[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ทุเรียน
420 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 42 หน้า, หน้าที่ 43 มี 0 รายการ

ทุเรียน ราชาแห่งไม้ผล เน้นตลาดส่งออก
ทุเรียน ราชาแห่งไม้ผล เน้นตลาดส่งออก
ทุเรียน จัดเป็นราชาไม้ผล ที่ใครๆ ต่างยกให้เป็นที่หนึ่ง มีความต้องการในการบริโภคสูง อีกทั้งมีตลาดรองรับทั้งภายในประเทศและตลาดส่งออกที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันพื้นที่ปลูกทุเรียนทั่วประเทศ มีประมาณ 1_199_895.64 ไร่ (ข้อมูลระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร วันที่ 22 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2565)

โดยทุเรียนมีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2564 ประเทศไทยมีการส่งออกทุเรียนสูงถึง 925,855 ตัน (ข้อมูล:กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร ข่าว : มิถุนายน 65) โดยประเทศจีนเป็นตลาดหลัก ตามด้วย ฮ่องกง เวียดนาม ไต้หวัน มาเลเซีย และอีกหลาย ๆ ประเทศ

ทุเรียนเกรดส่งออก คุณภาพดี

ทุเรียนเกรดส่งออกจะแบ่งเป็น เกรดเอ บี และซี สำหรับทุเรียนที่ตกเกรดจะไม่สามารถส่งออกได้ จึงจำหน่ายภายในประเทศเท่านั้น ดังนั้นพี่น้องชาวสวนทั้งมือเก่าและมือใหม่ควรให้ความสำคัญเรื่องการจัดการและพัฒนาการเพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพดี เกรดเอ มีจำนวน 4-5 พูเต็ม ตรงตามสเปคทุเรียนส่งออก เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับชาวสวนทุเรียน

สวนทุเรียนคุณภาพ ที่มีการจัดการอย่างมืออาชีพ

เทคนิคการปลูกทุเรียนให้ได้คุณภาพดี อย่างมืออาชีพ

1. สภาพดินที่เหมาะกับการปลูกทุเรียน

ทุเรียนเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง ดินที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกควรเป็นดินร่วนที่สามารถระบายน้ำได้ดี มีค่าความเป็นกรดด่าง(pH) ประมาณ 5.5 - 6.5 สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตควรอยู่ในช่วง 25-30 องศาเซลเซียส โดยมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 75 - 85 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ควรมีแหล่งน้ำที่เพียงพอในการเพาะปลูกตลอดปี การวางแปลงปลูกทุเรียน ระยะ 8x10 เมตร

2. การจัดเตรียมพื้นที่ และการดูแลต้นทุเรียนปลูกใหม่

การเตรียมพื้นที่ปลูกทุเรียนควรเริ่มจากการปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ หรือมีความลาดเอียงเล็กน้อย เพื่อให้ระบายน้ำได้ดี เนื่องจากต้นทุเรียนไม่ชอบน้ำขัง ส่วนระยะห่างระหว่างแถวที่เหมาะสมคือ 8X10 เมตร และระหว่างต้น (บนหลังเต่า) คือ 8X8 เมตร โดยการจัดระยะห่างแบบนี้ จะสามารถนำรถและเครื่องจักร รวมถึงเทคโนโลยีในการเพาะปลูกทางการเกษตรมาใช้ เพื่อทุ่นแรงและให้ง่ายต่อการทำงานมากยิ่งขึ้น

สำหรับทุเรียนปลูกใหม่ เมื่อเตรียมแปลงเรียบร้อยแล้ว แนะนำให้ปลูกแบบยกโคก เพื่อช่วยให้ต้นทุเรียนที่พึ่งลงปลูกใหม่โตเร็ว การปลูกแบบยกโคกคือ การพูนดินขึ้นให้สูงกว่าระนาบ จะช่วยให้รากของต้นทุเรียนอยู่ที่ดินชั้นบนๆ เมื่อใส่ปุ๋ยลงไปจะช่วยให้รากดูดซึมธาตุอาหารได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญจะช่วยให้น้ำระบายได้ดี ไม่ท่วมขังบริเวณโคนต้น ที่เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

นอกจากนี้ควรเตรียมวางแผนเรื่องระบบน้ำ ไปพร้อมกับการเตรียมพื้นที่ลงปลูก เพื่อง่ายต่อการจัดการ ส่วนในขั้นตอนการเลือกต้นกล้าทุเรียน ควรเลือกต้นที่มีระบบรากดี ไม่ขดงอหรืออยู่ในถุงเพาะชำเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ต้นทุเรียนโตช้า และควรสร้างร่มเงาหรือพรางแสงให้ต้นทุเรียนปลูกใหม่ โดยเฉพาะในช่วงทุเรียนระยะต้นเล็กไม่ให้รับแสงมากจนเกินไป

สำหรับการบำรุงทุเรียนปลูกใหม่ ช่วงอายุระหว่าง 1-3 ปี แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 อัตรา 500 กรัม ต่อ 1 ต้น ใส่เดือนละครั้ง โดยสามารถใส่ปุ๋ยในอัตราที่เพิ่มขึ้น ตามการเจริญเติบโตของลำต้น และทรงพุ่ม เพื่อบำรุงให้ต้นทุเรียนสมบูรณ์

การบำรุงทุเรียนตามระยะการเจริญเติบโต

ขั้นตอนการบำรุงต้นทุเรียนทางดิน ให้ ทุเรียน ได้คุณภาพดี เกรดเอ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิต

ระยะฟื้นต้นหลังเก็บผลผลิต และทำชุดใบให้ต้นทุเรียนสมบูรณ์

หลังจากเก็บผลผลิตทุเรียนเรียบร้อยแล้ว ต้องทำการฟื้นต้นให้สมบูรณ์ เนื่องจากต้นทุเรียนจะถูกดึงธาตุอาหารต่างๆ ไปใช้ในการเลี้ยงผล จึงจำเป็นต้องบำรุงต้นให้กลับมาสมบูรณ์ ก่อนเข้าสู่ระยะทำใบชุดแรก โดยจะทำใบทั้งหมด 3 ชุด โดยแต่ละชุด ใช้เวลาประมาณ 45 วัน เพื่อให้ต้นทุเรียนให้สมบูรณ์ที่สุด แนะนำใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ทุกๆ 20-30 วัน เม็ดปุ๋ยละลายง่าย ช่วยฟื้นต้นได้ไว และทำให้ใบกว้าง ใบเขียวเข้มและเขียวนาน

