[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - โรคราแป้ง
442 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 44 หน้า, หน้าที่ 45 มี 2 รายการ

โรคแตงไทย โรคแตงโม และ โรคที่กิดกับพืชตระกูลแตง
โรคแตงไทย โรคแตงโม และ โรคที่กิดกับพืชตระกูลแตง
โรคที่เกิดกับผักตระกูลแตง

พืชตระกูลแตงมีหลายชนิด บางชนิดใช้รับประทานแบบพืชผักบางชนิดรับประทานแบบผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นแตงชนิดไหนก็ตามมีโอกาสที่จะเป็นโรคชนิดเดียวกันได้ แตงที่รับประทานแบบผลไม้ได้แก่ แตงโม แตงกวา แคนตาลูป แตงไทย แตงที่ใช้เป็นอาหารจำพวก ผัก ได้แก่ แตงกวา แตงร้าน มะระ ฟักทอง ฟัก แฟง น้ำเต้า ตำลึง บวบ ฯลฯ

จากการสำรวจพบว่าพืชในตระกูลแตงแต่ละชนิดมีโรคระบาดที่สำคัญและเป็นอุปสรรคต่อการปลูกมากหลายโรคด้วยกัน แต่ละโรคทำลายพืชตระกูลแตงเกือบทุกชนิดและเป็นโรคเดียวกัน ดังนั้นการศึกษาและเรียบเรียงคำแนะนำเรื่องโรคใดโรคหนึ่งและวิธีป้องกันกำจัดจึงสามารถใช้รวมไปได้กับพืชทุกชนิดในตระกูลแตง

โรคผักตระกูลแตงและวิธีป้องกันกำจัด

โรคผักตระกูลแตงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจไม่แพ้โรคผักของพืชตระกูลอื่น ๆ หรือพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ และกำลังจะได้รับการส่งเสริมให้พืชบางชนิดในตระกูลนี้ปลูกกันอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้ผลิตอาหารกระป๋องสำเร็จรูป เช่น ทำแตงกวาดอง ฯลฯ และเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องประสพปัญหาเรื่องโรค ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการเอกสารวิชาการเกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องโรคและวิธีป้องกันกำจัด เช่น รายละเอียดเรื่องระดับความเสียหายความรุนแรงของโรค การแพร่ระบาด สาเหตุของโรค สภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรคพาหะนำโรคและวิธีป้องกันกำจัดที่ให้ผลดีที่สุดและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย การป้องกันกำจัดโรค โดยวิธีใช้สารเคมีฉีดพ่นอาจไม่ได้ผลเลยและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นโดยไม่จำเป็น เช่น ในกรณี ที่เกิดโรคขาดธาตุอาหารหรือสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เชื้อโรค ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องทราบสาเหตุที่แท้จริงเสียก่อน แล้วจึงจะคัดเลือกวิธีการป้องกันกำจัดที่แท้จริงมาใช้หรืออาจจะต้องใช้วิธีการหลาย ๆ วิธีเข้าร่วมกันเพื่อให้การป้องกันกำจัดมีประสิทธิภาพสูง โรคจะได้ลดน้อยลง เพื่อที่จะให้การเรียบเรียงสมบูรณ์จึงได้จัดแบ่งโรคของผักตระกูลแตงออกเป็นหมวดหมู่ตามสาเหตุของโรค

โรคปลายผลเน่าเกิดจากขาดธาตุแคลเซียม

โรคปลายผลเน่าแห้งสีดำ (Blossomend rot)

โรคปลายผลเน่าเป็นโรคที่ทำความเสียหายมากกับแตงโม โดยเฉพาะพันธุ์ชาร์ลสตันเกรย์ ซึ่งปลูกไม่แพร่หลายนัก เพราะพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่มากไม่เป็นที่นิยมของผู้ซื้อ แต่ก็มีข้อดีที่เก็บได้นานกว่าแตงพันธุ์ชูก้าเบบี้ ซึ่งนิยมปลูกกันมากในปัจจุบัน พันธุ์ชูก้าเบบี้เก็บไม่ได้นานเท่าชาร์ลสตันเกรย์ก็จริงแต่เนื่องจากไม่เป็นโรคนี้และมีขนาดกำลังดี จึงนิยมปลูกกันมาก นอกจากแตงโมแล้ว แตงร้านและแตงกวาก็ปรากฎว่าเป็นโรคนี้บ้างเล็กน้อย

ลักษณะอาการของโรค

อาการเหี่ยวเริ่มจากปลายผลเข้ามาต่อมาเนื้อเยื่อจะแห้งแข็งเป็นสีน้ำตาบ เนื่อเยื่อจะยุบเข้าไปและมักจะมีเชื้อราอื่น ๆ มาขึ้นบนเนื้อเยื่อที่ตายแล้วทำให้เกิดอาการเน่าขึ้นภายหลัง

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียมและเกี่ยวกับการดูดซึมน้ำของรากแตงโมด้วย สาเหตุทั้งสองมีความสัมพันธ์กันมาก เพราะธาตุแคลเซียมจะช่วยให้การดูดซึมที่รากดีขึ้นด้วย แตงโม คงต้องการธาตุนี้มากกว่าพืชอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน

การป้องกันกำจัด

การปลูกแตงโมควรใช้ปูนขาวใส่ลงในดินสัก 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ หรือจะใช้ฉีดพ่นด้วยธาตุแคลเซียม เช่น แคลเซียมคลอไรด์ 0.2 % และควรให้น้ำสม่ำเสมอหรือต้องปลูกในที่ ๆ มีน้ำในระดับที่แตงโมจะดูดซึมได้สม่ำเสมอตลอดเวลา

โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

1. โรคเหี่ยวเฉาเกิดจากแบคทีเรีย (Bacterial wilt)

แตงกวาเป็นโรคนี้มากกว่าอย่างอื่น และแตงโมมีความทนทานต่อโรคนี้สูงมากจนเกือบจะไม่พบโรคนี้เลย ถ้ามีโรคนี้ระบาดจะเสียหายเพราะแตงจะเหี่ยวภายในเวลาอันรวดเร็ว

ลักษณะอาการของโรค

อาการเกิดที่ใบโดยแสดงอาการเหี่ยวเป็นบางใบก่อน อาการเหี่ยวลามไปที่ขั้วใบและเถาแตง ทำให้เถาแตงเหี่ยวตายทั้งต้นในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเหี่ยวมาก ๆ ผลจะเหี่ยวแห้งแล้วต้นพืชจะตาย

การตรวจโรคนี้ใช้วิธีตัดลำต้นที่เป็นโรคตามขวางเพื่อดูเชื้อบักเตรีซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวขุ่นข้นสีเหมือนสีน้ำนม ออกมาจากรอยตัด บางครั้งไม่พบของเหลวดังกล่าวควรนำไปแช่ในน้ำที่สะอาดถ้าพบของเหลวดังกล่าวไหลออกมาทำให้น้ำขุ่นกว่าเดิมก็แสดงว่าพืชนั้นมีแบคทีเรียในเนื้อเยื่อพืชก็ต้องนำมาทำการเพาะเลี้ยงเชื้อหาเชื้อบริสุทธิ์

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งแพร่ระบาดโดยแมลงศัตรูพืช

การป้องกันกำจัด

ถอนต้นที่เป็นโรคไปทำลายเสีย กำจัดแมลงที่อาจนำเชื้อโรค

2. โรคใบจุด โรคใบจุดของผักตระกูลแตงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุอยู่ 2 ชนิด

ก. โรคใบจุดเกิดจากแบคทีเรีย (Angular leaf spot_ Bacterial spot jor Blight)

แตงแคนตาลูป แตงโม เป็นโรคนี้มากกว่าอย่างอื่น ส่วนแตงกวา น้ำเต้า มีความคงทนต่อโรคนี้ต่างกัน

ลักษณะอาการของโรค

อาการเริ่มแรกจะเป็นเป็นจุดฉ่ำน้ำ ขนาดแผลไม่แน่นอน ในที่ ๆ มีอากาศชื้นอาจพบเชื้อแบคทีเรียดูดออกมาที่แผล

เมื่อแผลแห้งจุดของแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและใบจะแห้งร่วงไปในที่สุด อาการของโรคเป็นเฉพาะที่ เช่น ที่กิ่ง ใบ ผล แต่แผลที่ผลมีขนาดเล็กกว่า ถ้าเป็นมาก ๆ ผลจะร่วง

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas lachrymans (E.F. Smith and Bryan) Carsner

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่ในเศษซากพืชและอยู่ในเมล็ด การป้องกันจึงควรแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำร้อน ประมาณ 55 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที ก่อนปลูก หรือปลูกพืชหมุนเวียน 3 ปี ควรทำลายเศษซากพืชเสียก่อนปลูกพืชและใช้ยาฆ่าแมลงที่อาจนำเชื้อโรคมาสู่ต้นพืช

ข. โรคใบจุด (Bacterial leaf-spot)

พืชที่เป็นโรคนี้ได้แก่ แตงกวา ฟักทอง แตงโม น้ำเต้า

ลักษณะอาการของโรค

โรคใบจุดนี้มีอาการเหมือนกับชนิดแรกต่างกันพบโรคเฉพาะที่ใบไม่เป็นที่ผล

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas cucurbitae

การป้องกันกำจัด

ใช้วิธีการป้องกันกำจัดเหมือนชนิดแรก

โรคที่เกิดจากเชื้อรา

1. โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)

โรคราน้ำค้างจัดว่าเป็นโรคที่สำคัญของแตงโมทุกพันธุ์รวมทั้งพืชในตระกูลนี้อีกหลายชนิดเช่น แตงกวา แตงร้าน มะระ ฯลฯ ส่วนพวกตำลึง บวบ ฟักทอง ฟักข้าว ไม่ค่อยพบโรคนี้ระบาด

ลักษณะอาการของโรค

ใบแตงโมมีแผลสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลอ่อนประปรายทั่วใบ ทำให้ใบแห้งและเหี่ยวอาการจะปรากฎบนใบแก่โคนเถาก่อน โรคระบาดรวดเร็วมากจะทำให้เถาแตงเหี่ยวตายหมดทั้งเถาได้ในเวลาที่อากาศชื้น ด้านท้องใบจะมีกระจุกของราสีขาวหม่นขึ้นบนแผลคล้ายผงแป้ง โรคมักจะระบาดรุนแรงและรวดเร็ว เมื่อแตงกำลังให้ผล ทำให้เถาแตงตายไปก่อนที่แตงโมจะสุก

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis ซึ่งเป็นเชื้อราที่แพร่ระบาดไปในอากาศ

การป้องกันกำจัด

1. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย ไอเอส อัตราผสม 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

