[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - โรครา
1005 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 100 หน้า, หน้าที่ 101 มี 5 รายการ

โรคราน้ำค้าง : DOWNY MILDEW DISEASE
โรคราน้ำค้าง : DOWNY MILDEW DISEASE
เชื้อสาเหตุ : รา Peronospora parasitica (Pers. Ex.Fr.) Fr. ชีววิทยาของเชื้อ : ราสร้างเส้นใยแบบไม่มีผนังกั้นตามขวาง ก้านชูสปอร์ยาวตรง แตกกิ่งก้านเป็น มุมแหลมคล้ายต้นไม้ ปลายสุดของกิ่งก้านมีลักษณะบางเรียวเล็ก สปอร์เป็นรูปไข่ หรือกลมใส ไม่มีสี ติดอยู่ตรง ปลายสุดของก้านชูสปอร์ สปอร์งอกเป็นเส้นใย

ลักษณะอาการ : โรคสามารถแสดงอาการได้ทุกระยะการเจริญของพืช ในระยะกล้า ใบเลี้ยงเกิดเป็น จุดช้ำสีน้ำตาลหรือดำ ลำต้นเน่า ยุบตัว ทำให้พืชตายหรือแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต ในระยะต้นโตอาการระยะ แรกมักเกิดจุดสีเหลืองเป็นหย่อมๆ หรือเป็นปื้นเหลืองด้านหน้าใบ มีเส้นใยสีขาวหรือเทาคล้ายปุยฝ้ายด้าน หลังใบ แต่ในสภาพอากาศแห้งมักจะพบแต่อาการเหลืองซีดเท่านั้น เมื่อเกิดการระบาดรุนแรง แผลขยาย ขนาดใหญ่มากขึ้น เนื้อใบกลายเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล และแห้งตาย ในกะหล่ำดอกและบร๊อคโคลี่ ถ้าเชื้อ เข้าทำลายในระยะสร้างดอก จะเกิดเป็นจุดดำเล็กๆ บนช่อดอก หากอาการรุนแรงดอกอาจยืดหรือบิดเบี้ยวเสีย รูปทรง ในกะหล่ำปลีเกิดแผลเป็นจุดเล็กๆ บนใบ ไม่ค่อยขยายขนาด

การแพร่ระบาด : ราแพร่กระจายไปกับลม น้ำฝนหรือน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก อาการของโรคพบได้ทั่วไป สภาวะอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง หมอกหรือน้ำค้างลงจัด เป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการเกิดโรคและการระบาด เชื้อราอยู่ข้ามฤดูปลูกโดยสร้างสปอร์ผนังหนา ซึ่งติดอยู่ตามเศษซากพืช วัชพืชหรืออาศัยกับต้นที่งอกเองนอกฤดู และสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ได้

การป้องกันกำจัด :

1. ใช้เมล็ดพันธุ์ปราศจากเชื้อ หรือแช่เมล็ดในน้ำอุ่นอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 20-30 นาที ก่อนปลูก หรือคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมทาแลกซิล หรือ เมทาแลกซิล+แมนโคเซบ

2. ควรปลูกพืชให้มีระยะห่างพอสมควร ไม่เบียดแน่นจนเกินไป

3. หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรเก็บทำลายเศษซากพืชออกจากบริเวณแปลงปลูก

4. ควรหลีกเลี่ยงการปลูกซ้ำในแปลงที่เคยมีการระบาด และควรปลูกพืชหมุนเวียน

5. เมื่อพบอาการของโรคในแปลง ควรฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัด

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคราแป้งองุ่น และ โรคราน้ำค้างองุ่น
โรคราแป้งองุ่น และ โรคราน้ำค้างองุ่น
การปลูกองุ่นในประเทศไทยสามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้ แต่ไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น จึงมักพบโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับองุ่น เช่น โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง โรคแอนแทรคโนส เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง และหนอนกระทู้ เป็นต้น ทำให้เกษตรกรใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูองุ่นในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated Pest Management; IPM) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อคนและสิ่งแวดล้อม เป็นการเลือกใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชตั้งแต่ 2 วิธีการขึ้นไปมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสม เป็นการลดการใช้สารเคมีเกษตรในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช หรือใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้นเพื่อลดระดับปริมาณศัตรูพืชให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ และเกิดความสมดุลของระบบนิเวศ โรคและแมลงศัตรูองุ่นที่สำคัญ ได้แก่