ระยะสะสมอาหารในต้นทุเรียน

การบำรุงระยะที่ 2 เป็นระยะที่ต้นทุเรียนสะสมอาหาร โดยต้นจะสะสมอาหารไว้ เมื่อสภาพอากาศมีอุณภูมิที่เหมาะสม ความชื้นที่พอดี ต้นก็จะแตกตาดอก ถือเป็นช่วงสำคัญของการทำสวนทุเรียน จึงควรเน้นบำรุงธาตุฟอสฟอรัส(P) และธาตุโพแทสเซียม(K) พร้อมกันในระยะนี้ โดยแนะนำใส่ปุ๋ยสูตร 9-25-25 อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม/ต้น ความถี่ทุกๆ 15-20 วัน เพื่อช่วยสะสมอาหาร เพิ่มความสมบรูณ์ของต้น ในการสร้างตาดอก และออกดอกที่สมบูรณ์ต่อไป

ระยะติดดอกของต้นทุเรียน

หลังจากที่ต้นแตกตาดอก ก็จะเข้าสู่ช่วงการติดดอกทุเรียน จะมีการเจริญเติบโตและพัฒนาหลายระยะในช่วงดอก เป็นช่วงที่ต้องระวังเป็นพิเศษ อาจเกิดปัญหาดอกร่วง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ ติดดอกไม่สมบูรณ์ พรืออากาศแปรปรวน แนะนำใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 9-25-25 อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ทุกๆ 15-20 วัน เพื่อสะสมอาหาร ให้ต้นทุเรียน มีความสมบูรณ์ เพิ่มความแข็งแรง ให้ดอกทุเรียนมีการพัฒนาและเจริญเติบโตได้ดี

ระยะทุเรียนติดผลเล็ก (อายุ 30 วัน)

หลังจากที่ดอกทุเรียนมีการผสมเกสรเรียบร้อย ดอกทุเรียนจะเหลือแต่เกสรตัวเมียที่ติดอยู่ที่ต้น ปลายเกสรจะเริ่มแห้งเหมือนไหม้ หรือที่เรียกว่าดอกทุเรียนระยะหางแย้ จะเข้าสู่การติดผลเล็ก และจะพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนถึงระยะผลไข่ไก่ แนะนำเริ่มบำรุงเมื่อทุเรียนอายุ 30 วัน โดยใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-24 อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ทุกๆ 15 วัน เพื่อช่วยบำรุงผลทุเรียนให้สมบูรณ์

ระยะทุเรียนขยายผล (อายุ 45-90 วัน)

ผลทุเรียนจะมีการเจริญเติบโตและพัฒนาใหญ่ขึ้นตามลำดับ จนเข้าสู่ระยะกระป๋องนม ต้องเร่งการบำรุงโดยเน้นการขยายผล สร้างเนื้อ เบ่งพู ให้ทุเรียนมีคุณภาพ แนะนำใส่ปุ๋ยย สูตร 15-9-20 อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ทุกๆ 15 วัน เพื่อพัฒนาให้เป็นทุเรียนเกรดเอ ได้ไซด์ ทรงสวย พูเต็มต่อไป

ระยะทุเรียนก่อนเก็บเกี่ยว (อายุ 90-120 วัน)

การบำรุงช่วงสุดท้ายก่อนทำการเก็บเกี่ยวผลผลิต เป็นช่วงที่เน้นการบำรุงเพื่อเพิ่มคุณภาพให้ทุเรียน แนะนำใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 13-13-24 อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ทุกๆ 15 วัน เพื่อช่วยเรื่องรสชาติที่อร่อย การเข้าสีสวย พูเต็ม ได้น้ำหนักดี ตามที่ตลาดต้องการ

การปลูกทุเรียนให้ได้ผลผลิตเกรดเอ เน้นตลาดส่งออกเพื่อเพิ่มมูลค่านั้น ต้องมีการดูแลและเอาใจใส่ทุกขั้นตอนที่สำคัญ ตั้งแต่การเตรียมแปลง การดูแลต้นทุเรียนปลูกใหม่ ตลอดจนการบำรุงธาตุอาหารทางดินให้เพียงพอต่อความต้องการ เพื่อให้ต้นได้นำไปเลี้ยงลูกทุเรียนได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้ทุเรียนเกรดเอ คุณภาพดี ตามที่ตลาดส่งออกต้องการ


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
มะม่วงเกรียบ แปรรูปมะม่วง เพิ่มมูลค่ากิโลละร้อย
มะม่วงเกรียบ แปรรูปมะม่วง เพิ่มมูลค่ากิโลละร้อย
เคยเห็นกันแต่มะม่วงกวน มะม่วงแช่อิ่ม แต่วันนี้มีเกษตรกรคิดไม่เหมือนใคร เอามะม่วงมาแปรรูปเป็นข้าวเกรียบมะม่วง หรือมะม่วงเกรียบ รูปร่างไม่ต่างจากทุเรียนทอด แต่รสชาติต่างไป หวานอมเปรี้ยวนิดๆ เพิ่มมูลค่ามะม่วงกิโลกรัมละไม่กี่สตางค์ เป็น กก.ละ 100 บาท

สุไลคอ แสงสุวรรณ เกษตรกร ผู้แปรรูปผลผลิตของตัวเองจากสวน ต.สิงหนาท อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เผยว่า ที่บ้านปลูกต้นไม้แบบสวนผสม ทั้งพืชผักทั่วไปและไม้ยืนต้น รวมถึงมะม่วงหลายต้น ถึงเวลาออกลูก ก็เอามาขายทั้งในแบบผลดิบและสุก ส่วนใหญ่จะขายหมด

