกรัม
10) น้ าสะอาด 40 ลิตร
วิธีท า
หั่น หรือสับสะเดา บอระเพ็ด ข่า ตะไคร้หอม หางไหล และผลไม้สุก ให้ได้ความ
ยาวประมาณ 1 - 2 ข้อมือ ผสมน้ าสะอาด กับน้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาลใส่ลงในถังหมัก
น าส่วนผสมที่หั่น หรือสับแล้วใส่ลงในถังหมักปิดฝาให้สนิทและเก็บไว้ในที่ร่ม 1 เดือน
วิธีใช้
ผสมน้ าหมัก 1 ลิตร ต่อน้ าสะอาด 300 ลิตร ฉีดพ่นในเวลาเช้ามืด หรือหลัง
ตะวันตกดิน
หมายเหตุ ได้ประโยชน์ทั้งเป็นสารขับไล่แมลง เป็นฮอร์โมนบ ารุงพืชให้ติดดอกออกผลดี และยัง
เป็นปุ๋ย อินทรีย์ชีวภาพอีกด้วย
เทคนิคส าคัญในการผลิต และการใช้สารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ
1 การหมักสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ ควรหมักในถังพลาสติกที่มีฝาปิดสนิท
และควรมีลักษณะทึบแสง
2 ควรเก็บรักษาไว้ในที่ร่ม ไม่ควรโดนแสงแดด
3 ตลอดระยะเวลาการหมักไม่ควรเปิดฝาก่อนถึงเวลา เพราะอาจท าให้การหมักไม่
สมบูรณ์ น ามาใช้ประโยชน์ไม่ได้ แต่ในกรณีถ้าถังบวมมาก จนอาจระเบิดได้ ก็อนุโลมให้แง้มฝา
เล็กน้อย เพื่อปล่อยก๊าซออกบ้าง แล้วให้รีบปิดให้สนิทเหมือนเดิม
4 ควรคลุมดิน (อย่าเปลือยดิน) โดยใช้เศษฟาง เศษใบไม้ หรือวัชพืชจ าพวกหญ้า
ต่าง ๆ คลุมให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่ม หรือเลยออกมาเล็กน้อย ควรเว้นระยะห่างจากโคนต้น
ประมาณ 1 คืบ และหนาประมาณ 1 ฝ่ามือ
5 การฉีดพ่นใบ หรือรดราดดิน ควรผสมตามอัตราส่วนที่ก าหนดและควรฉีดพ่น
หรือรดราดลงบนดินให้ทั่วบริเวณทรงพุ่ม โดยฉีดพ่น หรือรดราดลงบนเศษฟาง หรือใบไม้กิ่งไม้ที่
คลุมดินอยู่
6 ไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้า เพราะจะท าให้ประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์
ชีวภาพลดลง ให้ใช้การตัดหรือนาบแทน
7 ไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมี หรือยาฆ่าแมลง เพราะประสิทธิภาพของสารสกัด
สมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพจะลดลง และสิ่งส าคัญ คือ แมลงที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ (ตัวห้ า ตัวเบียน)
จะตายลง
ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านชุมชนปฐมอโศก ตั้งอยู่เลขที่ 66 หมู่ 5 ต าบลพระประโทน อ าเภอเมือง
จังหวัดนครปฐม
คุณสมบัติของสมุนไพรแต่ละชนิดในการป้องกันและก าจัด (แมลงโรคพืช)
พืชสมุนไพร
หางไหล : หนอนกินช่อ เพลี้ยไฟ ไรขาว ไรแดง เพลี้ยจักจั่น
ขมิ้นชัน : ดวงเจาะเมล็ด ด้วงงวงข้าว มอดข้าวเปลือก หนอนกระทู้ ไรแดง
สบู่ต้น : หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนแปะใบ หนอนแก้ว
ตะไคร้หอม : หนอนกระทู้ หนอนคืบ หนอนใย หนอนหลอด ราน้ าค้าง หนอนม้วน
ใบ ราแป้ง หนอนเจาะยอด / ดอก / ผล ราสนิม
กระเทียม : เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้ ราน้ าค้าง ราแป้ง ราสนิม
ใบมะเขือเทศสด : ด้วงหมัดผัก หนอนเจาะต้น ไส้เดือนฝอย รา / แบคทีเรียบางชนิด
หนอนใย
ยาสูบ / ยาฉุน : เพลี้ย ไร รา ด้วงหมัดผัก ด้วงเจาะสมอ หนอนกระ หล่ า หนอน
ชอนใบ หนอนมวนใบ หนอนกระทู้
พริกสด : โรคจากไวรัสทุกชนิด ขับไล่แมลง
ใบแก่มะรุม : (ใช้รองก้นหลุม) ราในดิน รากเน่า โคนเน่า ผลเน่า (แตง _ ฟัก) เน่า
คอดิน แง่งขิงเน่า
สาบเสือ : หนอนกระทู้ หนอนใย เพลี้ยกระโดด เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น
แมลงโรคพืช
เพลี้ยไฟ : ใช้พืชสมุนไพร หางไหล สะเดา ยาสูบ ยาฉุน สาบเสือ ตะไคร้หอม /
แกง ใบดาวเรือง กระเทียม ข่า พริก ดีปลี
แมลงหวี่ขาว : ใช้พืชสมุนไพร กระเทียม พริก มะกรูด ขึ้นฉาย ตะไคร้หอม /
แกง
หมัดกระโดด : (ใช้ทางใบ)ตะไคร้หอม/แกงขิง ข่า พริก ใบน้อยหน่า หางไหล หนอน
ตายหยาก (ใช้ทางดิน) สะเดา เมล็ดน้อยหน่า ตะไคร้หอม / แกง ยาฉุน
เพลี้ยอ่อน : ใช้พืชสมุนไพร สะเดา ยาสูบ ยี่หร่า หางไหล (เหล้าขาว +
น้ าส้มสายชู)
เพลี้ยแป้ง : ใช้พืชสมุนไพร ยาสูบ ยาฉุน สะเดา บอระเพ็ด ตะไคร้หอม / แกง
สาบเสือ กระเทียม (ไวท์ออย + น้ ามันก๊าซ)
รากเน่าโคนเน่า : ใช้พืชสมุนไพร เปลือกมะม่วงหิมพานต์ เทียนหยด ราก หม่อน
ผลเน่า : ใช้พืชสมุนไพร ต้นกระดูกไก่ด า / ขาว ว่านน้ า ตะไคร้หอม กระ
เพรา โหระพา ใบยูคาลิปตัส
ไส้เดือนฝอย : ใช้พืชสมุนไพร สะเดา ละหุ่ง ใบยูคาลิปตัส สาบเสือ แขยง เลี่ยน
ปะทัดจีน ใบดาวเรือง ตะไคร้หอม
โรคเน่าคอดิน: ใช้พืชสมุนไพร ใบมะรุมแห้ง กระเทียม ผิวมะกรูด รากหม่อน
โรคเหี่ยว : ใช้พืชสมุนไพร เปลือกเงาะ ขึ้นฉาย ใบมะรุมแห้ง
โรคใบจุด : ใช้พืชสมุนไพร ว่านน้ า ใบกระดูกไก่ด า / ขาว ลูกประค าดีควาย
เปลือก มะม่วงหิมพานต์

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โรคพืชในระบบนิเวศป่าไม้
โรคพืชในระบบนิเวศป่าไม้
โรคพืช (plant disease) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างพืชอาศัยกับเชื้อสาเหตุโรค หรือระหว่างพืชกับปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค มีผลให้พืชเกิดอาการผิดปกติหรือมีสภาพที่เปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดโรคพืชมีองค์ประกอบ (Disease triangle) ดังนี้คือ

1. พืชอาศัย (Host)
2. เชื้อสาเหตุ (Pathogen)
3. สภาพแวดล้อม (Environment) ที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค เช่น อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค
4. เวลา (Time) เช่น ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรค การแพร่กระจายของสปอร์ การงอกของสปอร์ หรือช่วงเวลาของติดเชื้อ เป็นต้น

