[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - โรคเน่าคอดิน
32 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 3 หน้า, หน้าที่ 4 มี 2 รายการ

โรคพืช ที่พบมากในฤดูฝน
โรคพืช ที่พบมากในฤดูฝน
เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนที่แสนชุ่มฉ่ำ เกษตรกรก็มักจะเจอกับปัญหาที่เลี่ยงไม่ได้ นั่นคือปริมาณน้ำที่มากขึ้น พร้อมกับความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น และสิ่งที่ตามมาคงไม่พ้น"โรคพืช"ต่างๆ โดยเฉพาะ"โรคพืช"ที่เกิดจาก"เชื้อรา" ดังนั้นหากฝนตกติดต่อกันเกินกว่า 2 - 3 วัน ควรมีการวางแผนที่ดีเพื่อป้องกันโรคพืชที่ตามมา เพราะพืชหลายชนิดเป็นเชื้อราได้ง่ายและมีการระบาดได้อย่างรวดเร็ว แล้วโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราจะมีโรคอะไรบ้าง และมีวิธีการป้องกันและแก้ไขยังไงไปดูกันเลย

1.โรคเน่าคอดิน (Damping off)

อาการ : โรคเน่าคอดินเป็นโรคพืชที่มักพบในพืชผักระยะกล้า เข้าทำลายบริเวณโคนต้น ราก รวมถึงเมล็ดที่กำลังงอกในพืชอวบน้ำ โดยต้นกล้าจะฟุบตายเป็นหย่อม ๆ บริเวณโคนต้นจะมีลักษณะแผลช้ำ เหี่ยวแฟบ คอเป็นสีน้ำตาลดำและเน่า เป็นเหตุทำให้ต้นกล้าหักพับลง

การป้องกันกำจัด

- เตรียมแปลงให้มีการระบายน้ำดี อย่าให้น้ำขังแฉะ ใช้เมล็ดพันธุ์ดีไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ติดมากับเมล็ด และมีความงอกสูง ไม่หว่านเมล็ดแน่นเกินไป
- ก่อนปลูกแช่เมล็ดด้วย สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช
- สำหรับแปลงปลูกให้ปรับดินด้วยปูนขาว และปุ๋ยอินทรีย์ให้มาก ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมกับดินปลูก
- ตรวจแปลงสม่ำเสมอพบต้นเป็นโรค รีบขุดเอาดินและต้นเป็นโรคทำลายหรือฝังลึกนอกแปลง

2.โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)

อาการ : โรคราน้ำค้างเป็นโรคพืชที่ใบจะมีรอยจ้ำๆเป็นสีขาว ขอบสีน้ำตาลกระจายอยู่ทั่ว แต่บางครั้งก็เป็นสีเหลืองด่างๆ สีน้ำตาลเข้ม หรือเป็นจุดขาวๆเล็กๆ ถ้าปล่อยไว้นานๆจะทำให้พืชอ่อนแอ สร้างผลผลิตที่ดีไม่ได้ และยังอาจทำให้ต้นอ่อนตายได้ด้วย

การป้องกันกำจัด : ให้ฉีดพ่นด้วย สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ซึ่งใช้ได้ระยะที่ยังเป็นต้นกล้า - ระยะการเติบโต

3.โรคใบจุด (Alternaria leaf spot)
อาการ : โรคใบจุดเป็นโรคพืชที่มีอาการบนต้นกล้า จะเกิดเป็นแผลเล็กๆ สีน้ำตาลดำ ลักษณะคล้ายโรคเน่าคอดินที่ขึ้นกับลำต้น เมื่อเชื้อเข้าทำลายในระยะต้นกล้า จะทำให้ต้นกล้าหยุดการเจริญเติบโตหรือชะงักงัน เมื่อย้ายไปปลูกในแปลงจะทำให้ต้นไม่สมบูรณ์ อาการในต้นแก่มักพบบนใบและก้าน เกิดเป็นแผลจุดเล็กๆ สีเหลือง ต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้น สีน้ำตาลเข้มถึงดำ เแผลมีลักษณะเป็นวงค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ

การป้องกันกำจัด
- ทำลายต้นเป็นโรคโดยการขุดถอนไปเผาทิ้ง
- ปลูกพืชหมุนเวียน
- ไม่ควรให้น้ำแบบฉีดพ่นฝอย
- แช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส 30 นาที (ยกเว้นกะหล่ำดอก)
- ฉีดพ่น สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช

4.โรคราสนิมขาว (White rust)
อาการ : โรคราสนิมขาวเป็นโรคพืชที่มีจุดสีเหลืองซีดด้านบนของใบ ด้านใต้ใบตรงกันข้าม จะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ ขนาด 1-2 มิลลิเมตร อาจพบลักษณะปุ่มปม หรือบวมพองโตขึ้นในส่วนของก้านใบและลำต้น

การป้องกันกำจัด
- หากเกิดโรคระบาด ให้ฉีดพ่นสารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช
- ดูแลระบบการให้น้ำในแปลงปลูก อย่าให้ขึ้นแฉะจนเกินไป

5.โรคเหี่ยว (Wilt)
อาการ : โรคเหี่ยวเป็นโรคพืชเกิดอาการเหี่ยวอย่างช้าๆ ใบที่อยู่โคนต้นเปลี่ยนเป็นสีหลืองและร่วง ต่อมาใบจะเหี่ยวทั้งต้น เมื่อผ่าลำต้นบริเวณเหนือระดับดินตามยาวจะพบว่า ท่อน้ำ ท่ออาหารเป็นสีน้ำตาล การผิดปกติของท่อน้ำ ท่ออาหารนี้จะลงไปถึงส่วนรากด้วย

การป้องกันกำจัด : ถ้าพบโรคในแปลง ต้องถอนต้นที่เป็นโรคมาทำลาย ก่อนปลูกควรปรับสภาพคืนด้วยปูนขาว และปุ๋ยคอก

เมื่อรู้แล้วว่าหน้าฝนนี้เราจะเจอโรคพืชอะไรบ้าง อย่าลืมสังเกตแปลงผักที่เราปลูกกันด้วยว่ามีอาการของโรคเหล่านี้หรือไม่ จะได้หาวิธีป้องกันกำจัดได้ทันท่วงที ลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิตตลอดฤดูกาลนี้

