[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3555 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 355 หน้า, หน้าที่ 356 มี 5 รายการ

สาหร่าย กับการทำนาของลุงทองเหมาะ แจ่มแจ้ง
สาหร่าย กับการทำนาของลุงทองเหมาะ แจ่มแจ้ง
วันก่อน ไปเรียนการหมักจุลินทรีย์ที่บ้านคุณลุงทองเหมาะ แจ่มแจ้ง ที่สุพรรณบุรี มา แล้วเดินดูโน่นดูนี่รอบๆบ้านของคุณลุง เห็นแล้วน่าอิจฉาวิถีชีวิตของคุณลุงจัง พอดีไปสะดุดตาที่อ่างซีเมนต์ ที่คุณลุงทำการทดลองปลูกข้าวแบบเมล็ดเดียว เห็นบางอ่างต้นสูง แตกกอดี กว่าอ่างอื่นๆ เลยถามคุณลุงดู เห็นคุณลุงบอกว่า แกใช้ “สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ เป็นชีวภาพ สาหร่ายตัวนี้มันดี มันตรีงไนโตรเจนในอากาศมาเป็นอาหารของต้นข้าวได้” และคุณลุงยังบอกอีกว่า เอาไปใช้ในนาข้าวของแกแล้ว ดีมากเลย พอดีแกให้ลูกชายเอาไปใส่ แต่ลูกใส่ไม่ทั่วแปลงนา คราวนี้เลยเห็นชัดเจนเลยว่า “ตรงไหนที่ใส่สาหร่ายตัวนี้ลงไป ต้นข้าวจะสูง และแตกกอดีกว่าต้นที่ไม่ได้โดนสาหร่าย” ซึ่งทางเราเห็นว่าสาหร่ายตัวนี้น่าจะมีประโยชน์กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เลยนำมาเล่าให้ฟัง หากเพื่อนๆ คนไหนสนใจอยากรู้รายละเอียด ก็ไปสอบถามกับคุณลุงทองเหมาะได้นะคะ เผื่ออาจจะได้ความรู้ดีๆ เพื่อมาปรับใช้กับการทำแปลงนาของเพื่อนๆ
อ่าน:3411
กิ่งพันธ์มะนาว พิจิตร1 และมะนาวไร้เมล็ด
กิ่งพันธ์มะนาว พิจิตร1 และมะนาวไร้เมล็ด
สวนมะนาวภูเขียว

มี กิ่งพันธุ์ มะนาวพิจิตร1 หรือ มะนาวแป้น พิจิตร1และมะนาวไร้เมล็ด
เสียบยอดบนตอ มะขวิด,ตอมะนาวป่า,ตอมะนาวพวงมาจำหน่ายครับ
ต้นละ 100 บาทซื้อเยอะมีส่วนลดได้ครับ.สูงประมาณ1ฟุตครับ.
ซื้อไปแล้วหากตายภายใน1เดือนเรารับผิดชอบส่งไปเปลี่ยนใหม่ให้ฟรี
ไม่มีการซักถามงอแงใดๆทั้งสิ้นครับ.
พร้อมให้คำแนะนำการปลูกและดูแลแบบพี่น้องครับ.ปีเดียวโตแน่นอน.
สนใจส่งเมล์มาสอบถามได้ที่ [email protected]หรือโทร 081-8694882

มะนาว พิจิตร1 เกิดจากการนำเอา มะนาว แป้นรำไพ กับ มะนาว นํ้าหอมอุดร ผสมเกสรกันแล้วได้ ลูกไม้ใหม่เป็น มะนาวพิจิตร1 มีลักษณะพิเศษทนต่อ “โรคแคงเกอร์” สูง ตามที่กล่าวข้างต้น และที่สำคัญ มะนาวพิจิตร1 ยังเป็น สายพันธุ์ที่ ปลูกง่าย เติบโตเร็ว ติดผลดกไม่ขาดต้น ผลมีขนาดใหญ่ (ภาพประกอบคอลัมน์ถ่ายเทียบกับผลส้มเช้ง) ให้นํ้าเยอะ นํ้ามีรสเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอมตามสายพันธุ์มะนาวนํ้าหอมอุดร จึงกำลังเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายอยู่ ในเวลานี้

มะนาวพิจิตร1 อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชนิดมีใบย่อยใบเดียว ออกเรียงสลับ เป็นรูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน เนื้อใบมีจุดนํ้ามันกระจายทั่ว ก้านใบมีครีบเล็กๆสีเขียวเข้ม ใบเมื่อขยี้จะมีกลิ่นหอม

ดอกมะนาว พิจิตร1 ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด กลีบดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมแบบสะอาด กลีบดอกจะร่วงง่าย “ผล” เป็นรูปทรงกลมกึ่งแป้น ก้นผลตัดเรียบ เนื้อใบฉํ่านํ้า เปลือกผลค่อนข้างบาง เมล็ดมีน้อย ให้นํ้าเยอะ รสเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอม ขนาดผลเฉลี่ยโตกว่าผลมะนาวสายพันธุ์ดังๆชัดเจน

