[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ปุ๋ย
2168 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 216 หน้า, หน้าที่ 217 มี 8 รายการ

เร่งโต ระเบิดราก เพิ่มผลผลิต ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ FK-1 ฟื้นฟูพืช โตไว แข็งแรง จึงต้านทานต่อโรค
เร่งโต ระเบิดราก เพิ่มผลผลิต ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ FK-1 ฟื้นฟูพืช โตไว แข็งแรง จึงต้านทานต่อโรค
FK-1 ประกอบด้วย
✅ไนโตรเจน
✅ฟอสฟอรัส
✅โพแทสเซียม
✅แคลเซียม
✅แมกนีเซียม
✅สังกะสี
✅สารจับใบ
อ่าน:3521
โรคมันสำปะหลัง มันสำปะหลังขาดธาตุสังกะสี ทำให้โตช้า พบจุดขาว หรือเหลืองบนใบอ่อน ใบย่น ขาดรุนแรงอาจตายได้
โรคมันสำปะหลัง มันสำปะหลังขาดธาตุสังกะสี ทำให้โตช้า พบจุดขาว หรือเหลืองบนใบอ่อน ใบย่น ขาดรุนแรงอาจตายได้
ปัญหาผลผลิตมันสำปะหลังต่ำ เนื่องจากขาดจุลธาตุสังกะสี

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีอยู่ 16 ธาตุ แต่มีเพียง 7 ธาตุ เท่านั้นที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อยมาก และเราเรียกธาตุเหล่านี้ว่า จุลธาตุ (Micronutrient) ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) โบรอน (B) โมลิดินัม (Mo) คลอรีน (Cl) แม้ว่าพืชต้องการธาตุเหล่านี้น้อย แต่ก็มีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดสังกะสีในมันสำปะหลัง ซึ่งในปัจจุบันเป็นปัญหาของเกษตรกรจำนวนมาก

ความสำคัญของธาตุสังกะสี

เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของเอนไซม์หลายชนิด รวมทั้งออกซิเจนและฮอร์โมนในพืช เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างกรดอินโดลอะเซติก (LAA) เป็นธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ และการสร้างเมล็ดพืช ตลอดจนมีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในพืช

ลักษณะอาการขาดธาตุสังกะสีในมันสำปะหลัง

พบเห็นโดยทั่วไปในดินด่าง จะมีลักษณะการยืดต้นช้า พบจุดหรือแถบสีขาว หรือเหลือง บนใบอ่อน ใบอาจย่นหรือเปลี่ยนรูปร่าง อาจพบจุดแผลเซลล์ตายในใบล่างและอาจรุนแรงทำให้ต้นตาย ส่งผลถึงความอยู่รอดและผลผลิตมันสำปะหลัง

สาเหตุ

- พื้นที่มีการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

- ปลูกมันสำปะหลังในที่เดิมเป็นเวลานาน ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน

- ดินมีความเป็นด่างสูง (pH สูง) หรือดินที่มีแคลเซียม (Ca) สูง

- เกษตรกรใส่ปุ๋ยธาตุอาหารหลักอย่างเดียว

ข้อแนะนำ

ฉีดพ่น FK-1 ทุก 7-15 วัน ต่อเนื่อง 2-4 ครั้ง ตามอัตราส่วนที่แนะนำ
อ่าน:3671
โรคข้าว ข้าวขาดฟอสฟอรัส จะแคระแกรน แตกกอน้อย ใบแคบ สั้น ลำต้นผอมเรียว ชะงักการโต ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุง
โรคข้าว ข้าวขาดฟอสฟอรัส จะแคระแกรน แตกกอน้อย ใบแคบ สั้น ลำต้นผอมเรียว ชะงักการโต ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุง
การขาดฟอสฟอรัส (Phosphorus deficiency)

ฟอสฟอรัส (P)

เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ Adenosine triphosphate (ATP) นิวคลีโอไทล์ (Nucleotile) กรดนิวคลีอิก (Nucleic acids) และฟอสโฟไลปิด (Phospholipid) ฟอสฟอรัสจะช่วยในการแตกกอ การพัฒนาของราก การออกดอกและการสุกแก่ของข้าว ปุ๋ยฟอสเฟตจะจำเป็นมากสำหรับข้าวที่ระบบรากยังไม่พัฒนาเต็มที่ เช่นหลังการปักดำใหม่ๆ ดังนั้นจึงควรใส่ปุ๋ยฟอสเฟตเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนการปักดำหรือในวันปักดำ

