[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - อาหารหลัก
56 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 5 หน้า, หน้าที่ 6 มี 6 รายการ

ธาตุรอง และ จุลธาตุ มีประโยชน์อย่างไร ต่อพืช?
ธาตุรอง และ จุลธาตุ มีประโยชน์อย่างไร ต่อพืช?
เกษตรกรอาจจะคุ้นชินกับธาตุอาหารหลักในปุ๋ยเคมีอย่าง NPK อยู่แล้ว แต่อาจจะสงสัยว่า เวลาคนอื่นบอกให้ใส่ธาตุรองกับจุลธาตุ ธาตุพวกนี้คืออะไรกันแน่? ไม่ต้องสงสัยกันอีกต่อไป เพราะบทความนี้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว!

ย้อนเกร็ดความรู้ “ธาตุหลัก” คืออะไรนะ?

ก่อนจะเรียนรู้เรื่องธาตุรอง อาจจะต้องกลับไปศึกษาธาตุหลักคืออะไร ซึ่งเราขอสรุปอย่างสั้นๆ ว่า ธาตุหลักคือธาตุที่พืชต้องการในปริมาณมาก ซึ่งแม้ธาตุเหล่านี้จะมีอยู่ในดินทั่วไปแต่ก็อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ซึ่งหากขาดธาตุหลักก็ต้องเติมธาตุอาหารให้ในรูปแบบของปุ๋ย โดยธาตุหลักประกอบด้วย 3 ธาตุ ดังนี้

ไนโตรเจน (N) ช่วยให้พืชแข็งแรง ทนต่อโรค และสร้างผลผลิตได้มาก

ฟอสฟอรัส ( P) ช่วยให้รากและต้นเจริญเติบโตได้ดี รวมทั้งช่วยในการออกดอก

โพแทสเซียม (K) ช่วยให้ผลพืชมีสีสันที่สวยงามและรสชาติที่ดี และยังช่วยให้ทนโรคอีกด้วย

แล้ว “ธาตุรอง” กับ “จุลธาตุ” คืออะไรกันแน่?

สำหรับธาตุรอง เป็นธาตุที่พืชใช้ในปริมาณน้อยกว่าธาตุอาหารหลัก และดินส่วนใหญ่ยังมีธาตุอาหารนี้อยู่บ้าง ประกอบด้วย 3 ธาตุดังนี้

แคลเซียม (Ca) ช่วยในการแบ่งเซลล์ ผสมเกสร การงอกของเมล็ด มีส่วนสำคัญต่อโครงสร้างของเซลล์พืช ช่วยในการลำเลียงอาหาร แคลเซียมช่วยในการปรับสมดุลทั้งกรดและด่างของพืช

แมกนีเซียม (Mg) เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ช่วยในการสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมันและน้ำตาล ช่วยในการสังเคราะห์แสง นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต

กำมะถัน (S) เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน วิตามินและโปรตีน ช่วนสร้างคลอโรฟิลล์ ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของรากและเมล็ดพืช ทำให้พืชแข็งแรงและทนต่อความเย็น

ส่วนจุลธาตุ หรือที่หลายคนเรียกว่าธาตุเสริมนั้น เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับธาตุหลักและธาตุรอง แต่พืชจะขาดไม่ได้เช่นกัน ประกอบด้วย 8 ธาตุดังนี้

โบรอน (B) ช่วยในการสร้างสารอาหารและควบคุมสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์ ช่วยในการออกดอก ผสมเกสร ช่วยในการติดผลและย้ายน้ำตาลมาสู่ผล

ทองแดง (Cu) ช่วยในการเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์พืช ช่วยในการเผาผลาญอาหารของรากพืชและเป็นประโยชน์ต่อการใช้โปรตีนของพืช การสังเคราะห์คลอโรฟิลล์และกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์

คลอรีน (CI) พบในดิน ช่วนกระตุ้นการย่อยอาหารสำหรับพืช มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับฮอร์โมนพืช

เหล็ก (Fe) จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ การสังเคราะห์คลอโรฟิลล์และสังเคราะห์แสง

แมงกานีส (Mn) ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ มีส่วนประกอบของคาร์บอนไดออกไซด์และการย่อยไนโตรเจน

โมลิบดีนัม (Mo) ช่วยในการดึงไนโตรเจนออกมาใช้งานและช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน พบธาตุชนิดนี้ในดิน

สังกะสี (Zn) ช่วยสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์และแป้ง ควบคุมการย่อยน้ำตาลของพืช เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานขอเอนไซม์ที่มีส่วนในการควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และจำเป็นต่อการเปลี่ยนสภาพของคาร์โบไฮเดรต

นิกเกิล (Ni) เป็นธาตุอาหารทำสำคัญต่อเอนไซม์ ทำหน้าที่ปลดปล่อยไนโตรเจนให้อยู่ในรูปที่จะนำไปใช้ได้ และยังช่วยในกระบวนการงอกของเมล็ดอีกด้วย

ธาตุรอง จุลธาตุ ต่างกันอย่างไร?

สรุปอย่างง่ายๆ ธาตุรองและจุลธาตุนั้นต่างกันที่ปริมาณของความต้องการ โดยพืชจะต้องการจุลธาตุน้อยมาก แต่ก็ยังขาดไม่ได้อยู่ดีนั่นเอง

รู้แบบนี้แล้ว หากพบว่าพืชในสวนของตัวเองยังไม่สมบูรณ์หรือเจริญเติบโตช้า ให้ลองสังเกตุอาการขาดธาตุอาหารและเลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุรองและจุลธาตุมาเสริมให้พืชสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และอย่าลืมตรวจสอบความเป็นกรด-ด่างของดินซึ่งจะมีผลต่อการละลายและปลดปล่อยธาตุอาหารแต่ละชนิด รวมทั้งศึกษาว่าพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุไหนเป็นพิเศษด้วยนะครับ

ขอบคุณข้อมูลจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดปัตตานี http://www.farmkaset..link.. 3

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3486
ข้าวโพดหลังนา ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) สำคัญกับข้าวโพดอย่างไร?
ข้าวโพดหลังนา ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) สำคัญกับข้าวโพดอย่างไร?
ข้าวโพด พืชอีกตัวเลือกหนึ่งที่นิยมปลูกหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เพราะในช่วงฤดูแล้งหลายพื้นที่มักมีน้ำไม่พอต่อการเพาะปลูกข้าว ข้าวโพดจึงเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่มักถูกเลือกมาปลูกทดแทนข้าว เพราะใช้น้ำน้อยกว่า 2-3 เท่าตัว ด้วยเหตุนี้เราจึงมักได้ยินคำว่า “ข้าวโพดหลังนา” และแม้จะเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง แต่จากความชื้นในดินที่ผ่านการปลูกข้าวมาก่อน ทำให้พี่น้องเกษตรกรหลายท่านสามารถใส่ปุ๋ยบำรุงต้นและผลผลิตข้าวโพดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันนี้ขอบอกต่อความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของธาตุอาหารหลัก 3 ตัว ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ว่ามีความสำคัญต่อข้าวโพดหลังนาอย่างไร ถ้าพี่น้องเกษตรกรทุกท่านพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยครับ!

