[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - กัญชา
43 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 4 หน้า, หน้าที่ 5 มี 3 รายการ

บริโภคกัญชา กินกันชา ดื่มกัญชา อย่างไรให้ปลอดภัย และเป็นประโยชน์
บริโภคกัญชา กินกันชา ดื่มกัญชา อย่างไรให้ปลอดภัย และเป็นประโยชน์
แม้ว่าในวันนี้ กฎหมายจะปลดล็อคกัญชา ให้สามารถหาซื้อมาทาน ดื่ม ได้อย่างถูกกฎหมายแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีความกังวล เกี่ยวกับความเข้าใจของประชาชน ในการบริโภคอย่างปลอดภัย ไม่เป็นโทษแก่ตัวเอง และสังคม

สาร THC และ CBD ที่ได้จากกัญชา มีประโยชน์กับการรักษา บรรเทาอาการเจ็บป่วยในเบื้องต้น ได้แก่ ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด โรคลมชัก ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ภาวะปวดปลายประสาท และยังมีที่รอศักษาเพิ่มเติม

ทุกวันนี้ ชาวไทยส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับ กัญชาทางการแพทย์ แต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ในเชิงสันทนาการ แน่นอน.. การสูบกัญชานั้น ยังผิดกฎหมายอยู่ ณ วันนี้

ผลเสีย จากการสูบกัญชา อาจจะทำให้เกิดอาการทางจิต หลอน หูแว่ว หวาดกลัว เกิดภาพหลอน อาการซึมเศร้า ขี้เกียจ เหม่อลอย ประสิทธิภาพสมองลดลง จึงยังคงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง

เนื่องจากัญชาแต่ละสายพันธุ์ ออกฤทธิ์ไม่เท่ากัน และมีผลข้างเคียง มากน้อยต่างกัน การใช้กัญชาอย่างถูกต้อง จึงควรซื้อจากแหล่งจำหน่ายที่ถูกกฎหมาย อ่านคำแนะนำ หรือฉลากข้างผลิตภัณฑ์ หรือปรึกษาแพทย์ หากเป็นการใช้เพื่อการบำบัด

อาจจะพอกล่าวได้ว่า กัญชา เป็นพืช ที่ใช้เป็นยาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง และแน่นอนว่า.. การใช้อย่างผิดวิธี หรือการเสพติด ก็จะส่งผลเสียต่อร่างการ สุขภาพ ของทั้งส่วนตัว และ ส่งผลกระทบต่อสังคมได้มากเช่นกัน
อ่าน:3406
การปลูกกัญชาถูกกฎหมาย ทำได้อย่างไร
ผู้ที่สนใจปลูกกัญชา ต้องปลูก เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ หรือศึกษาวิจัยและพัฒนา เท่านั้น โดยยื่นคำขออนุญาต ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข และต้องมีคุณสมบัติเป็น

หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนด
แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง เภสัชกร แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ และหมอพื้นบ้าน
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีการสอนทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์
วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือสหกรณ์การเกษตร โดยร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ หรือ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ในช่วง 5 ปีแรก นับแต่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ (19 กุมภาพันธ์ 2562 – 2567) ผู้ขออนุญาตปลูกต้องเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐดำเนินการร่วมกับผู้ขออนุญาตข้างต้น

สิ่งที่ต้องเตรียมเพื่อยื่นคำขออนุญาตปลูกกัญชา

ผู้ยื่นคำขอฯ ต้องไม่เคยมีประวัติการถูกดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
สถานที่ปลูก มีเลขที่ตั้งและที่อยู่ชัดเจน มีระบบและมาตรการรักษาความปลอดภัย พื้นที่เพาะปลูกใช้วัสดุในการสร้างที่มีความมั่นคงแข็งแรงและปิดกั้นเพื่อป้องกันการเข้าถึงจากบุคคลภายนอก
** ต้องแสดงหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองของสถานที่ปลูก หรือหนังสือให้ความยินยอมจากผู้ให้เช่า หรือผู้ให้ใช้ที่ดิน ในกรณีขอเช่าหรือขอใช้ที่ดินของบุคคลอื่นในการเพาะปลูก **

สถานที่จัดเก็บ เมล็ดพันธุ์กัญชา ผลผลิตกัญชาที่ได้ภายหลังจากการเก็บเกี่ยว รวมถึงส่วนที่เหลือของกัญชาเพื่อรอทำลาย ควรมีมาตรการรักษาความปลอดภัย แยกเก็บเป็นสัดส่วนและไม่ปะปนกับวัตถุอื่นๆ

แผนการผลิต แผนการจำหน่าย และแผนการใช้ประโยชน์
วิธีการดำเนินการ เช่น รายละเอียดและแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ วิธีการปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว ระยะเวลาในการดำเนินการ เป็นต้น
** รายละเอียดเพิ่มเติมตาม “แนวทางการปฏิบัติ ด้านการจัดเตรียมสถานที่ การเก็บรักษาและการควบคุมการใช้สำหรับ ผู้ขอรับอนุญาตปลูก ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา” และ “แนวทางการพิจารณาอนุญาตให้ปลูกกัญชา พ.ศ. 2563” จากเว็บไซต์ http://www.farmkaset..link.. **