โรคราน้ำค้างองุ่น (Downy mildew)

เชื้อสาเหตุ : Plasmopara viticola

ลักษณะอาการ : เป็นขุยสีขาวที่ใต้ใบองุ่น ด้านบนใบจะเห็นเป็นสีเหลืองเป็นจ้ำๆ ถ้าเป็นรุนแรงใบจะไหม้ ช่อดอกและผลอ่อนเหี่ยวแห้ง

การระบาด : ระบาดในช่วงฤดูฝน หรือในช่วงที่มีความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด :

1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
3. งดให้น้ำในช่วงเย็น
4. การใช้สารปลอดภัย


โรคราแป้งองุ่น (Powdery mildew)

เชื้อสาเหตุ : Oidium tuckeri

ลักษณะอาการ : เป็นขุยแป้งขี้เถาสีขาว เกิดบนใบ กิ่ง และผล

การระบาด : ระบาดในช่วงปลายฤดูฝน-ฤดูหนาว

การป้องกันกำจัด :

1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
3. การใช้สารปลอดภัย

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคพืชวงศ์แตง แตงโม แตงกวา เมลอน สคว็อช ซุคคินี่
โรคพืชวงศ์แตง แตงโม แตงกวา เมลอน สคว็อช ซุคคินี่
สำรวจโรคในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์แตงโม (19แปลง) แตงกวา (16 แปลง) เมลอน (93 แปลง) สคว็อช (33แปลง) ซุคคินี่ (28แปลง) ในเขต อ.เมืองขอนแก่น _ อ.หนองเรือ_ อ.น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น และ อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม_ กิ่งอำเภอเอราวัณ จ.เลย_ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู_ อ.ดอนตาล และ อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร และน้ำเต้า(17 แปลง) ในอ.ยางตลาด อ.ห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์

ในช่วงฤดูการปลูกปลายธันวาคม 2548- เดือนเมษายน 2549_ กันยายน - พฤศจิกายน 2549 และช่วงฤดูปลูกปลายธันวาคม 2549 ถึง เมษายน 2550 ในแต่ละแปลงได้สำรวจโรค 2 ครั้งคือ ในช่วงที่เริ่มผสมเกสรหรือติดผลแรก และในระยะที่ผลแก่เต็มที่ก่อนเก็บเกี่ยว รวมทั้งการตรวจวินิจฉัยตัวอย่างโรคแตงโมที่ปลูกอยู่ในแหล่ง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น อ. พรรณานิคม จ. สกลนคร และ อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ ซึ่งบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ส่งมาให้ตรวจ

ได้พบโรคที่สำคัญต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ซึ่งอาการโรคมีความแตกต่างไปตามชนิด โรค ชนิดพืช สายพันธุ์พืช ระยะการเจริญของพืชและวิธีการดูแลรักษาแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกร และระดับความรุนแรงของโรคแต่ละชนิดในแปลงแตกต่างกันไปตามสภาพการเอา ใจใส่ดูแลแปลง และสภาพพื้นที่ปลูก และสายพันธุ์พืช

แบ่งออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ คือ

กลุ่มที่ 1) โรคที่เกิดจากเชื้อรา จัดเรียงตามลำดับความถี่ที่พบจากมากไปน้อย ได้แก่ โรคเถาแตกยางไหล (gummy stem blight) จากเชื้อรา Didymella bryoniae หรือ Phoma cucurbitarum โรคเถาแตกผลเน่าดำจากเชื้อราไฟซาโลสปอรา (Physalospora rhodina) โรคราน้ำค้าง(downy mildew) จากเชื้อรา Pseudoperospora cubensis โรคราแป้ง (powdery mildew) เกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โรคเหี่ยวฟิวซาเรี่ยม (fusarium wilt) เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp. โรคใบจุดเซอร์คอสปอรา (Cercospora leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Cercospora sp. โรคใบจุดคอไรนีสปอรา (Corynespora leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Corynespora sp. โรคแอนแทรกโนส (anthracnose) เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum orbiculare โรคเหี่ยวสเคลอโรเตียม (sclerotium wilt) เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii โรคผลเน่าจากเชื้อราพิเทียม (Pythium spp.)

