[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - แมลงปากดูด
21 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 2 หน้า, หน้าที่ 3 มี 1 รายการ

เพลี้ยฝรั่ง เพลี้ยแป้งในฝรั่ง เพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่น มาคา
เพลี้ยฝรั่ง เพลี้ยแป้งในฝรั่ง เพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่น มาคา
เพลี้ยแป้งฝรั่ง (Mealybug) เป็นแมลงปากดูด มีลักษณะพิเศษคือลำตัวอ่อนนุ่ม สามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศ เพลี้ยแป้งที่พบในแปลงฝรั่งเป็นเพลี้ยแป้งชนิด แจ็คเบียสเลย์

ฝรั่งใบหงิก อาจเป็นเพราะเพลี้ยดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ใบพืชหดตัว โรคราดำฝรั่ง ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากเพลี้ยเป็นพาหะ ลักษณะการแพร่กระจายและการทำลาย พืชอาศัยของเพลี้ยแป้งชนิดนี้ พบมากในไม้ผลชนิดต่างๆ เช่น น้อยหน่า ฝรั่ง ทุเรียน เงาะ มะม่วง เป็นต้น ลักษณะการทำลายของเพลี้ยแป้ง คือ การดูดน้ำเลี้ยง โดยใช้ส่วนของปากที่เป็นท่อยาว ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนยอด ใบ ดอกและผล สามารถระบาดและทำลายพืชทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเพลี้ยแป้งจะขับถ่ายมูลที่มีลักษณะของเหลวข้นเหนียวมีรสหวาน ทำให้เกิดราดำปกคลุมปิดบังบางส่วนของใบพืช ผล ดอกหรือยอดอ่อนมีผลทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชลดลง และอาจแห้งตายไปในที่สุดหลังจากถูกเพลี้ยแป้งดูดน้ำเลี้ยง

ป้องกัน กำจัด เพลี้ย แมลงจำพวกปากดู ศัตรูพืช เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว ฉีดพ่น มาคา

อัตราส่วนการใช้ 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทั่วบริเวณที่มีการระบาด

คุณสมบัติของมาคา

หลักการทำงานและวิธีการออกฤทธิ์
วิธีการออกฤทธิ์ในการ ฆ่าและกำจัด โดยสารสกัดที่อยู่ในรูปของ อัลคาลอยด์ จะมีผลโดยเป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลง และยับยั้งกระบวนการหายใจโดยจะไปมีผลในระบบของการสร้างพลังงานภายในเซลล์ร่างกายทำให้ร่างกายของแมลงขาดพลังงานทำงานช้าลงและตายในที่สุด จึงมีผลทำให้แมลงตายในที่สุด

วิธีการออกฤทธิ์ในการ ไล่ สารสกัดที่ได้ใช้ทั้งกลิ่นและการสร้างความเจ็บปวด ทรมานและเกิดอาการแสบ ร้อน ให้กับแมลงที่สัมผัสหรือได้รับสารนี้เข้าไป โดยกลิ่นที่ฉุนจะทำให้เกิดความไม่คุ้นเคยสร้างความสับสนให้กับแมลงและสารนี้ยังไปกระตุ้นระบบประสาทรับความรู้สึกในส่วนของความเจ็บปวด ความแสบ ร้อน ของแมลงให้เกิดมากขึ้นจนเกินกว่าที่ร่างกายของแมลงจะทนรับได้ จึงมีผลทำให้แมลงมีสภาวะที่ผิดปกติ ต้องบินหนีไป

สารในรูปของน้ำมัน ( oil ) ทำหน้าที่อุดรูหายใจของแมลง ( Spiracles block ) ทำให้แมลงไม่สามารถรับอากาศภายนอกได้ ดังนั้นกระบวนการใช้ออกซิเจนหรือกระบวนการสร้างพลังงาน ( ATP ) เพื่อใช้ในร่างกายจึงถูกรบกวนมีผลทำให้ metabolism ภายในร่างกายของแมลงถูกยับยั้ง แมลงหมดแรง เฉื่อยชา และตายในที่สุด

การสั่งซื้อ

โทร 090-592-8614

ไลน์ไอดี http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ฟาร์มเกษตร http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ช้อปปี้ http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ลาซาด้า http://www.farmkaset..link..
เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อน หนึ่งในแมลงพาหะตัวร้ายที่แพร่กระจายเชื้อโรคไปสู่พืชผักและทำลายด้วยตัวมันเองได้ ซึ่งเพลี้ยอ่อนมีกระจายไปทั่วโลกมากกว่า 4_000 ชนิด และมีจำนวน 250 ชนิดที่คอยก่อกวนพืช โดยใช้ปากที่แหลมคมเจาะลำต้นอ่อนและโคนใบพืชเพื่อดูดอาหารจากเซลล์พืช จนทำให้ใบพืชผักโดนทำลายจนเสียหาย เพราะสามารถระบาดได้อย่างรวดเร็วและสร้างความเสียหายให้แก่พืชทั่วประเทศ

การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชนั้น เป็นเรื่องใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรม จนพวกเราที่ประกอบอาชีพเกษตรกรต่างไม่อยากจะพบเจอ โดยเฉพาะกับแมลงศัตรูที่มีขนาดเล็กมากอย่างเพลี้ยอ่อนนี้ ถ้าเราไม่สังเกตอาจจะมองไม่เห็น ยิ่งเป็นเกษตรกรมือใหม่ด้วยแล้วอาจจะพลาดได้ เพราะแมลงขนาดที่เล็กและแพร่พันธุ์ได้เก่งชนิดนี้กลับสร้างความเสียหายแก่พืชผลเป็นอย่างมาก ทำให้การลงทุนทั้งเงินและแรงของเกษตรกรต้องขาดทุนไปทันที

เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงตัวจิ๋ว ที่มีความยาวไม่เกิน 4 มิลลิเมตร หัวเล็กเท่าหัวเข็ม รูปร่างรีและโค้งมนป่องด้านท้าย สามารถออกลูกได้วันละ 10-11 ตัว สามารถออกลูกได้สูงสุดถึงตัวละ 450ตัว ทำให้มีการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วและเกิดความเสียหายลุกลามได้ เพลี้ยชนิดนี้จะสามารทำลายพืชได้ทุกระยะเน้นทำลายจุดสำคัญของพืช ทั้งลำต้น ใบ ดอก ผล โดยเจาะกินน้ำหวานที่ใต้ใบที่มันอาศัยอยู่ โดยทั่วไปเพลี้ยผัก จะมีจำนวนน้อยลงเมื่อเริ่มมีฝนเข้ามาชะล้างและมีภูมิอากาศมากขึ้น และจะมีจำนวนมากขึ้นในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น