หน้าที่ของผู้รับอนุญาตภายหลังได้รับอนุญาตแล้ว
ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ป้องกันมิให้มีการรั่วไหลออกจากระบบการควบคุม และจัดทำรายงานและบัญชีรับ - จ่าย ตามแบบที่กฎหมายกำหนด


ประชาชนทั่วไปสามารถปลูกกัญชาได้หรือไม่
ปัจจุบันกฎหมายยังไม่ได้มีการอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปปลูกกัญชาได้เอง อย่างไรก็ตาม สามารถรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือสหกรณ์การเกษตร โดยร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อขออนุญาตปลูกกัญชาได้ ทั้งนี้ กรณีปลูกกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิดต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 500_000 บาท ถ้าเป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 100_000 บาท ถึง 1_500_000 บาท


บทความโดย กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข


อ้างอิง: http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3399
สายพันธุ์กัญชา
กัญชา เป็นพืชสกุล Cannabis อยู่ในวงศ์ Cannabaceae มี 3 สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ สายพันธุ์ซาติวา (Cannabis sativa) สายพันธุ์อินดิกา (Cannabis indica) และสายพันธุ์รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis) ส่วนคำว่ามาลีฮวนน่า (Marijuana) เป็นคำแสลงที่ใช้ส่วนดอกของต้นกัญชานำมาสูบ

ซาติวา (Cannabis sativa)
เป็นภาษาละติน แปลว่า เพาะปลูก ตั้งโดย คาโรรัส ลินเนียส Carolus Linnæus หรือ Carl Linnaeus) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน โดยจัดวงศ์พืชชนิดนี้ไว้เมื่อปี ค.ศ. 1753 (พ.ศ. 2296) มีแหล่งกำเนิดบริเวณเส้นศูนย์สูตร เช่น โคลัมเบีย เม็กซิโก (ทวีปอเมริกา) ตอนกลางของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ซาติวามีลำต้นหนา ความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 6 เมตร ใบยาว เรียว สีเขียวอ่อน (เมื่อเทียบกับอินดิกา) ระยะเวลาการเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยว 9-16 สัปดาห์ ชอบแดดและ อากาศร้อน ซาติวามีสาร THC (Tetrahydrocannabinol) ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท (Psychoactive) สูงกว่าอินดิกา

อินดิกา (Cannabis indica)
ผู้ค้นพบสายพันธุ์นี้คือ ฌอง-แบ๊บติสท์ ลามาร์ค (Jean-Baptiste Lamarck) ทหารนักชีววิทยา ชาวฝรั่งเศส ผู้ตั้งชื่อและตีพิมพ์ความรู้เรื่องกัญชาสายพันธุ์นี้ในปี ค.ศ. 1785 (พ.ศ. 2328) กัญชาสายพันธุ์อินดิกาได้ชื่อตามแหล่งกำเนิดที่ค้นพบในอินเดียและบริเวณตะวันออกกลาง

อินดิกามีลำต้นพุ่มเตี้ย ความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 180 เซนติเมตร ใบกว้าง สั้น สีเขียวเข้ม (เมื่อเทียบกับซาติวา) กิ่งก้านดกหนา ระยะเวลาการเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ชอบที่ร่มและอากาศเย็น อินดิกามีสาร CBD (Cannabidiol) ซึ่งออกฤทธิ์ระงับ ประสาท (Sedative) ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการปวดเรื้อรัง

รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis)
ผู้ตีพิมพ์เรื่องราวกัญชาสายพันธุ์นี้คนแรก คือ นักพฤกษศาสตร์ชาวรัสเชีย ดี.อี. จานิสเชสกี้ (D. E. Janischewsky) เมื่อปี ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467) กัญชาสายพันธุ์รูเดอราลิสมีแหล่ง กำเนิดบริเวณตอนกลางและตะวันออกของทวีปยุโรป

รูเดอราลิส มีลำต้นเตี้ยที่สุดในบรรดา 3 สายพันธุ์ ดูคล้ายวัชพืช ใบกว้างมี 3 แฉก เติบโตเร็ว อยู่ได้ทั้งอากาศร้อนและเย็น ปริมาณสาร THC น้อย (เมื่อเทียบกับสองสายพันธุ์แรก) แต่มี CBD สูง มักนำไปผสมข้ามสายพันธุ์ (hybrid) กับซาติวาและอินดิกา เพื่อให้ได้ คุณสมบัติทางยา

ประโยชน์ของสาร THC และ CBD ในกัญชา

สาร CBD มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง ช่วยให้สงบ ผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติยังยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิดในหลอดทดลอง

สาร THC มีผลต่อจิต ประสาท ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นให้อยากอาหาร