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา รายละเอียดด้านล่างนะคะ
การควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืช ด้วยสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ
การควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืช ด้วยสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ
ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมก าลังเข้าขั้นวิกฤติ สืบเนื่องมาจากการกระท าของมนุษย์
โดยเฉพาะการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต และการก าจัดศัตรูพืช ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อ
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน น้ า และระบบ
นิเวศวิทยา การท ากสิกรรมธรรมชาติ เพื่อผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัย ปลอดภัย และ
ประหยัดต้นทุนนั้น เกษตรกรจ าเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และหันมาใช้สารสกัดจาก
สมุนไพรทดแทนถึงแม้ว่าสารสกัดสมุนไพร จะมีผลในการท าลายแมลงที่เป็นประโยชน์พวกแมลงตัว
ห้ า หรือแมลงตัวเบียนบ้างก็ตาม แต่ก็น้อยกว่าสารเคมีเพราะพิษจากสมุนไพรสลายตัวได้รวดเร็ว
และไม่ตกค้างนาน การใช้สารสมุนไพรทดแทนการใช้สารเคมี จะมีความจ าเป็นในช่วงแรก ๆ ของ
การเปลี่ยนแปลง เพราะเกษตรกรใช้สารเคมีติดต่อกันมาเป็นเวลานาน จนท าให้ความสมดุล
ระหว่างแมลงศัตรูพืช กับแมลงที่เป็นประโยชน์สูญเสียไป เมื่องดสารเคมี และใช้สารสมุนไพร
ทดแทนไปสักระยะจนสามารถอนุรักษ์ และเพิ่มจ านวนประชากรของแมลงที่เป็นประโยชน์ได้มาก
จนเกิดความสมดุลภายในแปลงได้แล้วจึงค่อย ๆ ลดการใช้สารสมุนไพรลง โดยใช้เฉพาะเท่าที่
จ าเป็นเท่านั้น การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในคน สัตว์ และพืช การน าสมุนไพรมาใช้ในการ
ควบคุมโรคนั้น ควรมีความเข้าใจพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุนานาชนิด ที่
จะน ามาใช้ปรุงเป็นยาเสียก่อน โดยสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดนั้นจะขึ้นอยู่กับรสของสมุนไพร
นั้น ๆ รสยาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1 ยารสประธาน หมายถึง ยาที่ปรุงเป็นต ารับแล้ว แบ่งเป็น 3 รส คือ รสเย็น รส
ร้อน และรสสุขุม
2 ยา 9 รส หมายถึง สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด คือ
1) รสฝาด สรรพคุณ ใช้ในการสมานแผลต่าง ๆ
2) รสหวาน สรรพคุณ ซึมซาบไปตามผิว
3) รสเบื่อเมา สรรพคุณ แก้พิษ ดับพิษโลหิต
4) รสขม สรรพคุณ แก้ทางโลหิตและดี
5) รสมัน สรรพคุณ เป็นยาอายุวัฒนะ
6) รสหอมเย็น สรรพคุณ บ ารุงหัวใจ บ ารุงโลหิต
7) รสเค็ม สรรพคุณ ฟอกโลหิต ดับพิษร้อน
8) รสเปรี้ยว สรรพคุณ บ ารุงเลือด แก้กระหายน้ า
9) รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้โรคลม บ ารุงธาตุไฟ
และบางต ารายังได้เพิ่มอีก 1 รส คือ รสจืด สรรพคุณ ดับพิษ แก้ไข้ ขับปัสสาวะแก้ทางเตโชธาตุ
พิการ เช่นกันกับการน าสมุนไพรมาใช้ในการควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืชนั้น ก็ต้องมีความ
เข้าใจในพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุต่าง ๆ ที่จะน ามาใช้ปรุงเป็นยาป้องกัน
หรือยารักษาโรคพืชรวมทั้งยาฆ่า - ท าลายวงจรชีวิต และป้องกันแมลงด้วยโดยสรรพคุณของตัวยา
สมุนไพรที่ใช้ในการเกษตรสามารถแบ่งออกตามรสของสมุนไพรได้ประมาณ 5 รส คือ
1) สมุนไพรรสขม ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันแมลง อาทิเช่น ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด
สะเดา และหญ้าใต้ใบ
2) สมุนไพรรสเบื่อเมา ฆ่าหนอนเพลี้ย แมลงอื่น ๆ อาทิเช่น หางไหล หนอนตาย
หยาก ขอบชะนางแดง - ขาว ใบน้อยหน่า สลัดได พญาไร้ใบ แสยก และเมล็ดมะกล่ า
3) สมุนไพรที่มีรสฝาด แก้เชื้อราโรคพืช อาทิเช่น เปลือกแค เปลือกมังคุด ใบฝรั่ง
และใบทับทิม
4) สมุนไพรหอมระเหย ไล่แมลง เปลี่ยนกลิ่นต้นพืช อาทิเช่น ตะไคร้หอม สาบเสือ
โหระพา กะเพรา ผักชี กะทกรก สาบแร้งสาบกา และผักแพรวแดง
5) สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว ไล่แมลง แสบร้อน อาทิเช่น เปลือกส้ม มะกรูด มะนาว และ
มะขาม
วิธีการปรุง หรือสกัดยาสมุนไพร เพื่อใช้ในการเกษตร สามารถประยุกต์เทคนิคการปรุง หรือสกัด
ยาสมุนไพร เพื่อน ามาใช้ในการเกษตรได้หลายวิธี อาทิเช่น
1) บดผง น าไปโรย หรือคลุมดินป้องกันศัตรูพืช
2) แช่น้ า (1 - 2 วัน) น าไปฉีดพ่น
3) ดองเหล้า (1 - 3 วัน) น าไปฉีดพ่น
4) ต้ม น าไปฉีดพ่น และรดราด
5) สกัดด้วยไอน้ า และความดัน ซึ่งเป็นเทคนิคต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่แข็งแรง
6) การหมัก ซึ่งเป็นวิธีการที่ประหยัด และเก็บรักษาสรรพคุณของยาไว้ได้ทนนาน
นอกจากนี้ยังได้สารฮอร์โมน วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ ต่อพืชอีกด้วย
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด ตั้งอยู่เลขที่ 44/2 หมู่ 3 ต าบลพลับพลา อ าเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมก าลังเข้าขั้นวิกฤติ สืบเนื่องมาจากการกระท าของมนุษย์
โดยเฉพาะการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต และการก าจัดศัตรูพืช ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อ
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน น้ า และระบบ
นิเวศวิทยา การท ากสิกรรมธรรมชาติ เพื่อผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัย ปลอดภัย และ
ประหยัดต้นทุนนั้น เกษตรกรจ าเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และหันมาใช้สารสกัดจาก
สมุนไพรทดแทนถึงแม้ว่าสารสกัดสมุนไพร จะมีผลในการท าลายแมลงที่เป็นประโยชน์พวกแมลงตัว
ห้ า หรือแมลงตัวเบียนบ้างก็ตาม แต่ก็น้อยกว่าสารเคมีเพราะพิษจากสมุนไพรสลายตัวได้รวดเร็ว
และไม่ตกค้างนาน การใช้สารสมุนไพรทดแทนการใช้สารเคมี จะมีความจ าเป็นในช่วงแรก ๆ ของ
การเปลี่ยนแปลง เพราะเกษตรกรใช้สารเคมีติดต่อกันมาเป็นเวลานาน จนท าให้ความสมดุล
ระหว่างแมลงศัตรูพืช กับแมลงที่เป็นประโยชน์สูญเสียไป เมื่องดสารเคมี และใช้สารสมุนไพร
ทดแทนไปสักระยะจนสามารถอนุรักษ์ และเพิ่มจ านวนประชากรของแมลงที่เป็นประโยชน์ได้มาก
จนเกิดความสมดุลภายในแปลงได้แล้วจึงค่อย ๆ ลดการใช้สารสมุนไพรลง โดยใช้เฉพาะเท่าที่
จ าเป็นเท่านั้น การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในคน สัตว์ และพืชการน าสมุนไพรมาใช้ในการควบคุม
โรคนั้น ควรมีความเข้าใจพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุนานาชนิด ที่จะ
น ามาใช้ปรุงเป็นยาเสียก่อน โดยสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดนั้นจะขึ้นอยู่กับรสของสมุนไพร
นั้น ๆ รสยาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
ยารสประธาน หมายถึง ยาที่ปรุงเป็นต ารับแล้ว แบ่งเป็น 3 รส ย่อย คือ รสเย็น รสร้อน และ
รสสุขุม
5.6.2 ยา 9 รส หมายถึง สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด คือ
1) รสฝาด สรรพคุณ ใช้ในการสมานแผลต่าง ๆ
2) รสหวาน สรรพคุณ ซึมซาบไปตามผิว
3) รสเบื่อเมา สรรพคุณ แก้พิษ ดับพิษโลหิต
4) รสขม สรรพคุณ แก้ทางโลหิตและดี
5) รสมัน สรรพคุณ เป็นยาอายุวัฒนะ
6) รสหอมเย็น สรรพคุณ บ ารุงหัวใจ บ ารุงโลหิต
7) รสเค็ม สรรพคุณ ฟอกโลหิต ดับพิษร้อน
8) รสเปรี้ยว สรรพคุณ บ ารุงเลือด แก้กระหายน้ า
9) รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้โรคลม บ ารุงธาตุไฟ
และบางต ารายังได้เพิ่มอีก 1 รส คือ รสจืด สรรพคุณ ดับพิษ แก้ไข้ ขับปัสสาวะแก้
ทางเตโชธาตุพิการ เช่นกันกับการน าสมุนไพรมาใช้ในการควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืชนั้น ก็
ต้องมีความเข้าใจในพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุต่าง ๆ ที่จะน ามาใช้ปรุงเป็น
ยาป้องกัน หรือยารักษาโรคพืชรวมทั้งยาฆ่า - ท าลายวงจรชีวิต และป้องกันแมลงด้วยโดยสรรพคุณ
ของตัวยา
สมุนไพรที่ใช้ในการเกษตรสามารถแบ่งออกตามรสของสมุนไพรได้ประมาณ 5 รส คือ
1) สมุนไพรรสขม ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันแมลง อาทิเช่น ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด
สะเดา และหญ้าใต้ใบ
2) สมุนไพรรสเบื่อเมา ฆ่าหนอนเพลี้ย แมลงอื่น ๆ อาทิเช่น หางไหล หนอนตาย
หยาก ขอบชะนางแดง - ขาว ใบน้อยหน่า สลัดได พญาไร้ใบ แสยก และเมล็ดมะกล่ า
3) สมุนไพรที่มีรสฝาด แก้เชื้อราโรคพืช อาทิเช่น เปลือกแค เปลือกมังคุด ใบฝรั่ง
และใบทับทิม
4) สมุนไพรหอมระเหย ไล่แมลง เปลี่ยนกลิ่นต้นพืช อาทิเช่น ตะไคร้หอม สาบเสือ
โหระพา กะเพรา ผักชี กะทกรก สาบแร้งสาบกา และผักแพรวแดง
5) สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว ไล่แมลง แสบร้อน อาทิเช่น เปลือกส้ม มะกรูด มะนาว และ
มะขาม
วิธีการปรุง
หรือสกัดยาสมุนไพร เพื่อใช้ในการเกษตร สามารถประยุกต์เทคนิคการปรุง หรือสกัด
ยาสมุนไพร เพื่อน ามาใช้ในการเกษตรได้หลายวิธี อาทิเช่น
1) บดผง น าไปโรย หรือคลุมดินป้องกันศัตรูพืช
2) แช่น้ า (1 - 2 วัน) น าไปฉีดพ่น
3) ดองเหล้า (1 - 3 วัน) น าไปฉีดพ่น
4) ต้ม น าไปฉีดพ่น และรดราด
5) สกัดด้วยไอน้ า และความดัน ซึ่งเป็นเทคนิคต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่แข็งแรง
6) การหมัก ซึ่งเป็นวิธีการที่ประหยัด และเก็บรักษาสรรพคุณของยาไว้ได้ทนนาน
นอกจากนี้ยังได้สารฮอร์โมน วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ ต่อพืชอีกด้วย
สมุนไพรสูตร (ต ารับ)
ใช้เป็นสารไล่แมลง และบ ารุงพืชที่ก าลังได้รับความนิยมใช้กันโดยทั่วไป กว่า 60
จังหวัดทั่วประเทศ พอจะประมวลประสบการณ์จากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ศูนย์กสิกรรมสมุนไพรวังจันทร์ จังหวัดระยอง ศูนย์เรียนรู้ชุมชน กลุ่ม
ปุ๋ยชีวภาพ งานวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชด าริ
จังหวัดจันทบุรี โครงการเกษตรอินทรีย์สุรินทร์ เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย
เครือข่ายชุมชนชาวอโศก พอสรุปได้ดังนี้สารสมุนไพร ก าจัดเพลี้ยชนิดต่าง ๆ เช่น เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยไรแดงเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยกระโดดสีน้ าตาล และหมัดกระโดด
สูตร 1
ส่วนประกอบ
1) หนอนตายหยาก 2 กิโลกรัม
2) บอระเพ็ด 1 กิโลกรัม
3) ขมิ้นชัน 1 กิโลกรัม
4) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
5) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 2 กิโลกรัม
6) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดสมุนไพรแล้วหมักรวมกันไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สูตร 2
ส่วนประกอบ
1) ว่านน้ า 1 กิโลกรัม
2) สาบเสือ 1 กิโลกรัม
3) ยาฉุน ½ กิโลกรัม
4) ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
5) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
6) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
7) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดสมุนไพรหมักรวมกัน 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สูตร 3
ส่วนประกอบ
1) ยาฉุน ½ กิโลกรัม
2) สะเดา ½ กิโลกรัม
3) ข่า 1 กิโลกรัม
4) ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
5) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
6) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
7) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักทิ้งไว้ 7 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สูตร 4
ส่วนประกอบ
1) หางไหลสด 1 กิโลกรัม
2) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า ทุบให้แตก แช่น้ า 1 วัน
วิธีใช้ ผสมน้ า 1:20 ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน
สูตร 5
ส่วนประกอบ
1) ใบเสม็ดขาว 1 กิโลกรัม
2) เหล้า 10 ลิตร
วิธีท า สับบดดองเหล้าไว้ 3 วัน
วิธีใช้ ผสมน้ า ½ ลิตร ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สารสมุนไพร ก าจัดหนอนกระทู้ หนอนชอนใบ หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว
หนอนใต้หนอนเจาะสมอฝ้าย
สูตร 1
ส่วนประกอบ
1) ฟ้าทะลายโจร 1 กิโลกรัม
2) เปลือกหัน 1 กิโลกรัม
3) เปลือกแค 1 กิโลกรัม
4) หางไหล 1 กิโลกรัม
5) ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
6) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
7) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 ลิตร
8) น้ าสะอาด 15 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักรวมไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100 ฉีดพ่น และรดราด
สูตร 2
ส่วนประกอบ
1) หนอนตายหยาก 1 ลิตร
2) โทงเทง 1 ลิตร
3) สาบเสือ 1 ลิตร
4) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
5) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 ลิตร
6) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักทิ้งไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100 ฉีดพ่นและรดราด
สารสมุนไพรก าจัดโรคพืช
สูตร 1
ส่วนประกอบ
1) เปลือกแค 1 กิโลกรัม
2) กระเทียม 1 กิโลกรัม
3) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
4) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 ลิตร
5) น้ าสะอาด 1 กิโลกรัม
วิธีท า
สับบดหมักไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100-1:200 ฉีดพ่นและรดราด
สูตร 2
ส่วนประกอบ
1) ว่านหางจระเข้ 1 กิโลกรัม
2) ใบดอกรัก 1 กิโลกรัม
3) กระเทียม 1 กิโลกรัม
4) ขมิ้นชัน 1 กิโลกรัม
5) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
6) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
7) น้ าสะอาด 15 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100 - 1:200 ฉีดพ่นและรดราด
สูตร 3
ส่วนประกอบ
1) ว่านหางจระเข้ 200 กรัม
2) กระเทียม 200 กรัม
3) น้ าสบู่ 4 ช้อนโต๊ะ
4) น้ าส้มสายชู 100 ซี.ซี.
5) น้ าสะอาด 20 ลิตร
วิธีท า
สับบด หมักไว้ 7 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 4 ช้อนต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น ทุก ๆ 7 วัน
สารสมุนไพร ก าจัดหอยเชอรี่
ส่วนประกอบ
1) น้ าปูนใส 1 ลิตร
2) มะกรูด 1 กิโลกรัม
3) กระเทียม 1 กิโลกรัม
4) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
5) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
6) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
หมักมะกรูด กระเทียม หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น น้ าตาล และน้ า รวมกันไว้ 7 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ าปูนใส กับส่วนผสมที่หมักไว้ ในอัตราส่วน 1: 1 หยดลงในนาที่มีหอยเชอรี่
หมายเหตุ การฉีดพ่นสมุนไพรก าจัดโรค และแมลงควรฉีดพ่นในช่วงเช้ามือ หรือช่วงเย็น ๆ ถ้า
มีโรคระบาด หรือแมลงระบาด ควรฉีดพ่น และรดราดดินติดต่อกันทุกวัน เป็นเวลา 3 วัน
ติดต่อกันอย่างไรก็ตามการควบคุมโรค และแมลงให้ได้ผลดีควรท าทั้งการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
และการใช้สมุนไพรควบคู่กันไปจนกว่าธรรมชาติในแปลงจะสมดุล
สารสมุนไพร จากสะเดา
ส่วนผสม
1) สะเดาทั้ง 5 2 กิโลกรัม (ได้เมล็ดด้วยยิ่งดี)
2) บอระเพ็ดทั้ง 5 4 กิโลกรัม
3) ข่าทั้ง 5 1 กิโลกรัม
4) ตะไคร้หอมทั้ง 5 1 กิโลกรัม
5) หางไหล หรือโล่ติ้น 1 กิโลกรัม
6) ผลไม้สุก 3 ชนิด 1 กิโลกรัม (กล้วยสุก มะละกอสุก ฟักทอง
อย่างละเท่า ๆ กัน)
7) ยาฉุน 2 กิโลกรัม
8) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
9) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 3 กิโลกรัม
10) น้ าสะอาด 40 ลิตร
วิธีท า
หั่น หรือสับสะเดา บอระเพ็ด ข่า ตะไคร้หอม หางไหล และผลไม้สุก ให้ได้ความ
ยาวประมาณ 1 - 2 ข้อมือ ผสมน้ าสะอาด กับน้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาลใส่ลงในถังหมัก
น าส่วนผสมที่หั่น หรือสับแล้วใส่ลงในถังหมักปิดฝาให้สนิทและเก็บไว้ในที่ร่ม 1 เดือน
วิธีใช้
ผสมน้ าหมัก 1 ลิตร ต่อน้ าสะอาด 300 ลิตร ฉีดพ่นในเวลาเช้ามืด หรือหลัง
ตะวันตกดิน
หมายเหตุ ได้ประโยชน์ทั้งเป็นสารขับไล่แมลง เป็นฮอร์โมนบ ารุงพืชให้ติดดอกออกผลดี และยัง
เป็นปุ๋ย อินทรีย์ชีวภาพอีกด้วย
เทคนิคส าคัญในการผลิต และการใช้สารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ
1 การหมักสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ ควรหมักในถังพลาสติกที่มีฝาปิดสนิท
และควรมีลักษณะทึบแสง
2 ควรเก็บรักษาไว้ในที่ร่ม ไม่ควรโดนแสงแดด
3 ตลอดระยะเวลาการหมักไม่ควรเปิดฝาก่อนถึงเวลา เพราะอาจท าให้การหมักไม่
สมบูรณ์ น ามาใช้ประโยชน์ไม่ได้ แต่ในกรณีถ้าถังบวมมาก จนอาจระเบิดได้ ก็อนุโลมให้แง้มฝา
เล็กน้อย เพื่อปล่อยก๊าซออกบ้าง แล้วให้รีบปิดให้สนิทเหมือนเดิม
4 ควรคลุมดิน (อย่าเปลือยดิน) โดยใช้เศษฟาง เศษใบไม้ หรือวัชพืชจ าพวกหญ้า
ต่าง ๆ คลุมให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่ม หรือเลยออกมาเล็กน้อย ควรเว้นระยะห่างจากโคนต้น
ประมาณ 1 คืบ และหนาประมาณ 1 ฝ่ามือ
5 การฉีดพ่นใบ หรือรดราดดิน ควรผสมตามอัตราส่วนที่ก าหนดและควรฉีดพ่น
หรือรดราดลงบนดินให้ทั่วบริเวณทรงพุ่ม โดยฉีดพ่น หรือรดราดลงบนเศษฟาง หรือใบไม้กิ่งไม้ที่
คลุมดินอยู่
6 ไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้า เพราะจะท าให้ประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์
ชีวภาพลดลง ให้ใช้การตัดหรือนาบแทน
7 ไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมี หรือยาฆ่าแมลง เพราะประสิทธิภาพของสารสกัด
สมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพจะลดลง และสิ่งส าคัญ คือ แมลงที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ (ตัวห้ า ตัวเบียน)
จะตายลง
ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านชุมชนปฐมอโศก ตั้งอยู่เลขที่ 66 หมู่ 5 ต าบลพระประโทน อ าเภอเมือง
จังหวัดนครปฐม
คุณสมบัติของสมุนไพรแต่ละชนิดในการป้องกันและก าจัด (แมลงโรคพืช)
พืชสมุนไพร
หางไหล : หนอนกินช่อ เพลี้ยไฟ ไรขาว ไรแดง เพลี้ยจักจั่น
ขมิ้นชัน : ดวงเจาะเมล็ด ด้วงงวงข้าว มอดข้าวเปลือก หนอนกระทู้ ไรแดง
สบู่ต้น : หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนแปะใบ หนอนแก้ว
ตะไคร้หอม : หนอนกระทู้ หนอนคืบ หนอนใย หนอนหลอด ราน้ าค้าง หนอนม้วน
ใบ ราแป้ง หนอนเจาะยอด / ดอก / ผล ราสนิม
กระเทียม : เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้ ราน้ าค้าง ราแป้ง ราสนิม
ใบมะเขือเทศสด : ด้วงหมัดผัก หนอนเจาะต้น ไส้เดือนฝอย รา / แบคทีเรียบางชนิด
หนอนใย
ยาสูบ / ยาฉุน : เพลี้ย ไร รา ด้วงหมัดผัก ด้วงเจาะสมอ หนอนกระ หล่ า หนอน
ชอนใบ หนอนมวนใบ หนอนกระทู้
พริกสด : โรคจากไวรัสทุกชนิด ขับไล่แมลง
ใบแก่มะรุม : (ใช้รองก้นหลุม) ราในดิน รากเน่า โคนเน่า ผลเน่า (แตง _ ฟัก) เน่า
คอดิน แง่งขิงเน่า
สาบเสือ : หนอนกระทู้ หนอนใย เพลี้ยกระโดด เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น
แมลงโรคพืช
เพลี้ยไฟ : ใช้พืชสมุนไพร หางไหล สะเดา ยาสูบ ยาฉุน สาบเสือ ตะไคร้หอม /
แกง ใบดาวเรือง กระเทียม ข่า พริก ดีปลี
แมลงหวี่ขาว : ใช้พืชสมุนไพร กระเทียม พริก มะกรูด ขึ้นฉาย ตะไคร้หอม /
แกง
หมัดกระโดด : (ใช้ทางใบ)ตะไคร้หอม/แกงขิง ข่า พริก ใบน้อยหน่า หางไหล หนอน
ตายหยาก (ใช้ทางดิน) สะเดา เมล็ดน้อยหน่า ตะไคร้หอม / แกง ยาฉุน
เพลี้ยอ่อน : ใช้พืชสมุนไพร สะเดา ยาสูบ ยี่หร่า หางไหล (เหล้าขาว +
น้ าส้มสายชู)
เพลี้ยแป้ง : ใช้พืชสมุนไพร ยาสูบ ยาฉุน สะเดา บอระเพ็ด ตะไคร้หอม / แกง
สาบเสือ กระเทียม (ไวท์ออย + น้ ามันก๊าซ)
รากเน่าโคนเน่า : ใช้พืชสมุนไพร เปลือกมะม่วงหิมพานต์ เทียนหยด ราก หม่อน
ผลเน่า : ใช้พืชสมุนไพร ต้นกระดูกไก่ด า / ขาว ว่านน้ า ตะไคร้หอม กระ
เพรา โหระพา ใบยูคาลิปตัส
ไส้เดือนฝอย : ใช้พืชสมุนไพร สะเดา ละหุ่ง ใบยูคาลิปตัส สาบเสือ แขยง เลี่ยน
ปะทัดจีน ใบดาวเรือง ตะไคร้หอม
โรคเน่าคอดิน: ใช้พืชสมุนไพร ใบมะรุมแห้ง กระเทียม ผิวมะกรูด รากหม่อน
โรคเหี่ยว : ใช้พืชสมุนไพร เปลือกเงาะ ขึ้นฉาย ใบมะรุมแห้ง
โรคใบจุด : ใช้พืชสมุนไพร ว่านน้ า ใบกระดูกไก่ด า / ขาว ลูกประค าดีควาย
เปลือก มะม่วงหิมพานต์