การควบคุมและกำจัดเพลี้ยอ่อนนั้น เริ่มจากการหมั่นสำรวจพืชผลเพื่อจะได้สังเกตเห็นว่ามีเพลี้ยอ่อนเกาะติดพืชผลหรือไม่ และป้องกันด้วยการขยันรดน้ำ พ่นน้ำที่ยอดผัก เพื่อทำลายถิ่นที่อยู่ของเพลี้ยที่อาศัยใต้ใบ เป็นการชะล้างออกในระดับหนึ่ง และนำแมลงห้ำที่นักล่า อย่างตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส ด้วงเต่าลายสมอ ด้วงเต่าลายหยัก และด้วงเต่าอื่นๆ รวมทั้ง ตัวอ่อนแมลงวันดอกไม้ มาปล่อยไว้ในแปลงเพาะปลูก เพื่อห้ำหั่นกับเพลี้ยตั้งแต่ต้น และนำแมลงเบยอย่างแตนเบียนดักแด้ มาปล่อยไว้ด้วย ก่อนที่จะมีการระบาด และหากมีการระบาดแล้ว ต้องใช้จุลินทรีย์จากเชื้อรา เช่น บิวเวอเรียหรือเม็ตตะไรเซี่ยม มาทำลายทันทีก่อนที่จะระบาดหนัก หรือจะนำสมุนไพรไทยเราอย่าง หางไหลสัดส่วน 1 กิโลกรัมผสมกับน้ำ 20 ลิตร เพื่อฉีดพ่นกำจัด หากมีความจำเป็นเร่งรีบอาจจะต้องใช้สารเคมีเข้าช่วย แต่อยากให้เลือกเป็นวิธีการสุดท้ายครับ โดยให้พ่นในสัดส่วนที่ข้างกระป๋องระบุไว้เท่านั้นนะครับ เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นพิษต่อพืชผล ตัวเรา และสิ่งแวดล้อมครับ

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โรคราดำ (Black mildew)
โรคราดำ (Black mildew)
สาเหตุ -เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Capnodium sp._ Meliola sp.

สาเหตุหลักมาจาก
เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง โดยแมลงจะดูดน้้าเลี้ยงและถ่ายสารคล้ายน้้าหวานออกมาตามใบ ช่อดอก ท้าให้ราด้าขึ้นปกคลุม

ลักษณะอาการ
-ลักษณะเหมือนเขม่าหรือฝุ่นสีด้า
-ขึ้นปกคลุมใบเป็นแผ่นสีด้า ลักษณะคล้ายดาวเป็นแฉกๆ
-เกิดทั้งบนใบ กิ่ง ยอด ช่อดอก และผลอ่อน
-หากราด้าขึ้นปกคลุมดอก จะไม่สามารถผสมเกสรได้
-เมื่อแห้งอาจจะร่วงหลุดเป็นแผ่น

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
งานวิจัยฝ้ายในรอบทศวรรษ
งานวิจัยฝ้ายในรอบทศวรรษ
ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา นักปรับปรุงพันธุ์พืชและนักวิจัยของศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ รวมทั้งศูนย์เครือข่าย ได้วิจัยและพัฒนาพันธุ์ฝ้ายที่มีคุณภาพดี มีความหลากหลาย สอดคล้องและตรงกับความต้องการของตลาด ตลอดจนได้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม ลดการใช้สารเคมีตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกจนกระทั่งกระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

1. ตากฟ้า 84-4

พันธุ์ฝ้ายใบขน ผลผลิตฝ้ายปุยทั้งเมล็ด 260 กิโลกรัมต่อไร่ และคุณภาพเส้นใยดีมาก โดยมีเปอร์เซ็นต์ปุย 38.0 เปอร์เซ็นต์ ความยาวของเส้นใย 1.23 นิ้ว ความเหนียวของเส้นใย 24.3 กรัมต่อเท็กซ์ ความสม่ำเสมอของเส้นใย 56 และความละเอียดอ่อนของเส้นใย 3.9 นอกจากนี้ผลผลิตเสียหายน้อยกว่าพันธุ์ตากฟ้า 2 ซึ่งเป็นฝ้ายใบเรียบ จากการเข้าทำลายอย่างรุนแรงของเพลี้ยจักจั่นที่ระบาดอย่างรวดเร็ว เมื่อประสบภาวะแห้งแล้งติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 84-4 มีใบปกคลุมด้วยขนทั้งบนใบและบริเวณเส้นใบ ทำให้ลดการเข้าทำลายของเพลี้ยจักจั่นได้ดีกว่า อีกทั้งยังมีความต้านทานต่อโรคใบหงิก ซึ่งทำให้สามารถลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงปากดูดพวกเพลี้ยอ่อนและเพลี้ยจักจั่นลงในระดับหนึ่ง ดังนั้น ฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 84-4 จึงเหมาะสมที่จะส่งเสริม ให้เกษตรกรปลูก ในภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ที่ก่อให้เกิดภาวะแห้งแล้งเป็นระยะเวลานานตลอดจนเป็นพันธุ์ที่มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิต สามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมของการปลูกฝ้ายที่สำคัญของประเทศไทย

เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม ในการผลิตฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 84-4 สำหรับดินชุดสมอทอด ควรใช้ อัตราประชากร 1_828 ต้นต่อไร่ โดยใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 1.75 เมตร ระหว่างต้น 0.5 เมตร ใส่ปุ๋ยอัตรา 12-12-12 กิโลกรัมต่อไร่ ของ N-P2O5-K2O เมื่อฝ้ายอายุ 30 วัน

2. ตากฟ้า 86-5

ฝ้ายเส้นใยสีเขียว และมีคุณภาพเส้นใยดีพันธุ์แรกของไทย มีความยาวเส้นใย 1.26 นิ้ว ความเหนียว 31.6 กรัม/เท็กซ์ ความสม่ำเสมอ 84 และความละเอียดอ่อน 2.54 ตลอดจนต้านทานต่อโรคใบหงิก เหมาะสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบรองรับการผลิตหัตถกรรมสิ่งทอในท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การแข่งขันและพึ่งพาตนเอง อีกทั้งเส้นใยสีเขียวยังเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว ไม่ต้องผ่านกระบวนการฟอกย้อมสี ปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้ใช้ และลดมลภาวะน้ำเสียที่เกิดจากการฟอกย้อม ตรงตามกระแสของผู้บริโภคที่ต้องการใช้เส้นใยฝ้ายสี ซึ่งอนุรักษ์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม ในการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตฝ้าย ซึ่งเป็นฝ้ายเส้นใยสีเขียวพันธุ์แรกของไทย แนะนำให้ใช้อัตราประชากร ที่เหมาะสม 2_650 ต้นต่อไร่ หรือ ใช้ระยะปลูก 1.25×0.50 เมตร ใส่ปุ๋ยอัตรา 8-16-8 กิโลกรัมต่อไร่ ของ N-P2O5-K2O ซึ่งเหมาะสมและให้กำไรสูงสุด ในชุดดินวังไฮ สำหรับการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่น ให้พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูฝ้ายเฉพาะที่ฝ้ายอายุ 50-100 วัน หรือ เมื่อมีปริมาณเพลี้ยจักจั่น ถึงระดับเศรษฐกิจ และแนะนำให้เก็บเกี่ยวฝ้ายพันธุ์นี้ ทุก 5 และ 10 วันหลังจากสมอเริ่มแตก เพื่อให้ได้เส้นใยที่มีสีเขียวเข้มที่สุด