อ้างอิง: http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3377
ใบกระท่อม ออกฤทธิ์กระตุ้นอะไร มีประโยชน์ และโทษอย่างไร ข้อมูลจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ใบกระท่อม ออกฤทธิ์กระตุ้นอะไร มีประโยชน์ และโทษอย่างไร ข้อมูลจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กระท่อมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์เข็มและกาแฟ (Rubiaceae) เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 4-16 เมตร เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น ความชื้นสูง ดินอุดมสมบูรณ์ และมีแสงแดดปานกลาง กระท่อมจัดเป็นพืชที่มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศไทยและมาเลเซีย สามารถพบได้ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปแอฟริกา สมัยโบราณมีการใช้ใบกระท่อมเพื่อรักษาการติดเชื้อในลำไส้ บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดไข้ บรรเทาอาการไอและท้องร่วง โดยใช้ใบสดหรือใบแห้งนำมาเคี้ยว สูบ หรือชงเป็นน้ำชา นอกจากนี้ยังมีการใช้กระท่อมในกลุ่มของผู้ใช้แรงงานเพื่อกดความรู้สึกเมื่อยล้า ทนต่อการทำงานกลางแจ้ง ทนร้อน ทนแดด และสามารถทำงานได้ยาวนานมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการใช้เพื่อลดอาการขาดยาจากสิ่งเสพติดอื่น เช่น ฝิ่นและมอร์ฟีน เป็นต้น เนื่องจากมีผลข้างเคียงน้อยกว่ามอร์ฟีนเมื่อใช้ในระยะเวลาที่จำกัด การใช้แทนแอมเฟตามีน (ยาบ้า) เพื่อเพิ่มพละกำลัง ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการใช้กระท่อมในหลายประเทศทั่วโลกเกินกว่าขอบเขตทางภูมิศาสตร์ที่พบพืชชนิดนี้

ในประเทศไทย ใบกระท่อมมีการแพร่ระบาดในหมู่วัยรุ่นและนักเรียน โดยนำน้ำใบกระท่อมไปผสมกับยาแก้ไอ น้ำอัดลม ยาคลายกล้ามเนื้อ กาแฟ และเครื่องดื่มอื่นๆ เพื่อแต่งรส ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ 4 คูณ 100 เพื่อให้รู้สึกสนุกสนาน มึนเมา ขาดสติ และหากได้รับในปริมาณที่สูงมาก จะทำให้เกิดภาวะกดประสาทและกดการหายใจจากฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ของยาและภาวะเสริมฤทธิ์ของยาหลายชนิดร่วมกัน ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้ การใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดอาการติดได้ อาการถอนยาที่พบได้ เช่น จิตหวาดระแวง อารมณ์รุนแรง ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก มีอาการกระตุกของแขน ขา ไม่อยากอาหาร ไม่มีสมาธิ และนอนไม่หลับ การใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจะทำให้มีสีผิวคล้ำขึ้น (hyperpigmentation) กระเพาะกาง (distended stomach) ผิวแห้ง และริมฝีปากคล้ำ เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังต้องมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ว่าสารอะไรที่ทำให้เกิดพิษและขนาดของความเข้มข้นที่ทำให้เกิดพิษ

การใช้กระท่อมในขนาดต่ำจะออกฤทธิ์กระตุ้น ลดอาการเมื่อยล้า สามารถทำงานได้นานขึ้น แต่ถ้าใช้ในขนาดที่สูงจะมีฤทธิ์กล่อมประสาทและเสพติด สารที่พบในกระท่อมมากที่สุดเป็นสารกลุ่ม alkaloids และสารกลุ่มอื่นๆ ที่พบรองลงมา เช่น flavonoids terpenoid และ saponins เป็นต้น ใบกระท่อมมีปริมาณ total alkaloids ประมาณ 0.5 – 1.5% โดยพบ mitragynine ซึ่งเป็นสารกลุ่ม indole alkaloids และเป็นสารหลักในการออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวด โดยกระตุ้นผ่าน opioid receptors พบสาร mitragynine มากถึง 66% ของสารสกัดใบกระท่อมจากประเทศไทย แต่พบเพียง 12% จากสารสกัดใบกระท่อมจากประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ยังพบอนุพันธ์อื่นๆ เช่น speciogynine_ paynantheine และ speciociliatine เป็นต้น แต่พบในปริมาณน้อยกว่า 1% ของสารแต่ละชนิด mitrgynine ยังออกฤทธิ์ต้านอักเสบโดยกดการหลั่งสาร prostaglandin E2 (PGE-2) ในวิถี cyclooxygenase 2 (COX-2) อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า 7-hydroxymitragynine ซึ่งพบแค่ 2% จากใบกระท่อม มีฤทธิ์ยับยั้งการตอบสนองต่อความเจ็บปวด (antinoceptive) ในหนู mice ได้ดีกว่า morphine 13 เท่า และดีกว่า mitragynine 46 เท่า โดยออกฤทธิ์จำเพาะต่อ µ- และ κ-receptors นอกจากนี้กระท่อมยังมีผลต่อระบบประสาทและความจำ ผลต่อพฤติกรรม และสามารถทำให้เกิดอาการติดยาได้ อย่างไรก็ตามกลไกการออกฤทธิ์อื่นๆ ของสารจากกระท่อมยังต้องมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