ติดผล เป็นพวง 3-5 ผลต่อพวง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด ปัจจุบัน มะนาวพิจิตร 1 หรือมีชื่อเรียกอีกคือ มะนาวแป้นพิจิตร 1
อ่าน:3400
กิจกรรม สมาชิกสมาคมชาวไร่อ้อยภาคอิสาน กุมภวาปี และอีกสามโรงงาน ไปดูงาน ดูพันธุ์อ้อย ของบริษัทน้ำตาลมิตรผล
กิจกรรม สมาชิกสมาคมชาวไร่อ้อยภาคอิสาน กุมภวาปี และอีกสามโรงงาน ไปดูงาน ดูพันธุ์อ้อย ของบริษัทน้ำตาลมิตรผล
ฟาร์มเกษตร ไอออนิค และมิตรผล จัดกิจกรรมเชิญ สมาชิกสมาคมชาวไร่อ้อยภาคอิสาน กุมภวาปี และอีกสามโรงงาน ไปดูงาน ดูพันธุ์อ้อย ของบริษัทน้ำตาลมิตรผล ที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
อ่าน:3406
การจัดการดินและระบบการปลูกมันสำปะหลัง
การจัดการดินและระบบการปลูกมันสำปะหลัง
การจัดการดินและระบบการปลูกมันสำปะหลัง
 
       สภาพและปัจจัยที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกมันสำปะหลัง โดยมันสำปะหลังปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนปนทรายเพราะจะลงหัวและเก็บเกี่ยวง่าย เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินที่ไม่มีน้ำท่วมขัง มีค่าเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ระหว่าง 5.5-8.0 ทนต่อสภาพความเป็นกรดสูงได้แม้ pH ของดินจะต่ำจนถึง 4.5 ก็ไม่ทำให้ผลผลิตลด แต่ไม่ทนต่อสภาพพื้นที่เป็นด่าง โดยไม่สามารถขึ้นได้ถ้า pH สูงถึง 8 ถ้าเป็นดินทรายสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่เกษตรกรมักนิยมปลูกปลายฤดูฝน เช่น แถบจังหวัดระยอง และชลบุรี ถ้าเป็นดินเหนียวจะนิยมปลูกต้นฤดูฝน เพราะถ้าเป็นฤดูแล้งการไถพรวนจะได้ดินก้อนใหญ่ ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจะแห้งตายก่อนที่จะงอก มันสำปะหลังเป็นพืชวันสั้น ผลผลิตจะลดลงถ้า
ช่วงแสงของวันยาวเกิน 10-12 ชั่วโมง ขึ้นได้ดีในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิ 10-30 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝน 500-2,500 มิลลิเมตรต่อปี
       ความต้องการธาตุอาหารของมันสำปะหลัง มันสำปะหลังมีความต้องการธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม โดยในแต่ละฤดูการผลิตมันสำปะหลังจะต้องการธาตุไนโตรเจน 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ ฟอสฟอรัส 6-10 กิโลกรัมต่อไร่ และต้องการโพแทสเซียม 8-12 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณธาตุอาหารในดินก่อนปลูก มันสำปะหลังจะตอบสนองต่อปริมาณธาตุไนโตรเจนที่ได้รับมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความสามารถในการอุ้มน้ำของดินและปริมาณฝนที่ตกกระจายอย่างสม่ำเสมอ แต่เมื่อได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป จะทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันลดลง ส่วนธาตุฟอสฟอรัสนั้นถึงแม้จะมีปริมาณความต้องการน้อยกว่าธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียม แต่ก็มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและปริมาณผลผลิตที่สำคัญอย่างยิ่ง ธาตุฟอสฟอรัสจะมีประโยชน์ต่อมันสำปะหลังมากที่สุดที่ระดับ pH ของดินเป็นกลางในระหว่าง 6-7 สำหรับธาตุโพแทสเซียมนั้นมีความสำคัญต่อการเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรทจากส่วนใบและต้นไปยังราก เพิ่มปริมาณแป้งในหัวมัน และลดปริมาณไฮโดรไซยานิคในหัวมัน การขาดโพแทสเซียมจะทำให้ผลผลิตหัวมันลดลงอย่างชัดเจน ใบแก่จะร่วงหล่นเร็วกว่าปกติ ใบเล็กแคบ และลำต้นแคระแกร็น

3.1 การเตรียมพื้นที่
   3.1.1 การเลือกพื้นที่ปลูก
   ควรเลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน ห่างจากถนนหลวงและมีความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติค่อนข้างสูง ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังอย่างเพียงพอ มีแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก ไม่ควรเป็นพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือมีการปนเปื้อนของสารเคมีสูง และห่างจากพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีการเกษตร พื้นที่ที่จะใช้ในการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ต้องมีการวิเคราะห์สมบัติของดินและน้ำ เพื่อตรวจสอบหาสารพิษตกค้าง และทำประวัติการทำการเกษตรของพื้นที่ 

   3.1.2 การวางผังแปลง
       การทำไร่มันสำปะหลังอินทรีย์นั้นจะต้องมีการวางผังแปลงอย่างดี มีการจัดแบ่งพื้นที่ ระหว่างแปลงมีถนนเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน ในพื้นที่ราบควรวางแนวแปลงปลูกให้ขนานกับทางลำเลียง แต่ในบริเวณลาดเอียงปลูกขวางความลาดเอียงของพื้นที่เพื่อลดการชะล้างและสูญเสียหน้าดิน

