[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ปุ๋ย
2153 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 215 หน้า, หน้าที่ 216 มี 3 รายการ

ยากำจัดเพลี้ยอ่อนคะน้า ยากำจัดหนอนในคะน้า ยาป้องกันกำจัด โรคคะน้าเน่าคอดิน โรคราน้ำค้างในคะน้า และปุ๋ยสำหรับเพิ่มผลผลิตคะน้า
ยากำจัดเพลี้ยอ่อนคะน้า ยากำจัดหนอนในคะน้า ยาป้องกันกำจัด โรคคะน้าเน่าคอดิน โรคราน้ำค้างในคะน้า และปุ๋ยสำหรับเพิ่มผลผลิตคะน้า
เพลี้ยอ่อนคะน้า

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ของเพลี้ยอ่อน จะดูดกินน้ำเลี้ยงยอดคะน้า ดูกินน้ำเลี้ยงรวมทั้งใบอ่อน และใบแก่ของคะน้า อาการที่แสดงให้เห็นคือ คะน้ายอดหงิก คะน้าใบหงิก หากคะน้าโดนเพลี้ยอ่อนเข้าทำลายมาก ใบจะมีสีเหลือง

การป้องกันและกำจัด เพลี้ยอ่อนคะน้า ทำได้โดยการฉีดพ่น มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

หนอนคะน้า หนอนใยผักในคะน้า

ตัวเมียของหนอนใยผักคะน้า จะวางไข่ได้ทั้งบนใบ และใต้ใบคะน้า ส่วนใหญ่มักจะเลือกวางไข่ไว้ใต้ใบ ลักษณะของหนอนใยผักนั้น หัวแหลม ท้ายแหลม ลำตัวเรียวยาว ตรงท้ายมีปุ่มแยกออกเป็นสองแฉก การทำลายของ หนอนใยผักคะน้า หนอนจะเข้ากัดกินผิวใบคะน้า ทำให้ใบคะน้ามีลักษณะเป็นรูพรุน

ป้องกันและกำจัด หนอนในคะน้า ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที ในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

คะน้าเน่าคอดิน โรคเน่าคอดินของคะน้า

เกิดจากเชื้อรา Pythium sp. หรือ Phytophthora sp. อาการที่แสดงคือ ต้นคะน้าจะเป็นแผลช้ำที่โคนต้น ติดกับดิน เนื้อเยื้อตรงแผล นะเน่าและค่อยๆแห้ง ต้นกล้าหักพับ และเหี่ยวแห้งตาย

โรคราน้ำค้างที่เกิดขึ้นกับคะน้า

เกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica อาการที่แสดงให้พบคือ คะน้าจะมีใบจุดสีดำ รวมกับเป็นกลุ่ม กระจายทั่วใบ สามารถลุกลามไปใบข้างเคียงได้เรื่อยๆ หากกระจายจนเต็มใบแล้ว จะทำให้ คะน้าใบเหลือง แห้ง และใบร่วง

ป้องกันและกำจัด โรคคะน้าเน่าคอดิน โรคราน้ำค้างในคะน้า และโรคคะน้าต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่นด้วย ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ปุ๋ยสำหรับเร่งโตแตกใบคะน้า ฉีดพ่นด้วย FK-1 ช่วยให้คะน้าโตไว ได้ผลผลิตสูงขึ้น

FK-1 ใช้เร่งโต เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง เพิ่มผลิต

สามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน กับยารักษาโรคพืช และยากำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช หรือยากำจัดหนอน จะช่วยให้พืช ฟื้นตัวได้เร็ว จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง และกลับมาเจริญเติบโต ได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง

อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)

อ่าน:3509
ยารักษาโรค ยาปราบแมลงศัตรูพืช สำหรับต้นหอม ปุ๋ยสำหรับหอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่
ยารักษาโรค ยาปราบแมลงศัตรูพืช สำหรับต้นหอม ปุ๋ยสำหรับหอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่
โรคหอมเลื้อย
โรคหอมเลื้อย ระบาดทำความเสียหายในฤดูฝน เกิดโรครุนแรงกับหอมหัวใหญ่เกิด โรคปานกลางกับหอมแดง และหอมแบ่งที่ปลูกเพื่อเก็บหัวทำพันธุ์ เป็นโรคเดียวกับโรคใบเน่าแอนแทรคโนส ชนิดที่เกิดจากเชื้อรา C. gloeosporioides โดยเชื้อราชนิดนี้ทำให้เกิดอาการ ใบเน่า และอาการเลื้อยไม่ลงหัวด้วย สำหรับกุยช่ายเป็นโรคใบเน่าแอนแทรคโนส แต่ไม่แสดงอาการเลื้อย

ยังยั้ง ป้องกัน โรคของหอมต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น โรคหอมเลื้อย แอนแทรคโนส โรคใบจุด ฯลฯ โดยการฉีดพ่นด้วย ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด

หนอนกระทู้หอม

บางครั้งเรียก หนอนหลอดหอม หนอนหอม หรือหนอนหนังเหนียว เป็นแมลงจำพวกผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก พบการระบาดอย่างรุนแรงช่วงเดือนเมษายน- มิถุนายน เป็นแมลงศัตรูที่ทำลายพืชสำคัญทางเศรษฐกิจมากมายหลายชนิด

ลักษณะของหนอนกระทู้หอม จะมีลำตัวอ้วน ผนังลำตัวเรียบมีหลายสี เช่น เขียวอ่อน เทาปนดำ น้ำตาลดำ น้ำตาลอ่อน ด้านข้างจะมีแถบสีขาวพาดตามความยาวลำตัวด้านละแถบ จากส่วนอกจนถึงปลายสุดลำตัว เมื่อตัวเต็มวัยจะเป็นผีเสื้อขนาดกลางสีน้ำตาลปนเทา มีวงจรชีวิตประมาณ 30-35 วัน

ป้องกันและกำจัด หนอนกระทู้หอม ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที ในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด

เพลี้ยไฟ ต้นเหตุของอาการ ใบลาย ในหอม

หลายครั้งคิดว่า หอมเป็นโรค แต่แท้จริงแล้วเป็นอาการที่ถูกเพลี้ยไฟเข้าทำลาย เนื่องจากเพลี้ยไฟมีขนาดตัวที่เล็กมาก ทำให้ยากต่อการสังเกตเห็น โดยลักษณะอาการที่แสดงบนใบหอมจะลายๆเหมือนในรูปตัวอย่าง ทำให้ผลผลิตไม่เป็นที่ต้องการของตลาด และจำหน่ายไม่ได้ราคา ทั้งยังเป็นช่องทางให้เชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายซ้ำที่ลอยแผลได้อีกด้วย

ป้องกันและกำจัด เพลี้ย ต่างๆ ฉีดพ่นด้วย มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด หากฉีดเฉพาะต้นที่เป็น เพลี้ยก็ย้ายไปอยู่บริเวณข้างเคียงโดยรอบ ฉนั้น ควรฉีดพ่นให้คลอบคลุมทั้งแปลง

ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต สำหรับต้นหอม

FK-1 ใช้เร่งโต เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง เพิ่มผลิต

สามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน กับยารักษาโรคพืช และยากำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช จะช่วยให้พืช ฟื้นตัวได้เร็ว จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง และกลับมาเจริญเติบโต ได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง

อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)
อ่าน:3918
ปลูกแตงโมไร้สารเคมี พลิกวิกฤตแล้ง รายได้ 6 หมื่นบาทต่อไร่เป็นอย่างน้อย เกษตรกรเมืองพัทลุง
ปลูกแตงโมไร้สารเคมี พลิกวิกฤตแล้ง รายได้ 6 หมื่นบาทต่อไร่เป็นอย่างน้อย เกษตรกรเมืองพัทลุง
ปลูกแตงโมไร้สารเคมี พลิกวิกฤตแล้ง รายได้ 6 หมื่นบาทต่อไร่เป็นอย่างน้อย เกษตรกรเมืองพัทลุง
เกษตกรเมืองพัทลุงพลิกวิกฤตแล้งเป็นโอกาสปลูกแตงโมไร้สารเคมีขายได้ไร่ละไม่ต่ำกว่า 6 หมื่นบาท
นายสุวิทย์ ดิษโต เกษตรกรเจ้าของสวนแตงโม อยู่บ้านเลขที่ 129 ม.1 ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง กล่าวว่า ได้ร่วมกับชาวบ้านใกล้เคียงงปลูกแตงโม พันธุ์กินรี C28 จนสามารถสร้างรายได้พลิกฟื้นตัวเองได้เร็วเพียงใช้ระยะเวลาไม่นานนัก ซึ่งแตงโมที่เลือกปลูกนั้นเป็นพันธุ์กินรี C28 เป็นพืชที่ไม่ชอบสภาพอากาศที่ฝนตกชุก จึงเหมาะที่จะปลูกในช่วงหน้าร้อนเพราะรสชาติของแตงโมจะมีรสชาติที่หวานน่ารับประทานและมีสีแดงสด


การปลูกแตงโมแต่ละพันธุ์ก็จะไม่แตกต่างกัน ซึ่งควรที่จะเริ่มจากเตรียมดินไถเปิดหน้าดินรอบแรกลึกประมาณ 1 ฟุต ตากดินให้แห้งไว้ 2 สัปดาห์ ใช้รถไถย่อยดินอีกหนึ่งรอบ ระยะปลูกแตงโมนั้นส่วนใหญ่จะใช้ความกว้างประมาณ 6 เมตร (แต่ถ้าช่วงหน้าแล้ง กว้าง 5 เมตรหน้าฝน กว้าง 7 เมตร) ทำแถวคู่ระยะปลูกระหว่างหลุม 60 เซนติเมตรระหว่างแถวห่าง 6 เมตรปรับปรุงดินโดยใส่ปุ๋ยคอก 1 ตัน ต่อไร่ หว่านปูนขาวให้ทั่วเพื่อปรับสภาพดิน ใช้รถไถเล็กยกแปลงกรีดร่อง ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ( 16-16-16)จำนวน30กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่เกิน 50 กิโลกรัมขึ้นอยู่กับสภาพพื้นดินว่ามีความสมบูรณ์แค่ไหน จากนั้นไถยกร่องโดยรถไถเดินตามยกแปลง หว่านเมล็ดหลุมละ3 เมล็ด ใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ คัดให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม

นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า การที่จะเพิ่มผลผลิตได้ คือการตัดแต่งแขนง หรือเถาการปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตและคุณภาพสูง และ จำเป็นต้องมีการตัดแต่งแขนง เพื่อให้เกิดการสมดุลในการสร้างและใช้อาหาร โดยให้ต้นแม่มีการเจริญเติบโตเต็มที่การปล่อยให้เถาแขนงและผลเจริญในระยะแรกจะทำให้เกิดการแย่งอาหารส่งผลให้ยอดของต้นแม่ชะลอหรือชะงักการเจริญ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตและคุณภาพตํ่า และการบำรุงก็ไม่ยุ่งยาก ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีผสมเพียงเล็กน้อย แตงโมจะเริ่มออกดอกและติดผลเป็นลูกเล็กๆ ตามเถาที่เลื้อยบนดินในแปลงต้องมั่นดูแลเรื่องโรคและแมลง ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตแตงโมกินรีนั้นประมาณ 60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้

"ในพื้นที่ ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว ที่ปลูกนั้นเป็นพื้นที่ ที่เหมาะสม ช่วงนี้เป็นช่วงที่เหมาะแก่การเพาะปลูกเพราะ ไม่มีโรคแมลงเข้ารบกวน และสามารกเก็บผลผลิตขายสร้างรายได้ดี โดยช่วงนี้จะขายกันอยู่ที่ กก.ละ12 บาท ซึ่งราคาจะสูงกว่าพื้นที่อื่น เนื่องจากชาวบ้านปลูกโดยไม่ใช้สารเคมีแต่อย่างใด แถมยังให้ผลผลิตสูง และเป็นที่ต้องการของตลาดสามารถขายได้ไร่ละไม่ต่ำกว่า 6 หมื่นบาทเลยทีเดียว"

ข้อมูลจาก posttoday.com/social/local/76834
อ่าน:3420
ปุ๋ยสำหรับอ้อย เพื่อบำรุงผลผลิต การแก้โรคอ้อย ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ป้องกันกำจัดเพลี้ย ในไร่อ้อย
ปุ๋ยสำหรับอ้อย เพื่อบำรุงผลผลิต การแก้โรคอ้อย ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ป้องกันกำจัดเพลี้ย ในไร่อ้อย
ผู้ปลูกอ้อย มีความชำนาญด้านการใช้ปุ๋ยเม็ดกับไร่อ้อย เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ในครั้งนี้ เป็นการใช้ ปุ๋ยน้ำ เพื่อบำรุงอ้อย ให้เจริญเติบโตดี เพิ่มผลผลิต เพิ่มน้ำหนัก เร่งค่า CCS หรือค่าความหวาน เพื่อให้ขายอ้อยได้ราคาขึ้น

ฉีดพ่นทางใบ เพื่อเร่งการเจริญเติบโต เพิ่มความเขียว สมบูรณ์แข็งแรง เร่งการย่างปล้องให้เร็วขึ้น ฉีดพ่นด้วย FK-1 สามารถฉีดพ่นได้ตั้งแต่อ้อยมีอายุ 15 วัน ไปจนถึง 3 เดือน ฉีดพ่นได้ทุกๆ 15-30 วัน

FK-1 ใช้บำรุงให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง เร่งโต และเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง
สามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)

เมื่ออ้อย เข้าสู่ระยะ 4 เดือนแล้ว เปลี่ยนมาใช้ FK-3S สำหรับอ้อยโดยเฉพาะ ตัว FK-3S นี้ จะเน้นไปที่ธาตุ โพแตสเซียม สูงกว่าธาตุอื่นๆ เพื่อส่งเสริมกระบวนการสะสมแป้งและน้ำตาล ทำให้อ้อยขยายขนาดลำได้ใหญ่ขึ้น และมีค่าความหวาน หรือค่า CCS ที่สูงขึ้น ได้น้ำหนักดี สามารถฉีดพ่นได้ในช่วงอายุ 4-6 เดือน ฉีดพ่นทุก 15-30 วัน ตามความเหมาะสม

ป้องกัน กำจัดเพลี้ยอ้อย เพลี้ยอ่อน และเพลี้ยต่างๆในไร่อ้อย
ฉีดพ่นด้วย มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด หากฉีดเฉพาะต้นที่เป็น เพลี้ยก็ย้ายไปอยู่บริเวณข้างเคียงโดยรอบ ฉนั้น ควรฉีดพ่นให้คลอบคลุมทั้งแปลง

ยับยั้งโรคอ้อย ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ เช่น โรคแซ่ดำ ใบจุดวงแหวน ราสนิม เน่าคออ้อย
ฉีดพ่นด้วย ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด

การฉีดพ่น มาคา เพื่อกำจัดเพลี้ย หรือ ไอเอส เพื่อยับยั้งโรครา สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อเร่งให้พืชฟื้นตัวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และกลับมาเจริญเติบโต สมบูรณ์แข็งแรง

อ่าน:4180
ปุ๋ยสำหรับข้าว ปุ๋ยเพิ่มผลผลิตข้าว ยาแก้โรคใบไหม้ เน่าคอรวง ยากำจัดเพลี้ยในนาข้าว
ปุ๋ยสำหรับข้าว ปุ๋ยเพิ่มผลผลิตข้าว ยาแก้โรคใบไหม้ เน่าคอรวง ยากำจัดเพลี้ยในนาข้าว
การให้ปุ๋ยข้าว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้น ต้องให้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารเหมาะสม สอดคล้องกับช่วงอายุของการเจริญเติบโตของข้าว ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงข้าวเริ่มงอก ไปจนก่อนตั้งท้อง เราควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารที่เน้นไปทางส่งเสริมการเจริญเติบโต ส่งเสริมระบบราก เพื่อให้ดูดกินอาหารได้ดี และเพิ่มความเขียว เพื่อให้ต้นข้าวสังเคราะห์แสงได้ดี ทำให้ข้าวโตไวและแข็งแรง หากเราเน้นให้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารที่เร่งกระบวนการเพิ่มผลผลิตในช่วงนี้ จะสิ้นเปลือง เพราะต้นข้าวจะไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

ในทางกลับกัน ในระยะข้าวตั้งท้อง ควรลดปริมาณการให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง และเพิ่มโพแตสเซียมให้มากขึ้น เพื่อที่จะส่งเสริมกระบวนการลำเลียงสะสมแป้งและน้ำตาล เพื่อให้ข้าวออกรวงได้ยาว มีเมล็ดเต็ม มีน้ำหนัก ส่งผลให้ผลผลิตข้าวมีคุณภาพ และได้ผลผลิตในปริมาณที่สูงขึ้น

ฉีดพ่นด้วย FK-1 สำหรับข้าวหลังปลูก ไปจนถึงก่อนข้าวตั้งท้อง สามารถฉีดพ่นได้ต่อเนื่องทุกๆ 7-15 วัน เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโต เร่งการแตกกอ เพิ่มความเขียวสมบูรณ์ แข็งแรงให้กับต้นข้าว

อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร

ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)

ข้าวเริ่มตั้งท้อง เปลียนมาฉีดพ่นด้วย FK-3R ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างจาก FK-1 ตรงที่ FK-3R นั้น เน้นธาตุโพแตสเซียมสูง 40 เปอร์เซ็นต์ โพแตสเซียมนี้ จะส่งเสริมกระบวนการลำเลียง เคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล มาสะสมเป็นเมล็ดข้าว ข้าวที่เราปลูกนั้นจะมีรวงยาว เมล็ดเต็ม ได้ผลผลิตดี มีน้ำหนัก อัตราการใช้ FK-3R นั้น เป็นเช่นเดียวกันกับ FK-1 สามารถฉีดพ่นได้ต่อเนื่องทุกๆ 7-15 วัน ตามความเหมาะสมของผู้ปลูก

ยายับยังโรคข้าวต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
โรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบขีดสีน้ำตาล โรคใบวงสีน้ำตาล โรคกาบใบแห้ง โรคกาบใบเน่า โรคเมล็ดด่าง โรคขอบใบแห้ง โรคใบแถบแดง โรคกล้าเน่า โรคลำต้นเน่า
ฉีดพ่นด้วย ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด

ยากำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูข้าว
เพลี้ยไฟข้าว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก
ใช้ มาคา ยาอินทรีย์ สารอัลคาลอยด์ ป้องกัน กำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูข้าว ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด

ยากำจัดหนอนต่างๆ ในนาข้าว
หนอนกอข้าว หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าว หนอนกระทู้กล้า หนอนห่อใบข้าว หนอนปลอกข้าว หนอนกระทู้คอรวง
ใช้ ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ ป้องกันกำจัดหนอน ในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด
อ่าน:3448
เกษตรกร จังหวัดพิจิตร ปลูกอินทผลัม 7 ไร่ จากเดิมเคยทำนา ผ่านไปสองปีกว่า รายได้เกินล้าน ยอดสั่งจองล่วงหน้าต่อเนื่อง
เกษตรกร จังหวัดพิจิตร ปลูกอินทผลัม 7 ไร่ จากเดิมเคยทำนา ผ่านไปสองปีกว่า รายได้เกินล้าน ยอดสั่งจองล่วงหน้าต่อเนื่อง
เกษตรกร จังหวัดพิจิตร ปลูกอินทผลัม 7 ไร่ จากเดิมเคยทำนา ผ่านไปสองปีกว่า รายได้เกินล้าน ยอดสั่งจองล่วงหน้าต่อเนื่อง
เกษตรกร จ.พิจิตร ตัดสินใจเลิกทำนาใช้พื้นที่ 7 ไร่ ปลูกอินทผลัมใช้เวลา 2 ปีเศษ ปัจจุบันมีผู้สั่งจองขอซื้อผลผลิตจำนวนมาก คาดรายได้ไม่ต่ำกว่าหลักล้านบาท

ชาตรี อ๊อดหมี “ตั๊ก” อายุ 58 ปี ซึ่งทำแปลงปลูกอินทผลัม อยู่ที่หมู่ 9 ต.สากเหล็ก อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร บนพื้นที่ 7 ไร่ ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ทำนาปลูกข้าว จากนั้นปรับเปลี่ยนมาปลูกอินทผลัม ทั้งหมดประมาณ 230 ต้น ปลูกระยะ 6 X 6 เมตร เป็นอินทผลัมสายพันธุ์ “บาร์ฮี” หรือ “บัรฮี” เป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับการทานผลสดโดยเฉพาะ มีแหล่งกำเนิดในประเทศอิรัก ปัจจุบันมีการปลูกกันแพร่หลายในหลายประเทศ กล่าวกันว่า พันธุ์บาร์ฮี เป็น "แอปเปิ้ลแห่งตะวันออกกลาง"