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โรคพืช ที่ระบาดหนักในฤดูฝน
โรคพืช ที่ระบาดหนักในฤดูฝน
ช่วงหน้าฝนแบบนี้สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือปริมาณน้าที่มากขึ้น และความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น หากฝนตกติดต่อกันเกินกว่า 2-3 วัน ควรมีการวางแผนที่ดี เพื่อป้องกันและกาจัดโรคพืชที่ตามมาในหน้าฝน ซึ่งเชื้อราเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทาให้เกิดโรคพืชมากที่สุด พืชหลายชนิดเป็นเชื้อราได้ง่าย และมีการระบาดได้อย่างรวดเร็ว เพราะสปอร์ของเชื้อรา สามารถกระจายไปกับลม และน้าฝน หรือสิ่งมีชีวิตเป็นตัวนาพาเชื้อราไปสู่พืชชนิดอื่นๆได้



1. ราน้าค้าง (Downy mildew)
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Peronosporaparasitica

ลักษณะอาการ : ใบจะเป็นจุดละเอียดสีดาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ด้านใต้ใบ ตรงจุดเหล่านี้จะมีราสีขาวอมเทาอ่อนคล้ายผงแป้งขึ้นเป็นกลุ่มๆ กระจายทั่วไป ใบที่อยู่ตอนล่างๆ จะมีแผลเกิดก่อนแล้วลุกลามขึ้นไปยังใบที่อยู่สูงกว่า ใบที่มีเชื้อราขึ้นเป็นกลุ่มกระจายเต็มใบจะมีลักษณะเหลืองและใบจะร่วงหรือแห้ง ในเวลาที่อากาศไม่ชื้นจะไม่พบผงแป้งและแผลแห้งเป็นสีเทาดา

การแพร่ระบาด : ระบาดได้ทั้งแต่ระยะที่เป็นต้นกล้าจนเจริญเติบโตเต็มที่ ซึ่งจะทาความเสียหายมากเพราะทาให้ใบเสียมากและเจริญเติบโตช้า โรคนี้ไม่ทาให้ต้นตาย แต่ทาให้น้าหนักผลผลิตลดลง เพราะต้องตัดใบที่เป็นโรคทิ้ง

2. โรคเน่าคอดิน (Damping off)

เชื้อสาเหตุ: เชื้อรา Pythium sp. หรือ Phytophthora sp.

