ลักษณะอาการติดโรค สามารถสังเกตอาการได้เด่นชัดที่ก้านใบ จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ตามความยาวของก้านใบ แผลบริเวณที่เป็นทางเข้าของเชื้อมักมีหยดน้ำยางเล็กๆ เกาะติดอยู่ การเข้าทำลาย ที่ก้านใบนี้เองเป็นผลทำให้เกิดใบร่วงทั้งที่ใบยังมีสีเขียวสดอยู่ เมื่อนำมาสะบัดเบาๆ ใบย่อยจะหลุดออกจากก้านใบโดยง่ายต่างจากการร่วงโดยธรรมชาติ บนแผ่นใบย่อยเชื้ออาจเข้าทำลายที่ปลายใบหรือขอบใบ เกิดแผลสีน้ำตาล มีลักษณะช้ำน้ำขยายติดต่อกันเป็นแผลใหญ่ทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแดงก่อนที่จะร่วง นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อนี้สามารถเข้าทำลายฝักยางได้ทุกระยะทำให้ฝักเน่า ถ้าความชื้นในอากาศสูงจะพบเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุมฝัก ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้นไม่แตกและร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งเชื้อโรคในปีถัดมา และได้กล่าวเสริมถึงวิธีการป้องกันเชื้อไฟทอปธอราว่า เกษตรกรไม่ควรปลูกพืชที่เป็นที่อาศัยของเชื้อ เช่น ส้ม ทุเรียน พริกไทย ปาล์ม โกโก้ เป็นพืชแซมยาง เนื่องจากอาจนำเชื้อมาระบาดสู่ต้นยางได้ และควรปลูกยางพันธุ์ต้านทานโรค เช่น RRIT 251 และ RRIT 408 หมั่นกำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยางให้อากาศถ่ายเท สะดวกเพื่อลดความชื้นในสวนยาง
.
ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สำหรับป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ฉีดพ่นใบ ทรงพุ่ม ลำต้น รอบโคน และพ่นลงดิน เพื่อยับยั้งและป้องกันโรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
สนใจ โทรสั่งซื้อ 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset หรือ ไอดี PrimPB
สั่งทางเฟสบุ๊คได้เช่นกัน https://www.facebook.com/farmkaset
หรือลาซาด้า https://www.lazada.co.th/..