[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - โรคพืช
1131 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 113 หน้า, หน้าที่ 114 มี 1 รายการ

ไบโอเทค สวทช. พัฒนา แบคทีรีโอฟาจ ทำลายเชื้อแบคทีเรียก่อโรคพืชในดิน
ไบโอเทค สวทช. พัฒนา แบคทีรีโอฟาจ ทำลายเชื้อแบคทีเรียก่อโรคพืชในดิน
ไบโอเทค พัฒนา แบคทีรีโอฟาจ หรือ ฟาจ (phage) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีประสิทธิภาพในการเข้าทำลายเชื้อแบคทีเรียก่อให้เกิดโรคในพืช เพื่อใช้เป็นสารชีวภัณฑ์ในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช ทดแทนการใช้สารเคมี เพื่อความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค

โรคเหี่ยวเขียวหรือโรคเหี่ยว (bacterial wilt disease) มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย ราลสโตเนีย โซลานาซีเอรัม (Ralstonia solanacearum) จัดเป็นเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดโรคเหี่ยวกับพืชมากกว่า 200 ชนิด โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น มะเขือเทศ มะเขือ มันฝรั่ง พริก พริกไทย กล้วย ขิง ถั่วลิสง และยาสูบ เป็นต้น โดยจากสถิติขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โรคเหี่ยวเขียวสร้างความเสียหายเป็นมูลค่ากว่า 35_000 ล้านบาททั่วโลก สำหรับในประเทศไทยพบว่าโรคเหี่ยวเขียวสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตมะเขือเทศและพริกคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 540 ล้านบาทต่อปี เชื้อแบคทีเรียราลสโตเนีย โซลานาซีเอรัม ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสามารถอาศัยอยู่ในดิน

โดยจะเข้าทำลายพืชทางราก ตามรอยแผลที่เกิดจากการทำลายของแมลง ไส้เดือนฝอย รอยฉีกขาดของราก หรือแผลที่เกิดในธรรมชาติ และสามารถแพร่ระบาดไปกับน้ำได้ดีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุกจะมีการระบาดของโรครุนแรงและรวดเร็ว รวมทั้งเชื้อแบคทีเรียนี้สามารถติดไปกับหัวพันธุ์โดยแอบแฝงอยู่ในหัวพันธุ์และอยู่ข้ามฤดูได้ การป้องกันกำจัดทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเชื้อสามารถอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน ทั้งยังมีพืชอาศัยกว้าง และมีความหลากหลายของสายพันธุ์ ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันกำจัด ทำให้เชื้อแบคทีเรียนี้ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในแหล่งปลูกมะเขือเทศและพริกทั่วประเทศ นับได้ว่าส่งผลกระทบต่อพืชเศรษฐกิจของไทยเป็นอย่างมาก

อุดม แซ่อึ่ง นักวิจัย ทีมวิจัยการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้สารชีวโมเลกุล ไบโอเทค ให้ข้อมูลว่า การป้องกันและควบคุมโรคเหี่ยวในปัจจุบันทำได้โดยการทำเขตกรรม เช่น การไถดินและผึ่งดินให้แห้งก่อนการปลูก การปรับสภาพดินด้วยปูนขาว การกำจัดต้นพืชที่แสดงอาการ เป็นต้น ซึ่งการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก เนื่องจากสารเคมีไม่สามารถเข้าถึงเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดินได้ ดังนั้นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันและควบคุมโรคเหี่ยวได้ดี คือการใช้แบคทีรีโอฟาจ (bacteriophage) ซึ่งสามารถเข้าทำลายและย่อยสลาย (lysis) แบคทีเรียก่อโรคพืชได้โดยตรง นับเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพสูง ในการป้องกันและควบคุมโรคพืชหลากหลายชนิดรวมทั้งโรคเหี่ยวด้วย

อุดม ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จากการศึกษาร่วมกับ อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์ และทีมวิจัยไวรัสพืชและแบคทีรีโอฟาจ ไบโอเทค พบว่า คุณสมบัติที่สำคัญของแบคทีรีโอฟาจ ซึ่งเหมาะกับการนำมาใช้ควบคุมแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคในพืช คือ แบคทีรีโอฟาจ มีความเฉพาะเจาะจงกับแบคทีเรียแต่ละชนิด (specificity) โดยแบคทีรีโอฟาจจะไม่ทำลายแบคทีเรียที่ไม่ใช่เป้าหมาย ซึ่งหมายความว่า แบคทีรีโอฟาจที่พัฒนาขึ้นนี้จะไม่ทำลายแบคทีเรียชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ที่อยู่ตามธรรมชาติ และแบคทีรีโอฟาจจะหยุดเพิ่มจำนวนทันที เมื่อเชื้อแบคทีเรียเป้าหมายหมดไป แบคทีรีโอฟาจไม่เป็นพิษต่อพืช สัตว์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นทางเลือกสำหรับการเกษตรแบบยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม การใช้แบคทีรีโอฟาจยังคงมีอุปสรรคและปัญหาสำคัญ คือ ความคงทนของแบคทีรีโอฟาจ (phage stability) เมื่อฟาจต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกในสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความเป็นกรดด่าง สภาพเกลือในดิน เป็นต้น โครงสร้างของแบคทีรีโอฟาจอันประกอบด้วยโปรตีนและดีเอ็นเอ จึงแตกสลายได้ง่าย (degradation) จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาความคงทนของแบคทีรีโอฟาจ โดยใช้งานวิจัยและเทคโนโลยีทั้งทางชีววิทยา เคมีและฟิสิกส์ อาทิ การศึกษาโครงสร้างของแบคทีรีโอฟาจในสภาวะต่างๆ การศึกษาความแข็งแรงเชิงโครงสร้างของแบคทีรีโอฟาจ