ลักษณะอาการ : เกิดเฉพาะในแปลงต้นกล้า เนื่องจากการหว่านเมล็ดที่แน่น ต้นเบียดกัน ถ้าในแปลงมีเชื้อโรคแล้ว ต้นกล้าจะเกิดอาการเป็นแผลช้าที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลจะเน่าและแห้ง ถ้าถูกแสงแดดทาให้ต้นกล้าหักพับ ต้นเหี่ยวแห้งตายในเวลารวดเร็ว

การแพร่ระบาด : เชื้อราติดมากับเมล็ด หรืออยู่ในดิน น้า ฝน ;

3. โรคใบจุด (Alternaria leaf spot)

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Alternaria brassicae

ลักษณะอาการ : ในต้นกล้าจะพบจุดแผลเล็กๆ สีน้าตาลที่บริเวณใบโคนต้น ต้นที่โตแล้วใบมีแผลวงกลม สีน้าตาลซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อรอบๆ แผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แผลมีทั้งเล็กและใหญ่ บนแผลมักจะมีเชื้อราชั้นบางๆ เป็นผงสีดา

การแพร่ระบาด : สปอร์ของเชื้อสาเหตุ สามารถปลิวไปตามน้า ลม แมลง สัตว์ เครื่องมือเกษตรกร มนุษย์ และสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ได้ หรืออาศัยอยู่กับวัชพืชในแปลง

สภาพที่เหมาะต่อการเกิดโรค: ความชื้นสูง สภาพอากาศร้อนชื้น โดยเฉพาะในฤดูฝน อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส

4. โรคราสนิมขาวในผัก (White Rust)

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Albugo ipomoea-aquaticae Sawada

ลักษณะอาการ : มีจุดสีเหลืองซีดด้านบนของใบ ด้านใต้ใบตรงกันข้าม จะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ ขนาด 1-2 มิลลิเมตร อาจพบลักษณะปุ่มปม หรือบวมพองโตขึ้นในส่วนของก้านใบและลาต้น

5. โรคเหี่ยว (wilt)

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Fusarium oxysporum

ลักษณะอาการ : เกิดอาการเหี่ยวอย่างช้า ๆ ใบที่อยู่โคนต้นเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วง ต่อมาใบจะเหี่ยวทั้งต้น เมื่อผ่าลาต้นบริเวณเหนือระดับดินตามยาวจะพบว่าท่อน้าท่ออาหารเป็นสีน้าตาล จนในที่สุดจะแห้งตาย

การแพร่ระบาด : การเกิดโรคนี้มักจะเกิดเป็นหย่อม ๆ ถ้าสภาพอากาศมีอุณหภูมิสูงและดินมีความชื้นสูง ทาให้โรคนี้ระบาดได้ดี

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
เกษตรเตือนภัยโรคพืช โรคเน่าคอดินพืช-ผัก
เกษตรเตือนภัยโรคพืช โรคเน่าคอดินพืช-ผัก
เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่จะเริ่มทำการเพาะปลูกพืชผัก สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ จึงมีข้อแนะนำให้เกษตรกรรู้จักโรคพืชที่อาจเกิดการระบาดในพืชผักได้ในช่วงฤดูหนาวนี้รวมถึงวิธีการป้องกันกำจัด

นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า โรคของต้นอ่อนหรือกล้าผักต่างๆ มีอยู่ด้วยกันหลายชนิดแต่ที่ทราบและรู้จักกันดีที่สุด ได้แก่ โรคโคนเน่าคอดิน (damping-off) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วๆ ไปว่าโรคกล้าตายพราย หรือโรคเหี่ยวเขียว ซึ่งจัดว่าเป็นโรคระบาดสำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับผักมากมายหลายชนิด หลายตระกูลในเกือบทุกสภาพของดินและภูมิอากาศตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการเจริญเติบโต

เชื้อรามีหลายชนิดที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคเน่าคอดิน ได้แก่ Phycomycetes : Pythium spp. _ Phytophthora spp. Deuteromycetes : Botrytis cinerea _ Diplodia pinea _ Cylindrocladium scoparium _ Fusarium spp _ Pestalozzia funerea_ Rhizoctonia solani_ Sclerotium bataticola

ลักษณะอาการของโรค เชื้อราจะเข้าทำลายพืชในระยะต้นกล้า ทำให้ลำต้นเน่าและตายลงอย่างรวดเร็ว เส้นใยของราที่เป็นสาเหตุจะแพร่กระจายอยู่ในดิน และเข้าสู่ต้นกล้าโดยแทงเข้าไปในเซลล์ผิว

อาการต้นกล้าเน่า อาการทั่วไปในแปลงจะพบว่า ต้นกล้าฟุบตายเป็นหย่อมๆ เมื่อนำกล้ามาพิจารณาดูที่ต้นจะเห็นว่า บริเวณโคนต้นจะมีลักษณะแผลช้ำ เหี่ยวแฟบ คอรวงเป็นสีน้ำตาลดำและเน่า เป็นเหตุทำให้ต้นกล้าหักพับลง พบกับกล้าพืชแทบทุกชนิดในแปลงที่มีกล้าแน่นเกินไป และความชื้นสูง สาเหตุเนื่องจากเชื้อราอาการต่างๆ ของโรคดังกล่าวมาแล้ว จะเกิดได้รุนแรงขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับพืช ชนิด และปริมาณของเชื้อโรค และสภาพแวดล้อม เชื้อโรคแต่ละชนิดต้องการสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป เช่น โรคเน่าคอดิน โรครากเน่าจะเกิดรุนแรงเมื่อความชื้นสูง ดินมีการระบายน้ำไม่ดี โรคเน่าเละของผักระบาด เมื่อความชื้นสูง และอากาศร้อน โรคราแป้งขาวเป็นได้ดีในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง ในขณะที่โรคราน้ำค้างเป็นโรคได้ดี และระบาดมาก เมื่อมีความชื้นสูง และฝนชุก โรคใบจุด (ตากบ) ของยาสูบพบว่า ในแปลงที่มีปุ๋ยไนโตรเจนสูง ทำให้เกิดโรคมาก โรคเหี่ยวของมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อราจะเป็นโรครุนแรงมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่ปลูก และอัตราส่วนปุ๋ยไนโตรเจนและโพแทสเซียมที่ให้ สรุปได้ว่า เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เชื้อจะเจริญได้ดีมีการเพิ่มปริมาณจำนวนมาก และเข้าทำลายพืชได้ง่าย โดยอาจเข้าทำลายโดยตรง เช่น เชื้อรา หรืออาจเข้าทางบาดแผล และทางรูเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบ ในสภาพที่พอเหมาะเชื้อจะเข้าไปเจริญ และขยายพันธุ์ในส่วนต่างๆ ของพืช และแสดงอาการโรคให้เห็น ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่เชื้อมีจำนวนมาก พร้อมที่จะแพร่ระบาดขยายขอบเขตของการเกิดโรคออกไป โดยมีลมหรือน้ำพัดพาติดไปกับส่วนขยายพันธุ์ หรือเมล็ดพันธุ์ แมลง และสัตว์บางชนิดพาไป ติดไปกับเครื่องมือ หรือวัสดุการเกษตร เช่น มีด จอบ เสียม ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือบางทีมนุษย์ก็เป็นผู้นำ โรคแพร่ระบาดเสียเอง และสามารถแพร่ระบาดได้ไกลข้ามประเทศ โดยการนำหรือแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชที่มีโรคติดอยู่ เป็นต้น

อาการโรคเน่าคอดิน แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ

1) ราเข้าทำลายเมล็ดหรือต้นกล้า ก่อนที่จะงอกพ้นดิน ทำให้เมล็ดไม่งอกหรือรากต้นอ่อน ถูกทำลายทันที ทำให้ไม่มีใบเลี้ยงออกมา

2) ต้นกล้าเป็นโรคเมื่อโผล่พ้นดินแล้ว ถ้าเข้าทำลายส่วนล่างหรือส่วนราก โดยราจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในเนื้อเยื่อพืชโดยเฉพาะราก ทำให้ต้นกล้าเหี่ยวทั้งต้นและหักล้มก่อนจะแสดงอาการเหี่ยว โดยส่วนติดผิวดินจะเน่าในขณะที่ส่วนอื่นยังเต่งอยู่ แต่ถ้าเชื้อราเข้าทำลายส่วนบนหรือส่วนใบเลี้ยง ซึ่งจะพบไม่บ่อยนัก จะพบเมื่อต้นกล้าอยู่กันอย่างหนาแน่นภายหลังจากระยะที่มีฝนตก

ที่มา http://www.farmkaset..link..
ผักคะน้า กล้าเน่า
ผักคะน้า กล้าเน่า
อาการต้นกล้าเน่า

อาการทั่วไปในแปลงจะพบว่า ต้นกล้าฟุบตายเป็นหย่อมๆ เมื่อนำกล้ามาพิจารณาดูที่ต้นจะเห็นว่า บริเวณโคนต้นจะมีลักษณะแผลช้ำ เหี่ยวแฟบ คอรวงเป็นสีน้ำตาลดำและเน่า เป็นเหตุทำให้ต้นกล้าหักพับลง พบกับกล้าพืชแทบทุกชนิดในแปลงที่มีกล้าแน่นเกินไป และความชื้นสูง สาเหตุเนื่องจากเชื้อรา