3. ตากฟ้า 6

ฝ้ายเส้นใยสีน้ำตาลพันธุ์แรกของไทย ความยาวเส้นใยปานกลาง 1.09 นิ้ว และมีความละเอียดอ่อนของเส้นใยสูง 2.7 เมื่อนำไปทอจะได้เนื้อผ้าที่มีความนิ่ม สบาย ให้ผลผลิตเฉลี่ย 177 กิโลกรัมต่อไร่ และปลูกได้ในแหล่งผลิตฝ้ายของไทย มุ่งเน้นความเป็นเส้นใยธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีสีน้ำตาลตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องใช้สารเคมีในการฟอกย้อม เพื่อให้ลด ต้นทุนแรงงาน ลดขั้นตอน และเวลาในการฟอกย้อมสี อีกทั้งยังปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้ใช้ และลดมลภาวะน้ำเสียที่เกิดจากการฟอกย้อม

เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม ในการผลิตฝ้ายตากฟ้า 6 ที่ปลูกในดินร่วนเหนียว ชุดดินวังไฮ ควรใช้อัตราประชากร 3_200 ต้นต่อไร่ โดยใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 1.0 เมตร ระหว่างต้น 0.5 เมตร หรือ อัตราประชากร 2_560 ต้นต่อไร่ โดยใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 1.25 เมตร ระหว่างต้น 0.5 เมตร ใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นเกรด 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ และเมื่อฝ้ายอายุ 30 วัน ใส่ปุ๋ยเคมี 46-0-0 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่

เทคโนโลยีการผลิตฝ้ายอินทรีย์

ซึ่งเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่เพิ่มมูลค่าของผลผลิตฝ้าย เนื่องจากลดการใช้สารเคมี สร้างผลผลิตและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยจากสารเคมีปนเปื้อนในการผลิตฝ้าย โดยสามารถเลือกใช้การปรับปรุงดินจาก 4 วิธี คือ การใช้ปอเทืองหว่านแล้วไถกลบเมื่ออายุ 2 เดือน หรือใช้ปอเทืองร่วมกับปุ๋ยหมักแห้ง 3 ตันต่อไร่ หรือใช้ปอเทืองร่วมกับโบกาชิ 200 กิโลกรัมต่อไร่ หรือใช้ปอเทืองร่วมกับปุ๋ยหมัก 3 ตันต่อไร่และใส่โบกาชิ 200 กิโลกรัมต่อไร่เมื่ออายุ 1 เดือน แต่กรรมวิธีที่ให้ค่า BCR ต่ำกว่ากรรมวิธีอื่นหรือคุ้มค่ามากกว่า คือ ใช้ปอเทืองอย่างเดียว หรือใช้โบกาชิ 200 กิโลกรัมต่อไร่อย่างเดียว (ค่า BCR เท่ากับ 1.26 และ 1.40 ในพันธุ์ตากฟ้า 86-5 และ ตากฟ้า 6 ตามลำดับ และพันธุ์ฝ้ายทั้งสองพันธุ์นี้สามารถปลูกในระบบอินทรีย์ได้ ส่วนการควบคุมแมลงศัตรูพืช สามารถพ่นน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้และจากสมุนไพร (อัตราส่วนน้ำหมัก : น้ำ 1 : 200) ตั้งแต่ฝ้ายอายุ 15-100 วันหลังงอก ช่วงฤดูปลูกปลายฝนสำหรับภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) สามารถปลูกได้ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม และมีโอกาสพบกับความแปรปรวนของฝนได้ตลอดฤดูปลูก

4. ตากฟ้า 7

ฝ้ายพันธุ์รับรองล่าสุดของกรมวิชาการเกษตร ตากฟ้า 7 เป็นฝ้ายใบขน ผลผลิตฝ้ายปุยทั้งเมล็ด เฉลี่ย 196 กิโลกรัมต่อไร่ ทนทานต่อเพลี้ยจักจั่น และต้านทานต่อโรคใบหงิกในสภาพการปลูกแบบปลอดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูฝ้าย ตลอดจนมีเปอร์เซ็นต์หีบ 36.6 % คุณภาพเส้นใยยาวปานกลาง โดยกลุ่มเส้นใยมีความยาว 1.02 นิ้ว ความเหนียว 16.6 กรัมต่อเท็กซ์ ความละเอียดอ่อน 4.4 และความสม่ำเสมอ 58 อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120-189 วัน สามารถปลูกได้ในแหล่งผลิตฝ้ายของประเทศไทย เป็นทางเลือกให้เกษตรกรใช้ปลูกในพื้นที่ขนาดเล็ก (น้อยกว่า 1 ไร่) ในสภาพปลอดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง รองรับแนวความคิดในการผลิตฝ้ายที่ปลอดภัยต่อสุขภาพผู้ผลิต ผู้บริโภค จากศักยภาพของพันธุ์ สามารถที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่องในการผลิตฝ้ายอินทรีย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต และรองรับกระแสความต้องการของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง (niche market)

คำแนะนำการจัดการปุ๋ย ในการผลิตฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 7 ที่ปลูกในดินร่วนเหนียวชุดดินวังไฮ ควรใช้อัตราประชากร 3_200 ต้นต่อไร่ (ระยะระหว่างแถว 1.0 เมตร ระหว่างต้น 0.5 เมตร) หรือ อัตราประชากร 1_828 ต้นต่อไร่ (ระยะระหว่างแถว 1.75 เมตร ระหว่างต้น 0.5 เมตร) ใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 8-24-24 อัตรา 33 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ย 21-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่เมื่อฝ้ายอายุ 30 วัน

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น FK-1 เพื่อ บำรุง ส่งเสริมการเจริญเติบโต ของ ฝ้าย
สวนเงาะเฝ้าระวังการเกิด โรคราดำเงาะ มักพบได้ในระยะที่ต้นเงาะเริ่มติดผลอ่อน
สวนเงาะเฝ้าระวังการเกิด โรคราดำเงาะ มักพบได้ในระยะที่ต้นเงาะเริ่มติดผลอ่อน
อากาศร้อน มีลมกระโชกแรง และมีฝนตกในบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนเงาะเฝ้าระวังการเกิดโรคราดำ มักพบได้ในระยะที่ต้นเงาะเริ่มติดผลอ่อน เริ่มแรกจะพบคราบราสีดำติดตามส่วนต่างๆ ของต้นเงาะ เช่น ใบ กิ่ง ก้านดอก ช่อดอก ขั้วผล และร่องขน หากมีคราบราดำที่บนใบ จะส่งผลให้พืชรับแสงได้ไม่เพียงพอ กรณีพบราดำขึ้นปกคลุมช่อดอก จะทำให้ไม่สามารถผสมเกสรได้ และมีดอกร่วง ถ้ามีราดำขึ้นปกคลุมผล จะทำให้ผิวผลไม่สวย ผลดูสกปรก จำหน่ายไม่ได้ราคา

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคราดำ หากพบโรคให้เกษตรกรพ่นด้วยน้ำเปล่าล้างคราบราดำที่ติดตามส่วนต่างๆ ของต้นเงาะ เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค จากนั้น ให้เกษตรกรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้นสะสม ไม่ให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค และทำลายแหล่งอาศัยของแมลงปากดูด