การศึกษากลไกการเข้าทำลายเชื้อแบคทีเรียของแบคทีรีโอฟาจ เป็นต้น เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านความคงทนของแบคทีรีโอฟาจ และปัจจัยต่างๆ ที่มีผล โดยองค์ความรู้นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาความคงทนของแบคทีรีโอฟาจให้สูงขึ้น ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการเก็บรักษาแบคทีรีโอฟาจ (storage) เช่น สูตรการเก็บรักษา (storage formulation) และการนำแบคทีรีโอฟาจไปใช้งานจริงในพื้นที่เกษตรกรรม (field utilization) ต่อไปในอนาคต

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ยาแก้โรคสนิมขาว โรคราขาวในผักบุ้ง ยากำจัดหนอนผักบุ้ง ยากำจัดเพลี้ยผักบุ้ง และปุ๋ยเร่งโต สำหรับผักบุ้ง
ยาแก้โรคสนิมขาว โรคราขาวในผักบุ้ง ยากำจัดหนอนผักบุ้ง ยากำจัดเพลี้ยผักบุ้ง และปุ๋ยเร่งโต สำหรับผักบุ้ง
เพลี้ยอ่อนผักบุ้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Aphis gossypii (Aphidiae) เพลี้ยอ่อนจะเข้าดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ผลผลิตผักบุ้งเสียหาย ตัวอ่อนมีสีเขียวเข้ม บางครั้งพบตัวอ่อนสีเหลืองซีด หากพบใต้ใบหนาแน่น

ป้องกัน กำจัดเพลี้ยอ่อนผักบุ้ง ด้วย มาคา

ฉีดพ่น มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Acherontia lachesis (Sphingidae) หนอนผีเสื้อจะกัดกินใบผักบุ้ง จนเกิดความเสียหาย ลักษณะตัวหนอน จมีสีเขียวแถบเหลือง ของฟ้า โตเต็มวัย ยาวประมาณ 10-12 ซม.

ป้องกัน กำจัดหนอนในผักบุ้ง กำจัดหนอนต่างๆ ด้วย ไอกี้-บีที

ฉีดพ่น ไอกี้-บีที ในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

โรคราสนิมขาว ในผักบุ้ง

โรคราสนิมขาว สร้างความเสียหายให้กับผักบุ้ง ทั้งผักบุ้งไทย และผักบุ้งจีน สามารถพบโรคนี้ได้ทั่วไป

อาการของโรคราสนิมขาว จะเกิดจุดเหลืองซีด บริเวณใบผักบุ้ง หลังจากนั้นจะเริ่มเป็นแผลสีขาว อยู่รวมกันเป็นกระจุก ส่งผลให้ผักบุ้งโตช้า ได้ผลผลิตน้อย และดูไม่สวยงาม ไม่น่าทาน ทำให้ขายยาก ราคาตก

สาเหตุของโรคราสนิมขาว

เกิดจากเชื้อรา Albugo ipomoeae-aquaticae ซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ดี หรือลุกลามเข้าทำลายได้มาก ในช่วงอุณหภูมิ 10-35 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภมิทั่วไปของไทย

ป้องกัน กำจัดโรคราสนิมขาว ในผักบุ้ง ยับยั้งโรคผักบุ้งต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ด้วย ไอเอส

ฉีดพ่น ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ปุ๋ยสำหรับเร่งโต ฉีดพ่นด้วย FK-1 ช่วยให้พืชโตไว ได้ผลผลิตสูงขึ้น

FK-1 ใช้เร่งโต เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง เพิ่มผลิต

สามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน กับยารักษาโรคพืช และยากำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช หรือยากำจัดหนอน จะช่วยให้พืช ฟื้นตัวได้เร็ว จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง และกลับมาเจริญเติบโต ได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง

อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)

ดาวเรืองใบไหม้ ใบแห้ง ดาวเรืองลำต้นเน่า มีสาเหตุจากโรคเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส
ดาวเรืองใบไหม้ ใบแห้ง ดาวเรืองลำต้นเน่า มีสาเหตุจากโรคเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส
ดาวเรืองใบไหม้ ใบแห้ง ดาวเรืองลำต้นเน่า มีสาเหตุจากโรคเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส
ดาวเรือง โรคต่างๆของดาวเรือง ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา แก้ได้ด้วย ไอเอส ดาวเรืองใบไหม้ ดาวเรืองใบแห้ง ลำต้นเหี่ยว เน่า และโรคต่างๆจากเชื้อรา

.

โรคเหี่ยวเหลือง เกิดจากเชื้อรา FUSARIUM
อาการ เริ่มจากใบดาวเรืองที่อยู่บริเวณโคนต้นแสดงอาการใบเหลือง แล้วแห้งลามขึ้นมาสู่ส่วนบนจนในที่สุดใบจะเหลืองและแห้งตายไปทั้งต้น ส่วนของลำต้นจะมีลักษณะแบนลีบและเหี่ยวไปด้วย ลำต้นบริเวณคอดินหรือเหนือดินเล็กน้อย มักมีสีแดงหรือสีคล้ำกว่าส่วนอื่น ท่อน้ำเลี้ยงแห้งเป็นสีน้ำตาล (เชื้อโรคนี้จะเริ่มเข้าทำลายในช่วงหลังจากย้ายปลูก 40-45 วันหลังย้ายปลูกช่วงดาวเรืองเป็นตุ่มตาดอก) การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ฉีดพ่นสลับกับคาร์เบนดาซิมประมาณสัปดาห์ละครั้ง และถ้าพบมากต้นที่เป็นโรคและตายในแปลงต้องรีบกำจัดทิ้ง
.