กลุ่มที่ 2) โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จัดเรียงตามลำดับความถี่ที่พบจากมากไปน้อย ได้แก่ โรคใบจุดแบคทีเรียจากเชื้อ แซนโทโมแนส (Xanthomonas leaf spot) จากเชื้อ Xanthomonas spp._ โรคผลเน่าแบคทีเรีย(bacterial fruit blotch เกิดจากเชื้อ อะซิโดโวแรกซ์ (Acidovorax avenae subsp. citrulli) โรคผลเน่าจากเชื้อเออร์วิเนีย (Erwinia spp.) โรคเหี่ยว ต้นหรือเถาเน่าเละ (wilt and stem or vine soft rot) จากเชื้อเออร์วิเนีย (Erwinia spp.) และกลุ่มอาการโรคที่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยระบุชนิดเชื้อ เพิ่มเติมคือ โรคเหี่ยวเฉียบพลัน (sudden wilt) ในเมลอน โรคยอดไหม้ถอยกลับ (die back) โรคเหี่ยวเขียวในแตงกวา (bacterial wilt) และโรคเถาเหี่ยวเหลืองในแตงกวา (yellow vine wilt) โรคเถาแห้ง (vine necrosis)

กลุ่มที่ 3) โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เรียงตามความถี่ที่พบจากมากไปน้อย คือ โรคใบด่างซีเอ็มวี (Cucumber mosaic virus) โรคใบด่างจากเชื้อในจีนัสโพทีไวรัสซึ่งมีหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสใบด่างจุดวงแหวนมะละกอ (Papaya ringspot virus-W)_ ไวรัสใบด่างซุคคินี่ (Zucchini yellow mosaic virus)_ และไวรัสในวงศ์โพทีวิริดีที่ยังไม่ได้จำแนกระบุชนิด โรคใบด่างเนื้อเยื่อตายที่เกิดจากไวรัสในจีนัสทอสโพไวรัส (Tospovirus) โรคใบด่างเขียวที่เกิดจากเชื้อไวรัสใบด่างเขียว( Cucumber green mottle mosaic virus) และกลุ่มไวรัสที่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยระบุชนิดเพิ่มเติม คือ โรคไวรัสใบด่างเนื้อเยื่อตาย และโรคไวรัสเถาเหลือง

กลุ่มที่ 4) โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย ในบางพื้นที่พบปัญหาสำคัญที่เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.)

และ กลุ่มที่ 5) โรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (abiotic disease) ที่พบมากคือ การเป็นพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสารกำจัดวัชพืชที่ฉีดพ่นแบบไม่ถูกต้อง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคราน้ำค้างแตงโม
โรคราน้ำค้างแตงโม
โรคราน้ำค้างที่เกิดกับแตงโม ลักษณะที่มองเห็นได้ คือ เกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบ และขยายตัวใหญ่ขึ้น จำนวนจุดสีเหลืองเพิ่มปริมาณมากขึ้น และใต้ใบตรงตำแหน่งเดียวกัน จะมีกลุ่มของเชื้อราสีม่วงอมเทาเกาะเป็นกลุ่มอยู่ เชื้อโรคนี้เจริญได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออากาศอุ่นและชุ่มชื้น เมื่อใบแก่ตายเชื้อก็จะไปทำลายใบอ่อนต่อไป เมื่อใบแห้งไปหมดแล้ว ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลน้อยและคุณภาพผลแก่ก็ต่ำด้วย สปอร์ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเต่าแตง