โรคพืชนั้นอาจเป็นทั้งโรคที่ติดเชื้อ (Infectious disease) ซึ่งหมายถึง โรคที่เกิดจากเชื้อที่มีชีวิตเป็นเชื้อก่อโรค พืชจะมีปฏิกิริยาตอบโต้การติดเชื้อและสามารถแพร่ระบาดไปยังต้นอื่นๆได้ หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และโรคที่ไม่ใช่โรคติดเชื้อ (Non infectious disease) ซึ่งหมายถึง โรคที่เกิดจากสาเหตุที่นอกเหนือจากโรคติดเชื้อ โดยจะไม่เกิดระบาดจากต้นที่เป็นมีอาการของโรคไปยังพืชปกติได้

ตัวอย่างลักษณะอาการและโรคพืชที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ

1. โรคที่เกิดจากเชื้อรา ได้แก่ โรคราสนิม โรคราเขม่าดำ โรคใบไหม้มันฝรั่ง โรคราน้ำค้างองุ่น โรคใบจุดสีน้ำตาลข้าว
2. โรคที่เกิดจากไวรัส ได้แก่ โรคใบด่างอ้อย
3. โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ได้แก่ โรคแคงเกอร์ของพืชตระกูลส้ม โรคเหี่ยวของพืชตระกูลผักกาด
4. โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย ได้แก่ โรครากปม โรคเหี่ยว เป็นต้น
5. อาการที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารต่างๆ

สำหรับโรคพืชในระบบนิเวศป่าไม้ มีความหลากหลายของเชื้อสาเหตุโรคพืชเช่นเดียวกับโรคของพืชเกษตร มีความซับซ้อนของลักษณะอาการแปรเปลี่ยนไปตามสภาพของแต่ละระบบนิเวศ เช่น โรคของพืชในระบบนิเวศป่าปลูก ระบบนิเวศป่าเต็งรัง ป่าดิบ หรือป่าเบญจพรรณ เป็นต้น แต่ละสภาพแวดล้อมจะมีปรากฏการณ์ของโรคพืชแตกต่างกัน เชื้อสาเหตุโรคมีความสำคัญต่อความสมดุลในระบบนิเวศ ความรุนแรงของเชื้อโรคที่มีต่อพืชป่าชนิดต่างๆ ทำให้เกิดศักยภาพของเชื้อราที่อาจมีบทบาทสำคัญต่อพืชเศรษฐกิจ ทั้งในด้านที่เป็นโทษและเป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบแหล่งที่มาของศัตรูพืชทางการเกษตรและข้อมูลจากการศึกษาวิจัยยังมีความสำคัญต่อการสร้าง ฐานข้อมูลเชื้อสาเหตุโรคของพืชในประเทศไทย

อาการของโรคพืชป่าไม้ ที่สำคัญได้แก่ โรคใบจุด (leaf spot) ใบไหม้ (leaf blotch/ leaf blight) ราสนิม (rust) ราแป้ง (powdery mildew) ราดำ(black mildew) ราน้ำค้าง(downy mildew) จุดนูนดำ (tar spot) อาการเหี่ยว (wilt) เป็นต้น โรคที่พบส่วนใหญ่มักเป็นโรคที่เกิดทางใบ มีผลกระทบต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เกิดการเสื่อมโทรมทางลำต้น บางครั้งพบว่าพืชป่าบางชนิดเป็นพืชอาศัยรองของเชื้อสาเหตุโรคของพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด (Alternate host) และเป็นแหล่งกำเนิดของเชื้อโรคในเมล็ดและกล้าไม้ที่มีการนำมาปลูก ในโรงเรือนเพาะชำของศูนย์เพาะชำกล้าไม้ป่าอีกด้วย ประเภทของพืชที่พบอาการโรค สามารถพบได้ในพืชทุกชนิด ตั้งแต่พืชล้มลุก ไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น ไม้เถาหรือไม้เลื้อย

เอกสารอ้างอิง
http://www.farmkaset..link..รคพืชวิทยา_(Plant_pathology)
ประสาทพร สมิตะมาน ชาตรี สิทธิกุล นุชนารถ จงเลขา นิตยา สุวรรณรัตน์ ภมรทิพย์ อักษรทอง และสมบัติ ศรีชูวงศ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์. โรคพืชวิทยา (Plant Pathology). ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โดย จันจิรา อายะวงศ์ [email protected]

http://www.farmkaset..link..
โรคราน้ำค้างเมล่อน ราน้ำค้างแคลตาลูป โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู เร่งโต สร้างภูมิฯ 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
โรคราน้ำค้างเมล่อน ราน้ำค้างแคลตาลูป โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู เร่งโต สร้างภูมิฯ 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
โรคราน้ำค้างแคลตาลูป และ โรคราน้ำค้างเมล่อน พบมากในแปล่งเพาะปลูกที่มีความชื้นสูง โรคราน้ำค้าง เป็นโรคพืชที่สร้างความเสียหายให้กับเมล่อน และแคลตาลูปได้เป็นอย่างมาก เกิดได้ทั้งที่ผล และใบ ของเมล่อน และ แคลตาลูป ทำให้เซลล์ตาย ใบร่วง ผลผลิตไม่ดี เมล่อน และ แคลตาลูปอ่อนแอ แคระ แกรน ออกผลน้อย หรือไม่ติดผล และอาจทำให้ถึงตายได้ เมล่อน และ แคลตาลูป อาจได้รับความเสียหายมากกว่า 70% หากระบาดรุนแรง

โรคราน้ำค้าง มีสาเหตุจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis

โรคราน้ำค้าง พบมากในพืชตระกูลแตง และพืชผักต่างๆ เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน บวบ กะหล่ำปลี กุหลาบ ข้าวโพด ถั่วเหลือง องุ่น

ไอเอส ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้ ใบจุดสีน้ำตาล กิ่งแห้ง โรคใบติด โรคราน้ำค้าง ราสนิม แอนแทรคโนส ไฟธอปโทร่า หรือ โรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ไอเอส หยุดโรค และ FK-1 ธาตุหลัก N-P-K ธาตุรอง ธาตุเสริม Ca_ Mg_ Zn สำหรับบำรุงให้แข็งแรง โตไว ผลผลิตดี สร้างภูมิคุ้มกันโรค

ตัวอย่างโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ
#ราน้ำค้างแคลตาลูป #ราน้ำค้างเมล่อน #ราน้ำค้างองุ่น #ราน้ำค้างข้าวโพด #ราน้ำค้างถั่วเหลือง #ราน้ำค้างบวบ #ราน้ำค้างกะหล่ำปลี #ราน้ำค้างฟักแม้ว #ราน้ำค้างฟักเขียว #ราน้ำค้างแตงกวา #ราน้ำค้างซูกินี #ราน้ำค้างมะระจีน #ราน้ำค้างฟักทอง #ข้าวไหม้คอรวง #ข้าวเน่าคอรวง #ข้าวขาดคอรวง #โรคข้าว #แตงโมเถาเหี่ยว #ราน้ำค้างแตงโม #แตงโมใบไหม้ #โรคพืช #โรคใบไหม้ #โรคราสนิม #โรคใบติด #ทุเรียนใบติด #โรคราน้ำค้าง #ข้าวเน่าคอรวง #แอนแทรคโนส #ไฟธอปโทร่า #โรคกุ้งแห้ง #โรคใบจุด #ราแป้ง #โรคเหี่ยว

ตัวอย่างเชื้อรา สาเหตุโรคพืชต่างๆ
#Pyricularia_oryzae สาเหตุ โรคไหม้คอรวง ข้าวเน่าคอรวง
#Phytophthora_spp. #Sclerotium_spp. สาเหตุ โรครากเน่า โคนเน่า
#Capnodium_sp. #Meliola_sp. สาเหตุ โรคราดำ
#Maravaria_pterocarpi (ราสนิมพะยูง)
#Olivea_teetonae (ราสนิมสัก)
#Cercospora_sp. #Macrophoma_sp. สาเหตุ โรคใบจุด
#Alternaria_sp. #Phyllachora_sp. สาเหตุ โรคใบจุดนูนดำ
#Pestalotropsis_sp. สาเหตุ โรคใบไหม้
#Oidium_sp. #Uncinula_tectonas สาเหตุ โรคราแป้ง
#Verticillium_sp. #Fumsarium_spp. #Selerotium_sp. สาเหตุ โรคเหี่ยว

✅ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
✅ฉีดพ่นต่อเนื่องไม่อันตราย
✅ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บฟาร์มเกษตรโดยตรง (เลือกแยกซื้อได้)

http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Lazada

ชุดคู่ ไอเอส + FK-1 http://www.farmkaset..link..
ไอเอส อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..
FK-1 อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Shopee

ชุดคู่ ไอเอส + FK-1 http://www.farmkaset..link..
ไอเอส อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..
FK-1 อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..