แปรรูปมะม่วงเกรียบ เพิ่มมูลค่ากิโลละร้อย

3 ปีที่แล้ว มะม่วงออกมาค่อนข้างมาก ขายไม่หมด เหลือสุกคาร้านจำนวนมาก เลยมาคิดว่าจะแปรรูปอะไรดี จะแปรรูปเป็นมะม่วงกวน คนก็ทำกันเยอะ มะม่วงแช่อิ่มก็มีไม่น้อยไปกว่ากัน พอดีไปเจอคนทำทุเรียนทอดขาย เลยคิดว่าน่าจะทำมะม่วงทอดบ้าง เลยศึกษาสูตรวิธีการทำทุเรียนทอด แล้วนำมาประยุกต์ให้เป็นสูตรของมะม่วง ลองผิดลองถูกอยู่ไม่นาน จนได้สูตรสำเร็จ

แต่จะให้เรียกมะม่วงทอดธรรมดาไป ไม่ดึงดูดใจ จึงตั้งชื่อเป็น ข้าวเกรียบมะม่วง หรือ มะม่วงเกรียบ

ขั้นตอนการแปรรูป...เริ่มที่นำมะม่วงสุกมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นพอประมาณ นำมาปั่นในเครื่องปั่นให้ละเอียด จากนั้นตั้งกระทะไฟอ่อนนำไปกวนในอัตราส่วนน้ำตาลครึ่ง กก. ต่อมะม่วง 3 กก. เติมเกลือ 1 ช้อนชา กวนให้พอเหนียว ปล่อยให้เย็น แล้วนำไปนวดกับแป้งมัน 1.5 กก. ใส่เกลือ 1 ช้อนชา ค่อยๆใส่แป้งทีละน้อยอย่าใส่ทีเดียว เพราะจะทำให้แป้งกับมะม่วงรวมเนื้อกันยาก นวดไปจนกว่าแป้งจะเนียนไม่ติดมือ

แปรรูปมะม่วงเกรียบ เพิ่มมูลค่ากิโลละร้อย
ต่อมาให้นำมะม่วงที่ผสมกับแป้งเป็นเนื้อเดียว มาปั้นเป็นแท่งยาว ห่อด้วยพลาสติกมัดหนังยางหัวท้าย แล้วนำไปนึ่งให้สุกประมาณ 50 นาที เมื่อสุกแล้วพักไว้ให้เย็น จากนั้นนำไปแช่ตู้เย็นในห้องธรรมดา 1-2 คืน เมื่อต้องการใช้งานให้นำออกจากตู้เย็นแกะถุงพลาสติกออก แล้วเอามาตากแดดทิ้งไว้ 1-2 วัน ตัดเป็นชิ้นบาง 0.2 มล. ด้วยเครื่องตัดแล้วนำมาทอดให้พอเหลือง ก็จะได้มะม่วงเกรียบรสชาติหวานละมุน ต่างจากทุเรียนทอดหรือขนุนทอด ที่รสจะออกรสมันและหวานเล็กน้อย



ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
ขนุน ดอกร่วง ผลเน่า ผลดำ ใบไหม้ กำจัดโรค เชื้อราต่างๆในขนุน ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK สวย ปุ่ย ศัตรูพืช
ขนุน ดอกร่วง ผลเน่า ผลดำ ใบไหม้ กำจัดโรค เชื้อราต่างๆในขนุน ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK สวย ปุ่ย ศัตรูพืช
ไอเอส และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน

โรครากเน่า​โคน​เน่า​ในขนุน​ ที่เกิดจากเชื้อราไฟท็อปธอร่า​ เข้าทำลาย​ ลักษณะ​อาการคล้ายโรครากเน่า​โคน​เน่า​ในทุเรียน​ บางครั้งมีเชื้อราฟิวซา​เรี่ยม​เข้าทำลายซ้ำ​ ทำให้ต้นขนุนยืนต้นตาย​ ใบเหลือง​ ร่วง

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สกัดจากธรรมชาติทั้งหมด โดยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงอันทันสมัย 'การควบคุมประจุไฟฟ้า' สามารถฉีดพ่นได้ก่อนการเก็บเกี่ยว โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว
ขนาด 1 ลิตร
อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

แนะนำให้ผสม ไอเอส และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน
มาคา 50 ซีซี และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้..

เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า

เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม


สั่งซื้อ
โทร 0909-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link.. ได้เช่นกัน
ทุเรียน ใบไหม้ ราดำ ราแป้ง กำจัดโรคทุเรียน จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
ทุเรียน ใบไหม้ ราดำ ราแป้ง กำจัดโรคทุเรียน จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
ไอเอส และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน

โรคไฟทอปธอร่านี้ มีสาเหตุมาจาก Phytophthora spp
อาการของโรคแสดงออกมาได้หลายอย่าง เช่น รากเน่า โคนเน่า ใบเหลือง แห้ง และร่วง ทั้งหมดนี้สามารถทำความเสียหายได้ตั้งแต่ผลทุเรียนไม่สมบูรณ์ ไปจนถึงทุเรียนเสียหายทั้งต้นจนต้องโค่นทิ้ง แต่ประเด็นที่น่ากลัวจริงๆอยู่ตรงที่ว่า ถึงแม้จะโค่นทุเรียนต้นเดิมทิ้งไปแล้ว ถ้าหากมีการปลูกทุเรียนใหม่ในพื้นที่เดิม ตัวเชื้อก็อาจจะยังอยู่ได้ และทำลายทุเรียนต้นใหม่ไปได้เรื่อยๆไม่รู้จบ

โรคแอนแทรคโนส เกิดมาจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides
จะเข้าทำลายต้นทุเรียนในช่วงที่ช่อดอกเริ่มบาน ดังนั้นจะสังเกตเห็นได้โดยง่ายว่าดอกจะมีสีช้ำๆดำๆ และมีรอยราสีเทาๆด้วย

โรคใบติด เชื้อราที่เป็นต้นเหตุคือ Rhizoctonia solani
อาการที่พบได้เบื้องต้นคือใบจะมีรอยจุดๆ ไหม้ๆ เริ่มจากจุดเล็กๆ แล้วลุกลามได้ทั้งใบ และจะมีเส้นใยที่ดูเหมือนใยแมงมุมปกคลุมใบอยู่ด้วย

