[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ปุ๋ย
2153 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 215 หน้า, หน้าที่ 216 มี 3 รายการ

การปรับปรุงดินลูกรัง ให้ปลูกพืชได้ดีขึ้น
การปรับปรุงดินลูกรัง ให้ปลูกพืชได้ดีขึ้น
ดินลูกรัง หรือดินตื้นมีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ มักเป็นกรด มีชั้นหินกรวดลูกรัง เป็นอุปสรรคต่อรากพืช ดินไม่อุ้มน้ำ ทำให้ขาดความชุ่มชื้น การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เป็นดินลูกรังเพื่อปลูกพืชสามารถทำได้แต่ต้องขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อมและระดับการจัดการ


การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรจำเป็นต้องมีการใช้เทคโนโลยีหรือมีการจัดการดินและพืชที่เหมาะสมด้วยได้แก่ ชลประทาน การปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน การใช้ปุ๋ยในรูปที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด

สำหรับการพัฒนาดินลูกรังมาใช้ในการเพาะปลูกพืช มีการศึกษาวิจัยวิธีการจัดการดินและการพัฒนาพันธุ์พืชหรือคัดเลือกพันธุ์พืชมาปลูกให้เหมาะสมกับสภาพของดินและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตลอดมา จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่าการเพิ่มผลผลิตของพืชที่ปลูกในดินลูกรังควรคำนึงถึงด้านการจัดการดินและการพัฒนาพันธุ์พืชหรือคัดเลือกพันธุ์พืช ให้มีความสามารถทนทานต่อสภาพปัญหาของดินลูกรัง เช่น การคัดเลือกพันธุ์พืชที่ขึ้นได้ในดินลูกรังและทนทานต่อความแห้งแล้ง

จะต้องปรับปรุงสภาพของดินให้มีความสามารถในการดูดยึดธาตุอาหารเพิ่มขึ้นซึ่งบางพื้นที่อาจทำโดยการลดความเป็นกรดด้วยการใช้ปูน การเพิ่มอินทรียวัตถุ การเพิ่มความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน โดยการผสมหินบะซอลต์บดลงในดิน

การจัดการพืช ก็ควรเลือกชนิดพืชให้เหมาะสมและมีอัตราเสี่ยงต่อการลงทุนน้อยที่สุดสำหรับบางพื้นที่จะใช้พื้นที่ที่มีลักษณะดินเช่นนี้ทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ก็ควรทำในลักษณะทุ่งหญ้าผสมถั่ว สำหรับไม้ยืนต้นและไม้ผลนั้นสามารถปลูกได้โดยขุดหลุมให้กว้างและลึกเป็นพิเศษ เช่น มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ มะขาม ขนุน เป็นต้น และในบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 1_600 มิลลิเมตร สามารถปลูกยางพาราได้ การปลูกสร้างสวนป่าอาจเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่น่าสนใจ โดยใช้ไม้ที่สามารถเจริญเติบโตได้ในดินปนกรวด ได้แก่ กระถินณรงค์ ยูคาลิปตัส สน ประดู่ และสัก เป็นต้น

ดังที่ สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านห้วยแม่เกี๋ยง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ แม้พื้นที่จะไม่ใช่ดินลูกรังโดยตรง แต่ก็เป็นพื้นที่ที่มีก้อนหินทั้งใหญ่และเล็กปะปนอยู่บริเวณหน้าดินเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะยากต่อการใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืช

แต่เจ้าหน้าที่ของสถานีไม่ละความพยายามได้มีการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำหน้าดินบริเวณนั้นมาใช้ประโยชน์ และประสบความสำเร็จ ปัจจุบันได้เป็นแบบอย่างให้กับราษฎรในพื้นที่ได้เข้ามาเรียนรู้ และนำกลับไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง แบบเพาะปลูกพืชผักหมุนเวียนสามารถลดการบุกรุกแผ้วถางป่าลงได้มากอย่างน่าพอใจยิ่ง

ปัจจุบันสถานีแห่งนี้ได้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของราษฎรในการนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของตนเองโดยไม่ต้องเข้าป่าบุกรุกป่าสร้างที่ใหม่ ๆ เพื่อปลูกพืชกันอีกต่อไป....

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3535
ทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์ ?
ทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์ ?
เกษตรกรและการเกษตรกรรม เป็นอาชีพที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างช้านานจนกลายเป็นรากฐานของสังคมไทย การปลูกพืชพันธุ์ต่าง ๆ เป็นการผลิตของคนส่วนใหญ่ วิถีชีวิตของคนเพาะปลูกและทำอาชีพเกษตรกรจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเสริมสร้างสังคม วัฒนธรรม การปกครอง การกินอยู่ ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนการแสดงออกต่าง ๆ ของคนในประเทศและรวมไปถึงเรื่องของการค้า เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้นเราจึงต้องดูแลให้อาชีพเกษตรกรอยู่ได้อย่างมีความสุขและมั่นคงในอาชีพของเขา


และในยุคสมัยที่เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งต่าง ๆ เข้ามามีอิทธิพลและบทบาทในการทำอาชีพของเกษตรกร ไปจนถึงปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการทำงานไป เช่น จากการใช้ควายไถนา เปลี่ยนมาใช้เครื่องจักร_ การใช้ปุ๋ยและสารเคมี_ การใช้เทคโนโลยีควบคุมการปล่อยน้ำและอื่น ๆ อีกมาก ก็ยิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสริมสร้าง พัฒนาและเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นให้วงการเกษตรก้าวไกลให้ทันโลกและนำมาประยุกต์ใช้ในวงการเกษตรของไทยให้ได้ แต่เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยแม้จะอำนวยความสะดวก แต่ด้วยปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ทั้งเรื่องที่ดิน_ ต้นทุนการผลิตที่มากขึ้น_ ภัยพิบัติ_ ภาวะเศรษฐกิจ และอื่น ๆ ก็ทำให้ภาคการเกษตรนั้นมีแนวโน้มที่จะอยู่อย่างลำบากมากขึ้น จนเกษตรกรที่เป็นอาชีพหลักนั้นอยู่อย่างลำบาก และมีแนวโน้มที่จะมีหนี้สินมากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือสวก. จึงเป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการวิจัยการเกษตร เพื่อเกษตรไทยอยู่ได้อย่างเข้มแข็งอย่างมั่นคง ยั่งยืนและผลักดันให้วงการเกษตรก้าวไกลให้ทันยุคสมัย โดยทางสวก. นั้นมีผลงานและงานวิจัยมากมายที่ได้ให้การสนับสนุนแก่นักวิจัย เกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตั้งแต่โครงการอบรม การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย_ การให้ทุนการวัยวิจัยในหัวข้อต่าง ๆ ที่กำหนด_ การผลักดันเกษตรกรให้เป็น Smart Farmer_ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ_ การวิจัยพืชพันธุ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลผลิตการเกษตรต่าง ๆ และมีผลงานอีกมากมายที่สวก. พยายามผลักดันและสนับสนุนให้การเกษตรก้าวไกลและอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง

และเพื่อให้เกษตรกรไทยอยู่ได้อย่างเข้มแข็งจริง สวก. จึงมีวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ ค่านิยมและพันธกิจต่าง ๆ เกษตรอินทรีย์ คือ อะไร และทำไมต้องเกษตรอินทรีย์?

หลายท่านเคยสงสัยหรือมีคำถาม ว่าเกษตรอินทรีย์คืออะไร ทำไมเดี๋ยวนี้ เราไปเลือกซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้า สินค้าหรือวัตถุดิบต่างๆ มักจะมีฉลากระบุที่ข้างกล่องหรือภาชนะ ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับการทำเกษตรอินทรีย์ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร

เกษตรอินทรีย์

คือการทำการเกษตรด้วยกรรมวิธีทางธรรมชาติ โดยที่พื้นที่ที่ทำเกษตรนั้น ต้องไม่มีสารพิษ หรือสารเคมีตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทั้งทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อความสมบูรณ์ทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามสมดุลของธรรมชาติให้มากที่สุด โดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม และมุ่งเน้นการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบในการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตสูง อุดมด้วยคุณค่าทางอาหารและปลอดสารพิษ ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิต และสามารถประยุกต์ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติเพื่อคุณภาพชีวิต และสนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ทำไมต้องเกษตรอินทรีย์

จากการใช้ทรัพยากรดินทำการเกษตรโดยไม่คำนึงถึงผลเสียของ ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุและกายภาพของดินตามธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ที่อาศัยอยู่ในดินนั้นสูญหาย และไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งการที่ธรรมชาติขาดสมดุลนี้ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ต่อกระบวนการเจริญเติบโตทางธรรมชาติ แต่เมื่อเกิดความไม่สมดุลขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ผืนดินสูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุในดิน ทำให้ผลผลิตมีแร่ธาตุ วิตามิน และพลังงานชีวิตต่ำ เป็นผลให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองในพืช เป็นสาเหตที่ทำให้พืช ผลผลิตอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทานโรค และทำให้เกิดการคุกคามของแมลง ศัตรูพืช และเชื้อโรคในพืช ซึ่งจะนำไปสู่การใช้สารเคมีฆ่าแมลงและเชื้อราเพิ่มขึ้น ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพในที่สุด และในดินที่เสื่อมคุณภาพนี้ จะทำปฏิกิริยาเร่งการเจริญเติบโตของศัตรูพืชให้เจริญเติบโตแข่งกับพืชเกษตร และนำไปสู่การใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดแมลงและวัชพืช

เป็นเกษตรอินทรีย์ได้อย่างไร

การเกษตรปัจจุบัน สามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดยเริ่มต้นศึกษาหาความรู้จากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้น ซึ่งเกษตรกรควรเริ่มต้นด้วยความสนใจ โดยศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติ และเมื่อเริ่มปฏิบัติตามนี้แล้วก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยนเรียนรู้ และเมื่อได้ลงมือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ไม่นานก็จะสามารถเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของการทำเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิตขึ้นนั้น ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว และหลักการสำคัญ คือการทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ และมีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียร โดยไม่ท้อถอยต่อปัญหาหรืออุปสรรค จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก เพราะเกษตรอิทรีย์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริง แล้วเกษตรกรเองก็สามารถขอรับการผ่านรับรองมาตรฐานจากภาครัฐจึงจะนับได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ที่สมบูรณ์พร้อม

หลักการผลิตพืชอินทรีย์

1. พื้นที่ที่จะทำการเกษตรนั้นต้องไม่เคยทำการเกษตรเคมีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี

2. พื้นที่ควรมีลักษณะค่อนข้างดอนและโล่งแจ้ง

3. พื้นที่ต้องอยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม

4. พื้นที่ควรอยู่ห่างจากแปลงที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี

5. พื้นที่ห่างจากถนนหลวงหลัก

6. พื้นที่มีแหล่งน้ำที่ปลอดสารพิษ

มาตรฐานของเกษตรอินทรีย์

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ คือเกณฑ์ข้อกำหนดที่เกษตรกรผู้ผลิตจะต้องปฏิบัติตาม และหน่วยงานรับรองจะใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจประเมินการผลิต และตัดสินใจในการรับรองฟาร์มที่ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานนั้นๆ

ปกติในการกำหนดมาตรฐานโดยส่วนใหญ่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์กลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้ค้า ผู้บริโภค รวมทั้งนักสิ่งแวดล้อม และนักวิชาการด้านต่างๆ จะมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น และตัดสินใจในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในแต่ละข้อ ความคาดหวังหรือการให้คุณค่ากับการปฏิบัติเกษตรอินทรีย์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละส่วนจะถูกตรวจสอบ และยอมรับหรือปฏิเสธโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ประกอบการ เพราะผู้ผลิตและผู้ประกอบการจะเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดเหล่านั้น ดังนั้น มาตรฐานจึงเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นกระบวนการแปลความคาดหวังและคุณค่าของเกษตรอินทรีย์ให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ ดังนั้น ข้อตกลงในมาตรฐานจึงเปรียบเหมือนเป็น “สัญญาประชาคม” ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ทำให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มีสถานะเสมือนหนึ่งเป็น “คำนิยาม” ของเกษตรอินทรีย์ไปพร้อมกันด้วย

จะเห็นได้ว่า มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นภาพสะท้อนของสภาวการณ์การผลิตและการแปรรูปผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ที่เกษตรกรได้พัฒนายกระดับความสามารถในการทำการผลิตและแปรรูปให้ก้าวรุดหน้ามากขึ้น ดังนั้น มาตรฐานเกษตรอินทรีย์จึงไม่ใช่มาตรฐานที่หยุดนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เป็นสภาพการณ์ที่ยังสามารถมีการแปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ตามสภาวการณ์ของการผลิตเกษตรอินทรีย์ ที่นับวันมีแต่จะก้าวรุดหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ

ในที่นี้ จะขอกล่าวถึงข้อกำหนดโดยสรุปของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในบางเรื่องที่สำคัญ

1) ระบบนิเวศการเกษตร

ระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ต้องเอื้ออำนวยต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้ม ซึ่งผู้ผลิตจะต้องดำเนินการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและสภาพนิเวศท้องถิ่นดั้งเดิมไว้ เพื่อให้พืชพรรณและสัตว์ท้องถิ่นสามารถมีที่อยู่อาศัยได้อย่างเพียงพอ นอกเหนือจากการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังจำเป็นต้องมีมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างจริงจังอีกด้วย

2) การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์

การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ควรเริ่มจากการมีแผนการปรับเปลี่ยนที่ชัดเจน โดยแผนการปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน โดยอาจจะปรับเปลี่ยนฟาร์มทั้งหมดเข้าสู่เกษตรอินทรีย์พร้อมกัน หรือค่อยๆ ปรับเปลี่ยนบางส่วนของฟาร์มเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ก็ได้ แต่ทั้งนี้ แผนการปรับเปลี่ยนจะต้องระบุถึงขั้นตอนและระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนฟาร์มทั้งหมดเข้าสู่เกษตรอินทรีย์ รวมทั้งการจัดแยกระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์และไม่ใช่เกษตรอินทรีย์ออกจากกัน ซึ่งในแต่ละมาตรฐานอาจกำหนดระยะเวลาของการปรับเปลี่ยนแตกต่างกันไป ซึ่งในช่วงระยะปรับเปลี่ยนนี้อาจใช้เวลา 12 – 36 เดือนขึ้นอยู่กับมาตรฐาน

3) การผลิตพืช

ในระบบการปลูกพืช ควรเลือกปลูกพืชที่หลากหลายชนิดและพันธุ์ เพื่อสร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนของนิเวศฟาร์ม นอกจากนี้ การปลูกพืชหลากหลายพันธุ์ ยังเป็นการช่วยรักษาความหลากหลายของพันธุกรรมพืชไว้ด้วย ในการสร้างความหลากหลายของการปลูกพืชนี้ ควรมีการปลูกพืชหมุนเวียน โดยมีพืชที่เป็นปุ๋ยพืชสดรวมอยู่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชตระกูลถั่วและพืชที่มีระบบรากลึก โดยจัดระบบการปลูกพืชให้มีพืชคลุมดินอยู่ตลอดทั้งปี

4) การจัดการดิน และธาตุอาหาร

การจัดการดินที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบเกษตรอินทรีย์ การปรับปรุงดินและการบริหารจัดการดินและธาตุอาหาร มีเป้าหมายเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งรวมถึงการจัดการให้มีธาตุอาหารอย่างเพียงพอกับพืชที่เพาะปลูก และเพิ่มพูนอินทรียวัตถุให้กับดินอย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างกลไกของการหมุนเวียนธาตุอาหารในฟาร์ม รวมทั้งการป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และการสูญเสียของธาตุอาหาร ซึ่งการจัดหาแหล่งธาตุอาหารพืชนั้นควรเน้นที่ธาตุอาหารที่ผลิตขึ้นได้ภายในระบบฟาร์ม

5) การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

ในระดับฟาร์ม การป้องกันกำจัดศัตรูพืชในระบบเกษตรอินทรีย์จะเน้นที่การเขตกรรม การจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี และวิธีกลเป็นหลัก ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างสมดุลของระบบนิเวศการเกษตร ที่ทำให้พืชที่เพาะปลูกพัฒนาภูมิต้านทานโรคและแมลง และสภาพแวดล้อมของฟาร์มไม่เอื้ออำนวยต่อการระบาดของโรคและแมลง ต่อเมื่อการป้องกันไม่เพียงพอ เกษตรกรจึงอาจใช้ปัจจัยการผลิตสำหรับควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูพืช ซึ่งกำหนดอนุญาตไว้ในมาตรฐาน

6) การป้องกันมลพิษ การปนเปื้อน และการปะปน

ในระดับฟาร์ม เกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์จะต้องมีมาตรการในการป้องกันมิให้ดินและผลผลิตเกษตรอินทรีย์ปนเปื้อนจากมลพิษ และสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตร ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งรวมถึงโลหะหนัก และมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน รวมทั้งมีมาตรการในการลดการปนเปื้อน

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แต่ละแห่งจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการแนวกันชน (buffer zone) ที่แตกต่างกัน โดยอาจมีการกำหนดทั้งระยะห่างระหว่างแปลงเกษตรอินทรีย์กับแปลงเกษตรเคมี หรือการปลูกพืช หรือการจัดทำสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นแนวป้องกันการปนเปื้อน ในพื้นที่แนวกันชนที่แตกต่างกันได้ โดยทั่วไป จะมีการกำหนดเกณฑ์แนวกันชนขั้นต่ำไว้ในมาตรฐาน ซึ่งหน่วยงานรับรองอาจจะพิจารณาให้เกษตรกรต้องมีการจัดการแนวกันชนเพิ่มเติมจากข้อกำหนดขั้นต่ำ โดยการพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงของฟาร์มแต่ละแห่ง

