<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
น้ำหมัก จุลินทรีย์ เพื่อนที่ดีของต้นไม้
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับจุลินทรีย์กันดีกว่า จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่บทบาทของมันไม่ได้เล็กไปด้วย จุลินทรีย์มีบทบาทที่สำคัญต่อดินและพืชหลายประการ ไม่ได้เป็นแหล่งธาตุอาหารของพืชโดยตรง แต่ทำหน้าที่ “เป็นผู้ย่อยสลาย” ย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนให้มีขนาดเล็กและกลายเป็นธาตุอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งปรับสมดุลและสภาพแวดล้อมต่างๆ ในดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
จุลินทรีย์มีหลายชนิด สามารถใช้ทางการเกษตรได้ และชนิดที่คนอาจจะคุ้นเคยและใช้กันแพร่หลายแล้วคือ จุลินทรีย์ EM (Effective Microorganisms) ลักษณะเป็นน้ำสีน้ำตาลเข้ม ที่ขยายพันธุ์ด้วยกากน้ำตาล ไม่ชอบแสงแดด แต่วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับจุลินทรีย์น้องใหม่ที่ชอบแสงแดดและมีประโยชน์ไม่แพ้กัน นั่นก็คือจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง หรือ PSB (Photosynthetic Bacteria) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่อยู่ในกลุ่มของจุลินทรีย์สีม่วง พบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติ สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตร บำบัดน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือนและอุตสาหกรรมได้เช่นกัน จุลินทรีย์กลุ่มนี้ต้องการสิ่งที่จำเป็นในการเจริญเติบโตคือแสงแดด
ความสามารถที่ไม่ธรรมดาของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นประโยชน์ด้วยมีดังนี้
1.ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคพืชได้ดี ทำให้เปลือกหรือลำต้นแข็งแรง ทนต่อการกัดกินของแมลง
2.ช่วยกระตุ้นเซลล์เจริญบริเวณปลายรากพืชให้ขยายตัวและแตกแขนงได้ดี ทำให้มีรากฝอยที่หากินเก่งจำนวนมาก จึงทำให้พืชสามารถเพิ่มผลผลิตได้ดีเนื่องจากการสะสมอาหารได้มาก
3.สามารถใช้แทนปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยยูเรีย คือ ปุ๋ยสังเคราะห์ที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนในอัตราที่สูง โดยจุลินทรีย์ใช้หลักการย่อยสลายกลุ่มก๊าซของเสียให้เป็นไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืช
4.นำจุลินทรีย์ไปใช้ผสมผสานร่วมกับน้ำหมักหรือปุ๋ยสูตรต่างๆ จะทำให้ผลผลิตยิ่งเพิ่ม และคุณภาพผลิตดีขึ้นตามด้วย
5.ลดต้นทุนการผลิต เมื่อใช้เป็นประจำและต่อเนื่อง สามารถลดการใช้ปุ๋ยสูตรต่างๆ ลงได้สูงสุด 50% ทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง กำไรเพิ่มมากขึ้น
6.ช่วยในการบำบัดน้ำเสีย ได้ทั้งกับน้ำเสียที่อยู่ทั่วไปในท่อ บ่อปลา ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือกับน้ำเสียจากอุตสาหกรรมก็ได้
7.ช่วยย่อยสลายของเสียในดิน โดยเฉพาะกลุ่มก๊าซไข่เน่า หรือไฮโดรเจนซัลไฟด์ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะเข้าไปทำลายกำจัดก๊าซไฮโดรเจนโดยนำของเสียนั้นมาเป็นพลังงานใช้ในการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ และขับของเสียออกมาให้อยู่ในรูปกลุ่มโกรทฮอร์โมน (growth hormone) ที่มีประโยชน์ต่อพืช