สาเหตุของโรคราน้ำค้างแตงโม

คล้ายๆกับโรคราน้ำค้างทั่วๆ ไป คือ ชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็นและความชื้นสูงในการเกิด และการเข้าทำลายพืช โรคราน้ำค้างของแตงโมจะเจริญเติบโตระบาดได้ดีในช่วงของอุณหภูมิระหว่าง 16-27 องศาเซลเซียส แต่จะดีที่สุดที่ 20 องศาเซลเซียสส่วนความชื้นนั้นต้องสูงเกินกว่า 86% ขึ้นไป

การป้องกันและกำจัดโรคราน้ำค้าง

ขจัดทำลายวัชพืชพวกแตงต่างๆ และต้นที่งอก หรือหลงเหลือจากการเก็บเกี่ยวให้หมดจากบริเวณหรือแปลงปลูก

เมื่อปรากฏมีโรคเกิดขึ้นในแปลงปลูก ให้รีบป้องกันการระบาดเพื่อรักษาต้นที่ยังดีอยู่โดยการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชจากเชื้อรา

อ้าอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคราสีชมพู ที่เกิดกับ ลองกองผลอ่อน
โรคราสีชมพู ที่เกิดกับ ลองกองผลอ่อน
สภาพอากาศร้อน สลับกับมีฝนตกในช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนลองกองเฝ้าระวัง การระบาดของโรคราสีชมพู มักพบโรคในระยะที่ต้นลองกองมีผลอ่อน เริ่มแรกพบเส้นใยสีขาวของเชื้อรา เจริญคลุมกิ่งหรือลำต้น ต่อมาเส้นใยของเชื้อราหนาขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีชมพูยึดแน่นกับกิ่ง เมื่อเฉือนดูบริเวณกิ่งหรือลำต้นที่พบเชื้อรา จะพบเนื้อไม้เป็นแผลสีน้ำตาล และกิ่งที่เป็นโรคราสีชมพูบริเวณยอดจะเหี่ยว ใบเหลือง และร่วงเป็นหย่อมๆ ต่อมากิ่งจะแห้งตายในที่สุด

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคราสีชมพู ให้เกษตรกรตัดแต่งทรงพุ่มต้นลองกองให้โปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อลดการสะสมความชื้นใต้ทรงพุ่มไม่ให้มีมากเกินไป ส่วนในช่วงฤดูฝนเกษตรกรควรหมั่นตรวจดูต้นลองกองบริเวณกิ่งภายในสวนอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการใบเหลืองหรือพบราสีขาว หรือสีชมพูขึ้นบนกิ่ง ให้เกษตรกรตัดกิ่งที่เป็นโรค เก็บเศษซากพืชส่วนที่เป็นโรค และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกนำไปเผาทำลายนอกสวน เพื่อลดการสะสมเชื้อราสาเหตุโรค

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการเจริญเติบโต ส่งเสริมผลผลิต
โรคทุเรียนต่างๆ สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ป้องกันเอาไว้ ดีกว่าแก้ไขในภายหลัง
โรคทุเรียนต่างๆ สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ป้องกันเอาไว้ ดีกว่าแก้ไขในภายหลัง
โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน โรคทุเรียนใบไหม้ และโรคทุเรียนต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา ระบาดสวนทุเรียน ส่งผลให้ ผลผลิตทุเรียนเสียหายหนัก กรมวิชาการเกษตรแนะเกษตรกรสวนทุเรียนใช้วิธีป้องกันกำจัดอย่างถูกต้องและเหมาะสม ช่วยแก้ปัญหาตรงจุด ลดความเสียหายของผลผลิต หยุดวงจรการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าได้ผลจริง

ปัญหาโรคระบาดของทุเรียน ระบาดเป็นวงกว้าง ส่งผลอย่างหนัก ทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต ในสภาพอากาศที่แปรปรวน ฝนตกชุกต่อเนื่อง ความชื้นในอากาศสูง เกษตรกรควรฉีดพ่นสารอินทรีย์ เพื่อป้องกันโรคพืช ที่อาจเกิดกับทุเรียนได้ โดยเฉพาะโรคทุเรียน ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ

ในสภาพอากาศแปรปรวน ร้อนชื้น เป็นภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราโรคพืช หากต้นทุเรียนของเรา มีสภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง ได้รับธาตุอาหารไม่ครบถ้วน จะต้านทานต่อโรคพืชได้ต่ำ จะทำให้โรคพืชจากเชื้อรา ระบาดได้ง่าย

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น โรคทุเรียนใบไหม้ โรคใบติดทุเรียน โรคใบเหลืองแห้งกรอบ

อ้างอิงข้อมูลและภาพจาก กรมวิชาการเกษตร

FK-1 เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม สารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ที่ช่วยแก้ปัญหาโรคพืช ที่เกิดจากการขาดธาตุ เช่น ทุเรียนก้านธูป หรือโรคยอดไม้กวาดทุเรียน

รายละเอียดทั้ง ไอเอส และ FK-1 เลื่อนดูด้านล่างนะคะ
โรครากเน่าโคนเน่า ในทุเรียน
โรครากเน่าโคนเน่า ในทุเรียน
สภาพอากาศในระยะที่มีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักเป็นบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร แนะวิธีรับมือการระบาดของโรครากเน่าและโคนเน่า สามารถพบได้ในระยะที่ต้นทุเรียนแตกใบอ่อน โดยจะพบอาการที่ราก เริ่มแรกเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา ใบเหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขุดดูที่รากฝอยจะพบรากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล กรณีที่โรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นทุเรียนโทรมและยืนต้นตาย

ส่วนอาการที่กิ่ง ลำต้น และโคนต้น ระยะแรกจะพบต้นทุเรียนมีใบเหลืองเป็นบางกิ่ง สามารถสังเกตเห็นรอยคล้ายคราบน้ำ บนผิวเปลือกของกิ่งหรือต้น ในช่วงเช้าที่มีอากาศชื้นอาจเห็นเป็นหยดของเหลวสีน้ำตาลแดงออกมาจากบริเวณแผล และจะค่อยๆ แห้งไปในช่วงที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบ เมื่อใช้มีดถากบริเวณคราบนั้น จะพบเนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เป็นแผลสีนํ้าตาล ถ้าแผลขยายใหญ่จะลุกลามจนรอบโคนต้น จะทำให้ต้นทุเรียนใบร่วงจนหมดต้นและยืนต้นแห้งตาย อาการที่ใบ ใบช้ำ ดำ มีรอยตายนึ่งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก และจะเกิดอาการไหม้แห้งคาต้นอย่างรวดเร็ว พบระบาดมากในช่วงฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน

สำหรับต้นทุเรียนที่เป็นโรครุนแรงมากหรือยืนต้นแห้งตาย ให้ขุดออกแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้นให้ใส่ปูนขาวและตากดินไว้ระยะหนึ่งแล้วปลูกใหม่ทดแทน หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้รากหรือลำต้นเกิดแผล ซึ่งจะเป็นช่องทางให้เชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ง่ายขึ้น และในแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี หากมีน้ำท่วมขังให้รีบระบายน้ำออกทันที จากนั้น ให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงดินในแปลงปลูก และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคทุกครั้งก่อนนำกลับมาใช้ใหม่

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
ป้องกัน ยับยั้งโรคพืช จากเชื้อราต่างๆ ไอเอส สารอินทรีย์ รายละเอียดต้านล่างนะคะ
โรคพืช จะรุนแรงขึ้น เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการระบาด และ พืชอ่อนแอ ดูแลพืชให้แข็งแรง ก็ต้านทานต่อโรคได้ เหมือนคนที่แข็งแรง
โรคพืช จะรุนแรงขึ้น เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการระบาด และ พืชอ่อนแอ ดูแลพืชให้แข็งแรง ก็ต้านทานต่อโรคได้ เหมือนคนที่แข็งแรง
โรคพืช หมายถึง ภาวะที่พืชมีลักษณะผิดปกติ เนื่องจากเชื้อโรคที่เป็นสิ่งมีชีวิต และ สภาพแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต ไปทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ในพืชผิดปกติ โครงสร้างและรูปร่างของส่วนต่างๆ ของพืชเปลี่ยนแปลง โดยการเกิดโรคพืชมีปัจจัยสำคัญ คือ พืชอาศัยอ่อนแอ สภาพแวดล้อมเหมาะสม เชื้อสาเหตุโรคที่รุนแรง และระยะเวลาที่พอเหมาะ