ชาตรี เล่าว่า ได้ไปดูงานนิทรรศการที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ เกิดความสนใจจึงได้ลงทุนซื้อต้นพันธุ์อินทผลัมเพาะเนื้อเยื่อมาจำนวน 118 ต้น ต้นละ 1_200 บาท อีก 112 ต้น เป็นพันธุ์ที่เพาะเมล็ด พันธุ์แม่โจ้ 36 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ไทย ราคาต้นละ 250 บาท พร้อมทั้งลงทุนขุดสระน้ำเอาดินมาถมพื้นที่นา 7 ไร่ ให้เป็นแปลงปลูกอินทผลัม ลงทุนครั้งแรกประมาณ 3-4 แสนบาทเศษ บริหารจัดการใช้ระบบการให้น้ำแบบปล่อยน้ำด้วยระบบท่อใส่ต้นทุกต้น การให้ปุ๋ยพื้นที่ 7 ไร่ 2 ปี ที่ผ่านมาใช้ปุ๋ย 10 กว่ากระสอบเท่านั้น

นอกจากนี้ เฝ้าระวังเรื่องโรคแมลงและหนูนาที่ชอบมากัดกินผลผลิต วิธีป้องกันจะห่อช่อของอินทผลัมด้วยผ้ารี่หรือผ้าตาข่ายพลาสติกแล้วห่อด้านนอกซ้ำด้วยกระดาษฟอยด์ ซึ่งจะห่อในช่วงที่อินทผลัมเริ่มออกช่อและผสมเกสรประมาณเดือน ก.พ.ของทุกปี และต้องมีการตัดแต่งผลเพื่อให้ลูกโตได้ขนาดตามความต้องการ ขณะนี้ปลูกมาเป็นระยะเวลา 2 ปีเศษ ผลผลิตรุ่นแรกที่จะเก็บขายสร้างรายได้ คือราวกลางเดือน ก.ค. 2561

สำหรับเรื่องการตลาดขณะนี้มีผู้สนใจมาจับจองซื้อถึงหน้าสวน โดยจ่ายเงินล่วงหน้ามัดจำไว้แล้วก็มี ซึ่งก็เป็นพ่อค้าและแม่ค้าจาก จ.ปัตตานี นครนายก และ จ.สระบุรี สำหรับราคาซื้อขายเปิดราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 500 บาท พื้นที่ 7 ไร่ ใช้เวลา 2 ปี ปลูกอินทผลัม 230 ต้น ต้นหนึ่งได้ผลผลิตประมาณ 20 กิโลกรัม ดังนั้นจึงคาดว่าจะได้เงินจากการขายผลผลิตอินทผลัมในรุ่นแรกนี้ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทเศษ ซึ่ง 1 ปี เก็บผลผลิตได้ 1 ครั้ง ดีกว่าการทำนาหลายเท่าตัว

กิตติชาติ ชาติยานนท์ เกษตรจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า เกษตรกรรายนี้ถือได้ว่าเป็นผู้มีแนวคิดและใฝ่รู้ศึกษาในการปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวหันมาปลูกอินทผลัม ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่ชาวตะวันออกกลางหรือชาวมุสลิมนิยมบริโภค แต่ขอให้คำแนะนำกับเกษตรกรท่านอื่นๆ ที่สนใจหรือจะทำตามว่า ขอให้ศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน ทั้งนี้เพื่อลดอัตราความเสี่ยง ซึ่งถ้าหากสนใจสำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตรก็พร้อมจะเป็นพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาให้ในเรื่องการทำเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP)

สำหรับข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับอินทผลัม ก็คืออินทผลัม เป็นผลไม้ที่ไม่มีคอเลสเตอรอลและไขมันต่ำ นอกจากนี้เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ วิตามิน A_ วิตามิน B1_ วิตามิน B2_ วิตามิน B6_ วิตามิน K_ แคลเซียม_ ซัลเฟอร์_ เหล็ก_ โพแทสเซียม_ ฟอสฟอรัส_ แมงกานิส_ แมกนีเซียม และน้ำมันโวลาไทล์ แถมยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ซึ่งช่วยในการลดอาการท้องผูก

ข้อมูลจาก posttoday.com/economy/sme/563538
อ่าน:3427
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง เพิ่มขนาดและน้ำหนักหัวมันสำปะหลัง Technology of increate cassava yield
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง เพิ่มขนาดและน้ำหนักหัวมันสำปะหลัง Technology of increate cassava yield
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง เพิ่มขนาดและน้ำหนักหัวมันสำปะหลัง Technology of increate cassava yield
ในสภาพแวดล้อมที่เหมะสม มันสำปะหลังอาจให้ผลผลิตสูงกว่า 20 ตันต่อไร่ ที่เปอร์เซ็นแป้ง 20-30 เปอร์เซ็น

มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญระดับแนวหน้า และกำลังทวีความสำคัญยิ่งขึ้นไปเนื่องจากมีประโยชน์ใช้สอยอย่างกว้างขวาง และสามารถปลูกได้ในดินดอนทั่วไปอย่างแทบจะไร้ขีดจำกัดเมื่อมีการปฏิบัติดูแลอย่างดีพอสมควร มันสำปะหลังนับว่าเป็นพืชที่มีศักยในการให้ผลผลิตสูงมากพืชหนึ่ง ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน และในท้องที่ที่มีสภาพที่เหมาะสม อาจให้ผลผลิตสูงกว่า 20 ตันต่อไร่ โดยที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งอยู่ในช่วง 25-30 เปอร์เซ็นต์

การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง สภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ

ถึงแม้ว่ามันสำปะหลังจะเป็นพืชที่ปลูกง่ายตายยากและให้ผลผลิตโดยง่าย โดยมีความเสี่ยงน้อยต่อความไม่เหมาะสมของสิ่งแวดล้อมก็ตาม แต่การที่จะให้มันสำปะหลังแสดงออกถึงศักยภาพของแต่ละสายพันธุ์ที่มีอยู่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก โดยทั่วไปย่อมเป็นที่รู้ในหมู่นักวิชาการว่าในการปลูกมันสำปะหลังนั้นมีหลัก และขั้นตอนที่สำคัญอยู่หลายประการ ซึ่งผู้ปลูกควรจะยึดถือเป็นแนวปฏิบัติซึ่งได้แก่ การใช้พันธุ์ที่ดีที่เหมาะสมกับท้องที่ การใช้ต้นพันธุ์ และการใช้พันธุ์ที่มีคุณภาพ การปรับปรุงบำรุงดินและการเตรียมดินอย่างถูกวิธี การเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม การปลูกย่างประณีตโดยใช้ระยะปลูกอย่างเหมาะสม การใส่ปุ๋ยให้เพียงพอและสมดุล การปฏิบัติดูแลด้วยการเอาใจใส่พอสมควร ไปจนถึงการเลือกเวลาเก็บเกี่ยวและการเก็บเกี่ยวอย่างเหมาะสม ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นอกจากนี้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งของมันสำปะหลังยังขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อีกมาก เช่น ความชื้นในดิน ในอากาศ อุณหภูมิ และแสง เป็นต้น

พันธุ์มันสำปะหลังที่นิยมปลูกในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้มีพันธุ์มันสำปะหลังที่ดีถูกสร้างออกมาให้เกษตรกรใช้เป็นจำนวนมาก ที่เป็นพันธุ์รับรองซึ่งได้รับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมีมากกว่า 7 สายพันธุ์ เช่น พันธุ์ระยอง 5 พันธุ์ระยอง 7 พันธุ์ระยอง 9 พันธุ์ระยอง 72 และพันธุ์ระยอง 90 ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง นอกจากนี้ยังมีพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ที่มางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้พัฒนาขึ้น และนำอกมาให้เกษตรกรใช้ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะมีการปรับตัวได้อย่างดีเยี่ยมต่อสภาพแวดล้อม เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมกับมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยได้พัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังขึ้นมาพันธุ์หนึ่งและได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชื่อว่าพันธุ์ห้วยบง 60 ซึ่งเป็นมันสำปะหลังอีกพันธุ์หนึ่งที่ให้ผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งสูงในหลายพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมา

มันสำปะหลังพันธุ์รับรอง ที่ให้ผลผลิตสูง

จากการทดลองในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในปี พ.ศ.2546-2547 พบว่า มันสำปะหลังพันธุ์รับรอง 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 พันธุ์ระยอง 5 พันธุ์ระยอง 72 และพันธุ์ระยอง 90 สามารถให้ผลผลิตสูงอยู่ในช่วงระหว่าง 11-12 ตันต่อไร่ที่อายุ 13 เดือน โดยมีเปอร์เซ็นต์แป้งอยู่ที่ 25-28 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มที่จะสามารถทำให้ผลผลิตสูงขึ้นกว่านี้ได้ นอกจากนี้ยังมีมันสำปะหลังที่ยังไม่ได้ผ่านการรับรองแต่มีศักยในการให้ผลผลิตดีในบางท้องที่ และยังมีพันธุ์อื่นๆ ที่เกษตรกรรวบรวมหรือจัดหามาได้ ก็อาจนำมาใช้ได้ ปัจจุบันระบบการปลูกมันสำปะหลังอาจมีความจำเป็นจะต้องนำเครื่องทุ่นแรงเข้ามาใช้มากขึ้น ตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว ดังนั้นพันธุ์มันสำปะหลังที่จะนำมาใช้นอกจากจะมีผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งสูงแล้วยังควรมีลำต้นตั้งตรงไม่แตกกิ่งอีกด้วย ดังนั้นเกษตรกรจึงควรสังเกตและเลือกเก็บพันธุ์ที่ดีด้วยตนเอง

ท่อนพันธุ์ที่ดี และความยาวท่อนพันธุ์ที่เหมาะสมกับ การปลูกมันสำปะหลัง

ท่อนพันธุ์หรือท่อนปลูก เมื่อผู้ปลูกมันสำปะหลังแน่ใจว่าพันธุ์ที่มีอยู่ในมือนั้น เป็นพันธุ์ที่ดี ขั้นต่อไปก็คือควรจะปลูกรักษาพันธุ์ดีเอาไว้ และเอามาเป็นท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพ จากนั้นจึงนำมาใช้เมื่อมีอายุระหว่าง 8-20 เดือน โดยใช้เฉพาะส่วนกลางของลำต้นที่มีความแก่-อ่อน พอเหมาะ ขนาดของท่อนพันธุ์ที่ใหญ่มักจะให้หัวมากกว่าท่อนพันธ์ที่เล็กถ้าสามารถตัดได้โดยไม่แตก ความยาวของท่อนอาจอยู่ที่ 15-25 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับฤดูปลูกและเตรียมดิน การใช้ท่อนพันธุ์ที่ค่อนข้างสั้นจะเหมาะกับการปลูกในช่วงที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ ในช่วงต้นฝนหรือผู้ปลูกมีต้นพันธุ์จำนวนจำกัด การใช้ท่อนพันธุ์ที่มีความยาวกว่า 30 เซนติเมตร อาจใช้ได้ดีเมื่อเตรียมดิน และใส่ปุ๋ยได้ลึกหรือในสภาพที่ปัญหาวัชพืชที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งการใส่ปุ๋ยและปลูกลึกในบางพันธุ์จะช่วยเพิ่มผลผลิตได้มาก