ข้อมูลและอัตราผสมใช้
🍂 ไอเอส อัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)
🌿 FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส ได้เลย
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🍂ข้อมูลจำเพาะ ไอเอส

สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติทั้งหมด ผ่านการวิจัยพัฒนา เพื่อคัดเลือกวัตถุดับที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุม และยับยั้งเชื้อรา ด้วยเทคโนโลยี “การควบคุมด้วยประจุไฟฟ้า (Ion Control)” โดยควบคุมสภาพแวดล้อมที่ผิวใบพืช ทำให้เกิดภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ของเชื้อรา อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดผิวใบพืชได้ดียิ่งขึ้น ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้ใช้และผู้บริโภค
*การใช้ ไอเอส ในช่วงรักษาโรคพืชจากเชื้อรา กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

🌿ข้อมูลจำเพาะ FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig s law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แคลเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ธาตุแคลเซียม [Ca] ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น
โรคราน้ำค้าง ที่เกิดกับพืชผักต่างๆ โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู เร่งโต สร้างภูมิฯ 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
โรคราน้ำค้าง ที่เกิดกับพืชผักต่างๆ โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู เร่งโต สร้างภูมิฯ 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
โรคราน้ำค้าง พบได้ในพืชผักทั่วไป ในแปล่งเพาะปลูกที่มีความชื้นสูง โรคราน้ำค้าง เป็นโรคพืชที่สร้างความเสียหายได้มาก เกิดได้ทั้งที่ใบผล ผล กิ่งก้าน ทำให้เซลล์พืชตาย พืชใบร่วง ผลผลิตคุณภาพต่ำ พืชอ่อนแอ แคระแกรน ไม่โต ต้นอ่อนพืชอาจตายได้ พืชอาจได้รับความเสียหายมากถึง 75 เปอร์เซ็นต์ หากระบาดรุนแรง

โรคราน้ำค้าง มีสาเหตุจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis

โรคราน้ำค้าง พบมากในพืชตระกูลแตง และพืชผักต่างๆ เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน บวบ กะหล่ำปลี กุหลาบ ข้าวโพด ถั่วเหลือง องุ่น

ไอเอส ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้ ใบจุดสีน้ำตาล กิ่งแห้ง โรคใบติด โรคราน้ำค้าง ราสนิม แอนแทรคโนส ไฟธอปโทร่า หรือ โรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ไอเอส หยุดโรค และ FK-1 ธาตุหลัก N-P-K ธาตุรอง ธาตุเสริม Ca_ Mg_ Zn สำหรับบำรุงให้แข็งแรง โตไว ผลผลิตดี สร้างภูมิคุ้มกันโรค

ตัวอย่างโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ
#ราน้ำค้างองุ่น #ราน้ำค้างข้าวโพด #ราน้ำค้างถั่วเหลือง #ราน้ำค้างบวบ #ราน้ำค้างกะหล่ำปลี #ราน้ำค้างฟักแม้ว #ราน้ำค้างฟักเขียว #ราน้ำค้างแคลตาลูป #ราน้ำค้างเมล่อน #ราน้ำค้างแตงกวา #ราน้ำค้างซูกินี #ราน้ำค้างมะระจีน #ราน้ำค้างฟักทอง #ข้าวไหม้คอรวง #ข้าวเน่าคอรวง #ข้าวขาดคอรวง #โรคข้าว #แตงโมเถาเหี่ยว #ราน้ำค้างแตงโม #แตงโมใบไหม้ #โรคพืช #โรคใบไหม้ #โรคราสนิม #โรคใบติด #ทุเรียนใบติด #โรคราน้ำค้าง #ข้าวเน่าคอรวง #แอนแทรคโนส #ไฟธอปโทร่า #โรคกุ้งแห้ง #โรคใบจุด #ราแป้ง #โรคเหี่ยว

ตัวอย่างเชื้อรา สาเหตุโรคพืชต่างๆ
#Pyricularia_oryzae สาเหตุ โรคไหม้คอรวง ข้าวเน่าคอรวง
#Phytophthora_spp. #Sclerotium_spp. สาเหตุ โรครากเน่า โคนเน่า
#Capnodium_sp. #Meliola_sp. สาเหตุ โรคราดำ
#Maravaria_pterocarpi (ราสนิมพะยูง)
#Olivea_teetonae (ราสนิมสัก)
#Cercospora_sp. #Macrophoma_sp. สาเหตุ โรคใบจุด
#Alternaria_sp. #Phyllachora_sp. สาเหตุ โรคใบจุดนูนดำ
#Pestalotropsis_sp. สาเหตุ โรคใบไหม้
#Oidium_sp. #Uncinula_tectonas สาเหตุ โรคราแป้ง
#Verticillium_sp. #Fumsarium_spp. #Selerotium_sp. สาเหตุ โรคเหี่ยว

✅ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
✅ฉีดพ่นต่อเนื่องไม่อันตราย
✅ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บฟาร์มเกษตรโดยตรง (เลือกแยกซื้อได้)

http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Lazada

ชุดคู่ ไอเอส + FK-1 http://www.farmkaset..link..
ไอเอส อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..
FK-1 อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Shopee

ชุดคู่ ไอเอส + FK-1 http://www.farmkaset..link..
ไอเอส อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..
FK-1 อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..

ข้อมูลและอัตราผสมใช้
🍂 ไอเอส อัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)
🌿 FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส ได้เลย
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🍂ข้อมูลจำเพาะ ไอเอส

สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติทั้งหมด ผ่านการวิจัยพัฒนา เพื่อคัดเลือกวัตถุดับที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุม และยับยั้งเชื้อรา ด้วยเทคโนโลยี “การควบคุมด้วยประจุไฟฟ้า (Ion Control)” โดยควบคุมสภาพแวดล้อมที่ผิวใบพืช ทำให้เกิดภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ของเชื้อรา อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดผิวใบพืชได้ดียิ่งขึ้น ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้ใช้และผู้บริโภค
*การใช้ ไอเอส ในช่วงรักษาโรคพืชจากเชื้อรา กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

🌿ข้อมูลจำเพาะ FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig s law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แคลเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ธาตุแคลเซียม [Ca] ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น
ยาป้องกัน กำจัด หนอนกอข้าว หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าว ไอกี้-บีที + FK ธรรมชาตินิยม บำรุง ฟื้นตัว แข็งแรง ออกดอก ติดผล
ยาป้องกัน กำจัด หนอนกอข้าว หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าว ไอกี้-บีที + FK ธรรมชาตินิยม บำรุง ฟื้นตัว แข็งแรง ออกดอก ติดผล
ตัวหนอนกัดกินภายในใบข้าวที่ยังอ่อน และใบม้วนอยู่ ใบที่ถูกทำลายเมื่อเจริญต่อมาจะเห็นเป็นรอยฉีกขาดคล้ายถูกกัด ขอบใบข้าวที่ถูกทำลายมีสีขาวซีด สภาพที่ระบาดรุนแรง ต้นข้าวที่ถูกทำลายจะแคระแกร็น แตกกอน้อย มักพบทำลายในพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง โดยเฉพาะในสภาพที่มีน้ำขัง

หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าว Hydrellia spp. ตัวเต็มวัยเป็นแมลงวันชนิดหนึ่งลำตัวยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มีสีเทาอ่อน เพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ บนใบข้าว เฉลี่ย 100 ฟอง ในข่วงเวลา 3-7 วัน ไข่มีลักษณะเรียว ยาว สีขาว ระยะไข่นาน 2-6 วัน ตัวหนอนหลังฟักจากไข่ใหม่ๆ มีลักษณะใสหรือสีครีมอ่อน เมื่อโตขึ้นมีสีเหลือง ไม่มีขา ระยะหนอนนาน 10-12 วัน ระยะดักแด้นาน 7-10 วัน ตัวเต็มวัยมีความว่องไวในตอนกลางวัน บินเข้าหาแปลงข้าวที่ปลูกใหม่และมีน้ำขังโดยอาศัยแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากผิว น้ำ และจะเกาะพักอยู่ที่ใบข้าวใกล้ผิวน้ำ หลังจากที่ใบข้าวแผ่ปกคลุมทั่วแปลงแล้วจะไม่พบตัวเต็มวัย

ศัตรูของข้าวระบาดช่วงข้าวยังเล็กอยู่ ตัวหนอนแทะผิวใบข้าวที่ยังอ่อน และใบม้วนอยู่ ใบที่ถูกทำลายเมื่อเจริญต่อมาจะเป็นรอยฉีกขาด

หนอนตายใน 24-48 ชม. ปลอดภัยต่อคน และสัตว์เลี้ยง หนอนตาย เพราะ ปรับตัวไม่ทัน เมื่อพบกับชีวภัณฑ์ แบคทีเรียสองสายพันธุ์ Kustaki และ Aizawai ออกฤทธิ์ทำลายหนอนพร้อมกัน ทำให้ตายใน 24-48 ชั่วโมง ตายช้ากว่ายาเคมี แต่ตายยกรัง เนื่องจากหนอนที่รับ บีที เข้าไป กลับไปตายรัง และพวกเดียวกันกินกินซาก จึงตายต่อกัน เนื่องจาก บีที เป็น ชีวภัณฑ์ ที่ขยายตัวตกผลึกในท้องหนอน และออกฤทธิ์เฉพาะกับหนอนเท่านั้น

กำจัดหนอน ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดภัยแน่นอน เพราะ บีที ไม่ออกฤทธิ์ กับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คนและสัตว์เลี้ยง จึงปลอดภัย 100%

#ยาฆ่าหนอน #ยากำจัดหนอน #หนอนแดง #หนอนชมพู่ #หนอนฝรั่ง #หนอนพุทรา #หนอนเจาะสมอฝ้าย #ยาอินทรีย์ฆ่าหนอน #ยาอินทรีย์กำจัดหนอน #ยาฆ่าหนอนชอนใบ #หนอนชอนใบ #หนอนชอนใบส้ม #หนอนชอนใบมะนาว

✅ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
✅ฉีดพ่นต่อเนื่องไม่อันตราย
✅ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บฟาร์มเกษตรโดยตรง http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Lazada

ชุดคู่ ไอกี้-บีที + FK ธรรมชาตินิยม : http://www.farmkaset..link..
ไอกี้-บีที อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..
FK ธรรมชาตินิยม อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Shopee

ชุดคู่ ไอกี้-บีที + FK ธรรมชาตินิยม : http://www.farmkaset..link..
ไอกี้-บีที อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..
FK ธรรมชาตินิยม อย่างเดียว http://www.farmkaset..link..

ข้อมูลและอัตราผสมใช้

🐛 ไอกี้-บีที อัตตราส่วน 30-50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)

🌿 FK ธรรมชาตินิยม อัตราส่วน 30-50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอกี้-บีที ได้เลย

🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🐛 ข้อมูลจำเพาะ ไอกี้-บีที

ใช้แก้ปัญหา : โรคหนอนกออ้อย หนอนกอในนาข้าว หนอนห่อใบข้าว หนอนม้วนใบ หนอนทรายในสวนยางพารา หนอนชักใยปาล์มน้ำมัน หนอนปลอกใหญ่ หนอนเจาะฝักข้าวโพด หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด

ประกอบด้วยจุลินทรีย์สายพันธ์ บีที (BT) ที่มีประสิทธิภาพสูง คือ Bacillus thuringiensis var. aizawai และ Bacillus thuringi
ฆ่าหนอน กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ

ไอกี้-บีที บีที
ชื่อสามัญ : บาซิลลัส ทูริงเยนซิส [ Bacillus truringiensis ] กลุ่มสารเคมี : Bacterium
สารสำคัญ : Bacillus thuringiensis var. kurstaki

นำหนักสุทธิ : 500 กรัม

ฆ่าหนอน กำจัดหนอนแมลงศัตรูพืชด้วยสารชีวินทรีย์ประสิทธิภาพสูง เอนไซม์สกัด บีที เพิ่มศักยภาพในการกำจัดแมลงศัตรูพืชให้กับเกษตรกร โดยการรวมประสิทธิภาพการกำจัดแมลงของเชื้อ Bacillus thuringiensis 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ Kustaki และ Aizawai เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มการปลดปล่อยสารพิษในการทำลายแมลงศัตรูพืช ด้วยการสร้างสารพิษผลึกโปรตีน delta-endotoxins ที่มีอยู่ในเชื้อ Bacillus thuringiensis เมื่อแมลงศัตรูพืชได้รับสารพิษนี้เข้าไป จะทำให้เกิดพิษในกระเพาะอาหารเป็นอัมพาต ลำตัวเหี่ยวแห้ง และตายภายในเวลา 24-48 ชั่วโมง โดยไม่เป็นอันตราต่อสิ่งแวดล้อม แมลงศัตูธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

🌿ข้อมูลจำเพาะ FK ธรรมชาตินิยม

FK ธรรมชาตินิยม ฟื้นฟู โตไว แข็งแรง ออกดอก ติดผล ใช้ได้ในที่พักอาศัย ปลอดภัย ไม้ดอก ไม้ประดับ พืชผักสวนครัว พืชไร่ พืชสวน

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แคลเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ธาตุแคลเซียม [Ca] ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

โรคพืช
โรคพืช
พยาธิวิทยาของพืช (เช่นphytopathology ) เป็นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโรคในพืชที่เกิดจากเชื้อโรค (สิ่งมีชีวิตที่ติดเชื้อ) และสภาพแวดล้อม (ปัจจัยทางสรีรวิทยา) [1]มีชีวิตที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ ได้แก่เชื้อรา _ oomycetes _ แบคทีเรีย _ ไวรัส _ ไวรอยด์ _ ไวรัสเหมือนมีชีวิตไฟโตพลาสมา _ โปรโตซัว _ ไส้เดือนฝอยและพืชกาฝาก ไม่ได้รวมเป็นปรสิตภายนอกเช่นแมลง _ไร _ เลี้ยงลูกด้วยนมหรืออื่น ๆศัตรูพืชที่มีผลต่อสุขภาพของพืชโดยการรับประทานอาหารของเนื้อเยื่อพืช โรคพืชนอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการศึกษาของประชาชนเชื้อสาเหตุโรครอบโรคผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ระบาดวิทยาโรคพืช _ ความต้านทานต่อโรคพืชวิธีโรคพืชส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสัตว์พันธุศาสตร์ pathosystem และการจัดการโรคพืช


วงจรชีวิตของเชื้อโรคเน่าดำ Xanthomonas campestris pathovar campes
ภาพรวม
การควบคุมโรคพืชมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตอาหารที่เชื่อถือได้และก่อให้เกิดปัญหาสำคัญในการใช้ที่ดินน้ำเชื้อเพลิงและปัจจัยอื่น ๆ ทางการเกษตร พืชทั้งในประชากรธรรมชาติและปลูกดำเนินการต้านทานโรคโดยธรรมชาติ แต่มีตัวอย่างมากมายของการทำลายล้างผลกระทบโรคพืชเช่นความอดอยากของไอร์แลนด์และทำลายเกาลัดเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นอีกโรคพืชที่รุนแรงเช่นระเบิดข้าว _ ถั่วเหลืองไส้เดือนฝอยถุงและส้ม โรคแคงเกอร์ .