ในขั้นของการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูป ผู้ผลิต-ผู้ประกอบการจะต้องมีการจัดการผลผลิตเกษตรอินทรีย์ โดยป้องกันมิให้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ปะปนกันกับวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ หรือสัมผัสกับปัจจัยการผลิต หรือสารต้องห้ามต่างๆ ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน เพราะจะทำให้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์นั้นสูญเสียสถานะของการได้รับการรับรองมาตรฐานได้ ยกตัวอย่างเช่น การไม่ใช้กระสอบที่บรรจุปุ๋ยเคมี หรือสารเคมีมาใช้บรรจุผลผลิตเกษตรอินทรีย์ หรือในการจัดเก็บผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในโรงเก็บ จะต้องไม่มีการใช้สารกำจัดศัตรูในโรงเก็บ ในขณะที่มีการเก็บผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ขนส่งผลผลิตเกษตรอินทรีย์

ที่จำต้องทำให้สำเร็จให้ได้ เพื่อพี่น้องชาวเกษตรกรและคนไทยทุกคน โดยทั้งหมดนั้นต่างก็สอดคล้องและรับเข้ากับสถานการณ์ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ แนวนโยบาย ทิศทางยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์การวิจัยด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาของประเทศ การปฏิรูประบบวิทยาศาตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานนวัตกรรมของประเทศ ดังเช่นพันธกิจของสวก. ที่จะส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการวิจัยการเกษตร_ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยการเกษตร สุดท้าย ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัยการเกษตร

โดยจากที่กล่าวมาจะยกตัวอย่างของการวิจัยที่ทางสวก. สามารถให้การสนับสนุนและเป็นเรื่องของนวัตกรรมที่สามารถเรียกว่าเป็น Smart farmer ในยุค 4.0 และเป็นต้นแบบของการผลักดันให้เกษตรก้าวไกลไปได้อย่างยั่งยืนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การวิจัยพืชพันธุ์ใหม่_ การนำเทคโนโลยี A.I. () มาประยุกต์ใช้งาน_ การใช้ระบบ IOT (Internet of things)_ การใช้โดรนขับเคลื่อน_ นวัตกรรมการปลุกพืชแบบใหม่_ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ไปสู่อุตสาหกรรมอื่น และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งตัวอย่างที่จะยกมาในบทความนี้ที่เป็นหนึ่งใน Smart Farmer ในยุค 4.0 ที่น่าสนใจ สิ่งนั้นคือ “อุตสาหกรรมการแปรรูป”

อุตสาหกรรมการแปรรูป เป็นสิ่งที่มีมานานและถูกพัฒนา วิจัยและเพิ่มพูนความสามารถมาอยู่ในทุกยุคทุกสมัย และการเกษตรกับการแปรรูปก็เป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาเช่นเดียวกัน โดยในยุค 4.0 นี้ มีความน่าสนใจที่วงการอุตสาหกรรมแปรรูปจะช่วยพาให้เกษตรก้าวไกลไปได้มากกว่าแค่ผลิตผลทางการเกษตรธรรมดา ยกตัวอย่างเช่น “การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม” เพื่อให้การเกษตรเข้าไปอยู่ในชีวิตของคนยุคใหม่ โดยเราอาจจะได้เห็นมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ รุ่นย่า ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรานำสมุนไพรต่าง ๆ มาเป็นเครื่องบำรุงผิวพรรณ ซึ่งในยุคปัจจุบันก็ไม่ต่างกัน อุตสาหกรรมความสวยความงามได้นำผลผลิตทางการเกษตรมาวิจัย พัฒนาและต่อยอด เพื่อตอบโจทย์ Beauty Lifestyle ของคนยุคใหม่ ผ่านเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลบำรุงผิว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด รวมถึงสารสกัดเรื่องกลิ่นที่มาเป็นส่วนประกอบของสุคนธบำบัด (Aromatherapy) นอกจากสารสกัดจากธรรมชาติจะส่งผลดีต่อร่างกายแล้ว ยังส่งผลด้านวิทยาให้ผู้บริโภคสนใจและเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์อีกเช่นกัน ซึ่งปัจจัยที่จะเพิ่มมูลค่าให้การทำธุรกิจด้านนี้ คือการเกาะตามติดความต้องการของตลาดผู้บริโภคและนำมาพัฒนาให้ตอบโจทย์อยู่ตลอดเวลา

หรือจะเป็นเรื่องของ “การแปรรูปผลิตภัณฑืเพื่อผู้สูงอายุ” เพราะประเทศไทยของเราเองกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ (Aging Society) อันเนื่องมาจากประชาชนยุค Baby Boom ได้เข้าใกล้สู่ช่วงอายุความสูงวัย คาดการณ์ว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุวัยมากกว่า 60 ปี (เกิน 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ) ดังนั้นสินค้าเพื่อสุขภาพจึงถูกผลิตขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ในด้านของความใส่ใจในการดูแลสุขภาพของคนในสังคมและผู้สูงอายุ โดยกลุ่มสินค้าที่ได้รับความสนใจนั้น ได้แก่พืชผลเกษตรที่ให้คุณค่าทดแทนแป้งและน้ำตาล อาหารเสริมผลิตจากผลผลิตทางการเกษตร เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคของผู้สูงอายุ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือแม้แต่ภาวะทุพโภชนาการ โดยสิ่งเหล่านี้ได้มีการผลิตออกมาวางจำหน่ายทั่วไปแล้ว ยกตัวอย่าง ธัญพืชอัดแท่ง เครื่องดื่มสมูทตี้สําเร็จรูปที่ให้สารอาหารสมบูรณ์สําหรับผู้สูงอายุ ผักอัดเม็ดเสริมโพรไบโอติกส์ น้ำนมข้าวกล้อง เครื่องปรุงรสอาหารที่เน้นการลดโซเดียม เป็นต้น

สุดท้ายนี้ยังมีการแปรรูปอีกหลากหลายมากมาย และมีอีกหลายหัวข้อที่ทางสวก. พร้อมที่จะให้การสนับสนุน เพราะในปัจจุบันหลากหลายประเทศเริ่มมีการพัฒนา หรือนำหน้าเราไปแล้วในเรื่องของการเกษตร เราจึงต้องรีบนำนวัตกรรมเกษตรและเกษตรกรให้เข้าสู่ยุค Smart Farming เพื่อแก้ปัญหาภาวะสังคมเมืองและประชากรโลกที่ขยายตัว ณ จุดนี้ ประเทศไทยเองก็มีหน่วยงานที่คอยพัฒนาและสนับสนุน อย่าง สวก. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน) คอยช่วยให้อุตสาหกรรมเกษตร และบุคคลากรทางการเกษตรของประเทศไทยพัฒนาเพื่อผลักดันให้การเกษตรก้าวไกล และไม่แพ้การเกษตรของชาติใดบนโลก

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3407
การรดน้ำให้ต้นไม้ พืชที่เราปลูก ต้องรดน้ำมากน้อยเท่าไร จึงจะเหมาะสม
การรดน้ำให้ต้นไม้ พืชที่เราปลูก ต้องรดน้ำมากน้อยเท่าไร จึงจะเหมาะสม
การปลูกพืชให้ได้ผลดีเรามักพูดกันติดปากว่า ดินดี น้ำดี แต่คำว่าน้ำดีนั้นแค่ไหนถึงเรียกว่าน้ำดี ถ้าเราขุดบ่อมีแหล่งน้ำดีแล้วจะต้องดูดขึ้นไปรดน้ำให้พืชมากแค่ไหนพืชถึงจะพอ

ปลูกพืชต้องรดน้ำเท่าไหร่จึงจะพอ

น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับพืช ทำให้พืชเจริญเติบโต ให้ผลผลิต ดินมีปุ๋ยแต่ไม่มีน้ำพืชก็อยู่ไม่ได้ การเพาะปลูกพืชจึงต้องมีน้ำเพียงพอเหมาะสมกับพืชชนิดนั้นๆ

มาดูกันก่อนว่าน้ำสำคัญกับพืชยังไง

1. น้ำทำให้ดินนุ่ม รากพืชชอนไชไปหาธาตุอาหารได้

2. น้ำช่วยละลายธาตุอาหารเป็นสารละลายให้พืชดูดไปใช้ได้

3. พืชออสโมซีส คือ ดูดน้ำจากในดินผ่านทางราก เข้าสู่ท่อน้ำ แล้วไปคายทิ้งที่ปากใบ กระบวนการดูดน้ำนี้ทำให้มีธาตุอาหารที่เป็นสารละลายติดขึ้นมาเป็นอาหารด้วย

การรดน้ำ จึงขอแค่เพียงให้ดินชื้นพอให้พืชออสโมซีสได้

วิธีการหาปริมาณความต้องการน้ำของพืชตามหลักวิชาการมีมากมายหลายทฤษฎี แต่คำนวณยุ่งยากมาก ปล่อยให้เป็นเรื่องของนักวิชาการและกรมชลประทานเขาใช้คำนวณเพื่อออกแบบระบบชลประทานกันไป สำหรับเกษตรกรเราสามารถคำนวณหาปริมาณการรดน้ำให้พืชได้ง่ายกว่านั้น