   3.1.3 การปรับพื้นที่
       เน้นการปรับหน้าดินเพื่อไม่ให้น้ำขังในแปลง บริเวณที่ลุ่มเป็นแอ่งเล็กน้อย ควรปรับเอาดินข้างๆ มากลบ แต่ถ้าเป็นแอ่งลึกและกว้างควรแก้ไขโดยการระบายน้ำออก

   3.1.4 การปลูกพืชเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากภายนอกพื้นที่หรือทางอากาศ
       ปลูกไม้ยืนต้นโตเร็วเพื่อเป็นแนวกันชน ป้องกันลม ป้องกันแมลงศัตรูพืชและสารเคมีจากพื้นที่อื่น ได้แก่ กระถิน แคฝรั่ง มะแฮะ เป็นต้น

   3.1.5 การเตรียมดิน
       มันสำปะหลังเป็นพืชหัว ผลผลิตที่ใช้ประโยชน์คือรากที่มีการสะสมอาหารจำพวกแป้งจนขยายใหญ่ขึ้นเป็นหัวอยู่ในดิน การเลือกพื้นที่ควรเลือกที่ดอน ดินเป็นดินร่วนปนทราย ถ้าเป็นดินเหนียวต้องมีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง และต้องมีหน้าดินลึกพอสมควร ก่อนปลูกควรไถและพรวนอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร เพื่อกลบเศษซากพืชจากฤดูก่อน และทำลายวัชพืชต่างๆ ให้ลดจำนวนลง การไถให้ใช้ผาน 3 ติดท้ายรถแทรกเตอร์ 1 ครั้ง ตามด้วยผาน 7 อีก 1 ครั้ง จะได้ผลผลิตมันสำปะหลังและกำไรสูงสุด ถ้าพื้นที่มีความลาดชันต้องไถพรวนตามแนวขวาง เพื่อป้องกันการชะล้างของดิน และถ้าดินระบายน้ำไม่ดีต้องยกร่องปลูก


3.2 การบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ 
   การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และทำให้ดินมีกำลังการผลิตที่เพียงพอ สามารถทำได้โดยการเพิ่มปริมาณซากพืช เพิ่มธาตุอาหารพืชในดิน และกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางชีวภาพในดิน สามารถทำได้ดังนี้

   3.2.1 ไม่เผาตอซังมันสำปะหลัง และเศษวัสดุอินทรีย์ แต่ทำการไถกลบลงในพื้นที่เพาะปลูก 
   3.2.2 ปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อไถกลบ โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วพร้าอัตรา 8-12 กิโลกรัมต่อไร่ ระหว่างปลูกพืชปุ๋ยสดให้ทำการฉีดด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ โดยเจือจางด้วยน้ำในสัดส่วน 1:500 หรือ 1:1,000 ไถกลบเมื่ออายุประมาณ 45 วัน หรือถั่วพุ่มอัตรา 6-8 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถกลบเมื่ออายุประมาณ 35 วัน ซึ่งเป็นช่วงออกดอก ทิ้งไว้ 15 วัน ก่อนปลูกมันสำปะหลัง
   3.2.3 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ อัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจาง 1: 500 หรือ 1:1,000 ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง และฉีดพ่นให้แก่มันสำปะหลัง หลังจากปลูกแล้ว 15 วัน หลังจากนั้นให้ฉีดพ่นทุกๆ 1 เดือน จนกว่าจะเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
   3.2.4 ปลูกพืชปุ๋ยสดแซมมันสำปะหลัง เช่น ถั่วพุ่ม หรือถั่วพร้า แซมในแถวมันสำปะหลัง โดยปลูกหลังจากปลูกมันสำปะหลังไปแล้วประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วตัดคลุมดินช่วงพืชปุ๋ยสดออกดอก เพื่อเป็นการรักษาความชื้นในดิน และเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน เมื่อเศษพืชปุ๋ยสดสลายตัว


3.3 วิธีการปลูก
   การเตรียมท่อนพันธุ์
       การปลูกมันสำปะหลังนิยมใช้ท่อนพันธุ์ โดยตัดลำต้นให้เป็นท่อนยาว 15-20 เซนติเมตร เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แก่มีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป แช่ท่อนพันธุ์ในปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เจือจาง 1:500 หรือ 1:1,000 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วนำมาผึ่งท่อนพันธุ์ให้แห้ง ก่อนนำไปปลูก 

   วิธีปลูก
       การปลูกมันสำปะหลังทำได้โดยนำท่อนพันธุ์ที่เตรียมไว้ปักลงในดินให้ลึกประมาณ 2/3 ของท่อนพันธุ์ ควรระวังอย่าปักส่วนยอดลงดินเพราะตาจะไม่งอก การปักตรง 90 องศา หรือปักเฉียง 45 องศากับพื้นดิน ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน และมันสำปะหลังจะงอกเร็ว สะดวกต่อการกำจัดวัชพืชและปลูกซ่อม และลงหัวด้านเดียวเป็นกลุ่ม ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว และให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกแบบฝัง 10-15 เปอร์เซ็นต์ 

   ระยะปลูก
       พันธุ์ระยอง 1 โดยใช้ระยะ 100 x 100 เซนติเมตร ซึ่งในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ 1,600 ต้น ปลูกประมาณเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวเดือนเมษายน 
       ส่วนพันธุ์ระยอง 90 ควรใช้ระยะ 80 x 100 เซนติเมตร (2,000 ต้นต่อไร่) ปลูกประมาณเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวเดือนเมษายน 
       พันธุ์ระยอง 60 ควรใช้ระยะ 60 x 100 เซนติเมตร (2,400 ต้นต่อไร่) ปลูกประมาณเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวเดือนกุมภาพันธ์ 
       พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ควรใช้ระยะปลูก 80 x 100 เซนติเมตร ปลูกประมาณเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวเดือนพฤษภาคม


3.4 การดูแลรักษาและกำจัดศัตรูพืชในระบบเกษตรอินทรีย์
   3.4.1 การป้องกันกำจัดโรคพืช
       มันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทย มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงรบกวนน้อยมาก ซึ่งปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีความต้านทานต่อโรคและแมลงอยู่แล้ว อาจพบได้ในบางกรณี เช่น โรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบจุดไหม้ โรคใบจุดขาว สามารถป้องกันกำจัดโดยใช้สารสกัดป้องกันเชื้อราจาก กระชาย ก้ามปู ตะไคร้ สมอดุ้ง เป็นต้น โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคใบไหม้ ป้องกันกำจัดโดยใช้สารสกัดป้องกันเชื้อแบคทีเรียจาก กระชาย ตะไคร้ ตีนเป็ดทะเล ฉัตรพระอินทร์ เป็นต้น

      โรคและการป้องกันกำจัด
       มันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทย มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงรบกวนน้อยมาก อาจเนื่องมาจากส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมืองซึ่งปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีความต้านทานต่อโรคและแมลงอยู่แล้ว แต่เมื่อนำพันธุ์ใหม่เข้ามาปลูกโดยไม่มีการควบคุมที่ดีพอ อาจมีโรคร้ายแรงติดเข้ามาระบาดในประเทศได้โรคที่พบระบาดในประเทศไทย มีดังนี้

โรคใบจุดสีน้ำตาล (brown leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Crecosporidium henningsii อาการที่พบจะเป็นจุดที่ใบโดยเฉพาะใบแก่ รอยแผลจะเป็นเหลี่ยมตามเส้นใบ มีขอบชัดเจน สีเหลืองตรงกลางแผลจะแห้ง โรคนี้พบได้ในทุกพันธุ์ พันธุ์พื้นเมืองซึ่งเป็นพันธุ์ต้านทานปานกลาง โรคนี้ทำให้ผลผลิตลดลง 14-20 เปอร์เซ็นต์ ป้องกันกำจัดโดยใช้สารสกัดป้องกันเชื้อราจากกระชาย ก้ามปู ตะไคร้ สมอดุ้ง เป็นต้น
โรคใบไหม้ (cassava bacterial blight, CBB) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas camprestris pv. Manihotis อาการจะเกิดขึ้นที่ใบ เริ่มแรกเป็นจุดเหลี่ยมฉ่ำน้ำแล้วขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นใบไหม้ ใบเหี่ยวร่วงหล่น มียางไหล ต่อมาเกิดอาการยอดเหี่ยว และแห้งตายลงมา (die back) เป็นโรคที่ร้ายแรงมากชนิดหนึ่งซึ่งจะทำความเสียหายให้มันสำปะหลังได้ถึง 30-90 เปอร์เซ็นต์ ในประเทศไทยพบอาการต้นเป็นโรคและไม่ระบาดรุนแรง อาจเป็นเพราะสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการระบาด และพันธุ์ที่แนะนำส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างต้านทานต่อโรคนี้ ป้องกันกำจัดโดยใช้สารสกัดป้องกันเชื้อแบคทีเรียจากกระชาย ตะไคร้ ตีนเป็ดทะเล ฉัตรพระอินทร์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังสามารถพบโรคอื่นๆ ได้ เช่น โรคใบจุดไหม้ (blight leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Cercospora viscosae โรคใบจุดขาว (white leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Phaeoramularia manihotis โรคลำต้นเน่า (stem rot) เกิดจากเชื้อ Glomerella cingulata และโรคหัวเน่า (root rot) ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อราหลายชนิด มักจะเกิดขึ้นเมื่อหัวมันสำปะหลังเป็นแผล

   3.4.2 การป้องกันกำจัดแมลง
       แมลงที่ทำลายมันสำปะหลังมักจะพบระบาดมากในช่วงที่อากาศค่อนข้างแห้งแล้ง มักจะเป็นแมลงพวกปากดูด ได้แก่ ไรแดง เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว สามารถป้องกันกำจัดโดยพ่นสารสกัดจาก ขมิ้นชัน ข่อย หางไหล เถาวัลย์เปรียง ปอกระเจา รางจืด สะเดา เป็นต้น เพื่อฆ่าแมลงและศัตรูพืชเป็นจุดเฉพาะบริเวณที่ระบาดรุนแรง