ข้าวที่ขาดฟอสฟอรัส

จะแคระแกรน การแตกกอน้อย ใบแคบ สั้น ตั้งตรงและมีสีเขียวเข้ม ลำต้นผอมเรียว ข้าวจะชะงักการเจริญเติบโต จำนวนใบ จำนวนรวงและจำนวนเมล็ดต่อรวงลดลง ใบอ่อนสมบูรณ์ดีแต่ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและตายในที่สุด ถ้าพันธุ์ข้าวที่ปลูกสามารถผลิต Anthocyanin ได้ใบอาจเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีม่วง ในดินที่เป็นกรดการขาดฟอสฟอรัสมักจะเกิดร่วมกับเหล็กเป็นพิษ

สาเหตุของการขาดฟอสฟอรัส

เกิดจากการมีระดับฟอสฟอรัสในดินนาต่ำหรือถูกตรึงโดยดินจนพืชนำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้ (จะเกิดในดินที่เป็นกรดจัด) การใส่ปุ๋ยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช วิธีการปลูกแบบนาหว่านมีโอกาสทำให้ข้าวขาดฟอสฟอรัสมากกว่าปลูกแบบปักดำเพราะต้นข้าวจะหนาแน่นกว่าและมีรากตื้นกว่าข้าวที่

การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดฟอสฟอรัสสามารถทำได้โดย การไถกลบฟางข้าวลงในแปลง เพราะถึงแม้ว่าปริมาณฟอสฟอรัสในฟางข้าวจะมีน้อย แต่จะช่วยรักษาระดับฟอสฟอรัสในดินในระยะยาว ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต ปุ๋ยคอกและวัสดุอินทรีย์อื่นๆ ให้กับข้าวอย่างพอเพียง เพื่อชดเชยกับธาตุอาหารที่สูญเสียไปจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต

ฉีดพ่น FK-1 เพื่อให้ ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม

Reference: main content from ricethailand.go.th
อ่าน:3547
โรคอ้อย อ้อยขาดธาตุแคลเซียม (Calcium, Ca) แสดงอาการเป็นทางเหลือง หรือสีน้ำตาล แก้ไขได้
โรคอ้อย อ้อยขาดธาตุแคลเซียม (Calcium, Ca) แสดงอาการเป็นทางเหลือง หรือสีน้ำตาล แก้ไขได้
อ้อยใบแก่จะแสดงอาการขาดแคลเซียม โดยใบอ้อยจะมีลักษณะเป็นทางสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาล โดยบนใบแก่อาจจะสังเกตเห็นลักษณะเป็นสีสนิมแล้วใบก็จะตายไปก่อนที่จะแก่

บ่อยครั้งที่จะพบว่ายอดใบนั้นจะมีการบิดม้วนไปตามความยาวของขอบใบเมื่อมีการขาดแคลเซียมอย่างต่อเนื่อง ในใบอ่อนนั้นจะมีการผิดรูปร่างแห้งตายอย่างไรก็ตามการขาดแคลเซียมนั้นพบได้ไม่บ่อย

ลักษณะอาการโรค อ้อยขาดแคลเซียมจะทำให้เนื้อเยื่อเจริญส่วนยอดตาย ใบอ่อนจะมีอาการยอดงอบิดเบี้ยวและไหม้ที่ส่วนยอด และขอบใบใบจะมีแผลเล็ก ๆ สีซีด และมีจุดแห้งๆ ตรงกลาง ต่อมาแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงเปลือกจะอ่อนนุ่มและเปราะ ลำจะผอมเรียวการเจริญเติบโตจะลดลงและอ่อนแอ ถ้าขาดแคลเซียมอย่างรุนแรงการเจริญเติบโตจะหยุดชะงักและตายในที่สุด

คำแนะนำการป้องกันกำจัด

การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมในอัตราสูงจะทำ ให้เกิดการขาดแคลเซียม ในดินเป็นกรดซึ่งมีแคลเซียมต่ำ โดยปกติอาการขาดแคลเซียมในอ้อยของประเทศไทยไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก ส่วนใหญ่มักจะพบร่วมกับอาการเป็นพิษของอลูมิเนียมในดินกรดจัดในประเทศบราซิล อ้อยจะมีรากยาวขึ้นและหยั่งลึกลงในดินมากขึ้น เมื่อมีการใส่แคลเซียมในรูปของยิปซั่มโดยปกติการแก้ปัญหาการขาดแคลเซียมมักจะใช้หินปูนบดละเอียดหรือยิปซั่ม การใช้หินปูนก็เพื่อจะทำให้ความเป็นกรดของดินลดลง และเพื่อให้อ้อยได้แคลเซียมและแมกนีเซียมด้วย ส่วนยิปซั่มมักจะใส่ในดินที่เป็นด่าง หรือดินเค็ม เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น และเข้าไปแทนที่ขับไล่เกลือออกจากดิน แล้วลดปริมาณเกลือโดยการชะล้าง

ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และ สังกะสี ในอัตราส่วน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 500 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นที่ผสมแล้วประมาณ 80 ลิตรต่อไร่ ทุก 7-15 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง

Reference: main content from ocsb.go.th
อ่าน:3617
โรคอินทผลัม โรคเชื้อราเขม่าผง Graphiola Leaf Spot (False Smut) of Palm
โรคอินทผลัม โรคเชื้อราเขม่าผง Graphiola Leaf Spot (False Smut) of Palm
ธรรมชาติของอินทผลัม เป็นพืชที่อยู่ในพื้นที่แห้งแล้งแบบทะเลทราย การนำมาทดลองปลูกในประเทศไทยของเรา มีปัญหาของโรคต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความชื้นปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง โดยเฉพาะโรคเชื้อรา

"โรคเขม่าผง Graphiola Leaf Spot (False Smut) of Palm"

ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีขาวๆ เกิดขึ้นตามใบ ส่วนมากจะเกิดช่วงปลายฝนต้นหนาว แต่บางครั้งก็เกิดในฤดูอื่นๆ เมื่อมีความชื้นในอากาศ การที่ต้นจะตายไม่ใช่ตายเพราะโรคนี้ แต่จะตายเพราะโรคชนิดอื่นที่เข้ามาแทรกในตอนนั้น

- โรคนี้เกิดในพื้นที่ปลูกในภูมิภาคที่มีความชื้นสูง มีฝนมาก แต่ในภูมิภาคที่มีความร้อนและแห้ง จะปรากฏโรคชนิดนี้น้อย

- อินทผลัมพันธุ์แทบทุกสายพันธุ์สามารถเกิดโรคนี้ได้ในสภาพชื้น

- โรคชนิดนี้ เป็นผงจุดสีขาวๆ เกิดตามผิวใบ หากไม่มีโรคชนิดอื่นเกิดขึ้นพร้อมกัน จะปรากฏให้เห็นเป็นผงสีขาวๆ เกิดตามใบเท่านั้น มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระดังความชื้นที่สะสมมา หากเป็นเฉพาะโรคนี้โรคเดียว ไม่ปรากฏมีโรคอื่น หรือ การขาดสารอาหาร หรือ ขาดน้ำ มาพร้อมกัน โรคชนิดนี้ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้น เอกสารต่างประเทศกล่าวว่า การเกิดโรคชนิดนี้อย่างเดียว เป็นเหมือนเครื่องสำอางค์ของใบเท่านั้น การขาดธาตุอาหารมีผลกระทบกับต้นอินทผลัมมากกว่าโรคนี้

- หากตรวจพบว่าเป็นโรคชนิดนี้แล้ว ไม่แนะนำให้มีการตัดแต่งออกไป ยกเว้นแต่จะเป็นโรคอื่นๆ ด้วย หากจะมีการตัดใบ ต้องมั่นใจว่า ธาตุโพแตสเซียมในดินเพียงพอที่จะทำให้ต้นฟื้นขึ้นมาได้จากการตัดแต่งใบออกไป หากดูแล้วไม่ค่อยจะชอบมันเกิดตามใบ ต้องการจะตัดออก ให้รดปุ๋ยที่มีธาตุโพแตสเซียมลงไปด้วยทุกครั้ง

- แนะนำให้ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่นในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร

- ให้เข้าใจว่า ยาป้องกันและกำจัดเชื้อราเหล่านี้ ไม่ได้ทำให้ใบที่เป็นอยู่แล้วหายไป แต่จะทำให้โรคไม่ลามต่อไปยังใบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมา หรือ ลามเพิ่มเติมออกไป เท่านั้น

- ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุง ให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคพืช ได้เร็วขึ้น และเจริญเติบโตได้รวดเร็ว สมบูรณ์

กรณีที่เป็นพื้นที่แห้งอยู่แล้ว แต่เนื่องจากการสะสมของโรคในช่วงฝนที่ตกบ่อยมากจึงทำให้เกิดโรคนี้ให้เห็นบ้าง ไม่เป็นมาก โรคแบบนี้ ไม่เป็นเฉพาะอินทผลัม พืชทางเศรษฐกิจที่เขาปลูกกันจำนวนมากก็เป็น วิธีการจัดการเมื่อพบโรคนี้ คือ

- ในช่วงของการเพาะต้นกล้า หากจะทำเรือนเพาะชำแบบมีแสงส่องถึงได้เต็มที่ก็ควรจะทำ เพื่อป้องกันน้ำฝนกที่อาจจะมากเกินไป หรือ ป้องกันน้ำค้างในช่วงฤดูหนาว