8.ช่วยลดสภาวะโลกร้อน เนื่องจากจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงย่อยสลายทำลายโครงสร้างของก๊าซมีเทน (methane) ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ เป็นตัวทำลายชั้นบรรยากาศของโลกเรา และมีอยู่มากในท้องนาที่มีน้ำขังอยู่ เพียงแค่เกษตรกรนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงไปใส่ในนา นอกจากจะทำให้ต้นข้าวเติบโตแข็งแรงแล้ว ยังเป็นการช่วยปกป้องโลกของเราได้ด้วย
ในการขยายเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง สิ่งที่ต้องเตรียม ประกอบไปด้วย
1.ขวดน้ำพลาสติก (สามารถเตรียมได้ทั้ง 3 ขนาด คือ 600 cc / 1500 cc / 6000 cc)
2.น้ำเปล่า (สามารถใช้น้ำฝน น้ำบ่อ หรือน้ำประปาที่พักค้างคืนไว้)
3.ไข่ (ไข่ไก่ หรือไข่เป็ดก็ได้ ไข่เน่าแล้วก็ยังได้ จุลินทรีย์ยิ่งชอบ)
4.น้ำปลา หรือกะปิ
5.ผงชูรส
6.ถ้วย ช้อน ส้อม
7.หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ถ้ามี)
ขั้นตอนการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
1.ลอกพลาสติกที่ปิดขวดออกก่อน และกรอกน้ำลงไปในขวดให้ได้ 70% ของขวด
2.ตอกไข่ใส่ถ้วย ตีไข่ขาวและไข่แดงให้เป็นเนื้อเดียวกัน ใส่น้ำปลา และผงชูรสตามไป ตีจนเข้ากันเหมือนกำลังทำไข่เจียว อัตราส่วน ไข่ 1 ฟอง : น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ : ผงชูรส 1 ช้อนโต๊ะ จำง่ายๆ คือ 1:1:1)
3.จะใส่หรือไม่ใส่เปลือกไข่ก็ได้ ถ้าใส่ก็ช่วยเสริมแคลเซียม ให้ตำหรือบดให้ละเอียดแล้วใส่ลงในไข่ที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน
4.ตักใข่ที่ผสมแล้วใส่ลงในขวดน้ำที่เตรียมไว้ ดังนี้
5.สำหรับขวด 600 cc ใส่ครึ่งช้อนโต๊ะ
6.สำหรับขวด 1500 cc ใส่ 1 ช้อนโต๊ะ
7.สำหรับขวด 6000 cc ใส่ 4 ช้อนโต๊ะ
8.เขย่าส่วนผสมให้เข้ากับน้ำ แล้วเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะแสงลงไปให้เหลือพื้นที่วางในขวดเล็กน้อย ปิดฝาขวดให้แน่น
9.นำขวดไปวางเรียงกันในที่ที่มีแสงแดดส่องตลอดวัน
เขย่าขวดบ้าง หากมีแก๊สในขวดมากก็เปิดฝาระบายออกได้ รอจนกว่าจะเป็นสีแดงเข้มทั้งขวดจึงจะนำไปใช้ได้ (ถ้าใส่หัวเชื้อใช้เวลา 2 อาทิตย์จึงแดงดี ถ้าไม่มีหัวเชื้อใช้เวลาประมาณ 1 เดือน)
เท่านี้ ก็ได้จุลินทรีย์ใช้กันแล้ว ซึ่งทำไม่ยากเลยแต่แค่ต้องใจเย็นในการรอให้จุลินทรีย์ขยายตัว โดยปริมาณการใช้ จะใช้จุลินทรีย์ 200 CC ผสมน้ำ 20 ลิตร (ใช้กะปริมาณได้ไม่ต้องเป๊ะมาก ประมาณจุลินทรีย์ 1 แก้ว ต่อน้ำ 1 กะละมัง) ฉีดพ่นหรือรดน้ำทุกๆ 5-7 วัน ซึ่งใช้ทางการเกษตรในการปลูกต้นไม้ ดังนี้
-ใช้แช่เมล็ดพืช ก่อนปลูก 1-2 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น ช่วยให้รากพืชงอกเร็วและแข็งแรง ลดการติดเชื้อกำจัดเชื้อราหรือแบคทีเรียก่อโรคที่เมล็ดพืช ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นปลูกสามารถควบคุมไม่ให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้
-ใช้เตรียมดินปลูก ฉีดพ่นลงพื้นดินที่เพาะปลูก จะช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย ลดความเป็นกรดในดิน และลดเชื้อโรคในดิน
-ใช้ฉีดพ่น หรือรดต้นไม้ ทุก 7-15 วัน ช่วยทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตงอกงามแข็งแรง ผลไม้รสชาติดี หวาน กรอบ อร่อย ช่วยเพิ่มน้ำหนักผลไม้ ช่วยป้องกันโรคและแมลง ช่วยป้องกันการร่วงหล่นทิ้งลูกทิ้งผลก่อนเก็บเกี่ยว
หากอยากผลิตจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเพื่อจำหน่าย ต้องปฏิบัติตามนี้
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับปุ๋ย
ขั้นตอนการ ขึ้นทะเบียนปุ๋ย (ฉบับสมบูรณ์)
1. เครื่องหมายการค้า (กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์)
– ขึ้นทะเบียนเครื่องหมายการค้าใหม่ (ใช้เวลาประมาณ 1-3 ปี)
– ซื้อต่อเครื่องหมายการค้าจากคนอื่น ที่จดจำพวกสำหรับ “ปุ๋ย” ไว้แล้ว (ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์)
บริการขึ้นทะเบียนเครื่องหมายการค้า
2. ขึ้นทะเบียนปุ๋ย (กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) (ใช้เวลาประมาณ 8-12 เดือน)
2.1 เลือกประเภทของปุ๋ย
– ปุ๋ยอินทรีย์
– ปุ๋ยเคมี
– ปุ๋ยเคมี ธาตุรองเสริม
– ปุ๋ยอินทรีย์เคมี
– ปุ๋ยชีวภาพ
2.2 เลือก สูตร / ลักษณะการผลิต ที่ต้องการขึ้นทะเบียน
– ปุ๋ยอินทรีย์ OM20% ปั้นเม็ด ขนาดบรรจุ 25 กก. และ 50 กก.
– ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สูตร 6-3-3 OM10% แบบคอมปาวน์ ขนาดบรรจุ 25 กก. และ 50 กก.
– ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สูตร 6-3-3 OM10% แบบผสม ขนาดบรรจุ 25 กก. และ 50 กก.
– ปุ๋ยเคมี ธาตุรองเสริม ชนิดน้ำ Cal 10% ขนาดบรรจุ 100 CC. _ 250 CC. _ 500 CC. และ 1 ลิตร
2.3 เลือก ชื่อทางการค้า
– ตั้งชื่อทางการค้า สำหรับเรียกสินค้าชนิดนั้น ๆ เฉพาะ เช่น ดินน้ำต้นไม้ _ บราโว่ เอ _วะว้าว
– เครื่องหมายการค้า ตรา อินเนอร์โกร ต้องการขึ้นทะเบียนปุ๋ย โดยใช้ชื่อที่ขออนุญาตขึ้นทะเบียนว่า “ปุ๋ยอินทรีย์ ดินน้ำต้นไม้ ตรา อินเนอร์โกร” หรือ “ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 6-3-3 OM10% บราโว่ เอ ตรา อินเนอร์โกร” หรือ “ปุ๋ยเคมี วะว้าว ตรา อินเนอร์โกร”
2.4 ส่งตัวอย่างปุ๋ยเพื่อตรวจวิเคราะห์ กับแล็บที่ได้รับรองจากกรมวิชาการเกษตรเท่านั้น
2.5 ยื่นผลวิเคราะห์ปุ๋ย พร้อมกับเอกสารเจ้าของเครื่องหมายการค้า ที่กรมวิชาการเกษตร
3. ขออนุญาติขายปุ๋ย (กรมวิชาการเกษตร / หน่วยราชการใกล้บ้าน ) (ใช้เวลาประมาณ 1-4 สัปดาห์)
– จดทะเบียนการค้า / จดทะเบียนบริษัท / จดห้างหุ้นส่วน
4. สั่งทำบรรจุภัณฑ์ (ใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์)
– ออกแบบ
– ทำบล็อคกระสอบ
– ผลิตกระสอบ
– ผลิตขวด บรรจุภัณฑ์
– ผลิตฉลาก
5. ผลิตปุ๋ยน้ำหมัก (ใช้เวลาประมาณ 7-14 วันทำการ)
– ผลิตปุ๋ย
– หารถขนส่ง
ข้อมูลการทำน้ำหมักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จาก okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4064/
ข้อมูลการขึ้นทะเบียน ปุ๋ย (น้ำหมักจุลินทรียื) จาก
http://ไปที่..link..
สำหรับผู้ผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์สังเคาะห์แสง เพื่อจำหน่าย ที่สนใจตรวจวิเคราะห์น้ำหมักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์ นี้
http://ไปที่..link..
สำหรับผู้ผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์สังเคาะห์แสง เพื่อจำหน่าย ที่สนใจตรวจฉลากสินค้า สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์ นี้
http://ไปที่..link..