ไรแดง (red spider mite) ที่พบทำความเสียหายให้มันสำปะหลังมี 2 ชนิด ได้แก่ ไรแดงหม่อน (Tetranychus truncatus) จะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใต้ใบล่างๆ แล้วลามขึ้นมาขึ้นสู่ยอด และไรแดงมันสำปะหลัง (Oligonychus biharensis) จะดูดกินน้ำเลี้ยงบนหลังใบส่วนยอด แล้วขยายปริมาณลงสู่ส่วนล่างของต้น ถ้าไรแดงระบาดมากๆ ใบจะเหลืองซีด ม้วนงอ ส่วนยอดงองุ้ม ถ้ามันสำปะหลังมีขนาดเล็กอาจตายได้ หากระบาดมากต้องพ่นสารสกัดจาก ขมิ้นชัน ข่อย หางไหล เถาวัลย์เปรียง ปอกระเจา รางจืด สะเดา เป็นต้น เพื่อฆ่าแมลงและศัตรูพืชเฉพาะบริเวณที่มีการระบาดรุนแรง
เพลี้ยแป้ง (stripped mealy bug) เป็นแมลงปากดูด ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่างๆ และถ่ายมูลเหลวไว้ทำให้เกิดราดำ ถ้าระบาดมากต้นจะแคระแกร็น ยอดแห้งตาย หรือแตกพุ่ม ถ้าพบต้องตัดต้นไปทำลาย พ่นสารสกัดจาก ขมิ้นชัน ข่อย หางไหล เถาวัลย์เปรียง ปอกระเจา รางจืด สะเดา เป็นต้น
แมลงหวี่ขาว (white fly) เป็นแมลงปากดูดจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนใต้ใบพืช และถ่ายมูลเหลวออกมาทำให้เกิดราดำ มักเกิดควบคู่กับการเข้าทำลายของไรแดง และเพลี้ยแป้ง พ่นสารสกัดจากขมิ้นชัน ข่อย หางไหล เถาวัลย์เปรียง ปอกระเจา รางจืด สะเดา เป็นต้น
แมลงปากกัดอื่นๆ พบบ้างแต่ไม่ทำความเสียหายมากนัก เช่น แมลงนูนหลวง ตัวหนอนจะทำลายกัดกินราก ต้นมันสำปะหลังที่มีขนาดเล็กอาจตายได้ ด้วงหนวดยาว ตัวหนอนจะกัดกินภายในเหง้าและต้นทำให้ต้นหักล้ม

   3.4.3 การควบคุมวัชพืช
       ในระยะแรกของการปลูกมันสำปะหลังจะมีวัชพืชขึ้นรบกวนมาก และระยะเวลาวิกฤตในการกำจัดวัชพืชจะอยู่ที่ 2-3 เดือนแรก เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่มันสำปะหลังกำลังลงหัว หลังจาก 4 เดือนไปแล้วมันสำปะหลังจะไม่มีการสร้างหัวเพิ่ม แต่จะขยายขนาดหัวให้ใหญ่ขึ้น ถ้ามีวัชพืชขึ้นรบกวนในช่วงนี้มากจะทำให้ผลผลิตลดลง การเริ่มกำจัดวัชพืชครั้งแรกต้องรีบกระทำ อาจเริ่มที่ 15 วันหลังจากปลูก ยิ่งล่าช้าออกไปผลผลิตจะยิ่งลดลง ควรกำจัดวัชพืชครั้งแรกให้เสร็จภายใน 1 เดือน หลังจากปลูก และอาจต้องกำจัดวัชพืชอีก 2-3 ครั้ง จนกว่าพุ่มของใบมันสำปะหลังจะชิดกัน หรืออีกวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันวัชพืชได้คือการปลูกพืชปุ๋ยสดแซมในแปลงมันสำปะหลัง เป็นการคลุมดินป้องกันวัชพืชได้ในช่วงแรกๆ แล้วตัดวางคลุมดินไว้ หรือใช้สารสกัดจากควินิน แกง ชุมเห็ดไทย ตำแยแมว ชบา น้ำนมราชสีห์ เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช



3.5 การจัดการดินหลังเก็บเกี่ยว
       มันสำปะหลังได้เปรียบพืชไร่ชนิดอื่นที่สามารถยืดหยุ่นอายุการเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังตามความจำเป็น เช่น ราคา และแรงงาน แต่โดยปกติจะเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 10-12 เดือน เพราะผลผลิตมันสำปะหลังจะมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น หลังจากเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลัง ต้องตัดเหง้าและต้นออก และรีบส่งหัวมันสดเข้าโรงงานทันที หรืออย่างช้าไม่เกิน 3 วัน มิฉะนั้นหัวมันจะเริ่มเน่า ส่วนลำต้นต้องเก็บทันทีเพื่อใช้ทำพันธุ์ต่อไป โดยนำไปกองรวมกันแบบตั้งขึ้นให้โคนติดพื้นดินส่วนยอดตั้งขึ้นในร่ม วิธีนี้สามารถเก็บต้นได้นานถึง 30 วัน ส่วนของกิ่ง ก้าน และใบ และในส่วนที่เป็นวัสดุตอซังให้สับกลบลงสู่ดินทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้แก่ดิน

      