การจัดกลุ่มโรคพืชตามเชื้อสาเหตุโรค แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ

1. โรคพืชที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
ได้แก่ โรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ราสนิม ใบจุด ราน้ าค้าง ราแป้ง โรคที่เกิดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคแคงเกอร์ในตระกูลส้ม โรคเหี่ยว โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น โรคใบด่าง อ้อย โรคเส้นใบเหลือง โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย เช่น โรครากปม เป็นต้น

2. โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต
เช่น เกิดจากการขาดธาตุอาหาร สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เกิดจากความเป็นพิษของของธาตุอาหาร ดินมีความเป็นกรดด่างสูง เกิดจากพิษของสารกำจัดวัชพืชและสารเคมีต่างๆ

โรคพืชป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ โรคใบจุด (leaf spot) ใบไหม้ (leaf blight) ราสนิม(rust) ราแป้ง (powdery mildew) ราดำ (black mildew) จุดนูนดำ (tar spot) อาการเหี่ยว (wilt) โรครากเน่า โรคลำต้นผุเน่า เป็นต้น โรคส่วนใหญ่ที่พบมักเป็นโรคที่เกิดทางใบ ส่งผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสงของพืชและจะทำให้ลำต้นอ่อนแอ

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

โรคพืช ที่มีสาเหตุจาก เชื้อราต่างๆ ป้องกัน กำจัดด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

โรคพืช ที่มีสาเหตุจาก การขาดธาตุอาหาร ใช้ FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม สารสังเคราะห์คลอโรคฟิลล์ เป็นการให้อาหารพืชได้อย่างครบถ้วน

เลื่อนอ่านรายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคเหี่ยวกล้วย หรือโรคตายพราย หรือ โรคปานามา (Fusarium Wilt Disease)
โรคเหี่ยวกล้วย หรือโรคตายพราย หรือ โรคปานามา (Fusarium Wilt Disease)
โรคเหี่ยวกล้วย หรือโรคตายพราย หรือ โรคปานามา (Fusarium Wilt Disease)
เตือนเกษตรกรชาวสวนกล้วยทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดในเขตภาคใต้ เช่นจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และภาคเหนือแถบชายแดนประเทศพม่า เช่น จังหวัดเชียงรายโดยเฉพาะแหล่งปลูกกล้วยหอม ที่สำคัญ เฝ้าระวังโรคเหี่ยวสายพันธุ์ TR4 ในกล้วยหอม ซึ่งเป็นโรคพืชกักกันไม่เคยพบการระบาดในประเทศไทยมาก่อน และกำลังแพร่ระบาดอยู่ในหลายประเทศแถบอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จีน ไต้หวัน อินเดีย ปากีสถาน และเมียนมา

ดังนั้น เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยโดยเฉพาะกล้วยหอมเขียวหรือกล้วยหอมคาเวนดิชซึ่งเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคเหี่ยว ควรหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ าเสมอ เมื่อสงสัยว่ากล้วยอาจเป็นโรคนี้ระบาด ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อตรวจสอบวินิจฉัยการระบาด และแจ้งให้กรมส่งเสริมการเกษตรทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป และขอให้เกษตรกรห้ามนำพันธุ์กล้วยที่มาจากประเทศที่พบการระบาดเข้ามาปลูกในประเทศไทยโดยเด็ดขาด

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. cubense Tropical race four (TR4)