การเตรียมดินปลูกมันสำปะหลัง ไม่เหมือนกันในแต่ละสภาพแวดล้อม

การเตรียมดิน มีวิธีการแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ และสภาพของดิน ปริมาณน้ำฝน และการจัดการอื่นๆ สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อย หน้าดินลึก ดินร่วนซุย ในบางครั้งอาจไม่มีความจำเป็นต้องไถพรวน เพียงแต่ปลูกท่อนพันธุ์ และใส่ปุ๋ยลงไปในหลุมดินที่ได้ถอนหัวมันออกแล้วก็อาจได้ผลผลิตดีพอๆ กับที่มีการเตรียมดินอย่างดี แต่สำหรับในบางดินบางสถานการณ์ การเตรียมดินเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชต้องการอากาศมาก และต้องการสภาพของดินที่ร่วนโปร่งและฟู ในบางครั้งอาจจะต้องใช้สารปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้กายภาพของดินมีสภาพเหมาะสมดังกล่าว และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินให้ลงไปในระดับลึก ซึ่งจะทำให้เกิดผลดี เมื่อเสียบท่อนพันธุ์ลงไปในระดับลึกได้โดยไม่ขัดขวางการงอกของรากจากรอยตัด และทำให้รากของต้นอ่อนมันสำปะหลังอยู่ในอยู่ในระดับใต้ดินที่ยังมีความชื้นเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้สามารถผ่านช่วงแล้ง 5-6 เดือนได้ อย่างไรก็ดี การปลูกลึกอาจสร้างปัญหาทำให้เก็บเกี่ยวยากขึ้น ในดินที่ค่อนข้างเหนียว เกษตรกรไม่ควรเตรียมดินในขณะที่ดินมีความชื้นสูง เพราะน้ำหนักของเครื่องมือจะกดทับดินชั้นล่างให้เป็นแผ่นดินดานแข็ง ในดินที่มีปัญหาเกิดแผ่นดานขึ้นในชั้นใต้ดินควรใช้ไถสิ่วหรือไถระเบิดดาน (sub-soiler) กดลงไปในระดับลึกซึ่งจะช่วยให้ดินมีการระบายน้ำและระบายอากาศดีขึ้น

วัสดุปรับปรุงดิน และปุ๋ยเคมีก็จำเป็น มากน้อยแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม

การใส่วัสดุปรับปรุงดิน ในท้องที่ซึ่งดินแน่นง่ายการไถกลบวัชพืช และเศษมันสำปะหลังจะช่วยให้ดินโปร่งร่วนในระดับหนึ่ง แต่ในบางครั้งอาจยังไม่เพียงพอต้องหาวัสดุปรับปรุงดิน เช่น แกลบดิบ เถ้าแกลบ กากหม้อกรองอ้อย หินฝุ่นจากภูเขาไฟ หินปูนฝุ่น ปูนขาว ยิบซั่ม พูไมซ์ เพอร์ไลท์ และซีโอไลท์ ฯลฯ มาใส่ ซึ่งแต่ละชนิดมีความถูก-แพง และการจัดการไม่เหมือนกัน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้น อาจมีความจำเป็นอย่างยิ่งในดินที่แน่นง่ายหรือเนื้อดินค่อนข้างเหนียว และมีธาตุอาหารต่างๆ อยู่ในดินน้อย การรองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ 200-500 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมไปกับวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน จะช่วยให้ผลผลิตดีขึ้นมาก จะช่วยให้ต้นมันสำปะหลังมีการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตสูงและมีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นจำนวนมากอาจมีความจำเป็นต้องทำให้เจือจางลงโดยการเติมสารอินทรีย์ที่มีความเค็มน้อย เช่น ฟางข้าว แกลบ กากหม้อกรองอ้อย ฯลฯ และควรมีการหมักทิ้งไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้ความร้อนสลายไป ปุ๋ยเคมีอาจมีความจำเป็นต้องใส่รองพื้นบ้างในกรณีของพื้นที่ซึ่งไม่มีการใช้ปุ๋ยอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน

การให้ปุ๋ยมันสำปะหลังหลัง

การใส่ปุ๋ยรองพื้น มันสำปะหลังเป็นพืชที่มีศักยในการให้ผลผลิตสูง และมีอายุอยู่ในพื้นที่ปลูกค่อนข้างนาน จึงมีความต้องการธาตุอาหารในปริมาณมาก ซึ่งผลผลิตจะขึ้นอยู่กับปริมาณของธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินว่าจะสมดุลและสมบูรณ์เพียงใด มันสำปะหลังมีความสามารถในการสกัดธาตุอาหารจากหินและแร่ ซึ่งใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการใช้ปูนขาว หินปูนบด (หินฝุ่น) โดโลไมท์บด พูไมซ์ ซีโอไลท์ สเมกไตท์ ฯลฯ จะช่วยทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้กว่าครึ่งที่เป้าหมายผลผลิตเท่ากัน เศษซากพืช และปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยให้มีธาตุอาหารในลักษณะที่สมดุลขึ้นแต่ต้องใช้ในปริมาณค่อนข้างมาก ปุ๋ยเคมีอาจมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อเสริมปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็น ในกรณีที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และไม่สามารถหาเศษซากพืชหรือปุ๋ยอินทรีย์ได้เพียงพอ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 200-400 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับหินปูนฝุ่นประมาณ 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ประมาณ 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถคาดหมายผลผลิตระหว่าง 8-12 ตันต่อไร่ ในเวลา 12 เดือน โดยมีการลงทุนเพิ่มจากที่เกษตรกรเคยทำเพียงเล็กน้อย การคาดหมายผลผลิตที่มากกว่านี้อาจทำได้โดยใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้น แต่เกษตรกรจะต้องปรับระยะปลูกให้ห่างออก ทำให้ปุ๋ยเจือจางลงหรือละลายช้าลงหรือเพิ่มจำนวนครั้งในการให้ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมไปกับปุ๋ยอินทรีย์ อาจช่วยให้การย่อยสลายของปุ๋ยอินทรีย์สมดุลขึ้น และยังสามารถดึงไนโตรเจนในอากาศมาเป็นปุ๋ยในดิน และทำให้หินแร่ในดินและวัสดุปรับปรุงดินที่ใส่ลงไปย่อยสลาย ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แกต้นมันสำปะหลังได้ดีขึ้น ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อีกมาก การใช้ปุ๋ยอินทรีย์สลายเร็วหรือปุ๋ยเคมีอัตราสูงเป็นปุ๋ยรองพื้น อาจมีผลเสียต่อการงอกของท่อนปลูก และทำให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตรวดเร็วเกินไป (ขึ้นต้น) จะไม่ค่อยลงหัว

การพรวนดิน การเตรียมดิน ในการปลูกมันสำปะหลัง

การพรวนดิน ในดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างเหนียว อาจมีความจำเป็นต้องพรวนหลายครั้ง หรืออาจใช้วิธีไถดะ ตากดินไว้ให้แห้ง ซึ่งจะง่ายต่อการพรวน แต่ในดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินทราย อาจไถลึกเพียงครั้งเดียวหลังการหว่านปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ก็สามารถนำท่อนพันธุ์ลงปลูกได้เลย การพรวนดินให้ละเอียดมากเกินไปอาจทำให้ดินแน่นได้โดยง่ายเมื่อมีฝนตกหนัก ซึ่งผู้ปลูกจะต้องสังเกตและไถพรวนอย่างเหมาะสม

การยกร่องปลูกมันสำปะหลัง

การยกร่อง อาจมีความจำเป็นเมื่อดินมีความลดเทน้อย หรือพื้นที่ขนาดใหญ่มากและเป็นดินที่มีโอกาสแฉะเมื่อฝนชุกหรือดินระบายน้ำยาก การยกร่องช่วยทำให้ใส่ปุ๋ยรองพื้นได้ง่ายขึ้นโดยใส่ปุ๋ยไว้ก้นร่องและพรวนกลบ ซึ่งจะทำให้ดินมีธาตุอาหารอยู่ในระดับลึก ต้นมันสำปะหลังใช้ปุ๋ยได้ดีแต่วัชพืชจะไม่มีโอกาสใช้ปุ๋ยที่อยู่ลึก จึงอาจช่วยทำให้ไม่ต้องกำจัดวัชพืชที่มีขนาดเล็กหรือมีการแข่งขันกับต้นมันสำปะหลังน้อย การยกร่องยังช่วยให้ง่ายต่อการนำท่อนพันธุ์ลงปลูกอีกด้วย แต่สำหรับผู้มีความชำนาญก็อาจนำท่อนพันธุ์ลงปลูกได้โดยไม่ต้องยกร่องในพื้นที่ ซึ่งมีการระบายน้ำดี นอกจากนี้การยกร่องยังให้ประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของการชะล้างพังทลาย และการไหลบ่าของน้ำ

ขั้นตอนการปลูก การคัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง

การนำท่อนพันธุ์ลงปลูก มันสำปะหลังสามารถปลูกได้หลายวิธี ตั้งแต่ปลูกด้วยเมล็ด ปลูกด้วยลำต้นที่ตัดเป็นท่อน หรือปลูกโดยใช้ยอดที่มีความยาวประมาณ 1-2 ฟุต แต่ที่นิยมคือการปลูกด้วยลำต้น นำมาตัดเป็นท่อน เรียกว่า “ท่อนพันธุ์หรือท่อนปลูก” ซึ่งอาจใช้วิธีเสียบตั้งตรง หรือเอียงเล็กน้อย ในต่างประเทศมีการปลูกด้วยเครื่องจักร ซึ่งจะวางท่อนปลูกนอนราบไปกับพื้น ซึ่งแต่ละวิธีอาจมีความเหมาะสมต่อสภาพของดิน อุปกรณ์เครื่องมือ และแรงงานที่มีอยู่ และผลผลิตที่ได้ย่อมมีความแตกต่างกันไป ซึ่งผู้ปลูกจะต้องเลือดให้เหมาะกับวิธีการจัดการที่ดีที่สุดของตนเอง ผลผลิตสูงสุดจะได้จากการทำงาที่ประณีต และมีขั้นตอนต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่และภูมิอากาศ การปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์น้อยนั้น การปลูกตื้นให้ผลดีกว่าการปลูกลึกเพราะธาตุอาหารดินอยู่บริเวณใกล้ผิวดิน อย่างไรก็ตามผลผลิตและคุณภาพที่ดีมักจะได้มาจากการปลูกในช่วงที่มีความชื้นเพียงพอ ไม่มากจนเกินไปในระยะต้นฤดู เช่น เดือนพฤษภาคม เป็นต้น