3.6 การบันทึกข้อมูล
       เพื่อให้ระบบการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ถูกต้องตามหลักการเกษตรอินทรีย์ และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีปลอดภัยจากสารพิษ จำเป็นต้องมีระบบการบันทึกข้อมูลตั้งแต่การเตรียมดินจนถึงการเก็บเกี่ยวที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับหลักการของระบบเกษตรอินทรีย์ 
อ่าน:3574
อาหารไทย อาหารสุขภาพ
อาหารไทย อาหารสุขภาพ
อาหารไทยถือว่ามีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษ เนื่องจากประเทศไทยเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ มีอาหารตามธรรมชาติที่มี ลักษณะพิเศษตามภูมิอากาศและภูมิประเทศที่หลากหลายตลอดทั้งปี รวมทั้งคนไทยมีศิลปะอยู่ในสายเลือดอยู่แล้ว จึงแสดงออกซึ่งศิลปวิทยาของตนในรูปแบบการปรุงแต่งและการกินอาหารที่มีลักษณะเฉพาะ ตั้งแต่เรื่องการผสมกลม กลืนในการปรุงแต่งกลิ่น รส ให้กลมกล่อมอร่อยและรสจัดอย่างโดดเด่นเป็นพิเศษ ในเรื่องการจัดรูปแบบและแกะสลัก ตบแต่งสีสันสวยงามวิจิตรบรรจง ในเรื่องการผสมผสานทางคุณค่าอาหารและสรรพคุณทางยาเพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ สูงสุดทั้งในแง่การป้องกัน การบำรุงและการรักษา ตลอดจนการใช้อาหารเป็นเครื่องแสดงความผูกพันในหมู่ญาติมิตร และเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคม รวมทั้งการใช้อาหารเป็นสื่อทางความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ 


เครื่องปรุงอาหารไทยที่สะท้อนให้เห็นสรรพคุณทางยาและสมุนไพรที่เรากินกันบ่อย ก็เช่น 
อ่าน:3402
10 เรื่องง่ายๆในชีวิต เพื่อสุขภาพ
10 เรื่องง่ายๆในชีวิต เพื่อสุขภาพ
10 เรื่องง่ายๆ ในชีวิต เพื่อทำให้สุขภาพดีได้ไม่ยาก 

1. สำรองผลไม้ไว้ในตู้เย็น 

ได้แก่กะหล่ำปลี แครอท ส้ม แอปเปิ้ล ซึ่งนอกจากจะได้ไดเอตแล้ว การรับประทานผัก & ผลไม้ประจำ ยังช่วยลด 

ความเสี่ยงจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย 

2. เหงือกดีด้วยน้ำชายามเช้า 

องค์การอาหารและยาของสหรัฐและสวีเดน บอกว่าการบ้วนปากในช่วงเช้าด้วยน้ำชา จะช่วยลดแบคทีเรียในช่องปาก 

เนื่องจากสารโพลีฟีนอล จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของฟันผุ 

3. ดื่มน้ำมาก ๆ 

อย่างน้อยวันละ 5 แก้ว ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และกระเพาะปัสสาวะได้เกือบ 50% เชียวล่ะ 

4. เปลือยเท้า คลายเคลียด 

การย่ำเท้าเปล่าไปบนทรายนุ่มๆ จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด 

5. รับแสงแดดอ่อน 

มีข้อมูลจากการวิจัยระบุว่า ผู้หญิงที่ไม่ค่อยโดนแดดเอาเสียเลย มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิง 

ที่อยู่ในเมืองที่มีแดด เนื่องจากแสงแดดช่วยสังเคราะห์วิตามินดีในร่างกาย เราควรรับแดดอ่อนๆ ในช่วงเย็น 

6. หันมาทานขนมปังโฮลวีทกันเถอะ 

สำหรับอาหารว่างยามบ่าย แทนที่จะทานคุ๊กกี้หรือเค็ก เปลี่บนมาทานขนมปังโฮลวีทสัก 2 แผ่น 

รับรองว่า จะช่วยให้คุณมีกำลังวังชา และยังไม่อ้วนอีกด้วยล่ำ 

7. สลัดปลาทูน่าเพิ่มความจำ 

ใครที่รู้ตัวว่า เริ่มจะหลงๆ ลืมๆ ลองหันมาทานสลัดปลาทูน่า หรืออาหารเมนูปลารวมทั้งเพิ่มอาหารที่มีวิตามินบี2 

เช่น ไข ถั่วเหลือง นม นอกจากจะช่วยให้อารมณ์ดี ยังช่วยเพิ่มพลังความจำให้กับสมองได้ 

8. เดินไวๆ ช่วยให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง 

ลองเดินให้ไวขึ้นอีกนิด อาจใช้เวลาเดินในช่วงเช้า หรือหลังเลิกงาน ให้ได้วันละ 20 นาที จะช่วยบริหารหลอดเลือด 

หัวใจให้แข็งแรง และยังให้หุ่นสลิมสมส่วนเป็นของแถม 

9. เติมไขมันดีๆ ให้ร่างกาย 

ไขมันไม่ได้เป็นผู้ร้ายซะทีเดียว เพราะมีไขมันหลายชนิดที่เป็นมิตรกับร่างกายนะ หากร่างกายขาดแคลน อาจมีผลต่อ 

การดูดซึมวิตามินเอ ดี อี เค และจะทำให้รู้สึกอ่อนเพลียได้ เลือกทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว จากน้ำมันมะกอก 

น้ำมันถั่ว และไขมันโอเมก้า 3 จากปลา ไม่เพียงให้พลังงาน ทำให้มีเรี่ยวแรง ยังช่วยป้องกันโรคมะเร็งและโรคหัวใจด้วย 

10. JUST DO NOTHING 

ลองหยุดภาระวุ่นๆ สักสัปดาห์ละวัน หรือวันละ 1 ชม. ให้ปลอดจากเรื่องงาน และคนรอบข้าง ให้เวลาอยู่คนเดียว 

ตามลำพัง จะช่วยให้คุณรู้สึกสงบ อาจจะฟังเพลงเงียบๆ หรืออาบน้ำอุ่นๆ แล้วอ่านหนังสือเล่มโปรด ชมดอกไม้ 