โรคราสีชมพู เกิดมาจากเชื้อราชื่อ Cortricium Salmonicolor
อาการของโรคจะสังเกตได้ชัดที่กิ่ง คือกิ่งจะดูแห้งๆ มีจุดสีเหลืองๆขึ้นตะปุ่มตะป่ำและร่วงหล่นลงไปเป็นครั้งๆ นอกจากนี้จะมีเส้นใยเชื้อราเป็นขุยๆสีชมพูด้วย ถ้าปล่อยไว้นานๆกิ่งจะเริ่มแตก และแห้งตายได้

โรคราแป้ง เชื้อราที่เป็นตัวการคือ Oidium sp.
สามารถเข้าทำลายทุเรียนได้ตั้งแต่ช่วงดอกบานจนถึงช่วงเริ่มติดผล อาการที่พบคือ บริเวณดอกหรือผลจะมีผงเชื้อราสีขาวๆคล้ายแป้ง ทำให้ไปรบกวนการเจริญเติบโตของทุเรียน ผลออกมาไม่สวย รสชาติไม่ดี ไม่สามารถนำไปขายได้

โรคราดำ สาเหตุคือเชื้อรา Polychaeton sp._ Tripospermum sp.
ส่วนที่จะเสียหายคือผล อาการที่พบคือผลจะมีรอยแผลสีดำๆประปราย ทำให้ผลทุเรียนราคาตกได้หรืออาจขายไม่ได้เลย เนื่องจากมีตำหนิ

โรคผลเน่า สาเหตุคือเชื้อราชื่อ Phytophthora palmivora
ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกับโรครากเน่าและโคนเน่า สามารถเข้าทำลายผลทุเรียนได้ทั้งช่วงอ่อนและช่วงแก่ อาการของโรคที่สังเกตได้คือ ผลทุเรียนจะมีรอยราขาวๆ ดูคล้ายผงแป้ง มีรอยช้ำเป็นจ้ำๆ เน่าไปถึงเนื้อได้ ทำให้ผลทุเรียนขายไม่ได้ราคา

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สกัดจากธรรมชาติทั้งหมด โดยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงอันทันสมัย การควบคุมประจุไฟฟ้า สามารถฉีดพ่นได้ก่อนการเก็บเกี่ยว โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว
ขนาด 1 ลิตร
อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

แนะนำให้ผสม ไอเอส และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน
มาคา 50 ซีซี และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้..

เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า

เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม


สั่งซื้อ
โทร 0909-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link.. ได้เช่นกัน
กำจัดเชื้อรา ทุเรียน ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
กำจัดเชื้อรา ทุเรียน ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
ไอเอส และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน

โรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียน สาเหตุ เชื้อราไฟทอฟธอรา (Phytophthora palmovora (Butler) Butler)
ลักษณะอาการ ใบจะไม่เป็นมันสดใสเหมือนใบทุเรียนปกติ ต่อมาใบล่างๆ จะเริ่มเป็นจุดประเหลืองแล้วค่อยๆ หลุด
ร่วงไป ต้นทรุดโทรมและตายเกิดอาการเน่าที่โคนต้นหรือกิ่ง จะสังเกตเห็นผิวเปลือกของลำต้นหรือกิ่งคล้ายมีคราบน้ำเกาะติดเห็นได้ชัดในสภาพที่ต้นทุเรียนแห้ง ในช่วงเช้าที่มีอากาศชุ่มชื้นจะมองเห็นหยดน้ำยางสีน้ำตาลแดงไหล ออกมาจากรอยแผลแตกของลำต้นหรือกิ่ง และน้ำยางนี้จะค่อยๆ แห้งไปในช่วงกลางวันที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบน้ำจับบนเปลือกของลำต้น เมื่อถากเปลือกของลำต้นบริเวณที่มีคราบน้ำยาง จะเห็นเนื้อเยื่อเปลือกถูกทำลายมีสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลเข้ม ส่วนอาการเน่าที่เกิดกับรากเล็กหรือรากฝอยนั้น เนื้อเยื่อ
รากจะเปื่อยยุ่ย เมื่อดึงเบาๆ จะขาดออกจากกันได้ง่าย

โรคผลเน่า สาเหตุ เชื้อราไฟทอฟธอรา
ลักษณะอาการ
บริเวณปลายผล หรือก้นผลมักพบจุดช้ำสีน้ำตาลปนเทา ต่อมาขยายเป็นวงกลมหรือค่อนข้างรี
ไปตามรูปร่างผล แผลดังกล่าวอาจพบได้ตั้งแต่ผลยังคงอยู่บนต้น แต่ส่วนใหญ่มักพบเกิดกับผลในช่วง
ประมาณ 1 เดือน ก่อนเก็บเกี่ยวจนกระทั่งเก็บเกี่ยว และในระหว่างบ่มผลให้สุก

โรคใบติดหรือใบไหม สาเหตุ เชื้อราไรซอกโทเนีย
ลักษณะอาการ
พบแผลคล้ายน้ำร้อนลวกบนใบ บริเวณกลางใบหรือขอบใบ ต่อมาแผลขยายตัวลุกลามและ
เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างแผลไม่แน่นอนเชื้อราจะแพร่ไปยังใบอื่นที่ติดกันโดยการสร้างเส้นใย
ของเชื้อรายึดใบให้ติดกัน ทำให้เกิดอาการใบแห้งเป็นหย่อม ๆ และใบจะค่อย ๆ ร่วงหล่นลงยังโคนต้นเหลือ
แต่กิ่ง ซึ่งต่อมาจะค่อย ๆ แห้ง ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง และมีการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์

โรคแอนแทรคโนสในทุเรียน สาเหตุ เชื้อราคอลเลโตตริคัม
ลักษณะอาการ
ลักษณะอาการคล้ายโรคใบติด โดยใบจะไหม้เป็นสีน้ำตาล มักเกิดตามบริเวณขอบใบหรือกลางใบ
บริเวณเนื้อใบที่ไหม้จะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ขอบของแผลจะเป็นสีน้ำตาลเข้มล้อมรอบแผล เนื้อใบที่ถูกทำลาย
จะมองดูโปร่งใส การเกิดโรคมักจะกระจายไปทั่วทั้งต้น ไม่เหมือนโรคใบติดที่มักพบกระจายเป็นหย่อมๆ
โรคนี้พบได้ทั้งในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง แต่มองเห็นอาการได้ชัดเจนในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเป็นระยะที่ทุเรียนกำลัง
ออกดอกติดผล