การปลูกและซื้อขายกระท่อมเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในหลายประเทศ สำหรับประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 จัดกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 เช่น กัญชา พืชกระท่อม โดยห้ามซื้อ ขาย นำเข้า ส่งออก หรือครอบครอง ซึ่งครอบคลุมถึงการห้ามปลูก ถ้าตรวจพบต้องตัดทิ้งและทำลาย โดยมีบทกำหนดโทษต้องระวางโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี หรือปรับสูงสุดหนึ่งล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในประเทศมาเลเซียกระท่อมเป็นพืชที่ถูกกฎหมาย จนกระทั่งปี 2546 ได้จัดกระท่อมให้อยู่ในพระราชบัญญัติยาพิษ และแม้ว่าจะผิดกฎหมายแต่ยังมีการใช้อย่างแพร่หลายเพราะหาซื้อได้ง่าย ส่วนในประเทศออสเตรเลียและเมียนมาร์ กระท่อมถูกควบคุมภายใต้กฎหมายยาเสพติด กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เช่น เดนมาร์ก โปแลนด์ และสวีเดน ได้จัดให้กระท่อม และ/หรือ mitragynine และ 7-hydroxymitragynine เป็นยาควบคุม อย่างไรก็ตาม ในหลายประเทศมีการซื้อขายกระท่อมได้อย่างถูกกฎหมาย เช่น ในประเทศอินโดนีเซียมีการปลูกกระท่อมอย่างถูกกฎหมายและมีการส่งออกไปประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และเยอรมัน ไม่ได้มีกฎหมายควบคุมการใช้กระท่อม มีเพียงแค่การเฝ้าระวัง ในประเทศอังกฤษมีการขายกระท่อมในหลายรูปแบบ เช่น ใบสด ใบแห้ง ผง และสารสกัดเรซิน เป็นต้น โดยผู้บริโภคสามารถซื้อได้ตามร้านกาแฟต่างๆ หรือทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์

กระท่อมมีการใช้มายาวนานตั้งแต่อดีตในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อบรรเทาหรือรักษาโรคต่างๆ และงานวิจัยก็ได้สนับสนุนฤทธิ์ด้านต่างๆ ของกระท่อม เช่น บรรเทาอาการปวด บวม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกระท่อมในการนำมาพัฒนาเป็นยาได้ อย่างไรก็ตามกระท่อมยังมีฤทธิ์ที่ทำให้เกิดการเสพติดและมีอาการไม่พึงประสงค์จากอาการขาดยาได้ ซึ่งมีรายงานปัญหาและอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้กระท่อมจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้นควรมีการวิจัยเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ต่างๆ ผลข้างเคียงจากการใช้และความเป็นพิษ เพื่อนำมาพัฒนาใช้ในทางการแพทย์ ตลอดจนการออกกฎหมายควบคุมเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากกระท่อมได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุด

เอกสารอ้างอิง

1. Dargan PWood D. Novel psychoactive substances. Amsterdam: Elsevier/Academic Press; 2013.

2. Vicknasingam B_ Narayanan S_ Beng G_ Mansor S. The informal use of ketum (Mitragyna speciosa) for opioid withdrawal in the northern states of peninsular Malaysia and implications for drug substitution therapy. International Journal of Drug Policy. 2010;21(4):283-288.

3. Hassan Z_ Muzaimi M_ Navaratnam V_ Yusoff N_ Suhaimi F_ Vadivelu R et al. From Kratom to mitragynine and its derivatives: Physiological and behavioural effects related to use_ abuse_ and addiction. Neuroscience & Biobehavioral Reviews. 2013;37(2):138-151.

4. Digital Signature [Internet]. App-thca.krisdika.go.th. 2016 [cited 20 September 2016]. Available from: http://www.farmkaset..link..

5. EMCDDA | Kratom profile (chemistry_ effects_ other names_ origin_ mode of use_ other names_ medical use_ control status) [Internet]. Emcdda.europa.eu. 2016 [cited 20 September 2016]. Available from: http://www.farmkaset..link..

6. Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. — The Plant List [Internet]. Theplantlist.org. 2016 [cited 20 September 2016]. Available from: http://www.farmkaset..link..

จากเว็บไซต์

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..

ภาพจาก http://www.farmkaset..link..
โรคกัญชา กัญชาใบไหม้ กัญชาใบเหลือง ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
โรคกัญชา กัญชาใบไหม้ กัญชาใบเหลือง ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
ทั้งอาการใบไหม้ และใบเหลืองของกัญชา เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดได้จากโรค และการขาดธาตุอาหารพืชที่จำเป็น รวมถึงการให้น้ำ และการได้รับแสงแดด ซึ่งการพิจารณาสาเหตุนั้น ต้องสังเกตุอาการ และแก้ปัญหาทีละจุด

ยกตัวอย่างเช่น

อาการใบไหม้ และอาการต่างๆ ที่เกิดจากโรคเชื้อรา
- โรคใบไหม้ โรคใบจุด และโรคใบขีดสีน้ำตาล จะต่างจากการขาดธาตุที่สังเกตุได้คือ โรคที่มีสาเหตุจากเชื้อรา จะลุกลามไปยังใบไหม้ และลุกลามขยายวงไปยังต้นข้างเคียง
- โรคราแป้ง ราสนิม ราน้ำค้าง มีการลุกลามติดต่อเช่นกัน