2. ฉีดพ่นด้วย ไอเอส ชนิดใดชนิดหนึ่งฉีดพ่น 5-7 วันต่อครั้ง

โรคราแป้ง

โรคราแป้งจัดว่าเป็นโรคที่ทำความเสียหายมากอีกโรคหนึ่งของแตงโมทุกพันธุ์และพืชในตระกูลนี้เกือบทุกชนิดเป็นโรคนี้ได้ง่าย

ลักษณะอาการของโรค

ใบมีราสีขาวจับคล้ายผงแป้งโดยเฉพาะด้านบนใบและตามผล เมื่อเชื้อราเริ่มจับใบใหม่ ๆ มีลักษณะเป็นวงกลมสีขาวซึ่งจะขยายออกไปจนคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบแห้งกรอบเป็นสีน้ำตาลอาการใบแห้งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทำให้ใบแห้งหมดทั้งเถาได้ เถาแตงโมจะทรุดโทรมเร็ว

สาเหตุของโรค

โรคราแป้งเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. ซึ่งสร้างสปอร์สีขาวคล้ายผงแป้งจับเคลือบอยู่บนใบและหลุดปลิวแพร่ระบาดไปในอากาศได้ง่าย

การป้องกันกำจัด

1. ควรฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรานี้โดยใช้ยากำมะถันผงชนิดละลายน้ำได้ในอัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ

2. ใช้ยาคาราเทนหรือมิลเด็กซ์

หมายเหตุ อัตราส่วนตามข้างสลากการฉีดพ่นยาดังกล่าวต้องฉีดพ่นในเวลาที่ไม่มีแสงแดดหรืออากาศร้อนจัด และใช้ความเข้มข้นต่ำไว้ก่อนจะไม่ทำให้เกิดอาการใบไหม้ ยาชนิดอื่นไม่ให้ผลดีเท่ายาที่กล่าวมาแล้ว

3. โรคแอนแทรกโนส (Anthracnose)

แตงโมทุกพันธุ์เป็นโรคนี้และจัดว่าเป็นโรคที่ระบาดทั่วไป โรคนี้ไม่ทำให้เนื้อใบเสียแต่ทำให้แตงโม มีรสหวานน้อยลงและมีสีอ่อนกว่าปกติ ยกเว้นแตงแคนตาลูป ซึ่งมีแผลใหญ่และผลเน่าอย่างรวดเร็วและเสียหายมากกว่าแตงพันธุ์อื่น ๆ

ลักษณะอาการของโรค

โรคนี้ทำให้เกิดจุดหรือแผลนูนเล็ก ๆ สีน้ำตาบประปรายทั่วไป แผลดังกล่าวนี้เกิดบนผลแตงโม ทำให้ผลแตงโมมีผิวขรุขระ พันธุ์ที่ไม่มีความต้านทาน แผลจะขยายใหญ่ขึ้นและเนื้อเยื่อตรงกลางแผลจะยุบต่ำลงไปจากระดับเดิมเล็กน้อย ตรงกลางแผลมีเชื้อราเป็นหยดเยิ้มสีชมพูอ่อน เรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้นตามขนาดของแผลที่ขยายใหญ่ขึ้น เช่น แผลบนแตงแคนตาลูป

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum lagenarium

การป้องกันกำจัด

ฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไอเอส อัตราตามข้างสลากทุก ๆ 5-7 วัน เมื่อเริ่มพบโรคระบาดและเก็บผลที่เป็นโรคทิ้ง เพื่อทำให้มีเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น ยาป้องกันกำจัดเชื้อราเกือบทุกชนิดให้ผลในการป้องกันกำจัดใกล้เคียงกัน การใส่ปุ๋ยอินทรีย์และกากพืชจำนวนมากมีผลทำให้โรคลดน้อยลงได้มาก

4. โรคเหี่ยว (Fusarium wilts)

แตงโม แตงกวา แตงร้าน แคนตาลูป เป็นโรคนี้ทั่วไปทุกแห่ง พืชอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกันนี้มีความต้านทานและคงทนต่อโรคสูง จึงไม่ใครพบโรคนี้ ความเสียหายเกิดขึ้นมากน้อยแล้วแต่จำนวนต้นที่เหี่ยวตาย แต่จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งซึ่งเป็นมากในระยะที่แตงกำลังตกผล ซึ่งอาจจะทำให้ต้นเหี่ยวตายไปก่อนที่จะเก็บผล

ลักษณะอาการของโรค

ใบแก่ที่อยู่ที่โคนเถาแตงจะเริ่มเหลืองและเหี่ยวตายก่อนแล้วลามไปจนถึงปลายเถาบางต้นมีลำต้นแตกช้ำ แตงมักจะเริ่มเหี่ยวจากแขนงใดแขนงหนึ่งก่อน แล้วจะแห้งตายหมดทั้งเถาในเวลาต่อมา

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp. ซึ่งเป็นเชื้อราที่ชอบอาศัยอยู่ในดินที่เป็นทรายมากและเป็นดินกรด ดินที่ปลูกแตงติดต่อกันหลายปีมักจะมีโรคนี้ระบาดมาก

การป้องกันกำจัด

1. ควรปรับดินด้วยปูนขาวประมาณ 100-150 กก. ต่อไร่ และเมื่อจะปลูกซ้ำ ที่ควรจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากหลังจากการใส่ปูนขาวจะช่วยทำให้โรคนี้ลดน้อยลง ถ้าปุ๋ยอินทรีย์จำพวกปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์หายากก็ควรพิจารณาปลูกพืชตระกูลถั่วแซมหรือสลับแล้วไถกลบต้นถั่วให้เป็นปุ๋ยพืชสดหรือกากพืชลงไปในดิน และไม่ควรปลูกแตงซ้ำที่เกินกว่า 3 ปี

2. ใช้ ไอเอส อัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร รดโคนต้นให้ชุ่ม

หมายเหตุ การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มากจะทำให้เป็นโรคนี้มากขึ้น ควรใส่แต่น้อยแต่ใส่หลาย ๆ ครั้ง

5. โรคใบจุด

แตงมีโรคใบจุดเกิดจากเชื้อราต่างกันหลายชนิด มีอาการคล้ายคลึงกัน การระบาดของโรคไม่รุนแรงเหมือนโรคอื่น ๆ โรคใบจุดของแตงมีดังต่อไปนี้

5.1 โรคใบจุดของแตงเกิดจากเชื้อออเทอนาเรีย (Alternaria)

ลักษณะอาการของโรค

จุดแผลจะฉ่ำน้ำ มีสีเหลือง และสีของแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือเทากลาง ๆแผลมีสีดำ เมื่อแผลมีขนาดใหญ่ แผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มและพบเชื้อราขึ้นเรียงเป็นวงแหวนกลาง ๆ แผลอาจฉีกขาด ผลของต้นที่เป็นโรคมักจะสุกก่อนกำหนด และอาจพบแผลที่ผลและที่ลำต้น

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Alternaria cucumerina (Ellis and Everhart Elliott)

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากเชื้อราอาศัยอยู่ในเศษซากพืช การป้องกันกำจัดจึงควรทำดังนี้

1. ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรค

2. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค

3. คลุกยาคลุกเมล็ด เช่น ไดเทนเอ็ม 45 ชนิดสีแดงเสียก่อนปลูก

4. ปลูกพืชหมุนเวียน 3 ปี

5. ฉีดพ่นด้วย ไอเอส

5.2 โรคใบจุดเกิดจากเชื้อราเซอคอสปอรา

ลักษณะอาการของโรค

จุดของแผลมีขนาดเล็กเป็นรูปกลมหรือเหลี่ยมมีสีน้ำตาล กลาง ๆ จุด มีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อนขอบของแผลมีสีม่วง หรือน้ำตาลอ่อน ส่วนมากเกิดด้านใบ

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Cercospora citrullina Cook

การป้องกันกำจัด

ใช้วิธีเดียวกับโรคที่เกิดจากเชื้อออเทอนาเรีย

6. โรคใบแห้ง (Corynespora blight)

แตงกวาเป็นโรคได้ง่าย

ลักษณะอาการของโรค

ลักษณะของแผลที่ใบจะกลมหรือเหลี่ยมมีสีน้ำตาล กลาง ๆ แผลมีสีเขียวหรือเหลือง เมื่อมีแผลมากและแผลมีขนาดใหญ่ขึ้น ใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งตาย แผลบนกิ่งก้าน มีลักษณะยาวตามส่วนของพืช ผลที่ถูกเชื้อเข้าทำลายมักจะเป็นผลที่แก่และผลที่มีสีเหลือง ใบหรือผลอ่อนที่มีสีเขียวเชื้อราชนิดนี้จะไม่เข้าทำลาย

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Corynespora melonia (Cooke) Lindan

การป้องกันกำจัด

1. ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรคและเศษซากพืชหลังเก็บเกี่ยว

2. ใช้ยาเบนเลท ไดเทนเอ็ม 45 หรือ ไดโฟลาแทน ชนิดใดชนิดหนึ่งในการป้องกันกำจัดแต่จากการทดลองพบว่ายาเบนเลทใช้ได้ผลดี

7. โรคดอกเน่า (Choanephora wet-rot)

พืชที่เป็นโรคนี้ได้แก่ น้ำเต้า ฟักทอง และพืชอื่น ๆ

ลักษณะอาการของโรค

บริเวณที่เป็นโรคจะเป็นจุดสีดำขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ฉ่ำน้ำและเน่าเละมักเป็นโรคบริเวณยอดอ่อน ๆ และยอดที่กำลังมีดอกโดยยอดจะมีสีซีดกว่ายอดปกติ ต่อมายอดและผลอ่อนจะแห้ง ส่วนมากจะพบโรคนี้ในเวลาที่มีฝนตากชุกและมีน้ำค้างหรือหมอกลงจัด

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Choanephora cucurbitarum

การป้องกันกำจัด

ใช้ยาซาพรอล หรือไดโฟลาแทน อัตราส่วนตามข้างสลาก ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน

8. โรคผลเน่า

โรคผลเน่าที่พบมากเกิดจากเชื้อรา 2 ชนิด และเป็นมากกับแตงโมและแตงกวา

8.1 โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อพิเทียม (Pythium Fruit rot)

ใช้ยาริดโดมิล เอ็มแซด 72 หรือไดโฟลาแทนหรือซาพรอล อัตราส่วนตามข้างสลาก ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน

ลักษณะอาการของโรค

จะพบโรคนี้ทั้งที่ผลและที่ราก อาการที่ผลจะเน่าและมักพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราปกคลุมอยู่ที่ผิวของผล ถ้าเกิดที่รากจะทำให้รากเน่า

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา Pythium spp.