ลักษณะอาการ

โรคนี้เกิดจากระบบท่อลำเลียงของพืชถูกทำลาย โดยเชื้อเข้าสู่รากและแพร่กระจายสู่ระบบท่อน้ำพืช เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเนื้อเยื่อตายเป็นสีน้ำตาลในท่อลำเลียงของลำต้นเทียมกล้วย และลุกลามขึ้นสู่ก้านใบอาการภายนอกทำให้โคนใบแก่ด้านนอกมีสีซีดเหลือง และผืนใบเปลี่ยนเป็นสีน้ าตาลโดยเริ่มจากขอบใบเข้าสู่กลางใบ และใบหักพับภายใน ๑ - ๒ สัปดาห์ ทำให้เห็นอาการใบเหลืองจากใบล่างขึ้นไป ต่อมาใบและกิ่งเริ่มเหี่ยว และร่วง เซลล์ตามขอบใบตาย และทำให้ต้นตายในที่สุด บางครั้งอาจพบอาการผลอาจเน่าและร่วง รากอาจจะเจริญออกทางด้านข้างและเน่าภายหลัง

การแพร่ระบาด

การแพร่กระจายของเชื้อเกิดจากการน าเอาเหง้าหรือส่วนขยายพันธุ์ที่ติดเชื้อไปปลูกนอกจากนั้นเชื้อยังติดไปกับดิน เศษซากพืช หรือ น้ำที่ท่วมขังแปลง ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค คือพันธุ์พืชที่อ่อนแอความชื้นในดินสูง การระบายน้ำในดินต่ำ เชื้อรา Fusarium สายพันธุ์ TR4 มีความสามารถอยู่รอดในดินได้นานมากกว่า ๑๕ ปี

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะน าวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

๑. หมั่นส ารวจแปลงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
๒. หากต้องการปลูกกล้วยในพื้นที่ใหม่ ควรเลือกแปลงปลูกที่ไม่เคยพบโรคนี้มาก่อน
๓. ปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรดจัด โดยใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์
๔. รองก้นหลุมปลูกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ ใช้เชื้อสดผสมกับรำข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์(ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอกเก่า) ในอัตราส่วน ๑ : ๔ : ๑๐๐ โดยน้ าหนักอัตรา ๑๐๐ - ๒๐๐ กรัมต่อหลุม
๕. ควรเลือกหน่อกล้วยจากแหล่งปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้ หรือไม่น าหน่อพันธุ์จากต้นตอที่เป็นโรคไปปลูก

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
โรคจุดสีน้ำตาลแก้วมังกร
โรคจุดสีน้ำตาลแก้วมังกร
โรคจุดสีน้ำตาลแก้วมังกร
แก้วมังกร จะพบโรคจุดสีน้้าตาลระบาด อาการเริ่มแรกที่กิ่งและผลเป็นจุดสีเหลือง จากนั้นจะพัฒนาเป็นตุ่มนูนเล็กๆ สีน้้าตาลคล้ายสีสนิมเหล็ก บางครั้งพบแผลสีเหลืองฉ่้าน้้า เมื่ออาการรุนแรงแผลจะเน่า โดยถ้าเป็นที่กิ่งจะท้าให้เนื้อเยื่อตรงแผลหลุดเห็นเป็นรูหรือเว้าแหว่ง ส้าหรับผลถ้าอาการรุนแรงจะท้าให้กลีบผลไหม้แห้งเป็นสีดำและผลเน่าในที่สุด

สาเหตุหลักเกิดจากดินแปลงที่ท้านามาก่อน หรือดินไม่ได้ยกร่อง หรือดินมีการระบายน้้าไม่ดี และเกษตรกรที่ชอบใช้ปุ๋ยยูเรียจ้านวนมาก หรือใส่แต่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ท้าให้เกิดโรคได้ง่าย เพราะแก้วมังกรเป็นพืชอวบน้้า