การกำจัดวัชพืชมันสำปะหลัง

การกำจัดวัชพืช มันสำปะหลังที่มีอายุน้อยยังมีระบบรากไม่แข็งแรง และมีการเจริญเติบโตไม่รวดเร็วจะไม่สามารถแข่งขันกับวัชพืชในระยะตั้งแต่เริ่มงอกจนถึง 3 เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัชพืชที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วและมีขนาดใหญ่ ในช่วงนี้จะต้องมีการควบคุมวัชพืชอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจทำได้โดยใช้จอบถาก ใช้รถไถเดินตามไถกลบ หรือใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช ซึ่งมีทั้งประเภทควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช เช่น อาลาคลอร์ ฟลูมิโอซาซิน ประเภทสัมผัสโดยตรง เช่น พาราควอท และประเภทดูดซึม เช่น ไกลโฟเสท ซึ่งผู้ปลูกมันสำปะหลังจะต้อเลือกใช้ให้เหมาะสม แต่การใช้สารควบคุมวัชพืชบ่อยครั้งและต่อเนื่อง อาจมีผลเสียต่อสภาพทางกายภาพและทางเคมีของดิน และทำให้สิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดินมีกิจกรรมลดลงหรือสูญหายไป หลังจากมันสำปะหลังอายุ 4 เดือน ไปแล้ว วัชพืชขนาดเล็กจะช่วยปกป้องหน้าดินให้มีอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ ทำให้ดินร่วนโปร่งเหมาะต่อการขยายของหัว และเพิ่มเปอร์เซ็นต์แป้ง จึงควรปล่อยวัชพืชขนาดเล็กให้เจริญเติบโตอยู่ใต้ร่มเงาของมันสำปะหลัง เพื่อปกป้องดินจากการชะล้างพังทลาย และยังช่วยสร้างอินทรียวัตถุที่จำเป็นต่อดินอีกด้วย การปลูกมันโดยวิธีใส่ปุ๋ยเป็นแนวในระดับลึก และเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสม จะช่วยให้ต้นมันเจริญเติบโตขึ้น คลุมวัชพืชได้โดยเร็ว ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชลงได้มาก

การให้ปุ๋ยมันสำปะหลัง ต่างกันตามฤดูกาล ต่างท้องที่ก็ดูแลไม่เหมือนกัน

การให้ปุ๋ยหลังปลูก ในบางท้องที่ และบางระยะของฤดู การใส่ปุ๋ยรองพื้นจำนวนมากอาจทำให้ท่อนปลูกของมันสำปะหลังมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำหรืออาจไม่งอกเลยทั้งแปลง ดังนั้นในขณะที่ความชื้นของดินไม่ดีนัก จึงควรใช้ปุ๋ยรองพื้นแต่น้อย และใส่เพิ่มเติมเมื่อมันสำปะหลังอายุ 3-4 เดือน 7-8 เดือน และ 10-12 เดือน ในกรณีที่ยืดอายุเก็บเกี่ยวไปถึง 16 เดือน ควรพิจารณาให้เดือนที่ 10-13 เป็นช่วงต้นฝน และเลือกใส่ปุ๋ยในเวลาที่ดินมีความชื้น เช่น หลังฝนตก 1-3 วัน โดยไม่จำเป็นต้องฝังกลบปุ๋ย เพราะรากของมันสำปะหลังมักขึ้นมาอยู่บนผิวดิน เมื่อดินมีความชื้นผู้ปลูกมันสำปะหลังควรหลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตกหนักบ่อยครั้ง และในช่วงที่ดินไม่มีความชื้น ซึ่งการใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมดังกล่าวนั้นอาจทำได้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ หินฝุ่น และปุ๋ยเคมี ซึ่งอาจแยกใส่หรือผสมกันแล้วใส่ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดหาวัสดุต่างๆ

การให้ปุ๋ยทางใบกันมันสำปะหลัง เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

การให้ปุ๋ยทางใบ เป็นวิธีการให้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากธาตุอาหารต่างๆ ฮอร์โมน วิตามิน คีเลตที่มีโมเลกุลขนาดเล็กจะสามารถซึมผ่านเข้าไปในใบ และพืชนำไปใช้ได้ทันที และขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมในพืชทั่วไป และมีคนนำมาใช้ในมันสำปะหลัง ในพื้นที่ที่ไม่ได้ปรับปรุงบำรุงดินไว้อย่างเหมาะสม แต่มีความจำเป็นต้องปลูกมันสำปะหลังเพื่อชิงเวลา การใส่ปุ๋ยทางดินอาจไม่ประณีตหรือสมบูรณ์ดีนัก อาจทำให้มันสำปะหลังไม่สามารถสกัดทุกธาตุอาหารจากดินตามความต้องการได้ การให้ปุ๋ยทางใบอาจช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทั้งทางราก และส่วนเหนือดินของต้นมันสำปะหลังได้ การใช้ปุ๋ยยูเรีย 1-2 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับปุ๋ยจุลธาตุที่มีองค์ประกอบของเหล็ก ทองแดง สังกะสี ฯลฯ ในรูปคีเลต จะช่วยให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตอย่างสมดุลดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหนาวจัดหรือแห้งแล้งจัด อีกทางเลือกหนึ่ง คือ การใช้ปุ๋ยหมักน้ำที่กรองแล้วฉีดพ่นทางใบ ซึ่งจะทำให้มีการเจริญเติบโตและมีผลผลิตดีขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของวัสดุที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมักน้ำ ซึ่งจะต้องไม่มีสารประกอบไนโตรเจนอยู่มากเกินไป การให้ปุ๋ยทางใบ อาจมีความจำเป็นในช่วงฤดูหนาวหรือแล้งจัด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ต้นมันสำปะหลังเจริญเติบโตโดยทิ้งใบ และเสริมธาตุอาหารที่ต้นมันสำปะหลังไม่สามารถสกัดและดูดขึ้นจากดินได้ ในสภาพที่ดินมีน้ำน้อยหรือดินมีความเป็นกรด-ด่าง และแฉะ-แห้งไม่เหมาะสม แต่โดยทั่วไปถ้าสามารถปรับสภาพดินและปุ๋ยในดินให้สมดุลเพียงพอแล้ว การใช้ปุ๋ยทางใบจะช่วยเสริมให้ต้นมันรับธาตุอาหาร วิตามิน ฮอร์โมน ได้อย่างเต็มที่

การดูแลมันสำปะหลัง หลังการปลูก

การติดตามตรวจสอบการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง หลังจากการปลูกมันสำปะหลังไปแล้ว ผู้ปลูกควรตรวจสอบความงอก และนำท่อนปลูกที่มีคุณภาพสูงมากไปปลูกเคียงคู่กับท่อนที่ไม่งอกภายใน 10 วัน โดยเสียบเคียงข้างห่างจากต้นเดิมประมาณหนึ่งฝ่ามือโดยไม่จำเป็นจะต้องเอาท่อนเดิมออก ต่อจากนั้นยังควรติดตามการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรให้มันสำปะหลังเติบโตเร็วหรือช้าเกินไป เช่น เมื่อมันสำปะหลังมีอายุประมาณ 2 เดือน จะมีความสูง 30-45 เซนติเมตร ซึ่งจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางหัวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร มีขนาดใบพอเหมาะ และมีสีใบไม่เขียวจัดหรือซีดเกินไป และเมื่อมีอายุได้ 4 เดือน จะมีความสูงประมาณ 100-150 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวระหว่าง 2-4 เซนติเมตร ในช่วงฤดูฝนมันสำปะหลังจะมีความสูงค่อนข้างมากแต่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวค่อนข้างน้อย แต่ในช่วงหลังฝนจะมีความสูงเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และมีขนาดหัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่หลังจากเข้าฤดูหนาวหรือช่วงแล้งฝนไม่ตก 2-3 เดือน มันสำปะหลังจะหยุดการเจริญเติบโต ดังนั้นผู้ปลูกจึงควรตรวจสอบเป็นระยะๆ และขอคำแนะนำจากผู้รู้ในการปรับปรุงและแก้ไขก่อนที่จะถึงระยะเวลาครึ่งหนึ่งของฤดูปลูก (การปลูก)

ระยะการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง

การเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังจะให้ผลผลิตเปอร์เซ็นต์แป้ง และคุณภาพที่ดีเมื่ออายุ 8 เดือนขึ้นไป แต่การปลูกให้น้ำผ่านช่วงฤดูหนาวอาจทำให้ได้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งที่สูงในระยะเวลาที่สั้นกว่านี้ แต่ยังไม่มีข้อมูลในด้านคุณภาพของแป้งเมื่อเก็บมันสำปะหลังอายุต่ำว่า 8 เดือน แต่มันสำปะหลังส่วนใหญ่จะมีการเจริญเติบโตของส่วนเหนือดินน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอายุระหว่าง 12 -18 เดือน จะมีการเจริญเติบโตของหัวและมีการสะสมแป้งในระดับสูงสุด และจะมีคุณภาพของเม็ดแป้งดีด้วย ซึ่งอยู่ระหว่าง 12 -18 เดือนนั้น ควรจะอยู่ในช่วงที่ดินมีความชื้นเหมาะสมไม่ผ่านช่วงแล้งมายาวนาน มันสำปะหลังที่เติบโตเข้าสู่ระยะฝนเริ่มตกจะมีการเจริญเติบโตในรอบใหม่ ซึ่งจะดึงแป้งจากหัวไปใช้ในการเจริญเติบโต ทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งในหัวต่ำลง และในบางครั้งอาจจะต่ำจากเดิมกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ถ้าผ่านช่วงแล้งมายาวนาน ผู้ปลูกมันสำปะหลังจึงควรประเมินผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งเป็นระยะๆ ก่อนทำการขุดและตัดสินใจ เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด โดยต้องไม่ลืมเก็บบางส่วนของพื้นที่ไว้เพื่อใช้ทำพันธุ์ให้มีการหมุนเวียนวงจรอย่างราบรื่น