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าน้ำหรือความชื้นในดินสูญเสียหรือสูญหายได้ 3 กรณี คือ

1. ซึมหายลงไปในดิน

2. ระเหยหายไปในอากาศ

3. ถูกพืชดูดขึ้นไปคายทิ้งทางใบ

ปริมาณน้ำที่ซึมหายไปในดินเราไม่ต้องสนใจ เพราะน้ำส่วนมากจะซึมหายไปได้เมื่อมีน้ำในดินมากๆ เช่น ตอนฝนตก หรือมีน้ำท่วม แต่เมื่อน้ำในดินเหลือน้อยเพียงแค่ดินชื้นๆ น้ำจะถูกมวลดินซึมซาบไว้ไม่ปล่อยให้ไหลซึมลึกลงไปง่ายๆ แต่จะหายไปเพราะการระเหยและถูกพืชดูดไปใช้มากกว่า

ดังนั้น น้ำในดินจึงถูกแย่งกันระหว่างการระเหยกับถูกพืชดูดไปใช้

หลักการรดน้ำง่ายๆ จึงขอแค่ให้รดน้ำในปริมาณไม่น้อยกว่าหรือเท่ากับอัตราการระเหยก็พอ ซึ่งเท่ากับยังมีความชื้นในดินให้แข่งกันระหว่างการระเหยกับพืชดูดมาใช้

อัตราการระเหยของน้ำแต่ละพื้นที่แต่ละเดือนไม่เท่ากัน ดูข้อมูลได้จากสถิติของกรมอุตุนิยมวิทยา และการนำมาใช้งานต้องปรับใช้ให้เหมาะสมด้วย เช่น ถ้าเอามาใช้กับสวนยาง สวนปาล์ม หรือสวนผลไม้ที่พุ่มโตแล้ว ใต้ต้นมีร่มเงามาก อัตราการระเหยจริงก็จะต่ำกว่าข้อมูลที่ดูจากสถิติ

ตัวอย่างการคำนวณ เช่น

จังหวัดนครราชสีมาในช่วงเดือนเมษายนมีอากาศค่อนข้างร้อน มีสถิติย้อนหลังบอกว่าเดือนนี้มีอัตราการระเหยของน้ำอยู่ที่ 5.11 มม.ต่อวัน และเกือบจะไม่มีในตกเลย การปลูกพืชจึงต้องรดน้ำอย่างเดียวหวังพึ่งน้ำฝนไม่ได้

คำนวณอัตราการสูญเสียน้ำจากการระเหยได้เท่ากับ 0.511 x 100 x 100 / 1_000 = 5.11 ลิตรต่อตารางเมตรต่อวัน

ถ้าเราปลูกทุเรียน และทุเรียนของเรามีรัศมีพุ่มใบ 1 เมตร ให้เรานึกภาพว่าตอนนี้ทุเรียนของเราจะมีรากอยู่ในรัศมี 1 เมตรนั่นแหล่ะ เวลาเรารดน้ำก็รดน้ำในรัศมีนี้เพื่อชดเชยน้ำที่ระเหยหายไปในอากาศ ส่วนที่อยู่นอกรัศมีพุ่มใบถ้าดินแห้งก็ปล่อยให้แห้งไป

พื้นที่รัศมี 1 เมตร มีพื้นที่ = 22/7 x 1^2 = 3.14 ตารางเมตร

การระเหยของน้ำในพื้นที่รดน้ำ = 5.11 x 3.14 = 16 ลิตรต่อวัน

ดังนั้น จึงต้องรดน้ำทุเรียนต้นนี้ 16 ลิตรต่อวันเป็น ซึ่งอาจจะเป็นการรดน้ำ 16 ลิตรทุกวัน หรือรดน้ำ 32 ลิตรทุก 2 วัน หรือรดน้ำ 48 ลิตรทุก 3 วัน ก็ได้ โดยการเว้นระการรดน้ำต้องดูด้วยว่าไม่ได้ปล่อยให้ดินแห้งจนถึงขั้นต้นไม้แสดงอาการเหี่ยว

หลักการคำนวณการรดน้ำง่ายๆ นี้ นำไปใช้ได้กับพืชทุกชนิด รู้หลักการนี้แล้วถ้าเกษตรกรทำสวนขนาดใหญ่ก็สามารถใช้คำนวณระบบท่อน้ำต่อไปได้ด้วย

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3618
ฆ่าหนอน เยอบีร่า หนอนทุกชนิด ปลอดสารพิษ ไอกี้ และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช) โดย FK
ฆ่าหนอน เยอบีร่า หนอนทุกชนิด ปลอดสารพิษ ไอกี้ และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช) โดย FK
ไอกี้ และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน

หนอนขนิดนี้จะเข้าทำลายใบของต้นเยอบีร่าทำให้เห็นเป็นทางสีขาวบนหลังใบ ทำให้ใบมีตำหนิหากระบาดมากจะทำให้ ต้องดึงใบที่เสียหายทิ้ง ทำให้ต้นเยอบีร่าเสียรูปทรง..ขาดใบ

ไอกี้ เป็นสารชีวินทรีย์ (ชีวภาพ) ปลอดภัย กำจัดหนอนต่างๆหลายชนิด
ขนาด 500 กรัม (แนะนำให้ใช้คู่กับ FK ธรรมชาตินิยม เพื่อเร่งฟื้นฟูบำรุง)
อัตราผสม 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว
ขนาด 1 ลิตร
อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

แนะนำให้ผสม ไอกี้ และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน
ไอกี้ 25 กรัม และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้..

เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า

เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม

สั่งซื้อ
โทร 090-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
อ่าน:3423
ยาฆ่าหนอนกล้วยไม้ หนอนศัตรูพืชทุกชนิด ปลอดสารพิษ ไอกี้และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
ยาฆ่าหนอนกล้วยไม้ หนอนศัตรูพืชทุกชนิด ปลอดสารพิษ ไอกี้และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
ไอกี้ และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน

หนอนกระทู้ผัก _หนอนกระทูฝ้าย _ หนอนกระทู้ยาสูบ
ทำลาย ดอกและใบ โดยหนอนจะกัดกินส่วนดอกและใบ
หนอนกระทู้หอม_ หนอนหนังเหนียว _หนอนเขียว
ทำลาย ดอกและใบ

ไอกี้ เป็นสารชีวินทรีย์ (ชีวภาพ) ปลอดภัย กำจัดหนอนต่างๆหลายชนิด
ขนาด 500 กรัม (แนะนำให้ใช้คู่กับ FK ธรรมชาตินิยม เพื่อเร่งฟื้นฟูบำรุง)
อัตราผสม 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว
ขนาด 1 ลิตร
อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

แนะนำให้ผสม ไอกี้ และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน
ไอกี้ 25 กรัม และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้..

เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า

เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม

สั่งซื้อ
โทร 090-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
อ่าน:3453
ดินมีปัญหา ไม่เหมาะกับการเพาะปลูก รู้ปัญหา แก้ได้ ตรวจดินกับ iLab
ดินมีปัญหา ไม่เหมาะกับการเพาะปลูก รู้ปัญหา แก้ได้ ตรวจดินกับ iLab
ดินที่มีปัญหาทางด้านการเกษตร หมายถึง ดินที่มีสมบัติทางกายภาพและเคมีไม่เหมาะสม หรือเหมาะสมน้อยสำหรับการเพาะปลูก ทำให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตามปกติได้

ส่วนใหญ่เป็นดินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินอินทรีย์. ดินปนกรวด และดินตื้น นอกจากนี้ยังรวมถึงพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ซึ่งถ้ามีการใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรแล้ว จะทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง หากว่าจะใช้ดินเหล่านี้ในการปลูกพืชแล้ว จำเป็นต้องมีการจัดการเพื่อแก้ไขสภาพของดินให้เหมาะสมก่อนการปลูกพืชตามวิธีการปกติเสียก่อน
ดินที่มีปัญหาประเภทต่างๆ ที่พบในประเทศไทย

1.ดินเปรี้ยวจัด

ดินเปรี้ยวจัด หมายถึง ดินที่มีสภาพความเป็นกรดสูงมาก เนื่องจากอาจจะมี กำลังมี หรือได้เคยมีกรดกำมะถันซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเกิดดินชนิดนี้อยู่ในหน้าตัดของดิน และปริมาณของกรดกำมะถันที่เกิดขึ้นนั้น มีมากพอที่จะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน และการเจริญเติบโตของพืชในบริเวณนั้น

การเกิดดินเปรี้ยวจัด..