8.2 โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อดิพโพเดีย (Diplodia fruit rot)

แตงโมเป็นโรคนี้ได้มากที่สุด นอกจากนี้มีแตงกวา และแคนตาลูป

ลักษณะอาการของโรค

เมื่อกดดูบริเวณขั้วของแตงโมที่เป็นโรคจะบุ๋ม เชื้อราจะเข้าบริเวณขั้วก่อนเนื้อเยื่อที่ติดกับขั้วจะเน่าและฉ่ำน้ำ อาการเน่าเกิดขึ้นเร็วมาก เมื่อเป็นมาก ๆ ผลแตงจะมีสีดำ ถ้าอากาศชื้น ๆ จะพบเชื้อราสีเทา คลุมอยู่ที่ผล ถ้าพบเป็นโรคในผลที่ยังอ่อนเชื้อราจะเข้ามาบริเวณปลายผล มีอาการเหมือนบริเวณที่ขั้วของผลแตงโมที่ถูกเชื้อชนิดนี้เข้าทำลาย โดยมีสีอ่อนกว่าบริเวณที่ไม่ถูกเชื้อเข้าทำลาย เมื่อแผลมีขนาดใหญ่สีของแผลจะเข้ม พบเชื้อราบริเวณผิวแตงเห็นได้ชัดเจน ต่อมาผิวแตงจะแห้ง เชื้อราชนิดนี้ทำให้เกิดอาการผลเน่าได้เช่นเดียวกับเชื้อราชนิดแรกที่กล่าวมาแล้ว

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา (Diplodia gossypina coke)

การป้องกันกำจัด

1. ฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา

9. โรครากปม

การปลูกแตงโมในที่บางแห่งมีปัญหาโรครากปมระบาดมาก โรคนี้ไม่ทำให้เถาแตงโมตายแต่ก็ทำให้แตงแคระแกรนไม่ใคร่เจริญเติบโต ทำให้ผลผลิตตกต่ำ

ลักษณะอาการของโรค

ยอดแตงแสดงอาการชูตั้งชันและไม่เจริญยืดยาวออกไป ในเวลากลางวันที่มีอากาศร้อน เถาแตงจะแสดงอาการเหี่ยวและฟื้นเป็นปกติในเวลากลางคืนอีก ถ้าถอนต้นแตงตรวจดูจะพบรากบวมเป็นปมขนาดต่าง ๆ กัน ไม่มีรากฝอยซึ่งเป็นสาเหตุให้การดูดอาหารและน้ำที่รากไม่เป็นปกติเกิดการอุดตันขึ้นเพราะเชื้อโรคเข้าไปอาศัยอยู่และไปกระตุ้นให้เซลส์ของรากโตและมีระบบเนื้อเยื่อรากผิดปกติไป

สาเหตุของโรค

เกิดจากไส้เดือนฝอยชนิดหนึ่ง Meloidogyne spp. ซึ่งตัวเมียจะไชเข้าไปอาศัยอยู่ในราก ทำให้รากบวมโตเป็นปมและแย่งอาหารจากราก

การป้องกันกำจัด

1. ใช้ยาฟูราดาน อัตรา 3 กรัม รองก้นหลุมเมื่อปลูก

2. ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกและกากพืชเพื่อปรับปรุงดินจะช่วยลดปริมาณการเป็นโรคลง โดยเฉพาะการปลูกในดินร่วนปนทราย

3. ถอนต้นพืชที่เป็นโรคทิ้งเพื่อกำจัดไข่ตัวเมียที่จะแพร่ระบาดในแปลง

หมายเหตุ ในดินเหนียวและดินที่มีอินทรีย์วัตถุมาก ๆ ไม่ค่อยเป็นโรคนี้

10. โรคยอดหงิกใบด่าง

โรคยอดหงิกใบด่างของแตงโมและพืชอื่น ๆ เกิดจากเชื้อวิสาซึ่งมีศัตรูจำพวกปากดูดเป็นตัวนำเชื้อโรคให้แพร่ระบาดติดต่อกัน จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญอีกโรคหนึ่ง ทำความเสียหายมากเพราะจะทำให้ต้นที่เป็นโรคไม่ผลิดอกออกผล หรือมีผลเล็กผิดปกติ

ลักษณะอาการของโรค

พืชจะแสดงอาการใบมีสีเขียวและเหลืองด่างลายประปรายทั่วใบและเนื้อใบหยักเป็นคลื่น ใบเล็กลง ยอดตั้งชันและชงักการเจริญเติบโต ยอดหก ไม่ผลิดอกออกผลต่อไป

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อวิสาที่มีศัตรูจำพวกปากดูดเช่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรคจากต้นที่เป็นโรคติดต่อไปยังต้นดีได้ง่าย เชื้อวิสาของแตงโมมีหลายชนิดซึ่งทำให้เกิดอาการใกล้เคียงกัน

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากมีศัตรูพืชเป็นตัวนำโรคจึงต้องป้องกันมิให้มีศัตรูดังกล่าวระบาดโดยการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น แลนเนท และเซวิน กำจัดพวกเพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อน และถอนทำลายต้นที่แสดงอาการเป็นโรคออกไปจากไร่ จะช่วยลดโรคนี้หรือป้องกันโรคนี้ได้

หมายเหตุ ศัตรูพวกนี้มีขนาดเล็กมาก แต่พอจะสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพลี้ยไฟตัวเรียวยาวสีเหลืองอมส้ม เคลื่อนไหวรวดเร็ว ตัวแก่มีสีดำและบินได้

Main Content Reference:
กลุ่มงานวิจัยโรคพืชผักและไม้ประดับ กองโรคพืชและจุลชีวเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
thaikasetsart.com
อ่าน:3571
ไม้ดอกเป็นโรค ไม้กระถางเป็นโรค ลักษณะอาการโรค ของไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง
ไม้ดอกเป็นโรค ไม้กระถางเป็นโรค ลักษณะอาการโรค ของไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง
ลักษณะอาการของโรค

อาการของโรคของไม้ดอกกระถาง หรืออาการผิดปกติซึ่งเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ของแสดงอาการได้หลายแบบในเวลาเดียวกัน หรือแสดงอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งบนต้นพืชต้นเดียวกัน หรือปรากฏอาการบนส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของต้นพืช เช่น ปรากฏอาการเป็นแผลจุด แผลไหม้ อาการเน่า อาการเหี่ยว บนราก ลำต้น กิ่งก้าน ใบ ดอก ผล เมล็ด หรืออาจปรากฏอาการทั้งต้น

อาการโรคของไม้ดอกไม้กระถาง มีลักษณะอาการผิดปกติได้ ดังนี้

1. อาการที่ราก

1.1 โรครากเน่า รากเกิดอาการเน่าดำหรือสีน้ำตาล เปลือกล่อนหลุดติดมือออกมา เนื่องจากเชื้อโรคเข้าทำลาย เช่น โรครากเน่า เป็นต้น

1.2 โรครากปม รากจะมีอาการพองออกเป็นปม โดยจะพองออกจากภายในรากมิใช่พองออกมาเพียงด้านใดด้านหนึ่ง เช่น โรครากปมของเยอบีร่าและอาฟริกันไวโอเลท

1.3 โรครากแผล เกิดแผลไปตามความยาวของราก โดยมีรอยสีน้ำตาล หรือน้ำตาลเข้ม ต่อมาจะเป็นช่องทางให้เชื้อต่าง ๆ เข้าทำลายซ้ำเติมได้ดีขึ้น สาเหตุของรากแผลส่วนมากเกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอย

1.4 โรครากกุด รากกุดสั้นเป็นกระจุก ไม่ยืดยาวออกตามปกติ เช่น โรครากกุดของเข็มญี่ปุ่นซึ่งเกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอย

2. อาการที่ลำต้นและกิ่งก้าน

2.1 โรคเน่าคอดิน อาการแบบนี้ใช้เรียกเฉพาะกรณีที่เกิดกับต้นกล้า โดยจะพบแผลเน่าบริเวณโคนต้นที่อยู่ติดกับผิวดิน ทำให้ต้นหักล้มและแห้งตายเป็นหย่อม ๆ เช่น ต้นกล้าของไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดที่พบเน่าตายในแปลงเพาะกล้า โรคนี้เกิดจากเชื้อรา

2.2 โรคโคนเน่า อาการเน่ามีแผลเป็นสีน้ำตาลบริเวณโคนต้น ถ้าถากเปลือกดูจะเห็นว่าใต้เปลือกมีอาการเน่าเป็นสีน้ำตาล เช่น โรคโคนเน่าของปาล์มและกล้วยไม้ เป็นต้น ส่วนมากโรคนี้จะเกิดจากเชื้อรา

2.3 โรคลำต้นเน่า แผลที่พบบริเวณโคนต้นจะขยายลุกลามไปรอบลำต้น ทำให้เปลือกรอบ ๆ ลำต้นเน่า และต้นไม้ตายทั้งต้น หรือบางครั้งเชื้อเข้าทำลายบริเวณลำต้นที่มีความชื้นสูงอยู่เสมอ เช่น บริเวณคาคบไม้ โรคนี้ส่วนมากเกิดจากเชื้อรา เช่น โรคลำต้นเน่าของโป๊ยเซียน เป็นต้น

2.4 โรคยางไหล จะมีอาการยางไหลออกมาจากลำต้น โดยบริเวณดังกล่าวจะมีรอยแผลช้ำ มียางไหลออกมาตามรอยแผลนั้น เช่น โรคยางไหลของแคคตัส ซึ่งเกิดจากเชื้อรา

2.5 โรคปุ่มปม เกิดอาการเป็นก้อนปุ่มปมขึ้นบริเวณกิ่งและลำต้น ส่วนมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

3. อาการที่ใบ

3.1 โรคใบจุด เกิดจุดแผลที่ใบ รูปร่างแตกต่างกันไปในรายละเอียด แล้วแต่สาเหตุที่เข้าทำลาย ขนาดของแผลเป็นเพียงจุดบนใบ อาจเกิดกระจายกันทั่วทั้งใบ ถ้าเกิดจุดแผลมาก ๆ อาจจะทำให้ใบแห้งได้ โรคใบจุดของพืชส่วนมากเกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคใบจุดของเยอบีรา โรคใบจุดของกุหลาบ โรคใบจุดของเบจมาศ เป็นต้น

3.2 โรคใบไหม้ เกิดแผลแห้งตาย มีขนาดของแผลใหญ่กว่าอาการใบจุด ขอบเขตขอบแผลจะกว้างขวางกว่า การไหม้อาจเกิดที่กลางใบ ปลายใบ หรือขอบใบก็ได้ ส่วนมากเกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคใบไหม้ของเฟื้องฟ้า เป็นต้น

3.3 โรคราสนิมเหล็ก แผลขนาดเล็ก สีสนิมโผล่เป็นตุ่มออกมาจากใบพืช ลักษณะคล้าย ๆ กับสีสนิมเหล็ก เมื่อเอามือลูบดูจะมีสปอร์ของเชื้อราติดมือเป็นสีสนิมเห็นได้ชัด โรคนี้เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมของทานตะวัน เป็นต้น