อย่างไรก็ตามการควบคุมโรคประสบความสำเร็จพอสมควรสำหรับพืชผลส่วนใหญ่ การควบคุมโรคทำได้โดยการใช้พืชที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้มีความต้านทานต่อโรคต่างๆได้ดีและโดยวิธีการเพาะปลูกพืชเช่นการปลูกพืชหมุนเวียนการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อโรควันที่ปลูกและความหนาแน่นของพืชที่เหมาะสมการควบคุมความชื้นในสนามและยาฆ่าแมลงใช้. จำเป็นต้องมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในวิทยาศาสตร์ด้านพยาธิวิทยาของพืชเพื่อปรับปรุงการควบคุมโรคและเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของความดันโรคที่เกิดจากวิวัฒนาการและการเคลื่อนย้ายของเชื้อโรคพืชอย่างต่อเนื่องและจากการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติทางการเกษตร

โรคพืชก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่สำหรับเกษตรกรทั่วโลก ในภูมิภาคขนาดใหญ่และพันธุ์พืชหลายชนิดคาดว่าโรคโดยทั่วไปจะลดผลผลิตพืชลง 10% ทุกปีในสภาพแวดล้อมที่พัฒนามากขึ้น แต่การสูญเสียผลผลิตของโรคมักจะเกิน 20% ในสภาพแวดล้อมที่พัฒนาน้อยกว่า องค์การอาหารและเกษตรประมาณการว่าศัตรูพืชและโรคมีความรับผิดชอบประมาณ 25% ของการสูญเสียพืช ในการแก้ปัญหานี้จำเป็นต้องใช้วิธีการใหม่ในการตรวจหาโรคและแมลงศัตรูพืชตั้งแต่เนิ่นๆเช่นเซ็นเซอร์ใหม่ที่ตรวจจับกลิ่นพืชสเปกโทรสโกปีและไบโอโฟโตนิกส์ที่สามารถวินิจฉัยสุขภาพของพืชและการเผาผลาญได้ [2]

เชื้อโรคพืช

โรคราแป้งเป็นเชื้อราทางชีวภาพ
เชื้อรา
เชื้อราสาเหตุโรคพืชส่วนใหญ่อยู่ในAscomycetesและBasidiomycetes เชื้อราจะสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศโดยการสร้างสปอร์และโครงสร้างอื่น ๆ สปอร์อาจแพร่กระจายได้ในระยะทางไกลโดยทางอากาศหรือทางน้ำหรืออาจมาจากดิน เชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินจำนวนมากที่มีความสามารถในการมีชีวิตอยู่saprotrophicallyการดำเนินการส่วนหนึ่งของวงจรชีวิตของพวกเขาในดิน เหล่านี้คือ saprotrophs ปัญญา โรคเชื้อราอาจควบคุมได้โดยการใช้ยาฆ่าเชื้อราและการปฏิบัติทางการเกษตรอื่น ๆ อย่างไรก็ตามเชื้อราเผ่าพันธุ์ใหม่มักมีวิวัฒนาการที่ทนทานต่อสารฆ่าเชื้อราต่างๆ เชื้อราที่ก่อโรคทางชีวภาพจะตั้งรกรากอยู่ในเนื้อเยื่อพืชที่มีชีวิตและได้รับสารอาหารจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เชื้อโรคจากเชื้อราNecrotrophic จะติดเชื้อและฆ่าเนื้อเยื่อของโฮสต์และดึงสารอาหารจากเซลล์ที่ตายแล้ว เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคพืชที่สำคัญ ได้แก่ : [ ต้องการอ้างอิง ]


ระเบิดข้าวที่เกิดจากเชื้อราเนื้อร้าย
Ascomycetes
Fusarium spp. (Fusarium โรคเหี่ยว)
Thielaviopsis spp. (โรคแคงเกอร์เน่ารากดำรากเน่า Thielaviopsis )
Verticillium spp.
Magnaporthe grisea (ระเบิดข้าว)
Sclerotinia sclerotiorum (เน่าคอตตอน)
Basidiomycetes
Ustilago spp. (smuts) เขม่าของข้าวบาร์เลย์
Rhizoctonia spp.
Pakospora pachyrhizi (สนิมถั่วเหลือง)
Puccinia spp. (สนิมของธัญพืชและหญ้าอย่างรุนแรง)
Armillaria spp. (สายพันธุ์ของเชื้อราน้ำผึ้ง_ เชื้อโรคที่รุนแรงของต้นไม้)
สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายเชื้อรา
Oomycetes
oomycetesเป็นสิ่งมีชีวิตเชื้อราเช่น [3]พวกเขารวมถึงบางส่วนของที่สุดเชื้อสาเหตุโรคพืชทำลายรวมทั้งจำพวก เชื้อรา Phytophthoraซึ่งรวมถึงตัวแทนสาเหตุของมันฝรั่งปลายทำลาย[3]และการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของโอ๊ค [4] [5]สายพันธุ์เฉพาะของ oomycetes มีความรับผิดชอบสำหรับโรครากเน่า

แม้ว่าจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับเชื้อรา แต่ oomycetes ก็ได้พัฒนากลยุทธ์การติดเชื้อที่คล้ายคลึงกัน Oomycetes สามารถใช้โปรตีน effector เพื่อปิดการป้องกันของพืชในกระบวนการติดเชื้อ [6]นักพยาธิวิทยาพืชมักจะรวมกลุ่มกับเชื้อราที่ทำให้เกิดโรค

เชื้อโรคพืช oomycete ที่สำคัญ ได้แก่ :

ไพเธียมเอสพีพี
Phytophthora spp. รวมถึงการทำลายมันฝรั่งของ Great Irish Famine (1845–1849)
ไฟโตมีเซีย
ราเมือกบางชนิดในPhytomyxeaทำให้เกิดโรคที่สำคัญ ได้แก่รากไม้ในกะหล่ำปลีและญาติของมันและขี้เรื้อนในมันฝรั่ง สิ่งเหล่านี้เกิดจากสายพันธุ์ของPlasmodiophoraและSpongosporaตามลำดับ

แบคทีเรีย

โรคมงกุฎน้ำดีที่เกิดจาก Agrobacterium
แบคทีเรียส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับพืชนั้นแท้จริงแล้วเป็นsaprotrophicและไม่เป็นอันตรายต่อพืชเอง อย่างไรก็ตามมีจำนวนน้อยประมาณ 100 ชนิดที่รู้จักกันดีสามารถทำให้เกิดโรคได้ [7]โรคจากแบคทีเรียเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในพื้นที่กึ่งเขตร้อนและเขตร้อนของโลก

แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคพืชส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นรูปแท่ง ( bacilli ) เพื่อให้สามารถตั้งรกรากของพืชได้พวกเขามีปัจจัยการก่อโรคที่เฉพาะเจาะจง เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจัยการก่อโรคของแบคทีเรีย 5 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ การใช้เอนไซม์ย่อยสลายผนังเซลล์สารพิษโปรตีนเอฟเฟกเตอร์ไฟโตฮอร์โมนและเอ็กโซโพลีแซ็กคาไรด์