โรคราสีชมพู เชื้อราคอร์ทีเซียม
ลักษณะอาการ
เมื่อมองดูจากนอกทรงพุ่ม จะเห็นอาการใบเหลืองร่วงเป็นหย่อมๆ คล้ายอาการกิ่งแห้ง หรือโคนเน่า
ที่เกิดจากเชื้อราไฟทอฟธอรา แต่หากสังเกตตามกิ่งด้านในของทรงพุ่มจะเห็นเส้นใยของเชื้อราสีขาวปกคลุม
โคนกิ่งที่แสดงอาการ เมื่อเชื้อเจริญลุกลามและมีอายุมากขึ้น เส้นใยขาวจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพู ซึ่งเป็น
ช่วงเวลาที่เชื้อราสร้างส่วนขยายพันธุ์เพื่อการระบาดไปยังต้นอื่น ๆ ต่อไป เมื่อถากส่วนของกิ่งที่มีเชื้อรา
ปกคลุมอยู่จะเห็นเนื้อเปลือกแห้งเป็นสีน้ำตาล

โรคราแป้ง สาเหตุ เชื้อราออยเดียม
ลักษณะอาการ
พบกลุ่มของเชื้อราสีขาวมีลักษณะคล้ายฝุ่นแป้งปกคลุมผิวเปลือกทุเรียน เชื้อสามารถเข้าทำลายผล
ทุเรียนได้ตั้งแต่เริ่มติดผลอ่อนจนกระทั่งผลแก่จำหน่ายได้ ซึ่งการเข้าทำลายของเชื้อในระยะติดผลใหม่ๆ
ก็อาจจะทำให้ผลอ่อนนั้นร่วงหล่นได้ หรือถ้าเป็นกับผลที่กำลังเจริญเติบโตก็จะทำให้สีผิวของทุเรียนผิดปกติ
ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำลง

โรคราดำ สาเหตุ เชื้อรา
ลักษณะอาการ
ผลทุเรียนมีราสีดำเจริญเป็นจุด ๆ หรือปกคลุมกระจายทั่วผล จุดมักรวมตัวกันทำให้เห็นเป็นปื้นดำ
ทำให้ผิวผลทุเรียนไม่สะอาด และมีราคาตกต่ำลง

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สกัดจากธรรมชาติทั้งหมด โดยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงอันทันสมัย 'การควบคุมประจุไฟฟ้า' สามารถฉีดพ่นได้ก่อนการเก็บเกี่ยว โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว
ขนาด 1 ลิตร
อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

แนะนำให้ผสม ไอเอส และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน
มาคา 50 ซีซี และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้..

เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า

เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม


สั่งซื้อ
โทร 0909-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link.. ได้เช่นกัน
การรดน้ำให้ต้นไม้ พืชที่เราปลูก ต้องรดน้ำมากน้อยเท่าไร จึงจะเหมาะสม
การรดน้ำให้ต้นไม้ พืชที่เราปลูก ต้องรดน้ำมากน้อยเท่าไร จึงจะเหมาะสม
การปลูกพืชให้ได้ผลดีเรามักพูดกันติดปากว่า ดินดี น้ำดี แต่คำว่าน้ำดีนั้นแค่ไหนถึงเรียกว่าน้ำดี ถ้าเราขุดบ่อมีแหล่งน้ำดีแล้วจะต้องดูดขึ้นไปรดน้ำให้พืชมากแค่ไหนพืชถึงจะพอ

ปลูกพืชต้องรดน้ำเท่าไหร่จึงจะพอ

น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับพืช ทำให้พืชเจริญเติบโต ให้ผลผลิต ดินมีปุ๋ยแต่ไม่มีน้ำพืชก็อยู่ไม่ได้ การเพาะปลูกพืชจึงต้องมีน้ำเพียงพอเหมาะสมกับพืชชนิดนั้นๆ

มาดูกันก่อนว่าน้ำสำคัญกับพืชยังไง

1. น้ำทำให้ดินนุ่ม รากพืชชอนไชไปหาธาตุอาหารได้

2. น้ำช่วยละลายธาตุอาหารเป็นสารละลายให้พืชดูดไปใช้ได้

3. พืชออสโมซีส คือ ดูดน้ำจากในดินผ่านทางราก เข้าสู่ท่อน้ำ แล้วไปคายทิ้งที่ปากใบ กระบวนการดูดน้ำนี้ทำให้มีธาตุอาหารที่เป็นสารละลายติดขึ้นมาเป็นอาหารด้วย

การรดน้ำ จึงขอแค่เพียงให้ดินชื้นพอให้พืชออสโมซีสได้

วิธีการหาปริมาณความต้องการน้ำของพืชตามหลักวิชาการมีมากมายหลายทฤษฎี แต่คำนวณยุ่งยากมาก ปล่อยให้เป็นเรื่องของนักวิชาการและกรมชลประทานเขาใช้คำนวณเพื่อออกแบบระบบชลประทานกันไป สำหรับเกษตรกรเราสามารถคำนวณหาปริมาณการรดน้ำให้พืชได้ง่ายกว่านั้น

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าน้ำหรือความชื้นในดินสูญเสียหรือสูญหายได้ 3 กรณี คือ

1. ซึมหายลงไปในดิน

2. ระเหยหายไปในอากาศ

3. ถูกพืชดูดขึ้นไปคายทิ้งทางใบ

ปริมาณน้ำที่ซึมหายไปในดินเราไม่ต้องสนใจ เพราะน้ำส่วนมากจะซึมหายไปได้เมื่อมีน้ำในดินมากๆ เช่น ตอนฝนตก หรือมีน้ำท่วม แต่เมื่อน้ำในดินเหลือน้อยเพียงแค่ดินชื้นๆ น้ำจะถูกมวลดินซึมซาบไว้ไม่ปล่อยให้ไหลซึมลึกลงไปง่ายๆ แต่จะหายไปเพราะการระเหยและถูกพืชดูดไปใช้มากกว่า