3.4 โรคราน้ำค้าง อาการของโรคนี้แตกต่างกัน ซึ่งพอจะแยกออกได้ดังนี้คือ อาการราน้ำค้างในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มักพบอาการใบลายสีเหลืองเขียวสลับกันตามความยาวของใบ ถ้าอากาศชื้น ๆ อุณหภูมิพอเหมาะจะพบผงสปอร์ของเชื้อสีขาว ๆ เกาะติดที่ใบ ในพืชตระกูลแตงจะเห็นใบมีอาการเป็นแผลจุดเหลี่ยมสีน้ำตาล ส่วนในพืชไม้ดอกต่าง ๆ จะเห็นเป็นใบจุดแผลสีเหลืองด้านบนใบ แต่ใต้ใบจะพบขุยสปอร์สีขาว ๆ โรคราน้ำค้างที่สำคัญ เช่น โรคราน้ำค้างของกุหลาบ เป็นต้น

3.5 โรคราแป้งขาว โรคนี้เกิดจากเชื้อรา โดยจะพบผงแป้งสีขาว ๆ เกาะติดที่ใบคล้าย ๆ กับเอาแป้งไปโรย ขึ้นปกคลุมกระจายตามส่วนต่าง ๆ ของใบหรือทั่วทั้งใบ ต่อมาใบจะเหลืองและแห้งตาย เช่น โรคราแป้งของบานชื่น และโรคราแป้งของกุหลาบ เป็นต้น

3.6 โรคแอนแทรคโนส ใบที่เกิดโรคนี้จะเป็นแผลแห้งสีน้ำตาล ส่วนมากจะเห็นเชื้อรามีลักษณะเรียงเป็นวงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ค่อนข้างชัดเจน ในพืชบางชนิดโรคนี้เกิดได้ทั้งบนใบ กิ่ง และผล สาเหตุเกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแอนแทรคโนสของกล้วยไม้ มะลิ หน้าวัว เป็นต้น

3.7 โรคราดำ ใบที่เกิดโรคนี้จะมีผงคล้ายเขม่าดำคลุมผิวใบหรือส่วนอื่น ๆ ของพืช เมื่อใช้มือลูบจะหลุดออก เพราะเชื้อราชนิดนี้จะไม่แทงเข้าไปในใบพืช เพียงแต่ขึ้นปกคลุมผิวใบ ส่วนมากพบหลังการทำลายของเพลี้ยจั๊กจั่นและแมลงหวี่ขาว เพราะราชนิดนี้จะขึ้นเจริญบนน้ำหวานที่แมลงขับถ่ายออกมา

3.8 โรคเน่าเละ อาการคือ เน่าเละสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นเหม็นรุนแรง เกิดได้ทั้งลำต้น ราก หัว และใบของพืช เมื่อเป็นโรคนี้พืชจะเน่าเละทั้งต้น หรือทั้งหัว สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเน่าเละของกล้วยไม้รองเท้านารี แคคตัส โป๊ยเซียน เป็นต้น

3.9 โรคใบด่าง อาการใบด่างมีหลายลักษณะแล้วแต่สาเหตุที่ทำให้ด่าง อาจเกิดจากเชื้อไวรัส ขาดธาตุอาหาร หรือลักษณะกลายพันธุ์ของพืช สำหรับอาการใบด่างที่เกิดจากไวรัสส่วนมากมีสีเหลืองสลับเขียว เนื้อใบไม่เรียบ เป็นคลื่น และใบมีรูปร่างผิดปกติ เช่น โรคใบด่างเหลืองของฟิตูเนีย โรคใบด่างของกุหลาบ โรคใบด่างของมะลิ เป็นต้น

3.10 โรคแตกพุ่มฝอย บริเวณยอดจะแตกเป็นพุ่มฝอย โดยมีใบเล็ก ๆ รวมกันเป็นกระจุก โรคนี้เกิดจากเชื้อมายโคพลาสมา เช่น โรคแตกพุ่มฝอยของเยอบีรา ดาวเรือง เป็นต้น

4. อาการที่ดอก

พบอาการคล้าย ๆ กับที่เกิดบนใบ เช่น โรคดอกจุด ดอกไหม้ ดอกด่าง ดอกบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ดอกเน่า และแอนแทรคโนส เป็นต้น โรคพวกนี้ส่วนมากเกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส เช่น โรคดอกสนิมของกล้วยไม้ โรคดอกด่างของแคทลียา โรคดอกเน่าของหน้าวัว เป็นต้น

5. อาการที่เกิดกับพืชทั้งต้น

5.1 โรคเหี่ยว ต้นพืชจะแสดงอาการเหี่ยวเฉาในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น การเกี่ยวเนื่องจากการขาดน้ำเมื่อได้น้ำก็จะฟื้นปกติ อาการเหี่ยวใบเหลืองลู่เนื่องจากเชื้อราไปทำลายท่อน้ำและอาหารของพืช อาการเหี่ยวแต่ใบยังเขียวอยู่ระยะหนึ่ง คือแมื่อแดดจัดก็จะเหี่ยว ต่อมาเมื่ออากาศเย็นลงก็จะฟื้นปกติ เป็นอยู่ระยะหนึ่งต่อจากนั้นก็จะเหี่ยวอย่างถาวร โรคนี้เกิดจากการทำลายของเชื้อราหลายชนิด และเชื้อแบคทีเรีย ตัวอย่างเช่น โรคเหี่ยวของฟิตูเนีย โรคเหี่ยวของบานชื่น โรคเหี่ยวของกล้วยไม้ โรคเหี่ยวของมะลิ เป็นต้น

5.2 ต้นพืชแคระแกร็น ต้นพืชจะแสดงอาการแคระแกร็นเมื่อเปรียบเทียบกับต้นปกติ ทั้งนี้อาจเนื่องจากการปฏิบัติดูแลรักษาไม่ดีพอ มีไส้เดือนฝอยหรือแมลงกัดทำลายราก หรือมีเชื้อโรคบางชนิด เช่น ไวรัสเข้าทำลาย ทำให้ต้นพืชไม่สามารถเจริญเติบโตตามปกติได้ มีดอกและผลน้อย

5.3 ต้นพืชเติบโตผิดปกติ โดยต้นที่เป็นโรคจะยืดสูงกว่าต้นปกติ สีเขียวอ่อนและไม่ออกดอก อาจเกิดเนื่องจากได้รับฮอร์โมนที่ผิดปกติ หรือต้นพืชที่ได้รับปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปก็จะทำให้เฝือใบ ไม่ออกดอก เป็นต้น

Reference: baanjomyut.com
อ่าน:3550
โรคราแป้ง ในเงาะ
โรคราแป้ง ในเงาะ
สาเหตุของโรคราแป้ง ที่เกิดขึ้นในเงาะ : เกิดจากเชื้อรา Oidium nephelii

ลักษณะการทําลายของโรคราแป้งในเงาะ

โรคราแป้ง (powdery mildew) สามารถเขาทําลายเงาะได้ทุกระยะการเจริญเติบโต แต่อาการรุนแรงและความเสียหายเกิดที่ผลอ่อน อาการที่สังเกตเห็นได้ คือ ใบอ่อน ช่อดอก ผลอ่อน จะมีผงฝุ่นแป้งปกคลุมอยู ทําให้ผลอ่อนร่วง ถ้าเป็นโรคในระยะที่ผลโตแล้วจะทําให้แลดูสกปรกและเกิดอาการเงาะขนเกรียน ขายไม่ได้ราคา เชื้อนี้จะระบาดในช่วงอากาศเย็นและชื้น ราจะขึ้นปกคลุมผิวของพืชและสร้างอวัยวะคล้ายรากแทงเข้าไปภายในพืชดูดกินน้ําเลี้ยง

การแพร่กระจายและฤดูที่มีการระบาด

สปอร์ของเชื้อราแพร่ระบาดทางลมในระยะที่อากาศแห้งแล้งและเย็น เชื้อราเข้าทําลายเงาะระยะดอกบานและติดผลออนและตกคางที่ผิวผลจนถึงระยะเงาะแก่

การป้องกันและกําจัด

1. ในช่วงแตกใบอ่อนและเริ่มติดผลหมั่นตรวจดูว่าพบราแป้งเขาทําลายใบอ่อนหรือไม่ ถ้าพบ ฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 7 วัน ต่อเนื่อง สองถึงสามครั้ง

2. ในช่วงระยะผลอ่อน ควรฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกันไว้ แม้ยังไม่พบโรค

3. เก็บผลเงาะที่เป็นโรค ใบแป้ง กิ่งแห้ง ที่ร่วงหล่น เผาทำลาย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค

Reference:
main content from trat.doae.go.th
อ่าน:3712
โรคพืช
โรคพืช
โรคพืช หมายถึงลักษณะอาการของพืชที่ผิดไปจากปกติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นบนส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นพืช หรือตลอดทั้งต้น และรวมไปจนถึงการแห้งตายไปทั้งต้น สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืชแบ่งได้ 2 สาเหตุคือ

1. เกิดจากสิ่งมีชีวิต (pathogenic disease) เช่น โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส (virus) เชื้อไมโคพลาสมา

(mycoplasma) เชื้อแบคทีเรีย (bacteria) เชื้อรา (fungi) และไส้เดือนฝอย โรคพืชจะเกิดขึ้นและสามารถแพร่กระจายระบาดออกไปได้ถ้าหากมีเชื้อสาเหตุเหล่านี้ ตลอดจนมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดและการแพร่กระจายของโรคพืชนั้น ๆ การแพร่กระจายของโรคพืชอาศัย น้ำ ฝน ความชื้น ลม ดิน หรือโดยการถ่ายทอด (transmission) ผ่านทางเมล็ดพันธุ์ ส่วนขยายพันธุ์ หรือโดยแมลง

ลักษณะอาการ (symptom) ของโรคพืชซึ่งเกิดจากเชื้อสาเหตุที่แตกต่างกัน จะแตกต่างกันดังต่อไปนี้

1.1) ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส มักมีอาการโรคใบหด ใบหงิก ใบสีเหลืองส้ม ใบด่างเหลือง ใบม้วน

1.2) ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา มักมีอาการโรคใบขาว ลำต้นแคระแกรน แตกกอเป็นพุ่ม หรือใบเหลืองซีด กิ่งแห้งตาย ลำต้นทรุดโทรมและไม่ให้ผลผลิต

1.3) ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะอาการแตกต่างกัน 5 แบบ คือ

1.3.1) เหี่ยว (wilt) อาการเหี่ยวเฉา เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญในท่อน้ำ ท่ออาหารของต้นพืช ทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำและท่ออาหาร จึงเป็นเหตุให้พืชได้รับน้ำและอาหารไม่เพียงพอ เกิดอาการเหี่ยวเฉา หรือเจริญเติบโตผิดปกติและจะตายไปในที่สุด เช่น โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ ถั่วลิสง กล้วย แตงกวา แตงโม มีสาเหตุมาจากเชื้อ Xanthomonas spp._ Pseudomonas spp._ Erwinia spp.