อาการต่างๆ ของโรคดังกล่าวมาแล้ว จะเกิดได้รุนแรงขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับพืช ชนิด และปริมาณของเชื้อโรค และสภาพแวดล้อม เชื้อโรคแต่ละชนิดต้องการสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป เช่น โรคเน่าคอดิน โรครากเน่าจะเกิดรุนแรงเมื่อความชื้นสูง ดินมีการระบายน้ำไม่ดี โรคเน่าเละของผักระบาด เมื่อความชื้นสูง และอากาศร้อน โรคราแป้งขาวเป็นได้ดีในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง ในขณะที่โรคราน้ำค้างเป็นโรคได้ดี และระบาดมาก เมื่อมีความชื้นสูง และฝนชุก โรคใบจุด (ตากบ) ของยาสูบพบว่า ในแปลงที่มีปุ๋ยไนโตรเจนสูง ทำให้เกิดโรคมาก โรคเหี่ยวของมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อราจะเป็นโรครุนแรงมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่ปลูก และอัตราส่วนปุ๋ยไนโตรเจนและโพแทสเซียมที่ให้ สรุปได้ว่า เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เชื้อจะเจริญได้ดีมีการเพิ่มปริมาณจำนวนมาก และเข้าทำลายพืชได้ง่าย โดยอาจเข้าทำลายโดยตรง เช่น เชื้อรา หรืออาจเข้าทางบาดแผล และทางรูเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบ ในสภาพที่พอเหมาะเชื้อจะเข้าไปเจริญ และขยายพันธุ์ในส่วนต่างๆ ของพืช และแสดงอาการโรคให้เห็น ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่เชื้อมีจำนวนมาก พร้อมที่จะแพร่ระบาดขยายขอบเขตของการเกิดโรคออกไป โดยมีลมหรือน้ำพัดพาติดไปกับส่วนขยายพันธุ์ หรือเมล็ดพันธุ์ แมลง และสัตว์บางชนิดพาไป ติดไปกับเครื่องมือ หรือวัสดุการเกษตร เช่น มีด จอบ เสียม ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือบางทีมนุษย์ก็เป็นผู้นำ โรคแพร่ระบาดเสียเอง และสามารถแพร่ระบาดได้ไกลข้ามประเทศ โดยการนำหรือแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชที่มีโรคติดอยู่ เป็นต้น

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3544
พืชเป็นโรค หมายความว่าอย่างไร ?
การที่พืชแสดงอาการเจริญเติบโตผิดปกติเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมักเรียกว่าพืชนั้นเป็นโรค ซึ่งเกิดได้ จากสาเหตุต่าง ๆ กัน ทั้งนี้เกิดจาก สิ่งมีชีวิต ที่มีขนาดเล็กมาก ได้แก่ เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ เช่น (เชื้อรา (fungi) แบคทีเรีย (bacteria) ไส้เดือนฝอย (nematode) ไฟโตพลาสมา (phytoplasma) ไวรัส (virus)_ ไวรอยด์ (virord) เป็นต้น และสาเหตุที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิตได้แก่ สภาพแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับ การปลูกพืชนั้น ๆไม่เหมาะสมหรือมีความผิดปกติผันแปรไปในลักษณะต่างๆเช่น ปุ๋ย หรือธาตุอาหาร น้ำ สภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โรคพืชที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค อาจเรียกว่าโรคติดเชื้อหรือโรคระบาด และโรคพืชที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เรียกว่า โรคไม่ติดเชื้อ หรือโรคที่ เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต

โรคพืชติดเชื้อหรือโรคระบาด (Infectious diseases)
พืชเป็นโรค (Diseased plants) ในที่นี้จะหมายถึง พืชที่แสดงอาการผิดปกติไป ทั้งในด้านสัณฐานวิทยา (Morphology) และสรีรวิทยา (Physiology) ที่สามารถแพร่ระบาดจาก ดิน เศษซากพืชที่เป็นโรค หรือสปอร์ในอากาศไปยังพืชปกติได้ โดยมีสาเหตุมาจากเชื้อจุลินทรีย์ชนิด ต่างๆ ได้แก่ เชื้อราสาเหตุโรค เชื้อแบคทีเรีย ไส้เดือนฝอยศัตรูพืช เชื้อไวรัส

เชื้อราสาเหตุโรคพืช ลักษณะของเชื้อราทั่วไปจะเป็นเส้นใยคล้ายเส้นด้ายละเอียด เส้นใยแต่ละเส้น มีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น จะเห็นได้เมื่อมีการเจริญเป็นกลุ่มก้อนหรือเมล็ดพันธุ์พืช นั่นคือพร้อมที่จะเจริญและงอก แต่เป็นการเจริญแพร่พันธุ์และงอกได้ในพืช สปอร์เหล่านี้ พร้อมที่จะระบาดจากพืชในพื้นที่หนึ่งไปสู่อีกพื้นที่หนึ่ง โดยมีลม น้ำ หรือมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญในการพัดและ หรือพาไป เมื่อสปอร์เหล่านี้ไปสู่พืชพรรณชนิดต่าง ๆ ที่เหมาะสม สปอร์ก็จะเจริญและงอกเข้าไปในพืช โดยการแทงผ่านผิวพืชเข้าไปในพืชได้โดยตรง หรืองอกแล้วแทงผ่าน เข้าไปตามแผล ที่เกิดขึ้น ตามส่วนต่าง ๆ ของพืช หรือเข้าตามช่องเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบเมื่อเข้าไปแล้ว เชื้อราพวกนี้ก็จะมี การสร้างสารพิษ เอนไซม์ หรือสารกระตุ้นต่าง ๆ ทำลายพืชให้ได้รับความเสียหาย เกิดการเปลี่ยนแปลง ผิดปกติไป ปัจจุบันมีการผลิตสารเคมีเรียกว่าสารควบคุมเชื้อราโรคพืช หรือ Fungicides ใช้ฉีดพ่น ทั้งในลักษณะป้องกันและรักษาก่อนและหลังจากที่พืชเป็นโรค

ในกลุ่มของจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืช เชื้อราจัดเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำความเสียหายให้แก่พืชผลมากที่สุด มีเชื้อรามากกว่า 8_000 ชนิดที่เป็นสาเหตุโรคพืช และมีพืชชั้นสูง และหรือพืชผลทางการเกษตรเกิดโรค เนื่องจากเชื้อราไม่น้อยกว่า 100_000 โรค เชื้อราสามารถแพร่ระบาดไปตามที่ต่าง ๆ ได้โดยติดไปกับ ซากพืชเป็นโรค เมล็ดและหรือท่อนพันธุ์ ดิน ปุ๋ยคอก หรือวัสดุปลูกต่าง ๆ รวมทั้งแพร่ไปกับน้ำ และปลิวไปกับลมได้ดี

สำหรับโรคของพืชป่าไม้ประเทศไทย พบว่ามีเชื้อราที่เป็น Microfungi จำนวนมากที่สามารถเข้าทำลาย พืชป่าไม้ได้ ตั้งแต่ระยะเมล็ด กล้าไม้ และส่วนต่าง ๆ ของลำต้น ได้แก่ ใบ กิ่งก้าน ลำต้น และฝัก โดยขณะนี้พบเชื้อราประมาณ 92 ชนิด จากเมล็ดไม้ 47 ชนิด ; 72 ชนิด จากกล้าไม้ 40 ชนิด และประมาณ 29 ชนิด จากไม้ใหญ่ 9 ชนิด โดยเชื้อราสาเหตุโรคพืชป่าไม้ที่หลากหลายเหล่านี้ สามารถจัดกลุ่มตามลักษณะอาการ ต่าง ๆ ของโรคได้ เช่น โรคเน่าคอดิน (damping off)_ ราสนิม (rust)_ ราแป้ง (powdery mildew)_ จุดนูนดำ (tar sport)_ ใบไหม้ (leaf blight)_ ยอดตาย (dieback)_ แผลแตกตามลำต้น (canker) ฯลฯ เป็นต้น

เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช แบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์เซลล์เดียว มีผนังแข็งห่อหุ้มเซลล์ (cell wall) รูปร่างจึงคงที่ แต่ละเซลล์มีขนาดเล็กมากต้องใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงจะเห็นเซลล์ชัดเจน แบคทีเรียบางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้เองด้วยหาง บางชนิดสามารถ สร้างสปอร์ที่คงทนต่อสภาพแวดล้อม ที่ไม่เหมาะสมได้ แบคทีเรียมีการทวีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วยการแบ่งเซลล์ ส่วนใหญ่แบคทีเรียสาเหตุโรคพืช มีรูปร่างเป็นท่อนสั้นและ ไม่สร้างสปอร์ แต่จะมีชั้นเมือกหรือแคบซูลห่อหุ้มผนังด้านนอกเซลล์อีกชั้นหนึ่ง จึงช่วยให้มีอายุนาน และทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดีขึ้น แบคทีเรียสามารถผลิตสารพิษ และเอนไซม์ทำลายพืชให้ได้รับความเสียหายได้ แบคทีเรียบางชนิดสร้างสารเร่งการเจริญเติบโตไป ทำให้เซลล์พืชเจริญมากผิดปกติ เกิดอาการบวมพอง เป็นปุ่มปม แบคทีเรียเข้าทำลายพืชได้ทางแผล ที่เกิดขึ้นตามผิวพืชและทางช่องเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบ แบคทีเรียมักจะถูกยับยั้งการเจริญได้ง่าย โดยยาปฏิชีวนะแทบทุกชนิด รวมทั้งสารประกอบที่มีธาตุทองแดงเป็นส่วนผสม แบคทีเรียที่เป็น สาเหตุโรคพืชมีประมาณ 200 ชนิด การแพร่กระจายของแบคทีเรียไปสู่ที่ต่าง ๆจะเป็นไปในลักษณะ เช่นเดียวกับการแพร่ระบาดของเชื้อรา

ไส้เดือนฝอยศัตรูพืช ไส้เดือนฝอยเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีขนาดเล็กมากยากที่จะมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า มีลักษณะรูปร่างยาวเรียวเป็นส่วนใหญ่ บางชนิดตัวเมียเมื่อโตเต็มวัย มีลักษณะบวมพอง อ้วนกลม ไส้เดือนฝอยดูดแย่งอาหารจากพืชโดยใช้หลอดดูดอาหารในช่องปาก ที่มีลักษณะเป็นเข็มกลวง ปลายแหลม เรียกว่า spear หรือ stylet บางชนิดเกาะติดอยู่ภายนอกส่ง เฉพาะ stylet เข้าไป ดูดอาหารในเซลล์พืช บางชนิดปักเฉพาะส่วนปากและหัวเข้าไป บางชนิดเข้าไปอยู่ในพืชทั้งตัว ทำให้พืชเป็นโรคโดยทำลายเซลล์พืช หรือไปเปลี่ยนแปลงขบวนการเจริญเติบโตของพืชให้ผิดปกติไป

เชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคพืช เริ่มมีรายงานว่าเป็นเชื้อสาเหตุโรคได้ เมื่อ พ.ศ. 2503 มีเซลล์เดียวและมีเฉพาะ เนื้อเยื่อห่อหุ้มเซลล์ แต่ไม่มีผนังล้อมรอบ ทำให้รูปร่างของเซลล ์ไม่แน่นอน จะพบอยู่ในเซลล์พืชเท่านั้น โดยเฉพาะที่ท่อลำเลียงอาหารทำให้พืชแสดงอาการเหลืองผิดปกติ เชื้อแพร่ระบาดได้ดี โดยมีแมลงพวกปากดูดเป็นพาหะพาไป โดยเฉพาะเพลี้ยจักจั่น ซึ่งเชื้อนี้จะเจริญ
และทวีจำนวน ในตัวแมลงได้ ลักษณะเฉพาะของเชื้ออีกประการหนึ่ง คือ มีสารปฏิชีวนะเพียงชนิดเดียว เท่านั้นที่สามารถยับยั้งการเจริญ หรือฆ่าเชื้อบนพืชได้ คือ สารเตตราไซคลีน (tetracycline) ปัจจุบันมีรายงานพบ เชื้อไฟโตพลาสมามากกว่า 80 ชนิดเป็นสาเหตุโรคของพืชกว่า 300 ตระกูล