- จุดที่วางถุง ควรเป็นพื้นที่แห้ง ไม่ชุ่มน้ำ ไม่ควรวางถุงให้ชิดกัน ควรวางให้ห่างกันเล็กน้อย หากมีพื้นที่จำกัดลองวางให้ห่างกันสัก ๑ นิ้ว หากมีพื้นที่มาก ให้วางห่างกันประมาณสัก ๕ นิ้ว เพื่อให้อากาศรอบถุงหมุนเวียนได้ ไม่สะสมโรคชนิดนี้ รวมทั้งโรคอื่นๆ ที่เกิดขึ้นได้กับต้นอินทผลัม

ในส่วนของต้นที่ปลูกกันอยู่ตอนนี้ที่เป็นอยู่นี้ จุดไหนที่มีความชื้นสูงจะเป็นมากหน่อย และที่แน่ๆ จะเป็นดินเพาะแบบไหน ใส่วัสดุเพาะที่จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคแบบไหนก็ตาม ก็มีโอกาสเป็นเท่ากันหมด หากจุดวางถุงมีความชื้นสูง ทั้งความชื้นใต้ถุง ใต้ดิน และร่มเงามากไป ได้ประยุกต์เพื่อแก้ไข ดังนี้

- รดน้ำให้น้อยลง เพื่อลดความชื้น ไม่ควรรดน้ำอินทผลัมในช่่วงเย็น แต่ควรจะรดน้ำในช่วงเช้า ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความชื้นสะสมในเวลากลางคืนที่อากาศเย็นนั่นเอง

- ใช้ปูนขาวผสมน้ำรดลงไปบ้าง เพื่อช่วยเรื่องการกำจัดเชื้อโรคบางชนิดในดิน

- บริเวณไหนมีร่มเงาหรือความชื้นมากไป ย้ายถุงเพาะออกไปวางในจุดที่แห้ง มีแสงแดดเต็มที่

Reference: main content from sites.google.com/site/datepalmnongtu/
อ่าน:3788
โรคอ้อย โรคอ้อยยอดบิด (พกกะบอง) เมื่อโรครุนแรงยอดจะเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง และใบที่ม้วนอยู่ถูกทำลาย ลำตายในที่สุด
โรคอ้อย โรคอ้อยยอดบิด (พกกะบอง) เมื่อโรครุนแรงยอดจะเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง และใบที่ม้วนอยู่ถูกทำลาย ลำตายในที่สุด
สาเหตุของโรค เชื้อรา Fusarium moniliforme

ลักษณะอาการโรค

เริ่มแรกที่โคนของใบอ่อน จะคอดกว่าปกติมีสีขาวซีดหรือเหลืองซีดย่น ต่อไปใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่จะมีลักษณะเหี่ยวย่นบิดม้วน ฉีกขาด ใบสั้น เมื่อใบแก่ขึ้นตรงบริเวณที่เคยเป็นสีซีดจะมีแถบสีแดง รูปร่างไม่แน่นอนเกิดขึ้น แถบนี้อาจจะลุกลามลงมายังส่วนที่เป็นสีเขียวของกาบใบ ลักษณะของแผลบนใบและกาบใบมีรูปร่างและการจัดเรียงไม่แน่นอนทั้งแผล

ปลายใบและขอบใบที่เป็นโรคมักมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำทำให้ดูคล้ายกับถูกไฟเผา อาการใบที่ไม่คลี่จะเห็นยอดหดย่น เชื้อยังสามารถลุกลามเข้าไปยังลำต้น และเข้าไปยังจุดเจริญทำ ให้เกิดแถบสีน้ำตาลในลำต้น ซึ่งอาจยาวลงไปหลายปล้องในฤดูฝนที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง เชื้อจากส่วนใบจะเจริญเข้าทำลายยอดอ้อย ทำให้เนื้อเยื่อเจริญภายในยอดและปล้องอ้อยส่วนบน ๆของลำเน่า มีสีแดงเข้ม

เมื่อโรครุนแรงยอดจะเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง และใบที่ม้วนอยู่ถูกทำลาย ลำตายในที่สุด ดังนั้น หากโรคไม่รุนแรงมากลำที่เหลืออยู่ในกอจะเจริญต่อไปได้โดยไม่ถูกทำลายเมื่อโรคลดการระบาดการแพร่ระบาด โรคระบาดรุนแรงในฤดูฝนในระยะอ้อยย่างปล้องโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีความชื้นสูง และลดการระบาดเมื่ออากาศแห้งลงในปลายฤดูฝน ทั้งนี้เชื้อสาเหตุโรคสามารถอยู่ข้ามฤดูได้ในเศษซากอ้อยที่เป็นโรค โดยแผลที่เป็นโรคสามารถสร้างสปอร์และปล่อยสปอร์ให้ลอยไปตามลมได้

คำแนะนำการป้องกันกำจัด

• ใช้พันธุ์อ้อยที่ต้านทานต่อโรค

• เผาทำลายอ้อยที่แสดงอาการของโรค เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดไปยังแหล่งอื่น