ดังนั้น น้ำในดินจึงถูกแย่งกันระหว่างการระเหยกับถูกพืชดูดไปใช้

หลักการรดน้ำง่ายๆ จึงขอแค่ให้รดน้ำในปริมาณไม่น้อยกว่าหรือเท่ากับอัตราการระเหยก็พอ ซึ่งเท่ากับยังมีความชื้นในดินให้แข่งกันระหว่างการระเหยกับพืชดูดมาใช้

อัตราการระเหยของน้ำแต่ละพื้นที่แต่ละเดือนไม่เท่ากัน ดูข้อมูลได้จากสถิติของกรมอุตุนิยมวิทยา และการนำมาใช้งานต้องปรับใช้ให้เหมาะสมด้วย เช่น ถ้าเอามาใช้กับสวนยาง สวนปาล์ม หรือสวนผลไม้ที่พุ่มโตแล้ว ใต้ต้นมีร่มเงามาก อัตราการระเหยจริงก็จะต่ำกว่าข้อมูลที่ดูจากสถิติ

ตัวอย่างการคำนวณ เช่น

จังหวัดนครราชสีมาในช่วงเดือนเมษายนมีอากาศค่อนข้างร้อน มีสถิติย้อนหลังบอกว่าเดือนนี้มีอัตราการระเหยของน้ำอยู่ที่ 5.11 มม.ต่อวัน และเกือบจะไม่มีในตกเลย การปลูกพืชจึงต้องรดน้ำอย่างเดียวหวังพึ่งน้ำฝนไม่ได้

คำนวณอัตราการสูญเสียน้ำจากการระเหยได้เท่ากับ 0.511 x 100 x 100 / 1_000 = 5.11 ลิตรต่อตารางเมตรต่อวัน

ถ้าเราปลูกทุเรียน และทุเรียนของเรามีรัศมีพุ่มใบ 1 เมตร ให้เรานึกภาพว่าตอนนี้ทุเรียนของเราจะมีรากอยู่ในรัศมี 1 เมตรนั่นแหล่ะ เวลาเรารดน้ำก็รดน้ำในรัศมีนี้เพื่อชดเชยน้ำที่ระเหยหายไปในอากาศ ส่วนที่อยู่นอกรัศมีพุ่มใบถ้าดินแห้งก็ปล่อยให้แห้งไป

พื้นที่รัศมี 1 เมตร มีพื้นที่ = 22/7 x 1^2 = 3.14 ตารางเมตร

การระเหยของน้ำในพื้นที่รดน้ำ = 5.11 x 3.14 = 16 ลิตรต่อวัน

ดังนั้น จึงต้องรดน้ำทุเรียนต้นนี้ 16 ลิตรต่อวันเป็น ซึ่งอาจจะเป็นการรดน้ำ 16 ลิตรทุกวัน หรือรดน้ำ 32 ลิตรทุก 2 วัน หรือรดน้ำ 48 ลิตรทุก 3 วัน ก็ได้ โดยการเว้นระการรดน้ำต้องดูด้วยว่าไม่ได้ปล่อยให้ดินแห้งจนถึงขั้นต้นไม้แสดงอาการเหี่ยว

หลักการคำนวณการรดน้ำง่ายๆ นี้ นำไปใช้ได้กับพืชทุกชนิด รู้หลักการนี้แล้วถ้าเกษตรกรทำสวนขนาดใหญ่ก็สามารถใช้คำนวณระบบท่อน้ำต่อไปได้ด้วย

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3917
พืชที่เหมาะจะปลูก ในแต่ละภาค ของประเทศไทย ภาคไหน... ปลูกอะไรดี?
พืชที่เหมาะจะปลูก ในแต่ละภาค ของประเทศไทย ภาคไหน... ปลูกอะไรดี?
พี่น้องเกษตรกรหลายคน น่าจะเคยสงสัยว่าเราปลูกพืชชนิดเดิมๆ มานาน อยากเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นบ้าง แล้วเราจะปลูกอะไรดี หรือเกษตรมือใหม่ทีอยากจะปลูกพืช แต่ไม่รู้ว่าพื้นที่ๆ เราอยู่ควรปลูกพืชอะไรดี

เพื่อให้ง่ายกับการวางแผนการทำการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นเก๋า เกษตรกรรุ่นใหม่ เกษตรกรมือใหม่ มาดูกันว่าในแต่ละภูมิภาคที่เราอยู่ปลูกพืชชนิดไหนได้บ้าง

ภาคกลาง - ภูมิภาคแห่งการปลูกข้าว

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคกลาง มีดังนี้

ข้าว

อ้อย

ข้าวโพด

ผัก

ภาคกลางนั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่มและมีแหล่งน้ำเพียงพอ การเลือกปลูกพืชสำหรับภาคกลางจึงไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากให้เลือกชนิดพืชที่เหมาะสมที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นข้าว ในประเทศไทยนั้นมีพื้นที่กว่า 32 ล้านไร่ที่เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าว นอกเหนือจากนั้นยังเหมาะกับการปลูกอ้อยและข้าวโพดอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ด้วยความเป็นพื้นที่ราบลุ่มและมีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย สิ่งที่เกษตรกรพึงระวังคือเรื่องน้ำท่วม เนื่องจากมีสภาพพื้นที่ลุ่มต่ำ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่มาก ทำให้เป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมมากที่สุด การวางแผนทำการเกษตรในภาคกลางจึงควรคำนึงถึงเรื่องนี้เพื่อป้องกันการเสียหายจากน้ำท่วมในอนาคต

ภาคเหนือ - สูงและเย็น คือคำนิยาม

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคเหนือ มีดังนี้

ข้าว

ลำไย

ลิ้นจี่

ส้ม

สตรอเบอรี่

บ๊วย

พลับ

กีวี่

พีช

เสาวรส

ผักเมืองหนาว

ภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยภูเขา แต่ก็ยังเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวได้อย่างดี โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ แต่สิ่งที่ทำให้ภาคเหนือมีความพิเศษคือสภาพอากาศหนาวเย็น เปิดโอกาสให้เกษตรกรภาคเหนือได้ปลูกพืชเมืองหนาว ซึ่งหาไม่ได้จากเมืองร้อนอย่างไทย เช่นสตรอเบอรี่ บ๊วย พลับ กีวี่ พีช เสาวรส และผักเมืองหนาว เป็นต้น