1.3.2) เน่าเละ (soft rot) อาการเน่าและมีกลิ่นเหม็น ทั้งนี้เพราะแบคทีเรียเข้าทำลายเซลล์พืช และมีเชื้อจุลินทรีย์อื่น ๆ ร่วมเข้าทำลายซ้ำเติม โรคพืชแบบนี้มักเกิดกับส่วนของพืชที่อวบน้ำ เช่น โรคเน่าเละของพืชผัก มันฝรั่ง มะเขือเทศ แตงกวา กะหล่ำ พริก ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อ Erwinia spp.

1.3.3) แผลเป็นจุด (spot หรือ local lesion) อาการจุดแห้งตาย เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์หรือในเซลล์ ทำให้เซลล์บริเวณนั้นตายเป็นแผลแห้งมีขอบเขตจำกัด เช่น โรคใบจุดของฝ้าย โรคใบจุดของถั่วเหลือง โรคขอบใบแห้งของข้าว โรคแคงเคอร์ของส้ม โรคใบจุดของยาสูบ เชื้อสาเหตุ ได้แก่ Xanthomonas sp._ Pseudomonas spp.

1.3.4) ไหม้ (blight) อาการใบไหม้ตาย เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อน แล้วแผ่ขยายไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีขอบเขตจำกัด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ แต่ไม่ทำลายเนื้อเยื่อเซลล์ เพียงแต่ทำให้การเคลื่อนย้ายน้ำและอาหารในพืชไม่สะดวก ทำให้ใบและลำต้นมีสีซีด (necrosis) และอาจแห้งตายไปในที่สุด เช่น โรคใบไหม้ของถั่ว ยางพารา แอปเปิ้ล เชื้อสาเหตุได้แก่ Xanthomonas spp. Phythopthora spp. และ Erwinia spp.

1.3.5) ปุ่มปม (gall หรือ tumer) อาการเป็นปุ่มปมเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในเซลล์พืช แล้วสร้างสารบางชนิดออกมากระตุ้นให้เซลล์บริเวณนั้นมีการแบ่งตัวมากขึ้น เช่น โรค crown gall ของมะเขือเทศ โรค gall ของหัวบีท เชื้อสาเหตุได้แก่ Agrobacterium spp. และ Xanthomonas spp.

1.4) ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรา ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรามีมากหลายแบบ เช่น ใบเป็นแผล ใบไหม้ ใบบิด ต้นเหี่ยว รากเน่า โคนต้นเน่า ผลเน่า เมล็ดเน่า ต้นกล้าเน่า หรือต้นแห้งตายไปทั้งต้น ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรามักจะสังเกตเห็นเส้นใย (hypha) สปอร์ (spore) ส่วนสืบพันธุ์ต่างๆ เช่น sporangium_ conidia_ basidiumascus มีสีขาว หรือสีดำ หรือสีน้ำตาล ปรากฏตามรอยแผลอาการของโรค หรือตรงส่วนที่เชื้อสาเหตุเข้าสู่ต้นพืช ตัวอย่างของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้แก่ โรคโคนเน่าคอดินของต้นกล้า โรครากและโคนต้นเน่า โรคราน้ำค้าง โรคเน่าของผลไม้และผัก โรคราแป้งขาว โรคราสนิมเหล็ก โรคเขม่าดำ โรคแส้ดำของอ้อย โรคไหม้ของข้าว โรคใบจุดของข้าวโพด โรคใบจุดตานกของยางพารา โรคแอนแทรคโนส โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ

1.5) ลักษณะอาการของโรคพืชจากไส้เดือนฝอย มักทำให้เกิดโรครากปม รากขอด และลำต้นพืชเหี่ยวเฉาตายไปในที่สุด

2) เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (nonpathogenic disease) อาการของโรคพืชอาจเกิดจากสาเหตุเนื่องจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น การขาดธาตุอาหาร ธาตุอาหารเป็นพิษ ดินเป็นกรด ดินเค็มจัด ดินเป็นด่าง หรือพิษจากสารเคมีบางชนิด สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ทำให้การเจริญเติบโตของต้นพืชผิดปกติ ลำต้นแคระแกร็น มีสีซีด หรือสีผิดปกติ ไม่ให้ผลผลิต โรคพืชซึ่งมีสาเหตุเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต จะเกิดเฉพาะบริเวณ ไม่สามารถแพร่กระจายหรือระบาดไปยังแหล่งอื่นๆ ได้

สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรค สืบศักดิ์ (2540) กล่าวว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคนั้น มีด้วยกัน 4 ประการที่สำคัญคือ เชื้อสาเหตุของโรค พืชอาศัย สภาพแวดล้อม และเวลา ปัจจัยทั้งสี่มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างยิ่งยวด จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เลย หากนำมาเขียนเป็นรูปจะได้รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ซึ่งเรียกว่า “สามเหลี่ยมโรคพืช” ดังแสดงในรูป

Reference: main content from natres.psu.ac.th
อ่าน:3735
ธาตุอาหารพืช โบรอน ซิลิคอน แคลเซียม ไนโตรเจน แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส คาร์บอน โพแทสเซียม สำคัญกับพืชอย่างไร - FK iLab ตรวจวิเคราะห์ดิน ตรวจวิเคราะห์ปุ๋ย รายงานผลออนไลน์
ธาตุอาหารพืช โบรอน ซิลิคอน แคลเซียม ไนโตรเจน แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส คาร์บอน โพแทสเซียม สำคัญกับพืชอย่างไร - FK iLab ตรวจวิเคราะห์ดิน ตรวจวิเคราะห์ปุ๋ย รายงานผลออนไลน์
ธาตุอาหารพืช โบรอน ซิลิคอน แคลเซียม ไนโตรเจน แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส คาร์บอน โพแทสเซียม สำคัญกับพืชอย่างไร - FK iLab ตรวจวิเคราะห์ดิน ตรวจวิเคราะห์ปุ๋ย รายงานผลออนไลน์
ลำดับการทำงานของธาตุอาหารพืช (BIOCHEMICAL SEQUENCE)

ในระบบเกษตรกรรม การให้ปุ๋ยเป็นการเพิ่มปริมาณ ธาตุอาหารให้แก่พืช ในเกษตรแผนใหม่จะให้ปุ๋ยเคมีตามธาตุอาหารหลัก ได้แก่ NPK หรือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) เพื่อให้พืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้โดยตรง ซึ่งเป็นแนวคิด ที่ต่างจากเกษตรธรรมชาติ หรือเกษตรเชิงนิเวศซึ่งเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ในระบบนิเวศ ซึ่งธาตุต่างๆ ก็มีทำงานกันเป็นลำดับขั้น โดยเริ่มจาก

โบรอน > ซิลิคอน > แคลเซียม > ไนโตรเจน > แมกนีเซียม > ฟอสฟอรัส > คาร์บอน > โพแทสเซียม

ในระบบนิเวศเกษตร ปฏิสัมพันธ์ระหว่างธาตุจะเริ่มที่โบรอน ซึ่งธาตุโบรอน (Boron) จะกระตุ้นการทำงานของ ธาตุซิลิคอน (Silicon) ซึ่งเป็นธาตุที่สำคัญต่อการจับตัวกับสารอาหารอื่นๆ และจับกับ ธาตุแคลเซียม (Calcium) ซึ่งต่อมาจะจับกับ ธาตุไนโจรเจน (Nitrogen) โดยไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบหลักของ กรดอะมิโน รหัสทางพันธุกรรม และมีส่วนสำคัญต่อการแบ่งตัวของเซลล์ กรดอะมิโน เป็นองค์ประกอบหลักของโปรตีน และสารตั้งตนในการสร้าง คลอโรฟิลล์ ซึ่งพืชใช้ใน การสังเคราะห์แสง การสร้างคลอโรฟิลล์เองก็ต้องใช้ ธาตุแมกนีเซียม (Magnesium) ในการรับพลังงานของแสงและสะสมพลังงานจากแสงในอาหาร ไนโตรเจน ที่อยู่ใน กรดอะมิโน จึงเป็นธาตุที่จับกับ แมกนีเซียม ในการสร้าง คลอโรฟิลล์ ในพืช พลังงานที่ได้จากการสังเคราะห์แสงจะถูกนำไปใช้ในการสร้างแป้งและอาหารในพืช ซึ่งพลังงานจะอาศัยธาตุ ฟอสฟอรัส (Phosphorus) ในการถ่ายทอดพลังงานไปยังส่วนต่างๆ ของเนื้อเยื้อพืชและ ปฏิกิริยาเคมี ที่ข้องเกี่ยวกับการสร้างอาหารและ สารชีวเคมี ในเซลล์ อาหารและ สารชีวเคมี เหล่านี้ต้องอาศัย ธาตุคาร์บอน (Carbon) เป็นองค์ประกอบหลัก หลังจากอาหารและ สารชีวเคมี ถูกสร้างขึ้นแล้ว ก็จะอาศัยธาตุ โพแทสเซียม (Potassium) ที่มีอยู่มากในน้ำยางหรือท่อลำเลียงอาหารในเนื้อเยื้อพืชช่วยในการขนส่งอาหารและสารชีวเคมีไปตามอวัยวะต่างๆ ในลำต้นพืช

ธาตุโบรอน (Boron – B)

มีอยู่มากในมูลสัตว์ มีบทบาทเกี่ยวที่ช่วยให้รากพืชดูดเอา ธาตุแคลเซียม และ ไนโตรเจน ไปใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนอกจากนี้ยังช่วยให้พืชใช้ธาตุโพแทสเซียมได้มากขึ้น มีบทบาทในการสังเคราะห์แสง การย่อย โปรตีน และ คาร์โบไฮเดรต และเพิ่มคุณภาพทั้งรสชาติ ขนาด และน้ำหนักของผลเพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโตเพราะโบรอนจะควบคุมการดูดและคายน้ำของพืชในขบวนการปรุงอาหารอีกทางหนึ่ง

ธาตุซิลิคอน (Silicon – Si)

พบได้ทั่วไปในทราย หรือ ดินปนทราย ซิลิคอน ทำหน้าที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีขึ้น โดยทำให้ลำต้นแข็งแรงและอ้วนขึ้น ช่วยให้ใบพืชหันเข้าหาแสงมากขึ้น และทำให้พืชทนทางต่อโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและรา เช่น โรคราแป้ง รวมถึงสร้างความทนทานต่อความร้อน หรือความเค็มจัดไปจนถึงความเป็นพิษของโลหะหนักและอลูมิเนียม

ธาตุแคลเซียม (Calcium – Ca)