เป็นผลสืบเนื่องมาจากกระบวนการกำเนิดของดิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับตะกอนน้ำทะเลหรือตะกอนน้ำกร่อย ทำให้เกิดการสะสมสารประกอบกำมะถันขึ้นในดิน ซึ่งเมื่อดินแห้ง สารประกอบกำมะถันเหล่านี้จะแปรสภาพทำให้เกิดกรดกำมะถันขึ้นในดิน ทำให้ดินเป็นกรดสูงมากจนมีผลกระทบต่อพืชที่ปลูก โดยทั่วไปจะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง หรือพีเอช (pH) ต่ำกว่า 4.0 และมักจะพบจุดประสีเหลืองฟางข้าว ของสารจาโรไซต์ (jarosite) ในชั้นดินล่าง

แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ตามระดับความลึกของจุดประสีเหลืองฟางข้าวที่พบ ได้แก่

1.ดินเปรี้ยวจัดระดับตื้น พบจาโรไซต์ภายใน 50 ซม. จากผิวดิน

2. ดินเปรี้ยวจัดระดับลึกปานกลาง พบจาโรไซต์ภายในช่วง 50-100 ซม. จากผิวดิน

3. ดินเปรี้ยวจัดระดับลึก พบจาโรไซต์ที่ระดับความลึกมากกว่า 100 ซม.จากผิวดิน

ปัญหาที่เกิดจากดินเปรี้ยวจัด

การที่ดินมีความเป็นกรดสูงเกินไปทำให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส นอกจากนี้สภาพที่เป็นกรดสูงยังทำให้ธาตุเหล็กและอะลูมินัมละลายออกมาอยู่ในดินมากจนถึงระดับที่เป็นพิษต่อพืชที่ปลูก

การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด มีหลายวิธี สำหรับดินที่มีปฏิกิริยาของดินเป็นกรดไม่รุนแรง อาจใช้วิธีการทำให้กรดเจือจางลง โดยการใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดในดิน หรือการขังน้ำไว้นานๆ แล้วระบายออกก่อนปลูกพืช ร่วมกับการเลือกพันธุ์พืชที่ทนต่อดินกรด สำหรับการจัดการดินที่มีปฏิกิริยาของดินเป็นกรดรุนแรงมาก จะใช้วิธีการใส่วัสดุปูน เช่น ปูนมาร์ล ปูนขาว หินปูนบด หินปูนฝุ่น ผสมคลุกเคล้ากับหน้าดินในอัตราที่เหมาะสมตามความต้องการปูนของดิน เพื่อช่วยลดความเป็นกรดในดิน หรือใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน ซึ่งเป็นวิธีการที่สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดรุนแรงมากและถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นเวลานาน

2.ดินอินทรีย์...

ดินอินทรีย์ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ดินพรุ” หมายถึง ดินที่เกิดจากการสะสมเศษซากอินทรีย์ ที่เกิดจากการสลายตัวเน่าเปื่อยของพืชพรรณไม้ตามธรรมชาติ ที่ขึ้นอยู่ในแอ่งที่ลุ่มต่ำมีน้ำแช่ขังเป็นเวลานาน จนเกิดการสะสมเป็นชั้นดินอินทรีย์ที่หนากว่า 40 ซม

ดินอินทรีย์ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพื้นที่ที่เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลง บริเวณชายฝั่งทะเลที่เคยมีน้ำขึ้นลงท่วมถึง จนเกิดเป็นแอ่งต่ำปิด ที่น้ำทะเลไม่สามารถเข้าถึงได้อีก เนื่องจากมีสันทรายปิดกั้นไว้ ต่อมานานวันเข้าน้ำทะเลที่แช่ขังอยู่จึงค่อยๆ จืดลงและมีพืชพวกหญ้าหรือกกงอกขึ้นมา เมื่อพืชเหล่านี้ตายทับถมกันจนพื้นที่ตื้นเขินขึ้น ต้นไม้เล็กใหญ่จึงขึ้นมาแทนที่ เกิดเป็นป่าชนิดที่เรียกว่า “ป่าพรุ” ต่อมาต้นไม้ใหญ่น้อยล้มตายลงตามอายุทับถมลงในแอ่งน้ำขัง ที่อัตราการย่อยสลายของเศษซากพืชเกิดขึ้นได้อย่างช้าๆ จึงเกิดการทับถมอินทรียสารเกิดเป็นชั้นดินอินทรีย์ที่หนาขึ้นเรื่อยๆ

ลักษณะของดินอินทรีย์

สีดินเป็นสีน้ำตาลแดงเข้มหรือน้ำตาลแดงคล้ำ องค์ประกอบของดินส่วนใหญ่เป็นอินทรียวัตถุทั้งที่ย่อยสลายแล้ว และบางส่วนที่ยังคงสภาพเป็นเศษชิ้นส่วนของพืช เช่น กิ่ง ก้าน ลำต้น หรือราก ที่มีการสะสมเป็นชั้นหนามากกว่า 40 ซม. ขึ้นไป ดินตอนล่างถัดจากชั้นดินอินทรีย์ลงไป จะเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงินซึ่งเป็นตะกอนน้ำทะเล ซึ่งบางแห่งอาจมีการสะสมสารประกอบกำมะถันที่จะเกิดเป็นดินเปรี้ยวจัด เมื่อมีการระบายน้ำออกจากพื้นที่จนดินอยู่ในสภาพที่แห้งด้วย

ปัญหาของดินอินทรีย์

เป็นดินที่มีชิ้นส่วนของพืชเป็นองค์ประกอบมาก พื้นที่มักจะี่มีน้ำขัง หากระบายน้ำออกจนแห้ง ดินจะยุบตัวมาก มีน้ำหนักเบา ติดไฟง่าย และต้นพืชที่ปลูกไม่สามารถตั้งตรงอยู่ได้ นอกจากนี้ในบริเวณที่มีดินที่มีศักยภาพเป็นดินเปรี้ยวจัดอยู่ตอนล่าง หลังจากมีการระบายน้ำออก ดินจะกลายเป็นดินกรดจัดรุนแรงด้วย

การปรับปรุงแก้ไข

เลือกพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำจืดบริเวณขอบพรุ และมีชั้นวัสดุอินทรีย์หนาน้อยกว่า 100 ซม.จากผิวดิน

มีแนวป้องกันน้ำท่วมร่วมกับคลองระบายน้ำ และคลองส่งน้ำในระบบ ที่สามารถป้องกันอันตรายจากน้ำท่วมได้ เพื่อใช้ปลูกข้าว โดยเลือกปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง หรือพันธุ์ที่ทนต่อสภาพความเป็นกรดของดิน

ในบริเวณที่ปลูกพืชไร่ ควรมีแนวป้องกันน้ำท่วม และคูระบายน้ำ มีการควบคุมระดับใต้ดินให้คงที่ เพื่อป้องกันการเกิดกรดของดินเพิ่มขึ้น หากดินเป็นกรดจัดมาก ปรับสภาพความเป็นกรดในดิน และเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร โดยไถคลุกเคล้าวัสดุปูน หินปูนฝุ่นอัตรา 2.5-3.0 ตัน/ไร่ ให้ทั่วบนสันร่อง และหว่านในร่องคูน้ำ

3.ดินเค็ม

ดินเค็ม หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในสารละลายดินมากเกินไป จนมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลิตผลของพืช เนื่องจากทำให้พืชเกิดอาการขาดน้ำ และมีการสะสมไอออนที่เป็นพิษในพืชมากเกินไป นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารพืชด้วย

ดินเค็มที่พบในประเทศไทย สามารถจำแนกตามลักษณะการเกิดและสัณฐานภูมิประเทศ ได้ 2 ประเภท คือ

1.ดินเค็มชายฝั่งทะเล

มักพบบริเวณตามแนวชายฝั่งทะเล ซึ่งยังคงมีน้ำท่วมถึง หรือเคยเป็นพื้นที่ๆมีน้ำทะเลท่วมมาก่อน โดยพบมากที่สุดตามแนวฝั่งชายทะเลในภาคใต้ เกิดจากการได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลงของน้ำทะเล และทำให้เกิดการสะสมเกลือในดิน

2.ดินเค็มบก พบบริเวณในแอ่งที่ลุ่มหรือตามเชิงเนิน ที่เป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างสภาพพื้นที่แบบลูกคลื่น โดยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นที่บริเวณขอบเขตแอ่งโคราช หรือที่แอ่งสกลนคร และพบบ้างในภาคกลางแถบจังหวัดเพชรบุรี

ปัญหาของดินเค็ม

ปลูกพืชไม่ได้ผลหรือผลผลิตลดลงและมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากมีปริมาณเกลือที่ละลายได้ในน้ำมากเกินไป จนเป็นอันตรายต่อพืช พืชเกิดอาการขาดน้ำ และได้รับพิษจากธาตุที่เป็นส่วนประกอบของเกลือที่ละลายออกมา

การปรับปรุงแก้ไข

1. การจัดการดินเค็มชายทะเล อาจทำได้ 2 ลักษณะใหญ่ คือ การจัดการให้เหมาะกับสภาพธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น การปลูกป่าชายเลน การทำนาเกลือ หรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการดัดแปลงสภาพธรรมชาติ เช่น การสร้างเขื่อนปิดกั้นน้ำทะเล เพื่อพัฒนาให้เป็นพื้นที่ปลูกถาวร และการยกเป็นร่องสวนเพื่อปลูกไม้ทนเค็ม เป็นต้น

2. การจัดการดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน เช่น การใช้พืชทนเค็ม การไถกลบพืชปุ๋ยสด ปุ๋ยอินทรีย์ หรือใส่วัสดุปรับปรุงดิน เช่น แกลบ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดิน หรือการปลูกข้าวโดยใช้ต้นกล้าที่อายุมากกว่าปกติ และปักดำด้วยจำนวนต้นมากกว่าปกติ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องระมัดระวังในการทำกิจกรรมบางอย่างที่ จะมีผลกระทบต่อการที่จะทำให้เกลือแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นได้ เช่น การทำเหมืองเกลือขนาดใหญ่ การตัดไม้ทำลายป่า หรือการสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ที่มีแหล่งสะสมเกลือ

4.ดินทรายจัด

ดินทรายจัด หมายถึง ดินที่มีเนื้อดินบนเป็นดินทราย หรือดินทรายปนร่วน มีอนุภาคขนาดทรายเป็นองค์ประกอบมากกว่าร้อยละ 85 มีความหนามากกว่า 50 เซนติเมตร

ดินมีการระบายน้ำดีจนถึงดีเกินไป ไม่อุ้มน้ำ ทำให้ดินเก็บน้ำไว้ไม่อยู่ และเกิดการกร่อนได้ง่าย มักเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่เป็นตะกอนเนื้อหยาบ หรือตะกอนทรายชายฝั่งทะเล พบได้ทั้งในพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ดอน

ดินทรายในพื้นที่ดอน

พบตามบริเวณหาดทราย สันทรายชายทะเล หรือบริเวณพื้นที่ลาดถึงที่ลาดเชิงเขา เนื้อดินเป็นทรายตลอด มีการระบายน้ำดีมากจนถึงดีมากเกินไป ดินไม่อุ้มน้ำ และเกิดการชะล้างพังทะลายได้ง่ายเนื่องจากอนุภาคดินมีการเกาะตัวกันน้อยมาก ส่วนใหญ่ใช้ปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด

ดินทรายในพื้นที่ลุ่ม

มักพบตามที่ลุ่มระหว่างสันหาด หรือเนินทรายชายฝั่งทะเล หรือบริเวณที่ราบที่อยู่ใกล้ภูเขาหินทราย ดินมีการระบายน้ำเลวหรือค่อนข้างเลว ทำให้ดินแฉะหรือมีน้ำขังเป็นระยะเวลาสั้นๆ ได้ หลังจากที่มีฝนตกหนัก บางแห่งใช้ทำนา บางแห่งใช้ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย และปอ บางแห่งเป็นทืทิ้งร้าง หรือเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติ

นอกจากนี้ในบางพื้นที่ บริเวณหาดทรายเก่า หรือบริเวณสันทรายชายทะเล โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันออกและภาคใต้ อาจพบดินทรายที่มีชั้นดินดานอินทรีย์ ซึ่งเป็นดินทรายที่มีลักษณะเฉพาะตัวคือ ช่วงชั้นดินตอนบนจะเป็นทรายสีขาว แต่เมื่อขุดลึกลงมา จะพบชั้นทรายสีน้ำตาลปนแดงที่เกิดจากการจับตัวกัน ของสารประกอบพวกเหล็ก และอินทรียวัตถุอัดแน่นเป็นชั้นดานในตอนล่าง ซึ่งในช่วงฤดูแล้งชั้นดานในดินนี้ จะแห้งแข็งมากจนรากพืชไม่อาจชอนไชผ่านไปได้ ส่วนในฤดูฝนดินจะเปียกแฉะ ส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่ป่าเสม็ด ป่าชายหาด ป่าละเมาะ หรือบางแห่งใช้ปลูกมะพร้าว มะม่วงหิมพานต์

ปัญหาดินทราย

ดินระบายน้ำดีเกินไป อุ้มน้ำได้น้อย มีความสามารถในการจับหรือแลกเปลี่ยนประจุธาตุอาหารต่ำ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก มีธาตุอาหารน้อย เกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย

การปรับปรุงแก้ไข

ปรับปรุงบำรุงดินดินและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการใช้ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปลูกพชปุ๋ยสดแล้วไถกลบ เพื่อเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน และปริมาณธาตุอาหารให้เพียงพอแก่ความต้องการของพืช และควรจะต้องมีระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างเหมาะสม

5.ดินตื้น

ดินตี้น หมายถึง ดินที่มีชั้นลูกรัง ก้อนกรวด เศษหิน ปะปนอยู่ในเนื้อดิน หรือมีชั้นหินปูนมาร์ล หรือพบชั้นหินพื้น อยู่ตื้นกว่า 50 เซนติเมตรจากผิวดิน เนื้อดินจะมีปริมาณชิ้นส่วนหยาบ กรวด หรือลูกรังปนอยู่ มากกว่าร้อยละ 35 ทำให้มีปริมาตรของดินน้อย ดินจึงอุ้มน้ำได้น้อย มักขาดแคลนน้ำในฤดูฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตต่ำ

แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1) ดินตื้นที่มีการระบายน้ำเลว พบในบริเวณที่ราบต่ำที่มีน้ำขังในช่วงฤดูฝน แสดงว่าดินมีการระบายน้ำค่อนข้างเลว ขุดลงไปจากผิวดินที่ระดับความลึก 25-50 เซนติเมตร มีกรวดหรือลูกรังปนอยู่ในเนื้อดินมากกว่า 35 เปอร์เซ็นโดยปริมาตร ถ้าขุดลึกลงมาถัดไปจะเป็นชั้นดินที่มีศิลาแลงอ่อนปนทับอยู่บนชั้นหินผุ

2) ดินตื้นปนลูกรังหรือกรวดที่มีการระบายน้ำดี พบตามพื้นที่ลอนลาดหรือเนินเขา ตั้งแต่บริเวณผิวดินลงไปมีลูกรังหรือหินกรวดมนปะปนอยู่ในดินมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร และดินประเภทนี้บางแห่งก็มีก้อนลูกรังหรือศิลาแดงโผล่กระจัดกระจายทั่วไปที่บริเวณผิวดิน

3) ดินตื้นปนหินมีการระบายน้ำดี พบตามพื้นที่ลอนลาดหรือบริเวณเนินภูเขา ดินประเภทนี้เมื่อขุดลงไปที่ความลึกประมาณ 30- 50 เซนติเมตร จะพบเศษหินแตกชิ้นน้อยใหญ่ปะปนอยู่ในเนื้อดินมากกว่า 35 เปอร์เซ็นโดยปริมาตร บางแห่งพบหินผุหรือหินแข็งปะปนอยู่กับเศษหิน บางแห่งมีก้อนหินและหินโผล่กระจัดกระจายทั่วไปตามหน้าดิน

4) ดินตื้นปนปูนมาร์ล พบตามพื้นที่ลาดถึงพื้นที่ลอนลาด หรือบริเวณที่ลาดเชิงเขา เมื่อขุดลงไปในระดับความลึกที่ 20-50 เซนติเมตร จะพบสารประกอบจำพวกแคลเซียมหรือแมกนิเซียมคาร์บอเนตปนอยู่ ทำให้ดินประเภทนี้จัดว่าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่มีข้อเสียคือมีปฏิกิริยาเป็นด่าง เป็นข้อจำกัดต่อพืชบางชนิดที่ไวต่อความเป็นด่าง เช่น สัปปะรด

การเกิดดินตี้น

เกิดมาจากวัตถุกำเนิดดิน เช่น หินดินดานเชิงเขา หรือเศษหินเชิงเขา ที่ส่วนใหญ่เป็นพวกหินตะกอนเนื้อหยาบ คือ หินทราย หินกรวดมน แตกกระจัดกระจายร่วงหล่นออกมาทับทมเกะกะอยู่บริเวณเชิงเขา หรือเป็นผลจากกระบวนการทางดินที่ทำให้เกิดการสะสมปูนมาร์ลหรือศิลาแลงในดิน

ปัญหาดินตี้น

ดินตื้นนั้นเป็นดินที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกเพราะ มีปริมาณชิ้นส่วนหยาบปนอยู่ในดินมาก ทำให้มีเนื้อดินน้อย มีธาตุอาหารน้อย ไม่อุ้มน้ำ ชั้นล่างของดินชนิดนี้จะแน่นทึบรากพืชชอนไชไปได้ยาก พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างปกติ

การปรับปรุงแก้ไข

การจัดการดินในพื้นที่เหล่านี้จะต้องกระทำอย่างระมัดระวัง ควรเลือกทำการเกษตรในพื้นที่ที่มีหน้าดินหนามากกว่า 25 ซม. และไม่มีก้อนกรวดหรือลูกรังกระจัดกระจายอยู่ที่ผิวดินมาก ปรับปรุงดินด้วยการไถกลบพืชปุ๋ยสด ร่วมกับการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา 2-3 ตัน/ไร่ หรือขุดหลุมปลูกไม้ผลขนาด 75x75x75 ซม. หรือถึงชั้นหินพื้น และปรับปรุงหลุมปลูกด้วยหน้าดิน ที่ไม่มีก้อนกรวดหรือลูกรังร่วมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ใช้ปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำและผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.3 และพด.7 หรือพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3440
ธาตุรอง และ จุลธาตุ มีประโยชน์อย่างไร ต่อพืช?
ธาตุรอง และ จุลธาตุ มีประโยชน์อย่างไร ต่อพืช?
เกษตรกรอาจจะคุ้นชินกับธาตุอาหารหลักในปุ๋ยเคมีอย่าง NPK อยู่แล้ว แต่อาจจะสงสัยว่า เวลาคนอื่นบอกให้ใส่ธาตุรองกับจุลธาตุ ธาตุพวกนี้คืออะไรกันแน่? ไม่ต้องสงสัยกันอีกต่อไป เพราะบทความนี้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว!