บทบาทของธาตุอาหารหลักในข้าวโพดหลังนา

ไนโตรเจน (N)

ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตทางลำต้น ทำให้ต้นข้าวโพดตั้งตัวได้เร็วและแข็งแรง ในช่วงแรกของการเจริญเติบโต

ช่วยทำให้ข้าวโพดมีใบเขียวเข้ม การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พืชที่ขาดไนโตรเจน (N) จะแสดงอาการลำต้นแคระแกร็น เติบโตช้า ใบแสดงอาการแห้งตั้งแต่ปลายใบลงมาสู่กลางใบ และจะแสดงที่ใบล่างขึ้นสู่ใบบน

ฟอสฟอรัส (P)

ช่วยให้รากแข็งแรงและกระจายตัวดี การดูดซึมธาตุอาหารจากดินเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยในเรื่องการพยุงลำต้นไม่ให้โค่นล้มได้ง่าย

ช่วยในเรื่องการออกดอก ผสมเกสร การติดฝัก และติดเมล็ดสมบูรณ์

พืชที่ขาดฟอสฟอรัส (P) จะแสดงอาการลำต้นแคระแกร็น ระบบรากไม่แข็งแรงทำให้โคนล้มได้ง่าย ที่ใบจะแสดงอาการสีม่วงแดงที่ขอบใบ และจะแสดงอาการมากในข้าวโพดที่อายุน้อย

โพแทสเซียม (K)

มีส่วนช่วยในการสะสมแป้งและน้ำตาล ทำให้เมล็ดข้าวโพดเต่งและใหญ่ สีสวย ฝักใหญ่ น้ำหนักดี

พืชที่ขาดโพแทสเซียม (K) จะแสดงอาการใบแห้งเหลือง เริ่มจากบริเวณปลายใบลุกลามไปที่ขอบใบ ทำให้ข้าวโพดมีเมล็ดเล็ก ไม่เต่งเท่าที่ควร ผลผลิตต่ำ

นอกจากการเลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักครบถ้วนในการบำรุงข้าวโพดหลังนาแล้ว การเลือกใช้สูตรปุ๋ยให้เหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโตก็สำคัญเช่นกันนะครับ

ครั้งที่ 1 รองพื้นพร้อมปลูกหรือหลังหยอดเมล็ด 15 วัน

แนะนำสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 หรือ 16-16-8 หรือ 18-8-8

อัตราใช้ 30-50 กก./ไร่

ครั้งที่ 2 หลังหยอดเมล็ด 25-35 วัน (ทำรุ่น)

แนะนำสูตร 15-7-18 หรือ 20-8-20 หรือ 14-7-35

อัตราใช้ 30-50 กก./ไร่

***การเลือกใช้ปุ๋ยหรือใส่ปุ๋ยบำรุงต้นข้าวโพดทุกครั้งต้องพิจารณาถึงความสมบูรณ์ของดิน ความสมบูรณ์ของต้นข้าวโพด ระยะการปลูก และความชื้นในดินก่อนการตัดสินใจใส่ปุ๋ยด้วยนะคะ

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..าตุอาหารหลัก-สำคัญอย่างไร-ในข้าวโพดหลังนา
อ่าน:3436
ปุ๋ยสำหรับอ้อย ปุ๋ยเร่งอ้อยแตกกอ ปุ๋ยเพิ่มผลผลิตอ้อย ตรา FK
ปุ๋ยสำหรับอ้อย ปุ๋ยเร่งอ้อยแตกกอ ปุ๋ยเพิ่มผลผลิตอ้อย ตรา FK
การให้ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ หรือปุ๋ยน้ำสำหรับอ้อยนั้น เป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิตให้กับอ้อยได้อย่างมีประสิทธิผล อีกวิธีหนึ่ง

การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้กับอ้อย เป็นอาหารทางใบ ที่ทำให้ต้นอ้อย ดูดซึม นำธาตุอาหารที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโต และเพิ่มความหวาน หรือค่า CCS ได้

อ้อย ในแต่ละช่วงอายุ ต้องการธาตุอาหารหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่มีสัดส่วนต่างกัน ในแต่ละระยะของการเติบโต หากเราให้ธาตุอาหาร ตรงกับความต้องการเหมาะสมกับช่วงอายุ อ้อยจะโตเร็ว และสามารถเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี

อ้อย ระยะ 1-4 เดือน ทั้งอ้อยปลูก และ อ้อยตอ ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบไปด้วย ธาตุอาหารพืชโดยตรง มีสัดส่วน ธาตุหลัก ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแตสเซียม (K) ที่เสมอกัน และประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม เช่น แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) สังกะสี (Zn) สารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ที่สำคัญต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตให้กับอ้อย

อ้อยที่มีอายุ 5เดือนขึ้นไป เป็นระยะสะสมอาหาร เพิ่มค่าความหวาน หรือค่า CCS ซึ่งในระยะนี้ อ้อยจะต้องการธาตุอาหาร โพแตสเซียม (K) สูงกว่าธาตุหลักอื่นๆ

ฉีดพ่น FK-3S สำหรับอ้อย ที่มีอายุ 5เดือนขึ้นไป เพื่อเพิ่มน้ำหนัก เพิ่มค่าความหวาน หรือ ค่า CCS เพิ่มผลผลิตอ้อย

การสั่งซื้อ

โทร 090-592-8614

ไลน์ไอดี http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ฟาร์มเกษตร http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ช้อปปี้ http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ลาซาด้า http://www.farmkaset..link..
ความหมายของสูตรปุ๋ย ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 0-0-60 หรือ 18-46-0 หรือ 46-0-0 หรือ x-x-x ... หมายความว่าอะไร
ความหมายของสูตรปุ๋ย ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 0-0-60 หรือ 18-46-0 หรือ 46-0-0 หรือ x-x-x ... หมายความว่าอะไร
เพื่อนๆเคยสงสัยกันไหมว่า เวลาเราไปซื้อปุ๋ย เพื่อใส่กับพืชที่เราปลูก เช่น ไปซื้อปุ๋ย แล้วได้สูตร 16-16-16 หรือสูตรอื่นๆมานั้น ตัวเลข 3 หลังนั้น หมายความว่าอย่างไร