อาการใบไหม้และโรคต่างๆของกัญชา ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ให้ครอบคลุมบริเวณที่มีการระบาด ทุก 3-5 วัน และคอยสังเกตุอาการ

อาการใบไหม้ และอาการต่างๆ ที่เกิดจากการขาดธาตุ
- ขาด โพแทสเซียม ที่ใบแก่จะเหลืองซีด ขอบใบมีจุดสีน้ำตาลไหม้
- ขาด แมกนีเซียม ใบจะมีจุดเหลืองทั่วทั้งใบ ที่ปลายใบจะแห้ง
- ขาด สังกะสี ใบจะมีจุดเหลืองคล้ายราสนิม

อาการใบเหลือง ใบซีด ก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- ใบเหลือง จากการขาดธาตุ ไนโตรเจน
- ใบเหลือง เพราะกัญชาได้รับแสงไม่เพียงพอ
- ใบเหลือง เพราะรดน้ำมาก หรือน้อยจนเกินไป
- ใบเหลือง เพราะค่า pH หรือความเป็นกรดด่างของดิิน ไม่เหมาะสม
- ใบเหลือง เพราะขาดธาตุเหล็ก
- ใบเหลือง เพราะพืชลดจำนวนคลอโรฟิลล์ เพราะการขาดธาตุรอง หรือธาตุเสริมบางอย่าง

อาการของพืช ที่เกิดจากการขาดธาตุต่างๆ ฉีดพ่น FK ธรรมชาตินิยม ในอัตราส่วน 1 ฝา ต่อน้ำ 1-2 ลิตร ทุก 5-7 วัน

หมายเหตุ สามารถ ผสม ไอเอส และ FK ธรรมชาตินิยม ฉีดพ่นไปพร้อมกันในคราวเดียว

กัญชาใบไหม้ กัญชาใบเหลือง โรครากัญชา โรคกัญชา


การสั่งซื้อ

โทร 090-592-8614

ไลน์ไอดี http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ฟาร์มเกษตร http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ช้อปปี้ http://www.farmkaset..link..
เพลี้ย! ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบกัญชา ทำให้ กัญชาใบหงิก ม้วน ใบจุดด่างขาว ใบจุดด่างเหลือง
เพลี้ย! ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบกัญชา ทำให้ กัญชาใบหงิก ม้วน ใบจุดด่างขาว ใบจุดด่างเหลือง
อาการกัญชาใบหงิก ขอบใบม้วน มีจุดด่างขาว ด่างเหลือง ใบหยิก มีสาเหตุจาก เพลี้ยดูดกินน้ำเลี้ยงที่ผิวใบกัญชา ทำให้ใบกัญชาหดตัว จึงหงิก งอ ผิดรูป มีรอยด่าง เนื่องจากเพลี้ย เป็นแมลงจำพวกปากดูด และระบาดได้ไว มีจำนวนมาก

มาคา เป็นสารอินทรีย์ ป้องกันและกำจัดเพลี้ยต่างๆ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ปลอดภัย ไม่มีสารพิษ

FK ธรรมธรรมชาตินิยม เป็นอาหารพืชทางใบ ฟื้นฟูพืช จากการเข้าทำลายจาก โรค และแมลงศัตรูพืช ส่งเสริมการเจริญเติบโต ปลอดภัย ไม่มีกลิ่นเหม็นรบกวน ใช้ได้ในที่พักอาศัย

รายละเอียด และการสั่งซื้อ เลื่อนลงด้านล่างนะคะ

กัญชาใบด่างขาว กัญชาเป็นเพลี้ย แก้เพลี้ยกัญชา กำจัดเพลี้ยกัญชา
โรคกัญชาใบไหม้ โรคกัญชงใบไหม้ โรครากัญชา โรครากัญชง โรคกัญชาใบจุด โรคราสนิมกัญชา
โรคกัญชาใบไหม้ โรคกัญชงใบไหม้ โรครากัญชา โรครากัญชง โรคกัญชาใบจุด โรคราสนิมกัญชา
โรคใบไหม้ของกัญชา โรคกัญชงใบไหม้ โรคราสนิมกัญชา โรคกัญชาใบจุด ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา

ในบ้างครั้ง อาการกัญชาใบไหม้ โดยเฉพาะอาการ กัญชาใบเหลือง แต่ไม่มีอาการไหม้ อาจจะเกิดจาก กัญชาขาดธาตุอาหารพืช ได้เช่นกัน ความแตกต่างคือ อาการที่เกิดจากการ กัญชาขาดธาตุอาหารพืช จะไม่ลุกลามขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ และอาจจะแสดงอาการตั้งแต่ใบอ่อน กัญชาจะใบเหลืองซีด

อาการ กัญชาใบไหม้จากเชื้อรา ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ในอัตราส่วน 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ส่วนอาการที่เกิดจากการขาดธาตุ ฉีดพ่น FK ธรรมชาตินิยม
กัญชาใบไหม้ โรคกัญชา โรคราสนิม โรคใบเหลือง
กัญชาใบไหม้ โรคกัญชา โรคราสนิม โรคใบเหลือง
อาการใบไหม้ของกัญชา กัญชงใบไหม้ โรคราสนิมต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา

แต่ควรสังเกตุเช่นกัน ในบ้างครั้ง อาการใบไหม้ โดยเฉพาะอาการใบเหลือง แต่ไม่มีอาการไหม้ อาจจะเกิดจากการขาดธาตุอาหารพืชได้เช่นกัน ความแตกต่างคือ อาการที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารพืช จะไม่ลุกลามขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ

อาการใบไหม้จากเชื้อรา ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ในอัตราส่วน 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ส่วนอาการที่เกิดจากการขาดธาตุ ฉีดพ่น FK ธรรมชาตินิยม
อ่าน:3854
ป้องกัน กำจัด แมลงหวีขาว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงศัตรู กัญชา และ กัญชง
ป้องกัน กำจัด แมลงหวีขาว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงศัตรู กัญชา และ กัญชง
การใช้สารอินทรีย์ปลอดภัย ในการป้องกันกำจัดเพลี้ย แมลงหวี่ขาวในกัญชา และกัญชงนั้น การป้องกัน โดยการฉีดพ่นไว้เป็นระยะ จะได้ผลดีกว่าการกำจัด เนื่องจากเมื่อเวลาที่มีการระบาดมากแล้ว บริเวณข้างเคียงก็จะมีการระบาดด้วย เพื่อเราฉีดพ่นสารอินทรีย์ แม้ว่าจะป้องกันกำจัด เพลี้ย แมลงหวี่ขาวในแปลงเราแล้ว สามสี่วันถัดมา พวกที่ระบาดอยู่รอบนอก ในแปลงข้างเคียง หรือในตำบลใกล้ๆกัน ก็อาจจะระบาด และแพร่กระจายมาที่สวน หรือไร่ของเราอีก

ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช ผสมกับ FK-1 เพื่อบำรุงให้พืชฟื้นฟูจากการเข้าทำลายได้ดีขึ้น และสร้่างภูมิต้านทานให้กับ กัญชา กัญชง ทุก 3-5 วันในกรณีที่ระบาดแล้ว หรือทุก 15-30 วัน ในกรณีเพื่อป้องกันการระบาด
อ่าน:3573
เผยปลูกกัญชง 4 เดือน ฟันกำไร 2 ล้าน ต้องรู้เทคนิค แนะจุดต่างกัญชา
เผยปลูกกัญชง 4 เดือน ฟันกำไร 2 ล้าน ต้องรู้เทคนิค แนะจุดต่างกัญชา
นักวิชาการ เผยปลูกกัญชง 4 เดือน ฟันกำไร 2 ล้าน ต้องรู้เทคนิค แนะจุดต่างกัญชา

ชื่อของ “กัญชง” ถูกพูดถึง ถูกสงสัย และกลายเป็นพืชที่คนไทยอยากรู้จักมากที่สุด ภายหลังจากที่ ครม.ไฟเขียว เห็นชอบ ร่างกฎกระทรวง ดัน “กัญชง” เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่

ส่วน “กัญชง” คืออะไร ปลูกยังไง ปลูกแล้วรวยหรือไม่ และแตกต่างจากกัญชาอย่างไร ทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์ พูดคุยกับ รศ.ดร.วิเชียร กีรตินิจกาล ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาควิชาพืชไร่นา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และที่ปรึกษา การปลูกและการปรับปรุงพันธุ์กัญชา องค์การเภสัชกรรม มีข้อมูลน่าสนใจมากมาย ทีมข่าวไล่เรียงใจความสำคัญมาให้ ดังต่อไปนี้

กัญชง VS กัญชา แตกต่างกันอย่างไร?
“อันที่จริงแล้ว กัญชง กับ กัญชา เป็นพืชวงศ์เดียวกัน ถือว่าเป็นพี่น้องกันก็ว่าได้ เพียงแต่ทั้งคู่จะมีความแตกต่างทางกายภาพ และปริมาณสารสำคัญ ซึ่งสหประชาชาติกำหนดไว้ว่า ในกัญชง ต้องมีสาร THC ต่ำกว่า 0.2% แต่สำหรับประเทศไทยกำหนดไว้ว่า ต้องมี THC ไม่เกิน 1% และไม่ให้ใช้ในอาหาร” รศ.ดร.วิเชียร กล่าว

โดย "กัญชง" และ "กัญชา" จะมีลักษณะทางกายภาพแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

กัญชง - มีลำต้นสูงประมาณ 2 เมตรขึ้นไป สูงใหญ่กว่ากัญชา แตกกิ่งก้านน้อย ใบเป็นสีเขียวอมเหลือง มีแฉกประมาณ 7-9 แฉก แต่กัญชงมีข้อแตกต่างที่ชัดเจนจากกัญชา คือ ชั้นของกิ่งจะสูงชะลูดกว่ากัญชา และถึงแม้ว่า กัญชงจะมีใบเหมือนกัญชา แต่มีสีเขียวเหลืองมากกว่ากัญชา