ย้อนเกร็ดความรู้ “ธาตุหลัก” คืออะไรนะ?

ก่อนจะเรียนรู้เรื่องธาตุรอง อาจจะต้องกลับไปศึกษาธาตุหลักคืออะไร ซึ่งเราขอสรุปอย่างสั้นๆ ว่า ธาตุหลักคือธาตุที่พืชต้องการในปริมาณมาก ซึ่งแม้ธาตุเหล่านี้จะมีอยู่ในดินทั่วไปแต่ก็อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ซึ่งหากขาดธาตุหลักก็ต้องเติมธาตุอาหารให้ในรูปแบบของปุ๋ย โดยธาตุหลักประกอบด้วย 3 ธาตุ ดังนี้

ไนโตรเจน (N) ช่วยให้พืชแข็งแรง ทนต่อโรค และสร้างผลผลิตได้มาก

ฟอสฟอรัส ( P) ช่วยให้รากและต้นเจริญเติบโตได้ดี รวมทั้งช่วยในการออกดอก

โพแทสเซียม (K) ช่วยให้ผลพืชมีสีสันที่สวยงามและรสชาติที่ดี และยังช่วยให้ทนโรคอีกด้วย

แล้ว “ธาตุรอง” กับ “จุลธาตุ” คืออะไรกันแน่?

สำหรับธาตุรอง เป็นธาตุที่พืชใช้ในปริมาณน้อยกว่าธาตุอาหารหลัก และดินส่วนใหญ่ยังมีธาตุอาหารนี้อยู่บ้าง ประกอบด้วย 3 ธาตุดังนี้

แคลเซียม (Ca) ช่วยในการแบ่งเซลล์ ผสมเกสร การงอกของเมล็ด มีส่วนสำคัญต่อโครงสร้างของเซลล์พืช ช่วยในการลำเลียงอาหาร แคลเซียมช่วยในการปรับสมดุลทั้งกรดและด่างของพืช

แมกนีเซียม (Mg) เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ช่วยในการสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมันและน้ำตาล ช่วยในการสังเคราะห์แสง นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต

กำมะถัน (S) เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน วิตามินและโปรตีน ช่วนสร้างคลอโรฟิลล์ ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของรากและเมล็ดพืช ทำให้พืชแข็งแรงและทนต่อความเย็น

ส่วนจุลธาตุ หรือที่หลายคนเรียกว่าธาตุเสริมนั้น เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับธาตุหลักและธาตุรอง แต่พืชจะขาดไม่ได้เช่นกัน ประกอบด้วย 8 ธาตุดังนี้

โบรอน (B) ช่วยในการสร้างสารอาหารและควบคุมสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์ ช่วยในการออกดอก ผสมเกสร ช่วยในการติดผลและย้ายน้ำตาลมาสู่ผล

ทองแดง (Cu) ช่วยในการเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์พืช ช่วยในการเผาผลาญอาหารของรากพืชและเป็นประโยชน์ต่อการใช้โปรตีนของพืช การสังเคราะห์คลอโรฟิลล์และกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์

คลอรีน (CI) พบในดิน ช่วนกระตุ้นการย่อยอาหารสำหรับพืช มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับฮอร์โมนพืช

เหล็ก (Fe) จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ การสังเคราะห์คลอโรฟิลล์และสังเคราะห์แสง

แมงกานีส (Mn) ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ มีส่วนประกอบของคาร์บอนไดออกไซด์และการย่อยไนโตรเจน

โมลิบดีนัม (Mo) ช่วยในการดึงไนโตรเจนออกมาใช้งานและช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน พบธาตุชนิดนี้ในดิน

สังกะสี (Zn) ช่วยสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์และแป้ง ควบคุมการย่อยน้ำตาลของพืช เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานขอเอนไซม์ที่มีส่วนในการควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และจำเป็นต่อการเปลี่ยนสภาพของคาร์โบไฮเดรต

นิกเกิล (Ni) เป็นธาตุอาหารทำสำคัญต่อเอนไซม์ ทำหน้าที่ปลดปล่อยไนโตรเจนให้อยู่ในรูปที่จะนำไปใช้ได้ และยังช่วยในกระบวนการงอกของเมล็ดอีกด้วย

ธาตุรอง จุลธาตุ ต่างกันอย่างไร?

สรุปอย่างง่ายๆ ธาตุรองและจุลธาตุนั้นต่างกันที่ปริมาณของความต้องการ โดยพืชจะต้องการจุลธาตุน้อยมาก แต่ก็ยังขาดไม่ได้อยู่ดีนั่นเอง

รู้แบบนี้แล้ว หากพบว่าพืชในสวนของตัวเองยังไม่สมบูรณ์หรือเจริญเติบโตช้า ให้ลองสังเกตุอาการขาดธาตุอาหารและเลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุรองและจุลธาตุมาเสริมให้พืชสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และอย่าลืมตรวจสอบความเป็นกรด-ด่างของดินซึ่งจะมีผลต่อการละลายและปลดปล่อยธาตุอาหารแต่ละชนิด รวมทั้งศึกษาว่าพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุไหนเป็นพิเศษด้วยนะครับ

ขอบคุณข้อมูลจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดปัตตานี http://www.farmkaset..link.. 3

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3488
หนอนเสาวรส หนอน กะทกลก ฆ่าหนอน ไอกี้ ปลอดสารพิษ เร่งฟื้นฟู บำรุง โตไว FK-T
หนอนเสาวรส หนอน กะทกลก ฆ่าหนอน ไอกี้ ปลอดสารพิษ เร่งฟื้นฟู บำรุง โตไว FK-T
ไอกี้ และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน

หนอนเสาวรส ลักษณะการทำลาย
หนอนกระทู้ผัก ตัวอ่อนกัดกินใบ ก้านใบ ดอก ก้านดอก ก้านผล
หนอนเจาะลำต้น ตัวหนอนจะเจาะเข้าไปในลำต้นกัดกินใบเรื่อยๆ จนเป็นโพรงทำไห้ต้นแห้งตาย โตเต็มวันจะกัดกินเปลือกของก้านใบและช่อผล

ไอกี้ เป็นสารชีวินทรีย์ (ชีวภาพ) ปลอดภัย กำจัดหนอนต่างๆหลายชนิด
ขนาด 500 กรัม (แนะนำให้ใช้คู่กับ FK ธรรมชาตินิยม เพื่อเร่งฟื้นฟูบำรุง)
อัตราผสม 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว
ขนาด 1 ลิตร
อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

แนะนำให้ผสม ไอกี้ และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน
ไอกี้ 25 กรัม และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้..

เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า

เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม

สั่งซื้อ
โทร 090-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
อ่าน:3498
หนอนผักกระเฉด หนอนต่างๆ ไอกี้-บีที
หนอนผักกระเฉด หนอนต่างๆ ไอกี้-บีที
ไอกี้ และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน

หนอนกระทู้ และหนอนใยผัก ที่ชอบเจาะลำต้นผักกระเฉด ทำให้ผักกระเฉดหลุดขาด และเน่าตาย

ไอกี้ เป็นสารชีวินทรีย์ (ชีวภาพ) ปลอดภัย กำจัดหนอนต่างๆหลายชนิด
ขนาด 500 กรัม (แนะนำให้ใช้คู่กับ FK ธรรมชาตินิยม เพื่อเร่งฟื้นฟูบำรุง)
อัตราผสม 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว
ขนาด 1 ลิตร
อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

แนะนำให้ผสม ไอกี้ และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน
ไอกี้ 25 กรัม และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้..

เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า

เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม

สั่งซื้อ
โทร 090-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
อ่าน:3425
โมลิบดินัม (Mo) หากขาดธาตุนี้ พืชคล้ายจะถูกจำกัดการเจริญเติบโต
โมลิบดินัม (Mo) หากขาดธาตุนี้ พืชคล้ายจะถูกจำกัดการเจริญเติบโต
การขาดโมลิบดีนัม (Mo)เกิดขึ้นเมื่อการเจริญเติบโตของพืชมีจำกัด เนื่องจากพืชไม่สามารถรับสารอาหารรองที่จำเป็นนี้ในปริมาณที่เพียงพอจากอาหารเลี้ยงเชื้อ สำหรับพืชที่ปลูกในดิน อาจเป็นผลมาจากความเข้มข้นของโมในดินโดยรวมต่ำ (กล่าวคือ วัสดุต้นกำเนิดของดินมีโมโมะต่ำ) หรือเนื่องจากดินโมจัดอยู่ในรูปแบบที่ไม่สามารถหาได้ พืช - การดูดซับของโมเป็นที่แข็งแกร่งที่สุดในดินกรด

ฟังก์ชั่น

ในพืชฟังก์ชั่นหลักของโมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงความจุที่ว่ามันผ่านส่วนประกอบของเอนไซม์ที่กระตุ้นความหลากหลายปฏิกิริยาปฏิกิริยา เนื่องจากองค์ประกอบสามารถอยู่ในสถานะออกซิเดชันที่หลากหลาย สถานะออกซิเดชัน IV_ V และ VI มีความสำคัญในระบบทางชีววิทยา จำนวนมากของความผิดปกติของ Mo-ขาดมีความเกี่ยวข้องกับการหยุดชะงักของกิจกรรมปกติของหลายเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในการเผาผลาญอาหารไนโตรเจน

เอ็นไซม์เหล่านี้ได้แก่

ไนโตรซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทางชีวภาพN 2ตรึงโดยทั้งสอง asymbiotic และชีวภาพแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน

ไนเตรตรีดักเตสซึ่งจำเป็นสำหรับการลดไนเตรต – นี่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรวมไนเตรต-Nในโปรตีน และ

Xanthine dehydrogenase ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดยูริกจากพิวรีน

อาการ

อาการขาดโมลิบดีนัมในพืชส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการสะสมของไนเตรตในส่วนพืชที่ได้รับผลกระทบ นี่เป็นผลมาจากกิจกรรมไนเตรตรีดักเตสที่ไม่ดี อาการต่างๆ ได้แก่[1] [2]

ใบสีซีดที่มีคลอโรซิสระหว่างเส้นและขอบ(สีเหลือง) และเนื้อร้าย (น้ำร้อนลวก);

whiptailความผิดปกติในBrassicaพืช (โดยเฉพาะกะหล่ำ);

ลด tasselling ในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์;

การงอกของเมล็ดข้าวโพดก่อนเวลาอันควร

ในพืชตระกูลถั่ว การยับยั้งการตรึงN 2อาจทำให้พืชซีด สีเหลือง และขาดไนโตรเจน ขนาดและจำนวนของก้อนรากมักจะลดลง

สภาพดิน

การขาดโมลิบดีนัมพบได้บ่อยในดินหลายประเภท ดินบางชนิดมีความเข้มข้นของ Mo ทั้งหมดต่ำ และดินบางชนิดมี Mo ที่พืชใช้ได้ต่ำเนื่องจากการดูดซับ Mo อย่างแรง อาการมักเกิดขึ้นกับทั้งสองเงื่อนไข เช่น ในดินปนทรายที่เป็นกรด โมลิบดีนัมอาจถูกดูดซับอย่างรุนแรงในดินที่เป็นหินเหล็ก ปูนของดินบ่อยบรรเทาการขาด Mo Mo โดยการลดการดูดซับ [2]

ข้อกำหนดโมลิบดีนัม

โมลิบดีนัมเป็นสารอาหารรองที่จำเป็นซึ่งหมายความว่าจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการพัฒนาของพืช แต่ต้องการในปริมาณที่น้อยมาก แม้ว่าความต้องการ Mo จะแตกต่างกันไปตามพืชผล แต่ความเข้มข้นของใบ Mo (บนพื้นฐานเรื่องแห้ง ) ในช่วง0.2–2.0 มก. กก. -1ก็เพียงพอสำหรับพืชส่วนใหญ่

การรักษา

การเพิ่มค่า pH ของดินโดยการใส่ปูนจะช่วยบรรเทาอาการขาด Mo อย่างไรก็ตาม มีหลายสถานการณ์ที่การใช้ปุ๋ย Mo ทางดิน เมล็ด หรือทางใบนั้นคุ้มค่ากว่าการใช้ปูนขาวเพื่อเพิ่มความพร้อมของ Mo สารประกอบที่ใช้เป็นปุ๋ย ได้แก่ (ตามลำดับความสามารถในการละลายที่ลดลง): โซเดียม โมลิบเดต แอมโมเนียม โมลิบเดต กรดโมลิบดิก โมลิบดีนัม ไตรออกไซด์ และโมลิบดีนัมซัลไฟด์ อัตราการใช้ดินและทางใบโดยทั่วไปคือ50–200 ก. โมฮา-1 ; อัตราที่แนะนำสำหรับช่วงการรักษาจากเมล็ด7-100 กรัมโมฮ่า -1 [1]

อ้างอิง

^ a b c d e Hamlin_ รัสเซลล์ แอล. (2007). "โมลิบดีนัม". ใน Barker_ AV; พิลบีม_ ดีเจ (สหพันธ์). คู่มือของธาตุอาหารพืช โบคา เรตัน: สำนักข่าวซีอาร์ซี น. 375–394. ISBN 978-0824759049.

อรรถเป็น ข Mengel คอนราด; เคิร์กบี้_ เออร์เนสต์ เอ. (2001). "โมลิบดีนัม". หลักโภชนาการพืช (ฉบับที่ 5) Dordrecht: สำนักพิมพ์ Kluwer Academic น. 613–619. ISBN 079237150X.

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link.._(plant_disorder)
อ่าน:3575
2153 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 215 หน้า, หน้าที่ 216 มี 3 รายการ
|-Page 168 of 216-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ปุ๋ย สำหรับนาข้าว ดูแลตลอดช่วงอายุ เพิ่มผลผลิตข้าว
Update: 2567/11/05 08:42:01 - Views: 24
ป้องกัน กำจัด เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยต่างๆ และ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ใช้ได้กับพืชทุกชนิด (1ลิตร ผสมน้ำได้ 400ลิตร)
Update: 2564/08/16 01:33:07 - Views: 3392
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรครากำมะหยี่ ในมะเขือเทศ ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/23 10:50:54 - Views: 3410
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 : ตัวช่วยเพิ่มผลใหญ่ ผลดก น้ำหนักดี สำหรับต้นชมพู่ของคุณ
Update: 2567/03/08 14:20:49 - Views: 3416
โรคราแป้ง (Powdery mildew) โรคราแป้งในพริก ราแป้งมะเขือ
Update: 2564/08/09 22:28:26 - Views: 3783
อ้อย รากเน่า โคนเน่า ใบไหม้ ราสนิม ยาฆ่าเชื้อราในพืชทุกชนิด เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T
Update: 2566/05/05 15:00:46 - Views: 3460
โรคใบติดทุเรียน โรคราสีชมพูในทุเรียน โรคทุเรียนกิ่งแห้ง ต้องหมั่นสังเกตุตรวจดูแลสวน หากพบ ให้เร่งป้องกันกำจัด
Update: 2566/11/04 14:14:10 - Views: 10227
โรคแตงโม แตงโมเถาเหี่ยว ราน้ำค้างแตงโม แตงโมใบไหม้ โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู เร่งโต สร้างภูมิฯ 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
Update: 2564/08/14 03:14:27 - Views: 3450
การปลูกกระเทียม ให้ได้ผลผลิตดี ด้วยการดูแลให้ ฮิวมิคFK ตามระยะ
Update: 2567/11/16 12:32:51 - Views: 16
สาเหตุของ โรคแอนแทรคโนส ใน พริก เงาะ มังคุด ทุเรียน มะม่วง มะละกอ ยาง มัน ลองกอง กล้วย
Update: 2564/08/23 02:55:56 - Views: 3635
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคเน่าและ ใน ผักกาดขาว ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/13 13:18:50 - Views: 3448
กำจัดเชื้อรา เสาวรส ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/27 10:46:00 - Views: 3404
ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวปน ข้าววัชพืช
Update: 2564/05/12 23:34:53 - Views: 3630
การใช้สารอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมโรคเชื้อราในต้นข้าว
Update: 2566/05/06 09:30:07 - Views: 3424
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 : ตัวช่วยเร่งหัวใหญ่ ขยายขนาด ผลดก เพิ่มน้ำหนัก สำหรับต้นหัวไชเท้า
Update: 2567/03/15 10:18:52 - Views: 3452
การใช้ฮิวมิค FK (เสริมฟลูวิค) และปุ๋ยทางใบ FK-1 เพื่อการเจริญเติบโตของพืชผักผลไม้นานาชนิด
Update: 2567/11/11 07:39:57 - Views: 24
โรคใบด่างข้าวโพด
Update: 2564/08/10 12:01:22 - Views: 3522
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราดำ ใน มะกรูด ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/18 13:15:27 - Views: 3467
โรคที่เกิดจากเชื้อราในต้นบอนสีและวิธีการป้องกัน
Update: 2566/11/23 09:01:01 - Views: 3395
โรคทุเรียนต่างๆ ทุเรียนใบไหม้ ราสีชมพูในทุเรียน โรคทุเรียนก้านธูป เชื้อราต่างๆ ใช้ ไอเอส
Update: 2566/10/28 12:25:31 - Views: 10140
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022