นอกจากนี้ มักพบเชื้อราสาเหตุโรคเจริญบนสารเหนียวที่แมลงปากดูดขับถ่ายไว้ในช่วงที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง โดยเพลี้ยแป้งบางชนิดอาจอาศัยอยู่ในดินบริเวณโคนต้นพืชหรือรากวัชพืช ซึ่งมีมดเป็นตัวพาหนะช่วยเคลื่อนย้ายตัวอ่อนของแมลงนำพาไปยังส่วนต่างๆ ของพืช ให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่งเงาะเพื่อลดปริมาณมด จากนั้น ให้ใช้เศษผ้าชุบน้ำมันเครื่องผูกรอบโคนต้น เพื่อป้องกันมดและเพลี้ยแป้งที่อาศัยอยู่ในดินไต่ขึ้นมาบนต้นเงาะ ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรเมื่อใช้ในแปลงที่มีการระบาดแล้ว เกษตรกรควรนำเครื่องมือมาทำความสะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุกครั้ง

ที่มา http://www.farmkaset..link..

มาคา ป้องกันกำจัดเพลี้ยต่างๆ แมลงพาหะของโรค
ไอเอส ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
FK-1 ฟื้นฟู บำรุง เสริมสร้างภูมิต้านทาน ส่งเสริมการเจริญเติบโตและ ผลผลิต
แตงกวา การปลูกแตงกวา การป้องกันกำจัด เพลี้ย แมลง และการรักษาโรคแตงกวา
แตงกวา การปลูกแตงกวา การป้องกันกำจัด เพลี้ย แมลง และการรักษาโรคแตงกวา
แตงกวา (Cucumber) เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า ซึ่งมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาค ของประเทศ มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวสั้น โดยใช้เวลาเพียง 30-45 วัน หลังจากปลูกเมื่อเปรียบเทียบรายได้จากการปลูก แตงกวากับพืชอื่นๆ หลายชนิดแล้ว แตงกวาเป็นพืชหนึ่งที่สามารถทำรายได้ดีทีเดียว สำหรับในแง่ของผู้บริโภคแล้ว แตงกวาที่สามารถ นำไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิด เช่น การนำไปแกงจืด ผัด จิ้มน้ำพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง จะเห็นได้ว่าแตงกวาเป็นพืชที่เข้ามามีบทบาทต่อการค้าทั้งในและต่างประเทศ

ถิ่นกำเนิดแตงกวา

แตงกวา การปลูกแตงกวาแตงกวามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย มีการบันทึกประวัติการปลูกมากกว่า 3_000 ปี และมีการปลูกในประเทศ แถบทะเล เมดิเตอร์เรเนียน เมื่อก่อน 2_000 ปี โดยนำผ่านเอเซียกลางและตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ในศตวรรษที่ 6 ได้นำไปปลูก ในประเทศจีน โดยสันนิษฐานว่าได้นำเข้าประเทศจีน 2 ทาง คือ เส้นทางสายไหม โดยผ่านประเทศในเอเซียตะวันออก ไปภาคเหนือของประเทศจีน ส่วนอีกเส้นทางโดยผ่านประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว ไปสู่ทางภาคใต้ ของประเทศจีน ในศตวรรษที่ 9-14 ได้นำไปปลูกในทวีปยุโรป และได้รับการพัฒนาพันธุ์ต้นศตวรรษที่ 19 ได้รับการพัฒนาพันธุ์ ให้เหมาะสม ต่อการปลูกได้ในโรงเรือน ศตวรรษที่ 15-16 ได้นำไปปลูกในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาเหนือ และได้รับการ พัฒนาพันธุ์อย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันแตงกวาเป็นผักที่นิยมบริโภคทั่วโลก ทั้งในสภาพ การบริโภคสดและแปรรูป
ลักษณะทางพฤษศาสตร์

แตงกวามีจำนวนโครโมโซม 2n = 14 เป็นพืชผสมข้ามตามธรรมชาติโดยอาศัยลมและแมลง แต่พบอัตราการผสมตัวเอง 1-47 เปอร์เซ็นต์ โดยธรรมชาติมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกดอกแต่อยู่ภายในต้นเดียวกัน เป็นพืชฤดูเดียว เถาเลื้อยหรือขึ้นค้าง

ระบบราก เป็นระบบรากแก้ว (tap root system) รากแขนงเป็นจำนวนมาก รากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลงได้ลึกถึง 1 เมตร

ลำต้น เป็นเถาเลื้อย เป็นเหลี่ยม มีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10-20 ซม. มือเกาะเกิดออก มาตามข้อ โดยส่วนปลายของมือเกาะไม่มีการแตกแขนงเป็นหลายเส้น ใบมีก้านใบยาว 5-15 ซม. ใบหยาบมีขนใบมีมุมใบ 3-5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่แบบ palmate มีเส้นใบ 5-7 เส้น ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวเกิดจากบริเวณมุม ใบหรือข้อมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ รังไข่มีลักษณะกลมยาว 2-5 ซม. มีปุ่มนูนของหนามและขนชัดเจน ส่วนของยอดเกสรตัวเมียมี 2-5 แฉก ส่วนดอกเพศผู้อาจเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนดอกเพศเมีย ละอองเกสรตัวผู้ 3 อัน และมีก้านชูเกสรสั้น ๆ ดอกเพศเมียและดอกเพศผู้บานในตอนเช้าและพร้อมรับการผสมเกสรดอกจะหุบ ตอนบ่ายภายในวันเดียวกัน

การเกิดดอกตัวเมีย นั้นขึ้นอยู่กับช่วง แสงและอุณหภูมิกล่าว คือ จะเกิดดอกตัวเมียมากกว่าดอกตัวผู้ ในสภาพช่วงแสงสั้นและมีอุณหภูมิกลางคืนต่ำ ซึ่งตรงกับฤดูหนาวของเมืองไทย

ผลของแตงกวามีลักษณะกลมยาวทรงกระบอก ความยาวผลระหว่าง 5-40 ซม. มีไส้ภายในผล และในปัจจุบันพันธุ์การค้าในต่างประเทศมีการปรับปรุงพันธุ์ที่สามารถติดผล ได้ โดยไม่ได้รับการผสมเกสร (parthenocarpic type) โดยภายในผลไม่มีไส้ เนื้อกรอบ และน้ำหนักต่อผลสูงนิยมทั้งบริโภคผลสดแปรรูป สีผลมีสีขาว เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้มดำ สีหนามสีขาว แดง น้ำตาล และดำ

แตงกวาสามารถจำแนก ได้ตามประโยชน์การใช้สอยดังนี้

1. พันธุ์สำหรับรับประทานสด เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อบางและไส้ใหญ่ สีเปลือกเป็นสีเขียวอ่อน ผลมีน้ำมากเป็นพันธุ์ที่มีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ เมื่อผลยังอ่อนอยู่จะมีหนามเต็มไปหมด แต่เมื่อโตเต็มที่หนามจะหลุดออกเอง พันธุ์รับประทานสดนี้ไม่เหมาะกับการนำไปดอง