หากผู้ปลูกมันสำปะหลังได้ปฏิบัติแต่ละขั้นตอนอย่างถูกต้อง และประณีตพอสมควรแล้วย่อมสามารถเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลังในไร่ของตนขึ้นได้หลายเท่าตัว ดังนั้นผู้ปลูกจึงควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับต้นทุน แรงงาน วัสดุ อุปกรณ์ และเวลาที่มีอยู่ อย่างไรก็ดียังมีข้อจำกัดที่ผู้ปลูกอาจไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความแห้งแล้ง อุณหภูมิต่ำหรือสูงเกินไป การเข้าทำลายของโรคแมลง ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามความคาดหมายเสมอไป แต่ผู้ปลูกมันสำปะหลังก็ควรที่จะพัฒนาวิธีการต่างๆ ให้ดีที่สุด ซึ่งจะทำให้สามารถนำรายได้มาสู่ตนเองและครอบครัว อันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยให้มีการสร้างงานใหม่ๆ และนำเข้าเงินตราจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านพลังงานของบ้านเมืองอีกด้วย

อ้างอิง
ดร.อัศจรรย์ สุขธำรง และ ดร.เรณู ขำเลิศ
http://web.sut.ac.th
อ่าน:3738
โรคแก้วมังกร ลำต้นจุดสีน้ำตาล เกิดจากเชื้อรา Dothiorella sp.
โรคแก้วมังกร ลำต้นจุดสีน้ำตาล เกิดจากเชื้อรา Dothiorella sp.
โรคลำต้นจุดสีน้ำตาลของแก้วมังกร ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Dothiorella sp. โดยในอดีตพบระบาดมากในระดับเล็กน้อย-รุนแรงมาก กับพันธุ์การค้าที่มีเนื้อสีขาว ในพื้นที่หลายท้องที่ ได้แก่ ตำบลยายอาม ตำบลสนามไชย ตำบลวังโตนด ตำบลกระแจะ ตำบลช้างข้าม อำเภดนายายอาม ตำบลตะปอน ตำบลมาบไพ ตำบลซึ้ง อำเภอขลุง ตำบลโขมง ตำบลพลอยแหวน ตำบลเขาบายศรี ตำบลทุ่งเบญจา ตำบลหนองบัว ตำบลสองพี่น้อง ตำบลรำพัน ตำบลท่าใหม่ ตำบลแสลง อำเภอเมือง ตำบลมะขาม อำเภอะมะขาม ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ตำบลวังตะเคียน อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดราชบุรี พบการเป็นโรคโดยประมาณ 80-100% คิดเป็นพื้นที่โดยรวม 500 ไร่ นอกจากนี้ยังมีพันธุ์เนื้อสีแดงทีอยู่ในบางพื้นที่ก็มีการระบาดแล้ว ที่ตำบลคลองอุดมสาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ลักษณะอาการของ โรคแก้วมังกร ลำต้นจุดสีน้ำตาล

อาการเริ่มแรกจะพบเข้าทำลายที่บริเวณกิ่งอ่อน หรือ ผลอ่อน เป็นจุดสีเหลือง จากนั้นจะพัฒนาเป็นตุ่มนูนเล็กสีน้ำตาลคล้ายสนิมเหล็ก ถ้าแผลขยายใหญ่จะพบอาการเป็นรอยปื้นไหม้ ถ้าพบเป็นที่ผทำให้ผลเสียหายเป็นตำหนิ ทำให้สูญเสียราคาและคุณภาพ

สาเหตุเกิดจาก : เชื้อราที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dothiorella sp.

วิเคราะห์หาสาเหตุของการแพร่ระบาดของโรคที่เป็นไปอย่างกว้างขวาง

จากการสุ่มสำรวจหาสาเหตุของการแพร่ระบาดของโรคที่เป็นไปอย่างกว้างขวางในพื้นที่เกษตรกรผู้ปลูกแก้วมังกรในเขตภาคตะวันออก จำนวนหลายราย ในแต่ละพื้นที่ปลูก เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษา พอสรุปหาสาเหตุของ

การแพร่ระบาดที่ผ่านมาเป็นได้ 7 ประเด็น คือ

1. พบว่าเกษตรกรและนักวิชาการเกษตรยังขาดความเกี่ยวกับโรคนี้ เพราะเป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่ในประเทศไทย เริ่มพบการแพร่ระบาดในแถบจังหวัดภาคกลาง ได้แก่ ราชบุรี สมุทสารค จากนั้นเกษตรกรส่วนใหญ่ผู้ปลูกแก้วมังกรในเขตภาคตะวันออก ซื้อกิ่งพันธุ์มาจากแถบจังหวัดราชบุรี แล้วอาจมีโรคติดมากับกิ่งพันธุ์ แต่เนื่องจากเกษตรกรเองและนักวิชาการเกษตร ทั้งภาคเอกชนและราชการไม่เคยรู้จักโรค ดังกล่าวมาก่อน เกษตรกรและนักวิชาการด้านเกษตร ก็ยังคิดว่าเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไฟท็อปธอร่า บางรายก็คิดว่าเกิดจากแมลงศัตรูพืช ก็แนะนำการป้องกันกำจัดไม่ตรงกับสาเหตุของโรค เน้นการป้องกันกำจัดในการทดลองใช้สารเคมีเป็นหลัก และมักไม่ตรงกับสาเหตุของโรค

2. เกษตรกรไม่มีการตัดแต่งกิ่งหรือผลที่เป็นโรคออกจากแปลงปลูก เพราะในเชิงปฏิบัติงานค่อนข้างทำลำบาก เนื่องด้วยแก้วมังกรเป็นพืชมีหนาม หรือ เกษตรกรมักเสียดายกิ่ง หรือ ผลที่เป็นโรค มักมุ่งเน้นแต่การใช้สารเคมี เพราะจริงๆ แล้วสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช จะได้ผลดีในเชิงป้องกันมากกว่ารักษา ไม่เหมือนยาที่ใช้รักษาคน หรือ ในบางรายไม่มีการตัดแต่งกิ่งหรือผลที่เป็นโรคทิ้งเลย ปล่อยแปลงทิ้งเลิกปลูกและหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน เนื่องจากการใช้สารเคมีอาจไม่คุ้มต้นทุนการผลิต เพราะประสบปัญหาราคาแก้วมังกรตกต่้ำ

3. เกษตรกรมีการตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคผิดวิธี มักตัดแต่งเฉพาะส่วนที่เป็นโรคออก หรือตัดบริเวณกลางกิ่งที่ไม่ใช่บริเวณรอยข้อต่อของกิ่ง ทำให้เกิดรอยบาดแผลมากขึ้น ทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าทำลายซ้ำเติมบริเวณบาดแผลได้ง่ายมากขึ้น ทำให้โรคมีการระบาดบางต้นยืนต้นตาย

4. ขาดความระมัดระวังในเรื่องการใช้เครื่องมือ ได้แก่ กรรไกรที่ใช้ตัดแต่งกิ่งมักนำไปตัดต้นที่เป็นโรคแล้วไปใช้ตัดแต่งต้นปกติโดยไม่มีการทำความสะอาดก่อนใช้งาน อาจทำให้เชื้อโรคพืชดังกล่าวติดไปกับกรรไกรได้

5.มักพบมีการเร่งใสปุ่ญไนโตรเจนให้สูงจนเกินไป เช่น ปุ๋ยยูเรีย(46-0-0)หรือใส่แต่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักเพียงอย่างเดียว ทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ง่ายขึ้น

6. จากการสุ่มสำรวจดินจากแปลงที่พบว่าเป็นโรคดังกล่าว นำไปตรวจวิเคราะห์ทางธาตุอาหาร มักพบดินเป็นกรดจัดมาก มีธาตุเคลเซียม และแมกนีเซียมในปริมาณต่ำ

7. ในพื้นที่ปลูกบางพื้นที่เคยมีการทำนามาก่อนและมักไม่ยกร่องแปลงปลูกบางแปลงพบน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนและมีการให้น้ำในช่วงบ่ายหรือเย็น เมื่อรวมกับน้ำค้างในช่วงกลางคืน ทำให้แปลงมีความชื้นสูงในแปลงปลูกตลอดเป็นระยเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคระบาดง่ายขึ้น

ข้อแนะนำในการป้องกันกำจัดเบื้องต้น

เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาวิจัยโรคดังกล่าวอย่างจริงจัง เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกแก้วมังกร ทางสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จึงเร่งศึกษาในเบื้องต้น ที่พอจะสรุปไว้เป็นแนวทางในการป้องกันกำจัดไว้ดังนี้ คือ

1.เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แข็งแรง ปราศจากโรค เพราะเชื้อโรคอาจติดมากับกิ่งพันธุ์ได้

2. เน้นการตัดแต่งกิ่งยอดอ่อนหรือลำต้นหรือส่วนที่เป็นโรค และ เก็บรวบรวมนำไปฝังหรือเผาทำลายเสีย เพื่อลดปริมาณของเชื้อโรคพืช

3. การตัดแต่งกิ่งต้องให้มีขนาดของบาดแผลน้อยที่สุด เช่น ตัดแต่งบริเวณรอยต่อของข้อระหว่างกิ่งจะทำให้เกิดบาดแผลน้อยที่สุด เพื่อป้องกันเชื้อราเข้าทำลายทางบาดแผล หรือ เชื้อแบคทีเรียอื่นหรือแมลง เช่น มดคันไฟ เข้าทำลายซ้ำเติมในภายหลัง

4. ถ้าพบการระบาดมาก หลังจากการตัดแต่งกิ่ง

5. ระมัดระวังอย่านำกรรำกรที่้ใช้ตัดแต่งต้นที่เป็นโรคไปใช้ตัดแต่งต้นปกติ เพระาเชื้อราอาจติดไปกับกรรไกรได้ ควรนำไปล้างทำความสะอาดก่อนนำไปใช้ใหม่ทุกครั้ง

6. ลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอย่าให้สูงจนเกินไป เช่น ปุ๋ยยูเรีย(46-0-0) หรือ ใส่แต่ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมักเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ง่าย เนื่องจากพืชจะอวบน้ำมากขึ้น เชื้อโรคและแมลงเข้าทำลายได้ง่ายขึ้น แต่ควรใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 กรือ 16-16-16 หรือ สูตรตัวท้ายสูงในช่วงกำลังให้ผลผลิต เช่น 13-13-21 ร่วมกับการฉีดพ่นด้วยธาตุอาหารแคลเซียม และ แมกนีเซียม