โรคดอกเน่า เกิดจากเชื้อรา COLLETOTRICHUM SP.
อาการ ดอกที่เกิดโรคจะเน่าเป็นสีน้ำตาล โดยเฉพาะถ้าหากเกิดในระยะที่ดอกกำลังเริ่มเป็นดอกตูมจะทำให้ดอกไม่สามารถบานได้ หากเชื้อเข้าทำลายในระยะที่ดอกบานจะพบว่ากลีบดอกจะมีสีน้ำตาลลามเข้าไปทาง โคนกลีบ ทำให้ดอกมีสีน้ำตาลดำ เชื้อเข้าทำลายจากดอกลามสู่ลำต้น (ระบาดในช่วงฤดูฝนและในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง)

.

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สำหรับป้องกันและยับยั้งเชื้อรา สกัดจากพืช ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค ปลอดสารพิษ ไม่มีสารตกค้าง ใช้ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและยับยั้งโรคพืชทุกชนิด ที่มีสาเหตุมากจากเชื้อรา

.

สนใจ โทรสั่งซื้อ 090-592-8614

ไลน์ไอดี FarmKaset หรือ ไอดี PrimPB

สั่งทางเฟสบุ๊คได้เช่นกัน https://www.facebook.com/farmkaset

หรือลาซาด้า https://www.lazada.co.th/..

ไรศัตรูอ้อย
ไรศัตรูอ้อย
ช่วงสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน เกษตรกรชาวไร่อ้อย ระวังการระบาดของไรแมงมุมอ้อย (Sugarcane spider mite : Oligonychus simus Baker and Pritchard)

ไรแมงมุมอ้อย มักจะระบาดทำความเสียหายแก่อ้อยในระยะเริ่มปลูกจนถึงอายุประมาณ 4-5 เดือน โดยจะพบระบาดมากในช่วงสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงติดต่อกันเป็นเวลานาน การระบาดอาจเกิดขึ้นได้โดยลม การสัมผัสกันของใบอ้อยที่อยู่ติดกัน นก แมลง หรือมนุษย์พาไป

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของไรแมงมุม จะดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่บริเวณใต้ใบ และมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม สร้างเส้นใยเป็นเส้นบางๆ ขึ้นปกคลุมผิวใบบริเวณที่ไรดูดทำลายอยู่ ใบอ้อยที่ถูกทำลายในระยะแรกจะมีลักษณะเป็นจุดประสีขาวเล็กๆ กระจายอยู่ตามแนวเส้นกลางใบ ต่อมาแผลบริเวณดังกล่าวนี้จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง หากการทำลายยังคงดำเนินต่อไปอย่างรุนแรง และต่อเนื่อง รอยแผลก็จะขยายใหญ่ขึ้น และใบอ้อยจะมีอาการแห้งตลอดทั่วทั้งใบ ซึ่งอาจมีผลทำให้ต้นอ้อยชะงักการเจริญเติบโตได้

วงจรชีวิตของไรแมงมุมอ้อย

ไรแมงมุมอ้อยเพศเมียสามารถเจริญเติบโต จากระยะไข่จนถึงระยะตัวเต็มวัยได้ภายใน 7 วัน โดยมีระยะไข่ 3 วัน ตัวอ่อนเมื่อฝักออกจากไข่จะเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบ 3 ครั้ง ตัวอ่อนระยะที่ 1_ 2 และ 3 ใช้เวลาในการเจริญนาน 2_ 1.1 และ 1 วัน ตามลำดับ ตัวเต็มวัยเพศเมียมีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 14 วัน และสามารถวางไข่ได้ตลอดชั่วอายุขัย เฉลี่ยสูงถึง 55 ฟอง สำหรับไรตัวผู้สามารถเจริญเติบโตนับจากระยะไข่จนถึงตัวเต็มวัยได้ภายในเวลา 8 วัน โดยมีระยะไข่ 3 วัน ตัวอ่อนเมื่อฝักออกจากไข่ จะเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบ 3 ครั้ง เช่นเดียวกัน ตัวอ่อนระยะที่ 1_ 2 และ 3 ใช้เวลาในการเจริญนาน 1.7_ 1.4 และ 1.6 วัน ตามลำดับ ตัวเต็มวัยตัวผู้ มีชีวิตอยู่ได้นาน 18 วัน ตัวเมียสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้โดยไม่ต้องได้รับการผสมพันธุ์จากไรเพศผู้ แต่ลูกที่เกิดจากตัวเมียที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จะเจริญเป็นไรเพศผู้ทั้งหมด ส่วนตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์จะได้ลูกทั้งเพศผู้และเพศเมียในอัตราส่วน 5 :1

ศัตรูธรรมชาติ

ด้วงตัวห้ำ Stethorus pauperculus Weise เป็นตัวห้ำทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย นอกจากนี้ยังพบไรตัวห้ำในวงศ์ Phytoseiidae ที่เป็นตัวห้ำของไรแมงมุมอ้อย

แหล่งข้อมูล : ไรศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร. 2543.

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น มาคา เพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟูบำรุง เสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากโรคพืช และแมลงศัตรูพืช และส่งเสริมการเจริญเติบโต
รับมือ โรคราน้ำค้าง ในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
รับมือ โรคราน้ำค้าง ในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
อากาศเย็นมีความชื้นสูงในตอนเช้า และอากาศร้อนในเวลากลางวันช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด อาทิ กวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม และบรอกโคลี ให้เตรียมรับมือการระบาดของโรคราน้ำค้าง ที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช จะพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน จากนั้นแผลจะขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบนของต้นพืช โดยมีอาการเริ่มแรกบริเวณด้านบนใบเป็นจุดแผลสีเหลือง หรืออาจเป็นปื้นสีเหลือง

เมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูงในตอนเช้า มักพบเส้นใยเชื้อราเป็นขุยสีขาวถึงเทาตรงแผลด้านใต้ใบ หากพบโรคระบาดรุนแรง แผลจะลามขยายใหญ่ทำให้เนื้อใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต่อมาใบจะเหลืองและแห้งตาย กรณีพบโรคในระยะต้นกล้า ใบเลี้ยงจะเกิดจุดแผลสีน้ำตาล ทำให้ต้นแคระแกร็นและตายในที่สุด ส่วนในกะหล่ำดอกและบรอกโคลี ถ้าพบเชื้อราเข้าทำลายรุนแรง ก้านดอกจะยืดและดอกอาจจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรงได้

เกษตรกรควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์สะอาดที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค และก่อนปลูกควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส (ต้มน้ำจนเดือดแล้วเติมน้ำอุณหภูมิปกติลงไปผสมอีก 1 เท่า) นาน 20-30 นาที หรือคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 35% ดีเอส อัตรา 10 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม จากนั้น เกษตรกรควรปลูกพืชให้มีระยะห่างกันพอสมควร ไม่เบียดแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสูง อากาศไม่ถ่ายเท และโรคระบาดได้รวดเร็ว

หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว เกษตรกรควรเก็บเศษซากพืชส่วนที่หลงเหลือในแปลง และหมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงนำไปทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดการสะสมเชื้อราสาเหตุโรค หลีกเลี่ยง การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำในพื้นที่แปลงเดิม ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน และควรทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์ทางการเกษตรที่ใช้กับต้นเป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่กับต้นปกติทุกครั้ง

หากพบโรคเริ่มระบาด ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ+เมทาแลกซิล-เอ็ม 64%+4% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งด้านบนใบและใต้ใบ ทุก 5-7 วัน

อังคณา ว่องประสพสุข : ข่าว

กรมวิชาการเกษตร

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกันกำจัด โรคราน้ำค้าง ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิต้านทาน และส่งเสริมผลผลิต
สวนเงาะเฝ้าระวังการเกิด โรคราดำเงาะ มักพบได้ในระยะที่ต้นเงาะเริ่มติดผลอ่อน
สวนเงาะเฝ้าระวังการเกิด โรคราดำเงาะ มักพบได้ในระยะที่ต้นเงาะเริ่มติดผลอ่อน
อากาศร้อน มีลมกระโชกแรง และมีฝนตกในบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนเงาะเฝ้าระวังการเกิดโรคราดำ มักพบได้ในระยะที่ต้นเงาะเริ่มติดผลอ่อน เริ่มแรกจะพบคราบราสีดำติดตามส่วนต่างๆ ของต้นเงาะ เช่น ใบ กิ่ง ก้านดอก ช่อดอก ขั้วผล และร่องขน หากมีคราบราดำที่บนใบ จะส่งผลให้พืชรับแสงได้ไม่เพียงพอ กรณีพบราดำขึ้นปกคลุมช่อดอก จะทำให้ไม่สามารถผสมเกสรได้ และมีดอกร่วง ถ้ามีราดำขึ้นปกคลุมผล จะทำให้ผิวผลไม่สวย ผลดูสกปรก จำหน่ายไม่ได้ราคา

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคราดำ หากพบโรคให้เกษตรกรพ่นด้วยน้ำเปล่าล้างคราบราดำที่ติดตามส่วนต่างๆ ของต้นเงาะ เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค จากนั้น ให้เกษตรกรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้นสะสม ไม่ให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค และทำลายแหล่งอาศัยของแมลงปากดูด

นอกจากนี้ มักพบเชื้อราสาเหตุโรคเจริญบนสารเหนียวที่แมลงปากดูดขับถ่ายไว้ในช่วงที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง โดยเพลี้ยแป้งบางชนิดอาจอาศัยอยู่ในดินบริเวณโคนต้นพืชหรือรากวัชพืช ซึ่งมีมดเป็นตัวพาหนะช่วยเคลื่อนย้ายตัวอ่อนของแมลงนำพาไปยังส่วนต่างๆ ของพืช ให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่งเงาะเพื่อลดปริมาณมด จากนั้น ให้ใช้เศษผ้าชุบน้ำมันเครื่องผูกรอบโคนต้น เพื่อป้องกันมดและเพลี้ยแป้งที่อาศัยอยู่ในดินไต่ขึ้นมาบนต้นเงาะ ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรเมื่อใช้ในแปลงที่มีการระบาดแล้ว เกษตรกรควรนำเครื่องมือมาทำความสะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุกครั้ง

ที่มา http://www.farmkaset..link..

มาคา ป้องกันกำจัดเพลี้ยต่างๆ แมลงพาหะของโรค
ไอเอส ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
FK-1 ฟื้นฟู บำรุง เสริมสร้างภูมิต้านทาน ส่งเสริมการเจริญเติบโตและ ผลผลิต
รับมือ โรคราน้ำค้างในข้าวโพด
รับมือ โรคราน้ำค้างในข้าวโพด
ในระยะนี้จะมีอากาศร้อนและมีฟ้าหลัวตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดให้หมั่นสังเกตอาการของโรคราน้ำค้าง มักพบแสดงอาการในระยะที่เริ่มเพาะปลูกจนถึงระยะที่ต้นข้าวโพดมีอายุประมาณ 30 วัน ซึ่งในระยะนี้ต้นข้าวโพดจะอ่อนแอต่อโรคนี้มาก โดยอาการของโรคจะพบได้ตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก เริ่มแรกจะพบจุดเล็กสีเขียวฉ่ำน้ำบนใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดบริเวณยอดมีสีเหลืองซีด หรือใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับเขียวแก่ ในเวลาเช้าที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและมีความชื้นสูง ด้านใต้ใบมักพบส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราเป็นผงสีขาวจำนวนมาก บางครั้งพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นแคระแกร็น เตี้ย ข้อถี่ ไม่มีฝักหรือมีฝักขนาดเล็ก ก้านฝักมีความยาวมากหรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ แต่ฝักจะไม่สมบูรณ์ เช่น มีจำนวนเมล็ดน้อย หรือไม่มีเมล็ดเลย