ถึงอย่างนั้น หากเป็นภาคเหนือบริเวณพื้นที่ภูเขาสูง อาจต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการน้ำ เพราะหลายพื้นที่ก็อาจขาดแคลนน้ำได้ รวมถึงต้องระวังการปลูกพืชที่ไม่ชอบอากาศหนาวอีกด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - แดนดินเค็มและแห้งแล้ง

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้

ข้าว

อ้อย

มันสำปะหลัง

ข้าวโพด

สับปะรด

มะพร้าว

ลำไย

ถือเป็นภาคที่ขึ้นชื่อเรื่องสภาพพื้นที่อันโหดร้าย เพราะความแล้งจัดและความเค็มของดินจึงทำให้ยากต่อการเลือกปลูกพืชสำหรับภาคอีสาน อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคนี้กลับเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวคุณภาพดีชั้นหนึ่งของไทยอย่างข้าวหอมมะลิ การปลูกพืชในภาคอีสานต้องมีการปรับปรุงดินและบริหารจัดการน้ำที่ดี เพราะเสี่ยงภัยแล้งจัดและดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่องข้างต่ำกว่าที่อื่น นอกเหนือจากข้าวแล้วยังมีอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด สับปะรด มะพร้าว และลำไย ซึ่งพืชเหล่านี้ถือว่ามีความเหมาะสมระดับปานกลางที่จะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การแก้ปัญหาดินเค็มนั้นใช้ต้นทุนค่อนข้างสูงและยาก ยิ่งสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้อาจจะยิ่งซ้ำปัญหาดินเค็มมากกว่าเดิม แต่เกษตรกรสามารถทดลองปลูกพืชทนเค็ม จำพวกพุทรา มะขาม หน่อไม้ฝรั่ง ละมุด เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งได้ หรือหากอยู่ในภาคอีสานตอนบนที่ค่อนข้างสูงและเย็น ก็สามารถทดลองปลูกไม้เมืองหนาวได้เช่นกัน

ภาคตะวันออก - แดนทุเรียน ถิ่นไม้ผล

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคตะวันออก มีดังนี้

ทุเรียน

มังคุด

ลำไย

อ้อย

มันสำปะหลัง

ข้าวโพด

สับปะรด

ยางพารา

หากพูดถึงภาคตะวันออก หนึ่งในจังหวัดที่นิยมปลูกไม้ผลที่สุดคงไม่พ้นจังหวัดจันทบุรีและระยอง ที่มีชื่อเสียงจากทุเรียน เนื่องจากเป็นภาคที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นและฝนตกชุก ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกไม้ผลเป็นอย่างยิ่ง แต่นอกเหนือจากทุเรียนแล้ว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด สับปะรด และยางพาราก็เหมาะสมที่จะปลูกในภาคตะวันออกเช่นกัน

แม้จะเป็นพื้นที่เหมาะกับการปลูกไม้ผล แต่เพราะสภาพอากาศฝนตกชุกของภาคตะวันออก เกษตรกรควรระวังโรคที่มากับฝนและความชื้น เช่น โรคไฟทอปธอร่าในทุเรียน ที่มักจะระบาดหนักจากความชื้นในดิน ดังนั้นภูมิภาคนี้ต้องการความใส่ใจมากเป็นพิเศษ ไม่แพ้ภาคอื่นๆเลยทีเดียว

ภาคใต้ - พื้นที่มากฝนและพายุ จุดศูนย์รวมปาล์มน้ำมันและยางพารา

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคใต้ มีดังนี้

ทุเรียน

ปาล์มน้ำมัน

ยางพารา

เงาะ

กาแฟโรบัสต้า

ด้วยสภาพพื้นที่ยื่นออกไปในทะเลอันดามันและอ่าวไทย ภาคใต้จึงเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกชุกมากที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งสภาพอากาศโดยรวมคือร้อนชื้น คล้ายคลึงกับภาคตะวันออกเป็นอย่างมาก จึงทำให้เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกไม้ผลและพืชไร่หลายชนิด แต่หนึ่งในพืชที่เหมาะสมโดดเด่นที่สุดในภาคใต้คงหนีไม่พ้นปาล์มน้ำมัน ยางพารา และเงาะ ซึ่งสามารถปลูกได้ทั้งภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงนราธิวาส ทว่านอกเหนือจากพืชสองชนิดนี้แล้ว กาแฟโรบัสต้าเองก็มีความเหมาะสมปานกลางที่จะปลูกในภาคใต้อีกด้วย

ข้อควรระวังของภาคใต้ คือฝนตกชุกที่อาจนำพาโรคมา รวมไปถึงพายุที่อาจทำให้สวนของเกษตรกรเสียหายได้ ดังนั้นจึงควรระวังและป้องกันพืชผลไม่ให้ถูกทำลายจากพายุให้ดี

นอกเหนือจากข้อมูลเหล่านี้แล้ว สิ่งที่เกษตรกรควรคำนึงถึงก่อนเลือกปลูกพืชในแต่ละภูมิภาค คือสภาพดินในไร่สวนของตนเอง เกษตรกรควรมีการตรวจวิเคราะห์ดินโดยสามารถส่งตรวจกับสำนักงานพัฒนาที่ดินในพื้นที่ของตนเอง จากนั้นจึงนำผลมาใช้ในการปรับปรุงดินให้เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกพืชต่อไป การปลูกพืชนอกเหนือไปจากพื้นที่ที่เหมาะสมนั้นสามารถทำได้ เพียงแต่ต้องอาศัยการจัดการที่มากขึ้น ซึ่งอาจหมายถึงต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าการปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมตามธรรมชาติ และต้องคำนึงถึงช่องทางการขายและการขนส่งผลผลิตไปยังโรงงานแปรรูปหรือผู้รับซื้ออีกด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก : Kaset Go

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:2989
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เพลี้ยต่างๆ ในทุเรียน และพืชอื่นๆ มาคา และ FK-T (ใช้ได้ทุกพืช) โดย FK
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เพลี้ยต่างๆ ในทุเรียน และพืชอื่นๆ มาคา และ FK-T (ใช้ได้ทุกพืช) โดย FK
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เพลี้ยต่างๆ ในทุเรียน และพืชอื่นๆ มาคา และ FK-T (ใช้ได้ทุกพืช) โดย FK
มาคา และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน

มาคา เป็นสารอินทรีย์ ปลอดภัย ป้องกัน กำจัด เพลี้ยต่างๆ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด เพลี้ยแมลงศัตรูพืชต่างๆ
ขนาด 1 ลิตร (แนะนำให้ใช้คู่กับ FK ธรรมชาตินิยม เพื่อเร่งฟื้นฟูบำรุง)
อัตราผสม 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่น ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว
ขนาด 1 ลิตร
อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

แนะนำให้ผสม มาคา และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน
มาคา 50ซีซี และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

เหตุผลที่แนะนำให้ผสมฉีดพ่นไปพร้อมกัน
เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า
เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม

ช้อปปี้ http://www.farmkaset..link..