จริงๆแล้ว ตัวเลข 3 หลักนั้น หมายถึง ธาตุอาหารพืช ถูกวางเรียงกันดังนี้
ไนโตรเจน(N)-ฟอสฟอรัส(P)-โพแตสเซียม(K) เช่น 15-15-15 แปลว่า ปุ๋ยสูตรนี้ ประกอบไปด้วย ไนโตรเจน15เปอร์เซนต์ - ฟอสฟอรัส15เปอร์เซนต์ - โพแตสเซียม15เปอร์เซนต์

ทำไม.. ปุ๋ยส่วนมาก เน้นแต่ 3 ธาตุอาหาร N-P-K ล่ะ

ตอบว่า มหาสารอาหาร (macronutrients) คือกลุ่ม ธาตุอาหารพืช ที่จำเป็นต่อพืชมากที่สุด มีอยู่ 9 ธาตุ
1.คาร์บอน 2.ไฮโดรเจน 3.ออกซิเจน
4.ไนโตรเจน 5.ฟอสฟอรัส 6.โพแทสเซียม
7.กำมะถัน 8.แคลเซียม 9.แมกนีเซียม

แล้วทำไม.. ให้แค่ 3 ตัวล่ะ มีทั้งหมด 9 ธาตุ
คาร์บอน พืชได้รับจากขบวนการสังเคราะห์แสง โดยรับคาร์บอนไดออกไซด์มาจากอากาศ
ไฮโดรเจน พืชได้รับไฮโดรเจนส่วนใหญ่จากน้ำ
ออกซิเจน พืชได้รับออกซิเจน จากกระบวนการสังเคราะห์แสง

ตัดออกไป 3 เหลืออีก 6 ธาตุ
macronutrients แบ่งเป็น สองกลุ่ม
1.ธาตุอาหารหลัก (primary macronutrients) ได้แก่ ไนโตรเจน (N)_ ฟอสฟอรัส (P)_ และ โพแทสเซียม (K)
2.ธาตุอาหารรอง (secondary macronutrients) ได้แก่ แคลเซียม (Ca)_แมกนีเซียม (Mg)_ และ ซัลเฟอร์(กำมะถัน) (S)

จะเห็นได้แล้วว่า N_ P_ K หรือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแตสเซียมนั้น จัดเป็น ธาตุอาหารหลัก
คำว่า หลัก ก็คือสำคัญที่สุดพืชต้องการเยอะ ก็เลยต้องเติม 3 ธาตุนี้ มากที่สุด ปุ๋ยสูตร จึงเน้น 3 ธาตุนี้เป็นหลัก หากพืชที่ปลูกพืช ไม่โดนปลูกซ้ำแล้วซ้ำเล่าหลายสิบปี และสภาพดินไม่แย่ ก็อาจจะไม่ขาด ธาตุอาหารอื่นๆ เลยเติมเฉพาะ 3 ธาตุหลักนี้

แต่ปัจจุบัน การปลูกพืชเมืองไทย ทำเกษตรมานานซ้ำที่เดิมมาหลายสิบปี และไม่ค่อยได้เติมอินทรียวัตถุ จึงอาจจะเกิดอาการขาดธาตุรอง แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถันด้วย หลายๆแปลงเกษตร จึงจำเป็นต้องใช้พวก สารปรับสภาพดิน และปุ๋ยธาตุเสริมต่างๆ

เราควรซื้อ ปุ๋ยสูตรอะไรดี?

ในบทความนี้ ขอตอบแบบง่ายๆ จำได้ง่ายๆเลย ให้จำดังนี้
N-P-K
คือ ไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส-โพแตสเซียม
คือ ต้น-ดอกและระบบราก-ผลผลิต
อยากเร่งต้น เร่งโต เร่งใบ ใช้ปุ๋ยสูตรเลขตัวหน้า หรือ N สูง กว่า ตัวกลาง และ ตัวหลัง
อยากเร่งดอก เร่งราก ใช้ปุ๋ยเลขตัวกลาง หรือ P สูงกว่า ตัวหน้า และ ตัวหลัง
อย่างเร่งผลผลิต ผลโต เพิ่มความหวาน เร่งน้ำยาง ใช้ปุ๋ยเลขตัวหลัง หรือ K สูงกว่า ตัวหน้า และ ตัวกลาง

เช่น
46-0-0 แม่ปุ๋ยเร่งต้น
18-46-0 แม่ปุ๋ยเร่งดอกเร่งราก
0-0-60 แม่ปุ๋ยเร่งผลผลิต
เป็นต้น

สินค้าจากเรา ปุ๋ยน้ำ FK-1 ที่ประกอบด้วย ปุ๋ยสูตร 20-20-20 บวกด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม และ สังกะสี ใช้ เร่งการเจริญเติบโต แตกยอด ผลิใบ สร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง พืชจึงต้านทานต่อโรคได้ดีขึ้น

เขียนโดย FarmKaset.ORG อ้างอิง WiKi Pedia
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับอ้อย
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับอ้อย
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับอ้อย
การให้ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ หรือปุ๋ยน้ำสำหรับอ้อยนั้น เป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิตให้กับอ้อยได้อย่างมีประสิทธิผล อีกวิธีหนึ่ง

การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้กับอ้อย เป็นอาหารทางใบ ที่ทำให้ต้นอ้อย ดูดซึม นำธาตุอาหารที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโต และเพิ่มความหวาน หรือค่า CCS ได้

อ้อย ในแต่ละช่วงอายุ ต้องการธาตุอาหารหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่มีสัดส่วนต่างกัน ในแต่ละระยะของการเติบโต หากเราให้ธาตุอาหาร ตรงกับความต้องการเหมาะสมกับช่วงอายุ อ้อยจะโตเร็ว และสามารถเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี

อ้อย ระยะ 1-4 เดือน ทั้งอ้อยปลูก และ อ้อยตอ ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบไปด้วย ธาตุอาหารพืชโดยตรง มีสัดส่วน ธาตุหลัก ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแตสเซียม (K) ที่เสมอกัน และประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม เช่น แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) สังกะสี (Zn) สารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ที่สำคัญต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตให้กับอ้อย

อ้อยที่มีอายุ 5เดือนขึ้นไป เป็นระยะสะสมอาหาร เพิ่มค่าความหวาน หรือค่า CCS ซึ่งในระยะนี้ อ้อยจะต้องการธาตุอาหาร โพแตสเซียม (K) สูงกว่าธาตุหลักอื่นๆ

ฉีดพ่น FK-3S สำหรับอ้อย ที่มีอายุ 5เดือนขึ้นไป เพื่อเพิ่มน้ำหนัก เพิ่มค่าความหวาน หรือ ค่า CCS เพิ่มผลผลิตอ้อย