7. ถ้าดินเป็นกรดจัดมากอาจจำเป็นต้องปรับสภาพดินด้ววยปูนโดโลไมท์ ซึ่งจะได้รับธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียมเสริมไปด้วย (โดยอัตราที่ใช้จำเป็นต้องนำตัวอย่างดินไปตรวจวิเคราะห์ดูเสียก่อน จึงจะทราบอัตราการใช้ที่แน่นอน)

8. งดการให้น้ำในช่วงบ่ายหรือเย็น เนื่องจากจะมีความชื้นสูง เมื่อรวมกับน้ำค้าง จะทำให้เกิดโรคระบาดง่าย โดยควรรดน้ำในช่วงตอนเช้าแทน

อ้างอิง rakbankerd.com /agriculture /page.php?id=4790&s=tblplant

สินค้าแนะนำจากฟาร์มเกษตร

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน และยับยั้งเชื้อรา ผสมในอัตราส่วน 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 500 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด ทุกๆ 3-5 วัน ต่อเนื่อง 3-4 ครั้ง

สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน เพื่อเร่งให้มันสำปะหลังฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้เร็วยิ่งขึ้น

FK-1 ใช้บำรุงให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง เร่งโต และเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง

สามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร

ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)
อ่าน:3450
การไถดินดาน ที่ถูกต้อง ก่อนปลูกมันสำปะหลัง น้ำและอากาศไหลซึมได้ดี รากมันโตได้ไกล เพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี
การไถดินดาน ที่ถูกต้อง ก่อนปลูกมันสำปะหลัง น้ำและอากาศไหลซึมได้ดี รากมันโตได้ไกล เพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี
การไถดินดาน ที่ถูกต้อง ก่อนปลูกมันสำปะหลัง น้ำและอากาศไหลซึมได้ดี รากมันโตได้ไกล เพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี
การไถดินดานในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง

ความหมายของชั้นดินดาน

ชั้นดินดาน หมายถึง ชั้นดินที่อัดตัวแน่นทึบ หรือชั้นที่มีสารเชื่อมอนุภาคดินมาจับตัวกัน ทำให้ดินแน่นทึบและแข็ง จนเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไหลซึมของน้ำและอากาศ ซึ่งกระบวนการเกิดชั้นดินดานมี 3 ประเภท มีรายละเอียดดังนี้

1. ชั้นดินดานแข็ง (duripan) เป็นชั้นดินแข็งเชื่อมกันแน่นโดยสารเชื่อม ซึ่งสารเชื่อมมีหลายชนิดและมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปขึ้นอยู่ชนิดของสารเชื่อม ได้แก่ เหล็ก คาร์บอเนต ซิลิก้า

2. ชั้นดินดานเปราะ (fragipan) เป็นชั้นดินดานที่มีความหนาแน่นสูงกว่าชั้นดินบนและล่าง ชั้นดินดานนี้เกิดจากการอัดตัวของดินเหนียว ทรายแป้ง และทราย มีการเชื่อมตัวกันแน่น เมื่อแห้ง จะเปราะ เมื่อชื้นน้ำซึมผ่านได้ยาก

3. ชั้นดินดานไถพรวน (plowpan) เป็นชนิดเดียวกันกับชั้นดินดานเปราะ แต่ใช้เรียกเฉพาะ ชั้นดินดานที่เกิดจากการไถพรวนในระดับความลึกเดียวกันเป็นเวลานาน ซึ่งพบมากในพื้นที่ปลูก มันสำปะหลังต่อเนื่องเป็นเวลานาน

สามารถแยกชั้นดินดานแข็งออกจากชั้นดินดานเปราะ โดย พิจารณาจากการละลายน้ำ ถ้าหากละลายน้ำได้ จะเป็นชั้นดินดานเปราะ โดย ชั้นดินดานเปราะมีข้อจำกัดในการปลูกพืชน้อยกว่าชั้นดินดานแข็ง

กระบวนการเกิดชั้นดินดานไถพรวน

เกิดจากการไถพรวน ในระดับความลึกเดียวกันเป็นเวลานาน โครงสร้างของดินแตกละเอียด เมื่อฝนตกทำให้อนุภาคของดินเหนียว ทรายแป้ง รวมทั้งอินทรียวัตถุถูกชะล้างลงมาสะสมกันใต้ชั้น ไถพรวน นอกจากนี้ ยังมีแรงกดทับจากแทรกเตอร์ ในการเตรียมดินจนถึงการเก็บเกี่ยว และรถบรรทุกขนส่งหัวมันสำปะหลังไปยังโรงงาน สิ่งดังกล่าวเหล่านี้ก่อให้เกิดชั้นดินดานไถพรวนขึ้นในพื้นที่ปลูก มันสำปะหลังต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน

ระดับความรุนแรงของโอกาสเกิดชั้นดินดาน

การจำแนกระดับความรุนแรงของโอกาสในการเกิดชั้นดินดานในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 มีโอกาสเกิดชั้นดินดานได้น้อย เนื่องจากพื้นที่เป็นดินเนื้อละเอียด มีปริมาณทรายแป้ง น้อย อนุภาคของดินเป็นแบบก้อนเหลี่ยมและก้อนกลม ซึ่งทนทานต่อแรงไถพรวนและแรงกดทับจากเครื่องจักรกลขนาดใหญ่

ระดับที่ 2 มีโอกาสเกิดชั้นดินดานในระดับปานกลาง เนื่องจากพื้นที่เป็นเนื้อค่อนข้างละเอียด มีปริมาณทรายแป้งปานกลาง อนุภาคของดินเป็นแบบก้อนเหลี่ยม ซึ่งทนทานต่อแรงไถพรวนและแรง กดทับจากเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ปานกลาง

ระดับที่ 3 มีโอกาสเกิดชั้นดินดานในระดับสูง เนื่องจากพื้นที่เป็นเนื้อค่อนข้างหยาบ มีปริมาณทรายแป้งสูง โครงสร้างของดินแน่นทึบ ซึ่งทนทานต่อแรงไถพรวนและแรงกดทับจากเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ได้น้อย

สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง สามารถทราบได้ว่าพื้นที่ปลูกพืชมีชั้นดินดานอยู่ใต้ดินหรือไม่ สังเกตในช่วงฤดูฝนเมื่อมีฝนตกลงมา พื้นที่ราบน้ำจะท่วมขังอยู่นาน เพราะน้ำไม่สามารถซึมผ่านชั้นดินดานลงไปสู่ชั้นดินล่างได้ แต่น้ำจะไหลบ่าไปบนผิวดิน เกิดการชะล้างหน้าดินออกจากพื้นที่ ส่วนในช่วงฤดูแล้งชั้นดินดานจะขวางกั้นไม่ให้ความชื้นจากดินชั้นล่างขึ้นมาถึงบริเวณรากพืชได้ พืชจะขาดน้ำ ทำให้พืชแคระแกร็นหรือยืนต้นตายได้ ในทางวิชาการเราสามารถเก็บตัวอย่างดินที่ระดับความลึก 50 เซนติเมตร เพื่อนำมาวิเคราะห์หาค่าความหนาแน่นรวม (bulk density) ถ้าดินมีความหนาแน่นรวมมากกว่า 1.65 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร แสดงว่ามีชั้นดินดานเกิดขึ้นในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง

การไถระเบิดชั้นดินดานในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง

พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง มักมีการไถพรวนที่ระดับความลึกเดียวกันตลอด มีการไถพรวนในขณะดินมีความชื้นไม่เหมาะสม มีการกดทับจากแทรกเตอร์หรือรถบรรทุกในการเตรียมดิน เก็บเกี่ยว และการขนส่งหัวมันสำปะหลังไปยังโรงงาน สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดชั้นดินดานได้ง่าย โดยชั้นดินดานจะขัดขวางการแพร่กระจายของรากพืชและการแทรกซึมของน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังหรือไหลบ่ามากขึ้นในช่วงฝนตกและยังชะล้างเอาหน้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงออกไปจากพื้นที่ ขณะเดียวกันก็ทำให้พืชขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากชั้นดินดานจะขวางกั้นไม่ให้ความชื้นจากดินชั้นล่างขึ้นมาถึงบริเวณรากพืชได้ จึงทำให้พืชแคระแกร็นหรือยืนต้นตายได้ ดังนั้น พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีชั้นดินดาน ควรทำการไถระเบิดชั้นดินดาน ทุก 3-5 ปี มีรายละเอียด 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. การทำลายวัชพืชและเศษซากพืชก่อนไถระเบิดชั้นดินดานด้วยการไถพรวน 2 ครั้ง เพื่อไม่ให้เศษพืช พันขาไถระเบิดชั้นดินดานหรือเป็นอุปสรรคต่อการไถระเบิดชั้นดินดาน

2. การไถระเบิดชั้นดินดานด้วยเครื่องไถแบบสั่นสะเทือน (shaking ripper) โดยไถ 2 รอบ รอบแรกไถไปตามแนวยาวของพื้นที่ก่อน รอบที่สองไถตามขวางของพื้นที่หรือที่เรียกว่าไถตัดกันเป็นตาหมากรุก เพื่อให้ชั้นดินดานแตกร้าวสม่ำเสมอรอบทิศทางทั่วทั้งพื้นที่

3. ไถดะด้วยผาล 3 หรือผาล 4 เพื่อทำลายวัชพืชและตากหน้าดินเพื่อทำลายศัตรูพืช

4. ไถพรวนเพื่อย่อยดินให้ละเอียดและกลบรอยไถระเบิดชั้นดินดาน หลังจากนั้นทำการไถร่องปลูกมันสำปะหลัง

การไถระเบิดชั้นดินดานไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาการเกิดชั้นดินดานอย่างถาวร แต่ถ้าหากไม่มีการจัดดินที่ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ชั้นดินดานก็จะกลับมาเกิดขึ้นใหม่ได้ ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้น การชะลอการเกิดชั้นดินดานจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดสามารถทำได้ ดังนี้

1. การใช้เครื่องจักรกลการเกษตร โดย ควบคุมการใช้เครื่องจักรกลในพื้นที่การเกษตรเท่าที่จำเป็นและใช้ในขณะดินมีความชื้นพอเหมาะ ควบคุมแนวทางเดินของเครื่องจักรกลซ้ำที่เดิมและวางแนวปลูกพืชให้อยู่ระหว่างล้อของเครื่องจักร เพื่อไม่ให้เกิดชั้นดินดานทั่วพื้นที่