พบมากในกระดูก เปลือกไข่ ปูนขาว หรือ ยิปซัม แคลเซียมมีส่วนช่วยให้เนื้อเยื้อพืชแข็งแรงขึ้นได้เช่นเดียวกับการสร้างความแข็งแรงของกระดูก และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ช่วยในการทำงานเนื้อเยื้อพืช แม้ว่าพืชจะใช้แคลเซียมในปริมาณที่น้อยเมื่อเทียบกับธาตุอื่นๆ แต่หากพืชได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจะส่งผลให้พืชเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น ผิวของมะเขือเทศเกิดอาการแห้งกรอบ ยอดใบอ่อนไหม้ หรือเกิดจุดด่างในใบผัก เป็นต้น

ธาตุไนโตรเจน (Nitrogen – N)

จะสะสมอยู่มากในพืชตระกูลถั่ว ซึ่งปมราก พืชตระกูลถั่ว จะมีแบคทีเรียที่ช่วยดึง ไนโตรเจน ที่สะสมในดินมาใช้ในการเจริญเติบโต ดังนั้น เราจึงนิยมปลูกปอเทืองเพื่อช่วยปรับปรุงดินและช่วยไ นโตรเจน สะสมในดินมากขึ้น ไนโตรเจน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ โปรตีน และสารพันธุกรรมทั้งในพืชและสัตว์ และเป็นองค์ประกอบของ คลอโรฟิลล์ ซึ่งทำหน้าที่ในการสังเคราะห์แสงในพืช ดังนั้น ดินจึงเป็นหัวใจสำคัญต่อการปลูกพืช โดยแบคทีเรียในปมรากถั่วหรือในดินจะช่วยตรึงก๊าซ ไนโตรเจน ในอากาศและเปลี่ยนรูป ไนโตรเจน ให้อยู่ในรูปของ ไนเตรท ซึ่งพืชสามารถดูดมาใช้ได้ดังภาพด้านล่าง ดินที่มีปริมาณ อินทรีย์วัตถุมากจึงถือเป็นดินที่มีชีวิต

ธาตุแมกนีเซียม (Magnesium – Mg)

เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ คลอโรฟิลล์ เพราะ แมกนีเซียม จะรับพลังงานแสงและช่วยเปลี่ยนรูปให้เป็นพลังงานให้รูปของอาหารจากกระบวนการ สังเคราะห์แสง และช่วยให้ใบพืชมีสีเขียว พืชที่ขาด แมกนีเซียม จึงเกิดอาการใบสีซีด ดินที่ขาดธาตุ แมกนีเซียม มักเป็นดินที่มี อินทรีย์วัตถุ น้อย ดินที่มีทรายมากหรือเป็นกรด ในกรณีที่ใส่ปุ๋ยที่มี โพแทสเซียม มากเกินไปก็ทำเกิดอาการขาด แมกนีเซียม ในพืชเช่นกัน เนื่องจากพืชจะดูดซับ โพแทสเซียม แทนการดูดซับ แมกนีเซียม

ธาตุฟอสฟอรัส (Phosphorus – P)

เป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของ สารพันธุกรรม และ สารชีวเคมี ที่ช่วยเก็บพลังงานในสิ่งมีชีวิตซึ่งถูกสร้างจากกระบวนการ สังเคราะห์แสง มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของราก และช่วยรากพืชดูดซับสารอาหารในดินได้หลายชนิด การขาด ฟอสฟอรัส จะทำให้พืชหยุดชะงักการเติบโตได้ เนื่องจาก ฟอสฟอรัส เป็นธาตุที่จับเม็ดดินได้แข็งแรง จึงแนะนำให้ขุดหน้าดินขึ้นมาเพราะจะทำให้ดินถูกน้ำกัดเซาะได้ง่าย จึงแนะนำให้ปลูกหญ้าหรือพืชคลุมดินเพื่อรักษาหน้าดินและ ฟอสฟอรัส ให้สะสมอยู่ในดินมากขึ้น

ธาตุคาร์บอน (Carbon – C)

สารอินทรีย์ทุกชนิดล้วนมี ธาตุคาร์บอน ในปริมาณที่สูง รวมถึงดิน ซากพืชซากสัตว์ หรือปุ๋ยหมักต่างๆ ล้วนมีคาร์บอนในปริมาณสูง อีกทั้งในบรรยากาศเองก็มี คาร์บอน ในรูป ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในปริมาณที่มากอยู่แล้ว จึงมักไม่มีปัญหา ธาตุคาร์บอน ขาดแคลนในการเพาะปลูก

ธาตุโพแทสเซียม ( Potassium – K)

เป็นธาตุที่สะสมอยู่ทั่วไปในดินและมักละลายในน้ำหรือของเหลว ในเนื้อเยื้อได้ดี หน้าที่ของ โพแทสเซียม จะต่างจาก ไนโตรเจน และ ฟอสฟอรัส ตรงที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตโดยตรง แต่ทำหน้าที่ในการรักษาสมดุลน้ำในเนื้อเยื้อพืช ซึ่งป้องกันไม่ให้เกิด ใบเหี่ยว และช่วยให้การคายน้ำของใบพืชเป็นไปอย่างปกติ

จากหลักการของเกษตรธรรมชาติ ธาตุที่อยู่ในธรรมชาติก็มีการทำงานเป็นลำดับขั้นร่วมกับสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืช แบคทีเรียหรือเชื้อรา จนเกิดการหมุนเวียนสารอาหารภายในระบบนิเวศ การใส่ปุ๋ย NPK เพียงอย่างเดียวเพื่อเร่งให้พืชเจริญเติบโตนั้นเป็นการตัดวงจรการไหลเวียนสารอาหารในธรรมชาติและทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในดิน ดังนั้น การทำให้ดินมีชีวิตจึงเป็นหัวใจหลักของการทำเกษตรเชิงนิเวศ

FK iLab ตรวจวิเคราะห์ค่าดิน และปุ๋ย

FK iLab เป็นเว็บไซต์ให้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารในดิน และค่าธาตุอาหารในปุ๋ย ด้วย LAB มาตรฐาน ตรวจวิเคราะห์โดยนักวิชาการเฉพาะด้าน ที่มีความชำนาญ โดยผู้ใช้บริการสามารถ เลือกค่า ธาตุอาหารต่างๆที่ต้องการตรวจได้ บนเว็บไซต์ และส่งตัวอย่างดิน หรือปุ๋ยที่ต้องการตรวจไปยัง ห้องปฏิบัติการ ผ่านทางไปรษณีย์ และรออ่านผลตรวจได้ทางหน้าเว็บไซต์

สามารถใช้บริการได้ที่ http://www.farmkaset..link..
หรือเข้าเว็บไซต์ FarmKaset.ORG และคลิกที่เมนู iLab



References

http://www.farmkaset..link..ำดับการทำงานของธาตุอา/

blog.agrivi.com/post/benefits-of-silicon-on-plant-growth

http://www.farmkaset..link..
http://www.farmkaset..link..
http://www.farmkaset..link..
http://www.farmkaset..link..
il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/chapter1/chapter1_nitrogenhtm

http://www.farmkaset..link..
journals.plos.org/plosone/article?id=1371/journal.pone.0171321

horttech.ashspublications.org/content/17/4/442.full

http://www.farmkaset..link..
5k.web.tr/basinda/June09_Lovel.pdf

bioferti.com/microbe-granular-formula
อ่าน:3584
เมล่อนโคนเน่า ราน้ำค้างเมล่อน ราแป้ง เพลี้ยไฟเมล่อน ฉีดพ่นด้วย ยาอินทรีย์ ไอเอส มาคา และ ไอกี้-บีที เร่งฟื้นฟูด้วย FK-1
เมล่อนโคนเน่า ราน้ำค้างเมล่อน ราแป้ง เพลี้ยไฟเมล่อน ฉีดพ่นด้วย ยาอินทรีย์ ไอเอส มาคา และ ไอกี้-บีที เร่งฟื้นฟูด้วย FK-1
โรคราน้ำค้างเมล่อน (Downy Mildew) เกิดจากเชื้อ Pseudoperonospora cubensis (Berkeley & Curtis) Roslowzew
อาการของโรค ราน้ำค้างในเมล่อน จะเกิดจุดสีน้ำตาล หรืออาจจะเป็นสีเหลือง เป็นจุดเล็กๆ และค่อยขยายใหญ่ขึ้น ขอบใบจะค่อยๆม้วนและร่วง

โรคเหี่ยว ในเมล่อน เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sq. melonis ใบเมล่อนเหี่ยว เป็นสีเหลืองจากยอดลงมา ซอกใบเน่า โคนเน่า และตายในที่สุด

โรคราแป้งในเมล่อน เกิดจากเชื้อรา Erysiphe cichoracearum De candolle Sphaerotheca fuliginea อาการที่สังเกตุได้ จะเป็นจุดเหลืองที่ยอดอ่อน ลำต้น และจุดเหลืองจะใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ใบแห้งตาย

เมล่อนต้นแตก เมล่อนยางไหล เกิดจากเชื้อรา Mycosphaerella melonis จะเกิดจุดวงกลมสีน้ำตาล หรือสีดำ จากขอบใบและขยายสู่กลางใบ จนทำให้ใบร่วง

โรคเมล่อนต่างๆ ทีมีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่นด้วย ไอเอส เพื่อยังยั้งการระบาดของเชื้อรา ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อเร่งฟื้นตัว จากการเข้าทำลายของโรค และกลับมาเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี

แมลหวีขาว เป็นพาหะนำโรคมาติดสู่เมล่อนในแปลงของเรา เป็นแมลงศัตรูพืชที่ต้องกำจัด

เพลี้ยไฟเมล่อน สามารถระบาดแพร่กระจายตัวได้อย่างรวดเร็ว การพัดของกระแสลม ทำให้เพลี้ยระบาดไปได้ในพื้นที่กว้าง เพลี้ยไฟจะเข้าทำลายโดยการดูดน้ำเลี้ยง ทำให้ผลเมล่อนแคระ ไม่โต ต้นเมล่อนอ่อนแอ แห้งตายได้

ฉีดพ่นด้วย มาคา เพื่อกำจัดเพลี้ย และแมลงหวีขาว ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อเร่งฟื้นตัว จากการเข้าทำลายของแมลง

แมลงวันทอง จะเจาเข้าไปในผลเมล่อน เพื่อวางไข่ เป็นการเข้าทำลายเมล่อนโดยตรง

กำจัดหนอนต่างๆในเมล่อน ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ป้องกันกำจัดหนอน ผสมด้วย FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน

ยาอินทรีย์ป้องกันและกำจัดโรค แนะนำ สำหรับ เมล่อน

ยาป้องกันและยับยั้ง โรคใบไหม้ โรคเน่า และโรคต่างๆที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส

ฉีดพ่น ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ยาป้องกันและกำจัดเพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดด และเพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่นด้วย มาคา