สั่งซื้อสินค้าจากเรา หรือ ลาซาด้า หรือ ช้อปปี้ คลิก http://www.farmkaset..link..
การไถกลบตอซัง เพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว
การไถกลบตอซัง เพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว
การไถกลบตอซัง หมายถึง การไถกลบตอซังข้าวหรือพืชไร่ที่มีอยู่ในไร่นาภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วลงไปในดินระหว่างการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกขณะที่ดินมีความชื้น และปล่อยทิ้งไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลายในดินซึ่งจะกลายเป็นแหล่งของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช แล้วจึงปลูกพืชหลักตามที่ต้องการต่อไป

ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 65 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ20 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ได้ผลผลิตข้าว 24 ล้านตัน มีฟางข้าวเฉลี่ยประมาณปีละ 25.45 ล้านตัน และมีปริมาณตอซังข้าวที่ตกค้างอยู่ในนาข้าว 16.9 ล้านตันต่อปี ดังนั้นจึงนับได้ว่ามีปริมาณฟางข้าวและตอซังข้าวมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับตอซังพืชชนิดอื่น โดยมีปริมาณฟางข้าวและตอซังมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือจำนวน 13.7 และ 9.1 ล้านตันต่อปี รองลงมาคือภาคกลางและภาคตะวันออกมีจำนวนฟางข้าวและตอซัง 6.2 และ 4.1 ล้านตันต่อปี และในพื้นที่ปลูกข้าว 1 ไร่ มีปริมาณฟางข้าวและตอซัง โดยเฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม

ตอซังข้าวหรือฟางข้าวเป็นวัสดุที่ย่อยสลายง่าย มีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนเฉลี่ย 99:1 มีปริมาณธาตุอาหารหลักของพืชได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแทสเซียมเฉลี่ย 0.51 0.14 และ 1.55 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณธาตุอาหารรองของพืชได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และซัลเฟอร์เฉลี่ย 0.47 0.25 และ 0.17 เปอร์เซ็นต์

ประโยชน์จากการไถกลบตอซังข้าว

1. ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน

1.1 ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ง่ายต่อการเตรียมดิน การปักดำกล้า และทำให้ระบบรากพืชสามารถแพร่กระจายในดินได้มากขึ้น

1.2 การระบายอากาศของดินเพิ่มมากขึ้น

1.3 เพิ่มการซึมผ่านของน้ำ และการอุ้มน้ำของดินให้ดีขึ้น

2. ปรับปรุงสมบัติทางเคมีของดิน

2.1 เป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินโดยตรง ถึงแม้ปริมาณธาตุอาหารจะไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี แต่จะมีธาตุอาหารครบถ้วนตามที่พืชต้องการทั้งธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม) ธาตุอาหารรอง (แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน) และจุลธาตุ (เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน) และจะค่อยๆปลดปล่อยให้เป็นประโยชน์ต่อพืชในระยะยาว

2.2 ช่วยดูดยึดธาตุอาหารจากการใส่ปุ๋ยเคมีไม่ให้สูญเสียไปจากดินซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี

2.3 ช่วยเพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดินทำให้การเปลี่ยนแปลงไม่รวดเร็วจนเป็นอันตรายต่อพืช

2.4 ช่วยลดความเป็นพิษของเหล็กและแมงกานีสในดิน

2.5 ช่วยลดความเป็นพิษจากดินเค็ม

3. ปรับปรุงสมบัติทางชีวภาพของดิน

3.1 อินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหารและแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ดินมีผลทำให้ปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในดินให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช

3.2 การเพิ่มปริมาณหรือจำนวนของจุลินทรีย์ดินมีผลช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคพืชบางชนิดในดินลดน้อยลง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Lazada : http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Shopee : http://www.farmkaset..link..
ธาตุอาหารพืช
ธาตุอาหารพืช
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่สามารถสร้างอาหารได้เอง คนและสัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ต้องกินพืชเป็นอาหาร ถ้าปราศจากพืช สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ไม่สามารถอยู่ได้

พืชมีความต้องการธาตุอาหารเพื่อดำรงชีวิต เช่นเดียวกับมนุษย์และสัตว์ พืชสร้างอาหารโดยการนำธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำ อากาศ และในดิน มาผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงที่ใบจะได้น้ำตาล แล้วพืชจะนำไปรวมกับแร่ธาตุชนิดอื่น ๆ ที่ดูดขึ้นมาจากดิน เพื่อสร้างแป้ง โปรตีน ไขมัน เอนไซม์ ฮอร์โมน ฯลฯ สำหรับใช้ในการเจริญเติบโตต่อไป (สมกับคำที่ว่าชีวิตเกิดจากดิน น้ำ ลม ไฟ)

จากการที่พืชดูดใช้ธาตุอาหารทั้งที่อยู่ในอากาศ ในน้ำ และในดิน เมื่อนำเนื้อเยื่อพืชไปวิเคราะห์ พบธาตุชนิดต่าง ๆ ถึง 92 ชนิด แต่มีความสำคัญและจำเป็นเพียง 17 ชนิด ที่ถูกจัดเป็นธาตุอาหารพืช จากคุณสมบัติที่สำคัญ ดังนี้ 1) พืชจะขาดไม่ได้ ถ้าขาดพืชจะตาย หรือเจริญไม่ครบชีพจักร 2) แต่ละธาตุทำหน้าที่เฉพาะในการเจริญเติบโตของพืช 3) แต่ละธาตุไม่สามารถทำหน้าที่ทดแทนกันได้

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชมี 17 ชนิด โดย 3 ชนิด พืชได้รับมาจากน้ำ และอากาศ ประกอบด้วยคาร์บอน (C) พืชได้จากคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ไฮโดรเจน (H) และ ออกซิเจน (O) พืชได้จากน้ำ ส่วนที่เหลืออีก 14 ชนิด เป็นแร่ธาตุที่อยู่ในดิน แบ่งตามความต้องการของพืชได้ดังนี้

1) ธาตุอาหารหลัก เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณมาก และดินมักจะขาด หรือมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ประกอบด้วย ไนโตรเจน (N_ เอ็น) ฟอสฟอรัส (P_ พี) โพแทสเซียม (K_ เค) ในการปลูกพืชถ้าดินขาด เราต้องเติมธาตุอาหารในรูปของปุ๋ย ซึ่งประกอบด้วยธาตุอาหาร 3 ตัวนี้เป็นหลัก

2) ธาตุอาหารรอง เป็นธาตุที่พืชใช้ในปริมาณน้อยกว่าธาตุอาหารหลัก ประกอบด้วย แคลเซ๊ยม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S) ดินส่วนใหญ่ยังไม่ขาด

3) จุลธาตุ เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง แต่พืชจะขาดไม่ได้เช่นกัน ประกอบด้วย เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) คลอรีน (Cl) โบรอน โมลิบดินัม (Mo) และนิเกิล (Ni)