ลาซาด้า http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3039
หนอนทุเรียน หนอนต่างๆ ใช้ ไอกี้-บีที จาก FK
หนอนทุเรียน หนอนต่างๆ ใช้ ไอกี้-บีที จาก FK
หนอนทุเรียน หนอนต่างๆ ใช้ ไอกี้-บีที จาก FK
ป้องกัน กำจัด หนอน ใน ทุเรียน ใช้

ไอกี้-บีที

อัตราการผสมใช้

25กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 250กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร

ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง

การผสม FK ธรรมชาตินิยม ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน จะช่วยให้พืชฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของ โรค และ แมลงศัตรูพืช ได้เร็วยิ่งขึ้น
อ่าน:3040
เพลี้ยทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยต่างๆ มาคา จาก FK
เพลี้ยทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยต่างๆ มาคา จาก FK
เพลี้ยทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยต่างๆ มาคา จาก FK
เพลี้ย แมลงศัตรูพืช ทุเรียน เช่น เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยต่างๆ ใช้ มาคา

มาคา

อัตราการผสมใช้

50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร

ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง

การผสม FK ธรรมชาตินิยม ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน จะช่วยให้พืชฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของ โรค และ แมลงศัตรูพืช ได้เร็วยิ่งขึ้น
อ่าน:3078
420 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 42 หน้า, หน้าที่ 43 มี 0 รายการ
|-Page 33 of 43-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ท้าวเวสสุวรรณ เหล็กน้ำพี้ บรรดาลโชคลาภ ค้าขายร่ำรวย กิจการรุ่งเรือง เสริมอำนาจบารมี ทรัพย์สมบัติมั่นคง แคล้วคลาดปลอดภัย
Update: 2567/02/20 10:27:49 - Views: 121
การรู้จักและการจัดการกับโรคที่เกิดจากเชื้อราในต้นหน่อไม้ฝรั่ง
Update: 2566/11/10 09:46:14 - Views: 211
อาการขาดธาตุอาหารในข้าวโพด N, P, K, Mg, Zn "เราช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้คุณได้"
Update: 2566/11/04 11:38:24 - Views: 278
กำจัดเชื้อรา ดอกลิลลี่ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/24 11:28:16 - Views: 3018
ราสนิมขาวผักบุ้ง โรคผักบุ้งใบไหม้ และโรคราต่างๆ สร้างความเสียหายต่อผลผลิต ควบคุม ป้องกันกำจัดก่อนเกิดความเสียหาย
Update: 2566/11/04 09:56:30 - Views: 7893
หนอนชอนใบส้มโอ มะนาว และพืชตระกูลส้ม แก้ด้วย ไอกี้-บีที ปลอดสารพิษ หนอนตายใน 24-48 ชม.
Update: 2562/08/24 10:16:51 - Views: 3242
โรคบวบ ราน้ำค้างบวบ ราแป้งบวบ บวบใบไหม้ โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู เร่งโต สร้างภูมิฯ 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
Update: 2564/08/09 22:33:11 - Views: 3562
การป้องกันกำจัด เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยต้นทุเรียน
Update: 2566/05/06 08:15:02 - Views: 11779
ดอกชบา การปลูกชบา การดูแล ป้องกันกำจัดโรค และแมลง
Update: 2564/03/27 00:40:19 - Views: 3888
ฮิวมิค แอซิด: เทคโนโลยีใหม่สำหรับฟื้นฟูระบบรากและปรับปรุงดินในการปลูกมะปราง
Update: 2567/02/13 09:52:05 - Views: 154
จากช่างซ่อมรถ รายได้เดือนหมื่นห้า เปลี่ยนมาเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง สร้างรายได้กว่า 200000 บาท สองแสนบาทต่อเดือน
Update: 2563/05/07 15:41:16 - Views: 2997
ฟักทอง ใบไหม้ ราน้ำค้าง กำจัดโรคฟักทอง จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/26 09:55:22 - Views: 3136
ระวัง เพลี้ย ภัยร้ายของ ต้นมะละกอ สร้างเสียหายได้มาก ป้องกันได้อย่างไร?
Update: 2566/11/01 15:13:20 - Views: 318
การรดน้ำให้ต้นไม้ พืชที่เราปลูก ต้องรดน้ำมากน้อยเท่าไร จึงจะเหมาะสม
Update: 2565/08/16 18:22:10 - Views: 3917
คำนิยม - คุณราตรี ใช้ทั้ง ไอเอส มาคา ไอกี้บีที กำจัดโรครา หนอน และเพลี้ยแมลง
Update: 2562/08/30 12:19:24 - Views: 3009
ฮิวมิคแอซิด ฟาร์มิค: การฟื้นฟูระบบรากและปลดปล่อยธาตุอาหารสู่ดิน
Update: 2567/02/13 09:42:11 - Views: 134
มะม่วงเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตสูง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ซิงค์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
Update: 2566/11/10 07:07:37 - Views: 8546
การจัดการและควบคุมเพลี้ยในการเพาะปลูกถั่วเหลือง
Update: 2566/11/18 13:49:18 - Views: 323
ยากำจัดโรครากเน่า ใน ดอกมะลิ โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/12 15:14:59 - Views: 7034
ยารักษาโรคพืช กำจัดโรคผลสีน้ำตาล ใน มะนาว โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/01 11:28:11 - Views: 3010
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022