เชื้อไวรัสและไวรอยด์สาเหตุโรคพืช ไวรัสและไวรอยด์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุด อนุภาคของไวรัสมีเฉพาะกรดนิวคลีอิค (nucleic acid) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาร์เอ็นเอ และโปรตีน เป็นส่วนประกอบเท่านั้น ไวรอยด์ไม่มีโปรตีนมีแต่อาร์เอ็นเอ (RNA) จะมองเห็นได้ เมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษ (Electron Microscopes) กำลังขยาย 2_000-3_000 เท่า มีรายงานว่าพบไวรัสไม่น้อยกว่า 500 ชนิด ที่สามารถเข้าทำลายและเป็นสาเหตุโรคพืชได้

โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต

สาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิตเนื่องจากสภาพแวดล้อมได้แก่ การขาดแร่ธาตุอาหาร การได้รับพิษจากสารเคมีมากเกินไป ความเสียหาย เนื่องจากพืชได้รับอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป ความแห้งแล้ง ไฟป่า เป็นต้น อาการผิดปกติเนื่องจากสาเหตุเหล่านี้ บางครั้งพืชแสดงอาการคล้ายกัน กับโรคติดเชื้อ เช่น อาการขาดแร่ธาตุบางชนิด แสดงอาการซีดเหลืองคล้ายกับที่เกิดจากเชื้อไวรัส และมายโคพลาสมา และอาการเป็นพิษจาก สารเคมีที่ทำให้เกิดแผลคล้ายที่เกิดจากเชื้อรา เป็นต้น ทำให้เกิดการสับสนได้ จึงมีความจำเป็นต้องทำการตรวจวินัจฉัยอย่างละเอียดก่อนสรุปว่า เกิดจากสาเหตุใดแน่

การขาดแร่ธาตุอาหารในพืช

เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของโรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต พืชจะแสดงอาการขาดธาตุอาหารเมื่อสภาพดินที่ปลูกขาดแร่ธาตุชนิดนั้น ๆ หรืออย ใน สภาพที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้เนื่องจากสภาพความเป็นกรดเป็นด่างไม่เหมาะสม ลักษณะอาการพืชที่ขาดธาตุบางชนิดอาจสรุปได้ดังนี้

ขาดธาตุไนโตรเจน พืชเจริญเติบโตช้า ใบมีสีซีดเหลืองทั่วทั้งต้นเริ่มจากใบล่างก่อน
ขาดธาตุฟอสฟอรัส พืชเจริญเติบโตช้า ใบมีสีเขียวเข้มหรือม่วงบริเวณใบล่าง ๆ ลำต้นมียอดสั้น
ขาดธาตุโพแทสเซียม ต้นพืชมียอดน้อยใบล่างซีดเหลือง ขอบใบม้วนขึ้นปลายใบและขอบใบแห้งมีสีน้ำตาล ผลมีขนาดเล็กลง
ขาดธาตุแมกนีเซียม ใบแก่ แสดงอาการซีดเหลืองหรือแดงบริเวณขอบใบและปลายใบก่อน ใบมีสีซีดเหลืองเป็นรูปตัววีหัวกลับ ขอบใบ ม้วนขึ้น
ขาดธาตุแคลเซียม ใบอ่อนบิดงอ ชะงักการเจริญเติบโต แสดงอาหารบิดม้วนขอบใบฉีก ตายอดแห้งตายลำต้นมีรากน้อย ทำให้ผลแตกใน ไม้ผลหลายชนิด
ขาดธาตุโบรอน ทำให้ก้านใบอ่อนแตกและหัก ใบบิดงอ ราก ลำต้น และผลแสดงอาการแผลแตก ลำต้นเป็นรูกลวง และเมล็ดลีบในผักหลายชนิด
ขาดธาตุกำมะถัน ใบอ่อนมีสีซีดเหลืองทั่วทั้งใบ
ขาดธาตุเหล็ก ใบอ่อนมีสีซีดเหลืองแต่เส้นใบยังคงมีสีเขียว
ขาดธาตุสังกะสีี ใบด่างเหลืองระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กเกิดเป็นกระจุก
การวินิจฉัยการขาดธาตุในพืชอาจทำได้โดยการวิเคราะห์จากเนื้อเยื่อพืช (tissue analysis) จากใบที่สร้าง ใหม่ ๆ แล้วเปรียบเทียบกับค่า มาตรฐานที่วิเคราะห์ได้จากพืชปกติ การวิเคราะห์ดินและ วัดระดับความเป็นกรดเป็นด่างในดิน จะช่วยในการเตรียมป้องกันการขาดธาตุอาหาร ในพืชได้

การมีธาตุอาหารมากเกินไป

ธาตุอาหารที่พืชมีความต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อาจเกิดการสะสมทำให้เกิดความเข้มข้น ในเนื้อเยื่อพืชสูง ขึ้นจนถึงขั้นที่เป็นพิษ กับพืช เช่น การมีธาตุโบรอน (B) มากเกินไป ทำให้พืชเกิดอาการ ใบเหลืองขึ้นเป็นแห่ง ๆ เนื่องจากขาด chiorophyll เริ่มจากปลายใบแล้วจึง ลุกลามไปตามของใบเกิด
การไหม ้และใบร่วงหล่นได้ เป็นต้น

สภาพของภูมิอากาศไม่เหมาะสม

1. การขาดน้ำหรือมีน้ำอยู่มากเกินไป พืชที่ประสบกับความแห้งแล้งของอากาศจะมีอาการใบเหลือง ใบมีสีม่วง ใบเหี่ยวย่น และตายอย่างรวดเร็ว และใบไหม้ระหว่างเส้นใบ และตามขอบใบ หรือถ้าเกิดการแห้งแล้ง อย่างรุนแรง ใบจะเหี่ยวแห้งตาย ใบและผลของไม้ยืนต้นจะหลุดร่วงก่อนกำหนด การตายของใบและผล อาจเนื่องจากการขาดน้ำภายในเซลล์ทำให้ความเข้มข้นของธาตุเพิ่มขึ้นจนเป็นพิษ ในไม้ยืนต้น ผลของ ความแห้งแล้งมักจะปรากฏในฤดูถัดไป โดยเกิดการตายแบบตายจากปลายยอด (dieback) ของกิ่งก้าน ความชื้นในดินที่มากเกิน ทำให้โรคบางชนิดเกิดได้ง่าย เช่น รากเน่า ในดินที่มีการระบายน้ำไม่ดีจะมีไนไตรท์ (nitrite) สูง และเป็นพิษกับพืช พืชจะเจริญเติบโตช้า ใบเหลือง ในไม้ยืนต้นใบจะร่วงและเกิดอาการ dieback ของยอด
2. อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไป อุณหภูมิที่ต่ำทำให้เกิดผลเสียแก่พืช คือ อุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิต่ำสุด ที่พืชจะเจริญได้ ทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงาน (metabolism) ช้าลง มีผลทำให้พืชโตช้า ถ้าเกิดติดต่อกันยาวนาน พืชจะตายก่อนกำหนด หรืออุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0 องศา เซลเซียส อาจจะฆ่าต้นพืช เพราะน้ำที่อยู่ระหว่างเซลล์และภายในเซลล์กลายเป็นน้ำแข็งใบของต้นพืชที่ถูกกับอุณหภูมิที่ร้อนจัดมากเกินไป จะสูญเสียน้ำ และเนื้อเยื่อจะตาย โดยเริ่มที่ปลายใบก่อนเป็นที่ขอบใบ ต้นพืชจะเหี่ยวอย่างรวดเร็ว อาการที่พบ คือ เกิดแผลพอง (scald) ที่ผล และอาการแผลแตก (heat canker) ที่ลำต้น

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่เหมาะสม

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่เหมาะสมและถูกต้องอาจเป็นสาเหตุที่ทำความเสียหายแก่พืช เช่น การใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรต่าง ๆ ได้แก่ ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ (สารกำจัดเชื้อสาเหตุโรค สารกำจัดแมลง และสารกำจัดวัชพืช) โดยอาจใช้ในอัตราที่เข้มข้นสูงเกินไป เลือกสารไม่ เหมาะสมกับพืช ซึ่งจะทำให้พืชแสดงอาการใบไหม้หรือใบจุดได้

# https://www.dnp.go.th/ foremic/fmo/pathology_knl.htm
อ่าน:2985
ไม้ดอกเป็นโรค ไม้กระถางเป็นโรค ลักษณะอาการโรค ของไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง
ไม้ดอกเป็นโรค ไม้กระถางเป็นโรค ลักษณะอาการโรค ของไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง
ลักษณะอาการของโรค

อาการของโรคของไม้ดอกกระถาง หรืออาการผิดปกติซึ่งเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ของแสดงอาการได้หลายแบบในเวลาเดียวกัน หรือแสดงอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งบนต้นพืชต้นเดียวกัน หรือปรากฏอาการบนส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของต้นพืช เช่น ปรากฏอาการเป็นแผลจุด แผลไหม้ อาการเน่า อาการเหี่ยว บนราก ลำต้น กิ่งก้าน ใบ ดอก ผล เมล็ด หรืออาจปรากฏอาการทั้งต้น

อาการโรคของไม้ดอกไม้กระถาง มีลักษณะอาการผิดปกติได้ ดังนี้

1. อาการที่ราก

1.1 โรครากเน่า รากเกิดอาการเน่าดำหรือสีน้ำตาล เปลือกล่อนหลุดติดมือออกมา เนื่องจากเชื้อโรคเข้าทำลาย เช่น โรครากเน่า เป็นต้น

1.2 โรครากปม รากจะมีอาการพองออกเป็นปม โดยจะพองออกจากภายในรากมิใช่พองออกมาเพียงด้านใดด้านหนึ่ง เช่น โรครากปมของเยอบีร่าและอาฟริกันไวโอเลท

1.3 โรครากแผล เกิดแผลไปตามความยาวของราก โดยมีรอยสีน้ำตาล หรือน้ำตาลเข้ม ต่อมาจะเป็นช่องทางให้เชื้อต่าง ๆ เข้าทำลายซ้ำเติมได้ดีขึ้น สาเหตุของรากแผลส่วนมากเกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอย

1.4 โรครากกุด รากกุดสั้นเป็นกระจุก ไม่ยืดยาวออกตามปกติ เช่น โรครากกุดของเข็มญี่ปุ่นซึ่งเกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอย

2. อาการที่ลำต้นและกิ่งก้าน

2.1 โรคเน่าคอดิน อาการแบบนี้ใช้เรียกเฉพาะกรณีที่เกิดกับต้นกล้า โดยจะพบแผลเน่าบริเวณโคนต้นที่อยู่ติดกับผิวดิน ทำให้ต้นหักล้มและแห้งตายเป็นหย่อม ๆ เช่น ต้นกล้าของไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดที่พบเน่าตายในแปลงเพาะกล้า โรคนี้เกิดจากเชื้อรา