• ลดการใช้ปุ๋ยเดี่ยวไนโตรเจนในขณะที่อ้อยอายุยังน้อย

• ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน หมั่นสังเกตุอาการ

• ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส เพื่อส่งเสริม ฟืนฟูอ้อย จากการเข้าทำลายของโรค

Reference: main content from ocsb.go.th
อ่าน:5115
อ้อยขาดธาตุแมกนีเซียม (Magnesium, Mg) อ้อยแคระ อ้อยจุดสนิม อาจมีมีสาเหตุจากเชื้อรา หรืออาจเป็นเพราะขาดแมกนีเซียม ต้องพิจารณาดีๆ
อ้อยขาดธาตุแมกนีเซียม (Magnesium, Mg) อ้อยแคระ อ้อยจุดสนิม อาจมีมีสาเหตุจากเชื้อรา หรืออาจเป็นเพราะขาดแมกนีเซียม ต้องพิจารณาดีๆ
ภายใต้สภาพที่มีการขาดแมกนีเซียมอย่างรุนแรง ลำต้นอ้อยจะมีการแคระแกร็นทำให้เกิดเป็นสีสนิมอย่างรุนแรงและมีสีน้ำตาล โดยภายในลำต้นนั้นอาจจะกลายเป็นสีน้ำตาลได้

สีสนิมที่เกิดขึ้นนั้นสามารถกระจายไปทั่วทั้งแผ่นใบและอาจจะทำให้ใบแก่นั้นเกิดการหลุดหักร่วงก่อนอายุจริง

ลักษณะอาการโรค อ้อยที่ขาดแมกนีเซียม จะมีจุดประคล้ายสนิมเหล็กทั่วบริเวณด้านบนของใบภายในลำอ้อย ถ้าผ่าดูจะมีสีน้ำตาลทำให้ใบแก่และหลุดร่วงก่อนอายุลำต้นอาจแคระแกร็น ลักษณะคล้ายกับอ้อยขาดแคลเซียมมาก ลำต้นเล็ก ปล้องสั้น

คำแนะนำการป้องกันกำจัด

การขาดแมกนีเซียมมักขาดในดินทราย และดินที่มีโพแทสเซียมสูงการใส่โพแทสเซียมในอัตราสูงจะทำให้เกิดการขาดแมกนีเซียมได้ในดินที่มีแมกนีเซียมต่ำ ปุ๋ยที่ให้แมกนีเซียม โดยการฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นประมาณ 80ลิตรต่อไร่ ทุก 7-15 วัน ต่อเนื่อง 2-4 ครั้ง

Reference: main content from ocsb.go.th
อ่าน:3574
มะยงชิดใบไหม้สีน้ำตาล มะปรางหวานใบไหม้ โรครามะยงชิด
มะยงชิดใบไหม้สีน้ำตาล มะปรางหวานใบไหม้ โรครามะยงชิด
อากาศร้อน และมีฝนตกในบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกมะปรางและมะยงชิดให้ระวังโรคแอนแทรคโนส มักพบเชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ใบ พบแผลรูปร่างไม่แน่นอน ขอบแผลชัดเจนสีน้ำตาลเข้ม กลางแผลสีน้ำตาลอ่อนบางใสกว่าเนื้อใบรอบๆ กรณีมีความชื้นสูง แผลจะเพิ่มจำนวนขยายใหญ่อย่างรวดเร็วติดต่อกันทั้งใบ ทำให้ใบบิดเบี้ยวหรือไหม้แห้ง หากรุนแรงถึงระยะออกดอก เชื้อราสาเหตุโรคจะเข้าทำลายช่อดอก โดยเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลดำกระจายบนก้านดอก ทำให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วงไม่ติดผล ผลอ่อน จะพบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำและ ร่วงหล่น เชื้อราสาเหตุโรคจะแฝงอยู่ที่ผลอ่อนโดยไม่แสดงอาการของโรค แต่จะแสดงอาการเมื่อผลแก่ โดยพบจุดแผลสีดำเล็กๆ ต่อมาแผลขยายลุกลามและบริเวณแผลอาจพบรอยแตก ทำให้ผลเน่าในที่สุด

เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบพืชเริ่มมีอาการของโรค ให้ตัดแต่งกิ่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค และกำจัดวัชพืชรอบโคนต้น เพื่อลดความชื้นในทรงพุ่ม จากนั้น ให้ควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสม ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนมากเกินไป ภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง โดยเฉพาะกิ่งที่เป็นโรค และเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคในฤดูกาลผลิตต่อไป

สำหรับแหล่งปลูกที่พบการระบาดของโรคเป็นประจำ จะพบในช่วงแตกใบอ่อน เริ่มแทงช่อดอก และหลังติดผลอ่อน เกษตรกรควรพ่นในช่วงติดผลด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอะซอกซีสโตรบิน 25% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโพรคลอราซ 45% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน หากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค คือ มีฝนตกและอากาศร้อนชื้น ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชดังกล่าว เพื่อป้องกันการระบาดของโรค และควรหยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่น้อยกว่า 15 วัน หลีกเลี่ยงการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชในระยะดอกบาน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อแมลงช่วยผสมเกสรของพืช

ป้องกัน ยับยั้งด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร

📌 ไอเอส ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.farmkaset..link..
📌 ไอเอส ข้อมูลรายละเอียด และโปรโมชั่น ที่ลิงค์นี้นะค่ะ http://www.farmkaset..link..
✅ ปลอดสารพิษ ✅ จากธรรมชาติ ✅ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค

🚚 มีบริการเก็บเงินปลายทางฟรี ไม่ต้องโอน

📞 โทรสอบถามหรือสั่งซื้อ 090-592-8614

👉 แอดไลน์ไอดี FarmKaset หรือคลิก http://www.farmkaset..link..
👉 สอบถามสั่งซื้อทางเพจ ฟาร์มเกษตร หรือคลิก http://www.farmkaset..link..
ขอบคุณข้อมูลจาก stock.newsplus.co.th/186810
อ่าน:3569
การปลูกขนุน การดูแลรักษา และการป้องกันกำจัดโรคขนุน
การปลูกขนุน การดูแลรักษา และการป้องกันกำจัดโรคขนุน
ขนุนเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ ปลูกง่าย สามารถเติบโตได้ดีและเร็ว ผลมีขนาดใหญ่ รูปกลมหรือกลมยาว เปลือกมีหนามแหลมสั้นรอบผล เนื้อขนุนเป็นที่นิยม รับประทานกันทั่วไป เนื้อมีลักษณะเป็นยวงมีเมล็ดอยู่ข้างใน มีทั้งเนื้อชนิดหนา เนื้อบาง เนื้อแห้งกรอบ และเนื้อเละ สีของเนื้อแตกต่างกันไปแล้วแต่สายพันธุ์ แม้ว่าขนุนจะไม่ใช่ไม้ผลที่มีกำเนิดในประเทศไทย แต่ก็นำมาปลูกกันนานจนกลายเป็นพันธุ์ไม้ผลพื้นเมืองของไทยไปแล้ว สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกขนุนนั้นต้องคำนึงถึงความสมดุลหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของดิน

ชนิดของดินที่ขนุนเติบโตได้ดี
ขนุนเป็นไม้ผลที่ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินทราย ดินเหนียว ดินลูกรัง ปกติขนุนชอบดินร่วน หรือดินร่วนปนทรายที่ต้องระบายน้ำดี ส่วนดินเหนียวหรือดินทรายต้องมีการปรับปรุงด้วยการใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก มากๆ จะช่วยให้ขนุนเจริญเติบโตได้ดีขึ้น

ความสมบูรณ์ของดินปลูกขนุน ขนุนชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีอินทรียวัตถุมาก ซึ่งทำให้ดินมีสีดำ ขนุนจะเจริญเติบโตได้เร็ว ให้ผลดก ผลใหญ่ เนื้อยวงมีสีเข้ม และมีรสหวานกว่าขนุนที่ปลูกในดินที่มีสภาพความสมบูรณ์ต่ำ อาจสังเกตว่าพืชที่ขึ้นปกคลุมอยู่นั้น ถ้ามีการเจริญเติบโตดี ใบมีสีเขียวเข้ม แสดงว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง

ความเป็นกรด ด่างของดินปลูกขนุน
ขนุนขึ้นได้ในดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง 6-7.5 ถ้าดินมีค่าความเป็น..

http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3753
ขั้นตอนการปลูกข้าวโพดหวาน วิธีปลูกข้าวโพด การให้น้ำข้าวโพดหวาน
ขั้นตอนการปลูกข้าวโพดหวาน วิธีปลูกข้าวโพด การให้น้ำข้าวโพดหวาน
ขั้นตอนการปลูกข้าวโพดหวาน วิธีปลูกข้าวโพด การให้น้ำข้าวโพดหวาน
วิธีการปลูกและการให้น้ำข้าวโพดหวาน