แตงกวารับประทานสดแบ่งตามขนาดของผลนั้น แบ่งได้เป็น

1.1 แตงผลยาว (long cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงร้านซึ่งมีความยาวผลอย่างน้อย 15 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหนาไส้แคบ กรณีที่เป็นพันธุ์ของไทยนั้น จะมีสีผลสีเขียวแก่ตรงส่วนใกล้ขั้วผลประมาณ 1/3 - ผ ของผลที่เหลือมีจุดประสีเขียวอ่อนหรือขาว และเส้นสีขาวเป็นแถบเล็ก ๆ ตลอดความยาวไปถึงปลายผล ส่วนพันธุ์ของต่างประเทศนั้น จะมีสีเขียวเข้มสม่ำเสมอทั้งผล

1.2 แตงผลสั้น (short cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงกวา ซึ่งมีความยาวผล 8-12 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อน้อยไส้กว้าง

2. พันธุ์อุตสาหกรรม เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อหนา ไส้เล็ก บางพันธุ์ก็ไม่มีไส้เลย เปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อนำไปดองจะคงรูปร่างได้ดี ไม่ค่อยเหี่ยวย่น แตงกวาพันธุ์นี้มักจะเป็นลูกผสม ผลมักมีรูปร่างผอมยาว ซึ่งแบ่งตามขนาดได้ดังนี้

2.1 แตงผลยาว (long cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทำแตงดองของญี่ปุ่นและจีนซึ่งจะต้องมีความยาวผล 20-30 ซม. และมีความกว้างผล 2-3 ซม. มีเนื้อหนาไส้แคบผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองโดยมีการใช้น้ำปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว

2.2 แตงผลสั้น (short cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทำแตงดองของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งมีความยาว 8-12 ซม. และมีความกว้างผล 1.0-5.1 ซม. โดยทั่วไปจะมีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง (L/D ratio) มีค่าอยู่ระหว่าง 2.8-3.1 มีเนื้อหนาและแน่น ไส้แคบ ผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองทั้งผล ผ่าตามความยาวและหั่นเป็นชิ้น ๆ ตามความกว้างของผลมักดองโดยมีการใช้น้ำปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว

สภาพแวดล้อมในการ ปลูกแตงกวา

อุณหภูมิที่เหมาะสม ต่อการงอกของเมล็ดระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส สามารถเจริญเติบโตได้ผลดีระหว่างอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน 22-28 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการผสมเกสรนั้นอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส

แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากแต่ขาดน้ำไม่ได้ โครงสร้างของดินที่ปลูกแตงกวาควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ควรมีความเป็นกรด ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ในสภาพดินที่เป็นดินทรายจัด หรือเหนียวจัด จำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูก โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วและสภาพความเป็นกรดด่างนั้น ควรจะวิเคราะห์หาค่าความต้องการปูนก่อนที่จะใช้ปูนขาวเพื่อให้มีการใช้ใน ปริมาณที่เหมาะสม

การเตรียมดิน ก่อนการปลูกแตงกวา ไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทำลายวัชพืช และศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออก แล้วเตรียมแปลงขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร โดยมีความยาวตามลักษณะของพื้นที่ แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไป ปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแตงกวา การเตรียมหลุมปลูกนั้นควรกำหนดระยะระหว่างต้น ประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร สำหรับการใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นนั้นอาจใช้สูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ในบางแหล่งอาจใช้ พลาสติกคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันความงอกของวัชพืช และพลาสติกบางชนิดสามารถที่จะไล่แมลงไม่ให้เข้ามาทำลายแตงกวาได้

การเตรียมพันธุ์ ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์ นับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการปลูกแตงกวา ซึ่งพอแบ่งได้ดังนี้

1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ซื้อจากร้านค้าให้เลือกซื้อจากร้านที่เชื่อถือ มีการบรรจุหีบห่อ เมล็ดที่สามารถป้องกันความชื้น หรืออากาศ จากภายนอกเข้าไปได้ ลักษณะเมล็ดแตงกวาควรมีการคลุกสารเคมี เพื่อป้องกันศัตรูพืชที่อาจติดมากับเมล็ด และก่อนใช้เมล็ดทุกครั้งควรทำการทดสอบความงอกก่อน

2. การเตรียมดินเพาะกล้า อัตราส่วนดิน : ปุ๋ยคอก 3:1 และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้นกล้า 1 ไร่ คลุกให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 6×10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสำหรับหยอดเมล็ดแตงกวาต่อไป

3. ทำการบ่มเมล็ด โดยนำเมล็ดบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรูพรุน แช่ในสารละลายเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เช่น แคปเทน ออโธไซด์ ผสมอัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที เพื่อทำลายเชื้อราที่ผิวเมล็ด จากนั้นนำมาแช่น้ำ 4 ชั่วโมง แล้วจึงบ่มในผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ซึ่งบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น บ่มในสภาพอุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง หลังจากรากงอกยาว 0.5 เซนติเมตร จึงนำไปเพาะต่อไป

4. การหยอดเมล็ดลงถุง นำเมล็ดที่ได้บ่มไว้หยอดลงแต่ละถุง จำนวนถุงละ 1 เมล็ด แล้วใช้ดินผสมหยอดกลบบางประมาณ 1 เซนติเมตร

การดูแลรักษากล้า หลังจากหยอดเมล็ดแล้ว ให้น้ำทันที โดยวิธีการฉีดพ่นให้เป็นฝอยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปริมาณน้ำที่ให้นั้นไม่ควรให้ปริมาณที่มากเกินไป ในช่วงฤดูร้อน ควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้ตรวจดูความชื้นก่อนการให้น้ำทุกครั้ง ถุงเพาะกล้านี้ควรเก็บไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุกันแสงไม่ให้มากระ ทบต้นกล้ามากเกินเกินไปเมื่อแตงกวา เริ่มงอกให้หมั่นตรวจดูความผิดปกติของต้นกล้าเป็นระยะ ๆ หากมีการระบาดของแมลงหรือโรคพืช ต้องรีบกำจัดโดยเร็ว และเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบ จะอยู่ในระยะพร้อมที่จะย้ายปลูก

การปลูก วิธีการปลูกแตงกวานั้น พบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ด หากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้ว จะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จำเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อน จึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่น ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสม่ำเสมอ ประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้า เป็นต้น

สำหรับการย้ายกล้าปลูกนั้น ให้ดำเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้ว และเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กำหนด จากนั้นนำต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กำหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00 น. จะทำให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพ แวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

การให้น้ำ หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว ต้องให้น้ำทันที ระบบการให้น้ำนั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้น้ำตามร่อง เพราะว่าจะไม่ทำให้ลำต้น และใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ ช่วงเวลาการให้น้ำในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและเมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้น้ำให้นานขึ้น ข้อควรคำนึงสำหรับการให้น้ำนั้น คือ ต้องกระจายในพื้นที่สม่ำเสมอตลอดแปลง และตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าได้

การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้น อาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้

1. ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

2. หลังย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต ในอัตราประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่

3. ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา ประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

แมลงศัตรูแตงกวา

1. เพลี้ยไฟ (Thrips : Haplothrips floricola)
ลักษณะ เป็น แมลงขนาดเล็ก ตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแก่ พบตามยอดใบอ่อน ดอก และผลอ่อน
การทำลาย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบ ดอกอ่อน และยอดอ่อน ทำให้ใบม้วนหงิกงอ รูปร่างผิดปกติเป็นกระจุก มีสีสลับเขียวเป็นทาง ระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง นับเป็นแมลงที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุดในการปลูกแตงกวา

การป้องกันกำจัด ให้น้ำเพิ่มความชื้นในแปลงปลูก โดยให้น้ำเป็นฝอยตอนเช้าและตอนเย็น จะช่วยลดปัญหาของเพลี้ยไฟได้

2. เพลี้ยอ่อน (Alphids: Aphids gossypii)
ลักษณะ เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวคล้ายผลฝรั่ง มีท่อเล็ก ๆ ยื่นยาวออกไปทางส่วนท้ายของลำตัว 2 ท่อน เป็นแมลงปากดูด ตัวอ่อนสีเขียว ตัวแก่สีดำและมีปีก

การทำลาย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อน ทำให้ใบม้วน ต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหนะนำไวรัสด้วย มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ โดยมีมดเป็นตัวนำหรือการบินย้ายที่ของตัวแก่

3. ไรแดง (Red spider mites: Tetranychus spp.)
ลักษณะ ไม่ได้เป็นแมลงแต่เป็นสัตว์ที่มีขา 8 ขา มีขนาดเล็กมาก มองเห็นเป็นจุดสีแดง
การทำลาย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและหยอดอ่อนทำให้ใบเป็นจุดด่างมีสีซีด โดยจะอยู่ใต้ใบเข้าทำลายร่วมกับเพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีกำจัดไร ได้แก่ เคลเทน ไตรไทออน หรือ โอไมท์ เป็นต้น

4. เต่าแตงแดง (Red cucurbit beetle: Aulacophora simills) และเต่าแตงดำ (Black cucurbit beetle: A. frontalis)

ลักษณะ เป็นแมลงปีกแข็ง ปีกมีสีส้มแดงและสีดำเข้ม ตัวมีขนาดเล็กยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม. อาศัยอยู่ตามกอข้าวที่เกี่ยวแล้วในนา หรือตามกอหญ้า

การทำลาย กัดกินใบตั้งแต่ระยะใบเลี้ยงจนกระทั่งต้นโต ทำให้เป็นแผลและเป็นพาหะของโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียด้วย ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนต้น ตัวหนอนกัดกินราก

การป้องกันกำจัด ควรทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง รวมทั้งเศษซากแตงหลังการเก็บเกี่ยว
ใช้สารเคมีฉีดพ่น ได้แก่ เซฟวิน คาร์โบน๊อกซี-85 หรือ ไบดริน หรือใช้สารเคมีชนิดเม็ด เช่น ฟูราดาน 3 จี หรือคูราแทร์ 3 จี ใส่หลุมปลูกพร้อมกับการหยอดเมล็ด จะป้องกันเต่าแตงได้ประมาณ 2 สัปดาห์

5. หนอนกินใบแตง (Leaf eating caterpilla: Palpita indica) และหนอนไถเปลือกหรือหนอนเจาะผล (Fruit boring caterpillar: Helicoverpa armigera)

ลักษณะ หนอนกัดกินใบแตง มีรูปร่างเรียวยาวประมาณ 2 ซม. สีเขียวอ่อน ตรงกลางสันหลังมีเส้นแถบสีขาวตามยาว 2 เส้น หนอนตัวโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อที่มีปีกโปร่งใสตรงกลาง ส่วนหนอนเจาะผลมีขนาดใหญ่กว่า ลำตัวยาวสีเขียวอ่อนถึงสีน้ำตาลดำ มีรอยต่อปล้องชัดเจน

การทำลาย กัดกินใบ ไถเปลือกเป็นแผลและเจาะผลเป็นสาเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าทำลายต่อได้ เช่น โรคผลเน่า

การ ป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เช่น อโซดริน แลนเนท ทามารอน โตกุไทออน บุก หรือ อะโกรน่า เป็นต้น

โรคที่เป็นศัตรู สำคัญของแตงกวา ได้แก่

1. โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) หรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่าโรคใบลาย เกิดจากเชื้อ Psudoperonospora

ลักษณะอาการ เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลนั้นจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ ถ้าเป็นมาก ๆ แผลลามไปทั้งใบทำให้ใบแห้งตาย ในตอนเช้าที่มีหมอกน้ำค้างจัดช่วงหลังฝนตกติดต่อกันทำให้มีความชื้นสูง ในบริเวณปลูก จะพบว่าใต้ใบตรงตำแหน่งของแผลจะมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผง สีดำ

การป้องกันกำจัด คลุกเมล็ดแตงด้วยสารเคมีเอพรอน หรือริโดมิลเอ็มแซดก่อนปลูกหรือจะนำเมล็ดมาแช่สารเคมีที่ละลายน้ำเจือจาง เป็นเวลา 3 ชั่วโมงก็ได้ เมื่อมีโรคระบาดในแปลงและในช่วงนั้นมีหมอกและน้ำค้างมาก ซึ่งควรฉีด Curzate M8_ Antrachor สลับกันเพื่อป้องกันการดื้อสารเคมีของเชื้อ

2. โรคใบด่าง (Mosaic)
เชื้อสาเหตุ Cucumber mosaic virus
ลักษณะอาการ ใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อนหรือด่างเขียวสลับเหลืองเนื้อใบ ตะปุ่มตะป่ำ มีลักษณะนูนเป็นระยะ ๆ ใบหงิกเสียรูปร่าง

การป้องกันกำจัด ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้สารเคมีหรือวิธีการใด ๆ ที่จะลดความเสียหายเมื่อโรคนี้ระบาด ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดขณะนี้คือการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เช่น เลือกแหล่งปลูกที่ปลอดจากเชื้อไวรัส อาจทำได้โดยเลือกแหล่งปลูกที่ไม่เคยปลูกผักตระกูลแตงมาก่อนและทำความสะอาด แปลงปลูกพร้อมทั้งบริเวณใกล้เคียงให้สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อและ แมลงพาหะ

3. โรคผลเน่า (Fruit rot)
เชื้อสาเหตุ Pythium spp._ Rhizoctonia solani_ Botrytis cinerea
ลักษณะอาการ มักเกิดกับผลที่สัมผัสดิน และผลที่แมลงกัดหรือเจาะทำให้เกิดแผลก่อน จะพบมากในสภาพที่เย็นและชื้น กรณีที่เกิดจากเชื้อพิเที่ยมจะเป็นแผลฉ่ำน้ำเริ่มจากส่วนปลายผล ถ้ามีความชื้นสูงจะมีเส้นใยฟูสีขาวขึ้นคลุม กรณีที่เกิดจากเชื้อไรซ๊อกโทเนียจะเป็นแผลเน่าฉ่ำน้ำบริเวณผิวของผลที่ สัมผัสดิน แผลจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลแก่และมีรอยฉีกของแผลด้วย ส่วนกรณีที่เกิดจากเชื้อโบทริทิ่สนั้น บริเวณส่วนปลายของผลที่เน่า จะมีเชื้อราขึ้นคลุมอยู่
การป้องกันกำจัด ทำลายผลที่เป็นโรค อย่าให้ผลสัมผัสดิน ป้องกันไม่ให้ผลเกิดบาดแผล