ขณะที่ กัญชง จะมีสารสำคัญที่จะกล่าวถึงต่อไป คือ THC (Tetrahydro Cannabionol สารออกฤทธิ์ทางจิตประสาททำให้เมา) และ CBD (Cannabinol ไม่ออกฤทธิ์ทางจิตประสาทและไม่เมา)

กัญชา - ส่วนกัญชามีความสูงไม่ถึง 2 เมตร แตกกิ่งก้านมาก มีใบประมาณ 5-7 แฉก เป็นสีเขียวถึงเขียวจัด ส่วนใบเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้ง โดยมีสรรพคุณช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการได้รับเคมีบำบัด ช่วยผ่อนคลาย แต่หากเสพในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตัวเองไม่ได้

ประโยชน์ “กัญชง”
โดย รศ.ดร.วิเชียร แบ่งประโยชน์ของกัญชง ออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใย (ชาวเขาในประเทศไทยปลูก)
การปลูกกัญชงเพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใยจะใช้ในส่วนของลำต้น ซึ่งเส้นใยของกัญชงนั้น มีคุณภาพสูง จึงถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเป็นผลิตภัณฑ์ ได้มากกว่า 50_000 รายการ เช่น เสื้อผ้า_ เยื่อกระดาษ_ เชือก_ กระเป๋า_ ฉนวนกันความร้อน_ วัสดุก่อสร้าง_ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ส่วนกากใยที่เหลือก็สามารถนำไปผลิตเป็นเอทานอลได้อีกด้วย

“เส้นใยของกัญชงมีความแข็งแรงมากกว่าฝ้ายถึง 2 เท่า เพราะฉะนั้น เสื้อยืด cotton ธรรมดา ราคาส่งในตลาดอาจอยู่ที่ 30-60 บาท แต่พอเป็นเสื้อที่ผสมใยกัญชง ราคาส่งในตลาดจะพุ่งไปที่ 120-150 บาททันที”

2. ปลูกเพื่อเอาเมล็ด (เมืองไทยยังไม่มีใครปลูก)
ขณะเดียวกัน เมล็ดของกัญชงก็ยังสามารถสกัดเป็นน้ำมันคุณภาพเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร_ เครื่องสำอาง และยังมีโอเมก้า 3 ที่สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหารได้ อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยยับยั้งความเสื่อมของเซลล์ ลดภาวะการอักเสบของผิวหนังได้อีกด้วย

"โดยมูลค่าของน้ำมันจากเมล็ดกัญชง 1 ลิตรจะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 3_000-4_000 บาท” รศ.ดร.วิเชียร กล่าว

3. ปลูกเพื่อเอาสาร CBD (ประเทศไทยปลูกได้ แต่ห้ามเอามาใส่ในอาหารเสริม แต่สามารถเอามาใช้เป็นยาได้)
“การปลูกกัญชงเพื่อเอาสาร CBD จะใช้ส่วนของดอก ซึ่งกัญชงประเภทนี้ จะมีความคล้ายกัญชามากๆ และจะมีสาร THC น้อยมาก แต่ให้สาร CBD สูง” รศ.ดร.วิเชียร กล่าว

“การนำ CBD มาใช้เป็นยา ถือว่าให้ผลที่ดีมาก ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในไทยป่วยเป็นลมชัก อาการอยู่ในระดับแย่มาก แต่เมื่อใช้สารสกัด CBD ก็สามารถรอดชีวิตมาได้ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า นักศึกษาคนหนึ่งที่กำลังจะตาย เพราะไม่มียารักษา กลับรอดด้วยสาร CBD จากกัญชง และนอกจากนี้ สาร CBD ยังช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของการนอนไม่หลับ_ การเจ็บป่วย (ทดแทนมอร์ฟีน)_ รักษาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน_ ผลิตภัณฑ์กลุ่มรักษาสิว และเครื่องสำอางได้อีกด้วย” รศ.ดร.วิเชียร กล่าว

ปลูกกัญชงแล้วจะรวยหรือไม่?
เมื่อถามว่า การปลูกกัญชง จะทำให้รวยหรือไม่? รศ.ดร.วิเชียร ผู้มากประสบการณ์ในการวิจัยและพัฒนากัญชง ให้คำตอบว่า “ถ้าถามว่า ปลูกกัญชงแล้วจะรวยไหม คำตอบก็คือ มีโอกาสที่รายได้จะดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งการปลูกกัญชงที่ชาวเขาปลูก มีรายได้ไร่ละ 2_000-3_000 บาท จึงไม่มีใครอยากปลูก เพราะรายได้น้อยมาก แต่ถ้าคุณปลูกพันธุ์ที่ดี คุณปลูกถูกวิธี คุณก็จะได้เงินเยอะ เพราะฉะนั้น คุณต้องรู้ว่า คุณควรปลูกกัญชงเพื่อใช้ประโยชน์แบบไหน และคุณต้องรู้ว่า คุณจะปลูกไปขายให้ใคร”

“การปลูกกัญชงเพื่อเอาเส้นใย จะได้เงินน้อยกว่าการปลูกกัญชงเพื่อเอาเมล็ด แต่การปลูกกัญชงเพื่อเอาเมล็ดก็จะได้เงินน้อยกว่าการปลูกกัญชงเพื่อเอาสาร CBD” รศ.ดร.วิเชียร กล่าว