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรค ราสนิมแก้วมังกร โรคจุดสีน้ำตาลแก้วมังกร
1005 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 100 หน้า, หน้าที่ 101 มี 5 รายการ
|-Page 81 of 101-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
การทำไร่อ้อย ใน 4 ขั้นตอนหลักๆ
Update: 2563/09/27 20:19:32 - Views: 5551
เมทาแล็กซิล: สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่เป็นเชื้อราในสับปะรด
Update: 2566/11/17 14:51:39 - Views: 291
มะพร้าวยอดเน่า มะพร้าวผลร่วง มะพร้าวใบไหม้ มะพร้าวยอดแห้ง โรครามะพร้าว ไอเอส จาก FK
Update: 2565/06/17 01:01:15 - Views: 3273
โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)
Update: 2564/04/27 09:44:54 - Views: 3678
แนวทางป้องกันและรักษาโรคเชื้อราในดอกพุทธรักษา
Update: 2566/11/21 09:30:32 - Views: 379
โรคแก้วมังกรต้นจุด และผลเน่า
Update: 2564/08/19 07:02:48 - Views: 3211
ปุ๋ยฉีดพ่นทาใบ ปุ๋ยเร่งผล ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก สำหรับพืชออกผลทุกชนิด โพแทสเซียม มากถึง 40% ผลโต น้ำหนักดี มีคุณภาพ
Update: 2566/11/11 13:47:53 - Views: 306
ทุเรียนภาคใต้เนื้อหอม จีนรุมซื้อไร่ละล้าน แห่ปลูกแซงยางพารา
Update: 2564/06/01 14:35:06 - Views: 2988
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคโรคเหี่ยวเหลือง ในดอกดาวเรือง ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2565/12/28 09:11:48 - Views: 2995
การกำจัดโรคใบไหม้และใบติดในทุเรียน ด้วยสารอินทรีย์ ไอเอส เทคนิคไอออนคอนโทรล
Update: 2566/01/06 12:23:24 - Views: 3010
การต่อสู้กับโรคเชื้อราในต้นฟักทอง: วิธีป้องกันและรักษา
Update: 2566/11/18 10:24:18 - Views: 309
การป้องกันและกำจัดโรคพืชจากเชื้อราอย่างได้ผล: โรคราสนิมในผักบุ้ง
Update: 2566/05/17 09:40:22 - Views: 3035
โรคแส้ดำ ที่เกิดขึ้นในไร่อ้อย ใช้ ไอเอส และ FK-1
Update: 2565/05/11 18:44:12 - Views: 3104
การใช้ Metalaxyl ผสม Starfer Fertilizer 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดโรคใบไหม้ โรคใบจุด โรคเน่าดำ โรคราน้ำค้าง สนิม และโรคเชื้อราต่างๆ สำหรับต้นใบเตย
Update: 2567/02/29 14:16:20 - Views: 136
ฮิวมิค แอซิด: เทคโนโลยีใหม่สำหรับฟื้นฟูระบบรากและปรับปรุงดินในการปลูกมะปราง
Update: 2567/02/13 09:52:05 - Views: 153
เพลี้ยมังคุด เพลี้ยไฟมังคุด ใช้ มาคา + FK-1 ฟื้นฟู บำรุง - 1ชุด ผสมน้ำได้ 400ลิตร
Update: 2564/08/28 21:50:10 - Views: 3034
คู่มือป้องกันกำจัดโรคราต่างๆในแมคคาเดเมีย แมคคาเดเมียใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ราต่างๆ
Update: 2566/05/01 15:18:59 - Views: 16899
แก้ มันสำปะหลังใบไหม้ โรครามันสำปะหลัง ราสนิม ราแป้ง ติดต่อ ไลน์ @FarmKaset
Update: 2565/02/28 23:19:35 - Views: 3015
โรคใบติดทุเรียน โรคทุเรียนใบไหม้ การดูแลบำรุงรักษา โรคทุเรียน ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
Update: 2564/12/06 22:28:36 - Views: 3251
ปุ๋ยสำหรับกระท่อม ฉีดพ่นทางใบ FK-1 โตไว ใบเขียว ระบบรากแข็งแรง ส่งเสริมผลผลิต
Update: 2564/09/10 23:43:48 - Views: 3107
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022