<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
โรคมันสำปะหลัง มันสำปะหลังขาดธาตุสังกะสี ทำให้โตช้า พบจุดขาว หรือเหลืองบนใบอ่อน ใบย่น ขาดรุนแรงอาจตายได้
ปัญหาผลผลิตมันสำปะหลังต่ำ เนื่องจากขาดจุลธาตุสังกะสี
ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีอยู่ 16 ธาตุ แต่มีเพียง 7 ธาตุ เท่านั้นที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อยมาก และเราเรียกธาตุเหล่านี้ว่า จุลธาตุ (Micronutrient) ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) โบรอน (B) โมลิดินัม (Mo) คลอรีน (Cl) แม้ว่าพืชต้องการธาตุเหล่านี้น้อย แต่ก็มีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดสังกะสีในมันสำปะหลัง ซึ่งในปัจจุบันเป็นปัญหาของเกษตรกรจำนวนมาก
ความสำคัญของธาตุสังกะสี
เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของเอนไซม์หลายชนิด รวมทั้งออกซิเจนและฮอร์โมนในพืช เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างกรดอินโดลอะเซติก (LAA) เป็นธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ และการสร้างเมล็ดพืช ตลอดจนมีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในพืช
ลักษณะอาการขาดธาตุสังกะสีในมันสำปะหลัง
พบเห็นโดยทั่วไปในดินด่าง จะมีลักษณะการยืดต้นช้า พบจุดหรือแถบสีขาว หรือเหลือง บนใบอ่อน ใบอาจย่นหรือเปลี่ยนรูปร่าง อาจพบจุดแผลเซลล์ตายในใบล่างและอาจรุนแรงทำให้ต้นตาย ส่งผลถึงความอยู่รอดและผลผลิตมันสำปะหลัง
สาเหตุ
- พื้นที่มีการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
- ปลูกมันสำปะหลังในที่เดิมเป็นเวลานาน ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน
- ดินมีความเป็นด่างสูง (pH สูง) หรือดินที่มีแคลเซียม (Ca) สูง
- เกษตรกรใส่ปุ๋ยธาตุอาหารหลักอย่างเดียว
ข้อแนะนำ
ฉีดพ่น FK-1 ทุก 7-15 วัน ต่อเนื่อง 2-4 ครั้ง ตามอัตราส่วนที่แนะนำ