แม้ว่าการปลูกข้าวโพดหวานสามารถทำได้ตลอดปีถ้ามีแหล่งน้ำเพียงพอ อย่างไรก็ตามผลผลิตและคุณภาพข้าวโพดหวานอาจจะแตกต่างไปตามฤดูกาล นอกจากนี้พันธุ์บางพันธุ์อาจตอบสนองต่อฤดูปลูกแตกต่างกัน โดยทั่วไปในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ จะให้ผลผลิตต่ำกว่าในช่วงอื่น ๆ เนื่องจากอากาศเย็น ขณะที่การปลูกในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม จะได้ผลผลิตดีกว่าช่วงอื่น ๆ ไม่มีโรคราน้ำค้างระบาดและปัญหาวัชพืชซึ่งจะน้อยกว่าการปลูกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เพราะผลผลิตบางส่วนอาจเสียหายได้เนื่องจากช่วงดังกล่าวฝนตกชุก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมหรือน้ำขังในแปลงปลูกได้ง่าย โดยเฉพาะในแปลงที่มีระบบการระบายน้ำไม่ดี
การเตรียมดิน

ในการปลูกข้าวโพดหวานควรมีการเตรียมดินอย่างดี เพื่อช่วยกำจัดวัชพืชย่อยเศษซากพืชและคลุกเคล้าอินทรียวัตถุ อีกทั้งยังเป็นการทำลายโรคและแมลงบางชนิดที่เป็นศัตรูข้าวโพด โดยทั่วไปการเตรียมดินควรปฏิบัติ ดังนี้

1. ไถด้วยผาลสาม 1 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร และตากดิน 7-10 วัน แล้วพรวนด้วยผาลเจ็ด 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว ไหล ของวัชพืชออกจากแปลงให้หมด

2. เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ ถ้าพบว่าดินมีความเป็นกรดต่ำกว่า 5.5 ให้หว่านปูนขาว อัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่แล้วพรวนกลบ จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 14 วัน ก่อนปลูกข้าวโพดหวาน

3. ถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5 ให้ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 500-1_000 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนดินกลบ

วิธีการปลูก

เมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกควรมีความงอกสูงกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ หยอด 1 เมล็ดต่อหลุม โดยใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1.0-1.2 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ถ้าเมล็ดพันธุ์มีความงอกต่ำกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ควรหยอดเมล็ด 1-2 เมล็ดต่อหลุม และหยอดลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร ซึ่งใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1.5-2.0 กิโลกรัมต่อไร่ เนื่องจากพันธุ์ข้าวโพดหวานที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง ดังนั้นก่อนปลูกทุกครั้งต้องคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเมตาแลกซิล อัตรา 7 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เพื่อป้องกันโรคราน้ำค้าง สำหรับอัตราปลูกที่เหมาะสมของข้าวโพดหวานเพื่ออุตสาหกรรมการแปรรูปควรอยู่ในช่วง 8_500-11_00 ต้นต่อไร่ ซึ่งการจัดระยะปลูกสามารถทำได้โดย

1. ใช้ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร และระยะระหว่างต้น 20-25 เซนติเมตร เมื่อข้าวโพดมีอายุประมาณ 10-14 วัน ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม จะได้จำนวนต้นประมาณ 8_533-10_667 ต้นต่อไร่

2. ใช้ระยะระหว่างแถวและระยะระหว่างต้นเท่ากัน คือ ประมาณ 40 เซนติเมตร เมื่อข้าวโพดมีอายุประมาณ 10-14 วัน ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม จะได้จำนวนต้นประมาณ 10_000 ต้นต่อไร่

การให้น้ำ

การขาดน้ำทุกระยะการเจริญเติบโตจะมีผลให้ผลผลิตและคุณภาพของข้าวโพดลดลง ก่อนการปลูกเกษตรกรต้องมีการวางแผนวิธีการให้น้ำที่เหมาะสมกับสภาพแปลงปลูก โดยทั่วไปการให้น้ำมีหลักปฏิบัติ ดังนี้

1. ให้น้ำทันทีหลังปลูกและหลังการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง หลังจากนั้นให้น้ำทุก 7-12 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ วิธีการให้น้ำที่เกษตรกรปฏิบัติมีอยู่ 2 แบบ คือ ให้น้ำตามร่องคูและให้น้ำแบบพ่นฝอย (Sprinkler) ซึ่งการให้น้ำแบบพ่นฝอยควรให้น้ำแต่ละครั้งประมาณ 35-40 มิลลิลิตร ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและชนิดของดิน เช่น ถ้าดินที่ใช้ปลูกเป็นดินทรายหรือดินร่วน ควรให้น้ำถี่กว่าดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียว เพราะดินดังกล่าวมีความสามารถในการเก็บความชื้นไว้ นอกจากนี้ในช่วงการเจริญเติบโต หากสภาพอากาศมีอุณหภูมิสูงหรือมีลมแรงก็ควรมีการให้น้ำถี่ขึ้น

2. หากพบว่าใบข้าวโพดหวานเหี่ยวหรือม้วนในช่วงเช้าหรือเย็น แสดงว่าขาดน้ำต้องรีบให้น้ำทันที