กรณีเริ่มพบการระบาดของโรค ให้เกษตรกรถอนต้นกล้าข้าวโพดที่แสดงลักษณะอาการของโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เนื่องจากเชื้อสาเหตุโรค สามารถเข้าทำลายต้นข้าวโพดได้ตั้งแต่ในระยะที่ข้าวโพดเริ่มงอก ซึ่งการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชหลังจากต้นข้าวโพดอายุ 20 วันขึ้นไป จะไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้ สำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน ในส่วนของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีพื้นที่ปลูกเป็นบริเวณกว้าง ให้เน้นการป้องกันกำจัดโดยใช้วิธีการคลุกเมล็ดพันธุ์

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกัน รักษาโรคราน้ำค้างในข้าวโพด ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟูข้าวโพด บำรุง เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคราน้ำค้าง รวมถึงส่งเสริมการเจริญเติบโต ตลอดจนเพิ่มผลผลิต
โรคราน้ำค้าง
โรคราน้ำค้าง
การดูแลรักษาต้นพืชให้ห่างไกลจากโรคพืชนับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการปลูกพืช โดยโรคพืชนั้นแต่ละฤดูกาลก็เกิดโรคแตกต่างกันไป แต่โรคที่สามารถระบาดได้ง่ายในช่วงฤดูฝน คือโรคที่เกิดจากเชื้อรา เนื่องจากภูมิอากาศเย็นขึ้นและมีความชื้นสูง ทำให้เหมาะแก่การเติบโตของเชื้อราบางชนิด โดยเฉพาะโรคราน้ำค้าง ซึ่งเป็นโรคที่สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายในต้นพืช และยังแฝงตัวอยู่ในใบพืชรวมทั้งเมล็ดพันธุ์ของพืชได้อีกด้วยครับ

โรคราน้ำค้างจะเกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่สามารถแพร่กระจายได้ด้วยลมและฝน ที่พัดพาเชื้อราของโรคราน้ำค้างไปติดต้นพืชชนิดอื่น และสัตว์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บริเวณพืชพันธุ์ที่เพาะปลูกยังสามารถนำพาเชื้อราดังกล่าวไปติดต้นพืชต้นอื่นได้อีกด้วยครับ เพื่อนๆ เกษตรกรจึงควรดูแลไม่ให้โรคราน้ำค้างระบาดในแปลงพืชเพราะอาจไปทำลายผลผลิตที่เพาะปลูกให้เสียหายและเสียราคาได้ครับ

โรคราน้ำค้างจะเกิดในต้นพืชได้ทั้งบริเวณใบ ดอก เมล็ดและลำต้น แต่ส่วนใหญ่จะพบว่าเกิดบริเวณใบ โดยใบจะมีลักษณะเป็นจุดสีเทาขาวก่อนที่จะกลายเป็นแผลสีเหลืองปนน้ำตาลเป็นจุดๆ กระจายเป็นวงกว้างและติดไปยังใบอื่น เชื้อราของโรคราน้ำค้างมักจะติดต่อในใบพืชที่อยู่ด้านล่างก่อนจะติดสู่ใบพืชปลายยอดและระบาดในแปลงพืชได้ เมื่อพืชเป็นโรคราน้ำค้างรุนแรงจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาและตายในที่สุด หากพบโรคราน้ำค้างในต้นกล้าจะส่งผลให้ต้นกล้าตายได้มากกว่าต้นพืชที่เจริญแล้ว เพราะพืชที่เจริญเติบโตจะมีภูมิคุ้มกันดีกว่าต้นกล้าครับ

วิธีการป้องกันโรคราน้ำค้างนั้นต้องเริ่มจากการคัดเลือกเมล็ดที่ไม่มีประวัติโรคหรือเชื้อรามาเพาะปลูกลงแปลง และเพื่อให้แน่ใจควรนำเมล็ดที่จะเพาะปลูกไปแช่ในน้ำร้อนอุณหภูมิ 50 องศาประมาณ 20-30 นาทีก่อนปลูกเพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ที่ติดมากับเมล็ด และควรปลูกผักโดยเว้นระยะห่างระหว่างต้นพอประมาณเพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี แสงแดดส่องถึงลำต้นและใบอย่างทั่วถึง พุ่มใบของแต่ละต้นมีระยะห่างจากกัน เพื่อป้องกันโรคติดต่อระหว่างพืชได้ และควรปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อป้องกันการติดโรคในแปลงผัก แปลงนา ต่างๆ และควรหมั่นสังเกตต้นพืชในแปลงของเราสม่ำเสมอ หากพบพืชที่มีอาการเป็นโรคน้ำค้างควรใช้สารป้องกันและกำจัดฉีดพ่นบริเวณต้นพืช

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกัน รักษาโรคราน้ำค้าง และ ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟูพืช บำรุง สร้างภูมต้านทาน และส่งเสริมผลผลิต
โรคราสนิม
โรคราสนิม
โรคราสนิม (Soybean Rust) ชื่อเชื้อสาเหตุ เชื้อรา Phakopsora pachyrhizi Sydow

ลักษณะอาการของโรค

อาการของโรคจะพบได้บนใบกิ่งก้านและลำต้น แต่ส่วนใหญ่จะพบบนใบอาการครั้งแรกจะสังเกตเห็นได้ โดยใต้ใบจะมีจุดสีน้ำตาลเทาเล็ก ๆ โดยจะเริ่มจากใบที่อยู่ด้านล่าง ๆ ของลำต้น จุดนี้จะขยายขึ้นมีลักษณะนูนดูคล้ายผงสีน้ำตาลคล้ายสีสนิมเหล็ก ซึ่งอาจพบได้ทั้งด้านบนและด้านใต้ใบ แต่จะพบเห็นได้ชัดเจนที่ด้านใต้ใบ (ภาพที่ 1) ในระยะหลังนี้เมื่อลองใช้มือลูบที่บริเวณจุดนูนเหล่านี้จะพบผงสปอร์สีน้ำตาลคล้ายสนิมเหล็กติดมือมา ใบถั่วเหลืองที่เป็นโรคมาก ๆ จะมีอาการเหลือง แห้ง และจะล่วงก่อนกำหนด อาจทำให้ฝักและเมล็ดที่ได้จะมีขนาดเล็กลง ผลผลิตลดลง