เป็นการเติมความรื่นรมย์ทางด้านจิตใจ ทำให้คุณสดชื่น และมีความสุข และให้ห่างไกลจากโรครีบร้อน เร่งรีบ 

จนแทบไม่มีเวลาสำหรับตัวเอง 

ลองทำดูนะคะ แล้วคุณจะดูดีขึ้น และยังห่างไกลจากโรคภัยอีก
อ่าน:3389
ภูชี้ฟ้าเป็นจุดชมวิวทะเลหมอก และพระอาทิตย์ขึ้น
ภูชี้ฟ้าเป็นจุดชมวิวทะเลหมอก และพระอาทิตย์ขึ้น
ข้อมูลทั่วไป : 
ภูชี้ฟ้าเป็นจุดชมวิวทะเลหมอก และพระอาทิตย์ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากดอยผาตั้ง 25 กม. อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,628 เมตร มีหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว มองเห็นหมู่บ้านลาวที่เรียกว่า เชียงตอง ยามเช้าในฤดูหนาวจะมี ทะลหมอก และอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์จะเป็นช่วงที่ดอกเสี้ยวหรือดอกชงโคป่าบานสะพรั่งอยู่ทั่วไปบริเวณภูชี้ฟ้า บนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้ากว้าง แซมด้วยทุ่งโคลงเคลง ที่มีดอกสีชมพูอมม่วงซึ่งจะบานระหว่างเดือน กรกฎาคม – มกราคม 


--------------------------------------------------------------------------------
การเดินทาง : 
ทางรถยนต์
1. การเดินทางจากจังหวัดเชียงรายระยะทางประมาณ 108 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางเชียงราย - เทิง ระยะทาง 64 กิโลเมตร และจากเทิง - ปางค่า ระยะทาง 24 กิโลเมตร จากนั้นเป็นลูกรังถึงภูชี้ฟ้าระยะทาง 19 กิโลเมตร 

2. ใช้เส้นทาง 1021 เทิง - เชียงคำ ระยะทาง 27 กิโลเมตร ก่อนถึงเชียงคำ 6 กิโลเมตร มีทางแยกไปวนอุทยานน้ำตกภูซาง (1093) บ้านฮวก อีก 19 กิโลเมตร แล้วเดินทางไปภูชี้ฟ้าอีก 30 กิโลเมตร แล้วเดินทางเท้าต่ออีก 1 กิโลเมตร จึงจะถึงจุดชมวิว ทางเดินเท้ามีความสูงชันมาก 

ทางรถโดยสาร
จากสถานีขนส่งเชียงราย มีรถโดยสารไปยังภูชี้ฟ้าและดอยผาตั้ง รถออกเวลา 12.30 น. รายละเอียดติดต่อ บ.สหกิจ โทร 0-5371-1654 

อ่าน:3571
เยี่ยมไร่อ้อยของท่านนายกสมาคมชาวไร่อ้อยมุกดาหาร
วันที่ 27 พฤษภาคม 2009 เวลา 9:00 น. - 11.30 น. ฟาร์มเกษตรไปพบปะเยี่ยมชมไร่อ้อย ของคุณวิละ สุดวิเศษ นายกสมาคมชาวไร่อ้อยมุกดาหาร ซึ่งเป็นลูกค้าของเราในเขตอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
อ่าน:3415
ดินเปรี้ยว แก้ปัญหาดินเปรี้ยวด้วย สารปรับสภาพดิน ไฮ-แมกก้า
ดินเปรี้ยว แก้ปัญหาดินเปรี้ยวด้วย สารปรับสภาพดิน ไฮ-แมกก้า
ไฮ - แมกกา ตรานกอินทรีคู่
สารปรับสภาพดิน ราคาคลิกที่นี่
แก้เปรี้ยว ช่วยเขียว เยียวยาดิน
ขนาด 25 กก.

ส่วนประกอบ
แคลเซียมออกไซต์           35%
แมกนีเซียมออกไซต์         25%
ซิลิกอนไดออกไซต์           10%

·        แก้ปัญหาการขาดธาตุอาหาร แคลเซียม แมกนีเซียม และซิลิกอน ในดิน
·        เพิ่มค่าการดูดซับ และความสามารถการแลกเปลี่ยน CEC ของดิน
·        เพิ่มการสังเคราะห์แสง การสร้างสารเขียว และการแบ่งเซลล์ของพืช
·        เพิ่มความสามารถการทำงานของจุลินทรีย์ ปัองกันโรค และแมลงเข้าทำลาย

สนใจผลิตภัณฑ์ หรือสนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย

ติดต่อ ฟาร์มเกษตร
คุณ ปิยะมาศ

โทร: 0894599003
6.00 น. - 21.00 น.