เมื่อนำชิ้นส่วนของพืชไปวิเคราะห์ พบว่า 95 % ของน้ำหนักแห้ง ประกอบด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ซึ่งพืชได้รับมาฟรีๆ จากน้ำและอากาศ ส่วนที่เหลืออีกเพียง 5 % เป็นแร่ธาตุที่เหลือ 14 ชนิด ที่ได้มาจากดิน ยกตัวอย่างเช่น ในผลผลิตข้าว 1_000 กก./ไร่ พบว่า เป็นส่วนของคาร์บอน ออกซิเจน และ ไฮโดรเจน ถึง 950 กก. ที่เหลืออีกเพียง 50 กก. ที่เป็นส่วนของแร่ธาตุที่อยู่ในดิน ซึ่งถ้าดินขาด เราจะเติมให้พืชในรูปของปุ๋ย (ให้สังเกตพืชที่โตในป่า บนเขา ตามข้างถนน ไม่เคยถูกใส่ปุ๋ย แต่ทำไมพืชเจริญเติบโตได้ดี เพราะ 95 % มาจากน้ำและอากาศ 5 % มาจากดิน พืชดูดขึ้นไปใช้ ใบแก่ร่วงลงดิน แล้วย่อยสลายกลับมาเป็นอาหารพืชใหม่ แต่ข้าวในนาธาตุอาหารติดออกไปกับเมล็ด และสูญเสียไปกับการเผาฟาง)

ในส่วนของธาตุอาหารที่พืชดูดใช้จากดิน (5 %) เมื่อนำชิ้นส่วนพืชไปวิเคราะห์ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นธาตุไนโตรเจน 1.5 % ฟอสฟอรัส 0.1-0.4 % โพแทสเซียม 1-5 % กำมะถัน 0.1-0.4 % แคลเซียม 0.2-1 % และแมกนีเซียม 0.1-0.4 % ส่วนที่เหลือ คือ เหล็ก โบรอน แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โมลิบดินัม คลอรีน และนิเกิล พืชมีความต้องการน้อยมาก (แต่ขาดไม่ได้) เช่น ความต้องการไนโตรเจนกับโมลิบดินัมต่างกัน 10_000 เท่า พืชต้องการแมกนีเซียมมากกว่าเหล็ก 40 เท่า เป็นต้น ดังนั้นคำแนะนำปุ๋ยในปัจจุบันจึงเน้นให้ใส่เฉพาะไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมก่อน เพราะพืชต้องการมากและมีผลกระทบต่อผลผลิตมากกว่าตัวอื่น (ในบรรดาธาตุอาหารที่ได้จากดิน) และดินส่วนใหญ่มักจะขาด ส่วนธาตุอาหารชนิดอื่น ๆ พืชต้องการน้อย และดินส่วนใหญ่ยังไม่ขาด (แต่หลายพื้นที่เริ่มขาดแล้ว)

จะเห็นได้ว่าในการปลูกพืช เราต้องใส่ธาตุอาหารให้พืชอย่างมากที่สุดเพียง 5 % จากที่พืชต้องใช้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันเราใส่ปุ๋ยตามความต้องการของพืช หรือว่า ใส่ตามความต้องการของเราเอง ?

โดย วีรวัฒน์ นิลรัตนคุณ
อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการผลิตพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ ภาคเหนือตอน​ล่าง
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 กรมวิชาการเกษตร

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุอาหารพืชโดยตรง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม สารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช เสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรค และแมลง
🎗โรคไวรัส ในพืชต่างๆ ไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง ให้ป้องกันกำจัดแมลงพาหะ และบำรุงพืชให้แข็งแรง
🎗โรคไวรัส ในพืชต่างๆ ไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง ให้ป้องกันกำจัดแมลงพาหะ และบำรุงพืชให้แข็งแรง
ในความเป็นจริงแล้ว การดูแล บำรุงพืช ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง โดยการให้ ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม อย่างครบถ้วน ในสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นการเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงไปด้วยในตัว เป็นเช่นเดียวกับ เด็กวัยเจริญเติบโต ที่ได้รับอาหารครบ 5 หมู่ บางคนยังทานวิตามินบำรุงด้วย ย่อมทำให้ ส่งเสริมการเจริญเติบโต มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่ป่วยบ่อย เหมือนเด็กที่ไม่สมบูรณ์ ขาดสารอาหาร

พืชต่างๆ หากได้รับแต่ปุ๋ยเชิงเดียว ที่มีแต่ ไนโตรเจน (N) หรือให้เฉพาะปุ๋ยที่มีเฉพาะธาตุหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม (N P K) เปรียบเทียบแล้วก็คล้ายกับ เด็กที่ทานเฉพาะอาหารอย่างเดียวซ้ำๆ ก็คือ อิ่ม โตขึ้นได้ แต่มีร่างกายที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง เมื่อเป็นโรค ก็ให้ยารักษา ก็อาจจะหายช้า หรือไม่หาย ถึงแม้หาย ก็เจ็บป่วยซ้ำอยู่บ่อยๆ เจ็บป่วยออดๆแอดๆ แต่หากในขณะที่รักษาให้เริ่มฟื้นตัวแล้ว ลองบำรุง ให้อาหารจนครบ 5 หมู่ ทานอาหารเสริมที่เป็นประโยชน์บ้าง และปรับพฤติกรรมการทานอาหาร เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็น คนที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงได้ ในทางด้านพืชนั้น อย่างที่กล่าวข้างต้น เรามักจะให้ปุ๋ยทั่วไป ที่ประกอบด้วยเฉพาะ N P K แต่ในความเป็นจริงแล้ว อีกหลายธาตุ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต จำเป็นต่อการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ สร้างคลอโรฟิลล์ สังเคราะห์แสง และบางธาตุ ก็ส่งเสริมให้พืช นำธาตุอาหารหลัก ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ยกตัวอย่างธาตุอาหารพืช ที่จำเป็นเช่น แคลเซียม (ca) แมกนีเซียม (Mg) สังกะสี (Zn) และยังมีอีกหลายธาตุ ซึ่งหากพืชที่ปลูกอยู่ ไม่เคยได้รับ และวันนึงได้รับ จะส่งผลให้พืชโตขึ้น และแข็งแรงขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจาก ธาตุที่พืชไม่เคยได้รับเหล่านี้ เมื่อได้รับลงไป จะช่วยปลดปล่อยธาตุหลัก ที่พืชได้รับอยู่ตลอด แต่นำไปใช้ไม่ได้ ไปกระตุ้นให้พืช นำไปใช้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งใน FK-1 จะประกอบไปด้วยทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน นอกจากจะเป็นให้ธาตุอาหารพืชที่จำเป็นโดยตรงแล้ว ยังกระตุ้นให้พืช นำทุกธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ในดิน ไปใช้ได้อย่างเต็มที่