ฉีดพ่น มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ยาป้องกันและกำจัดหนอนต่างๆ ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์กำจัดหนอน

ฉีดพ่น ไอกี้-บีที ในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ปุ๋ยสำหรับเร่งผลผลิต เร่งให้พืชให้ฟื้นตัว จากการเข้าทำลาย ของโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ FK-1

FK-1 ใช้เร่งโต เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง เพิ่มผลิต

นอกจากเราใช้ FK-1 ฉีดพ่นเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชแล้ว เรายังสามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน กับยารักษาโรคพืช และยากำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช หรือยากำจัดหนอน จะช่วยให้พืช ฟื้นตัวได้เร็ว จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง และกลับมาเจริญเติบโต ได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง

อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)
อ่าน:3483
ยาแก้โรค ทุเรียนใบแห้ง ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา ยารักษาโรค ทุเรียนใบติด ทุเรียนใบไหม้ ใช้ ไอเอส ยับยั้งโรค และ ผสมด้วย FK-1 เพื่อเร่งฟื้นตัว
ยาแก้โรค ทุเรียนใบแห้ง ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา ยารักษาโรค ทุเรียนใบติด ทุเรียนใบไหม้ ใช้ ไอเอส ยับยั้งโรค และ ผสมด้วย FK-1 เพื่อเร่งฟื้นตัว
อาการ ทุเรียนยอดแห้ง ใบทุเรียนแห้ง ใบทุเรียนหลุดร่วง มีสาเหตุหลักๆจากโรคเชื้อรา เชื้อรา Phyllosticta sp. ทำให้เนื้อเยื่อตายบริเวณปลายใบ และมักมีเชื้อรา Pestalotiopsis sp. ปะปนเล็กน้อย

โรคใบติด ใบไหม้ ใบร่วง (Leaf blight_ leaf fall)

เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani ลักษณะอาการใบจะไหม้ แห้ง และติดกันเป็นกระจุก และร่วงจำนวนมาก ใบติดกันด้วยเส้นใยของเชื้อรา ใบคล้ายถูกน้ำร้อนลวก สีซีด ขอบแผลสีเขียวเข้ม

โรคใบจุด (Leaf Spot)

เกิดจากเชื้อราหลายชนิด โดย หากเป็นเชื้อ Colletotrichum sp. ซึ่งทำให้เกิดโรคแอนแทรคโนส ใบอ่อนจะมีสีซีดคล้ายโดนน้ำร้อนลวก ส่วนขยายพันธุ์เป็นจุดดำ ๆ ส่วนใบแก่เป็นจุดกลมขอบแผลสีเข้ม และมีการขยายขนาด ส่วนเชื้อรา Phomopsis sp. ทำให้เกิดเนื้อเยื่อตายบริเวณใบแก่ มีขนาดจำกัด

เชื้อรา Pseudocercospora sp ทำให้เนื้อตายเป็นจุดเหลี่ยม ๆ เล็ก ๆ กระจัดกระจายบนใบ และใต้ใบมีกลุ่มสปอร์สีดำ ทำให้ใบร่วงรุนแรงได้

โรคราสีชมพู (Pink disease)

เกิดจากเชื้อรา Erythricium Salmonicolor กิ่งมีลักษณะคราบสีขาวแกมชมพูแห้งแข็งบนผิวเปลือก เมื่อใช้มีดถากเปลือกบริเวณที่เป็น จะพบเนื้อเยื่อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม

โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)

เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum Zibethinum ทำลายช่อดอกในระยะช่อบาน ทำให้ดอกมีสีคล้ำ เน่าดำก่อนบาน มีราสีเทาดำปกคลุมเกสร กลีบดอก ทำให้ดอกแห้ง ร่วงหล่น

โรคราแป้ง (Powdery mildew)

เกิดจากเชื้อรา Oidium sp. มักแพร่ระบาดในช่วงที่อากาศแห้งและเย็น เข้าทำลายในระยะดอกบานและติดผลอ่อน เชื้อรามีสีขาวคล้ายฝุ่นแป้ง ปกคลุมกลีบดอกและผลอ่อน ทำให้แลดูขาวโพลน ต่อมาดอกและผลอ่อนจะร่วง ส่วนผลที่พัฒนาโตขึ้น จะมีเชื้อราสีขาวปกคลุมบาง ๆ อาจทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ทำให้ผลผิวหยาบไม่สวย รสชาติอาจเปลี่ยนแปลง และมีเปลือกหนา

โรคโคนเน่า รากเน่า ผลเน่า และแคงเคอร์ที่กิ่ง

เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora โดยเชื้อราจะเข้าทำลายระบบราก และโคนต้น ปรากฎจุดฉ่ำน้ำ และมักมีน้ำเยิ้มออกมา เมื่อใช้มีดถากดูจะพบว่ามีน้ำไหลทะลักออกมา เนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม หากอาการเน่าลุกลาม จะทำให้ใบร่วง โดยเริ่มจากปลายกิ่ง ในที่อากาศชื้น เชื้อราสามารถแพร่ทางลม เข้าทำลายกิ่งและผลได้ โดยมักพบเชื้อรา Lasiodiplodia sp. ร่วมด้วยเสมอ

โรคใบจุดสนิม จุดสาหร่าย

เกิดจากสาหร่าย Cephaleuros virescens Kunze พบ ในใบแก่ ลักษณะเป็นจุดฟูเสีเขียวแกมเหลือง ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้ม ซึ่งเป็นระยะที่สาหร่ายสร้างสปอร์ เพื่อใช้ในการแพร่ระบาด

ยาป้องกันและยับยั้ง โรคใบไหม้ โรคเน่า และโรคต่างๆที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส

ฉีดพ่น ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ยาป้องกันและกำจัดเพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดด และเพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่นด้วย มาคา

ฉีดพ่น มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ยาป้องกันและกำจัดหนอนต่างๆ ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์กำจัดหนอน

ฉีดพ่น ไอกี้-บีที ในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ปุ๋ยสำหรับเร่งผลผลิต เร่งให้พืชให้ฟื้นตัว จากการเข้าทำลาย ของโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ FK-1

FK-1 ใช้เร่งโต เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง เพิ่มผลิต

นอกจากเราใช้ FK-1 ฉีดพ่นเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชแล้ว เรายังสามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน กับยารักษาโรคพืช และยากำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช หรือยากำจัดหนอน จะช่วยให้พืช ฟื้นตัวได้เร็ว จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง และกลับมาเจริญเติบโต ได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง

อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)
อ่าน:3932
ยาแก้โรครา ในถั่วเขียว และถั่วต่างๆ รากำจัดเพลี้ยใน ถั่ว ถั่วเขียว ยากำจัดหนอน และ ปุ๋ยสำหรับ ถั่วต่างๆ
ยาแก้โรครา ในถั่วเขียว และถั่วต่างๆ รากำจัดเพลี้ยใน ถั่ว ถั่วเขียว ยากำจัดหนอน และ ปุ๋ยสำหรับ ถั่วต่างๆ
โรคของถั่วเขียว และ การป้องกันกำจัด

1. โรคใบจุดสีน้ำตาล ในถั่วเขียว (Cercospora Leafs Spot)
โรคนี้พบระบาดในฤดูฝน เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อ Cercospora canescens Ellis & Martin มักเกิดกับถั่วเขียวอายุตั้งแต่ 2 สัปดาห์ หลังการงอก และมีการระบาดมากในช่วงออกดอกจนถึงระยะที่ใกล้เก็บเกี่ยว ลักษณะของโรค คือ ใบเป็นจุดสีน้ำตาล มีลักษณะค่อนข้างกลม ตรงกลางแผลมองเห็นเป็นเส้นใยสีเทา ขนาดแผลเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มม. – 5 มม. อาจมีลักษณะเป็นวงสีเหลืองรอบแผล ขณะขยายตัว เมื่อแผลชิดกันจะมีลักษณะสีน้ำตาล ผลของโรค คือ ทำให้ฝักลีบ และมีขนาดเล็ก

2. โรคราแป้ง ในถั่วเขียว (Powdery Mildrew)
โรคนี้พบการระบาดในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูแล้ง โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศเย็น เป็นเชื้อราพวก Oidium sp. สปอร์จะได้รับความชื้น และเติบโตสร้างเส้นใยดูดกินน้ำเลี้ยงจากผิวใบของถั่ว ทำให้ใบแห้ง ลักษณะที่พบมักเกิดตามใบล่าง โดยมีเส้นใยของราสีขาวคล้ายผงแป้งบนใบถั่ว ต่อมาใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง และแห้งตาย ต้นถั่วเขียวแคระแกรน หากเกิดโรคในระยะออดอกหรือติดฝัก จะทำให้ผลผลิตน้อยลง

การป้องและกำจัด โรคราแป้งในถั่วเขียว ฉีดพ่นด้วย ไอเอส

แมลงศัตรูถั่วเขียว และการป้องกันกำจัด

1. หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว (bean fly) เกิดจากหนอนแมลงที่วางไข่ ( 50-100 ฟอง/ตัว) ในระยะต้นกล้าหลังงอกใหม่ เมื่อฟักตัวเป็นหนอนจะเข้ากัดกินเนื้อเยื่อตามใบ และลำต้น ทำให้ต้นถั่วตาย หากเป็นต้นถั่วโตแล้ว หนอนจะเข้าเจาะกินลำต้นบริเวณยอด ทำให้ยอดเหี่ยวตาย การป้องกัน และกำจัดทำ ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที

2. เพลี้ยอ่อน ใน ถั่วเขียว ถั่วงอก (Aphid) พบระบาดมากในฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง โดยเพลี้ยจะเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงตามยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อน ทำให้ยอดหงิกงอ ดอกร่วง ฝักร่วง และต้นแคระแกรน การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วย มาคา

3. เพลี้ยไฟ ถั่วเขียว (Thrips) พบระบาดมากในช่วงฝนฝนทิ้งช่วง และแดดร้อน โดยเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนยอด และดอก ทำให้ยอดหงิกงอ ใบแห้ง ดอกร่วง ฝักอ่อนร่วงหรือลีบ ไม่ติดเมล็ด ป้องกัน และกำจัดโดยวิธีฉีดพ่นด้วย มาคา

4. หนอนเจาะฝัก (Pod Borers) พบระบาดในปลายฤดูฝนหรือฤดูแล้ง ป้องกัน และกำจัดโดยการฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที

ยาป้องกันกำจัดโรค ยากำจัดเพลี้ย ยากำจัดหนอน ซึ่งใช้ได้กับทุกพืชไร่ พืชสวน ผัก ผลไม้ ที่ปลูกในประเทศไทย

ยาป้องกันและยับยั้ง โรคใบไหม้ โรคเน่า และโรคต่างๆที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส

ฉีดพ่น ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ยาป้องกันและกำจัดหนอนต่างๆ ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์กำจัดหนอน

ฉีดพ่น ไอกี้-บีที ในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ยาป้องกันและกำจัดเพลี้ยอ่อน และเพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่นด้วย มาคา

ฉีดพ่น มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ปุ๋ยสำหรับเร่งผลผลิต เร่งให้พืชให้ฟื้นตัว จากการเข้าทำลาย ของโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ FK-1

FK-1 ใช้เร่งโต เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง เพิ่มผลิต

นอกจากเราใช้ FK-1 ฉีดพ่นเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชแล้ว เรายังสามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน กับยารักษาโรคพืช และยากำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช หรือยากำจัดหนอน จะช่วยให้พืช ฟื้นตัวได้เร็ว จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง และกลับมาเจริญเติบโต ได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง

อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก sites.google.com/site/ phanthuchaynath841/ rokh-khxng-thaw-kheiyw -laea-kar-pxngkan-kacad

อ่าน:3599
ปัญหา ของทุเรียน อย่างหนึ่งคือปัญหำโรครากเน่าโคนเน่ำทุเรียน สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora
ปัญหา ของทุเรียน อย่างหนึ่งคือปัญหำโรครากเน่าโคนเน่ำทุเรียน สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora
กรมวิชาการเกษตรเล็งเห็นถึงความสาคัญของการผลิตทุเรียน เพราะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การส่งออกทุเรียนของไทยได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากตลาดการนาเข้าของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งได้ส่งผลต่อการปรับตัวของราคาทุเรียนทั้งในตลาดส่งออกและตลาดภายในประเทศ ราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นได้สร้างแรงจูงใจต่อการขยายพื้นที่การเพาะปลูกทุเรียนเป็นจานวนมาก เกษตรกรจึงต้องมีการดูแลรักษาให้ต้นทุเรียนมีความอุดมสมบูรณ์เพื่อให้พร้อมสาหรับการออกดอกติดผล และมีการป้องกันกาจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันผลผลิตเสียหาย แต่เนื่องจากทุเรียนมีศัตรูหลายชนิด และพบระบาดเป็นประจาในพื้นที่ปลูกทุเรียนทั่วไป บางชนิดมีการระบาดรุนแรงเฉพาะในบางพื้นที่ และบางชนิดมีความรุนแรงถึงขั้นทาให้ต้นทุเรียนตายได้ ปัญหำที่สำคัญของทุเรียนที่อย่ำงหนึ่งคือปัญหำโรครำกเน่ำโคนเน่ำทุเรียน สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora ระบาดได้ดีในช่วงที่มีฝนตกหนักและมีความชื้นสูง แม้จะได้มีการศึกษาวิจัยแก้ปัญหานี้มากกว่า 50 ปีแล้วก็ตาม นักวิชาการของภาครัฐและเอกชนต่างช่วยกันระดมความคิดในการแก้ปัญหานี้และเกษตรกรพยายามดาเนินการทุกวิถีทางที่จะปราบโรคร้ายให้หมดไป นอกจากปัญหาการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่า และยังมีโรคที่สาคัญอีกหลายชนิดได้แก่ โรคใบติด โรคราสีชมพู โรคราแป้ง โรคแอนแทรคโนส โรคใบจุด และอาการที่เกิดจากการขาดธาตุอาหาร รวมทั้งการสับสนของเกษตรกรเกี่ยวกับโรคราสีชมพูของทุเรียน และโรครากเน่าโคนเน่า ที่ทาให้เกษตรกรใช้สารเคมีในการป้องกันกาจัดโรคไม่ถูกต้อง และทาให้ต้นทุนในการผลิตสูง

อ้างอิง doa.go.th/learn/?qa=98/52-โรคทุเรียน
อ่าน:3396
โรคราแป้ง ทีพบใน เยอบีร่า โรครากเน่าโคนเน่า เกิดจากเชื้อรา ป้องกันและกำจัดด้วย ไอเอส
โรคราแป้ง ทีพบใน เยอบีร่า โรครากเน่าโคนเน่า เกิดจากเชื้อรา ป้องกันและกำจัดด้วย ไอเอส
โรคราแป้ง ทีพบใน เยอบีร่า โรครากเน่าโคนเน่า เกิดจากเชื้อรา ป้องกันและกำจัดด้วย ไอเอส
โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อรา Oidiopsis sp. โดยพบเส้นใยและสปอร์สีขาวของเชื้อราปกคลุมอยู่ด้านหลังใบและท้องใบ เมื่ออาการรุนแรงใบจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำ-ดำ มักพบในช่วงที่บรรยากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูง

โรครากเน่า-โคนเน่า ที่เกิดในเยอบีร่า เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rofsii โดยอาการเริ่มแรกต้นจะเหี่ยว พอรุ่งเช้าจะฟื้นและกลับเหี่ยวอีกในตอนสายๆ ซึ่งเป็นเช่นนี้ประมาณ 2-3 วัน ต้นก็จะเหี่ยวโดยสิ้นเชิงและตายในที่สุด เมื่อถอนต้นขึ้นมาจะพบโคนต้นและรากเน่าเปื่อย

ขอบคุณภาพเยอบีร่าจาก facebook.com/lovegarden189
ภาพดังกล่าวเป็นภาพเยอบีร่าที่สวยงาม ไม่ได้เป็นโรคราแป้ง
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก researchex.rae.mju.ac.th

ป้องกันและกำจัดโรคในเยอบีร่า โรคราแป้ง โรครากเน่าโคนเน่า และโรคต่างๆในเยอบีร่า ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา ใช้ไอเอส

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สำหรับป้องกันและยับยั้ง เชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย โรคใบไหม้ ใบแห้ง ใบจุดสีน้ำตาล ใบจุดตากบ แคงเกอร์ ไฟท็อปโธร่า และโรคต่างๆที่มีสาเหตุจากเชื้อรา สกัดจากพืช ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค ปลอดสารพิษ ไม่มีสารตกค้าง ใช้ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและยับยั้งโรคพืชทุกชนิด ที่มีสาเหตุมากจากเชื้อรา

สนใจ โทรสั่งซื้อ 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset หรือ ไอดี PrimPB
สั่งทางเฟสบุ๊คได้เช่นกัน https://www.facebook.com/farmkaset หรือลาซาด้า https://www.lazada.co.th/products/fk-3-i388594842-s754764572.html
อ่าน:3556
442 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 44 หน้า, หน้าที่ 45 มี 2 รายการ
|-Page 44 of 45-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
หนอนเจาะฝักข้าวโพด หนอนเจาะสมอฝ้าย ใช้ ไอกี้-บีที
Update: 2564/08/14 22:01:12 - Views: 3444
เร่งโต ระเบิดราก เพิ่มผลผลิต ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ FK-1 ฟื้นฟูพืช โตไว แข็งแรง จึงต้านทานต่อโรค
Update: 2564/03/07 12:42:20 - Views: 3415
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
Update: 2564/08/12 22:06:31 - Views: 4196
กำจัดโรคแอนแทรคโนส โรคที่เกิดจากเชื้อรา ศัตรูพืชในทุเรียน ไอเอส และ FK-T ธรรมชาตินิยม ฟื้นฟูจากการทำลายของเชื้อรา
Update: 2566/05/26 15:43:29 - Views: 3417
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในมะปรางอย่างมีประสิทธิภาพ
Update: 2566/05/04 09:39:28 - Views: 3400
ยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ปุ๋ยเร่งโตมันสำปะหลัง ปุ๋ยเร่งหัวมันสำปะหลัง ปุ๋ยน้ำฉีดมันสำปะหลัง FK
Update: 2564/08/27 23:33:50 - Views: 3596
โรคราใน ฟัก โรคราน้ำค้างในฟัก โรคราในพืชตะกูลฟัก โรคต่างๆจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู โตไว ผลผลิตดี
Update: 2564/10/02 04:54:52 - Views: 3400
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 3 สูตร: การดูแลอะโวคาโด้ในทุกช่วงอายุ เร่งโต ใบเขียว เร่งราก เร่งดอก ผลใหญ่ ผลดก เพิ่มผลผลิต
Update: 2567/02/12 14:58:12 - Views: 3536
โรคใบติด ป้องกันและกำจัดโรคใบติ ในทุเรียน โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อราสกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติ
Update: 2566/05/20 15:22:15 - Views: 3388
ผักบุ้งทะเล แก้แผลเรื้อรัง แก้พิษฝีบวม แก้งูสวัด ถอนพิษ จากแมลงกัดต่อย พิษสัตว์ทะเล แมงกระพรุน
Update: 2563/05/23 13:58:08 - Views: 3641
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยหอย ในพืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/24 12:09:50 - Views: 3428
ปุ๋ยมันสำปะหลัง ทดแทนปุ๋ยเม็ด คุณภาพสูง ยาฯมันสำปะหลัง ครบจบที่เดียว แก้ มันสำปะหลังใบไหม้ เพลี้ยมันสำปะหลัง ราต่างๆ ยาแช่ท่อนพันธุ์
Update: 2565/05/19 08:18:47 - Views: 3439
มะเขือรากเน่า ต้นเหี่ยว ผลเน่า กำจัดโรคมะเขือ จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/22 10:10:39 - Views: 3433
การป้องกัน กำจัดเพลี้ย กำจัดแมลงศัตรูพืช ด้วย ชีวภัณฑ์ บิวเวอเรีย และ เมธาไรเซียม ได้ผลดี และปลอดภัย
Update: 2566/11/10 06:26:57 - Views: 9499
คู่มือป้องกันกำจัดโรคเชื้อราต่างๆในดาวเรือง ดาวเรืองใบไหม้ ดอกไหม้ ดอกเป็นจุด ราแป้ง ฯลฯ
Update: 2566/05/01 10:27:34 - Views: 10335
การควบคุมโรคเชื้อราในกล้วยไม้อย่างมีประสิทธิภาพ
Update: 2566/05/11 10:29:53 - Views: 3511
การป้องกันและกำจัดโรคโคนเน่าในถั่วลิสง
Update: 2566/05/17 11:21:08 - Views: 3420
โรคใบหงิก (โรคจู๋) ข้าวใบหงิก ข้าวใบม้วน (Rice Ragged Stunt Disease)
Update: 2564/08/27 02:49:38 - Views: 3511
โรคเชื้อราในต้นดอกมะลิ: แนวทางในการป้องกันและรักษา
Update: 2566/11/11 09:28:09 - Views: 3514
ต้นหอม รากเน่า!! ใบไหม้ ใบจุด ใบเหลือง โรคแอนแทรคโนส โรคหอมเลื้อย โรคราต่างๆป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และ ฟื้นฟู ด้วย FK-T
Update: 2567/03/22 10:52:43 - Views: 3579
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022