2. ความชื้นของดิน ชั้นดินดานที่อยู่ใต้ดินชั้นไถพรวนจะเป็นอุปสรรคต่อการไชชอนของรากพืช ก็ต่อเมื่อชั้นดินดานแห้ง ดังนั้น การรักษาความชื้นของดินชั้นดินดานให้พอเหมาะ สามารถลดผลกระทบของชั้นดินดานต่อรากพืช

3. การปรับปรุงโครงสร้างของดินเพื่อให้เม็ดดินมีเสถียรภาพ โดย การเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด เพื่อให้ดินมีคุณสมบัติทางกายภาพดีขึ้น ดูดซับน้ำได้มากขึ้น มีช่องว่างในดินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความหนาแน่นรวมลดลงได้

4. การปลูกหญ้าแฝก ชั้นดินดานเป็นดินที่มีความหนาแน่นสูง ส่วนประกอบของดินมีน้ำ ช่องว่าง อากาศ รวมทั้งอินทรียวัตถุลดน้อยลง หญ้าแฝกเป็นพืชที่ขึ้นได้ในสภาพดินดาน มีระบบรากลึกเจาะผ่านชั้นดินดานได้และให้ปริมาณรากมากกว่าพืชอื่น ดังนั้น เมื่อฝนตกลงมาความชื้นจะซึมผ่านลงตามระบบของรากหญ้าแฝก สร้างความชื้นและอินทรียวัตถุให้กับดินในชั้นดินดานอย่างรวดเร็ว

อ้างอิง
สถาบันวิจัยพืชไร่ และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร
kubotasolutions.com/ knowledge/cassava/detail/393
อ่าน:3567
มันสำปะหลังใบด่าง เกิดจากเชื้อไวรัส ป้องกันได้โดยการกำจัดแมลงพาหะ และบำรุงมันสำปะหลังให้สมบูรณ์แข็งแรง
มันสำปะหลังใบด่าง เกิดจากเชื้อไวรัส ป้องกันได้โดยการกำจัดแมลงพาหะ และบำรุงมันสำปะหลังให้สมบูรณ์แข็งแรง
มันสำปะหลังใบด่าง เกิดจากเชื้อไวรัส ป้องกันได้โดยการกำจัดแมลงพาหะ และบำรุงมันสำปะหลังให้สมบูรณ์แข็งแรง
โรคใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava Mosaic Disease)

โรคใบด่างมันสำปะหลัง เกิดจากเชื้อไวรัส ในวงศ์ Geminiridae สกุล Begomovirus ปัจจุบันมีรายงานทั้งหมด 10 ชนิด โดยพบในทวีปแอฟริกา 8 ชนิด และในทวีปเอเชีย 2 ชนิด ได้แก่ Indian cassava mosaic virus (ICMV) พบในประเทศอินเดีย และ Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV) พบในประเทศศรีลังกา อินเดีย เวียดนาม และกัมพูชา

ลักษณะอาการของ โรคมันสำปะหลังใบด่าง

ใบด่างและใบหงิก เสียรูปทรง อาการด่างมีหลายแบบ เช่น ด่างเขียวซีดสลับเขียวเข้ม ด่างเหลือสลับเขียว ใบหงิก หรือ หงิกเหลือง ใบย่อยบิดเบี้ยวหงิกงอ โค้งเสียรูปทรง ใบอ่อนและใบที่เจริญใหม่มีขนาดเล็กลง ยอดหงิก ต้นแคระแกร็น

การแพร่ระบาด ของโรคใบด่างมันสำปะหลัง เกิดจากแมลงหวี่ เป็นพาหะนำโรค

สามารถแพร่ระบาดโดยท่อนพันธุ์ โดยมีแมลงหวี่ขาวยาสูบ (tobacco whitefly) เป็นพาหะนำโรค ซึ่งแมลงหวี่ขาวยาสูบมีพืชอาศัยหลายชนิด เช่น กะเพรา โหระพา ผักชีฝรั่ง พืชตระกูลพริก มะเขือ มันฝรั่ง และพืชตระกูลแตง ทำให้มีการแพร่ระบาดไปได้อย่างกว้างขวาง

วิธีการป้องกันกำจัด โรคมันสำปะหลังใบด่าง

1.ห้ามนำเข้าท่อนพันธุ์หรือส่วนขยายท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจากต่างประเทศ ยกเว้นมันเส้นและหัวมันสด ตาม พ.ร.บ.กักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2550

2.สอดส่องการลักลอบนำเข้าท่อนพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์มันสำปะหลัง จากต่างประเทศ หากพบให้แจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรังหวัด กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย และกรมวิชาการเกษตร

3.ใช้พันธุ์ที่ปลอดโรคโดยไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่พบการระบาดของโรค หรือแหล่งที่พบอาการของโรค หรือท่อนพันธุ์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา หรือท่อนพันธุ์ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง

4.สำรวจแปลงมันสำปะหลังอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

5.กำจัดแมลงพาหะ ได้แก่ แมลงหวี่ขาวยาสูบ

6.เฝ้าระวังการระบาด ของไวรัส ใบด่างในพืชอาศัยอื่นๆ ที่มีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะ โดยหลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของแมลงหวี่ขาวยาสูบ เช่น โหระพา กะเพรา ผักชีฝรั่ง พริก มะเขือ มันฝรั่ง และพืชตระกูลถั่ว และพืชอาศัยของเชื้อไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง เช่น สบู่ดำ ละหุ่ง บริเวณแปลงปลูกมันสำปะหลัง

อ้างอิง
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
kubotasolutions.com

* สำหรับผลิตภัณฑ์จากฟาร์มเกษตร เราแนะนำใช้มาคา เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ และบำรุงมันสำปะหลังให้สมบูรณ์แข็งแรง ต้านทานต่อโรค ด้วย FK-1 ซึ่งประกอบไปด้วย ธาตุหลัก N-P-K และธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ต้านทานต่อโรค ให้กับมันสำปะหลัง การหายจากอาการมันสำปะหลังใบด่างนี้ คือจะค่อยๆหมดไป เมื่อมันสำปะหลัง มีความเจริญเติบโต สมบูรณ์แข็งแรงขึ้น ในขณะที่เรา ป้องกัน และกำจัดแมลงพาหะ และให้ธาตุหลัก ธาตุรอง บำรุงไปพร้อมกัน
อ่าน:3429
2153 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 215 หน้า, หน้าที่ 216 มี 3 รายการ
|-Page 212 of 216-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
โรคโกโก้ โกโก้ใบเหลือง โกโก้ใบไหม้ แอนแทรคโนสโกโก้ โรคต่างๆจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู เร่งโต สร้างภูมิฯ
Update: 2564/08/28 21:47:30 - Views: 3680
ต้นชมพู่ สวยแบบนี้ ปลูกยังไง ต้องไส่ปุ๋ยอะไรนะ??
Update: 2566/11/04 11:40:59 - Views: 3427
โรคบวบ ราน้ำค้างบวบ บวบใบไหม้ พืชตระกูลบวบ โรคต่างๆจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู โตไว ผลผลิตดี
Update: 2564/09/29 05:05:34 - Views: 3435
เพลี้ยในต้นพริก: วิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาเพลี้ยในการเพาะปลูกพริก
Update: 2566/11/17 10:17:42 - Views: 3499
มะยงชิดใบไหม้ โรครามะปรางหวาน ใบจุดสีน้ำตาล ใบเหี่ยว แก้ด้วย ไอเอส
Update: 2564/04/26 00:48:24 - Views: 4504
รถขุดร่องสวน Bobcat และ รถขุด Sumitomo จาก บริษัทลีดเวย์ เฮฟวี่ แมชชีนเนอร์รี่ จํากัด ผู้จัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ
Update: 2564/09/01 03:43:17 - Views: 3452
ยากำจัดโรคแอนแทรคโนส ในดอกกล้วยไม้ โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/10 16:00:26 - Views: 3432
กัญชาใบไหม้ โรคกัญชา โรคราสนิม โรคใบเหลือง
Update: 2564/06/07 08:04:31 - Views: 3858
การต่อสู้กับเชื้อราแตงกวา: การป้องกันและกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพ
Update: 2566/05/15 09:45:18 - Views: 3393
ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวปน ข้าววัชพืช
Update: 2564/05/12 23:34:53 - Views: 3629
เตือนกัญชาผสมในขนม เครื่องดื่ม กินเข้าไปมาก ส่งผลอาการรุนแรงได้เท่ากับเสพโดยตรง
Update: 2565/11/17 12:25:37 - Views: 3438
คำนิยม - คุณราตรี ใช้ทั้ง ไอเอส มาคา ไอกี้บีที กำจัดโรครา หนอน และเพลี้ยแมลง
Update: 2562/08/30 12:19:24 - Views: 3410
โรคยางไหล โรคเชื้อราในสวนมะม่วง
Update: 2566/05/15 09:37:21 - Views: 3445
โรคกุ้งแห้ง หรือ โรคแอนแทรคโนสในพริก
Update: 2564/08/28 21:38:15 - Views: 3554
ความหมายของสูตรปุ๋ย ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 0-0-60 หรือ 18-46-0 หรือ 46-0-0 หรือ x-x-x ... หมายความว่าอะไร
Update: 2564/08/31 05:57:07 - Views: 4126
เมล่อน ผลใหญ่ ผลดก ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ สตาร์เฟอร์ 0-0-60
Update: 2567/04/19 14:06:58 - Views: 3448
ป้องกัน กำจัด โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง และโรคต่างๆจากเชื้อรา ใช้ได้กับพืชทุกชนิด (1ลิตร ผสมน้ำได้ 400ลิตร)
Update: 2564/08/16 01:32:24 - Views: 3418
การป้องกันและกำจัดโรคราสีชมพูในยางพารา
Update: 2566/03/04 10:18:41 - Views: 3435
ทุเรียนใบไหม้ ใบจุด แอนแทรคโนส โคนเน่า ราแป้ง ราสีชมพู โรคต่างๆจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส
Update: 2562/08/18 15:11:54 - Views: 4622
ให้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าดิน กากอุตสาหกรรม วิเคราะห์ค่าปุ๋ย ค่าน้ำ คุณภาพน้ำ ในรูปแบบออนไลน์
Update: 2565/07/20 19:53:46 - Views: 3416
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022