โรคไวรัส ที่เกิดกับพืชต่างๆ

ในที่นี้ประกอบด้วย โรคใบหงิกเหลือง โรคใบด่างเรียวเล็ก โรคใบด่าง และโรคเหี่ยวลาย สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืชต่างๆ เช่น โรคไวรัสมะละกอ มะละกอใบด่าง โรคไวรัสด่างวงแหวนมะละกอ โรคใบด่างเรียวเล็กในมะเขือเทศ โรคมะเขือเทศเหี่ยวลาย โรคไวรัสใบด่างเหลืองในถั่ว ในพืชตระกูลถั่ว โรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง โรคไวรัสใบด่างแตง ในพืชตระกูลแตง โรคไวรัสใบด่างผักกาด โรคไวรัสใบด่างแคระข้าวโพด และยังมีโรคไวรัสใบด่าง ในพืชอื่นๆอีกหลายพืช

กรณีโรคใบหงิกเหลือง จะพบใบยอดและใบอ่อนหดย่นหงิกสีเหลือง ขอบใบม้วนงอ ยอดเป็นพุ่ม ใบแตกใหม่เล็ก ต้นแคระแกร็น ไม่ติดผล หรือติดผลน้อยมาก ส่วนโรคใบด่างเรียวเล็ก มักพบใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อน ม้วนงอ ต่อมาใบเรียวเล็กกว่าปกติ หากรุนแรงมาก ใบจะเรียวเล็กเหลือแต่เส้นกลางใบ ต้นชะงักการเจริญเติบโต ไม่ติดผล หรือมีผลเล็ก ถ้าเกิดโรคในระยะกล้า จะทำให้ต้นแคระแกร็น ไม่ติดผล

สำหรับโรคใบด่าง จะมีใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือสีเหลือง ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง หากเกิดโรคในระยะกล้า ต้นแคระแกร็น ใบเล็กและลดรูป ในส่วนของโรคเหี่ยวลาย มักพบใบมีแผลเนื้อเยื่อตายสีน้ำตาลเข้มหรือดำกระจายทั่วทั้งใบ หรือเกิดรอยด่างสีเหลือง ใบยอดด่างและยอดสั้น ใบอ่อนแห้งตายจากปลายใบเข้าหาโคนใบ ใบแก่มีสีเหลืองขนาดเล็กกว่าปกติ ตามแนวยาวของลำต้นและก้านใบมีรอยขีดสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลเสียรูปทรง ผิวผลพบเนื้อเยื่อตายเป็นวง กรณีรุนแรง กิ่งและลำต้นเปลี่ยนเป็นสีดำ เหี่ยวเฉา และตายในที่สุด

ในพื้นที่ที่พบการระบาดของโรคนี้ ให้เกษตรกรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อไวรัสและแมลงพาหะ ถ้าพบต้นที่เป็นโรคให้ถอนแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที ควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว ให้เก็บเศษซากพืชส่วนที่หลงเหลือในแปลงไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก หากพบโรคในแปลงที่จะปลูกฤดูถัดไป ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อใกล้แปลงปลูก เช่น ขึ้นฉ่าย ยาสูบ งา กะเพราขาว ตำลึง หงอนไก่ บานไม่รู้โรย ทานตะวัน พืชตระกูลแตง พืชตระกูลถั่ว และพืชตระกูลมะเขือ อีกทั้งควรเลือกใช้กล้าพันธุ์พืชที่ต้านทานโรค แข็งแรง และปลอดโรคมาปลูก

เชื้อไวรัสโรคพืช ยังไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง

ป้องกันกำจัดได้ โดยการกำจัดแมลงพาหะ เช่น แมลงหวี่ขาว และเพลี้ยต่างๆ และ บำรุงพืชให้เจริญเติบโต แข็งแรง เพื่อสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงให้สูงขึ้น

🦗 ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ กำจัด เพลี้ย แมลงหวี่ขาว และแมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)

🌿 ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี [FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..
🎖คลิกลิงค์เพื่อสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ http://www.farmkaset..link..
🦗ข้อมูล มาคา

มาคา เป็นยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ กำจัดแมลงศัตรูพืช
สกัดจากพืช_ 100% จากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค
*การใช้มาคากำจัด เพลี้ย และแมลงศัตรูพืช กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

🌿ข้อมูล FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig's law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แคลเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ธาตุแคลเซียม [Ca] ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น
อ่าน:3496
🎗โรคมะเขือเทศ ไวรัสมะเขือเทศ ไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง ให้ป้องกันกำจัดแมลงพาหะ
🎗โรคมะเขือเทศ ไวรัสมะเขือเทศ ไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง ให้ป้องกันกำจัดแมลงพาหะ
ในความเป็นจริงแล้ว การดูแล บำรุงมะเขือเทศ ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง โดยการให้ ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม อย่างครบถ้วน ในสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นการเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงไปด้วยในตัว เป็นเช่นเดียวกับ เด็กวัยเจริญเติบโต ที่ได้รับอาหารครบ 5 หมู่ บางคนยังทานวิตามินบำรุงด้วย ย่อมทำให้ ส่งเสริมการเจริญเติบโต มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่ป่วยบ่อย เหมือนเด็กที่ไม่สมบูรณ์ ขาดสารอาหาร

มะเขือเทศ และพืชอื่นๆก็เช่นกัน หากได้รับแต่ปุ๋ยเชิงเดียว ที่มีแต่ ไนโตรเจน (N) หรือให้เฉพาะปุ๋ยที่มีเฉพาะธาตุหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม (N P K) เปรียบเทียบแล้วก็คล้ายกับ เด็กที่ทานเฉพาะอาหารอย่างเดียวซ้ำๆ ก็คือ อิ่ม โตขึ้นได้ แต่มีร่างกายที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง เมื่อเป็นโรค ก็ให้ยารักษา ก็อาจจะหายช้า หรือไม่หาย ถึงแม้หาย ก็เจ็บป่วยซ้ำอยู่บ่อยๆ เจ็บป่วยออดๆแอดๆ แต่หากในขณะที่รักษาให้เริ่มฟื้นตัวแล้ว ลองบำรุง ให้อาหารจนครบ 5 หมู่ ทานอาหารเสริมที่เป็นประโยชน์บ้าง และปรับพฤติกรรมการทานอาหาร เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็น คนที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงได้ ในทางด้านพืชนั้น อย่างที่กล่าวข้างต้น เรามักจะให้ปุ๋ยทั่วไป ที่ประกอบด้วยเฉพาะ N P K แต่ในความเป็นจริงแล้ว อีกหลายธาตุ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต จำเป็นต่อการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ สร้างคลอโรฟิลล์ สังเคราะห์แสง และบางธาตุ ก็ส่งเสริมให้พืช นำธาตุอาหารหลัก ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ยกตัวอย่างธาตุอาหารพืช ที่จำเป็นเช่น แคลเซียม (ca) แมกนีเซียม (Mg) สังกะสี (Zn) และยังมีอีกหลายธาตุ ซึ่งหากพืชที่ปลูกอยู่ ไม่เคยได้รับ และวันนึงได้รับ จะส่งผลให้พืชโตขึ้น และแข็งแรงขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจาก ธาตุที่พืชไม่เคยได้รับเหล่านี้ เมื่อได้รับลงไป จะช่วยปลดปล่อยธาตุหลัก ที่พืชได้รับอยู่ตลอด แต่นำไปใช้ไม่ได้ ไปกระตุ้นให้พืช นำไปใช้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งใน FK-1 จะประกอบไปด้วยทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน นอกจากจะเป็นให้ธาตุอาหารพืชที่จำเป็นโดยตรงแล้ว ยังกระตุ้นให้พืช นำทุกธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ในดิน ไปใช้ได้อย่างเต็มที่

