<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
ปลูกแตงโมไร้สารเคมี พลิกวิกฤตแล้ง รายได้ 6 หมื่นบาทต่อไร่เป็นอย่างน้อย เกษตรกรเมืองพัทลุง
เกษตกรเมืองพัทลุงพลิกวิกฤตแล้งเป็นโอกาสปลูกแตงโมไร้สารเคมีขายได้ไร่ละไม่ต่ำกว่า 6 หมื่นบาท
นายสุวิทย์ ดิษโต เกษตรกรเจ้าของสวนแตงโม อยู่บ้านเลขที่ 129 ม.1 ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง กล่าวว่า ได้ร่วมกับชาวบ้านใกล้เคียงงปลูกแตงโม พันธุ์กินรี C28 จนสามารถสร้างรายได้พลิกฟื้นตัวเองได้เร็วเพียงใช้ระยะเวลาไม่นานนัก ซึ่งแตงโมที่เลือกปลูกนั้นเป็นพันธุ์กินรี C28 เป็นพืชที่ไม่ชอบสภาพอากาศที่ฝนตกชุก จึงเหมาะที่จะปลูกในช่วงหน้าร้อนเพราะรสชาติของแตงโมจะมีรสชาติที่หวานน่ารับประทานและมีสีแดงสด
การปลูกแตงโมแต่ละพันธุ์ก็จะไม่แตกต่างกัน ซึ่งควรที่จะเริ่มจากเตรียมดินไถเปิดหน้าดินรอบแรกลึกประมาณ 1 ฟุต ตากดินให้แห้งไว้ 2 สัปดาห์ ใช้รถไถย่อยดินอีกหนึ่งรอบ ระยะปลูกแตงโมนั้นส่วนใหญ่จะใช้ความกว้างประมาณ 6 เมตร (แต่ถ้าช่วงหน้าแล้ง กว้าง 5 เมตรหน้าฝน กว้าง 7 เมตร) ทำแถวคู่ระยะปลูกระหว่างหลุม 60 เซนติเมตรระหว่างแถวห่าง 6 เมตรปรับปรุงดินโดยใส่ปุ๋ยคอก 1 ตัน ต่อไร่ หว่านปูนขาวให้ทั่วเพื่อปรับสภาพดิน ใช้รถไถเล็กยกแปลงกรีดร่อง ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ( 16-16-16)จำนวน30กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่เกิน 50 กิโลกรัมขึ้นอยู่กับสภาพพื้นดินว่ามีความสมบูรณ์แค่ไหน จากนั้นไถยกร่องโดยรถไถเดินตามยกแปลง หว่านเมล็ดหลุมละ3 เมล็ด ใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ คัดให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม
นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า การที่จะเพิ่มผลผลิตได้ คือการตัดแต่งแขนง หรือเถาการปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตและคุณภาพสูง และ จำเป็นต้องมีการตัดแต่งแขนง เพื่อให้เกิดการสมดุลในการสร้างและใช้อาหาร โดยให้ต้นแม่มีการเจริญเติบโตเต็มที่การปล่อยให้เถาแขนงและผลเจริญในระยะแรกจะทำให้เกิดการแย่งอาหารส่งผลให้ยอดของต้นแม่ชะลอหรือชะงักการเจริญ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตและคุณภาพตํ่า และการบำรุงก็ไม่ยุ่งยาก ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีผสมเพียงเล็กน้อย แตงโมจะเริ่มออกดอกและติดผลเป็นลูกเล็กๆ ตามเถาที่เลื้อยบนดินในแปลงต้องมั่นดูแลเรื่องโรคและแมลง ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตแตงโมกินรีนั้นประมาณ 60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้
"ในพื้นที่ ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว ที่ปลูกนั้นเป็นพื้นที่ ที่เหมาะสม ช่วงนี้เป็นช่วงที่เหมาะแก่การเพาะปลูกเพราะ ไม่มีโรคแมลงเข้ารบกวน และสามารกเก็บผลผลิตขายสร้างรายได้ดี โดยช่วงนี้จะขายกันอยู่ที่ กก.ละ12 บาท ซึ่งราคาจะสูงกว่าพื้นที่อื่น เนื่องจากชาวบ้านปลูกโดยไม่ใช้สารเคมีแต่อย่างใด แถมยังให้ผลผลิตสูง และเป็นที่ต้องการของตลาดสามารถขายได้ไร่ละไม่ต่ำกว่า 6 หมื่นบาทเลยทีเดียว"
ข้อมูลจาก posttoday.com/social/local/76834