3. หลังการให้น้ำต้องระวังไม่ให้น้ำท่วมขังในแปลงนานเกิน 24 ชั่วโมง เพราะข้าวโพดหวานจะชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงหรืออาจตายได้

4. อย่าให้ข้าวโพดขาดน้ำในช่วงการเจริญเติบโต โดยเฉพาะในช่วงผสมเกสรและติดเมล็ด เพราะจะทำให้ผลผลิตและคุณภาพผลผลิตลดลงอย่างมาก ถึงแม้การขาดน้ำจะเป็นช่วงสั้น ๆ และไม่รุนแรง

5. หยุดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานประมาณ 2-3 วัน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง kubotasolutions.com/ knowledge/corn/detail/313
อ่าน:4190
2168 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 216 หน้า, หน้าที่ 217 มี 8 รายการ
|-Page 210 of 217-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
พืชขาดธาตุแมกนีเซียม ใบเหลืองจากปลายมาหาโคน ขาดมากใบร่วงเยอะ เติมด้วย FK-1
Update: 2562/08/24 15:31:50 - Views: 3885
คาดการณ์ราคารับซื้อกาแฟในประเทศไทย ปี 2568
Update: 2567/11/27 09:24:34 - Views: 399
โรคราดำมะม่วง (Sooty mold/Black Mildew) ต้องกำจัดแมลงพาหะ และกำจัดโรครา
Update: 2564/04/01 21:56:02 - Views: 3749
โรคใบไหม้ในหน้าวัว และโรคใบไหม้ใน สาวน้อยปะแป้ง
Update: 2563/11/16 07:16:11 - Views: 4304
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยกระโดด เพลี้ยหอย เพลี้ยจั๊กจั่น บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2565/12/12 09:08:13 - Views: 3565
ชาเขียว ใบไหม้ ใบร่วง กำจัดโรคชาเขียว จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/12 11:00:29 - Views: 3533
ชุดย่อยสลายฟางข้าว ชุดย่อยสลายตอฟาง ย่อยสลายใน 7วัน ไม่ต้องเผา
Update: 2564/08/24 00:45:29 - Views: 3631
ย่อยสลายตอซัง ย่อยสลายฟางข้าว ย่อยสลายตอฟาง รวดเร็วใน 7-10 วัน ลดข้าวดีด คืนความสมบูรณ์ให้กับดิน ไอซีคิท
Update: 2565/04/20 08:34:00 - Views: 3703
วิธีปลูกทุเรียนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว
Update: 2564/05/31 08:12:06 - Views: 7171
ระวัง!!! เพลี้ยหอย ในต้นลำไย สร้างเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร?
Update: 2566/11/06 12:46:34 - Views: 3530
การปลูกมันสำปะหลังอย่างยั่งยืน: แนวทางปฏิบัติเพื่อพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
Update: 2566/04/26 13:53:13 - Views: 3597
หนอนศัตรูพืช กำจัดด้วย ไอกี้บีที ตายใน 24-48 ชั่วโมง ปลอดสารพิษ ปลอดภัย กำจัดหนอนต่างๆ ใช้ได้กับทุกพืช
Update: 2563/04/18 11:07:08 - Views: 3513
โรคแคงเกอร์ ในพืชตระกูลส้ม และ มะนาว แก้ได้ด้วยไอเอส ปลอดสารพิษ
Update: 2564/05/09 05:03:29 - Views: 4619
ปุ๋ยน้ำบำรุงเงาะ ปุ๋ยฉีดพ่นเงาะ ปุ๋ยทางใบสำหรับเงาะ ปุ๋ยเงาะ ปลูกเยอะใช้ FK-1 ปลูกน้อยใช้ FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/10/13 00:53:51 - Views: 3575
อัปเดตสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2568: ผลผลิตเพิ่ม มาตรการรัฐคุมราคา และแนวโน้มตลาดโลก
Update: 2568/03/20 09:26:21 - Views: 397
การรักษาและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อราในต้นเชอร์รี: วิธีการดูแลและป้องกันโรคในสวนผลไม้
Update: 2566/11/24 09:21:38 - Views: 3557
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับอ้อย
Update: 2564/08/27 22:13:46 - Views: 3875
สถานการณ์ทุเรียนไทยปี 2568: โอกาสทางการค้าและปัญหาภายในประเทศที่ต้องจับตา
Update: 2568/03/22 08:16:58 - Views: 320
วิเคราะห์ตลาดทุเรียน แนวโน้มปี 2568
Update: 2567/11/20 09:22:37 - Views: 629
กำจัดเพลี้ยถั่วลิสง เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ ด้วยมาคา หากปล่อยไว้ผลผลิตลดได้ถึง 50%
Update: 2562/08/10 09:34:19 - Views: 5059
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022