4. โรคราแป้ง (Powdery mildew)
เชื้อสาเหตุ Oidium sp.
ลักษณะอาการ มักเกิดใบล่างก่อนในระยะที่ผลโตแล้ว บนใบจะพบราสีขาวคล้ายผงแป้งคลุมอยู่เป็นหย่อม ๆ กระจายทั่วไป เมื่อรุนแรงจะคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วแห้งตาย
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เช่น เบนเลท เดอโรซาล Diametan หรือ Sumilex ฉีดพ่นเมื่อพบการระบาด

การเก็บเกี่ยว แตงกวา

อายุการเก็บเกี่ยวของแตงกวานับจากวันปลูก ประมาณ 30-40 วัน แล้วแต่พันธุ์แตงกวาสำหรับบริโภคสด ควรเลือกเก็บขณะที่ผลยังอ่อนอยู่เนื้อแน่นกรอบ และสังเกตได้จากมีนวลสีขาวเกาะและยังมีหนามอยู่บ้าง ถ้าผลแก่นวลจะจางหาย สีผลเริ่มเป็นสีเหลือง และไม่มีหนาม การเก็บแตงกวาควรทยอยเก็บวันเว้นวัน ไม่ปล่อยให้แก่คาต้น เพราะจะทำให้ผลผลิตทั้งหมดลดลง โดยปกติจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 1 เดือน

อ้างอิง : vegetweb.com

*สินค้าจากฟาร์มเกษตร ที่แนะนำสำหรับแตงกวา
มาคา ใช้ป้องกันกำจัดเพลี้ยต่างๆ
ไอเอส ใช้ป้องกันกำจัดโรค ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ และโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ
ไอกี้-บีที ใช้ป้องกันและกำจัดหนอน
FK-1 ใช้บำรุงให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง เร่งโต และเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง
โรคราดำมะม่วง (Sooty mold/Black Mildew) ต้องกำจัดแมลงพาหะ และกำจัดโรครา
โรคราดำมะม่วง (Sooty mold/Black Mildew) ต้องกำจัดแมลงพาหะ และกำจัดโรครา
สาเหตุของโรค
เกิดจาก แมงจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยจักจั่น เป็นพาหะนำโรค ทำให้เชื้อราดำหลายชนิด เช่น Capnodium sp._Meliola sp. มาเกาะติดของเหลว ที่เพลี้ยถ่ายไว้ จึงกำให้เชื้อโรคราเกาะติดมะม่วง และเจริญขึ้น

ความสำคัญ
พบทั่วไปในแหล่งปลูกมะม่วงของประเทศ ราดำที่จะกล่าวถึงมีหลายชนิดด้วยกัน แต่ที่พบเห็นทั่ว ๆ ไป ชนิดที่ขึ้นปกคลุมใบเป็นแผ่นสีดำ เมื่อแห้งอาจจะร่อนหลุดออกเป็นแผ่น ๆ อีกชนิดหนึ่งขึ้นบนใบมีลักษณะคล้ายดาวเป็นแฉก ๆ ราดำเหล่านี้ไม่ได้ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชโดยตรง แต่อาจมีผลคือการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูที่มะม่วงออกดอก หากมีราดำขึ้นปกคลุมดอก จะเป็นผลให้การผสมเกสรของดอก ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากมีเชื้อราขึ้นปกคลุมปลายเกสรตัวเมีย ปกติแล้วราดำมีอยู่ทั่ว ๆ ไปในอากาศแต่ไม่สามารถจะเจริญขึ้นบนใบ หรือช่อดอกมะม่วงได้ หากไม่มีแมลงปากดูด ได้แก่ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง โดยแมลงเหล่านี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ตามยอดอ่อน และช่อดอก แล้วจะถ่ายสารซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำหวานออกมาฟุ้งกระจายไปเคลือบตามบริเวณใบ และช่อดอก ซึ่งเชื้อราดำ ในอากาศก็จะสามารถขึ้นได้ และทำให้การติดดอกออกผลของมะม่วงลดลงหรือไม่ติดผลเลย

ลักษณะอาการ
โรคราดำจะเกิดทั้งบนใบ ช่อดอก และผลอ่อน มีลักษณะเหมือนเขม่าหรือฝุ่นสีดำปกคลุมเป็นแผ่นสีดำ ซึ่งเมื่อแห้งอาจจะร่วงหลุดเป็นแผ่น

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากโรคนี้เกิดจากแมลงเป็นสาเหตุสำคัญ ดังนั้นในช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อดอก ให้เข้าสำรวจแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยจักจั่นในสวน

หากพบ ให้ฉีดพ่นด้วย มาคา สารอินทรีย์ป้องกันกำจัด เพลี้ย และแมลงจำพวกปากดูด

ผสม ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน

ช่วงระบาด ฉีดพ่นซ้ำ ทุก 5-7 วัน หมั่นสังเกตุอาการ

ระยะป้องกัน ฉีดพ่นทุก 15-30 วัน โดยอ้างอิงจากการระบาดในแปลงข้างเคียง

Reference
Main content from: kaengkhoi.saraburi.doae.go.th
อ่าน:3397
สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดเพลี้ย มาคา แก้ปัญหา เพลี้ย และแมลงปากดูดต่างๆ ฉีดพ่น มาคา
สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดเพลี้ย มาคา แก้ปัญหา เพลี้ย และแมลงปากดูดต่างๆ ฉีดพ่น มาคา
📣มาคา สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดเพลี้ย และแมลงปากดูดต่างๆ
✅เพลี้ยไฟ กวนดอกผัก กวนยอดอ่อน จนใบหงิก ยอดหงิก
✅มะเขือ มันเทศ มันสำปะหลัง โดนแมลงหวี่ขาวกวน จนเป็นไวรัส
✅เพลี้ยแป้ง กวนต้นฝรั่ง มะม่วงช่อดำ ลูกเสีย ดอกเสีย เป็นด่าง ๆ
✅แมลงและเพลี้ยไฟ กวนจนไม่ติดลูก ลูกบิดลูกเบี้ยว
✅แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดด กวนต้นข้าว ข้าวเสียหาย
อ่าน:5434
โรคลำไย โรคราดำลำไย ต้องป้องกันกำจัดที่ต้นเหตุ และต้นเหตุนั้นเกิดจากเพลี้ยต่างๆ ถ่ายน้ำหวานมาปกคลุม ทำให้เชื้อราในอากาศปลิวมาเกาะติด
โรคลำไย โรคราดำลำไย ต้องป้องกันกำจัดที่ต้นเหตุ และต้นเหตุนั้นเกิดจากเพลี้ยต่างๆ ถ่ายน้ำหวานมาปกคลุม ทำให้เชื้อราในอากาศปลิวมาเกาะติด
การทําลายของแมลงพวกปากดูด เพลี้ยแป้ง เพลี้ยต่างๆ แล้วถ่าย น้ําหวานมาปกคลุมส่วนต่างๆ ของลําไย เชื้อราที่มอยู่ในอากาศโดยเฉพาะเชื้อรา Capnodium ramosum_ Meliola euphoriae. จะปลิวมาขึ้นบนส่วนที่มีน้ําหวาน