จุลชีพก่อโรคเช่นErwiniaชนิดใช้มือถือของเอนไซม์ย่อยสลายผนังที่จะทำให้เกิดโรคเน่าเละ สายพันธุ์Agrobacteriumเปลี่ยนระดับของออกซินเพื่อทำให้เกิดเนื้องอกด้วยไฟโตฮอร์โมน Exopolysaccharidesผลิตโดยแบคทีเรียและปิดกั้นหลอดเลือดxylemซึ่งมักนำไปสู่การตายของพืช

แบคทีเรียควบคุมการผลิตของปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคทางองค์ประชุมตรวจจับ


Vitis viniferaกับการติดเชื้อ "Ca. Phytoplasma vitis"
แบคทีเรียก่อโรคพืชที่สำคัญ:

บูร์โกเทอเรีย[8]
โปรตีโอแบคทีเรีย
Xanthomonas spp.
Pseudomonas spp.
Pseudomonas syringae pv. มะเขือเทศทำให้ต้นมะเขือเทศให้ผลผลิตน้อยลงและ "ยังคงปรับตัวเข้ากับมะเขือเทศโดยลดการรับรู้ของระบบภูมิคุ้มกันของมะเขือเทศ" [9]
ไฟโตพลาสมาสและสไปโรพลาสมาส
ไฟโตพลาสม่าและสไปโรพลาสม่าเป็นจำพวกของแบคทีเรียที่ไม่มีผนังเซลล์และเกี่ยวข้องกับไมโคพลาสม่าซึ่งเป็นเชื้อโรคของมนุษย์ ร่วมกันพวกเขาจะเรียกว่าเป็นmollicutes นอกจากนี้ยังมีจีโนมที่เล็กกว่าแบคทีเรียอื่น ๆ ส่วนใหญ่ พวกเขาจะถูกส่งตามปกติโดย SAP ดูดแมลงถูกโอนเข้ามาในโรงงานใยเปลือกไม้ที่มันทำ


ไวรัสโมเสคยาสูบ
ไวรัสไวรอยด์และสิ่งมีชีวิตที่คล้ายไวรัส
มีหลายประเภทของมีไวรัสพืชและบางคนแม้ไม่มีอาการ ภายใต้สถานการณ์ปกติไวรัสพืชทำให้ผลผลิตของพืชสูญเสียไปเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่สามารถดำเนินการทางเศรษฐกิจได้ที่จะพยายามควบคุมพวกมันยกเว้นเมื่อพวกมันติดเชื้อไม้ยืนต้นเช่นไม้ผล

ส่วนใหญ่ไวรัสพืชมีขนาดเล็กเดียว stranded RNA จีโนม อย่างไรก็ตามไวรัสพืชบางชนิดยังมีRNAแบบเกลียวคู่หรือจีโนมดีเอ็นเอแบบเกลียวเดี่ยวหรือคู่ จีโนมของเหล่านี้อาจเข้ารหัสเพียงสามหรือสี่โปรตีนกเรพลิโปรตีนเสื้อเป็นโปรตีนเคลื่อนไหวเพื่อที่จะช่วยให้มือถือกับการเคลื่อนไหวของเซลล์ผ่านplasmodesmataและบางครั้งโปรตีนที่ช่วยให้การส่งโดยเวกเตอร์ที่ ไวรัสพืชสามารถมีโปรตีนได้หลายชนิดและใช้วิธีการแปลโมเลกุลที่แตกต่างกัน

ไวรัสพืชโดยทั่วไปมักถ่ายทอดจากพืชไปยังพืชโดยใช้เวกเตอร์แต่การแพร่เชื้อทางกลและเมล็ดพืชก็เกิดขึ้นได้ ส่งเวกเตอร์มักจะเป็นโดยแมลง (ตัวอย่างเช่นเพลี้ย ) แต่บางเชื้อรา _ ไส้เดือนฝอยและโปรโตซัวได้รับการแสดงที่จะเป็นพาหะของเชื้อไวรัส ในหลายกรณีแมลงและไวรัสมีความจำเพาะต่อการแพร่กระจายของไวรัสเช่นเพลี้ยจักจั่นบีทรูทที่แพร่เชื้อไวรัสด้านบนที่เป็นลอนซึ่งก่อให้เกิดโรคในพืชหลายชนิด [10]ตัวอย่างหนึ่งคือโรคโมเสคของยาสูบที่ใบเหี่ยวเฉาและคลอโรฟิลล์ของใบไม้ถูกทำลาย อีกตัวอย่างหนึ่งคือยอดกล้วยที่เป็นพวงซึ่งต้นจะแคระแกร็นและใบด้านบนจะเป็นรูปดอกกุหลาบที่แน่น

ไส้เดือนฝอย

รากปมไส้เดือนฝอย galls
ไส้เดือนฝอยเป็นสัตว์หนอนหลายเซลล์ขนาดเล็ก หลายคนมีชีวิตอยู่อย่างอิสระในดิน แต่มีบางชนิดที่พืช parasitize ราก เป็นปัญหาในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของโลกซึ่งอาจทำให้พืชผลเสียหายได้ ไส้เดือนฝอยในถุงมันฝรั่ง ( Globodera pallidaและG. rostochiensis ) กระจายอยู่ทั่วไปในยุโรปและอเมริกาเหนือและใต้และสร้างความเสียหายมูลค่า300 ล้านดอลลาร์ในยุโรปทุกปี ไส้เดือนฝอยรากปมมีช่วงโฮสต์ค่อนข้างใหญ่พวกมันเป็นปรสิตในระบบรากของพืชและส่งผลโดยตรงต่อการดูดซึมน้ำและสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ของพืชตามปกติ[11]ในขณะที่ไส้เดือนฝอยถุงมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อได้เพียงไม่กี่ชนิด ไส้เดือนฝอยสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในเซลล์รากเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต

โปรโตซัวและสาหร่าย
มีตัวอย่างบางส่วนของโรคพืชที่เกิดจากโปรโตซัว (เช่นPhytomonas _ kinetoplastid ) [12]พวกมันถูกถ่ายทอดเป็นโซสปอร์ที่ทนทานซึ่งอาจจะสามารถอยู่รอดได้ในสภาพที่ไม่อยู่นิ่งในดินเป็นเวลาหลายปี นอกจากนี้ยังสามารถแพร่เชื้อไวรัสพืชได้ เมื่อ zoospores เคลื่อนที่เข้ามาติดต่อกับรากผมที่พวกเขาผลิตPlasmodiumซึ่งก้าวก่ายราก

สาหร่ายกาฝากไม่มีสีบางชนิด (เช่นCephaleuros ) ยังก่อให้เกิดโรคพืช [ ต้องการอ้างอิง ]

พืชกาฝาก
พืชกาฝากเช่นBroomrape _ มิสเซิลโทและสั่นที่จะถูกรวมในการศึกษาของ phytopathology ตัวอย่างเช่น Dodder สามารถเป็นท่อส่งไวรัสหรือตัวแทนที่คล้ายไวรัสจากพืชโฮสต์ไปยังพืชที่โดยทั่วไปแล้วไม่ได้เป็นโฮสต์หรือสำหรับตัวแทนที่ไม่สามารถรับต่อกิ่งได้

วิธีการติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคทั่วไป
เอนไซม์ย่อยสลายผนังเซลล์ : ใช้ในการสลายผนังเซลล์พืชเพื่อปลดปล่อยสารอาหารภายใน
สารพิษ : สิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่เฉพาะโฮสต์ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชทั้งหมดหรือเฉพาะโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายเฉพาะกับพืชที่เป็นโฮสต์เท่านั้น
effector โปรตีน : เหล่านี้สามารถหลั่งสารในสภาพแวดล้อมหรือโดยตรงเข้าไปในเซลล์โฮสต์ที่มักจะผ่านประเภทระบบสามหลั่ง เอฟเฟกต์บางตัวเป็นที่ทราบกันดีว่ายับยั้งกระบวนการป้องกันโฮสต์ ซึ่งอาจรวมถึง: การลดกลไกการส่งสัญญาณภายในพืชหรือลดการผลิตสารพฤกษเคมี [13]แบคทีเรียเชื้อราและ oomycetes เป็นที่รู้จักสำหรับหน้าที่นี้ [3] [14]
สปอร์ : สปอร์ของเชื้อรา phytopathogenic สามารถเป็นแหล่งที่มาของการติดเชื้อในพืชที่เป็นโฮสต์ อันดับแรกสปอร์จะเกาะติดกับชั้นหนังกำพร้าบนใบและลำต้นของพืชที่เป็นเจ้าภาพ เพื่อให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ต้องขนส่งสปอร์ที่ติดเชื้อจากแหล่งที่มาของเชื้อโรคสิ่งนี้เกิดขึ้นทางลมน้ำและพาหะเช่นแมลงและมนุษย์ เมื่ออยู่ในสภาพที่เอื้ออำนวยสปอร์จะสร้างเส้นใยดัดแปลงที่เรียกว่าหลอดเชื้อโรค หลอดเชื้อโรคนี้ต่อมาเป็นส่วนนูนเรียกว่าแอพเพล็ตสเตอเรียมซึ่งสร้างผนังเซลล์ที่เป็นเม็ดสีเพื่อสร้างแรงกดดันจากแรงดึง เมื่อแรงดันเทอร์เกอร์สะสมเพียงพอแล้วแอพเพรสโซเรียมจะยืนยันแรงกดต่อชั้นหนังกำพร้าในรูปแบบของหมุดเจาะที่แข็งตัว กระบวนการนี้ยังได้รับความช่วยเหลือจากการหลั่งเอนไซม์ย่อยสลายผนังเซลล์จากแอปเพรสโซเรียม เมื่อหมุดเจาะเข้าไปในเนื้อเยื่อของโฮสต์มันจะพัฒนาเส้นใยเฉพาะที่เรียกว่า haustorium ขึ้นอยู่กับวงจรชีวิตของเชื้อโรค haustorium นี้สามารถบุกรุกและเลี้ยงเซลล์ข้างเคียงภายในเซลล์หรือมีอยู่ภายในเซลล์ภายในโฮสต์ [15]

• ไบล์ท

• ส้มแคงเกอร์

• สนิม

•สมุต

• โมเสคยาสูบ

• กระเบื้องโมเสคเส้นเลือดสีเหลือง

ความผิดปกติของพืชทางสรีรวิทยา
ความผิดปกติของ abiotic อาจเกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติเช่นภัยแล้ง _ น้ำค้างแข็ง _ หิมะและลูกเห็บ ; น้ำท่วมและการระบายน้ำไม่ดี การขาดสารอาหาร ; การสะสมของเกลือแร่เช่นโซเดียมคลอไรด์และยิปซั่ม ; ลมไหม้และแตกจากพายุ และไฟป่า ความผิดปกติที่คล้ายคลึงกัน (โดยปกติจัดอยู่ในประเภท abiotic) อาจเกิดจากการแทรกแซงของมนุษย์ซึ่งส่งผลให้เกิดการบดอัดของดินมลพิษทางอากาศและในดินการเค็มที่เกิดจากการชลประทานและการเค็มของถนนการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมากเกินไปการจัดการที่เงอะงะ และป่าเถื่อน [ ต้องการอ้างอิง ]


ใบกล้วยไม้ติดเชื้อไวรัส
ระบาดวิทยา
ระบาดวิทยา:การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดและการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ [16]


สามเหลี่ยมโรคพืช
โรคจัตุรมุข (ปิรามิดโรค) จับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับโรคพืชได้ดีที่สุด พีระมิดนี้ใช้สามเหลี่ยมของโรคเป็นรากฐานซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆเช่นโฮสต์เชื้อโรคและสิ่งแวดล้อม นอกจากองค์ประกอบทั้งสามนี้แล้วมนุษย์และเวลายังเพิ่มองค์ประกอบที่เหลือเพื่อสร้างโรคจัตุรมุข

ประวัติ:โรคระบาดของโรคพืชที่ทราบกันในอดีตจากการสูญเสียครั้งใหญ่:

- มันฝรั่งไอริชปลายใบไหม้[17]

- โรคดัตช์เอล์ม[18]

- โรคใบไหม้เกาลัดในอเมริกาเหนือ[19]

ปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่ระบาด:

ผู้ดำเนินรายการ: ระดับความต้านทานหรือความอ่อนแออายุและพันธุกรรม

เชื้อโรค: ปริมาณของหัวเชื้อพันธุกรรมและประเภทของการสืบพันธุ์

ต้านทานโรค
ความต้านทานโรคพืชคือความสามารถของพืชในการป้องกันและยุติการติดเชื้อจากเชื้อโรคพืช

โครงสร้างที่ช่วยให้พืชป้องกันโรค ได้แก่ ชั้นผิวหนังชั้นนอกผนังเซลล์และเซลล์ป้องกันปากใบ สิ่งเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่โฮสต์ของพืช

เมื่อโรคผ่านพ้นอุปสรรคเหล่านี้ไปแล้วผู้รับของพืชจะเริ่มส่งสัญญาณเพื่อสร้างโมเลกุลเพื่อแข่งขันกับโมเลกุลแปลกปลอม เส้นทางเหล่านี้ได้รับอิทธิพลและกระตุ้นโดยยีนภายในพืชโฮสต์และมีความอ่อนไหวต่อการถูกควบคุมโดยการผสมพันธุ์ทางพันธุกรรมเพื่อสร้างพันธุ์พืชที่ต้านทานต่อเชื้อโรคที่ทำลายล้าง [20]

การจัดการ
กักกันภายในประเทศ
พืชที่เป็นโรคหรือพืชแต่ละชนิดสามารถแยกออกจากการเจริญเติบโตอื่น ๆ ที่มีสุขภาพดีได้ ตัวอย่างอาจถูกทำลายหรือย้ายไปไว้ในเรือนกระจกเพื่อบำบัดหรือศึกษา

การตรวจสอบและกักกันท่าเรือและชายแดน
อีกทางเลือกหนึ่งคือหลีกเลี่ยงการนำสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่สัตว์พื้นเมืองที่เป็นอันตรายมาใช้โดยการควบคุมการจราจรและกิจกรรมทั้งหมดของมนุษย์ (เช่นบริการกักกันและตรวจสอบของออสเตรเลีย ) แม้ว่ากฎหมายและการบังคับใช้จะมีความสำคัญเพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่ยั่งยืน ปริมาณการค้าทั่วโลกในปัจจุบันมีให้บริการและจะยังคงให้โอกาสในการนำศัตรูพืชมาใช้อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน [McC 1]ในสหรัฐอเมริกาแม้จะได้รับการประมาณจำนวนที่ดีขึ้นของการแนะนำดังกล่าวและด้วยเหตุนี้ความจำเป็นในการกำหนดเขตกักบริเวณและการตรวจสอบท่าเรือและชายแดนจะต้องมีการตรวจสอบเพิ่มขึ้นอย่างมาก [McC 2]ในออสเตรเลียข้อบกพร่องในการทำความเข้าใจที่คล้ายคลึงกันมีต้นกำเนิดที่แตกต่างกัน: การตรวจสอบพอร์ตไม่มีประโยชน์มากนักเนื่องจากผู้ตรวจสอบรู้เรื่องอนุกรมวิธานน้อยเกินไป มักจะมีศัตรูพืชที่รัฐบาลออสเตรเลียจัดลำดับความสำคัญว่าเป็นอันตรายที่จะถูกเก็บออกนอกประเทศ แต่มีญาติที่อยู่ใกล้นักอนุกรมวิธานที่ทำให้เกิดความสับสน และผู้ตรวจสอบยังพบในสิ่งที่ตรงกันข้าม - ชาวพื้นเมืองที่ไม่เป็นอันตรายหรือชาวพื้นเมืองที่ยังไม่ถูกค้นพบหรือชาวพื้นเมืองที่เพิ่งค้นพบที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องกังวล แต่ซึ่งง่ายต่อการสับสนกับสมาชิกในครอบครัวชาวต่างชาติที่ผิดกฎหมาย [BH 1]