อาการของโรคราสนิมในระยะเริ่มแรกจะใกล้เคียงกับโรคใบจุดนูน ทำให้เกิดการสับสนในการวินิจฉัยได้ อย่างไรก็ตามหากดูด้วยแว่นขยายจะพบว่าเนื้อเยื่อรอบจุดแผลของโรคราสนิม จะไม่มีลักษณะช้ำน้ำให้เห็น และลักษณะของจุดแผลจะค่อนข้างแหลม

การแพร่ระบาด

โรคราสนิมแพร่ระบาดได้ดีในสภาพพื้นที่ที่มีความชื้นสูง อุณหภูมิค่อนข้างต่ำ โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 18-21 องศาเซลเซียส ในการแพร่ระบาดจะอาศัยลมเป็นตัวการพัดพาสปอร์จากต้นถั่วเหลืองที่เป็นโรค เชื้อนี้ไม่สามารถอาศัยอยู่ในเมล็ด แต่สปอร์อาจปะปนไปกับเมล็ดพันธุ์ได้

การป้องกันกำจัด

1. ใช้ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60_ สจ.4 และ สจ.5 ปลูกในแหล่งและฤดูที่มีโรคนี้ระบาดมาก ถั่วเหลืองทั้ง 3 พันธุ์ดังกล่าวมีความทนทานต่อโรคราสนิมดีกว่าพันธุ์แนะนำอื่น ๆ

2. หลีกเลี่ยงการปลูกถั่วเหลืองปลายฤดูฝน

3. ไม่ควรปลูกถั่วเหลืองช้ำในที่เดิมตลอดปี

4. ในช่วงระยะออกดอกและเริ่มมีฝักเล็ก ควรหมั่นตรวจแปลง หากพบถั่วเหลืองแสดง อาการของโรคราสนิม และสภาพอากาศชื้น อุณหภูมิค่อนข้างต่ำ อาจใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อราฉีดพ่น ได้แก่ mancozeb_ oxycarboxin_ piperazin และ triadimefon

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ป้องกันกำจัดโรคราต่างๆ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา

เร่งการเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทาน เพิ่มผลผลิต ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน

สามารถผสม ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้
โรคราสนิมของไม้ดอก บางชนิด ในประเทศไทย
โรคราสนิมของไม้ดอก บางชนิด ในประเทศไทย
ทำการเก็บตัวอย่างโรคราสนิมบนใบพืช ชบา ทานตะวัน พิกุล ลั่นทม และนางแย้ม นำไปบันทึกข้อมูลด้วยกล้องดิจิตอลและเครื่องสแกนเนอร์แล้วถ่ายภาพเชื้อจากสไลด์เชื้อราสาเหตุด้วยกล้องดิจิตอลที่ติดตั้ง microscope adapter นำข้อมูลภาพลักษณะอาการโรคและเชื้อสาเหตุไปประกอบข้อมูลอื่นๆในเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้โปรแกรม Microsoft word จัดหน้ากระดาษขนาด A4 ให้ข้อมูลภาพลักษณะอาการของโรค และภาพลักษณะสำคัญของเชื้อโรคประกอบด้วยด้วยข้อมูลอื่นๆของตัวอย่างโรคและแนะแนวทางในการป้องกันกำจัดโรค ประโยชน์ที่ได้รับ นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนวิชาด้านโรคพืช เช่นวิชาการวินิจฉัยโรคพืช ข้อมูลที่ได้ใช้เผยแพร่ให้เกษตรกรและนักวิชาการเกษตรได้เรียนรู้ชนิดของโรค เพื่อการควบคุมโรคพืชได้ง่ายขึ้น

ผลการวิจัยตรวจพบเชื้อราสนิมและส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อ ดังนี้

โรคราสนิมชบา : Puccinia sp พบระยะ uredinium_ urediniospore และราปฏิปักษ์ Darluca sp.
โรคราสนิมทานตะวัน : Puccinia helianthพบระยะ uredinium และ urediniospore
โรคราสนิมพิกุล : Maravalia mimusops พบระยะ uredinium และ urediniospore
โรคราสนิมลั่นทม : Coleosporium plumeriae. พบระยะ uredinium และ urediniospore
โรคราสนิมนางแย้ม : Endophyllum superficiale (Coleosporium clerodendri) พบ ระยะ uredinium และ urediniospore
ข้อมูลของโรคราสนิมทั้ง 5 ชนิดเมื่อรวบรวมในกระดาษขนาด A4 ดังภาพแสดง
ชื่อโรค ราสนิม (Rust) ชื่อพืช ชบา (Shoe Flower) ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus rosa-sinensis L.