2.2 โรคโคนเน่า อาการเน่ามีแผลเป็นสีน้ำตาลบริเวณโคนต้น ถ้าถากเปลือกดูจะเห็นว่าใต้เปลือกมีอาการเน่าเป็นสีน้ำตาล เช่น โรคโคนเน่าของปาล์มและกล้วยไม้ เป็นต้น ส่วนมากโรคนี้จะเกิดจากเชื้อรา

2.3 โรคลำต้นเน่า แผลที่พบบริเวณโคนต้นจะขยายลุกลามไปรอบลำต้น ทำให้เปลือกรอบ ๆ ลำต้นเน่า และต้นไม้ตายทั้งต้น หรือบางครั้งเชื้อเข้าทำลายบริเวณลำต้นที่มีความชื้นสูงอยู่เสมอ เช่น บริเวณคาคบไม้ โรคนี้ส่วนมากเกิดจากเชื้อรา เช่น โรคลำต้นเน่าของโป๊ยเซียน เป็นต้น

2.4 โรคยางไหล จะมีอาการยางไหลออกมาจากลำต้น โดยบริเวณดังกล่าวจะมีรอยแผลช้ำ มียางไหลออกมาตามรอยแผลนั้น เช่น โรคยางไหลของแคคตัส ซึ่งเกิดจากเชื้อรา

2.5 โรคปุ่มปม เกิดอาการเป็นก้อนปุ่มปมขึ้นบริเวณกิ่งและลำต้น ส่วนมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

3. อาการที่ใบ

3.1 โรคใบจุด เกิดจุดแผลที่ใบ รูปร่างแตกต่างกันไปในรายละเอียด แล้วแต่สาเหตุที่เข้าทำลาย ขนาดของแผลเป็นเพียงจุดบนใบ อาจเกิดกระจายกันทั่วทั้งใบ ถ้าเกิดจุดแผลมาก ๆ อาจจะทำให้ใบแห้งได้ โรคใบจุดของพืชส่วนมากเกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคใบจุดของเยอบีรา โรคใบจุดของกุหลาบ โรคใบจุดของเบจมาศ เป็นต้น

3.2 โรคใบไหม้ เกิดแผลแห้งตาย มีขนาดของแผลใหญ่กว่าอาการใบจุด ขอบเขตขอบแผลจะกว้างขวางกว่า การไหม้อาจเกิดที่กลางใบ ปลายใบ หรือขอบใบก็ได้ ส่วนมากเกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคใบไหม้ของเฟื้องฟ้า เป็นต้น

3.3 โรคราสนิมเหล็ก แผลขนาดเล็ก สีสนิมโผล่เป็นตุ่มออกมาจากใบพืช ลักษณะคล้าย ๆ กับสีสนิมเหล็ก เมื่อเอามือลูบดูจะมีสปอร์ของเชื้อราติดมือเป็นสีสนิมเห็นได้ชัด โรคนี้เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมของทานตะวัน เป็นต้น

3.4 โรคราน้ำค้าง อาการของโรคนี้แตกต่างกัน ซึ่งพอจะแยกออกได้ดังนี้คือ อาการราน้ำค้างในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มักพบอาการใบลายสีเหลืองเขียวสลับกันตามความยาวของใบ ถ้าอากาศชื้น ๆ อุณหภูมิพอเหมาะจะพบผงสปอร์ของเชื้อสีขาว ๆ เกาะติดที่ใบ ในพืชตระกูลแตงจะเห็นใบมีอาการเป็นแผลจุดเหลี่ยมสีน้ำตาล ส่วนในพืชไม้ดอกต่าง ๆ จะเห็นเป็นใบจุดแผลสีเหลืองด้านบนใบ แต่ใต้ใบจะพบขุยสปอร์สีขาว ๆ โรคราน้ำค้างที่สำคัญ เช่น โรคราน้ำค้างของกุหลาบ เป็นต้น

3.5 โรคราแป้งขาว โรคนี้เกิดจากเชื้อรา โดยจะพบผงแป้งสีขาว ๆ เกาะติดที่ใบคล้าย ๆ กับเอาแป้งไปโรย ขึ้นปกคลุมกระจายตามส่วนต่าง ๆ ของใบหรือทั่วทั้งใบ ต่อมาใบจะเหลืองและแห้งตาย เช่น โรคราแป้งของบานชื่น และโรคราแป้งของกุหลาบ เป็นต้น

3.6 โรคแอนแทรคโนส ใบที่เกิดโรคนี้จะเป็นแผลแห้งสีน้ำตาล ส่วนมากจะเห็นเชื้อรามีลักษณะเรียงเป็นวงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ค่อนข้างชัดเจน ในพืชบางชนิดโรคนี้เกิดได้ทั้งบนใบ กิ่ง และผล สาเหตุเกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแอนแทรคโนสของกล้วยไม้ มะลิ หน้าวัว เป็นต้น

3.7 โรคราดำ ใบที่เกิดโรคนี้จะมีผงคล้ายเขม่าดำคลุมผิวใบหรือส่วนอื่น ๆ ของพืช เมื่อใช้มือลูบจะหลุดออก เพราะเชื้อราชนิดนี้จะไม่แทงเข้าไปในใบพืช เพียงแต่ขึ้นปกคลุมผิวใบ ส่วนมากพบหลังการทำลายของเพลี้ยจั๊กจั่นและแมลงหวี่ขาว เพราะราชนิดนี้จะขึ้นเจริญบนน้ำหวานที่แมลงขับถ่ายออกมา

3.8 โรคเน่าเละ อาการคือ เน่าเละสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นเหม็นรุนแรง เกิดได้ทั้งลำต้น ราก หัว และใบของพืช เมื่อเป็นโรคนี้พืชจะเน่าเละทั้งต้น หรือทั้งหัว สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเน่าเละของกล้วยไม้รองเท้านารี แคคตัส โป๊ยเซียน เป็นต้น

3.9 โรคใบด่าง อาการใบด่างมีหลายลักษณะแล้วแต่สาเหตุที่ทำให้ด่าง อาจเกิดจากเชื้อไวรัส ขาดธาตุอาหาร หรือลักษณะกลายพันธุ์ของพืช สำหรับอาการใบด่างที่เกิดจากไวรัสส่วนมากมีสีเหลืองสลับเขียว เนื้อใบไม่เรียบ เป็นคลื่น และใบมีรูปร่างผิดปกติ เช่น โรคใบด่างเหลืองของฟิตูเนีย โรคใบด่างของกุหลาบ โรคใบด่างของมะลิ เป็นต้น

3.10 โรคแตกพุ่มฝอย บริเวณยอดจะแตกเป็นพุ่มฝอย โดยมีใบเล็ก ๆ รวมกันเป็นกระจุก โรคนี้เกิดจากเชื้อมายโคพลาสมา เช่น โรคแตกพุ่มฝอยของเยอบีรา ดาวเรือง เป็นต้น

4. อาการที่ดอก

พบอาการคล้าย ๆ กับที่เกิดบนใบ เช่น โรคดอกจุด ดอกไหม้ ดอกด่าง ดอกบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ดอกเน่า และแอนแทรคโนส เป็นต้น โรคพวกนี้ส่วนมากเกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส เช่น โรคดอกสนิมของกล้วยไม้ โรคดอกด่างของแคทลียา โรคดอกเน่าของหน้าวัว เป็นต้น

5. อาการที่เกิดกับพืชทั้งต้น

5.1 โรคเหี่ยว ต้นพืชจะแสดงอาการเหี่ยวเฉาในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น การเกี่ยวเนื่องจากการขาดน้ำเมื่อได้น้ำก็จะฟื้นปกติ อาการเหี่ยวใบเหลืองลู่เนื่องจากเชื้อราไปทำลายท่อน้ำและอาหารของพืช อาการเหี่ยวแต่ใบยังเขียวอยู่ระยะหนึ่ง คือแมื่อแดดจัดก็จะเหี่ยว ต่อมาเมื่ออากาศเย็นลงก็จะฟื้นปกติ เป็นอยู่ระยะหนึ่งต่อจากนั้นก็จะเหี่ยวอย่างถาวร โรคนี้เกิดจากการทำลายของเชื้อราหลายชนิด และเชื้อแบคทีเรีย ตัวอย่างเช่น โรคเหี่ยวของฟิตูเนีย โรคเหี่ยวของบานชื่น โรคเหี่ยวของกล้วยไม้ โรคเหี่ยวของมะลิ เป็นต้น

5.2 ต้นพืชแคระแกร็น ต้นพืชจะแสดงอาการแคระแกร็นเมื่อเปรียบเทียบกับต้นปกติ ทั้งนี้อาจเนื่องจากการปฏิบัติดูแลรักษาไม่ดีพอ มีไส้เดือนฝอยหรือแมลงกัดทำลายราก หรือมีเชื้อโรคบางชนิด เช่น ไวรัสเข้าทำลาย ทำให้ต้นพืชไม่สามารถเจริญเติบโตตามปกติได้ มีดอกและผลน้อย

5.3 ต้นพืชเติบโตผิดปกติ โดยต้นที่เป็นโรคจะยืดสูงกว่าต้นปกติ สีเขียวอ่อนและไม่ออกดอก อาจเกิดเนื่องจากได้รับฮอร์โมนที่ผิดปกติ หรือต้นพืชที่ได้รับปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปก็จะทำให้เฝือใบ ไม่ออกดอก เป็นต้น

Reference: baanjomyut.com
อ่าน:6189
รับมือ 5 โรคพืชที่พบบ่อย โรคราน้ำค้าง โรคราสนิมขาว โรคเน่าคอดิน โรคใบจุด และ โรคเหี่ยว
รับมือ 5 โรคพืชที่พบบ่อย โรคราน้ำค้าง โรคราสนิมขาว โรคเน่าคอดิน โรคใบจุด และ โรคเหี่ยว
เตือนเกษตรกรสำรวจโรคพืชในทุกระยะ หากฝนตกติดต่อกันเกินกว่า 2 – 3 วัน ควรมีการวางแผนที่ดีเพื่อป้องกันโรคที่ตามมาในหน้าฝน ซึ่งเชื้อราเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคพืชมาก..
อ่านต่อที่ http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3123
ยาแก้โรคเน่า ทานตะวันงอก ต้นอ่อนทานตะวัน โรคทานตะวันอ่อน ที่เกิดจากเชื้อราต่างๆ
ยาแก้โรคเน่า ทานตะวันงอก ต้นอ่อนทานตะวัน โรคทานตะวันอ่อน ที่เกิดจากเชื้อราต่างๆ
การแก้ปัญหาเบื้องต้นของ โรคราทานตะวันงอก ทานตะวันงอกใบจุด โรคเน่าคอดิน

ลองใช้ดินผสมขี้เถ้าแกลบดำ เปลี่ยนแทนดินเดิม ในส่วนขั้นตอนของการแช่เมล็ด ให้ผสม ไอเอส ในอัตราส่วน 25 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อแช่เมล็ดก่อนปลูก การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ไม่มีโรคจากเชื้อรา ก็เป็นสิ่งสำคัญ และอีกสาเหตุหลักของโรคต่างๆใน ทานตะวัน คือ เชื้อราที่ฝังในดิน ควรกำจัดเชื้อราในดินก่อนปลูก