4 โรคไวรัสมะเขือเทศ

ในที่นี้ประกอบด้วย โรคใบหงิกเหลือง โรคใบด่างเรียวเล็ก โรคใบด่าง และโรคเหี่ยวลาย สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ กรณีโรคใบหงิกเหลือง จะพบใบยอดและใบอ่อนหดย่นหงิกสีเหลือง ขอบใบม้วนงอ ยอดเป็นพุ่ม ใบแตกใหม่เล็ก ต้นแคระแกร็น ไม่ติดผล หรือติดผลน้อยมาก ส่วนโรคใบด่างเรียวเล็ก มักพบใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อน ม้วนงอ ต่อมาใบเรียวเล็กกว่าปกติ หากรุนแรงมาก ใบจะเรียวเล็กเหลือแต่เส้นกลางใบ ต้นชะงักการเจริญเติบโต ไม่ติดผล หรือมีผลเล็ก ถ้าเกิดโรคในระยะกล้า จะทำให้ต้นแคระแกร็น ไม่ติดผล

สำหรับโรคใบด่าง จะมีใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือสีเหลือง ใบอ่อนหดย่นเป็นคลื่นมีขนาดเล็กกว่าปกติ และใบยอดที่ปลายกิ่งบิดเกลียว ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดผลน้อย ผลด่าง หากเกิดโรคในระยะกล้า ต้นแคระแกร็น ใบเล็กและลดรูป ในส่วนของโรคเหี่ยวลาย มักพบใบมีแผลเนื้อเยื่อตายสีน้ำตาลเข้มหรือดำกระจายทั่วทั้งใบ หรือเกิดรอยด่างสีเหลือง ใบยอดด่างและยอดสั้น ใบอ่อนแห้งตายจากปลายใบเข้าหาโคนใบ ใบแก่มีสีเหลืองขนาดเล็กกว่าปกติ ตามแนวยาวของลำต้นและก้านใบมีรอยขีดสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลเสียรูปทรง ผิวผลพบเนื้อเยื่อตายเป็นวง กรณีรุนแรง กิ่งและลำต้นเปลี่ยนเป็นสีดำ เหี่ยวเฉา และตายในที่สุด

ในพื้นที่ที่พบการระบาดของทั้ง 4 โรคนี้ ให้เกษตรกรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อไวรัสและแมลงพาหะ ถ้าพบต้นที่เป็นโรคให้ถอนแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที ควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว ให้เก็บเศษซากพืชส่วนที่หลงเหลือในแปลงไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก หากพบโรคในแปลงที่จะปลูกฤดูถัดไป ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อใกล้แปลงปลูกมะเขือเทศ เช่น ขึ้นฉ่าย ยาสูบ งา กะเพราขาว ตำลึง หงอนไก่ บานไม่รู้โรย ทานตะวัน พืชตระกูลแตง พืชตระกูลถั่ว และพืชตระกูลมะเขือ อีกทั้งควรเลือกใช้กล้าพันธุ์มะเขือเทศที่ต้านทานโรค แข็งแรง และปลอดโรคมาปลูก

เชื้อไวรัสสาเหตุของโรคทั้ง 4 ยังไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง

ป้องกันกำจัดได้ โดยการกำจัดแมลงพาหะ เช่น แมลงหวี่ขาว และเพลี้ยต่างๆ

🦗 ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ กำจัด เพลี้ย แมลงหวี่ขาว และแมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)

🌿 ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี [FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..
🎖คลิกลิงค์เพื่อสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ http://www.farmkaset..link..
🦗ข้อมูล มาคา

มาคา เป็นยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ กำจัดแมลงศัตรูพืช
สกัดจากพืช_ 100% จากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค
*การใช้มาคากำจัด เพลี้ย และแมลงศัตรูพืช กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

🌿ข้อมูล FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig's law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แคลเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ธาตุแคลเซียม [Ca] ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น

อ้างอิงข้อมูล http://www.farmkaset..link.. อ้างอิงรูปภาพ http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3701
ปุ๋ยน้ำสำหรับมันสำปะหลัง บำรุงแรกปลูกถึง 3 เดือนด้วย FK-1 เร่งหัว ระเบิดหัวมันสำปะหลังด้วย FK-3C
ปุ๋ยน้ำสำหรับมันสำปะหลัง บำรุงแรกปลูกถึง 3 เดือนด้วย FK-1 เร่งหัว ระเบิดหัวมันสำปะหลังด้วย FK-3C
ปุ๋ยน้ำสำหรับมันสำปะหลัง บำรุงแรกปลูกถึง 3 เดือนด้วย FK-1 เร่งหัว ระเบิดหัวมันสำปะหลังด้วย FK-3C
ปุ๋ยน้ำ สำหรับฉีดพ่นมันสำปะหลัง ในช่วงแรกปลูกตลอดไปจนมันสำปะหลังอายุ 3 เดือน ควรให้ธาตุอาหารหลัก N ไนโตรเจน P ฟอสฟอรัส และ K โพแตสเซียม ในอัตรส่วนเท่ากัน พร้อมด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง อย่างเช่น Zn สังกะสี Ca แคลเซียม Mg แมกนีเซียม ซึ่งทั้งหมดนี้ จะส่งเสริมการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง ให้โตไว มีความสมบูรณ์แข็งแรง และเมื่อต้นมันสำปะหลังสมบูรณ์แข็งแรง ด้วยธาตุอาหารที่ครบถ้วน ก็จะมีภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงได้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง

ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงมันสำปะหลัง ตั้งแต่แรกปลูก จนมีอายุได้ 3 เดือน เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร]

เมื่อมันสำปะหลัง อายุ 3 เดือนขึ้นไป

เป็นช่วงที่มันสำปะหลังเริ่มลงหัว หากเราขุดดูราก จะได้เห็นว่า รากมันสำปะหลังเริ่มโตขึ้นและกลายเป็นหัวมันสำปะหลัง หากดูแลได้ดีมากๆในช่วง 1-3 เดือนแรก หัวมันสำปะหลังในช่วง 3 เดือนนี้ ของบางไร่ อาจจะหัวโตเลยทีเดียว