คำอธิบายภาพ 1) ลักษณะอาการของโรค 2) ภาพขยายอาการของโรค 3) กลุ่มของ urediniospore ซึ่งเกิดอยู่ใน uredinium 4) กลุ่ม pycnidium ของ เชื้อรา Daluca filum ที่เข้าทำลาย ราสนิม 5) กลุ่มของสปอร์ (urediniospore)
ลักษณะอาการ : ระยะแรกเป็นจุดสีเหลืองอ่อนเล็กๆ บนใบ ต่อมาแผลจะขยายตามเส้นใบเป็นขีดเส้นสีน้ำตาลเข้มหรือสีสนิมรอบๆ จุดเป็นสีเหลืองอ่อนถ้ารุนแรงแผลจะติดต่อกันทั้งใบจนใบกลายเป็นสีแดงสนิมด้านล่างใบจะเป็นแผลนูนขรุขระกว่าด้านบนต่อใบเป็นสีน้ำตาลแห้งตายทั้งใบ
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Puccinia sp.
ลักษณะสำคัญของเชื้อสาเหตุ : เชื้อราอยู่ในระยะ uredinium ซึ่งสร้าง urediniospore ที่มีรูปร่างแบบ ellipsoid สีเหลืองส้มถึงสีน้ำตาล โรคราสนิมบางชนิดมักถูกทำลายอย่างรุนแรงโดยศัตรูธรรมชาติ เป็นเชื้อรา ชื่อ Darluca filum ทำลายสปอร์ระยะ urediniospore ทำให้ชะงักการสร้างสปอร์ จึงเป็นการควบคุมทางชีววิธีทางธรรมชาติอีกวิธีหนึ่ง
สถานที่พบ : จังหวัดกรุงเทพมหานคร วันที่ : 2 สิงหาคม 2549
วิธีการป้องกันกำจัด : เก็บใบที่เป็นโรคเผาทิ้ง ถ้าเป็นรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดราสนิม เช่น Triadimefon เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง : -
ชื่อโรค ราสนิม (Rust) ชื่อพืช ทานตะวัน (Sun Flower) ชื่อวิทยาศาสตร์ Helianthus annuus


คำอธิบายภาพ 1) ลักษณะอาการของโรค 2) ภาพขยายอาการของโรค 3) กลุ่มของ urediniospore ซึ่งเกิดอยู่ใน uredinium 4) และ 5) กลุ่มของสปอร์ (urediospore)
ลักษณะอาการ : ระยะแรกเป็นจุดสีเหลืองอ่อนเล็กๆ บนใบ ต่อมาแผลจะขยายตามเส้นใบเป็นขีดเส้นสีน้ำตาลเข้มหรือสีสนิมรอบๆ จุดเป็นสีเหลืองอ่อนถ้ารุนแรงแผลจะติดต่อกันทั้งใบจนใบกลายเป็นสีแดงสนิมด้านล่างใบจะเป็นแผลนูนขรุขระกว่าด้านบนต่อใบเป็นสีน้ำตาลแห้งตายทั้งใบ
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Puccinia helianthi
ลักษณะสำคัญของเชื้อสาเหตุ : เชื้อราอยู่ในระยะ uredinium ซึ่งสร้าง urediniospore ที่มีรูปร่างแบบ ellipsoid สีเหลืองส้มถึงสีน้ำตาล
สถานที่พบ : จังหวัดนครราชสีมา วันที่ : 15 กันยายน 2550
วิธีการป้องกันกำจัด : เก็บใบที่เป็นโรคเผาทิ้ง ถ้าเป็นรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดราสนิม เช่น triadimefon เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง : Hirutsuka_ N._ S. Sato_ M. Kakishima_ S. Kaneko_ T. Sato_ and T. Hirutsuka. 1992. The Rust Flora of Japan.
Tsukuba Shuppankai Press. Japan. 1206 p.
ชื่อโรค ราสนิม (Rust) ชื่อพืช พิกุล (Bullet wood) ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimusops elengi Linn.


คำอธิบายภาพ 1) ลักษณะอาการของโรค 2) ภาพขยายอาการของโรค 3) กลุ่มของ urediniospore ซึ่งเกิดอยู่ใน uredinium 4) และ 5) กลุ่มของสปอร์ (urediospore)
ลักษณะอาการ : ระยะแรกเป็นจุดสีเหลืองอ่อนเล็กๆ บนใบ ต่อมาแผลจะขยายตามเส้นใบเป็นขีดเส้นสีน้ำตาลเข้มหรือสีสนิมรอบๆ จุดเป็นสีเหลืองอ่อนถ้ารุนแรงแผลจะติดต่อกันทั้งใบจนใบกลายเป็นสีแดงสนิมด้านล่างใบจะเป็นแผลนูนขรุขระกว่าด้านบนต่อใบเป็นสีน้ำตาล
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Maravalia mimusops
ลักษณะสำคัญของเชื้อสาเหตุ : เชื้อราอยู่ในระยะ uredinium ซึ่งสร้าง urediniospore ที่มีรูปร่างแบบ ellipsoid สีเหลืองส้มถึงสีน้ำตาล
สถานที่พบ : จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ : 5 มกราคม 2550
วิธีการป้องกันกำจัด : เก็บใบที่เป็นโรคเผาทำลาย ถ้าเป็นรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดราสนิม เช่น Triadimefon เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง : Thaung_ M.M. 2005. Rusts_ smuts and their allies in Burma. Australasian Mycologist 24(2): 29-45
ชื่อโรค ราสนิม (Rust) ชื่อพืช ลั่นทม (Temple tree) ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumerica acuminate


คำอธิบายภาพ 1) ลักษณะอาการของโรค 2) ภาพขยาย uedinium 3) กลุ่มของ urediniospore ซึ่งเกิดอยู่ใน uredinium 4)-5) กลุ่มของสปอร์ (urediniospore) 6) ภาพขยาย urediniospore
ลักษณะอาการ : ระยะแรกเป็นจุดสีเหลืองอ่อนเล็กๆกระจัดกระจายบนใบ ด้านล่างใบจะเป็นแผลนูนสีสนิมทำให้ใบเป็นสีน้ำตาลแห้งตายทั้งใบ
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Coleosporium plumeriae.
ลักษณะสำคัญของเชื้อสาเหตุ : เชื้อราอยู่ในระยะ uredinium ซึ่งสร้าง urediniospore ที่มีรูปร่างแบบ ovaid สีเหลืองส้มถึงสีน้ำตาล
สถานที่พบ : กรุงเทพมหานคร วันที่ : 21 สิงหาคม 2549
วิธีการป้องกันกำจัด : เก็บใบที่เป็นโรคทำลาย ถ้าเป็นรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดราสนิม เช่น triadimefon เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง : To-anan_ C._ N. Visarahanonth_ J. Engkhaninun_ and M. Kakishima. 2004. First Report of plumeria rust_ caused by
Coleosporium plumeriae in Thailand. Nat. Hist. J. Chulalongkorn Univ. 4(1) : 41-46.
ชื่อโรค ราสนิม (Rust) ชื่อพืช นางแย้ม ชื่อวิทยาศาสตร์ Clerodendrum chinensis