X-rayและลำแสงอิเล็กตรอน / E คานฉายรังสีของอาหารที่ได้รับการทดลองการรักษากักกันสำหรับผลไม้ สินค้าที่มาจากฮาวาย องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ) USDA APHIS ( บริการตรวจสุขภาพสัตว์และพืช ) ผู้ผลิตและผู้บริโภคต่างยอมรับในผลลัพธ์นั่นคือการกำจัดศัตรูพืชอย่างละเอียดถี่ถ้วนและการย่อยสลายของรสชาติน้อยกว่าการอบด้วยความร้อน [21]

วัฒนธรรม
การทำฟาร์มในบางสังคมยังคงอยู่ในระดับเล็ก ๆ โดยมีคนที่มีวัฒนธรรมรวมถึงประเพณีการทำฟาร์มที่ย้อนกลับไปในสมัยโบราณ (ตัวอย่างของประเพณีดังกล่าวจะเป็นการฝึกอบรมตลอดชีวิตเกี่ยวกับเทคนิคการลงพื้นที่การคาดการณ์และการตอบสนองต่อสภาพอากาศการปฏิสนธิการปลูกถ่ายอวัยวะการดูแลเมล็ดพันธุ์และการจัดสวนโดยเฉพาะ) พืชที่ได้รับการตรวจสอบอย่างตั้งใจมักจะได้รับประโยชน์จากการป้องกันภายนอกที่มีการเคลื่อนไหวเท่านั้น ความแข็งแรงโดยรวม ในขณะที่แบบดั้งเดิมในแง่ของการเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ใช้แรงงานมากที่สุดในขณะที่ในทางปฏิบัติหรือจำเป็นก็เพียงพอแล้ว

ความต้านทานของพืช
การพัฒนาทางการเกษตรที่ซับซ้อนในปัจจุบันช่วยให้ผู้ปลูกสามารถเลือกจากสายพันธุ์ผสมข้ามสายพันธุ์อย่างเป็นระบบเพื่อให้แน่ใจว่าพืชผลมีความแข็งแกร่งมากที่สุดตามความเหมาะสมกับลักษณะทางพยาธิวิทยาของภูมิภาคใด แนวทางปฏิบัติในการปรับปรุงพันธุ์ได้รับการปรับปรุงให้สมบูรณ์แบบมานานหลายศตวรรษ แต่ด้วยการปรับแต่งทางพันธุกรรมแม้กระทั่งการควบคุมลักษณะภูมิคุ้มกันของพืชให้ละเอียดขึ้นก็เป็นไปได้ วิศวกรรมของพืชอาหารอาจให้ผลตอบแทนน้อยกว่าอย่างไรก็ตามเนื่องจากผลผลิตที่สูงขึ้นมักถูกชดเชยด้วยความสงสัยและความคิดเห็นเชิงลบเกี่ยวกับ "การปลอมแปลง" นี้กับธรรมชาติ

สารเคมี
สามารถใช้สารประกอบจากธรรมชาติและสารสังเคราะห์หลายชนิดเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามข้างต้น วิธีนี้ใช้ได้ผลโดยการกำจัดสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดโรคโดยตรงหรือยับยั้งการแพร่กระจาย อย่างไรก็ตามแสดงให้เห็นว่ามีผลกระทบในวงกว้างเกินไปโดยทั่วไปจะเป็นผลดีต่อระบบนิเวศในท้องถิ่น จากมุมมองทางเศรษฐกิจสารเติมแต่งจากธรรมชาติที่เรียบง่ายที่สุดอาจทำให้ผลิตภัณฑ์ขาดคุณสมบัติจากสถานะ "ออร์แกนิก" ซึ่งอาจทำให้มูลค่าของผลผลิตลดลง

ที่มา http://www.farmkaset..link..
635 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 63 หน้า, หน้าที่ 64 มี 5 รายการ
|-Page 53 of 64-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
เตือน!! ระวังเพลี้ยแป้ง บุก สวนมะนาว สร้างเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร?
Update: 2566/11/01 14:23:41 - Views: 3517
มะยงชิดใบไหม้ โรครามะปรางหวาน ใบจุดสีน้ำตาล ใบเหี่ยว แก้ด้วย ไอเอส
Update: 2564/04/26 00:48:24 - Views: 4554
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนชอนใบ ใน สตอเบอร์รี่ และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/18 15:53:48 - Views: 3500
ดอกทานตะวัน ความนิยมปลูกและทานดอกทานตะวันทั่วโลก
Update: 2565/11/14 12:59:24 - Views: 3572
INVET ไดโนเตฟูราน และ ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดเพลี้ยอ่อน ศัตรูพืช และเร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย สำหรับต้นดอกกุหลาบ
Update: 2567/02/23 10:41:33 - Views: 3440
ปุ๋ยสำหรับบวบ ปุ๋ยน้ำสำหรับบวบ ปุ๋ยบวบ ปุ๋ยบำรุงบวบ ฉีดพ่น FK-1
Update: 2564/09/30 23:16:27 - Views: 3429
มะกรูด โตไว ใบเขียว เร่งราก เร่งดอก ขยายขนาด ผลใหญ่ ดก เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ย สตาร์เฟอร์
Update: 2567/04/08 15:15:02 - Views: 3501
กำจัดเพลี้ย ใน ต้นงา เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/13 14:13:06 - Views: 3432
การใช้ INVET ผสมปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดเพลี้ยอ่อน ศัตรูพืชสำหรับต้นฟักทอง
Update: 2567/02/27 14:56:07 - Views: 3418
กำจัด เพลี้ยไฟ ศัตรูพืชในต้นทุเรียน หน้าแล้ง ช่วงติดดอก ออกผล มาคา สารอัลคาลอยด์สกัดจากธรรมชาติ
Update: 2566/05/20 10:34:13 - Views: 3444
ยารักษาโรคแตงโม โรคแตงโมเถาเหี่ยว โรคราน้ำค้างแตงโม โรคต่างๆจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู โตไว ผลผลิตดี
Update: 2564/09/24 03:09:36 - Views: 3417
โรคราแป้งมะเขือเทศ : POWDERY MILDEW DISEASE [ ไอเอส + FK-1 ]
Update: 2564/08/09 06:45:01 - Views: 3432
มะระจีน ใบไหม้ ใบจุด ราแป้ง รากเน่า แอนแทรคโนส เชื้อราต่างๆ ป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟู ด้วยปุ๋ย FK-T
Update: 2567/04/06 15:50:20 - Views: 3804
เร่งการออกดอกและเร่งรากด้วยปุ๋ยสตาร์เฟอร์ สูตร 10-40-10+3 MgO
Update: 2567/02/12 13:56:09 - Views: 3441
ดอกพุทธรักษา จุดเหลือง กำจัดโรคดอกพุทธรักษา จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/05 10:54:24 - Views: 3444
ข้อกำหนด การนำพืชจากต่างประเทศ เข้าประเทศญี่ปุ่น
Update: 2564/08/13 11:46:50 - Views: 3409
ปุ๋ยสำหรับพริก ยาแก้พริกใบไหม้ แก้รา ยาปราบศัตรูพริก #ปุ๋ยพริก #ยารักษาโรคพริก #พริกใบไหม้
Update: 2564/10/28 09:54:32 - Views: 3402
การต่อสู้กับโรคใบไหม้ในมะละกอ
Update: 2566/05/17 10:51:31 - Views: 3444
โรคแตงไทย โรคแตงโม และ โรคที่กิดกับพืชตระกูลแตง
Update: 2564/04/10 15:35:38 - Views: 3600
การรับมือกับโรคต้นแตกยางไหลในต้นแตงกวา: วิธีป้องกันและการควบคุม
Update: 2566/11/22 09:24:43 - Views: 3498
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022