มันสำปะหลังช่วงลงหัว จะต้องการธาตุหลัก ในสัดส่วนที่ต่างจากช่วง 3 เดือนแรก คือในช่วงลงหัวนี้ จะเป็นช่วงที่มันสำปะหลังทำการสะสมแป้งและน้ำตาล คือจะดึงธาตุอาหารจากส่วนต่างๆของต้นมันสำปะหลังเอง มาสะสมเป็นหัวมันสำปะหลัง เพราะฉนั้น หากในช่วง 3 เดือนแรก บำรุงให้โตได้เท่าไร ทรงพุ่มใหญ่เท่าไร ยิ่งจะส่งเสริมให้การดึงธาตุอาหาร และการลำเลียงธาตุอาหารมาสะสมเป็นหัวนั้น ทำได้ดี และมีหัวใหญ่ น้ำหนักดี มีคุณภาพ

หลายคนสมัยก่อน กล่าวว่า กลัวว่า ถ้าบำรุงให้ทรงพุ่มใหญ่ ใบเยอะ มันสำปะหลังจะบ้าใบ และทำให้หัวเล็ก เปอร์เซ็นต์แป้งไม่ดี อันนี้เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ในความเป็นจริงแล้ว ช่วง แรกปลูกจนถึง 3 เดือน ต้นยิ่งโต ทรงพุ่มใหญ่ ใบมาก ยิ่งเป็นผลดี

แต่.. เมื่อมันสำปะหลังอายุ 3 เดือนขึ้นไป คำว่ามันบ้าใบอาจจะเป็นจริงได้ ถ้าเราไปเร่งโต โดยให้เฉพาะปุ๋ยตัว N หรือ ไนโตรเจน เพียงอย่างเดียว ที่ถูกต้องคือ ต้องลดปริมาณการให้ธาตุ ไนโตรเจน แต่ไปเพิ่มปริมาณ ธาตุ ​K หรือ โพแทสเซียมแทน เนื่องจาก ไนโตรเจนนั้นจะเร่งยอด เร่งใบ แต่หน้าที่ของ โพแทสเซียมนั้น คือส่งเสริมกระบวนการ เคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล ลำเลียงอาหาร มาสะสมที่หัว ทำให้ขยายขนาดหัวมันสำปะหลังให้ โต น้ำหนักดี เปอร์เซ็นต์แป้งสูง

FK-3C ที่ออกแบบมาเพื่อเร่งหัวมันสำปะหลังโดยเฉพาะ จึงเป็นสูตร 5-10-40 ซึ่งให้ ธาตุ ไนโตเจน 5 เปอร์เซ็นต์ ให้ธาตุ ฟอสฟอรัส 10 เปอร์เซนต์ และให้ โพแทสเซียม มากถึง 40 เปอร์เซนต์ เพื่อส่งเสริมกระบวนการ เคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล มากสะสมเป็นหัวมันสำปะหลัง

ฉีดพ่น FK-C เพื่อเร่งหัวมันสำปะหลัง ตั้งแต่มันสำปะหลังมีอายุ 3-4 เดือนขึ้นไป

[FK-3C แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร]
อ่าน:3466
56 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 5 หน้า, หน้าที่ 6 มี 6 รายการ
|-Page 5 of 6-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยไฟ ในต้นกล้วย และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/30 10:03:49 - Views: 3416
กำจัดเพลี้ย ใน ดอกมะลิ เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/06 16:00:11 - Views: 3446
โรคมันสำปะหลัง มันใบไหม้ โรคใบจุดมันสำปะหลัง โรคเชื้อราในมันสำปะหลัง ไอเอส สารอินทรีย์
Update: 2566/10/21 10:22:33 - Views: 3453
กำจัดเชื้อรา ทุเรียน ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/30 10:06:22 - Views: 3462
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราสีชมพู ใน ยางพารา ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/17 14:39:39 - Views: 3554
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคเน่าเละ ใน ต้นหอม ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/12 10:36:34 - Views: 3436
การป้องกันกำจัดเพลี้ยทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน ควบคุมเพี้ยไก่แจ้ ด้วยศัตรูธรรมชาติ กระตุ้นใบอ่อนลดเวลาการทำลาย ใช้ ยาฆ่าเพลี้ยอินทรีย์
Update: 2564/02/27 23:36:16 - Views: 3550
สุดยอดสมุนไพรจีนมากคุณค่า 13 ชนิดที่ควรรู้
Update: 2563/02/14 08:49:19 - Views: 3601
โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)
Update: 2564/04/27 09:44:54 - Views: 3713
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค - สู่สวนผลผลิตที่ยั่งยืน สำหรับต้นกล้วย
Update: 2567/02/13 09:50:16 - Views: 3458
ต้นหอม รากเน่า!! ใบไหม้ ใบจุด ใบเหลือง โรคแอนแทรคโนส โรคหอมเลื้อย โรคราต่างๆป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และ ฟื้นฟู ด้วย FK-T
Update: 2567/03/22 10:52:43 - Views: 3578
กำจัดเพลี้ย ใน กระเพรา เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/08 13:59:06 - Views: 3413
หนอนในต้นเสาวรส: วิธีแก้ปัญหาแมลงที่เข้าทำลายพืช
Update: 2566/11/17 13:36:41 - Views: 3410
อาการใบหงิกม้วนในมะเขือเทศเชอร์รี่แดง
Update: 2564/08/27 02:23:08 - Views: 3620
รับซื้อมันเส้นสะอาด จำนวนมาก ราคาดีที่สุด
Update: 2558/12/10 13:45:36 - Views: 3476
ปุ๋ยสำหรับพริก ยาแก้พริกใบไหม้ แก้รา ยาปราบศัตรูพริก #ปุ๋ยพริก #ยารักษาโรคพริก #พริกใบไหม้
Update: 2564/10/28 09:54:32 - Views: 3394
INVET ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้ง ศัตรูพืชสำหรับต้นเงาะ และเร่งฟื้นฟู ด้วย ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 30-20-5
Update: 2567/02/26 13:38:57 - Views: 3413
มะกรูด ใบเหลือง ใบหงิก ใบไหม้ ราดำ กำจัดโรค เชื้อราต่างๆในมะกรูด ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK สวน ปุ๋ย
Update: 2565/11/04 11:34:52 - Views: 3463
กำจัดเพลี้ย ใน ฝรั่ง เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/08 16:02:07 - Views: 3425
ปรับปรุงโครงสร้างดิน ช่วยไห้ดินร่วยซุย ระบายน้ำดี สร้างระบบรากฝอย สำหรับฉีดพ่น ต้นผักสลัด
Update: 2567/02/13 09:55:17 - Views: 3435
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022