แฟกซ์: 045-511273
e-mail: [email protected]
[email protected]
อ่าน:3426
ข้าวโพดนครสวรรค์3 พันธุ์ใหม่ผลผลิตสูงทนโรค 
นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5 จังหวัดชัยนาท เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตร โดยศูนย์วิจัยพืชไร่นครสรรค์ ประสบผลสำเร็จในการวิจัย และพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 ซึ่งเป็นข้าวโพดที่นอกจากจะให้ผลผลิตสูงแล้ว ยังทนต่อความแล้ง ทนต่อโรคราน้ำค้าง โรคราสนิม และยังหักฝักเก็บเกี่ยวด้วยมือง่าย รวมทั้งสีของข้าวโพดสวยเป็นที่ต้องการของเกษตรกรและตลาดอีกด้วย 

นายพิเชษฐ์ กรุดลอยมา นักวิชาการเกษตร 8 ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ กล่าวว่า เป็นผู้วิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมนครสวรรค์ 3 ขึ้นมา เป็นการวิจัยต่อยอดจากข้าวโพดลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 2 ที่มีคุณสมบัติทนต่อโรคราน้ำค้าง โรคราสนิม และเก็บเกี่ยวง่ายให้ผลผลิตสูงถึง 1,147 กิโลกรัมต่อไร่ และมีคุณสมบัติทนต่อความแห้งแล้ง เมื่อนำไปทดลองปลูกเกษตรกรจึงมีความต้องการสูง แต่ยังไม่สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ให้พียงพอกับความต้องการ จึงจัดทำโครงการนำร่องกับกลุ่มเกษตรกรและภาคเอกชนรายย่อย นำไปผลิตเมล็ดพันธุ์ คาดว่าปี 2552 จะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 ประมาณ 350 ตัน. 
อ่าน:3505
3555 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 355 หน้า, หน้าที่ 356 มี 5 รายการ
|-Page 355 of 356-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 | 352 | 353 | 354 | 355 | 356 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
สูตรกำจัดหนอน กำจัดหนอนลำไย กำจัดหนอนลิ้นจี่
Update: 2564/08/17 00:32:54 - Views: 3568
การป้องกันกำจัด ไฟทอฟธอร่า ในแปลง มะพร้าว ด้วยสารอินทรีย์ ไอเอส
Update: 2566/01/08 08:56:23 - Views: 3442
โรคสับปะรด ที่เกิดจากเชื้อราต่างๆ ทำให้เกิดอาการสับปะรดยอดเน่า รากเน่า ใบไหม้ ยกตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้
Update: 2566/11/08 06:16:07 - Views: 9698
ราสนิมขาวผักบุ้ง โรคผักบุ้งใบไหม้ และโรคราต่างๆ สร้างความเสียหายต่อผลผลิต ควบคุม ป้องกันกำจัดก่อนเกิดความเสียหาย
Update: 2566/11/04 09:56:30 - Views: 9159
ดูแลยางพาราเล็ก และยางพาราหลังเปิดกรีด ใช้ ฮิวมิคFK
Update: 2567/11/04 07:56:25 - Views: 24
ทุเรียนใบไหม้ ใบจุด แอนแทรคโนส โคนเน่า ราแป้ง ราสีชมพู โรคต่างๆจากเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส
Update: 2562/08/18 15:11:54 - Views: 4550
โรคราแป้งองุ่น และ โรคราน้ำค้างองุ่น
Update: 2564/08/21 23:42:16 - Views: 3547
มังคุด โตไว ใบเขียว เร่งราก เร่งดอก ขยายขนาด ผลใหญ่ ผลดก เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ย สตาร์เฟอร์
Update: 2567/03/26 15:36:09 - Views: 3490
ปุ๋ยลำไย ตรา FK ปุ๋ยน้ำสำหรับลำไย ความสำคัญของปุ๋ยตรา FK ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตลำไย
Update: 2565/12/18 07:33:42 - Views: 3394
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าด้วงกุหลาบ ในข้าวโพด และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/26 12:59:52 - Views: 3439
คะน้า ใบไหม้ ใบจุด ราน้ำค้าง กำจัดโรคคะน้า จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/19 10:43:55 - Views: 3555
การจัดการหนอนศัตรูพืชในต้นบวบ: วิธีป้องกันและควบคุมเพื่อส่งเสริมผลผลิตที่ยั่งยืน
Update: 2566/11/23 10:14:15 - Views: 3400
ปุ๋ย FK-1 สุดคุ้ม พิสูจน์มาแล้วกว่า 10 ปี ใช้ได้กับพืชทุกชนิด โตไว ใบเขียว เปิดตาดอก เร่งราก เพิ่มผลผลิต
Update: 2566/02/12 08:41:13 - Views: 3388
ผักสลัด ใบจุด กำจัดโรคผักสลัด จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/06 10:16:58 - Views: 3399
6 บริษัทไทย ติดอันดับสุดยอด 200 บริษัท ประจำปี 2555 โดย Forbes Asia
Update: 2565/11/14 06:50:43 - Views: 3485
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ย ในหน่อไม้ฝรั่ง และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/14 13:05:37 - Views: 3422
การป้องกัน กำจัดเพลี้ย กำจัดแมลงศัตรูพืช ด้วย ชีวภัณฑ์ บิวเวอเรีย และ เมธาไรเซียม ได้ผลดี และปลอดภัย
Update: 2566/11/10 06:26:57 - Views: 9226
อะมิโนโปรตีนจำเป็นสำหรับพืช 18 ชนิด อะมิโนแรปเตอร์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/20 15:22:19 - Views: 3591
การดูแลยางพาราตลอดปี ต้นยางพาราเติบโตแข็งแรง ปริมาณน้ำยางเพิ่มขึ้น
Update: 2567/11/06 09:41:37 - Views: 24
ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ ..ทานตะวัน..
Update: 2565/11/14 12:51:38 - Views: 3436
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022