ลักษณะอาการ

สีดําของเชื้อราขึ้นปกคลุมใบ กิ่ง ช่อดอก และผิวของผล ทําให้เห็นเป็นคราบสีดําคล้ายเขม่าบนใบที่ถูกเคลือบด้วยแผ่นคราบดําของเชื้อรานี้เมื่อแห้งจะหลุดออกเป็นแผ่นได้ง่าย เชื้อราไม่ได้ทําลายพืช โดยตรงแต่ไปลดการปรุงอาหารของใบ อาการที่ปรากฎที่ช่อดอกถ้าเป็นรุนแรงทําให้ดอกร่วงไม่สามารถผสมเกสรได้จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทําให้ดอกร่วงเพราะถูกเชื้อราดําเข้ามาเคลือบ

สาเหตของโรคและการแพร่ระบาด

ลักษณะอาการเช่นนี้เกิดจากผลของการทําลายของแมลงพวกปากดูด ที่ดูดกินส่วนอ่อนของลําไย แล้วถ่ายน้ําหวานมาปกคลุมส่วนต่างๆ ของลําไย เชื้อราที่มอยู่ในอากาศโดยเฉพาะเชื้อรา จะปลิวมาขึ้นบนส่วนที่มีน้ําหวานที่แมลงขับถ่ายออกมา แล้วเจรญเป็นคราบสีดํา แมลงปากดูดเท่าที่พบเช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอยเพลี้ยจั๊กจั่น และเพลี้ยอ่อน เป็นต้น

การป้องกันและกําจัด

- ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ ป้องกันและกำจัดเพลี้ยต่างๆ ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน หมั่นสั่งเกตุอาการ ควรหายาอื่นๆ มาสลับใช้ หากจำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการดื้อยา

- ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูพืช จากการเข้าทำลายของโรค

Reference: main content from eto.ku.ac.th
อ่าน:3469
กำจัดเพลี้ย แมลศัตรูพืช ที่เกิดกับพืชต่างๆทุกชนิด ด้วย มาคา
กำจัดเพลี้ย แมลศัตรูพืช ที่เกิดกับพืชต่างๆทุกชนิด ด้วย มาคา
มาคา เป็นสารอัลคาลอยด์ สกัดจากพืช ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค
ใช้ป้องกันและกำจัดเพลี้ย และแมลงปากดูด แมลงศัตรูพืชต่างๆ

สนใจสั่งซื้อ
- โทร 090-592-8614
- ไลน์ไอดี FarmKaset
- หรือสั่งซื้อได้ที่ ลาซาด้า https://www.lazada.co.th/products/fk-i517946-s597364.html
อ่าน:3004
21 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 2 หน้า, หน้าที่ 3 มี 1 รายการ
|-Page 2 of 3-|
1 | 2 | 3 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ยาฆ่าหนอน ใน ต้นเมล่อน และพืชทุกชนิด เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ ไอกี้-บีที และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/04/24 11:43:54 - Views: 2990
ปุ๋ย FK-1 ฉีดพ่น เงาะ บำรุง ผลใหญ่ ดกเต็มต้น ผลผลิตดี ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4 เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20 เปอร์เซ็นต์
Update: 2566/03/15 09:46:35 - Views: 3045
การใช้ Metalaxyl ผสม Starfer Fertilizer 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อราในต้นสับปะรด
Update: 2567/02/28 13:20:27 - Views: 114
เตือน!!เกษตร ปลูกมังคุด ระวัง!! เพลี้ยไฟ สร้างเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร??
Update: 2566/11/06 14:52:06 - Views: 312
ราสนิมขาวผักบุ้ง โรคผักบุ้งใบไหม้ และโรคราต่างๆ สร้างความเสียหายต่อผลผลิต ควบคุม ป้องกันกำจัดก่อนเกิดความเสียหาย
Update: 2566/11/04 09:56:30 - Views: 7813
ต้นกาแฟ ผลใหญ่ ผลดก ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ สตาร์เฟอร์ 0-0-60
Update: 2567/04/16 10:55:44 - Views: 92
"การจัดการเพลี้ยในต้นดอกลีลาวดี: วิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัด
Update: 2566/11/22 13:54:33 - Views: 338
ผักกาดขาว รากเน่า!! ใบไหม้ ใบจุด ใบเหลือง ราน้ำค้าง ราเม็ด โรคราต่างๆ ป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟู ด้วยปุ๋ย FK-T
Update: 2567/03/21 11:14:20 - Views: 92
เตือน!!เกษตรปลูกสับปะรด...ระวังเพลี้ยแป้ง สร้างเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร??
Update: 2566/11/06 10:33:00 - Views: 251
ยาฆ่าเพลี้ย แมลงจำพวกปากดูด ใน ลองกอง เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/02/28 14:01:25 - Views: 3023
เพลี้ยอ่อน
Update: 2564/08/30 06:40:07 - Views: 5171
กำจัดเพลี้ย ใน มะม่วง เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/02 14:42:53 - Views: 2988
โรคแอนแทรคโนสมะม่วง ใช้ ไอเอส + FK-1
Update: 2564/08/09 04:28:50 - Views: 3197
กำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใน แตงกวา เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ไตรโครเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/25 15:01:54 - Views: 3116
ผักบุ้ง ใบจุด ราสนิมขาว ราน้ำค้าง รากเน่า โรคราต่างๆ ป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟู ด้วย ปุ๋ย FK-T
Update: 2567/03/28 11:40:59 - Views: 98
มะระขี้นก
Update: 2564/08/09 22:31:17 - Views: 3415
จริงหรือ? โควิด-19 แพร่เชื้อทางอากาศ (Airborne) ได้
Update: 2564/08/24 21:36:24 - Views: 3118
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ สูตร 10-40-10+3 MgO: สู่การออกดอกอันงดงามของกล้วยไม้ด้วยสารอาหารที่เพิ่มพลังการออกดอกและเร่งราก
Update: 2567/02/12 14:42:35 - Views: 172
ตั๊กแตนตำข้าว พลางตัวด้วยสีเหมือนกิ้งไม้ ใบหญ้าแห้ง ป้องกันตนจากภัยอันตราย
Update: 2563/05/26 10:24:16 - Views: 3231
ปุ๋ย FK-1 ฉีดพ่น แตงกวา ผลใหญ่ ดกเต็มต้น น้ำหนักดี ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4 เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20 เปอร์เซ็นต์
Update: 2566/02/28 14:15:13 - Views: 3038
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022