คำอธิบายภาพ 1) ลักษณะอาการของโรค 2) ภาพขยายอาการของโรค 3)_4) และ 5) กลุ่มของ urediniospore ซึ่งเกิดอยู่ใน uredinium 6) สปอร์ (urediospore)
ลักษณะอาการ : ระยะแรกเป็นจุดสีเหลืองอ่อนเล็กๆ บนใบ ต่อมาแผลจะขยายตามเส้นใบเป็นขีดเส้นสีน้ำตาลเข้มหรือสีสนิมรอบๆจุดเป็นสีเหลืองอ่อนถ้ารุนแรงแผลจะติดต่อกันทั้งใบจนใบกลายเป็นสีแดงสนิมด้านล่างใบจะเป็นแผลนูนขรุขระกว่าด้านบนต่อใบเป็นสีน้ำตาลแห้งตายทั้งใบ
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Endophyllum superficiale (Coleosporium clerodendri)
ลักษณะสำคัญของเชื้อสาเหตุ : เชื้อราอยู่ในระยะ uredinium ซึ่งสร้าง urediniospore ที่มีรูปร่างแบบ ellipsoid สีเหลืองส้มถึงสีน้ำตาล
สถานที่พบ : จังหวัดกรุงเทพมหานคร วันที่ : 9 ตุลาคม 2549
วิธีการป้องกันกำจัด : เก็บใบที่เป็นโรคทำลาย ถ้าเป็นรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดราสนิม เช่น Triadimefon เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง : พัฒนา สนธิรัตน_ ประไพศรี พิทักษ์ไพรวัน_ ธนวัฒน์ กำแหงฤทธิรงค์_ วิรัช ชูบำรุง และอุบล คือประโคน. 2537.
ดรรชนีโรคพืชในประเทศไทย. กลุ่มงานวิทยาไมโค. กองโรคพืชและจุลชีววิทยา. กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ. 285 น.

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ป้องกันกำจัดโรคราต่างๆ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา

เร่งการเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทาน เพิ่มผลผลิต ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน

สามารถผสม ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้
1131 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 113 หน้า, หน้าที่ 114 มี 1 รายการ
|-Page 95 of 114-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
โรคเชื้อราในต้นมะพร้าว เร่งป้องกันกำจัดก่อนจะเป็นแบบนี้
Update: 2567/05/20 07:50:31 - Views: 2
โรคใบไหม้ มันสำปะหลังใบไหม้
Update: 2563/12/12 12:57:37 - Views: 3039
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค: เทคโนโลยีที่พัฒนาดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช สำหรับต้นกระเจี๊ยบเขียว
Update: 2567/02/13 09:46:57 - Views: 145
โรคคะน้า คะน้าใบไหม้ ราน้ำค้าง แผลวงกลมสีน้ำตาล โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/13 01:01:50 - Views: 3638
โรคใบไหม้มันสำปะหลัง มันสำปะหลังใบไหม้ (Cassava Bacterial Blight : CBB)
Update: 2564/08/09 06:40:25 - Views: 3504
โรครากเน่าโคนเน่า ในทุเรียน
Update: 2564/08/20 00:00:49 - Views: 3406
การป้องกัน กำจัดเพลี้ย กำจัดแมลงศัตรูพืช ด้วย ชีวภัณฑ์ บิวเวอเรีย และ เมธาไรเซียม ได้ผลดี และปลอดภัย
Update: 2566/11/10 06:26:57 - Views: 7881
โรคแก้วมังกรลำต้นจุด และโรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิคุ้มกันโรค 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
Update: 2564/07/09 08:57:36 - Views: 3027
มะพร้าวยอดเน่า มะพร้าวผลร่วง มะพร้าวใบไหม้ มะพร้าวยอดแห้ง โรครามะพร้าว ไอเอส จาก FK
Update: 2565/06/17 01:01:15 - Views: 3271
ยากำจัดโรคใบจุด ใน แตงโม โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/07 14:33:55 - Views: 6976
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราแป้ง ในกัญชา กัญชง ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/21 09:48:20 - Views: 3430
เงาะ ผลใหญ่ ผลดก ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ สตาร์เฟอร์ 0-0-60
Update: 2567/04/12 11:49:44 - Views: 104
เคล็ดลับในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน : ปุ๋ยสำหรับฉีดพ่นทุเรียน
Update: 2566/11/24 15:04:07 - Views: 355
โรคแอนแทรคโนสมันสำปะหลัง
Update: 2565/02/25 02:58:29 - Views: 3019
ปุ๋ยสำหรับผักสลัด สลัดโตไว ใบเขียว ผลผลิตสูง มีคุณภาพ ด้วยปุ๋ยชั้นดี
Update: 2567/03/14 10:29:17 - Views: 139
กุหลาบ โตไว ใบเขียว ดอกสวย แข็งแรง ผลผลิตดี อะมิโนโปรตีนจำเป็นสำหรับพืช 18 ชนิด อะมิโนแรปเตอร์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/04 14:28:35 - Views: 3036
การใช้ Metalaxyl ผสม Starfer Fertilizer 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดโรคในต้นทับทิม
Update: 2567/02/29 13:16:03 - Views: 137
การใช้ INVET ผสมปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ ศัตรูพืชสำหรับต้นมังคุด
Update: 2567/02/27 13:02:39 - Views: 197
โรคถั่วฝักยาว ราแป้งถั่วฝักยาว อาการใบเหลือง ใบไหม้ ในถั่วฝักยาว
Update: 2564/08/22 22:28:51 - Views: 3324
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคใบจุด ใน อินทผาลัม ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/19 14:19:21 - Views: 3078
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022