โดย รศ.ดร.วิเชียร กล่าวถึงผลกำไรจากการปลูก “กัญชง” ซึ่งใช้ระยะเวลาในการปลูกรอบละ 4 เดือน บนพื้นที่ 1 ไร่ จะได้ผลกำไรโดยประมาณ(หากปลูกอย่างถูกวิธี) ดังต่อไปนี้

ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใย --> กำไร 2_000 บาท
ปลูกเพื่อเอาเมล็ด --> กำไร 20_000 บาท
ปลูกเพื่อเอาสาร CBD (ขาดตลาด ความต้องการสูงมาก) --> กำไร 2_000_000 บาท หรือเฉลี่ยกิโลกรัมละประมาณ 70_000 กว่าบาท
“แม้สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงจะอนุญาตให้ปลูกกัญชงได้ครัวเรือนละไม่เกิน 1 ไร่ แต่ต้องมีใบอนุญาตปลูก พร้อมระบุสายพันธุ์ที่ได้รับอนุญาต แต่ภาครัฐก็ต้องอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจด้วยว่า การปลูกกัญชงสามารถนำไปขายใครได้บ้าง ปลูกอย่างไร เพราะถ้าปลูกไปแล้ว แต่ไม่รู้จะเอาไปขายใคร ก็เปล่าประโยชน์” รศ.ดร.วิเชียร ทิ้งท้าย.

Reference: thairath.co.th/news/ local/bangkok/1761733
อ่าน:3393
43 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 4 หน้า, หน้าที่ 5 มี 3 รายการ
|-Page 4 of 5-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
การป้องกันและกำจัด โรคราน้ำค้างในเมล่อน ด้วยสารอินทรีย์ และเทคนิคการควบคุมไอออน
Update: 2566/01/11 19:51:02 - Views: 3481
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราดำ ในมะนาว ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/21 10:03:36 - Views: 3577
ระวัง !! โรคราสนิม ในต้นถั่วลิสง สร้างเสียหายได้มาก ป้องกันได้อย่างไร?
Update: 2566/10/31 14:24:49 - Views: 3447
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนแมลงวันทองหรือแมลงวันผลไม้ ใน แก้วมังกร และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/28 13:59:08 - Views: 3401
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคเถาเหี่ยว ในแตงโม ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/20 13:57:50 - Views: 3395
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์: การเลือกใช้ 3 สูตรตามช่วงอายุของข้าวโพด
Update: 2567/01/26 13:28:06 - Views: 3448
ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 5-3-14 (เพอร์เฟคพี) ตรานกอินทรีคู่ สำหรับ เร่งผล เร่งน้ำหนัก เพิ่มความหวาน พืชออกผลทุกชนิด รวมถึงอ้อย และมันสำปะหลัง
Update: 2566/01/02 08:14:10 - Views: 3513
การควบคุมและป้องกันการระบาดของหนอนในกระหล่ำดอก: วิธีการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ
Update: 2566/11/11 10:32:14 - Views: 3449
แก้วมังกรเงินล้านของเกษตรกรตัวอย่าง-สกลฯ
Update: ././. .:.:. - Views: 3455
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรครากเน่า โคนเน่า ในกัญชา กัญชง ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/21 09:15:12 - Views: 3507
ประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในมะกรูด
Update: 2566/05/04 11:56:57 - Views: 3428
การจัดการกับเพลี้ยในกระเจี๊ยบเขียว
Update: 2566/11/21 10:43:59 - Views: 3422
พช.อยุธยา เดินหน้าขับเคลื่อน “โคก หนอง นา อยุธยา” อำเภอพระนครศรีอยุธยา
Update: 2564/08/12 00:24:54 - Views: 3403
เพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของมะนาวด้วย ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 3 สูตรที่พิเศษ
Update: 2567/02/13 08:55:59 - Views: 3415
เพิ่มผลผลิตข้าวสูงสุดด้วยปุ๋ย FK-1 และ FK-3
Update: 2566/01/05 13:36:32 - Views: 3392
ฟาร์มิค ฮิวมิค แอซิด สารปรับปรุงดิน ฟื้นระบบราก ปลดปล่อยธาตุอาหาร เพิ่มผลผลิต สำหรับต้นมันฝรั่ง
Update: 2567/02/13 09:36:19 - Views: 3492
ชาเขียว ใบไหม้ ใบร่วง กำจัดโรคชาเขียว จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/12 11:00:29 - Views: 3434
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนแก้วส้ม ใน ส้ม และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/11 10:57:09 - Views: 3454
ยาฉีดแตงกวา สำหรับป้องกันและกำจัด โรคแตงกวา และแมลงศัตรูพืชแตงกวา
Update: 2564/08/09 05:46:38 - Views: 3640
มะเขือเทศ ใบไหม้ ใบจุด แอนแทรคโนส ผลเน่า รากเน่า ราแป้ง โรคราต่างๆ กำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟูด้วย ปุ๋ย FK-T
Update: 2567/04/04 10:19:35 - Views: 3497
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022