วิธีเพาะ ต้นอ่อนทานตะวัน. งอก
1. เตรียมวัสดุปลูกมา เกลี่ยให้ทั่วถาดเพาะ โดยวัสดุปลูกอาจจะใช้ มูลไส้เดือน1:ขุยมะพร้าว3ผสมให้เข้ากัน หรือจะใช้ดินปลูกต้นไม้ทั่วไปได้ค่ะ
2. นำเมล็ดที่เเช่น้ำ 6-8 ชม. และเทน้ำทิ้ง หาผ้าชุบน้ำหมาดๆ มาปิดไว้จนรากเริ่มงอก นำเม็ดทานตะวันมาเกลี่ยให้ทั่วถาด
3. รดน้ำให้ชุม พอประมาณ
4. นำถาดมาซอนกัน ปิดไว้อีก 2 วัน จนต้นเริ่มดันถาด
5. เมื่อปิดไว้ 2 วัน จนเมล็ดเริ่มดันถาดเเล้ วค่อยยกถาดออก เเล้วว่างถาดบนชั้นปลูกต่อไป จนต้นโต เเละเก็บผลผลิตต่อไป

การใช้ถาดเพาะ ต้นอ่อนทานตะวัน มีผลดีกว่าการใช้ตะกร้า หรือกะละมัง ปัญหาเรื่องต้นไม่อวบ ขึ้นไม่พร้อมกัน ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป

ยาป้องกันกำจัดโรค ยากำจัดเพลี้ย ยากำจัดหนอน ซึ่งใช้ได้กับทุกพืชไร่ พืชสวน ผัก ผลไม้ ที่ปลูกในประเทศไทย

ป้องกันและกำจัดหนอนต่างๆ ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์กำจัดหนอน

ฉีดพ่น ไอกี้-บีที ในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ป้องกันและกำจัดเพลี้ยอ่อน และเพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่นด้วย มาคา

ฉีดพ่น มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

การป้องกันและยับยั้ง โรคใบไหม้ โรคเน่า และโรคต่างๆที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส

ฉีดพ่น ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ปุ๋ยสำหรับเร่งผลผลิต เร่งให้พืชให้ฟื้นตัว จากการเข้าทำลาย ของโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ FK-1

FK-1 ใช้เร่งโต เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง เพิ่มผลิต

นอกจากเราใช้ FK-1 ฉีดพ่นเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชแล้ว เรายังสามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน กับยารักษาโรคพืช และยากำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช หรือยากำจัดหนอน จะช่วยให้พืช ฟื้นตัวได้เร็ว จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง และกลับมาเจริญเติบโต ได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง

อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)

ขอบคุณข้อมูล อ้างอิงบางส่วนจาก
facebook.com/ 1450292685232110/posts/ 1462052637389448/
อ่าน:3673
ยาแก้โรคกะหล่ำปลี โรคกะหล่ำปลีเน่าคอดิน โรคราน้ำค้าง ยากำจัดหนอนกะหล่ำปลี ยาแก้เพลี้ยกะหล่ำปลี และปุ๋ยสำหรับกะหล่ำปลี
ยาแก้โรคกะหล่ำปลี โรคกะหล่ำปลีเน่าคอดิน โรคราน้ำค้าง ยากำจัดหนอนกะหล่ำปลี ยาแก้เพลี้ยกะหล่ำปลี และปุ๋ยสำหรับกะหล่ำปลี
โรคกะหล่ำปลี ทีมีสาเหตุจากเชื้อรา

โรคราน้ำค้างในกะหล่ำปลี

ใบเลี้ยงจะเกิดแผลจุดสีน้ำตาล ลำต้นแคระ แกร็น อาจจะเน่า อาการเริ่มต้นใบจะเป็นจุดสีเหลือง ใต้ใบอาจพบเส้นใยเชื้อราสีเทา หรือขาว หากระบาดรุนแรง กะหล่ำปลีจะค่อยๆแห้งตาย

กะหล่ำปลีเน่าคอดิน

โรคเน่าคอดินในกะหล่ำปลี เป็นโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อราเช่นกัน มักพบระบาดง่าย ในแปลงที่หว่านกล้าแน่นจนเกินไป อาการจะเกิดรอยแผลช้ำที่โคนต้น โคนต้นจะค่อยๆแห้ง หัก ลำต้นเหี่ยว ตาย

การป้องกันและยับยั้ง โรคกะหล่ำปลี ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ ใช้ ไอเอส

ฉีดพ่น ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

หนอนแมลงศัตรูกะหล่ำปลี

หนอนใยผัก ในกะหล่ำปลี

หนอนใยผัก เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืน ตัวหนอนจะกัดกินใบด้านล่าง มองเห็นเป็นแผลบนแผ่นใบ เมื่อใบเริ่มห่อ หนอนจะเจาะเข้ากัดกินยอดอ่อน ทำให้กระหล่ำปลี ชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น และเฉาตาย

หนอนคืบกะหล่ำปลี หนอนชนิดนี้ จะชอนไชเข้ากัดกินใบ หากระบาดมาก สามารถทำความเสียหายกัดกิน กะหล่ำปลีจนหมดต้น

หนอนเจาะยอดกะหล่ำ หนอนชนิดนี้จะเจาะเข้าทำลาย ถึงแกนกลางของหัวกะหล่ำปลี พบมากในระยะใบอ่อน

ป้องกันและกำจัดหนอนต่างๆ ในกะหล่ำปลี ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์กำจัดหนอน

ฉีดพ่น ไอกี้-บีที ในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

เพลี้ยกะหล่ำปลี

เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ ของกะหล่ำปลีเช่นกัน จะเข้าดูดกินน้ำเลี้ยง สร้างความเสียหายให้กับกะหล่ำปลี ทำให้ใบเหลืองเป็นจุดๆ และเปื่อยเน่า รวมทั้งเป็นพาหะของโรคต่างๆ ทำให้กะหล่ำปลีอ่อนแอต่อโรค

ป้องกันและกำจัดเพลี้ยต่างๆ ในกะหล่ำปลี ฉีดพ่นด้วย มาคา

ฉีดพ่น มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ปุ๋ยสำหรับเร่งผลผลิตกะหล่ำปลี ฉีดพ่นทางใบ

FK-1 ใช้เร่งโต เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง เพิ่มผลิต

นอกจากเราใช้ FK-1 ฉีดพ่นเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชแล้ว เรายังสามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน กับยารักษาโรคพืช และยากำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช หรือยากำจัดหนอน จะช่วยให้พืช ฟื้นตัวได้เร็ว จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง และกลับมาเจริญเติบโต ได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง

อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)

อ่าน:5106
32 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 3 หน้า, หน้าที่ 4 มี 2 รายการ
|-Page 3 of 4-|
1 | 2 | 3 | 4 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
เตือนภัย!! ต้นมะกรูด สร้างความเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร ??
Update: 2566/11/07 10:56:40 - Views: 290
ปุ๋ยสำหรับฟัก พืชตระกูลฟัก ฟักเขียว ฟักแม้ว ฟักแผง ฟักขาว ฟักหอม ฟักจีน ปุ๋ยน้ำสำหรับฟัก ฉีดพ่น FK-1
Update: 2564/10/03 05:28:31 - Views: 3264
การจัดการเพลี้ยในต้นทับทิม: วิธีป้องกันและควบคุมเพลี้ยที่มีประสิทธิภาพ
Update: 2566/11/10 14:46:46 - Views: 354
ท้าวเวสสุวรรณ สลักบนแผ่นเหล็กน้ำพี้ ตระกูลเดียวกับเหล็กไหล เสริมดวง เสริมโชค ป้องกันภัย
Update: 2567/02/17 13:54:34 - Views: 119
โรคราแป้งในถั่วลันเตา
Update: 2564/08/23 00:56:01 - Views: 3083
มะระ ใบไหม้ ใบเหลือง ราน้ำค้าง กำจัดโรคมะระ จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/26 11:48:18 - Views: 3045
เพิ่มผลผลิตข้าวโพด ข้าวโพดคุณภาพดี เมล็ดเต็ม ผลผลิตเพิ่มขึ้นเท่าตัว แค่เปลี่ยนวิธีคิด ปรับวิธีการเพียงเล็กน้อย
Update: 2563/06/05 10:47:22 - Views: 3075
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค - ความสามารถในการฟื้นฟูระบบรากและเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของต้นฝรั่ง
Update: 2567/02/13 09:48:20 - Views: 178
ยากำจัดโรคแอนแทครโนส ใน แตงโม โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/07 11:38:23 - Views: 7419
กำจัดเพลี้ยไก่แจ้ แมลงศัตรูพืชในต้นทุเรียน ด้วย มาคา สารอัลคาลอยด์สกัดจากธรรมชาติ โดย FK ใช้ได้กับพืชทุกชนิด
Update: 2566/05/27 10:42:40 - Views: 3055
เตือน!! ระวังเพลี้ยไฟ บุก สวนกล้วยไม้ สร้างเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร?
Update: 2566/11/01 13:35:12 - Views: 375
ลิ้นจี่ โตไว ใบเขียว เร่งราก เร่งดอก ขยายขนาด ผลใหญ่ ผลดก เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ย สตาร์เฟอร์
Update: 2567/04/01 14:53:38 - Views: 93
ฝรั่ง โตไว ใบเขียว ผลใหญ่ แข็งแรง ผลผลิตดี อะมิโนโปรตีนจำเป็นสำหรับพืช 18 ชนิด อะมิโนแรปเตอร์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/05 14:13:20 - Views: 2987
ยารักษาโรคมังคุดใบไหม้ มังคุดใบจุด ราดำมังคุด โรคมังคุด โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/10/08 22:33:47 - Views: 3348
เพิ่มขนาดและคุณภาพของลำไยด้วยปุ๋ยสูตรพิเศษ 15-5-30+3 MgO
Update: 2567/02/13 14:37:14 - Views: 184
ไม้ดอกเป็นโรค ไม้กระถางเป็นโรค ลักษณะอาการโรค ของไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง
Update: 2564/04/10 11:02:37 - Views: 6189
ยาฆ่าเพลี้ย เพลี้ยไฟ แมลงจำพวกปากดูด ใน ฟักทอง เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/02/28 14:32:42 - Views: 3032
สาระน่ารู้เกี่ยวกับค่า REI
Update: 2565/02/25 01:46:07 - Views: 2976
ต้นหม่อน ผลใหญ่ ด้วย ปุ๋ย สตาร์เฟอร์ 0-0-60 โพแทสเซี่ยม สูตรเร่งผล เพิ่มผลผลิต ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก และคุณภาพ
Update: 2567/04/22 13:10:21 - Views: 132
ป้องกัน กำจัด แมลงหวีขาว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงศัตรู กัญชา และ กัญชง
Update: 2564/04/08 11:26:02 - Views: 3389
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022